Author
others
View
9
Download
0
Embed Size (px)
เล่มที่ ๒
เรื่อง เล่าขานนิทานชาดก
จัดท ำโดย นำงสำวอภิญญำ อนิทรสุนทร โรงเรียนเทศบำลวัดประทุมคณำวำส (นิพัทธ์หริณสูตร์) องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กระทรวงมหำดไทย
ชุด อ่านคิดพินิจความ วิชาภาษาไทย๑ ท๒๑๑๐๑ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑
แบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความ
ค ำน ำ
แบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความ ชุด อ่านคิดพินิจความ วิชาภาษาไทย ๑ ท๒๑๑๐๑ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑ จัดท าขึ้น เพื่อให้นักเรียนได้ฝึกทักษะการอ่านจับใจความ และพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทักษะการอ่านจับใจความให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น มีจ านวน ๗ เล่ม ได้แก่ เล่มที่ ๑ เรื่องข่าวสารน่าอ่าน เล่มที่ ๒ เรื่องเล่าขานนิทานชาดก เล่มที่ ๓ เรื่องเก็บตกเรื่องเล่าประสบการณ์ เล่มที่ ๔ เรื่องสนุกสนานบันเทิงคด ีเล่มที่ ๕ เรื่องหลากเรื่องมีในบทความ เล่มที่ ๖ เรื่องน่าติดตามสารคดี และเล่มที่ ๗ เรื่องงานกวีบทร้อยกรอง ภายในเล่มประกอบด้วยค าชี้แจงในการใช้ แบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความ ข้อปฏิบัติในการอ่านจับใจความ จุดประสงค์การเรียนรู้ ใบความรู้ เนื้อเรื่อง แบบฝึกทักษะ ค าศัพท์ แบบทดสอบหลังเรียน ภาคผนวก เฉลยแบบฝึกทักษะและแบบทดสอบหลังเรียน และบรรณานุกรม แบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความเล่มนี้เป็นเล่มที่ ๒ เรื่อง เล่าขานนิทานชาดก การจัดท าในครั้งนี้ได้รับความอนุเคราะห์จากผู้เชี่ยวชาญและได้รับความร่วมมือจากผู้บริหารโรงเรียนและคณะครูที่ให้ค าปรึกษา แนะน า ท าให้ผลงานเล่มนี้ส าเร็จลุล่วงด้วยดี จึงขอขอบพระคุณไว้ ณ โอกาสนี้ ผู้จัดท าหวังเป็นอย่างยิ่งว่า แบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความนี้ จะเป็นประโยชน์แก่ครูผู้สอนในการน าไปใช้จัดกิจกรรมการเรียนสอนและนักเรียนสามารถน าความรู้ ข้อคิดและประโยชน์ที่ได้รับไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจ าวันได้
อภิญญา อินทรสุนทร ผู้จัดท า
ก
สำรบัญ
เรื่อง หน้า ค าน า................................................................................................................ก
สารบัญ.............................................................................................................ข ค าชี้แจงในการใช้แบบฝึกทักษะการอ่านจบัใจความ.........................................๑ ข้อปฏบิัติในการอ่านจับใจความ........................................................................๒ จุดประสงค์การเรียนรู้........................................................................................๓ ใบความรู้...........................................................................................................๔ นิทานชาดกเรื่องที่ ๑ พญาไก่ป่า.......................................................................๗ แบบฝึกทักษะที ่๑.............................................................................................๙ นิทานชาดกเรื่องที่ ๒ เนมริาชชาดก.................................................................๑๐ แบบฝึกทักษะที ่๒............................................................................................๑๖ นิทานชาดกเรื่องที่ ๓ ปัญญาคืออาวุธ..............................................................๑๗ แบบฝึกทักษะที ่๓............................................................................................๒๐ ค าศัพท์.............................................................................................................๒๑ แบบทดสอบหลังเรียน......................................................................................๒๒ ภาคผนวก.........................................................................................................๒๗
- เฉลยแบบฝึกทักษะที่ ๑..............................................................................๒๘ - เฉลยแบบฝึกทักษะที่ ๒..............................................................................๒๙ - เฉลยแบบฝึกทักษะที่ ๓..............................................................................๓๐ - เฉลยแบบทดสอบหลังเรียน........................................................................๓๑ บรรณานุกรม....................................................................................................๓๒
