70
ผผผผผผผผผผผผผผผผผผ ผผผผผผผผผผผผผผ ผผผผผผผผผผ ผผผผ ผผผผผผผผผผผผผผผผผผ ผผผผผผผผผผผผผผผผผ ผผผผผผ ผผ/ผผผ ผผผ ผผผผผผผผผผ ผผ ผผผ ผผผผผผผผผผ ผผผผผผผผผผผ ผผผผผผผผผผ ผผผผผผผผผผผผผผผผผผผผ ผผผผผผผผผผผผ ผผผผผ ผผผผผผผผผผผผผผผผผผผผผผผ ผผผผผ ผผผผผผผผผผผผผ ผผผ

burana.buranasuksa.ac.thburana.buranasuksa.ac.th/_files/news/data_GPjhhkFJ.docx · Web viewผลการ. ประเมินคุณภาพภายใน. สถานศึกษา

  • Upload
    others

  • View
    3

  • Download
    0

Embed Size (px)

Citation preview

sar2555

๓๙

ผลการประเมินคุณภาพภายในสถานศึกษา

ปีการศึกษา ๒๕๕๘

โรงเรียนบูรณะศึกษา แผนกอนุบาลทุ่งครุ

เลขที่ ๒๓/๕๖๒ ซอยประชาอุทิศ ๗๖ ถนนประชาอุทิศ

แขวงทุ่งครุ เขตทุ่งครุ จังหวัดกรุงเทพมหานคร รหัสไปรษณีย์ ๑๐๑๔๐

ตั้งอยู่ในเขตพื้นที่การศึกษา กรุงเทพมหานคร เขต ๓

รหัสสถานศึกษา ๑๐๑๐๐๘๐๐

สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน

กระทรวงศึกษาธิการ

๒. ผลการดำเนินงานตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา

มาตรฐานการศึกษาปฐมวัย

ด้านที่ ๑ มาตรฐานด้านคุณภาพผู้เรียน

มาตรฐานที่ ๑ เด็กมีพัฒนาการด้านร่างกาย

ตัวบ่งชี้

จำนวน นร./ครู ที่อยู่ในระดับ ๓ ขึ้นไป

จำนวน นร./ครูทั้งหมด

ร้อยละที่ได้

น้ำหนัก (คะแนน)

คะแนน

ที่ได้

๑.๑ มีน้ำหนักส่วนสูงเป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐาน

๔๑๓

๔๔๐

๙๓.๘๗

๐.๙๔

๑.๒ มีทักษะการเคลื่อนไหวตามวัย

๔๓๑

๔๔๐

๙๗.๙๕

๑.๕

๑.๔๗

๑.๓ มีสุขนิสัยในการดูแลสุขภาพของตน

๔๒๙

๔๔๐

๙๗.๕๐

๑.๕

๑.๔๖

๑.๔ หลีกเลี่ยงต่อสภาวะที่เสี่ยงต่อโรคอุบัติเหตุ ภัย และสิ่งเสพติด

๔๒๕

๔๔๐

๙๖.๕๙

๐.๙๖

ผลรวมคะแนนมาตรฐานที่ ๑

๙๖.๗๒

๔.๘๓

ร่องรอยความพยายาม(โครงการ/กิจกรรมที่ทำ)

โรงเรียนได้ดำเนินการพัฒนาโดยจัดการเรียนรู้และจัดโครงการ/กิจกรรมดังนี้

· โครงการพัฒนาเด็กให้มีพัฒนาการด้านร่างกาย

· กิจกรรมรณรงค์ป้องกันโรคติดต่อ ในเด็กที่เกิดในโรงเรียน

· กิจกรรมตรวจสุขภาพ

· กิจกรรมอาหารดีมีประโยชน์

· กิจกรรมร่างกายสมส่วน

· กิจกรรมยามเช้า

· กิจกรรมรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่

· กิจกรรมกีฬาสี

· กิจกรรมโยคะ

1. วิธีการพัฒนาคุณภาพตามมาตรฐานที่ ๑

โรงเรียนส่งเสริมให้เด็กมีสุขนิสัย ร่างกายแข็งแรง หลีกเลี่ยงต่ออุบัติเหตุและสิ่งเสพติด ด้วยกิจกรรมที่หลากหลาย เช่น

โรงเรียนมีอาหารกลางวันที่มีคุณภาพ ถูกสุขอนามัย เด็กได้รับประทานอาหารที่มีคุณค่าตามหลักโภชนาการครบถ้วน ส่งเสริมให้เด็กกินผักและไม่บริโภคขนมกรุบกรอบ การจัดอาหารให้เด็กรับประทานได้รับการประเมินโรงอาหารจากหน่วยงานกรุงเทพมหานคร

ส่งเสริมให้เด็กทุกคนดื่มน้ำสะอาด ในปริมาณที่เหมาะสมจากกระติกน้ำของตนเอง โดยครูเป็นผู้ตรวจเช็คปริมาณน้ำในกระติก จัดเครื่องกรองน้ำที่มีคุณภาพไว้บริการ ส่งเสริมให้ดื่มนมทุกวัน

จัดกิจกรรมให้เด็กได้ออกกำลังกายในกิจกรรมยามเช้า โดยใช้ท่ากายบริหารประกอบเพลง ได้เล่น

เครื่องเล่นสนาม บ้านบอล ว่ายน้ำ จัดการแข่งขันกีฬาเพื่อให้นักเรียนออกกำลังกายและเล่นอย่างมีกติกา ส่งเสริมและกวดขันการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กและมัดใหญ่อย่างใกล้ชิด

เด็กทุกคนได้รับการตรวจวัดไข้ในตอนเช้าก่อนเข้าห้องเรียนเพื่อคัดกรองเด็กที่ป่วย

จากครูเวรสวัสดิการตอนเช้า และรับการตรวจ มือ เท้า ปาก เล็บ ฟัน ผม จากครูประจำชั้น มีการตรวจสุขภาพผู้เรียนประจำปี เช่น ตรวจสายตา การได้ยิน ตรวจช่องปาก โดยแพทย์ที่ชำนาญการจากโรงพยาบาลนครธน และส่งผลการตรวจให้ผู้ปกครองรับทราบ และหยอดวัคซีนป้องกันโรคโปลิโอ

จัดกิจกรรมร่างกายสมส่วน มีการชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง บันทึกไว้ในสมุดประจำตัวนักเรียน กรณีที่พบว่าผู้เรียน มีน้ำหนักเกินเกณฑ์มาตรฐาน ผู้รับผิดชอบจะนำผู้เรียนเหล่านี้ออกกำลังกายในตอนเช้า และติดต่อกับผู้ปกครอง เพื่อขอความร่วมมือในการควบคุมน้ำหนัก

ผู้เรียนที่มีปัญหาด้านสุขภาพจะได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิด โดยผู้รับผิดชอบจะทำบันทึกให้ครูทุกคนรับทราบ เพื่อป้องกันอันตรายที่จะเกิดกับผู้เรียนและติดตามผลทุกระยะ

สร้างความตระหนักในเรื่องยาเสพติดที่มีผลต่อสุขภาพและเศรษฐกิจ รู้จักวิธีหลีกเลี่ยงป้องกันอันตรายจากโรคติดต่อ อุบัติเหตุและการถูกล่อลวง โดยการเล่านิทาน แสดงบทบาทสมมุติ เชิดหุ่น

2. . ผลการพัฒนา

จากการจัดกิจกรรมต่าง ๆ ส่งผลให้ผู้เรียนมีสุขนิสัยที่ดี ร่างกายแข็งแรง เคลื่อนไหวคล่องแคล่ว

