55
นโยบาย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ นายจุรินทร์ลักษณวิศิษฏ์

นโยบาย - กระทรวงศึกษาธิการ...นโยบายร ฐมนตร ว าการกระทรวงศ กษาธ การ นายจ

  • Upload
    others

  • View
    6

  • Download
    0

Embed Size (px)

Citation preview

Page 1: นโยบาย - กระทรวงศึกษาธิการ...นโยบายร ฐมนตร ว าการกระทรวงศ กษาธ การ นายจ

นโยบาย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ

นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ ์

Page 2: นโยบาย - กระทรวงศึกษาธิการ...นโยบายร ฐมนตร ว าการกระทรวงศ กษาธ การ นายจ

Page 3: นโยบาย - กระทรวงศึกษาธิการ...นโยบายร ฐมนตร ว าการกระทรวงศ กษาธ การ นายจ

นโยบาย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ

นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์

Page 4: นโยบาย - กระทรวงศึกษาธิการ...นโยบายร ฐมนตร ว าการกระทรวงศ กษาธ การ นายจ

Page 5: นโยบาย - กระทรวงศึกษาธิการ...นโยบายร ฐมนตร ว าการกระทรวงศ กษาธ การ นายจ

สารบัญ

หน้า

● นโยบายรัฐบาลด้านการศึกษา ๑

● นโยบายรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ๔

นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์

● มอบนโยบายด้านอาชีวศึกษา ๗ มกราคม ๒๕๕๒ ๙

มอบนโยบายด้านอุดมศึกษา ๘ มกราคม ๒๕๕๒ ๑๑

มอบนโยบายวันการศึกษาเอกชน ๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒ ๑๔

มอบนโยบายผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา

๒๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒ ๑๗

● ปาฐกถาพิเศษ ๒๒

ปฏิรูปการศึกษารอบ ๒ : ปฏิรูปอะไร อย่างไร

● งานในรอบ ๒ เดือน ๓๘

Page 6: นโยบาย - กระทรวงศึกษาธิการ...นโยบายร ฐมนตร ว าการกระทรวงศ กษาธ การ นายจ

“รัฐบาลนี้ ให้ความสำคัญเป็นพิเศษ ในการทำงานร่วมกับภาคส่วนต่าง ๆ ไม่ว่าสถาบันครอบครัว สถาบันศาสนา

หน่วยงานส่วนท้องถิ่น หรือภาคเอกชน”

Page 7: นโยบาย - กระทรวงศึกษาธิการ...นโยบายร ฐมนตร ว าการกระทรวงศ กษาธ การ นายจ

�นโยบายรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์

๑.ปฏิรูปการศึกษาทั้งระบบ โดยปฏิรูปโครงสร้างและการบริหาร

จัดการ ปรับปรุงกฎหมายให้สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญ และระดมทรัพยากร

เพื่อการปรับปรุงการบริหารจัดการศึกษา ตั้งแต่ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน

จนถึงระดับอุดมศึกษา พัฒนาครู พัฒนาระบบการคัดเลือกเข้าสู่มหาวิทยาลัย

พัฒนาหลักสูตร รวมทั้งปรับหลักสูตรวิชาแกนหลักรวมถึงวิชาประวัติศาสตร์

ปรับปรุงสื่อการเรียนการสอน พัฒนาทักษะในการคิดวิเคราะห์ ปรับบทบาท

การศึกษานอกโรงเรียนเป็นสำนักงานการศึกษาตลอดชีวิต และจัดให้มี

ศูนย์การศึกษาตลอดชีวิต เพื่อการเรียนรู้ที่เหมาะสมในแต่ละพื้นที่ ตลอดถึง

การส่งเสริมการกระจายอำนาจให้ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา

เพื่อนำไปสู่เป้าหมายคุณภาพการศึกษาและการเรียนรู้ที่มุ่งเน้นคุณธรรม

นำความรู้อย่างแท้จริง

นโยบายรัฐบาลด้านการศึกษา

Page 8: นโยบาย - กระทรวงศึกษาธิการ...นโยบายร ฐมนตร ว าการกระทรวงศ กษาธ การ นายจ

นโยบายรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ �

๒.ส่งเสริมให้ภาคเอกชนมีส่วนร่วมในการพัฒนาการศึกษา

ทั้งระบบ โดยมุ่งเน้นในระดับอาชีวศึกษา และอุดมศึกษา เพื่อให้สนองตอบ

ความต้องการด้านบุคลากรของภาคเศรษฐกิจ

๓.พัฒนาครูอาจารย์และบุคลากรทางการศึกษา เพื่อให้ได้ครูดี

ครูเก่ง มีคุณธรรม มีคุณภาพ และมีวิทยฐานะสูงขึ้น ลดภาระงานครูที่ไม่เกี่ยวกับ

การเรียนการสอนตามโครงการคืนครูให้นักเรียน มีการดูแลคุณภาพชีวิต

ของครู ด้วยการปรับโครงสร้างหนี้และจัดตั้งกองทุนพัฒนาคุณภาพชีวิตครู

ควบคู่ไปกับการลงทุนด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ที่เน้นการพัฒนาเนื้อหาสาระ

และบุคลากรให้พร้อมรองรับและใช้ประโยชน์จากระบบเทคโนโลยี

สารสนเทศได้อย่างคุ้มค่า

๔.จัดให้ทุกคนมีโอกาสได้รับการศึกษาฟรี ๑๕ ปี ตั้งแต่

ระดับอนุบาลไปจนถึงมัธยมศึกษาตอนปลาย พร้อมทั้งเพิ่มประสิทธิภาพการบริหาร

จัดการให้เกิดความเสมอภาคและความเป็นธรรมในโอกาสทางการศึกษา

แก่ประชากรในกลุ่มผู้ด้อยโอกาสทั้งผู้ยากไร้ ผู้พิการหรือทุพพลภาพ

ผู้อยู่ ในสภาวะยากลำบาก ผู้บกพร่องทางร่างกายและสติปัญญา และ

ชนต่างวัฒนธรรม รวมทั้งยกระดับการพัฒนาศูนย์เด็กเล็กในชุมชน

Page 9: นโยบาย - กระทรวงศึกษาธิการ...นโยบายร ฐมนตร ว าการกระทรวงศ กษาธ การ นายจ

�นโยบายรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์

๕.ยกระดับคุณภาพมาตรฐานการศึกษาระดับอาชีวศึกษา

และอุดมศึกษาไปสู่ความเป็นเลิศ โดยการจัดกลุ่มสถาบันการศึกษาตามศักยภาพ

ปรับเงินเดือนค่าตอบแทนของผู้สำเร็จอาชีวศึกษาให้สูงขึ้น โดยภาครัฐเป็น

ผู้นำและเป็นแบบอย่างของการใช้ทักษะอาชีวศึกษาเป็นเกณฑ์กำหนด

ค่าตอบแทนและความก้าวหน้าในงาน ควบคู่กับการพัฒนาองค์ความรู้

นวัตกรรม ด้วยการเพิ่มขีดความสามารถด้านการวิจัยและพัฒนา

๖.ปรับปรุงระบบการบริหารจัดการกองทุนให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา

ให้มีการประนอมและไกล่เกลี่ยหนี้ รวมทั้งขยายกองทุนให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา

เพิ่มขึ้น เพื่อให้ประชาชนมีโอกาสในการเข้าถึงการศึกษาอาชีวศึกษาและ

ปริญญาตรีเพิ่มขึ้น

๗.ส่งเสริมให้เด็ก เยาวชน และประชาชน ใช้ประโยชน์

จากเทคโนโลยีสารสนเทศเชิงสร้างสรรค์อย่างชาญฉลาด เพื่อเสริมสร้าง

การเรียนรู้

๘. เร่งรัดการลงทุนด้านการศึกษาและเรียนรู้อย่างมีบูรณาการ

ในทุกระดับการศึกษาและในชุมชน โดยใช้พื้นที่และโรงเรียนเป็นฐาน

บูรณาการทุกมิติ และยึดเกณฑ์การประเมินของสำนักงานรับรองมาตรฐาน

และประเมินคุณภาพการศึกษาเป็นหลักในการยกระดับคุณภาพโรงเรียนที่ต่ำ

กว่าเกณฑ์มาตรฐาน และส่งเสริมความเป็นเลิศของมหาวิทยาลัยไปสู่การเป็น

ศูนย์กลางทางการศึกษาและวิจัยพัฒนาในภูมิภาค รวมทั้งเสริมสร้างสังคม

แห่งการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิตในชุมชน โดยเชื่อมโยงบทบาท

สถาบันครอบครัว สถาบันการศึกษา และสถาบันทางศาสนา

Page 10: นโยบาย - กระทรวงศึกษาธิการ...นโยบายร ฐมนตร ว าการกระทรวงศ กษาธ การ นายจ

นโยบายรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ �

นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ

พร้อมด้วยนายชัยวุฒิ บรรณวัฒน์ และนางสาวนริศรา ชวาลตันพิพัทธ์

รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ได้รับพระบรมราชโองการ

โปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ดำรงตำแหน่ง เมื่อวันที่ ๒๐ ธันวาคม ๒๕๕๑

โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ได้มอบแนวทางการทำงาน

แก่ผู้บริหารกระทรวงศึกษาธิการ เมื่อวันที่ ๒๔ ธันวาคม ๒๕๕๑ ดังนี้

นโยบายรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์

Page 11: นโยบาย - กระทรวงศึกษาธิการ...นโยบายร ฐมนตร ว าการกระทรวงศ กษาธ การ นายจ

�นโยบายรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์

๑.กำหนดจัดประชุมผู้บริหารระดับสูงของกระทรวงศึกษาธิการ

เป็นประจำทุกสัปดาห์ และให้มีการประชุมกระทรวงศึกษาธิการเป็นประจำทุกเดือน

เพื่อเป็นกลไกหลักในการขับเคลื่อนนโยบายรัฐบาลไปสู่การปฏิบัติ

๒.ให้ตระหนักถึงความสำคัญของการประชุมสภาผู้แทนราษฎร

และวุฒิสภา ทั้งนี้ เนื่องจากในระบบรัฐสภา รัฐมนตรีต้องบริหารราชการแผ่นดิน

โดยความรับผิดชอบต่อรัฐสภา ผู้ เกี่ยวข้องจึงต้องเตรียมการสนับสนุน

ด้านข้อมูลรายละเอียดระหว่างการประชุมได้อย่างรวดเร็วและถูกต้อง

๓.ให้มุ่งมั่นร่วมกันปฏิบัติงานด้วยความรวดเร็ว มีประสิทธิภาพ

และประสิทธิผล เนื่องจากภารกิจการพัฒนาการศึกษาของชาติ เป็นเรื่อง

ที่ต้องเร่งรัดดำเนินการ และหลายปัญหาล้วนรอการคลี่คลายด้วยความรวดเร็ว

ทั้งสิ้น

๔.มุ่งเน้นการทำงานร่วมกันกับทุกภาคส่วน ไม่ว่าจะเป็นองค์กร

ในภาคการศึกษา ภาคเอกชน การปกครองส่วนท้องถิ่น สถาบันศาสนาหรือ

สถาบันครอบครัว

Page 12: นโยบาย - กระทรวงศึกษาธิการ...นโยบายร ฐมนตร ว าการกระทรวงศ กษาธ การ นายจ

นโยบายรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ �

๕. โดยที่รัฐมนตรีทำหน้าที่ในฐานะผู้กำกับนโยบาย จึงให้ความ

สำคัญกับนโยบายเป็นอันดับแรก และต้องการให้กระทรวงศึกษาธิการยึดถือ

นโยบายเป็นเรื่องที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง และเป็นกรอบสำคัญที่จะเดินไป

ข้างหน้าสู่ความสำเร็จในการนำระบบการศึกษาไทยไปสู่เส้นทางที่ควรจะเป็น

ร่วมกัน จะยึดถือนโยบายเป็นเรื่องหลัก และแปลงนโยบายสู่การปฏิบัติ

ภาย ใต้ ค ว ามร่ ว มมื อ ขอ งทุ กคนที่ จ ะต้ อ งทำ ให้ เ ห็ น เ ป็ น รู ป ธ ร รม

ด้วยความรวดเร็ว มีประสิทธิภาพ มีประสิทธิผล

๖.รัฐมนตรีมีหน้าที่ช่วยแก้ไขปัญหาต่างๆ รวมทั้งปัญหา

ที่คั่งค้างภายในกระทรวงศึกษาธิการ หากเรื่องใดอยู่นอกเหนืออำนาจหน้าที่

ของข้าราชการประจำก็จะช่วยดำเนินการให้ สิ่งใดที่อยู่ในความรับผิดชอบของ

รัฐมนตรีก็จะช่วยดูแลและสนับสนุน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ตามที่ปลัดกระทรวง

ศึกษาธิการได้สรุปรายงานทั้ง ๖ ประการ คือ การยกระดับคุณภาพครู

ทั้งระบบ การสนับสนุนปัจจัยด้านการศึกษาทั้ง ICT และห้องสมุด การพัฒนา

ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางทางการศึกษาในภูมิภาค การยกระดับคุณภาพ

อาชีวศึกษาสู่ความทันสมัย การยกระดับคุณภาพการเรียนรู้วิทยาศาสตร์-

คณิตศาสตร์ และการพัฒนาคุณภาพสถานศึกษาที่ไม่ผ่านการรับรองมาตรฐาน

การประเมินคุณภาพรอบ ๒ โดยขอให้ทุกคนทำตามหน้าที่ของตนเอง

อย่างเต็มกำลัง

Page 13: นโยบาย - กระทรวงศึกษาธิการ...นโยบายร ฐมนตร ว าการกระทรวงศ กษาธ การ นายจ

�นโยบายรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์

นอกจากนั้น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ได้เน้นย้ำ

ถึงภารกิจเบื้องต้นที่ต้องให้ความสำคัญเป็นพิเศษ ดังนี้

๑)โครงการเรียนฟรี ๑๕ ปีอย่างมีคุณภาพ ถือเป็นนโยบาย

สำคัญของรัฐบาล ซึ่งต้องมีการแปลงเป็นแผนปฏิบัติ โดยมีเงื่อนเวลาบังคับ

ซึ่งถัดจากนี้ไปจะเป็นช่วงเวลาของการเตรียมการและเตรียมความพร้อม

ทั้งหมด เพื่อลงมือปฏิบัติได้อย่างเป็นรูปธรรมในปีการศึกษา ๒๕๕๒ โดยต้อง

มีการเตรียมการให้เกิดปัญหาน้อยที่สุด

๒)การปฏิรูปการศึกษา ถือเป็นภารกิจหลักของกระทรวงศึกษาธิการ

ซึ่งดำเนินการมาระยะหนึ่งแล้ว ขณะนี้เข้าสู่การปฏิรูปการศึกษารอบสอง

โดยต้องเน้นเป้าหมายที่คุณภาพ คุณธรรม จริยธรรม และความเป็นไทย

และสำคัญที่สุด คือ ทำอย่างไรให้เป็นรูปธรรม

๓)เติมเต็มการศึกษาทั้งระบบให้ครบวงจร โดยให้ความสำคัญ

กับการศึกษานอกระบบเท่ากับการศึกษาในระบบ ซึ่งเป็นหน้าที่ของกระทรวง

ศึกษาธิการที่จะต้องเติมเต็มการศึกษาให้คนไทยทุกคน เพื่อสร้างสังคม

แห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตให้เกิดขึ้นทั้งระบบ

Page 14: นโยบาย - กระทรวงศึกษาธิการ...นโยบายร ฐมนตร ว าการกระทรวงศ กษาธ การ นายจ

นโยบายรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ �

๔)การมีส่วนร่วมทางการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการต้องทำงาน

