570
เอกสารเผยแพร บทความการศึกษา คนควาดวยตนเอง ปที3 ฉบับที4 เดือนมกราคม 2556 บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชธานี

เอกสารเผยแพรgraduate.rtu.ac.th/pdf/IS.01.56.pdf · เอกสารเผยแพร บทความการศึกษา ค นคว าด วยตนเอง

  • Upload
    others

  • View
    5

  • Download
    0

Embed Size (px)

Citation preview

  • เอกสารเผยแพรบทความการศึกษาคนควาดวยตนเอง

    ปท่ี 3 ฉบับที่ 4 เดือนมกราคม 2556 บัณฑิตวิทยาลยั มหาวิทยาลัยราชธาน ี

  • บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลยัราชธาน ี

    กเอกสารเผยแพรบ่ทความการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง ระดับบัณฑิตศึกษา ฉบับเดือนมกราคม 2556 www.rtu.ac.th | Ratchathani University

    สารจากคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย

    ในปัจจุบัน สถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษามีบทบาทอย่างกว้างขวาง ทั้งการถ่ายทอดความรู้ การส่งเสริมจริยธรรม การบริการวิชาการแก่สังคม และการวิจัย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการวิจัยในระดับบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชธานีได้ตระหนักถึงบทบาทดังกล่าว และได้สนับสนุนคณาจารย์และนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาให้ทําวิจัยอย่างต่อเนื่อง บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชธานี จึงได้จัดทําเอกสารเผยแพร่บทความการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง ระดับบัณฑิตศึกษา เพ่ือเผยแพร่องค์ความรู้ที่เกิดจากผลงานการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองของนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา ที่น่าสนใจ มีคุณค่า เป็นประโยชน์ต่อการคันคว้าและนําไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนาประเทศ บัณฑิตวิทยาลัย ขอขอบคุณคณะทํางานที่ร่วมใจกันจัดเตรียมเอกสารส่ิงพิมพ์ที่มีประโยชน์เพ่ือเผยแพร่ในวงกว้างต่อไป รองศาสตราจารย์ ดร.จรูญ คูณมี คณบดีบัณฑิตวิทยาลัย

  • บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลยัราชธาน ี

    ข เอกสารเผยแพรบ่ทความการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง ระดับบัณฑิตศึกษา ฉบับเดือนมกราคม 2556

    Ratch

    athan

    i Univ

    ersity

    | www

    .rtu.ac

    .th

    คณะกรรมการพิจารณาบทความการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง (Peer Review)

    1. รองศาสตราจารย์ ดร.จรูญ คูณมี 2. รองศาสตราจารย์ ดร.พิพัฒน์ ตั้งสืบกุล 3. รองศาสตราจารย์ ดร.สุภาพ บุญไชย 4. รองศาสตราจารย์ ดร.วิมลรัตน์ สุนทรโรจน์ 5. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วีระ สุภากิจ 6. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ประสิทธิ์ น่ิมจินดา 7. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ จํารัส มีกุศล 8. ดร.สุรางคนา มัณยานนท์ 9. ดร.สิริรัตน์ เกษประทุม 10. ดร.อดุลศักด์ิ สุนทรโรจน์ 11. ดร.สุวรรณ วลัยเสถียร 12. ดร.ชัชวาลย์ คัมภีรวัฒน์ 13. ดร.ชาญยุทธ หาญชนะ

  • บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลยัราชธาน ี

    คเอกสารเผยแพรบ่ทความการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง ระดับบัณฑิตศึกษา ฉบับเดือนมกราคม 2556 www.rtu.ac.th | Ratchathani University

    สารบัญ

    หน้า ศึกษาการดําเนินงานบริหารวิชาการ โรงเรียนบ้านสร้างแก้ว อําเภอพิบูลมังสาหาร สังกัดสํานักงานเขตพ้ืนที่การศึกษาอุบลราชธานี เขต 3 กฤษณา ทองเทพ 1

    การพัฒนาครูผู้สอนด้านการทําวิจัยในชั้นเรียน โรงเรียนบ้านม่วง อําเภอนาจะหลวย สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาอุบลราชธานี เขต 5 กัมปนาท บุตรดา 8

    การพัฒนาครูด้านการทําวิจัยในชั้นเรียน โรงเรียนบ้านทุ่งเงินโนนเจริญ อําเภอนาจะหลวย สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาอุบลราชธานี เขต 5 เกียรติศักดิ์ บ่อสุข 18

    การศึกษาความพึงพอใจของบุคลากรที่มีต่อการบริหารงานกลุ่มงานบริหาร ท่ัวไปโรงเรียนนางาม(ผลแก้วอุปถัมภ)์ สํานักงานเขตพื้นที่การศกึษาอุบลราชธานี เขต 3 คมเพชร แก้วศรี 28

    ความพึงพอใจของผู้ปกครองนักเรียนที่มีต่อการจัดการศึกษาระดับปฐมวัย ของโรงเรียนเทศบาลบ้านหนองตาโผ่นมิตรภาพที่ 5 กองการศึกษาเทศบาลวารินชําราบ จังหวัดอุบลราชธานี คํานวณ เทพสทิธา 34

    การพัฒนาครูด้านการทําวิจัยในชั้นเรียน โรงเรียนสมเด็จพระราชชนนี อําเภอนาจะหลวย สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาอุบลราชธานี เขต 5 คําศรี ปฐมชาต ิ 41

    การพัฒนาครูด้านการทําวิจัยในชั้นเรียนโรงเรียนบ้านหนองผือโปร่งคํา อําเภอสําโรง สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาอุบลราชธานี เขต 4 จรัส พันธ์เพ็ง 51

    ศึกษาบทบาทผู้ปกครองในการส่งเสริมการเรียนรู้ของนักเรียนโรงเรียนโคกสว่างคุ้มวิทยานุสรณ์ อําเภอสําโรง สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาอุบลราชธานี เขต 4 จุไรลักษณ์ ทองไสล 59

    การศึกษาความพึงพอใจของผู้ปกครองนักเรียนที่มีต่อการบริหารโรงเรียนสามัคคีวิทยาคาร อําเภอเมืองอุบลราชธานี สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาอุบลราชธาน ี เขต 1 ชวนพิศ มีมา 67

  • บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลยัราชธาน ี

    ง เอกสารเผยแพรบ่ทความการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง ระดับบัณฑิตศึกษา ฉบับเดือนมกราคม 2556

    Ratch

    athan

    i Univ

    ersity

    | www

    .rtu.ac

    .th

    สารบัญ หน้า การพัฒนาการปฏิบัติงานอาคารสถานที่และสิ่งแวดล้อมในโรงเรียนบ้าน หนองหว้า อําเภอเมือง สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาอุบลราชธานีเขต 1 ชุมพล ศุภดล 73