ขข
๑. นักเรียนอ่านค าช้ีแจงในการใชแ้บบฝึกทักษะการอ่านจบัใจความ
ข้อปฏบิัติในการอ่านจับใจความ และจุดประสงค์การเรียนรู้ใหเ้ข้าใจ ๒. นักเรียนศึกษาใบความรู้และอ่านเรือ่งที่ก าหนดให้ ๓. นักเรียนท าแบบฝึกทกัษะที่ ๑-๓ ๔. นักเรียนส่งผลงานและครูตรวจผลงานนักเรียน ๕. นักเรียนท าแบบทดสอบหลังเรียน
ค าชี้แจงในการใช ้ แบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความ
๑
๑. นักเรียนอ่านเนื้อเรือ่งที่ก าหนดใหแ้บบตรวจตราจนจบก่อนหนึ่งครั้ง ๒. นักเรียนอ่านเนื้อเรือ่งที่ก าหนดใหแ้บบศึกษาค้นคว้าอีกครั้งหนึ่ง ๓. นักเรียนศึกษาความหมายของค าศพัทท์้ายเล่มหรือจากพจนานุกรม ๔. นักเรียนจับใจความส าคัญของเรือ่งเพื่อสรปุสาระส าคัญของเนือ้ความทั้งหมด
โดยตอบค าถามสั้นๆวา่ ใคร ท าอะไร ที่ไหน อย่างไร เมื่อไรและท าไม ๕. นักเรียนสรุปความรู้ ข้อคิดและประโยชนท์ี่ได้รับจากการอ่านจบัใจความ
โดยการวิพากษ์ วิจารณ์อย่างมีเหตุผลและถูกต้อง
ข้อปฏิบัติในการอ่านจับใจความ
๒
๑. บอกความหมาย ความส าคัญและประเภทของนิทานชาดกได ้๒. จับใจความส าคัญของนิทานชาดกและเล่าเรื่องได้ ๓. แสดงความคิดเห็นจากการอ่านนิทานชาดกได ้๔. ตั้งค าถามและตอบค าถามจากการอ่านนิทานชาดกได ้๕. เรียงล าดับเหตุการณจ์ากการอ่านนทิานชาดกได้ ๖. เขียนแผนภาพโครงเรือ่งจากการอ่านนิทานชาดกได้ ๗. ท าแบบฝึกทักษะจากการอ่านนทิานชาดกได ้๘. ใช้ถ้อยค า ส านวนภาษาได้ถูกต้องตามหลักภาษาไทย ๙. น าความรู ้ข้อคิดและประโยชนท์ี่ได้รับจากการอ่านนทิานชาดก
ไปประยกุต์ใช้ในชีวิตประจ าวันได ้
จุดประสงค์การเรียนรู้
๓
ความหมาย ความส าคัญและประเภทของนิทานความหมาย ความส าคัญและประเภทของนิทานชาดกชาดก
ใบความรู ้
นิทานชาดก หมายถึง เรื่องราวหรือชีวประวัติในอดีตชาติของพระพุทธเจ้า เรื่องราวอดีตชาติที่พระองค์เป็นพระโพธิสัตว์บ าเพ็ญบารมีเพื่อตรัสรู้อยู่พระองค์ทรงน ามาเล่าให้พระสงฆ์ และอุบาสก อุบาสิกา ฟังในโอกาสต่าง ๆ ซึ่งพระพุทธเจ้าได้เสวยพระชาติเป็นพระโพธิสัตว์นับพันชาติ โดยทรงเกิดเป็นมนุษย์บ้าง เป็นสัตว์บ้าง และที่รู้จักกันโดยทั่วไป คือ 10 ชาติเรียกว่า ทศชาติชาดก
ความส าคัญของนิทานชาดก คือ น าหลักธรรมไปใช้เป็นคุณประโยชน์ ให้ความสนุกสนานเพลิดเพลิน ผ่อนคลายความเครียด สร้างเสริมจินตนาการ ส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันด้านความคิดที่ดี พัฒนาด้านความรู้และสติปัญญา ทักษะความสามารถทางภาษา
อ่านหน้าต่อไปค่ะ
๔
ประเภทของชาดก มี ๒ ประเภท ๑.ชาดกนิบาต ชาดกในนิบาต หรือที่เรียกว่า นิบาตชาดก หมายถึงชาดกทั้ง ๕๔๗
เรื่องที่มีอยู่ในพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ เป็นเล่มที่รวมเรื่องชาดกที่เล็ก ๆ น้อย ๆ รวมกันถึง ๕๒๕ เรื่อง แต่ใน พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ นี้มีเพียง ๒๒ เรื่อง เพราะเป็นเรื่องยาว ๆ ทั้งนั้น โดย ๑๒ เรื่องแรกเป็นเรื่องที่มีค าฉันท์ ส่วน ๑๐ เรื่องหลัง คือเรื่องที่เรียกว่า มหานิบาตชาดก แปลว่า ชาดกที่ชุมนุมเรื่องใหญ่ หรือที่โบราณเรียกว่า ทศชาติ
๒.ปัญญาสชาติชาดก ค าว่า ปัญญาสชาดก (ปัน-ยาด-สะ-ชา-ดก) ประกอบด้วยค าว่า ปัญญาส แปลว่า ห้าสิบ กับ ค าว่า ชาดก ซึ่งหมายถึงเรื่องราวชีวิตของพระโพธิสัตว์ หรือ พระพุทธเจ้าในอดีตชาติก่อนที่จะทรงบังเกิดเป็นพระพุทธเจ้า ๕๐ เรื่อง เขียนเป็นภาษาบาลี เป็นชีวิตของพระโพธิสัตว์ในพระชาติต่าง ๆ ที่ได้บ าเพ็ญบารมี คือ ท าความดีด้วยประการต่าง ๆ อย่างแน่วแน่ เพื่อช่วยเหลือผู้อื่นและบ าเพ็ญเพียรเพื่อให้พ้นความทุกข์ยากต่าง ๆ การบ าเพ็ญบารมีของพระโพธิสัตว์เป็นตัวอย่างให้พุทธศาสนิกชนได้ท าตาม คิดตาม ยึดถือตาม เพื่อให้เข้าใจความจริงเกี่ยวกับชีวิต และพยายามหาวิธีพ้นจากความทุกข์ได้อย่างถูกต้องตามท านองคลองธรรม ปัญญาสชาติชาดก ที่แต่งขึ้นจากนิทานพื้นเมืองนี้ ไม่มีในพระไตรปิฎก หรือเรียกว่า ชาดกนอกนิบาต มีจ านวน ๕๐ เรื่อง พระภิกษุชาวเชียงใหม่แต่งขึ้นเมื่อประมาณ พ.ศ. ๒๐๐๐-๒๒๐๐ เป็นภาษามคธ โดยเลียนแบบนิบาตชาดก ครั้นเมื่อ พ.ศ.๒๔๔๓-๒๔๔๘ พระบรมวงศ์เธอกรมพระสมมตอมรพันธ์ ด ารงต าแหน่งองค์สภานายก หอพระสมุดส าหรับพระนคร ได้ทรงแปลเป็นภาษาไทย เรื่องปัญญาสชาดกจึงแพร่หลาย
ประเภทของนิทานชาดก
เปิดหน้าต่อไปค่ะ
๕
มีองค์ประกอบ ๓ ส่วน คือ
๑. ปรารภเรื่อง คือบทน าเรื่องหรือ อุบัติเหตุ จะกล่าวถึงมูลเหตุหรือที่มาของชาดกเรื่องนั้น เช่น มหาเวสสันดรชาดก ๒. อดีตนิทาน หรือ ชาดก หมายถึงเรื่องราวนิทานที่พระพุทธองค์ตรัสเล่า ๓. ประชุมชาดก ประมวลชาดก เป็นเนื้อความสุดท้ายของชาดกกล่าวถึงบุคคลในชาดก คือผู้ใดที่กลับชาติเป็นใครบ้างในปัจจุบัน
