19

เรื่อง หน้า ∫∑∫√√≥“∏‘°“√ (7)mcuaad.mcu.ac.th/ac/currlncharge/BO/write/937cee6cea.pdf · 2018. 6. 11. · 40 วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์

  • Upload
    others

  • View
    0

  • Download
    0

Embed Size (px)

Citation preview

Page 1: เรื่อง หน้า ∫∑∫√√≥“∏‘°“√ (7)mcuaad.mcu.ac.th/ac/currlncharge/BO/write/937cee6cea.pdf · 2018. 6. 11. · 40 วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์
Page 2: เรื่อง หน้า ∫∑∫√√≥“∏‘°“√ (7)mcuaad.mcu.ac.th/ac/currlncharge/BO/write/937cee6cea.pdf · 2018. 6. 11. · 40 วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์

∫∑∫√√≥“∏‘°“√ (7)

∫∑§«“¡«‘®—¬ : Research Articles

สันติวิธี : การจัดการความขัดแย้งตามแนวทางสันติวิธี :

Non-Violence and Conflict Management by Non-Violence 1

บุษบง ชัยเจริญวัฒนะ และ เหมือนขวัญ เรณุมาศ :

Bussabong Chaijaroenwatana and Muankwan Renumat

อิทธิพลของอรรถประโยชนทางการเมืองที่ส่งผลต่อการตัดสินใจทางการเมือง

แบบประชาธิปไตยของประชาชนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนกลาง ประเทศไทย :

The Influences of Political Utility Affecting the Democratic

Political Decision, Central Northeast, Thailand 17

สัญญา เคณาภูมิ: Sanya Kenaphoom

ค่านิยมและพฤติกรรมต้นแบบการใช้เครือข่ายสังคมออนไลนตามแนวพุทธจิตวิทยา

บูรณาการของสามเณร: Value and Behavioral Model of Consuming in Online

Social Network Using Integration of Buddhist Psychology for Thai Novices 39

กมลาศ ภูวชนาธิพงศ์, พุทธชาติ แผนสมบุญ, พระครูพิพิธปริยัติกิจ,

พระปลัดสมชาย ปโยโค, อรจิรา วงษาพาน, เอื้ออารีย์ วัยวัฒนะ,

อัครนันท์ อริยศรีพงษ์ และญาณินี ภูพัฒน์ : Kamalas Phoowachathipong,

Phutthachat Phaensomboon, Phrakhrupipithpariyattikit,

Phrapalad Somchai Payogo, Onjira Wongsaparn, Aue-aree Waiwattana,

Akaranun Ariyasripong and Yaninee Poopat

  “ √ ∫— ≠

เรื่อง หน้า

Page 3: เรื่อง หน้า ∫∑∫√√≥“∏‘°“√ (7)mcuaad.mcu.ac.th/ac/currlncharge/BO/write/937cee6cea.pdf · 2018. 6. 11. · 40 วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์

กมลาศ ภูวชนาธิพงศ์1, พุทธชาติ แผนสมบุญ1, พระครูพิพิธปริยัติกิจ1, พระปลัดสมชาย ปโยโค3,อรจิรา วงษาพาน2, เอื้ออารีย์ วัยวัฒนะ2,

อัครนันท์ อริยศรีพงษ4์ และญาณินี ภูพัฒน์1

Kamalas Phoowachathipong1, Phutthachat Phaensomboon1, Phrakhrupipithpariyattikit1, Phrapalad Somchai Payogo3,

Onjira Wongsaparn2, Aue-aree Waiwattana2, Akaranun Ariyasripong4 and Yaninee Poopat1

1คณะมนุษยศาสตร์ มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย Faculty of Humanities, Mahachulalongkornrajavidyalaya University

2นักวิชาการอิสระ Independent researcher

3วิทยาลัยสงฆ์พุทธปัญญาศรีทวารวดี มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย Buddhapanya Sri Thawarawadee Buddhist College,

Mahachulalongkornrajavidyalaya University 4มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์

Dhurakij Pundit University 3Corresponding Author. Email: sdamnoen1yahoo.com

กมลาศ ภูวชนาธิพงศ์1, พุทธชาติ แผนสมบุญ1, พระครูพิพิธปริยัติกิจ1

คานิยมและพฤติกรรมต้นแบบการใช้เครือขายสังคม ออนไลน์ตามแนวพุทธจิตวิทยาบูรณาการของสามเณร Value and Behavioral Model of Consuming in Online Social Network Using Integration of

Buddhist Psychology for Thai Novices

บทคัดยอ การวิจัยมีจุดมุ่งหมายเพื่อ ศึกษาผลการเปลี่ยนแปลงค่านิยมและพฤติกรรมต้นแบบการใช้เครือข่าย

สังคมออนไลน์ตามแนวพุทธจิตวิทยาของสามเณร กลุ่มตัวอย่างได้แก่ สามเณรโรงเรียนพระปริยัติธรรม

แผนกสามัญศึกษา จังหวัดน่าน ระดับมัธยมที่ 3 โดยมีสามเณรที่อาสาสมัครเข้าร่วมฝึกอบรม จำนวน 78 คน

สุ่มแบบแยกประเภท (Stratified random sampling) ตามระดับพฤติกรรมการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์

เป็น 3 กลุ่มๆละ 26 รูป แบ่งเป็น กลุ่มทดลอง A ทำการฝึกอบรมรูปแบบที่ 1 จำนวน 3 วัน และทำโครง

งาน 3 เดือน กลุ่มทดลอง B ทำการฝึกอบรมรูปแบบที่ 2 ทำการฝึกอบรม จำนวน 3 วัน และกลุ่มควบคุม

Doi : 10.14456/jmcupeace.2017.74

Page 4: เรื่อง หน้า ∫∑∫√√≥“∏‘°“√ (7)mcuaad.mcu.ac.th/ac/currlncharge/BO/write/937cee6cea.pdf · 2018. 6. 11. · 40 วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์

40 วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร ปีที่ 5 ฉบับที่ 2 (พฤษภาคม-สิงหาคม 2560)

ไม่การฝึกอบรม การวิจัยครั้งนี้ออกแบบการวิจัยในลักษณะการวัดซ้ำ (Repeated Measure Design)

เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แบบวัดความรู้ความเข้าใจในการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ 2) แบบวัด

ความมีเหตุผลในการคิด 3) แบบวัดค่านิยมการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ 4) แบบวัดการควบคุมตนเอง

และ 5) แบบวัดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ วิธีการวัด 4 ครั้ง ได้แก่ ก่อนการ

ทดลอง หลังการฝึกอบรมระยะที่ 1 หลังการฝึกอบรมระยะที่ 2 และติดตามผลการทำโครงงาน (Project

based learning) 1 เดือน หลังจากนั้นนำข้อมูลมาวิเคราะห์ความแปรปรวนหลายตัวแปรแบบวัดซ้ำ

(Repeated measures ANOVA)

ผลวิจัยพบว่า รูปแบบการฝึกอบรมที่ 1 (กลุ่มทดลอง A) มีคะแนนเฉลี่ยมากกว่ารูปแบบการฝึก

อบรมที่ 2 (กลุ่มทดลอง B) และกลุ่มควบคุมที่ไม่มีการฝึกอบรม คือ การเปลี่ยนแปลงค่านิยมและพฤติกรรม

ต่อการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ที่เหมาะสม 4 ด้าน คือ ด้านเหตุผลในการคิด การควบคุมตนเองค่านิยม

การใช้เครือข่ายออนไลน์ และพฤติกรรมการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์

คำสำคัญ : ค่านิยมการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์; พฤติกรรมการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์

Page 5: เรื่อง หน้า ∫∑∫√√≥“∏‘°“√ (7)mcuaad.mcu.ac.th/ac/currlncharge/BO/write/937cee6cea.pdf · 2018. 6. 11. · 40 วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์

41Journal of MCU Peace Studies Vol. 5 No. 2 (May-August 2017)

Abstract

The purpose of this paper was to study the effect of changes of value and

behavior model of consuming in online social network following integration of philosophy

in Buddhist psychology of novices. The sample consisted of 78 grade 9 novices,

participated the training program of the General Education Section of

Phra Pariyattidhamma Schools in Nan Province. The random sampling were stratified

random sampling based on the level of behavior of consuming in online social network

and simple random. The samples were selected into three groups 1) the experimental

group A consisting of 26 novices participated in the 3-day training and a 3-month project

based learning 2) the experimental group B consisting of 26 novices participated in the

