4
21 สายตรงศาสนา เข้าวัดวันธรรมสวนะ ประวัติความเป็นมา วัดเบญจมบพิตร เปนวดโบราณ เดมชอวาวดแหลม หรอ วดไทรทอง สมยรชกาลท ๔ แหงกรงรตนโกสนทร กรมพระพพธ โภคภูเบนทร พระราชโอรสในพระบาทสมเดจพระพทธเลศหลานภาลย รชกาลท ๒ โปรดตงกองทพรบขบถเจาอนวงศทวดน หลงจากเสรจจาก การขบถเจาอนวงศแลว ไดมศรทธาปฏสงขรณวดแหลม โดยรวมกบ พระเจานองยาเธอและพระเจานองเธอ รวม ๔ พระองค คอ กรมพระพทกษเทเวศร กรมหลวงภูวเนตรนรนทรฤทธ พระองคเจาหญง อนทนล และพระองคเจาหญงวงศ ในการปฏสงขรณครงนโปรดใหสราง พระเจดยไวเปนอนสรณ ๕ องค เรยงอยูดานหนาวด สมยพระบาทสมเดจ พระจอมเกลาเจาอยูหว โปรดพระราชทานนามวดใหมวา วดเบญจบพตร หมายถง วดของเจานายทง ๕ พระองค รชกาลท ๕ พระบาทสมเดจพระจลจอมเกลาเจาอยูหว โปรด ทจะขยายพระนครไดซอทดนบรเวณคลองสามเสนกบคลองผดงกรงเกษม ตอนเหนอของวดเบญจบพตรในปพทธศกราช ๒๔๔๑ เพอสรางเปน พระราชอทยาน โดยใชทนทรพยสวนพระองคและพระราชทานนามวา สวนดสต พรอมทงโปรดใหสรางพระราชวงแหงใหม คอ พระราชวงดสต บรเวณทสรางสวนดสตเปนพนทของวดราง ๒ วด คอ วดดสต และวดปากคลอง พระบาทสมเดจพระจลจอมเกลาเจาอยูหว ทรงทำ ผาตกรรม และประกอบกบวดเบญจบพตรกำลงทรดโทรม โปรดม พระราชดำรทจะสถาปนาขนเปนวดใหญใหมความงดงามสงาสมกบเปน พระอารามหลวง โปรดใหสมเดจพระเจาบรมวงศเธอ เจาฟากรมพระยา นรศรานวตตวงศ ทรงเปนประธานในการกอสรางวดใหมทงหมด พระบาทสมเดจพระจลจอมเกลาเจาอยูหวเสดจเปนองคประธานในการ ผูกพทธสมาเมอปพทธศกราช ๒๔๔๒ แลวพระราชทานนามเตมอกษร “ม” และเพมสรอยวา วดเบญจมบพตรดสตวนาราม หมายถง วดของ พระเจาแผนดน รชกาลท ๕ พรอมทงทรงแสดงพระราชประสงควา เมอพระองคเสดจสวรรคต และถวายพระเพลงแลว ใหนำพระสรรงคาร มาบรรจไวภายใตรตนบลลงกพระพทธชนราชพระประธานในพระอโบสถ ปพทธศกราช ๒๔๔๔ พระบาทสมเดจพระจลจอมเกลาเจาอยูหว ไดเสดจพระราชดำเนนทรงประกอบพธวางศลาฤกษพระอโบสถ โปรดให สรางดวยหนออนทสงมาจากประเทศอตาล การกอสรางดำเนนมา โดยลำดบ จนถงปพทธศกราช ๒๔๕๓ พระบาทสมเดจพระจลจอมเกลา เจาอยูหว ไดเสดจสวรรคต การกอสรางยงไมแลวเสรจ สมยรชกาลท ๖ พระบาทสมเดจพระมงกฎเกลาเจาอยูหว โปรดใหดำเนนการตอ โปรดใหประดบชอฟา ใบระกา หางหงส ประดบ ตกแตงหนออนฝาผนงและพน พรอมทงรตนบลลงก และใหชาง กรมศลปากรเขยนลายไทยทฝาผนง และไดอญเชญพระสรรงคาร ในพระบาทสมเดจพระจลจอมเกลาเจาอยูหว มาบรรจไวใตรตนบลลงก พระพทธชนราชในพระอโบสถ สถานะและที่ตั้ง วดเบญจมบพตรดสตวนาราม เปนพระอารามหลวงชนเอก ชนดราชวรวหาร ตงอยูเลขท ๖๙ ถนนนครปฐม แขวงดสต เขตดสต กรงเทพมหานคร มทดนตงวด เนอท ๒๖ ไร ๑ งาน ๖๖ ตารางวา สิ่งสำคัญในพระอาราม พระอุโบสถ ประดบตกแตงดวยหนออนทงหลง เปนอาคาร ทรงจตรมข มมขเดจยนออกมาทงดานหนาและดานหลง หลงคาซอนกน ๕ ชน มงดวยกระเบองกาบูสเหลอง ลกษณะเปนกาบโคง กระเบอง เชงชายเทพพนม มระเบยงคดลอมรอบ ประดบชอฟา ใบระกา หางหงส ลงรกปดทอง หนาบนแกะสลกดวยไม ลงรกปดทอง ประดบกระจกหนาบน มขเดจดานหนาเปนรูปพระนารายณทรงสบรรณ สวนมขเดจดานหลง เปนรูปอณาโลม ประดบกระจก หนาบนดานอน ๆ เปนรูปตาง ๆ ไมซำกน ฝาผนงภายในเขยนภาพลายไทยเทพพนมทรงขาวบณฑสเหลอง ตลอดถงเพดาน บนขอทงหมดมภาพเขยนลายทองรดนำ เพดานประดบ ดาวกระจาย ซมหนาตางเปนเรอนแกวฐานเทาสงห บานประตู ๓ ดาน จำหลกโลหะภาพนูน ดานหนาเปนภาพมารผจญ ดานเหนอเปนภาพ เจดยจฬามณ ดานใตเปนภาพพระพทธเจาเสดจลงจากดาวดงส ทซมมขดานตะวนตกประดษฐานพระพทธรูปยนองคใหญปดทองเปน พระพทธรูปทหลอจากเศษทองทเหลอจากการหลอพระพทธชนราช จำลองเรยกกนทวไปวา หลวงพอธรรมจกร พระประธานในพระอุโบสถ พระบาทสมเดจพระจลจอมเกลา เจาอยูหว โปรดใหหลอเมอปพทธศกราช ๒๔๔๔ เปนพระนงสมาธราบ ปางมารวชย สมยสโขทย จำลองจากองคจรงทจงหวดพษณโลก คอ พระพทธชนราช พระระเบียงคด ลกษณะเปนมขกระสนตอจากมขพระอโบสถ ดานทศใตโอบไปทางตะวนตกมาจรดมขดานหนา พนระเบยงปูหนออน วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม

วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนารามsys.dra.go.th/module/attach_media/sheet6420100319104139.pdf · ๕ ชั้น ประกอบด้วย

  • Upload
    others

  • View
    2

  • Download
    0

Embed Size (px)

Citation preview

Page 1: วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนารามsys.dra.go.th/module/attach_media/sheet6420100319104139.pdf · ๕ ชั้น ประกอบด้วย

21สายตรงศาสนา

เข้าวัดวันธรรมสวนะ

ประวัติความเป็นมา วัดเบญจมบพิตร เป็นวัดโบราณ เดิมชื่อว่าวัดแหลม หรือ

วัดไทรทอง สมัยรัชกาลที ่ ๔ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ กรมพระพิพิธ

โภคภูเบนทร์ พระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย

รัชกาลที่ ๒ โปรดตั้งกองทัพรับขบถเจ้าอนุวงศ์ที่วัดนี้ หลังจากเสร็จจาก

การขบถเจ้าอนุวงศ์แล้ว ได้มีศรัทธาปฏิสังขรณ์วัดแหลม โดยร่วมกับ

พระเจ ้าน ้องยาเธอและพระเจ ้าน ้องเธอ รวม ๔ พระองค์ ค ือ

กรมพระพิทักษ์เทเวศร์ กรมหลวงภูวเนตรนรินทรฤทธิ์ พระองค์เจ้าหญิง

อินทนิล และพระองค์เจ้าหญิงวงศ์ ในการปฏิสังขรณ์ครั้งนี้โปรดให้สร้าง

พระเจดีย์ไว้เป็นอนุสรณ์๕องค์ เรียงอยู่ด้านหน้าวัดสมัยพระบาทสมเด็จ

พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดพระราชทานนามวัดใหม่ว่าวัดเบญจบพิตร

