194
บทนำ เป็นเรื่องที่ค่อนข้างลำบากถ้าจะอธิบายถึงปัญหาต่างๆ ที่เต็มไปด้วยความสับสน วุ่นวายในสังคมปัจจุบัน ว่ามีต้นเหตุมาจากไหน ดำเนินอยู่เช่นที่เห็นได้อย่างไร และอะไรคือ ทางออกของปัญหา เชื่อได้ว่าเรื่องดังกล่าวไม่ใช่เรื่องง่ายสำหรับนักวิชาการหรือนักปราชญ์ ในสาขาวิชาที่จะวิเคราะห์ตีแผ่หาข้อเท็จจริงออกมาได้ นับประสาอะไรกับชาวบ้านและ บุคคลธรรมดาทั่วๆ ไปที่ใช้ชีวิตไปวันๆ โดยมิใคร่สนใจว่าโลกจะเปลี่ยนแปลงเช่นไร ทว่ากลับ เป็นส่วนหนึ่งของปัญหาไปโดยไม่ทันได้รู้ตัว ต้นเหตุแห่งความยุ่งเหยิงของการเปลี่ยนแปลงทีไม่คงที่เริ่มต้นขึ้น เมื่อครั้งที่ชนชาวตะวันตกก้าวเข้ามามีบทบาทในฐานะผู้นำโลกและสร้าง วัฒนธรรมในแบบฉบับของตน ใช้ความแยบยลเพื่อสร้างให้สังคมโลกต้องยอมรับและ นำไปใช้ทั้งเชิงบังคับและวิธีการผสมกลมกลืน บวกกับกลยุทธ์และวิธีการอื่นๆ อีกหลาย ประการเพื่อเปลี่ยนให้โลกเป็นไปตามที่พวกตนอยากให้เป็น การเปลี่ยนแปลงที่เป็นพลวัตใน สังคมโลกมีผลกระทบและสร้างปัญหาโดยตรงต่อมุสลิม ท้งในรูปแบบของความเสื่อมลงของ ศีลธรรมและจริยธรรม พฤติกรรมออกห่างจากคำสอนของศาสนา การประพฤติปฏิบัติตาม ตะวันตกและความสับสนในคุณค่าของการเป็นมุสลิม อีกทั้งกระทบต่ออิสลามในทางอ้อม อาทิเช่น ทัศนะที่เป็นอคติของชนต่างศาสนิกในการกล่าวหาใส่ร้าย การพุ่งเป้าเพื่อสถาปนา อิสลามให้เป็นคู่อริด้วยธรรมชาติของอิสลามที่มีลักษณะ “ไม่สอดคล้อง” กับวัฒนธรรม วัตถุนิยมของชาวตะวันตก บนฐานแห่งความแน่ใจว่าเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับมุสลิมทุกคนที่ต้องค้นหาจุดยืนทีถูกต้อง และปฏิบัติตนอยู่บนจุดยืนดังกล่าวด้วยความเข้มแข็ง เพื่อเผชิญกับปัญหามากมาย ที่ถาโถมและซับซ้อนด้วยความสับสนวุ่นวายหลายด้าน เพราะเราทุกคนถูกทำให้เป็นส่วน หนึ่งของโลกแห่งยุคสมัยนี้ไปแล้วอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ และเมื่อเราพบว่าปัญหาต่างๆ รอบ ข้างยากเกินไปที่เราจะเปลี่ยนมันให้ดีขึ้น เหตุใดเราจึงไม่คิดจะเปลี่ยนตัวเองให้สามารถตั้ง มั่นทันรับกับปัญหาน่นเสียเอง โดยการใช้คำสอนของอัลกุรอานและหะดีษมาเรียบเรียงและ อธิบาย ซึ่งนัยหนึ่งเพื่อแสดงให้เห็นว่าคำสอนต่างๆ ที่ถูกบันทึกผ่านกาลเวลาอันยาวนานนั้น ไม่ใช่สิ่งเลื่อนลอยหรือล้าหลังเกินไป จนใช้อธิบายความเป็นจริงในโลกปัจจุบันไม่ได้ แต่ ตรงกันข้ามความอัศจรรย์ของคำสอนแห่งอิสลามนี้อาจจะก่อให้เกิดสำนึกแห่งการกลับไป หาอิสลามในใจของมุสลิมและมวลมนุษย์อีกครั้งหนึ่งก็เป็นได้ 1 คู่มือศาสนบำบัด

บทนำ - Ministry of Public Healthหลายคนเร ยกโลกสม ยน ว า“ย คสม ยส ดท ายความจร งจะเป นเช

  • Upload
    others

  • View
    2

  • Download
    0

Embed Size (px)

Citation preview

Page 1: บทนำ - Ministry of Public Healthหลายคนเร ยกโลกสม ยน ว า“ย คสม ยส ดท ายความจร งจะเป นเช

บทนำ

เป็นเรื่องที่ค่อนข้างลำบากถ้าจะอธิบายถึงปัญหาต่างๆที่เต็มไปด้วยความสับสน

วุ่นวายในสังคมปัจจุบันว่ามีต้นเหตุมาจากไหนดำเนินอยู่เช่นที่เห็นได้อย่างไรและอะไรคือ

ทางออกของปัญหา เชื่อได้ว่าเรื่องดังกล่าวไม่ใช่เรื่องง่ายสำหรับนักวิชาการหรือนักปราชญ์

ในสาขาวิชาที่จะวิเคราะห์ตีแผ่หาข้อเท็จจริงออกมาได้นับประสาอะไรกับชาวบ้านและ

บุคคลธรรมดาทั่วๆไปที่ใช้ชีวิตไปวันๆโดยมิใคร่สนใจว่าโลกจะเปลี่ยนแปลงเช่นไรทว่ากลับ

เป็นส่วนหนึ่งของปัญหาไปโดยไม่ทันได้รู้ตัวต้นเหตุแห่งความยุ่งเหยิงของการเปลี่ยนแปลงที่

ไม่คงที่เริ่มต้นขึ้น เมื่อครั้งที่ชนชาวตะวันตกก้าวเข้ามามีบทบาทในฐานะผู้นำโลกและสร้าง

วัฒนธรรมในแบบฉบับของตน ใช้ความแยบยลเพื่อสร้างให้สังคมโลกต้องยอมรับและ

นำไปใช้ทั้งเชิงบังคับและวิธีการผสมกลมกลืนบวกกับกลยุทธ์และวิธีการอื่นๆอีกหลาย

ประการเพื่อเปลี่ยนให้โลกเป็นไปตามที่พวกตนอยากให้เป็นการเปลี่ยนแปลงที่เป็นพลวัตใน

สังคมโลกมีผลกระทบและสร้างปัญหาโดยตรงต่อมุสลิมทั้งในรูปแบบของความเสื่อมลงของ

ศีลธรรมและจริยธรรมพฤติกรรมออกห่างจากคำสอนของศาสนาการประพฤติปฏิบัติตาม

ตะวันตกและความสับสนในคุณค่าของการเป็นมุสลิม อีกทั้งกระทบต่ออิสลามในทางอ้อม

อาทิเช่นทัศนะที่เป็นอคติของชนต่างศาสนิกในการกล่าวหาใส่ร้ายการพุ่งเป้าเพื่อสถาปนา

อิสลามให้เป็นคู่อริด้วยธรรมชาติของอิสลามที่มีลักษณะ“ไม่สอดคล้อง” กับวัฒนธรรม

วัตถุนิยมของชาวตะวันตก

บนฐานแห่งความแน่ใจว่าเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับมุสลิมทุกคนที่ต้องค้นหาจุดยืนที่

ถูกต้องและปฏิบัติตนอยู่บนจุดยืนดังกล่าวด้วยความเข้มแข็งเพื่อเผชิญกับปัญหามากมาย

ที่ถาโถมและซับซ้อนด้วยความสับสนวุ่นวายหลายด้าน เพราะเราทุกคนถูกทำให้เป็นส่วน

หนึ่งของโลกแห่งยุคสมัยนี้ไปแล้วอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ และเมื่อเราพบว่าปัญหาต่างๆ รอบ

ข้างยากเกินไปที่เราจะเปลี่ยนมันให้ดีขึ้นเหตุใดเราจึงไม่คิดจะเปลี่ยนตัวเองให้สามารถตั้ง

มั่นทันรับกับปัญหานั่นเสียเองโดยการใช้คำสอนของอัลกุรอานและหะดีษมาเรียบเรียงและ

อธิบายซึ่งนัยหนึ่งเพื่อแสดงให้เห็นว่าคำสอนต่างๆที่ถูกบันทึกผ่านกาลเวลาอันยาวนานนั้น

ไม่ใช่สิ่งเลื่อนลอยหรือล้าหลังเกินไปจนใช้อธิบายความเป็นจริงในโลกปัจจุบันไม่ได้แต่

ตรงกันข้ามความอัศจรรย์ของคำสอนแห่งอิสลามนี้อาจจะก่อให้เกิดสำนึกแห่งการกลับไป

หาอิสลามในใจของมุสลิมและมวลมนุษย์อีกครั้งหนึ่งก็เป็นได้

1 คู่มือศาสนบำบัด

Page 2: บทนำ - Ministry of Public Healthหลายคนเร ยกโลกสม ยน ว า“ย คสม ยส ดท ายความจร งจะเป นเช

หลายคนเรียกโลกสมัยนี้ว่า“ยุคสมัยสุดท้าย”ความจริงจะเป็นเช่นนั้นหรือไม่คงไม่

สำคัญเท่าใดนักแต่การขนานชื่อเช่นนั้นย่อมต้องมีที่มาที่ไปของมัน อาศัยการสังเกตความ

เป็นไปของสังคมโลกโดยเปรียบเทียบกับคำอธิบายของคำสอนที่ถูกถ่ายทอดมาจากท่าน

ศาสนทูตคงพอเป็นข้ออ้างที่จะใช้เรียกยุคสมัยนี้ด้วยชื่อดังกล่าวได้

ครั้งหนึ่งท่านอนัสรอฎิยัลลอฮอันฮูเล่าว่าท่านเคยได้ฟังท่านศาสนทูตศ็อลลัลลอฮฺ

อะลัยฮิวะสัลลัมกล่าวไว้มีใจความว่า“ไม่มีปีใดหรือวันใดที่มาถึงนอกเสียจากมัน

จะต้องเลวร้ายกว่าวันที่ผ่านๆ มา จนกระทั่งถึงวาระที่พวกท่านต้องพบกับองค์

อภิบาลของพวกท่าน”(รายงานโดยอัล-บุคอรีย์ดูเศาะฮีหอัล-ญามิอหมายเลขหะดีษ

7068,7576)นี่เป็นคำอธิบายง่ายๆต่อกฎเกณฑ์การเปลี่ยนแปลงโดยรวมของโลก

คำอธิบายนี้ไม่ใช่เรื่องเลื่อนลอยแต่ประการใดเลยเพราะต่อมาได้มีการค้นพบกฎทาง

วิทยาศาสตร์ที่สอดคล้องกับหะดีษข้างต้นโดยไม่มีใครคาดคิด นั้นคือกฎข้อที่สองของเทอร์

