26
บทที่ 5 การปฏิวัติสยาม: รากเหง้า / รากเน่า ประชาธิปไตยไทย Siamese Revolution: Main root / Rotten root of Thai Democracy กิตติศักดิ์ เจิมสิทธิประเสริฐ

บทที่ 5 - Krirk Universityromphruekj.krirk.ac.th/books/2551/1/05.pdf · บทที่ 5 การปฏิวัติสยาม: รากเหง้า / รากเน่า

  • Upload
    others

  • View
    3

  • Download
    0

Embed Size (px)

Citation preview

Page 1: บทที่ 5 - Krirk Universityromphruekj.krirk.ac.th/books/2551/1/05.pdf · บทที่ 5 การปฏิวัติสยาม: รากเหง้า / รากเน่า

บทที่ 5

การปฏิวัติสยาม: รากเหง้า / รากเน่า ประชาธิปไตยไทย

Siamese Revolution: Main root / Rotten root of Thai Democracy

กิตติศักดิ์ เจิมสิทธิประเสริฐ

Page 2: บทที่ 5 - Krirk Universityromphruekj.krirk.ac.th/books/2551/1/05.pdf · บทที่ 5 การปฏิวัติสยาม: รากเหง้า / รากเน่า

166ปีที่ 26 ฉบับที่ 1 ตุลาคม 2550 - มกราคม 2551

บทคัดย่อ

การปฏิวัติสยามโดยคณะราษฎร เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ.2475 ถือกัน

ว่าเป็นจุดเริ่มต้นหรือ “รากเหง้า” ประชาธิปไตยไทย หากแต่เหตุการณ์ดังกล่าวได้

ถูกตั้งข้อสังเกตจากนักวิชาการบางท่าน ว่าอาจจะเป็นเพียงจุดเริ่มต้นที่ผิดพลาดหรือ

“รากเน่า” ของประชาธิปไตยไทย เท่านั้น ผลจากการเปรียบเทียบพัฒนาการของ

ประชาธิปไตย ระหว่างประเทศอังกฤษกับประเทศไทย แสดงให้เห็นถึงความแตกต่าง

กล่าวคือ ประชาธิปไตยที่เกิดขึ้นในอังกฤษ เป็นกระบวนการที่ค่อยเป็นค่อยไป มีการ

ประนีประนอมระหว่างชนชั้นต่างๆ ในสังคมอย่างต่อเนื่องยาวนาน และเป็นสิ่งที่

เกิดขึ้นจากการตื่นตัวของประชาชนเอง ส่งผลให้ประชาธิปไตยในปัจจุบันมีความ

เข้มแข็ง ในขณะที่ประชาธิปไตยของไทย เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นอย่างฉับพลัน ขาดพัฒนาการ

ของการประนีประนอมระหว่างชนชั้นต่างๆ และเป็นเพียงความคิดความต้องการ

ของคนบางกลุ่มในขณะนั้น ประชาธิปไตยของไทยซึ่งขาดพื้นฐานที่จำเป็นจึงไม่สามารถ

ที่จะพัฒนาไปได้เท่าที่ควรในเวลาอันสั้น

การปฏิวัติสยาม: รากเหง้า / รากเน่า ประชาธิปไตยไทย1

Siamese Revolution: Main root /

Rotten root of Thai Democracy

กิตติศักดิ์ เจิมสิทธิประเสริฐ2

1ปรับปรุงจากบทความของผู้เขียนเรื่อง “รากเหง้าประชาธิปไตยไทย” เสนอในการประชุมวิชาการรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์แห่งชาติ ครั้งที่ 8 ประจำปี 2550 เรื่อง “เมืองไทยในระยะเปลี่ยนผ่าน” โดย คณะกรรมการสภาวิจัยแห่งชาติ สาขารัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ และ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ วันที่ 13-14 ธันวาคม 2550 ณ ศูนย์การค้าและนิทรรศการนานาชาติ กรุงเทพ (ไบเทค).

2นิสิตปริญญาโท (ภาคปกติ) สาขารัฐศาสตร์ หมวดวิชาการปกครอง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

5∫∑∑’Ë

Page 3: บทที่ 5 - Krirk Universityromphruekj.krirk.ac.th/books/2551/1/05.pdf · บทที่ 5 การปฏิวัติสยาม: รากเหง้า / รากเน่า

167การปฏิวัติสยาม: รากเหง้า / รากเน่า ประชาธิปไตยไทย

กิตติศักดิ์ เจิมสิทธิประเสริฐ

Abstract

The revolution of Siam on 24th June 1932 was dubbed as an advent of

democratic “main root”, however, consequently, some scholars have criticized

it as likely a starting default or “rotten root” of Thai democracy. According

to analytical comparative research between Thai and British democracies, it

has revealed that there has been a great difference between these two nations,

while the British’s democracy has been gradually developed with step by

step among the citizen classes variously and lastly long as compromisingly

conducted of which the British people have mutually admired. This paved to

strengthen democratic system in every sense in the British people’s mind. As

a result, nowadays Thai democracy has been suddenly appeared in Thai

society with lacking of compromising development among the people’s classes.

On the other hand, its contour of Thai democracy has been abruptly pulled into

backward and has been inert since its revolution in 1932. The revolution of

Siam in 1932 was euphemically, an elite’s demand of modern democracy only

without any realistic, basic support on democratic development. It wasn’t be

able to develop properly in a short term.

Page 4: บทที่ 5 - Krirk Universityromphruekj.krirk.ac.th/books/2551/1/05.pdf · บทที่ 5 การปฏิวัติสยาม: รากเหง้า / รากเน่า

168ปีที่ 26 ฉบับที่ 1 ตุลาคม 2550 - มกราคม 2551

บทนำ

นับตั้งแต่การล่มสลายของสหภาพโซเวียตและการสิ้นสุดของสงครามเย็น

ประชาธิปไตยก็ได้กลายเป็นรูปแบบการปกครองที่พึงประสงค์ และเป็นระบอบการ

ปกครองสากล อันจะเห็นได้ว่าแทบทุกประเทศในโลกต่างก็อ้างว่าประเทศของตน

ยึดมั่นในการปกครองระบอบนี้ทั้งสิ้น (โกสินทร์ วงศ์สุรวัฒน์, 2532 : 11-12)

สำหรับประเทศไทย นับตั้งแต่คณะราษฎรได้ทำการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการ

ปกครอง จากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ไปสู่ระบอบประชาธิปไตย เมื่อวันที่

24 มิถุนายน พ.ศ.2475 ปัจจุบัน (มกราคม พ.ศ.2551) ผ่านมาแล้วถึง 75 ปี

หากแต่ประชาธิปไตยของไทยก็ยังไม่สามารถบรรลุถึงจุดมุ่งหมายตามอุดมการณ์

ที่แท้จริง กลับประสบกับปัญหาและอุปสรรคต่างๆ นาๆ ซึ่งพอจะยกให้เห็นได้

อย่างชัดเจน เช่น การกบฏและรัฐประหารที่มากถึง 22 ครั้ง (นับตั้งแต่วันที่ 24

มิถุนายน พ.ศ.2475) ซึ่งความพยายามใช้กำลังทหารเพื่อยึดอำนาจการปกครอง

ประเทศจากรัฐบาลจำนวนมากครั้งเช่นนี้ นับเป็นสิ่งยืนยันความล้มเหลวของการ

ปกครองครองในระบอบประชาธิปไตยของไทยได้เป็นอย่างดี และหากพิจารณา

จากสถิติดังปรากฏในตารางที่ 1 ก็พบว่ามีความพยายามใช้กำลังเพื่อที่จะเข้ายึด

อำนาจการปกครองทั้งที่สำเร็จและล้มเหลวโดยเฉลี่ยบ่อยถึง 3 ปี 5 เดือน ต่อครั้ง

นอกจากนี้ ประเทศไทยยังเป็นประเทศที่ใช้รัฐธรรมนูญเปลืองที่สุดประเทศ

หนึ่งในโลก เนื่องจากมีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญมาแล้วทั้งสิ้นถึง 18 ฉบับ (ตารางที่ 2)

ซึ่งเฉลี่ยแล้วรัฐธรรมนูญของไทยแต่ละฉบับนั้นมีอายุการใช้งานเพียง 4 ปี 2 เดือน

โดยฉบับที่มีระยะเวลาการใช้งานสั้นที่สุด มีช่วงระยะเวลาบังคับใช้อยู่ได้เพียง 5 เดือน

13 วัน เท่านั้น ซึ่งสะท้อนถึงความจริงอันปฏิเสธได้ยากยิ่งบางประการที่ว่า “รัฐธรรมนูญ

(ฉบับลายลักษณ์อักษร) เป็นสิ่งแปลกปลอม” และ “ไม่สอดคล้องกับวัฒนธรรม

ทางการเมือง” ในสังคมไทย (ธงชัย วินิจจะกูล, 2537 : (๒๙))

ประการท้ายที่สุดซึ่งนับว่าเป็นเรื่องที่น่าสลดหดหู่ใจยิ่งที่ว่า ในรอบ 75 ปีที่ผ่านมา

ประชาชนชาวไทยต้องตกอยู่ภายใต้ระบอบการปกครองแบบเผด็จการโดยทหาร

มากกว่าที่จะได้อยู่ภายใต้ระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตย (สุรชัย ศิริไกร,

2550 : 89)

Page 5: บทที่ 5 - Krirk Universityromphruekj.krirk.ac.th/books/2551/1/05.pdf · บทที่ 5 การปฏิวัติสยาม: รากเหง้า / รากเน่า

169การปฏิวัติสยาม: รากเหง้า / รากเน่า ประชาธิปไตยไทย

กิตติศักดิ์ เจิมสิทธิประเสริฐ

ตารางที่ 1 การปฏิวัติรัฐประหาร

กบฏ ปฏิวัติ รัฐประหาร

1. กบฏบวรเดช 1. คณะราษฎร 1. พ.อ.พระยาพหลฯ

(10 ต.ค. 2476) (24 มิ.ย. 2475) (20 มิ.ย. 2476)

2. กบฏนายสิบ 2. พล.ท.ผิน ชุณหะวัณ

(3 ส.ค. 2478) (8 พ.ย. 2490)

3. กบฏพระยาสุรเดช 3. คณะนายทหารบก

(29 ม.ค. 2481) (6 เม.ย. 2491)

4. กบฏเสนาธิการ 4. จอมพล ป. พิบูลสงคราม

(1 ต.ค. 2491) (29 พ.ย. 2494)

5. กบฏแบ่งแยกดินแดน 5. จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์

(28 พ.ย. 2491) (16 ก.ย. 2500)

6. กบฏวังหลวง 6. จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์

(26 ก.พ. 2492) (20 ต.ต. 2501)

7. กบฏแมนฮัตตัน 7. จอมพลถนอม กิตติขจร

(29 มิ.ย. 2494) (17 พ.ย. 2514)

8. กบฏสันติภาพ 8. พล.ร.อ.สงัด ชะลออยู่

(8 พ.ย. 2497) (6 ต.ค. 2519)

9. กบฏ 26 มีนาคม 2520 9. พล.อ.สุนทร คงสมพงษ์

(26 มี.ค. 2520) (23 ก.พ. 2534)

10. กบฏ 1 เมษายน 10. พล.อ.สนธิ บุญยรัตนกลิน

(1 เม.ย. 2524) (19 ก.ย. 2549)

11. กบฏทหารนอกราชการ

(9 ก.ย. 2528)

ที่มา: ดัดแปลงจาก สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. 2550. การรัฐประหาร

ในประเทศไทย. หน้า 49-50.

