13
เรื่องเล่าทั่วทิศ กรมการศาสนาเตรียมร่วมเสนอจัดงานสัมพุทธชยันตี Sambuddha Jayanti “๒,๖๐๐ ปี แห่งการตรัสรู้ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า” เป็นวาระแห่งชาติ ในปพ.ศ.๒๕๕๕นนอกจากจะเปน ปทพระสมมาสมพุทธเจาตรสรูครบรอบ ๒,๖๐๐ ปบรบูรณแลว และยงเปน ปมหามงคลของปวงชนชาวไทยเพราะเปนปท สมเดจพระนางเจาฯ พระบรมราชนนาถ ทรงเจรญพระชนมพรรษา๘๐พรรษา และเปนปทสมเดจพระบรมโอรสาธราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ทรงเจรญพระชนมาย ๖๐พรรษาดงนนในโอกาสอนเปน อภมหามงคลสมยทสำคญ รฐบาล จงกำหนดจดงานเฉลมฉลองใหยงใหญ โดยพรอมเพรยงกนทวประเทศ ซงรฐบาล รบเปนเจาภาพจดงานเฉลมฉลองครงน และมอบหมายให หนวยงาน ไดแก กรมการศาสนา สำนกงาน พระพุทธศาสนาแหงชาต และมหาวทยาลย มหาจุฬาลงกรณราชวทยาลย(มจร.) เปนหนวยงานหลกและใหขอความรวมมอ จากหนวยงานทงภาครฐภาคเอกชน และภาคประชาชน ไดมสวนรวมในการจดงาน ในครงนดวยซงถอเปนเรองสอดคลอง กบความศรทธาและความตงใจของชาวพุทธ ทวโลกทถอวาในป พ.ศ.๒๕๕๕น เปนวาระสำคญทจะตองจดใหมการเฉลมฉลอง อยางยงใหญเพอใหชาวพุทธทวโลก เกดความทรงจำและเรยนรูถงคุณคาของ พระพุทธศาสนาทมตอมวลมนุษยโลก (For the well-being of Humanity) โดยประเทศทนบถอพระพุทธศาสนา และมพุทธศาสนกชนทมความเขมแขง หลายประเทศเชนประเทศศรลงกา เมยนมาร (พมา) และอนเดย ไดจดงาน เฉลมฉลองในโอกาสดงกลาวอยางยงใหญ ไปแลวกอนประเทศไทย ๑ ป เนองจาก ประเทศดงกลาวเรมนบปพุทธศกราช กอนประเทศไทย๑ป สำหรบการดำเนนงานนน กรมการศาสนาไดรบขอสงเกตจาก คณะกรรมาธการการศาสนาศลปะและ วฒนธรรม ทขอใหกรมการศาสนาไปแสดง ความเหนตอคณะกรรมาธการการศาสนา ศลปะและวฒนธรรมในการเตรยมความพรอม เกยวกบการจดงานฉลองสมพุทธชยนต ๒,๖๐๐ปแหงการตรสรูของพระสมมา สมพุทธเจาในวนพุธท๗ธนวาคม๒๕๕๔ โดยคณะกรรมาธการการศาสนาศลปะ และวฒนธรรม เหนชอบในขอเสนอของ กรมการศาสนาเกยวกบการดำเนนงาน ฉลองสมพุทธชยนต๒,๖๐๐ปโดยขอให กรมการศาสนาจดทำเปนวาระแหงชาต และใหแตงตงคณะทำงานในระดบกระทรวง ทบวงกรมโดยมสำนกงบประมาณรวมอยูดวย นอกจากนในการประชุมคณะกรรมาธการ วสามญพจารณารางพระราชบญญต งบประมาณรายจายประจำปงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๕ครงท๒๕/๒๕๕๕วนพฤหสบดท ๑๕ธนวาคม๒๕๕๔นางนนทนาสงฆประชา โฆษกคณะกรรมาธการสมาชกสภาผูแทน ราษฎร จงหวดชยนาท เขตท ๒พรรค ภูมใจไทยไดเสนอขอคดเหนในการจด งานฉลองสมพุทธชยนต ๒,๖๐๐ป แกกรมการศาสนาวาควรสงเสรมพระสงฆ

“๒,๖๐๐ ปี แห่งการตรัสรู้ของพระ ...sys.dra.go.th/module/attach_media/sheet9820120227013539.pdf9 และพ ทธศาสน

  • Upload
    others

  • View
    9

  • Download
    0

Embed Size (px)

Citation preview

Page 1: “๒,๖๐๐ ปี แห่งการตรัสรู้ของพระ ...sys.dra.go.th/module/attach_media/sheet9820120227013539.pdf9 และพ ทธศาสน

����

เรื่องเล่าทั่วทิศ

กรมการศาสนาเตรียมร่วมเสนอจัดงานสัมพุทธชยันตี Sambuddha Jayanti “๒,๖๐๐ ปี แห่งการตรัสรู้ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า”

เป็นวาระแห่งชาติ

ในปี พ.ศ. ๒๕๕๕ นี้นอกจากจะเป็น

ปีที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้ครบรอบ

๒,๖๐๐ ป ีบร ิบูรณ์แล ้ว และย ังเป ็น

ปีมหามงคลของปวงชนชาวไทย เพราะเป็นปีที่

สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ

ทรงเจริญพระชนมพรรษา ๘๐ พรรษา

และเป็นปีที่สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ

สยามมกุฎราชกุมาร ทรงเจริญพระชนมายุ

๖๐ พรรษา ดังนั ้น ในโอกาสอันเป็น

อภ ิมหามงคลสมัยท ี ่สำค ัญ ร ัฐบาล

จึงกำหนดจัดงานเฉลิมฉลองให้ยิ ่งใหญ่

โดยพร้อมเพรียงกันทั่วประเทศ ซึ่งรัฐบาล

รับเป็นเจ้าภาพจัดงานเฉลิมฉลองครั้งนี ้

และมอบหมายให ้ ๓ หน ่วยงาน

ได ้แก ่ กรมการศาสนา สำน ักงาน

พระพุทธศาสนาแห่งชาติ และมหาวิทยาลัย

มหาจุฬาลงกรณราชว ิทยาลัย (มจร.)

เป็นหน่วยงานหลัก และให้ขอความร่วมมือ

จากหน่วยงานทั ้งภาคร ัฐ ภาคเอกชน

และภาคประชาชน ได้มีส่วนร่วมในการจัดงาน

ในครั้งนี้ด้วย ซึ่งถือเป็นเรื่องสอดคล้อง

กับความศรัทธาและความตั้งใจของชาวพุทธ

ทั ่วโลกที ่ถ ือว ่าในปี พ.ศ. ๒๕๕๕ นี ้

เป็นวาระสำคัญที่จะต้องจัดให้มีการเฉลิมฉลอง

อย่างยิ ่งใหญ่ เพื ่อให้ชาวพุทธทั ่วโลก

เกิดความทรงจำและเรียนรู้ถึงคุณค่าของ

พระพุทธศาสนาที ่ม ีต่อมวลมนุษย์โลก

(For the well-being of Humanity)

โดยประเทศที ่น ับถ ือพระพุทธศาสนา

และมีพุทธศาสนิกชนที ่มีความเข้มแข็ง

หลายประเทศ เช ่น ประเทศศรีล ังกา

เมียนมาร์ (พม่า) และอินเดีย ได้จัดงาน

เฉลิมฉลองในโอกาสดังกล่าวอย่างยิ่งใหญ่

ไปแล้วก่อนประเทศไทย ๑ ปี เนื่องจาก

ประเทศดังกล่าวเร ิ ่มนับปีพุทธศักราช

ก่อนประเทศไทย ๑ ปี

ส ำ ห ร ั บ ก า ร ด ำ เ น ิ น ง า นน ั ้ น

กรมการศาสนา ได ้ร ับข ้อส ังเกตจาก

คณะกรรมาธิการการศาสนา ศิลปะและ

วัฒนธรรม ที่ขอให้กรมการศาสนาไปแสดง

ความเห็นต่อคณะกรรมาธิการการศาสนา

ศิลปะและวัฒนธรรม ในการเตรียมความพร้อม

เกี่ยวกับการจัดงานฉลองสัมพุทธชยันตี

๒,๖๐๐ ปี แห่งการตรัสรู้ของพระสัมมา

สัมพุทธเจ้า ในวันพุธที่ ๗ ธันวาคม ๒๕๕๔

โดยคณะกรรมาธิการการศาสนา ศิลปะ

และวัฒนธรรม เห็นชอบในข้อเสนอของ

กรมการศาสนาเกี ่ยวกับการดำเนินงาน

ฉลองสัมพุทธชยันตี ๒,๖๐๐ ปี โดยขอให้

กรมการศาสนาจัดทำเป็นวาระแห่งชาติ

และให้แต่งตั้งคณะทำงานในระดับกระทรวง

ทบวง กรม โดยมีสำนักงบประมาณร่วมอยู่ด้วย

นอกจากนี้ ในการประชุมคณะกรรมาธิการ

ว ิสาม ัญพิจารณาร ่างพระราชบัญญัต ิ

งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.