โมไดนามิคที่พอจะสรุปความได้ว่าภายในระบบปิดใดๆก็ตามความยุ่งเหยิงจะเพิ่มขึ้น

เสมอเมื่อเวลาผ่านไป

เครื่องหมายที่เด่นชัดที่สุดสำหรับข้ออ้างว่าสมัยนี้เป็นยุคสุดท้ายของโลกคือการ

แพร่กระจายของอบายมุขและปัญหาสังคมหลากหลายรูปแบบและแผ่กว้างอัลกุรอานเคย

กล่าวถึงว่า“ความวิบัติ (ความผิดบาปและหายนะ) ได้เกิดขึ้นทั้งทางบกและทางน้ำ

เนื่องจากสิ่งที่มือของมนุษย์ได้ทำขึ้น เพื่อที่พระองค์จะให้พวกเขาลิ้มรสผลบางส่วน

จากที่พวกเขากระทำไว้ โดยหวังที่จะให้พวกเขากลับเนื้อกลับตัว”(ความหมายจาก

ซูเราะฮฺอัร-รูม:41)

เพื่อความชัดเจนยิ่งขึ้นท่านรสูลศ็อลลัลลอฮอะลัยฮิวะสัลลัมได้ฉายภาพความ

วิบัติที่จะเกิดขึ้นเป็นสัญญาณแห่งโลกาวสานไว้มากมายโดยมีตัวอย่างดังนี้

* “ระยะเวลาจะสั้นลง ความรู้ (แห่งทางนำ) จะถูกยึด (หมายถึงจะค่อยๆ

เลือนหาย) ความละโมบจะถูกโยน (เข้าไปในใจผู ้คน) ความวุ ่นวาย

จะปรากฏ และจะเกิดการฆาตกรรมอย่างมากมาย”(ดูเศาะฮีหอัล-ญามิอ,

หมายเลขหะดีษ8020)

* “แท้จริงในจำนวนสัญญาณแห่งโลกาวสานนั้นคือ ความรู้ (ที่เป็นทางนำ)

ถูกยกขึ ้น (จนเหือดหาย) อวิชา (การไร้ศีลธรรม) จะผุดขึ ้นชัดเจน

การผิดประเวณีจะแพร่ขยาย สุรา (หรือสิ ่งมึนเมา) จะระบาดไปทั่ว”

(ดูเศาะฮีหอัล-ญามิอ,หมายเลขหะดีษ2206)

คู่มือศาสนบำบัด 2

Page 3: บทนำ - Ministry of Public Healthหลายคนเร ยกโลกสม ยน ว า“ย คสม ยส ดท ายความจร งจะเป นเช

* “ขอสาบานด้วยพระองค์ผู้ซึ่งชีวิตข้าอยู่ในหัตถ์แห่งพระองค์ ประชาชาตินี้

จะไม่สูญสลายตราบกระทั่งมีเหตุการณ์ที่มีผู้ชายลุกขึ้นยื่นไปหาผู้หญิง

แล้วได้ร่วมนอนกับหล่อนกลางถนน (โดยไม่มีใครกล้าห้าม) คนที่ดีที่สุด

ในยามนั้นได้เพียงแต่กล่าวว่า “โอ้ ท่านน่าจะทำกับนางเช่นนี้หลังกำแพง

นั้น”(รายงานโดยอบูยะอลา,ดูมัจญ์มะออัช-ชะวาอิค7:331)

* “ขอสาบานด้วยพระองค์ผู้ซึ่งชีวิตข้าอยู่ในหัตถ์แห่งพระองค์ แท้จริงจะมีช่วง

เวลาหนึ่งมาถึงยังมนุษยชาติ ที่ฆาตกรไม่รู ้ว่าสาเหตุใดที่เขาฆ่าคนอื่น

ผู้ถูกสังหารเองก็ไม่รู้ว่าสาเหตุใดตนถูกฆ่า”(ดูเศาะฮีหอัลญามิอหมายถึง

หะดีษ7076)

* “จะมียุคสมัยหนึ ่งมาถึงมนุษย์ ที ่คนคนหนึ ่งจะไม่สนใจว่า เขาได้ร ับ

ทรัพย์สินมาจากไหน ได้รับจากสิ่งที่ฮาลาล (สิ่งที่ศาสนาอนุญาต) หรือ

หะรอม (สิ่งที่ศาสนาต้องห้าม)” (ดูเศาะฮีหอัลญามิอหมายถึงหะดีษ5344)

คำอธิบายในหะดีษต่างๆทั้งหมดข้างต้นนั้นคงมิต้องขยายความมากมายให้

เสียเวลาอีกต่อไป เพราะสภาพความเป็นจริงในสังคมแห่งยุคสมัยล้วนเป็นที่เปิดเผยต่อ

ปุถุชนทั่วๆไปแล้วและนี่คือการอธิบายของคำสอนแห่งอิสลามที่ขอให้เราท่านช่วยใช้

วิจารณญาณดูว่ามันสอดคล้องกับความเป็นจริงในปัจจุบันหรือไม่อย่างไร

ไม่มีใครที่ไฝ่หาอยากจะพบกับความยุ่งเหยิงและความวุ่นวายของปัญหาต่างๆที่

น่ากลัวเหล่านั้นเพราะไม่มีผู้ใดต้องการจะมีชีวิตด้วยความทุกข์ที่มาบั่นทอนมากกว่าความ

สุขที่มั่นคงช่วงเวลาที่ผ่านมามวลมนุษย์ต่างก็เห็นแล้วว่าปัญหาสังคมที่เพิ่มขึ้นทุกวัน

สร้างความเสื่อมโทรมให้กับโลกมากเพียงใดนับวันเราต้องพัวพันกับมันมากขึ้นความรู้สึก

ปลอดภัยและความเข้มแข็งของจิตใจก็ยิ่งลดน้อยถอยลงดูเหมือนเป็นไปไม่ได้เสียแล้วที่

จะปิดตาสลัดมันให้พ้นไกลไปจากชีวิต เมื่อการเผชิญหน้าเป็นสิ่งที่เลี่ยงไม่ได้

จึงควรต้องเตรียมตัวและหาวิธีการที่ดีที่สุด และแข็งแกร่งพอที่จะต้านกระแสความ

วิบัติที่เชี่ยวกรากและรุนแรง ดังนั้นผู้เป็นมุสลิมแต่ละคนต้องหาแนวทางเพื่อยึดถือเป็น

พื้นฐานในการปฏิบัติซึ่งสามารถแบ่งออกเป็น3ระดับด้วยกันกล่าวคือ

3 คู่มือศาสนบำบัด

Page 4: บทนำ - Ministry of Public Healthหลายคนเร ยกโลกสม ยน ว า“ย คสม ยส ดท ายความจร งจะเป นเช

ระดับแรกคือการสร้างพลังในตัวเองพลังในที่นี้หมายถึงความเข้มแข็งของจิตใจ

นั่นคืออีมาน(ความศรัทธา)ซึ่งเป็นสิ่งเดียวที่สามารถทำให้หัวใจของผู้ศรัทธาเข้มแข็งได้

แต่น้อยคนนักที่จะเข้าใจว่าอีมานคือสิ่งที่แฝงด้วยพลังต่อต้านด้านมืดของจิตใจได้

อย่างน่าประหลาดในแง่นี้ท่านศาสนทูตศ็อลลัลลอฮอะลัยฮิวะสัลลัมเคยอธิบายว่า

การกระทำผิดบาปนั้นจะเกิดขึ้นเมื่อยามที่อีมานในใจแฟบลงจนไม่สามารถต้านทานความ

ต้องการด้านชั่วที่เข้ามาครอบงำชั่วขณะนั้นได้ ดังคำกล่าวของท่านศาสนทูตว่า “ไม่มีผู้ผิด

ประเวณีที่กระทำการนั้นในขณะที่มีอีมานอยู่ ผู้ใดจะไม่ขโมยทรัพย์ทั้งๆ ที่เขามี

อีมานอยู่ และใครก็ตามจะไม่ดื่มสุราในขณะที่เขาเป็นผู้ที่มีอีมานอยู่ หลังจากนั้น

การอภัยโทษจะถูกนำมาเสนอแก่เขา”(รายงานโดยมุสลิม,ดูเศาะฮีหอัล-ญามิอ,

หมายเลขหะดีษ7706)การมีอีมานคือการที่มุสลิมผูกพันกับพระผู้เป็นเจ้าอยู่ตลอดเวลา

ด้วยความศรัทธาที่ฝังลึกในใจ การเอ่ยรำลึกด้วยวาจาและการประพฤติปฏิบัติในขอบเขต

ทีพ่ระองคพ์อพระทยัความสำคญัของอมีานเปน็สิง่ทีย่ากตอ่การสาธยายใหล้ะเอยีดแตม่สุลมิ

ก็สัมผัสได้ด้วยการปฏิบัติจริงและทุกความรู้สึกที่ทำให้เรานึกถึงอัลลอฮฺทุกคำพูดที่ทำให้

เราสำนึกในการเป็นบ่าวของอัลลอฮฺนั่นก็คืออีมานทุกการกระทำเพื่อค้นหาความปรารถนา

การใกล้ชิดอัลลอฮฺถือว่าเป็นอีมานโดยสรุปแล้วอีมานก็คือ“สิ่งที่ปักหลักอยู่ในใจและเผย

ออกมาให้เห็นจริงด้วยการปฏิบัติ”

ดังนั้นอีมานจะอยู่ในตัวเสมอถ้าตราบใดที่มุสลิมไม่หลงลืมอัลลอฮฺและไม่ละเลย

หน้าที่ในการปฏิบัติภารกิจที่ถูกบัญชาให้ทำ ดีกรีของอีมานจะลดลงถ้าเมื่อใดที่ความผูกพัน

กับอัลลอฮฺดูห่างเหินความสำคัญจึงอยู่ที่การรักษาระดับของอีมานให้เพิ่มอยู่ตลอดเวลา

เรื่องนี้สำคัญหรือไม่ขนาดไหนคงพอจะตอบได้ด้วยแนวทางของเหล่าอัครสาวกแห่งท่าน

ศาสนทูตที่มักจะเชิญชวนพวกเขาด้วยกันเองเสมอว่า“มาเถิดพวกเรา มานั่งเพื่ออีมาน

สักครู่ยามเถิด”กิจที่เศาะหาบะฮฺ(สหายของท่านศาสนทูตศ็อลลัลลอฮฺอะลัยฮิวะสัลลัม)

ท่านมักจะทำร่วมกันเป็นประจำคือการนั่งเป็นกลุ่มเพื่อขัดเกลาอีมานให้ใหม่เอี่ยมและ

เพิ่มขึ้นด้วยการกล่าวระลึกถึงอัลลอฮฺและศึกษาถ้อยดำรัสของพระองค์ถึงแม้ว่าการปฏิบัติ

กิจทุกประเภทสามารถเพิ่มอีมานให้เข้มแข็งได้ กระนั้นการอ่านและศึกษาอัลกุรอานอย่าง

พินิจพิเคราะห์คือเหตุแห่งการเพิ่มอีมานได้ดีที่สุดดังที่มีปรากฏในดำรัสของอัลลอฮฺซึ่งมี