ความแตกต่างของนทิานชาดกจากนิทานทั่วไป มีความหมายแตกต่างจากนิทานที่เลา่กันทั่วไป คือ ชาดกเปน็เรื่องที่เกิดขึน้จริง แตน่ิทานเป็นเรื่องที่แต่งขึ้น
น้องๆ เข้าใจเรื่องนิทานชาดกดีแล้วใช่ไหมค่ะเก่งมากเลย เรามาอ่านนิทานชาดกสนุกๆกันนะคะ
กันดีกว่านะครับ
องค์ประกอบของชาดก
๖
นิทานชาดกเรื่องที่ ๑
พญาไก่ป่า
ในสมัยหนึ่ง พระพุทธเจ้าประทับอยู่วัดเชตวัน เมืองสาวัตถี ทรงปรารภภิกษุ
ผู้กระสันจะสึกรูปหนึ่ง ได้ตรัสอดีตนิทานมาสาธกว่า... กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว พระโพธิ์สัตว์เกิดเป็นพญาไก่ป่า มีไก่เป็นบริวารหลายร้อยตัว อาศัยอยู่ในป่าแห่งหนึ่ง มีนางแมวตัวหนึ่งอาศัยอยู่ในที่ไม่ไกลจากที่อยู่ของไก่ป่านั้น มันเที่ยวใช้อุบายล่อลวงจับไก่ป่ากินเป็นอาหารเกือบหมด พญาไก่ป่าทราบว่าบริวารถูกนางแมวจับกินไปเกือบหมดก็ไม่ไปใกล้ที่อยู่ของมัน หลายวันต่อมา เมื่อไม่เห็นไก่ตัวใดไปใกล้ที่อยู่ของตน นางแมวจึงต้องดั้นด้นมาหาไก่เสียเอง มันเดินย่องเข้าไปใต้คอนไม้ที่พญาไก่ป่าจับอยู่ พร้อมกับพูดขึ้นว่า "พ่อไก่น้อยสีแดง ผู้มีขนสวยงาม เจ้าลงมาจากกิ่งไม้เถิด เราจะยอมเป็นภรรยาท่าน"พญาไก่ป่ารู้ทันเล่ห์เหลี่ยมของมันจึงตอบไปว่า "นางแมวเอ๋ย เจ้าเป็นสัตว์ ๔ เท้า ที่สวยงาม ส่วนเราเป็นสัตว์ ๒ เท้า แมวกับไก่อยู่ร่วมกันไม่ได้ดอก เชิญท่านไปหาผู้อื่นเป็นสามีเถิด" นางแมวไม่ลดละความพยายามยังพูดออดอ้อนว่า "พ่อไก่น้อย ฉันจะเป็นภรรยาผู้สวยงาม ร้องเสียงไพเราะเพื่อเจ้า เจ้าจะรู้ว่าฉันเป็นภรรยาสาวพรหมจรรย์ที่สวยงาม ร้องเสียงไพเราะเพื่อเจ้า เจ้าจะรู้ว่าฉันเป็นภรรยาสาวพรหมจรรย์ที่สวยงามและมีความสุขที่สุด" พญาไก่ป่าจึงพูดขู่นางแมวไปว่า "นางแมวเอ๋ย เจ้ากินซากศพ ดื่มเลือด กินไก่บริวารของเราแล้ว จงไปเสียเถอะ" นางแมวเมื่อรู้ว่าพญาไก่ไม่หลงกล ก็รีบวิ่งหนีกลับไปอย่างผู้ผิดหวังและไม่กลับไปหากินที่นั่นอีกเลย พระพุทธองค์เมื่อตรัสอดีตนิทานจบ ได้ตรัสพระคาถาว่า "ผู้ใดรู้ไม่เท่าทันเหตุที่เกิดขึ้นโดยฉับพลัน ผู้นั้นจะตกอยู่ในอ านาจของศัตร ูและจะเดือดร้อนภายหลัง ส่วนผู้ใดรู้เท่าทันเหตุที่เกิดขึ้นโดยฉับพลัน ผู้นั้นจะพ้นจาการเบียดเบียนของศัตรู เหมือนไก่พ้นจากนางแมวฉะนั้น"
ที่มา : หนังสือนิทานชาดก โดย พระมหาสุนทร สุนฺทรธฺมโม (เสนา
ซุย)
นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า ผู้มีปัญญารู้เท่าทนัเหตุการณ์ย่อมสามารถรู้รักษาตัวรอดได้
๗
หมายเหตุ
เหตุที่พระพุทธเจ้าได้ยกนิทานชาดกมาเล่า พระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรม แก่ผู้ใดจะทรงยกชาดก ซึ่งเป็นนิทานอิงธรรมมาเล่าเป็นบุคลาธิษฐาน คือเป็นวิธีการสอนแบบยกเอาเรื่องราวนิทานมาประกอบ เพื่อให้ผู้ฟังเข้าใจง่าย แทนที่จะสอนธรรมะกันตรงๆ
สนุกมากเลยใช่ไหมคะ่.... เราไปท าแบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความ
กันดีกว่านะคะ
๘
๑. นางแมวจึงใช้กลอุบายล่อลวงไก่ป่า
๒. ไก่ป่าไม่หลงกลอุบาย นางแมวจึงรีบวิ่งหนี กลับไปอย่างผู้ผิดหวัง
๓. มีนางแมวตัวหนึ่งอาศัยอยู่ในที่ไม่ไกลจาก ที่อยูข่องไก่ป่า
๔. พระโพธิสัตว์เกิดเปน็พญาไก่ป่า
๕. บริวารไก่ป่าถูกนางแมวจับกินไปเกือบหมด
แบบฝึกทักษะที่ ๑
จงใส่หมายเลขเรียงล าดับเหตุการณ์และเขียนสรุปใจความส าคัญ (๑๐ คะแนน)
ค าชี้แจง
สรุปใจความส าคัญ............................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................
๙
นิทานชาดกเรื่องที ่๒
เนมิราชชาดก พระชาติที่ ๔
พระราชาแห่งเมืองมิถิลา ทรงมีพระโอรสนามว่า เนมิกุมาร ผู้จะทรงสืบสมบัติในกรุงมิถิลาต่อไป พระเนมิกุมาร ทรงมีพระทัยฝักใฝ่ในการบ าเพ็ญทานมาตั้งแต่ยังทรงพระเยาว์ทรงรักษาศีลอุโบสถอย่างเคร่งครัด
เมื่อพระบิดาทอดพระเนตรเห็นเส้นพระเกศาหงอก ก็ทรงร าพึงว่า บัดนี้ถึงเวลาที่จะมอบราชสมบัติให้แก่โอรสแล้ว พระองค์เองก็จะได้เสด็จออกบ าเพ็ญเพียรในทางธรรมต่อไป จึงทรงมอบราชสมบัติเมืองมิถิลาให้แก่พระเนมิราชกุมาร ขึ้นครองเป็นพระเจ้าเนมิราช ส่วนพระองค์เองก็เสด็จออกบวช รักษาศีลตราบจนสวรรคต
เมื่อพระเจ้าเนมิราชครองราชย์สมบัติ โปรดให้สร้างโรงทาน ริมประตูเมือง ๔ แห่ง โรงทานกลางพระนคร ๑ แห่ง ทรงบริจาคทานแก่ประชาชนอยู่เป็นนิตย์ ทรงรักษาศีล และส่ังสอนประชาชนของพระองค์ให้ตั้ง มั่นอยู่ในศีลในธรรม
ครั้งนั้นปรากฏว่าประชาชนทั้งหลายล้วนแต่เป็นผู้มีศีลมีสัตย์ ไม่มีการเบียดเบียนท าบาปหยาบช้า บ้านเมืองก็ร่มเย็นเป็นสุข ผู้คนพากันสรรเสริญพระคุณของพระเจ้าเนมิราชอยู่ทั่วไป
พระเจ้าเนมิราช เมื่อทรงปฏิบัติธรรมอยู่นั้นทรงสงสัยว่า การให้ทานกับการประพฤติพรหมจรรย์ คือ การรักษาความบริสุทธิ์ ไม่ข้องเกี่ยวกับวิถีชีวิตของชาวโลกนั้น อย่างไหนจะประเสริฐกว่ากัน
พระอินทร์ได้ทรงทราบถึงความกังขาในพระทัยของพระเจ้าเนมิราช จึงเสด็จจากดาวดึงส์ลงมาปรากฏ เฉพาะพระพักตร์พระราชา ตรัสกับพระราชาว่า