ร่วมกับภาคส่วนอื่นๆ ทั้งสถาบันครอบครัว สถาบันศาสนา บุคลากร

ทางการศึกษาหรือหน่วยงานอื่นๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งภาคเอกชน ไม่ว่า

สถานศึกษาเอกชน หรือการทำงานร่วมกับภาคเอกชน อันเป็นภาคเศรษฐกิจที่ต้อง

ตอบสนองต่อตลาดแรงงาน ให้มีการผลิตนักศึกษาให้ตรงกับความต้องการ

ของตลาดแรงงาน เพื่อไม่ให้มีปัญหาการตกงาน เพราะจะเป็นการสูญเปล่า

ทางการศึกษา จึงจะมีการหารือกับภาคเอกชน อาทิ สภาอุตสาหกรรม

แห่งประเทศไทย หอการค้าและภาคบริการอื่นๆ เพื่อผลิตนักศึกษา

ให้ตรงตามความต้องการตลาดอย่ า งมีคุณภาพและสนองตอบต่อ

ระบบเศรษฐกิจของประเทศ

Page 15: นโยบาย - กระทรวงศึกษาธิการ...นโยบายร ฐมนตร ว าการกระทรวงศ กษาธ การ นายจ

�นโยบายรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ได้มอบนโยบายแก่ผู้บริหาร

ระดับสูงและคณะกรรมการการอาชีวศึกษา เมื่อวันที่ ๗ มกราคม ๒๕๕๒ ดังนี้

๑.การปฏิรูปการศึกษารอบ ๒ ในส่วนที่ เกี่ยวข้องกับการ

อาชีวศึกษา ว่าจะแปลงรายละเอียดให้ออกมาเป็นรูปธรรมได้อย่างไร

เพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ในเชิงคุณภาพ ให้รอบด้าน รวดเร็ว ทั้งในเรื่องการพัฒนา

คุณภาพครู คุณภาพการเรียนการสอน การบริหารจัดการ การนำไปสู่

ความเป็นเลิศของการอาชีวศึกษา รวมทั้งด้านอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

๒.การจูงใจให้นักเรียนมาเรียนสายอาชีพมากขึ้น เพื่อให้เด็ก

ที่เรียนจบแล้วมีงานทำทันที หากเปรียบเทียบตัวเลขเด็กที่เรียนสายสามัญ

กับสายอาชีพ ปัจจุบันอยู่ที่ประมาณ ๖๐ : ๔๐ แต่เป้าหมายที่ควรจะเป็น

ในปี ๒๕๕๑ คือ ๕๐ : ๕๐ แสดงว่าเรายังไปไม่ถึงเป้าหมาย จึงถือเป็นนโยบาย

ที่จะต้องทำต่อไปให้สำเร็จ

มอบนโยบายด้านอาชีวศึกษา

Page 16: นโยบาย - กระทรวงศึกษาธิการ...นโยบายร ฐมนตร ว าการกระทรวงศ กษาธ การ นายจ

นโยบายรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ �0

๓.ความร่วมมือกับภาคเอกชน เช่น สภาอุตสาหกรรม

แห่งประเทศไทย หอการค้า ภาคบริการต่างๆ ในการผลิตนักศึกษา

ป้อนตลาดแรงงาน โดยจะกำหนดรูปแบบในการร่วมมืออย่างเป็นรูปธรรม

เพื่ออาชีวศึกษาจะได้ผลิตนักศึกษาให้ตรงกับตลาดแรงงาน ภาคอุตสาหกรรม

และภาคบริการ ทั้งในด้านปริมาณ คุณภาพและสาขาอาชีพ

๔.การกำหนดมาตรฐานคุณวุฒิวิชาชีพ เพื่อให้ภาคอุตสาหกรรม

และภาคบริการที่ต้องการรับนักศึกษาที่จบแล้วเข้าทำงาน โดยมีหลักประกันว่า

นักศึกษามีคุณวุฒิวิชาชีพที่ตรงกับความต้องการ และมีคุณภาพเพียงพอ

ที่จะเข้าไปทำงานได้ ทั้งจะเป็นแรงจูงใจให้กับนักศึกษาเข้าเรียนในสายวิชาชีพ

มากขึ้น เพราะเมื่อเรียนจบและได้คุณวุฒิวิชาชีพแล้ว ก็จะช่วยให้มี

ค่าตอบแทนเพิ่มขึ้น

๕.เร่งรัดการจัดตั้งสถาบันอาชีวศึกษา เพื่อให้สถาบันอาชีวศึกษา

ที่เกิดจากการรวมตัวของวิทยาลัยอาชีวศึกษาต่างๆ สามารถที่จะจัดการศึกษา

ได้อย่างมีคุณภาพและมีศักยภาพมากขึ้น รวมทั้งสามารถเปิดสอนในระดับ

ปริญญาตรีสายปฏิบัติการได้

๖. เร่งกำหนดวิธีการจัดตั้งกองทุนเพื่อพัฒนาการอาชีวศึกษา

และฝึกอบรมวิชาชีพ ซึ่งเป็นกองทุนที่กำหนดไว้ในกฎหมายการอาชีวศึกษา

เพื่อช่วยในการพัฒนาคุณภาพครู นักเรียน และสื่อ อุปกรณ์การเรียนการสอน

ทั้งนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ได้มอบหมายให้

เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา รายงานความคืบหน้าให้ทราบ

เป็นระยะ และเร่งดำเนินการให้เกิดเป็นรูปธรรมโดยเร็ว

Page 17: นโยบาย - กระทรวงศึกษาธิการ...นโยบายร ฐมนตร ว าการกระทรวงศ กษาธ การ นายจ

��นโยบายรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ได้มอบนโยบายแก่ผู้บริหาร

ระดับสูง และคณะกรรมการการอุดมศึกษา (กกอ.) เมื่อวันที่ ๘ มกราคม

๒๕๕๒ เพื่อให้ช่วยผลักดันให้เกิดผลในทางการปฏิบัติ ดังนี้

๑.การปฏิรูปการศึกษารอบ ๒ ซึ่งมีเป้าหมายใหญ่ คือ คุณภาพ

ทำอย่างไรให้ ศธ.มีการศึกษาที่มีคุณภาพ นำสถาบันอุดมศึกษาไปสู่ความเป็นเลิศ

และสิ่งที่สำคัญที่สุด คือ การปลูกฝังคุณธรรมและจริยธรรม ให้กับองคาพยพ

ทางการศึกษา รวมทั้งผู้เรียน จนเกิดผลสัมฤทธิ์ เมื่อจบการศึกษาก็จะเป็น

คนที่เก่งและดี มีคุณธรรม ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ให้ความ

สำคัญกับเรื่องนี้เป็นพิเศษ เพราะจากผลการสำรวจค่านิยมของเยาวชนในบางเรื่อง

มีความน่าเป็นห่วงมาก เช่น ผลการสำรวจเรื่องสถานการณ์บ้านเมือง พบว่า

เยาวชนส่วนใหญ่ต้องการคนเก่งมากกว่าคนดี ซึ่งผู้ที่ตอบคำถามเหล่านี้ คือ

เด็กที่เรียนอยู่ในสถาบันอุดมศึกษา จึงเป็นการบ้านข้อใหญ่ที่ต้องการฝากให้

กกอ. ช่วยพิจารณาแนวทางว่าควรทำอย่างไร

มอบนโยบายด้านอุดมศึกษา

Page 18: นโยบาย - กระทรวงศึกษาธิการ...นโยบายร ฐมนตร ว าการกระทรวงศ กษาธ การ นายจ

นโยบายรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ ��

๒.ผลิตบุคลากรทางการศึกษาป้อนระบบเศรษฐกิจของประเทศ

โดยร่วมมือกับภาคเอกชน สกอ. และ สอศ. โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวง

ศึกษาธิการจะตั้งคณะกรรมการขึ้นมา ๑ ชุด เพื่อวางแผนและทำงานร่วมกัน

ทั้งในเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ เพื่อให้เรียนแล้วไม่เกิดการสูญเปล่า

และตรงกับความต้องการของตลาดแรงงาน

๓.การเป็นศูนย์กลางการศึกษาของภูมิภาค ซึ่งเป็นหนึ่งใน

นโยบายของรัฐบาล จะดำเนินการอย่างไรให้เป็นรูปธรรม นำไปสู่ความสำเร็จ

๔.การส่งเสริมการวิจัยนวัตกรรม เพื่อเพิ่มขีดความสามารถ

ของการแข่งขันของประเทศ รวมทั้งการส่งเสริมการวิจัยให้ตรงกับความ

ต้องการของตลาด นำไปสู่การสร้างมหาวิทยาลัยวิจัย

Page 19: นโยบาย - กระทรวงศึกษาธิการ...นโยบายร ฐมนตร ว าการกระทรวงศ กษาธ การ นายจ

��นโยบายรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์

๕.กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) แม้จะไม่เกี่ยวข้องกับ

สกอ. โดยตรง แต่ก็ขอฝากให้ช่วยพิจารณาทบทวนระบบ ระเบียบ หลักเกณฑ์

การให้กู้ยืมเงินใหม่ เพราะหลักเกณฑ์ในระยะเริ่มต้น สมัยรัฐบาล ท่านนายก

รัฐมนตรีชวน หลีกภัย จะเปิดโอกาสให้เด็กยากจนเท่านั้นได้กู้ แต่ต่อมา

มีการเปลี่ยนแปลงทำให้เด็กรวยมาแย่งเงินเด็กจน จึงขอให้ กกอ. ได้ช่วย

พิจารณาแนวทางในเรื่องนี้ รวมถึงประเด็นอื่น เช่น

● การใช้สิทธิ์ทางข้าง แทนการเข้าทางฐานเพียงอย่างเดียว

คือการเริ่มต้นกู้ยืมตั้งแต่ปี ๑ หากปี ๑ กู้ไม่ได้ เด็กจะไม่มีสิทธิ์กู้ในปี ๒ หรือ ๓

หรือจนจบอุดมศึกษา ทำให้เด็กต้องออกกลางคัน เรียนไม่จบ ทำอย่างไร

ให้เด็กสามารถใช้สิทธิ์ได้ทางข้าง คือ กู้ได้ในปี ๒, ปี ๓ หรือ ปี ๔ ได้ด้วย

● การเปิดโอกาสให้ผู้ด้อยโอกาสได้กู้ยืมเงินเป็นลำดับต้น

จะต้องปรับหลักเกณฑ์ ระเบียบ หรือกติกาใหม่หรือไม่ อย่างไร

● การใช้ กยศ. เป็นกลไกในการจูงใจให้เรียนสายอาชีพมากขึ้น

ขอให้พิจารณาว่า เป็นไปได้หรือไม่ และควรจะใช้กลไกนี้หรือไม่ หากควรทำ

จะทำได้อย่างไร เพราะสัดส่วน สายสามัญกับสายอาชีพ เป็นสัดส่วนที่

เราควรจะปรับปรุงแก้ไข เนื่องจากมีสายสามัญมากกว่าสายอาชีพ ทำให้เกิด

การตกงาน เพราะมีการผลิตสายสามัญมากเกินความต้องของตลาด

แต่ในขณะเดียวกัน เราผลิตสายอาชีพได้น้อยกว่าความต้องการของตลาด

ขอให้ทบทวนและพิจารณาว่า สัดส่วนที่แท้จริง เกิดจากการขาดแคลน

เชิงปริมาณหรือการเรียนไม่ตรงกับสายงานที่ตลาดต้องการ

๖.การแก้ปัญหาบัณฑิตตกงาน ซึ่ง สกอ. ดำเนินการอยู่

โดยเฉพาะบัณฑิตที่กำลังจะจบการศึกษาในปีนี้ และผู้ที่กำลังจะถูกเลิกจ้าง

หรือผู้ว่างงานที่จะมารวมกัน ศธ. จึงควรมีส่วนที่จะช่วยแบ่งเบาปัญหา

เศรษฐกิจของประเทศด้วย

Page 20: นโยบาย - กระทรวงศึกษาธิการ...นโยบายร ฐมนตร ว าการกระทรวงศ กษาธ การ นายจ

นโยบายรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ ��

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ได้มอบนโยบาย

ด้านการศึกษาเอกชน ในโอกาสเป็นประธานพิธีเปิดงานวันการศึกษาเอกชน

เมื่อวันที่ ๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒ ดังนี้

๑. โครงการเรียนฟรี ๑๕ ปีอย่างมีคุณภาพ จะจัดการศึกษาฟรี

ตั้งแต่ชั้นอนุบาลจนถึงมัธยมศึกษาปีที่ ๖ ทั้งในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน

และอาชีวศึกษา ใน ๕ หมวด คือ ค่าเล่าเรียน ตำราเรียน ๘ กลุ่มสาระ

อุปกรณ์การเรียน ชุดนักเรียน และกิจกรรมพัฒนาคุณภาพผู้เรียน นอกจากนี้

การเก็บค่าเล่าเรียนของโรงเรียนเอกชน ปัจจุบันรัฐบาลได้จัดงบประมาณ

อุดหนุนให้โรงเรียนเอกชน ๖๐% และเรียกเก็บจากผู้ปกครอง ๔๐%

แต่นโยบายเรียนฟรี ๑๕ ปี ได้เพิ่มงบประมาณอุดหนุนให้โรงเรียนเอกชน

เป็น ๗๐% ซึ่งผ่านความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีแล้ว ทำให้ผู้ปกครอง

มีภาระส่วนนี้เหลือเพียง ๓๐%

มอบนโยบายวันการศึกษาเอกชน

Page 21: นโยบาย - กระทรวงศึกษาธิการ...นโยบายร ฐมนตร ว าการกระทรวงศ กษาธ การ นายจ

��นโยบายรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์

๒. โครงการนมโรงเรียน ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้เห็นชอบการขยาย

โครงการนมโรงเรียน จากเดิมที่ครอบคลุมนักเรียนตั้งแต่ชั้นอนุบาล-ป.๔

เพิ่มเป็นครอบคลุมถึง ป.๕ และ ป.๖ ด้วย โดยจะเริ่มในเดือนตุลาคม ๒๕๕๒

หรือในภาคเรียนที่ ๒ ของปีการศึกษา ๒๕๕๒

๓.กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา(กยศ.) มีการปรับเกณฑ์การกู้ยืม

โดยเพิ่มวงเงินกู้ยืมอีก จำนวน ๑๐,๐๐๐ ล้านบาท เป็น ๓๖,๐๐๐ ล้านบาท

ปรับคุณสมบัติผู้กู้ยืม โดยการเปิดโอกาสให้ผู้กู้ยืมที่มีฐานะยากจนเป็นลำดับแรก

และการได้รับเงินกู้ยืม จะต้องได้รับเงินภายใน ๙๐ วันนับตั้งแต่วันที่ยื่นกู้

ซึ่งการกู้ยืมเพื่อการศึกษา รัฐบาลมุ่งเน้นให้ผู้กู้เรียนในสายอาชีพมากขึ้น

ขณะนี้อยู่ในขั้นตอนการตั้งคณะกรรมการภาครัฐและเอกชนด้านการศึกษา

เพื่อวางแผนทิศทางการศึกษาและผลิตให้ตรงกับความต้องการของตลาด

ที่แท้จริง โดย ศธ. ได้มีนโยบายเพื่อจูงใจให้เรียนสายอาชีพมากขึ้น

ซึ่งได้กำหนดสาขาอาชีพที่ตรงกับความต้องการของตลาดไว้แล้ว จำนวนกว่า

๔๐๐ สาขา

๔.การแก้ไขพระราชบัญญัติโรงเรียนเอกชน พ.ศ. ๒๕๕๐

จะเป็นร่างที่คณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชนประชุมร่วมกับ ศธ.

