426
รายงานการวิจัย แผนงานวิจัย การพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวในภาคเหนือตอนบน แบบ Slow Tourism สาหรับนักท่องเที่ยวผู้สูงอายุ สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้รับทุนอุดหนุนการวิจัยจาก สานักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ มิถุนายน 2554

รายงานการวิจัย แผนงานวิจัย การ ...ctrd/uploads/files/file_20171212...รายงานการว จ ย แผนงานว

  • Upload
    others

  • View
    5

  • Download
    0

Embed Size (px)

Citation preview

  • รายงานการวิจยั แผนงานวิจยั การพฒันาแหล่งท่องเท่ียวในภาคเหนือตอนบน

    แบบ Slow Tourism ส าหรับนกัท่องเท่ียวผูสู้งอาย ุ

    สถาบนัวิจยัสงัคม มหาวิทยาลยัเชียงใหม่

    ไดรั้บทุนอุดหนุนการวิจยัจาก ส านกังานคณะกรรมการวิจยัแห่งชาติ มิถุนายน 2554

  • ช่ือโครงการวจัิย การประเมินศกัยภาพของแหล่งท่องเท่ียวแบบ Slow Tourism ใน ภาคเหนือตอนบนท่ีเหมาะสมกบันกัท่องเท่ียวผูสู้งอายุ Slow Tourism Attractions Potential Evaluation in Upper Northern that Suitable for Elderly Tourists

    ภายใต้แผนงานวจัิย การพฒันาแหล่งท่องเท่ียวในภาคเหนือตอนบนแบบ Slow Tourism ส าหรับนกัท่องเท่ียวผูสู้งอายุ

    Slow Tourism Attractions Development in Upper Northern for Elderly Tourists

    ได้รับทุนอุดหนุนการวจัิยประจ าปี 2553 จ านวนเงิน 1,626,000 บาท ระยะเวลาท าการวจัิย 1 ปี 2 เดือน เร่ิมท าการวิจยัเม่ือ เมษายน 2553 ถึง มิถุนายน 2554 ผู้ด าเนินการวจัิย นางกรวรรณ สังขกร1, นางสุรีย ์ บุญญานุพงศ์1, นางสาวจนัทร์จิตร

    เธียรสิริ2, นางสาวกฤษณา พุม่เล็ก1, นางสาวกาญจนา จ้ีรัตน์1

    บทคัดย่อ การศึกษาวจิยัเร่ืองน้ีมีวตัถุประสงคเ์พื่อ 1) ส ารวจและศึกษาศกัยภาพของแหล่งท่องเท่ียวในภาคเหนือตอนบนท่ีสามารถจดัการท่องเท่ียวส าหรับนกัท่องเท่ียวผูสู้งอายุ 2) ประเมินศกัยภาพของแหล่งท่องเท่ียวในภาคเหนือตอนบนท่ีสามารถจัดการท่องเท่ียวแบบ Slow Tourism ส าหรับนักท่องเท่ียวผูสู้งอายุ และ 3) เสนอแนวทางการพฒันาแหล่งท่องเท่ียวในรูปแบบ Slow Tourism ส าหรับนกัท่องเท่ียว โครงการน้ีเป็นการวิจยัเชิงส ารวจมีแบบแผนการวิจยั (Research Design) รวบรวมขอ้มูลจากเอกสาร ส ารวจพื้นท่ีแหล่งท่องเท่ียว สัมภาษณ์ และสอบถามนกัท่องเท่ียวผูสู้งอายุท่ีเดินทางมาท่องเท่ียวในภาคเหนือตอนบน และมีการจดัท าฐานขอ้มูลในระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ (GIS) ในขั้นตอนสุดทา้ย พื้นท่ีศึกษาคือแหล่งท่องเท่ียวใน 8 จงัหวดัภาคเหนือตอนบน การด าเนินการวจิยัมีขั้นตอนการประเมิน 3 ระดับ คือ ระดับ 1: การประเมินเบ้ืองต้น ระดับ 2: การประเมินระดับจงัหวดั และระดบั 3: การประเมินระดบัภาค ใช้แบบส ารวจเป็นเคร่ืองมือในการเก็บขอ้มูล และประเมินโดยใช้เกณฑ์ 4 องค์ประกอบหลักเพื่อคัดกรองแหล่งท่องเท่ียว คือ การเข้าถึงแหล่ง

    1 นกัวจิยั สถาบนัวจิยัสงัคม มหาวทิยาลยัเชียงใหม่ โทร. 0 5394 2571 2 คณะบริหารธุรกิจ มหาวทิยาลยัฟาร์อีสเทอร์น โทร. 053 – 201800-4 ต่อ 1421

  • ข แผนงานวิจัย: การพัฒนาแหล่งท่องเท่ียวในภาคเหนือตอนบนแบบ Slow Tourism ส าหรับนักท่องเท่ียวผู้สูงอายุ

    ท่องเท่ียว ส่ิงอ านวยความสะดวกในแหล่งท่องเท่ียว คุณค่าของแหล่งท่องเท่ียว และส่ิงบริการการท่องเท่ียวในบริเวณใกลเ้คียง

    ผลการประเมินเบ้ืองต้นพบว่า แหล่งท่องเท่ียวในภาคเหนือตอนบนส่วนมากเป็นประเภทศาสนสถาน (วดั) ประวติัศาสตร์ (พิพิธภณัฑ์ เมืองโบราณ) ตั้งอยู่ในตวัเมือง มีการเขา้ถึงสะดวก มีส่ิงบริการต่างๆ ให้เลือกใช้ ทั้งท่ีพกัแรม ร้านขายอาหาร ร้านขายของท่ีระลึก มีสถานท่ีน่าสนใจอ่ืนๆ ให้เท่ียวชม และมีสถานพยาบาลในกรณีท่ีเกิดเหตุฉุกเฉิน การประเมินระดบัจงัหวดั พบวา่มีแหล่งท่องเท่ียวท่ีผา่นการประเมินทั้งหมด 139 แหล่ง และไดน้ ามาจดัอนัดบัแหล่งท่องเท่ียวท่ีมีศกัยภาพรองรับการท่องเท่ียวของผูสู้งอายุแยกเป็นรายจงัหวดั ส่วนผลการประเมินระดบัภาค พบวา่ แหล่งท่องเท่ียว 10 อนัดบัแรกท่ีมีศกัยภาพและเหมาะสมกบันกัท่องเท่ียวผูสู้งอายุ มี 9 แห่งท่ีอยูใ่นจงัหวดัเชียงใหม่ มีเพียงแห่งเดียวท่ีตั้งอยูใ่นจงัหวดัน่าน และยงัไดจ้ดัอนัดบัแหล่งท่องเท่ียวตามประเภทของแหล่งท่องเท่ียว 4 ประเภท คือ แหล่งท่องเท่ียวประเภทศาสนสถาน แหล่งท่องเท่ียวประเภทธรรมชาติ แหล่งท่องเท่ียวประเภทโบราณคดี/ประวติัศาสตร์/ศิลปกรรม และแหล่งท่องเท่ียวประเภทวถีิชุมชน/ประเพณี/วฒันธรรม จากผลการศึกษา พบว่าแหล่งท่องเท่ียวส่วนใหญ่ในภาคเหนือตอนบน ไม่ไดเ้ตรียมความพร้อมส าหรับรองรับนักท่องเท่ียวกลุ่มผูสู้งอายุ การศึกษาน้ีจึงได้เสนอแนวทางการพฒันาแหล่งท่องเท่ียวแบบ Slow Tourism ส าหรับนักท่องเท่ียวผูสู้งอายุแยกตามประเภทของแหล่งท่องเท่ียว และตาม 4 องคป์ระกอบท่ีใชป้ระเมิน เพื่อง่ายต่อการน าไปประยกุตใ์ชต่้อไป