๑๐
"หม่อมฉันมาเพื่อแก้ข้อสงสัย ที่ทรงมีพระประสงค์จะทราบว่าระหว่างทานกับการประพฤติ พรหมจรรย์ สิ่งใดจะเป็นกุศลยิ่งกว่ากัน หม่อมฉันขอทูลให้ ทราบว่า บุคคลได้เกิดในตระกูลกษัตริย์นั้นก็เพราะประพฤติ พรหมจรรย์ในขั้นต่ า บุคคลได้เกิดในเทวโลก เพราะได้ประพฤติ พรหมจรรย์ขั้นกลาง บุคคลจะถึงความบริสุทธิ์ ก็เพราะประพฤติ พรหมจรรย์ขั้นสูงสุด การเป็นพรหมนั้น เป็นได้ยากล าบากยิ่ง ผู้จะประพฤติพรหมจรรย์ จะต้องเว้นจากวิถีชีวิตอย่างมนุษย์ ปุถุชน ต้องไม่มีเหย้าเรือน ต้องบ าเพ็ญธรรมสม่ าเสมอ ดังนั้นการประพฤติพรหมจรรย์จึงท าได้ยากยิ่งกว่าการบริจาคทาน และได้กุศลมากยิ่งกว่าหลายเท่านัก บรรดากษัตริย์ทั้งหลาย มักบริจาคทานกันเป็นการใหญ่แต่ก็ไม่สามารถจะล่วงพ้น จากกิเลสไปได้ แม้จะได้ไปเกิดในที่อันมีแต่ความสนุก ความบันเทิงรื่นรมย์ แต่ก็เปรียบไม่ได้กับความสุขอันเกิดจาก ความสงบอันวิเวก อันจะได้มาก็ด้วยการประพฤติพรหมจรรย์เท่านั้น"
พระอินทร์ได้ทรงเล่าถึงเรื่องราวของพระองค์ เองที่ ได้ประกอบทานอันยิ่งใหญ่ เมื่อชาติที่เกิดเป็นพระราชาแห่งพาราณสี ได้ทรงถวายอาหารแก่นักพรตที่อยู่บริเวณแม่น้ าสีทาเป็นจ านวนหมื่นรูปได้รับกุศลยิ่งใหญ่ แต่ก็เพียงแต่ได้เกิดในเทวโลกเท่านั้น ส่วนบรรดานักพรตที่ประพฤติพรหมจรรย์เหล่านั้น ล้วนได้ไปเกิดในพรหมโลก อันเป็นแดนที่สูงกว่าและมีความสุขสงบอันบริบูรณ์กว่า แต่แม้ว่าพรหมจรรย์จะประเสริฐกว่าทาน พระอินทร์ก็ได้ ทรงเตือนให้พระเจ้าเนมิราชทรงรักษาธรรมทั้งสองคู่กันคือ บริจาคทานและรักษาศีล
ครั้นเมื่อพระอินทร์เสด็จกลับไปเทวโลกแล้วเหล่าเทวดา ซึ่งครั้งที่เกิดเป็นมนุษย์นั้นได้เคยรับทานและฟังธรรมจาก พระเจ้าเนมิราช จนได้มาบังเกิดในเทวโลกต่างพากันไปเฝ้าพระอินทร์และทูลว่า
"พระเจ้าเนมิราชทรงเป็นอาจารย์ของเหล่าข้าพระบาทมาแต่ก่อน ข้าพระบาททั้งหลายร าลึกถึงพระคุณพระเจ้าเนมิราช ใคร่จะได้พบพระองค์ขอได้โปรดเชิญเสด็จพระเจ้าเนมิราชมายังเทวโลกนี้ด้วยเถิด"
พระอินทร์จึงมีเทวบัญชาให้มาตุลี เทพสารถีน าเวชยันตราชรถไปเชิญเสด็จพระเจ้าเนมิราชจากกรุงมิถิลาขึ้นมายังเทวโลก มาตุลีเทวบุตรรับโองการแล้วก็น าราชรถไปยัง
๑๑
มนุษยโลกในคืนวันเพ็ญ ขณะพระเจ้าเนมิราชก าลังประทับอยู่กับ เหล่าเสนาอ ามาตย์ มาตุลีทูลเชิญพระราชาว่า เทพบนสวรรค์ ชั้นดาวดึงส์ร าลึกถึงพระคุณของพระองค์ ปรารถนาจะได้พบ พระองค์ จึงน าราชรถมาเชิญเสด็จไปยังเทวโลก
พระเจ้าเนมิราชทรงร าพึงว่า พระองค์ยังมิเคยเห็นเทวโลก ปรารถนาจะเสด็จไปตามค าเชิญของเหล่าเทพ จึงเสด็จประทับ บนเวชยันตราชรถ มาตุลีจึงทูลว่า สถานที่ที่จะเชิญเสด็จไปนั้น มี 2 ทาง คือ ไปทางที่ อยู่ของเหล่าผู้ท าบาปหนึ่ง และไปทางสถานที่ อยู่ของผู้ท าบุญหนึ่ง พระราชาประสงค์จะเสด็จไปที่ใดก่อนก็ได้
พระราชาตรัสว่า พระองค์ประสงค์จะไปยังสถานที่ของเหล่าผู้ท าบาปก่อน แล้วจึงไปยังที่แห่งผู้ท าบุญ มาตุลีก็น าเสด็จ ไปยังเมืองนรก ผ่านแม่น้ าเวตรณี อันเป็นที่ทรมานสัตว์นรก แม่น้ าเต็มไปด้วยเถาวัลย์ หนามโตเท่าหอก มีเพลิงลุกโชติช่วง มีหลาวเหล็กเสียบสัตว์นรกไว้เหมือนอย่างปลา เมื่อสัตว์นรกตก ลงไปในน้ าก็ถูกของแหลมคมใต้น้ าสับขาดเป็นท่อนๆ บางที นายนิรยบาลก็เอาเบ็ดเหล็กเกี่ยวสัตว์นรก ขึ้นมาจากน้ า เอามา นอนหงายอยู่บนเปลวไฟบ้าง เอาก้อนเหล็กมีไฟลุกแดงอุดเข้าไปในปากบ้าง สัตว์นรกล้วนต้องทนทุกขเวทนาด้วยอาการต่างๆ
พระราชาตรัสถามถึงโทษของเหล่าสัตว์นรกเหล่านี้ ว่าได้ประกอบกรรมชั่วอะไรไว้จึงต้องมารับโทษดังนี้ มาตุลีก็ตอบบรรยายถึงโทษกรรมที่สัตว์นรกเหล่านี้ ประกอบไว้ เมื่อครั้งที่เกิดเป็นมนุษย์
จากนั้น มาตุลีก็พาพระราชาไปทอดพระเนตรขุมนรกต่างๆ ที่มีบรรดาสัตว์นรกถูกจองจ าและลงโทษ อยู่ด้วยความทรมานแสนสาหัส น่าทุเรศเวทนาต่างๆ เป็นที่น่าสะพรึงกลังอย่างยิ่ง
พระราชาตรัสถามถึง โทษของสัตว์นรกแต่ละประเภท มาตุลีก็ตอบ โดยละเอียด เช่น ผู้ที่เคยทรมานไล่จับไล่ยิงนกขว้างนก จะถูกนายนิรยบาลเอาเหล็กพืดรัดคอ กดหัว แล้วดึงเหล็กนั้นจนคอขาด
ผู้ที่เคยเป็นพ่อค้าแม่ค้า แล้วไม่ซื่อต่อคนซื้อ เอาของเลวมาหลอกว่าเป็นของดีหรือเอาของเลวมาปนของดี ก็จะถูกลงโทษให้เกิด ความกระหายน้ า
๑๒
ครั้นเมื่อไปถึงน้ า น้ านั้นก็กลายเป็นแกลบเพลิง ลุกเป็นไฟ ก็จ าต้องกินแกลบนั้นต่างน้ า เมื่อกินเข้าไปแกลบน้ า ก็แผดเผาร่างกายได้รับทุกขเวทนาสาหัส
ผู้ที่เคยท าความเดือดร้อนให้มิตรสหายอยู่เป็นนิตย์ รบกวน เบียดเบียนมิตรสหายด้วยประการต่างๆ เมื่อ ตายไปเกิดใน ขุมนรกก็จะรู้สึกหิวกระหายปรารถนาจะกินอาหาร แต่อาหารที่ได้พบ ก็คืออุจจาระปัสสาวะ สัตว์นรกเหล่านี้จ าต้องดื่มกินต่างอาหาร ผู้ที่ฆ่าบิดามารดา ฆ่าผู้มีพระคุณ ฆ่าผู้มีศีลธรรม จะถูกไฟนรกแผดเผาให้กระหายต้องดื่มเลือดดื่มหนอง แทนอาหาร