3-day training 3) the control group consisting of 26 novices who did not participate in any

training and the research was designed Repeated Measure Design. The instruments used in

this research were as follows: 1) Cognitive measurement of online social network

consuming 2) Rationality of thinking measurement 3) Value of consuming in online social

network measurement 4) Self-control measurement of online social network consuming

5) Online social network consuming behavior change measurement. The data were

collected for 4 times: pre-test, post-test after training 1 , post-test after training 2 (3-month

project based learning) and post-test after 1 month of Project based learning. The data

were analyzed by Repeated measures ANOVA

The results of this research were as follow: 1) The average score of value and

behavior of consuming in online social network following integration of philosophy in

Buddhist psychology both the experimental group A and B novices after the experiment

were higher than before the experiment 2) No statistically significant interaction was found

between training formats, number of measurements of cognitive and value of consuming

in online social network measurement and Interaction between type of programs and

times of measurement was found but found the interaction between the training formats,

number of measurements of rationality of thinking , self-control measurement of online

social network consuming and online social network consuming behavior at statistically

significant .05 3) According to comparison of the average scores of each aspect with the

training ,the most appropriate format of consuming in online social network behavior

Page 6: เรื่อง หน้า ∫∑∫√√≥“∏‘°“√ (7)mcuaad.mcu.ac.th/ac/currlncharge/BO/write/937cee6cea.pdf · 2018. 6. 11. · 40 วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์

42 วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร ปีที่ 5 ฉบับที่ 2 (พฤษภาคม-สิงหาคม 2560)

following integration of philosophy in Buddhist psychology of novices was Training

1 (experimental group A) which had higher mean score than Training 2 (experiment group B)

and controlled group in 4 aspects: cognitive, self-control, value and behavior of consuming

in online social network.

Keywords: Value of consuming in online social network; Behavior of consuming in online

social network

Page 7: เรื่อง หน้า ∫∑∫√√≥“∏‘°“√ (7)mcuaad.mcu.ac.th/ac/currlncharge/BO/write/937cee6cea.pdf · 2018. 6. 11. · 40 วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์

43Journal of MCU Peace Studies Vol. 5 No. 2 (May-August 2017)

บทนำ

ปัจจุบันการใช้อินเตอร์เน็ตที่มีอิทธิพลต่อวิถีชีวิตคนรุ่นใหม่ ได้แก่ เครือข่ายสังคมออนไลน์ (Social

Network Sites) เชน่ เฟซบุค๊ (Facebook) ทวติเตอร ์ (Twitter) Line (ไลน)์ มาปรบัใชห้ลายวงการทัง้ภาครฐั

และภาคเอกชน เนื่องจากลักษณะการสื่อสารที่มีความสะดวกรวดเร็ว ทำให้เว็ปไซต์เครือข่ายสังคมออนไลน์

เป็นยอดนิยมของคนรุ่นใหม่ในสังคม โดยเฉพาะอย่างยิ่งเยาวชนในช่วงวัยรุ่น ใช้การสื่อสารผ่านอินเทอร์เน็ต

มากที่สุด เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงวัยอื่น ซึ่งสื่อใหม่อันทันสมัยในโลกดิจิทัลไม่ได้มีบทบาทเพียงแค่อำนวย

ความสะดวกให้กับจังหวะการใช้ชีวิตและเพิ่มอัตราความเร็วในการสื่อสารเท่านั้น แต่ยังเข้ามามีบทบาทใน

การเปลี่ยนแปลงรูปแบบพฤติกรรมและแบบแผนในการดำรงชีวิต รวมทั้งยังเปลี่ยนมุมมอง วิธีคิด วิธีการมอง

โลก รวมทั้งค่านิยมทางสังคมและวัฒนธรรมของผู้ใช้อีกด้วย เด็กและเยาวชนที่เติบโตมาพร้อมเทคโนโลยีใน

โลกดิจิทัลสมัยใหม่ (Digital Generation) จำเป็นจะต้องทำความเข้าใจ และรู้เท่าทันถึงความต้องการของ

ตนเอง ในช่วงของการเปลี่ยนผ่านให้ถ่องแท้แตกฉานเสียก่อน ไม่ว่าจะเป็นพฤติกรรมความต้องการอิสระ

ความเป็นตัวของตัวเองสูง โดยเฉพาะความต้องการที่แตกต่าง ปราศจากความต่อเนื่องและการเชื่อมโยง

เหตุผล ซึ่งพฤติกรรมเหล่านี้มีอิทธิพลและส่งผลต่อการออกแบบเนื้อหาและรูปแบบของสื่อสิ่งพิมพ์ดิจิทัล

ยุคหลังสมัยใหม่ (Buaclee, 2014)

จากผลการสำรวจพฤติกรรมบริโภคสื่อของวัยรุ่นอายุ 15-24 ปี ในหลายๆ ประเทศในแถบเอเชีย

พบว่า วัยรุ่นไทยมีการใช้อินเทอร์เน็ตสูงถึง 3.1 ชั่วโมงต่อวัน และใช้เวลาในการเล่นเกมส์ออนไลน์ผ่าน

คอมพิวเตอร์และโทรศัพท์มือถือ รวมทั้งเกมส์อิเล็กทรอนิกส์แบบพกพาสูงที่สุด ครองแชมป์อันดับหนึ่งใน

เอเชีย คือ เฉลี่ยวันละ 60.7 นาที สูงกว่าค่าเฉลี่ยของวัยรุ่นในหลายๆ ประเทศ เช่น สิงค์โปร์ 59.4 นาที/วัน

ฮ่องกง 56 นาที/วัน เกาหลี 46 นาที/วัน และจีน 43.2 นาที/วัน เป็นต้นเมื่อเปรียบเทียบพฤติกรรมของ

วัยรุ่นไทยกับประเทศอื่น ที่มีศักยภาพทางด้านเทคโนโลยีสูงกว่าไทยแล้ว (Semathikara, 2014)

จากผลการศึกษาและวิจัยต่างๆ พบว่าวัยรุ่นมีพฤติกรรมการใช้สื่อสังคมออนไลน์ไม่เหมาะสม เช่น

การเปิดและรับสื่อสื่ออนาจาร การใช้คำพูดรุนแรงผ่านสื่อ การแบ่งปันภาพที่ไม่เหมาะสม การเปิดเผยข้อมูล

ส่วนตัวมากเกินไป ก่อให้เกิดการหลอกลวงผ่านสื่อ จากสถานการณ์ดังกล่าว สะท้อนให้เห็นถึงการขาดการ

คิดพิจารณาไตร่ตรอง การขาดความรู้ความเข้าใจ และการไม่รู้เท่าทันการใช้สื่อของวัยรุ่น ขาดกระบวนการ

ควบคุมตนเองที่เป็นความสามารถในการกำหนดตนเองของบุคคลทั้งด้านความคิด อารมณ์ ความรู้สึกและ

การกระทำ (Tansuwannond et al., 2010) นอกจากนี้ การเปลี่ยนแปลงของสังคมไทยในปัจจุบันที่มุ่งสู่

สังคมแบบดิจิตอล ส่งผลให้เยาวชนมีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมในการใช้คอมพิวเตอร์มากขึ้น โดยเฉพาะ

การเล่นอินเทอร์เน็ต ทำให้เยาวชนมีการแสดงพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงจากเดิม (Wonganantnont, 2014)

เป็นกระบวนการที่บุคคลได้พยายามปรับพฤติกรรมของตน เพื่อเข้ากับสภาพแวดล้อมตามสถานการณ์ต่างๆ

จนสามารถบรรลุถึงเป้าหมายตามที่แต่ละบุคคลได้ตั้งไว้ (Pressey, Robinson & Horrocks, 1959) อย่างไร

ก็ตามการจัดประสบการณ์การเรียนรู้การใช้สื่อที่เหมาะสมผ่านแนวคิดการทางหลักพุทธธรรม น่าจะเป็น

Page 8: เรื่อง หน้า ∫∑∫√√≥“∏‘°“√ (7)mcuaad.mcu.ac.th/ac/currlncharge/BO/write/937cee6cea.pdf · 2018. 6. 11. · 40 วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์

44 วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร ปีที่ 5 ฉบับที่ 2 (พฤษภาคม-สิงหาคม 2560)