  • บทที่ 1 บทน ำ

    1.1 หลักกำรและเหตุผล

    นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2525 เป็นต้นมา การท่องเที่ยวก่อให้เกิดผลดีเชิงเศรษฐกิจและสังคมของประเทศไทยเป็นอย่างมาก เป็นภาคการผลิตที่ท ารายได้สูงสุดให้แก่ประเทศไทย โดยเฉพาะส่วนที่เป็นเงินตราต่างประเทศ นอกจากนั้นการท่องเที่ยวยังท าให้เกิดการกระจายรายได้ไปสู่ชุมชนท้องถิ่นที่เป็นแหล่งท่องเที่ยว โดยรายได้จากการใช้จ่ายของนักท่องเที่ยวกระจายลงไปถึงประชาชนระดับรากหญ้าที่เป็นแรงงานภาคการผลิต ภาคบริการ รวมไปถึงเกษตรกรในชนบทที่มีรายได้จากการขายผลผลิต และนอกจากผลดีทางเศรษฐกิจแล้ว การท่องเที่ยวยังก่อให้เกิดผลดีทางสังคมด้วย กล่าวคือการท่องเที่ยวยังเป็นช่องทางการเผยแพร่แลกเปลี่ยนวัฒนธรรม นักท่องเที่ยวที่ เดินทางไปท่องเที่ยวในชุมชนต่างๆ จะมีโอกาสได้สัมผัสและเรียนรู้วัฒนธรรมที่แตกต่างและหลากหลาย มีโอกาสแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิด และความเชื่อกับประชาชนในท้องถิ่น ช่วยให้เกิดความเข้าใจอันดีระหว่างคนในชุมชน ซึ่งเป็นแหล่งท่องเที่ยวและนักท่องเที่ยวผู้มาเยือน ยิ่งไปกว่านั้นการท่องเที่ยวยังมีส่วนกระตุ้นให้ประชาชนในท้องถิ่นตระหนักถึงความส าคัญของการรักษา อนุรักษ์ ฟื้นฟู ศิลปวัฒนธรรม ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่น รวมทั้งพัฒนาตัวเอง เช่น เรียนภาษาต่างประเทศเพิ่มเติม เรียนการนวดแผนโบราณ เป็นต้น เพื่อหาประโยชน์จากการท่องเที่ยว และการส่งเสริม การท่องเที่ยวในชนบท ท าให้เกิดการจ้างงาน ประชาชนที่มีการศึกษาไม่ต้องอพยพไปหางานท าในเมือง ได้อยู่ในพื้นที่กับครอบครัว ท าให้ครอบครัวอบอุ่น ท าให้มีคนที่มีความรู้อยู่ในท้องถิ่น ได้ร่วมพัฒนาท้องถิ่นด้วยผลดีของการท่องเที่ยวดังกล่าว รัฐบาลจึงมีนโยบายที่จะส่งเสริมการท่องเที่ยว โดยเฉพาะในช่วงเวลาที่ประเทศก าลังเผชิญกับวิกฤตเศรษฐกิจ โดยก าหนดให้เป็นหนึ่งในนโยบายหลักเพื่อพลิกฟื้นเศรษฐกิจของประเทศไทย

    แต่การวางแผนพัฒนาการท่องเที่ยวจะต้องมีการปรับเปลี่ยนไปตามปัจจั ยที่มีอิทธิพลต่อ การท่องเที่ยว เช่น สภาพแหล่งท่องเที่ยว สถานการณ์ด้านประชากรนักท่องเที่ยว พฤติกรรมการท่องเที่ยว ฯลฯ ซึ่งปัจจัยที่มีความส าคัญต่อการวางแผนพัฒนาการท่องเที่ยวปัจจัยหนึ่ ง ก็คือ ประชากรกลุ่มเป้าหมาย ดังนั้น การท าความเข้าใจเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรจึงเป็นประเด็นส าคัญที่ต้องให้ความสนใจเพื่อที่จะสามารถวางแผนพัฒนาการตลาดการท่องเที่ยวและแผนการพัฒนาการท่องเที่ยวได้อย่างเหมาะสม โดยกลุ่มประชากรที่ก าลังเป็นเป้าหมายส าคัญ ของการท่องเที่ยวในอนาคตอันใกล้ คือ ประชากรสูงอายุ ทั้งนี้จากการที่มีบริการด้านการรักษาพยาบาล

  • แผนงานวิจัย: การพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวในภาคเหนือตอนบนแบบ Slow Tourism ส าหรับนักท่องเที่ยวผู้สูงอายุ

    ย่อย 1 - บทที่ 1 - 2

    และสาธารณสุขที่ดีขึ้น ประชากรมีการศึกษาสูงขึ้นและมีการดูแลตัวเองมากขึ้น จึงมีอายุยืนยาวมากขึ้นส่งผลให้โครงสร้างประชากรของทุกประเทศทั่วโลกมีสัดส่วนของประชากรสูงอายุ (อายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป) เพิ่มสูงขึ้นทุกปีและท าให้สังคมโลกก้าวสู่การเป็นสังคมผู้สูงอายุ1 ซึ่งประชากรผู้สูงอายุทั้งหมดนี้ส่วนหนึ่งมีความพร้อมด้านสุขภาพ ด้านรายได้ และด้านเวลาที่จะเดินทางท่องเที่ยว ดังนั้น ประชากรผู้สูงอายุจึงเป็นกลุ่มนักท่องเที่ยวเป้าหมายกลุ่มใหม่ที่ต้องให้ความสนใจเพิ่มขึ้น และจ าเป็นต้องมีการศึกษาเพื่อวางแผนพัฒนาการตลาดการท่องเที่ยวและแผนการพัฒนาการท่องเที่ยวเพื่อรองรับนักท่องเที่ยวกลุ่มนี้

    รูปท่ี 1-1.1 ลักษณะกิจกรรมด้ำนนันทนำกำรส ำหรับคนในวัยต่ำงๆ

    เนื่องจากนักท่องเที่ยวกลุ่มผู้สูงอายุมีพฤติกรรมการเดินทางท่องเที่ยวและความสนใจในกิจกรรมการท่องเที่ยวแตกต่างจากนักท่องเที่ ยวกลุ่มเยาวชนและกลุ่มวัยท างาน ประกอบกับข้อจ ากัดด้านสภาพร่างกายของผู้สูงอายุที่ส่วนใหญ่เคลื่อนไหวได้ช้าลง ความมั่นคงลดลง เหนื่อยง่าย เร่ิมมีปัญหาด้านการมองเห็น ดังนั้น นักท่องเที่ยวกลุ่มผู้สูงอายุจึงต้องการแหล่งท่องเที่ยวที่ 1 การคาดประมาณประชากรทั่วโลก คาดว่าปี พ.ศ. 2568 จะมีประชากรผู้สูงอายุจ านวน 340 ล้านคน ส าหรับประเทศไทย โครงสร้างประชากรของประเทศไทยในรอบ 50 ปีที่ผ่านมา (พ.ศ. 2493-2552) พบว่าสัดส่วนผู้ประชากรสูงอายุ (อายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป) เพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ ในอัตราเพิ่มที่สูงขึ้น กล่าวคือ สัดส่วนประชากรสูงอายุเพิ่มจากร้อยละ 4 ของประชากรทั้งหมดในปี พ.ศ. 2493 เป็นร้อยละ 11.3 ในปี พ.ศ. 2552 (หรือเพิ่มขึ้น 3 เท่าในเวลา 50 ปี) และคาดว่าจะเพิ่มสูงขึ้นเป็นร้อยละ 25 ในปี พ.ศ. 2576 (หรือเพิ่มขึ้น 2.5 เท่าในเวลา 20 ปี) ส่วนประเทศที่มีความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี เช่น ประเทศญี่ปุ่น ประชากรผู้สูงอายุในปี พ.ศ. 2543 มีสัดส่วน ร้อยละ 23.3 ของประชากรทั้งหมด และจะเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 42.4 ของประชากรทั้งหมดในปี พ.ศ. 2593

    อายุยุ

    0 30 40 50 60 10 20 ไม่ใช้ก าลัง

    (Passive)

    ใช้ก าลงั (Active)

    กิจกรรม

  • ย่อย 1: การประเมินศักยภาพของแหลง่ท่องเที่ยวในภาคเหนือตอนบนแบบ Slow Tourismที่เหมาะสมกับนักท่องเที่ยวผู้สูงอายุ

