12
สสสสสสสสสสสสสสสสสสส สสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสส ( สสสสสส สสสสสส สสสสสส ) สสสสสสสสสสสสส 13 – 17 สสสสสสสสส 2560 สสสสสสสสสสสส 13 สสสสสสสสส 2560 สสสสสสสสสสสสส สสสสสสสส – สสสสสส สสสสสสสสสสสส 14 สสสสสสสสส 2560 1. กกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกก กกกกกกกกก ก กกกกกกกกก ก.กกกกกกกกก ก.กกกกกก กกกกกกกกกกกกกกกกกกกกก, กกกกกกกกกกกกกกกกกกกกก กกกกกก กกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกก, กกกกก กกกกกก กกกกกกกกก, กกกกกกกกกกกกกกกกกก กกกกกกกกกกกก กกกกกกกกกกกกกกกกกกกกก กกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกก กกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกก กกกกกก กกกกก กกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกก 11 กกกกกก กกกกกกกกกกกกกก กกกกกกกกกกกกกกกกกกก กกกกกกกก กกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกก กกกกกกกกกกกกกกก กกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกก กกกกกกกกกกกกกกกก กกกกกกกกกกกกกกกกก

Department of Fisheries€¦ · Web viewกล มควบค มการทำประมงในแหล งน ำจ ด เข าร วมก จกรรมก บ กองโครงการอ

  • Upload
    others

  • View
    2

  • Download
    0

Embed Size (px)

Citation preview

สรุปผลการปฏิบัติงาน

สำรวจการทำประมงในลุ่มน้ำสงคราม (นครพนม สกลนคร บึงกาฬ)

ระหว่างวันที่ 13 – 17 พฤศจิกายน 2560

วันจันทร์ที่ 13 พฤศจิกายน 2560 ออกเดินทางจาก กรุงเทพฯ – นครพนม

วันอังคารที่ 14 พฤศจิกายน 2560

1. กลุ่มควบคุมการทำประมงในแหล่งน้ำจืด ลงพื้นที่ ณ ที่ว่าการ อ.ศรีสงคราม จ.นครพนม หารือร่วมกับนายอำเภอ, สำนักงานประมงจังหวัดนครพนม กลุ่มบริหารจัดการด้านการประมง, ประมงอำเภอศรีสงคราม, ประมงอำเภอบ้านแพง องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่ และหน่วยป้องกันและปราบปรามประมงน้ำจืดเขื่อนน้ำอูน สกลนคร พร้อมทั้งลงเรือตรวจการประมงน้ำอูน 11 บริเวณหมู่บ้านท่าบ่อ เข้าสำรวจเรือประมง ชาวประมง ข้อมูลพื้นฐานด้านการประมง สภาพปัญหาการทำประมงน้ำจืดในลุ่มน้ำสงคราม เพื่อหาแนวทางการแก้ไขปัญหาร่วมกัน

วิถีการทำประมงของชาวประมงในพื้นที่ อ.ศรีสงคราม จ.นครพนม โดยส่วนใหญ่ใช้เครื่องมือทำการประมง ได้แก่ ข่าย, ลอบยืน, ชนาง, เบ็ด, และ ยอ หรือ สะดุ้ง”

เครื่องมือกางกั้นทางเดินสัตว์น้ำ (กัดต้อน) และเครื่องมือประกอบการทำโพงพาง (เรือโต่ง) เป็นเครื่องมือการทำประมงผิดกฎหมาย

ประเภทสัตว์น้ำที่จับได้ ได้แก่ ปลากระสูบ, ปลาพรม, ปลาซ่า, ปลาสร้อย, ปลาแขยง, ปลากระทุงเหว, ปลาสร้อยนกเขา, ปลาไส้ตัน, ปลาชะโอน, และปลาแดง

สัตว์น้ำที่ได้จากการทำประมงนอกจากขายแบบสดแล้วยังนำมาแปรรูป คือ “ปลาร้า” และ “ปลาเค็ม”

วันพุธที่ 15 พฤศจิกายน 2560

2. กลุ่มควบคุมการทำประมงในแหล่งน้ำจืด  ร่วมกับ หัวหน้ากลุ่มบริหารจัดการด้านการประมง สำนักงานประมงจังหวัดสกลนคร, ประมงอำเภออากาศอำนวย, หัวหน้าหน่วยป้องกันและปราบปรามประมงน้ำจืดน้ำอูน สกลนคร เข้าพบนายอำเภออากาศอำนวยแจ้งการลงพื้นที่และขอคำแนะนำในการปฏิบัติงาน และปฏิบัติงานสำรวจข้อมูลพื้นฐานด้านการประมง และรับฟังความคิดเห็นของชาวประมงต่อการประกาศใช้ พ.ร.บ. การประมง พ.ศ. 2558 และ ที่แก้ไขเพิ่ม พ.ศ. 2560 ณ บ้านนาดอกไม้ ม.8 และบ้านท่าแร่ ม.4 ต.สามัคคีพัฒนา อ.อากาศอำนวย จ.สกลนคร