Page 6: บทที่ 5 - Krirk Universityromphruekj.krirk.ac.th/books/2551/1/05.pdf · บทที่ 5 การปฏิวัติสยาม: รากเหง้า / รากเน่า

170ปีที่ 26 ฉบับที่ 1 ตุลาคม 2550 - มกราคม 2551

ตารางที่ 2 รัฐธรรมนูญและธรรมนูญการปกครอง

รัฐธรรมนูญและธรรมนูญการปกครอง ระยะเวลาที่ใช้ รวมเวลา

ฉบับที่ ประกาศใช้เมื่อ

1 พ.ศ.2475 (ชั่วคราว) 27 มิ.ย. 2475 – 10 ธ.ค. 2475 5 เดือน 13 วัน

2 พ.ศ.2475 10 ธ.ค. 2475 – 9 ธ.ค. 2489 13 ปี 5 เดือน

3 พ.ศ.2489 10 พ.ค. 2489 – 8 พ.ย. 2490 1 ปี 5 เดือน 28 วัน

4 พ.ศ.2490 9 พ.ย. 2490 – 23 มี.ค. 2492 1 ปี 4 เดือน 14 วัน

5 พ.ศ.2492 23 มี.ค. 2492 – 29 พ.ย. 2494 2 ปี 8 เดือน 6 วัน

6 พ.ศ.2495

(แก้ไขเพิ่มเติมจากฉบับ พ.ศ.2475) 8 มี.ค. 2495 – 20 ต.ค. 2501 6 ปี 7 เดือน 12 วัน

7 พ.ศ.2502 28 ม.ค. 2502 – 20 มิ.ย. 2511 9 ปี 4 เดือน 20 วัน

8 พ.ศ.2511 20 มิ.ย. 2511 – 17 พ.ย. 2514 3 ปี 4 เดือน 27 วัน

9 พ.ศ.2515 25 ธ.ค. 2515 – 7 ต.ค. 2517 1 ปี 9 เดือน 22 วัน

10 พ.ศ.2517 7 ต.ค. 2517 – 6 ต.ค. 2519 2 ปี

11 พ.ศ.2519 20 ต.ค. 2519 – 20 ต.ค. 2520 1 ปี

12 พ.ศ.2520 9 พ.ย. 2520 – 22 ธ.ค. 2521 1 ปี 1 เดือน 13 วัน

13 พ.ศ.2521 22 ธ.ค. 2521 – 23 ก.พ. 2534 13 ปี 2 เดือน 1 วัน

14 พ.ศ.2534 1 มี.ค. 2534 – 9 ธ.ค. 2534 8 เดือน 9 วัน

15 พ.ศ.2534 9 ธ.ค. 2534 – 10 ต.ค. 2540 5 ปี 10 เดือน 2 วัน

16 พ.ศ.2540 11 ต.ค. 2540 – 19 ก.ย. 2549 9 ปี 11 เดือน 10 วัน

17 พ.ศ.2549 (ชั่วคราว) 1 ต.ค. 2549 – 24 ส.ค. 2550 10 เดือน 24 วัน

18 พ.ศ.2550 24 ส.ค. 2550 - ปัจจุบัน -

ที่มา: ดัดแปลงจาก โกวิท วงศ์สุรวัฒน์. ม.ป.ป. การเมืองการปกครองไทย:

หลายมิติ. หน้า 188.

ปัญหาเหล่านี้ ถือเป็นประเด็นที่นักวิชาการเป็นจำนวนมากให้ความสนใจ และ

ร่วมกันอภิปรายอย่างกว้างขวาง ว่าเพราะเหตุใดประชาธิปไตยของไทยจึงยังคงล้มลุก

คลุกคลานมาตลอดช่วงระยะเวลา 75 ปี ซึ่งนับเป็นระยะเวลาที่น่าจะยาวนานพอสมควร

และน่าที่จะสามารถทำให้ระบอบประชาธิปไตยของไทยมีความเข้มแข็งและมี

คุณภาพมากกว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน ไว้ต่างๆ นานา แตกต่างกันไปตามจุดยืน และ

มุมมองของแต่ละท่าน

Page 7: บทที่ 5 - Krirk Universityromphruekj.krirk.ac.th/books/2551/1/05.pdf · บทที่ 5 การปฏิวัติสยาม: รากเหง้า / รากเน่า

171การปฏิวัติสยาม: รากเหง้า / รากเน่า ประชาธิปไตยไทย

กิตติศักดิ์ เจิมสิทธิประเสริฐ

บทความชิ้นนี้ ถือเป็นความพยายามหนึ่งของผู้เขียนที่จะพิจารณา “การปฏิวัติ

สยาม” (Siamese Revolution) ซึ่งก่อการโดยคณะราษฎร เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน

พ.ศ.2475 ในฐานะที่เป็นจุดเริ่มต้น หรือ “รากเหง้า” ของการปกครองภายใต้

ระบอบประชาธิปไตยของไทย โดยพยายามที่จะเสนอมุมมองเชิงเปรียบเทียบระหว่าง

พัฒนาการของระบอบประชาธิปไตยในประเทศยุโรปตะวันตก โดยเฉพาะกรณีของ

ประเทศอังกฤษ ซึ่งถือเป็นแม่แบบในการเปลี่ยนแปลงการปกครองของคณะราษฎร

กับการเปลี่ยนแปลงการปกครองโดยคณะราษฎรเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ.2475

โดยวิเคราะห์ให้เห็นถึงเหตุปัจจัย ตลอดจนผลลัพธ์ที่แตกต่างกันของทั้งสองประเทศ

พัฒนาการของระบอบประชาธิปไตยในประเทศยุโรปตะวันตก:

ประเทศอังกฤษ

รูปแบบการปกครองที่เรียกว่า “ประชาธิปไตย” (Democracy) นั้น ถือได้ว่า

เกิดขึ้นเป็นครั้งแรกในนครรัฐกรีก สมัยเฮเลนนิค (Hellenic) ราวศตวรรษที่ 4-5

ก่อนคริสตกาล ซึ่งนักปรัชญาใหญ่ในขณะนั้น คือ Plato (425-327 B.C.) และ

Aristotle (384-322 B.C.) สองศิษย์อาจารย์ได้ถกเถียงกันด้วยเหตุผลตาม

วิภาษวิธี (Dialectical Debate) ว่าการปกครองสังคมในรูปแบบใดน่าที่จะเป็นรูป

แบบที่ดีที่สุด (สุรชัย ศิริไกร, 2550 : 94)

ตารางที่ 3 รูปแบบการปกครอง

จำนวนของผู้ปกครอง รัฐที่ชอบด้วยกฎหมาย รัฐที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย

คนเดียว ราชาธิปไตย (Monarchy) ทรราช (Tyranny)

คณะบุคคล อภิชนาธิปไตย (Aristocracy) คณาธิปไตย (Oligarchy)

จำนวนมาก ประชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ (Polity) ประชาธิปไตย (Democracy)

ที่มา: ดัดแปลงจาก โกวิท วงศ์สุรวัฒน์. ม.ป.ป.ข. หลักรัฐศาสตร์. หน้า 67.

Page 8: บทที่ 5 - Krirk Universityromphruekj.krirk.ac.th/books/2551/1/05.pdf · บทที่ 5 การปฏิวัติสยาม: รากเหง้า / รากเน่า

172ปีที่ 26 ฉบับที่ 1 ตุลาคม 2550 - มกราคม 2551

ตามความเห็นของ Plato นั้น สังคมการเมืองอย่างเอเธนส์ น่าที่จะปกครองด้วย

ผู้ปกครองที่เป็นราชาปราชญ์ (Philosopher King) ซึ่งเป็นผู้ที่ได้รับการศึกษาอบรม

ด้านจริยธรรมและความรู้สาขาต่างๆ มาเป็นอย่างดี เป็นผู้ที่อุทิศตนให้กับสังคมอย่าง

แท้จริง และห้ามมิให้มีทรัพย์สินเงินทองส่วนตัว รวมทั้งภรรยาหรือครอบครัวดั่งเช่น

สามัญชนทั่วไป ในขณะที่ Aristotle กลับมองว่า การมีผู้ปกครองที่เป็นราชาปราชญ์

ตามคติของ Plato นั้นก็นับเป็นสิ่งที่ดี หากแต่ในความเป็นจริงแล้วคงจะหาได้ยาก

Aristotle จึงเห็นว่าระบอบประชาธิปไตย (Democracy) ซึ่งแม้ว่าจะมิใช่ระบอบที่ดีที่สุด

แต่ก็เป็นไปได้จริง และดีกว่า 2 ระบอบที่เหลือ คือ ทรราช (Tyranny) และ คณาธิปไตย

(Oligarchy) เพราะระบอบประชาธิปไตยเป็นระบอบที่เสรี ยอมรับความเท่าเทียม

กันของประชาชนและความสามารถในการปกครองตนเองในสังคม

เมื่อเอเธนส์พ่ายแพ้ต่อสปาร์ตาในคราวสงคราม Peloponnesian War (321 B.C.)

ทำให้ระบอบประชาธิปไตยต้องสูญสิ้นไปและถูกแทนที่ด้วยระบอบเผด็จการทหารและ

ระบอบสาธารณรัฐแบบโรมัน กระทั่งช่วงปลายศตวรรษที่ 16-17 ประเทศต่างๆ มีการ

ปกครองในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์แทบทั้งสิ้น ยกเว้นแต่อังกฤษ ซึ่งขุนนางเจ้าของ

ทีด่นิไดเ้ขา้มามสีว่นในการใชอ้ำนาจปกครองรว่มกบักษตัรยิ ์(อมร รกัษาสตัย,์ 2532: 15)

จุดเริ่มต้นอันเป็นที่ยอมรับกันว่าเป็น “รากเหง้า” ของการปกครองในระบอบ

ประชาธิปไตยของอังกฤษที่นักวิชาการส่วนมากมักกล่าวถึงคือ “แมกนาคาร์ตา”

(Magna Carta) อันเป็นเอกสารทำนองพระบรมราชโองการที่พระเจ้ายอห์นแห่งอังกฤษ

ได้ทรงลงพระนามภายหลังที่พวก Barons ได้ก่อการยึดอำนาจเมื่อปี ค.ศ.1215

โดยมีข้อความที่สำคัญคือ (สนธิ เตชานันท์, 2529: 1)

1. พระเจ้าแผ่นดินจะเรียกเก็บภาษีหรือขอให้ราษฎรให้ความช่วยเหลือไม่ได้

นอกจากจะได้รับความยินยอมจากที่ประชุมหัวหน้าราษฎร

2. การงดใช้กฎหมาย หรือการยกเว้นไม่ใช้กฎหมายบังคับแก่บุคคลใดบุคคล

หนึ่งจะกระทำมิได้

3. บุคคลใดๆ จะถูกจับกุมคุมขัง หน่วงเหนี่ยว หรือขับไล่เนรเทศมิได้ นอกจาก

การนั้นจะเป็นไปโดยคำพิพากษาที่ชอบ และตามกฎหมายของบ้านเมือง และจะ

ต้องได้รับการพิจารณาจากบุคคลชั้นเดียวกับเขา (His Peers)

Page 9: บทที่ 5 - Krirk Universityromphruekj.krirk.ac.th/books/2551/1/05.pdf · บทที่ 5 การปฏิวัติสยาม: รากเหง้า / รากเน่า

