4
Trend 14 for Quality Vol.21 No.200 June 2014 for Q uality ขยะ อิเล็กทรอนิกส์ หรือ e-waste คือ อุปกรณ์ไฟฟ้าอิเล็กทรอ- นิกส์ทั้งหลายที่หมดอายุการใช้งานลง หรือ เจ้าของไม่ต้องการใช้งานอีกต่อไป จัดอยู่ใน ประเภทขยะอันตราย ซึ่งต้องจัดการและก�าจัด อย่างถูกต้อง เพื่อไม ่ให้ส่งผลกระทบต่อ สิ่งแวดล้อมและย้อนกลับมาท�าลายเรา เพราะความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี และการ ท�าตลาดอย่างดีของบริษัทผู้ผลิตในปัจจุบัน ท�าให้ผู้บริโภคเปลี่ยนอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ “บ่อยและเร็ว” กว่าที่เคยเป็นมา เพียงแค“ตกรุ่น/สเปกไม่แรง/ใช้งานช้าลง” ก็เปลี่ยน กันแล้ว ไทยจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์อย่างไร ? รายงานของกรมควบคุมมลพิษระบุ ถึงพฤติกรรมของผู้บริโภคเมื่อไม่ใช้งานผลิต- ภัณฑ์ฯ เหล่านี้แล้วว่า ส่วนใหญ่จะขาย ร้อยละ 51 เก็บไว้ ร้อยละ 25 ทิ้งรวม ร้อยละ 16 ให้ โทรศัพท์มือถือ ประมาณ 3 ปี โทรทัศน์จอซีอาร์ที ประมาณ 6.9 ปโทรทัศน์จอแอลซีดี/แอลอีดี/พลาสม่า ประมาณ 3.8 ปี ตู้เย็น ประมาณ 6.8 ปี อุปกรณ์เล่นภาพและเสียงขนาดพกพา ประมาณ 3.7 ปี คอมพิวเตอร์/โน้ตบุ๊ค ประมาณ 3.6 ปี กล้องดิจิทัล ประมาณ 3.1 ปี เครื่องปรับอากาศ ประมาณ 5.2 ปี โทรศัพท์บ้าน ประมาณ 6.3 ปี เครื่องพรินท์เตอร์ ประมาณ 3 ปี เครื่องโทรสาร ประมาณ 3.9 ปี กล้องถ่ายวิดีโอ ประมาณ 3.7 ป“ขยะอิเล็กทรอนิกส์” อย่างไร ? วงศกร ตระกูลหิรัญผดุง [email protected] ประเทศไทยรับมือ *ผลการศึกษาของกรมควบคุมมลพิษ: ปี พ.ศ.2555 ระยะเวลาการใช้งานอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์โดยเฉลี่ยของคนไทย* ผู้อื่น ร้อยละ 8 การขายจะขายต่อให้ซาเล้ง หรือรถปิกอัพเร่รับซื้ออุปกรณ์ไฟฟ้า ไม่ใช้แล้ว เก่าแล้ว เสียแล้ว หรือไม่ก็บริจาคให้วัด มูลนิธิ ต่าง ๆ ซึ่งเมื่อได้รับบริจาคมามาก ๆ บางแห่ง ก็ขายต่อให้กลุ่มพ่อค้า

ประเทศไทยรับมือ - TPATrend 14 for Quality Vol.21 No.200 June 2014 for Q uality ขยะ อ เล กทรอน กส หร อ e-waste ค อ

  • Upload
    others

  • View
    0

  • Download
    0

Embed Size (px)

Citation preview

Page 1: ประเทศไทยรับมือ - TPATrend 14 for Quality Vol.21 No.200 June 2014 for Q uality ขยะ อ เล กทรอน กส หร อ e-waste ค อ

Trend

14for Quality Vol.21 No.200

June 2014

for Quality

ขยะอิเล็กทรอนิกส์ หรือ e-waste คือ อุปกรณ์ไฟฟ้าอิเล็กทรอ-

นิกส์ทั้งหลายท่ีหมดอายุการใช้งานลง หรือเจ้าของไม่ต้องการใช้งานอีกต่อไป จัดอยู่ในประเภทขยะอนัตราย ซึง่ต้องจดัการและก�าจดัอย่างถูกต้อง เพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบต่อ สิ่งแวดล้อมและย้อนกลับมาท�าลายเรา เพราะความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี และการท�าตลาดอย่างดีของบริษัทผู้ผลิตในปัจจุบัน ท�าให้ผู้บริโภคเปลี่ยนอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ “บ่อยและเร็ว” กว่าท่ีเคยเป็นมา เพียงแค่ “ตกรุ่น/สเปกไม่แรง/ใช้งานช้าลง” ก็เปลี่ยนกันแล้ว

ไทยจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์อย่างไร ?