    ย่อย 1 - บทที่ 1 - 3

    สามารถเดินทางท่องเที่ยวได้โดยไม่ต้องใช้ก าลังมาก (Passive Activities) (รูปที่ 1.1) เป็นการท่องเที่ยวแบบไร้ความเร่งรีบ (Slow Tourism) แหล่งท่องเที่ยวหรือสถานที่ท่องเที่ยวที่จะรองรับนักท่องเที่ยวผู้สูงอายุจึงต้องมีสิ่งบริการอ านวยความสะดวกที่เหมาะสมและสอดคล้องกับสภาพร่างกายและพฤติกรรมการท่องเที่ยวของผู้สูงอายุ มีการเดินทางเข้าถึงที่สะดวก มีความปลอดภัย มีความสงบไม่วุ่นวาย มีค่าใช้จ่ายที่ไม่สูงมากเนื่องจากรายได้ของผู้สูงอายุจะลดลง และมีข้อมูลการท่องเที่ยวที่สมบูรณ์เพื่อให้ผู้สูงอายุจัดเตรียมแผนการเดินทางได้อย่างถูกต้อง

    เน่ืองจากภาคเหนือตอนบนของประเทศไทย มีแหล่งท่องเที่ยวจ านวนมากที่เป็นที่นิยมของนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ แต่ยังไม่เคยมีการส ารวจว่ามีแหล่งท่องเที่ยวหรือสถานที่ใดที่มีศักยภาพที่เหมาะสมส าหรับการรองรับนักท่องเที่ยวกลุ่มผู้สูงอายุที่ต้องการการท่องเที่ยวแบบไร้ความเร่งรีบ (Slow Tourism) ท าให้ไม่สามารถจัดเตรียมหรือพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวและสถานที่ท่องเที่ยวให้มีความเหมาะสมส าหรับรองรับนักท่องเที่ยวผู้สูงอายุที่ก าลังเป็นนักท่องเที่ยวกลุ่มเป้าหมายส าคัญในอนาคต การส ารวจและศึกษาเพื่อประเมินศักยภาพของแหล่งท่องเที่ยวในภาคเหนือตอนบนที่สามารถจัดการท่องเที่ยวแบบ Slow Tourism ส าหรับนักท่องเที่ยวผู้สูงอายุจึงมีความส าคัญและจ าเป็นอย่างเร่งด่วนเพื่อมิให้ประเทศไทยพลาดโอกาสในการขยายตลาดการท่องเที่ยวและเพื่อให้การท่องเที่ยวเป็นแหล่งสร้างงานและรายได้ให้แก่ประชาชนในภาคเหนือตอนบนอย่างยั่งยืน 1.2 วัตถุประสงค์กำรวิจัย

    1.2.1 ส ารวจและศึกษาศักยภาพของแหล่งท่องเที่ยวในภาคเหนือตอนบนที่สามารถจัดการท่องเที่ยวส าหรับนักท่องเที่ยวผู้สูงอายุ

    1.2.2 เพื่อประเมินศักยภาพของแหล่งท่องเที่ยวในภาคเหนือตอนบนที่สามารถจัดการท่องเที่ยวแบบ Slow Tourism ส าหรับนักท่องเที่ยวผู้สูงอายุ

    1.2.3 เสนอแนวทางการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวในรูปแบบ Slow Tourism ส าหรับนักท่องเที่ยวผู้สูงอายุ

    1.3 ประโยชน์ท่ีคำดว่ำจะได้รับ

    1.3.1 ได้เกณฑ์การประเมินศักยภาพแหล่งท่องเที่ยวส าหรับนักท่องเที่ยวกลุ่มผู้สูงอายุ 1.3.2 ได้แหล่งท่องเที่ยวหรือกลุ่มแหล่งท่องเที่ยวในภาคเหนือตอนบนที่สามารถจัดการ

    ท่องเที่ยวแบบ Slow Tourism

  • แผนงานวิจัย: การพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวในภาคเหนือตอนบนแบบ Slow Tourism ส าหรับนักท่องเที่ยวผู้สูงอายุ

    ย่อย 1 - บทที่ 1 - 4

    1.3.3 ได้แนวทางการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวหรือกลุ่มแหล่งท่องเที่ยวแบบ Slow Tourism เพื่อรองรับนักท่องเที่ยวกลุ่มผู้สูงอายุ

    1.3.4 เกิดการแลกเปลี่ยนและพัฒนาความรู้ด้านการท่องเที่ยวแบบ Slow Tourism ในภาคเหนือตอนบน ระหว่างผู้ประกอบการ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง นักวิชาการ ผู้บริหารท้องถิ่น และประชาชนในแหล่งท่องเที่ยว

    1.3.5 กระบวนการศึกษาวิจัยมีการส ารวจข้อมูลในพื้นที่แหล่งท่องเที่ยว และมีการสัมภาษณ์ สอบถาม และจัดประชุมกลุ่มย่อยกับบุคลากรที่เกี่ยวข้องในพื้นที่และภาคประชาชน ซึ่งจะเป็นการเปิดโอกาสให้ภาคีทุกภาคส่วนในชุมชนมีส่วนร่วมในการศึกษาวิจัยและร่วมวางแผนพัฒนาการท่องเที่ยวในชุมชนของตนเอง

    1.3.6 สามารถน าผลการศึกษา ไปสู่การพัฒนาการจัดท าแผนการจัดการท่องเที่ยวแบบ Slow Tourism ส าหรับนักท่องเที่ยวกลุ่มผู้สูงอายุ

  • บทที่ 2 แนวคิดและวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง

    ในการศึกษาเร่ือง การประเมินศักยภาพของแหล่งท่องเที่ยวแบบ Slow Tourism ในภาคเหนือตอนบนที่เหมาะสมกับนักท่องเที่ยวผู้สูงอายุ ได้ท าการศึกษาทบทวนแนวคิด ข้อมูล จากเอกสารวิชาการ รายงาน หนังสือ และเว็บไซต์ ในเร่ืองแนวคิดเกี่ยวกับผู้สูงอายุและแนวคิดด้านการท่องเที่ยว 2.1 แนวคิดเกี่ยวกับผู้สูงอายุ

    2.1.1 ความหมายของผู้สูงอายุ ปี พ.ศ. 2525 ที่ประชุมสมัชชาโลกว่าด้วยผู้สูงอายุโดยองค์การสหประชาชาติ ก าหนด

    มาตรฐานว่า ผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป เรียกว่า “ผู้สูงอายุ” ส่วนสถาบันแห่งชาติเกี่ยวกับผู้สูงอายุของสหรัฐอเมริกาก าหนดว่า ผู้สูงอายุวัยต้น (Young Old) คือ อายุระหว่าง 60-74 ปี เป็นวัยที่ยังไม่ชรามาก และอายุ 75 ปีขึ้นไป จึงจะถือเป็นวัยชราอย่างแท้จริง (Old Old) ส าหรับประเทศไทย ส านักงานสถิติแห่งชาติของไทยแบ่งผู้สูงอายุเป็นผู้สูงอายุตอนต้น คือ อายุ 60-69 ปี และผู้สูงอายุตอนปลาย คือ ผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 70 ปีขึ้นไป

    คณะกรรมาธิการวิสามัญสวัสดิการผู้สูงอายุและการพัฒนาสังคมวุฒิสภา (2534: 1) ได้กล่าวถึง ผู้สูงอายุ คือ ผู้ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป ทั้งชายและหญิง เป็นประชากรที่เป็นทรัพยากรมนุษย์ที่มีค่าของชาติเป็นผู้ถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์ รวมทั้งเป็นผู้ถ่ายทอดมรดกทางวัฒนธรรมให้แก่เยาวชนรุ่นหลังได้เป็นอย่างดี

    Birren (อ้างถึงใน จรัสวรรณ เทียนประภาศ และพัชรี ตันศิริ, 2536: 2) ได้กล่าวว่า การก าหนดว่าใครเป็นผู้ชรานั้นควรพิจารณาประกอบกันทั้ง 3 ด้าน คือ ด้านชีวภาพ ด้านจิตใจ และด้านสังคม ส่วนด้านชีวภาพจะค านึงถึงการเปลี่ยนแปลงและความสามารถในการใช้ศักยภาพของร่างกายเป็นเกณฑ์ ทางด้านจิตใจจะพิจารณาถึงความสามารถในการปรับตัวต่อสิ่งแวดล้อม ความสอดคล้องในการรับรู้ การจดจ า การรับความรู้ใหม่ๆ การใช้เหตุผล การมองภาพพจน์ตนเอง และแรงกระตุ้นในตน ส่วนทางด้านสังคมนั้นก็จะพิจารณาถึงบทบาทหน้าที่ที่รับผิดชอบเป็นส าคัญ

