34
เหตุผลกับภาษา วิชาภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีท่ ๔ ภาษาไทยกับครูพี่ตี่ตีอาจารย์พีระเสก บริสุทธิ์บัวทิพย

เหตุผลกับภาษา วิชาภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔digitalschool.club/digitalschool/thai2_4_1/thai8_2/paper/1.pdf ·

  • Upload
    others

  • View
    8

  • Download
    0

Embed Size (px)

Citation preview

เหตุผลกับภาษา วิชาภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔

ภาษาไทยกับครูพี่ตี่ตี๋ – อาจารย์พีระเสก บริสุทธิ์บัวทิพย์

ภาษาไทยกับครูพี่ตี่ตี๋ – อาจารย์พีระเสก บริสุทธิ์บัวทิพย์

เมื่อได้เข้าใจในเรื่องของวิธีคิดและบทบาทของภาษาในการพัฒนาความคิดมาแล้ว เรื่องที่ส าคัญอันเกี่ยวเนื่องกับวิธีคิด อีกเรื่องหนึ่งคือ เรื่องของเหตุผลและความเกี่ยวข้องระหว่างเหตุผลกับการใช้ภาษา มนุษย์เท่านั้นที่สามารถใช้เหตุผลและพัฒนาสมรรถภาพการใช้เหตุผลของตนได้ โดยอาศัยสติปัญญาความรู้ และความเข้าใจในหลักความจริงต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เมื่อมนุษย์รู้จักใช้เหตุผล มนุษย์ก็จะตัดสินใจ หรือให้ข้อสรุปเกี่ยวกับเรื่องต่างๆ ได้ถูกต้อง เหมาะสม

ภาษาไทยกับครูพี่ตี่ตี๋ – อาจารย์พีระเสก บริสุทธิ์บัวทิพย์

การที่มนุษย์จะสามารถพัฒนาสมรรถภาพการใช้เหตุผลของตนได้นั้นจ าเป็นต้องมีภาษาเป็นเครื่องมือที่ส าคัญยิ่ง ทั้งนี้ เพราะกระบวนการใช้เหตุผลส่วนมากจะมีขั้นตอนต่อเนื่องยืดยาว ต้องบันทึกไว้เป็นระยะๆ ไป โดยอาศัยภาษาเป็นเครื่องช่วยบันทึก ทั้งโดยลายลักษณ์อักษร โดยวาจา หรือคิดอยู่ในใจ

ภาษาไทยกับครูพี่ตี่ตี๋ – อาจารย์พีระเสก บริสุทธิ์บัวทิพย์

ค า เหตุผล หมายถึงอะไร ค า เหตุผล ถือว่าเป็นหนึ่งค า มิได้แยกเป็นเหตุ (สาเหตุ) ค าหนึ่ง และ ผล (ผลลัพธ์) อีกค าหนึ่ง แต่หมายถึง หลักทั่วไป พื้นฐาน กฎเกณฑ์ และข้อเท็จจริง ซึ่งท าหน้าที่รองรับข้อสรุป ค าว่า ข้อสรุป นี้รวมไปถึงข้อวินิจฉัย ข้อตัดสินใจ หรือข้อยุติเกี่ยวกับเรื่องใดเรื่องหนึ่งข้อสรุปที่มีเหตุผลรองรับจะมีความหนักแน่น และน่าเชื่อถือ

ภาษาไทยกับครูพี่ตี่ตี๋ – อาจารย์พีระเสก บริสุทธิ์บัวทิพย์

แท้ที่จริง คนเราใช้เหตุผลอยู่เป็นนิจ ขอให้สังเกตข้อความแต่ละข้อต่อไปนี้ซึ่งล้วนแต่เป็นการใช้เหตุผลตามปกตินั่นเอง เช่น แผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นหลายระลอกในภาคกลางของประเทศ ท าให้ประชาชนพากันตื่นกลัวมาก เพราะแผ่นดินไหวไม่ค่อยจะเกิดขึ้นบ่อยนักภูมิภาคนี้ ในตัวอย่างข้างต้นนี้ ข้อความที่พิมพ์ตัวเอน คือ เหตุผล ส่วนที่พิมพ์ตัวธรรมดา คือ ข้อสรุป