รายงานของกรมควบคุมมลพิษระบุถึงพฤติกรรมของผู้บริโภคเมื่อไม่ใช้งานผลิต-ภัณฑ์ฯ เหล่านีแ้ล้วว่า ส่วนใหญ่จะขาย ร้อยละ 51 เก็บไว้ ร้อยละ 25 ทิ้งรวม ร้อยละ 16 ให้

➭ โทรศัพท์มือถือ ประมาณ 3 ปี ➭ โทรทัศน์จอซีอาร์ที ประมาณ 6.9 ปี➭ โทรทัศน์จอแอลซีดี/แอลอีดี/พลาสม่า ประมาณ 3.8 ปี➭ ตู้เย็น ประมาณ 6.8 ปี➭ อุปกรณ์เล่นภาพและเสียงขนาดพกพา ประมาณ 3.7 ปี

➭ คอมพิวเตอร์/โน้ตบุ๊ค ประมาณ 3.6 ปี➭ กล้องดิจิทัล ประมาณ 3.1 ปี➭ เครื่องปรับอากาศ ประมาณ 5.2 ปี➭ โทรศัพท์บ้าน ประมาณ 6.3 ปี➭ เครื่องพรินท์เตอร์ ประมาณ 3 ปี➭ เครื่องโทรสาร ประมาณ 3.9 ปี➭ กล้องถ่ายวิดีโอ ประมาณ 3.7 ปี

“ขยะอิเล็กทรอนิกส์” อย่างไร ?วงศกร ตระกูลหิรัญผดุง

[email protected]

ประเทศไทยรับมือ

*ผลการศึกษาของกรมควบคุมมลพิษ: ปี พ.ศ.2555

ระยะเวลาการใช้งานอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์โดยเฉลี่ยของคนไทย*

ผู้อ่ืน ร้อยละ 8 การขายจะขายต่อให้ซาเล้ง หรอืรถปิกอพัเร่รบัซือ้อปุกรณ์ไฟฟ้า ไม่ใช้แล้วเก่าแล้ว เสยีแล้ว หรอืไม่กบ็รจิาคให้วดั มลูนธิิต่าง ๆ ซึ่งเมื่อได้รับบริจาคมามาก ๆ บางแห่งก็ขายต่อให้กลุ่มพ่อค้า

Page 2: ประเทศไทยรับมือ - TPATrend 14 for Quality Vol.21 No.200 June 2014 for Q uality ขยะ อ เล กทรอน กส หร อ e-waste ค อ

Trend

Vol.21 N

o.2

00 June 2014

15

➲ ของทีซ่่อมได้ ผูป้ระกอบการส่วนใหญ่จะถอดแยกชิ้นส่วนแล้วส่งไปรีไซเคิล เป็นส่วนน้อยเท่าน้ันท่ีส่งไปยังโรงงานท่ีมีเทคโนโลยีสกัดโลหะมีค ่าออกจากซาก ผลิตภัณฑ์ฯ อย่างถูกต้อง เพราะวิธีการและเทคโนโลยีในการบ�าบัดสารอันตรายท่ีมีอยู ่ในชิ้นส่วนของซากผลิตภัณฑ์ฯ ต้องใช้เงินลงทุนสูง จึงพบว่าส่วนใหญ่ซาเล้งและผู ้-ปฏิบัติงานใช้วิธีแยกถอดชิ้นส่วนฯ ด้วย มือเปล่า จึงมีความเส่ียงต่อปัญหาสุขภาพอนามัยในอนาคต

➲ ชิ้นส่วนที่ขายไม่ได้ มักจะทิ้งปะปนไปกับขยะทั่วไปในหลุมฝังกลบของเทศบาล ทีท่ัว่ประเทศมปีระมาณ 4,000 หลุม หรือไม่ก็ส่งเข้าไปเผาในเตาเผาขยะรวม (มีสัดส่วนน้อยที่มาก) การแยกขยะอิเล็กทรอ-นิกส์ส่งบ�าบัด/ก�าจัดอย่างถูกต้องโดยส่งต่อโรงงานประเภท 101 (โรงบ�าบัดของเสียรวม/เตาเผาขยะ) ประเภทโรงงาน 105 (โรงงาน คดัแยกและฝังกลบ) และประเภทโรงงาน 106 (โรงงานรีไซเคลิขยะ) ตามทีก่ระทรวงอตุสาห-กรรมอนุญาต ก็มีกากอุตสาหกรรมเข้าระบบน้อย และยงัต้องส�ารวจข้อมลูกากอตุสาหกรรมใหม่ เพราะข้อมูลที่มีเป็นเพียงผลการศึกษา ท่ีท�ากันมานานแล้ว การได้ข้อมูลกากอุต- สาหกรรมทุกประเภท จะช่วยในการวางแผนน�าขยะอุตสาหกรรมเข้าระบบทั้งหมดได้