๒๕๕๕ ครั้งที่ ๒๕/๒๕๕๕ วันพฤหัสบดีที่

๑๕ ธันวาคม ๒๕๕๔ นางนันทนา สงฆ์ประชา

โฆษกคณะกรรมาธิการ สมาชิกสภาผู้แทน

ราษฎร จังหวัดชัยนาท เขตที่ ๒ พรรค

ภูมิใจไทย ได้เสนอข้อคิดเห็นในการจัด

งานฉลองส ัมพุทธชย ันต ี ๒,๖๐๐ ป ี

แก่กรมการศาสนาว่า ควรส่งเสริมพระสงฆ์

Page 2: “๒,๖๐๐ ปี แห่งการตรัสรู้ของพระ ...sys.dra.go.th/module/attach_media/sheet9820120227013539.pdf9 และพ ทธศาสน

�9�9

และพุทธศาสนิกชนไปประกอบศาสนกิจ

ณ ส ังเวชน ียสถาน ประเทศอ ินเด ีย

และเนปาล จำนวน ๒,๖๐๐ รูป/คน เพื่อ

เป็นการสร้างขวัญกำลังใจให้แก่ผู้ที่นับถือ

และศรัทธาในพระพุทธศาสนา และถือเป็น

การเฉลิมฉลองในโอกาสดังกล่าวด้วย

จากข้อสังเกตนี้ กรมการศาสนา

กระทรวงว ัฒนธรรม ในฐานะท ี ่ม ี

ภาระหน ้ าท ี ่ ในการดู แลร ับผ ิดชอบ

เกี่ยวกับการดำเนินงานของรัฐด้านศาสนา

โดยทำนุบำรุง ส่งเสริม และให้ความอุปถัมภ์

คุ ้มครองก ิจการด ้านพระพุทธศาสนา

ตลอดจนส่งเสริมพัฒนาความรู้คู่คุณธรรม

ส ่งเสร ิมความเข ้าใจอ ันด ี และสร ้าง

ความสมานฉ ันท ์ระหว ่ างศาสน ิกชน

ของทุกศาสนา ตลอดจนดำเนินการเพื่อให้

คนไทยนำหลักธรรมทางศาสนามาใช ้

ในการพัฒนาคุณภาพชีวิตให้เป็นคนดี

ม ีคุณธรรมเห ็นสมควรจ ัดงานฉลอง

ให้ยิ่งใหญ่

อย ่ า ง ไรก ็ต ามในการประชุม

ปรึกษาหาร ือแนวทางการจัดกิจกรรม

ฉลอง ๒๖ สัมพุทธศตวรรษแห่งการตรัสรู้ของ

สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าวันวิสาขบูชา

ประจำปี พ.ศ. ๒๕๕๕ ได้มอบหมายให้

สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติเป็น

ผู้นำเสนอรายชื่อคณะกรรมการการจัดงานฯ

และนำ เสนอ เป ็นว าระแห ่ งช าต ิต ่ อ

คณะร ัฐมนตร ี กรมการศาสนาจ ึงได ้

เตรียมความพร้อมในการจัดงานฉลอง

สัมพุทธชยันตี ๒,๖๐๐ ปี แห่งการตรัสรู้

ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เพื่อให้มีการจัด

งานเฉลิมฉลองให้มีความยิ่งใหญ่ตลอดปี

พ.ศ. ๒๕๕๕ โดยความร่วมมือร่วมใจจาก

ทุกภาคส ่วนของส ังคม และสร ้าง

พุทธานุสรณ์ เพื ่อเป็นการระลึกถึงว ัน

สำคัญดังกล่าว เป็นการประกาศศักดิ์ศรีให้

น า น า ช า ต ิ ร ั บ ร ู ้ ว ่ า ป ร ะ เ ท ศ ไ ท ย

เป ็นศ ูนย ์กลางพระพ ุทธศาสนาโลก

อย ่างแท้จร ิง อ ันเป ็นการสร ้างความ

ภาคภูมิใจให้กับคนไทยและประเทศไทย

ว ัตถุประสงค ์ของการจ ัดงาน

สัมพุทธชยันตี “๒,๖๐๐ ปี แห่งการตรัสรู้

ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า” ของกรมการ

ศาสนาเพื่อเฉลิมฉลองในโอกาสที่พระสัมมา

ส ัมพุทธเจ ้าได ้ตร ัสรู ้ครบ ๒,๖๐๐ ปี

ในปี พ.ศ. ๒๕๕๕ เพื่อเฉลิมพระเกียรติ

เน ื ่องในโอกาสที ่สมเด็จพระนางเจ ้าฯ

พระบรมราชินีนาถจะทรงเจริญพระชนมพรรษา

๘๐ พรรษา วันที่ ๑๒ สิงหาคม ๒๕๕๕

และเพื่อเฉลิมพระเกียรติเนื่องในโอกาสที่

สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร

จะทรงเจร ิญพระชนมายุ ๖๐ พรรษา

วันที่ ๒๘ กรกฎาคม ๒๕๕๕ และเพื่อ

ประกาศให้นานาชาติรับรู้ว่าประเทศไทย

เป็นศูนย์กลางพระพุทธศาสนาโลก

Page 3: “๒,๖๐๐ ปี แห่งการตรัสรู้ของพระ ...sys.dra.go.th/module/attach_media/sheet9820120227013539.pdf9 และพ ทธศาสน

