15
งานวิจัยในชั้นเรียน ความคิดเห็นของนักเรียนเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอน วิชา การศึกษาค้นคว้าและสร้างองค์ความรู(IS1)โดยใช้ Facebook เป็นเครื่องมือติดต่อสื่อสาร ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีท่ 5 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2558 โรงเรียนบางละมุง อําเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี ผู้วิจัย : นายอัครพงษ์ ติงสะ ตําแหน่ง ครู คศ.1 กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี โรงเรียนบางละมุง อําเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 18 กระทรวงศึกษาธิการ

งานวิจัยในชั้นเรียน ความ ...1 รายงานว จ ยในช นเร ยน เร อง ความค ดเห นของน

  • Upload
    others

  • View
    17

  • Download
    0

Embed Size (px)

Citation preview

Page 1: งานวิจัยในชั้นเรียน ความ ...1 รายงานว จ ยในช นเร ยน เร อง ความค ดเห นของน

13

งานวิจัยในชั้นเรยีน ความคิดเห็นของนักเรียนเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอน

วิชา การศึกษาค้นคว้าและสร้างองค์ความรู้ (IS1)โดยใช้ Facebook เป็นเครื่องมือติดต่อสื่อสาร ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ภาคเรียนท่ี 1 ปีการศึกษา 2558

โรงเรียนบางละมุง อําเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี

ผู้วิจัย : นายอัครพงษ์ ติงสะ ตําแหน่ง ครู คศ.1 กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี

โรงเรียนบางละมุง อําเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 18 กระทรวงศึกษาธิการ

Page 2: งานวิจัยในชั้นเรียน ความ ...1 รายงานว จ ยในช นเร ยน เร อง ความค ดเห นของน

14

หัวข้อวิจัย ความคิดเหน็ของนักเรียนเกีย่วกับการจดัการเรียนการสอน

วิชา การศึกษาคน้คว้าและสร้างองค์ความรู้ (IS1)โดยใช้ Facebook เป็นเครื่องมือติดต่อสื่อสารของนักเรียนระดับชัน้มธัยมศกึษาปีที่ 5 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2558 โรงเรียนบางละมุง อําเภอบางละมงุ จังหวัดชลบุรี

ผู้ดําเนินการวิจัย นายอัครพงษ์ ติงสะ ปีการศึกษา 2558 กลุ่มสาระการเรียนรู้ การงานอาชีพและเทคโนโลยี สถานศึกษา โรงเรียนบางละมุง

บทคัดย่อ

การวิจั ยครั้ งนี้ เป็นการประเมิน ความคิด เห็นของนัก เรียน เกี่ ยวกับการจัดการเรียนการสอน วิชา การศึกษาค้นคว้าและสร้างองค์ความรู้ (IS1)โดยใช้ Facebook เป็นเครื่องมือติดต่อสื่อสาร ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2558 โรงเรียนบางละมุง อําเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี โดยใช้แบบสอบถามประมาณค่า 5 ระดับ มีข้อคําถามทั้งสิ้น 10 ข้อ กลุ่มประชากรที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้เป็นนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2558 โรงเรียนบางละมุง อําเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี จํานวนทั้งสิ้น 444 คน ได้รับแบบสอบถามกลับมาทั้งสิ้น 432 คน คิดเป็นร้อยละ 97.29 ของประชาชากรทั้งหมด การประเมินผลความคิดเห็นในครั้งนี้ใช้วิธีการทางสถิติโดยประเมินตามระดับความคิดเห็นของนักเรียนเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนวิชา การศึกษาค้นคว้าและสร้างองค์ความรู้ (IS1)โดยใช้ Facebook เป็นเครื่องมือติดต่อสื่อสาร และประมวลผลด้วยโปรแกรมสําเร็จรูปทางสถิติ ผลการวิจัยพบว่า