ทั้งนี้โรงงานท้ัง 3 ประเภท มีเพียง 1,855 แห่ง กรณหีากทิง้ขยะรวมอยูใ่นหลมุฝังกลบ มีความเป็นไปได้สูงท่ีสารพิษและโลหะหนักจะแพร ่กระจายลงสู ่แหล ่งดินและ น�า้ใต้ดนิ หรอืกรณหีากเผาในเตาเผาขยะรวม มลภาวะก็กระจายสู่ชั้นบรรยากาศ เป็นควันอันตรายหากสูดดมเพราะการเผาไหม้ไม่สมบรูณ์ ทัง้สองวธิต่ีางส่งผลกระทบต่อชมุชนและสิ่งแวดล้อมบริเวณใกล้เคียงหลุมขยะ

และโรงรับก�าจัดกาก ยกเว้นแต่ใช้บริการของโรงงานประเภท 101 105 106 ทีไ่ด้รบัอนญุาต หรือส่งเผาในเตาเผาขยะความร้อนสูงระดับ 1,000 องศาทั้งหมด

แลว้ตา่งประเทศจดัการ e-waste อยา่งไร ?

เนื่องจากขยะอิ เล็กทรอนิกส ์ ไม ่สามารถก�าจัดได้โดยง่าย หรือปล่อยให้ย่อยสลายเองตามธรรมชาติได้ อีกทั้งเทคโนโลยีการผลิตสินค้าอิเล็กทรอนิกส์สมัยใหม่เน้นที่การออกแบบให้เล็กและบางลง และขึ้นรูปงานทัง้หมดเป็นชิน้เดยีวกนั (uni-body) ท�าให้การถอดแผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์ (PCBA) อันละเอียดซับซ้อนภายในออกมาจากพลาสติกหรอืวสัดภุายนอกยากขึน้ หากไม่ใช้เครือ่งมอืจะไม่สามารถถอดแยกออกมาได้ และนับวันจะไม่สามารถคดัแยก e-waste ด้วยมอืมนษุย์ได้อีก

ในญี่ปุ ่น การทิ้ ง เครื่องใช ้ไฟฟ ้า ผู้บริโภคจะเป็นผู้รับผิดชอบโดยเสียเงินให้ผู้รับรีไซเคิล ในขณะที่ผู ้ผลิตลงเงินมาส่วนหนึ่งให้กับบริษัทที่รีไซเคิล ประมาณ 1,500 เยน หรือ 500 บาทต่อ 1 ชิ้น เพื่อให้เกิดการส�านึกก่อนซื้อ

ข้อมูลจากกรีนพีซเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ระบุถึงวิธีจัดการกับขยะอิเล็กทรอ-นิกส์โดยย่อดังนี้

➲ การฝังกลบในหลุม ในสหรัฐ-อเมรกิาจะใช้วธิฝัีงกลบในหลมุทีค่ลมุผ้าใบไว้ด้านล่างทั้งหมด และแบ่งแยกชั้นของขยะตามหลกัวิชาการ โดยเติมสารเคมเีพือ่ท�าลายขยะและซากผลิตภัณฑ์ฯ แต่ขณะนี้ประเทศต่าง ๆ ในยุโรปได้ออกมาตรการห้ามน�าขยะอิเล็กทรอนิกส์ไปฝังกลบแล้ว

➲ การเผาในเตาเผาขยะ การเผาสินค้าอิเล็กทรอนิกส์อาจท�าให้เกิดการแพร่กระจายของโลหะหนักสู่ชั้นบรรยากาศ หากอุณหภูมิการเผาไม่ถึง 1,000 องศา

➲ การน�ามาใช้ใหม่ สนิค้าเก่าหลายชิ้นถูกส่งออกไปยังประเทศก�าลังพัฒนา เป็นเครื่องใช้ไฟฟ้ามือสองราคาถูก และดูเหมือนประเทศที่น�าเข้า ต่างก็ไม่มีความสามารถในการจัดการเมื่อสินค้าพวกนี้หมดอายุลง