ความทุกข์ทรมานอันสาหัสในขุมนรกต่างๆ มีอยู่มากมาย เป็นที่น่าทุเรศเวทนา ท าให้พระราชารู้สึกสยดสยอง ต่อผลแห่งกรรมชั่วร้าย ของมนุษย์ใจบาปหยาบช้าทั้งหลายย่ิงนัก
พระราชาทอดพระเนตรเห็นวิมารแก้วของนางเทพธิดาวารุณี ประดับด้วยแก้วแพรวพรายมีสระน้ า มีสวนอันงดงาม ด้วยดอกไม้นานาพรรณ จึงตรัสถามมาตุลีว่า นางเทพธิดา วารุณีประกอบกรรมดีอย่างใดไว้ จึงได้มีวิมานที่งดงามวิจิตรเช่นนี้
มาตุลีตอบว่า นางเทพธิดาองค์นี้ เมื่อเป็นมนุษย์ เป็นสาวใช้ของ พราหมณ์ มีหน้าที่จัดอาสนะส าหรับภิกษุ และจักสลากภัตถวายภิกษุ อยู่เนืองๆ นางบริจาคทาน และ รักษาศีลตลอดเวลา ผลแห่งกรรมดีของนางจึงได้บังเกิดวิมานแก้วงามเรืองรอง
พระราชาเสด็จผ่านวิมานต่างๆ อันงดงามโอฬารและได้ตรัสถามเทวสารถี ถึงผลบุญที่เหล่าเทพบุตร เทพธิดาเจ้าของ วิมานเหล่านั้น ได้เคยประกอบไว้ เมื่อครั้งที่เกิดเป็นมนุษย์ มาตุลีก็ทูลให้ทราบโดยละเอียด ความงามและความรื่นรมย์ ในเทวโลกเป็นที่จับตาจับใจของพระราชาเนมิราชยิ่งนัก ในที่สุด มาตุลีก็น าเสด็จพระราชาไปถึงวิมานที่ประทับ ของพระอินทร์ เหล่าเทพยดาทั้งหลายมีความ โสมนัสยินดีที่ได้พบ พระราชาผู้เคยทรงมี
พระคุณต่อเทพยดาเหล่านั้น ตั้งแต่ครั้งที่ยังเป็นมนุษย์อยู่ในมนุษยโลก เหล่าเทพได้ทูลเชิญให้พระราชา ประทับอยู่ ในวิมานของตน เพื่อเสวยทิพย์สมบัติอันรื่นรมย์ในดาวดึงส์ พระราชาตรัสตอบว่า
๑๓
"สิ่งที่ได้มาเพราะผู้อื่น ไม่เป็นสิทธิขาดแก่ตน หม่อมฉันปรารถนาจะประกอบกรรมดี เพื่อให้ได้รับผลบุญตามสิทธิ อันควรแก่ตนเอง หม่อมฉันจะตั้งหน้าบริจาคทาน รักษา ศีล ส ารวม กาย วาจา ใจ เพื่อให้ได้รับผลแห่งกรรมดี เป็นสิทธิของหม่อมฉันโดยแท้จริง"
พระราชาประทับอยู่ในดาวดึงส์ชั่วเวลาหนึ่ง แล้วจึงเสด็จกลับ เมืองมิถิลา ได้ตรัสเล่าสิ่งที่ได้พบเห็นมา แก่ปวงราษฎร ทั้งสิ่งที่ได้เห็นในนรกและสวรรค์ แล้วตรัสชักชวนให้ประชาชนทั้งหลาย ตั้งใจมั่น ประกอบกรรมดี บริจาคทาน รักษาศีล เพื่อให้ได้ไปเกิด ในเทวโลก ได้รับความสุขสบายรื่นรมย์ ในทิพยวิมาน
พระราชาเนมิราชทรงครองแผ่นดินสืบต่อมาด้วยความเป็นธรรม ทรงต้ังพระทัยรักษาศีลและบริจาค ทานโดยสม่ าเสมอมิได้ขาด
วันหนึ่งเมื่อทอดพระเนตรเห็นเส้นพระเกศาหงอกขาวก็สลดพระทัยในสังขาร ทรงด าริที่จะออกบวชเพื่อประพฤติพรหมจรรย์ จึงตรัสเรียก พระโอรสมาเฝ้าและทรงมอบราชสมบัติแกพ่ระราชโอรส
หลังจากนั้น พระราชาเนมิราชก็ออกผนวช เจริญพรหมวิหาร ได้ส าเร็จบรรลุธรรมครั้นเมื่อสวรรคตก็ได้ไปบังเกิดในเทวโลกเสวยทิพยสมบัติอันรื่นรมย์ กุศลกรรมที่พระราชาทรงประกอบ อันส่งผลให้พระองค์ได้ไปสู่เทวโลกนั้นคือ การพิจารณาเห็นโทษ ของความชั่ว และความสยดสยองต่อผลแห่งกรรมชั่วนั้น และ อานิสงส์ของกรรมดีที่ส่งผลให้บุคคลได้เสวยสุขในทิพยสมบัติ อานิสงส์อันประเสริฐที่สุด คือ อานิสงส์แห่งการประพฤติ พรหมจรรย์คือการบวชเมื่อถึงกาลอันสมควร
ที่มา : พระไตรปิฎกฉบับประชาชน อ.สุชีพ ปุญญานุภาพ
๑๔
หมายเหต ุ ประโยชนข์องนิทานชาดก
๑.ได้รู้เรื่องของพระพทุธเจ้ามากขึ้น ๒.ได้รู้ค าสอนของพระพุทธเจ้ามากขึน้ ๓.สามารถน ามาใช้ด าเนนิชีวิตได้ ๔.ได้รู้ความเป็นมาของศาสนา ๕.ได้รู้จักศาสนามากยิ่งขึ้น ๖.รู้ว่าอะไรคือบุญอะไรคอืบาป
คติธรรม : บ าเพญ็อธิษฐานบารม ี "การหมั่นรักษาความดีประพฤติชอบโดยต้ังใจ โดยมุ่งมั่นหากท าความดีแล้วย่อมได้ดี ประพฤติชั่วย่อมได้ผลช่ัวตอบแทนนีเ้ปน็เรือ่งที่สมควรยึดมั่นโดยแท้"
เข้าใจกนัดีแล้วใช่ไหมคะ่ ไปท าแบบฝึกทักษะกันดีกว่า
๑๕
พระราชาแห่งเมอืงมถิิลาทรงมีพระโอรสนามว่าอะไร
๒. ถาม การประพฤตพิรหมจรรย์ในแต่ละขัน้ส่งผลให้บุคคลได้เกดิอย่างไร ตอบ............................................................................................
.............................................................................................
๓. ถาม พระอนิทรท์รงเตือนพระเจ้าเนมริาชรักษาธรรมอะไรบา้ง ตอบ............................................................................................
.............................................................................................
๔. ถาม โทษของสัตว์นรกผู้ที่เคยทรมานไล่จับ ไล่ยิงนกอย่างไร ตอบ............................................................................................
.............................................................................................
๕. ถาม นางเทพธิดาวารุณีประกอบกรรมดีอย่างใดจึงมีวิมานแก้วงาม ตอบ............................................................................................
.............................................................................................
๑. ถาม ตอบ............................................................................................