เพื่อแก้ไข พ.ร.บ.โรงเรียนเอกชนหลายประเด็น เช่น การเปิดโอกาสให้บุคลากร

ของโรงเรียนเอกชนได้สิทธิเข้ากองทุนประกันสังคม รวมทั้งโรงเรียนเอกชน

นอกระบบ และโรงเรียนเอกชนไม่จำเป็นต้องโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินเป็นของ

นิติบุคคล เพราะบางแห่งที่ดินติดจำนองธนาคาร หรือเป็นที่ดินสาธารณะ

ซึ่งจะได้เสนอคณะรัฐมนตรีต่อไป

๕.กองทุนหมุนเวียนเพื่อการกู้ยืม ที่บางโรงเรียนจำเป็นจะต้องกู้ยืม

เพื่อพัฒนาการศึกษา ขณะนี้มีเงินหมุนเวียนจำนวน ๙๐๐ ล้านบาท ซึ่งรัฐบาล

จะจัดเสริมให้อีกทุกปี และจะปรับหลักเกณฑ์ เพื่อให้ได้มีโอกาสกู้ยืมไปพัฒนา

และบริหารโรงเรียนได้มากขึ้น โดยจะปรับเกณฑ์ให้กู้ยืมเพิ่มจาก ๖๐%

ของหลักทรัพย์ เป็น ๘๐% ของหลักทรัพย์

Page 22: นโยบาย - กระทรวงศึกษาธิการ...นโยบายร ฐมนตร ว าการกระทรวงศ กษาธ การ นายจ

นโยบายรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ ��

๖.การพัฒนาคุณภาพครู ศธ.จะดำเนินการให้ครู เอกชน

ได้รับสิทธิ์ ใน ๒ เรื่อง คือ การได้รับสิทธิเข้าอบรมในสถาบันพัฒนาครูของ ศธ.

มากยิ่งขึ้น และครูโรงเรียนเอกชนจะได้รับการนิเทศจากศึกษานิเทศก์

เพื่อพัฒนาการเรียนการสอนให้ดีขึ้น โดยเพิ่มสัดส่วนให้มากขึ้น หรือใกล้เคียงกับ

ครูโรงเรียนรัฐบาล เพราะการพัฒนาคุณภาพครูโรงเรียนเอกชน มีความสำคัญ

เท่าเทียมกับการพัฒนาคุณภาพครูโรงเรียนรัฐบาล และผลสัมฤทธิ์ก็ตกอยู่กับ

คุณภาพของเด็กไทยทุกคนเช่นกัน ซึ่ง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ

ได้มอบนโยบายข้อนี้กับ สพฐ. เพื่อปรับปรุงต่อไปแล้ว

๗.การเปิดโอกาสให้ผู้แทนสมาคมสมาพันธ์โรงเรียนเอกชนและ

ผู้เกี่ยวข้อง ได้เข้าร่วมรับฟังและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในการประชุม

คณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชนทุกครั้งที่มีการประชุม

๘.การศึกษาในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ศธ. ต้องดูแล

เพราะมีโรงเรียนเอกชนจำนวนมาก โดยเฉพาะโรงเรียนเอกชนสอนศาสนา

อิสลาม และโรงเรียนเอกชนอื่นๆ ซึ่งจะต้องปรับปรุง ดูแล เป็นพิเศษ

ในความเป็นจริง การศึกษาในจังหวัดชายแดนภาคใต้ มีปัญหาหลายด้าน

ทั้งด้านสวัสดิการ สวัสดิภาพ และคุณภาพ สำหรับปัญหาด้านคุณภาพ

มีผลการเรียนการสอนโดยเฉลี่ยต่ำกว่าเกณฑ์เฉลี่ยของภาคใต้ทั้งหมด

และผลการสอบ O-Net อยู่ในลำดับที่ ๗๔, ๗๕ และ ๗๖ ของประเทศ

ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ได้มอบหมายให้เลขาธิการ

สภาการศึกษา จัดทำแผนพัฒนาการศึกษาจังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นกรณีพิเศษ

และจะจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นจากผู้เกี่ยวข้องทั้งหมด เพื่อพิจารณา

แผนพัฒนาการศึกษาจังหวัดชายแดนภาคใต้ทั้งระบบ

Page 23: นโยบาย - กระทรวงศึกษาธิการ...นโยบายร ฐมนตร ว าการกระทรวงศ กษาธ การ นายจ

��นโยบายรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์

นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ

ให้นโยบายแก่ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา (ผอ.สพท.) ๑๘๕ เขต

ทั่วประเทศ เมื่อวันที่ ๒๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒ ดังนี้

๑.การปรับแผนพัฒนาการศึกษาชาติ และจัดทำแผนพัฒนา

การศึกษาจังหวัด/กลุ่มจังหวัด ได้มอบให้สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา

(สกศ.) เป็นเจ้าภาพปรับปรุงให้สอดคล้องกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป

รวมทั้งสิ่งที่จะต้องทำเพิ่มเติมคือ แผนการศึกษาจังหวัด เพราะหน่วยงาน

เฉพาะใน ศธ. มีหลายประเภท ตั้งแต่ก่อนประถม ประถม มัธยม อาชีวะ

อุดมศึกษา วิทยาลัยชุมชน และ กศน. จำเป็นต้องกำหนดทิศทางการพัฒนา

ในจังหวัดร่วมกัน เพื่อวางแผนการผลิตกำลังคนให้สอดคล้องกับแผนชาติ หรือ

จุดเด่นของแต่ละจังหวัด ซึ่งบุคลากรใน ศธ. รวมทั้งภาคเอกชน ศาสนาต้อง

เข้าไปมีส่วนร่วมในการจัดทำแผนจังหวัด นอกจากนั้น ต้องมีแผนการศึกษา

กลุ่มจังหวัด๑๙กลุ่มจังหวัดด้วย เนื่องจากบางจังหวัดมีมหาวิทยาลัยที่จะเป็น

มอบนโยบายผู้อำนวยการ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา

Page 24: นโยบาย - กระทรวงศึกษาธิการ...นโยบายร ฐมนตร ว าการกระทรวงศ กษาธ การ นายจ

นโยบายรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ ��

แม่ข่าย ส่วนบางจังหวัดไม่มี โดยมอบให้ผู้ตรวจราชการ ศธ. เป็นประธาน

การจัดทำแผนการศึกษากลุ่มจังหวัด และต่อไปเขตตรวจราชการของ ศธ.

จะใช้ตัวเลข ๑๙ เขตเช่นเดียวกับเขตตรวจราชการกระทรวงอื่นๆ และ

เมื่อแผนต่างๆ เสร็จสิ้นสมบูรณ์แล้ว ต้องมีการปฏิบัติตามแผนต่างๆ อย่าง

จริงจังและต่อเนื่อง

๒.การแบ่งเขตพื้นที่ประถมศึกษา-มัธยมศึกษา เพื่อแยกปฏิบัติ

ภารกิจ โดยอยู่ภายใต้ร่ม สพฐ. ซึ่งเขตมัธยมศึกษาที่แยกออกมา จะแบ่งตาม

เขตตรวจราชการ ๑๙ กลุ่มจังหวัด โดยยึดกลุ่มจังหวัดเหมือนกับกระทรวงอื่น

และในแต่ละเขต จะแบ่งเป็น ๔๑ กลุ่มย่อย ซึ่งต้องแก้กฎหมายอย่างน้อย

๓ ฉบับระหว่างนั้น สพฐ. ต้องมีแนวทางดำเนินการในทางปฏิบัติไปพลางก่อน

โดยไม่ขัดกับกฎหมาย ทั้งด้านบุคลากร และงบประมาณ ข้อแลกเปลี่ยน คือ

เมื่อแยกแล้วต้องทำให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของเด็กให้สูงขึ้น และยอมรับได้

ส่วนเขตพื้นที่ประถมศึกษาอาจจะต้องปรับลดจาก ๑๘๕ เขต เป็น ๑๘๒ เขต

เพื่อไม่ให้ได้รับผลกระทบมากเกินไป

๓.นโยบายเรียนฟรี๑๕ปีอย่างมีคุณภาพ ซึ่งจะจัดให้ ๕ เรื่อง คือ

ค่าเล่าเรียน หนังสือเรียน อุปกรณ์การเรียน เครื่องแบบนักเรียน และกิจกรรม

พัฒนาคุณภาพนั้น เขตพื้นที่การศึกษาจะต้องดูแลโรงเรียนในพื้นที่อย่าง

ใกล้ชิด และต้องรับผิดชอบหากเกิดปัญหาขึ้น ถึงแม้ว่าจะโอนงบประมาณไป

โรงเรียน โดยในการจัดซื้อหนังสือเรียนนั้น โรงเรียนจะดำเนินการจัดซื้อตาม

ความเห็นร่วมกันของภาคี ๔ ฝ่าย ได้แก่ ครู กรรมการนักเรียน ผู้ปกครอง

และตัวแทนชุมชน ส่วนการจัดซื้อเครื่องแบบนักเรียนและอุปกรณ์การเรียน

ศธ. จะส่งงบประมาณไปยังโรงเรียนโดยตรง เพื่อให้จ่ายแก่ผู้ปกครองหรือ

นักเรียนมารับเงินด้วยตนเอง โดยให้สิทธิ์ไปหาซื้อได้เอง แต่เขตพื้นที่การศึกษา

และโรงเรียนจะต้องช่วยชี้แนะแนวทางปฏิบัติในการจัดซื้อ ซึ่งมีหลายแนวทาง

เช่น หาซื้อเอง หรือรวมกลุ่มจ้างแม่บ้านมาตัดเย็บให้ก็ได้ เพียงแต่ต้องนำ

ใบเสร็จรับเงินมาเป็นหลักฐานการเบิกจ่าย หากไม่มีใบเสร็จรับเงินต้องนำ

Page 25: นโยบาย - กระทรวงศึกษาธิการ...นโยบายร ฐมนตร ว าการกระทรวงศ กษาธ การ นายจ

��นโยบายรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์

ชุดนักเรียนมาแสดง นอกจากนี้ ยังมีประเด็นข้อห่วงใยกรณีโรงเรียนมีรายชื่อ

เด็กเกินความเป็นจริง ทั้งโรงเรียนของรัฐ และเอกชน สพท. ต้องเข้าไป

ติดตามดูแลในแต่ละพื้นที่ด้วย

๔.การปฏิรูปการศึกษารอบสอง ขณะนี้ สกศ. กำลังทำ

ประชาพิจารณ์ทุกภูมิภาคทั่วประเทศ ใน ๙ กรอบใหญ่ของการปฏิรูป

การศึกษา ซึ่งคาดว่าในเดือนเมษายน ๒๕๕๒ นี้คงได้คำตอบทั้งหมดว่าจะ

ดำเนินการอย่างไร ซึ่ง ผอ.สพท.จะต้องติดตามเรื่องนี้อย่างใกล้ชิด

๕.กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) ซึ่งเริ่มต้นมาตั้งแต่

ปี ๒๕๓๘−๒๕๓๙ ในสมัย รัฐบาลชวน ๒ เดิมมีวัตถุประสงค์ต้องการให้เด็ก

ยากจนที่จบการศึกษาภาคบังคับได้มีโอกาสกู้ยืมเงิน เพื่อเรียนต่อในระดับ

ม.ปลาย หรือสายอาชีพ จนถึงอุดมศึกษา โดยรัฐบาลปัจจุบันได้เพิ่มวงเงิน

ให้กู้ยืมเพื่อการศึกษาอีก ๑๐,๐๐๐ ล้านบาท รวมเป็นวงเงินปล่อยกู้สำหรับ

ผู้กู้รายใหม่ทั้งสิ้น ๓๖,๐๐๐ ล้านบาท ซึ่งคาดว่า จะมีเด็กยากจนที่ขอกู้เพิ่ม

๓๖๐,๐๐๐ คน และครบ ๑ ล้านคน ปัญหาที่

ผ่านมาคือ กู้ได้เงินช้ามาก ครม. จึงมีมติให้จ่าย

เงินกู้ให้นักเรียนได้ภายใน ๙๐ วันนับจากวันที่

กู้เงิน ซึ่งจะช่วยให้สถานศึกษาได้รับการช่วย

เหลือมากขึ้น ทั้งนี้ รัฐบาลมีนโยบายให้เรียน

สายอาชีพมากขึ้น โดยมีเป้าหมายเป็น ๕๐ : ๕๐

และเป็น ๖๐ : ๔๐ ในที่สุด

๖.การประเมินวิทยฐานะของครู ในการประชุม ก.ค.ศ.วันที่ ๒๕

กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒ มอบให้ ปลัด ศธ. เป็นประธานการประชุมแทน และ

ได้มอบเป็นนโยบายว่า จะต้องเปลี่ยนเกณฑ์ประเมิน วิทยฐานะจากเดิมที่เน้น

เอกสาร เป็นเน้นที่ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนการสอนเป็นหลัก โดยขอให้

เขตพื้นที่การศึกษาติดตามผลการประชุมเพื่อแจ้งโรงเรียนและบุคลากรในพื้นที่

ทราบต่อไปด้วย

Page 26: นโยบาย - กระทรวงศึกษาธิการ...นโยบายร ฐมนตร ว าการกระทรวงศ กษาธ การ นายจ

นโยบายรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ �0

๗.นมโรงเรียน รัฐบาลมีนโยบายให้เด็กประถมศึกษาทุกคนได้ดื่ม

นมฟรี จึงได้ขยายให้เด็กได้กินนมฟรี ตั้งแต่อนุบาล-ป.๖ เริ่มได้ตั้งแต่ในเดือน

พฤษภาคม ๒๕๕๒ เป็นต้นไป โดยเขตพื้นที่การศึกษาจะต้องเข้ามามีบทบาท

ในการติดตามให้เด็กทุกคนดื่มนมที่มีคุณภาพตามนโยบายรัฐบาล

๘.การวางแผนผลิตและพัฒนาครู ได้แต่งตั้งคณะกรรมการชุดหนึ่ง

ขึ้นมาเพื่อวางแผนผลิตและพัฒนาครู ซึ่งแนวคิดนี้เกิดจากการประชุมร่วมกับ

คณบดีคณะครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์แห่งประเทศไทย ที่มีหน้าที่ผลิตครู