หมายถึงวัดของเจ้านายทั้ง๕พระองค์

รัชกาลที่ ๕ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรด

ที่จะขยายพระนครได้ซื้อที่ดินบริเวณคลองสามเสนกับคลองผดุงกรุงเกษม

ตอนเหนือของวัดเบญจบพิตรในปีพุทธศักราช ๒๔๔๑ เพื่อสร้างเป็น

พระราชอุทยาน โดยใช้ทุนทรัพย์ส่วนพระองค์และพระราชทานนามว่า

สวนดุสิตพร้อมทั้งโปรดให้สร้างพระราชวังแห่งใหม่คือพระราชวังดุสิต

บริเวณที่สร้างสวนดุสิตเป็นพื้นที่ของวัดร้าง ๒ วัด คือ วัดดุสิต

และวัดปากคลอง พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงทำ

ผาติกรรม และประกอบกับวัดเบญจบพิตรกำลังทรุดโทรม โปรดมี

พระราชดำริที่จะสถาปนาขึ้นเป็นวัดใหญ่ให้มีความงดงามสง่าสมกับเป็น

พระอารามหลวง โปรดให้สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยา

นริศรานุว ัตติวงศ์ ทรงเป็นประธานในการก่อสร้างวัดใหม่ทั ้งหมด

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จเป็นองค์ประธานในการ

ผูกพัทธสีมาเมื่อปีพุทธศักราช ๒๔๔๒ แล้วพระราชทานนามเติมอักษร

“ม” และเพิ่มสร้อยว่า วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม หมายถึง วัดของ

พระเจ้าแผ่นดิน รัชกาลที่ ๕ พร้อมทั้งทรงแสดงพระราชประสงค์ว่า

เมื่อพระองค์เสด็จสวรรคต และถวายพระเพลิงแล้ว ให้นำพระสรีรังคาร

มาบรรจุไว้ภายใต้รัตนบัลลังก์พระพุทธชินราชพระประธานในพระอุโบสถ

ปีพุทธศักราช ๒๔๔๔ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

ได้เสด็จพระราชดำเนินทรงประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์พระอุโบสถ โปรดให้

สร้างด้วยหินอ่อนที ่สั ่งมาจากประเทศอิตาลี การก่อสร้างดำเนินมา

โดยลำดับ จนถึงปีพุทธศักราช๒๔๕๓พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า

เจ้าอยู่หัวได้เสด็จสวรรคตการก่อสร้างยังไม่แล้วเสร็จ

สมัยรัชกาลที ่ ๖ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู ่หัว

โปรดให้ดำเนินการต่อ โปรดให้ประดับช่อฟ้า ใบระกา หางหงส์ ประดับ

ตกแต่งหินอ่อนฝาผนังและพื ้น พร้อมทั ้งร ัตนบัลลังก์ และให้ช่าง

กรมศิลปากรเขียนลายไทยที ่ฝาผนัง และได้อัญเชิญพระสรีร ังคาร

ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มาบรรจุไว้ใต้รัตนบัลลังก์

พระพุทธชินราชในพระอุโบสถ

สถานะและที่ตั้ง วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม เป็นพระอารามหลวงชั ้นเอก