ความว่า“แท้จริงแล้วบรรดาผู้ศรัทธานั้น คือผู้ที่เมื่อใดมีการกล่าวถึงอัลลอฮฺแลว้

หัวใจของพวกเขาจะครั่นคร้าม และเมื่อใดที่ดำรัสแห่งพระองค์ถูกอ่านแก่พวกเขา

อีมานของพวกเขาก็จะเพิ่มขึ้น”(อัล-อันฟาล:2)ในที่สุดเมื่ออีมานคงสถิตอยู่กับผู้ใดแล้ว

คู่มือศาสนบำบัด 4

Page 5: บทนำ - Ministry of Public Healthหลายคนเร ยกโลกสม ยน ว า“ย คสม ยส ดท ายความจร งจะเป นเช

ความมั่นคงของจิตใจก็จะเข้มแข็งและเปี่ยมด้วยแรงต้านทานที่ไม่อาจล้มต่อการกระแทก

ของแรงอบายมุขและความผิดบาปที่มีแต่จะสร้างปัญหาและนำความวิบัติมาให้ ไม่ว่าการ

กระทบกระทั่งจะหนักหน่วงเพียงใดก็ตามนี่คือคำสัญญาที่ถูกบันทึกในมหาคัมภีร์อัลกุรอาน

ซึ่งมีความว่า“อัลลอฮฺจะทำให้บรรดาผู้ศรัทธานั้นมั่นคงด้วยถ้อยคำที่มั่นคง (คือ

ปฏิญาณแห่งศรัทธา) ทั้งในโลกนี้และในโลกหน้า”(อิบรอฮีม:27)เมื่ออีมานในใจมั่นคง

ส่งผลให้ความประพฤติอยู่ในกรอบแห่งความเชื่อมั่นในพระเจ้าและความผิดบาปไม่

สามารถเข้ามากล้ำกรายทำร้ายความเข้มแข็งของความศรัทธาชีวิตนี้ก็จะดำรงอยู่ได้ด้วย

ความสุขสมที่ต่างคนต่างใฝ่หาและพึงพอใจอีกครั้งหนึ่งที่อัลลอฮฺบอกกับเราไว้ในดำรัสของ

พระองค์ซึ่งมีความว่า“ผู้ใดที่ปฏิบัติความดีไม่ว่าจะเป็นชายหรือหญิง และเขานั้นเป็น

ผู้ศรัทธา ขอสาบานอย่างแน่นอนว่าเราจะทำให้เขาดำรงชีพด้วยชีวิตที่ดี และเราจะตอบ

แทนพวกเขาซึ่งรางวัลที่ดีที่สุดด้วยสิ่งที่พวกเขาได้ทำไว้เป็นแน่แท้”(อัน-นะหลิ:97)

ดังนั้นแล้วในระดับปัจเจกบุคคลสิ่งที่มุสลิมทุกคนพึงกระทำคือการเอาใจใส่อีมาน

ของตัวเองซึ่งเริ่มตั้งแต่การฟูมฟักความเชื่อมั่นศรัทธาในใจการเอื้อนเอ่ยรำลึกถึงอัลลอฮฺ

ด้วยถ้อยวาจาอย่างสม่ำเสมอและการประพฤติปฏิบัติกิจในกรอบแห่งบัญชาของพระองค์

ด้วยความเคร่งครัด เพื่อสร้างความเข้มแข็งให้กับตัวเองในการเผชิญหน้ากับปัญหาและ

การเปลี่ยนแปลงที่ยุ่งเหยิงซึ่งเราไม่อาจคาดเดาว่าจะรุนแรงมากน้อยสักเพียงใด

ระดับที่สองคือการสร้างบรรยากาศให้บ้านเป็นที่ปลอดภัย สังเกตดูได้เลยว่า

ความวุ่นวายของปัญหามากมายมักจะอยู่นอกบ้าน และเราไม่สามารถปฏิเสธได้ว่าปัญหา

อาจจะเกิดภายในบ้านได้เหมือนกัน แต่ก็คงไม่มากกว่าข้างนอกและอาณาบริเวณของบ้านก็

ไม่ได้ใหญ่โตหรือกว้างเสียจนยากแก่การหาวิธีขจัดปัญหานั้นได้ท่ามกลางความรุนแรงของ

กระแสสังคมเช่นปัจจุบันบ้านจึงเป็นสถานที่อันดับแรกที่น่าจะปลอดภัยมากที่สุดท่าน

รอสูลศ็อลลัลลอฮฺอะลัยฮิวะสัลลัมเคยปรารภไว้ว่า“จำเริญเถิดผู้ที่สามารถควบคุมลิ้น

ได้ ผู้ที่มีบ้านกว้างพอสำหรับความปลอดภัยของเขา และผู้ที่ร้องไห้กับความผิดของ

ตน” (รายงานโดยอัฏ-เฏาะบะรอนีย์,ดูเศาะฮีหอัล-ญามิอ,หมายเลขหะดีษ3929)ฉะนั้น

เราจำต้องรู้ว่าการเอาใจใส่บ้านและครอบครัวเป็นภาระหน้าที่สำคัญอีกประการหนึ่ง ซึ่งถูก

บัญญัติไว้ในอัลกุรอานมีความว่า“โอ้บรรดาผู้ศรัทธาจงปกป้องตัวของพวกเจ้า และ

ครอบครัวของพวกเจ้าให้ปลอดพ้นจากไฟนรกซึ่งเชื้อเพลิงของมันคือมนุษย์และ

ก้อนหิน”(อัต-ตะหรีม:6)และการทำให้บ้านและครอบครัวปลอดภัยจากไฟนรกนั้นคือการ

เอาใจใส่สมาชิกในบ้านให้ดำเนินอยู่บนครรลองแห่งอิสลามการทำให้บรรยากาศในบ้านเต็ม

5 คู่มือศาสนบำบัด

Page 6: บทนำ - Ministry of Public Healthหลายคนเร ยกโลกสม ยน ว า“ย คสม ยส ดท ายความจร งจะเป นเช

ไปด้วยความรักความเข้าใจเปี่ยมไปด้วยคุณธรรมและมีชีวิตด้วยการรำลึกถึงอัลลอฮฺ

“อุปมาบ้านที่มีการรำลึกถึงอัลลอฮฺ กับบ้านที่ไม่มีการรำลึกถึงอัลลอฮฺ อุปมัยดังเช่น

คนที่มีชีวิตกับคนที่ไม่มีชีวิต”ดูเศาะฮีหอัล-ญามิอ,หมายเลขหะดีษ5827)

ถ้าเราแต่ละคนต้องการอีมานเพื่อเป็นเกราะป้องกันและภูมิคุ้มกันความหายนะให้กับ

ตัวเองบ้านและครอบครัวก็ย่อมต้องการบรรยากาศแห่งอีมานเพื่อใช้ป้องกันความหายนะ

ไม่ให้เข้ามาทำลายความสงบสุขในบ้าน

ดังนั้นจึงควรตระหนักถึงวิถีแห่งอิสลามที่ได้สั่งสอนให้มุสลิมทุกคนเอาใจใส่เรื่องบ้าน

และครอบครัวรวมทั้งเอาใจใส่แนวทางของการรักษาอีมานในบ้านตามที่ได้รับการชี้นำจาก

ท่านศาสนทูตศ็อลลัลลอฮฺอะลัยฮิวะสัลลัมอาทิเช่นการกล่าวพระนามของอัลลอฮฺและ

การให้สลามก่อนเข้าบ้านการอ่านอัลกุรอานในบ้านการอ่านดุอาอในอิริยาบทต่างๆเช่น

เมื่อทานอาหารสวมเสื้อผ้าการเข้าห้องน้ำฯลฯผู้เป็นพ่อแม่สามารถที่จะทำตัวอย่างให้กับ

ลูกๆในเรื่องนี้ได้ดีที่สุดมีกิจกรรมอื่นๆอีกมากมายที่ควรแก่การศึกษาและนำมาใช้เป็น

วิธีการเพิ่มพูนอีมานให้กับบ้านและครอบครัวได้ยังมีผู้คนอีกมากมายในโลกไม่มีบ้านและ

ที่อยู่อาศัยดังนั้นบรรดาผู้ที่อัลลอฮฺเมตตาให้พวกเขามีบ้านเรือนเป็นชายคาที่พักพิง จึงควร

สำนึกถึงความสำคัญของบ้านโดยไม่ละเลยที่จะทำหน้าที่ในการสร้างบ้านและครอบครัวให้

เป็นที่โปรดปรานของอัลลอฮและเป็นที่พึ่งพิงเมื่อความวิบัติมากมายในสังคมท่วมหลากจน

หาที่หลบภัยไม่ได้อีกต่อไปคำถามหนึ่งที่ชวนคิดก็คือจะทำอย่างไรให้สมาชิก ในครอบครัว

ชอบที่จะอยู่บ้านมากกว่าออกไปเที่ยวเตร่ข้างนอก? เพราะถ้าหากปัญหาและความวุ่นวาย

ในสังคมมีมากจนเกินความสามารถที่จะเผชิญหน้า เราก็จำเป็นต้องหาที่หลบกำบังเพื่อ

ความปลอดภัยของตัวเอง

ระดับที่สามคือการแบ่งส่วนหนึ่งของชีวิตเพื่อส่วนรวม ด้วยการร่วมกันส่งเสริม

ความดีและช่วยกันยับยั้งความชั่วอันเป็นปัจจัยพื้นฐานของความเจริญและความสงบสุข

ในสังคมถึงแม้ว่านับวันโลกจะยิ่งเสื่อมโทรมและปัญหายิ่งเพิ่มมากขึ้นจนบางครั้งไม่อาจ

ต้านทานได้ กระนั้นการนิ่งเฉยโดยไม่ได้ทำอะไรเลยก็เปรียบเสมือนการยอมรับและจำนนตน

ต่อความเสื่อมโทรมนั้นเสียเองและการอยู่เฉยๆก็อาจกลายเป็นการส่งเสริมให้หายนะเข้า

ใกล้เราเพิ่มมากขึ้นก็เป็นได้ แต่เป็นที่แน่นอนว่าการละเลยที่จะสกัดกั้นและขจัดความชั่ว

ให้หมดไปจากสังคมคือต้นเหตุแห่งการลงโทษของอัลลอฮฺที่จะลงมาสู่โลกมนุษย์ซึ่งปัจจุบัน

การลงโทษดังกล่าวได้ปรากฏขึ้นในรูปแบบของความวิบัติต่างๆ และประจักษ์แก่สายตาของ

เรามาแล้วในหลายๆเหตุการณ์ดังความว่า“ขอสาบานด้วยพระองค์ผู้ซึ่งชีวิตข้าอยู่ใน

คู่มือศาสนบำบัด 6

Page 7: บทนำ - Ministry of Public Healthหลายคนเร ยกโลกสม ยน ว า“ย คสม ยส ดท ายความจร งจะเป นเช