๗๑ สถาบันการศึกษา และมีความเห็นร่วมกันว่า ควรวางแผนผลิตครู ๒ กลุ่ม

คือ กลุ่มครูของครู ที่จะขาดแคลนในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า และกลุ่มครูของ

นักเรียน ที่ทุกฝ่ายต้องมีส่วนร่วมในการวางแผนการผลิตครูในระยะยาวอย่าง

เป็นระบบว่า จะผลิตครูสาขาใดเท่าใด ใครจะผลิตเท่าใด รวมทั้งยังให้

คณะกรรมการชุดนี้ช่วยคิดเรื่องการผลิตครูพันธุ์ใหม่ที่เน้นการจูงใจให้คนเก่ง

และดีเข้ามาเป็นครูมากขึ้น โดยจะต้องมีหลักประกันต่างๆ ตอบแทนให้อย่าง

เหมาะสม เขตพื้นที่การศึกษาต้องเข้าไปมีบทบาทในนโยบายเรื่องนี้เช่นกัน

ด้วย

๙.การบริหารจัดการเขตพื้นที่การศึกษา ศธ. ได้เน้นนโยบาย

การกระจายอำนาจและความรับผิดชอบอย่างเป็นรูปธรรม ไปยังเขตพื้นที่

การศึกษามากขึ้น โดยบทบาทของเขตพื้นที่การศึกษาต้องรับผิดชอบงาน

นโยบายและงานพัฒนา รวมทั้งงานแก้ปัญหาในเขตพื้นที่ ต่อไปนี้เขตพื้นที่

ต้องตั้งโจทย์การทำงานให้ชัดเจนว่า แต่ละเขตพื้นที่การศึกษามีเรื่องใดบ้างที่

จะต้องดำเนินการให้ประสบความสำเร็จ มีการจัดทำแผน/แนวปฏิบัติ/หน้าที่

ความรับผิดชอบเต็มรูปแบบ และส่วนกลางจะลดบทบาทลงมาเป็นผู้กำกับ

ติดตามประเมินผล เช่น ในเรื่องคุณภาพการศึกษา แต่ละเขตอยู่ลำดับที่เท่าไร

มีสถานการณ์เป็นอย่างไร จะใช้เวลาภายในกี่ปีเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา

หรือพัฒนาครูให้เป็นไปตามเป้าหมายชัดเจนมากขึ้น ซึ่งเขตพื้นที่การศึกษา

Page 27: นโยบาย - กระทรวงศึกษาธิการ...นโยบายร ฐมนตร ว าการกระทรวงศ กษาธ การ นายจ

��นโยบายรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์

ต้องดูในเรื่องการนิเทศโรงเรียนของรัฐและเอกชนเป็นอย่างไร และย้ำว่าต้อง

ให้ความสำคัญโรงเรียนของรัฐและเอกชนไม่แตกต่างกัน เพราะที่สุดแล้วก็เป็น

คุณภาพของเด็กไทย หรือเรื่องอื่นๆ เช่น การแก้ปัญหาโรงเรียนขนาดเล็ก

โรงเรียนที่มีครูไม่ครบชั้น ปัญหาเด็กเร่ร่อน เด็กตีกัน เด็กชายขอบ ฯลฯ

เขตพื้นที่การศึกษาต้องมีคำตอบให้ชัดว่าจะแก้ปัญหาเหล่านั้นได้อย่างไร

โดยไม่ต้องรอฟังคำสั่งจากส่วนบน ต้องแสดงความสามารถบริหารจัดการเอง

ตามอำนาจที่มีอยู่ ภายใต้กรอบระเบียบกฎหมายให้ประสบความสำเร็จ

แนวทางนี้จะเป็นวิธีการที่เปิดโอกาสให้ ผอ.สพท.ได้แสดงความ

สามารถพิสูจน์ฝีมือการทำงานอย่างเต็มที่ และเมื่องานในเขตพื้นที่การศึกษา

ประสบความสำเร็จ ส่วนกลางและ สพฐ. จะมีหน้าที่ ให้คุณให้โทษ

ปูนบำเหน็จความดีความชอบให้เช่นกัน โดย สพฐ. ต้องกำหนดตัวชี้วัดในการ

ทำหน้าที่แต่ละเขตมีหน้าที่ติดตามประเมินผล ส่วนผู้ตรวจราชการฯ ก็จะมี

บทบาทมากขึ้น เพราะตนให้ความสำคัญกับภารกิจของผู้ตรวจราชการ

ทุกระดับ ซึ่งจะเป็นเครื่องมือสำคัญในการประเมินผลงานของ ผอ.สพท. และ

หวังว่า ความร่วมมือกันจะทำให้งานของ ศธ.จะประสบความสำเร็จ เดินไป

ในทิศทางที่ประสบความสำเร็จในการจัดการศึกษาได้อย่างแท้จริงมากขึ้น

Page 28: นโยบาย - กระทรวงศึกษาธิการ...นโยบายร ฐมนตร ว าการกระทรวงศ กษาธ การ นายจ

นโยบายรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ ��

นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ

ปาฐกถาพิเศษในการเสวนาโต๊ะกลม “ปฏิรูปการศึกษารอบ๒ : ปฏิรูปอะไร

อย่างไร” เมื่อวันที่ ๑๕ มกราคม ๒๕๕๒

มนัสการพระคุณเจ้า ท่านศาสตราจารย์ ดร.บุญเสริม วีสกุล

อธิการบดีกิตติคุณมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ ท่านอาจารย์เรืองชัย ทรัพย์นิรันดร์

รองประธานกรรมการบริหาร บริษัท มติชน จำกัด (มหาชน) อาจารย์สมศรี

ลัทธพิพัฒน์

หัวข้อการเสวนาในวันนี้คิดว่าเหมาะสมกับสถานการณ์เป็นอย่างยิ่ง

การปฏิรูปการศึกษา รอบ ๒ : ปฏิรูปอะไร อย่างไร เพราะผมเข้าใจว่า

เป็นหัวข้อที่ทุกฝ่ายก็กำลังต้องการคำตอบ แล้วจนถึงวันนี้ก็ยังไม่มีคำตอบ

สำเร็จรูป คงต้องเป็นหน้าที่ขององคาพยพทั้งหมดในวงการศึกษาที่เป็นผู้ให้

คำตอบ และผมเข้าใจว่ารัฐบาลจะต้องเป็นผู้พิจารณาตัดสินใจดำเนินการ

ปาฐกถาพิเศษ ปฏิรูปการศึกษารอบ ๒ : ปฏิรูปอะไร อย่างไร

Page 29: นโยบาย - กระทรวงศึกษาธิการ...นโยบายร ฐมนตร ว าการกระทรวงศ กษาธ การ นายจ

��นโยบายรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์

เป็นขั้นสุดท้าย อย่างน้อยผมก็เป็นคนหนึ่ง ที่จะต้องร่วมในกระบวนการตัดสินใจนั้น

เพราะฉะนั้นการระดมความคิดเห็นของมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์

ท่านอาจารย์เรืองชัย ทรัพย์นิรันดร์ รองประธานกรรมการบริหาร บริษัท มติชน

จำกัด (มหาชน) ในวันนี้ก็ถือว่าเป็นประโยชน์อย่างยิ่งที่จะนำไปสู่กระบวนการ

ในการดำเนินการเรื่องการปฏิรูปการศึกษา รอบ ๒ ต่อไป

แต่ก่อนอื่นผมต้องขออภัยทุกท่านที่หลังจากการแสดงความคิดเห็น

กับพวกเราแล้วนั้น ต้องขออนุญาตเดินทางไปกระทรวงศึกษาธิการ เพื่อเปิด

การสัมมนาของคุรุสภาเนื่องในวันครู และขอให้ทุกท่านสบายใจได้ เพราะ

ผมจะติดตามความคิดเห็นของทุกท่านที่ให้ความเห็นไว้ในวันนี้ เพื่อประกอบการ

พิจารณาดำเนินการปฏิรูปการศึกษารอบ ๒ ต่อไป

ความจริงเรื่องการปฏิรูปการศึกษารอบแรก ซึ่งเริ่มในปี ๒๕๔๒ นั้น

ต้องยอมรับความจริงว่าเริ่มต้นสมัยที่ท่านชวน หลีกภัย เป็นนายกรัฐมนตรี

แม้ว่าผมจะไม่มีส่วนเกี่ยวข้องโดยตรง แต่ก็มีส่วนเกี่ยวข้องทางอ้อมอยู่บ้าง

เนื่องจากในขณะนั้นดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี

และเป็นประธานวิปรัฐบาล เพราะฉะนั้น ตอนที่พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ

พ.ศ. ๒๕๔๒ เข้าสู่สภาฯ นั้น ผมก็มีส่วนในการร่วมผลักดันกฎหมายฉบับนี้

Page 30: นโยบาย - กระทรวงศึกษาธิการ...นโยบายร ฐมนตร ว าการกระทรวงศ กษาธ การ นายจ

นโยบายรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ ��

โดยเฉพาะท่านนายกรัฐมนตรี อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ก็เป็นผู้มีส่วนสำคัญในการ

ร่างกฎหมายฉบับนี้ เช่นเดียวกัน จึงขอเรียนว่า สืบเนื่องมาจากรัฐบาล

ท่านชวน หลีกภัย จนถึงรัฐบาลชุดนี้ เราให้ความสำคัญกับการปฏิรูปการศึกษา

เป็นพิเศษ

อย่างไรก็ตาม ในช่วงของการปฏิรูปการศึกษารอบแรก ต้องยอมรับ

ความจริงว่า มีการดำเนินการในหลายเรื่องทีเดียว ซึ่งผมคิดว่าทุกท่านก็ทราบดี

อยู่แล้ว ผมเพียงแต่ต้องการทบทวน เพื่อการเริ่มต้นร่วมกันในการเสวนาวันนี้

เท่านั้นว่า เราก็มีการปฏิรูปในหลายเรื่องทีเดียว ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของ

โครงสร้าง ซึ่งก็มีการรวมสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ

กระทรวงศึกษาธิการ และทบวงมหาวิทยาลัยเข้าด้วยกันเป็นกระทรวง

ศึกษาธิการในวันนี้ นอกจากนั้น มีการจัดตั้งสำนักงานส่งเสริมการศึกษา

นอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย มีการจัดตั้งองค์การมหาชนคือ

สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา หรือ สมศ.

ซึ่งเป็นองค์กรสำคัญ รวมทั้งองค์กรอื่น ๆ ซึ่งเป็นการดำเนินการเรื่องของโครงสร้าง

ในช่วงปฏิรูปการศึกษารอบแรก ส่วนการบริหารจัดการก็มีการกระจายอำนาจ

เพียงแต่ยังไปติดอยู่ที่เขตพื้นที่การศึกษาไม่ลงถึงสถานศึกษาโดยตรงครบถ้วน

ตามเจตนารมณ์ตั้งแต่เบื้องต้น มีการดำเนินการปฏิรูปหลักสูตร ซึ่งในส่วนของ

หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานปี ๒๕๔๔ มีการปฏิรูปครูและบุคลากร

ทางการศึกษาด้วยความมุ่งหวังว่าการพัฒนาครูให้เป็นวิชาชีพชั้นสูงได้รับ

การพัฒนาอย่างต่อเนื่องและได้รับค่าตอบแทนที่เหมาะสม เพื่อเป้าหมาย

ในการยกระดับคุณภาพการศึกษา

นอกจากนั้น ยังมีการดำเนินการเรื่องเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา

เพื่อเป้าหมายเพิ่มประสิทธิภาพการเรียนการสอน รวมทั้งระดมการมีส่วนร่วม

ของทุกภาคส่วน อย่างไรก็ตาม การปฏิรูปการศึกษารอบแรก ช่วงระยะเวลา

๙ ปี หรือเรียกรวมๆ ว่าประมาณหนึ่งทศวรรษที่ผ่านมา ยังมีปัญหาต่อเนื่อง

หลายประการ อาทิ ด้านคุณภาพ การพัฒนาการสอนของครูไม่ทันกับ

Page 31: นโยบาย - กระทรวงศึกษาธิการ...นโยบายร ฐมนตร ว าการกระทรวงศ กษาธ การ นายจ

��นโยบายรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์

หลักสูตรที่เปลี่ยนแปลง จากท่องจำมาเป็นหลักคิดวิเคราะห์นั้น ทำให้

ไม่สามารถสนองตอบต่อหลักสูตรที่เปลี่ยนแปลงไปได้ ซึ่งสำนักงานเลขาธิการ

สภาการศึกษา ได้สรุปปัจจัยที่ เป็นอุปสรรคในเรื่องนี้ไว้อย่างชัดเจนว่า

เนื่องจากความไม่พร้อมด้าน ๑. ครู ๒. ด้านสื่อและเทคโนโลยี เนื่องจาก

มีความขาดแคลนสื่อและเทคโนโลยี ทั้งด้านปริมาณและคุณภาพ อีกทั้ง

เน้นด้าน hardware มากกว่า software ทำให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน

ของผู้เรียนต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน เด็กจำนวนหนึ่งอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้

รวมทั้งผลการประเมินสถานศึกษาของ สมศ. ซึ่งให้ความสำคัญเป็นพิเศษ

จากการประเมินระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน สมศ. ต้องดำเนินการ