�0�0

ระยะเวลาดำเน ินการ ต ั ้ งแต ่

เดือนพฤษภาคม ๒๕๕๕-มีนาคม ๒๕๕๖

โดยมีเป้าหมาย คือ พุทธศาสนิกชนเข้า

ร่วมกิจกรรม จำนวน ๖๒,๐๐๐,๐๐๐ คน

ท ั ่วประเทศ ส ่วนสถานที ่ดำเน ินการ

จะดำเน ินการท ั ้งในส ่วนกลาง ค ือ

กรุงเทพมหานคร และในส่วนภูมิภาคคือ

จังหวัดต่าง ๆ ๗๗ จังหวัด และองค์กร

ปกครองส่วนท้องถิ่นทั่วประเทศ

กิจกรรมที ่กำหนดจะดำเนินการ

พร้อมกันทั่วประเทศ โดยจะจัดโครงการ/

กิจกรรมให้เหมาะสมกับบริบทในสังคม

และสอดคล้องก ับความต้องการของ

ประชาชน เน ้นการม ีส ่วนร ่วมของ

พุทธศาสนิกชน การปฏิบัติบูชา และการ

เผยแพร่พระเกียรติคุณสู่ภูมิภาคอาเซียน

และนานาชาติ อาทิ กิจกรรมส่งเสริม

พระพุทธศาสนาเน ื ่องในว ันว ิสาขบูชา

วันมาฆบูชา วันอาสาฬหบูชา วันเข้าพรรษา

ประจำปี ๒๕๕๕ โดยจัดกิจกรรมในด้าน

ต่าง ๆ คือ ด้านศาสนพิธี ด้านศาสนบุคคล

ด ้านศาสนธรรม ด ้านองค ์ความรู ้

ด้านการปฏิบัติธรรม เป็นการเปิดประตู

พระพุทธศาสนาสู ่ โลกกว ้าง World

Buddhism Gateway การจ ัดสร ้าง

พุทธานุสรณ์สัมพุทธชยันตี ๒,๖๐๐ ปี

แห่งการตรัสรู้ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

การจัดงานเฉลิมฉลองสัมพุทธชยันตี

ในครั้งนี้ จะเป็นประวัติศาสตร์หน้าหนึ่ง

ที ่จะต้องบันทึกไว้ในความทรงจำมิรู ้ลืม

และมีคุณค่าต่อการดำรงไว้ซึ่งพระพุทธศาสนา

เป็นอย่างยิ ่ง เพราะแม้ว่าโลกปัจจุบัน

จะมีการพัฒนาทางวัตถุให้เจริญก้าวหน้า

ไปไกลเพียงใด แต่เมื่อมนุษย์มีความทุกข์

ภายในจิตใจ ที ่ เก ินกว่าว ัตถุภายนอก

ใด ๆ จะเยียวยาได้ จะมีก็แต่ศาสนา

เท่านั้นที่จะเป็นโอสถขนานเอกในการบำบัด

ทุกข ์ทางใจให้ก ับมวลมนุษย์ได ้อย ่าง

ไม่เคยล้าสมัย โดยเฉพาะพระพุทธศาสนา

เป็นศาสนาที ่จำเป ็นสำหรับคนในโลก

ปัจจุบันและอนาคต เพราะแม้จะเป็นศาสนา

ที่เกิดขึ้นมานานกว่า ๒,๕๐๐ ปีแล้วก็ตาม

แต่คำสอนขององค์สมเด็จพระบรมศาสดา

สัมมาสัมพุทธเจ้า พระผู ้ทรงสถาปนา

พระพุทธศาสนายังคงใช้ได้ดีในยุคปัจจุบัน

เหมาะสมสำหรับประชาชนทุกเพศทุกวัย

ไม่ว ่าเชื ้อชาติใด ภาษาใด ทั ้งนี ้เพราะ

พระพุทธศาสนาสอนคนให้รู้ความจริงของ

สิ่งต่าง ๆ ตามที่เป็นจริง คือ เกิดขึ้น ตั้งอยู่

และดับไป รู้หลักกรรม ที่ว่าทำดีได้ดี ทำชั่ว

ได้ชั่ว บุคคลทำกรรมเช่นใด ย่อมได้รับผล

เช่นนั้น และสอนให้ทำแต่ความดี ละเว้น

ความชั่วและทำใจให้บริสุทธิ์ หลักคำสอน

เหล่านี้สามารถเป็นที่พึ่งให้กับมนุษย์ได้

ดังนั้น ในวันนี้จึงเป็นหน้าที่ของ

พุทธศาสนิกชนที่จะธำรงไว้ซึ่งพระพุทธศาสนา

ให้ดำรงอยู ่คู ่โลก โดยร่วมเฉลิมฉลอง

สัมพุทธชยันตีให้ยิ ่งใหญ่และร่วมสร้าง

พุทธานุสรณ์ให้กับคนรุ่นหลังได้ระลึกถึงคุณค่า

และประโยชน์ที่ได้รับจากพระพุทธศาสนา

อย่างเต็มกำลัง เพราะในชีวิตหนึ่ง เมื่อพลาด

โอกาสครั้งนี้แล้ว ก็อาจไม่มีโอกาสได้ร่วม

เฉลิมฉลองสัมพุทธชยันตี ในวาระพิเศษ

เช่นนี้อีก เนื่องจากจะมีเวียนครบรอบอีกครั้ง

ก ็ต ้องรอไปถ ึงอ ีก ๑ ศตวรรษหน้า

ในอนาคตอันยาวไกล ซึ่งก็ไม่ใช่ ๒,๖๐๐ ปี

แต่จะเป็น ๒,๗๐๐ ปี ในอนาคตกาล

ความสำคัญและความเป็นมา

ของการเฉลิมฉลองสัมพุทธชยันต ี

แนวทางที ่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า

ได้ทรงมอบให้กับพุทธศาสนิกชนทั้งหลาย

ถือได้ว่าเป็นองค์ความรู้สำคัญทั้งในแง่ของ

ทางวิทยาศาสตร์ ปรัชญา ที่รวมสถาปนา

เป ็นพระพุทธศาสนาข ึ ้น กล ่าวได ้ว ่า

“สัมพุทธชยันตี” มาจากคำว่า “สัมพุทธ”

ค ือ การตร ัสรู ้ของพระพุทธองค ์ เป ็น

พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ส่วนคำว่า “ชย” คือ

ชัยชนะ อันหมายถึง ชัยชนะของพระสัมมา

สัมพุทธเจ้าที่มีต่อหมู่มารและกิเลสทั้งปวง

อย่างสิ้นเชิง โดยคำนี้ได้มีการนำมาใช้อย่าง

กว้างขวางจากการเฉลิมฉลองใหญ่ในงาน

๒๕ พุทธศตวรรษ เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๐๐

ที่ผ่านมาแล้ว

หลักคิดของพระพรหมคุณาภรณ์

(ป.อ.ปยุตฺโต) ที่ทำให้เกิดความเข้าใจถึง

ความสำคัญในวาระโอกาสดังกล่าวมากขึ้น

มีรายละเอียดดังนี้

Page 4: “๒,๖๐๐ ปี แห่งการตรัสรู้ของพระ ...sys.dra.go.th/module/attach_media/sheet9820120227013539.pdf9 และพ ทธศาสน