  • แผนงานวิจัย: การพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวในภาคเหนือตอนบนแบบ Slow Tourism ส าหรับนักท่องเที่ยวผู้สูงอายุ

    ย่อย 1 - บทที่ 2 - 2

    สุรกุล เจนอบรม (2541: 6) กล่าวว่า ผู้สูงอายุ หมายถึง บุคคลในวัยสุดท้ายของวงจรชีวิต ซึ่งวงจรชีวิตนั้นเร่ิมตั้งแต่ทารก วัยเด็ก วัยหนุ่มสาว วัยผู้ใหญ่ และวัยชรา ในสังคมดั้งเดิมก าหนดการเป็นผู้สูงอายุ โดยใช้บทบาทที่บุคคลนั้นๆ ท าอยู่ในสังคมเป็นเกณฑ์ คือ บทบาทที่แสดงถึงความเป็นผู้น า ความรับผิดชอบสูงในสังคม ส่วนในปัจจุบันใช้อายุเป็นเกณฑ์ก าหนดความสูงอายุ ซึ่งแตกต่างกันไปในสังคมของแต่ละประเทศ เช่น บางประเทศก าหนด 55 ปี บางประเทศก าหนด 65 ปี และตัวเลขเหล่านี้ คือ เกณฑ์อายุปลดเกษียณตนเองจากการปฏิบัติงานตามที่แต่ละประเทศก าหนดไว้นั่นเอง

    อุบลรัตน์ เพ็งสถิตย์ (2546: 7) กล่าวว่า ผู้สูงอายุในสังคมไทย หมายถึง บุคคลที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป มีการเปลี่ยนแปลงทางด้านร่างกายในลักษณะของการเสื่อมถอย การเจริญเติบโตของร่างกาย และความต้านทานโรคน้อยลง ความสามารถด้านการปรับตัวและบทบาททางสังคมของแต่ละบุคคลจะมีความสามารถที่แตกต่างกันออกไป

    จากความหมายของผู้สูงอายุที่กล่าวมาข้างต้นส าหรับในการศึกษานี้ ผู้สูงอายุ หมายถึง ผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 55 ปีขึ้นไป มีการเสื่อมสภาพของร่ายกาย เช่น มีก าลังวังชาลดลง มีความเชื่องช้ามากขึ้น และความสามารถในการใช้ศักยภาพของร่างกายลดลง ส่วนการเปลี่ยนแปลงทางด้านจิตใจ และสังคม ขึ้นอยู่กับลักษณะนิสัย สภาพร่างกาย และการปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมและสังคมของแต่ละบุคคล เหตุที่ใช้อายุ 55 ปี เป็นเกณฑ์เนื่องจากในการส ารวจ และจัดท าสถิตินักท่องเที่ยวต่างชาติโดยการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยและกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาใช้เกณฑ์อายุ 55 ป ี

    2.1.2 การเปลี่ยนแปลงในผู้สูงอายุ ผู้สูงอายุเป็นผู้ที่อยู่ในวัยสุดท้ายของชีวิต และเป็นช่วงที่มีการเปลี่ยนแปลงหลายด้าน ซึ่งการเปลี่ยนแปลงในด้านต่างๆ อันเนื่องมาจากกระบวนการของความชรา (Aging Process) หรือความชรา (Aging) ของผู้สูงอายุก่อให้เกิดปัญหามากมายตามมา ได้มีผู้ศึกษาถึงสภาพปัญหาของผู้สูงอายุนั้นสืบเน่ืองจากการเปลี่ยนแปลงใน 3 ประการใหญ่ๆ คือ การเปลี่ยนแปลงทางด้านร่างกาย การเปลี่ยนแปลงทางด้านจิตใจและอารมณ์ การเปลี่ยนแปลงทางด้านทางสังคม ดังนี้ (มัลลิกา มัติโต และรัตนา เพ็ชรอุไร, 2542: 3-25 และศรีเรือน แก้วกังวาน, 2545: 541-548)

    1) การเปลี่ยนแปลงด้านร่างกาย ได้แก่ - ระบบกล้ามเนื้อและกระดูก พบว่า มีการฝ่อของกล้ามเนื้อโดยเฉพาะที่ส่วนขา ก าลัง

    การหดตัวของกล้ามเนื้อจะลดลงตามล าดับหลังอายุ 30 ปี และลดลงเร็วขึ้นหลังอายุ 50 ปี กล้ามเนื้ออ่อนก าลังท าให้สูญเสียความแข็งแรงว่องไว และการทรงตัวที่ดีส่วน

  • ย่อย 1: การประเมินศักยภาพของแหลง่ท่องเที่ยวในภาคเหนือตอนบนแบบ Slow Tourism ที่เหมาะสมกับนกัท่องเที่ยวผู้สูงอายุ

    ย่อย 1 - บทที่ 2 - 3

    กระดูกจะบางลง ผุและหักง่าย หมอนรองกระดูกสันหลังจะกร่อนเสียความยืดหยุ่น ข้อเสื่อมตามวัย ปวดตามข้อ และท าให้เกิดอุบัติเหตุระหว่างการเคลื่อนไหวได้ง่าย

    - ระบบประสาทสัมผัส เช่น ตา หู จมูก ลิ้น และผิวหนัง ประสาทสัมผัส ต่างๆ เหล่านี้รับรู้ช้าลง

    - ผิวหนัง ความยืดหยุ่นของผิวหนังลดลง ปริมาณไขมันที่สะสมใต้ผิวหนังก็ลดลง ท าให้ผิวหนังเป็นรอยเหี่ยวย่น เกิดจุดด่างด า ตกกระ เซลล์ที่ผิวหนังแบ่งตัวช้าท าให้การหายของบาดแผลที่ผิวหนังช้าลง

    - ระบบการหายใจและการไหลเวียนโลหิต เยื่อบุผนังหัวใจด้านในหนาขึ้นมี คลอเรสเตอรอลแทรกในผนังหลอดเลือด ท าให้หลอดเลือดแข็งตัว ขาดความยืดหยุ่น การไหลเวียนของเลือดช้าลงท าให้หัวใจต้องท างานหนักขึ้น เกิดหัวใจเต้นผิดจังหวะ และหัวใจวายได้ง่าย นอกจากนี้ผู้สูงอายุยังมีอาการหน้ามืดเป็นลมได้ง่าย เกิดจากเลือด ไปเลี้ยงสมองไม่ทันขณะที่มีการเปลี่ยนท่า

    - ระบบประสาท เซลล์สมองและเซลล์ประสาทลดลง โดยเฉพาะหลังอายุ 60 ปีไปแล้วจะลดลงอย่างรวดเร็ว เนื่องจากเซลล์จ านวนดังกล่าวลดจ านวนลง ท าให้ขนาดของสมองห่างกว้างออก สมองบางส่วนจะฝ่อตัวมากกว่าส่วนอ่ืน เช่น ส่วนที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการมองเห็น “สมองน้อย” ซึ่งรับผิดชอบเกี่ยวกับการประสานงานของกล้ามเนื้อส่วนต่างๆ จะด้อยประสิทธิภาพท าให้เคลื่อนไหวช้า มีอาการสั่นตามร่างกายได้ จะเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ได้ยาก แก้ปัญหาต่างๆ ได้ไม่ดี และจะลืมง่ายในเหตุการณ์ปัจจุบัน แต่จะสามารถจ าเร่ืองเก่าๆ ได้ดี

    - ระบบทางเดินอาหาร ผู้สูงอายุส่วนใหญ่ฟันจะหัก ต่อมน้ าลายขับน้ าลายออกมาน้อยลง การเคลื่อนตัวของกระเพาะอาหารและล าไส้ช้าลง ท าให้ท้องอืดอาหาร ไม่ย่อย นอกจากนี้ท าให้การดูดซึมอาหารน้อยลง จึงท าให้ผู้สูงอายุขาดสารอาหารได้ง่าย