หัตถ์แห่งพระองค์ พวกท่านต้องร่วมสั่งเสียในความดี หักห้ามจากความชั่ว หรือถ้า

พวกท่านไม่ทำเช่นนั้น เห็นทีอัลลอฮฺก็จะส่งการลงโทษของพระองค์ลงมายังพวก

ท่านเมื่อนั้นแม้พวกท่านจะวิงวอนขอจากพระองค์ก็จะไม่ทรงตอบรับ”(เศาะฮีห

อัล-ญามิอ,หมายเลขหะดีษ7070)

เมื่อใดที่อัลลอฮฺประสงค์จะส่งความวิบัติลงมายังมนุษย์แล้วมนุษย์ทุกคนทั้งดีและชั่ว

จะไม่สามารถหลีกหนีได้พ้น“พวกเจ้าจงระวังการลงโทษ (ที่อัลลอฮฺใช้ทดสอบ) ที่จะไม่

ประสบกับบรรดาผู้อธรรมเท่านั้นและจงรู้เถิดว่าอัลลอฮฺนั้นเป็นผู้หนักหน่วงในการ

ลงโทษ”(ความหมายจากซูเราะฮฺอัล-อันฟาล:25)

ดังนั้นเราต้องมีความสำนึกในการส่งเสริมความดีและการมีคุณธรรมพร้อมกับการ

ต่อต้านความชั่วซึ่งเป็นคุณลักษณะของประชาชาติที่ประเสริฐดังความว่า

“พวกเจ้านั้นเป็นประชาชาติอันประเสริฐสุดที่ถูกให้กำเนิดขึ้นมาเพื่อมนุษยชาติ ด้วยการที่

พวกเจ้าสั่งเสียในความดี หักห้ามยับยั้งจากความชั่วและด้วยการที่พวกเจ้าศรัทธาต่อ

อัลลอฮฺ”(ความหมายจากซูเราะฮฺอาลีอิมรอน:110)สำนึกเช่นนี้นับได้ว่าเป็น

คุณลักษณะหนึ่งของผู้ศรัทธาที่แท้จริงและควรมีอยู่คู่กับมุสลิมทุกคนความยุ่งเหยิงและ

หายนะที่เกิดขึ้นในสังคมล้วนมาจากมนุษย์ในขณะที่อีมานของเขาไม่ได้อยู่กับเนื้อกับตัว

แน่นอนการตักเตือนระหว่างกันจึงนับว่ามีประโยชน์กับทุกฝ่ายอย่างยิ่ง เพราะวิสัยมนุษย์

มักจะเผลอและหลงลืมอยู่เป็นนิจ“และจงตักเตือนเถิด เพราะแท้จริงการตักเตือนนั้น

ให้คุณประโยขน์แก่ปวงผู้ศรัทธา”(ความหมายจากซูเราะฮฺอัล-ซารียาต:55)ซึ่งเราไม่

ควรอย่างยิ่งที่จะบอกว่าตนไม่มีความสามารถหรือไม่มีคุณสมบัติพร้อมพอที่จะบอกให้

คนอื่นทำดีหรือห้ามคนอื่นจากการทำชั่ว เพราะมีความรู้น้อยและตัวเองก็ไม่ได้ดีเกินไปกว่า

คนอื่นเท่าใดนักบทบัญญัติของผู้อภิบาลไม่ได้เรียกร้องให้มนุษย์ทำอะไรเกินความสามารถที่

จะทำได้แต่ทุกคนมีหน้าที่รับผิดชอบต่อภารกิจเท่าที่ตนสามารถจะปฏิบัติได้เท่านั้น“ใคร

คนหนึ่งในพวกท่านที่เห็นความชั่ว เขาจะต้องเปลี่ยนแปลงมันด้วยมือของเขา ถ้าไม่มี

ความสามารถให้เขาใช้ปากพูด และถ้ายังทำไม่ได้อีกให้เขาคิดปฏิเสธสิ่งนั้นในใจ

และนั่นคือความศรัทธาขั้นต่ำสุด”(ความหมายจากหะดีษดูเศาะฮีหอัล-ญามิอล

หมายเลขหะดีษ6250)อิสลามไม่ได้บังคับหรือร้องขอให้ใครเลิกทำงานอย่างอื่นเพื่อทำ

หน้าที่นี้โดยเฉพาะ ใครมีอาชีพมีตำแหน่งอะไรก็สามารถที่เป็นผู้สร้างสรรค์ความดีและ

ปราบปรามความชั่วในกรอบที่ตัวเองทำงานอยู่ได้ เช่นคนที่เป็นพ่อแม่ก็มีหน้าที่ดูแลอบรม

บ่มนิสัยของลูกๆผู้ที่เป็นเจ้านายที่ต้องรับผิดชอบคนที่อยู่ภายใต้การดูแลมิตรสหายก็

สามารถทำตัวอย่างที่ดีให้คนรอบข้างคนที่พูดเก่งก็ช่วยด้วยการพูด ใครที่พูดไม่เก่งก็ช่วย

7 คู่มือศาสนบำบัด

Page 8: บทนำ - Ministry of Public Healthหลายคนเร ยกโลกสม ยน ว า“ย คสม ยส ดท ายความจร งจะเป นเช

ด้วยการเขียนคนที่ไม่เก่งทั้งพูดทั้งเขียนแต่มีทรัพย์อยู่บ้างก็ใช้จ่ายเพื่อสมทบทุนกิจกรรม

ส่งเสริมจริยธรรมต่างๆเหล่านี้เป็นต้นซึ่งทุกคนก็สามารถทำได้เพื่อรวมกันสนับสนุนความดี

ให้แพร่ขยายและยับยั้งความชั่วไม่ให้ลุกลาม

ต้นกำเนิดของปัญหาและความยุ่งเหยิงมากมายในสังคมมาจากพฤติกรรมของ

มนุษย์ที่เอาแต่ใจตัวเองและใฝ่หาแต่ความสุขชั่ววูบตามกิเลสตัณหาถ้าหากเรามีความ

เข้าใจในเรื่องนี้แล้วแต่ยังนิ่งดูดายไม่คิดที่จะมีส่วนร่วมเพื่อเปลี่ยนแปลงและหยุดยั้งมันแล้ว

จะมีใครอีกเล่าที่จะรับผิดชอบต่อหน้าที่นี้อย่างไรก็ตามกระบวนการและวิธีการต่างๆในการ

ร่วมกันสนับสนุนความดีและต่อต้านความชั่วอาจจะต้องขยายความและพูดกันให้ละเอียด

อีกต่อไปในโอกาสหน้าแต่ก้าวแรกในครั้งนี้ก็คือการสร้างจิตสำนึกให้เห็นถึงความสำคัญ

ของการเป็นคนที่มีจิตวิญญาณในการเป็นมุสลิมที่ดีและมีชีวิตที่ไม่เน่าตายลอยไปตามกระแส

สังคม

คู่มือศาสนบำบัด 8

Page 9: บทนำ - Ministry of Public Healthหลายคนเร ยกโลกสม ยน ว า“ย คสม ยส ดท ายความจร งจะเป นเช

แผนการจัดการเรียนรู้

ศาสนบำบัดสำหรับผู้ป่วยยาเสพติด เวลาในการสอน 60 นาที

หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 เรื่อง จุดหมายของการมีชีวิต

1. สาระสำคัญ

มนุษย์เกิดจากการสร้างของอัลลอฮฺและต้องเคารพภักดีต่อพระองค์พระองค์

กำหนดให้มนุษย์ต้องใช้ชีวิตบนโลกนี้เพื่อทดสอบและเขาก็จะกลับไปหาพระองค์ในโลกหน้า

เพื่อรับผลตอบแทนจากการกระทำและการปฏิบัติตนของพวกเขาบนโลกนี้

2. จุดประสงค์การเรียนรู้

2.1เพื่อให้ผู้รับการบำบัดได้เข้าใจถึงจุดหมายของการมีชีวิตตามหลักคำสอนของอิสลาม

2.2เพื่อให้ผู้รับการบำบัดได้เข้าใจถึงข้อเท็จจริงของการมีชีวิตตามหลักคำสอนของอิสลาม

3. กระบวนการจัดการเรียนรู้

3.1นำเข้าสู่บทเรียนโดยการเล่าเรื่องจุดกำเนิดของมนุษย์โลก“นาบีอาดัมกับอีวา

ภรรยาของท่าน”(5นาที)

3.2สุ่มถามผู้รับการบำบัด2-3คนเกี่ยวกับความรู้เรื่องศาสนาที่เกี่ยวข้อง(5นาที)

3.3ผู้สอนบรรยายให้ความรู้เกี่ยวกับเนื้อหาในใบความรู้(30นาที)

3.4ให้ผู้รับการบำบัดทำกิจกรรมตามประเด็นใบงานอาจจะแบ่งเป็นกลุ่มหรือ

รายบุคคล(10นาที)

3.5สุ่มตัวแทนนำเสนอผลงาน2-3คนผู้สอนรวบรวมข้อมูลสรุปและอภิปราย

เพิ่มเติม(10นาที)

9 คู่มือศาสนบำบัด

Page 10: บทนำ - Ministry of Public Healthหลายคนเร ยกโลกสม ยน ว า“ย คสม ยส ดท ายความจร งจะเป นเช

4. สื่อการเรียนการสอน

4.1ภาพพลิก,ภาพโปสเตอร์

4.2ใบงาน

4.3กระดาษชาร์ต/กระดาษA4

5. กระบวนการประเมิน

5.1ประเมินความรู้

5.1.1การตอบคำถาม

5.1.2การแสดงความคิดเห็นขณะอภิปรายในกลุ่ม

5.1.3ผลการนำแสนอผลงานของแต่ละกลุ่มหรือแต่ละคน

5.2ประเมินผลการปฏิบัติ

5.2.1สังเกตพฤติกรรมการแสดงความคิดเห็นขณะทำการสอน

5.2.2ตรวจผลงานหรือดูความรับผิดชอบที่ได้รับมอบหมาย

5.3เครื่องมือในการประเมิน

5.3.1ใบงาน

5.3.2ผลงานที่ได้รับมอบหมาย

คู่มือศาสนบำบัด 10

Page 11: บทนำ - Ministry of Public Healthหลายคนเร ยกโลกสม ยน ว า“ย คสม ยส ดท ายความจร งจะเป นเช

ใบความรู้

จุดหมายของการมีชีวิต

ถ้าหากเราถามว่ามนุษย์เกิดมาทำไม เพื่อตอบคำถามนี้อัลลอฮฺได้บอกเราในอัลกุรอาน

มีใจความว่า“และข้า (อัลลอฮฺ) มิได้ให้บังเกิดมวลญินและมนุษย์มาเพื่อการใด เว้นแต่

เพื่อให้พวกเขาอิบาดะฮฺ (ทำหน้าที่เป็นบ่าว) ต่อข้า”(อัลกุรอานซูเราะฮฺอัซ-ซาริยาต

:56)โองการอัลกุรอานบทนี้ได้ชี้ให้เห็นว่าจุดประสงค์ของการมีชีวิตของมนุษย์คือเพื่อ

ทำความเคารพภักดีต่อพระผู้เป็นเจ้า

มนุษย์ทุกคนต่างก็ต้องการคำตอบต่อข้อซักถามนี้ แต่เราพบว่าคำตอบที่อัลกุรอานได้

บอกเราเป็นคำตอบที่สมเหตุสมผลที่สุดเพราะถ้าหากไม่เชื่อในพระเจ้าแล้วมนุษย์ก็ไม่มีค่า