�1�1

ความหมาย การเฉลิมฉลองชัยชนะ

ของพระพุทธองค์ต่อมาร อันหมายถึง

การตรัสรู้ธรรม ซึ่งถือเป็นการมีชัยชนะ

เหนือพระพุทธองค์เอง มีชัยชนะต่อกิเลส

มีชัยชนะดับทุกข์ได้ และยังมีชัยชนะในพุทธกิจ

ที ่ช่วยชาวพุทธให้มีชัยชนะ ถือเป็นการ

มีชัยชนะในการปฏิบัติพุทธกิจ การชนะ

อย่างชาวพุทธ มีแนวทางในการน้อมนำ

หล ักอร ิยว ัฑฒิ ๕ ท ี ่พระพุทธองค ์

ทรงแสดงให้เห็นถึงหลักความเจริญของ

อารยชน ประกอบด้วย

● ศรัทธา เชื ่อในศักยภาพของ

มนุษย์ว่าสามารถบรรลุเป็นพุทธได้ด้วย

พุทธคุณ ธรรมคุณ และสังฆคุณ

● ศีล มีความประพฤติปฏิบัติดี

มีวินัย สุจริต ซื่อตรง

● สุตะ ศึกษาเล่าเรียนข่าวสาร

ข้อมูลรอบด้าน รู้หลักธรรมความจริง

● จาคะ มีน้ำใจ ความเสียสละ

เผื ่อแผ่แบ่งปัน ชอบช่วยเหลือเอื ้อเฟื ้อ

ชอบที่จะให้ ไม่ตระหนี่ คับแคบ เห็นแก่ตัว

● ปัญญา รู้รอบ รู้คิด รู้พิจารณา

รู ้ผิดชอบชั่วดี รู ้โลกและชีวิตตามความ

เป็นจริงของสิ่งทั ้งหลายตามหลักสามัญ

ลักษณะ

ฉะนั ้นพุทธศาสนิกชนทั ้งหลาย

จ ึงควรร ับรู ้ว ่า หลักธรรมคำสอนทาง

พระพุทธศาสนาถือเป็นสากล เนื่องจาก

เป็นหลักธรรมที่ประกาศสัจธรรมความจริง

ที่พิสูจน์ได้ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงสอน

ให ้ เราท ั ้ งหลายม ีความเช ื ่อในตนเอง

ไม ่ได ้ให ้ เช ื ่อผู ้อ ื ่นแม้แต ่พระองค์เอง

ซึ ่งทรงสอนเราเหล่าชาวพุทธทั้งหลายใช้

ปัญญาพิจารณาให้เกิดความรู้อย่างถ่องแท้

จึงเชื ่อได้ว่า คำสอนของพระพุทธองค์

จะทำให้พระพุทธศาสนาดำรงคงอยู่และ

เป็นหนึ่งเดียวในประเทศไทย และแผ่ขยาย

ไปทั ่วโลก เหล่าชาวพุทธจึงร่วมจัดงาน

เฉลิมฉลอง รำลึก ฝึกปฏิบัติในมหามงคล

ที่ยิ่งใหญ่นี้ เพื่อประกาศให้ชาวโลกได้รับรู้

รับทราบถึงความยิ่งใหญ่และร่วมสืบสาน

พระพุทธศาสนาให้ดำรงอยู่เป็นสัจธรรม

ของพุทธศาสนิกชนสืบไป

ในประเทศไทย พุทธชย ันต ี

เป็นที ่รู ้จ ักกันดีของชาวพุทธนานาชาติ

โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศศรีลังกา อินเดีย

พม่า เป็นต้น และสันนิษฐานว่ามีการเริ่มต้น

งานเฉลิมฉลอง ภายหลังประเทศศรีลังกา

ได้ร ับเอกราชจากประเทศอังกฤษในปี

พ.ศ. ๒๔๙๑ และจากการที่ ดร.อัมเบดการ์

ได้ฟื ้นฟูพุทธศาสนาในประเทศอินเดีย

โดยชาวอินเดียประมาณ ๒๐๐,๐๐๐ คน

ปฏิญาณตนเป็นชาวพุทธ เมื่อวันที่ ๑๔

ตุลาคม ๒๔๙๙ เพื่อเป็นการเฉลิมฉลอง

พุทธชยันตี ๒๕ พุทธศตวรรษ นอกจากนี้

ที่มา : ผลงานของคุณภัสสรี หลายชูไทย

Page 5: “๒,๖๐๐ ปี แห่งการตรัสรู้ของพระ ...sys.dra.go.th/module/attach_media/sheet9820120227013539.pdf9 และพ ทธศาสน

�2�2

ร ั ฐบาลประ เทศอ ิน เด ียย ั ง ได ้ สร ้ า ง

สวนสาธารณะพุทธชยันตีไว้ที่กรุงนิวเดลี

เพ ื ่อเป ็นอนุสรณ์สถาน ในส ่วนของ

รัฐบาลพม่าได้จัดให้มีการทำสังคายนา

ครั้งที่ ๖ เรียกว่า “ฉัฎฐสังคีติ” จัดพิมพ์

พระไตรปิฎกภาษาบาลีและคัมภีร ์ทาง

พระพุทธศาสนาจำนวนมาก

ประเทศไทย ในสมัยจอมพล

ป.พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีได้ร่วม

เฉลิมฉลองพุทธชยันตี ๒๕ พุทธศตวรรษ

ซึ่งถือกันว่าเป็นปีกึ่งพุทธกาล โดยมีการ

จ ัดงานเฉล ิมฉลองพุทธชย ันต ี ๒๕

พุทธศตวรรษ ที่มณฑลพิธีท้องสนามหลวง

ต ั ้ งแต ่ว ันท ี ่ ๑๒-๑๘ พฤษภาคม

๒๕๐๐ รวม ๗ วัน นอกจากนี้ยังมีการ

สร้างพุทธมณฑล เพื่อเป็นศาสนานุสรณ์สถาน

ประกาศให ้พุทธศาสนา เป ็นศาสนา

ประจำชาติและกำหนดให้วันพระหรือวัน

ธรรมสวนะเป็นวันหยุดราชการ (ประกาศ

สำนักคณะรัฐมนตรี ฉบับที ่ ๙ ลงวันที ่

๑ ตุลาคม ๒๔๙๙) มีการพิมพ์พระไตรปิฎก

ภาษาไทยครบชุดเป็นครั้งแรก และได้กำหนด

ให้สถานที ่ราชการและวัดอารามต่าง ๆ

ประดับธงทิวและโคมไฟสว่างไสวไปทั ่ว

พระราชอาณาจักร รณรงค์ให้ประชาชน

ถือศีล ๕ หรือศีล ๘ ตามศรัทธาตลอดเวลา

๗ วัน จัดให้มีการอุปสมบทพระภิกษุสงฆ์

จำนวน ๒,๕๐๐ รูป ประชาชนงดการฆ่าสัตว์

และงดการดื่มสุรา ตั ้งแต่วันที่ ๑๒-๑๔

พฤษภาคม ๒๕๐๐ รวม ๓ วัน จัดภัตตาหาร

ถวายพระภิกษุสงฆ์ ว ันละ ๒,๕๐๐ รูป

ตั้งโรงทานเลี้ยงอาหารแก่ประชาชน วันละ

๒๐๐,๐๐๐ คน เป็นเวลา ๓ วัน บัญญัติ

ข้อกฎหมายห้ามฆ่าสัตว์และจับสัตว์ใน

บริเวณวัด จัดให้มีการปฏิบัติธรรมเป็น

กรณีพิเศษในวันวิสาขบูชา ปี พ.ศ. ๒๕๐๐

อย่างยิ่งใหญ่ พร้อมเพรียงกันทั่วประเทศ

ที่มา : http://www.facebook.com/photo.php?fbid=๑๙๐๙๕๒๖๕๗๖๓๒๔๐๑&set=pu.๑๖๕๔๐๒๐๗๓๕๒๐๗๙๓&type=๑

Page 6: “๒,๖๐๐ ปี แห่งการตรัสรู้ของพระ ...sys.dra.go.th/module/attach_media/sheet9820120227013539.pdf9 และพ ทธศาสน

��

กรมการศาสนา เร่งปรับ ศพอ.

รับประชาคมอาเซียน

ศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ เป็นโครงการ

ขนาดใหญ่ของกรมการศาสนา ที่เปิดโอกาสแก่เด็กและเยาวชน

ได้ศึกษาเรียนรู้ และรู้จักหลักธรรมในพระพุทธศาสนาได้ถูกต้อง

ตามสมควรแก่วัย เพื ่อสร้างเด็กเยาวชนให้เป็นกำลังสำคัญ

ของชาติและพระพุทธศาสนา และยังเป็นการส่งเสริมการเผยแผ่

พระพุทธศาสนา สนับสนุนให้วัดมีบทบาทในการปฏิบัติภารกิจ

ด้านการศึกษาสงเคราะห์ กับทั้งเป็นการเสริมสร้างความสัมพันธ์

ระหว่างวัด บ้าน และสถานศึกษา ให้มีความผูกพันกลมเกลียว

อันเป็นเอกลักษณ์ของวิถีไทย ด้วยความเข้มแข็งของคณะสงฆ์

ในทุกยุคทุกสมัย จึงทำให้ศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์

ได้ขยายตัวอย่างแพร่หลาย สามารถช่วยเหลือสังคมในด้าน

การศึกษาสงเคราะห์มาเป็นระยะเวลายาวนาน เป็นการแสดง

ให้เห็นว่า คณะสงฆ์ไทยเป็นผู้เสียสละที่แท้จริง สมควรได้รับการ

ยกย่องเชิดชูเกียรติ ในฐานะผู้เสียสละที่ได้ร่วมกันทำนุบำรุง รักษา

ส่งเสริมศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ในประเทศไทย

ให้ยั่งยืน สถาพร สืบต่อมาเป็นลำดับ ในการดำเนินงานของศูนย์

ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ หากนับย้อนหลังไป ปรากฏว่า

มีจำนวนเพิ่มขึ้นทุกปี โดยเริ่มตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๔๖ เป็นต้นมา

ประชาชนต้องเข้าถึงอาเซียนและรู้จักใช้ประโยชน์จากความร่วมมือของอาเซียน เนื่องจากในปี พ.ศ. ๒๕๕๘ ประเทศไทยจะเป็นประชาคมเดียวกันทั้งอาเซียน ๑๐ ประเทศ

ภายใต้แนวคิด One Vision, One Identity, One Community ซึ่งจะกลายเป็น “คนบ้านเดียวกัน” ทั้ง ๑๐ ประเทศ และจะต้องเปิดพื้นที่ประเทศ

สร้างพันธมิตรทางอารยธรรม สร้างสังคมแห่งวัฒนธรรม และสังคมแห่งการเรียนรู้ เชื่อมโยงทั่วถึงทั้งภูมิภาคอาเซียน

��

Page 7: “๒,๖๐๐ ปี แห่งการตรัสรู้ของพระ ...sys.dra.go.th/module/attach_media/sheet9820120227013539.pdf9 และพ ทธศาสน

��

จนปัจจุบันปี พ.ศ. ๒๕๕๕ มีจำนวนศูนย์ทั้งหมด ๓,๖๓๕ ศูนย์

จะเห็นได้ว่า ศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์มีจำนวนเพิ่มขึ้น