➲ การรีไซเคิลโดยโรงงานรีไซเคิลที่ออกแบบมาโดยเฉพาะ เพื่อหาแร่โลหะมี ค่าน�ากลับไปใช้ใหม่ โรงรีไซเคิลช้ินส่วนแบบครบวงจร จะสามารถคัดแยกแร่ที่อยู ่ใน ซากผลิตภัณฑ์ฯ เช่น เหล็ก ตะกั่ว ทองแดง ไทเทเนี่ยม ซิลิกอน นิกเกิล และทองค�า เพื่อให้วนกลับมาเป็นวัตถุดิบได้อีกครั้ง อย่างไร-ก็ตาม หลายประเทศในสหภาพยุโรปจะไม่มีการรีไซเคิลพลาสติกจากขยะอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อหลีกเลี่ยงการปล่อยสารโบรไมเนต ฟิว-แรน และสารไดออกซินเข้าสู่บรรยากาศ แต่ประเทศก�าลังพัฒนาไม่มีมาตรการควบคุมเช่นนี้

ถ้ากล้าเสี่ยงตาย…

ขยะอิเล็กทรอนิกส์ = ทองคำา

การรไีซเคลิขยะอเิลก็ทรอนกิส์มมีลูค่ามากกว่าการถลุงแร่ทองค�าเสียอีก เพราะชิพในซีพียูอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ใช้ทองในการเชือ่ม “กระบวนการท�าเหมอืงทองค�า สายแร่ทองค�า 1 ตัน มีทองค�าน้อยกว่า 100-1,000 เท่าของทองค�าทีไ่ด้จากแผงวงจรอิเล็กทรอ-นิกส์ จึงไม่แปลกที่การก�าจัดขยะอิเล็กทรอ-นิกส์จะเป็นธุรกิจที่น่าสนใจ”

ผ ล ก า ร ศึ ก ษ า ฉ บั บ ห นึ่ ง ร ะ บุ ว ่ า โทรศัพท์มอืถอื 1 ล้านเครือ่ง จะให้ทองค�ารวมกันถึง 24 กิโลกรัม โลหะเงิน 250 กิโลกรัม แพลเลเดยีม 9 กโิลกรมั และทองแดงมากกว่า 9 กิโลกรัม ซึ่งหากสกัดส่วนที่มีค่าออกมาอย่างถูกวิธี ก็จะช่วยลดการท�าเหมือง และบรรเทาปัญหาขยะล้นโลก

แต่ประเทศพัฒนาแล้วไม่เสี่ยงที่ จะประกอบธรุกจินี ้เพราะหาคนงานยาก บางส่วนของขยะอเิลก็ทรอนกิส์จากประเทศร�า่รวยจึงมาลงเอยในประเทศก�าลังพัฒนา ซึ่งแรงงานจ�านวนมากต้องท�างานในสภาวะอันตรายจากขยะพวกนี้ ตัวอย่างเช่น ในประเทศจนีได้มเีทคโนโลยใีนการรไีซเคลิแผ่นวงจรอิเล็กทรอนิกส์ด้วย Hot Oil หรือการน�า Printed Circuit Board Assembly: PCBA ไปต้มในน�้ามันเดือด เพื่อให้ความร้อนละลายคอมโพแนนท์ที่ติดอยู่กับแผ่นวงจรด้วยการบัดกรี ท�าให้หลุดออกโดยง่ายและได้แผ่น

Page 3: ประเทศไทยรับมือ - TPATrend 14 for Quality Vol.21 No.200 June 2014 for Q uality ขยะ อ เล กทรอน กส หร อ e-waste ค อ

Vol.21 N

o.2

00 June 2014

16

Trend

เปลือยของแผงวงจรที่มีส่วนประกอบของทองแดง และทองค�า แม้จะเป็นวธิทีีง่่ายทีส่ดุแต่การรีไซเคิลด้วยความร้อนก็ไม่สามารถหลกีเลีย่งผลกระทบท่ีตามมา โดยเฉพาะหากสัมผัส และถ้าไม่มีการป้องกันผลกระทบที่ดีพออาจป่วยด้วยโรคอิไตอิไต หรือมินามาตะจากการสะสมของสารปรอทและตะก่ัว ย่ิงหากใช้มือในการคัดแยกจะได้รับความเส่ียงภัยโดยตรง

กฎระเบียบสากลว่าด้วยขยะอิเล็กทรอนิกส์

และเศษเหลือทิ้ง

➲ สนธิสัญญาบาเซล (Basel Con-vention) เป็นข้อตกลงระหว่างประเทศในการขนย้ายขยะอันตรายข้ามประเทศ เพือ่ป้องกนัปัญหาในการน�าขยะอิเล็กทรอนิกส์จากประเทศทีพ่ฒันาแล้วไปทิง้ยงัประเทศทีก่�าลงัพฒันา โดยประเทศไทยถือเป็นหน่ึงในสมาชกิภาคีสนธิสัญญานี้ด้วย