ชนิดราชวรวิหาร ตั้งอยู่เลขที่ ๖๙ ถนนนครปฐม แขวงดุสิต เขตดุสิต

กรุงเทพมหานครมีที่ดินตั้งวัดเนื้อที่๒๖ไร่๑งาน๖๖ตารางวา

สิ่งสำคัญในพระอาราม พระอุโบสถ ประดับตกแต่งด้วยหินอ่อนทั้งหลัง เป็นอาคาร

ทรงจัตุรมุข มีมุขเด็จยื่นออกมาทั้งด้านหน้าและด้านหลัง หลังคาซ้อนกัน

๕ ชั้น มุงด้วยกระเบื้องกาบูสีเหลือง ลักษณะเป็นกาบโค้ง กระเบื้อง

เชิงชายเทพพนมมีระเบียงคดล้อมรอบประดับช่อฟ้า ใบระกาหางหงส์

ลงรักปิดทองหน้าบันแกะสลักด้วยไม้ลงรักปิดทองประดับกระจกหน้าบัน

มุขเด็จด้านหน้าเป็นรูปพระนารายณ์ทรงสุบรรณ ส่วนมุขเด็จด้านหลัง

เป็นรูปอุณาโลมประดับกระจกหน้าบันด้านอื่นๆเป็นรูปต่างๆไม่ซ้ำกัน

ฝาผนังภายในเขียนภาพลายไทยเทพพนมทรงข้าวบิณฑ์ส ีเหลือง

ตลอดถึงเพดาน บนขื่อทั้งหมดมีภาพเขียนลายทองรดน้ำ เพดานประดับ

ดาวกระจาย ซุ้มหน้าต่างเป็นเรือนแก้วฐานเท้าสิงห์ บานประตู ๓ ด้าน

จำหลักโลหะภาพนูน ด้านหน้าเป็นภาพมารผจญ ด้านเหนือเป็นภาพ

เจดีย์จ ุฬามณี ด้านใต้เป็นภาพพระพุทธเจ้าเสด็จลงจากดาวดึงส์

ที่ซุ ้มมุขด้านตะวันตกประดิษฐานพระพุทธรูปยืนองค์ใหญ่ปิดทองเป็น

พระพุทธรูปที ่หล่อจากเศษทองที ่เหลือจากการหล่อพระพุทธชินราช

จำลองเรียกกันทั่วไปว่าหลวงพ่อธรรมจักร

พระประธานในพระอุโบสถ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า

เจ้าอยู่หัว โปรดให้หล่อเมื่อปีพุทธศักราช ๒๔๔๔ เป็นพระนั่งสมาธิราบ

ปางมารวิชัย สมัยสุโขทัย จำลองจากองค์จริงที่จังหวัดพิษณุโลก คือ

พระพุทธชินราช

พระระเบียงคด ลักษณะเป็นมุขกระสันต่อจากมุขพระอุโบสถ

ด้านทิศใต้โอบไปทางตะวันตกมาจรดมุขด้านหน้า พื้นระเบียงปูหินอ่อน

วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม

Page 2: วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนารามsys.dra.go.th/module/attach_media/sheet6420100319104139.pdf · ๕ ชั้น ประกอบด้วย

สายตรงศาสนา 22

ตัดเป็นลายตลอด เสากลมหินอ่อนทั้งแท่ง ๖๔ ต้น เสาเหลี่ยมประกบ

แผ่นหินอ่อน ๒๘ ต้น ปลายเสาปั้นบัวปิดทองประดับกระจก ขื่อทั้งหมด

ลงรักปิดทองลายรดน้ำ เพดานในล่องชาดประดับดาว ๖๑๐ ดวง

มุขกลางเป็นจัตุรมุข ผนังด้านในถือปูน ด้านนอกประดับหินอ่อนตลอด

และทำหน้าต่างลูกมะหวดเป็นระยะ ๆ รอบพระระเบียง ประดับช่อฟ้า

ใบระกา หางหงส์ ลงรักปิดทอง หน้าบันต่าง ๆ ลงรักปิดทองประดับ

กระจกเป็นลวดลายจำหลัก ตราประจำกระทรวงต่าง ๆ สมัยรัชกาลที่ ๕

รวม ๑๐ กระทรวง ใต้หน้าบันนอกจากที่ตรงประตูมีซุ ้มประดิษฐาน

พระพุทธรูป รวม๔องค์มีพระพุทธรูปปางและสมัยต่างๆประดิษฐาน

บนแท่นปั้นลาย ลงรักปิดทอง เรียงรายรอบระเบียง ปัจจุบันมี ๕๒ องค์

สลับอิริยาบถนั่งและยืนจัดเป็นพิพิธภัณฑ์พระพุทธรูปโบราณแบบต่างๆ

พระที่นั่งทรงผนวช เดิมอยู ่ในพระบรมมหาราชวังเป็นที ่

ประทับของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อทรงผนวช

ในปีพุทธศักราช๒๔๑๖ต่อมาโปรดให้รื้อมาสร้างถวายวัดเบญจมบพิตร

ภายในมีจิตรกรรมฝาผนังเรื่องพระราชกรณียกิจและเหตุการณ์สำคัญ

ที่เกิดขึ้นในรัชกาลที่๕

พระที่นั่งทรงธรรม สมเด็จพระนางเจ้าสว่างวัฒนา โปรดให้

สร้างเพื่ออุทิศถวายเจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมาร เมื่อปี