แนวทางหนึ่งที่ป้องกันและการแก้ปัญหาดังกล่าว เพื่อสร้างเยาวชนในการใช้ชีวิตอยู่ในโลกดิจิทัลอย่างมี

คุณภาพได้ สามารปฏิบัติตนในการใช้ชีวิตที่ถูกต้อง เคารพและให้เกียรติต่อผู้อื่นและมีการแนะนำกันหรือ

ชักชวนกันทำกิจกรรมสานความสัมพันธ์ (Phra Apichai Abhivadฺdฺhano, 2016)

โดยหลักคำสอนทางพระพุทธศาสนามีกระบวนการศึกษาที่พัฒนาเด็กและเยาวชนแบบเป็น

องค์รวม คือ การฝึกเด็กให้รู้จักคิดที่สำคัญ คือ ให้เขามีโยนิโสมนสิการหมายถึง การรู้จักคิด รู้จักพิจารณา

หรือ มองเป็น คิดเป็น มีหลักใหญ่ 2 อย่าง คือ 1) เอาความจริงจากประสบการณ์นั้น สถานการณ์นั้นหรือ

สิ่งนั้นให้ได้ 2) เอาประโยชน์จากมันให้ได้ ทั้งสองอย่าง เรียกว่า มองให้เห็นความจริงและมองให้เห็น

ประโยชน์ เมื่อเด็กรู้จักคิด เขาจะสามารถพลิกสถานการณ์ พลิกสิ่งที่กำลังเผชิญอยู่ ให้กลับร้ายเป็นดีได้

เด็กจะมีความรู้เท่าทัน ปัญญาที่ฝึกอยู่เป็นประจำ จะทำให้เขาคิดไวขึ้น ได้แก่ พอมองอะไรก็เห็นทั้งแง่

คุณและโทษ ทำให้เป็นคนที่ไม่มองอะไรด้านเดียว แต่มองทั้งด้านคุณและโทษ มีทั้งส่วนดีและส่วนเสีย การมี

โยนิโสมนสิการ จะเอาประโยชน์ได้จากทุกสถานการณ์ โดยรู้ตระหนักว่าวัตถุประสงค์ คือ ได้เรียนรู้ พัฒนา

ชีวิต พัฒนาปัญญาได้ (P.A. Payutto. (2003) สามารถมีทักษะการควบคุมพัฒนาตน การสื่อสาร การคิด

อย่างมีวิจารณญาณ การตัดสินใจ การจัดการความรู้สึก การปรับตัว และการเห็นอกเห็นใจต่อบุคคลอื่น

(Phra Adikan Suchat Chanthasaro and Viroj Intanon, 2017)

การวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยเลือกศึกษาวัยรุ่นเป็นสามเณรที่ศึกษาในโรงเรียนพระปริยัติธรรมมีลักษณะ

ชีวสังคมและภูมิหลังทางครอบครัวแตกต่างกัน ส่วนใหญ่มาจากครอบครัวค่อนข้างมีฐานะยากจน ขาดโอกาส

ทางการศึกษา เมื่อเข้ามาอยู่ร่วมกันในโรงเรียนพระปริยัติธรรม จึงต้องปรับตัวกับบทบาทใหม่ให้เข้ากับสภาพ

แวดล้อมที่เปลี่ยนแปลง กฎระเบียบของสงฆ์ ที่แตกต่างกับวัยรุ่นทั่วไป โดยจากการศึกษาที่ผ่านมา จะเห็น

การเสนอข่าวในด้านลบเกี่ยวกับการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ของสามเณรปรากฏทางสื่อมวลชนอยู่เป็น

ประจำ เป็นกระแสความโต้แย้งในเชิงความเหมาะสมและพฤติกรรมใช้การสื่อสังคมออนไลน์ขัดต่อพระวินัย

ของสามเณร ตลอดจนการใช้สื่อสังคมออนไลน์เพื่อบันเทิงมากเกินไป

จากสภาพปัญหาดังกล่าว ผู้วิจัยเห็นถึงความสำคัญและความจำเป็นศึกษาการสร้างค่านิยมและ

พฤติกรรมการใช้สื่อสังคมออนไลน์ในกลุ่มตัวอย่างสามเณร นำหลักธรรมมาประยุกต์ใช้ในการสร้างภูมิคุ้มกัน

ทางจิตใจผ่านการออกแบบกิจกรรมอบรมเพื่อพัฒนาการคิด จิตใจ และพฤติกรรม และการทำโครงงาน

3 เดือน เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนากระบวนการสร้างค่านิยมและพฤติกรรมต้นแบบการใช้เครือข่ายสังคม

ออนไลน์ตามแนวพุทธจิตวิทยาของสามเณรต่อไป

Page 9: เรื่อง หน้า ∫∑∫√√≥“∏‘°“√ (7)mcuaad.mcu.ac.th/ac/currlncharge/BO/write/937cee6cea.pdf · 2018. 6. 11. · 40 วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์

45Journal of MCU Peace Studies Vol. 5 No. 2 (May-August 2017)

วัตถุประสงค์

เพื่อศึกษาผลของการเปลี่ยนแปลงค่านิยมและพฤติกรรมต้นแบบการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์

ตามแนวพุทธจิตวิทยาของสามเณร

ขอบเขตในการวิจัย

ขอบเขตด้านพื้นที่/ระยะเวลา

โรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา จังหวัดน่าน มีโรงเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาที่ 1- 6

จำนวน 15 โรงเรยีน ดำเนนิการวจิยัระยะเวลา 1 ป ีระหวา่ง เดอืน ธนัวาคม พ.ศ. 2558- ธนัวาคม พ.ศ. 2559

ขอบเขตด้านเนื้อหา

ศึกษาแนวคิด ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการสร้างค่านิยมและพฤติกรรมการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์

ทั้งทางตะวันตกและทางพระพุทธศาสนาดังนี้ ได้แก่ แนวคิดเกี่ยวกับการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ แนวคิด

การจัดการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการกลุ่ม ทฤษฎีเซลล์กระจกเงา (Mirror Neuron Theory) พฤติกรรมทาง

จิรยธรรมตามทฤษฎีของบลูม ทฤษฎีการเรียนรู้ทางสังคมของแบนดูรา รูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อสร้าง

ค่านิยมและพฤติกรรรม แนวคิดจัดการเรียนรู้แบบโครงงาน (Project-Based Instruction) แนวคิดจัดการ

เรยีนรูเ้ชงิพทุธ แนวคดิเกีย่วกบัสามเณร หลกัธรรมทีเ่กีย่วขอ้งไดแ้ก ่หลกัไตรสกิขา สปัปรุสิธรรม หลกัอนิทรยี-

สงัวร และภาวนา 4 (Mahachulalongkornrajavidyalaya University, 1996)

กรอบแนวคิดในการวิจัย

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) ผู้วิจัยได้สังเคราะห์

แนวคิด ทฤษฎี ทั้งตะวันตกและแนวคิดทางพระพุทธศาสนา และงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการฝึก

ค่านิยมและพฤติกรรม นำมาสร้างเป็นรูปแบบการสร้างค่านิยมและพฤติกรรม ตามแผนภาพกรอบแนวคิด

การวิจัยดังนี้

Page 10: เรื่อง หน้า ∫∑∫√√≥“∏‘°“√ (7)mcuaad.mcu.ac.th/ac/currlncharge/BO/write/937cee6cea.pdf · 2018. 6. 11. · 40 วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์

46 วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร ปีที่ 5 ฉบับที่ 2 (พฤษภาคม-สิงหาคม 2560)

แผนภาพที่ 1 กรอบแนวคิดในการวิจัย

สมมุติฐานการวิจัย

1. สามเณรกลุ่มทดลองได้รับการฝึกอบรมกระบวนการสร้างค่านิยมและพฤติกรรมการใช้เครือข่าย

สังคมออนไลน์ตามแนวพุทธจิตวิทยามีคะแนนเฉลี่ยหลังจากการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลอง

2. มีปฏิสัมพันธ์ร่วมกันระหว่างรูปแบบการฝึกอบรม และจำนวนครั้งของการวัดต่อด้านความรู้

ความเข้าใจด้านเหตุผลในการคิด การควบคุมตนเอง ด้านค่านิยม และพฤติกรรมการใช้เครือข่ายสังคมออน