มีน้ำหนัก ส่วนสูง ตามเกณฑ์มาตรฐาน รู้จักป้องกันและหลีกเลี่ยงต่อโรค อุบัติภัย การถูกล่อลวงและสิ่งเสพติด

3. แนวทางการพัฒนาในอนาคต

โรงเรียนวางแผนที่จะจัดกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง เพื่อส่งเสริมให้เด็กๆ มีสุขภาพที่ดี ดูแลรักษาสุขภาพและหลีกเลี่ยงภัยอันตรายที่จะเกิดขึ้นแก่ตนเอง ให้หลากหลายยิ่งขึ้น ให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของสังคม

มาตรฐานที่ ๒ เด็กมีพัฒนาการด้านอารมณ์และจิตใจ

ตัวบ่งชี้

จำนวน นร./ครู ที่อยู่ในระดับ 3 ขึ้นไป

จำนวน นร./ครูทั้งหมด

ร้อยละที่ได้

น้ำหนัก (คะแนน)

คะแนน

ที่ได้

๒.๑ ร่าเริงแจ่มใส มีความรู้สึกที่ดีต่อตนเอง

๔๓๓

๔๔๐

๙๘.๔๑

๐.๙๙

๒.๒ มีความมั่นใจและกล้าแสดงออก

๔๒๘

๔๔๐

๙๗.๒๗

๐.๙๗

๒.๓ ควบคุมอารมณ์ตนเองได้เหมาะสมกับวัย

๔๑๖

๔๔๐

๙๔.๕๕

๐.๙๕

๒.๔ ชื่นชมศิลปะ ดนตรี การเคลื่อนไหว และรักธรรมชาติ

๔๒๐

๔๔๐

๙๕.๔๕

๑.๙๑

ผลรวมคะแนนมาตรฐานที่ ๒

๙๖.๔๒

๔.๘๒

ร่องรอยความพยายาม(โครงการ/กิจกรรมที่ทำ)

โรงเรียนได้ดำเนินการพัฒนาโดยจัดการเรียนรู้และจัดโครงการ/กิจกรรมดังนี้

· โครงการเด็กให้มีพัฒนาการด้านอารมณ์และจิตใจ

· กิจกรรมจิตรกรน้อย

· กิจกรรมเวทีนี้ของหนู

· กิจกรรมสานสัมพันธ์วันครอบครัว

· กิจกรรมเปิดภาคเรียน

· กิจกรรมชมรม

· กิจกรรมหลังเลิกเรียน

· กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ

· กิจกรรมห้องศูนย์สื่อ

· กิจกรรมการเรียนรู้นาฏศิลป์

· กิจกรรมเกษตรกรน้อย

· กิจกรรมรับสัมฤทธิบัตร

1. วิธีการพัฒนาคุณภาพตามมาตรฐานที่ ๒

โรงเรียนจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมให้นักเรียนมีความสุข กระตือรือร้น เพื่อให้อารมณ์ร่าเริง แจ่มใส ในการเต้นและแสดงท่าทาง ร่ายรำ เคลื่อนไหวตามเสียงเพลง จังหวะดนตรีในกิจกรรมยามเช้า และกิจกรรมหลังเลิกเรียน

จัดให้ได้เลือกเล่นในมุมต่าง ๆ ภายในห้องเรียนและศูนย์สื่อ ได้แก่ มุมศิลปะ มุมบล็อก

มุมบทบาทสมมุติ มุมหนังสือ มุมวิทยาศาสตร์ มุมดนตรี ทำให้นักเรียนกล้าตัดสินใจ รู้จักการรอคอย แบ่งปัน อยู่อย่างมีความสุข

ส่งเสริมให้นักเรียนเรียนรู้อย่างมีความสุข โดยการได้ลงมือปฏิบัติจริง สอดคล้องกับชีวิตประจำวัน สร้างความตระหนักในการดูแลรักษาธรรมชาติ ใช้ทรัพยากร อย่างคุ้มค่า ลดมลภาวะเป็นพิษ ทำให้นักเรียนมีความภูมิใจในผลงานและความสามารถของตนเอง

นักเรียนระดับชั้นอนุบาล 3 ทุกคนต้องเลือกเข้าร่วมกิจกรรมชมรมคือ ชมรมเชฟจูเนียร์ ชมรมนักพูด

รุ่นจิ๋ว ชมรมฟ้อนรำ ชมรมคณิตคิดสนุก ชมรมศิลปะพาเพลิน ชมรมดนตรีสากล ชมรมฟุตฟิตฟอไฟ ชมรมสปอร์ตคิดส์ กิจกรรมผู้บำเพ็ญประโยชน์ เพื่อมีจิตอาสาในการทำกิจกรรมเพื่อส่วนรวม เพื่อพัฒนาศักยภาพของตนเองและเรียนรู้อย่างมีความสุข

2. ผลการพัฒนา

จากการจัดกิจกรรมที่หลากหลาย เพื่อให้เด็กมีความสุขกับการเรียนรู้ มีพัฒนาการด้านอารมณ์และจิตใจ ทำให้เด็ก ร่าเริงแจ่มใส มีความรู้สึกที่ดีต่อตนเอง มีความมั่นใจและกล้าแสดงออก ควบคุมอารมณ์ตนเองได้เหมาะสมตามวัย ชื่นชมศิลปะ ดนตรี การเคลื่อนไหว รักธรรมชาติ มีจิตอาสาทำกิจกรรมเพื่อส่วนรวมและมีความสุขในการอยู่ร่วมกับผู้อื่น

3. แนวทางการพัฒนาในอนาคต

โรงเรียนจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมให้เด็กลงมือทำงานด้วยตนเอง ได้แสดงออกอย่างเหมาะสมทั้งด้านศิลปะ ดนตรี การเคลื่อนไหว ส่งเสริมให้ใช้สื่อทางธรรมชาติให้มากที่สุด

มาตรฐานที่ ๓ เด็กมีพัฒนาการด้านสังคม

ตัวบ่งชี้

จำนวน นร./ครู ที่อยู่ในระดับ 3 ขึ้นไป

จำนวน นร./ครูทั้งหมด

ร้อยละที่ได้

น้ำหนัก (คะแนน)

คะแนน

ที่ได้

๓.๑ มีวินัย รับผิดชอบ เชื่อฟังคำสั่งสอนของพ่อแม่ ครูอาจารย์

๔๒๓

๔๔๐

๙๖.๑๓

๑.๙๒

๓.๒ มีความซื่อสัตย์สุจริต ช่วยเหลือแบ่งปัน

๔๒๑

๔๔๐

๙๕.๖๘

๐.๙๖

๓.๓ เล่นและทำงานร่วมกับผู้อื่นได้

๔๒๐

๔๔๐

๙๕.๔๕

๐.๙๕

๓.๔ ประพฤติตนตามวัฒนธรรมไทยและศาสนาที่ตนนับถือ

๔๒๐

๔๔๐

๙๕.๔๕

๐.๙๕

ผลรวมคะแนนมาตรฐานที่ ๓

๙๕.๖๗

๔.๗๘

ร่องรอยความพยายาม(โครงการ/กิจกรรมที่ทำ)

โรงเรียนได้ดำเนินการพัฒนาโดยจัดการเรียนรู้และจัดโครงการ/กิจกรรมดังนี้

· กิจกรรมหนูน้อยมารยาทงาม

· กิจกรรมดาวเด็กดี

· กิจกรรมห้องเรียนเป็นเลิศ

· กิจกรรมส่งลูกไปในโลกกว้าง

· กิจกรรมแรลลี่ครอบครัว บ.อ.ท.