ประเมิน ๒ รอบ โดยรอบแรกปรากฏผลในระดับดีที่ ได้มาตรฐาน

เป็นที่น่าพอใจประมาณร้อยละ ๓๕ แสดงว่า ร้อยละ ๖๕ จำเป็นต้องดูแลเป็นพิเศษ

รอบสองมีผลการประเมินดีขึ้น กล่าวคือ ผ่านการประเมินร้อยละ ๘๐

อีกร้อยละ ๒๐ จำเป็นต้องให้ความสำคัญเป็นพิเศษเช่นเดียวกัน สำหรับ

ระดับอาชีวศึกษาปรากฏว่า ไม่ผ่านเกณฑ์ประเมิน ร้อยละ ๑๐ มีหลายสาขา

หลายวิชา ซึ่งเป็นตัวเลขรวมๆ ที่แสดงภาพกว้างๆ ส่วนที่ต้องปรับปรุงร้อยละ ๒๗

แสดงว่า มีการบ้านข้อใหญ่เรื่องคุณภาพมาตรฐานสำหรับการหาคำตอบ

ในการปฏิรูปการศึกษารอบ ๒ ส่วนเรื่องการกระจายอำนาจ ก็เช่นเดียวกับ

ที่ผมเรียน ปัญหาก็คือยังคงอยู่ที่เขตพื้นที่การศึกษาไปไม่ถึงสถานศึกษา ตรงนี้

ก็เป็นโจทย์ที่เราจะต้องพิจารณากันต่อไป ในเรื่องของผู้สำเร็จการศึกษา

ด้านอาชีวะ ผมคงไม่ยกตัวอย่างทั้งหมดเนื่องจากเวลาจำกัด แต่จะพูดเฉพาะ

ที่คิดว่าเวลาเอื้ออำนวย ทุกท่านในที่นี้คงต้องเป็นผู้ลงรายละเอียด

และให้ความเห็นที่ครอบคลุมกว่าผม ผู้จบอาชีวศึกษามีสมรรถนะไม่ตรงกับ

ความต้องการของผู้ ใช้และขาดทักษะพื้นฐานที่จำเป็น ซึ่งเราก็ต้อง

ให้ความสนใจว่าจะทำอย่างไรต่อไป อีกทั้งผู้เรียนอาชีวศึกษามีการเลิกเรียน

กลางคันสูงและเมื่อเรียนจบก็ตกงานมาก ค่านิยมการศึกษาไทยมุ่งปริญญา

มากกว่าความรู้ที่แท้จริง ซึ่งเป็นปัญหาที่แก้ยากและต้องใช้เวลา พวกเราต้อง

Page 32: นโยบาย - กระทรวงศึกษาธิการ...นโยบายร ฐมนตร ว าการกระทรวงศ กษาธ การ นายจ

นโยบายรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ ��

ร่วมกันและมีทิศทางที่ชัดเจนจริงๆ อีกสิ่งหนึ่งที่ผมเรียนไว้ตรงนี้ก็คือ

ผู้จบการศึกษาขาดจิตสำนึกสาธารณะ ซึ่งเป็นปัญหาใหญ่ที่ผมคิดว่า

มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่เราจะต้องช่วยกันดูว่าจะคลี่คลายปัญหานี้ได้อย่างไร

อย่างไรก็ตาม ถ้าถามความเห็นส่วนตัวของผมว่า ปฏิรูปการศึกษา

รอบแรกล้มเหลวหรือไม่ หรือถ้าเป็นอย่างนี้แปลว่าล้มเหลวใช่ไหม ก็ขอ

อนุญาตตอบว่า ผมไม่คิดว่าล้มเหลว ผมคิดว่าการปฏิรูปการศึกษา

รอบแรกนั้น เป็นจุดเริ่มต้นแห่งการปฏิรูปการศึกษายุคใหม่ เป็นจุดเริ่มต้น

แห่งการนำการศึกษาของเราเดินไปสู่แสงสว่างในอนาคต เพียงแต่แน่นอน

ว่ายังมีหลายเรื่อง หลายภารกิจ ที่เราจำเป็นต้องทำและเดินหน้าต่อ อะไรที่ดี

อยู่แล้วก็จะต้องรักษาระดับให้ดีต่อไป และทำอย่างไรจะเพิ่มพูนคุณภาพ

ให้เพิ่มขึ้น อะไรที่คิดว่าจำเป็นจะต้องต่อยอดก็ต่อยอดต่อไป อะไรที่คิดว่าอาจจะ

ผิดทิศผิดทางบ้างก็ต้องมากำหนดกันใหม่ แล้วก็ต้องปรับปรุงเพื่อที่จะเดินไป

สู่ทิศทางที่ถูกต้อง เพราะว่าถ้าผิดแล้วรอบ ๒ ก็ยังผิดอีก ในที่สุดเราก็จะ

ยิ่งไปไกลกว่าจะเลี้ยวกลับมาได้ เพราะฉะนั้นตรงนี้ก็เป็นจุดที่ผมคิดว่าจะต้อง

ช่วยกันดู อย่างไรก็ตาม ความสำเร็จที่ เห็นเป็นรูปธรรมนั้น ผมก็คิดว่า

Page 33: นโยบาย - กระทรวงศึกษาธิการ...นโยบายร ฐมนตร ว าการกระทรวงศ กษาธ การ นายจ

��นโยบายรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์

เรื่องโครงสร้างเป็นรูปธรรมแน่นอน เริ่มปฏิรูปก็ต้องเริ่มนับหนึ่งที่โครงสร้าง

เราก็ปรับโครงสร้างออกมาได้ปรากฏเป็นรูปธรรมตามสมควร หรือแม้แต่

ตัวบทกฎหมายหลายฉบับก็ปรากฏออกมา แต่แน่นอนยังมีหลายฉบับที่ยังค้างอยู่

ก็เป็นเรื่องที่จะต้องช่วยกันทำต่อไป เรื่องการกระจายอำนาจเดินไปได้ส่วนหนึ่ง

ก็จะต้องมีการต่อยอดต่อไป

อย่างไรก็ตาม สำหรับการปฏิรูปการศึกษารอบ ๒ ที่พวกเราจะคุยกัน

ในวันนี้ จะต้องยอมรับความจริงว่ายังเป็นโจทย์ที่จะต้องหาคำตอบ

เจ้าภาพหลักของกระทรวงศึกษาธิการคือ สภาการศึกษาก็ยังต้องหาคำตอบ

เช่นเดียวกับที่ เรามาหาคำตอบในที่ประชุมเสวนาวันนี้ว่า จะกำหนด

ประเด็นยุทธศาสตร์ในการผลักดันการปฏิรูปรอบ๒อย่างไรจะปฏิรูปอะไร

แม้ว่าเบื้องต้นจะมีการกำหนดกรอบไว้อยู่บ้างแล้ว๘ประเด็น คือ

๑. การพัฒนาคุณภาพผู้เรียน

๒. การผลิตและพัฒนาครู คณาจารย์

๓. การเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการทางด้านการศึกษา

และการมีส่วนร่วม

๔. การเพิ่มโอกาสทางการศึกษา

๕. การผลิตและพัฒนากำลังคน

๖. การปฏิรูปการเงินเพื่อการศึกษา

๗. การปฏิรูปเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา

๘. กฎหมายทางด้านการศึกษา

Page 34: นโยบาย - กระทรวงศึกษาธิการ...นโยบายร ฐมนตร ว าการกระทรวงศ กษาธ การ นายจ

นโยบายรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ ��

แต่ต้องมีคำตอบว่า ๘ ประเด็นนี้ถูกต้องตรงโจทย์ที่ควรจะเป็นแล้ว

หรือไม่ เป็นคำตอบสุดท้ายหรือไม่ หรือว่าควรจะมี ๙ หรือควรจะเหลือ ๖

หรือข้อไหนที่ใช่หรือไม่ใช่ เพื่อจะนำไปสู่การกำหนดยุทธศาสตร์ร่วมกัน

และเดินไปพร้อมกันทั้งองคาพยพ ผมคิดว่าทั้งหมดนี้เสมือนง่ายแต่ยาก ผมทราบว่า

ไม่ง่าย ต้องอาศัยทุกท่านช่วยกันคิดและหาคำตอบและข้อสรุปเหล่านี้

ผมจะรอฟังความคิดเห็นจากท่านและอีกหลายวงประชุม รวมทั้งคำตอบ

จากสภาการศึกษาที่จะเป็นผู้ระดมความคิดเห็นด้วย ซึ่งทราบว่าประมาณ

เดือนเมษายนนี้จะได้คำตอบทั้งหมด ผมคิดว่าคงช้าไม่ได้เพราะว่าบางครั้ง

กำหนดเวลาก็บังคับเราอยู่อย่างน้อยเริ่มปีการศึกษาหน้า ในเดือนพฤษภาคม

ถ้าเรามีคำตอบอะไรช้าไปแทนที่จะเริ่มนับจากปีการศึกษา ในเดือนพฤษภาคมได้

ในบางเรื่องเราก็ต้องรอคอยไปอีกครึ่งเทอม หนึ่งเทอม หรือหนึ่งปี

เพราะฉะนั้นสิ่งเหล่านี้ก็เป็นเรื่องที่มีกรอบเวลาเร่งรัดเราอยู่เช่นเดียวกัน

อย่างไรก็ตาม ขอใช้เวลานี้เล่าให้พวกเราฟังในเชิงนโยบายว่า

ระหว่างรอคำตอบรัฐบาลมีความคิดอย่างไร ผมก็จะขออนุญาตนำเสนอตรงนี้

เป็นประเด็นสำคัญว่า ในความเห็นของผมหรือความเห็นของรัฐบาลนั้น คิดว่า

หัวใจสำคัญประการหนึ่งของการปฏิรูปการศึกษารอบ ๒ อยู่ที่ ๒ เรื่องหลัก

ไม่ได้หมายความว่าเรื่องอื่นไม่สำคัญ แต่ขอนำเสนอที่สำคัญอย่างน้อย ๒ เรื่อง

คือ คุณภาพและโอกาส ผมคิดว่ารัฐบาลจะให้ความสำคัญกับสองเรื่องนี้

เป็นพิเศษ รวมทั้งเรื่องอื่นๆ ที่ต้องให้ความสำคัญควบคู่กันไป แต่สองเรื่องนี้

ถือเป็นหัวใจสำคัญ หากดำเนินการเฉพาะคุณภาพอย่างเดียว โดยไม่เพิ่มหรือ

ขยายโอกาส ประโยชน์ที่จะได้รับในการพัฒนาการศึกษาจะไม่ครบถ้วน

ร้อยเปอร์เซ็นต์ แม้ว่าเราทำการศึกษาให้ดีเพียงใด มีคุณภาพอย่างไร

แต่ประชากรของประเทศไม่ได้รับโอกาสในการเข้าถึงการศึกษาดังกล่าว

การศึกษาที่มีคุณภาพก็จะวางอยู่ตรงนั้น ไม่สามารถไปก่อผลสัมฤทธิ์ให้กับ

ประชากรของประเทศได้ ไม่สามารถไปสร้างคน สร้างอนาคตให้กับประเทศได้

ฉะนั้นสองเรื่องนี้จึงเป็นเรื่องที่ต้องมีความสำคัญควบคู่กันไป

Page 35: นโยบาย - กระทรวงศึกษาธิการ...นโยบายร ฐมนตร ว าการกระทรวงศ กษาธ การ นายจ

��นโยบายรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์

นโยบายในเรื่องของโอกาสที่เป็นรูปธรรม และขออนุญาตเรียน

ตรงนี้ คงเฉพาะเรื่องที่ผมคิดว่าเวลาเอื้ออำนวย นโยบายชัดเจนของรัฐบาลก็คือ

นโยบายเรียนฟรี๑๕ป ี เป็นนโยบายสำคัญ ที่ต้องการเพิ่มโอกาส

ข ย า ย โ อ ก า ส ใ ห้ กั บ ค น ไ ท ย ทุ ก ค น ที่ มี สิ ท ธิ ต า ม น โ ย บ า ย รั ฐ บ า ล

หรือตามรัฐธรรมนูญ ได้มีโอกาสเข้าถึงการศึกษาที่มีคุณภาพ ซึ่งต้องช่วยกัน

ผลักดันต่อไป

คำว่า “เรียนฟรี ๑๕ ปี” ตามนโยบายของรัฐบาลคือ การเรียนฟรี

ตั้งแต่อนุบาลถึงมัธยมศึกษาปีที่ ๖ จำนวน ๑๔ ปี หลายท่านสับสนว่า

ตกลงรัฐบาลเอาอย่างไรแน่ ๑๔ หรือ ๑๕ ปี คำว่า ๑๔ ปี มาจากโรงเรียนอนุบาล

ของรัฐบาลมีอนุบาล ๑ และอนุบาล ๒ จำนวน ๒ ปี ป.๑ ถึง ม.๖ จำนวน

๑๒ ปี รวมเป็น ๑๔ ปี แต่โรงเรียนอนุบาลเอกชนมีอนุบาล ๑ อนุบาล ๒ และ

อนุบาล ๓ รวมเป็น ๑๕ ปี ความจริงเป็นเป้าหมายเดียวกัน คือ ฟรีตั้งแต่

อนุบาลจนถึงมัธยมศึกษาปีที่ ๖ หรือมัธยมศึกษาตอนปลาย และต้องรวม

ปวช. ด้วย ตรงนี้คือหลักกว้างๆ ส่วนจะฟรีเรื่องอะไร อย่างไรนั้น ผมก็ได้

แถลงให้ทราบไปมากแล้ว ในเรื่องค่าเล่าเรียน ตำราเรียน อุปกรณ์การเรียน

ชุดนักเรียนและกิจกรรมพัฒนาคุณภาพ ซึ่งตรงเรื่องหลังผมคิดว่าจะให้

ความสำคัญเป็นพิเศษ เนื่องจากคงจะไม่ฟรีเฉพาะตำราเรียน อุปกรณ์การเรียนฟรี

แต่จะเพิ่มพูนคุณภาพเข้าไปด้วย เพราะฉะนั้น ตรงนี้จึงเป็นโครงการเรียนฟรี

อย่างมีคุณภาพ นอกจากนั้น ในเรื่องของกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา

Page 36: นโยบาย - กระทรวงศึกษาธิการ...นโยบายร ฐมนตร ว าการกระทรวงศ กษาธ การ นายจ

นโยบายรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ �0

วันจันทร์นี้ผมนัดประชุมผู้เกี่ยวข้องที่ ศธ. ก็คงจะมีคำตอบเพิ่มเติมว่า จะต้อง

มีการปรับปรุงแก้ไขอย่างไรบ้าง เนื่องจากต้องยอมรับความจริงว่า กองทุน

เงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา เริ่มขึ้นในสมัยรัฐบาลท่านนายกฯ ชวน ๒

โดยเปิดโอกาสให้มีการกู้ยืม ยุคนั้นเราเน้นเรื่องการเปิดโอกาสให้เด็กยากจน

ได้มีโอกาสกู้เพื่อเรียนต่อ บังเอิญรัฐบาลชุดต่อมาได้เปลี่ยนวัตถุประสงค์ว่า

สำหรับคนที่ไม่จำเป็นต้องจนสามารถกู้ได้ ในที่สุดเด็กรวยก็ไปเบียดคนจน

ทำให้ผู้ด้อยโอกาสขาดโอกาสที่จะใช้เงินกู้นี้ เพื่อได้รับการศึกษาจากภาครัฐ

แต่ช่วงหลังก็กลับมา รัฐบาลนี้ก็คงยืนยันว่า ต้องให้โอกาสเด็กยากจนหรือ

ผู้ด้อยโอกาสก่อน แต่กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษาจะต้องเป็นกองทุน