ไลน์ตามแนวพุทธจิตวิทยาที่เหมาะสม

3. สามเณรกลุ่มที่ได้รับการฝึกอบรมกระบวนการสร้างค่านิยมและพฤติกรรมการใช้เครือข่ายสังคม

ออนไลน์ตามแนวพุทธจิตวิทยารูปแบบที่ 1 จะมีคะแนนเฉลี่ยด้านความรู้ความเข้าใจด้านเหตุผลในการคิด

การควบคุมตนเอง ด้านค่านิยม และพฤติกรรมการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ตามแนวพุทธจิตวิทยาที่เหมาะ

สมสูงกว่าสามเณรกลุ่มที่ได้รับกรฝึกอบรมรูปแบบที่ 2 และสามเณรกลุ่มที่ไม่ได้รับการฝึกอบรมกระบวนการ

สร้างค่านิยมและพฤติกรรมการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์

Page 11: เรื่อง หน้า ∫∑∫√√≥“∏‘°“√ (7)mcuaad.mcu.ac.th/ac/currlncharge/BO/write/937cee6cea.pdf · 2018. 6. 11. · 40 วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์

47Journal of MCU Peace Studies Vol. 5 No. 2 (May-August 2017)

4. สามเณรกลุ่มทดลองได้รับการฝึกอบรมกระบวนการสร้างค่านิยมและพฤติกรรมการใช้เครือข่าย

สังคมออนไลน์ตามแนวพุทธจิตวิทยามีความรู้ความเข้าใจ เหตุผลในการคิด การควบคุมตนเอง ค่านิยมและ

พฤติกรรมการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ที่เหมาะสมสูงกว่ากลุ่มควบคุม

วิธีการดำเนินวิจัย

ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง

ประชากรในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ สามเณรในกลุ่มโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญ

ศึกษา ในระดับมัธยมศึกษา จังหวัดน่าน มีสามเณรทั้งหมด จำนวน 1,531 รูป

กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ สามเณรระดับมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในโรงเรียนพระปริยัติธรรม

จำนวน 306 รูป ตอบแบบสอบถามเชิงสำรวจ และกลุ่มตัวอย่างการทดลองจากโรงเรียนที่เข้าร่วมในโครงการ

อบรม “รู้เท่าทันสื่อตามแนวพุทธจิตวิทยา Smart Novices” จำนวน 3 โรงเรียน แบ่งเป็นกลุ่มตัวอย่างเป็น

3 กลุ่ม กลุ่มทดลอง A กลุ่มทดลอง B และกลุ่มควบคุม c กลุ่มละ 26 คน ทั้ง 3 กลุ่ม สุ่มแบบแยกประเภท

(Stratified random sampling) ตามลักษณะของระดับพฤติกรรมการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ สามเณรที่

มีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์สูงและต่ำ โดยแบ่งออกเป็น 6 กลุ่มย่อยใน

สดัสว่นทีเ่ทา่กนัคอื 13 คน หลงัจากนัน้สุม่สามเณรในแตล่ะกลุม่ใหไ้ดร้บัรปูแบบการฝกึอบรมทีแ่ตกตา่งกนัไป

วิธีการรวบรวมข้อมูล

การวิจัยครั้งนี้ได้ออกแบบการวิจัยในลักษณะการวัดซ้ำ (Repeated Measure Design) ซึ่งทำการ

วัดตัวแปรทุกตัวด้วยแบบวัดที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น ได้แก่ การวัดครั้งที่ 1: ก่อนทดลอง (T1), การวัดครั้งที่ 2: ภาย

หลังการฝึกอบรม (T2), การวัดครั้งที่ 3: หลังทดลอง (T3) และหลังการทดลองเพื่อติดตามผลการทำโครงงาน

(Project based learning) 1 เดือน (T 4) ดังนี้

1. กลุ่มทดลอง A ได้รับการฝึกอบรมการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ทั้ง 2 ระยะ คือ ในระยะที่ 1

เป็นการพัฒนาทั้ง 3 ด้าน คือด้านเหตุผลการคิด ค่านิยม และพฤติกรรมตามหลักพุทธจิตวิทยา จำนวน 18

กิจกรรม เป็นเวลา 2 คืน 3 วัน จำนวน 25 ชั่วโมง และระยะที่ 2 ได้รับการฝึกทำโครงงาน (Project Based

Learning) เป็นเวลา 3 เดือน

2. กลุ่มทดลอง B ได้รับการฝึกอบรมการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์เฉพาะในระยะที่ 1 ซึ่งเป็นการ

พัฒนาทั้ง 3 ด้าน คือ ด้านเหตุผลการคิด ค่านิยม และพฤติกรรมหลักพุทธจิตวิทยา จำนวน 18 กิจกรรม

เป็นเวลา 2 คืน 3 วัน จำนวน 25 ชั่วโมง

3. กลุ่มควบคุม ไม่ได้รับการฝึกอบรมการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์และไม่ได้ฝึกทำโครงงาน

Page 12: เรื่อง หน้า ∫∑∫√√≥“∏‘°“√ (7)mcuaad.mcu.ac.th/ac/currlncharge/BO/write/937cee6cea.pdf · 2018. 6. 11. · 40 วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์

48 วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร ปีที่ 5 ฉบับที่ 2 (พฤษภาคม-สิงหาคม 2560)

เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย

ผู้วิจัยได้สร้างแบบวัดจากแนวคิด ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับค่านิยมและพฤติกรรมการใช้เครือข่ายสังคม

ออนไลน์ตามแนวพุทธจิตวิทยา นำไปหาคุณภาพเครื่องมือและทดลองเก็บข้อมูลกับกลุ่มตัวอย่างที่ใกล้เคียง

กับกลุ่มตัวอย่างจริง (try out) จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยแบ่งเป็น 2 ประเภท ดังนี้

1. เครื่องมือที่ใช้รวบรวมข้อมูลและประเมินผล

1) แบบวัดความรู้ความเข้าใจในการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ เป็นแบบมาตรวัด Likert Scales.

6 ระดับ จากจริงที่สุด ถึง ไม่จริงเลย จำนวน 10 ข้อ เป็นข้อความทั้งทางบวกและลบ มีค่าความเชื่อมั่น

สัมประสิทธิ์แอลฟ่าของครอนบัคเท่ากับ .70

2) แบบวัดความมีเหตุผลในการคิด เป็นแบบทดสอบปรนัยจำนวนประกอบด้วยคำถามปลายปิดที่

มีตัวเลือก 4 ตัวเลือกให้เลือกตอบถูก/ผิด จำนวน 16 ข้อ ค่าความยากง่าย (Difficulty index) .40-.60

3) แบบวัดค่านิยมการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ เป็นแบบมาตรวัด Likert Scales 6 ระดับ จาก

เห็นด้วยอย่างยิ่ง ถึง ไม่เห็นด้วยอย่างยิ่ง จำนวน 10 ข้อ มีค่าความเชื่อมั่นสัมประสิทธิ์แอลฟ่าของครอนบัค

เท่ากับ .80

4) แบบวัดการควบคุมตนเองต่อการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ เป็นแบบมาตรวัด Likert Scales

6 ระดับ จาก เห็นด้วยอย่างยิ่ง ถึง ไม่เห็นด้วยอย่างยิ่ง จำนวน 10 ข้อ มีค่าความเชื่อมั่นสัมประสิทธิ์

แอลฟ่าของครอนบัคเท่ากับ .80

5) แบบวัดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ เป็นแบบมาตรวัด Likert

Scales 6 ระดับ จากปฏิบัติเป็น “ประจำ”ถึง “ไม่เคยปฏิบัติ” จำนวน 28 ข้อ มีค่าความเชื่อมั่นสัมประสิทธิ์

แอลฟ่าของครอนบัคเท่ากับ.92

2. เครื่องมือที่ใช้ในการฝึกอบรม

เครื่องมือที่ใช้ในการฝึกอบรม คือ ชุดกิจกรรม เพื่อพัฒนาความรู้ความเข้าใจ เหตุผลการคิด

ค่านิยม และพฤติกรรมการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ สร้างมาจากการศึกษาเอกสารแนวคิด ทฤษฎีและ

งานวิจัยเกี่ยวกับการพัฒนาค่านิยมและพฤติกรรมการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ตามแนวพุทธจิตวิทยา นำไป

ให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบเนื้อหา ลักษณะกิจกรรม ที่เหมาะสมกับกลุ่มทดลอง หลังจากนั้นนำมาปรับปรุงแก้ไข