    ศึกษาการถ่ายโอนสถานศึกษาขั้นพื้นฐานไปสังกัดองค์การบริหารส่วนตําบลไร่ใต้ อําเภอพิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี เด่นดาว รสจันทร์ 86

    การพัฒนาครูด้านการวิจัยในชั้นเรียน โรงเรียนบ้านตามุย อําเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธาน ี สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาอุบลราชธานี เขต 3 ทนงศักดิ์ ถิ่นขาม 94

    บทบาทของผู้บริหารโรงเรียนในการส่งเสริมการทําวิจัยในชั้นเรียนของครูผู้สอน สงักัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาอุบลราชธานี เขต 4 ทนงศักดิ์ ราชรินทร์ 103

    ศึกษาปัญหาการบริหารงานวิชาการในโรงเรียนบ้านหนองเงินฮ้อย อําเภอเดชอุดม สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาอุบลราชธานี เขต 5 ทวี แสงสุข 112

    การศึกษาความพึงพอใจของบุคลากรที่มีต่อการบริหารงานกลุ่มงานบริหาร ท่ัวไป โรงเรียนบ้านสร้างถ่อ สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาอุบลราชธาน ีเขต 3 โทน มากดี 124

    ศึกษาบทบาทของผู้ปกครองนักเรียนในการส่งเสริมการเรียนรู้ของนักเรียนโรงเรียนบ้านโพนเมือง อําเภอสําโรงสํานักงานเขตพ้ืนที่การศึกษาอุบลราชธานี เขต 4 นราทิพย์ เวชกาล 130

    ศึกษาความพึงพอใจของผู้ปกครองนักเรียนที่มีต่อการบริหารโรงเรียนสมสะอาดสวนฝ้าย อําเภอเดชอุดม สังกัดสาํนักงานเขตพื้นที่การศึกษาอุบลราชธานี เขต 5 บริสุทธิ์ บุญขจร 138

    การพัฒนาครูด้านการทําวิจัยในชั้นเรียน โรงเรียนบ้านโคกเทียม อําเภอนาจะหลวย สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาอุบลราชธานี เขต 5 บัญชา รุกขะวัน 144

  • บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลยัราชธาน ี

    จเอกสารเผยแพรบ่ทความการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง ระดับบัณฑิตศึกษา ฉบับเดือนมกราคม 2556 www.rtu.ac.th | Ratchathani University

    สารบัญ หน้า ความพึงพอใจของผู้ปกครองนักเรียนระดับชัน้มัธยมศึกษาตอนปลายที่มีต่อ การจัดการศึกษาของโรงเรียนแกศึกษาพัฒนา อําเภอรัตนบุรี สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุรินทร์ เขต 2 บุญจิรา พูดดี 154

    การพัฒนาครูด้านการทําวิจัยในชั้นเรียน โรงเรียนบ้านโพนแอวขัน อําเภอนาจะหลวย สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาอุบลราชธานี เขต 5 บุญธรรม จําปาแดง 163

    ความพึงพอใจของผู้ปกครองนักเรียนในการพัฒนาเด็กของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก บ้านดอนกลาง ตําบลระเว อําเภอพิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี เบญจมาพร ศรีจันทร์ 173

    การศึกษาความพึงพอใจของผู้ปกครองนักเรียนที่มีต่อการจัดการศึกษา ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนเทศบาลวารินวิชาชาติ สังกัดเทศบาลเมืองวารินชําราบ จังหวัดอุบลราชธานี ประกาย ศรไชย 181

    การศึกษาความพึงพอใจของผู้ปกครองนักเรียนที่มีต่อการบริหารโรงเรียนบ้านโพธิ์ศรี อําเภอพิบูลมังสาหาร สังกัดสํานักงานเขตพ้ืนที่การศึกษาอุบลราชธานี เขต 3 ประคอง กอดแก้ว 190

    การศึกษาความพึงพอใจของบุคลากรที่มีต่อการบริหารงานกลุ่มงานบริหาร ท่ัวไปโรงเรียนบ้านสีสุก สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษายโสธร เขต 2 ประจิตร ผุดผอ่ง 197

    ศึกษาการบริหารงานวิชาการโรงเรียนบ้านนากระแซง อําเภอเดชอุดม สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาอุบลราชธานี เขต 5 ประพาส ศรีชัยบาล 203

    การศึกษาความพึงพอใจของบุคลากรที่มีต่อการบริหารงานกลุ่มงานบริหาร ท่ัวไป โรงเรียนบ้านทรายมูล สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษายโสธร เขต 2 ประภา ผุดผ่อง 212

    การพัฒนาครูในการทําวิจัยในชั้นเรียน โรงเรียนบ้านทรายทอง อําเภอสําโรง จังหวัดอุบลราชธานี ประเสริฐ วิวาสุข 218

  • บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลยัราชธาน ี

    ฉ เอกสารเผยแพรบ่ทความการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง ระดับบัณฑิตศึกษา ฉบับเดือนมกราคม 2556

    Ratch

    athan

    i Univ

    ersity

    | www

    .rtu.ac

    .th

    สารบัญ หน้า บทบาทของผู้ปกครองนักเรียนในการส่งเสริมการเรียนรู้ของนักเรียน โรงเรียนบ้านคุ้มแสนชะน ี สํานักงานเขตพ้ืนที่การศึกษาอุบลราชธานี เขต 5 พงศ์พลินทีปต์ บุญเศียร 225

    การใช้ผญาของชุมชนบ้านหัวนา อําเภอเขมราฐ จังหวัดอุบลราชธานี พระชญตย์ เรือนสทีอง 234

    คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของเจ้าอาวาสในเขตตําบลเมืองเดช

    อําเภอเดชอุดม จังหวัดอุบลราชธานี พระมหาวันชัย ฤทธโิล ( ธมฺมธโร ) 240

    คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของเจ้าอาวาส ตามความคดิเห็นของอุบาสก อุบาสิกา ตําบลน้ําเกลี้ยงเขต 2 อําเภอน้ําเกลี้ยง จังหวัดศรีสะเกษ พระสมเกษ ทําชอบ 249

    การประเมินโครงการบรรพชาสามเณรภาคฤดูร้อนของ วัดบา้นขะยูง ตําบลน้ําอ้อม อําเภอกันทรลักษ ์ จังหวัดศรีสะเกษ พระไสว วันศรี 258

    คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของเจ้าอาวาสในเขตตําบลละลาย อําเภอกันทรลักษ์ จงัหวัดศรีสะเกษ พระอธิการสมาน คําดี 267

    การพัฒนาครูด้านการทําวิจัยในชั้นเรียน โรงเรียนบ้านสนามชัย(พิมพ์ประชานุกูล) อําเภอพิบูลมังสาหาร สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาอุบลราชธานี เขต 3 พิบูล เชื้อโชต ิ 275