อะไรในการมีชีวิตบนโลกนี้พวกเขาจะเป็นเหมือนสัตว์อื่นๆที่รู้จักเพียงการกินการดื่ม

การขับถ่ายและการสืบพันธ์ุ

มนุษย์ทุกคนล้วนเชื่อในอำนาจเหนือธรรมชาติพวกเขาจึงมีสิ่งกราบไหว้ต่างๆนานา

แตกต่างกันไปแต่การเชื่อในพระผู้เป็นเจ้าหรือมุสลิมเรียกว่า“อัลลอฮฺ”คือการเชื่อต่อศูนย์

รวมพลังอำนาจทั้งหมดในจักรวาลอัลลอฮฺได้บอกว่าพระองค์กำหนดให้มนุษย์ต้องใช้ชีวิต

บนโลกนี้เพื่อทดสอบพวกเขา และในที่สุดพวกเขาก็จะกลับไปหาพระองค์ในโลกหน้าเพื่อรับ

ผลตอบแทนจากการกระทำและการปฏิบัติตนของพวกเขาบนโลกนี้ดังนั้นความจริงแล้วโลก

นี้จึงเป็นเพียงสถานที่ชั่วคราวเท่านั้น แต่โลกหน้าต่างหากที่เป็นจุดหมายการเดินทางของ

มนุษย์พระองค์ได้ตรัสมีใจความว่า“และชีวิตโลกนี้มิได้เป็นสิ่งใดนอกเสียจากเพียงการ

รื่นเริงและการละเล่นเท่านั้นและแท้จริงแล้วโลกหน้าต่างหากคือชีวิตอันสถาพร”

(อัลกุรอานซูเราะฮฺอัล-อันกะบูต:64)

มนุษย์จึงต้องใช้ชีวิตบนโลกนี้ตามครรลองของพระผู้เป็นเจ้าเพราะคำสอนของ

พระองค์เป็นเส้นทางที่เที่ยงตรงอัลลอฮฺได้ตรัสไว้มีใจความว่า“และนี้คือเส้นทางของข้าที่

เที่ยงตรง ดังนั้นสูเจ้าจงตามมันเถิด และอย่าได้ตามเส้นทางอื่น เพราะมันจะทำให้สูเจ้า

แตกออกไปจากเส้นทาง (อันเที่ยงตรง) นั้น”อันกุรอานซูเราะฮฺอัล-อันอาม:153)

11 คู่มือศาสนบำบัด

Page 12: บทนำ - Ministry of Public Healthหลายคนเร ยกโลกสม ยน ว า“ย คสม ยส ดท ายความจร งจะเป นเช

การปฏิบัติตามคำสอนของพระผู้เป็นเจ้าจะทำให้มนุษย์ได้รับความสุขความสำเร็จทั้ง

ในโลกนี้และโลกหน้าเช่นที่อัลลอฮฺได้ตรัสไว้มีใจความว่า“ผู้ใดที่ปฏิบัติความดีทั้งผู้ชาย

หรือผู้หญิงโดยที่เขาเป็นผู้ศรัทธาแล้วไซร้แน่แท้เราจะให้เขามีชีวิตที่ดีและเราจะ

ตอบแทนพวกเขาด้วยสิ่งที่ดีที่สุดตามการปฏิบัติความดีของพวกเขา”(อัลกุรอาน

ซูเราะฮฺอัน-นะหลิ:97)

ข้อคิดที่ได้รับจากบทเรียน

1.มนุษย์ไม่มีคุณค่าใดๆในชีวิตถ้าหากไม่รู้จักตัวเองไม่รู้จักพระเจ้า

2.มนุษย์ทุกคนเชื่อในอำนาจเหนือธรรมชาติ

3.พระผู้เป็นเจ้าหรือที่มุสลิมเรียกว่าอัลลอฮฺคือศูนย์รวมอำนาจทั้งหลายทั้งปวง

ในเอกภพ

4.อิสลามมีเหตุผลที่ชัดเจนเกี่ยวกับการมีชีวิตของมนุษย์บนโลก

5.เป้าหมายที่อัลลอฮฺสร้างมนุษย์ขึ้นมาก็คือเพื่อให้พวกเขาแสดงความเคารพภักดี

ต่อพระองค์

6.อัลลอฮฺได้กำหนดอีกโลกหนึ่งข้างหน้าเพื่อให้มนุษย์ได้ใช้ชีวิตอยู่อย่างถาวรโลก

นี้เป็นเพียงแค่ทางผ่านสู่โลกหน้าเท่านั้น

7.การดำเนินชีวิตของมนุษย์ตามกรอบวิถีของพระผู้เป็นเจ้าคือสาเหตุแห่งการเกิด

สันติสุขทั้งในโลกนี้และโลกหน้า

คู่มือศาสนบำบัด 12

Page 13: บทนำ - Ministry of Public Healthหลายคนเร ยกโลกสม ยน ว า“ย คสม ยส ดท ายความจร งจะเป นเช

ใบงาน

คำชี้แจง

ให้ท่านทำกิจกรรมตามหัวข้อที่มอบหมาย(10นาที)แล้วนำเสนอผลงานโดยตอบ

คำถามตามประเด็นดังนี้

1.ท่านคิดว่าอะไรที่ทำให้ตัวเองรู้สึกว่ามีคุณค่าในการมีชีวิตเป็นมนุษย์

2.ท่านคิดว่าถ้ามนุษย์ไม่เชื่อในพระเจ้าแล้วพวกเขาจะใช้ชีวิตอย่างไร

3.ท่านจะทำอย่างไรให้ตนเองใช้ชีวิตอย่างมีความสุขและมีคุณค่า

13 คู่มือศาสนบำบัด

Page 14: บทนำ - Ministry of Public Healthหลายคนเร ยกโลกสม ยน ว า“ย คสม ยส ดท ายความจร งจะเป นเช

ใบความรู้สำหรับผู้สอน

(แผนการสอนเรื่อง “จุดหมายของการมีชีวิต)

ประเด็นคำถาม

1.ท่านคิดว่าอะไรที่ทำให้ตัวเองรู้สึกว่า

มีคุณค่าในการมีชีวิต

2.ท่านคิดว่าถ้ามนุษย์ไม่เชื่อในพระเจ้า

แล้วพวกเขาจะใช้ชีวิตอย่างไร

3.ท่านจะทำอย่างไรให้ตนเอง

ใช้ชีวิตอย่างมีความสุขและมีคุณค่า

แนวคิดที่ควรได้

-การได้ละหมาด5เวลาและได้ปฏิบัติตน

ตามหลักคำสอนของอิสลาม

-การเข้ามารับการบำบัดรักษายาเสพติด

และเลิกเสพยาเสพติด

-การเป็นลูกที่ดีของพ่อแม่และเป็นมุสลิม

ที่ดีในสังคม

-ไม่มีการละหมาดไม่ถือศีลอด

-ไม่รู้จักคิดไตร่ตรองและเกรงกลัวต่อการ

ทำบาป

-ไม่มีความเชื่อในวันอาคีเราะฮฺ(โลกหน้า)

-การดำเนินชีวิตในแต่ละวันจะมีเพียงแต่

การกินการดื ่มการขับถ่ายและการ

สืบพันธ์ุ

-ไม่มีการรำลึกถึงอัลลอฮฺ

-ต้องหยุดและเลิกเสพยาเสพติด

-หลังจากการบำบัดรักษาแล้วไม่กลับไป

เสพซ้ำและพยายามหางานทำเพื่อให้มี

รายได้เป็นของตนเองและไม่ว่างจนเกินไป

ซึ่งเป็นการป้องกันการทำให้คิดฟุ้งซ่านจน

ในที่สุดก็จะเข้าสู่วงจรการเสพยาเสพติด

อีก

-ทำจิตใจให้เข้มแข็งโดยใช้หลักการของ

ศาสนามาเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจ

-มีความรับผิดชอบต่อตนเองและครอบครัว

คู่มือศาสนบำบัด 14

Page 15: บทนำ - Ministry of Public Healthหลายคนเร ยกโลกสม ยน ว า“ย คสม ยส ดท ายความจร งจะเป นเช

แผนการจัดการเรียนรู้

ศาสนบำบัดสำหรับผู้ป่วยยาเสพติด เวลาในการสอน 60 นาที

หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 เรื่อง ข้อเท็จจริงของชีวิตโลก

1. สาระสำคัญ

อัลลอฮฺได้สร้างโลกนี้ประกอบด้วยมนุษย์สัตว์และสรรพสิ่งต่างๆเป็นคู่ๆและมีจุด

จบคือความตาย โลกนี้มีสภาพชั่วคราวไม่นิรันดร์ ในขณะที่โลกหน้านั้นเป็นโลกที่ถาวรเมื่อมี

ชีวิตอยู่บนโลกนี้มนุษย์จึงมีหน้าที่ที่ต้องศรัทธาต่ออัลลอฮฺและสิ่งที่พระองค์สั่งให้ศรัทธาเพื่อ

หวังในความโปรดปรานของพระองค์ในโลกหน้า

2. จุดประสงค์การเรียนรู้

2.1เพื่อให้ผู้รับการบำบัดได้เข้าใจถึงข้อเท็จจริงของการมีชีวิตบนโลกนี้ตามหลัก

คำสอนของอิสลาม

2.2เพื่อให้ผู้รับการบำบัดเกิดพลังใจเมื่อต้องเผชิญกับบททดสอบในชีวิตด้วยความ

เข้มแข็ง

2.3เพื่อให้ผู้รับการบำบัดรู้ถึงหน้าที่ของตนเองที่ต้องปฏิบัติในชีวิต

3. กระบวนการจัดการเรียนรู้

3.1นำเข้าสู่บทเรียนโดยยกอัลกุรอาน(ซูเราะฮฺอัล-อันกะบูต:64)ความว่า“และโลก

นี้มิใช่อื่นใดเว้นแต่เป็นการละเล่นและเป็นการสนุกสนานรื่นเริง และแท้จริงโลกหน้านั้นคือ

ชีวิตที่แท้จริงหากพวกเขารู้”อธิบายเพิ่มเติม(5นาที)

3.2สุ่มถามผู้รับการบำบัด2-3คนเกี่ยวกับความรู้เรื่องศาสนาที่เกี่ยวข้อง(5นาที)

3.3ผู้สอนบรรยายให้ความรู้เกี่ยวกับเนื้อหาในใบความรู้(30นาที)

3.4ให้ผู้รับการบำบัดทำกิจกรรมตามประเด็นใบงานอาจจะแบ่งเป็นกลุ่มหรือ

รายบุคคล(10นาที)

15 คู่มือศาสนบำบัด

Page 16: บทนำ - Ministry of Public Healthหลายคนเร ยกโลกสม ยน ว า“ย คสม ยส ดท ายความจร งจะเป นเช

3.5สุ่มตัวแทนนำเสนอผลงาน2-3คนผู้สอนรวบรวมข้อสรุปและอภิปราย

เพิ่มเติม(10นาที)