ที่ขยายโอกาสให้กับทุกคนที่อยู่ในข่ายได้มีโอกาสใช้สิทธิ์ให้มากที่สุด ปัจจุบันนี้

เรายังมีปัญหาบางประการ เช่น กำหนดให้ยื่นขอกู้ได้เฉพาะผู้ที่เรียนปี ๑

เป็นต้น จึงอาจจะต้องปรับหลักเกณฑ์ว่า แทนที่จะเข้าทางฐานแล้วไปถึงยอด

กู้ตามระบบอาจจะต้องกู้ทางข้างได้ เช่น ถ้าเรียนปริญญาตรี และไม่สามารถกู้

ในปี ๑ ก็ควรได้รับสิทธิ์ให้กู้เมื่อเรียนปี ๒ และปี ๓ แต่แน่นอนเขาก็ไม่ต้องกู้

ปี ๔ ไม่เช่นนั้นเราก็จะแก้ปัญหาเด็กออกกลางคันไม่ได้ ต้องยอมรับความจริงว่า

ปัญหาส่วนหนึ่งมาจากปัญหาเศรษฐกิจ นอกจากปัญหาอื่นๆ อีกหลายปัจจัย

ตรงนี้คือ นโยบายที่จะต้องไปปรับกัน หรือว่าเด็กที่จบ ปวส. จะต้องเรียนต่อ

ปริญญาตรี ก็ควรมีสิทธิ์ที่จะกู้เรียนในปี ๓ ปี ๔ ได้

Page 37: นโยบาย - กระทรวงศึกษาธิการ...นโยบายร ฐมนตร ว าการกระทรวงศ กษาธ การ นายจ

��นโยบายรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์

นอกจากนั้น ผมคิดว่ากองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา ควรเป็นกลไกสำคัญในการจูงใจให้ผู้เรียนไปเรียนในสาขาวิชาที่เป็นความต้องการ ของตลาดแรงงานหรือตลาดทางเศรษฐกิจ หากท่านกู้เรียนในสาขานี้ก็จะได้รับสิทธิเป็นพิเศษ แทนที่จะกู้ไปเรียนในสาขาที่ไม่ใช่ความต้องการของตลาด แล้วไปแข่งกันตกงานก็ไม่มีเงินมาใช้หนี้รัฐ ตรงนี้เป็นกลไกอันหนึ่งที่ผมจะต้องนำมาใช้จูงใจคนมาเรียนในสาขาที่ควรจะเรียน ซึ่งจะมีคำตอบในลำดับถัดไป ที่ผมจะเรียนให้ทราบว่าผมจะทำอย่างไร นอกจากนั้นในเรื่องของโอกาส รัฐบาลนี้จะให้ความสำคัญกับการขยายโอกาสให้กับผู้ด้อยโอกาสได้มีโอกาสเรียนทั้งเด็กที่เป็นเด็กพิเศษ หรือเด็กชายขอบ ผู้ด้อยโอกาสเหล่านี้ควรได้สิทธิ อย่างเต็มที่ภายใต้นโยบายรัฐบาล ส่วนคุณภาพ ผมคิดว่าคุณภาพการศึกษามีหัวใจสำคัญที่ต้องมุ่งเน้นเป็นพิเศษหลายเรื่อง แต่ที่เน้นเป็นพิเศษคือคุณภาพครู เพราะคุณภาพครู จะเป็นปัจจัยสำคัญที่นำไปสู่คุณภาพผู้เรียน ถ้านับหนึ่งจาก ครูไม่มีคุณภาพ โอกาสที่ผู้เรียนจะมีคุณภาพนั้น ผมคิดว่าตรรกะนี้ชี้ชัดอยู่แล้ว เพราะฉะนั้นหัวใจสำคัญอยู่ตรงนี้ ถ้าครูมีคุณภาพ ผู้เรียนจะมีคุณภาพตามไปด้วยและเป้าหมายของการเรียนคือผลสัมฤทธิ์ ที่ต้องทำให้ผู้เรียนมีความรู้คือเก่ง นอกจากเก่งยังไม่พอ โดยนโยบายรัฐบาลจะต้องมีคุณธรรม จริยธรรมด้วย และต้องมีความภาคภูมิใจในรากเหง้าของความเป็นไทยด้วย ผมคิดว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาต้องมี ๓ ประเด็นนี้เป็นอย่างน้อย สำหรับนโยบายของรัฐบาลในการพัฒนาคุณภาพครู ผมเรียนให้ทราบว่าจะทำอย่างไรบ้าง เฉพาะเรื่องที่คิดว่าจำเป็นๆ แต่คงไม่ครบทุกเรื่อง อาทิ รัฐบาลจะจัดตั้งสถาบันกำหนดมาตรฐานการผลิตและพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา มีหน้าที่กำหนดมาตรฐานว่า ถ้าสถาบัน การศึกษาใดจะผลิตครูหรือบุคลากรทางการศึกษาจะต้องได้มาตรฐาน ตามที่กำหนด ซึ่งจะช่วยแก้ปัญหาการผลิตครูและบุคลากรทางการศึกษา ที่ด้อยมาตรฐาน และจะเป็นผู้กำหนดหลักสูตรหรืออาจจะจัดการพัฒนาครูด้วยก็ได้ ยังไม่ตกผลึกร้อยเปอร์เซ็นต์นะครับประเด็นนี้ เพื่อนำไปสู่ครูคุณภาพ

Page 38: นโยบาย - กระทรวงศึกษาธิการ...นโยบายร ฐมนตร ว าการกระทรวงศ กษาธ การ นายจ

นโยบายรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ ��

ทุกวันนี้สถาบันพัฒนาครูมีอยู่หลายแห่ง แต่กระจัดกระจาย เฉพาะในกระทรวงศึกษาธิการเองก็หลายหน่วย สถาบันที่วัดไร่ขิงก็มี สุดแล้วแต่ว่า จะกำหนดหลักสูตรหรือความสำคัญกันแต่ละยุคแต่ละสมัย ผมคิดว่าอาจจะต้องทำให้เป็นหน่วยเดียวกัน และมีมาตรฐานเดียวกัน มีผู้รู้ผู้ชำนาญในด้านนี้ เข้ามาดำเนินการอย่างแท้จริง นี่คือสิ่งที่รัฐบาลตั้งใจจะทำ เป้าหมายก็เพื่อที่จะได้ครูใหม่ที่มีคุณภาพมากขึ้น เพราะถ้ามีการกำหนดมาตรฐานชัดเจน ครูใหม่ ที่เข้ามาก็มีคุณภาพ ขณะเดียวกันครูเก่าก็จะได้รับการพัฒนาคุณภาพให้สูงขึ้น ตรงนี้ก็จะเป็นการแก้ปัญหาที่ผมคิดว่าคงไม่ครบทั้งหมด นอกจากนั้น ก็อาจจะมีกระบวนการจูงใจให้คนเก่งมาเป็นครูมากขึ้น เช่น การให้ทุนสำหรับเด็กเก่งเข้ามาเรียนครู เป็นต้น

เรื่องของขวัญและกำลังใจครู ก็เป็นเรื่องที่รัฐบาลจะจัดตั้งกองทุน

พัฒนาคุณภาพชีวิตคร ูเพื่อช่วยแก้ไขปัญหาในเรื่องสวัสดิการ เรื่องภาระหนี้สิน

ตอนนี้คณะทำงานของผมกำลังเร่งรัดที่จะทำงานเรื่องนี้อยู่ ในเรื่องวิทยฐานะ

ที่ เป็นเรื่องขวัญกำลังใจครูอีกเรื่องหนึ่ง ก็จะปรับระบบการประเมิน

การให้วิทยฐานะใหม่ ปัจจุบันนี้เรามุ่งเน้นวัดจากผลการทำวิทยานิพนธ์ แต่ว่า

จากนี้ไปจะต้องปรับเป็นวัดผลที่ผลสัมฤทธิ์เชิงประจักษ์ของการเรียนการสอนเป็นหลัก

คือวัดที่คุณภาพการเรียนการสอน วัดที่ผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียน ส่วนจะทำ

อย่างไรขอให้เป็นหน้าที่พวกผม เป็นหน้าที่รัฐบาล หรือกระทรวงศึกษาธิการ

ที่จะต้องไปดู แต่ว่าหลักจะต้องเป็นอย่างนี้อยู่แล้ว

Page 39: นโยบาย - กระทรวงศึกษาธิการ...นโยบายร ฐมนตร ว าการกระทรวงศ กษาธ การ นายจ

��นโยบายรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์

อีกเรื่องหนึ่งที่จะต้องทำคือโครงการคืนครูให้นักเรียนเป็นปัญหาใหญ่

เรื่องหนึ่งก็คือ ทุกวันนี้ครูบางท่าน ตรงนี้ไม่ใช่ความผิดของครูนะครับ

แต่เป็นเรื่องที่กระทรวงศึกษาธิการ จะต้องดูแลรับผิดชอบ เพราะว่าใช้ครูให้ทำงาน

ธุรการแทนที่จะใช้ครูไปทำการสอนให้ครบเวลา เพราะฉะนั้นต้องแก้ปัญหา

ต้องคืนครูให้กับนักเรียน ให้ไปสอน แล้วเราจะจัดหาเจ้าหน้าที่ไปทำหน้าที่

ธุรการโดยตรงกับทางโรงเรียน ตรงนี้กำหนดอัตราไว้ส่วนหนึ่ง แต่กระบวนการ

จะได้มาอย่างไรนั้นก็ต้องขึ้นกับกำลังงบประมาณ และการบริหารจัดการด้วย

ผมกำลังพิจารณาและหารือกับรัฐบาลว่าสามารถคลี่คลายปัญหานี้ได้มากน้อย

แค่ไหน แต่แนวทางนี้ชัดเจนพอสมควรแล้วว่า มีกี่อัตราอย่างไร อาจจะใช้

กรณีการแก้ปัญหาการว่างงาน ๕ แสนคน ที่เรามีนโยบายอยู่ก็อาจจะเป็นส่วนหนึ่ง

ในนั้น แต่ยังไม่ร้อยเปอร์เซ็นต์นะครับ เล่าให้พวกเราฟังว่ามีลู่ทาง

ที่จะแก้ปัญหาเรื่องนี้

ในเรื่องของการพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา เรื่องนี้รัฐบาล

ให้ความสำคัญ เพราะถือว่าเป็นหัวใจสำคัญที่จะส่งเสริมเทคโนโลยี

เพื่อการศึกษา เพราะว่าเทคโนโลยีจะมีส่วนช่วยในเรื่องของการพัฒนาครู

พัฒนาคุณภาพผู้เรียน และส่งเสริมการศึกษาตลอดชีวิต จึงให้ความสำคัญกับเรื่องนี้

วิธีทำก็คงไม่ถึงกับง่ายแต่ก็ไม่คิดว่าไม่ถึงกับยาก ทุกวันนี้เรามีหน่วยที่เกี่ยวข้อง

กับเทคโนโลยีกระจัดกระจายอยู่ตามหน่วยต่างๆ หลายหน่วย ต่างคนต่างทำ

ก็คิดว่าเป็นไปได้ไหมที่เรามาคุยกันแล้วเอามารวมกัน อาจจะจัดตั้งเป็น

สถาบันเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา ให้มันเป็นรูปแบบเดียวกัน มีทิศทาง

ที่ชัดเจน อาจจะต้องมีกองทุนพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา เข้ามาช่วยเสริม

ซึ่งความจริง กทช. เขาก็มีงบประมาณอยู่ก้อนหนึ่ง เพียงแต่ว่าเราจะต้องไป

บริหารจัดการอย่างไรที่จะได้เงินก้อนนี้มา ตรงนี้ขอให้เป็นหน้าที่ของผม

ตรงนี้ก็เล่าความตั้งใจที่จะทำให้ฟังว่า ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการปฏิรูป

การศึกษามีอะไรบ้าง

Page 40: นโยบาย - กระทรวงศึกษาธิการ...นโยบายร ฐมนตร ว าการกระทรวงศ กษาธ การ นายจ

นโยบายรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ ��

ในเรื่องคุณธรรมจริยธรรมกับสำนึกความเป็นไทยนั้น ความจริง

เป็นเรื่องน่าเป็นห่วงอย่างยิ่ง รัฐบาลให้ความสำคัญกับเรื่องนี้เป็นพิเศษ

ผมพูดในที่ประชุมคณะกรรมการอุดมศึกษามาแล้วรอบหนึ่ง เรื่องค่านิยม

จากผลการสำรวจเยาวชนที่ปรากฏเมื่อประมาณ ๑-๒ ปีที่ผ่านมา ทัศนะต่อผู้บริหาร

ประเทศน่าตกใจมาก บังเอิญผมเป็นนักการเมือง ทัศนะของเยาวชนต่อ

ผู้บริหารประเทศคือ โกงไม่เป็นไรขอให้เก่ง ผมคิดว่าเป็นเรื่องน่าห่วง

คือ จิตสำนึกสาธารณะ ที่ผมเรียนไปเมื่อสักครู่ ความจริง ต้องทั้งเก่ง และ

ไม่โกง ตรงนี้คือการบ้านข้อใหญ่ที่ไม่ง่ายเลย ต้องช่วยกันทั้งองคาพยพว่า

จะทำอย่างไรที่จะเปลี่ยนแปลงทัศนะค่านิยมเหล่านี้ในหมู่ผู้เรียน และผู้ที่

จบการศึกษาว่าทิศทางที่ถูกต้องคืออะไร รวมทั้งคุณธรรม จริยธรรมในเรื่องอื่น

รวมทั้งในเรื่องจิตสำนึกของความเป็นไทยที่สมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ

ทรงตรัสเรื่องการศึกษาวิชาประวัติศาสตร์ ผมคิดว่าสิ่งเหล่านี้คือหัวใจสำคัญ

ที่ เราต้องนำมาไตร่ตรองว่าจะต้องทำอย่างไร ผมก็มอบการบ้านให้กับ

การศึกษาขั้นพื้นฐาน และการศึกษาทุกระดับที่กระทรวงฯ ไปแล้วว่าจะต้อง

Page 41: นโยบาย - กระทรวงศึกษาธิการ...นโยบายร ฐมนตร ว าการกระทรวงศ กษาธ การ นายจ

��นโยบายรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์

มาช่วยพิจารณาว่า ปัญหาค่านิยม คุณธรรม จริยธรรม สำนึกความภูมิใจ

ในความเป็นไทยของเรา ปัญหาอยู่ตรงไหน เรามีเรื่องคุณธรรม จริยธรรม

มีเรื่องของศีลธรรมหรือเปล่า เพราะมีคนบ่นว่า ปัจจุบันนี้ไม่มีวิชาศีลธรรมโดยตรง

อาจจะไม่ตรงร้อยเปอร์เซ็นต์ก็วิจารณ์แบบชาวบ้าน หากถามว่ามีอยู่หรือไม่

ก็ได้รับคำตอบว่ามีแล้ว มีมานานแล้ว แต่ทำไมเด็กยังเป็นแบบนี้ แสดงว่า

ปัญหาอาจจะไม่ได้อยู่ที่หลักสูตรอย่างเดียว ปัญหาอาจจะอยู่ที่กระบวนการ

การเรียนการสอน หรือวิธีการที่จะสร้าง เพาะบ่มจิตสำนึกในด้านคุณธรรม

จริยธรรมให้เกิดขึ้นไม่ได้ผลใช่หรือไม่ จะทำอย่างไร พวกท่านคือผู้เชี่ยวชาญ

จะต้องช่วยค้นหาคำตอบ เพื่อจะทำอย่างไรที่เราจะได้เด็กที่ทั้งเก่ง มีคุณธรรม

จริยธรรม แล้วก็ภาคภูมิใจในรากเหง้าในความเป็นไทยของเรา ตรงนี้คือสิ่งที่

จะต้องช่วยกัน ผมก็มอบกระทรวงศึกษาธิการไปแล้วส่วนหนึ่งว่า ต้องช่วยกัน

หาคำตอบเหล่านี้ ที่สำคัญอีกเรื่องหนึ่งคือการปฏิรูปรอบ ๒ นั้นจะต้อง

เน้นเรื่องการมีส่วนร่วม ผมคิดว่ารัฐบาล จะให้ความสำคัญกับสถาบันครอบครัว

สถาบันศาสนา ชุมชน และองค์กรเอกชน ส่วนราชการ และโดยเฉพาะ

ภาคเอกชนด้วยที่จะต้องเข้ามาช่วยกัน เมื่อสักครู่ผมได้เรียนไว้เบื้องต้นว่า

ผมจะย้อนกลับมาเรียนให้ทุกท่านได้ทราบในตอนนี้ก็คือ รัฐบาลตั้งใจที่จะเห็น

การผลิตนักศึกษาตรงกับความต้องการของตลาด ไม่ใช่ผลิตในส่วนที่

ตลาดไม่ต้องการ แล้วในที่สุดก็ตกงานและกลายเป็นสูญเปล่าทางการศึกษา

จะต้องแต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นมาชุดหนึ่ง มีทั้งภาครัฐในส่วนกระทรวง