173การปฏิวัติสยาม: รากเหง้า / รากเน่า ประชาธิปไตยไทย

กิตติศักดิ์ เจิมสิทธิประเสริฐ

กระแสประชาธิปไตยได้ครุกรุ่นขึ้นมาอีกครั้งในราวศตวรรษที่ 16-17 โดยใน

ศตวรรษที่ 16 ชนชั้นกลางซึ่งร่ำรวยจากการเป็นเจ้าของที่ดิน ได้เรียกร้องสิทธิการ

มีส่วนร่วมในการปกครอง โดยแลกเปลี่ยนกับการจ่ายภาษีเพิ่มให้กับกษัตริย์ อันเป็น

ที่มาของสภาผู้แทน (House of Common) ในปัจจุบัน ซึ่งขณะนั้นยังคงถูกครอบงำ

โดยสภาขุนนางอยู่ กระทั่งในสมัยพระเจ้าเฮนรี่ที่ 8 ได้มีการปฏิรูปสภา เนื่องจากมี

การเปิดประชุมสภายาวนานถึง 7 ปี (ค.ศ.1529-1536) เหตุเพราะพระองค์ต้องการ

ให้สภาช่วยออกกฎหมายตั้งศาสนจักรอังกฤษ (Anglican Church) ขึ้น เพื่อยุติอำนาจ

ขององค์สันตะปาปาที่กรุงโรมที่มีต่ออังกฤษ จากนั้นมาสภาอังกฤษจึงทำหน้าที่เป็น

ตัวแทนของรัฐแทนกษัตริย์ และเกิดรัฐบาลแบบตัวแทนประชาชนซึ่งมีอำนาจมาก

กว่าสภาขุนนางขึ้นมา สภาจึงกลายเป็นองค์กรทางการเมืองที่สำคัญที่สุดของอังกฤษ

อย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน อีกทั้งสภายังได้ให้ความสำคัญต่อบทบาทของผู้แทนท่ี

มาจากประชาชน ว่าเป็นตัวแทนของประชาชนทั้งประเทศ

ในต้น 1600s จึงมีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรขึ้นเป็นครั้งแรก นับ

เป็นการแข่งขันที่ผู้สมัครได้ต่อสู้กันอย่างดุเดือดเพื่อทำหน้าที่เป็นผู้แทนของ

ประชาชน แม้ว่าการเลือกตั้งในขณะนั้นจะจำกัดสิทธิของผู้ลงคะแนนเสียงไว้เฉพาะ

เจ้าของที่ดินที่เก็บข้าเช่าได้ไม่ต่ำกว่าปีละ 40 ชิลลิง เพื่อเป็นเครื่องหมายยืนยันว่าบุคคล

เหล่านั้นมีผลประโยชน์ในอังกฤษ และควรมีส่วนร่วมในกระบวนการทางการเมือง

ก็ตาม ต่อมาในศตวรรษที่ 17 เนื่องจากมูลค่าของเงินลดลง ผู้มีสิทธิออกเลือกตั้ง

ในอังกฤษจึงขยายตัวเพิ่มขึ้นเป็นราว 20,000 คน ส่งผลให้เจ้าของที่ดินเริ่มเรียก

ร้องสิทธิมากขึ้นให้ทัดเทียมกับอำนาจทางเศรษฐกิจของตน (สุรชัย ศิริไกร, 2550 : 95)

สิ่งสำคัญคือ การที่ประชาชนชาวอังกฤษเกิดจิตสำนึกของความเป็นปัจเจกบุคคล

(Individualism) และความรู้สึกเป็นพี่น้องที่ผูกพันระหว่างผู้ที่มีความเชื่อร่วมกันขึ้น

จนก่อให้เกิดการเรียกร้องให้มีรัฐบาลที่เป็นตัวแทนของประชาชน แทนอำนาจกษัตริย์

ที่อ้างสิทธิการปกครองจากพระเจ้าอย่างที่ไม่อาจจะยกเลิกได้อีกต่อไป จนเกิดเป็น

“กบฏเพียวริตัน” (Puritan) ขึ้น การต่อสู้ระหว่างกษัตริย์และฝ่ายกบฏเป็นไป

อย่างรุนแรง ในช่วง ค.ศ.1647-1649 พวกกบฏได้เรียกร้องให้ขยายสิทธิของผู้

ออกเสียงเลือกตั้งและสิทธิของผู้แทนราษฎรให้กว้างขวางยิ่งขึ้น ให้ประชาชนมีเสรีภาพ

Page 10: บทที่ 5 - Krirk Universityromphruekj.krirk.ac.th/books/2551/1/05.pdf · บทที่ 5 การปฏิวัติสยาม: รากเหง้า / รากเน่า

174ปีที่ 26 ฉบับที่ 1 ตุลาคม 2550 - มกราคม 2551

และความเท่าเทียม ตลอดจนเสรีภาพในการเลือกผู้ปกครอง อุปสรรคใดๆ ที่ขัด

ขวางเสรีภาพและสิทธิเหล่านั้นจะต้องถูกขจัดออกไปให้หมด

แม้ว่าในปี ค.ศ.1649 ฝ่ายกบฏเพียวริตันจะพ่ายแพ้ต่อกองทัพของครอมเวลล์

และพวกอนุรักษ์นิยมก็ตาม แต่แนวคิดดังกล่าวกลับเป็นการปลุกกระแสอุดมการณ์

เสรีนิยมให้เกิดขึ้นในยุโรป โดยเฉพาะกระแสแนวคิดสิทธิโดยธรรมชาติ (Natural Right)

ของประชาชนที่ควรจะมีสิทธิในการเลือกผู้แทนของตน อันเป็นที่มาของแนวคิด

“ประชาธิปไตยแบบมีผู้แทน” (Representative Democracy) เช่นในปัจจุบัน

ในปีเดียวกันนั้น ครอมเวลล์ได้ปลงพระชนม์พระเจ้าชาร์ลส์ที่ 1 และประกาศ

จัดตั้งสาธารณรัฐ ตั้งตนเป็นผู้พิทักษ์ที่ปกครองด้วยอำนาจเผด็จการ ประชาชนจึง

อัญเชิญพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 2 ขึ้นครองราชย์ใน ค.ศ.1660 แต่ก็เกิดการปฏิวัติขึ้นอีก

ครั้งเมื่อปี ค.ศ.1668 ประชาชนจึงทูลขอให้พระเจ้าวิลเลียมที่ 3 จากฮอนแลนด์

มาเป็นกษัตริย์ปกครองอังกฤษ

ในปีต่อมา สภาได้ประกาศใช้ Bill of Rights เพื่อยุติพระราชอำนาจของพระ

มหากษัตริย์ที่ละเว้นและเพิกเฉยต่อการออกกฎหมายโดยไม่จำเป็นต้องได้รับการ

ยินยอมจากรัฐสภา นับได้ว่าเป็นชัยชนะครั้งสำคัญของสภาสามัญ ในการต่อสู้กับ

พระมหากษัตริย์มาเป็นเวลายาวนาน กระทั่งปี ค.ศ.1701 จึงได้ประกาศใช้ Act

of Settlement ซึ่งไม่เพียงแต่จะบัญญัติในเรื่องของการสืบสันตติวงศ์ แต่ยังวางหลัก

ความเป็นอิสระในการพิพากษาอรรถคดีของศาล ตลอดจนเงื่อนไขและหลักการ

ปกครองในระบอบพระมหากษัตริย์ภายใต้รัฐรัฐธรรมนูญ (Constitutional Monarchy)

ด้วย (สนธิ เตชานันท์, 2529 : 2)

ภายหลังการต่อสู้ระหว่างกษัตริย์และสภายุติลง หนึ่งในประเด็นประสำคัญของ

การพัฒนาความเป็นประชาธิปไตยอังกฤษนั้น คือการปฏิรูปด้านสิทธิการออกเสียง

เลือกตั้งของประชาชน เริ่มต้นจากการประกาศใช้พระราชบัญญัติ Reform Act เมื่อปี

ค.ศ.1832, The Representation of People Act เมื่อปี 1867, The Franchise

Act เมื่อปี ค.ศ.1884, The Representation of the People Act of 1918 เมื่อปี

ค.ศ.1918, 1945 และ 1948 (สนธิ เตชานันท์, 2529 : 79-80) กระทั่งเมื่อ

เดือนเมษายน ค.ศ.1969 คุณสมบัติด้านอายุของผู้มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้งทั้งชาย

Page 11: บทที่ 5 - Krirk Universityromphruekj.krirk.ac.th/books/2551/1/05.pdf · บทที่ 5 การปฏิวัติสยาม: รากเหง้า / รากเน่า

175การปฏิวัติสยาม: รากเหง้า / รากเน่า ประชาธิปไตยไทย

กิตติศักดิ์ เจิมสิทธิประเสริฐ

และหญิงจึงได้ลดลงมาเหลือเพียง 18 ปี และประชาชนที่มีอายุดังกล่าวได้ใช้สิทธิ

ออกเสียงเป็นครั้งแรกในการเลือกตั้งในปี ค.ศ.1970 (Brennam, 1983 : 18-19)

ผลจากการเรียกร้องให้ได้มาซึ่งสิทธิในการเลือกตั้งของประชาชนทั้งเพศชาย

และหญิงอย่างต่อเนื่องยาวนาน ได้ก่อให้เกิดความสำนึกขึ้นในจิตใจของประชาชน

ว่าวันเลือกตั้งทั่วไปนั้น เป็นวันที่มีความสำคัญที่สุดในปฏิทินการเมืองของประชาชน

เลยทีเดียว (สนธิ เตชานันท์, 2529 : 79)

ทั้งนี้ เนื่องจากในระบอบการปกครองที่กำลังเจริญเติบโต ไม่สามารถที่จะ

บัญญัติกฎข้อบังคับในทางกฎหมายที่ครอบคลุมกรณีทุกกรณี จึงเป็นเรื่องที่หลีก

เลี่ยงไม่ได้ที่นักการเมืองและบุคคลที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการในทางการเมืองจะ

สร้างหลักปฏิบัติและระเบียบต่างๆ เพื่อให้ระบบดำเนินไปอย่างราบรื่น ธรรมเนียม

ปฏิบัติ3 (Conventions) จึงถือเป็นมรดกที่สำคัญอีกประการหนึ่งอันเป็นผลจาก

พัฒนาการที่ยาวนานของประชาธิปไตยในอังกฤษ

ทั้งนี้ ธรรมเนียมปฏิบัติที่สำคัญของอังกฤษทางรัฐธรรมนูญนั้น ได้แก่ (สนธิ

เตชานันท์, 2529 : 6)

1. ธรรมเนียมเกี่ยวกับพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์และการปกครองระบบ

คณะรัฐมนตรี เช่น ทรงพระราชอำนาจ (Royal Prerogative) ตามคำแนะนำของ

รัฐมนตรี และจะทรงไม่ยับยั้งร่างกฎหมายที่ผ่านสภาแล้ว ตลอดจนจะทรงขอให้

หัวหน้าพรรคที่ได้รับเสียงข้างมากในสภาสามัญเป็นผู้จัดตั้งรัฐบาล เป็นต้น

2. ธรรมเนียมที่กำหนดความสัมพันธ์ระหว่างสภาขุนนางกับสภาสามัญ รวม

ถึงวิธีการดำเนินการทางรัฐสภาด้วย เช่น มีขนบธรรมเนียมในรัฐสภาว่า สมาชิกคน

ใดเข้ามาอภิปรายในสภาเป็นครั้งแรก ย่อมจะไม่มีผู้ใดหรือสมาชิกเก่าคัดค้าน ซักถาม

หรือขัดคอ จะปล่อยให้มีเอกสิทธิ์ในการพูดโดยไม่มีผู้ใดว่ากล่าวอะไรทั้งสิ้น สิทธินี้