ไปทดลองใช้กับกลุ่มตัวอย่างที่ใกล้เคียง จำนวน 20 คน เพื่อดูความเหมาะสมเรื่องเวลา เนื้อหากิจกรรม

สอดคล้องกับสิ่งที่ต้องการวัดผล นำมาปรับปรุงแก้ไขอีกรอบก่อนนำไปใช้จริง

การวิเคราะห์ข้อมูลและสถิติที่ใช้ในการวิจัย

วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ

1) วิเคราะห์ค่าสถิติพื้นฐานได้ ร้อยละ (percentage) ค่าเฉลี่ย (mean) และค่าเบี่ยงเบน

มาตรฐาน(standard deviation) สำหรับอธิบายข้อมูลแบบสอบถามเบื้องต้นของกลุ่มตัวอย่าง และใช้

Page 13: เรื่อง หน้า ∫∑∫√√≥“∏‘°“√ (7)mcuaad.mcu.ac.th/ac/currlncharge/BO/write/937cee6cea.pdf · 2018. 6. 11. · 40 วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์

49Journal of MCU Peace Studies Vol. 5 No. 2 (May-August 2017)

ค่าเฉลี่ย (mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน(standard deviation) สำหรับอธิบายข้อมูลที่ได้จากแบบแบบวัด

ทุกแบบวัด

2) วิเคราะห์ข้อมูลที่โดยใช้การวิเคราะห์ความแปรปรวนหลายตัวแปรแบบวัดซ้ำ (Repeated

measures ANOVA)

วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ

วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยวิธีการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) ด้วยวิธีการรวบรวม

ข้อมูลคือ 1) การสังเกตแบบส่วนร่วม 2) การสัมภาษณ์ จากการรวบรวมตามขั้นตอนดังนี้ ใช้วิธีการวิเคราะห์

เชิงคุณภาพ (Qualitative Analysis) ในลักษณะจัดข้อมูลเป็นหมวดหมู่ จัดลำดับความสำคัญของข้อมูล

การเชื่อมโยงความสำคัญของข้อมูล วิเคราะห์เปรียบเทียบความแตกต่างของเนื้อหา เป็นการวิเคราะห์

ข้อมูลเชิงเนื้อหา เพื่อประมวลประเด็นสำคัญของข้อมูลทั้งหมด และสร้างข้อสรุปในการนำเสนอข้อมูลใน

เชิงพรรณนา

ผลการวิจัย

จากผลการวิเคราะห์ข้อมูลทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ ผู้วิจัยขอสรุปผลการศึกษาตาม

วัตถุประสงค์ของการวิจัยดังนี้การวิจัย ดังนี้

1. ศึกษาสภาพปัญหาและพฤติกรรมการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ตามแนวพุทธจิตวิทยาของ

สามเณร

การใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ในทางไม่ถูกต้องและสร้างสรรค์ ไม่สามารถแยกแยะข้อมูลจากสื่อ

เครือข่ายสังคมออนไลน์ มีการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ผ่านโทรศัพท์มือถือ เช่น เฟซบุ้ค (Facebook) ไลน์

(line) ยูทูป (YouTube) โดยเฉลี่ยมากกว่า 3 ชั่วโมงต่อวัน เพื่อเล่นเกม สนทนากับเพื่อน การแชร์ข้อมูล

ต่างๆ ติดตามข่าวสารเพื่อน มากกว่าค้นคว้าหาความรู้

2. พัฒนากระบวนการสร้างค่านิยมและพฤติกรรมต้นแบบการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ตามแนว

พุทธจิตวิทยาของสามเณร

จากผลการศึกษากระบวนการสร้างค่านิยมและพฤติกรรมต้นแบบการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์

ตามแนวพุทธิจิตยา 2 ระยะ คือ ระยะการฝึกอบรมหรือทดลองชุดกิจกรรม 18 กิจกรรม เป็นเวลา 2 คืน 3

วัน และระยะปฏิบัติโครงงาน (project based learning) ในโรงเรียน เป็นเวลา 3 เดือน สรุปผล การพัฒนา

กระบวนการสร้างค่านิยมและพฤติกรรมต้นแบบการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ที่เหมาะสมตามแนว

พุทธจิตวิทยาของสามเณร ได้ 4 ขั้นตอน ดังนี้

ขั้นตอนที่ 1 คือ จุดเริ่มต้น....เตรียมความพร้อม หมายถึง การเรียนรู้และทำความเข้าใจที่ถูกต้อง

ต่อความหมายและประเภทของของสื่อสังคมออนไลน์ และสามารถกำหนดบทบาทของตนเองต่อการใช้สื่อได้

Page 14: เรื่อง หน้า ∫∑∫√√≥“∏‘°“√ (7)mcuaad.mcu.ac.th/ac/currlncharge/BO/write/937cee6cea.pdf · 2018. 6. 11. · 40 วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์

50 วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร ปีที่ 5 ฉบับที่ 2 (พฤษภาคม-สิงหาคม 2560)

มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับคุณและโทษของการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ ทั้งนี้มีแรงจูงใจเป็นปัจจัย

กระตุ้นการแสดงพฤติกรรมที่เหมาะสม โดยมีแรงเสริมเป็นตัวสนับสนุนให้มีการแสดงพฤติกรรมอย่าง

สม่ำเสมอ จากผู้บริหาร ครู อาจารย์ และทีมงานวิจัย

ขั้นตอนที่ 2 คือ เปลี่ยนวิธีคิด....เปลี่ยนพฤติกรรม หมายถึง การรู้จักวิเคราะห์ปัญหาที่เกิดจาก

การใช้สื่อสังคมออนไลน์ในชุมชนของตนเอง พร้อมทั้งยกตัวอย่างสถานการณ์ เหตุการณ์ที่เกิดขึ้น อภิปราย

หาทางแก้ไขโดยใช้กระบวนการคิดแบบอริยสัจ 4 สามเณรสามารถแสดงความคิดเห็นได้เพิ่มมากขึ้น เริ่มเรียน

รู้ขั้นตอนการทำงานร่วมกัน การสนทนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็น และหาแนวทางในการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น

เกิดการเปลี่ยนแปลงด้านวิธีคิด ที่ส่งผลต่อผลการเรียนและความสนใจในการเรียน สะท้อนให้เห็นพฤติกรรม

ด้านการเรยีนรูข้องสามเณรทีเ่หน็คณุคา่ของการเรยีน มากกวา่การใชส้ือ่สงัคมออนไลน์

ขัน้ตอนที ่3 คอื “รูช้ดัในปญัหา...พบแนวทางการแกไ้ข”หมายถงึ การออกแบบกจิกรรมโครงงาน

โดยการนำแนวคิดหลักการถ่ายโยงการเรียนรู้ ฝึกทบทวนวิเคราะห์ปัญหาการใช้สื่อสังคมออนไลน์ของตนเอง

และวิเคราะห์ปัญหาการใช้สื่อสังคมออนไลน์ในบริบทชุมชนของตนเอง สามเณรสามารถนำความรู้ที่ได้จาก

การฝึกอบรมการรู้เท่าทันสื่อไปประยุกต์ใช้ในการทำโครงงาน การคิดเป็นระบบกิจกรรมโครงงาน เข้าใจถึง

การวางแผน การออกแบบ รวมทั้งเป้าหมายของโครงการ สามเณรได้วิเคราะห์และสะท้อนถึงอุปสรรคใน

การทำงาน ร่วมกันวางแผนหาทางออกและแก้ไขจุดอ่อนของโครงการด้วยการวางแผนประชาสัมพันธ์ใน

หลากหลายรูปแบบ ผ่านการสร้างเครือข่ายทำกิจกรรมโครงงานของแต่ละกลุ่ม

ขั้นตอนที่ 4 “ค้นพบศักยภาพของตนเอง” หมายถึง สามเณรตระหนักรู้และค้นพบความสามารถ

ของตนเองผ่านการกระบวนการกลุ่ม ซึ่งกระบวนการทำกิจกรรมโครงงาน (Project based Learning) ต่อย

อดจากการอบรมการรู้เท่าทันสื่อ ด้วยการลงมือกระทำด้วยตนเอง ผ่านประสบการณ์จริงที่แตกต่างกันใน

แต่ละกลุ่ม นอกจากนี้การทำงานร่วมกันก่อให้เกิดความร่วมมือ ร่วมแรง ร่วมใจ ปรับตัวเข้าหากัน ช่วยเหลือ