ท าแบบฝึกทักษะ ไดก้ันหรอืเปล่าเอ่ย
จงตอบค าถามต่อไปนี้ (๑๐ คะแนน) ค าชี้แจง
แบบฝึกทักษะที่ ๒
๑๖
นิทานชาดกเรื่องที่ ๓
ปัญญาคืออาวุธ กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว พระโพธิสัตว์ได้เกิดเป็นพญาวานรที่มีรูปร่างใหญ่โตเกินบริวารทั่วไป มีพละก าลังมากอาศัยอยู่ในชายป่าแห่งหนึ่ง เที่ยวหากินอยู่บนเกาะกลางแม่น้ า ซึ่งอุดมสมบูรณ์ไปด้วยแมกไม้นานาชนิดมีผลไม้บริบูรณ์ยิ่ งนัก พญาวานรมักจะกระโจนจากฝั่งแม่น้ าด้านหนึ่งไปพักที่เกาะหิน กลางล าน้ าแล้วประโจนต่อจากเกาะหินไปขึ้นบนฝั่งในเวลาเช้า นับเป็นกิจวัตรประจ าวันที่พญาวานรต้องเที่ยวหากินผลไม้ต่างๆในเกาะนั้นเวลากลางวันแล้วจะกระท าเช่นเดียวกัน เพื่อเดินทางกลับในเวลาเย็น
ในกลางแม่น้ านั้นเป็นที่อาศัยของจระเข้ผัวเมียคู่หนึ่งซึ่งเฝ้าสังเกตเห็นพญาวานรกระโดดข้ามไปๆ มาๆ ทุกเช้าทุกเย็นจนถึงเช้าวันหนึ่งจระเข้เพศเมียเกิดแพ้ท้อง ต้องการกินหัวใจลิงเป็นยิ่งนัก จึงบอกเล่าความต้องการกับผู้เป็นผัว
จระเข้เพศผู้สัญญาว่า “ที่รักต้องการสิ่งใดมีหรือที่พี่จะไม่หามาบ ารุงลูกที่อยู่ในท้อง
อาหารเย็นมื้อนี้น้องจะได้กินหัวใจเจ้าลิงยักษ์ตัวนั้นอย่างแน่นอน” พญาวารเที่ยวหากินบนเกาะแห่งนั้นทั้งวัน ครั้นถึงเวลาเย็นย่ าก็มายืนที่ชายฝั่งที่เคยกระโดดข้ามทุกวันด้วยไหวพริบอันเป็นเลิศของพญาวานร สังเกตเห็นความผิดปรกติของแผ่นหินกลางน้ า แล้วครุ่นคิดว่า “วันนี้ ท าไมแผ่นหินจึงสูงกว่าเดิม ในเมื่อปริมาณน้ าก็ยังเท่าเก่า เห็นทีจะมีสัตว์ใดมานอนเกาะแผ่นหินนั้นละกระมัง” ว่าแล้วพญาวานรก็แสร้งเรียกเกาะที่เป็นแผ่นหินนั้นว่า “หิน หิน หินเจ้าเอย” เงียบสนิท ไม่ได้รับค าตอบจากผู้ใด จึงได้พูดเปรยขึ้นอีกว่า “หินเจ้าเอย ท าไมวันนี้ท่านจึงไม่ขานรับข้าพเจ้าเหมือนทุกวันล่ะ”
ข้างฝ่ายจระเข้เพศผู้ที่นอนอยู่บนเกาะแผ่นหิน ได้ฟังเช่นนั้นก็หลงคิดตามไปว่า ในวันอื่นๆแผ่นหินนี้คงได้เจรจาพาทีแก่พญาวานรตัวนี้จึงขานรับออกไปว่า
“อะไรนะ ท่านพญาลิง” พญาวานรยิ้มกริ่มแล้วพูดต่อ “ท่านเป็นใคร”
๑๗
จระเข้ที่กบดานปลอมเป็นเกาะแผ่นหนิตอบไปว่า “เราเปน็จระเข”้ พญาวานรถาม “ท่านมานอนอยู่ทีน่ี่ท าไม”
จระเข้ตอบ “เพือ่จะควักหัวใจของเจ้า” พญาวานรถาม “ท่านต้องการไปท าไม” จระเข้ตอบ “เมียเราแพท้้อง ต้องการกินหัวใจของลิง” พญาวานรคิดแผนการได้จึงตอบไปว่า “ จระเข้สหายรัก เราตกลงจะสละร่างให้ท่านแล้ว เพือ่เห็นแกลู่กน้อยของท่านที่จะได้มีอาหารบ ารุงเลี้ยงตั้งแต่อยู่ในครรภม์ารดา ขอใหท้่านจงได้อ้าปากเอาไว้เราจะกระโจนเข้าปากของท่านเองแต่โดยดี”
เมื่อจระเข้อ้าปาก ตาทั้งสองข้างก็มองไม่เห็น จระเข้ไมท่ันคิด เมื่ออ้าปากคอย พญาวานรจึงกระโดดเหยียบหัวจระเข้กระโดดข้ามไปยังฝั่งตรงข้ามอย่างรวดเร็ว
นิทานชาดกเรื่องนีส้อนใหรู้้ว่า ผูม้ีปัญญาเอาชีวิตรอดได้ด้วยสติปัญญาและความเฉลียวฉลาด
สนุกมากใช่ไหมค่ะ
๑๘
หมายเหต ุ นิทานชาดก เป็นนิทานที่สนุก ซึ่งประกอบด้วยตัวละคร มีทั้ง สิงสาราสัตว์ ชาวบ้าน พรานป่า นักบวช เทพเทวา ต่างโคจรมาพบกันในเหตุการณ์ต่าง ๆ น าเสนอข้อคิดดี ๆ ที่สามารถน าไปใช้ในการด าเนินชีวิตได้ การอ่านนิทานชาดกย่อมส่งผลดีต่อแนวคิด และจิตใจ ของผู้อ่านได้เป็นอย่างดี สามารถเข้าใจหลักธรรมค าสอน หรือการปฏิบัติดีปฏิบัติชอบอย่างถ่องแท้เข้าใจการใช้ชีวิต ที่เหมาะควรมากขึ้น
เราไปท าแบบฝึกทักษะกันดีกว่า
๑๙
แบบฝึกทักษะที่ แบบฝึกทักษะที่ ๓๓
นิทานชาดกเรื่อง............................................................................. ตัวละคร.......................................................................................... สถานที่........................................................................................... เหตุการณ์ที่ ๑.................................................................................. ........................................................................................................ เหตุการณ์ที่ ๒................................................................................. ........................................................................................................ เหตุการณ์ที่ ๓................................................................................. ........................................................................................................ สรุป................................................................................................ ....................................................................................................... ขอ้คิดที่ได้รับ.................................................................................. ......................................................................................................