· กิจกรรมเมตตากรุณาสัตว์

· กิจกรรมคนดีมีน้ำใจ

· กิจกรรมโรงเรียนรักษาศีล ๕

· โครงการวันสำคัญ

· กิจกรรมวันไหว้ครู

· กิจกรรมถวายเทียนพรรษา

· กิจกรรมวันแม่แห่งชาติ

· กิจกรรมวันพ่อแห่งชาติ

· กิจกรรมวันลอยกระทง

· กิจกรรมวันพระเจ้าตากสินฯ

· กิจกรรมรื่นเริงวันปีใหม่

· แผนจัดประสบการณ์รายสัปดาห์

· อ.บ. ๑ – ๓

· แบบบันทึกพฤติกรรมผู้เรียน

- ภาพถ่ายกิจกรรม

1. วิธีการพัฒนาคุณภาพตามมาตรฐานที่ ๓

โรงเรียนจัดกระบวนการเรียนรู้ผ่านกิจกรรมมากมาย รวมทั้งการเล่านิทาน และการแสดงบทบาทสมมุติ ซึ่งมีการสอดแทรกเรื่องคุณธรรม จริยธรรม เพื่อให้นักเรียนมีความรู้สึกที่ดีต่อตนเองและผู้อื่น มีความเชื่อมั่น กล้าแสดงออกในสิ่งที่ถูกต้อง มีวินัยในตนเอง รับผิดชอบ ซื่อสัตย์ ประหยัด มีเมตตากรุณา เอื้อเฟื้อ แบ่งปัน

ส่งเสริมและชื่นชมนักเรียนที่มีมารยาทดี พูดจาไพเราะ มีพฤติกรรมเชิงบวกทั้งในการช่วยเหลือตนเองและผู้อื่น มีจิตสาธารณะ สามารถปฏิบัติตามข้อตกลงในห้องเรียน หรือระเบียบของโรงเรียน

เข้าร่วมโครงการโรงเรียนรักษาศีล ๕ จัดกิจกรรมวันสำคัญทางศาสนาและวัฒนธรรมประเพณี เพื่อให้นักเรียนซึมซับความดีงามทางศาสนาและอนุรักษ์วัฒนธรรมประเพณี มีความรัก และเทิดทูนในสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์

2. ผลการพัฒนา

จากกระบวนการเรียนรู้ที่ผ่านกิจกรรมอย่างหลากหลาย ทำให้นักเรียนมีคุณลักษณะ อันพึงประสงค์ มีวินัย ความรับผิดชอบ มีความซื่อสัตย์ สุจริต ช่วยเหลือ แบ่งปัน มีมารยาทและปฏิบัติตน ตามวัฒนธรรมไทย รัก และเทิดทูนในสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ สามารถเล่นและทำงานกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข

3. แนวทางการพัฒนาในอนาคต

โรงเรียนจะกำหนดงาน/โครงการ/กิจกรรม ให้นักเรียนมีคุณธรรม ๑๒ ประการ

เพื่อเป็นคนดีของสังคม

มาตรฐานที่ ๔ เด็กมีพัฒนาการด้านสติปัญญา

ตัวบ่งชี้

จำนวน นร./ครู ที่อยู่ในระดับ 3 ขึ้นไป

จำนวน นร./ครูทั้งหมด

ร้อยละที่ได้

น้ำหนัก (คะแนน)

คะแนน

ที่ได้

๔.๑ สนใจเรียนรู้สิ่งรอบตัว ซักถามอย่างตั้งใจ และรักการเรียนรู้

๔๑๘

๔๔๐

๙๕.๐๐

๐.๙๕

๔.๒ มีความคิดรวบยอดเกี่ยวกับสิ่งต่าง ๆ ที่เกิดจากประสบการณ์การเรียนรู้

๔๒๔

๔๔๐

๙๖.๓๖

๐.๙๖

๔.๓ มีทักษะทางภาษาที่เหมาะสมกับวัย

๔๒๑

๔๔๐

๙๕.๖๘

๐.๙๕

๔.๔ มีทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์

๔๑๐

๔๔๐

๙๓.๑๘

๐.๙๓

๔.๕ มีจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์

๔๑๐

๔๔๐

๙๓.๑๘

๐.๙๓

ผลรวมคะแนนมาตรฐานที่ ๔

๙๔.๖๘

๔.๗๒

ร่องรอยความพยายาม(โครงการ/กิจกรรมที่ทำ)

โรงเรียนได้ดำเนินการพัฒนาโดยจัดการเรียนรู้และจัดโครงการ/กิจกรรมดังนี้

· โครงการพัฒนาการเด็กให้มีพัฒนาการด้านสติปัญญา

· กิจกรรมฉลาดคิดฉลาดทำ

· กิจกรรมบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย

· กิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงาน

· งานลายมือสวยด้วยมือหนู

· กิจกรรมครัวหรรษา

· กิจกรรมศึกษาแหล่งเรียนรู้ภายนอก

· โครงการพัฒนาเด็กให้มีพัฒนาการด้านภาษา

· กิจกรรมวันคริสต์มาส

· กิจกรรมหนูรักษ์ภาษาไทย

· กิจกรรมสอนซ่อมเสริมการอ่านภาษาไทย

· กิจกรรมภาษาพาสนุก

· โครงการพัฒนาเด็กให้มีพัฒนาการด้านการสร้างสรรค์

· กิจรรมเศรษฐกิจพอเพียง

· กิจกรรมหนูรักษ์โลก

· กิจกรรมเกษตรกรน้อย

1. วิธีการพัฒนาคุณภาพตามมาตรฐานที่ ๔

โรงเรียนส่งเสริมให้นักเรียนมีนิสัยรักการอ่าน โดยจัดให้ครูและนักเรียนอ่านหนังสือพร้อมกันทุกวันในเวลา ๐๘.๕๐ - ๐๙.๑๐ น. โดยหยุดกิจกรรมอื่น ๆ ในเวลาดังกล่าว และผู้รับผิดชอบเปิดเพลงบรรเลงเบา ๆ เป็นสัญญาณการอ่าน จัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงาน เพื่อให้นักเรียนได้เลือกเรียนรู้ในสิ่งที่ตนเองสนใจ มีการตั้งสมมุติฐาน สืบค้นและทดลองเพื่อหาข้อมูล คิดวิเคราะห์และสรุปเป็นความคิดรวบยอด

จัดกระบวนการเรียนรู้ภาษาโดยการฟัง พูด อ่าน เขียน ตามลำดับการพัฒนาการด้านภาษา และช่วยเหลือนักเรียนที่มีการพัฒนาด้านการอ่าน - เขียนช้ากว่าวัยด้วยการดูแลอย่างใกล้ชิดเป็นรายบุคคล ส่งเสริมการท่องคำคล้องจอง เพื่อให้มีความสุขในการใช้ภาษาและมีความรู้ในความหมายของคำ จัดให้มีการคิดวิเคราะห์เนื้อเรื่อง เหตุการณ์ ตัวละครจากนิทานที่ครูเล่าเพื่อนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน

จัดกิจกรรมการเรียนรู้จากแหล่งเรียนรู้ในและนอกโรงเรียน เพื่อให้นักเรียนได้รับประสบการณ์จริง เพื่อให้ได้ใช้ประสาทสัมผัสทั้ง ๕ ทำให้เกิดจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์

2. ผลการพัฒนา

จากการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่หลากหลาย ฝึกให้นักเรียนสนใจเรียนรู้สิ่งรอบตัว รักการเรียนรู้ สามารถใช้ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ สามารถใช้ภาษาได้เหมาะสมตามวัย ทำให้เกิดจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์