ทุกปี แสดงให้เห็นว่า ศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์

เป็นศูนย์รวมแห่งจิตใจของชุมชนที่ก่อคุณประโยชน์ต่อประเทศชาติ

และมีส่วนส่งเสริมให้พระพุทธศาสนามีความเจริญก้าวหน้าและ

มั่นคงยิ่งขึ้น ซึ่งที่ผ่านมาได้มีการประชุมถวายความรู้และเปิดโอกาส

ให้พระสังฆาธิการซึ่งเป็นผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนา

วันอาทิตย์ ได้พบปะแลกเปลี ่ยนความคิดเห็นซึ ่งกันและกัน

เพื่อนำมาปรับปรุงศูนย์ทุกปี

จากนโยบายของนางสุกุมล คุณปลื้ม รัฐมนตรีว่าการ

กระทรวงวัฒนธรรม ที่มีความมุ่งมั่นจะเร่งดำเนินการผลักดันให้

เด็กและเยาวชนเข้าถึงงานวัฒนธรรม รวมทั ้งพัฒนาระบบ

การศึกษาคุณธรรมจริยธรรมให้เข้มข้นขึ ้น โดยจะหารือกับ

กระทรวงศึกษาธิการและหน่วยงานที่เกี ่ยวข้อง ให้มีการถอด

องค์ความรู้วิธีการสอนคุณธรรมจริยธรรม และรื้อฟื้นการฝึกปฏิบัติ

ด้านศีลธรรมจรรยา ไม่ใช่ให้เด็กเรียนรู้จากตำราเท่านั้น เด็กจะ

ต้องได้เรียนรู้และได้ฝึกปฏิบัติจริง เพื่อให้เด็กมีความมั่นคงใน

คุณธรรม สามารถเติบโตเป็นผู้นำที่มีคุณภาพของประเทศซึ่งส่วนหนึ่ง

เพื่อเตรียมความพร้อมเข้าสู่ประชาคมอาเซียนในปี ๒๕๕๘

ดังนั ้น เพื ่อสนองนโยบายดังกล่าว กรมการศาสนา

ภายใต้การนำของ ดร.ปรีชา กันธิยะ อธิบดีกรมการศาสนา จึงมี

ความมุ่งหวังที่จะพัฒนาและปรับเปลี่ยนบทบาทใหม่ของศูนย์

ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ ให้มีการเรียนการสอนที่เข้มข้นขึ้น

เน้นเรียนรู้และได้ฝึกปฏิบัติจริง รวมทั้งต้องเตรียมพร้อมเพื่อ

อนาคตแห่งการเป็นประเทศในประชาคมอาเซียนของไทย

ด้วยนโยบายและเหตุผลหลายประการทำให้ศูนย์ศึกษา

พระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ในวันนี้ ต้องปรับตัวเปลี่ยนแปลงอีกครั้ง

จากเหตุผล ที่ว่า ประเทศไทยในปี ๒๕๕๘ จะกลายเป็นประเทศ

สมาชิกของอาเซียน เชื่อว่าจะเป็นการเปลี่ยนแปลง “ครั้งใหญ่”

สำหรับผู้คนที่อยู่ในภูมิภาคนี้ ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้

การเตรียมความพร้อมเข้าสู่การเป็นพลเมืองอาเซียนกลายเป็น

วาระเร่งด่วนสำหรับสังคมไทย เพราะเรื ่องอาเซียนไม่ใช่เรื ่อง

ไกลตัวอีกต่อไป แต่เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับประโยชน์ที่จะได้รับ

โดยตรงจากความร่วมมือของอาเซียน ประชาชนต้องเข้าถึงอาเซียน

และรู้จักการใช้ประโยชน์จากความร่วมมือของอาเซียน เนื่องจาก

ในปี พ.ศ. ๒๕๕๘ ประเทศไทยจะเป็นประชาคมเดียวกัน

ทั้งอาเซียน ๑๐ ประเทศ ภายใต้แนวคิด One Vision, One

Identity, One Community ซึ่งจะกลายเป็น “คนบ้านเดียวกัน”

ทั้ง ๑๐ ประเทศ และจะต้องเปิดพื้นที่ประเทศ สร้างพันธมิตรทาง

อารยธรรม สร้างสังคมแห่งวัฒนธรรมและสังคมแห่งการเรียนรู้

ให้เชื่อมโยงส่งต่อกันได้อย่างทั่วถึงทั้งภูมิภาคอาเซียน การพัฒนา

ทักษะทางภาษาต่างประเทศที่ดีให้เด็กและเยาวชนไทย เป็นการ

เพิ่มความได้เปรียบในการสื่อสาร และจะเป็นตัวช่วยที่สำคัญ

ที ่จะทำให้เด็กไทยสามารถมีความเข้าใจและทำงานได้อย่าง

มีประสิทธิภาพกับประเทศสมาชิกอื่น ๆ ได้

นอกจากนี ้ ใน “ยุคโลกาภิว ัตน์” (Globalization)

เป็นยุคแห่งสังคมเทคโนโลยีสารสนเทศ สังคมโลกจะไม่มีพรมแดน

มากั้นขวาง การเปลี่ยนแปลงของโลกมีการเปลี่ยนแปลงไปอย่าง

รวดเร็ว ไม่มีองค์กรใดที่สามารถหลีกหนีจากการเปลี่ยนแปลงได้

เพราะการเปลี ่ยนแปลงจะเกิดขึ ้นอย่างต่อเนื ่องในระดับและ

ความเร็วที ่เพิ ่มมากขึ ้นเรื ่อย ๆ ทำให้ทุกองค์กรต้องมีการ

เตรียมตัวรับการเปลี่ยนแปลงให้ทันกับกระแสโลกโดยรวมที่ต้องการ

ความมั่งคั่งร่ำรวย พยายามสร้างความสำเร็จจากการแข่งขันให้ชนะ

องค์กรที่วิ่งตามกระแสโลกทันก็จะได้รับประโยชน์อย่างมหาศาล

ส่วนองค์กรใดที ่ด้อยคุณภาพก็จะไม่สามารถอยู ่ในโลกของ

การแข่งขันนี้ได้ ผู้บริหารที่รอบรู้จะปรับเปลี่ยนรูปแบบการทำงาน

ให้ทันกับสถานการณ์ ไม่เช่นนั้นองค์กรจะต้องพบกับอุปสรรคต่อ

��

Page 8: “๒,๖๐๐ ปี แห่งการตรัสรู้ของพระ ...sys.dra.go.th/module/attach_media/sheet9820120227013539.pdf9 และพ ทธศาสน

��

ความสำเร็จในอนาคต สิ ่งที ่ผู ้บริหารต้องทำเป็นอันดับแรก

คือ การใส่ใจต่อการพัฒนางาน เพื่อให้งานนั้นสามารถสนอง

ต่อความต้องการของประชาชน อันจะส่งผลให้องค์การอยู่รอด

และเจริญรุ่งเรืองในระยะยาว โดยเฉพาะ การมุ่งสร้างความสำเร็จ

ร่วมกัน ด้วยการร่วมมือเพื ่อให้สังคมมีความอยู ่เย็นเป็นสุข

ร่วมกัน อันได้แก่ ภาวะเป็นสุขทางกาย ทางใจ ทางสังคม

และทางจิตวิญญาณ โดยดำรงอยู ่อย่างมั ่นคงบนความพอดี

ระหว่าง “วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีกับคุณค่าทางสังคม” เน้นที่

“คนในประเทศมีความสุข เท่าทันอาเซียน” และตระหนักรู้ถึง

ความแตกต่างหลากหลายทางเชื้อชาติ ศาสนา โดยเฉพาะการเข้าสู่

ประชาคมอาเซียน ทำให้ประเทศไทยต้องรู้จักปรับตัวให้เข้ากับ

สภาวะโลกปัจจุบันที่มีการเปลี่ยนแปลงก้าวหน้าไปอย่างรวดเร็ว

และมีโลกทัศน์ข้ามวัฒนธรรมไทย และมองโลกทัศน์สากล

รวมทั้งโลกทัศน์อาเซียนเพื่อให้รู ้เท่าทันกระแสโลก จะทำให้

ประเทศไทยโดยเฉพาะชุมชนสามารถผนึกกำลังเพื่อเปลี่ยนแปลง

สภาพปัจจุบันไปสู่สภาพที่พึงประสงค์ คือ สามารถพึ่งพาตนเอง

ได้อย่างเหมาะสมกลมกลืนกับโลกแห่งอนาคตที่ต้องพึ่งพาตนเอง

มากขึ ้น และสามารถเป็นผู ้นำอาเซียนในกรอบแห่งคุณธรรม

ที่เอื้ออาทร

การปรับเปลี่ยนยุทธศาสตร์ของศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนา

วันอาทิตย์สู่ประชาคมอาเซียนในปี พ.ศ. ๒๕๕๘ จึงเป็นเรื่อง

“อินเทรนด์” เพื่อให้ทันกับความเคลื่อนไหวของประชาคมอาเซียน

โดยเฉพาะการเตรียมความพร้อมและการจัดทำเป็นแผนปฏิบัติการ

ของศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ใหม่เพื่อให้สอดคล้อง

กับนโยบายของรัฐบาลในเรื ่องของประชาคมอาเซียน และ

นโยบายของร ัฐมนตรีว ่าการกระทรวงว ัฒนธรรม ซึ ่งเป ็น

เรื่องจำเป็น โดยมีแนวโน้มที่จะพัฒนาศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนา

วันอาทิตย์ ดังนี้

๑. ปรับวิธีคิดของศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์

เพื ่อรองรับอาเซียนให้ช ัดเจน กล่าวคือ ต้องสร้างแนวคิด

“วิถีพุทธ วิถีอาเซียน” สิ่งที่ต้องทำคือ ต้องเน้นในสิ่งที่ศูนย์ฯ

เชี่ยวชาญ ในเรื่องธรรมศึกษาตรี โท เอก พัฒนาให้สามารถ

เข้าถึงผู ้เรียนให้ได้ โดยอาจปรับวิชาในบางวิชาของหลักสูตร

ธรรมศึกษา ให้เป ็นภาษาของเพื ่อนบ้านหรือภาษาอังกฤษ

ซึ่งถือเป็นภาษากลางของประชาคมอาเซียน รวมทั้งพัฒนาทักษะ

เรื ่องภาษาอังกฤษและภาษาที ่ ๓ ให้เหมาะสมกับสถานภาพ

ของผู้เรียนในศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์และอาจขยาย

ไปยังพื้นที่ในกลุ่มประเทศอาเซียน (ASEAN) หรือเอเชียตะวันออก

เฉียงใต้ แม้ในขณะนี ้จะยังมิได้ดำเนินการแต่ก็ต้องมีการ

วางแผนดำเนินการเพื่อเตรียมความพร้อม

��

Page 9: “๒,๖๐๐ ปี แห่งการตรัสรู้ของพระ ...sys.dra.go.th/module/attach_media/sheet9820120227013539.pdf9 และพ ทธศาสน

��

๒. มีการวางระบบและสร้างความเข้มแข็งให้กับศูนย์ศึกษา

พระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ต้นแบบ พัฒนาระบบการศึกษา

คุณธรรมจริยธรรมให้เข้มข้นมากขึ ้น เพื ่อเป็นฐานเครือข่าย

ต้นแบบของศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์สู ่อาเซียน

เป็นการนำร่องในปี พ.ศ. ๒๕๕๕ และในอนาคตจะมีการขยายไป

ยังพื้นที่ทั่วประเทศ โดยส่งเสริมให้องค์กรเครือข่ายต่าง ๆ นำไป

ใช้อย่างกว้างขวางและมีประสิทธิภาพ รวมทั ้งเปิดโอกาสให้

ประเทศที่เป็นสมาชิกอาเซียนมาร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในศูนย์ฯ

๓. พัฒนารูปแบบวิถีชีวิต (Way of Life) ของเยาวชนไทย

ให้เป็นคนรุ่นใหม่ที่มีการศึกษาทั่วถึง ทันโลก และมีคุณธรรม

จริยธรรม เพื่อให้เป็นตัวกำหนดบุคลิกลักษณะเชิงจริยธรรมแก่

เยาวชนอาเซียน โดยมีศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์

เป็นดุจกำแพงที ่แข็งแกร่งที ่จะคอยปกป้องภัยอันเกิดจาก

การบกพร่องทางศีลธรรมของสังคมได้

๔. พัฒนาแนวคิดของเยาวชนในศูนย์ฯ ให้มีความรู ้

เกี่ยวกับประชาคมอาเซียนทั้ง ๑๐ ประเทศ โดยต้องรู้จักหลักการ

รู้จักวิธีการ ในลักษณะ “รู้เขารู้เรา รบร้อยครั้ง ชนะร้อยครั้ง”

(One Who Knows The Enemy And Knows Himself Will

not be in Danger In A Hundred Battles.) ตลอดจนปรัชญา

ความเชื่อทางศาสนาที่ยอมรับนับถือศาสนาที่หลากหลายและลัทธิ

ความเชื่อที่แตกต่างทางสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน เพื่อให้ไทย

เป็นศูนย์รวมของประชาชาติที่เคารพเสรีภาพในการนับถือศาสนา

ทั้งพุทธ อิสลาม คริสต์ พราหมณ์-ฮินดู และลัทธิความเชื่ออื่น ๆ

๕. ปรับปรุงและจัดทำหลักสูตรตำราเรียนของศูนย์ฯ

ให้เหมาะสมกับเด็กไทยในกลุ่มต่าง ๆ และเด็กในประเทศอาเซียน

เน้นการเรียนรู้และฝึกปฏิบัติจริง เน้นความเป็นสากล ควบคู่กับ

เรื่องวิถีชีวิตและวัฒนธรรมไทย ซึ่งถือเป็นจุดแข็งของประเทศไทย

และเป็นภูมิป ัญญาไทย ที ่ศูนย์ฯ ต้องคงความเป็นไทยไว้

ขณะเดียวกันก็พัฒนาจุดเด่นของศูนย์ฯ ให้ดีขึ ้นจนสามารถ

ดึงดูดให้เด็กไทยให้มาเรียนเพิ่มขึ้น รวมทั้งเด็กอาเซียนที่สนใจ

ในอนาคต

๖. มีความตื่นตัวในส่วนของการสอนเสริมของศูนย์ฯ

ในเรื ่องภาษาที ่ ๓ ที ่จะต้องพัฒนาและเพิ ่มหลักสูตรทักษะ

ทางภาษาที่เน้นภาษาของประเทศสมาชิกของอาเซียน ๑๐ ประเทศ

อาทิ สอนภาษาเขมร ภาษาลาว ภาษาเวียดนาม ภาษาจีน ฯลฯ

นอกเหนือจากภาษาอังกฤษ และไอซีที

๗. ทำบันทึกข้อตกลงร่วมระหว่างองค์กรปกครองส่วน

ท้องถิ ่น ๔ องค์กร คือ อบจ. อบต. เทศบาล และองค์กร

ปกครองส่วนท้องถิ ่น เพื ่อให้การสนับสนุนการดำเนินงาน

ของศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ ในการทำหน้าที ่

ในการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมในท้องถิ่น รวมทั้งเพื่อเตรียมเด็ก

และเยาวชนรุ่นใหม่ให้เข้าถึงการเป็นพลเมืองอาเซียน โดยกระตุ้น

และโน้มน้าวให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นปรับเปลี่ยนทัศนคติ

ที่มีต่องานด้านพัฒนาจิตใจ เพื่อให้เห็นงานด้านการพัฒนาจิตใจ

มากกว่าการพัฒนาด้านวัตถุ และใช้ความมีอิสระในการศึกษา

พัฒนารูปแบบศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ใหม่ตาม

ความต้องการของชุมชนและการเป็นพลเมืองอาเซียนในอนาคต

๘. สร้างระบบภูมิคุ้มกันที่ดีให้กับประชาชน มีการสอน

ธรรมศึกษาในระดับตรี โท เอก ตลอดจนการสอนเสริมในวิชา

อื ่น ๆ และมีบทบาทต่อการจัดกิจกรรมทางพระพุทธศาสนา

ส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้ในวิชาการต่าง ๆ เพื่อพัฒนาคุณภาพ

ทุกช่วงวัยของชีวิตของประชาชนให้เป็นคนดี มีปัญญา อย่างเป็น

��

Page 10: “๒,๖๐๐ ปี แห่งการตรัสรู้ของพระ ...sys.dra.go.th/module/attach_media/sheet9820120227013539.pdf9 และพ ทธศาสน