1.ความคิดเห็นของนักเรียนเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนวิชา การศึกษาค้นคว้าและสร้างองค์ความรู้ (IS1)โดยใช้ Facebook เป็นเครื่องมือติดต่อสื่อสารของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2558 โรงเรียนบางละมุง อําเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด

2.ความคิดเห็นของนักเรียนเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนวิชา การศึกษาค้นคว้าและสร้างองค์ความรู้ (IS1)โดยใช้ Facebook เป็นเครื่องมือติดต่อสื่อสารของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2558 โรงเรียนบางละมุง อําเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี ในรายข้อ พบว่าการจัดการเรียนการสอนโดยใช้ Facebook ช่วยให้นักเรียนติดต่อสื่อสารกับอาจารย์ เพื่อนๆ มากขึ้น มีความคิดเห็นในระดับมากที่สุด รองลงมานักเรียนต้องการเรียนด้วยการจัดการเรียนการ สอนโดยใช้ Facebookฯ ในโอกาสต่อไป มีความคิดเห็นในระดับมากที่สุด การจัดการเรียนการสอนโดยใช้ Facebookฯ ช่วยให้นักเรียนเรียนอย่างมีความสุข มีความคิดเห็นในระดับมากที่สุด ความพึงพอใจโดยรวมการจัดการเรียนการสอนโดยใช้ Facebookฯ มีความคิดเห็นในระดับมากที่สุด การจัดการเรียนการสอนโดยใช้ Facebookฯ ทําให้นักเรียนมีโอกาสแลกเปลี่ยนความคิดเห็นร่วมกับผู้อื่น มีความคิดเห็นในระดับมากที่สุด นักเรียนสามารถใช้ Facebook ฯ ในการเรียนรู้มากขึ้น มีความคิดเห็นในระดับมากที่สุด นักเรียนจะนําการใช้ Facebookฯ ไปใช้ในการสร้างองค์ความรู้ในรายวิชาอื่นๆ มีความคิดเห็นในระดับมากที่สุด การจัดการเรียนการสอนโดยใช้ Facebookฯ ช่วยให้นักเรียนเรียนด้วยความสนุกสนาน มีความคิดเห็นในระดับมากที่สุด การจัดการเรียนการสอนโดยใช้ Facebookฯ ช่วยให้บรรยากาศในชั้นเรียนเป็นกันเอง มีความคิดเห็นในระดับมากที่สุด และการจัดการเรียนการสอนโดยใช้ Facebookฯ ทําให้ผู้เรียนเข้าใจบทเรียนได้ดี มีความคิดเห็นในระดับมาก ตามลําดับ

Page 3: งานวิจัยในชั้นเรียน ความ ...1 รายงานว จ ยในช นเร ยน เร อง ความค ดเห นของน

15

กิตติกรรมประกาศ งานวิจัยในชั้นเรียน เรื่อง ความคิดเห็นของนักเรียนเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอน วิชา การศึกษาค้นคว้าและสร้างองค์ความรู้ (IS1)โดยใช้ Facebook เป็นเครื่องมือติดต่อสื่อสาร ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2558 โรงเรียนบางละมุง อําเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี สําเร็จลุล่วงได้ด้วยดีจากการให้ความร่วมมือในการตอบแบบสอบถามของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2558 โรงเรียนบางละมุง อําเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี ทางผู้วิจัยต้องขอขอบคุณมา ณ ที่นี้ด้วย นอกจากนี้ผู้วิจัยต้องขอขอบพระคุณท่านผู้อํานวยการนพดล เหลืองอ่อน ผู้อํานวยการโรงเรียน บางละมุง ได้ให้ความอนุเคราะห์สนับสนุนการจัดทําวิจัยเล่มนี้ให้สําเร็จลุล่วงไปด้วยดี ขอขอบพระคุณหอสมุด มหาวิทยาลัยบูรพา ที่เอ้ือเฟ้ือสถานที่ในการศึกษาค้นคว้าหาความรู้ ต่างๆ ประกอบการจัดทําวิจัยเล่มนี้ ตลอดระยะเวลาในการวิจัย ขอกราบขอบพรุคุณบิดา มารดา ผู้ซึ่งให้ความรัก ความเมตตา ความห่วงใย และเป็นกําลังใจกับผู้วิจัยจนสําเร็จ และขอขอบพระคุณพ่ีๆน้องๆรวมทั้งเพ่ือนๆทุกคนที่ให้กําลังใจ ผู้วิจัยรู้สึกซาบซึ้งในพระคุณอย่างสูง ความดีของงานวิจัยครั้งนี้ ขอมอบเป็นเครื่องบูชาบิดา มารดาและบูรพาจารย์ทุกท่าน ที่ได้ประสิทธิ์ประสาทความรู้แก่ผู้วิจัย จนสามารถจัดทําวิจัยเล่มนี้ให้สําเร็จลุล่วง