เรียกว่า สิทธิของสมาชิกใหม่

3Jennings (1946 : 49) ได้กล่าวถึงความหมายของ “ธรรมเนียมปฏิบัติ” ไว้ว่าเป็น “กฎซึ่งอาจจะปฏิบัติอย่างสืบเนื่องเหมือนกฎเกณฑ์ในทางกฎหมายและเป็นสิ่งที่กำหนดระเบียบแบบแผนซึ่งบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการปกครองต้องยึดถือปฏิบัติ”

Page 12: บทที่ 5 - Krirk Universityromphruekj.krirk.ac.th/books/2551/1/05.pdf · บทที่ 5 การปฏิวัติสยาม: รากเหง้า / รากเน่า

176ปีที่ 26 ฉบับที่ 1 ตุลาคม 2550 - มกราคม 2551

3. ธรรมเนียมที่กำหนดความสัมพันธ์ระหว่างสหราชอาณาจักรกับประเทศใน

เครือจักรภพ เช่น รัฐสภาแห่งสหราชอาณาจักรจะไม่ตรากฎหมายใช้บังคับแก่ประเทศ

อาณาจักร (Dominions) เว้นแต่ได้การรับการร้องขอและได้รับความยินยอมจาก

ประเทศอาณาจักรนั้นๆ

จะเห็นได้ว่า พัฒนาการของระบอบประชาธิปไตยของอังกฤษนั้น ใช้เวลาอัน

ยาวนานในการเรียกร้องเพื่อที่จะสถาปนาระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภา นับตั้ง

แต่การลงพระนามของพระเจ้ายอห์นใน Magna Carta เมื่อปี ค.ศ.1215 กระทั่งมี

การประกาศใช้ Act of Settlement เมื่อปี ค.ศ.1701 กำหนดให้มีการปกครอง

แบบพระมหากษัตริย์ภายใต้รัฐรัฐธรรมนูญ รวมระยะเวลาทั้งสิ้นถึง 486 ปี ทำให้

สามารถสร้างธรรมเนียมปฏิบัติต่างๆ ขึ้นมาเพื่อรองรับ และอุดช่องโหว่ที่ได้เกิดขึ้น

ประกอบกับการที่ตลอดห้วงระยะเวลาดังกล่าวประชาชนอังกฤษเห็นความสำคัญ

และเข้ามามีส่วนในการเรียกร้องสิทธิเสรีภาพดังกล่าวด้วยตนเอง ยังผลให้เกิดความรัก

และหวงแหนในสิ่งที่ได้ร่วมกันต่อสู้เรียกร้องมา ตลอดจนเอื้อให้ประชาชนสามารถ

ปรับเปลี่ยนวัฒนธรรมทางการเมืองของตนให้สอดคล้องกับระบอบการปกครองที่

สถาปนาขึ้น

พัฒนาการของระบอบประชาธิปไตยของไทย

เป็นที่ยอมรับกันว่า “รากเหง้า” ของระบอบประชาธิปไตยของไทย คือการ

ปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ.2475 โดยคณะราษฎร

ซึ่งถือเป็นเส้นแบ่งแห่งยุคสมัยของประวัติศาสตร์การเมืองไทยที่สำคัญที่สุดเส้นหนึ่ง

(ชาญวิทย์ เกษตรศิริ, 2543 : 23)

ทั้งนี้ ปัญหาแรกซึ่งมีความสำคัญ และเป็นที่สนใจของนักวิชาการที่จะขบคิด

แสวงหาคำตอบว่าอะไรคือสาเหตุของการปฏิวัติครั้งดังกล่าว

ชาญวิทย์ เกษตรศิริ (2543 : 78-79)ได้ให้ความเห็นเกี่ยวกับเหตุการณ์ดัง

กล่าว ไว้ใน 2475 : การปฏิวัติสยาม ว่า

“การยึดอำนาจ 2475 เป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงทั้งทางด้านเศรษฐกิจ

การเมือง และสังคมของสยาม การที่จะทำความเข้าใจกรณีนี้ได้จะต้องดูภูมิหลัง

Page 13: บทที่ 5 - Krirk Universityromphruekj.krirk.ac.th/books/2551/1/05.pdf · บทที่ 5 การปฏิวัติสยาม: รากเหง้า / รากเน่า

177การปฏิวัติสยาม: รากเหง้า / รากเน่า ประชาธิปไตยไทย

กิตติศักดิ์ เจิมสิทธิประเสริฐ

ของความเปลี่ยนแปลงดังกล่าว โดยเฉพาะอย่างยิ่งภูมิหลังของการปฏิรูปสังคมใน

เกือบทุกด้านนับตั้งแต่ตอนกลางสมัยรัตนโกสินทร์ และที่สำคัญอย่างยิ่งในสมัยรัชการ

ที่ 5 คือการสร้างระบบราชการขึ้นใหม่ตามแบบตะวันตก และการสร้างข้าราชการ

แบบใหม่ที่ได้รับการศึกษาแบบตะวันตก (ทั้งในและจากต่างประเทศ) การปฏิรูป

หรือ “การเปิดประเทศ” (ซึ่งน่าจะถือได้ว่าเป็นฉากแรกๆ ของการนำไปสู่ 2475) นี้

ย่อมหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะนำมาซึ่งคนกลุ่มใหม่ “ชนชั้นกลาง” และความคิดใหม่ๆ

เช่น ความคิดชาตินิยมและประชาธิปไตย และเมื่อกลุ่มคนรุ่นใหม่เติบโตขึ้นพร้อม

ด้วยความคิดใหม่เหล่านี้ยิ่งพัฒนาและขยายตัวออกไปตามกระแสของกาลเวลา

และความเปลี่ยนแปลงในด้านต่างๆ ของสังคม ขณะที่ในเบื้องสูงของอำนาจไม่

สามารถปรับตัวได้ทันต่อสถานการณ์ หรือ “ไม่พร้อม” ที่จะเปลี่ยนแปลง ก็ดูจะ

เป็นเรื่องธรรมดาที่ทำให้เกิดความขัดแย้งขึ้นได้ และในที่สุดก็ระเบิดออกมาในรูป

ของการใช้กำลังของการยึดอำนาจ 24 มิถุนายน 2475… เมื่อเกิดสภาพความ

อ่อนแอในการปกครองสมัยรัชการที่ 7 ประจวบกับเศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลก… ก็

กลายเป็นปัจจัยเฉพาะหน้า หรือตัวเร่งให้มีการยึดอำนาจเกิดขึ้น”

ทั้งนี้ นับแต่การปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครองครั้งดังกล่าว เวลาล่วงเลยมา

แล้วถึง 75 ปี หากแต่ยังเป็นที่เห็นพ้องต้องกันว่าประชาธิปไตยของไทยนั้น ยังคง

มีลักษณะเป็นเพียงประชาธิปไตยในทางทฤษฎีและรูปแบบ แต่เป็นคณาธิปไตยใน

ทางปฏิบัติ กล่าวคือ มีรัฐธรรมนูญเพื่อคณะบุคคลมากกว่าเพื่อปวงชน และเปลี่ยน

รัฐบาลโดยการปฏิวัติรัฐประหารมากกว่าโดยการเลือกตั้ง และที่สำคัญ ประชาชน

ชาวไทยส่วนใหญ่ไม่ค่อยได้สนใจที่จะเข้ามามีส่วนร่วมในการปกครองเท่าใดนัก

(ปิยพงษ์ แจ่มแจ้ง, 2550 : 189) ซึ่งก็มีนักวิชาการจำนวนมากที่พยายามชี้ให้

เห็นถึงความเชื่อมโยงระหว่างลักษณะของการปฏิวัติสยาม กับปัญหาในการพัฒนา

ประชาธิปไตยของไทย ซึ่งพอที่จะประมวลได้ดังนี้

1. เป็นการปฏิวัติที่กระทำโดยคณะบุคคลกลุ่มน้อย ประกอบด้วยสมาชิก

ส่วนใหญ่ซึ่งเป็นข้าราชการชั้นกลาง ทั้งฝ่ายทหารและพลเรือนที่ได้ไปรับการศึกษา

มาจากประเทศในยุโรป ซึ่งมีการปกครองในระบอบประชาธิปไตยและมีความเจริญ

ก้าวหน้ามากกว่าประเทศไทย (ปิยพงษ์ แจ่มแจ้ง, 2550 : 189) รวมทั้งสิ้นเพียง 102 นาย

Page 14: บทที่ 5 - Krirk Universityromphruekj.krirk.ac.th/books/2551/1/05.pdf · บทที่ 5 การปฏิวัติสยาม: รากเหง้า / รากเน่า

178ปีที่ 26 ฉบับที่ 1 ตุลาคม 2550 - มกราคม 2551

ประกอบด้วย 3 สายคือ สายทหารบก 34 นาย มีพันเอกพระยาพหล พลพยุหเสนา

(พจน์ พหลโยธิน) เป็นหัวหน้า สายทหารเรือ 18 นาย มีนายนาวาตรี หลวงสินธุ

สงครามชัย (สินธุ์ กมลนาวิน) เป็นหัวหน้า และสายพลเรือน 50 นาย มีหลวง

ประดิษฐ์มนูธรรม (ปรีดี พนมยงค์) เป็นหัวหน้า (ชาญวิทย์ เกษตรศิริ, 2543 : 14)

มิใช่เป็นเพราะประชาชนชาวไทยมีความตื่นตัว แต่ตรงกันข้าม ประชาชนกลับมี

ส่วนร่วมน้อยมากหรือไม่มีส่วนเลย เป็นแต่เพียงผู้ดูเหตุการณ์เท่านั้น (ชาญวิทย์

เกษตรศิริ, 2549 : 757) ดังจะเห็นได้จากข้อเขียนของพันเอก พระยาทรงสุรเดช

สมาชิกคนสำคัญของคณะราษฎร ได้เขียนไว้ภายหลังที่ได้มีการเปลี่ยนการปกครอง

แล้ว 7 ปี ว่า (สนธิ เตชานันท์, 2545 : (๒๙))

“…แม้ทุกวันนี้ (พ.ศ.๒๔๘๒) ราษฎรก็ไม่กระจ่างแจ้งในเรื่องระเบียบการ

ปกครองเลย ทั้งที่โฆษณาและมีคนไปชี้แจงให้ฟังเสมอๆ อย่าว่าแต่ราษฎรชาวนาเลย

แม้พวกข้าราชการเองก็ยังมีจำนวนไม่น้อยที่ไม่เข้าใจวิธีการปกครอง เพราะฉะนั้น

จึงเกือบกล่าวได้ว่าเมื่อก่อนปฏิวัติคนไทยรู้จักการปกครองวิธีเดียวเท่านั้น ยกเว้น

ส่วนน้อยเหลือเกิน…

…ความไม่เข้าใจและความไม่เอาใจใส่ของราษฎรเรา เห็นได้ถนัดเมื่อวันประกาศ

รัฐธรรมนูญที่พระที่นั่งอนันต์ฯ วันที่ ๒๗ มิถุนายน พ.ศ.๒๔๗๕ ต้องต้อนราษฎร

ให้เข้าไปฟังในพระที่นั่งกันเสียแทบแย่ และก็ได้จำนวนราษฎรสักหยิบมือเดียวไป

ยืนฟังโดยไม่รู้เรื่องอะไร หากจะมีละครให้ดู และมีเจ๊กก๋วยเตี๋ยวด้วยแล้วคนจะไป

มากว่านี้”