3. แนวทางการพัฒนาในอนาคต

โรงเรียนกำหนดแนวทางในการจัดการเรียนรู้หลากหลายวิธีขึ้น เพื่อให้ครูได้นำเทคโนโลยี

ไปพัฒนาการเรียนการสอนให้นักเรียนได้รับการพัฒนาและเรียนรู้อย่างมีความสุข และจัดกิจกรรมให้มีความรู้ในเรื่องวัฒนธรรมของประเทศเพื่อนบ้านในอาเซี่ยน เพื่อเตรียมตัวเข้าสู่ประชาคมอาเซี่ยน

ด้านที่ ๒ มาตรฐานด้านการจัดการศึกษา

มาตรฐานที่ ๕ ครูปฏิบัติงานตามบทบาทหน้าที่อย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิพล

ตัวบ่งชี้

จำนวน นร./ครู ที่อยู่ในระดับ 3 ขึ้นไป

จำนวน นร./ครูทั้งหมด

ร้อยละที่ได้

น้ำหนัก (คะแนน)

คะแนน

ที่ได้

๕.๑ ครูเข้าใจปรัชญา หลักการ และธรรมชาติของการจัดการศึกษาปฐมวัย และสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการจัดประสบการณ์

๒๑

๒๑

๑๐๐

๕.๒ ครูจัดทำแผนการจัดประสบการณ์ที่สอดคล้องกับหลักสูตรการศึกษาปฐมวัยและสามารถจัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่หลากหลาย สอดคล้องกับความแตกต่างระหว่างบุคคล

๒๑

๒๑

๑๐๐

๕.๓ ครูบริหารจัดการชั้นเรียนที่สร้างวินัยเชิงบวก

๒๑

๒๑

๑๐๐

๕.๔ ครูใช้สื่อและเทคโนโลยีที่เหมาะสม สอดคล้องกับพัฒนาการของเด็ก

๒๑

๒๑

๑๐๐

๕.๕ ครูใช้เครื่องมือการวัดและประเมินพัฒนาการของเด็กอย่างหลากหลาย และสรุปรายงานผลพัฒนาการของเด็กแก่ผู้ปกครอง

๒๑

๒๑

๑๐๐

๕.๖ ครูวิจัยและพัฒนาการจัดการเรียนรู้ที่ตนรับผิดชอบและใช้ผลในการปรับการจัดประสบการณ์

๒๐

๒๑

๙๕.๒๔

๑.๙๐

๕.๗ ครูจัดสิ่งแวดล้อมให้เกิดการเรียนรู้ได้ตลอดเวลา

๒๐

๒๑

๙๕.๒๔

๑.๙๐

๕.๘ ครูมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับเด็กและผู้ปกครอง

๒๑

๒๑

๑๐๐

๕.๙ ครูมีวุฒิและความรู้ความสามารถในด้านการศึกษาปฐมวัย

๒๑

๒๑

๑๐๐

๕.๑๐ ครูจัดทำสารนิทัศน์และนำมาไตร่ตรองเพื่อใช้ ประโยชน์ในการพัฒนาเด็ก

๒๐

๒๑

๙๕.๒๔

๑.๙๐

ผลรวมคะแนนมาตรฐานที่ ๕

๙๘.๕๗

๒๐

๑๙.๗๐

ร่องรอยความพยายาม (โครงการ/งาน/กิจกรรมที่ทำ)

โรงเรียนได้ดำเนินการพัฒนา โดยจัดโครงการ / กิจกรรม ดังนี้

· โครงการพัฒนาครูให้ปฏิบัติงานตามบทบาทหน้าที่อย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผล

· กิจกรรมอบรม/ศึกษาดูงาน

· กิจกรรมวิจัยชั้นเรียน

· กิจกรรมเพื่อนนิเทศเพื่อน

· งานจดหมายเวียนประจำสัปดาห์

· กิจกรรมแผนการจัดประสบการณ์

· งานบันทึกหลังสอน

· แฟ้มสะสมงานครู

· งานพัฒนาสื่อการสอน

* กิจกรรมการผลิตสื่อการเรียนการสอน * การจัดสื่อการสอนประจำสัปดาห์

· กิจกรรมห้องสวยของหนู

1. วิธีการพัฒนาคุณภาพตามมาตรฐานที่ ๕

โรงเรียนส่งเสริมให้ครูได้พัฒนาตนให้มีความเข้าใจในหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย และใช้ทคโนโลยี

เพื่อการเรียนการสอน จัดทำคู่มือหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา จัดทำแผนการจัดประสบการณ์ให้ทันสมัย ปรับให้มีการเรียนรู้เรื่องอาเซียน เพิ่มให้มีคุณธรรม จริยธรรมแทรกทุกหน่วยการเรียนรู้ พัฒนาครูให้มีสามารถจัดประสบการณ์ต่าง ๆ ให้กับเด็กอย่างเหมาะสม สามารถบริหารจัดการห้องเรียนเชิงบวก เน้นเด็กเป็นสำคัญ จัดการศึกษาเด็กเป็นรายบุคคล มีการวิจัยเพื่อแก้ปัญหาและพัฒนา รวมทั้งใช้แหล่งเรียนรู้ทั้งภายในภายนอก เพื่อให้นักเรียนได้เกิดการเรียนรู้ได้ตลอดเวลา

2. ผลการพัฒนา

จากการจัดโครงการ/กิจกรรมต่าง ๆ ทำให้ครูเข้าใจปรัชญา หลักการ และธรรมชาติของการจัด

การศึกษาปฐมวัย และสามารถนำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ใน การจัดประสบการณ์ สามารถจัดทำแผนการจัดประสบการณ์ที่สอดคล้องกับหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย และสามารถจัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่หลากหลาย สอดคล้องกับความแตกต่างระหว่างบุคคล บริหารจัดการชั้นเรียนที่สร้างวินัยเชิงบวก สอดคล้องกับพัฒนาการของเด็ก ใช้เครื่องมือการวัดและประเมินพัฒนาการของเด็กอย่างหลากหลาย และสรุปรายงานผลพัฒนาการของเด็กแก่ผู้ปกครอง สามารถวิจัยและพัฒนาการจัดการเรียนรู้ที่ตนรับผิดชอบ และใช้ผลในการปรับการจัดประสบการณ์ จัดสิ่งแวดล้อมให้เกิดการเรียนรู้ได้ตลอดเวลา มีปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับเด็ก และผู้ปกครอง จัดทำสารนิทัศน์และนำมาไตร่ตรองเพื่อใช้ประโยชน์ในการพัฒนาเด็ก และมีวุฒิและความรู้ความสามารถในด้านการศึกษาปฐมวัย

3. แนวทางการพัฒนา

โรงเรียนมีแผนพัฒนาครูเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการจัดทำแผนการจัดประสบการณ์

การประเมินพัฒนาการของเด็ก โดยส่งเสริมให้เข้ารับการอบรมอยู่ตลอดเวลาอย่างต่อเนื่อง เพื่อสามารถส่งเสริมพัฒนาการและความสามารถของเด็กได้อย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผลต่อนักเรียน

มาตรฐานที่ ๖ ผู้บริหารปฏิบัติงานตามบทบาทหน้าที่อย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผล

ตัวบ่งชี้

ระดับที่ได้

น้ำหนัก (คะแนน)

คะแนน

ที่ได้

๖.๑ ผู้บริหารเข้าใจปรัชญาและหลักการจัดการศึกษาปฐมวัย

๖.๒ ผู้บริหารมีวิสัยทัศน์ ภาวะผู้นำ และความคิดริเริ่มที่เน้นการพัฒนาเด็กปฐมวัย

๖.๓ ผู้บริหารใช้หลักการบริหารแบบมีส่วนร่วมและใช้ข้อมูลการประเมินผลหรือการวิจัยเป็นฐานคิดทั้งด้านวิชาการและการจัดการ