➲ ระเบียบว่าด้วยการจัดการเศษเหลือทิ้งของเครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์อเิลก็ทรอนกิส์ (WEEE) ถอืเป็นความร่วมมอืระดับนานาชาติของสหภาพยุโรปโดยมองว่าผูผ้ลติสนิค้าดงักล่าวควรมส่ีวนร่วมรบัผดิชอบต่อสังคม ด้วยการรับผิดชอบต่อสินค้าท่ีตนผลิตตลอดวงจรชีวิตของมัน โดยก�าหนดบงัคบัในสนิค้าเคร่ืองใช้ไฟฟ้า 10 ชนดิ ดงันัน้ เมื่อถึงจุดหนึ่งที่สินค้าหมดอายุการใช้งาน ผู้ผลิตควรรับสินค้าเหล่านั้นกลับคืนมา เช่น ร่วมมือกับภาครัฐและชุมชนในการตั้งจุดรับคืนหรือจุดเก็บ รวบรวมสินค้าที่ไม่ใช้แล้วน�ามาใช้ซ�า้ (reuse) ใช้ใหม่ (recycle) หรอืก�าจดัอย่างปลอดภัย

➲ ระเบียบว่าด้วยการจ�ากัดการใช้สารอันตรายบางชนิดในผลิตภัณฑ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ (RoHh) เป็นระเบียบของสหภาพยุโรป (Directive 2002/95/EC) ที่มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันท่ี 1 กรกฎาคม พ.ศ.2549 เป็นต้นไป มวีตัถปุระสงค์เพือ่จ�ากดัการใช้สารที่เป็นพิษต่อมนุษย์และสิ่งแวดล้อม 6 ชนิด ได้แก่ ตะกั่ว ปรอท แคดเมียม โคเมียม 6 สารหน่วงการติดไฟ โพลิโบรมิเนทไบฟินิล และโพลิโบรมิเนทไดฟินิลอีเชอร์ ในสินค้า

เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ปัจจุบันมีประเทศกว่า 34 ประเทศ

และ 23 มลรัฐในสหรัฐอเมริกา 6 รัฐในแคนาดาได้มีการออกกฏหมายว่าด้วยการจัดการซากผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์ โดยประเทศในแถบยุโรป ได้แก่ สวีเดน ถือเป็นประเทศที่บุกเบิกแนวคิด “หลักการขยายความรับผิดชอบของผู ้ผลิต” (Extended Producer Responsibility: EPR) (เสนอโดย Thomas Lindhqvist 2000) ต้ังแต่ช่วงต้นทศวรรษ 1990 ซึ่งต่อมาสหภาพยุโรปได้น�าแนวคิดดังกล่าวมาเป็นพื้นฐานในการออกระเบียบว่าด้วยการจัดการซากผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ (WEE Di-rective) ในปี พ.ศ.2546 ซึ่งเป็นกฎระเบียบที่ส่งอิทธิพลไปยังประเทศอื่น ๆ ให้มีการออก กฎหมายในลักษณะเดียวกันในที่สุด

ทวีปเอเชียมีประเทศญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ไต้หวันที่ด�าเนินการในเรื่องนี้มานานแล้วตั้งแต่ต้นทศวรรษ 1990 ส่วนจีนก็เพิ่งออก กฎหมาย (Regulation for the Administra-tion of the Recovery and Disposal of Waste Eletric and Electronic Products (2009)) ซึ่งมีผลบังคับใช้เมื่อต้นปี พ.ศ.2554 เช่นเดียวกับที่ประเทศอินเดียได้มีการออก กฎหมาย The e-waste (Management and Handling) Rules (2011) ซึ่งมีผลบังคับใช้แล้วเมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ.2555 ที่- ผ่านมา นอกจากนี้ยังมีประเทศที่ก�าลังอยู่ในระหว่างการออกกฎหมาย เช่น เวียดนาม อินโดนีเซีย ออสเตรเลีย แม้กระทั่งลาว ส่วนประเทศไทยอยู ่ระหว่างการหารือระหว่างหน่วยงานทีเ่ก่ียวข้องเพือ่จดัท�ากฎหมาย เป็นพระราชบัญญัติเกี่ยวกับการจัดการขยะอเิลก็ทรอนกิส์ มกีรมควบคมุมลพษิ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและส่ิงแวดล้อม เป็นหน่วยงานเจ้าภาพ คาดว่าจะใช้เวลาอีกนาน