ทั้งนี้ การที่ประชาชนขาดความตื่นตัว และเข้ามามีส่วนร่วมทางการเมืองใน

ระดับต่ำ ผู้เขียนมองว่าส่วนหนึ่งเพราะประชาชนโดยทั่วไปมิได้มองว่าประชาธิปไตย

เป็นสิ่งที่ตนเองปรารถนาอยากได้ หรือมีส่วนร่วมในการเรียกร้องมาด้วยแต่แรก

ตรงกันข้าม คณะราษฎรเป็นผู้นำสิ่งดังกล่าวมายัดเยียดเอาใส่มือให้ จึงมองมิเห็น

คุณค่า เสมือนคนที่ไม่อยากอาหาร จะเอาอาหารน่ากินสักเท่าไหร่ไปให้ ก็คงเมิน

หน้าหนีไม่สนใจ ซึ่งต่างจากในกรณีของอังกฤษอย่างสิ้นเชิง กล่าวคือ การเรียกร้อง

ประชาธิปไตย สิทธิ และเสรีภาพต่างๆทางการเมืองของอังกฤษนั้น ประชาชนมี

ความปรารถนาอย่างแรงกล้าที่จะได้มาซึ่งประชาธิปไตย สิทธิ และเสรีภาพต่างๆ

Page 15: บทที่ 5 - Krirk Universityromphruekj.krirk.ac.th/books/2551/1/05.pdf · บทที่ 5 การปฏิวัติสยาม: รากเหง้า / รากเน่า

179การปฏิวัติสยาม: รากเหง้า / รากเน่า ประชาธิปไตยไทย

กิตติศักดิ์ เจิมสิทธิประเสริฐ

เหล่านั้น จึงมีความตื่นตัว และเข้ามามีส่วนร่วมอย่างสูง อีกทั้งการที่ได้มาด้วย

ความยากลำบากและใช้เวลาต่อสู้ที่ยาวนาน เมื่อได้รับมาแล้วจึงเกิดความหวงแหน

เป็นอย่างยิ่ง เสมือนคนที่หิวจัด ก็มักจะพยายามดิ้นรนต่อสู้ให้ได้มาซึ่งอาหารจำนวนมาก

ที่สุดเท่าที่จะมากได้ และพร้อมที่จะต่อสู้หากมีใครคิดที่จะเข้ามายื้อแย่งขัดขวาง

2. เป็นการสถาปนาระบบกษัตริย์หลายองค์ ขึ้นแทนกษัตริย์องค์เดียว (เสนีย ์

ปราโมชย์, 2491 อ้างถึงใน นครินทร์ เมฆไตรรัตน์, 2540 : 51) กล่าวคือเมื่อ

ทำการปฏิวัติได้สำเร็จแล้ว คณะราษฎรซึ่งมีนายปรีดีและคณะก็เข้ารับช่วงเป็นรัฐบาล

คณะราษฎร ตั้งสภาผู้แทนราษฎรขึ้นชั่วคราว มีสมาชิก 70 คน แล้วแต่งตั้งรัฐสภา

โดยให้อำนาจประกาศใช้กฎหมายและควบคุมคณะรัฐมนตรี หลังจาก 6 เดือนไป

แล้วสภาผู้แทนราษฎรจะมีสมาชิกที่มาจากการเลือกตั้งแทน และหลังจาก 10 ปีไป

แล้วก็จะให้สิทธิออกเสียงทั่วไป ซึ่งอาจกล่าวได้ว่ารัฐบาลชุดใหม่นี้มีลักษณะเป็น

พรรคเผด็จการ (ชาญวิทย์ เกษตรศิริ, 2549 : 757)

จากการที่คณะราษฎรได้พยายามสงวนอำนาจการปกครองไว้ให้พวกตน โดย

เขียนไว้ในรัฐธรรมนูญว่า ในระยะไม่เกิน 10 ปี นับแต่วันใช้รัฐธรรมนูญการปกครอง

(เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ.2475) ให้สภาผู้แทนราษฎรซึ่งเป็นสถาบันหลักใน

การปกครองประเทศประกอบด้วยสมาชิก 2 ประเภท จำนวนเท่าๆ กันคือ ประเภทที่ 1

มาจากการเลือกตั้งโดยประชาชน และประเภทที่ 2 มาจากการแต่งตั้งโดยพระมหา

กษัตริย์ตามคำเสนอของพวกตน โดยอ้างเหตุผลว่าเนื่องจากประชาชนส่วนใหญ่ยัง

ไร้การศึกษาและไม่รู้เรื่องเกี่ยวกับการปกครองดีพอ อาจจะเลือกผู้ที่ขาดความรู้ความ

เข้าใจการปกครองเข้าไปเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จึงจำเป็นจะต้องมีผู้แทนราษฎร

2 ประเภท เป็นพี่เลี้ยงอยู่ในสภาผู้แทนราษฎรก่อน บทบัญญัติในรัฐธรรมนูญเช่น

นี้ย่อมมีผลทำให้คณะราษฎรสามารถคุมสภาผู้แทนราษฎรได้ และยังผลให้สามารถ

ควบคุมการเลือกตั้งและเปลี่ยนคณะรัฐมนตรีได้โดยเด็ดขาด ทั้งนี้เพราะคณะราษฎร

สามารถคุมเสียงของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรได้ถึงครึ่งสภาและสามารถคุมการลง

มติไม่ไว้วางใจสภาผู้แทนราษฎรได้ ซึ่ง ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมชย์ (2528 : 39-40)

ได้บรรยายถึงระบอบกษัตริย์หลายองค์ภายหลังปี พ.ศ.2475 นี้ไว้ว่า

“…ทีนี้มาถึงการเปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อ พ.ศ.2475 ท่านทั้งหลายก็

Page 16: บทที่ 5 - Krirk Universityromphruekj.krirk.ac.th/books/2551/1/05.pdf · บทที่ 5 การปฏิวัติสยาม: รากเหง้า / รากเน่า

180ปีที่ 26 ฉบับที่ 1 ตุลาคม 2550 - มกราคม 2551

ทราบว่าการเปลี่ยนแปลงการปกครองนั้นนำมาสู่ระบอบประชาธิปไตย ซึ่งเอาเข้า

จริงก็หมายความว่าตัดอำนาจพระเจ้าแผ่นดินออกให้หมด แล้วเอาอำนาจนั้นมาโยน

ให้กับผู้เปลี่ยนแปลงการปกครอง เมื่อเป็นเช่นนี้การปรับตัวของระบบราชการก็ไม่ยาก

ทีแรกก็งงๆ ว่าต่อไปนี้ใครเป็นพระเจ้า พอซัก 3-4 เดือนก็รู้ จับได้ว่าท่านเหล่านี้เอง

ก็ไม่ใช่ใคร ก็ข้าราชการของเรา คุณหลวง คุณพระ พระยา ท่านขุน อะไรก็มากัน…

แทนที่จะมีพระเจ้าแผ่นองค์เดียวอย่างแต่ก่อน ก็มีพระเจ้าแผ่นดินกี่องค์ผมไม่ทราบ

ผมก็ไม่เคยนับ นับไม่ถ้วน”

3. เป็นเพียงการปฏิวัติด้านการเมืองการปกครอง มิใช่เป็นการปฏิวัติสังคม

และเศรษฐกิจ จึงอาจกล่าวได้ว่าเป็นเพียงการเปลี่ยนรัฐบาลโดยใช้กำลังเท่านั้น กล่าวคือ

เปลี่ยนบุคคลที่กุมอำนาจทางการปกครอง จากพระมหากษัตริย์และพระบรมวงศานุวงศ์

มาเป็นกลุ่มนายทหารและข้าราชการที่ทำการเปลี่ยนแปลงดังที่ได้กล่าวไปแล้ว

เท่านั้น โดยที่การปฏิวัติครั้งดังกล่าวยังมิได้ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและ

เศรษฐกิจเพื่อยกฐานะทางสังคมและเศรษฐกิจของประชาชนส่วนใหญ่ให้สูงขึ้น จึง

มิได้เป็นการส่งเสริมให้ประชาชน หรือสังคมโดยรวมมีความพร้อมที่จะเปลี่ยนแปลง

ไปเป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์

4. การปฏิวัติของคณะราษฎรมิได้มีการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมทางการเมือง

ของประชาชน การเปลี่ยนแปลงการปกครองโดยคณะราษฎรนั้น ประเด็นปัญหาที่

ผู้เขียนคิดว่าสำคัญที่สุดคือ การที่คณะราษฎรเพียงแต่เปลี่ยนแปลงรูปแบบการปกครอง

แต่มิได้มีการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมทางการเมืองของประชาชน โดยเฉพาะวัฒนธรรม

ทางการเมืองของคนไทยซึ่งมีลักษณะขัดแย้ง และไม่เอื้อต่อการปกครองในระบอบ

ประชาธิปไตย เช่น มีความเชื่อเรื่องภพเรื่องชาติ กฎแห่งกรรม และบุญวาสนา, มี

ความเชื่อว่าการเมืองเป็นเรื่องของชนชั้นสูง, การไม่ให้ความสำคัญกับหลักการ กฎเกณฑ์

และกติกา ตลอดจนชอบที่จะเล่นพรรคเล่นพวกและใช้เส้นสายเสมอ, ลักษณะ

อำนาจนิยม เป็นต้น (กิตติศักดิ์ เจิมสิทธิประเสริฐ, 2550 : 213-215) ให้

เหมาะสม สอดรับและเอื้อต่อการปกครองในระบอบประชาธิปไตยที่สถาปนาคณะ

ตนได้สถาปนาขึ้น

ดังที่ Morell และ ชัยอนันต์ สมุทวณิช (1982 : 18) ได้ให้ความเห็นไว้ว่า

Page 17: บทที่ 5 - Krirk Universityromphruekj.krirk.ac.th/books/2551/1/05.pdf · บทที่ 5 การปฏิวัติสยาม: รากเหง้า / รากเน่า

181การปฏิวัติสยาม: รากเหง้า / รากเน่า ประชาธิปไตยไทย

กิตติศักดิ์ เจิมสิทธิประเสริฐ

การสิ้นสุดของระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มิได้มีผลให้วัฒนธรรมทางการเมือง

ของคนไทยเปลี่ยนแปลงไปมากนัก กล่าวคือ ความสัมพันธ์ทางอำนาจระหว่างผู้

ปกครองกลุ่มใหม่กับประชาชนชาวไทยยังเป็นความสัมพันธ์ระหว่างผู้ปกครองกับ

ผู้ใต้ปกครองหรือผู้ถูกปกครอง ประชาชนหาได้มีสิทธิมีเสียงในการเข้ามีส่วนร่วม

ทางการเมืองแต่ประการใด ในขณะเดียวกันคณะราษฎรกลับใช้อำนาจแห่งรัฐธรรมนูญ

สงวนอำนาจอธิปไตยไว้กับตนอีกถึง 10 ปี ดังที่ได้กล่าวไปแล้ว ลักษณะเช่นนี้

แสดงว่าคณะราษฎรยังไม่เต็มใจที่จะมอบอำนาจอธิปไตยที่แท้จริงให้แก่ประชาชน

แม้กระทั่งในระยะต่อๆ มา การเมืองการปกครองไทยก็ยังคงเป็นเรื่องของผู้นำใน

ระบบราชการที่แข่งขันต่อสู้และแย่งชิงกันเข้ามามีอำนาจทางการเมือง

ภายใต้บรรยากาศและสภาพแวดล้อมทางการเมืองเช่นนี้ จึงมิได้เปิดโอกาส

ให้ประชาชนส่วนใหญ่ได้เข้ามามีโอกาสเรียนรู้ เข้าใจ และเข้ามามีบทบาททางการ

เมืองเท่าใดนัก ลักษณะวัฒนธรรมทางการเมืองของประชาชนจึงมิได้เกิดการเปลี่ยนแปลง

เท่าที่ควร อันส่งผลกระทบอย่างยิ่งให้การพัฒนาประชาธิปไตยของไทยเป็นไปอย่าง

ขลุกขลัก เดินหน้า 2 ก้าว ถอยหลัง 3 ก้าว ดังที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน

แนวทางในการแก้ไขปัญหา

การจะปลูกฝังและพัฒนาการปกครองรูปแบบใดๆ ให้มั่นคงได้นั้น จำต้อง

คำนึงถึงค่านิยมและวัฒนธรรมของสังคมที่มีแต่เดิมด้วย ว่ามีความสอดคล้องหรือ

ขัดแย้งกับรูปแบบการปกครองดังกล่าวหรือไม่ มิใช่มุ่งแต่จะหยิบฉวยเอาระบอบ

การปกครองที่ใครต่อใครว่าดีมาใช้ โดยปราศจากการพัฒนาวัฒนธรรมทางการเมือง

ค่านิยม ทัศนคติทางการเมืองของประชาชนของตนให้สอดคล้องกับระบอบดังกล่าว

เสียก่อน ดังนั้นจึงควรจะต้องศึกษาให้เข้าใจทั้งข้อดีและข้อเสียของค่านิยมและวัฒนธรรม

ดั้งเดิมของสังคม แล้วจึงค่อยวางแนวทางโดยการขจัดข้อเสียที่ไม่เอื้ออำนวยและ

ปรับข้อดีให้สอดรับกับการปกครองในระบอบดังกล่าวเสียก่อน

ดังที่กล่าวไปแล้วในตอนต้น ว่าการเปลี่ยนแปลงการปกครองโดยคณะราษฎร

เมื่อปี พ.ศ.2475 นั้น มุ่งแต่เพียงการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างอำนาจและสถาบัน

ต่างๆ ทางการเมือง ละเลยการพิจารณาถึงค่านิยมและวัฒนธรรมดั้งเดิมของสังคมไทย

Page 18: บทที่ 5 - Krirk Universityromphruekj.krirk.ac.th/books/2551/1/05.pdf · บทที่ 5 การปฏิวัติสยาม: รากเหง้า / รากเน่า

182ปีที่ 26 ฉบับที่ 1 ตุลาคม 2550 - มกราคม 2551

จึงส่งผลให้อุดมการณ์ประชาธิปไตยมิอาจฝังรากลึกลงในสังคมไทยได้ แม้เวลาจะ

ล่วงเลยมาถึง 75 ปีแล้วในปัจจุบันก็ตามที

ปัจจุบัน ได้มีผู้ที่ศึกษาและพยายามเสนอแนวทางแก้ปัญหาดังกล่าวนี้แตกต่างกัน

ออกไปต่างๆ นาๆ ตามมุมมองและความชำนาญของตน อาทิ สุรชัย ศิริไกร

(2550 : 117-121) ได้เสนอให้ “รัฐบาลไทย” ควรเสริมสร้างความเข้มแข็งให้

กับประชาธิปไตยของไทย ดังนี้

1. นักการเมืองและประชาชนต้องสร้างฉันทามติและความชอบธรรมให้กับระบบ

ประชาธิปไตย โดยจัดตั้งรัฐบาลที่มีประสิทธิภาพในการแก้ไขปัญหาต่างๆ ในสังคม

2. นักการเมืองและประชาชนต้องสร้างความมั่นคงของรัฐบาลประชาธิปไตย

โดยการแบ่งแยกระหว่างระบบการปกครองและรัฐบาลออกจากกัน

3. ให้การศึกษาบ่มเพาะวัฒนธรรมและค่านิยมประชาธิปไตยแก่ประชาชน โดย

การกำหนดเปน็วชิาระบบประชาธปิไตยเอาไวใ้นหลกัสตูรชัน้ประถมและมธัยมของนกัเรยีน

4. การพัฒนาประชาสังคม (Civil Society)

5. การกระจายรายได้ของคนในชาติให้มีความเท่าเทียมกันมากขึ้น

ในที่นี้ ผู้เขียนอยากที่จะเสนอแนวทางแก้ไขปัญหาในอีกมุมมองหนึ่งซึ่งแตกต่าง

ออกไปว่า ให้เรา (ซึ่งหมายถึงคนไทยทั้งหมด) หันกลับไปตั้งต้นแก้ปัญหาดังกล่าว

กันที่ “เด็ก” ด้วยเหตุผล 4 ประการ ดังนี้

1. คติที่ว่า “ไม้อ่อนดัดง่าย ไม้แก่ดัดยาก” ยังคงเป็นคำกล่าวที่ใช้ได้อยู่เสมอ

เนื่องจากถ้าเรามองดูคนรุ่นปัจจุบัน โดยเฉพาะนักการเมือง ทั้งในระดับชาติและ

ระดับท้องถิ่นที่เป็นรุ่นราวคราวเดียวกัน มักจะมีความคิด วิธีการตัดสินใจ ตลอด

จนวิธีการทำงานที่คล้ายคลึงกัน เนื่องจากได้รับการอบรมกล่อมเกลามาโดยสังคม

และห้วงเวลาซึ่งมีบริบททางสังคมที่ใกล้เคียงกัน จึงไม่อาจจะแก้ไขอะไรได้มากนัก

กระทั่งคนรุ่นใหม่หรือคนที่มีการศึกษาสูง เมื่อเข้ามามีอำนาจวาสนาสักหน่อย ก็ดู

จะมีจุดยืนไม่ต่างจากคนรุ่นเก่าเท่าไรนัก (วิทยากร เชียงกูล, 2531 : 26-27)

2. คำกล่าวของโฮจิมินห์ที่ว่า “เด็กวันนี้ คือโลกวันหน้า” ฉะนั้นหากเราหวังที่

จะให้สังคมในภายภาคหน้าเป็นอย่างไรนั้น ก็คงจะต้องฝากความหวังดังกล่าวนั้น

ไว้กับเด็กในวันนี้นั่นเอง

Page 19: บทที่ 5 - Krirk Universityromphruekj.krirk.ac.th/books/2551/1/05.pdf · บทที่ 5 การปฏิวัติสยาม: รากเหง้า / รากเน่า

183การปฏิวัติสยาม: รากเหง้า / รากเน่า ประชาธิปไตยไทย

กิตติศักดิ์ เจิมสิทธิประเสริฐ

3. การพัฒนาในวัยเด็กนั้น ถือว่ามีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง กล่าวคือเป็นช่วง

ที่เรามีโอกาสที่จะส่งเสริมพวกเขาได้ครั้งเดียวเท่านั้น การที่จะมาคิดแก้ไขกันภายหลัง

นั้นเกือบจะเป็นไปไม่ได้ ดังเช่นชื่อของหนังสือเล่มหนึ่งซึ่งเขียนขึ้นโดยชาวญี่ปุ่นคือ

“รอให้ถึงอนุบาลก็สายเสียแล้ว” (มาซารุ อิบุกะ, 2528)

4. จากแนวคิดเรื่องการกล่อมเกลาเรียนรู้ทางการเมือง (Political Socialization)

Dawson และ Prewitt ได้อธิบายถึงรูปแบบการเรียนรู้ทางการเมืองโดยอ้อมของ

เด็กไว้ว่าเป็นแบบ “การถ่ายโอนระหว่างบุคคล” (Interpersonal Transference)

กล่าวคือเด็กจะได้รับการเรียนรู้ทางการเมืองแรกเริ่มจากประสบการณ์ที่ได้สัมพันธ์

ติดต่อกับบุคคลในครอบครัวและโรงเรียน เมื่อเด็กเติบโตขึ้น เขาก็จะยึดเอาประสบการณ์

นั้นๆ เป็นหลัก (Dawson and Prewitt, 1969 : 63)

ทั้งนี้ เด็กไทยยังคงถูกสั่งสอนให้แข่งขันแบบตัวใครตัวมัน ถูกสอนให้ท่องจำเก่ง

เชื่อฟังคำสั่งโดยไม่ต้องเข้าใจเหตุผล หรือเกิดความสำนึกถึงความจำเป็นของระเบียบ

วินัยที่จำเป็น ถูกผู้ใหญ่อบรมด้วยวิธีเก่าๆ ครอบงำด้วยความคิดค่านิยมเก่าๆ (วิทยากร

เชียงกูล, 2531 : 30) สิ่งต่างๆ เหล่านี้ล้วนเป็นสิ่งที่หล่อหลอมให้เด็กมีลักษณะ

ของความเป็นอำนาจนิยม ไม่เพียงไม่เอื้อต่อการสร้างสังคมประชาธิปไตยเท่านั้น

หากแต่ยังเป็นตัวบั่นทอนทำลายสังคมที่มุ่งสู่ความเป็นประชาธิปไตยอีกด้วย

พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 ทรงมีพระราชดำริที่จะ

ฝึกฝนประชาชน โดยเฉพาะเด็ก ให้มีความพร้อมสำหรับการปกครองในระบอบ

ประชาธิปไตยแบบรัฐสภา ซึ่งปรากฏให้เห็นชัดเจนในพระบรมราโชวาทในวันงาน

ประจำปีของวชิราวุธวิทยาลัย เมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ.2475 ซึ่งจะขออัญเชิญ

มาตอนหนึ่ง ดังนี้ (สนธิ เตชานันท์, 2545 : 299-300)

“…การปกครองที่จะดีนั้น ยิ่งเป็นแบบรัฐสภาหรือแบบปาลิเมนต์ด้วยแล้ว ถ้า

จะดีได้ก็ต้องอาศัยความดีของประชาชน ต้องอาศัยน้ำใจและนิสัยของประชาชน

เป็นใหญ่ ถ้าประเทศใดมีประชาชนมีน้ำใจดี รู้จักวิธีการที่จะปกครองตนเองโดยมี

รัฐสภาจริงๆ แล้ว การปกครองนั้นก็จะเป็นประโยชน์แก่ประเทศเป็นอันมาก…”

ในพระบรมราโชวาทฉบับเดียวกันนี้ ทรงอธิบายถึงแนวทางที่จะทำให้ประชาชน

“มีน้ำใจดี” โดยทรงยกตัวอย่างประเทศอังกฤษว่าอยู่ที่การฝึกฝนตามแบบอย่างโรงเรียน

Page 20: บทที่ 5 - Krirk Universityromphruekj.krirk.ac.th/books/2551/1/05.pdf · บทที่ 5 การปฏิวัติสยาม: รากเหง้า / รากเน่า

184ปีที่ 26 ฉบับที่ 1 ตุลาคม 2550 - มกราคม 2551

ราษฎรที่เป็นโรงเรียนประจำที่เรียกว่า ปับลิกสกูล ซึ่งมีวิธีการสอนดังนี้ (สนธิ เตชานันท์,

2545 : 300-302)

ประการที่หนึ่ง ปับลิกสกูลสอนให้รักขนบธรรมเนียมของโรงเรียน และของ

ประเทศ ขนบธรรมเนียมใดที่มีมาแต่เดิม แม้จะคร่ำครึ ไม่มีประโยชน์ แต่ถ้าหาก

ไม่เสียหายก็รักษาไว้เพื่อให้นักเรียนภาคภูมิใจ ให้นึกถึงความรุ่งเรืองของโรงเรียน

ที่มีมาแล้วตั้งแต่ในอดีต เมื่อเด็กอังกฤษเติบโตขึ้นก็จะมีน้ำใจรักขนบธรรมเนียม

ของบ้านเมืองเป็นอย่างยิ่ง

ประการที่สอง ในโรงเรียนปับลิกสกูลของอังกฤษนั้น มีการปกครองที่เข้มงวด

มากเป็นลำดับชั้นไป ตั้งแต่ครู เด็กชั้นใหญ่ เด็กชั้นเล็ก จะให้ปกครองกันเป็น

ลำดับชั้น และมีวินัยเคร่งครัด ทั้งนี้เพื่อฝึกหัดให้รู้จักปกครองกันเองตามลำดับชั้น