ภาษาไทยกับครูพี่ตี่ตี๋ – อาจารย์พีระเสก บริสุทธิ์บัวทิพย์

ในการแสดงเหตุผลทั้งการพูดและการเขียน ถ้าเราจะแสดงออกแต่เฉพาะเหตุผลอย่างเดียว จะไม่สามารถสื่อความหมาย ได้ชัด จ าเป็นต้องแสดงข้อสรุปที่เหตุผลนั้นรองรับหรือสนับสนุนด้วย จึงจะท าให้เกิดการสื่อสารขึ้นได้โดยสมบูรณ์ และถ้าแสดงแต่ข้อสรุปโดยละเหตุผล ก็เท่ากับเป็นการกล่าวออกไปโดยไม่มีข้อรองรับหรือสนับสนุน ความน่าเชื่อถือ ก็จะลดน้อยลงมาก หรืออาจไม่ได้รับความเชื่อถือเลยก็ได ้

โครงสร้างของการแสดงเหตุผล

ภาษาไทยกับครูพี่ตี่ตี๋ – อาจารย์พีระเสก บริสุทธิ์บัวทิพย์

ตัวอย่าง ๑. โดยที่ข้าพเจ้าได้ใช้ความพยามยามมาหลายครั้งหลายหนแล้วที่จะเอาชนะอุปสรรคนี้ให้จงได้ ๒. เราจึงตัดสินใจว่าในฤดูร้อนที่จะมาถึงนี้ เราพักอยู่กับบ้านเห็นจะดีกว่า

จะรู้สึกทันทีว่า ความในข้อ ๑. ยังไม่อาจสื่อความหมายได้โดยสมบูรณ์ น่าจะต้องมีข้อสรุปอะไรสักอย่างหนึ่งตามมา ในข้อ ๒. จะต้องมีข้อความช่วงแรกที่ขาดหายไป จึงกล่าวได้ว่า โครงสร้างของการแสดงเหตุผลจะต้องประกอบด้วย (๑) เหตุผล หรือจะเรียกว่าข้อรองรับ หรือข้อสนับสนุนก็ได้ และ (๒) ข้อสรุป

ภาษาไทยกับครูพี่ตี่ตี๋ – อาจารย์พีระเสก บริสุทธิ์บัวทิพย์

ภาษาที่ใช้ในการแสดงเหตุผลมีข้อควรสังเกตดังนี้ ๑. ในการแสดงเหตุผลมักต้องใช้สันธานที่จ าเป็นบางค า เป็นต้นว่า จึง เพราะ ดังนั้น...จึง เพราะว่า เพราะฉะนั้น เพราะ...จึง เพราะว่า...เพราะฉะนั้น ก็เลย (ระดับดันเอง) โดยที่...จึง ก็

ภาษาที่ใช้ในการแสดงเหตุผล

ภาษาไทยกับครูพี่ตี่ตี๋ – อาจารย์พีระเสก บริสุทธิ์บัวทิพย์

ตัวอย่าง เหตุผล ข้อสรุป วัยรุ่นต้องการความเข้าใจจากผู้ใหญ่ ผู้ใหญ่จึงควรให้เวลาพูดคุย รับฟังเรื่องราวของวัยรุ่นบ้าง

วัยรุ่นต้องการความเข้าใจจากผู้ใหญ ่

ผู้ใหญ่จึงควรให้เวลาพูดคุยรับฟังเรื่องราวของวัยรุ่นบ้าง

ภาษาไทยกับครูพี่ตี่ตี๋ – อาจารย์พีระเสก บริสุทธิ์บัวทิพย์

๒. ในการแสดงเหตุผล บางครั้งไม่ต้องใช้ค าสันธาน เพียงแต่เรียบเรียงข้อความโดยวางส่วนที่เป็นเหตุผลและส่วนที่เป็นข้อสรุปไว้ให้เหมาะสม ข้อความนั้นก็จะเป็นการแสดงเหตุผลอยู่ในตัว เช่น ว่านกระถางนี้ฉันปลูกมากับมือ ฉันจะไม่ยอมขายให้ใครเป็นอันขาด ข้อความนี้ วรรคแรกคือเหตุผล และวรรคหลังคือข้อสรุป