ประชากรโลกทิ้งขยะไอที คนละ 7 กิโลกรัม

ต่อปี

ไฟแนนเชียล ไทมส์ อ้างข้อมูลจากรายงานท่ีจัดท�าโดยความริเริ่มเพื่อแก้ปัญหาขยะอิเล็กทรอนิกส์ (StEP) ภายใต้การก�ากับ

ดูแลของหน่วยงานในองค์การสหประชาชาติ ได้เปิดเผยผลส�ารวจปริมาณขยะอเิลก็ทรอนกิส์ว่า

น�้าหนักของสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ที่หมดสภาพต่อปี จะมีปริมาณเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ คอื จาก 48.9 ล้านตนัในปี พ.ศ.2555 เพิม่เป็น 65.4 ล้านตันในระหว่างปี พ.ศ.2556-2560 โดยในปี พ.ศ.2555 สหรฐัอเมรกิาครองแชมป์ทิ้งขยะอิเล็กทรอนิกส์มากที่สุดราว 9.4 ล้าน-ตนั รองลงมา คอื ประเทศจนีราว 7.3 ล้านตนั และ e-waste มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในประเทศเศรษฐกิจขยายตัวดี เช่น จีน อินเดีย บราซิล และแอฟริกาใต้ เฉลี่ยแล้วประชากรโลกหนึ่งคนทิ้งขยะอิเล็กทรอนิกส์ 7 กิโลกรัมต่อปี

ในปี พ.ศ.2555 ประเทศตะวันตก ผลิตขยะอิเล็กทรอนิกส์ราว 23.5 ล้านตัน ขณะที่ภูมิภาคอื่น ๆ สร้างขยะประเภทนี้ รวมกันราว 25.4 ล้านตัน คาดการณ์กันว่าภายในปี พ.ศ.2560 ขยะในรูปเครื่องซักผ้า คอมพิวเตอร์ ตู้เย็น อุปกรณ์สื่อสาร ตลอดจนสินค้าอื่น ๆ ที่มีชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์และแบตเตอรี่เป็นส่วนประกอบ จะมีปริมาณเท่ากับตึกเอ็มไพร์สเตท 200 ตึก หรือมหา พรีะมดิกซิา 11 พรีะมดิ ใช้เวลาแค่ 3 ปีเท่านัน้

ปริมาณขยะอิเล็กทรอนิกส์ของไทย

กรมโรงงานอตุสาหกรรม ได้รายงานว่า ในปัจจุบันปี พ.ศ.2556 มีการเพิ่มขึ้นของขยะอิเล็กทรอนิกส์ภายในประเทศ มีปริมาณสูงกว่า 20 ล้านเครื่อง และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นร้อยละ 10 ต่อปี โดยเฉพาะโทรศัพท์มือถือมีปริมาณสูงถึง 9.2 ล้านเครื่อง ซึ่งถือว่ามากเป็นอันดับ 1 รองลงมา คือ อุปกรณ์เล่นภาพ/เสียง 3.3 ล้านเครื่อง โทรทัศน์ 2.5 ล้านเครื่อง คอมพิวเตอร์ 2 ล้านเครื่อง เครื่องพิมพ์/โทรสาร 1.5 ล้านเครื่อง กล้องถ่ายภาพ/วิดีโอ 7 แสนเครือ่ง เครือ่งปรบัอากาศ 7 แสนเครือ่ง และตู้เย็น 8.7 แสนเครื่อง

อย่างไรก็ตาม คาดการณ์กันว่าในปี พ.ศ.2557 จะมีปริมาณขยะอิเล็กทรอนิกส์เพิ่มเป็น 22.08 ล้านเครื่อง ก่อนจะเพิ่มเป็น 23.23 และ 24.31 ล้านเครื่องในปี พ.ศ.2558 และ 2559 ตามล�าดับ และขยะหลักที่มาก

Page 4: ประเทศไทยรับมือ - TPATrend 14 for Quality Vol.21 No.200 June 2014 for Q uality ขยะ อ เล กทรอน กส หร อ e-waste ค อ

Vol.21 N

o.2

00 June 2014

17

Trend

ที่สุดยังเป็นโทรศัพท์มือถือ ดังน้ัน ถ้าไม่ท�าอะไรเลย ดูเหมือนขยะอิเล็กทรอนิกส์จะมีปรมิาณเพิม่ขึน้อย่างมหาศาล และเป็นระเบดิเวลาอีกลูกหนึ่งที่จะท�าร้ายคนไทย