รู้จักเคารพต่อผู้นำของตน และเมื่อโตขึ้นเป็นเด็กนักเรียนชั้นใหญ่แล้วก็ให้รู้จักปกครอง

เด็กเล็กโดยยุติธรรม

ประการที่สาม ต้องฝึกหัดให้นักเรียนมีน้ำใจเป็นนักกีฬาแท้ จะเล่นเกมอะไร

ก็ต้องเล่นให้ถูกต้องตามกฎข้อบังคับของเกมนั้น ไม่ใช้วิธีโกงเล็กโกงน้อย ถ้าเกม

นั้นเล่นกันหลายคน ก็ต้องเล่นเพื่อชัยชนะของฝ่ายตน ไม่ใช่เล่นเพื่อแสดงความ

เก่งของตัวคนเดียว ข้อที่สำคัญก็คือ นักกีฬาแท้ต้องรู้แพ้รู้ชนะ

ผลจากการเรียนรู้และถ่ายโอนวัฒนธรรมทางการเมืองด้วยวิธีการของปับลิกสกูล

ดังกล่าวนั้น ส่งผลให้ประเทศอังกฤษสามารถเปลี่ยนแปลงแบบแผนการปกครอง

ได้อย่างเรียบร้อย โดยไม่มีการจลาจลมากนัก แม้อังกฤษจะมีรัฐบาลที่มาจากพรรค

กรรมกร ซึ่งมีแนวคิดค่อนไปทางสังคมนิยม แต่ก็มิได้มีการเปลี่ยนแปลงอย่างหน้า

มือเป็นหลังมือ กลับมีลักษณะค่อยเป็นค่อยไป ซึ่งเรียกว่าสังคมนิยมแบบประชาธิปไตย

หรือสังคมนิยมแบบเฟเบียน (Fabian Socialism)

กระทั่งในการปกครองแบบรัฐสภานั้น ย่อมต้องมีกฎเกณฑ์กติกา เพราะการ

ปกครองในระบอบประชาธิปไตยนั้นย่อมมีการแข่งขันกันเกิดขึ้น ต่างฝ่ายต่างต้อง

มุ่งที่จะให้ได้มาซึ่งชัยชนะ ฉะนั้นจึงอาจเกิดการโกงกันขึ้น ซึ่งถือเป็นการกระทำที่

ผิดกฎกติกา ทั้งนี้ การปกครองแบบประชาธิปไตยนั้น ผู้ที่ชนะแล้วได้เข้ามาปก

ครองบ้านเมือง ก็ควรต้องนึกถึงฝ่ายน้อยที่แพ้ด้วย มิใช่จะกดขี่ข่มเหงต่างๆ นานา

Page 21: บทที่ 5 - Krirk Universityromphruekj.krirk.ac.th/books/2551/1/05.pdf · บทที่ 5 การปฏิวัติสยาม: รากเหง้า / รากเน่า

185การปฏิวัติสยาม: รากเหง้า / รากเน่า ประชาธิปไตยไทย

กิตติศักดิ์ เจิมสิทธิประเสริฐ

ต้องมุ่งปกครองเพื่อประโยชน์ของส่วนรวม โดยฝ่ายแพ้ก็ควรที่จะยอมรับ ต้อง

ปล่อยให้ฝ่ายชนะดำเนินการตามความเห็นของเขาต่อไป มิใช่จะคอยตีรวนอยู่ร่ำไป

โดยมองว่าภายภาคหน้าฝ่ายแพ้ก็อาจจะกลับมาเป็นฝ่ายชนะได้เช่นเดียวกัน

จะเห็นได้ว่า วิธีการฝึกฝนเด็กของปับลิกสกูลนั้น มิได้มุ่งกระทำในสิ่งตื้นๆ

เช่น มุ่งเน้นให้เด็กท่องจำว่าประชาธิปไตยคืออะไร มีลักษณะอย่างไร ประกอบ

ด้วยอะไรบ้าง และปัจจัยใดที่จะเป็นตัวส่งเสริมให้ประชาธิปไตยประสบความสำเรจ็

เพียงเพื่อนำไปสอบไล่ตามหลักสูตร (ซึ่งเป็นวิธีที่ประเทศบางประเทศ เช่น ประเทศไทย

มักจะคิดเอาง่ายๆ ว่าจะสามารถแก้ปัญหาได้) แม้ว่าเด็กจะพยายามหลับหูหลับตา

ท่องจำเพื่อให้สอบผ่าน แต่ท้ายที่สุดก็อาจจะจบลงด้วยการลืม เนื่องจากเป็นเพียง

สิ่งหนึ่งที่ต้องท่องจำในการเรียนไม่ต่างจากสูตรเลขคณิตสูตรหนึ่ง มิได้สร้างความ

เข้าใจอย่างลึกซึ้งถึงวิถีของประชาธิปไตยให้แก่เด็ก อุปมาดังการสอนให้เด็กท่องจำ

รสชาติของอาหาร แต่ไม่เคยให้เด็กได้ลองลิ้มชิมรสของอาหารนั้นเลย เด็กอาจจะ

ท่องจำรสชาติดังกล่าวได้ทั้งหมดตามที่ตำราได้เขียนไว้ทุกประการ แต่เด็กก็มิอาจ

เข้าใจถึงขั้นที่เรียกว่า “ซึ้ง” ถึงรสชาติของอาหารดังกล่าว หากจะให้อธิบายก็คงจะ

ต้องนั่งนึกสักครู่หนึ่งว่าตำราเขียนไว้ว่าอย่างไรบ้างแล้วจึงจะตอบออกมา ซึ่งก็คง

เป็นคำตอบที่ไร้ชีวิตชีวา ไม่สามารถบรรยายให้เข้าใจถึงรสชาติอาหารที่แท้จริงได้

ในทางตรงกันข้าม วิธีการอย่างเช่นของปับลิกสกูลนั้น ได้พยายามปลูกฝัง

แนวทางปฏิบัติที่เป็นประชาธิปไตยให้แก่เด็ก โดยแทรกให้ประชาธิปไตยกลายเป็น

วิถีชีวิต (Way of life) กล่าวคือ ให้เด็กมีใจรักขนบธรรมเนียมประเพณี รู้จักการ

ประนีประนอมมิได้หักเอาตามความต้องการโดยพลัน รู้จักการปกครองกันเองเป็น

ลำดับชั้น มีความเคารพผู้นำ และปกครองผู้น้อยโดยธรรม ทั้งยังมีน้ำใจเป็น

นักกีฬา ไม่โกงเล็กโกงน้อย รู้จักแพ้-ชนะ ยอมรับผลการตัดสินของกรรมการแต่

โดยดี ไม่พยายามตีรวน ที่เรียกว่า “ขี้แพ้ชวนตี” อุปมาได้ดังการสอนให้เด็กเข้าใจ

ถึงรสชาติของอาหาร โดยการให้เด็กได้ทานอาหารนั้นอยู่ประจำทุกวัน เสมือนหนึ่ง

ข้าวที่คนไทยทุกคนได้ทานอยู่ทุกวัน แม้จะไม่มีใครมาสอนหรือไม่ได้อ่านตำราอะไร

ก็สามารถจะเข้าใจถึงขั้นที่ “ยิ่งกว่าซึ้ง” เสียอีก และหากจะให้อธิบายก็คงไม่ต้อง

นึกอะไร สามารถที่จะอธิบายได้อย่างพิสดาร โดยไม่มีใครที่จะกล่าวได้ว่าตนเอง

ลืมรสชาติเหล่านั้นไปได ้

Page 22: บทที่ 5 - Krirk Universityromphruekj.krirk.ac.th/books/2551/1/05.pdf · บทที่ 5 การปฏิวัติสยาม: รากเหง้า / รากเน่า

186ปีที่ 26 ฉบับที่ 1 ตุลาคม 2550 - มกราคม 2551

ทั้งนี้ จะเห็นได้ว่าการปลูกฝังดังกล่าว จำต้องเป็นไปอย่างต่อเนื่องและจริงจัง

มิใช่เป็นเพียง “กระแสสังคม” ทั่วไปที่เรามักกระทำเพียงชั่วครู่ชั่วยาม แล้วก็เงียบหาย

ไปในที่สุด จึงจะก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมทางการเมืองของสังคมได้จริง

บทสรุป

นักวิชาการบางท่านกล่าวว่า “ประชาธิปไตยไม่ใช่ของเรา” (ศิโรตม์ คล้ามไพบูลย์,

2550) ซึ่งผู้เขียนก็เขอกล่าวเช่นกันด้วยว่า “ประชาธิปไตยก็ไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่

ของเขา หรือของใครๆ มาแต่เดิม” เนื่องจากการปกครองไม่ว่าจะเป็นรูปแบบใด

ระบอบใด จะได้ผลหรือไม่นั้นต้องขึ้นอยู่กับความพร้อมของประชาชนที่จะยอมรับ

ทั้งนี้ แม้ว่าการปกครองระบอบประชาธิปไตยจะถือเป็นระบอบที่เป็นอุดมคติที่สุด

แต่อาจไม่เหมาะสมที่จะนำมาใช้ทันทีกับบางสังคม เนื่องจากการปกครองระบอบ

ประชาธิปไตยมิใช่ผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปที่จะสถาปนาขึ้นมาได้ภายในระยะเวลาชั่วครู่

ชั่วยาม หรือเป็นสิ่งที่มอบให้แก่กันได้ หากแต่เป็นระบอบที่ต้องการระยะเวลาใน

การพัฒนาที่ยาวนานพอสมควร เพราะนอกจากจะต้องพัฒนาสถาบันการเมืองอัน

เป็นเรื่องที่มีปัญหาในการพิจารณามิใช่น้อยแล้ว ประชาชนซึ่งเป็นรากฐานของการ

ปกครองระบอบนี้จะต้องได้รับการศึกษาและมีความสำนึกทางการเมือง ตลอดจน

มีวัฒนธรรมทางการเมืองที่เอื้อต่อการปกครองในระบอบประชาธิปไตยด้วย มิฉะนั้น

หลักการสำคัญของประชาธิปไตยที่ว่าอำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชนก็อาจจะเป็น

เพียงแต่ในนามเท่านั้น ดังที่ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมทย์ ได้กล่าวถึงการปกครองใน

ระบอบประชาธิปไตยไว้อย่างน่าฟังว่า (โกวิท วงศ์สุรวัฒน์, ม.ป.ป.ข. : 74)

“…ตามประวัติศาสตร์โลกก็ไม่เคยปรากฏว่ามีประเทศใดที่เป็นประชาธิปไตย

ได้ภายในร้อยปี เพราะประชาธิปไตยนั้นมิได้อยู่ที่เครื่องมือต่างๆ แห่งระบอบประชาธิปไตย

เช่น รัฐสภา และการเลือกตั้ง เท่านั้น แต่อยู่ที่จิตใจของคนทั้งประเทศเป็นสำคัญ

ลัทธิประชาธิปไตยคือ ลัทธิแห่งขันติธรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งได้แก่ ความ

อดทนในความคิดเห็นของผู้อื่นที่ไม่ตรงต่อความคิดเห็นของตน เสรีภาพต่างๆ นั้น

อาจมีได้ในการปกครองแทบทุกชนิดแม้แต่ในระบอบการปกครองที่เด็ดขาดที่สุด

แต่หากประเทศใดที่ผู้คนยังขาดขันติธรรมแล้ว ประชาธิปไตยจะเกิดขึ้นได้ยากที่สุด

Page 23: บทที่ 5 - Krirk Universityromphruekj.krirk.ac.th/books/2551/1/05.pdf · บทที่ 5 การปฏิวัติสยาม: รากเหง้า / รากเน่า