ภาษาไทยกับครูพี่ตี่ตี๋ – อาจารย์พีระเสก บริสุทธิ์บัวทิพย์

๓. ในการแสดงเหตุผล บางทีเราอาจใช้กลุ่มค าโดยชัดแจ้งเพื่อบ่งชี้ว่าเป็นเหตุผลหรือเป็นข้อสรุป ๔. ในการใช้ภาษาแสดงเหตุผล บางทีผู้ส่งสารต้องการใช้เหตุผลหลายๆ ข้อประกอบกัน เพื่อเพิ่มน้ าหนักให้แก่ข้อสรุปของตน ในกรณีเช่นนี้อาจแยกแยะเหตุผลเป็นข้อๆ ไป ตามลีลาหรือท่วงท านองการเขียนของแต่ละคน เพื่อช่วยให้เข้าใจได้ง่ายขึ้น

ภาษาไทยกับครูพี่ตี่ตี๋ – อาจารย์พีระเสก บริสุทธิ์บัวทิพย์

แม้ว่ามนุษย์จะสามารถแสดงเหตุผลสลับซับซ้อนหรือยืดยาวในเรื่องต่างๆ ได้นานัปการ เราอาจแบ่ง การแสดงเหตุผลได้เป็น ๒ วิธี คือการแสดงเหตุผลจากส่วนรวมไปหาส่วนย่อย หรือที่เรียกเป็นศัพท์เฉพาะทางวิชาการ ว่า วิธีนิรนัย และการแสดงเหตุผลจากส่วนย่อยไปหาส่วนรวม หรือที่เรียกเป็นศัพท์เฉพาะทางวิชาการว่า วิธีอุปนัย

วิธีแสดงเหตุผลและการอนุมานเหตุและผล

ภาษาไทยกับครูพี่ตี่ตี๋ – อาจารย์พีระเสก บริสุทธิ์บัวทิพย์

การอนุมานด้วยวิธีนิรนัย ตัวอย่างที่ ๑ มนุษย์ทั้งปวงเป็นผู้ต้องการปัจจัยสี่ ฉันเป็นมนุษย์ เพราะฉะนั้น ฉันเป็นผู้ต้องการปัจจัยสี่ การแสดงตามตัวอย่างนี้ ส่วนที่เป็นเหตุผล คือ มนุษย์ทั้งปวงเป็นผู้ต้องการ ปัจจัยสี่ และฉันเป็นมนุษย์ ส่วนที่เป็นข้อสรุป คือ ฉันเป็นผู้ที่ต้องการปัจจัยสี ่

ภาษาไทยกับครูพี่ตี่ตี๋ – อาจารย์พีระเสก บริสุทธิ์บัวทิพย์

ข้อความ มนุษย์ทั้งปวงเป็นผู้ต้องการปัจจัยสี่ เป็นหลักความจริงส่วนรวม ไม่ยกเว้นผู้ใดเลย ข้อความที่ตามมาคือ ฉันเป็นมนุษย์ เป็นกรณีเฉพาะกรณีหนึ่ง ส่วนข้อความ เพราะฉะนั้นฉันเป็นผู้ต้องการปัจจัยสี่ ก็เป็นกรณีเฉพาะอันเป็นข้อความสรุปที่ได้มาจากข้อความทั้งสองที่กล่าวมาแล้ว การใช้ภาษาแสดงเหตุผล โดยทั่วไปแล้วจะไม่เขียนเต็มรูปตามตามตัวอย่างข้างต้น แต่กล่าวเพียงว่า มนุษย์ทั้งปวงต้องการปัจจัยสี่ เพราะฉะนั้นฉันต้องการปัจจัยสี่