พุทธศักราช ๒๔๔๕ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมี

พระราชประสงค์ใช้เป็นที่ประทับทรงศีลในวันอุโบสถ

พระวิหารสมเด็จ ส.ผ. สมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี

โปรดให้สร้างขึ้นเมื่อปีพุทธศักราช๒๔๔๕เพื่อใช้เป็นหอพระธรรมมีชื่อว่า

หอสมุดพุทธสาสนสังคหะ ปัจจุบันเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธนรสิงห์

จำลองพระฝางและพระพุทธรูปโบราณต่างๆ

ศาลาหน้าพระอุโบสถ จำนวน ๒ หลัง สร ้างข ึ ้นเม ื ่อปี

พุทธศักราช๒๔๒๒เป็นศาลาจัตุรมุข

ศาลาสี่สมเด็จ เป็นแบบจัตุรมุข หน้าบันจำหลักลาย และ

ตราต่าง ๆ ทั้ง ๔ ด้าน สร้างเมื่อปีพุทธศักราช ๒๔๔๓ ด้วยทุนทรัพย์

ของสมเด็จ๔พระองค์คือ

๑.พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู ่หัว จำหลักตรา

พระเกี้ยวที่หน้าบันทิศเหนือ

๒.สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจันทรมณฑลโสภณภควดี

กรมหลวงวิสุทธิกษัตริย์จำหลักตราจันทรมณฑลที่หน้าบันทิศตะวันออก

๓.สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าจาตุรนต์รัศมี กรมพระจักรพรรดิพงศ์

จำหลักตราจักรที่หน้าบันทิศใต้

๔.สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ ้าฟ้าภาณุร ังส ีสว ่างวงศ์

กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดชจำหลักตราสุริโยทัยที่หน้าบันทิศตะวันตก

ศาลาบัณณรศภาค สร้างเมื่อปีพุทธศักราช๒๔๔๔เพื่อใช้เป็น

โรงฉัน ด้วยทุนทรัพย์ของพระบรมวงศานุวงศ์ ปัจจุบันเป็นที่ประดิษฐาน

พระพุทธรูปโบราณส่วนหนึ่งและเป็นที่บำเพ็ญกุศลในโอกาสต่างๆ

ศาลาอุรุพงษ์ สร้างเมื่อปีพุทธศักราช๒๔๗๗ เป็นแบบจัตุรมุข

หลังเล็กอยู่ด้านหลังพระอุโบสถเพื่อเป็นที่เก็บพระอัฐิของพระเจ้าลูกยาเธอ

พระองค์เจ้าอุรุพงษ์และพระอัฐิของเจ้าจอมมารดาเลื่อนในรัชกาลที่๔

ศาลาร้อยปีปิยมหาราชอนุสรณ์ เป็นอาคารชั้นเดียว สร้าง

เพื ่อเป็นอนุสรณ์ในอภิลักขิตสมัยที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า

เจ้าอยู ่ห ัว เสด็จเสวยราชสมบัติครบรอบ ๑๐๐ ปี ที ่ม ุขด้านหน้า

ประดิษฐานพระบรมรูปของสมเด็จพระปิยมหาราชเจ้า

ศาลาธรรมชินราชปัญจบพิธ เป็นศาลาอเนกประสงค์อาคาร

๕ ชั ้น ประกอบด้วย ห้องประชุม ห้องสมุด ห้องเรียน ห้องสมาธิ

ห้องสำนักงานต่างๆ

พิพิธภัณฑ์พระอนุสรณ์ อ.ป.ก. เป็นตึก ๒ ชั ้น รัฐบาล

สมัยจอมพล ป. พิบูลสงคราม สร้างถวายเป็นที่รับรองพระสงฆ์มาจาก

ต่างประเทศ เมื่อคราวฉลอง ๒๕ พุทธศตวรรษ เดิมชื่อ อาคันตุกาศรม

ปัจจุบันใช้เป็นพิพิธภัณฑ์รวบรวมเครื ่องอัฐบริขารและของใช้ต่าง ๆ

ของสมเด็จพระสังฆราช(ปลดโสภณมหาเถร)