๖.๔ ผู้บริหารสามารถบริหารจัดการการศึกษาให้บรรลุเป้าหมายตามแผนพัฒนาคุณภาพสถานศึกษา

๖.๕ ผู้บริหารส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพบุคลากรให้มีประสิทธิภาพ

๖.๖ ผู้บริหารให้คำแนะนำ คำปรึกษาทางวิชาการและเอาใจใส่การจัดการศึกษาปฐมวัยเด็กเต็มศักยภาพและเต็มเวลา

๖.๗ เด็ก ผู้ปกครอง และชุมชนพึงพอใจผลการบริหารจัดการศึกษาปฐมวัย

ผลรวมคะแนนมาตรฐานที่ ๖

๒๐

๒๐

ร่องรอยความพยายาม(โครงการ/กิจกรรมที่ทำ)

โรงเรียนได้ดำเนินการพัฒนา โดยจัดโครงการ / กิจกรรม ดังนี้

· การประชุมผู้ปกครอง

· การประชุมคณะกรรมการบริหารสถานศึกษา

· งานจดหมายเวียนประจำสัปดาห์

· การประชุมประจำสัปดาห์

· การประชุมระดับชั้นเรียน อนุบาล ๑ – ๓

· การจัดโครงสร้างการบริหารงาน

· แฟ้มคำสั่งสถานศึกษา

· สมุดหมายเหตุรายวัน

- แฟ้มสะสมงานของครู/ผู้บริหารสถานศึกษา

- รายงานการประเมินภายนอกของ สมศ.

- แผนปฏิบัติการประจำปี โครงการ/กิจกรรม

- ป้ายแผนภูมิการจัดโครงสร้างองค์กร ป้ายแสดงแผนงาน

- แฟ้มภาพถ่าย/วีดีทัศน์รายงานผลการดำเนินงานของโรงเรียน

1. วิธีการพัฒนาคุณภาพตามมาตรฐานที่ ๖

ผู้บริหารได้กำหนดปรัชญา วิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าหมาย และกำหนดแนวทางในการพัฒนาการศึกษา ซึ่งระบุไว้ในแผนพัฒนาการศึกษาของโรงเรียน แผนปฏิบัติการประจำปี ประชุมชี้แจงทำความเข้าใจกับบุคลากรทุกคนในโรงเรียน แบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบตามความสามารถ ความถนัด และกระจายงานให้กับบุคลากรทุกคนอย่างเหมาะสม ครอบคลุมภารกิจที่ต้องปฏิบัติทั้ง ๔ ด้านได้แก่ งานธุรการ-การเงิน งานวิชาการ งานบุคลากร งานกิจการนักเรียน อย่างครบถ้วน ผู้บริหารจัดประชุมและจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาองค์กร พัฒนางาน จัดให้ครูเข้ารับการอบรม ศึกษาดูงาน ปรับปรุงการทำงาน นิเทศกำกับดูแลการปฏิบัติงานให้เป็นไปตามเป้าหมาย ที่กำหนด จัดให้มีการประเมินผล และเขียนรายงานเสนอต่อผู้บริหาร เพื่อนำไปปรับปรุงการดำเนินงานครั้งต่อไป ในทุกโครงการ/งาน/กิจกรรม

ผู้บริหารโรงเรียนเป็นผู้ที่มีความสามารถในการบริหารจัดการศึกษา เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด แก่นักเรียน และเป็นผู้นำด้วยการสร้างวัตถุประสงค์ความสำนึกและความผูกพันของบุคลากรให้ตระหนักถึงความสำเร็จและคุณค่าของผลการทำงานร่วมกัน ตลอดจนวิธีการที่จะทำงานให้สำเร็จ และเป็นผู้สร้างแนวคิด ให้บุคลากรทำงานร่วมกันเพื่อประโยชน์ส่วนรวม เป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงที่ก่อให้เกิดผลดีและผลสำเร็จ ให้กับโรงเรียนมาโดยตลอด อีกทั้งยังเป็นผู้มองการณ์ไกลอย่างมีวิสัยทัศน์ มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์และ นำความรู้ แนวคิดและวิทยาการใหม่ ๆ มาใช้ในการพัฒนา ปรับปรุงงานและบุคลากรอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านวิชาการ ผู้บริหารมีความมุ่งมั่นในการสร้างบรรยากาศในสถานศึกษาให้เป็นแหล่งการเรียนรู้ และในการประชุมครูประจำสัปดาห์ ผู้บริหารได้จัดให้ครูแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารและความรู้ที่เป็นประโยชน์ต่อการจัดการเรียนการสอน จัดให้มีงานเพื่อนนิเทศเพื่อนเพื่อให้ครูได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้และดูเทคนิคในการจัดการเรียนการสอนเพื่อนำไปปรับใช้ในชั้นเรียนของตนเอง ให้คำปรึกษาทางวิชาการเพื่อส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพของบุคลากรด้วยการแนะนำส่งครูเข้ารับการอบรม เชิญวิทยากรมาให้ความรู้ นอกจากนี้ยังมีการเสริมสร้างขวัญและกำลังใจแก่บุคลากรทุกฝ่าย ทั้งด้านสวัสดิการ และจัดทัศนศึกษา สัมมนาบุคลากรเป็นประจำทุกปี สร้างบรรยากาศ การทำงานในโรงเรียน และสร้างวัฒนธรรมองค์กรที่ดี เพื่อให้บุคลากรทุกคนได้ปฏิบัติงานอย่างมีความสุข เต็มใจ เต็มเวลา เต็มความสามารถ สนับสนุนให้มีการสอนแบบโครงงาน Project Approach และให้เด็กได้เรียนรู้ตลอดเวลา ทั้งในและนอกสถานที

ด้วยความสามารถในการบริหารจัดการสถานศึกษา ผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทั้งระบบสถานศึกษา อีกทั้งยังส่งผลให้สถานศึกษามีชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับของชุมชน ผู้บริหารได้รับการคัดเลือกเป็น เป็นประธานกลุ่มโรงเรียนเอกชน กลุ่มที่ ๒๔ กรุงเทพมหานคร เป็นเลขานุการสมาคมประถมศึกษา เป็นกรรมการสถานศึกษาโรงเรียนนาหลวง ความสำเร็จดังกล่าวได้สร้างความมั่นใจและความพึงพอใจแก่ผู้ปกครองและชุมชน

2. ผลการพัฒนา

ผู้บริหารเข้าใจปรัชญาและหลักการจัดการศึกษา มีวิสัยทัศน์ มีความสามารถทางวิชาการ และมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ที่เน้นการพัฒนาเด็กปฐมวัย ใช้หลักบริหารแบบการมีส่วนร่วมและใช้ข้อมูลการประเมินผลหรือการวิจัยเป็นฐานคิดทั้งด้านวิชาการ และการจัดการ เป็นผลให้การดำเนินการตามภารกิจและเป้าหมายของโรงเรียนเป็นไปอย่างราบรื่น มีประสิทธิภาพ และประสิทธิผล สามารถบรรลุเป้าหมายตามที่กำหนดไว้ในแผนส่งเสริมและพัฒนาบุคลากรให้มีประสิทธิภาพ ให้คำแนะนำ คำปรึกษาทางวิชาการและเอาใจใส่การจัดการศึกษาปฐมวัยเด็กเต็มศักยภาพและเต็มเวลา เป็นที่น่าพอใจ ครู นักเรียน ผู้ปกครอง และชุมชนพึงพอใจต่อผลการจัดการศึกษาของโรงเรียน โรงเรียนมีความเจริญก้าวหน้าทั้งทางด้าน กายภาพ คุณภาพผู้เรียน คุณภาพของบุคลากร มีชื่อเสียง มีกิจกรรมที่โดดเด่น เป็นที่ยอมรับของชุมชน