หมู่บ้านนาดอกไม้ หมู่ 8

ชาวบ้านส่วนใหญ่เห็นด้วยที่จะไม่ให้มีการทำการประมงโดยใช้เครื่องมือกางกั้นทางเดินสัตว์น้ำ (กัดต้อน) และเครื่องมือโพงพาง (โต่ง) เพราะทำให้ชาวบ้านที่ทำการประมงด้วย “ข่าย” และ “เบ็ดราว” เกิดอุปสรรคในการทำประมงอีกทั้งยังทำลายระบบนิเวศในแหล่งน้ำ และทำลายพันธุ์สัตว์น้ำหลายชนิดด้วย

หมู่บ้านท่าแร่ หมู่ที่ 4

ชาวบ้านเรียกร้องอยากให้ทำการประมงด้วยเครื่องมือโพงพาง (โต่ง) ต่อไป เพราะพื้นที่ไม่เหมาะสมที่จะใช้เครื่องมืออื่น และเป็นเครื่องมือที่สืบทอดมาตั้งแต่บรรพบุรุษ วิถีชาวบ้าน จึงอยากให้คงอยู่ต่อไป

วันพฤหัสบดีที่ 16 พฤศจิกายน 2560

3. กลุ่มควบคุมการทำประมงในแหล่งน้ำจืด เข้าร่วมกิจกรรมกับ กองโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริและกิจกรรมพิเศษ, ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืด หนองคาย, สำนักงานประมงจังหวัดบึงกาฬ, หน่วยป้องกันและปราบปรามประมงน้ำจืดเขื่อนน้ำอูน สกลนคร, ประมงอำเภอพรเจริญ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่ ปล่อยปลา พร้อมทั้งพูดคุยกับชาวประมงที่มาร่วมกิจกรรมถึงการทำการประมงในพื้นที่ลุ่มน้ำสงคราม เก็บข้อมูลพื้นฐานด้านการประมง บริเวณพื้นที่หนองขวาง บ้านท่าศรีชมชื่น ต.หนองหัวช้าง อ.พรเจริญ จ.บึงกาฬ

ชาวบ้านรู้ว่าเครื่องมือกางกั้นทางเดินสัตว์น้ำ (กัดต้อน) และเครื่องมือโพงพาง (โต่ง) ผิดกฎหมาย แต่อยากทำเพราะเป็นวิธีการทำประมงที่ได้ปลาปริมาณมาก แต่ส่วนใหญ่เห็นด้วยหากจะห้ามไม่ให้ทำการประมงเพราะจะทำให้การทำประมงด้วยเครื่องมืออื่นเดือดร้อน

สรุปข้อเท็จจริงที่ได้จากการลงพื้นที่

1. ชาวประมงรู้กฎหมาย และรู้ว่าเครื่องมือกางกั้นทางเดินสัตว์น้ำ (กัดต้อน) และเครื่องมือโพงพาง (โต่ง)ผิดกฎหมาย ไม่สามารถทำได้

2. ชาวประมงส่วนใหญ่เห็นด้วยหากจะไม่ให้มีการทำการประมงโดย เครื่องมือกางกั้นทางเดินสัตว์น้ำ (กัดต้อน) และเครื่องมือโพงพาง (โต่ง)

3. ชาวประมงส่วนใหญ่มีอาชีพอื่นทำนอกจากการทำการประมง เช่น ทำนา รับจ้าง เลี้ยงสัตว์ ค้าขาย

4. ชาวประมงเสนอหากเลิกทำประมงโดยเครื่องมือผิดกฎหมาย อยากให้ส่งเสริมการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำท้องถิ่นที่กรมประมงสามารถเพาะพันธุ์ได้มาให้ชาวประมงเลี้ยง (นอกจากปลานิลและปลาดุก)

5. ชาวประมงเสนออยากให้มีจุดอนุรักษ์พันธุ์สัตว์น้ำ (บริเวณที่สัตว์น้ำมาวางไข่และเลี้ยงตัวอ่อน ที่นอกเหนือจากการอนุรักษ์ในช่วงฤดูน้ำแดง)

6. ชาวประมงอยากให้หน่วยงานของชุมชนมีการจัดพื้นที่จับสัตว์น้ำในแหล่งน้ำสาธารณะเพื่อขายบัตรสำหรับอนุญาตให้จับสัตว์น้ำได้

วันศุกร์ที่ 17 พฤศจิกายน 2560 เดินทางกลับจาก บึงกาฬ – กรุงเทพฯ