    การศึกษาความพึงพอใจของบุคลากรที่มีต่อการบริหารงานกลุ่มงานบริหาร ท่ัวไปโรงเรียนบ้านทรายมูล สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษายโสธร เขต 2 พุทธชาต ิ ช่ืนตา 283

    ศึกษาปัญหาการดําเนินการโครงการอาหารกลางวันโรงเรียนบ้านสร้างแก้ว อําเภอพิบูลมังสาหาร สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาอุบลราชธานี เขต 3 พูลศักดิ์ บุญศรี 289

  • บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลยัราชธาน ี

    ชเอกสารเผยแพรบ่ทความการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง ระดับบัณฑิตศึกษา ฉบับเดือนมกราคม 2556 www.rtu.ac.th | Ratchathani University

    สารบัญ หน้า การพัฒนาครูด้านวิจัยในชั้นเรียน โรงเรียนบ้านกอ้นเสา้ อําเภอโนนคูณ จังหวัดศรีสะเกษ ไพรสงค์ แซ่เตีย 297

    ศึกษาปัญหาการบริหารงานวิชาการ โรงเรียนนากระแซงศึกษา อําเภอเดชอุดม สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาอุบลราชธานี เขต 5 ไพรี สายแวว 305

    ศึกษาปัญหาการบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานขนาดเล็ก กิ่งอําเภอ สว่างวีระวงศ์ สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาอุบลราชธานี เขต 4 ยุทธศักดิ์ พุฒศรี 314

    การศึกษาความพึงพอใจของบุคลากรที่มีต่อการบริหารงานกลุ่มงานบริหารท่ัวไปโรงเรียนบ้านชาดฮี (ธรรมทินโนปถัมภ)์ สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาอุบลราชธานี เขต 3 รัตน์ พูลงาม 321

    ศึกษาการถ่ายโอนสถานศึกษาขั้นพื้นฐานไปสังกัดองค์การบริหารส่วน ตําบลสว่าง กิ่งอําเภอสว่างวีระวงศ์ จังหวัดอุบลราชธานี วันชัย สีหะนันท์ 327

    ความต้องการของชุมชนในการพัฒนาโรงเรียนบา้นคําอุดม อําเภอนาจะหลวย สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาอุบลราชธาน ีเขต 5 วิจิตร วงเวียน 335

    ศึกษาความคิดเห็นของข้าราชการครูที่มีต่อการบริหารงานวิชาการ สถานศึกษาขั้นพื้นฐานกลุ่มเครือข่ายบอน อําเภอสําโรง สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาอุบลราชธานี เขต 4 วิทยา เนตรสาร 344

    การมีส่วนร่วมของผู้ปกครองนักเรียนในการส่งเสริมการเรียนรู้ ของนักเรียน โรงเรียนวารินชําราบ สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาอุบลราชธานี เขต 4 วีระ ชินทะวัน 353

    ศึกษาปัญหาการบริหารงานวิชาการโรงเรียนบ้านซําหวาย อําเภอน้ํายืน สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาอุบลราชธานี เขต 5 ศุภชัย พุทธเทศก์ 360

  • บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลยัราชธาน ี

    ซ เอกสารเผยแพรบ่ทความการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง ระดับบัณฑิตศึกษา ฉบับเดือนมกราคม 2556

    Ratch

    athan

    i Univ

    ersity

    | www

    .rtu.ac

    .th

    สารบัญ หน้า ความพึงพอใจของผู้ปกครองนักเรียนที่มีต่อการจัดการศึกษาของโรงเรียน บ้านจันทนห์อมตาเสก อําเภอกันทรลักษ์ สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษา ศรีสะเกษ เขต 4 สง่า บุดดาลี 369

    ศึกษาการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองนักเรียนในการส่งเสริมการเรียนรู้ ของนักเรียนโรงเรียนบ้านนาดีทุ่งเจริญ อําเภอม่วงสามสิบ สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาอุบลราชธาน ี เขต 1 สมบัต ิ ปัญญาคง 376

    การพัฒนาครูด้านการวิจัยในชั้นเรียน โรงเรียนบา้นหนองแวง อําเภอโนนคูณ สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาศรีสะเกษเขต 1 สมหมาย พิมพ์ไชย 382

    ศึกษาการถ่ายโอนสถานศึกษาขั้นพื้นฐานไปสังกัดองค์การบริหารส่วน ตําบลโขงเจียม อําเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี สมัย ปัญกาที 393

    ความพึงพอใจของผู้ปกครองนักเรียนที่มีต่อการบริหารงาน โรงเรียนบ้านโนนขามอําเภอเดชอุดม สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาอุบลราชธานี เขต 5 สมาน วิโรจน์อุไรเรือง 400

    ศึกษาความคิดเห็นของบุคลากรเกี่ยวกับการถ่ายโอนสถานศึกษาขั้นพื้นฐานไป สังกัดองค์การบริหารส่วนตําบลเก่าขาม อําเภอน้ํายืน จังหวัดอุบลราชธานี สรายุทธ์ วงศ์สุวรรณ 407

    การศึกษาความพึงพอใจของชุมชนในการจัดการศึกษางานกลุ่มงานบริหาร ท่ัวไปโรงเรียนบ้านโนนสวาง สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาอุบลราชธานี เขต 5 สฤษดิ์ สลับศรี 413

    การศึกษาความพึงพอใจของผู้ปกครองนักเรียนที่มีต่อการบริหารโรงเรียนชุมชน ห้วยไผ ่ อําเภอโขงเจียม สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาอุบลราชธาน ี เขต 3 สวรส ประดับศรี 419

  • บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลยัราชธาน ี

    ฌเอกสารเผยแพรบ่ทความการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง ระดับบัณฑิตศึกษา ฉบับเดือนมกราคม 2556 www.rtu.ac.th | Ratchathani University

    สารบัญ หน้า การศึกษาความพึงพอใจของบุคลากรที่มีต่อการบริหารงานกลุ่มงานบริหาร ท่ัวไปโรงเรียนบ้านทรายมูล สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาอุบลราชธานี เขต 3 สัมฤทธิ์ เหมพนัคร์ 425

    บทบาทของผู้ปกครองนักเรียนในการส่งเสริมการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ของนักเรียนโรงเรียนศิษย์เก่าวังหลังวัฒนา กิ่งอําเภอน้ําขุน่ สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาอุบลราชธาน ีเขต 5 สายสมร บุญอุดม 430

    ความต้องการของชุมชนในการพัฒนาโรงเรียนเทศบาลบ้านหนองตาโผ่นมิตรภาพที่ 5 สังกัดกองการศึกษาเทศบาลเมืองวารินชําราบ อําเภอวารินชําราบ จังหวัดอุบลราชธานี สิทธิชัย สําเนากลาง 439

    สภาพและปัญหาการใช้คอมพิวเตอร์ของบุคลากรในสํานักผู้ตรวจราชการ ประจาํเขตตรวจราชการที่ 9 กระทรวงศึกษาธิการ สุกัลยา ประเสริฐ 446