หอระฆังบวรวงศ์ เป็นหอสูงมีมุข๒ด้านประดับด้วยแผ่นหินอ่อน

สร้างเมื ่อปีพุทธศักราช ๒๔๔๕ ด้วยทุนทรัพย์ของพระราชวงศ์ที ่นับ

เนื่องในพระราชวังบวรหน้าบันทั้ง๒ด้านให้จำหลักตราพระราชลัญจกร

พระนารายณ์ทรงปืน อันเป็นตราประจำในพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้า

เจ้าอยู่หัวและตราพระราชลัญจกรพระลักษณ์หรือพระอรชุนทรงหนุมาน

ของสมเด็จพระมหาอุปราช ส่วนระฆังนำมาจากวัดบวรสถานสุทธาวาส

ในพระราชวังบวรสถานมงคล

กุฏิสมเด็จ เป็นกุฏิพิเศษ สร้างเมื ่อปีพุทธศักราช ๒๔๔๗

เชื่อมต่อจากพระวิหารสมเด็จ ส.ผ. เพื่อเป็นที่พักของสมเด็จพระวันรัต

(ฑิต อุทยมหาเถร) เจ้าอาวาสวัดมหาธาตุ ผู ้มาดูแลจัดการวัดระยะ

เริ่มแรก

พระฝาง เป็นพระพุทธรูปทรงเครื่องแบบกษัตริย์สมัยอยุธยา

อัญเชิญมาจากเมืองฝางเหนือเมืองอุตรดิตถ์ ประดิษฐานอยู่ที่หน้ามุข

พระวิหารสมเด็จส.ผ.

พระพุทธนรสีห์จำลอง เป ็นพระพุทธรูปสมัยเช ียงแสน

สมเด็จพระปิยมหาราชเจ้าโปรดให้ช่างหล่อจำลองจากองค์จริง ซึ่งเป็น

พระพุทธรูปบูชาประจำพระองค์ณพระที่นั่งอัมพรสถานพระราชวังดุสิต

ปัจจุบันพระพุทธนรสีห์จำลองประดิษฐานอยู่ ณ พระวิหารสมเด็จ ส.ผ.

ชั้นสอง

ต้นพระศรีมหาโพธิ์ เป็นต้นโพธิ์ต้นแรกที่นำมาจากพุทธคยา

ประเทศอินเด ีย สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ได้นำมา

คราวเสด็จไปราชการที่ประเทศอินเดีย และโปรดให้ปลูกไว้ที ่บริเวณ

หลังพระอุโบสถเมื่อวันที่๒สิงหาคมพุทธศักราช๒๔๔๓

ปัจจุบันพระพุทธวรญาณ (ทองสุวณฺณสาโร)เป็นเจ้าอาวาส

Page 3: วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนารามsys.dra.go.th/module/attach_media/sheet6420100319104139.pdf · ๕ ชั้น ประกอบด้วย

23สายตรงศาสนา

ประวัติความเป็นมา วัดเทพศิรินทราวาส สร้างในสมัยพระบาทสมเด็จ

พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เพื ่ออุทิศพระราชกุศลถวายสมเด็จ