ซึ่งกันและกันแล้ว สามเณรยังสามารถเข้าใจมโนทัศน์แห่งตน รู้จักตัวตนของตัวเอง มีความภาคภูมิใจใน

ตนเอง และมีพฤติกรรมการใช้สื่อสังคมออนไลน์ในทางที่เหมาะสมและสร้างสรรค์

3. ศกึษาผลการเปลีย่นแปลงคา่นยิมและพฤตกิรรมตน้แบบการใชเ้ครอืขา่ยสงัคมออนไลนท์ีเ่หมาะสม

ตามแนวพุทธจิตวิทยาของสามเณร

ผลการเปลี่ยนแปลงในด้านต่างๆ คือ (1) การเปลี่ยนแปลงด้านความสนใจในการเรียน (2) การ

สร้างภาวะผู้นำในกลุ่ม (3) สร้างสมาชิกเครือข่ายผ่านกระบวนการกลุ่ม (4) การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมทาง

สังคม (5) การมีส่วนร่วมทำกิจกรรมที่ยั่งยืนในโรงเรียน และพบว่า มีการเปลี่ยนแปลงค่านิยมและพฤติกรรม

การใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ ในด้านต่างๆสูงขึ้น ได้แก่ (1) การใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ด้านกายภาพ

(2) การใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ด้านสังคม (3) การใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ด้านจิตใจ (4) การใช้

เครือข่ายสังคมออนไลน์ด้านปัญญา

Page 15: เรื่อง หน้า ∫∑∫√√≥“∏‘°“√ (7)mcuaad.mcu.ac.th/ac/currlncharge/BO/write/937cee6cea.pdf · 2018. 6. 11. · 40 วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์

51Journal of MCU Peace Studies Vol. 5 No. 2 (May-August 2017)

กลุ่มที่ได้รับการฝึกอบรมกระบวนการสร้างค่านิยมและพฤติกรรมการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์รูป

แบบที่ 1 มีคะแนนเฉลี่ยด้านพฤติกรรมการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์มากกว่ากลุ่มที่ได้รับการฝึกอบรมแบบ

ที่ 2 (X– = 4.817 และ 4.754) สำหรับกลุ่มที่ได้รับการฝึกอบรมกระบวนการสร้างค่านิยมและพฤติกรรมการ

ใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์รูปแบบที่ 1 มีคะแนนเฉลี่ยด้านพฤติกรรมการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์มากกว่า

กลุ่มที่ไม่ได้รับการฝึกอบรม (X– = 4.817 และ 4.728) และกลุ่มที่ได้รับการฝึกอบรมแบบที่ 2 มีคะแนนเฉลี่ย

ด้านพฤติกรรมการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์มากกว่ากลุ่มที่ไม่ได้รับการฝึกอบรม (X– = 4.754 และ 4.728)

อภิปรายผลการวิจัย

ผู้วิจัยอภิปรายข้อค้นพบตามสมมุติฐานการวิจัยดังนี้

หลังจากการฝึกอบรม พบว่า กลุ่มทดลอง A ที่ได้รับการฝึกอบรมรูปแบบที่ 1 คือ การฝึกอบรม

ระยะเวลา 2 คืน 3 วัน และการทำโครงงาน Project based learning 3 เดือน กลุ่มทดลอง B ที่ได้รับการ

ฝึกอบรมรูปแบบที่ 2 คือ การฝึกอบรมระยะเวลา 2 คืน 3 วัน มีหลังคะแนนเฉลี่ยสูงกว่าก่อนทดลอง อาจสืบ

เนื่องมาจากการเข้าร่วมโครงการอบรม ได้รับการถ่ายทอดความรู้ความเข้าใจ การใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์

ที่เหมาะสมผ่านกิจกรรม ที่ฝึกวิเคราะห์ให้เห็นในแง่ดีและไม่ดีในการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ และการได้รับ

อิทธิพลจากครู และเพื่อนในการชักชวนให้เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการใช้สื่อให้เหมาะสม สอดคล้องกับผล

วิจัยของวันวิสา สรีระศาสตร์ (2012) พบว่า การรับรู้ประโยชน์จากการฝึกอบรมการใช้อินเทอร์เน็ตใน

โรงเรยีนมอีทิธพิลตอ่พฤตกิรรมการใชอ้นิเทอรเ์นต็เพือ่การเรยีนรูผ้า่นเจตคตทิีด่ตีอ่พฤตกิรรมการใชอ้นิเทอรเ์นต็

อย่างสร้างสรรค์และปลอดภัย ซึ่งการควบคุมการใช้อินเทอร์เน็ตจากครู การมีเพื่อนเป็นแบบอย่างที่ดี มีผล

ต่อพฤติกรรมการใช้อินเตอร์เน็ตอย่างปลอดภัย นอกจากนี้พื้นฐานกลุ่มตัวอย่างในที่นี้เป็นลักษณะชีวสังคม

แตกต่างจากวัยรุ่นทั่วไป คือ เป็นผู้ที่บวชในพระพุทธศาสนา มีวินัยเป็นข้อปฏิบัติในชีวิตประจำวันตามพระ

วินัยของคณะสงฆ์ ได้รับการอบรมทางศีลธรรมและจริยธรรมตามหลักคำสอนทางพระพุทธศาสนาในโรงเรียน

มากกวา่โรงเรยีนทัว่ไป การเปดิรบัสือ่สงัคมออนไลนน์อ้ยกวา่วยัรุน่ทัว่ไป เนือ่งจากขอ้จำกดัการใชอ้นิเทอรเ์นต็

จึงเป็นปัจจัยสำคัญทำให้การรับรู้ประโยชน์จากการฝึกอบรมเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการใช้สื่อสังคม

ออนไลน์ที่เหมาะสมสูงขึ้นตามด้วย

จากผลการวิเคราะห์เพื่อทดสอบสมมติฐาน พบปฏิสัมพันธ์ระหว่างรูปแบบการฝึกอบรม และ

จำนวนครั้งของการวัดต่อความมีเหตุผลในการคิด การควบคุมตนเอง และพฤติกรรมการใช้เครือข่าย

อาจเป็นเพราะกลุ่มตัวอย่างมีการควบคุมตนเองสูงทำให้เกิดพฤติกรรมการใช้เครือข่ายที่สร้างสรรค์สูงด้วย

สอดคล้องกับ ผลวิจัยที่พบว่า “การควบคุมตนเองเป็นปัจจัยที่มีอยู่ในตัวบุคคลอยู่แล้ว การควบคุมตนเองเป็น

ความสามารถในการกำหนดตนเองของบุคคลทั้งด้านความคิด อารมณ์ ความรู้สึกและการกระทำ นอกจากนี้

งานวิจัยนี้ได้ให้กลุ่มตัวอย่างบันทึกพฤติกรรมการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ อย่างเหมาะสม โดยนำวิธีคิด

คุณค่าแท้ คุณค่าเทียม ตามหลักโยนิโสมนสิการ เป็นข้อมูลป้อนกลับที่ส่งผลต่อการพัฒนาพฤติกรรมในการ

Page 16: เรื่อง หน้า ∫∑∫√√≥“∏‘°“√ (7)mcuaad.mcu.ac.th/ac/currlncharge/BO/write/937cee6cea.pdf · 2018. 6. 11. · 40 วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์

52 วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร ปีที่ 5 ฉบับที่ 2 (พฤษภาคม-สิงหาคม 2560)

เลือกรับและใช้สื่อของกลุ่มตัวอย่าง กระบวนการพัฒนาในส่วนนี้นอกจากจะมีผลต่อการพัฒนาการรู้เท่าทัน

สื่อแล้วยังอาจส่งผลต่อการพัฒนาการรับรู้ความสามารถของตนในการใช้สื่อให้สูงขึ้นด้วย โดยเฉพาะในกลุ่ม

ทดลองที่มีการรับรู้ความสามารถของตนในการใช้สื่อต่ำเมื่อได้รับการฝึกอบรมอาจมีผลทำให้การรับรู้ความ

สามารถของตนในการใช้สื่อเพิ่มสูงขึ้นได้” (Tansuwannond et al., 2010)

ทั้งนี้อาจเป็นเพราะกลุ่มตัวอย่างเกิดการรู้เท่าทันผ่านการฝึกอบรม และการทำโครงงาน ซึ่งใช้หลัก