    การศึกษาความพึงพอใจของผู้ปกครองนักเรียนที่มีต่อการบริหารโรงเรียน บ้านดอนงัว อําเภอพิบูลมังสาหาร สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาอุบลราชธานี เขต 3 สุรชัย กอดแก้ว 454

    ความต้องการของผู้ปกครองของนักเรียนในการพัฒนาโรงเรียนบ้านพรทิพย์ ตําบลเสาธงชัย สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาศรีสะเกษ เขต 4 สุลักษณ์ บุดดาล ี 561

    การศึกษาความพึงพอใจของบุคลากรที่มีต่อการบริหารงานกลุ่มงานบริหาร ท่ัวไปโรงเรียนบ้านนาเจริญ สํานักงานเขตพ้ืนที่การศึกษาอุบลราชธานี เขต 3 สุวิทย ์ ไทยธวัช 468

    ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนระดับช่วงช้ันที่ 3 ที่มีต่อการจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการ โรงเรียนบ้านบัวงาม อําเภอเดชอุดม จังหวัดอุบลราชธานี อรทัย พิมพ์ทอง 474

  • บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลยัราชธาน ี

    ญ เอกสารเผยแพรบ่ทความการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง ระดับบัณฑิตศึกษา ฉบับเดือนมกราคม 2556

    Ratch

    athan

    i Univ

    ersity

    | www

    .rtu.ac

    .th

    สารบัญ หน้า

    ศึกษาคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้บริหารโรงเรียนกลุ่มเครือข่ายพัฒนาคุณภาพการศึกษาท่าช้าง กิ่งอําเภอสว่างวีระวงศ์ สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาอุบลราชธาน ีเขต 4 อรุณ พาชอบ 484

    ความต้องการมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานของ องค์การบริหารส่วนตําบลเก่าขาม อําเภอน้ํายืน จังหวัดอุบลราชธานี อรุณี ทุมมณี 490

    ศึกษาบทบาทของผู้ปกครองนักเรียนในการส่งเสริมการเรียนรู้ ของนักเรียนโรงเรียนบ้านโพนงาม อําเภอสําโรงสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาอุบลราชธานี เขต 4 อัจฉราวรรณ สมคะเณย์ 499

    ความต้องการของชุมชนในการมีส่วนร่วมต่อการพัฒนา โรงเรียนศิษย์เก่าวังหลังวัฒนา กิ่งอําเภอน้ําขุ่น สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาอุบลราชธานี เขต5 อัมพร สายสมบัติ 507

    ความต้องการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการศึกษาโรงเรียนบ้านกลาง อําเภอเดชอุดม สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาอุบลราชธานี เขต 5 อัมรา ชูพูล 515

    ความพึงพอใจของผู้ปกครองนักเรียนที่มีต่อการจัดการศึกษาของโรงเรียน บ้านบก อําเภอบุณฑริก สํานักงานเขตพ้ืนที่การศึกษาอุบลราชธานี เขต 5 อารยา ทับสกุล 524

    ศึกษาความต้องการมีส่วนร่วมของชุมชนต่อการบริหารโรงเรียนบ้านทุ่งเพียง อําเภอนาจะหลวย สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาอุบลราชธานีเขต 5 อารันทร์ บํารุง 532

    ความพึงพอใจของผู้ปกครองนักเรียนที่มีต่อการบริหารงานโรงเรียนประชาสามัคคี อําเภอเดชอุดม สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาอุบลราชธานี เขต 5 โอพิศ สิงห์คํา 543

    คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของเจ้าอาวาสในคุ้มบ้านหนองสองห้อง ตําบลยางโยภาพ อําเภอม่วงสามสิบ จังหวัดอุบลราชธานี พระสมคิด กิตฺติญาโณ ( พันธ์มะล ี) 550

  • บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลยัราชธาน ี

    1เอกสารเผยแพรบ่ทความการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง ระดับบัณฑิตศึกษา ฉบับเดือนมกราคม 2556 www.rtu.ac.th | Ratchathani University

    ศึกษาการดําเนินงานบริหารวิชาการ โรงเรียนบ้านสร้างแก้ว

    อําเภอพิบูลมังสาหาร สงักัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาอุบลราชธานี เขต 3 กฤษณา ทองเทพ

    บทคัดย่อ งานวิชาการถือว่าเป็นงานหลักที่สําคัญในการบริหารและจัดการศึกษาในโรงเรียน การศึกษาค้นคว้าครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพ่ือศึกษาการดําเนินงานบริหารวิชาการโรงเรียนบ้านสร้างแก้ว อําเภอพิบูลมังสาหาร สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาอุบลราชธานี เขต 3 ตามความคิดเห็นของข้าราชการครู จํานวน 25 คนโดยศึกษาใน 6 ด้าน คือ ด้านหลักสูตรและการบริหารหลักสูตร ด้านการจัดการเรียนการสอน ด้านการวัดและประเมินผลการศึกษา ด้านการวิจัยในชั้นเรียน ด้านการนิเทศภายใน ด้านการประกันคุณภาพการศึกษา เคร่ืองมือที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้าเป็นแบบสอบถามที่ผู้ศึกษาสร้างขึ้น แบบสอบถามเป็นมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ มีค่าอํานาจจําแนกรายข้อระหว่าง 0.29 ถึง 0.80 และค่าความเช่ือมั่นทั้งฉบับท่ากับ 0.96 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ความถี่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

    ผลการศึกษาค้นคว้าปรากฏดังนี้ การดําเนินการบริหารงานวิชาการโรงเรียนบ้านสร้างแก้ว อําเภอพิบูลมังสาหาร สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาอุบลราชธานี เขต 3 โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้านพบว่าอยู่ในระดับปานกลาง 2 ด้าน นอกนั้นอยู่ในระดับมาก เรียงอันดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อยคือ ด้านหลักสูตรและการบริหารหลักสูตร ด้านการจัดการเรียนการสอน ด้านการประกันคุณภาพการศึกษา ด้านการวัดและประเมินผลการศึกษา ด้านการนิเทศภายในและด้านการวิจัยในชั้นเรียน โดยมีรายข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดในแต่ละด้านคือ จัดทําคําอธิบายรายวิชาในหลักสูตรสื่อความหมายชัดเจนสอดคล้องกับมาตรฐานการเรียนรู้ จัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่สอดแทรกคุณธรรม จริยธรรมและพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียน โรงเรียนจัดระบบประกันคุณภาพภายในให้เป็นส่วนหนึ่งในกระบวนการบริหารสถานศึกษา โรงเรียนมีระเบียบว่าด้วยการวัดและประเมินผลที่มีความเหมาะสมสอดคล้องกับสาระและมาตรฐานการเรียนรู้ มีคณะกรรมการดําเนินงานนิเทศภายใน และกําหนดแผนงานการทําวิจัยในชั้นเรียนในแผนปฏิบัติการประจําปีของโรงเรียน

  • บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลยัราชธาน ี

    2 เอกสารเผยแพรบ่ทความการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง ระดับบัณฑิตศึกษา ฉบับเดือนมกราคม 2556

    Ratch

    athan

    i Univ

    ersity

    | www

    .rtu.ac

    .th

    ภูมิหลัง พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545เป็นกฎหมายปฏิรูปการศึกษาของไทย ที่มุ่งยกระดับการศึกษาของชาติให้มีคุณภาพ โดยได้กําหนดจุดมุ่งหมายของการศึกษาในมาตรา 6 บัญญัติว่า การจัดการศึกษาต้องเป็นไป เพื่อพัฒนาคนไทยให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้งร่างกาย จิตใจ สติปัญญา ความรู้และคุณธรรมมีจริยธรรมและวัฒนธรรมในการดํารงชีวิต สามารถอยู่ร่วมกับผู้อ่ืนได้อย่างมีความสุข จากการศึกษาปัญหาหลักของการศึกษาไทย พบว่า ความอ่อนด้อยในคุณภาพการศึกษาตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาจนถึงมัธยมศึกษา ระดับประถม ศึกษา พบว่า มีเพียงร้อยละ 30 ผ่านเกณฑ์การพัฒนาด้านสติปัญญาผู้เรียนระดับมัธยมศึกษามีผลการเรียนในวิชาคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ต่ํา อีกท้ังการเรียนภาษาไทยและภาษาอังกฤษก็ยังไม่ดีพอ (รายงานการปฏิรูปการศึกษาต่อประชาชน, 2545 : 5) และมีความสอดคล้องกับข้อมูลการประเมินของกรมวิชาการ พบว่า วิชาที่เหนือกว่าระดับพอใช้ มีเพียงวิชาสังคมเท่านั้น ส่วนในกลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ มีปัญหาทั้งสิ้น และนอกจากนั้นผลการแข่งขันโอลิมปิกวิชาการ ถ้าเทียบกับประเทศเพื่อนบ้าน เช่น จีน เกาหล ีเวียดนาม ประเทศไทยจะเป็นประเทศที่ต่ํากว่าประเทศเพื่อนบ้าน โดยเฉพาะวิชาคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ฟิสิกส์ และคอมพิวเตอร์อยู่ในเกณฑ์ต่ํามาก และคุณภาพของการศึกษาที่ต่ํา ทําให้ความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทยต่ําลง (รายงานการประชุมเร่ืองวิสัยทัศน์และยุทธศาสตร์การปฏิรูปการศึกษาวาระแห่งชาต,ิ 2545) โรงเรียนเป็นหน่วยงานหลักที่มีความสําคัญ ในการจัดการศึกษาให้เป็นไปตามจุดมุ่งหมายของพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติพ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 มีหน้าที่ในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานให้ท่ัวถึงและมีคุณภาพ โดยพัฒนาผู้เรียนให้เป็นคนดี คนเก่ง และสามารถดํารงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข การบริหารโรงเรียนให้มีประสิทธิภาพ ผู้บริหารโรงเรียนต้องตระหนักและเข้าใจในหลักการบริหารจัดการศึกษาโดยยึดผู้เรียนเป็นสําคัญ ส่งเสริมให้ผู้เรียนได้รับการพัฒนาตามธรรมชาติ และเต็มตามศักยภาพ โดยสอดคล้องกับความถนัด ความสนใจ คํานึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล ทั้งนี้ ในการจัดการศึกษาของโรงเรียน ควรให้ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายทั้งคณะกรรมการโรงเรียน ผู้ปกครอง ชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ได้มีส่วนร่วมในการบริหารจัดการ ส่งเสริมการเรียนรู้ สนับสนุนทรัพยากรและพัฒนาสถานศึกษาให้มีคุณภาพและมีมาตรฐาน ซึ่งงานบริหารวิชาการถือเป็นงานหลักที่สําคัญในการบริหารและจัดการศึกษาในโรงเรียน ทั้งนี้ เนื่องจากการที่จะพัฒนาคุณภาพผู้เรียนนั้นจะต้องพัฒนาด้านสติปัญญาของนักเรียนเป็นอันดับแรก ถือเป็นเคร่ืองมือที่สําคัญสูงสุดในการที่จะทําให้นักเรียนเป็นคนมีคุณภาพ มีคุณธรรม จริยธรรมและคุณลักษณะอันพึงประสงค์ที่ต้องการ ซึ่งจะส่งผลต่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษาในระดับประเทศ โรงเรียนบ้านสร้างแก้ว อําเภอพิบูลมังสาหาร สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาอุบลราชธานี เขต 3 รับผิดชอบจัดการศึกษาระดับก่อนประถมศึกษา ถึง ระดับมัธยมศึกษาตอนต้นจากรายงานการพัฒนาคุณภาพการศึกษาประจําปี 2548 พบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในรายวิชาภาษาไทย คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และภาษาอังกฤษ ไม่เป็นไปตามเป้าหมายที่กําหนดในหลักสูตรสถานศึกษา ผู้ศึกษาค้นคว้าในฐานะรองผู้อํานวยการโรงเรียน จึงมีความสนใจที่จะศึกษาการดําเนินงานบริหารวิชาการของโรงเรียนบ้านสร้างแก้ว อําเภอพิบูลมังสาหาร สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาอุบลราชธานี เขต 3 เพื่อนําผลจากการศึกษาค้นคว้าไปกําหนดแนวทางในการปรับปรุงพัฒนาการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนบ้านสร้างแก้วให้มีประสิทธิภาพ ทั้งนี้ เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณภาพตามจุดมุ่งหมายของการศึกษา และเป็นกําลังสําคัญในการพัฒนาประเทศชาติต่อไป

  • บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลยัราชธาน ี

    3เอกสารเผยแพรบ่ทความการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง ระดับบัณฑิตศึกษา ฉบับเดือนมกราคม 2556 www.rtu.ac.th | Ratchathani University