พระเทพศิรินทราบรมราชินี พระบรมราชชนนี โดยให้พระเจ้า

บรมวงศ์เธอ กรมขุนเจริญผลพูลสวัสดิ ์ เป็นแม่กองก่อสร้าง

พระศิริสมบัติ (กร) และพระวิจิตรรจนา เป็นนายงานเริ่มก่อสร้าง

ปีพุทธศักราช ๒๔๑๙ เมื่อสร้างกุฏิเสนาสนะเสร็จได้พระราชทาน

วิสุงคามสีมาในปีพุทธศักราช ๒๔๒๑ แล้วพระราชทานนามว่า

วัดเทพศิรินทราวาส ตามพระนามสมเด็จพระบรมราชชนนี เพื่อ

เป็นการเฉลิมพระเกียรติ

ปีพุทธศักราช ๒๔๓๖ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า

เจ้าอยู่หัว ได้ทรงสถาปนาสุสานหลวงหรือฌาปนสถานหลวงขึ้น

ณวัดเทพศิรินทราวาสด้วยมีพระราชดำริจะให้เป็นสถานที่ปลงศพ

ได้ทุกชั้นบรรดาศักดิ์

สถานะและที่ตั้ง ว ัดเทพศิร ินทราวาส เป ็นพระอารามหลวงช ั ้นโท

ชนิดราชวรวิหาร ตั ้งอยู่เลขที่ ๑๔๖๙ ถนนกรุงเกษม แขวงวัด

เทพศิรินทร์ เขตป้อมปราบศัตรูพ่ายกรุงเทพมหานครมีที่ดินตั้งวัด

เนื้อที่๓๕ไร่

สิ่งสำคัญในพระอาราม พระอุโบสถ เป็นสถาปัตยกรรมที่มีความงาม ซุ้มประตู

หน้าต่างทำเป็น ๒ แบบ ด้านนอกทรงมงกุฎประดับกระเบื ้อง

เคลือบด้านในเป็นลายปั้นคล้ายก้านขดทำด้วยปูนเพชรปิดทองทึบ

เป็นอย่างซุ ้ม เครือดอกไม้ผูกล้อม ตราพระเกี ้ยวยอดอยู่เหนือ

พานทอง๒ชั้นมีช้าง๓เศียรยืนบนแท่นทูนพานตั้งเครื่อง๒ข้าง

มีราชสีห์ประคองเครื่องสูง ฝาผนังเขียนรูปทรงข้าวบิณฑ์ก้านแย่ง

เพดานภายในทาชาดประดับลายกนกทวยเทพ และมีเครื่องราช

กกุธภัณฑ์แซกล้อมรูปจำลองเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ๕ ตระกูล

ได้แก่ นพรัตนราชวราภรณ์ ช้างเผือก จุลจอมเกล้า มงกุฎสยาม

และมหาจักรีบรมราชวงศ์

หน้าบันพระอุโบสถประดับรูปตราพระเกี้ยว ยอดมี

พาน๒ชั้น ตั้งเครื่องสูงคู่เคียงมีเทพบุตรประคองพานทั้งสองข้าง

พื้นลายช่อดอกรำเพย รูปเหล่านี้ทำด้วยปูนเพชรประดับกระเบื้องสี

หลังคามุงกระเบื้องเคลือบสี พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า

เจ้าอยู่หัวเสด็จทรงก่อพระฤกษ์ เริ ่มสร้างปีพุทธศักราช ๒๔๒๑

วัดเทพศิรินทราวาส

Page 4: วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนารามsys.dra.go.th/module/attach_media/sheet6420100319104139.pdf · ๕ ชั้น ประกอบด้วย

สายตรงศาสนา 2�

สร้างเสร็จเรียบร้อยในปีพุทธศักราช ๒๔๔๓ ภายในประดิษฐาน

พระพุทธรูปปางสมาธิ พระพุทธรูปยืนทรงเครื่อง ปางห้ามสมุทร

พระพุทธรูปยืนทรงเครื ่อง ปางห้ามญาติ พระพุทธรูปสำริด

ปางมารวิชัย

พระประธานในพระอุโบสถปางสมาธิหล่อในพระบรม-

มหาราชวัง และอัญเชิญมาประดิษฐานในปีพุทธศักราช ๒๔๓๘

และมีพระอัครสาวก๒องค์ นั่งพับเพียบประนมหัตถ์ พระพุทธรูป

ฉลองพระองค์สมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี เป็นพระพุทธรูป