4. สื่อการเรียนการสอน

4.1ภาพพลิก,ภาพโปสเตอร์

4.2ใบงาน

4.3กระดาษชาร์ต/กระดาษA4

5. กระบวนการประเมิน

5.1ประเมินความรู้

5.1.1การตอบคำถาม

5.1.2การแสดงความคิดเห็นขณะอภิปรายในกลุ่ม

5.1.3ผลการนำแสนอผลงานของแต่ละกลุ่มหรือแต่ละคน

5.2ประเมินผลการปฏิบัติ

5.2.1สังเกตพฤติกรรมการแสดงความคิดเห็นขณะทำการสอน

5.2.2ตรวจผลงานหรือดูความรับผิดชอบที่ได้รับมอบหมาย

5.3เครื่องมือในการประเมิน

5.3.1ใบงาน

5.3.2ผลงานที่ได้รับมอบหมาย

คู่มือศาสนบำบัด 16

Page 17: บทนำ - Ministry of Public Healthหลายคนเร ยกโลกสม ยน ว า“ย คสม ยส ดท ายความจร งจะเป นเช

ใบความรู้

ข้อเท็จจริงของชีวิตโลก

อัลลอฮฺได้สร้างโลกนี้ประกอบด้วยมุนษย์สัตว์และสรรพสิ่งต่างๆเป็นคู่ๆมีโลกนี้และ

โลกหน้ามีเพศชายและเพศหญิงมีวัยรุ่นและวัยชรามีความดีและความชั่วมีความเป็นและ

ความตายมีความสุขและความทุกข์มีสวรรค์และนรกข้อเท็จจริงนี้อัลลอฮฺได้ตรัสไว้ใน

อัลกุรอานมีใจความว่า“และจากทุกๆ สิ่งนั้นเราได้สร้างมันขึ้นเป็นคู่ๆ เพื่อพวกเจ้าจะ

ได้ใคร่ครวญ”(อัลกุรอานซูเราะฮฺอัซ-ซาริยาต:49)

จุดจบของมนุษย์และสิ่งมีชิวิตคือความตาย โลกนี้ก็เช่นเดียวกันจะมีจุดจบและ

จุดสิ้นสุดอัลลอฮฺได้ตรัสไว้มีใจความว่า“แต่ละชีวิตนั้นจะได้ลิ้มรสแห่งความตายและ

แท้จริงพวกเจ้าจะได้รับผลตอบแทนของพวกเจ้าในวันปรโลก”(อัลกุรอานซูเราะฮฺอาล

อิมรอน3:185)

โลกที่เราอาศัยอยู่นี้มีสภาพชั่วคราวไม่นิรันดร์ ในขณะที่โลกหน้านั้นเป็นโลกที่ถาวร

เกี่ยวกับเรื่องนี้อัลลอฮฺได้ตรัสไว้มีใจความว่า“และโลกนี้มิใช่อื่นใดเว้นแต่เป็นการละเล่น

และเป็นการสนุกสนานรื่นเริง และแท้จริงโลกหน้านั้นคือชีวิตที่แท้จริงหากพวกเขารู้”

(อัลกุรอานซูเราะฮฺอัล-อันกะบูต:64)

วันสิ้นสุดของโลกเป็นเหตุการณ์ที่น่าสะพรึงกลัวอัลลอฮฺได้ตรัสอธิบายสภาพ

ดังกล่าวในดำรัสของพระองค์ซึ่งมีใจความว่า “มนุษย์เอ๋ยพวกเจ้าจงยำเกรงต่อพระเจ้า

เถิด เพราะแท้จริง ความอลหม่านของวันสิ้นโลกนั้นหนักหน่วงยิ่ง วันที่พวกเจ้าจะได้

เห็นมัน (น่าพรั่นพรึงจนแม้กระทั่ง) แม่ที่กำลังให้นมลูกจะทิ้งลูกของนาง หญิงตั้งครรภ์

ทุกคนจะคลอดลูกในท้อง (โดยไม่รู้ตัว) และเจ้าจะเห็นผู้คนทั้งหลายอยู่ในสภาพมึนเมา

ทั้งๆ ที่พวกเขาไม่ได้เมา แต่ทว่าเป็นเพราะการลงโทษนั้นรุงแรงยิ่งนัก”(อัลกุรอาน

ซูเราะฮฺอัล-หัจญ์:1)

ในเมื่อโลกนี้เป็นเพียงโลกชั่วคราวไม่จีรังยั่งยืน มนุษย์จึงต้องใช้ชีวิตอยู่บนโลกอย่าง

พอเพียงไม่โลภไม่เอารัดเอาเปรียบไม่หลอกลวงไม่ตามอารมณ์ใฝ่ต่ำจนเลยขอบเขต

ไม่ทำร้ายตนเองและผู้อื่นท่านรอซูลศ็อลลัลลอฮฺอะลัยฮิวะสัลลัมได้สอนพวกเราถึง

วิธีการใช้ชีวิตบนโลกนี้ว่าควรจะอยู่เยี่ยงคนแปลกหน้าหรือผู้เดินทางที่หยุดพักกลางทาง

เพื่อรอจะเดินทางต่อบนเส้นทางอีกยาวไกลข้างหน้าท่านได้กล่าวไว้มีความว่า“ท่านจง

อาศัยอยู่บนโลกนี้เสมือนกับว่าท่านเป็นคนแปลกหน้าหรือเป็นผู้ผ่านทาง”(รายงานโดย

อัล-บุคอรีย์และมุสลิม)

17 คู่มือศาสนบำบัด

Page 18: บทนำ - Ministry of Public Healthหลายคนเร ยกโลกสม ยน ว า“ย คสม ยส ดท ายความจร งจะเป นเช

โลกนี้เป็นสถานที่สำหรับประกอบคุณงามความดีต่ออัลลอฮฺต่อตนเองและต่อผู้อื่น

รางวัลที่จะได้รับนั้นคือในโลกหน้า ดังนั้นโลกนี้จึงเต็มไปด้วยการทดสอบเพื่อทดสอบว่าใคร

ศรัทธาต่ออัลลอฮฺผู้ทรงสร้างโลกนี้และใครเป็นผู้ปฏิเสธศรัทธาใครปฏิบัติความดีต่อตนเอง

และผู้อื่นใครทำร้ายตนเองและทำร้ายผู้อื่นใครที่สามารถยับยั้งชั่งใจและใครที่สามารถ

ควบคุมตนเองได้อัลลอฮฺได้ตรัสไว้มีใจความว่า“มนุษย์คิดหรือว่า พวกเขาจะถูกปล่อย

ให้กล่าวว่า “เราได้ศรัทธาแล้ว” โดยที่ไม่มีการทดสอบใดๆ แท้จริงแล้วเราได้ทดสอบ

บรรดาผู้คนก่อนหน้าพวกเจ้า ดังนั้นแล้ว แท้จริงอัลลอฮฺจะทรงจำแนกให้รู้ว่าผู้ใด

เป็นผู้สัจจริงและผู้ใดที่โกหกมดเท็จ”(อัลกุรอานซูเราะฮฺอัล-อันกะบูต:2)อัลลอฮฺยังได้

ตรัสอีกมีความว่า“พระองค์ผู้ทรงกำหนดชีวิตและความตาย เพื่อจะทดสอบพวกเจ้าว่า

ผู้ใดที่ปฏิบัติตนได้ดีที่สุด และพระองค์เป็นผู้ทรงอำนาจและให้อภัยเสมอ” (อัลกุรอาน

ซูเราะฮฺอัล-มุลกฺ:2)

ดังนั้นชีวิตมนุษย์บนโลกนี้จึงมีหน้าที่ศรัทธาต่ออัลลอฮฺและสิ่งที่พระองค์สั่งให้ศรัทธา

ต้องปฏิบัติหน้าที่ต่ออัลลอฮฺให้ดีที่สุด เพื่อขอบคุณพระองค์และหวังในความโปรดปราน

ของพระองค์ในโลกหน้าด้วย

การปฏิบัติกิจต่างๆเช่นการละหมาดการถือศีลอดการบริจาคซะกาตต้องปฏิบัติ

เพื่อตนเองให้ดีที่สุดการบริโภคสิ่งที่อัลลอฮฺอนุมัติหลีกเลี่ยงสิ่งที่พระองค์ห้ามและต้อง

ปฏิบัติต่อผู้อื่นให้ดีที่สุดทั้งต่อภรรยาลูกๆและเพื่อนบ้านเช่นการให้เกียรติผู้อื่นช่วยเหลือ

ผู้อื่นไม่ทำร้ายผู้อื่นด้วยการกระทำหรือคำพูดการมีมารยาทและต้องปฏิบัติต่อสรรพสิ่ง

ต่างๆในโลกให้ดีที่สุดเช่นการไม่ทำลายสิ่งแวดล้อมใช้ทรัพยากรต่างๆเท่าที่จำเป็น

ไม่ฟุ่มเฟือยดังที่ท่านรอซูลศ็อลลัลลอฮฺอะลัยฮิวะสัลลัมเคยห้ามไม่ให้ปัสสาวะในบึงน้ำ

ที่นิ่งไม่มีการไหลระบายและห้ามมิให้ถ่ายอุจจาระใต้ต้นไม้ซึ่งเป็นที่หยุดพักของคน

คู่มือศาสนบำบัด 18

Page 19: บทนำ - Ministry of Public Healthหลายคนเร ยกโลกสม ยน ว า“ย คสม ยส ดท ายความจร งจะเป นเช

ข้อคิดที่ได้รับจากบทเรียน

1.โลกนี้เป็นสถานที่ชั่วคราวไม่ถาวรในขณะที่โลกหน้านั้นเป็นชีวิตนิรันดร์

2.มนุษย์ต้องพบกับความตายจึงต้องเตรียมตัวและเตรียมพร้อมด้วยการปฏิบัติ

ความดีต่างๆและละเว้นจากความชั่วทั้งหลาย

3.ชีวิตโลกเป็นการทดสอบว่าใครปฏิบัติหน้าที่ได้ดีที่สุดมนุษย์จึงต้องเข้มแข็งใน

การเผชิญกับบททดสอบในชีวิต

4.มุสลิมมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตนต่ออัลลอฮฺ ต่อตนเองและต่อผู้อื่นให้ถูกต้องตามที่

อิสลามได้สอนไว้

ใบงาน

คำชี้แจงให้ท่านทำกิจกรรมตามหัวข้อที่มอบหมาย(10นาที)แล้วนำเสนอผลงานโดยตอบ

คำถามตามประเด็นดังนี้

1.ท่านคิดว่าโลกนี้และโลกหน้ามีความสำคัญต่อชีวิตมนุษย์อย่างไร

2. ท่านคิดว่าต้องทำอย่างไรเพื่อปฏิบัติหน้าที่ของตนเองในฐานะมนุษย์คนหนึ่งที่

มีชีวิตอยู่บนโลก

19 คู่มือศาสนบำบัด

Page 20: บทนำ - Ministry of Public Healthหลายคนเร ยกโลกสม ยน ว า“ย คสม ยส ดท ายความจร งจะเป นเช

ใบความรู้สำหรับผู้สอน

(แผนการสอนเรื่อง “ข้อเท็จจริงของชีวิตโลก”)