    - ระบบทางเดินปัสสาวะ เกิดการเสื่อมหน้าที่ของไต ท าให้ไตขับถ่ายของเสียได้น้อยลง ถ่ายปัสสาวะบ่อยเนื่องจากกระเพาะปัสสาวะมีความจุน้อยลง ผู้สูงอายุ บางรายอาจปัสสาวะขัดโดยเฉพาะผู้ชายจากต่อมลูกหมากโต ส่วนในเพศหญิงอาจมีการกลั้นปัสสาวะไม่อยู่เพราะกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานหย่อนเนื่องจากการคลอดบุตรหลายคน

  • แผนงานวิจัย: การพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวในภาคเหนือตอนบนแบบ Slow Tourism ส าหรับนักท่องเที่ยวผู้สูงอายุ

    ย่อย 1 - บทที่ 2 - 4

    - ระบบต่อมไร้ท่อ มีการผลิตฮอร์โมนของต่อมไร้ท่อน้อยลง ตับอ่อนผลิตอินซูลินได้น้อยลง ท าให้ผู้สูงอายุมีโอกาสเป็นเบาหวานได้ง่ายกว่าวัย

    - ระบบภูมิคุ้มกัน เป็นระบบของร่างกายที่ประกอบด้วยระบบย่อยๆ อีกหลายระบบท างานประสานกันในการต่อสู้กับเชื้อโรคที่มีอยู่แล้วในร่างกายหรือที่จะเข้ามาใหม่ ในผู้สูงอายุระบบภูมิคุ้มกันมักจะบกพร่อง

    2) การเปลี่ยนแปลงด้านอารมณ์และจิตใจ การเปลี่ยนแปลงด้านอารมณ์และจิตใจเป็นผลเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายและสังคมด้วย เพราะความเสื่อมของอวัยวะต่างๆ และสภาพแวดล้อมต่างๆ จะมีผลต่ออารมณ์และจิตใจของผู้สูงอายุ การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวเป็นผลมาจากการสูญเสียในด้านต่างๆ เช่น การสูญเสียบุคคลอันเป็นที่รัก การสูญเสียสถานภาพทางสังคมและเศรษฐกิจ การสูญเสียสัมพันธภาพในครอบครัวเนื่องจากบุตรธิดามักจะมีครอบครัวกันแล้ว

    3) การเปลี่ยนแปลงด้านสังคม เนื่องจากอายุมากขึ้นความเสื่อมโทรมของอวัยวะต่างๆ มีมากขึ้นความแข็งแรงและประสิทธิภาพการท างานลดลง จึงท าให้ผู้สูงอายุต้องมอบภารกิจให้คนอ่ืนและเกษียณตัวเองจากการท างาน บางคนเคยด ารงต าแหน่งระดับสูงหรือเป็นผู้น าครอบครัวหรือเป็นก าลังส าคัญของครอบครัวสามารถสั่งการต่างๆ ได้ มีรายได้พอที่จะเลี้ยงดูตนเองและคนอ่ืนได้ แต่เมื่อเป็นผู้สูงอายุหน้าที่บทบาทส าคัญ ก็เปลี่ยนแปลงไปหรือหมดไป การพบปะหรือติดต่อกับคนอ่ืนจึงลดลงด้วย

    2.1.3 ความต้องการของผู้สูงอายุ ความต้องการ หมายถึง สิ่งที่จ าเป็นอย่างยิ่งต่อการด ารงชีวิต และพัฒนาศักยภาพที่มนุษย์

    พอใจ ความต้องการเกิดขึ้นกับบุคคลไม่มีวันจบสิ้น และเปลี่ยนแปลงได้ทุกขณะโดยเฉพาะผู้สูงอายุยังมีความต้องการในด้านการยอมรับการดูแล และการมีกิจกรรมต่างๆ ในสังคม เพื่อต้องการให้สังคมยอมรับ

    สุธีรา นุ้ยจันทร์ (อ้างถึงใน จารี ทองต าลึง, 2538: 28-29) สรุปได้ว่า ความต้องการ ขั้นพื้นฐานของผู้สูงอายุ ประกอบด้วย ความต้องการทางด้านร่างกาย คือ ปัจจัยที่เหมาะสมกับวัยและสภาพร่างกาย ความต้องการทางด้านเศรษฐกิจเพื่อความมั่นคงในชีวิตไม่เป็นภาระของลูกหลานและสังคม ความต้องการทางด้านจิตใจ คือ ต้องการความรักเอาใจใส่ ความยกย่องนับถือ ความต้องการทางด้านสังคม คือ การยอมรับยกย่องจากสังคมและชุมชน โดยมีส่วนร่วมในสังคม ชุมชนเพราะถือว่ายังสามารถใช้ความรู้สติปัญญาให้เกิดประโยชน์ต่อสังคมได้ ต้องการลดภาระพึ่งพาผู้อ่ืน ต้องการหาความรู้เพิ่มเติมประสบการณ์ใหม่ๆ ในสังคม

  • ย่อย 1: การประเมินศักยภาพของแหลง่ท่องเที่ยวในภาคเหนือตอนบนแบบ Slow Tourism ที่เหมาะสมกับนกัท่องเที่ยวผู้สูงอายุ

    ย่อย 1 - บทที่ 2 - 5

    ศศิพัฒน์ ยอดเพชร (2534: 24-26) ได้แบ่งความต้องการของผู้สูงอายุไว้ 3 ประเภท ดังน้ี 1) ความต้องการทางกาย ความต้องการทางด้านนี้ ได้แก่ ความต้องการด้านปัจจัย 4 ได้แก่

    อาหาร เสื้อผ้า ที่อยู่อาศัย และการรักษาพยาบาล 2) ความต้องการทางสังคมเป็นความต้องการที่เกี่ยวพันกับความต้องการด้านจิตใจ ได้แก่

    ความยกย่องนับถือ ความส าคัญ การเป็นเจ้าของ ความมีโอกาสท าในสิ่งที่ปรารถนา ความต้องการเหล่านี้ หากได้รับการตอบสนองก็จะท าให้ผู้สูงอายุมีความสดชื่น รู้จักตนเอง รับรู้ว่าตนเองมีคุณค่า และส่งผลถึงความสุข ทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ

    3) ความต้องการทางเศรษฐกิจ ผู้สูงอายุไม่คิดจะเป็นเพียงผู้คอยรับความช่วยเหลือจากครอบครัวและผู้อื่นแต่เพียงอย่างเดียว แต่ยังต้องการที่จะเป็นผู้มีบทบาทคือยังต้องการมีงานท า และมีรายได้เพื่อช่วยตนเอง

    สรุปได้ว่า ผู้สูงอายุต้องการที่จะใช้ชีวิตหรือด าเนินกิจกรรมที่อิสระ มีโอกาสใช้เวลาว่างร่วมกับผู้ อ่ืนโดยเฉพาะในวัยเดียวกัน เพราะการเรียนรู้และการศึกษาส าหรับผู้สูงอายุก็ยังมีความส าคัญการได้รับความรู้ใหม่ๆ วิธีการใหม่ๆ ที่เจริญก้าวหน้าจะท าให้เป็นคนทันต่อเหตุการณ์ การตอบสนองจากความต้องการ จึงท าให้เกิดความรักตนเอง รักผู้อ่ืน รักธรรมชาติ มองตนเองอย่างมีคุณค่า จึงจ าเป็นที่จะต้องจัดในรูปกิจกรรมต่างๆ ที่หลากหลาย และเน้นความแปลกใหม่ท้าทายความสามารถ

    2.1.4 ปัญหาของผู้สูงอายุ เน่ืองจากผู้สูงอายุมีการเปลี่ยนแปลงในหลายด้าน และมักจะเป็นการเปลี่ยนแปลงในทางที่

    เสื่อมถอยลง เช่น อวัยวะต่างๆ ในร่างกายเสื่อมโทรมลง ประสิทธิภาพในการท างานลดลง เป็นต้น ท าให้ผู้สูงอายุมักจะพบกับปัญหาต่างๆ หลายประการ ตัวอย่างเช่น จากการศึกษาผู้สูงอายุของ มาลินี วงษ์สิทธิ์ และศิริวรรณ ศิริบุญ (2544: 118-119) และสุรีย์ กาญจนวงศ์ และคนอ่ืนๆ (2540: 20-22) พบปัญหาของผู้สูงอายุ ดังนี ้