ภาษาไทยกับครูพี่ตี่ตี๋ – อาจารย์พีระเสก บริสุทธิ์บัวทิพย์

การแสดงเหตุผลตามตัวอย่างที่ยกมาอาจเขียนเป็นแผนภาพได้ดังนี้ ตัวอย่างที่ ๑

ภาษาไทยกับครูพี่ตี่ตี๋ – อาจารย์พีระเสก บริสุทธิ์บัวทิพย์

การอนุมานด้วยวิธีอุปนัย วิธีนี้ ใช้ข้ อมูลและข้อ เท็จจริ งต่ างๆ เป็นหลักฐานหรือข้อสนับสนุนเพื่อให้ได้มาซึ่งข้อสรุปที่เป็นหลักหรือกฎเกณฑ์ที่ทั่วๆ ไป โดยปกติข้อมูลและข้อเท็จจริงมีอยู่จ ากัด ข้อสรุปย่อมไม่แน่นอนตายตัวเสมอไป ข้อสรุปที่เกิดจากการอนุมานด้วยวิธีอุปนัยต่างกับข้อสรุปที่ได้จากการอนุมานด้วยวิธีนิรนัยในประการส าคัญตรงที่ข้อสรุปด้วยวิธีนิรนัย ต้องเป็นเช่นนั้น ส่วนข้อสรุปโดยวิธีอุปนัย น่าจะเป็นเช่นนั้น

ภาษาไทยกับครูพี่ตี่ตี๋ – อาจารย์พีระเสก บริสุทธิ์บัวทิพย์

ตัวอย่างที่ 1 ในช่วงเวลาก่อนสงกรานต์และระหว่างสงกรานต์มักจะมีพายุพัดแรง และบางทีก็มีฝนตกหนัก ที่เราเรียกกันว่า พายุสงกรานต์ ปรากฏการณ์เช่นนี้มักจะเกิดขึ้นเป็นประจ าทุกปี ซึ่งอาจสรุปได้ว่าถึงสงกรานต์ทีไรจะมีพายุทุกท ีการสรุปเช่นนี้เรียกได้ว่าเป็นการอนุมานด้วยวิธีอุปนัย เพราะอาจไม่เป็นเช่นน้ันเสมอไป

ภาษาไทยกับครูพี่ตี่ตี๋ – อาจารย์พีระเสก บริสุทธิ์บัวทิพย์

ตัวอย่างที่ 2 ผมเชื่อว่าหากเพื่อนๆ ได้ไปชมภาพยนตร์เรื่องสิทธารถะแล้ว คงจะได้รับความพึงพอใจมาก เพราะผมเองแล้วเพื่อนๆ อีกหลายคนได้ไปชมมาแล้ว เห็นว่าเป็นภาพยนตร์ที่สนุก ให้ความรู้ น่าสนใจ คุุุมค่าที่ได้ไปชม การสรุปเช่นนี้ สรุปจากข้อมูลจ านวนหนึ่ง แต่เป็นข้อสรุปที่กล่าวรวมครอบคลุมทั่วไป จึงเรียกได้ว่าเป็นการการอนุมานด้วยวิธีอุปนัยเพราะข้อสรุปเพียงแต่น่าจะเป็นเช่นน้ัน

ภาษาไทยกับครูพี่ตี่ตี๋ – อาจารย์พีระเสก บริสุทธิ์บัวทิพย์

ในการแสดงเหตุผลโดยการอนุมานด้วยวิธีอุปนัยนี้ นอกจากจะใช้กรณีเฉพาะต่างๆ แล้วบางครั้งเราอาจใช้วิธีการอีกวิธีหนึ่ง ที่เรียกว่า การใช้แนวเทียบ เพื่อหาข้อสรุปได้เช่นกัน ตัวอย่าง นักเรียนคนหนึ่งเคยสมัครสอบแข่งขันเพื่อเข้าศึกษาในวิทยาลัยเทคนิคแห่งหนึ่งและประสบผลส าเร็จมาแล้ว นักเรียนคนนั้นอาจน าประสบการณ์ของตนไปเป็นแนวเทียบ เพื่อแนะน าหรือให้ความสะดวกแก่เพื่อนนักเรียนรุ่นน้องหรือใครก็ตามได้ว่า ควรจะเตรียมตัวอย่างไรจึงจะประสบความส าเร็จในการสอบแข่งขันเช่นเดียวกับตน ข้อแนะน านั้นแท้ที่จริง ก็คือข้อสรุปที่อาศัยแนวเทียบ