ค่อย ๆ คิด และต้ังใจท านะคะ
นะไยำกเลย
จงเขียนแผนภาพโครงเรือ่ง (๑๐ คะแนน)
๑๕
ค าชี้แจง
๒๐
ค าศัพท ์
ค า ความหมาย
ต านาน เรือ่งราวแต่ปางหลังทีเ่ล่าสืบต่อกันมา นิพพาน ความดับสนิทแห่งกิเลสและกองทุกข์, ตาย
บารม ี คุณความดีที่ได้บ าเพญ็มา, คุณสมบัติทีท่ าให้ยิ่งใหญ ่ บริวาร ผู้แวดล้อมหรือผู้ติดตาม บ าเพ็ญ ท าให้เตม็บริบรูณ์, เพิม่พูน ประดิษฐาน การตั้งไว้, การแต่งต้ัง, การก่อสร้าง ปาฏิหาริย ์ สิ่งที่น่าอัศจรรย์, ความอัศจรรย ์
ฟาร์ม บริเวณที่ใชท้ าเกษตรกรรม ศักดิ์สิทธ ์ ขลัง สถิต อยู ่สักการะ การเคารพ, การบูชา, เครื่องที่น ามาแสดงความเคารพบูชา โสดาบัน ผู้แรกถึงกระแสธรรม เป็นพระอริยบุคคลชั้นต้น อธิษฐาน ตั้งใจมุ่งผลอย่างใดอย่างหนึ่ง, ตั้งจิตปรารถนาขอร้อง ต่อสิ่งที่ตนถือว่าศักดิส์ิทธิ ์อริยบคุคล บุคคลผู้บรรลุธรรมวิเศษ อาราธนา เชื้อเชิญ, นิมนต์, ออ้นวอน
เข้าใจความหมายของค าศัพท์แล้วนะคะ
๒๑
แบบทดสอบหลังเรียน
ท าเครือ่งหมาย X ทับตัวอักษร ก ข ค หรือ ง
ที่ถูกต้อง ลงในกระดาษค าตอบ (๑๐ คะแนน)
ค าชี้แจง
ต้นไทรกับตน้อ้อ คืนหนึ่งพายุแรงมากต้นไทรต้นหนึ่งอยู่รมิน้ า ต้านลมไม่ไหวก็หกัโค่นลอย
ตามน้ าไป รุ่งขึ้นตน้ไทรเหน็ต้นอ้อเป็นปกติดีไม่หัก จึงถามต้นออ้ว่า “เมือ่คนืมีพายุพัดเราจนหักโค่นลอยน้ ามา พวกท่านล้วนเปน็ไมเ้ล็กๆ เหตุไฉนจึงอยู่เปน็ปกติดี หรือพายุไม่ได้พัดมาถึงที่นี่” ตน้ออ้ตอบว่า “พายุพัดมาถงึที่นี่เหมือนกัน แต่พวกเปน็ไม้ออ่น เมือ่ลมพัดแรงเราก็เอนลู่ตามลม ลมจึงไม่พัดเราหักโค่น” ต้นไทรได้ฟังดังนั้นจึงนึกว่า ถงึเราเปน็ต้นไมใ้หญ่ แต่เราไม่รูจ้ักผ่อนผันหลีกเลี่ยงลมแรง ตั้งหน้าต้านลมอยู่อย่างเดียว ลมมีแรงกว่าเราจึงพัดเราโค่นล้ม ต้นออ้ถึงเป็นไม้เล็กรูจ้ักผ่อนผันหลบหลีกให้ลมพายุพดัพ้นไปได้ก็ไม่หักเหมอืนตน้ไม้ใหญ่เช่นเรา
ที่มา:ปราง อุษา 50นิทานอีสปประเทืองปญัญา
๒๒
๑. พายุแรงมีผลอย่างไร ก. ท าให้น้ าท่วม ข. ท าให้ต้นไมเ้จริญเติบโต ค. ท าให้ต้นไทรหักโคน่ ง. ท าให้เกิดคลื่นลมแรง
๒. ท าไมต้นอ้อไมห่ักโคน่เมื่อพายุแรง ก. เพราะต้นออ้เป็นไมอ้อ่นและเอนลู่ตามลม ข. เพราะต้นออ้มีตน้ไม้ใหญ่บังลมพายุไว ้ค. เพราะต้นออ้ลอยอยู่ในน้ า ง. เพราะต้นออ้มีล าต้นเล็กมาก
๓. ข้อคิดที่ได้รับจากเรือ่งคือขอ้ใด ก. อย่าดูถูกผู้อื่นที่ดอ้ยกว่า ข. ควรรู้จักปรับตัวใหเ้ข้ากับสภาพแวดล้อมจึงจะสามารถอยู่รอดได้ ค. อย่ายกตนเองข่มผูอ้ื่น ง. ควรหลีกเลี่ยงไม่เข้าใกล้คนพาล
ทุ่งกุลาร้องไห ้มีชาวกุลาเดินทางมาค้าขาย ผ่านป่าเขามาโดยมีความอดทนเป็นเลิศ เขาเดินผ่านทุ่งใหญ่ซึ่งชาวบ้านในละแวกนั้นห้ามปรามไม่ใหเ้ดนิผ่ากลางทุ่ง ควรเดนิตามเส้นทางลัดเลาะชายทุ่งไป ถึงแม้ว่าจะออ้มไกลกว่าแต่ก็จะปลอดภัย แต่ชาวกุลาไม่เชื่อเพราะทะนงตนว่าเดินทางรอนแรมมาทั่วร้อยเอ็ดเจ็ดย่านน้ าไฉนจะมาเกรงกลัวทุ่งนี้ ครั้นเมือ่เดนิทางจรงิๆชาวกุลาก็หมดเรี่ยวหมดแรงทั้งหิวข้าวและกระหายน้ า วันแล้ววนัเล่าไม่พบหมู่บ้านเลย ในที่สุดชาวกุลาถึงกับนั่งร้องไห้ ชาวบ้านจึงเรยีกชื่อทุ่งนัน้ว่า “ทุ่งกลุาร้องไห”้แต่นัน้มา ที่มา: ธวัช ปุณโณทก นิทานพื้นบ้าน
๒๓
๔. ข้อใดคือลักษณะของทุ่ง ก. แผ่นดินกว้างใหญท่ี่มีน้ าล้อมรอบ ข. ที่ราบมพีื้นที่กว้างมาก ค. พื้นที่มีต้นไม้ต่างๆขึน้อยู่หนาแน่น ง. พื้นที่ส าหรับปลูกพืชบนไหล่เขา
๕. ข้อคิดที่ได้จากเรื่องนีค้ืออะไร ก. ไม่ควรทะนงตนจนเกนิไป เพราะอาจได้รับความเดอืดร้อน ข. ควรมคีวามเชื่อมั่นในตนเอง ค. คิดอย่างไร ท าอย่างนัน้ ง. อย่าสร้างปัญหาให้กับผู้อื่น
๖. ถ้านักเรียนเปน็ชาวบ้านกุลา นักเรียนควรท าอย่างไร ก. ท าตามที่คิดไว ้ข. ฟังค าตักเตือนของชาวบ้าน ค. หันหลังเดินกลับบ้าน ง. นั่งร้องไหจ้นกว่าจะมคีนมาช่วย
๗. ตัวละครใดที่ไม่ได้กล่าวถึงในเรือ่งทุ่งกุลาร้องไห ้ก. ชาวกุลา ข. ชาวบ้านท้องถิน่ ค. ชาวบ้านกุลาและชาวบ้านทอ้งถิ่น ง. นายพราน
๒๔
แพะกับเสือเหลือง ในสมัยหนึ่งพระพุทธเจ้าประทับอยู่วัดเวฬวุัน เมอืงราชคฤหท์รงปรารภแมแ่พะตัวหนึ่ง ได้ตรัสอดีตนทิานมาสาธก ว่า... กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว พระโพธิสัตว์เกิดเป็นฤๅษีบ าเพ็ญเพียรอยู่ในป่าหิมพานต์เป็นเวลานาน ตอ่มาได้สร้างบรรณศาลาที่ซอกเขาแห่งหนึ่งใกล้เมอืงราชคฤห์ ทุกวนัพวกคนเลี้ยงแพะจะพากันต้อนแพะมาเลี้ยงที่ซอกเขาใกล้ที่อยู่ของพระฤๅษีนั้นเป็นประจ า เพราะมีภเูขาล้อมรอบเมื่อปล่อยแพะแล้ว พวกเขาก็จะพากันเลน่ ตกเย็นถึงจะไปต้อนแพะกลับบ้านไป