องคาพยพต่างๆ ที่เกี่ยวข้องทั้งในส่วนอุดมศึกษา อาชีวศึกษา สภาการศึกษา

การศึกษาเอกชนและองคาพยพอื่นนอกกระทรวง รวมทั้งภาคเอกชน เช่น

สภาอุตสาหกรรม หอการค้า มหาวิทยาลัยเอกชน และองค์กรเอกชนอื่นๆ

ที่ เกี่ยวข้อง จะต้องเข้ามารวมกันเพื่อทำแผนร่วมกัน จะเป็นแผนกี่ปี

อย่างไรก็แล้วแต่จะวางแผนการผลิตอย่างไร ความต้องการของตลาดคือสาขาไหน

จำนวนเท่าไร ทั้งเชิงปริมาณ คุณภาพ และสาขาวิชา คุณภาพคืออะไร

ท่านต้องการจำนวนเท่าไร สาขาวิชาไหน แล้วหน่วยผลิตก็ต้องแบ่งโควตากัน

Page 42: นโยบาย - กระทรวงศึกษาธิการ...นโยบายร ฐมนตร ว าการกระทรวงศ กษาธ การ นายจ

นโยบายรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ ��

รับไปผลิต แต่วันนี้ ผมคิดว่าเราผลิตเพราะเราอยากผลิต นี่คือ ปัญหาข้อหนึ่ง

สถาบันการศึกษาหลายแห่งก็แข่งกันผลิตนักศึกษาในสาขาเดียวกัน ซ้ำซ้อนกัน

จบแล้วก็ตกงานด้วยกัน เพราะฉะนั้นเป้าหมายหลักก็คือว่า ผมจะตั้ง กรอ.

คณะกรรมการร่วมภาครัฐเอกชนทางด้านการศึกษาขึ้นมา เพื่อวางแผนเรื่องนี้

ยังไม่ทราบจะทำเสร็จหรือไม่ แต่นี่คือความตั้งใจที่ต้องเรียนให้ทุกท่านได้ทราบ

อีกเรื่องหนึ่งที่ต้องทำก็คือว่า การจัดตั้งสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ

โดยต่อไปนี้จะต้องมีสถาบันฯ กำหนดมาตรฐานความสามารถของคนที่เรียน

จบวิชาชีพ สมมติว่าท่านเรียนจบทางด้านช่าง มีมาตรฐานระดับ ๔ นั้น ต้องมี

ความสามารถขนาดไหนเพื่อจะเทียบเคียงกับเงินเดือน ถ้าท่านมาตรฐาน

ระดับ ๔ เงินเดือน ๑๘,๐๐๐ บาท มาตรฐานระดับ ๕ เงินเดือน ๒๓,๐๐๐ บาท

เพราะว่าทุกวันนี้ เด็กที่จบอาชีวะนั้น แม้ว่าเรียนจบจริงแต่สมรรถนะ

ขีดความสามารถในการทำงานจริงยังไม่ได้ ต้องมีการกำหนดมาตรฐานนี้ มาเทียบเคียงว่า

ที่สุดจบอะไรมาก็ตามท่านเทียบมาตรฐานได้ขั้นไหน ในโลกความเป็นจริง

ไม่ได้อยู่ที่ประกาศนียบัตร แต่อยู่ที่ความสามารถในการทำงานของท่านว่าคืออะไร

และท่านก็รับเงินเดือนไปตามนี้ ท่านอาจจะจบ ปวช. แต่รับเงินเดือนสูงกว่า

ปริญญาตรี เพราะเมื่อเทียบความสามารถ ท่านอาจจะสูงกว่า ตรงนี้คือสิ่งที่

ภาคเอกชนต้องการให้เกิดขึ้น ทุกวันนี้เขาต้องไปฝึกเด็กใหม่ และจะเป็น

การจูงใจให้เด็กไปเรียนสายอาชีพมากขึ้นด้วย เพราะเขาได้รับหลักประกันว่า

ถ้าเรียนเก่งจริง เขาจะไม่ถูกล็อคเงินเดือนไว้เพียงวุฒิที่ได้รับ ปัจจุบันนี้ปัญหา

ของเราอีกข้อหนึ่งก็คือว่าเด็กเรียนสายสามัญมากเกินไป เรียนสายอาชีพน้อยกว่า

ความต้องการที่ควรจะเป็น เพราะฉะนั้นต้องปรับแผนการผลิตใหม่ ต้องมี

การจูงใจให้การเรียนสายอาชีพเพิ่มสูงขึ้น ตรงนี้ก็เป็นเรื่องที่ได้คุยกันแล้ว

มีอีกหลายเรื่องแต่ด้วยเวลาขีดจำกัด ผมก็คงเรียนทุกท่าน แต่เพียงเท่านี้ สุดท้ายที่จะเรียนให้ทราบก็คือว่า ต้องการให้ท่านตระหนักความสำคัญของการศึกษานอกระบบด้วย เพราะว่าเป็นข้อใหญ่ที่ต้อง การเห็นการปฏิรูปการศึกษารอบ ๒ ให้ความสำคัญกับเรื่องนี้ เรามีการศึกษาขั้นพื้นฐาน

Page 43: นโยบาย - กระทรวงศึกษาธิการ...นโยบายร ฐมนตร ว าการกระทรวงศ กษาธ การ นายจ

��นโยบายรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์

อาชีวศึกษา อุดมศึกษา เราจะเข้าสู่ระบบนี้ก็ประมาณอายุ ๓-๔ ขวบ แล้วก็จบประมาณ ๒๕ ปี ช่วงอายุที่เหลือท่านอยู่ตรงไหน รัฐบาลกระทรวงศึกษาธิการ หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะดูแลท่านอย่างไร นี่คือการศึกษาตลอดชีวิตที่รัฐบาลให้ความสำคัญเป็นพิเศษ คือการบ้านข้อใหญ่ของ การปฏิรูปการศึกษารอบ ๒ ด้วยข้อหนึ่ง การให้ความสำคัญกับการศึกษา นอกระบบจะมีความหมายเพียงจะยกสำนักงาน กศน. ให้โตขึ้น ที่รัฐบาลคิด ที่ผมคิด กว้างกว่าเรื่อง กศน. มาก ไม่ใช่การศึกษาตลอดชีวิตที่เพียงรับเด็กหรือผู้ใหญ่ที่ตกจากการศึกษาในระบบเพื่อมาเรียนให้จบการศึกษาภาคบังคับ หรืออบรมบางวิชา บางสาขาตามหมู่บ้าน ตำบลไม่ได้มีความหมายแค่นั้น มีอะไรที่มากไปกว่านั้น ในเรื่องนี้ที่เป็นการบ้าน นอกเหนือจากการศึกษา ในระบบ ถ้าเป็นวงกลมก็จะเป็น ๑. การศึกษาพื้นฐาน ๒. อาชีวศึกษา ๓. อุดมศึกษา แล้วต้องเติมเต็มให้มันครบวงกลม นี่คือภารกิจสำคัญ ที่ผมต้องการฝากให้ทุกท่านช่วยกันคิด รวมทั้งการส่งเสริมการอ่าน ต้องอ่านตลอดชีวิตจะทำอย่างไร การส่งเสริมการเรียนรู้ เชิงสร้างสรรค์จากสื่อ หลากหลายในยุคโลกาภิวัตน์ รวมทั้งอีกหลายเรื่องที่กว้างไกลกว่าบทบาท กศน. นี่คือ สิ่งที่ต้องการฝากให้ช่วยคิดช่วยพิจารณาว่า ในเชิงนโยบายรัฐบาลให้ความสำคัญกับการศึกษาตลอดชีวิต และเราจะทำอย่างไร ขอขอบคุณมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ และหนังสือพิมพ์มติชน ท่านวิทยากร ผู้มีเกียรติทั้งหลาย ผมเข้าใจว่าความสำเร็จที่เกิดขึ้นในอนาคตของการปฏิรูปรอบ ๒ นั้น คงไม่ได้อยู่เฉพาะที่ตัวรัฐบาลเท่านั้น ต้องอยู่ที่ ทุกท่านในที่นี้ และองคาพยพทั้งหมดทางด้านการศึกษาที่ช่วยกันคิด เติมความคิด ช่วยกันผลักดันไปสู่ภาคปฏิบัติให้เกิดผมสัมฤทธิ์อย่างแท้จริง ขอขอบคุณล่วงหน้าสำหรับความคิดอ่านทั้ งหลายอันเป็นประโยชน์ ของทุกท่าน และผมจะให้ความสำคัญกับความเห็นของทุกท่านในการเสวนาวันนี้ สวัสดีครับ

Page 44: นโยบาย - กระทรวงศึกษาธิการ...นโยบายร ฐมนตร ว าการกระทรวงศ กษาธ การ นายจ

นโยบายรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ ��

๑. การปฏิรูปการศึกษารอบ ๒ โดยสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา (สกศ.) ได้กำหนดกรอบ

ในการปฏิรูปไว้จำนวน ๘ กรอบ ได้แก่ การพัฒนาคุณภาพการศึกษา/ผู้เรียน

การผลิตและพัฒนาครู คณาจารย์ การเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารและ

การจัดการศึกษาและการมีส่วนร่วม การเพิ่มโอกาสทางการศึกษา การผลิต

และพัฒนากำลังคน การเงินเพื่อการศึกษา เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา และ

กฎหมายการศึกษา ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการได้เสนอให้เพิ่มอีก

๑ กรอบ คือ การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย เพื่อสร้างสังคม

แห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต เพราะการปฏิรูปการศึกษารอบแรกยังเน้นไปที่

การศึกษาในระบบเป็นหลัก ทั้งนี้ การศึกษานอกระบบจะช่วยสร้างสรรค์

การเรียนรู้ตลอดชีวิตควบคู่ไปกับการศึกษาในระบบ เช่นเดียวกับประเทศ

ที่พัฒนาแล้วทั้งหลาย

งานในรอบ ๒ เดือน

Page 45: นโยบาย - กระทรวงศึกษาธิการ...นโยบายร ฐมนตร ว าการกระทรวงศ กษาธ การ นายจ

��นโยบายรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์

เป้าหมายสำคัญของการปฏิรูปการศึกษารอบสอง คือ “คุณภาพ

การศึกษา โอกาสทางการศึกษา และการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน”

ทั้งจากภาครัฐ ภาคเอกชน สถาบันทางศาสนา สถาบันครอบครัว และ

ภาคประชาชน โดยสภาการศึกษาจะต้องนำต้นร่างไปทำประชาพิจารณ์

ทั่วประเทศ และหาข้อสรุปให้ได้ภายในเดือนมีนาคม

๒. เรียนฟรี ๑๕ ปีอย่างมีคุณภาพ ถือเป็นโครงการที่เพิ่มโอกาสทางการศึกษาให้แก่เด็กทั่วประเทศ

โดยกระทรวงศึกษาธิการ จะจัดให้มีการเรียนฟรี ใน ๕ ส่วน คือ ค่าเล่าเรียน

หนังสือเรียน อุปกรณ์การเรียน เครื่องแบบนักเรียน และกิจกรรมพัฒนา

คุณภาพ นอกจากนี้ กระทรวงศึกษาธิการได้รณรงค์สร้างจิตสาธารณะ

โดยขอให้ผู้ปกครองและนักเรียนที่มีความพร้อมสละสิทธิ์ เพื่อนำเงินที่เหลือ

จากโครงการเรียนฟรี ไปช่ วยเหลือโรง เรียนที่ ด้ อยโอกาสในชนบท

กว่า ๖๐๐ โรงเรียนต่อไป

Page 46: นโยบาย - กระทรวงศึกษาธิการ...นโยบายร ฐมนตร ว าการกระทรวงศ กษาธ การ นายจ

นโยบายรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ �0

๓. กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) รัฐบาลได้เพิ่มวงเงินอีก ๑๐,๐๐๐ ล้านบาท เพื่อให้นักเรียน

นักศึกษาตั้งแต่ชั้น ม.ปลาย อาชีวะ จนถึงอุดมศึกษาทุกชั้นปี สามารถกู้ได้

ในปีการศึกษา ๒๕๕๒ เป็นจำนวนถึง ๓๖,๐๐๐ ล้านบาท จากเดิมที่ได้ปล่อยกู้

เพียง ๒๖,๐๐๐ ล้านบาท ในปี ๒๕๕๑ รวมทั้งเปิดโอกาสให้นักศึกษาที่อยู่

ชั้นปีที่ ๒-๔ มีสิทธิ์กู้ได้ด้วย ทั้งนี้เด็กที่ยื่นกู้ สามารถขอรับเงินได้ภายใน ๙๐ วัน

จากเดิมที่ต้องใช้เวลานานกว่า ๑๐ เดือน ซึ่งจะช่วยแก้ปัญหาเงินทุนหมุนเวียน

ของสถานศึกษา รวมทั้งหากใครกู้เรียนในสายอาชีพ โดยเฉพาะสาขาวิชาชีพ

ที่ขาดแคลน ๔๐๐ กว่าสาขา ก็จะได้รับการพิจารณาเป็นพิเศษ

๔. แผนพัฒนาการศึกษาชาติ-จังหวัด-กลุ่มจังหวัด สำหรับ “แผนการศึกษาแห่งชาติ” ฉบับปัจจุบัน ซึ่งเป็นแผนระยะยาว