มหากาพย์กฎหมายว่าด้วยการจัดการ

ซากขยะอิเล็กทรอนิกส์ของไทย

ที่ผ ่านมากรมควบคุมมลพิษและหน่วยงานทีเ่กีย่วข้องได้มคีวามพยายามท่ีจะแก้ไขปัญหาการไม่มีกฎหมายในการจัดการกับขยะอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ และหากไม่จัดการอย่างถูกต้องจะส่งผลเสียในวงกว้างจนยากควบคุม โดยได้ จัดท�ายุทธศาสตร์การจัดการซากผลิตภัณฑ์เคร่ืองใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์เชิงบูรณา-การเพือ่ก�าหนดกรอบในการป้องกนัและแก้ไขปัญหาและได้มกีารยกร่างกฎหมายเพือ่สร้างระบบบริหารจดัการซากผลติภณัฑ์ฯ มาตัง้แต่ปี พ.ศ.2547 ช่วงนั้นเป็นร่างพระราชบัญญัติส ่งเสริมการจัดการของเสียอันตรายจากผลิตภัณฑ์ที่ใช้แล้วต่อมา เมื่อกระทรวงการ-คลังได้จัดท�าร่างพระราชบัญญัติเครื่องมือทางเศรษฐศาสตร์เพือ่การจดัการสิง่แวดล้อม (ปัจจบุนัเปลีย่นชือ่เป็น “ร่างพระราชบญัญตัิมาตรการการคลังเพื่อส่ิงแวดล้อม”) ซึ่งกฎหมายนี้จะเปิดให้หน่วยงานที่รับผิดชอบสามารถยกร่างพระราชกฤษฎีกาเพื่อก�าหนดรายละเอียดการจัดการซากผลิตภัณฑ์ฯ ผ่านการจัดเก็บค่าธรรมเนียมผลิตภัณฑ์เข ้ากองทุน ซึ่งสอดคล้องกับร่างกฎหมายของ กรมควบคุมมลพิษ กรมควบคุมมลพิษจึงได้ปรบัเปลีย่นแนวทางจากการเสนอร่าง พ.ร.บ. เดมิของหน่วยงานมาเป็นการยกร่างพระราช-กฤษฎกีาภายใต้ร่าง พ.ร.บ.ของกระทรวงการคลงัแทน ในชือ่ “ร่างพระราชกฤษฎกีาก�าหนดหลกัเกณฑ์วิธีการ เงือ่นไขและการจดัการเงนิรายได้จากค่าธรรมเนยีมผลติภณัฑ์ในปี พ.ศ.2554”

อย่างไรก็ตาม สถานการณ์ของการผลกัดนัร่างมาตรการการคลังเพือ่ส่ิงแวดล้อมมีทีท่าว่าจะหยุดชะงัก แม้ร่างกฎหมายนี้ได้ผ่านความเห็นชอบในหลักการจากมติคณะรัฐมนตรีสมัยรัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เมื่อ

ปี พ.ศ.2553 แต่กลับต้องเผชิญกับปัญหาความเห็นที่ไม่ตรงกันระหว่างกระทรวงการคลังและกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและ สิ่งแวดล้อมในเรื่องของกองทุนที่จะจัดตั้งขึ้น ประกอบกบัข้อวพิากษ์เรือ่งแนวทางการเขยีนกฎหมายแบบกว้าง ๆ ที่ให้รายละเอียดไปอยู่ที่พระราชกฤษฎีกา ตลอดจนข้อกังวลว่าร่างกฎหมายนี้จะส่งผลกระทบต่อภาคธุรกิจให้มีต้นทุนที่เพิ่มขึ้น ท�าให้ปัจจุบันกระทรวงการคลังอยู ่ในระหว่างการทบทวนแก้ไขร ่าง พ.ร.บ.ฉบบันีอี้กครัง้ และยังไม่มว่ีีแววว่าจะมีการเดินหน้าน�าเสนอร่างกฎหมายนีต่้อรฐับาลและสภาอีกเมื่อใด

จากนั้นสถานการณ์ความชะงักงันของร่างกฎหมายแม่ดังกล่าวท�าให้ร่างพระ-ราชกฤษฎกีาฯ ทีก่รมควบคุมมลพษิได้ยกร่างรอไว้แต่ไม่สามารถมีผลบังคับใช้ได้ ปัจจุบันเป็นทีแ่น่ชดัว่ากระทรวงการคลงัจะไม่รวมร่างอนุบัญญัติเก่ียวกับค่าธรรมเนียมผลิตภัณฑ์ในร่าง พ.ร.บ. มาตรการการคลังเพื่อสิ่ง-แวดล้อม ด้วยเหตนุีก้รมควบคมุมลพษิจงึต้องกลับมานบัหนึง่ใหม่ในการยกร่างกฎหมายในระดบัพระราชบญัญติัภายใต้ชือ่ ร่างกฎหมายการจัดการซากผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้าและอเิลก็ทรอนกิส์และของเสยีอนัตรายจากชมุชน โดยจะศึกษาทางเลอืกของกฎหมาย 2 ทางเลือก