ภาษาไทยกับครูพี่ตี่ตี๋ – อาจารย์พีระเสก บริสุทธิ์บัวทิพย์

กล่าวคือ เป็นการเทียบกรณีของนักเรียนผู้นั้นกับกรณีของนักเรียนรุ่นน้องโดยถือหลักว่าทั้งสองคนนี้อยู่ในภาวะคล้ายๆ กันคือมีจุดมุ่งหมายในชีวิตใกล้เคียงกัน มีพื้นความรู้ไม่ต่างกันนัก เมื่อคนหนึ่งใช้วิธีการใดที่ท าให้สอบแข่งขันได้ส าเร็จ หากอีกคนหนึ่งใช้วิธีนั้นก็น่าจะประสบความส าเร็จด้วย ขอให้สังเกตค า น่าจะ ที่ได้ก ากับไว้ เพื่อแสดงว่าข้อสรุปนั้นไม่จ าเป็นต้องเป็นเช่นนั้นเสมอไป อันเป็นลักษณะของข้อสรุปจากการอนุมานด้วยวิธีอุปนัยนั่นเอง

ภาษาไทยกับครูพี่ตี่ตี๋ – อาจารย์พีระเสก บริสุทธิ์บัวทิพย์

ค า เหตุ หมายถึง สิ่งที่เป็นต้นก าเนิด หรือสิ่งที่ท าให้เกิดสิ่งอื่นตามมา อาจเป็นปรากฏการณ์อย่างใดอย่างหนึ่งที่เมื่อเกิดขึ้นหรือมีแล้ว จะท าให้เกิดปรากฎการณ์อื่นตามมา เหตุอาจเป็นสิ่งเร้าที่ท าให้เกิดปฏิกิริยาตอบสนอง อาจเป็นการกระท าที่ท าให้ผู้กระท าได้รับผลตอบสนอง ไม่ว่าจะเป็นในทางที่ดีหรือในทางไม่ดีดี สัจธรรมข้อหนึ่งคือสิ่งทั้งหลายทั้งปวงย่อมเกิดแต่เหตุ ค า เหตุ นั้นอาจเรียกว่า สาเหตุ หรือ มูลเหตุ ก็ได้

เหตุและผล

ภาษาไทยกับครูพี่ตี่ตี๋ – อาจารย์พีระเสก บริสุทธิ์บัวทิพย์

ค า ผล ก็คือ สิ่งที่เกิดตามมาจากเหตุ ดังที่กล่าวแล้ว แต่ขอให้สังเกตว่า ผลของเหตุอย่างหนึ่งอาจกลายไปเป็นเหตุของผลอย่างอื่นที่จะติดตามมาภายหลัง และอาจต่อเนื่องกันไปโดยไม่มีที่สิ้นสุดก็ได้ ค า ผล มีความหมายเช่นเดียวกับค า ผลที่ได้ หรือ ผลลัพธ์น่ันเอง

เหตุและผล

ภาษาไทยกับครูพี่ตี่ตี๋ – อาจารย์พีระเสก บริสุทธิ์บัวทิพย์

การอนุมานด้วยวิธีนี้อาจจัดได้ว่าเป็นการอนุมานด้วยวิธีอุปนัย เพราะข้อสรุปที่ได้อาจไม่ใช่ข้อสรุปที่ต้องเป็นจริงเสมอไป อาจมีเงื่อนไขต่างๆ อีกมากมายซึ่งเรายังค้นไม่พบ การอนุมานสาเหตุและผลที่สัมพันธ์กัน แบ่งได้ 3 ประเภท คือ 1. การอนุมานจากเหตุไปหาผล 2. การอนุมานจากผลไปหาเหต ุ3. การอนุมานจากผลไปหาผล