วิธีคิด อภิปรายร่วมกัน ฝึกฝนวิเคราะห์แยกแยะคุณและโทษผ่านสถานการณ์การใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์

ในชีวิตประจำวัน ทำให้กลุ่มตัวอย่างเกิดกระบวนคิดอย่างมีระบบมากขึ้น สอดคล้องกับแนวคิดของ

พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตโต) กล่าวว่า เด็กจะมีความรู้เท่าทัน เอาความจริงจากประสบการณ์หรือ

สถานการณ์นั้น มองให้เห็นความจริงและมองให้เห็นประโยชน์ เมื่อเด็กรู้จักคิด เขาจะสามารถพลิก

สถานการณ์ พลิกสิ่งที่กำลังเผชิญอยู่ ปัญญาที่ฝึกอยู่เป็นประจำ จะทำให้เขาคิดไวขึ้น มองทั้งด้านคุณและโทษ

มีทั้งส่วนดีและส่วนเสีย การมีหลักโยนิโสมนสิการ จะเอาประโยชน์ได้จากทุกสถานการณ์ โดยรู้ตระหนักว่า

วัตถุประสงค์ คือ ได้เรียนรู้ พัฒนาชีวิต พัฒนาปัญญาได้ (P.A. Payutto. (2003)

หลังการทดลองเพื่อติดตามผลหลังจากการทำโครงงาน (Project based learning) 1 เดือน เมื่อ

วิเคราะห์ตัวแปรรายด้านพบว่า สามเณรกลุ่มทดลอง A ที่ได้รับการฝึกอบรมกระบวนการสร้างค่านิยมและ

พฤติกรรมการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์รูปแบบที่ 1 มีคะแนนเฉลี่ยด้านความรู้ความเข้าใจ น้อยกว่ากลุ่ม

ทดลอง B ที่ได้รับการฝึกอบรมกระบวนการสร้างค่านิยมและพฤติกรรมการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์

ผลวจิยัแสดงใหเ้หน็วา่รปูแบบการอบรมทีแ่ตกตา่งกนั ไมม่ผีลตอ่การเปลีย่นแปลงความรูค้วามเขา้ใจ อาจเปน็

กลุ่มตัวอย่างพื้นฐานของกลุ่มทดลอง B มีพื้นฐานความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องต่อการใช้สื่อเครือข่ายสังคม

ออนไลน์ที่เหมาะสมระดับสูงอยู่แล้ว และเมื่อได้รับการฝึกอบรมในระยะที่ 1 กลุ่มทดลอง B เกิดการกระตุ้น

ซ้ำให้เกิดการรับรู้ถึงประโยชน์ของการใช้สื่อเครือข่ายสังคมออนไลน์ที่เหมาะสมเพิ่มขึ้น ทำให้เกิดจิตสำนึก

รู้เท่าทันในการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่เหมาะสมได้ ซึ่งสอดคล้องกับผลการวิจัยของอรพินทร์ ชูชม

และคณะ (Choochom et al., 2006) พบว่า ปัจจัยทางจิตสังคมที่มีความสัมพันธ์ต่อจิตสำนึกทางปัญญา

และคุณภาพชีวิตสูงขึ้น นอกจากนี้อาจเป็นเพราะปัจจัยบุคคลเช่น การควบคุมตนเอง อิทธิพลของสังคม

รอบข้าง เช่น ครูควบคุมพฤติกรรมให้ใช้สื่อเครือข่ายอย่างเหมาะสม และเพื่อนปฏิบัติเป็นแบบอย่าง ชักชวน

ให้ใช้สื่อที่สร้างสรรค์ สอดคล้องกับแนวคิดของจินตนา ตันสุวรรณนนท์และคณะ(Tansuwannond et al.,

2010) ที่กล่าวว่าวัยรุ่นเป็นวัยที่ต้องการได้รับการยอมรับจากสังคม โดยเฉพาะกลุ่มเพื่อนซึ่งมีอิทธิพลต่อ

ความคิดและการกระทำของช่วงวัยนี้เป็นอย่างมาก พฤติกรรมการบริโภคของคนในวัยนี้จึงมักจะกระทำตาม

กลุ่มเพื่อน

แต่เมื่อวิเคราะห์มีคะแนนเฉลี่ยด้านเหตุผลในการคิด ด้านค่านิยม การควบคุมตนเอง และ

พฤติกรรมการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ พบว่า กลุ่มทดลอง A ที่ได้รับการฝึกอบรมรูปแบบที่ 1 มีคะแนน

เฉลี่ยสูงกว่าสามเณรกลุ่มทดลอง B ที่ได้รับการฝึกอบรมแบบที่ 2 และสามเณรกลุ่มควบคุม c ที่ไม่ได้รับการ

ฝึกอบรม สะท้อนให้เห็นว่าระยะเวลาในการฝึกปฏิบัติการใช้สื่อเครือข่ายอย่างสร้างสรรค์ผ่านโครงงาน ทำให้

Page 17: เรื่อง หน้า ∫∑∫√√≥“∏‘°“√ (7)mcuaad.mcu.ac.th/ac/currlncharge/BO/write/937cee6cea.pdf · 2018. 6. 11. · 40 วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์

53Journal of MCU Peace Studies Vol. 5 No. 2 (May-August 2017)

เกิดการเปลี่ยนแปลงเหตุผลในการคิด ค่านิยม การควบคุมตนเอง และพฤติกรรมการใช้เครือข่ายที่เหมาะสม

สูงขึ้น กลุ่มทดลอง A ได้รับการสะท้อนความคิดผ่านกระบวนการวิจัยและติดตามผลเป็นระยะ ทำให้กลุ่ม

ทดลอง A มีควบคุมพฤติกรรมตนเองสูงขึ้น มีทักษะในการการแก้ปัญหาผ่านสถานการณ์การทำโครงงานฝึก

คิดเป็นกลุ่ม สอดคล้องกับแนวคิดของ(Johnson and Johnson, 1994) ที่กล่าวว่า การฝึกการคิดเป็นกลุ่ม

ส่งผลต่อพฤติกรรมได้ การเข้ากลุ่มโดยการเรียนรู้ประสบการณ์ การได้ปฏิบัติด้วยตนเอง ได้มีการไตร่ตรอง

และใช้ทักษะการทำงานกลุ่ม สามารถพัฒนากระบวนการในการเปลี่ยนแปลงความรู้คิด (Cognitive) เจตคติ

(Attitude) และ แบบแผนของพฤติกรรม (Behavioral pattern) นอกจากนี้แล้วการฝึกฝนให้วัยรุ่นเกิด

ความรู้ความเข้าใจในการใช้สื่อที่เหมาะสมส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม เพราะว่า การเรียนรู้เป็นการ

แสดงให้เห็นถึงพฤติกรรมที่มีการเปลี่ยนแปลง อันเป็นผลเนื่องมาจากประสบการณ์ที่แต่ละคนได้ประสบมา

การเรียนรู้เป็นกระบวนการที่บุคคลได้พยายามปรับพฤติกรรมของตน เพื่อเข้ากับสภาพแวดล้อมตาม

สถานการณ์ต่างๆ จนสามารถบรรลุถึงเป้าหมายตามที่แต่ละบุคคลได้ตั้งไว้ (Pressey, Robinson &

Horrocks, 1959)

จากการทำกิจกรรมโครงงาน (Project based Learning) เพื่อให้สามเณรผู้เข้าร่วมโครงการได้

เรียนรู้การสรุปความคิดรวบยอด และสามารถนำเสนอให้ผู้อื่นได้รับรู้และเข้าใจได้ โดยในการนำเสนอผลงาน

โครงการ Smart Novices สามารถทำได้ในรูปแบบต่างๆ เช่น การแสดงนิทรรศการ ซึ่งมีการจัดแสดงและ

การอธิบายด้วยคำพูด หรือในรูปแบบของการรายงานปากเปล่า ไม่ว่าจะเป็นการนำเสนอผลงานในรูปแบบใด

ต้องมีความชัดเจน เข้าใจง่าย และมีความถูกต้องของเนื้อหา ในการแสดงผลงานเป็นขั้นตอนที่สำคัญของการ

ทำโครงงาน เพราะเป็นการแสดงผลผลิตของงาน ความคิด และความพยายามทั้งหมดที่ผู้ทำโครงงานได้