3. แนวทางการพัฒนาในอนาคต

ผู้บริหารจะได้ให้ความสนใจนิเทศติดตาม ศึกษาวิจัย กระบวนการจัดการเรียนรู้ของครู ศึกษา

แนวทางวิธีการปรับการเรียนเปลี่ยนการสอน เทคนิควิธีการสอน การใช้สื่อ และการประเมินผลของครู สนับสนุนให้ครูได้เข้ารับการพัฒนาตนเป็นประจำตลอดปีการศึกษาและนำความรู้ที่ได้มาขยายผลให้กับเพื่อนครู เพื่อนำไปใช้ในการจัดประสบการณ์สาหรับเด็ก เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนให้สูงขึ้นให้ถึงเป้าหมายที่กำหนดไว้ในวิสัยทัศน์ พร้อมทั้งส่งเสริมสนับสนุนเพิ่มพูนองค์ความรู้ให้แก่ครูด้วยวิธีต่าง ๆ สร้างขวัญและกำลังใจให้เพิ่มขึ้น เพื่อให้ครูได้ปฏิบัติงานอย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

ติดต่อประสานงานสื่อสาร ประชาสัมพันธ์ แก่บุคคลภายนอก ชุมชน ผู้ปกครอง เพื่อเผยแพร่ผลงาน และแสวงหาความร่วมมือ เพิ่มบทบาทในการช่วยพัฒนาการศึกษาของโรงเรียนให้มากขึ้น

มาตรฐานที่ ๗ แนวการจัดการศึกษา

ตัวบ่งชี้

ระดับที่ได้

น้ำหนัก (คะแนน)

คะแนน

ที่ได้

๗.๑ มีหลักสูตรการศึกษาปฐมวัยของสถานศึกษาและนำสู่การปฏิบัติได้อย่างมีประสิทธิภาพ

๗.๒ มีระบบและกลไกให้ผู้มีส่วนร่วมทุกฝ่ายตระหนักและเข้าใจหลักการจัดการศึกษาปฐมวัย

๗.๓ จัดกิจกรรมเสริมสร้างความตระหนักรู้และความเข้าใจการจัดการศึกษาปฐมวัย

๗.๔ สร้างการมีส่วนร่วมและแสวงหาความร่วมมือกับผู้ปกครอง ชุมชน และท้องถิ่น

๗.๕ จัดสิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อพัฒนาเด็กอย่างรอบด้าน

ผลรวมคะแนนมาตรฐานที่ ๗

๒๐

๒๐

ร่องรอยความพยายาม (โครงการ/งาน/กิจกรรมที่ทำ)

โรงเรียนได้ดำเนินการพัฒนาโดยจัดโครงการ/กิจกรรม ดังนี้

· โครงการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา

· การจัดทำหลักสูตรสถานศึกษา

· งานวิเคราะห์หลักสูตร

· งานจัดทำแผนการจัดประสบการณ์ระดับชั้นอนุบาล ๑-๓

· กิจกรรมนิทรรศการการเรียนรู้แบบโครงงาน

· กิจกรรมประเมินผลพัฒนาการ

· งานแฟ้มสะสมงานครู

· งานพัฒนาแหล่งเรียนรู้ใน โรงเรียน

· งานสัมพันธ์ชุมชน

1. วิธีการพัฒนา

โรงเรียนมีกระบวนการและแนวทางการปฏิบัติงานมีการประชุมบุคลากร เพื่อสร้างความตระหนักและให้มีความรู้ ความเข้าใจในการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษา เปิดโอกาสให้ผู้ปกครอง ชุมชนและท้องถิ่นเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา การปรับปรุงหลักสูตรให้มีความทันสมัย โดยเพิ่มเรื่องเกี่ยวกับอาเซียนเข้ามาในแผนการจัดประสบการณ์ สาระการเรียนรู้ โดยสำรวจจากแบบสอบถาม ข้อเสนอแนะต่าง ๆ เมื่อมีการประชุมผู้ปกครอง ปฐมนิเทศ ประชุมคณะกรรมการบริหาร ซึ่งโรงเรียนจะรวบรวมและนำมาประชุม หารือ เพื่อปรับปรุงพัฒนาหลักสูตร การจัดกิจกรรมต่าง ๆ ให้ดีขึ้นเสมอ โรงเรียนส่งเสริมให้ครูจัดทำแผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้

ที่สอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียน และใช้สื่อ อุปกรณ์เหมาะสมกับสาระการเรียนรู้ จัดสภาพแวดล้อม สภาพบรรยากาศ เอื้อต่อการเรียนรู้ทั้งในและนอกห้องเรียน จัดสื่ออุปกรณ์อุปกรณ์ แหล่งเรียนรู้ ภูมิปัญญาท้องถิ่น พาเด็กไปเรียนรู้นอกนอกสถานที่ ได้เรียนรู้ตามความสนใจ เรียนรู้จากการลงมือปฏิบัติ แก้ปัญหาและเรียนรู้ด้วยตนเอง เพื่อตอบสนองจุดเน้นของสถานศึกษา และมีกิจกรรมที่พัฒนาผู้เรียนครบถ้วนตามโครงสร้างหลักสูตร มีการจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมความรักชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ รักความเป็นไทย ทั้งยังเชิญวิทยากรจากภายนอกเข้ามาให้ความรู้กับเด็ก ในกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงาน อาชีพต่างๆ ส่งผลให้เกิดความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างบ้านหน่วยงานต่างๆ และโรงเรียนอีกด้วย นอกจากนี้ยังมีการประเมินติดตามผลพัฒนาการของเด็ก ระหว่างเรียนและหลังเรียน บันทึกข้อมูลพฤติกรรมอย่างเป็นระบบ และรายงาน ผู้ปกครองให้รับทราบ และมีการนิเทศ ติดตาม การเรียนการสอนของครูผู้สอนเป็นประจำอย่างสม่ำเสมอ

2. ผลการพัฒนา

จากการจัดโครงการ/กิจกรรม เพื่อพัฒนา ทาให้โรงเรียนมีหลักสูตรการศึกษาปฐมวัยของ

สถานศึกษาและนำสู่การปฏิบัติได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีระบบและกลไกให้ผู้มีส่วนร่วมทุกฝ่ายตระหนักและเข้าใจการจัดการศึกษาปฐมวัย สามารถจัดกิจกรรมเสริมสร้างความตระหนักรู้และเข้าใจหลักการจัดการศึกษาปฐมวัย สร้างการมีส่วนร่วมและแสวงหาความร่วมมือกับผู้ปกครอง ชุมชน และท้องถิ่น และจัดสิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อพัฒนาเด็กอย่างรอบด้าน ผู้เกี่ยวข้องมีความพึงพอใจ

3. แนวทางการพัฒนา

โรงเรียนจะ จัดอบรมสัมมนา กำกับติดตามให้ครูได้รับการแลกเปลี่ยน พัฒนาสถานศึกษา

พัฒนาหลักสูตร กระบวนการเรียนรู้และกิจกรรมพัฒนาคุณภาพผู้เรียนอย่างรอบด้าน พัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาอย่างต่อเนื่องโดยเน้นการพัฒนาสู่มาตรฐานสากล เพื่อรองรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน และสอดคล้องกับความต้องการของผู้ปกครองและชุมชน และทันสมัยทันต่อเหตุการณ์

มาตรฐานที่ ๘ สถานศึกษามีการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษาตามที่กำหนดในกฎกระทรวง

ตัวบ่งชี้

ระดับที่ได้

น้ำหนัก (คะแนน)