Page 4: งานวิจัยในชั้นเรียน ความ ...1 รายงานว จ ยในช นเร ยน เร อง ความค ดเห นของน

1

รายงานวิจัยในชั้นเรียน เร่ือง ความคิดเห็นของนักเรียนเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอน

วิชา การศึกษาค้นคว้าและสร้างองค์ความรู้ (IS1)โดยใช้ Facebook เป็นเครื่องมือติดต่อสื่อสาร ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2558

1. ความเป็นมาและความสําคัญของปัญหา

ปัจจุบันการติดต่อสื่อสารระหว่างครูกับนักเรียนภายในชั้นเรียนมีไม่เพียงพอเนื่องจากการสอนที่จํากัดเวลา และการจัดการเรียนการสอนประสบปัญหาในการสื่อสารระหว่างครูกับนักเรียน เช่น การเข้าชั้นเรียนเพ่ือฟังบรรยายสรุปของครู การตอบข้อซักถามในชั้นเรียน การใช้เอกสารประกอบการเรียน แบบฝึกหัด และปฏิบัติ เป็นต้น คงไม่เพียงพอและไม่สอดรับกับวิถีชีวิต อาจทําให้นักเรียนไม่กล้าที่จะซักถามในชั้นเรียนแม้ว่าจะไม่เข้าใจเนื่องจากมีเพ่ือนอยู่เยอะ เกรงว่าครูจะดุ จึงทําให้ไม่มีปฏิกริยาตอบสนองต่อการเรียนการสอน เช่น นั่งนิ่งเงียบ ครูถามไม่ตอบ หรือเปิดโอกาสให้ซักถามแต่นักเรียนไม่กล้าหรือไม่มีการซักถาม จึงทําให้ครู คิดว่านักเรียนทุกคนเข้าใจ หรือเกิดช่องว่างระหว่างวัย ความใกล้ชิดสนิทสนมระหว่างครูกับนักเรียน เป็นต้น แนวทางการแก้ปัญหาดังกล่าวจึงไม่อาจใช้สื่อหรือช่องทางการสื่อสารแบบเดิมได้

จากความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีสารสนเทศได้พัฒนาไปอย่างรวดเร็ว ทุกคนสามารถเข้าถึงระบบอินเทอร์เน็ตได้ง่าย ประกอบกับจํานวนผู้ใช้งานที่มีเพ่ิมมากขึ้นทุกวัน ทุกคนมีอิสระที่จะเข้าไปแบ่งปันความรู้และเลือกเครื่องมือที่ดีที่สุด เพ่ือนําไปเผยแพร่ความรู้ที่ตัวเองต้องการสื่อสาร และเสนอความคิดใหม่ๆ ได้ โดยไม่ถูกปิดกั้น จนถึงยุคเว็บ 2.0 ที่มีการเปลี่ยนถ่ายของข้อมูลจากข้อมูลที่คงที่เข้าสู่ยุคของข้อมูลที่มีการเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา จึงมีแนวคิดการนําเครือข่ายสังคมออนไลน์ (Social Networing) มาประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนการสอน เพราะเครือข่ายสังคมออนไลน์ ได้กลายเป็นเครื่องมือที่สําคัญในการสร้างสื่อให้เกิดเครือข่ายเชื่อมโยงกันในโลกออนไลน์ที่เปิดโอกาสให้ทุกคนสามารถใช้เป็นช่องทางในการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้สะดวก รวดเร็ว ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการจัดการศึกษาเป็นอย่างมาก ประกอบกับพฤติกรรมการใช้คอมพิวเตอร์ และอินเตอร์เนตของนักเรียน มีการพัฒนาและเปลี่ยนแปลง ตามกระแสเทคโนโลยีที่พัฒนาขึ้นทุกวัน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การใช้ Facebook ซึ่งเป็นสื่อสังคมที่เป็นรู้จัก ซึ่งสามารถนํามาใช้ร่วมกับอุปกรณ์เทคโนโลยีสารสนเทศต่างๆ ที่สามารถใช้งานได้สะดวกยิ่งขึ้น เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์เ ครื่องโน้ตบุค แทบเลต หรือแม้แต่โทรศัพท์มือถือที่เชื่อมต่อระบบอินเทอร์เนตได้ เช่น smart phone เป็นต้น

จากการศึกษาเครือข่ายสังคมออนไลน์ ผู้วิจัยได้มีความสนใจการนํา Facebook มาใช้เป็นเครื่องมือในการจัดการเรียนรู้วิชาการศึกษาค้นคว้าและสร้างองค์ความรู้ ( IS1) เพ่ือสร้างเครือข่ายการเรียนรู้ของผู้เรียน และศึกษาความคิดเห็นของนักเรียน เกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนวิชาการศึกษาค้นคว้าและสร้างองค์ความรู้ (IS1) โดยใช้ Facebook ในการติดต่อสื่อสาร อันจะเป็นแนวทางในการนําเครือข่ายสังคมออนไลน์ มาเป็นเครื่องมือในการจัดกิจกรรมแบบปฏิสัมพันธ์ที่เน้นผู้เรียนเป็นสําคัญต่อไป

Page 5: งานวิจัยในชั้นเรียน ความ ...1 รายงานว จ ยในช นเร ยน เร อง ความค ดเห นของน

2

2. วัตถุประสงค์การวิจัย

เพ่ือศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2558 เกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนวิชาการศึกษาค้นคว้าและสร้างองค์ความรู้ (IS1) โดยใช้ Facebook ในการติดต่อสื่อสาร

3. ประโยชน์ทีจ่ะได้รับจากการวิจัย

1. สามารถเพ่ิมประสิทธิภาพในการจัดการเรียนการสอนวิชาการศึกษาค้นคว้าและสร้างองค์ความรู้ (IS1) 2. สามารถสร้างสัมพันธภาพระหว่างครูกับนักเรียน 3. สามารถส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการจัดการเรียนการสอน

4. ขอบเขตการวิจัย

การวิจัยในครั้งนี้ เป็นงานวิจัยในชั้นเรียน ที่มุ่งศึกษาความคิดเห็นนักเรียน ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2558 เกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนวิชาการศึกษาค้นคว้าและสร้างองค์ความรู้ (IS 1) โดยใช้ Facebook ในการติดต่อสื่อสาร มาเป็นเครื่องมือ และทําการวิจัยและศึกษากับนักเรียนที่ผู้วิจัยดําเนินการสอน ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2558 5. วิธีดําเนินการวิจัย

ประชากร คือ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 จํานวน 10 ห้อง จํานวน 444 คน ระยะเวลา เดือน พฤษภาคม พ.ศ. 2558 ถึง เดือน กันยายน พ.ศ. 2558 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2558 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย แบบสอบถามความคิดเห็นของผู้เรียนที่มีต่อการจัดการเรียนการสอน

เกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนวิชาการศึกษาค้นคว้าและสร้างองค์ความรู้ ( IS1) โดยใช้ Facebook ในการติดต่อสื่อสาร

6. ขั้นตอนการวิจัย 1. ออกแบบการจัดการเรียนการสอนวิชาการศึกษาค้นคว้าและสร้างองค์ความรู้ ( IS1) รหัสวิชา I30201 ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยจัดทํา ใบความรู้ แบบฝึกหัด วีดีโอประกอบการสอน ฯลฯ 2. กําหนดให้นักเรียนทุกคนแต่ละห้องสมัครเข้าใช้บริการ facebook และเข้าร่วมกลุ่มกําหนด 10กลุ่ม ตามห้องเรียน คือ IS-501 BLM 58 , IS-502 BLM 58 , IS-503 BLM 58 , IS-504 BLM 58 , IS-505 BLM 58 , IS-506 BLM 58 , IS-507 BLM 58 , IS-508 BLM 58 , IS-509 BLM 58 และ IS-510 BLM 58 3. ก่อนการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนครูจะโพสต์ ใบความรู้ ใบกิจกรรม หรือ แบบฝึกหัดไว้ล่วงหน้าที่ facebook ของกลุ่มนักเรียน 4. จัดกิจกรรมการเรียนการสอนในห้องเรียน และในชั่วโมงเรียนครูอธิบายขั้นตอนการจัดกิจกรรม การเรียนการสอนพร้อมยกตัวอย่างกิจกรรมผ่านทาง facebook ตัวอย่าง วิธีการทํางานผ่านทาง youtube

Page 6: งานวิจัยในชั้นเรียน ความ ...1 รายงานว จ ยในช นเร ยน เร อง ความค ดเห นของน

3

5. ออกแบบสอบถามความคิดเห็นของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ปีการศึกษา 2558

การจัดการเรียนการสอนวิชาการศึกษาค้นคว้าและสร้างองค์ความรู้ ( IS1) โดยใช้ Facebook ในการติดต่อสื่อสาร โดยการสร้างแบบสอบถามเป็นแบบสอบถามความคิดเห็น มาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ (น้อยที่สุด น้อย ปานกลาง มาก มากที่สุด) จํานวน 10 ข้อ ผ่านทางระบบคลังข้อสอบออนไลน์ SUT-5708

6. นําแบบสอบถามความคิดเห็นมาวิเคราะห์ข้อมูล 7. วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล

ในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ผ่านเครือข่ายสังคม โดยการแจกแบบสอบถาม ความคิดเห็นของนักเรียนต่อการใช้ Facebook ในระบบสังคมออนไลน์ 8. สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล

การวิจัยครั้งนี้วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพ้ืนฐานได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

โดยนําค่าเฉลี่ยที่ได้เทียบกับเกณฑ์การประเมินดังนี้ (บุญชม ศรีสะอาด, 2545 : 50-100)

4.51 – 5.00 หมายความว่า มากที่สุด 3.51 – 4.50 หมายความว่า มาก 2.51 – 3.50 หมายความว่า ปานกลาง 1.51 – 2.50 หมายความว่า น้อย 1.00 – 1.50 หมายความว่า น้อยที่สุด

9. ผลการวิจัย

ผลการประเมินระดับความคิดเห็นของนักเรียน ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ปีการศึกษา 2558 เกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนวิชาการศึกษาค้นคว้าและสร้างองค์ความรู้ (IS 1) โดยใช้ Facebook ในการติดต่อสื่อสาร

ตอนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป ในการประเมินระดับความคิดเห็นของนักเรียน ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ปีการศึกษา 2558

เกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนวิชาการศึกษาค้นคว้าและสร้างองค์ความรู้ ( IS1) โดยใช้ Facebook จากจํานวนนักเรียนทั้งสิ้น 444 คน มีจํานวนผู้ตอบแบบสอบถาม จํานวน 432 คน คิดเป็น 97.29 %

Page 7: งานวิจัยในชั้นเรียน ความ ...1 รายงานว จ ยในช นเร ยน เร อง ความค ดเห นของน

4

ตารางท่ี 1 แสดงจํานวนและร้อยละของผู้ตอบแบบสอบถาม จําแนกตามเพศ

เพศ ร้อยละ ชาย 53.47 หญิง 46.53

รวม 100.00 จากตารางที่ 1 พบว่าผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศชาย คิดเป็นร้อยละ 53.47 รองลงมาเป็นเพศหญิง คิดเป็นร้อยละ 46.53 ตามลําดับ ตารางท่ี 2 แสดงจํานวนและร้อยละของผู้ตอบแบบสอบถาม จําแนกตามสถานภาพ

สถานภาพ ร้อยละ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/1 10.88 นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/2 10.42 นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/3 9.95 นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/4 10.88 นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/5 10.42 นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/6 11.11 นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/7 10.42 นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/8 9.72 นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/9 9.49 นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/10 6.71

รวม 100.00 จากตารางที่ 2 พบว่า ผู้ตอบแบบสอถามส่วนใหญ่เป็นนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/6 คิดเป็นร้อยละ 11.11 รองลงมานักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/1 และนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/4 คิดเป็นร้อยละ 10.88 รองลงนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/2 นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/5 และนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/7 คิดเป็นร้อยละ 10.42 รองลงมานักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/3 คิดเป็นร้อยละ 9.95 รองลงมานักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/8 คิดเป็นร้อยละ 9.72 รองลงมานักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/9 คิดเป็นร้อยละ 9.49 และนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/10 คิดเป็นร้อยละ 6.71 ตามลําดับ

Page 8: งานวิจัยในชั้นเรียน ความ ...1 รายงานว จ ยในช นเร ยน เร อง ความค ดเห นของน

5

ตารางที่ 3 ความคิดเห็นของนักเรียนเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนวิชา การศึกษาค้นคว้าและสร้างองค์

ความรู้ (IS1)โดยใช้ Facebook เป็นเครื่องมือติดต่อสื่อสารของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2558 โรงเรียนบางละมุง อําเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี

รายการ n =432

ระดับ อันดับ X SD.

1. การจัดการเรียนการสอนโดยใช้ Facebook ฯ ช่วยให้บรรยากาศในชั้นเรียนเป็นกันเอง

4.60 .658 มากที่สุด 9

2. การจัดการเรียนการสอนโดยใช้ Facebook ฯ ช่วยให้นักเรียนเรียนด้วยความสนุกสนาน

4.61 .621 มากที่สุด 8

3. การจัดการเรียนการสอนโดยใช้ Facebook ฯ ช่วยให้นักเรียนเรียนอย่างมีความสุข

4.86 .703 มากที่สุด 3

4. การจัดการเรียนการสอนโดยใช้ Facebook ฯ ทําให้นักเรียนมีโอกาสแลกเปลี่ยนความคิดเห็นร่วมกับผู้อ่ืน

4.79 .646 มากที่สุด 5

5. การจัดการเรียนการสอนโดยใช้ Facebook ฯ ทําให้ผู้เรียนเข้าใจบทเรียนได้ดี

4.32 .735 มาก 10

6. นักเรียนต้องการเรียนด้วยการจัดการเรียนการ สอนโดยใช้ Facebook ฯ ในโอกาสต่อไป

4.88 .792 มากที่สุด 2

7. นักเรียนสามารถใช้ Facebook ฯ ในการเรียนรู้มากข้ึน 4.68 .732 มากที่สุด 6 8. นักเรียนจะนําการใช้ Facebookฯ ไปใช้ในการสร้าง องค์ความรู้ในรายวิชาอ่ืนๆ