ทุ่มเทลงไป และเป็นวิธีการที่ทำให้ผู้อื่นได้รับรู้ และเข้าใจถึงการวางแผน การออกแบบ รวมทั้งเป้าหมายของ

โครงการ โดยในการฝึกในกิจกรรมนี้เป็นการฝึกสามเณรให้สามารถเรียงลำดับความคิดได้ ฝึกการนำเสนอ

หลังจากที่ได้ทำการคิดร่วมกันในการทำโครงงาน ในขั้นตอนต่างๆ รวมทั้งเป็นการฝึกภาวะผู้นำ เพราะว่า

การให้ผู้เรียนได้รับรู้หลักการปฏิบัติที่ถูกต้อง หรือเป็นการเลือกหาตัวแบบที่สนใจ และการกระทำอย่างต่อ

เนื่องหลังจากตัดสินใจเลือกรูปแบบที่เป็นของตัวเองจะกระทำตามรูปแบบนั้นอย่างต่อเนื่อง จนปฏิบัติงานที่

ยุ่งยากซับซ้อนได้อย่างรวดเร็ว ถูกต้อง คล่องแคล่ว การที่ผู้เรียนเกิดทักษะได้ ต้องอาศัยการฝึกฝนและ

กระทำอย่างสม่ำเสมอ (Bloom & Other, 1956)

จากผลการวิเคราะห์ข้อมูลทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพชี้ให้เห็นว่าทั้งปัจจัยที่ปัจจัยที่ส่งผลการ

เปลี่ยนแปลงค่านิยมและพฤติกรรมที่เกิดขึ้น นอกจากตัวสามเณรที่เข้าร่วมโครงการเองแล้ว ยังมีปัจจัยหลักที่

ส่งผลทำให้สามเณรเกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมในทางที่ดีคือ กัลยาณมิตร ซึ่งในที่นี้หมายรวมถึงทีมผู้วิจัย

ผู้บริหาร ครู บาอาจารย์ ในโรงเรียนที่ให้โอกาสสามเณรได้แสดงความสามารถ การสนับสนุน ชี้แนะ

สร้างแรงจูงใจ ส่งเสริมกิจกรรมโครงการตลอดระยะเวลาในการดำเนินการกิจกรรม สอดคล้องกับทฤษฎีการ

เรียนรู้ทางปัญญาสังคมของแบนดูรา (Bandura, 1986 cite in Iamsupasit, 2000) ที่เชื่อว่า การพูดชักชวน

จากผู้อื่น (verbal persuasion) หมายถึง การที่ผู้อื่นใช้ความสามารถในการพูดกับบุคคลอื่นให้เขาเชื่อว่า

Page 18: เรื่อง หน้า ∫∑∫√√≥“∏‘°“√ (7)mcuaad.mcu.ac.th/ac/currlncharge/BO/write/937cee6cea.pdf · 2018. 6. 11. · 40 วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์

54 วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร ปีที่ 5 ฉบับที่ 2 (พฤษภาคม-สิงหาคม 2560)

เขามีความสามารถที่จะกระทำพฤติกรรมอย่างใดอย่างหนึ่งให้ประสบความสำเร็จได้ การพูดเกลี้ยกล่อมจาก

ผู้อื่น จะเป็นสิ่งที่มีส่วนช่วยให้บุคคลมีกำลังใจ มีความเชื่อมั่นในการกระทำพฤติกรรมต่างๆมากยิ่งขึ้น เช่น

พ่อ แม่ ครู เพื่อน หรือบุคคลที่มีอิทธิพล พฤติกรรมของคนเรานั้นไม่ได้เกิดขึ้นและเปลี่ยนแปลงไป เนื่องจาก

ปัจจัยทางสภาพแวดล้อมแต่เพียงอย่างเดียว หากแต่ว่าจะต้องมีปัจจัยส่วนบุคคลร่วมด้วยและการร่วมของ

ปัจจัยส่วนบุคคลนั้นจะต้องร่วมกันในลักษณะซึ่งกันและกันกับปัจจัยด้านพฤติกรรมและสภาพแวดล้อมด้วย

ข้อเสนอแนะ

จากผลของการวิจัยพบว่า รูปแบบฝึกอบรมที่เหมาะสมที่สุดในการสร้างค่านิยมและพฤติกรรม

ต้นแบบการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ตามแนวพุทธจิตวิทยา คือ รูปแบบการฝึกอบรมที่ 1 คือ การฝึกอบรม

2 ระยะ คือ การอบรม 18 กิจกรรม เป็นเวลา 2 คืน 3 วัน และการทำกิจกรรมโครงงาน Project based

learning 3 เดือน ดังนั้น ผู้บริหาร ครู อาจารย์ ในโรงเรียนพระปริยัติธรรม ควรจัดกิจกรรมการเรียนรู้นอก

ห้องเรียน เพื่อฝึกทักษะการใช้สื่ออย่างสร้างสรรค์ เป็นโครงงานระยะยาว เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันทางจิตใจให้เข้ม

แข็ง มีสติรู้เท่าทันในการใช้ชีวิตมากขึ้น และงานวิจัยครั้งต่อไปควรทำวิจัยกึ่งทดลองและพัฒนาชุดกิจกรรม

เพื่อศึกษาเยาวชนกลุ่มเสี่ยงที่มีการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ที่ไม่เหมาะสม เน้นการออกแบบกิจกรรมผ่าน

การเรียนรู้การทำโครงงาน ให้มีการลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง ให้เกิดกระบวนเปลี่ยนแปลงวิธีการคิด

การควบคุมตนเอง และนำหลักธรรมมาปรับใช้กับกิจกรรมให้เกิดการตระหนักรู้เท่าทันสื่อ นำไปสู่การ

เปลี่ยนแปลงพฤติกรรม และศึกษาปัจจัยสาเหตุอื่นๆที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการใช้สื่อเครือข่ายออนไลน์ที่

เหมาะสม

Page 19: เรื่อง หน้า ∫∑∫√√≥“∏‘°“√ (7)mcuaad.mcu.ac.th/ac/currlncharge/BO/write/937cee6cea.pdf · 2018. 6. 11. · 40 วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์

55Journal of MCU Peace Studies Vol. 5 No. 2 (May-August 2017)

Bloom, B.S. Engelhart, M., Furst, E., Hill, W., & Krathwohl. D. (1956). Taxonomy of

Educational Objective: The classification of Educational Goals, Handbook I:

Cognitive Domain. New York: Long Man Green.

Buaclee, C. (2014). Digital Printing Design of Post Modern Culture. Veridian E-Journal,

Silpakorn University Humanities, Social Sciences and arts, 7(3), 2478-258.

Choochom, O. et al. (2006). An Analysis of Psychosocial Factors Related to Thai Youths

Intellectual Consciousness and Quality of Life. Journal of Behavioral Science,

12(1), 15-35.

Iamsupasit, S. (2000). The Theory and Techniques of Behavior Modification. Bangkok: CUP

Press.

Johnson, David W. & Johnson, Frank P. (1994). Joining Together: Group Theory and

GroupSkills. (5th ed.). Boston: Allyn and Bacon.

Mahachulalongkornrajavidyalaya University. (1996). Thai Tipitaka. Bangkok: MCU Press.

P.A. Payutto. (2003). Integrated Development of Thai Children. Bangkok: Thammasapha.

Phra Adikan Suchat Chanthasaro and Viroj Intanon. (2017). The Development of Life Skills

in Making Friendship in Buddhism. Journal of MCU Peace Studies, 5(1), 116-127.

Phra Apichai Abhivadฺdฺhano. (2014). An Application of Garavasadhamma for Enhancing

Peaceful Families. Journal of MCU Peace Studies, 4(1), 174-187.

Pressey, S. L.; Robinson, F. P. & Horrocks, J. E. (1959). Psychology in Education. New York:

Harper – Collins.

Semathikara. (2014). Thailand youth with knowledge of online media. Before its too late.

Retrieved July 3, 2017, from http://www.thainhf.org/icgp/autopagev4/files/F2MxlAz

Thu123119.pdf

Tansuwannond, C. et al. (2010). Factors Related to Intellectual Media Consumption

Behavior of Undergraduate Students in Bangkok. Journal of Behavioral Science,

16(1), 122-135.

Wonganantnont, P. (2014). Excessive Internet Usage Behavioral in Adolescents. Journal of

The Royal Thai Army Nurses, 15(2), 173-178.

References