๑๕ ปี เริ่มใช้มาตั้งแต่ปี ๒๕๔๕ นั้น พบว่าจำเป็นต้องปรับปรุงให้สอดคล้องกับ

สถานการณ์ต่างๆ ที่ควรจะเป็น เช่น การเปลี่ยนรัฐธรรมนูญ ในขณะเดียวกัน

ที่ผ่านมาประเทศไทยยังไม่เคยมี “แผนพัฒนาการศึกษาจังหวัด” มาก่อน

จึงจำเป็นต้องเร่งทำ เนื่องจากแต่ละจังหวัด ต่างมีทรัพยากร และศักยภาพ

แตกต่างกัน รวมทั้งมีสถาบันการศึกษาหลากหลายระดับและประเภท หากมี

Page 47: นโยบาย - กระทรวงศึกษาธิการ...นโยบายร ฐมนตร ว าการกระทรวงศ กษาธ การ นายจ

��นโยบายรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์

แผนพัฒนาการศึกษาจังหวัด จะทำให้แต่ละส่วนจัดการศึกษาได้อย่าง

สอดคล้องตามสภาพของแต่ละจังหวัด และอย่างมีบูรณาการ นอกจากนี้

ยังจะต้องมี “แผนพัฒนาการศึกษากลุ่มจังหวัด” ซึ่งเป็นแผนตรงกลางระหว่าง

แผนการศึกษาชาติและแผนการศึกษาจังหวัด เพื่อให้เกิดการเชื่อมโยง

ในการพัฒนาการศึกษาระหว่างจังหวัด โดยแบ่งเป็น ๑๙ กลุ่มจังหวัด

ตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน

๕. แยกเขตพื้นที่มัธยม ที่ประชุมสภาการศึกษา เมื่อวันที่ ๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒ ที่มี

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ เป็นประธาน

ได้เห็นชอบในหลักการการแยกเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา กับประถม

ศึกษา โดยกำหนดเขตมัธยมศึกษาเป็น ๑๘ เขต ตามพระราชบัญญัติ

ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน และรวมกรุงเทพมหานครอีก ๑ เขต เป็น ๑๙ เขต

ซึ่งต่อมา ที่ประชุมองค์กรหลักของ ศธ. ก็ได้มีข้อสรุปให้เขตมัธยมมีเขตย่อย

เป็น ๔๑ เขต และให้เขตประถมมีจำนวน ๑๘๒ เขต โดยให้แยกการบริหาร

บุคคลและงบประมาณออกจากกัน

Page 48: นโยบาย - กระทรวงศึกษาธิการ...นโยบายร ฐมนตร ว าการกระทรวงศ กษาธ การ นายจ

นโยบายรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ ��

๖. แผนพัฒนาการศึกษาจังหวัดชายแดนภาคใต ้ ● คุณภาพการศึกษา สิ่งที่น่าเป็นห่วงอย่างยิ่งคือ เด็กในพื้นที่

๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้จำนวนหนึ่ง ยังอ่านไม่ออกเขียนภาษาไทยไม่ได้

ซึ่งจะทำให้นักเรียนไม่เข้าใจตำราเรียน ส่งผลถึงผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน

ในกลุ่มวิชาหลัก ที่มีคะแนนต่ำกว่าเกณฑ์เฉลี่ยของภาคใต้ทั้งหมด และ

ผลการสอบ O-NET ใน ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้อยู่ในลำดับที่ ๗๔,๗๕,๗๖

ซึ่งเป็นลำดับสุดท้ายของประเทศ

● โอกาสทางการศึกษา จะต้องเปิดโอกาสให้เด็กจังหวัดชา

ยแดนภาคใต้ได้โควต้าไปเรียนต่อในต่างพื้นที่ที่หลากหลายมากขึ้น รวมทั้ง

การส่งเสริมการเรียนการสอนวิชาชีพควบคู่ ไปกับวิชาสามัญมากขึ้น

ทั้งการศึกษาในระบบและนอกระบบ

● การบริหารจัดการศึกษาในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้

ซึ่งปัจจุบันสัดส่วนของโรงเรียนเอกชนในพื้นที่ มีมากกว่าโรงเรียนของรัฐที่

๗๐ : ๓๐ โดยปีนี้รัฐบาลจะให้เงินอุดหนุนรายหัวโรงเรียนเอกชน ซึ่งรวมถึง

โรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามทุกโรง รวม ๑,๔๐๐ ล้านบาท ภายใต้

โครงการเรียนฟรี ๑๕ ปีอย่างมีคุณภาพ ที่จะช่วยลดภาระของผู้ปกครอง

มากขึ้น นอกจากนี้จะมีการจัดตั้งสำนักงานส่งเสริมสนับสนุนการศึกษา

Page 49: นโยบาย - กระทรวงศึกษาธิการ...นโยบายร ฐมนตร ว าการกระทรวงศ กษาธ การ นายจ

��นโยบายรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์

เอกชนในพื้นที่ชายแดน ๕ จังหวัด เพื่อจะได้ช่วยส่งเสริม สนับสนุน

และกำกับดูแลโรงเรียนเอกชนได้อย่างทั่วถึง และมีประสิทธิภาพส่วนครูเอกชน

ในพื้นที่ ก็จะได้มีโอกาสไปเข้ารับการอบรมพัฒนาในหลักสูตรต่างๆ มากขึ้น

ส่วนในเรื่องการนิเทศการศึกษานั้น จะให้ศึกษานิเทศก์ไปนิเทศในโรงเรียน

เอกชน ในสัดส่วนที่เพิ่มเติมขึ้นด้วย เพื่อช่วยเรื่องคุณภาพการศึกษา

นอกจากนี้ ยังจะมีการเพิ่มวงเงินประกันชีวิตครูในพื้นที่

เป็น๕แสนบาทต่อคน รวมทั้งการสร้างความก้าวหน้าของครูในพื้นที่ ซึ่งจะให้ครู

ที่ต้องการอยู่ในพื้นที่ ทำการสอนในพื้นที่โดยไม่ต้องโยกย้ายออกนอกพื้นที่

ถือเป็นการให้รางวัลความเจริญก้าวหน้าครูในพื้นที่ สำหรับครูอัตราจ้างนั้น

จะได้รับการพิจารณาให้เป็นพนักงานราชการมากขึ้น และพนักงานราชการ

ในพื้นที่ ก็จะได้รับการพัฒนา บรรจุเป็นข้าราชการในสัดส่วนที่เพิ่มขึ้นเช่นกัน

Page 50: นโยบาย - กระทรวงศึกษาธิการ...นโยบายร ฐมนตร ว าการกระทรวงศ กษาธ การ นายจ

นโยบายรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ ��

๗. การผลิตและพัฒนาครูให้มีคุณภาพ ถือเป็นโจทย์ข้อใหญ่ เพราะครูเป็นหัวใจสำคัญที่จะนำไปสู่คุณภาพ

ของผู้ เรียนหรือคุณภาพด้านการศึกษา โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวง

ศึกษาธิการ ได้เชิญประชุมสถาบันการศึกษาที่ผลิตครู จำนวน ๗๑ สถาบัน

และได้ลงนามในคำสั่งแต่งตั้ง “คณะกรรมการวางแผนผลิตและพัฒนาครู”

ขึ้นมา เพื่อวางแผนกำหนดปริมาณการผลิตครูอย่างมีคุณภาพ ซึ่งการผลิตครู

จะมี ๒ ส่วน ทั้งการผลิตครูของครู เพื่อเตรียมการการผลิตครูผู้สอน

ในมหาวิทยาลัย เพื่อทดแทนที่กำลังจะขาดช่วง และการผลิตครูของนักเรียน

ซึ่งจะมีการจัดตั้งสถาบันกำหนดมาตรฐานการผลิตและพัฒนาครูและบุคลากร

ทางการศึกษาในโอกาสต่อไป เพื่อให้สถาบันที่ผลิตครูและบุคลากร

ทางการศึกษารับมาตรฐานจากสถาบันนี้

๘. โครงการ “ครูพันธุ์ ใหม่” กระทรวงศึกษาธิการ จะจัดโครงการที่เปิดโอกาสให้เด็กดีที่เรียนเก่ง

เข้ามาเรียนครู โดยมีหลักประกันในการบรรจุเป็นครู เพื่อให้ได้คนเก่ง

และคนดีเข้ามาเป็นครูมากขึ้น และเป็นการเปิดโอกาสให้ผู้ที่มีความรู้

ความเชี่ยวชาญในแต่ละสาขาวิชา สามารถเข้ามาเป็นครูได้โดยไม่ต้องใช้เวลา

อบรมวิชาชีพครูยาวนานเป็นระยะเวลาถึง ๑ ปีเต็ม

Page 51: นโยบาย - กระทรวงศึกษาธิการ...นโยบายร ฐมนตร ว าการกระทรวงศ กษาธ การ นายจ

��นโยบายรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์

๙. โครงการ “คืนครูให้นักเรียน” โดยจะให้นักศึกษา หรือหนุ่มสาวที่จบใหม่ ไปทำงานด้านธุรการ

ในสถานศึกษา เพื่อให้ครูผู้สอนที่ทำหน้าที่ธุรการไปทำการสอนอย่างเต็มเวลา

โดยขณะนี้กำลังประสานขออัตราจากรัฐบาล จำนวน ๑๔,๐๐๐ อัตรา

๑๐. การประเมินวิทยฐานะครู จะได้ปรับปรุงหลักเกณฑ์การประเมิน จากเดิมที่มุ่งเน้นการจัดทำ

เอกสารทางวิชาการไปเป็นการประเมินที่มุ่งเน้นไปที่ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน

การสอนของครูและเด็กเป็นสำคัญ โดยคาดว่าจะได้หลักเกณฑ์ใหม่ภายใน

เดือนเมษายน

๑๑. การจัดตั้ง “กองทุนพัฒนาคุณภาพชีวิตครู” เพื่อช่วยเหลือส่งเสริมสวัสดิการครู และการแก้ปัญหาหนี้สินครู

ที่จะมีการปรับโครงสร้างหนี้ และนำไปสู่การลดหนี้ ยืดระยะเวลาชำระหนี้

ลดดอกเบี้ย พักชำระดอกเบี้ย

๑๒. การแก้ปัญหา ๕ วิชาหลัก ปัจจุบันพบว่า เด็กและเยาวชนไทยยังอ่อนใน ๕ วิชาหลัก คือ

คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ภาษาอังกฤษ ภาษาไทย และสังคมศึกษา โดยจะ

พยายามแก้ไขให้ตรงจุด และคาดว่าภายในเดือนเมษายนนี้ จะมีข้อสรุป

แนวทางที่ชัดเจนในการแก้ปัญหานี้ โดยในเบื้องต้นได้ตั้งเป้าหมายให้

เด็ก ป.๓, ป.๔ อย่างน้อยที่สุด ต้อง “อ่านคล่องเขียนคล่องและคิดเลขเป็น”

Page 52: นโยบาย - กระทรวงศึกษาธิการ...นโยบายร ฐมนตร ว าการกระทรวงศ กษาธ การ นายจ

นโยบายรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ ��

๑๓. ระบบนิเทศการศึกษา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ได้รับฟังปัญหาจากหลายส่วน

พบว่า การนิเทศการศึกษามีความจำเป็นต้องเพิ่มความเข้มข้นมากขึ้น

ในโรงเรียนเอกชนยังขาดศึกษานิเทศก์ที่จะเข้าไปพัฒนาครู จึงได้มอบเป็น

นโยบายให้ปรับระบบการนิเทศให้ศึกษานิเทศก์ไปช่วยนิเทศครู ทั้งโรงเรียน

ของรัฐและเอกชนอย่างเท่าเทียมกัน

๑๔. เทคโนโลยีทางการศึกษา จะเน้นการพัฒนา “ระบบการเรียนการสอนทางไกลผ่านดาวเทียม

จากโรงเรียนวังไกลกังวล” ซึ่งถือเป็นการต่อยอดและทำให้เข้มข้นขึ้น

กระจายในวงกว้างและเป็นประโยชน์มากขึ้น โดยจะพยายามทำให้

เป็นระบบการเรียนการสอนที่สามารถติดต่อสื่อสารระหว่างเรียนแบบสื่อสาร

สองทาง (Interactive) ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวง

ศึกษาธิการ ได้มอบหมายให้ปลัดกระทรวงศึกษาธิการประสานงานกับ

นายขวัญแก้ว วัชโรทัย ประธานคณะกรรมการบริหารโรงเรียนไกลกังวลแล้ว

Page 53: นโยบาย - กระทรวงศึกษาธิการ...นโยบายร ฐมนตร ว าการกระทรวงศ กษาธ การ นายจ

��นโยบายรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์

๑๕. กรอ.ศธ. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ได้แต่งตั้ง “คณะกรรมการ

ร่วมภาครัฐและเอกชนเพื่อการศึกษา” (กรอ.ศธ.) ขึ้น โดยมอบหมายให้

นายชัยวุฒิ บรรณวัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธาน

เพื่อให้ภาครัฐและเอกชนเข้ามาช่วยวางแผนการศึกษาร่วมกัน ทั้งระบบ

วางแผนผลิตผู้เรียนให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงาน มุ่งเน้น

ไปที่การผลิตผู้เรียนสายอาชีพ โดยตั้งเป้าหมายผู้เรียนระหว่างสายสามัญและ

สายอาชีพอยู่ที่ ๕๐ : ๕๐ เพราะในปัจจุบันมีผู้เรียนสายสามัญมากเพิ่มขึ้น

ทำให้เรียนจบแล้วไม่มีงานทำ และเป็นการสูญเปล่าทางการศึกษา

๑๖. ส่งเสริมการอ่านเป็นวาระแห่งชาติ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ประกาศผลักดันการอ่าน

เป็นวาระแห่งชาติ โดยจะตั้งคณะกรรมการขึ้นมาชุดหนึ่ง มี กศน.

เป็นฝ่ายเลขานุการ เนื่องจากการอ่านถือเป็นหัวใจสำคัญและกุญแจสำคัญดอกหนึ่ง

ในการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ให้เกิดขึ้น ทั้งขอให้ กศน. ดูแลโครงสร้างพื้นฐาน

ของ กศน. คือ แหล่งเรียนรู้ต่างๆ เช่น ศูนย์การเรียนรู้ และห้องสมุดประชาชน

ที่ให้มุ่งเน้นซอฟต์แวร์มากกว่าฮาร์ดแวร์ ให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการพัฒนา

เพราะการมีส่วนร่วมเป็นนโยบายหนึ่งของรัฐบาล จะหวังพึ่งแต่งบประมาณ

ของรัฐ ๑๐๐% ไม่ได้ จึงต้องระดมทรัพยากรมาช่วยกระทรวงศึกษาธิการอีก

ส่วนหนึ่งด้วย ทั้งจากภาคเอกชน อปท. และภาคส่วนต่างๆ

Page 54: นโยบาย - กระทรวงศึกษาธิการ...นโยบายร ฐมนตร ว าการกระทรวงศ กษาธ การ นายจ

พิมพ์ที่โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด ๗๙ ถนนงามวงศ์วาน แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร ๑๐๙๐๐ โทร. ๐-๒๕๖๑-๔๕๖๗ โทรสาร ๐-๒๕๗๙-๕๑๐๑ นายโชคดี ออสุวรรณ ผู้พิมพ์ผู้โฆษณา พ.ศ. ๒๕๕๒

Page 55: นโยบาย - กระทรวงศึกษาธิการ...นโยบายร ฐมนตร ว าการกระทรวงศ กษาธ การ นายจ