4.66 .845 มากที่สุด 7

9. การจัดการเรียนการสอนโดยใช้ Facebook ฯ ช่วยให้นักเรียนติดต่อสื่อสารกับอาจารย์ เพ่ือนๆ มากขึ้น

4.95 .726 มากที่สุด 1

10. ความพึงพอใจโดยรวมการจัดการเรียนการสอน โดยใช้ Facebook ฯ

4.85 .731 มากที่สุด 4

รวม 4.72 .632 มากที่สุด

จากตารางที่ 3 พบว่า ความคิดเห็นของนักเรียนเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนวิชา การศึกษาค้นคว้าและสร้างองค์ความรู้ (IS1)โดยใช้ Facebook เป็นเครื่องมือติดต่อสื่อสารของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2558 โรงเรียนบางละมุง อําเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 4.72 ในรายข้อ พบว่าการจัดการเรียนการสอนโดยใช้ Facebook ช่วยให้นักเรียนติดต่อสื่อสารกับอาจารย์ เพ่ือนๆ มากขึ้น มีความคิดเห็นในระดับมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 4.95 รองลงมานักเรียนต้องการเรียนด้วยการจัดการเรียนการ สอนโดยใช้ Facebook ฯ ในโอกาสต่อไป มีความคิดเห็นในระดับมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 4.88 การจัดการเรียนการสอนโดยใช้ Facebook ฯ ช่วยให้นักเรียนเรียนอย่างมีความสุข มีความคิดเห็นในระดับมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 4.86 ความพึงพอใจโดยรวมการจัดการเรียนการสอนโดยใช้ Facebook ฯ มีความคิดเห็นในระดับมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 4.85

Page 9: งานวิจัยในชั้นเรียน ความ ...1 รายงานว จ ยในช นเร ยน เร อง ความค ดเห นของน

6

การจัดการเรียนการสอนโดยใช้ Facebook ฯ ทําให้นักเรียนมีโอกาสแลกเปลี่ยนความคิดเห็นร่วมกับผู้อ่ืน มีความคิดเห็นในระดับมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 4.79 นักเรียนสามารถใช้ Facebook ฯ ในการเรียนรู้มากขึ้น มีความคิดเห็นในระดับมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 4.68 นักเรียนจะนําการใช้ Facebookฯ ไปใช้ในการสร้างองค์ความรู้ในรายวิชาอ่ืนๆ มีความคิดเห็นในระดับมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 4.66 การจัดการเรียนการสอนโดยใช้ Facebook ฯ ช่วยให้นักเรียนเรียนด้วยความสนุกสนาน มีความคิดเห็นในระดับมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 4.61 การจัดการเรียนการสอนโดยใช้ Facebook ฯ ช่วยให้บรรยากาศในชั้นเรียนเป็นกันเอง มีความคิดเห็นในระดับมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 4.60 และการจัดการเรียนการสอนโดยใช้ Facebook ฯ ทําให้ผู้เรียนเข้าใจบทเรียนได้ด ีมีความคิดเห็นในระดับมาก คิดเป็นร้อยละ 4.32 ตามลําดับ 10. สรุปและข้อเสนอแนะ

จากข้อมูลแบบสอบถามความคิดเห็นของนักเรียนจะเห็นว่า การใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์เป็นประโยชน์กับการจัดการเรียนการสอน โดยเฉพาะการเสริมสร้างความรู้และทักษะทางปัญญา เป็นช่องทางในการติดต่อสื่อสารกับครู เพ่ือนนักเรียน เปิดโอกาสให้นักเรียนกล้าแสดงความคิดเห็น สอบถามความรู้เพ่ิมเติมช่วยให้นักเรียนเรียนด้วยความสนุกสนาน สร้างบรรยากาศในชั้นเรียนให้นักเรียนเรียนอย่างมี ความสุขสนุกสนาน ช่วยให้นักเรียนมีการเรียนรู้มากขึ้น ตลอดจนสามารถใช้ Facebook ในการสร้างองค์ความรู้ในรายวิชาอ่ืนๆ แต่มีข้อสังเกตว่า การใช้ Facebook ทําให้นักเรียนเข้าใจบทเรียนได้ดีขึ้นบ้าง เนื่องจากการใช้งานเครือข่ายสังคมออนไลน์จะสามารถส่งผลให้ผู้เรียนนั้นเข้าใจในเนื้อหาและบทเรียนที่เรียนที่สามารถเข้าใจง่ายและสะดวกรวดเร็ว

ข้อควรพิจารณาถึงการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ก็คือ นักเรียนมักจะใช้เพ่ือความบันเทิงและการสื่อสารเป็นหลักจึงอาจส่งผลเสียในกรณีที่นักเรียนแชทกันในห้องเรียนในขณะที่อาจารย์กําลังสอน ทําให้นักเรียนไม่มีสมาธิในการเรียน และครูผู้สอนรู้สึก ไม่ดี บรรยากาศในห้องเรียนจะตึงเครียดขึ้น ประสิทธิภาพในการเรียนการสอนจะลดลงทันที ดังนั้นเพ่ือให้การใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์สามารถเพ่ิมประสิทธิภาพในการเรียนการสอนให้สูงขึ้น จึงควรพิจารณาในประเด็นต่าง ๆ ดังนี้ 1. ครูผู้สอนควรฝึกวินัยใน การใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ ความซื่อสัตย์และความรับผิดชอบในหน้าที่ของตนเอง เป็นต้น 2. ครูผู้สอนควรสร้างบรรยากาศในชั้นเรียน โดยการจัดการเรียนการสอนผ่านเครือข่ายในรูปแบบที่หลากหลาย เพ่ือกระตุ้นและสร้างแรงจูงใจในการเรียนการสอน 3. ควรจัดระบบการบริหารจัดการเครือข่ายคอมพิวเตอร์มีประสิทธิภาพ เพ่ือเอ้ือความสะดวกต่อการจัดการเรียนการสอนให้เกิดประสิทธิภาพ เช่น การเข้าถึงเครือข่ายอินเตอร์เน็ต การบล๊อกเว็บไซต์บางเว็บไซต์ เป็นต้น 11. เอกสารอ้างอิง

บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องตน. พิมพครั้งที่ 7. กรงเทพฯ : สุวีริยาสาสน

Page 10: งานวิจัยในชั้นเรียน ความ ...1 รายงานว จ ยในช นเร ยน เร อง ความค ดเห นของน

7

ภาคผนวก

Page 11: งานวิจัยในชั้นเรียน ความ ...1 รายงานว จ ยในช นเร ยน เร อง ความค ดเห นของน

8

Group Facebook รายวิชา การศึกษาค้นคว้าและสร้างองค์ความรู้ (IS1)

1. IS-501 BLM 58

2. IS-502 BLM 58

Page 12: งานวิจัยในชั้นเรียน ความ ...1 รายงานว จ ยในช นเร ยน เร อง ความค ดเห นของน

9

3. IS-503 BLM 58

4. IS-504 BLM 58

Page 13: งานวิจัยในชั้นเรียน ความ ...1 รายงานว จ ยในช นเร ยน เร อง ความค ดเห นของน

10

5. IS-505 BLM 58

6. IS-506 BLM 58

Page 14: งานวิจัยในชั้นเรียน ความ ...1 รายงานว จ ยในช นเร ยน เร อง ความค ดเห นของน

11

7. IS-507 BLM 58

8. IS-508 BLM 58

Page 15: งานวิจัยในชั้นเรียน ความ ...1 รายงานว จ ยในช นเร ยน เร อง ความค ดเห นของน

12

9. IS-509 BLM 58

10. IS-510 BLM 58