    กรอบแนวคิดของการศึกษาค้นคว้า การศึกษาค้นคว้าครั้งนี้มุ่งศึกษาระดับการดําเนนิงานบริหารวิชาการโรงเรียนบ้านสร้างแก้ว อําเภอพิบูลมังสาหาร สังกัดสํานักงานเขตพ้ืนที่การศึกษาอุบลราชธานีเขต 3 ในกรอบงานบริหารวิชาการ 6 งาน ดังนี้ 1. หลักสูตรและการบริหารหลักสูตร 2. การจัดการเรียนการสอน 3. การวัดและประเมินผลการศึกษา 4. การวิจัยในชั้นเรียน 5. การนิเทศภายใน 6. การประกันคุณภาพการศึกษา ความหมายของการศึกษาค้นคว้า เพื่อศึกษาระดับการดําเนินงานบริหารวิชาการโรงเรียนบ้านสร้างแก้ว อําเภอพิบูลมังสาหาร สังกัดสํานักงานเขตพ้ืนที่การศึกษาอุบลราชธานี เขต 3 ความสําคัญของการศึกษาค้นคว้า เพื่อเป็นแนวทางสําหรับผู้บริหาร ครู ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการบริหารงานวิชาการโรงเรียนบ้านสร้างแก้ว อําเภอพิบูลมังสาหาร สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาอุบลราชธานี เขต 3 ได้นําผลการศึกษาค้นคว้าไปเป็นข้อมูลในการปรับปรุง และพัฒนางานบริหารวิชาการของโรงเรียนบ้านสร้างแก้วให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ขอบเขตของการศึกษาค้นคว้า ประชากรที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้าคือ ผู้บริหารและครูผู้สอน โรงเรียนบ้านสร้างแก้ว อําเภอพิบูลมังสาหาร สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาอุบลราชธานี เขต 3 ปีการศึกษา 2549 จํานวน 25 คน จําแนกเป็น ผู้บริหาร 2 คน ครูผู้สอน 23 คน นิยามศัพท์เฉพาะ 1. การบริหารงานวิชาการหมายถึง การปฏิบัติงานหรือดําเนินการจัดกิจกรรมทุกอย่างที่เกี่ยวข้องกับการจัดการเรียนการสอนให้ได้ผลด ีมีประสิทธิภาพ เกิดประโยชน์สูงสุดต่อผู้เรียน แบ่งเป็น 1.1 หลักสูตรและบริหารหลักสูตร หมายถึง การบริหารและดําเนินงานเกี่ยวกับหลักสูตรเพ่ือให้เป็นไปตามจุดมุ่งหมายของหลักสูตรสถานศึกษา 1.2 การจัดการเรียนการสอน หมายถึง กระบวนการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนเพ่ือพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณภาพและคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามหลักสูตรกําหนด โดยเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง และพัฒนาอย่างหลากหลายเต็มตามศักยภาพ 1.3 การวัดผลประเมินผลการศึกษา หมายถงึ การเก็บรวบรวมข้อมูล ร่องรอย หลักฐานที่แสดงใหเ้ห็นถึงความก้าวหน้าและความสําเร็จของการเรียนของผู้เรียนอย่างเป็นระบบเพื่อประโยชน์ต่อการส่งเสริมให้ผู้เรียนเกิดการพัฒนาและการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง

  • บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลยัราชธาน ี

    4 เอกสารเผยแพรบ่ทความการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง ระดับบัณฑิตศึกษา ฉบับเดือนมกราคม 2556

    Ratch

    athan

    i Univ

    ersity

    | www

    .rtu.ac

    .th

    1.4 การวิจัยในชั้นเรียน หมายถึง กระบวนการสืบค้นความรู้เพื่อแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในชั้นเรียนที่มีการดําเนินงานอย่างเป็นระบบแบบแผนและมีวัตถุประสงค์อย่างชัดเจน เพื่อปรับปรุงพัฒนาเพิ่มพูนความรู้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อผู้เรียน 1.5 การนิเทศภายใน หมายถึง การส่งเสริม สนับสนุนหรือให้ความช่วยเหลือ แนะนําในการจัดการเรียนการสอนของครูให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ 1.6 การประกันคุณภาพการศึกษา หมายถึง กระบวนการบริหารและการจัดการศึกษาในโรงเรียนที่มีการวางแผนดําเนินงานอย่างเป็นระบบ เพื่อที่จะสร้างความม่ันใจที่สมเหตุสมผลว่าผู้ เ รียนจะมีความรู้ ความสามารถ และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามมาตรฐานการศึกษาที่กําหนดไว ้ 2. ข้าราชการครู 2.1 ผู้บริหาร หมายถึง ผูอํ้านวยการโรงเรียน รองผู้อํานวยการโรงเรียนบ้านสร้างแก้ว ปีการศึกษา 2549 2.2 ครูผู้สอน หมายถึง ผู้ทําการสอนในโรงเรียนบ้านสร้างแก้ว สอนในระดับชั้นอนุบาล ถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ปีการศึกษา 2549 สรุปผลการศึกษาค้นคว้า 1. การดําเนินงานบริหารวิชาการโรงเรียนบ้านสร้างแก้ว อําเภอพิบูลมังสาหาร สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาอุบลราชธานี เขต 3 โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่าอยู่ในระดับปานกลาง 2 ด้าน คือ ด้านการวิจัยในชั้นเรียน และด้านการนิเทศภายใน นอกนั้นอยู่ในระดับมาก เรียงอันดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อยคือ ด้านหลักสูตรและการบริหารหลักสูตร ด้านการจัดการเรียนการสอน ด้านการประกันคุณภาพการศึกษา ด้านการวัดและประเมินผลการศึกษา ด้านการนิเทศภายใน และด้านการวิจัยในชั้นเรียน 2. การดําเนินงานบริหารงานวิชาการโรงเรียนบ้านสร้างแก้ว อําเภอพิบูลมังสาหาร สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาอุบลราชธาน ีเขต 3 รายด้าน 2.1 ด้านหลักสูตรและการบริหารหลักสูตร บุคลากรโดยรวมเห็นว่ามีการดําเนินงานอยู่ในระดับมาก ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด 3 อันดับแรก คือการจัดทําคําอธิบายรายวิชาในหลักสูตรสื่อความหมายชัดเจนสอดคล้องกับมาตรฐานการเรียนรู้ มีแผนงาน โครงการ กิจกรรมการบริหารหลักสูตร และหลักสูตรสถานศึกษามีการกําหนดการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสําคัญ 2.2 ด้านการจัดการเรียนการสอน บุคลากรโดยรวมเห็นว่ามีการดําเนินงานอยู่ในระดับมาก ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด 3 อันดับแรก คือจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่สอดแทรกคุณธรรม จริยธรรม และพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียน มีการวางแผนการจัดการเรียนการสอนที่มีความสอดคล้องและเป็นไปตามจุดมุ่งหมายของหลักสูตร และจัดบุคลากรเข้าสอนตรงตามความรู ้ความสามารถและความถนัด 2.3 ด้านการวัดและประเมินผลการศึกษา บุคลากรโดยรวมเห็นว่ามีการดําเนินงานอยู่ในระดับมาก ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด 3 อันดับแรก คือโรงเรียนมีระเบียบว่าด้วยการวัดและประเมินผลที่มีความเหมาะสมสอดคล้องกับสาระและมาตรฐานการเรียนรู้ การจัดระบบวัดและประเมินผลที่ผสมผสานควบคู่กับการเรียนการสอน และครูผู้สอนประเมินความพร้อมและพ้ืนฐานของผู้เรียนเพื่อเป็นข้อมูลในการพัฒนาผู้เรียน 2.4 ด้านการวิจัยในช้ันเรียน บุคลากรโดยรวมเห็นว่ามีการดําเนินงานอยู่ในระดับ ปานกลาง ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด 3 อันดับแรกคือ กําหนดแผนงานการทําวิจัยในชั้นเรียนในแผนปฏิบัติการประจําปีของโรงเรียน

  • บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลยัราชธาน ี

    5เอกสารเผยแพรบ่ทความการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง ระดับบัณฑิตศึกษา ฉบับเดือนมกราคม 2556 www.rtu.ac.th | Ratchathani University

    ผู้บริหาร ครู มีความตระหนักเห็นความสําคัญของการทําวิจัยในชั้นเรียน และครูมีความรู้ความสามารถในการทําวิจัยในชั้นเรียน 2.5 ด้านการนิเทศภายใน บุคลากรโดยรวมเห็นว่ามีการดําเนินงานอยู่ในระดับ ปานกลาง ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด 3 อันดับแรกคือ มีคณะกรมการดําเนินงานนิเทศภายใน ส่งเสริมให้ครูเข้าใจการนิเทศภายในหลักสูตรการเรียนการสอนเร่ืองอ่ืน ๆ ที่เป็นประโยชน์ในการปฏบัิติงาน และโรงเรียนกําหนดแผนงานโครงการนิเทศภายในไว้ในแผนปฏิบัติการประจําปี 2.6 ด้านการประกันคุณภาพการศึกษา บุคลากรโดยรวมเห็นว่ามีการดําเนินงานอยู่ในระดับมาก ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด 3 อันดับแรกคือ โรงเรียนจัดระบบประกันคุณภาพภายในให้เป็นส่วนหนึ่งในกระบวนการบริหาร โรงเรียนแต่งตั้งคณะกรรมการดําเนินงานประกันคุณภาพภายในโดยบุคลากรและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่าย โรงเรียนดําเนินงานตามระบบประกันคุณภาพทางการศึกษาครบวงจร PDCA อภิปรายผล ผลการศึกษาค้นคว้าการดําเนินงานบริหารวิชาการโรงเรียนบ้านสร้างแก้ว อําเภอพิบูลมังสาหาร สังกัดสํานักงานเขตพ้ืนที่การศึกษาอุบลราชธานี เขต 3 มีประเด็นสําคัญควรนํามาอภิปราย ดังนี้ 1. ระดับการดําเนินงานบริหารวิชาการ ด้านหลักสูตรและการบริหารหลักสูตร มีระดับการดําเนินงานสูงสุด คือ การจัดทําคําอธิบายในหลักสูตรสื่อความหมายชัดเจน สอดคล้องกับมาตรฐานการเรียนรู้ ทั้งนี้เนื่องจากคําอธิบายในหลักสูตรสถานศึกษา ครูผู้สอนจะต้องนําคําอธิบายดังกล่าวไปใช้ในการจัดทําหน่วยการเรียนรู้และแผนการจัดการเรียนรู้ ซึ่งถือเป็นเคร่ืองมือสําคัญในการจัดกระบวนการเรียนการสอนให้บรรลุตามจุดมุ่งหมายของหลักสูตร สอดคล้องกับงานวิจัยของ อนงค์ศิริ วิชาลัย (2542 : 16-19) กล่าวว่าการบริหารหลักสูตรก็คือ การนําหลักสูตรไปสู่การเรียนการสอนให้บรรลุจุดมุ่งหมายของหลักสูตรอย่างมีประสิทธิภาพ 2. ระดับการดําเนินงานบริหารวิชาการ ด้านการจัดการเรียนการสอน มีระดับการดําเนิน งานสูงสุดคือ จัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่สอดแทรกคุณธรรม จริยธรรม และพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียน ทั้งนี้ เนื่องจากผู้เรียนควรได้รับการพัฒนาอย่างรอบด้าน การจัดการเรียนการสอน จึงต้องเน้นท้ังด้านวิชาการ เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้และทักษะตามหลักสูตรกําหนด และสอดแทรกคุณธรรม เพื่อให้ผู้เรียนเป็นคนดี และมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ซึ่งสอดคล้องกับกรมวิชาการ (2545 : 1) กล่าวว่า การจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาคนให้มีคุณภาพเป็นเร่ืองที่จําเป็นอย่างยิ่ง โดยจะต้องเป็นการศึกษาที่ทําให้ศักยภาพที่มีอยู่ในตัวคนได้รับการพัฒนาอย่างเต็มที่ รู้จักคิดวิเคราะห์ รู้จักแก้ปัญหา มีคุณธรรม จริยธรรม รู้จักพึ่งตนเอง และสามารถดํารงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างเป็นสุข 3. ระดับการดําเนินงานบริหารวิชาการ ด้านการวัดและประเมินผลการศึกษา มีระดับการดําเนินงานสูงสุดคือ โรงเรียนมีระเบียบว่าด้วยการวัดและประเมินผลที่มีความเหมาะสมสอดคล้องกับสาระและมาตรฐานการเรียนรู้ ทั้งนี้ โรงเรียนต้องจัดทําระเบียบการวัดและประเมินผลของเพื่อใช้เป็นแนวปฏิบัติในการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ กระทรวงศึกษาธิการ (2545 : 24) กล่าวว่า การวัดและประเมินผลการเรียนรู้เป็นกระบวนการที่ใช้พัฒนาคุณภาพผู้เรียน สถานศึกษาเป็นผู้รับผิดชอบจัดการศึกษาจะต้องจัดทําหลักเกณฑ์และแนวปฏิบัติในการวัดและประเมินผลการเรียนของโรงเรียน เพื่อให้บุคลากรที่เกี่ยวข้องทุกฝ่ายถือปฏิบัติร่วมกันและเป็นไปตามมาตรฐานเดียวกัน 4. ระดับการดําเนินงานบริหารวิชาการ ด้านการวิจัยในชั้นเรียน มีระดับการดําเนินงานสูงสุดคือ กําหนดแผนงานการทําวิจัยในชั้นเรียนในแผนปฏิบัติการประจําปีของโรงเรียน ทั้งนี้ เนื่องจากการดําเนินงานทําวิจัยในชั้นเรียนให้มีประสิทธิภาพน้ัน โรงเรียนต้องวางแผน กําหนดโครงการ กิจกรรม ระยะเวลาการปฏิบัติ งบประมาณและผูรั้บผิดชอบให้ชัดเจนเพื่อนําไปสู่การปฏิบัติให้มีประสิทธิภาพ

  • บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลยัราชธาน ี

    6 เอกสารเผยแพรบ่ทความการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง ระดับบัณฑิตศึกษา ฉบับเดือนมกราคม 2556