��

รูปธรรม และสามารถนำความสำเร็จมาสู่ความคาดหวังของสังคม

ที่ประสงค์จะเห็นบทบาทของวัดในการจรรโลงพระพุทธศาสนาให้

เจริญรุ่งเรือง และให้วัดเป็นที่พึ่งของประชาชนในทุกด้าน เพื่อ

สร้างครอบครัวอบอุ่น ชุมชน “วิถีพุทธ วิถีอาเซียน” ที่เข้มแข็ง

เตรียมพร้อมเข้าสู่การเป็นพลเมืองของประชาคมอาเซียน

๙. เปล ี ่ยนบทบาทของศูนย ์ศ ึกษาพระพุทธศาสนา

วันอาทิตย์ใหม่ ให้มีบทบาทอย่างเหมาะสมกับสังคมสมัยใหม่

และมีการบริหารจัดการในมิติใหม่ตามนโยบายของกระทรวง

วัฒนธรรม กล่าวคือ มีบทบาทอันหลากหลาย สามารถเป็นพลัง

สำคัญที่จะพัฒนาส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมให้กับคนในชุมชน

แบบครบวงจร ภายใต้การสนับสนุนของกรมการศาสนาอย่าง

ใกล้ชิด ด้วยระบบงานที่เน้นผลสัมฤทธิ์ (Result Based) และเน้น

ความพึงพอใจของผู้รับบริการ คือ การสนองต่อความต้องการ

ของประชาชน บทบาทใหม่ของศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนา

วันอาทิตย์ เป็นบทบาทที่กว้างขวาง สามารถรองรับกลุ่มเป้าหมาย

ที่หลากหลาย รวมถึงพลเมืองของอาเซียน เป็นศูนย์รวมทุกอย่าง

ที ่เอื ้อประโยชน์ต่อชุมชน เป็นศูนย์พัฒนามนุษย์ให้สมบูรณ์

รวมทั้งเป็นศูนย์แก้ปัญหาให้กับชุมชน โดยต้องสร้างกระแสพุทธธรรม

ให้มีชีวิตชีวาและรักษามาตรฐานของบทบาทของศูนย์ในวัด

ให้เป็นที่ยอมรับของคนในชุมชน

๑๐. พลิกฟื ้นบทบาทของศูนย์ฯ ในอดีตที ่ม ีต ่อเด ็ก

เยาวชนและประชาชน จนสามารถครองใจและดำรงความเลื่อม

ใสศรัทธาให้เกิดขึ้นในใจของประชาชน ด้วยคุณค่าของพระพุทธศาสนา

ที่โดดเด่น ให้สามารถเกื้อกูลและเข้าถึงประชาชนได้อย่างแท้จริง

โดยมุ ่งเน้นไปที ่ต ัวเด็กและผู ้ปกครองที ่เป ็นตัวจักรสำคัญ

ช่วยเยียวยาแก้ไขปัญหาเยาวชนที ่ต้นตอร่วมกับผู ้ปกครอง

อย่างใกล้ชิด เพื่อความยั่งยืนของการพัฒนา ตลอดจนให้การดูแล

ให ้ความร ักความอบอุ ่นกล ่อมเกลาจ ิตใจ อบรมส ั ่งสอน

��

Page 11: “๒,๖๐๐ ปี แห่งการตรัสรู้ของพระ ...sys.dra.go.th/module/attach_media/sheet9820120227013539.pdf9 และพ ทธศาสน

��

ปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรมให้เยาวชนรู ้ผิดชอบชั ่วดี จนเกิด

มโนธรรมและจริยธรรมที่ดี เพื่อลดทอนบรรเทาวิกฤตคุณธรรม

เยาวชนไทยให้บางเบาและหมดไปในที่สุด

๑๑. ประสานและขายแนวคิดในการเข ้าสู ่ประชาคม

อาเซียนเพื ่อหาเจ้าภาพร่วม เป็นการจัดการแบบมีส่วนร่วม

(Participative Management) โดยให้ความสำคัญกับองค์กร

ปกครองส่วนท้องถิ่นและประชาชนในชุมชน ในฐานะที่เป็นเจ้าของ

ศาสนาและวัฒนธรรมที่สำคัญ และยังมีอิทธิพลอย่างมากต่อ

ความสำเร็จของศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ในปัจจุบัน

การเปิดโอกาสให้ทุกภาคส่วน โดยเฉพาะองค์กรปกครอง

ส่วนท้องถิ่นและประชาชนในชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการบริหาร

และจัดการศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ เพื่อให้เกิด

ความรับผิดชอบและความร่วมมือ ซึ่งจะเป็นกุญแจสำคัญในการ

ปรับปรุงศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนา

ว ันอาท ิตย ์ให ้ประสบความสำเร ็จ

โดยอาศ ัยการส ื ่อสารแบบสองทาง

(Two-way Communication) เป็น

เครื ่องมือในการดำเนินการ รวมทั้ง

เปิดกว้างรับฟังทุกความคิดและติดตาม

ความคิดเห็นจากประชาชนในชุมชน

หลายแง่มุม สร้างวัฒนธรรมให้เกิด

แนวความค ิดใหม ่ท ี ่แตกต ่างจาก

ความคิดเดิมเพื่อนำไปสู่การสร้างสรรค์

คุณค่าของศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนา

วันอาทิตย์ ตลอดจนส่งเสริมให้องค์กร

ปกครองส่วนท้องถิ่นเห็นความสำคัญ

ในการปรับเปลี่ยนและพัฒนาศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์

โดยอาจร่วมจัดตั้ง “กองทุนพัฒนา ศพอ. สู่อาเซียน” เพื่อให้

ศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ สามารถดำเนินการได้

และบรรลุผลสำเร็จโดยมีทุกภาคส่วนในชุมชนเป็นเจ้าของศูนย์

ร่วมกัน และร่วมกันรักษารากฐานของสังคมไทย กล่าวคือ

“ช่วยสร้างสมดุลระหว่างความทันสมัยของอาเซียนกับคุณค่า

ของความเป็นไทย” ที ่ เน ้นค่านิยมและจริยธรรมตามแนว

พระพุทธศาสนา เช่น ความโอบอ้อมอารี ความซื่อสัตย์สุจริต

การกินอยู่พอดีกลมกลืนกับธรรมชาติ ความปรองดองในการ

อยู่ร่วมกัน ความมีวินัยในตนเอง ความรับผิดชอบ ความอดทน

อดออม มุมานะ ทำงานด้วยขันติธรรม ยึดมั่นในหลักธรรม เพื่อให้

ไทยสามารถดำรงอยู ่ได้ในบริบทโลกอย่างสมศักดิ ์ศรีและมี

ความก้าวหน้ามั่นคงอย่างยั่งยืน

สิ่งเหล่านี้เป็นแนวคิดของ ดร.ปรีชา กันธิยะ อธิบดีกรม

การศาสนา ที่ต้องการสนองนโยบายของกระทรวงวัฒนธรรม

ซึ่งต้องแปรเปลี่ยนสู่การปฏิบัติ โดยมีศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนา

วันอาทิตย์เป็นศูนย์ที่จะเติมเต็มในสิ่งเหล่านี้เพื่อประกาศให้โลกรู้ว่า

ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางพระพุทธศาสนาโลก และไทยกำลัง

ย่างเข้าสู ่ประชาคมอาเซียนแล้ว ดังนั ้น เพื ่อเตรียมเด็กและ

เยาวชนไทยให้เป็น “คนที ่พร้อมและเข้มแข็งด้วยศีลธรรม”

สำหรับโลกใบใหม่ ซึ ่งจะสามารถมีความพร้อมล้อไปกับกระแส

อาเซียน และเป็นการตอบโจทย์โลกที่เปลี่ยนไป เป็นการติดอาวุธ

ใหม่ให้กับ “นิวเจน” (New Generation) ให้พร้อมดำรงอยู่และ

แข่งขันในสนามชีวิตและสนามเศรษฐกิจที่กว้างใหญ่กว่าเดิม

ในประชาคมอาเซียนได้อย่างมั่นคง

��

Page 12: “๒,๖๐๐ ปี แห่งการตรัสรู้ของพระ ...sys.dra.go.th/module/attach_media/sheet9820120227013539.pdf9 และพ ทธศาสน