1. ยึดตามแนวทางเดิม คือ การจัดเก็บค่าธรรมเนียมผลิตภัณฑ์เข้ากองทุน

2. ออกกฎหมายที่ใช้หลักการขยายความรับผิดชอบของผู้ผลิต (Extended Pro-ducer Responsibility: EPR) ก�าหนดให้ ผู้ผลิตและผู้น�าเข้ารับผิดชอบผลิตภัณฑ์ของตนเองเมื่อกลายเป็นซากผลิตภัณฑ์ฯ โดย การจัดระบบการเรียกคืนซากผลิตภัณฑ์ฯ การขนส่งและการบ�าบัดก�าจัดเอง

ผลของกฎหมายการจดัการซากผลิตภัณฑ์

เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ฯ

การออกกฎหมายดงักล่าวจะเป็นการจัดสรรความรับผิดชอบ และแบ่งเบาภาระของท้องถ่ินในการจัดการขยะ เนื่องจากซากผลิตภัณฑ์ฯ ที่ปัจจุบันถูกรวมไปกับขยะครัว

เรือน ตลอดมาท้องถ่ินมีบทบาทในการเก็บรวบรวมและจัดการซากผลิตภัณฑ์ฯ เหล่านี้ แต่ซากผลิตภัณฑ์ฯ ที่ไม ่มีมูลค่าในการรีไซเคิล และนับวันซากผลิตภัณฑ์ฯ จะมี แนวโน้มเพิ่มปริมาณสูงขึ้น ย่ิงเป็นการสร้างภาระให้กับท้องถิ่นในการจัดหาอุปกรณ์

การน�าซากผลติภณัฑ์ฯ ไปบ�าบัดหรอืก�าจัดอย่างถูกต้องมีค่าใช้จ่ายสูง กล่าวคือ ต้องใช้บริการโรงงานประเภท 101 105 และ 106 ที่ได้รับใบอนุญาตอย่างถูกต้องจากกระทรวงอุตสาหกรรม ทั้งนี้หากกฎหมาย ดังกล่าวเสรจ็ก็จะท�าให้ท้องถิน่มงีบประมาณเพิ่มเติมในการจัดการซากผลิตภัณฑ์ฯ ในแง่ของสิ่งแวดล้อม กฎหมายนี้จะช่วยกระตุ้นให้เกดิการออกแบบผลติภณัฑ์ทีเ่ป็นมติรต่อสิง่-แวดล้อมมากขึ้น ท�าให้มีอายุการใช้งานนานขึน้ มส่ีวนของผลติภณัฑ์ทีส่ามารถย่อยสลายได้เองเพิม่ขึน้ มฉิะนัน้จะเกดิภาระภายหลงัในเรื่องการจัดการซากฯ

เพราะการออกกฎหมายการจัดการซากผลิตภัณฑ์ฯ ที่มีพื้นฐานของหลักการขยายความรับผิดชอบของผู้ผลิต (EPR) จะช่วยกระจายความรบัผดิชอบไปยังภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ ผู้ผลิต ท้องถิ่น ร้านค้าปลีกและผู้บริโภค โดยให้ผู้ผลิตและผู้น�าเข้าเป็นผู ้รับผิดชอบหลักในการเก็บรวบรวมและ การจัดการซากผลิตภัณฑ์ฯ ส่วนท้องถิ่นและร้านค้าปลีกจะมีส่วนร่วมในการวบรวมและเก็บขนซากผลิตภัณฑ์ฯ ในขณะที่ผู ้บริโภคมีหน้าที่ในการน�าซากผลิตภัณฑ์ฯ มาส่งคืนยังจุดที่ก�าหนดและร่วมรับผิดชอบค่าใช้จ่ายร่วมกับผู้ผลิต

ดังน้ัน กฎหมายการจัดการซาก ผลิตภัณฑ์ฯ จะช่วยจัดสรรและกระจายความรับผิดชอบต่อการจัดการซากผลิต-ภัณฑ์ฯ ท่ีเกิดขึ้นอย่างเป็นธรรมมากขึ้น ปัญหาสขุภาพและสิง่แวดล้อมทีต่ามมากจ็ะลดลง

เอกสารอ้างอิง

ขยะอิเล็กทรอนิกส์ไทยนับวันอันตราย.

หนังสือพิมพ์ ASTV ผู้จัดการรายวัน ฉบับวันที่ 14

ตุลาคม พ.ศ.2557