คะแนน

ที่ได้

๘.๑ กำหนดมาตรฐานการศึกษาปฐมวัยของสถานศึกษา

๘.๒ จัดทำและดำเนินการตามแผนพัฒนาการจัด การศึกษาของสถานศึกษาที่

๘.๓ จัดระบบข้อมูลสารสนเทศและใช้สารสนเทศในการบริหารจัดการ

๘.๔ ติดตามตรวจสอบ และประเมินผลการดำเนินงานคุณภาพภายในตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา

๐.๕

๐.๕

๘.๕ นำผลการประเมินคุณภาพทั้งภายในและภายนอกไปใช้วางแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาอย่างต่อเนื่อง

๐.๕

๐.๕

๘.๖ จัดทำรายงานประจำปีที่เป็นรายงานการประเมินคุณภาพภายใน

ผลรวมคะแนนมาตรฐานที่ ๘

ร่องรอยความพยายาม (โครงการ/งาน/กิจกรรมที่ทำ)

โรงเรียนได้ดำเนินการพัฒนาโดยจัดโครงการ/กิจกรรม ดังนี้

· โครงการพัฒนาสถานศึกษาให้มีการประกันคุณภาพภายในตามที่กำหนดในกฎกระทรวง

· ปรัชญา วิสัยทัศน์ พันธกิจ

· การประชุมคณะกรรมการบริหารโรงเรียน

· การจัดทำแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา ปีการศึกษา ๒๕๕๗ – ๒๕๕๙

· งานจัดทำแผนปฏิบัติการประจำปี

· การจัดทำข้อมูลสารสนเทศ

· คำสั่งแต่งตั้ง ผู้รับผิดชอบ และกำกับติดตาม

· บันทึกการประชุมครู

· แผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา

1. วิธีการพัฒนาคุณภาพตามมาตรฐานที่ ๘

โรงเรียนจัดทาการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา เพื่อรองรับการประเมินคุณภาพภายในและ

ภายนอก ตามแนวทางการติดตามระบบประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา ตามกฎกระทรวงว่าด้วยระบบ หลักเกณฑ์และวิธีการประกันคุณภาพการศึกษา พ.ศ.๒๕๕๓ โดยใช้หลักการมีส่วนร่วมของชุมชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยได้กำหนดให้มีรูปแบบเครื่องมือเก็บรวมข้อมูลตามระบบประกันภายในของโรงเรียน และเก็บข้อมูลประเมินคุณภาพการจัดการศึกษา จัดทำรายงานประจำปี เพื่อเสนอต่อคณะกรรมการสถานศึกษา กิจกรรมประกันคุณภาพดังกล่าว มุ่งเน้นให้โรงเรียนได้พบข้อเด่นข้อด้อย และพัฒนาคุณภาพผู้เรียน พัฒนาโรงเรียน ให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลเพิ่มขึ้นทุกปี

โรงเรียนได้จัดทำโครงสร้างการบริหารงาน มีคำสั่งมอบหมายงานและบุคลากรทุกคนมีส่วนร่วม ในการบริหารจัดการ จัดทำระบบข้อมูลสารสนเทศที่จำเป็นให้ครบถ้วน เพื่อการตัดสินใจบริหารจัดการให้มีประสิทธิภาพ

โรงเรียนจัดทำข้อกำหนดที่เกี่ยวกับคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียน โดยวิเคราะห์มาตรฐานการศึกษาระดับชาติ มาตรฐานการศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน มาตรฐานผู้เรียนตามหลักสูตรสถานศึกษา นโยบายและจุดเน้นของสำนักงานการศึกษาเอกชน อัตลักษณ์และเอกลักษณ์ของโรงเรียน โดยคำนึงถึงศักยภาพของผู้เรียน บริบทของโรงเรียนและของท้องถิ่น โดยผ่านความเห็นชอบของคณะกรรมการสถานศึกษา

การพัฒนาคุณภาพสถานศึกษาโรงเรียนจัดทำแผนกลยุทธ์ โดยศึกษาวิเคราะห์สภาพปัญหาและความต้องการจำเป็น กำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจ และเป้าหมายด้านต่างๆ โดยมีจุดเน้นที่สะท้อนคุณภาพความสำเร็จที่ชัดเจน เป็นรูปธรรมด้วยโครงการและกิจกรรมที่หลากหลาย รวมทั้งการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ใช้เทคนิคการสอนอย่างหลากหลาย และผู้เรียนได้ศึกษาแหล่งเรียนรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่นทั้งภายในและภายนอก โดยทุกฝ่ายมีส่วนร่วมในการจัดทำแผนกลยุทธ์ แผนปฏิบัติการประจำปี และปฏิทินปฏิบัติงาน มีการกำกับ ติดตามและรายงานผลการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการประจำปี

นอกจากนี้ โรงเรียนได้จัดทำระบบสารสนเทศให้เป็นหมวดหมู่ ถูกต้อง ครอบคลุม ทันสมัย และพร้อมใช้ โดยครอบคลุมภารกิจการจัดการบริหารงานครบทุกฝ่าย

2. ผลการพัฒนา

โรงเรียนมีโครงการ กิจกรรมที่สอดคล้องกับปรัชญา อัตลักษณ์ เอกลักษณ์ โดยผ่านการเห็นชอบ

ของคณะกรรมการบริหารสถานศึกษา จัดทาแผนพัฒนาคุณภาพที่แสดงแผนงาน โครงการ กิจกรรม วิธีการ งบประมาณและผู้รับผิดชอบอย่างชัดเจน มีการแต่งตั้งผู้รับผิดชอบดูแล ประเมิน แต่ละมาตรฐาน โดยมีผู้กำกับ ติดตาม ตรวจสอบคุณภาพและการพัฒนา เพื่อนามาปรับปรุงแก้ไขอย่างเป็นระบบและครบวงจร

3. แนวทางการพัฒนา

โรงเรียนควรดำเนินงานประกันคุณภาพภายในอย่างต่อเนื่อง ปรับปรุงเรื่องข้อมูลสารสนเทศให้ได้ข้อมูลอย่างรวดเร็วและสามารถนาข้อมูลไปปรับปรุงการดำเนินการได้ดีขึ้น วางแผนพัฒนาและจัดทำรายงานประจำปีเสนอคณะกรรมการสถานศึกษาและหน่วยงานต้นสังกัด

ด้านที่ ๓ มาตรฐานด้านคุณภาพการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้

มาตรฐานที่ ๙ สถานศึกษามีการสร้าง ส่งเสริม สนับสนุน ให้สถานศึกษาเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้

ตัวบ่งชี้

ระดับที่ได้

น้ำหนัก (คะแนน)

คะแนน

ที่ได้

๙.๑ เป็นแหล่งเรียนรู้เพื่อพัฒนาการเรียนรู้ของเด็กและบุคลากรในสถานศึกษา

๒.๕

๒.๕

๙.๒ มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันภายในสถานศึกษา ระหว่างสถานศึกษากับครอบครัว ชุมชน และองค์กรที่เกี่ยวข้อง

๒.๕

๒.๕

ผลรวมคะแนนมาตรฐานที่ ๙

ร่องรอยความพยายาม (โครงการ/งาน/กิจกรรมที่ทำ)