การอนุมานเหตุและผลที่สัมพันธ์กัน

ภาษาไทยกับครูพี่ตี่ตี๋ – อาจารย์พีระเสก บริสุทธิ์บัวทิพย์

การอนุมานจากเหตุไปหาผล การอนุมานด้วยวิธีนี้เป็นการพิจารณาปรากฏการณ์อย่างหนึ่ง โดยอาศัยความรู้และความเข้าใจที่มีอยู่หาข้อสรุปว่าปรากฏการณ์นั้นจะท าให้เกิดผลลัพธ์อะไรตามมา ตัวอย่าง ถ้าเราเห็นว่านักกีฬาของเราฝึกซ้อมด้วยความตั้งใจอย่างสม่ าเสมอและจริงจัง เราก็อนุมานเป็นข้อสรุปได้ว่า นักกีฬาของเราคงจะต้องได้รับชัยชนะในการแข่งขันที่จะมาถึงครั้งต่อไป

ภาษาไทยกับครูพี่ตี่ตี๋ – อาจารย์พีระเสก บริสุทธิ์บัวทิพย์

การอนุมานจากผลไปหาเหต ุ การอนุมานด้วยวิธีนี้ เป็นการพิจารณาปรากฏการณ์หรือเหตุการณ์อย่างหนึ่ง โดยอาศัยความรู้และความเข้าใจที่มีอยู่ สืบสาวไปหาเหตุของปรากฏการณ์นั้น ตัวอย่างผลการสอบของนักเรียนทั้งชั้นไม่เป็นที่พอใจแก่ตัวนักเรียนเองและแก่ครูผู้สอน เราก็อาจอนุมานข้อสรุปอันเป็นเหตุได้ว่า นักเรียนส่วนใหญ่คงตั้งอยู่ในความประมาท ไม่เอาใจใส่ในการเรียนเท่าที่ควร ทั้งทั้งที่ข้อสอบเข้าไม่ได้ยากเกินไปนัก

ภาษาไทยกับครูพี่ตี่ตี๋ – อาจารย์พีระเสก บริสุทธิ์บัวทิพย์

การอนุมานจากผลไปหาผล การอนุมานด้วยวิธีนี้เป็นการพิจารณาปรากฏการณ์หรือเหตุการณ์อย่างหรือว่าเป็นผลของเหตุใดเหตุหนึ่งเสียก่อน แล้วพิจารณาต่อไปว่าเหตุนั้นอาจก่อให้เกิดคนอื่นใดได้อีกบ้าง เช่น ปรากฏว่านักเรียนส่วนใหญ่สอบตกวิชาคณิตศาสตร์ ปรากฏการณ์นี้เราอาจอนุมานได้ว่า มีเหตุจากนักเรียนขาดความรู้ ความเข้าใจ มันเอาใจใส่ในการเรียนคณิตศาสตร์ให้เพียงพอ การไม่เข้าใจคณิตศาสตร์เพียงพอนี้เองเป็นเหตุให้นักเรียนรอยสอบตกวิชาฟิสิกส์ไปด้วย การสรุปว่านักเรียนจะสอบวิชาฟิสิกส์ตก โดยอาศัยผลจากการที่นักเรียนสอบวิชาคณิตศาสตร์ตกเช่นนี้ เรียกว่าเป็นการอนุมานจากผลไปหาผล

ภาษาไทยกับครูพี่ตี่ตี๋ – อาจารย์พีระเสก บริสุทธิ์บัวทิพย์

การเข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างเหตุและผลเป็นสมรรถภาพส าคัญยิ่งที่ทุกคนควรจะพัฒนาโดยต่อเนื่องตลอดชีวิต เพื่อให้รู้จักพิจารณาเหตุ สังเกตผล จะได้ท าสิ่งต่างๆได้อย่างมีระเบียบ สามารถแก้ปัญหาได้ตรงจุด และวางโครงการต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ภาษาไทยกับครูพี่ตี่ตี๋ – อาจารย์พีระเสก บริสุทธิ์บัวทิพย์