    - ปัญหาสุขภาพ - ปัญหาด้านรายได้ - ปัญหาด้านค่ารักษาพยาบาล - ขาดคนดูแลยามเจ็บป่วย - ปัญหาด้านจิตใจ - ปัญหาการปรับตัวเข้ากับคนในบ้าน

  • แผนงานวิจัย: การพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวในภาคเหนือตอนบนแบบ Slow Tourism ส าหรับนักท่องเที่ยวผู้สูงอายุ

    ย่อย 1 - บทที่ 2 - 6

    2.1.5 การปรับตัวของผู้สูงอายุ ผู้สูงอายุเป็นวัยที่ส่วนต่างๆ ของร่างกายค่อยๆ เสื่อมสภาพลง อวัยวะต่างๆ เร่ิมเสื่อมสภาพ

    ลง ซึ่งผู้สูงอายุแต่ละคนต่างก็มีการปรับตัวที่แตกต่างกัน ดังนั้น การจัดกิจกรรมเพื่อผู้สูงอายุจึงต้องพิจารณาให้เหมาะกับผู้สูงอายุแต่ละกลุ่ม ดังนี ้

    1) กลุ่มที่ยอมรับความจริง บังคับตนเองได้ และสามารถปรับตัวกับสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ ผู้สูงอายุในกลุ่มนี้จะชอบกิจกรรมของหมู่คณะปรับตัวและเสริมสร้างบุคลิกภาพช่วยเหลือ และท าประโยชน์ในสังคมตามความรู้ ความสามารถ

    2) กลุ่มที่พยายามต่อสู้กับความหวาดหวั่น ไม่แน่นอนของชีวิต พยายามบังคับตนเองให้มีใจสู้ไม่ยอมแพ้ แม้กระทั่งสังขารไม่ยอมรับว่าตนเองแก่การปรับตัวก็เป็นไปในทางที่ไม่คิดสร้างสรรค์ประโยชน์อะไรให้แก่สังคมใช้เวลาว่างหาความสุขเพลิดเพลินให้ตนเอง ไม่อยากแก่ พยามรักษาสุขภาพ และยังมัวเมาในรูป รส กลิ่นเสียงและอ่ืนๆ อยู่

    3) กลุ่มที่รู้สึกว่าไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้ต้องพึ่งพาอาศัยผู้อ่ืน ความชรา ท าให้ผู้สูงอายุกลุ่มนี้มีความรู้สึกเศร้า สิ้นหวัง หดหู่ใจ ท้อแท้ต่อการเปลี่ยนตัวให้เข้ากับสังคมที่มีการเปลี่ยนแปลงไม่สามารถอยู่ในสังคมได้ใช้เวลาว่างไปในทางผิดไม่เกิดประโยชน์ท าให้ขาดก าลังใจ เบื่อหน่ายต่อชีวิต สุขภาพจิตเสื่อม และอาจจะส่งผลเป็นโรคประสาทได้

    การจัดกิจกรรมที่เหมาะสมกับผู้สูงอายุควรเป็นกิจกรรมที่ท าให้ผู้สูงอายุรู้สึกว่าตนเองยังมีคุณค่า สามารถที่จะอยู่ร่วมกับบุคคลอ่ืนได้อย่างมีความสุข ดังนี้

    (1) กิจกรรมส าหรับผู้เกษียณอายุ เป็นกิจกรรมเชิงปฐมนิเทศหรือแนะแนวเพื่อการเตรียมตัวและปรับตัวในด้านต่างๆ ได้อย่างเหมาะสม

    (2) เป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมในการปรับตัวต่อความเสื่อมถอยของร่างกาย เพราะภารกิจของชีวิตวัยสูงอายุที่จ าเป็นมาก คือ การดูแลสุขภาพร่างกาย

    (3) กิจกรรมส่งเสริมการปรับตัวให้เหมาะสมกับรายได้ ที่ลดลงและภาวะการออกจากงาน กิจกรรมประเภทนี้ ได้แก่ ให้ความรู้เร่ืองการใช้จ่าย มีการจัดสัมมนาเกี่ยวกับวิธีเพิ่มรายได้ การฝึกงานอาชีพงานอดิเรกที่เหมาะสมกับวัยผู้สูงอายุ เช่น งานจักสาน งานปั้น งานถักทอ ท าสวนไม้ดอก ไม้ผล ฯลฯ

    (4) กิจกรรมช่วยส่งเสริมการปรับตัวต่อการจากไปของคู่สมรส และการอยู่ตามล าพัง เช่น การใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์

  • ย่อย 1: การประเมินศักยภาพของแหลง่ท่องเที่ยวในภาคเหนือตอนบนแบบ Slow Tourism ที่เหมาะสมกับนกัท่องเที่ยวผู้สูงอายุ

    ย่อย 1 - บทที่ 2 - 7

    (5) เป็นกิจกรรมที่ไม่ใช้ก าลังมาก คือ กิจกรรมด้านการเล่นกีฬา การออกก าลังกาย ผู้สูงอายุ การออกก าลังกายให้เหมาะสมไม่มากหรือน้อยเกินไป เช่น การเดินเล่น การว่ิงเหยาะๆ ถีบจักรยาน เล่นกอล์ฟ พายเรือ ว่ายน้ าระยะสั้นๆ เป็นงานอดิเรกไม่ควรหักโหมหรือใช้ก าลังมาก

    (6) เป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมโอกาสคบหาสมาคมกับบุคคลอ่ืน ผู้สูงอายุต้องการเพื่อนและมีกลุ่มบุคคลร่วมวัย (Peer Group) ซึ่งจะช่วยให้ผู้สูงอายุมีสุขภาพจิตที่ดีกิจกรรมในลักษณะนี้ ได้แก่ การจัดอยู่ค่ายครอบครัว การเข้าร่วมกิจกรรมของชมรม สมาคม เช่น การแข่งหมากรุก กอล์ฟ จัดอภิปราย และสนทนาในหัวข้อต่างๆ การฝึกท าอาหาร และจัดโปรแกรมน าเที่ยวเพื่อให้ได้พักผ่อนและสร้างสัมพันธภาพกับบุคคลอ่ืนๆ

    (7) กิจกรรมที่สนับสนุนชี้แนะแนวทางการปฏิบัติตนเป็นสมาชิกที่ดีของชุมชนและสังคม กิจกรรมนั้นเป็นกิจกรรมที่สมาชิกต้องใช้เหตุผลให้การยอมรับนับถือในความสามารถและประสบการณ์ของผู้สูงอายุ กิจกรรมนี้ ได้แก่ การสัมมนา อภิปราย บทบาทของผู้สูงอายุต่อสังคมให้ความรู้เกี่ยวกับการเมืองการปกครอง อาสาสมัครบ าเพ็ญประโยชน์การเข้าร่วมการฝึกอบรมเยาวชน เพื่อถ่ายทอดศิลปะวิทยาการต่างๆ

    (8) เป็นกิจกรรมที่ช่วยเหลือการปรับปรุงและจัดสภาพที่อยู่อาศัยให้เหมาะสมกับวัยสูงอายุโดยค านึงถึงความปลอดภัยเข้าออกสะดวก มีเคร่ืองอ านวยความสะดวก อาจจัดในรูปแบบการอบรมชี้แจงแนะน าให้แก่ผู้สูงอายุ

    2.1.6 ปัจจัยท่ีส่งผลต่อการเข้าร่วมกิจกรรมผู้สูงอายุ ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเข้าร่วมกิจกรรมผู้สูงอายุ ได้แก่ ปัจจัยส่วนบุคคล ปัจจัยด้าน

    ครอบครัวปัจจัยด้านภาวะสุขภาพ และปัจจัยด้านสังคม ดังนี้ 1) ปัจจัยด้านส่วนบุคคล ปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ เพศ และอายุ เป็นตัวแปรที่มีอิทธิพลต่อ

    ในการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรมของผู้สูงอายุ ซึ่งส่งผลกระทบต่อการด าเนินชีวิตของผู้สูงอายุในสังคม (สุทิน อ้อนอุบล, 2541: 24)

    2) ปัจจัยด้านครอบครัว สังคมไทยเป็นสังคมที่เร่ิมมีการเปลี่ยนแปลงจากสังคมเกษตรกรรมสู่สังคมอุตสาหกรรม ท าให้ลักษณะโครงสร้างของครอบครัวไทยเปลี่ยนแปลงจากครอบครัวขยายไปเป็นครอบครัวเดี่ยว ท าให้ผู้สูงอายุเกิดความว้าเหว่ ขาดคนเข้าใจ ท าให้ต้องพึ่งพาองค์กรของรัฐที่จะให้ความช่วยเหลือในด้านต่างๆ (คณะกรรมการการศึกษาวัฒนธรรมและกิจกรรมผู้สูงอายุ, 2529: 3 และสุทิน อ้อนอุบล, 2541: 127)

  • แผนงานวิจัย: การพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวในภาคเหนือตอนบนแบบ Slow Tourism ส าหรับนักท่องเที่ยวผู้สูงอายุ

    ย่อย 1 - บทที่ 2 - 8

    3) ปัจจัยด้านภาวะสุขภาพ ผู้สูงอายุเป็นวัยที่มีการเสื่อมถอยของร่างกาย ปัญหาสุขภาพกายจึงเป็นปัญหาส าคัญที่สุดปัญหาหนึ่งของผู้สูงอายุ โดยเกริกศักดิ์ บุญญานุพงศ์ และสุรีย์ บุญญานุพงศ์ (2533: 18) พบว่า ปัญหาที่ผู้สูงอายุส่วนใหญ่ประสบได้บ่อย คือ ปัญหาสุขภาพอนามัยโดยเฉพาะผู้สูงอายุในชนบท และบรรลุ ศิริพานิช (2533: 32) พบว่า กลุ่มผู้สูงอายุไทยที่มีอายุยืนยาวและสุขภาพแข็งแรงจะท ากิจกรรมส่งเสริมสุขภาพมากกว่ากลุ่มผู้สูงอายุที่มีสุขภาพไม่แข็งแรงและการรับรู้ภาวะสุขภาพมีความสัมพันธ์กับการใช้บริการสุขภาพของผู้สูงอายุ ขณะที่โสภิดา เมธาวี (2535: 15) พบว่า ผู้สูงอายุที่รับรู้ว่าตนเองมีสุขภาพดี มีความต้องการเข้าร่วมกิจกรรมของชมรมผู้สูงอายุมากกว่าผู้สูงอายุที่รับรู้ว่าตนเองมีสุขภาพไม่ดี

    4) ปัจจัยด้านสังคม การที่บุคคลจะเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ นั้น จ าเป็นต้องได้รับการสนับสนุนให้ก าลังใจจากบุคคลใกล้ชิดและรอบข้าง โดย Kaplan, Cassel, and Gore (1977: 48) กล่าวว่า แรงสนับสนุนทางสังคม หมายถึง การติดต่อของบุคคลต่างๆ ในสังคมที่ท าให้บุคคลใดบุคคลหนึ่งได้รับความพึงพอใจและได้รับการตอบสนองตามต้องการ ซึ่งสอดคล้องกับ Lin, Hunter, and Perry (อ้างถึงใน สุมมนัส วงศ์กุญชร, 2537: 40) ที่กล่าวว่า แรงสนับสนุนทางสังคมเป็นการติดต่อของบุคคลเป็นรายบุคคล รายกลุ่มหรือชุมชนขนาดใหญ่ก็ได้ ซึ่งการติดต่อดังกล่าวท าให้บุคคลแสดงออกในด้านการมีส่วนร่วมในกิจกรรมทางสังคมจนเกิดความรู้สึกเป็นเจ้าของหรือเป็นส่วนหนึ่งของสังคม นอกจากนี้ Cobb (1976: 300) สรุปว่า แรงสนับสนุนทางสังคม คือ การที่บุคคลได้รับข้อมูลที่ท าให้ตนเองเชื่อว่ามีบุคคลให้ความรัก ความเอาใจใส่ เห็นคุณค่าและยกย่องตนเองท าให้เกิดความรู้สึกว่าเป็นส่วนหน่ึงของสังคม

    2.2 แนวคิดเกี่ยวกับองค์ประกอบของแหล่งท่องเท่ียว

    แหล่งท่องเที่ยวเป็นจุดที่น่าสนใจของนักท่องเที่ยวจะต้องประกอบด้วยองค์ประกอบหลายๆ อย่างผสมกัน ดังแนวคิดของนักวิชาการต่อไปนี้

    Mill and Morrison (1992: 263) แหล่งท่องเที่ยวต้องประกอบด้วย สิ่งดึงดูดใจ (Attractions) ในด้านความสวยงาม ความน่าประทับใจ สิ่งอ านวยความสะดวก (Facilities) ในเร่ืองที่พัก ร้านอาหาร ร้านขายของที่ระลึก หรือบริการอ่ืนๆ ปัจจัยพื้นฐาน (Infrastructures) ในเร่ืองระบบการสื่อสารและสาธารณูปโภค การขนส่ง (Transportation) และการต้อนรับอย่ างมิตรไมตรี (Hospitality)

  • ย่อย 1: การประเมินศักยภาพของแหลง่ท่องเที่ยวในภาคเหนือตอนบนแบบ Slow Tourism ที่เหมาะสมกับนกัท่องเที่ยวผู้สูงอายุ

    ย่อย 1 - บทที่ 2 - 9

    McIntosh and Goeldner (1986: 200) แหล่งท่องเที่ยวต้องประกอบด้วยทรัพยากรท่องเที่ยวธรรมชาติ ปัจจัยพื้นฐาน ระบบการขนส่ง สิ่งอ านวยความสะดวก การต้อนรับอย่างมิตรไมตรีและทรัพยากรท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม

    Bhatia (1986: 139-140) กล่าวถึงองค์ประกอบพื้นฐานแหล่งท่องเที่ยวว่าจะต้องประกอบด้วย

    1) สิ่งดึงดูดใจ (Attraction) ถือเป็นองค์ประกอบส าคัญที่สุดที่จะช่วยให้นักท่องเที่ยวเดินทางไปยังแหล่งท่องเที่ยวนั้นๆ ได้แก่ สิ่งดึงดูดใจทางด้านวัฒนธรรม เช่น โบราณสถาน สิ่งก่อสร้างที่ส าคัญทางประวัติศาสตร์ ฯลฯ สิ่งดึงดูดใจทางธรรมชาติ เช่น ทิวทัศน์ ได้แก่ พืช สัตว์ ทะเล ภูเขา สวนสาธารณะ เทศกาลต่างๆ เช่น การแสดงนิทรรศการ งานมหกรรม ศิลปะ ดนตรี ประเพณี การละเล่น เป็นต้น

    2) สิ่งอ านวยความสะดวก (Facilities) ถือเป็นสิ่งจ าเป็นส าหรับนักท่องเที่ยวและเป็นส่วนที่เสริมให้แหล่งท่องเที่ยวนั้นน่าสนใจมากยิ่งขึ้น ได้แก่ โรงแรม สถานบันเทิงต่างๆ รวมทั้งสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ รวมถึงการเข้าถึงสถานที่ได้รวดเร็ว ปลอดภัย และสะดวกสบายยิ่งขึ้น ดังนั้นการก่อสร้างปัจจัยพื้นฐาน (Infrastructure) เช่น ระบบขนส่ง ระบบการสื่อสาร ระบบสาธารณูปโภค เช่น ไฟฟ้า ประปา จึงเป็นสิ่งที่จ าเป็นอย่างยิ่งในแหล่งท่องเที่ยว (Collier and Harraway (อ้างในชูสิทธิ์ ชูชาติ 2544: 21)