�9

กรมการศาสนาจับมือศาลเยาวชนและครอบครัวกลาง

ร่วมแก้ปัญหาเด็กกลุ่มเสี่ยงทั่วประเทศ

กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม ได้ร ิเร ิ ่มดำเนินงานโครงการ

ศูนย์การเรียนรู้คุณธรรมจริยธรรมสำหรับเยาวชน ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๔๙ ในสมัย

ของอธิบดีกรมการศาสนา (นายปรีชา กันธิยะ) ในสมัยแรกที่ได้มารับตำแหน่ง

เป็นอธิบดีกรมการศาสนาในสมัยนั้น เพื่อส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมสู่ประชาชน

ในทุกภาคส่วนตามหลักการพัฒนาจิตทางพระพุทธศาสนา ด้วยวิธีการจัดอบรมหรือ

จัดค่ายคุณธรรม โดยมีการฝึกอบรม “พระธรรมวิทยากร” และมีการขึ้นทะเบียน

ในทำเนียบพระธรรมวิทยากรในสังกัดของกรมการศาสนา โดยคาดหวังที่จะพัฒนา

กลุ่มเป้าหมายที่สำคัญ คือ เด็กและเยาวชนผู้เป็นอนาคตของชาติ อันเป็นการแก้ไข

ปัญหาเยาวชนของชาติอย่างยั่งยืนโดยใช้มิติศาสนา

ในปี พ.ศ. ๒๕๕๕ ดร.ปรีชา กันธิยะ อธิบดีกรมการศาสนา ได้เปิดศักราชใหม่

เพื่อปรับปรุงเปลี่ยนแปลงโครงการศูนย์การเรียนรู้คุณธรรมจริยธรรมสำหรับเยาวชน

ให้สามารถสนองตอบต่อนโยบายของกระทรวงวัฒนธรรมและของรัฐบาลที่ได้ให้

ความสำคัญกับการนำหลักธรรมทางศาสนามาใช้ในการเสริมสร้างคุณธรรม

จริยธรรมและพัฒนาคุณภาพชีวิตแก่ประชาชนทุกเพศทุกวัย และเสริมสร้างคนไทย

ให้อยู่ร่วมกันในสังคมอย่างสันติสุข โดยเฉพาะเน้นนำหลักธรรมทางศาสนามาใช้

พัฒนาส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมเด็กและเยาวชนซึ่งเป็นอนาคตที่สำคัญของชาติ

โดยกรมการศาสนามีนโยบายที่จะเป็นผู้นำหลักในการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม

ประชาชน เริ่มจากการพัฒนารูปแบบของศูนย์การเรียนรู้คุณธรรมจริยธรรมสำหรับ

เยาวชนใหม่ให้เป็นที่ประจักษ์แก่สังคม เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของเด็กและ

เยาวชนในกลุ่มเป้าหมายต่าง ๆ ให้เป็นคนดีมีคุณธรรม โดยในปี พ.ศ. ๒๕๕๕ นี้

จะพัฒนาให้มีศูนย์การเรียนรู้คุณธรรมจริยธรรมสำหรับเยาวชนใน ๔ ภูมิภาค

�9

Page 13: “๒,๖๐๐ ปี แห่งการตรัสรู้ของพระ ...sys.dra.go.th/module/attach_media/sheet9820120227013539.pdf9 และพ ทธศาสน

�0

ที่มีระบบการบริหารจัดการที่มีคุณภาพ มั่นคง และต่อเนื่อง เพื่อทำหน้าที่เป็น

ศูนย์กลางขับเคลื่อนการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรม เพื่อรองรับเด็กและเยาวชน

ในกลุ่มต่าง ๆ ทั่วประเทศให้สามารถมาใช้บริการได้จากศูนย์การเรียนรู้คุณธรรม

จริยธรรมในภูมิภาคนั้น ๆ จัดสร้างและพัฒนาหลักสูตรให้หลากหลาย เท่าทัน

การเปลี่ยนแปลง และเหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมายต่าง ๆ เร่งสร้าง “พระธรรมวิทยากร”

ให้มีคุณภาพและมีจำนวนเพียงพอที่จะไปทำหน้าที่เป็นผู้นำในการจัดค่ายคุณธรรม

ที่สามารถพัฒนาเด็กไทยให้มีภูมิคุ้มกันที่เข้มแข็ง ตลอดจนแสวงหาหุ้นส่วนในการ

ขับเคลื ่อนงานดังกล่าวเพื ่อให้บรรลุผลสำเร็จในการพัฒนาส่งเสริมคุณธรรม

จริยธรรมของเด็กและเยาวชนไทยให้เป็นกำลังที่มีคุณภาพ สามารถนำพาชาติ

ให้พัฒนาสถาพรสืบต่อไป

ในเบื้องต้นนี้ กรมการศาสนา ได้มีพิธีลงนามในข้อตกลงความร่วมมือ

ระหว่าง ดร.ปรีชา กันธิยะ อธิบดีกรมการศาสนา กับนายจิรนิติ หะวานนท์ อธิบดี

ผู้พิพากษาศาลเยาวชนและครอบครัวกลาง เมื่อวันพฤหัสบดีที่ ๒๙ ธันวาคม

๒๕๕๔ ณ ห้องประชุมกรมการศาสนา ชั้น ๑๕ กระทรวงวัฒนธรรม ซึ่งได้ตกลง

ที ่จะร่วมมือกันพัฒนาและส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมสำหรับเด็กและเยาวชน

ที่ถูกกล่าวหาว่าทำความผิด โดยการบูรณาการการทำงานร่วมกันบนพื้นฐานของ

อำนาจหน้าที่ของทั้งสองหน่วยงาน ซึ่งทั้งสองฝ่ายจะร่วมมือกันจัดกิจกรรมส่งเสริม

คุณธรรมจริยธรรมแก่เด็กและเยาวชนที่ถูกกล่าวหาว่าทำความผิด ภายใต้การดูแล

ของศาลเยาวชนและครอบครัวกลาง เพื่อให้เด็กและผู้ปกครองได้มีโอกาสเข้าถึง

หลักธรรมอันเป็นหนทางสู่การปฏิบัติที่ดีงาม เป็นการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้สามารถ

ต้านทานต่อสิ่งเร้าที่จะนำพาชีวิตให้มืดมน ให้ได้รับความรู้ด้านคุณธรรมจริยธรรม

เป็นผู้ใหญ่ที่ดีมีคุณภาพในภายภาคหน้า ดังนั้น ทั้งสองหน่วยงานจึงได้ร่วมกันจัดทำ

บันทึกข้อตกลงเพื่อดำเนินงานให้บรรลุวัตถุประสงค์ โดยมีรายละเอียด ดังนี้

ข้อ ๑ กรมการศาสนา ร่วมมือในการสนับสนุนงบประมาณจัดกิจกรรม

ส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมแก่เด็กและเยาวชนที่ถูกกล่าวหาว่าทำความผิดภายใต้

การดูแลของศาลเยาวชนและครอบครัวกลาง

ข้อ ๒ ศาลเยาวชนและครอบครัวกลาง ร่วมมือในการจัดเด็กและเยาวชน

ที่ถูกกล่าวหาว่าทำความผิดเข้ารับการอบรมคุณธรรมจริยธรรม

ข้อ ๓ ทั้งสองหน่วยงานร่วมมือทางวิชาการในการจัดทำหลักสูตรการอบรม

และจัดวิทยากรในการอบรมค่ายคุณธรรมจริยธรรม

ข้อ ๔ ทั้งสองหน่วยงานร่วมมือในการวางแผน เตรียมการ และบริหาร

จัดการค่ายคุณธรรมจริยธรรมสำหรับเด็กและเยาวชนที่ถูกกล่าวหาว่าทำความผิด

ข้อ ๕ ทั้งสองหน่วยงานร่วมมือในการติดตามประเมินผลเด็กและเยาวชน

ที่ถูกกล่าวหาว่าทำความผิดที่ผ่านการอบรมค่ายคุณธรรมจริยธรรม

ถ้ามีกิจกรรมอื่น ๆ ที่ทั้งสองหน่วยงานสามารถร่วมมือกันได้ จะได้มีการ

หารือและตกลงกันในบทบาทและอำนาจหน้าที่ของแต่ละส่วนราชการเป็นกรณีไป

�0