แบบฝึกหัดทบทวน

ภาษาไทยกับครูพี่ตี่ตี๋ – อาจารย์พีระเสก บริสุทธิ์บัวทิพย์

๑. ข้อสรุปในข้อใดมีลักษณะเป็นการคาดคะเน ๑. การเกิดแผ่นดินไหวขึ้นหลายระลอกในภาคกลางของประเทศญี่ปุ่นครั้งนั้นผู้คนพากันตื่นกลัวมาก ๒. นับวันการท ามาหากินของประชาชนก็จะรุ่งเรืองยิ่งขึ้นทุกท ี๓. ท่านไม่ต้องหวาดวิตกต่อภัยคุกคามใดๆทั้งสิ้น ธรรมะจะรักษาท่านโดยแน่แท ้๔. หน้าร้อนนี้น่าจะไปเที่ยวภูกระดึงกัน คงจะไม่ผิดหวังเป็นแน ่

ภาษาไทยกับครูพี่ตี่ตี๋ – อาจารย์พีระเสก บริสุทธิ์บัวทิพย์

๒.“รูปปั้นไม่มีทางเหมือนคนได้เลยเพราะมันไม่มีชีวิต แต่คนเหมือนรูปปั้น เพราะบางทีคนคล้ายซาก ไม่มีชีวิต ไม่มีจิตใจ” ข้อความข้างต้นมีการแสดงเหตุผลกี่ตอน ๑. ๑ ตอน ๒. ๒ ตอน ๓. ๓ ตอน ๔. ๔ ตอน

ภาษาไทยกับครูพี่ตี่ตี๋ – อาจารย์พีระเสก บริสุทธิ์บัวทิพย์

๓.“ฉันไม่ยอมแพ้ต่ออุปสรรคใดๆทั้งสิ้นเป็นอันขาด ฉันได้รับการสั่งสอน อบรมอยู่เป็นนิจจากคุณพ่อคุณแม่ให้สู้เสมอ” ข้อสรุปในข้อความข้างต้นมีลักษณะตรงกับข้อใด ๑. ข้อวินิจฉัย ๒. ข้อสังเกต ๓. ข้อตัดสินใจ ๔. การคาดคะเน

ภาษาไทยกับครูพี่ตี่ตี๋ – อาจารย์พีระเสก บริสุทธิ์บัวทิพย์

๔.ข้อสรุปของนิรนัยและอุปนัยต่างกันหรือไม่ อย่างไร ๑. ไม่ต่างกัน ข้อสรุปของทั้งนิรนัยและอุปนัยต้องเป็นเช่นนั้น ๒. ไม่ต่างกัน ข้อสรุปของทั้งนิรนัยและอุปนัยน่าจะเป็น เช่นนั้น ๓. ต่างกัน ข้อสรุปของนิรนัยต้องเป็นเช่นนั้นข้อสรุปของ อุปนัยน่าจะเป็นเช่นนั้น ๕. ต่างกัน ข้อสรุปของนิรนัยน่าจะเป็นเช่นนั้นข้อสรุปของ อุปนัยต้องเป็นเช่นนั้น

ภาษาไทยกับครูพี่ตี่ตี๋ – อาจารย์พีระเสก บริสุทธิ์บัวทิพย์

๕.“มนุษย์ทุกคนต้องคนต้องตาย ลิงต้องตาย ลิงจึงเป็นคน” ข้อสรุปในการอนุมานข้างต้นผิดพลาดเพราะเหตุใด ๑. สมมติฐานบกพร่อง ๒. สาเหตุไม่สัมพันธ์กับผลลัพธ ์ ๓. วิธีการอนุมานมาสู่ข้อสรุปบกพร่อง ๔. ข้อสนับสนุนไม่เพียงพอ

– อาจารย์พีระเสก บริสุทธิ์บัวทิพย ์

ภาษาไทยกับครูพี่ตี่ตี๋