    3) การเข้าถึงแหล่งท่องเที่ยว (Accessibility) เป็นองค์ประกอบที่ส าคัญอีกประการหนึ่งที่จะช่วยให้นักท่องเที่ยวสามารถเข้าถึงจุดที่น่าสนใจได้ ได้แก่ การคมนาคมขนส่ง (Transportation) ประกอบด้วย เส้นทาง ยานพาหนะ สถานี และผู้ประกอบการการขนส่ง ซึ่งต้องสะดวกสบายและสามารถพานักท่องเที่ยวเดินทางไปยังแหล่งท่องเที่ยวอ่ืนๆ ที่น่าสนใจ หากแหล่งท่องเที่ยวใดที่การคมนาคมขนส่งไปไม่ถึงแหล่งท่องเที่ยวนั้นก็จะลดคุณค่าลง ตรงกันข้ามแหล่งท่องเที่ยวใดที่การคมนาคมเข้าถึงอย่างสะดวกสบายก็จะสามารถดึงดูดนักท่องเที่ยวได้มากกว่า

    บุญเลิศ จิตตั้งวัฒนา (2542: 45-56) กล่าวว่า การที่จะให้มีนักท่องเที่ยวเข้าไปเยี่ยมชมทรัพยากรท่องเที่ยวใดๆ ก็ตามย่อมขึ้นอยู่กับปัจจัยส าคัญ 3 ประการ คือ

    1) ทรัพยากรการท่องเที่ยวจะต้องมีสิ่งดึงดูดใจ เช่น ความสวยงามของธรรมชาติ ศิลปวัฒนธรรม โบราณสถาน สถานที่ทางประวัติศาสตร์ เป็นต้น

  • แผนงานวิจัย: การพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวในภาคเหนือตอนบนแบบ Slow Tourism ส าหรับนักท่องเที่ยวผู้สูงอายุ

    ย่อย 1 - บทที่ 2 - 10

    2) ทรัพยากรท่องเที่ยวต้องมีสิ่งอ านวยความสะดวก เช่น มีบริการอ านวยความสะดวก น้ าประปา ไฟฟ้า การสื่อสาร การขนส่ง ที่พักแรม อาหาร น าเที่ยว จ าหน่ายสินค้าที่ระลึก เป็นต้น

    3) ทรัพยากรท่องเที่ยวจะต้องมีเส้นทางคมนาคมเข้าถึง ถือเป็นปัจจัยส าคัญของทรัพยากรท่องเที่ยวที่ต้องมีเส้นทางหรือโครงข่ายคมนาคมที่สามารถเข้าถึงแหล่งท่องเที่ยวนั้นตลอดจนสามารถเชื่อมโยงกันระหว่างแหล่งท่องเที่ยวกับบริเวณใกล้เคียง

    โดยสรุปแล้วแหล่งท่องเที่ยวที่สามารถดึงดูดนักท่องเที่ยวได้นั้นจะต้องประกอบไปด้วยองค์ประกอบส าคัญ ได้แก่ องค์ประกอบด้านสิ่งดึงดูดใจทางการท่องเที่ยว องค์ประกอบด้านสิ่งอ านวยความสะดวก องค์ประกอบด้านการคมนาคมขนส่งที่สามารถเข้าถึงแหล่งท่องเที่ยวได้ องค์ประกอบทั้ง 3 จะช่วยสนับสนุนให้นักท่องเที่ยวสามารถเดินทางท่องเที่ยวในแหล่งท่องเที่ยวได้อย่างสะดวกสบาย และสามารถเดินทางไปยังแหล่งท่องเที่ยวอื่นๆ ที่ใกล้เคียงได้โดยสะดวก รวมทั้งมีสิ่งอ านวยความสะดวกที่ท าให้นักท่องเที่ยวได้รับความสะดวกสบายมีความสนุกสนานเพลิดเพลินจากการเดินทางท่องเที่ยว ได้รับทั้งความรู้ ประสบการณ์ในการเข้าร่วมกิจกรรมการท่องเที่ยวนั้นๆ 2.3 แนวคิดการจัดการทรัพยากรการท่องเท่ียว

    ทรัพยากรการท่องเที่ยว หมายถึง สิ่งดึงดูดใจให้ผู้คนเดินทางมาเยือนถิ่นนั้น ซึ่งมีทั้งสิ่งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ และสิ่งที่มีคุณค่าที่มนุษย์สร้างขึ้น รวมทั้งเทศกาลและงานประเพณีประจ าปีที่มีอยู่ในท้องถิ่นนั้น ซึ่งสามารถแบ่งประเภทของทรัพยากรการท่องเที่ ยวออกได้เป็น 3 ประเภท (บุญเลิศ จิตต้ังวัฒนา, 2542: 64-67) ได้ดังนี้คือ

    1) ทรัพยากรท่องเที่ยวประเภทธรรมชาติ เป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ โดยเกิดจากสภาพแวดล้อมทางกายภาพตามธรรมชาติที่มีความสวยงาม น่าสนใจต่อการเดินทางเที่ยวชม เป็นรมณียสถาน (สถานที่ให้ความสนุกสนาน ตื่นเต้น บันเทิง มีความสุข มีความประทับใจ และความทรงจ า) รวมถึงบริเวณที่มนุษย์เข้าไปปรุงแต่งเพิ่มเติมจากธรรมชาติในบางส่วน

    2) ทรัพยากรท่องเที่ยวประเภทประวัติศาสตร์ โบราณสถาน โบราณวัตถุ เป็นทรัพยากรท่องเที่ยวที่มนุษย์สร้างขึ้นตามประโยชน์ของมนุษย์ ทั้งที่เป็นมรดกในอดีตและได้สร้างเสริมในสมัยปัจจุบัน ซึ่งมีความส าคัญทางประวัติศาสตร์ โบราณคดี และศาสนา เป็นผลงานทางศิลปกรรม สถาปัตยกรรมและจิตรกรรม มีความงามทางสุนทรียศิลป์

  • ย่อย 1: การประเมินศักยภาพของแหลง่ท่องเที่ยวในภาคเหนือตอนบนแบบ Slow Tourism ที่เหมาะสมกับนกัท่องเที่ยวผู้สูงอายุ

    ย่อย 1 - บทที่ 2 - 11

    (ความรู้สึกที่เห็นคุณค่าของความงามวิจิตร งามตระการ และอลังการ) เป็นสิ่งที่แสดงถึงอารยธรรม และความเจริญก้าวหน้าของท้องถิ่น

    3) ทรัพยากรท่องเที่ยวประเภทศิลปวัฒนธรรม ประเพณี และกิจกรรม เป็นทรัพยากรท่องเที่ยวที่มนุษย์สร้างขึ้น ในรูปแบบของการด าเนินชีวิตของผู้คนในสังคม เป็นผลงานทางประเพณี ความเชื่อ การด ารงชีวิต แต่ละกลุ่มชนที่มีความแตกต่างกันไปตามสภาพแวดล้อม โดยยึดถือปฏิบัติสืบทอดกันมา เป็นสิ่งที่บรรพบุรุษได้สร้างขึ้นไว้ให้อนุชนรุ่นหลังเห็นคุณค่า มีความภาคภูมิใจที่จะปฏิบัติตาม ตลอดจนกิจกรรมต่างๆ ของสังคมที่มีผลต่อการดึงดุดให้นักท่องเที่ยวเดินทางไปเยือน

    2.4 แนวคิดเกี่ยวกับการพัฒนาการท่องเท่ียว

    Butler, R.W. (1980) นักภูมิศาสตร์การท่องเที่ยวได้อธิบายไว้ในวารสาร Canadian Geographic เร่ือง The Concept of a Tourist Area Cycle of Evaluation: Implication for Management of Resources ว่าแหล่งท่องเที่ยวจะประสบกับวงจรวิวัฒนาการ 6 ขั้นตอน คือ การส ารวจ การด าเนินการ การพัฒนา การเติบโตมั่นคง การชะงักงัน และความเสื่อมโทรมหรือกลับฟื้นคืนสภาพ (รูปที่ 2.1) ตามแนวคิดการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว 6 ระยะ ของ Butler จะเห็นได้ว่าแหล่งท่องเที่ยวไม่จ าเป็นต้องเปลี่ยนแปลงในทางเสื่อมโทรมเสมอไป Butler ได้อธิบายไว้ว่าเร่ิมแรกของการท่องเที่ยว แหล่งท่องเที่ยวถูกค้นพบโดยนักท่องเที่ยวที่ชอบแสวงหาและรักการผ