ต่อมาเยน็วันหนึ่ง เมือ่ได้เวลาต้อนแพะกลับบ้าน มแีม่แพะตัวหนึ่งไปหากินไกลฝูง ไม่ทันเหน็ฝูงแพะกลับคอก จึงเดินล้าหลังอยู่ ในขณะนัน้มีเสอืเหลืองตัวหนึ่งเห็นแมแ่พะนั้นก าลังเดินกลับ แพะพอเหน็เสอืเหลืองยืนดกัรออยู่ข้างหน้าก็คิดวา่ "วันนี้ชีวิตเราไม่รอดแน่ นอกจากจะพูดค าออ่นหวานให้มันใจอ่อนเท่านั้น เราถึงจะรอดไปได้"
เมื่อเดินเข้าไปใกล้เสอืเหลอืง จึงพูดขึน้ว่า "คุณลุงคะ สบายดีหรอเปล่า แมฉ่ันถามหาลุงอยู่เป็นประจ า พวกเราคิดถึงคุณลุงอยูเ่ป็นประจ า พวกเราคดิถึงคุณลุงตลอดเวลาล่ะค่ะ" เสือเหลืองได้ฟังก็รู้ว่าเป็นกลลวงของแม่แพะจึงตอบไปว่า "แม่แพะ เจ้าบังอาจมาเหยียบหางเราได้ วันนี้เจ้าคงว่าเจ้าจะพน้จากความตายไปได้ด้วยการเรยีกเราว่าลุงเหรอ" แม่แพะ "ท่านนั่งหันหน้ามาทางฉัน ฉันกอ็ยู่ตรงหน้าของท่าน ไฉนฉันถึงจะเหยียบหางของท่านที่อยู่ด้านหลังของท่านละ" เสือเหลือง "ทวีปทั้ง 4 มหาสมุทรและภเูขาทั้งหมดเราเอาหางวางไว้หมด เจ้าจะไมเ่หยียบหางของเราไดอ้ย่างไร" แม่แพะ "พวกญาติ ๆ ได้บอกเรื่องหางของท่านยาวให้ฉันทราบก่อนแล้ว ฉันจึงมาทางอากาศ" เสือเหลือง "เรารู้ว่าเจ้ามาทางอากาศ ฝูงเนื้อเห็นเจ้าจึงแตกตื่นหนีไป ท าใหอ้าหารของเราหนีไปหมด เจ้าจะว่าอย่างไร "กล่าวจบก็ได้ตะครุบแม่แพะฆ่ากินเป็นอาหารในที่สุด พระพทุธองค์ เมือ่ตรัสอดีตนทิานจบได้ตรัสพระคาถาวา่ "ในคนโหดร้ายไม่มเีหตุไม่มีผล ไม่มีถ้อยค าเปน็สภุาษิตในคนโหดร้าย บุคคลพึงท าการหลบหนีไปใหพ้้น เพราะค าของคนดีมันก็ไม่ชอบ" ท่ีมา : หนังสือนิทานชาดก โดย พระมหาสุนทร สุนฺทรธฺมโม (เสนาซยุ)
๒๕
๘. ข้อใดไม่ใชค่ ากล่าวของแมแ่พะ ก. ท่านนั่งหนัหน้ามาทางฉัน ฉันกอ็ยู่ตรงหน้าของท่าน ไฉนฉนัถงึจะเหยียบหาง ของท่านที่อยู่ด้านหลังของท่าน ข. หางของท่านยาว ฉันจึงมาทางอากาศ ค. ทวีปทั้ง 4 มหาสมุทรและภเูขาทั้งหมดเราเอาหางวางไว้หมด เจ้าจะไมเ่หยียบ หางของเราได้อย่างไร
ง. สบายดีหรอเปล่า แม่ฉันถามหาลุงอยู่เปน็ประจ า ๙. ข้อความใดกล่าวไม่ถูกต้อง ก. พระโพธิสัตวเ์กิดเป็นฤๅษีบ าเพ็ญเพียรอยู่ในป่าหิมพานต์ ข. ลูกแพะตัวหนึ่งไปหากินไกลฝูง ไม่ทันเห็นฝูงแพะกลับคอก จึงเดินล้าหลัง ค. วันนี้ชีวิตเราไมร่อดแน่ ต้องพูดค าออ่นหวานให้มันใจอ่อนเทา่นั้นถึงจะรอด ง. เสือเหลืองตะครุบแม่แพะฆ่ากินเปน็อาหาร ๑๐.นทิานเรือ่งนี้ใหข้อ้คิดอย่างไร ก. เหตุผลและคุณธรรมไม่มใีนผู้ร้าย
ข. พูดจาโกหกขาดความน่าเชื่อถอื ค. คิดประทุษร้ายผู้อืน่ ย่อมไดร้ับการประทุษร้ายตอบ ง. มีปัญญารูเ้ท่าทันเหตุการณ์ย่อมสามารถรู้รักษาตัวรอดได้
ท าเสรรจแล้ววาาพีี.่.. ไปารวแค าาอบกันนะคะ ใคร
แะไดวคะลนนเสท่าไหร ่
๒๖
ภาคผนวก
๒๗
พระโพธิสัตว์เกิดเป็นพญาไก่ป่า มีนางแมวตัวหนึ่งอาศัยอยู่ในที่ไม่ไกลจากที่อยู่ของไก่ป่า บริวารไก่ป่าถูกนางแมวจับกินไปเกือบหมด นางแมวจึงใช้อุบายล่อลวงไก่ป่ามา ไก่ป่าไม่หลงกลอุบาย นางแมวจึงรีบวิ่งหนีกลับไปอย่างผู้ผิดหวัง
เรียงล าดับเหตุการณ ์
๔ ๓ ๕ ๑ ๒
สรุปใจความส าคัญ
เฉลยแบบฝึกทกัษะที่ ๑
๒๘
ตอบค าถาม
๑. ทรงมีโอรสนามว่า เนมิกุมาร ๒. พรหมจรรย์ข้ันต่ า ได้เกิดในตระกูลกษัตริย์ พรหมจรรย์ขั้นกลางได้เกิด
ในเทวโลก พรหมจรรย์ข้ันสูง บุคคลจะถึงความบริสุทธิ์ ๓. บริจาคทานและรักษาศีล ๔. จะถูกนายนิรยบาลเอาเหล็กพืดรัดคอ กดหัว แล้วดึงเหล็กจนคอขาด ๕. จัดอาสนะส าหรับภิกษุ จัดสลากภัตถวายภิกษุ บริจาคทานและรักษาศีล
ตลอดเวลา
เก่งมาก ถูกทุกข้อเลยคะ่
เฉลยแบบฝึกทกัษะที่ ๒
๒๙
นิทานเรื่อง ปัญญาคอือาวุธ ตัวละคร พญาวานร จระเข้เพศผู้และจระเข้เพศเมีย สถานที่ กลางแม่น้ าแห่งหนึ่ง เหตุการณ์ที่ ๑ จระเข้เพศเมียแพท้้อง ต้องการกินหัวใจลิง จึงบอกให ้จระเข้เพศผู้ไปหาหัวใจลิงมาให้กิน เหตุการณ์ที่ ๒ จระเข้เพศผู้ไปนอนบนเกาะกลางแม่น้ า เพือ่จะฆ่า พญาวานรและน าหัวใจมาให้จระเข้เพศเมียกิน เหตุการณ์ที่ ๓ พญาวานรหลอกให้จระเขอ้้าปากเพื่อเหยียบหัวจระเข้และกระโดดข้ามไปยังฝ่ังตรงข้าม สรุป พญาวานรไมถ่กูจระเข้ฆ่าเพราะความเฉลียวฉลาดของตน ข้อคิดที่ได้รับ เมื่อเกิดปัญหาขึ้นควรแก้ไขด้วยสติปัญญา
เขียนแผนภาพโครงเรือ่ง
ไชโย ! ถูกต้องแล้วค่ะ
เฉลยแบบฝึกทักษะที่ ๓
๓๐
เฉลยแบบทดสอบหลังเรียน
ท าแบบทดสอบถูกก่ีขอ้ค่ะ
ข้อ ค าตอบ
1. ค 2. ก 3. ข 4. ข 5. ก 6. ข 7. ง 8. ค 9. ข 10. ก
๓๑
บรรณานุกรม
กรมวิชาการ, กระทรวงศึกษาธิการ. (๒๕๕๑). คู่มือการจดัการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรูภ้าษาไทย. กรุงเทพ ฯ : กรมวิชาการ.
ชลาลัย ศรีอารีย์. (๒๕๕๒ ). นทิานชาดก. กรุงเทพ ฯ : ครเีอทบุคส์. ปราง อุษา. (๒๕๕๒). ๕๐ นิทานอสีป ประเทืองปญัญา. กรุงเทพ ฯ : ไพลิน.
ราชบัณฑิตยสถาน. (๒๕๕๑). พจนานุกรมฉบับราชบณัฑิตยสถาน พ.ศ.๒๕๕๑. กรุงเทพ ฯ : นานมีบุคส์.
สุมาลย์ พงษ์ไพบูลย์. (๒๕๔๓). คติชนวทิยา (นิทานพื้นบ้าน) กรุงเทพ ฯ : ครเีอทบคุส์. www.kalyanamitra.org/th/aesop-detail.php. [email protected]!.com.th/นิทานชาดก http://rrr.thaiedresearch.org/thaied/index.php.
๓๒