    Ratch

    athan

    i Univ

    ersity

    | www

    .rtu.ac

    .th

    5. ระดับการดําเนินงานบริหารวิชาการ ด้านการนิเทศภายใน มีระดับการดําเนินงานสูงสุดคือ มีคณะกรรมการดําเนินงานนิเทศภายใน ทั้งนี้ การนิเทศภายในโดยมีคณะกรรมการนิเทศ เป็นการส่งเสริมการปฏิบัติงานเป็นหมู่คณะ ใช้กระบวนการกลุ่มในการปฏิบัติงาน ซึ่งจะส่งเสริมให้ครูเข้าใจปฏิบัติงานวิชาการอย่างสมํ่าเสมอ และสร้างเครือข่ายการเรียนรู้ร่วมกัน ซึ่งกระทรวง ศึกษาธิการ (2544 : 8) กล่าวว่า การนิเทศโรงเรียนทั้งระบบ จะต้องมีกระบวนการทํางานร่วมกันระหว่างผู้นิเทศ และผู้รับการนิเทศด้วยความร่วมมือและประสานงานระหว่างบุคคลที่เกี่ยวข้องทุกฝ่าย เพื่อที่จะพัฒนาปรับปรุงและแก้ปัญหากระบวนการบริหารจัดการ การจัดการเรียนการสอน และการจัดกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ให้เกิดประสิทธิภาพ 6. ระดับการดําเนินงานบริหารวิชาการ ด้านการประกันคุณภาพการศึกษา มีระดับการดําเนินงานสูงสุดคือ โรงเรียนจัดระบบประกันคุณภาพภายในให้เป็นส่วนหนึ่งในกระบวนการบริหารทั้งนี้ เนื่องจากพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 แกไ้ขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 มาตรา 48 กําหนดให้หน่วยงานต้นสังกัดจัดให้มีการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา และให้ถือว่าการประกันคุณภาพภายในเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการบริหารการศึกษาที่ต้องดําเนินอย่างต่อเนื่อง ข้อเสนอแนะ จากการศึกษาค้นคว้า มีข้อเสนอแนะสําหรับผู้บริหารโรงเรียน ดังนี้ 1. ข้อเสนอแนะในการนําไปใช้ 1.1 โรงเรียนควรส่งเสริมการสร้างเครือข่ายการจัดทํางานวิจัยในชั้นเรียนภายในโรงเรียนและกลุ่มเครือข่ายเพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้ และ นําผลการวิจัยในชั้นเรียนมาเป็นข้อมูลในการปรับปรุงและพัฒนาคุณภาพการศึกษาของโรงเรียน 1.2 การดําเนินงานนิเทศภายในโรงเรียน ควรวิเคราะห์สภาพปัจจุบันปัญหา และความต้องการในการนิเทศภายใน เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการจัดกิจกรรมการนิเทศในได้อย่างเหมาะสมและสอดคล้องกับความต้องการพัฒนาของครู จัดหาเอกสารทางวิชาการให้ครู บุคลากรได้ศึกษาค้นคว้าเพ่ือนําความรู้มาประยุกต์ใช้พัฒนาการจัดการเรียนการสอน และควรนําผลการนิเทศภายในไปปรับปรุงพัฒนาการจัดการเรียนการสอนอย่างต่อเนื่อง 1.3 โรงเรียนควรพัฒนาระบบข้อมูลสารสนเทศให้เอื้อต่อการนําไปใช้บริหารจัดการ และการประกันคุณภาพทางการศึกษา 2. ข้อเสนอแนะในการศึกษาค้นคว้าครั้งต่อไป ควรศึกษาปัญหา หรืออุปสรรคในการดําเนินงานบริหารวิชาการของโรงเรียน สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาอุบลราชธาน ี เขต 3 บรรณานุกรม กมล ภู่ประเสริฐ. การบริหารวิชาการในสถานศึกษา. กรุงเทพฯ : ทิปส์พับบลิเคชัน้, 2544. _________. การบริหารวิชาการในสถานศึกษา. กรุงเทพฯ : เมธิทิปส,์ 2545. กมล ศิริบรรณ. การบริหารงานวิชาการในโรงเรียนประถมศึกษา. เอกสารพัฒนาความรู้ชุดที่ 9/2539, 2539. กระทรวงศึกษาธิการ. หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว,

    2545. ________. การนิเทศเพื่อการพัฒนาโรงเรียนทั้งระบบ. กรุงเทพฯ : บริษัท ด ิเอ็มเพอเรอร ์พ ีกรุ๊ป จํากัด, 2544

  • บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลยัราชธาน ี

    7เอกสารเผยแพรบ่ทความการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง ระดับบัณฑิตศึกษา ฉบับเดือนมกราคม 2556 www.rtu.ac.th | Ratchathani University

    กรมวิชาการ. การวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว, 2544. คณะอนุกรรมการปฏิรูปการเรียนรู้ของคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติและกระทรวงศึกษาธิการ. ปฏิรูปการเรียนรู้

    ผู้เรียนสําคัญที่สุด. ปทุมธาน ี: สกายบุคส์, 2543. _________. แนวทางการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่ง

    ประเทศไทย, 2549. จรูญ คูณมี, กนิษฐา คูณมี. การวิจัยทางการศึกษาและการเขียนบทนิพนธ์. อุบลราชธานี : มหาวิทยาลัยราชธานี

    , 2546. นพพงษ์ บุญจิตราดุลย.์ โน๊ตย่อบริหาร. เชียงใหม่ : Orange Group Tactics Design, 2549. ประนอม นันทกุล. ศึกษาปัญหาและแนวทางแก้ปัญหาการปฏิบัติงานวิชาการของสถานศึกษาระดับ

    ประถมศึกษา สังกัดสํานักงานการประถมศึกษาอําเภอนํ้าโสม จังหวัดอุดรธานี. รายงานการศึกษาค้นคว้าอิสระ กศ.ม.มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 2542.

    ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน์. การบริหารงานวิชาการ. กรุงเทพฯ : บริษัทพิมพ์ด ีจํากัด, 2543. พิชัย เสงี่ยมจิตต.์ การบริหารเฉพาะด้านในสถาบันการศึกษา. คณะครุศาสตร์ สถาบันราชภัฏอุบลราชธานี, 2542. พิทยา อัมพวรรณ. ศึกษาสภาพการดําเนินงานเกี่ยวกับปัญหาและแนวทางแก้ปัญหางานวิชาการของ

    สถานศึกษาขยายโอกาสทางการศึกษาข้ันพื้นฐาน สังกัดสํานักงานการประถมศึกษา อําเภอหนองแสง จังหวัดอุดรธานี. รายงานการค้นคว้าอิสระ.กศ.ม.มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 2543.

    พนัส หันนาคินทร์. การบริหารโรงเรียน. กรุงเทพฯ : วัฒนาพาณิช, 2544. ยุทธนา ปฐมวรชาติ. การวจัิยในชั้นเรียน แนวคิดการปฏิบัติสู่การพัฒนาผู้เรียนที่แท้จรงิ. วารสารวิชาการ ปีที่4

    ฉบับที่ 10. กรุงเท