ประเด็นคำถาม

1.ท่านคิดว่าโลกนี้และโลกหน้า

มีความสำคัญต่อชีวิตมนุษย์

อย่างไร

2.ท่านคิดว่าต้องทำอย่างไร

เพื่อปฏิบัติหน้าที่ของตนเอง

ในฐานะมุสลิมคนหนึ่ง

แนวคิดที่ควรได้

โลกนี้ (ดุนยา)

-เป็นสถานที่ชั่วคราวสำหรับมนุษย์ในช่วงที่มี

ชีวิตบนโลกนี้จะต้องศึกษาหาความรู้ทั้งในเรื่อง

ของดุนยาและอาคีเราะฮฺไม่ใช่การปฏิบัติเพียง

ด้านเดียวต้องปฏิบัติควบคู่กันไปเสมอจึงจะได้

รับความโปรดปรานจากอัลลอฮฺ

-โลกนี้คือการทดสอบเพื่อจะแยกแยะว่าใคร

ศรัทธาต่ออัลลอฮฺและใครเป็นผู้ปฏิเสธศรัทธา

โลกหน้า (อาคีเราะฮฺ)

-เป็นสถานที่ชั่วนิจนิรันดร์และเป็นวันพิพากษาคดี

เพื่อตัดสินความดีความชั่วของมนุษย์

-มุสลิมทุกคนต้องมีความเชื่อมั่นในวันอาคีเราะฮฺ

-ต้องปฏิบัติต่อตนเองให้ดีที่สุดเช่นต้องบริโภค

อาหารที่อัลลอฮฺทรงอนุมัติไม่ทำตามอารมณ์

ใฝ่ต่ำ(นับซู)อยู่บนโลกดำเนินชีวิตประจำวัน

ตามหลักการของอิสลาม

-ต้องประกอบคุณความดีต่อผู้อื่นเช่นการให้เกียรติ

ผู้อื่นไม่ทำร้ายผู้อื่นไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม

-ต้องปฏิบัติหน้าที่ต่ออัลลอฮฺให้ดีที่สุดเช่นการ

ละหมาดการถือศีลอดยกเว้นในสิ่งที่อัลลอฮฺ

ทรงห้าม

คู่มือศาสนบำบัด 20

Page 21: บทนำ - Ministry of Public Healthหลายคนเร ยกโลกสม ยน ว า“ย คสม ยส ดท ายความจร งจะเป นเช

แผนการจัดการเรียนรู้

ศาสนบำบัดสำหรับผู้ป่วยยาเสพติด เวลาในการสอน 60 นาที

หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 เรื่อง ทำไมมนุษย์จึงทำผิด

1. สาระสำคัญ

มนุษย์ทุกคนที่เกิดมานั้นล้วนมีสภาพแรกเกิดที่บริสุทธิ์ปราศจากมลทินและความ

ผิดบาปทุกประการแต่ความบริสุทธิ์ดังกล่าวนั้นถูกลบเลือนด้วยสาเหตุและอิทธิพลในชีวิต

บางประการนั้นคือการอบรมเลี้ยงดูของพ่อแม่และมารร้ายชัยฏอนที่คอยหลอกลวง

2. จุดประสงค์การเรียนรู้

1.เพื่อให้ผู้รับการบำบัดได้เข้าใจถึงสภาพแรกเกิดอันบริสุทธิ์ของมนุษย์ทุกคน

2. เพื่อให้ผู้รับการบำบัดได้เข้าใจถึงบทบาทของชัยฏอนในการล่อลวงมนุษย์ให้

กระทำผิด

3.เพื่อให้ผู้รับการบำบัดได้เข้าใจถึงสาเหตุจูงใจที่ชักจูงให้มนุษย์หันเหจากความ

บริสุทธิ์ดั้งเดิมและหันไปกระทำผิดบาป

4. เพื่อให้ผู้รับการบำบัดได้ตระหนักถึงอิทธิพลของครอบครัวและสภาพสังคมต่อ

พฤติกรรมของมนุษย์

3. กระบวนการจัดการเรียนรู้

3.1นำเข้าสู่บทเรียนโดยการอธิบายเกี่ยวกับ“พัฒนาการของทารกในครรภ์

มารดา”(5นาที)

3.2สุ่มถามผู้รับการบำบัด2-3คนเกี่ยวกับความรู้เรื่องศาสนาที่เกี่ยวข้อง(5นาที)

3.3ผู้สอนบรรยายให้ความรู้เกี่ยวกับเนื้อหาในใบความรู้(30นาที)

21 คู่มือศาสนบำบัด

Page 22: บทนำ - Ministry of Public Healthหลายคนเร ยกโลกสม ยน ว า“ย คสม ยส ดท ายความจร งจะเป นเช

3.4ให้ผู้รับการบำบัดทำกิจกรรมตามประเด็นใบงานอาจจะแบ่งเป็นกลุ่มหรือ

รายบุคคล(10นาที)

3.5สุ่มตัวแทนนำเสนอผลงาน2-3คนผู้สอนรวบรวมข้อสรุปและอภิปราย

เพิ่มเติม(10นาที)

4. สื่อการเรียนการสอน

4.1ภาพพลิก,ภาพโปสเตอร์

4.2ใบงาน

4.3กระดาษชาร์ต/กระดาษA4

5. กระบวนการประเมิน

5.1ประเมินความรู้

5.1.1การตอบคำถาม

5.1.2การแสดงความคิดเห็นขณะอภิปรายในกลุ่ม

5.1.3ผลการนำเสนอผลงานของแต่ละกลุ่มหรือแต่ละคน

5.2ประเมินผลการปฏิบัติ

5.2.1สังเกตพฤติกรรมการแสดงความคิดเห็นขณะทำการสอน

5.2.2ตรวจผลงานหรือดูความรับผิดชอบงานที่ได้รับมอบหมาย

5.3เครื่องมือในการประเมิน

5.3.1ใบงาน

5.3.2ผลงานที่ได้รับมอบหมาย

คู่มือศาสนบำบัด 22

Page 23: บทนำ - Ministry of Public Healthหลายคนเร ยกโลกสม ยน ว า“ย คสม ยส ดท ายความจร งจะเป นเช

ใบความรู้

ทำไมมนุษย์จึงทำผิด

อัลลอฮฺได้บอกให้เรารู้ว่ามนุษย์ทุกคนที่เกิดมานั้นล้วนมีสภาพแรกเกิดที่บริสุทธิ์

ปราศจากมลทินและความผิดบาปทุกประการ แต่ความบริสุทธิ์ดังกล่าวนั้นถูกลบเลือนด้วย

สาเหตุและอิทธิพลในชีวิตบางประการดังที่ท่านรอซูลศ็อลลัลลอฮฺอะลัยฮิวะสัลลัมได้

อธิบายในหะดีษฺบทหนึ่งว่า“ฮัลลอฮฺได้ตรัสว่า แท้จริงฉันได้ให้บังเกิดบ่าวทั้งหลายของ

ฉันในสภาพที่บริสุทธิ์ทุกคน และแล้วชัยฏอนคือผู้ที่ชักจูงให้พวกเขาหันเห ด้วยการ

ล่อลวงในทางเบี่ยงเบนไปจากศาสนาของพวกเขา” (รายงานโดยมุสลิม) ในหะดีษฺอีก

บทหนึ่งท่านรอซูลศ็อลลัลลอฮฺอะลัยฮิวะสัลลัมได้อธิบายว่า“ทารกที่เกิดมาทุกคนล้วน

ถูกกำเนิดมาด้วยกมลสันดานอันบริสุทธิ์ หลังจากนั้นพ่อแม่ของเขาคือผู้ (เลี้ยงดู)

ให้เขาเป็นยิว เป็นคริศต์หรือเป็นพวกบูชาไฟ”(รายงานโดยมุสลิม)

จากข้อเท็จจริงในหะดีษฺข้างต้นแสดงให้เราเข้าใจถึงบทบาทของชัยฏอนในการ

ล่อลวงมนุษย์ให้กระทำผิด โดยชัยฎอนนั้นไม่เคยหวังดีต่อมนุษย์และตั้งตนเป็นศัตรูกับ

มนุษย์ตั้งแต่สมัยเริ่มแรกที่อัลลอฮฺได้สร้างมนุษย์คนแรกนั่นคือนบีอาดัมอะลัยฮิสซาลาม

ชัยฏอนเคยประกาศว่าจะล่อลวงลูกหลานของอาดัมทั้งหมดให้ออกห่างจากเส้นทางอัน

เที่ยงตรงเช่นที่อัลลอฮฺได้ตรัสถึงคำพูดของมันไว้ในอัลกุรอานมีใจความว่า“(ชัยฏอนได้พูด

ว่า) ด้วยเหตุที่พระองค์ได้ปล่อยให้ฉันเบี่ยงเบน ดังนั้นฉันขอสาบานว่าจะล่อลวง

พวกเขา (มนุษย์ทั้งหลาย) จากเส้นทางอันเที่ยงตรงของพระองค์ แล้วฉันก็จะเข้าหา

พวกเขาทั้งจากข้างหน้า ข้างหลัง ข้างขวา และข้างซ้าย และพระองค์จะได้เห็นว่า

พวกเขาส่วนมากระลึกคุณ”(อัลกุรอานซูเราะฮฺอัล-อะอฺรอฟ:16-17)

มนุษย์จึงต้องรู้ตัวว่าตนมีศัตรูที่ร้ายกาจอย่างชัยฏอนคอยยุแหย่ให้กระทำผิดอยู่

ตลอดเวลา ด้วยการสร้างภาพต่างๆ นานาให้มนุษย์เอาแต่ใจและทำตามอารมณ์ใฝ่ต่ำของ

ตน มนุษย์จึงต้องระวังตัวเองให้มากและต้องขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮฺให้รอดพ้นจาก

การล่อลวงของชัยฏอน “และหากแม้นว่าชัยฏอนได้มาก่อกวนเจ้าด้วยการก่อกวนใดๆ

แล้วไซร้ เจ้าจงขอด้วยฮัลลอฮฺให้ปลอดภัยจากมัน”(อันกุรอานซูเราะฮฺฟุศศิลัต:36)

นอกจากนี้ สภาพการเลี้ยงดูที่เด็กคนหนึ่งได้รับจากบิดามารดาก็เป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำ

ให้มนุษย์เติบโตขึ้นมาเป็นคนที่ดีหรือไม่ดีได้เช่นที่เราได้ทราบจากหะดีษฺข้างต้นผู้ที่เป็นพ่อ

23 คู่มือศาสนบำบัด

Page 24: บทนำ - Ministry of Public Healthหลายคนเร ยกโลกสม ยน ว า“ย คสม ยส ดท ายความจร งจะเป นเช

แม่จึงควรจะต้องตระหนักในการเลี้ยงดูลูกให้อยู่ในครรลองของอิสลามไม่ใช่ปล่อยปละ

ละเลยโดยไม่สนใจเรื่องศาสนา หรือเลี้ยงดูลูกตามแบบอย่างที่ไม่ถูกต้องเช่นการนำเอา

วัฒนธรรมตะวันตกมาสอนลูก เป็นต้นจะเห็นได้ว่าอิสลามเน้นหนักให้พ่อแม่ต้องอบรม

สั่งสอนลูกให้เข้าใจศาสนาทำตัวอย่างและสอนให้ลูกปฏิบัติศาสนกิจต่างๆตั้งแต่ลูกยังมีอายุ