โรงเรียนได้ดำเนินการพัฒนาโดยจัดโครงการ/กิจกรรม ดังนี้

· โครงการพัฒนาโครงการพัฒนาสถานศึกษาให้มีการสร้างส่งเสริม สนับสนุนให้เป็นสังคม

แห่งการเรียนรู้

· การประชุมกรรมการสถานศึกษา

· กิจกรรมประชุมผู้ปกครอง

· งานจดหมายเวียนประจำสัปดาห์

· กิจกรรมสัมพันธ์ชุมชน

· การเชิญวิทยากร ,ปราชญ์ , ภูมิปัญญาท้องถิ่น

· โครงการพัฒนาแหล่งเรียนรู้

* งานพัฒนาและปรับปรุงอาคารสถานที่

* การจัดสภาพแวดล้อมใน โรงเรียน

· งานรักษาความปลอดภัยด้านอัคคีภัย

· กิจกรรมทัศนศึกษา

· กิจกรรมวอล์คแรลลี่

· งานห้องสมุดครู

· กิจกรรมสัมพันธ์ชุมชน

1. วิธีการพัฒนาคุณภาพตามมาตรฐานที่ ๙

โรงเรียนพัฒนาแหล่งเรียนรู้ภายในโรงเรียน ให้สอดคล้องกับการเรียนการสอน ในห้องคอมพิวเตอร์ มีเครื่องคอมพิวเตอร์ จำนวน ๒๐ เครื่อง เชื่อมต่อระบบอินเตอร์เน็ตได้ทุกเครื่อง ครูสามารถค้นคว้าหาความรู้ได้นักเรียนสามารถเรียนคอมพิวเตอร์ได้โดยมีครูที่มีความสามารถควบคุมดูแลและจัดการเรียนการสอนนักเรียน โรงเรียนมีห้องสมุดครู จัดหนังสือเพื่อการค้นคว้าสำหรับเป็นความรู้ประกอบการสอนอย่างเพียงพอต่อการใช้ของครู ห้องศูนย์สื่อ จัดเครื่องเล่นไว้สำหรับเด็กเป็นหมวดหมู่ตามมุมประสบการณ์ มีหนังสือนิทานสำหรับเด็กมากมาย และจัดสื่อการสอนสำหรับครูนำไปใช้ตามหน่วยการสอน

จัดให้มีมุมวิทยาศาสตร์ในห้องเรียน เพื่อการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ต่างๆดังกล่าวมากเพียงพอทุกปี มีการพัฒนาปรับปรุงตามระยะเวลาที่เหมาะสม เพื่อให้สามารถใช้จัดการเรียนรู้ได้อย่างดีตลอดเวลา

* ห้องเรียนทุกห้องเรียนในระดับชั้นอนุบาล ๑ -๓ ติดตั้งโทรทัศน์ เครื่องเล่น DVD

* ห้องเรียนทุกห้องเรียนในระดับชั้นอนุบาล ๑-๓ มีเครื่องเสียงใช้แผ่น DVD

* มีมุมสำหรับให้นักเรียนได้พักผ่อนก่อนเข้าแถวบริเวณลานเอนกประสงค์ชั้น ๑ ติดตั้งโทรทัศน์

เครื่องเล่น DVD

* มีสระว่ายน้ำ ขนาดกว้าง ๔ เมตร ยาว ๘ เมตร

* มีห้องบอล ขนาดกว้าง ๓ เมตร ยาว ๓ เมตร

* สนามเด็กเล่น มีเครื่องเล่นกลางแจ้ง ใช้ในการจัดกิจกรรม

* สนามจราจรจำลอง

* จัดแหล่งเรียนรู้ภายในโรงเรียนเพื่อให้เอื้อต่อการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน

• สวนหย่อม • สวนสมุนไพร • สวนหิน ดิน ทราย

• หุ่นจำลองรูปสัตว์ • มุมอาเซี่ยน

โรงเรียนดำเนินการสร้าง ส่งเสริม ช่วยเหลือ สนับสนุนและพัฒนาแหล่งเรียนรู้ภายในสถานศึกษาให้เป็นแหล่งเรียนรู้ที่ทันสมัย มีประโยชน์ เพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนใฝ่รู้ ใฝ่เรียน สามารถนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ได้อย่างเหมาะสม และส่งเสริมให้ผู้เรียนเกิดกระบวนการเรียนรู้จากแหล่งเรียนรู้ ทั้งภายในและภายนอกด้วยโครงการและกิจกรรมที่หลากหลาย มีการพัฒนาระบบการจัดการเรียนรู้ มีการถ่ายทอดความรู้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน ทั้งครู นักเรียน ผู้ปกครองและชุมชน

2. ผลการพัฒนา

จากการที่โรงเรียนได้ดำเนินการพัฒนา และมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างบุคลากรในสถานศึกษา กับครอบครัว ชุมชน และองค์กรที่เกี่ยวข้อง ทำให้นักเรียนมีพัฒนาการการเรียนรู้ที่ดียิ่งขึ้น การเรียนรู้มีความน่าสนใจเปลี่ยนบรรยากาศการเรียนรู้ให้แปลกใหม่ กระตุ้นความอยากรู้อยากเห็นและสร้างนิสัยการเรียนรู้ที่ดีขึ้น

3. แนวทางการพัฒนาในอนาคต

โรงเรียนจะพัฒนาดำเนินงานอย่างต่อเนื่องในเรื่องการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างบุคลากรในโรงเรียน ครอบครัว ชุมชนและองค์กรที่เกี่ยวข้อง มีเครื่องมือ สื่ออุปกรณ์ให้ครบครันมากยิ่งขึ้น ออกแบบการเรียนรู้ สำรวจ วางแผนให้นักเรียนได้ศึกษาแหล่งเรียนรู้นอกห้องเรียน ทั้งภายในและภายนอกให้มาก ครอบคลุมและชัดเจนยิ่งขึ้น

ด้านที่ ๔ มาตรฐานด้านอัตลักษณ์ของสถานศึกษา

มาตรฐานที่ ๑๐ การพัฒนาสถานศึกษาให้บรรลุเป้าหมายตามปรัชญา วิสัยทัศน์ และจุดเน้นการจัดการศึกษา

ปฐมวัย

ตัวบ่งชี้

ระดับที่ได้

น้ำหนัก (คะแนน)

คะแนน

ที่ได้

๑๐.๑ จัดโครงการ กิจกรรมพัฒนาเด็กให้บรรลุตามเป้าหมาย ปรัชญา วิสัยทัศน์ และจุดเน้นการจัดการศึกษาปฐมวัยของสถานศึกษา

๑๐.๒ ผลการดำเนินงานบรรลุตามเป้าหมาย

ผลรวมคะแนนมาตรฐานที่ ๑๐

ร่องรอยความพยายาม (โครงการ/กิจกรรมที่ทำ)

ปรัชญาโรงเรียน

สรรค์สร้างภูมิปัญญา พัฒนาสมวัย ใส่ใจคุณธรรม

๑. สรรค์สร้างภูมิปัญญา

- กิจกรรมเศรษฐกิจพอเพียง- กิจกรรมหนูรักภาษาไทย- กิจกรรมทัศนศึกษา

- กิจกรรมเกษตรกรน้อย- กิจกรรมภาษาพาสนุก- กิจกรรมครัวหรรษา

- กิจกรรมห้องสวย- กิจกรรมจิตรกรน้อย- กิจกรรมหนูรักษ์โลก

- กิจกรรมซ่อมเสริมการอ่าน - กิจกรรมบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย - กิจกรรมฉลาดคิดฉลาดทำ

- กิจกรรมการเรียนรู้รูปแบบโครงงาน- กิจกรรมรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่- กิจกรรมชมรม

๒. พัฒนาสมวัย

- กิจกรรมดื่มน้ำเพื่อสุขภาพ- กิจกรรมสานสัมพันธ์วันครอบครัว- กิจกรรมป้องกันอัคคีภัย

- กิจกรรมห้องเรียนเป็นเลิศ- กิจกรรมรณรงค์ป้องกันโรคติดต่อ - กิจกรรมเด็กกรณีพิเศษ

- กิจกรรมเวทีนี้ของหนู- กิจกรรมยามเช้า- กิจกรรมกีฬา