ยืนทรงเครื่อง ปางห้ามสมุทร พระพุทธรูปฉลองพระองค์สมเด็จ

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจันทรมณฑลโสภณภควดี กรมหลวง

วิสุทธิกษัตริย์เป็นพระพุทธรูปยืนทรงเครื่องปางห้ามญาติ

พระพุทธรูปสำริด ปางมารวิชัย ฐานบัวคว่ำบัวหงาย

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดให้อัญเชิญจาก

เมืองเหนือมาไว้ในพระบรมมหาราชวัง เดิมมีรอยชำรุด ต่อมา

สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมขุนสวรรคโลกลักษณวดี

ทรงพระประชวร จึงขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตบูรณะ

ก ็ทรงหายประชวร ภายหลังจากที ่สมเด็จเจ ้าฟ้าพระองค์น ี ้

สิ ้นพระชนม์แล้ว โปรดให้อัญเชิญมาประดิษฐานไว้บนฐานชุกชี

ภายในพระอุโบสถวัดเทพศิรินทราวาส

อนุสสรณีย์ ๒ หลัง พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว

โปรดให้สร้างขึ้นในปีพุทธศักราช ๒๔๗๒ ที่กลางสนามเยื้องหน้า

พระอุโบสถ

หลังที่ ๑ พระราชทานนามว่า จาตุรนตอนุสสารีทรง

พ ร ะ ร าชอ ุ ท ิ ศพ ร ะ ร าชทาน เป ็ นท ี ่ บ ร ร จ ุ พ ร ะส ร ี ร ั ง ค า ร

สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจาตุรนตรัศมี กรมพระจักรพรรดิพงศ์

และราชสกุลจักรพันธุ ์ ภายในประดิษฐานพระพุทธรูปหล่อ

ปางห้ามสมุทร พระพุทธรูปฉลองพระองค์ ของสมเด็จพระเจ้า

บรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระจักรพรรดิพงศ์ และมีจารึกประกาศ

พระบรมราชูทิศบนแผ่นศิลาติดไว้ที่ผนัง

หลังที่ ๒ พระราชทานนามว่า ภาณุร ังษีอนุสสรทรง

พระราชอุท ิศพระราชทานเป็นที ่บรรจ ุพระสร ีร ังคารสมเด ็จ

พระราชปิตุลาบรมพงศาภิมุข เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์กรมพระยา

ภาณุพันธุวงศ์วรเดช และราชสกุลภาณุพันธุ์ ภายในประดิษฐาน

พระพุทธรูปหล่อ ปางห้ามสมุทร ซึ่งเป็นพระพุทธรูปฉลองพระองค์

สมเด็จพระราชปิตุลาบรมพงศาภิมุขฯ ที่ผนังมีจารึกคำประกาศ

พระบรมราชูทิศบนแผ่นศิลา

พลับพลาอิศริยาภรณ์ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า

เจ้าอยู่หัว โปรดให้สร้างเป็นที่ตั้งศพพระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้า

อิศริยาภรณ์ เมื ่อปีพุทธศักราช ๒๔๓๗ ซึ ่งนับว่าเป็นรายแรก

ที่พระราชทานเพลิง ณ สุสานหลวง ต่อมาโปรดให้เป็นพลับพลา

ที่ประทับเมื่อเสด็จพระราชทานเพลิงรายอื่น ๆ ณ สุสานหลวง

เร ียกว ่า พลับพลาอิศร ิยาภรณ์ ภายหลังพระบาทสมเด ็จ

พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดให้รื้อของเดิมสร้างใหม่เป็นแบบไทย

ในปีพ ุทธศักราช ๒๔๗๕ และในร ัชกาลปัจจ ุบ ัน

เมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชโปรดให้สร้าง

พระเมรุเตรียมการพระราชทานเพลิงพระศพสมเด็จพระสังฆราชเจ้า

กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ (ระหว่างพุทธศักราช ๒๕๐๑-๒๕๐๓)

ได้มีการตกแต่งบริเวณสุสานหลวง และย้ายพลับพลาอิศริยาภรณ์

ถอยออกไปจากที่เดิม พลับพลานี้ยังใช้เป็นที่ประทับในการเสด็จ

พระราชดำเนินพระราชทานเพลิงศพในปัจจุบัน

ปัจจุบัน สมเด็จพระญาณวโรดม (ประยูร สนฺตงฺกุโร)

เป็นเจ้าอาวาส