187การปฏิวัติสยาม: รากเหง้า / รากเน่า ประชาธิปไตยไทย

กิตติศักดิ์ เจิมสิทธิประเสริฐ

หรือพูดง่ายๆ ว่าไม่ได้เลย ประชาธิปไตยนั้นต้องมีแพ้มีชนะในทางการเมือง หาก

ผู้แพ้มีขันติธรรมต่อความพ่ายแพ้ไม่ได้ประชาธิปไตยก็ไม่เกิด หรือหากผู้ชนะขาด

ขันติธรรมอดทนต่อชัยชนะ รวมทั้งอำนาจวาสนาซึ่งจะติดตามมานั้นไม่ได้ ประชาธิปไตย

ก็ยังไม่เกิดเช่นเดียวกัน”

กรณีของประเทศไทย ดังที่ได้กล่าวไปแล้ว จะเห็นว่าพื้นฐานวัฒนธรรม

ทางการเมือง อันได้แก่ ความรู้สึก ความเชื่อ ทัศนคติ ค่านิยม แนวคิดและพฤติกรรม

ของคนไทยส่วนมากนั้น ยังคงขาดความพร้อม ไม่เอื้อต่อการปกครองในระบอบ

ประชาธิปไตย แม้คณะราษฎรได้ทำการปฏิวัติเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ.2475

เพื่อเปลี่ยนแปลงการปกครอง โดยยกเลิกการปกครองระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์

และนำรูปแบบการปกครองแบบประชาธิปไตยมาใช้ แต่ก็มิไม่มีการปรับปรุงวัฒนธรรม

ทางการเมืองให้มีความพร้อม และเอื้อต่อการปกครองในระบอบดังกล่าวเสียก่อน

อุปมาดั่งนำไม้ดอกซึ่งสามารถให้ดอกที่สวยสดงดงามมาปลูกในแปลงดินทรายที่

ยังมิได้มีการเตรียมและปรับดินให้มีความพร้อม ไม่ช้าก็คงเฉาตายในที่สุด แม้ว่า

สามารถเอาชีวิตรอดได้ก็คงแคระแกร็นไม่อาจจะโตเท่าที่ควร จากความเป็น “รากเหง้า”

ประชาธิปไตยไทย ของการปฏิวัติสยาม ที่ผู้เขียนได้เน้นย้ำมาตลอด จึงอาจ

เป็นได้แค่เพียง “รากเน่า” ของประชาธิปไตยที่ไม่สมประกอบของไทย ดัง

ปรากฏให้เห็นอยู่ในปัจจุบัน เท่านั้น

ในทางตรงกันข้าม กรณีของประเทศอังกฤษซึ่งมีพัฒนาการที่ต่อเนื่องยาวนาน

หลายร้อยปี อีกทั้งมีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลง ตลอดจนสร้างวัฒนธรรมและ

ธรรมเนียมปฏิบัติให้สอดคล้องรูปแบบการปกครอง อุปมาดั่งนำไม้ดอกซึ่งสามารถ

ให้ดอกที่สวยสดงดงามมาปลูกในแปลงดินซึ่งแม้ว่าอาจจะเคยแห้งแล้งแต่ก็ได้มี

ความพยายามที่จะเตรียมและปรับดินให้มีความพร้อมอย่างต่อเนื่อง อีกทั้งยังมี

การบำรุงให้น้ำให้ปุ๋ยอย่างสม่ำเสมอ จึงสามารถผลิดอกออกผลสวยงามสมดังที่ตั้งใจ

ในท้ายที่สุดนี้ ก็คงต้องสุดแล้วแต่คนไทย ว่าจะก้มหน้ายอมรับสภาพรากเน่าๆ

เช่นนี้กันต่อไป แล้วรอให้ครบร้อยปีดังคำกล่างของ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ แล้วค่อย

คิดมากันใหม่ว่าจะเอาอย่างไรต่อไป หรือจะปรับปรุงให้รากเน่าๆ คืนสภาพเป็น

รากเหง้า ของประชาธิปไตยไทย และผลิดอกออกผลงอกงามกับเขาเสียที

Page 24: บทที่ 5 - Krirk Universityromphruekj.krirk.ac.th/books/2551/1/05.pdf · บทที่ 5 การปฏิวัติสยาม: รากเหง้า / รากเน่า

188ปีที่ 26 ฉบับที่ 1 ตุลาคม 2550 - มกราคม 2551

เอกสารและสิ่งอ้างอิง

กิตติศักดิ์ เจิมสิทธิประเสริฐ. 2550. “พรรคการเมืองไทย ผลิตผลวัฒนธรรมทางการ

เมืองแบบไทย.” ใน อรทัย ก๊กผล และ ธีรพรรณ ใจมั่น. (บรรณาธิการ).

เอกสารประกอบการประชุมวิชาการ วัฒนธรรมทางการเมือง จริยธรรม

และการปกครอง. กรุงเทพมหานคร: ศูนย์การพิมพ์ แก่นจันทร์.

โกวิท วงศ์สุรวัฒน์. ม.ป.ป.ก. การเมืองการปกครองไทย: หลายมิติ. ม.ป.ท.

_______. ม.ป.ป.ข. หลักรัฐศาสตร์. ม.ป.ท.

โกสินทร์ วงศ์สุรวัฒน์. 2532. ความเข้าใจในการปกครองระบอบประชาธิปไตย.

กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

คึกฤทธิ์ ปราโมชย์, ม.ร.ว. 2528. “การปรับตัวของระบบราชการไทยหลังการเปลี่ยนแปลง

การปกครอง.” ใน วรเดช จันทรศร และ วินิต ทรงประทุม. บรรณาธิการ.

ระบบราชการไทย: สภาพปัญหาและข้อเสนอจากฝ่ายการเมือง ข้าราชการ

นักวิชาการและธุรกิจเอกชน. (จัดพิมพ์เนื่องในโอกาสครบรอบ 30 ปี คณะ

รัฐประศาสนศาสตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์).

ชาญวิทย์ เกษตรศิริ. บรรณาธิการ. 2549. ประวัติศาสตร์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้:

สุวรรณภูมิ-อุษาคเนย์ภาคพิสดาร เล่ม 2. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร:

GREENPRINT CO., LTD.

________. 2543. 2475: การปฏิวัติสยาม. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร:

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ณรงค์ สินสวัสดิ์. 2539. การเมืองไทย: การวิเคราะห์เชิงจิตวิทยา. กรุงเทพมหานคร:

วัชรินทร์การพิมพ์.

ธงชัย วินิจจะกูล. 2537. “ชาติไทย, เมืองไทย และนิธิ เอียวศรีวงศ์” ใน นิธิ เอียวศรวงศ์.

2538. ชาติไทย, เมืองไทย, แบบเรียนและอนุสาวรีย์: ว่าด้วยวัฒนธรรม, รัฐ

และรูปการจิตสำนึก. กรุงเทพมหานคร: มติชน.

นครินทร์ เมฆไตรรัตน์. 2540. การปฏิวัติสยาม พ.ศ.๒๔๗๕. พิมพ์ครั้งที่ 2.

กรุงเทพมหานคร: อมรินทร์วิชาการ.

นิธิ เอียวศรวงศ์. 2550. “วัฒนธรรมทางการเมืองไทย.” ใน อรทัย ก๊กผล และ ธีรพรรณ

ใจมั่น. บรรณาธิการ. เอกสารประกอบการประชุมวิชาการ วัฒนธรรมทางการ

เมือง จริยธรรม และการปกครอง. กรุงเทพมหานคร: ศูนย์การพิมพ์ แก่นจันทร.์

Page 25: บทที่ 5 - Krirk Universityromphruekj.krirk.ac.th/books/2551/1/05.pdf · บทที่ 5 การปฏิวัติสยาม: รากเหง้า / รากเน่า

189การปฏิวัติสยาม: รากเหง้า / รากเน่า ประชาธิปไตยไทย

กิตติศักดิ์ เจิมสิทธิประเสริฐ

ปิยพงษ์ แจ่มแจ้ง. 2550. “รากเหง้าของประชาธิปไตยในกรีก กับค่านิยม วัฒนธรรม

ทางการเมืองประชาธิปไตยแบบไทยๆ.” ใน อรทัย ก๊กผล และ ธีรพรรณ ใจมั่น.

บรรณาธิการ. เอกสารประกอบการประชุมวิชาการ วัฒนธรรมทางการเมือง

จริยธรรม และการปกครอง. กรุงเทพมหานคร: ศูนย์การพิมพ์ แก่นจันทร์.

มาซารุ อิบุกะ. 2528. รอให้ถึงอนุบาลก็สายเสียแล้ว. แปลโดย ธีระ สุมิตร และ พร

อนงค์ นิยมค้า. กรุงเทพมหานคร: หมอชาวบ้าน.

วิทยากร เชียงกูล. 2531. ทางออกการเมืองไทย. กรุงเทพมหานคร: ยงพลเทรดิ้ง.

________. 2550. “ปัญหาและแนวทางปฏิรูปประชาธิปไตยของไทย.” ใน อรทัย ก๊กผล

และธีรพรรณ ใจมั่น. บรรณาธิการ. เอกสารประกอบการประชุมวิชาการ

วัฒนธรรมทางการเมือง จริยธรรม และการปกครอง. กรุงเทพมหานคร:

ศูนย์การพิมพ์ แก่นจันทร์.

ศิโรตม์ คล้ามไพบูลย์. 2550. ประชาธิปไตยไม่ใช่ของเรา. กรุงเทพมหานคร: Openbooks.

สนธิ เตชานันท์. 2545. แผนพัฒนาการเมืองไปสู่การปกครองระบอบ “ประชาธิปไตย” ตาม

แนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว. พิมพ์ครั้งที่ 4.

นนทบุรี: สถาบันพระปกเกล้า.

__________. 2529. ระบบการเมืองการปกครองของอังกฤษ, กรุงเทพมหานคร: โอ

เดียนสโตร์.

สุรชัย ศิริไกร. 2550. “การพัฒนาประชาธิปไตยไทยโดยปราศจากการเปลี่ยนแปลง

วัฒนธรรมและจริยธรรมทางการเมือง” ใน อรทัย ก๊กผล และ ธีรพรรณ ใจมั่น.

บรรณาธิการ. เอกสารประกอบการประชุมวิชาการ วัฒนธรรมทางการเมือง

จริยธรรม และการปกครอง. กรุงเทพมหานคร: ศูนย์การพิมพ์ แก่นจันทร์.

สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. 2550. การรัฐประหารในประเทศไทย. กรุงเทพมหานคร:

สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.

อมร รักษาสัตย์. 2532. ประชาธิปไตยหลายรส. ม.ป.ท.

Brennam, Tom. 1983. Politics and Government in Britain. London: Cambridge University Press.

Jennings, Ivor. 1946. The Law and the Constitution. London: University of London Press.

Dawson, Richard. and Prewitt, Denneth. 1969. Political Socialization, Boston: Little,

Brown and Company.

Morell, David. and Samudavanija, Chai-anan. 1982. Political Conflict in Thailand:

Reform Reaction Revolution. Massach usetts: Oelgeschlager, Gunn & Hain.

Page 26: บทที่ 5 - Krirk Universityromphruekj.krirk.ac.th/books/2551/1/05.pdf · บทที่ 5 การปฏิวัติสยาม: รากเหง้า / รากเน่า