น้อยเช่นที่ท่านรอซูลศ็อลลัลลอฮฺอะลัยฮิวะสัลลัมได้สอนว่า“จงสั่งให้ลูกของท่าน

ละหมาดเมื่อพวกเขามีอายุเจ็ดขวบ และจงโบยพวกเขา (ถ้าพวกเขาไม่ยอมละหมาด)

เมื่อพวกเขามีอายุสิบขวบ”(รายงานโดยอบูดาวูด)เป็นต้น

ดังนั้นถ้าหากพ่อแม่ไม่เอาใจใส่ในเรื่องศาสนาของลูกๆเมื่อเติบใหญ่ขึ้นมาอิทธิพล

การเลี้ยงดูลูกอย่างไม่ถูกต้องจะทำให้เขาเป็นคนที่มีพฤติกรรมเบี่ยงเบนประพฤติผิดและ

ออกห่างจากคำสอนของศาสนา

ข้อคิดที่ได้รับจากบทเรียน

1.มนุษย์ทุกคนเกิดมาในสภาพที่ไม่มีความผิดแต่มีสาเหตุและปัจจัยอื่นที่ทำให้

มนุษย์ทำผิด

2. ชัยฏอนคือศัตรูอันดับหนึ่งของมนุษย์ที่คอยล่อลวงให้มนุษย์ทำผิดด้วยการยุแหย่

ให้มนุษย์ทำตามอารมณ์ใฝ่ต่ำของตนเอง

3.มนุษย์ต้องพยายามหักห้ามใจไม่ให้ทำตามคำล่อลวงของชัยฏอนและหาวิธี

ป้องกันตนเองให้รอดพ้นจากชัยฏอนด้วยการหมั่นทำความดีและขอความช่วยเหลือจาก

อัลลอฮฺ

4.พ่อแม่และครอบครัวมีอิทธิพลที่สำคัญในการเลี้ยงดูลูกให้เติบใหญ่เป็นคนดีหรือ

เป็นคนที่ไม่ดี

5.ผู้ที่เป็นพ่อแม่ต้องอบรมสั่งสอนและเลี้ยงดูลูกๆให้มีศาสนาเพื่อเป็นภูมิคุ้มกัน

ไม่ให้ลูกเติบโตขึ้นมาเป็นคนที่เบี่ยงเบนและออกห่างจากศาสนาและกลายเป็นผู้ใหญ่ที่ไม่

พึงประสงค์ของสังคมในอนาคต

คู่มือศาสนบำบัด 24

Page 25: บทนำ - Ministry of Public Healthหลายคนเร ยกโลกสม ยน ว า“ย คสม ยส ดท ายความจร งจะเป นเช

ใบงาน

คำชี้แจงให้ท่านทำกิจกรรมตามหัวข้อที่มอบหมาย(10นาที)แล้วนำเสนอผลงานโดยตอบ

คำถามตามประเด็นดังนี้

1.ท่านคิดว่าชัยฏอนมีวิธีการอย่างไรบ้างในการล่อลวงมนุษย์ให้ทำผิด

2.ท่านคิดว่าท่านมีวิธีการอย่างไรเพื่อป้องกันตัวเองให้รอดพ้นจากการล่อลวง

ของชัยฏอน

3.ท่านคิดว่าพ่อแม่มีอิทธิพลในการเลี้ยงดูลูกให้เป็นคนดีหรือไม่ดีอย่างไร

25 คู่มือศาสนบำบัด

Page 26: บทนำ - Ministry of Public Healthหลายคนเร ยกโลกสม ยน ว า“ย คสม ยส ดท ายความจร งจะเป นเช

ใบความรู้สำหรับผู้สอน

(แผนการสอนเรื่อง “ทำไมมนุษย์จึงทำผิด”)

ประเด็นคำถาม

1.ท่านคิดว่าชัยฏอนมีวิธีการ

อย่างไรบ้างในการล่อลวง

มนุษย์ให้ทำผิด

2.ท่านคิดว่าท่านมีวิธีการอย่างไร

เพื่อป้องกันตัวเองให้รอดพ้น

จากการล่อลวงของชัยฏอน

3.ท่านคิดว่าพ่อแม่มีอิทธิพลในการ

เลี้ยงดูลูกให้เป็นคนดีหรือไม่ดี

อย่างไร

แนวคิดที่ควรได้

-ชัยฏอนเป็นศัตรูที่ร้ายกาจของมนุษย์มันคอย

ยุแหย่และหลอกลวงมนุษย์ให้กระทำผิดอยู่

ตลอดเวลาด้วยการสร้างภาพต่างๆนานาให้มนุษย์

เอาแต่ใจและทำตามอารมณ์ใฝ่ต่ำของตน

-ต้องพยายามหมั่นทำความดีเช่นละหมาดทุก

วันให้ครบ5เวลาซึ่งจะเป็นเกราะป้องกันไม่ให้

ชัยฏอนเข้ามาใกล้เรา

-หักห้ามใจไม่ให้ทำตามคำล่อลวงของชัยฏอนและ

ขอความช่วยเหลือ(ดุอาอ)จากอัลลอฮฺให้พ้น

จากการยุแหย่และหลอกลวงของมารชัยฏอน

-พ่อแม่มีอิทธิพลต่อลูกเป็นอย่างมากเด็กสามารถ

รับรู้สัมผัสของผู้ที่เป็นพ่อแม่ตั้งแต่เป็นทารกอยู่

ในครรภม์ารดาและเมือ่ลกูเกดิมาแลว้เดก็จะคอย

สังเกตพฤติกรรมของพ่อแม่ถ้าพ่อแม่เป็นผู้ที่มี

ศาสนาเป็นคนดีในสังคมจะคอยอบรมแนะนำ

ให้ลูกได้เรียนรู้สภาพสังคมที่ดีหลีกเลี่ยงการทำ

ตัวตามกระแสสังคมก็จะหล่อหลอมให้ลูกเป็น

คนดใีนอนาคตในทางตรงกนัขา้มหากพอ่แม่

ประพฤติชั่วปล่อยปละละเลยเด็กก็จะถูก

หล่อหลอมให้เป็นคนชั่วในอนาคต

คู่มือศาสนบำบัด 26

Page 27: บทนำ - Ministry of Public Healthหลายคนเร ยกโลกสม ยน ว า“ย คสม ยส ดท ายความจร งจะเป นเช

แผนการจัดการเรียนรู้

ศาสนบำบัดสำหรับผู้ป่วยยาเสพติด เวลาในการสอน 60 นาที

หน่วยการเรียนรู้ที่ 4 เรื่อง หัวใจคือที่หนึ่ง

1. สาระสำคัญ

ร่างกายของมนุษย์ประกอบด้วยร่างกายจิตใจและสติปัญญาทั้งสามองค์ประกอบ

นี้ต้องมีการพึงพาอาศัยกันเพื่อให้มนุษย์สามารถดำรงชีวิตได้อย่างสมบูรณ์จิตใจคือส่วนที่

สำคัญที่สุดซึ่งมีหน้าที่ควบคุมพฤติกรรมของมนุษย์ถ้าหากมนุษย์มีหัวใจที่ดีมีจิตสำนึกที่ดี

งามเขาก็จะประพฤติแต่สิ่งที่ดีในทางกลับกันถ้าหากหัวใจของเขามีแต่สิ่งที่ไม่ดีการกระทำ

ที่แสดงออกมาก็จะมีแต่สิ่งที่เลวร้ายเท่านั้น

2. จุดประสงค์การเรียนรู้

1.เพื่อให้ผู้รับการบำบัดได้เข้าใจถึงความสำคัญของหัวใจซึ่งเป็นศูนย์รวมของ

ความดีงามและความชั่วร้าย

2.เพื่อให้ผู้รับการบำบัดได้ตระหนักถึงวิธีการที่จะดูแลจิตใจให้สะอาดอยู่เสมอ

3. กระบวนการจัดการเรียนรู้

3.1นำเข้าสู่บทเรียนโดยการอธิบายระบบการทำงานของหัวใจมนุษย์(5นาที)

3.2สุ่มถามผู้รับการบำบัด2-3คนเกี่ยวกับความรู้เรื่องศาสนาที่เกี่ยวข้อง(5นาที)

3.3ผู้สอนบรรยายให้ความรู้เกี่ยวกับเนื้อหาในใบความรู้(30นาที)

3.4ให้ผู้รับการบำบัดทำกิจกรรมตามประเด็นใบงานอาจจะแบ่งเป็นกลุ่มหรือ

รายบุคคล(10นาที)

27 คู่มือศาสนบำบัด

Page 28: บทนำ - Ministry of Public Healthหลายคนเร ยกโลกสม ยน ว า“ย คสม ยส ดท ายความจร งจะเป นเช

3.5สุ่มตัวแทนนำเสนอผลงาน2-3คนผู้สอนรวบรวมข้อสรุปและอภิปราย

เพิ่มเติม(10นาที)

4. สื่อการเรียนการสอน

4.1ภาพพลิก,ภาพโปสเตอร์

4.2ใบงาน

4.3กระดาษชาร์ต/กระดาษA4

5. กระบวนการประเมิน

5.1ประเมินความรู้

5.1.1การตอบคำถาม

5.1.2การแสดงความคิดเห็นขณะอภิปรายในกลุ่ม

5.1.3ผลการนำเสนอผลงานของแต่ละกลุ่มหรือแต่ละคน

5.2ประเมินผลการปฏิบัติ

5.2.1สังเกตพฤติกรรมการแสดงความคิดเห็นขณะทำการสอน

5.2.2ตรวจผลงานหรือดูความรับผิดชอบงานที่ได้รับมอบหมาย

5.3เครื่องมือในการประเมิน

5.3.1ใบงาน

5.3.2ผลงานที่ได้รับมอบหมาย

คู่มือศาสนบำบัด 28

Page 29: บทนำ - Ministry of Public Healthหลายคนเร ยกโลกสม ยน ว า“ย คสม ยส ดท ายความจร งจะเป นเช

ใบความรู้

หัวใจคือหนึ่ง

มนุษย์นั้นมีองค์ประกอบใหญ่ๆสามประการคือร่างกายจิตใจและสติปัญญา

องค์ประกอบทั้งสามประการนี้ล้วนมีความสำคัญต่อมนุษย์ด้วยกันทั้งสิ้นจำเป็นที่จะต้อง

ได้รับการดูแลเอาใจใส่ไม่ให้ส่วนใดส่วนหนึ่งเสียหาย เพราะทั้งสามองค์ประกอบนี้ต้องมีการ

พึ่งพาอาศัยกันเพื่อให้มนุษย์สามารถใช้ชีวิตได้อย่างถูกต้องสมบูรณ์

แต่ทั้งนี้องค์ประกอบที่สำคัญที่สุดในตัวมนุษย์ก็คือจิตใจนั่นเอง ดังเช่นที่ท่านรอซูล

ศ็อลลัมลอฮฺอะลัยฮิวะสัลลัมได้อธิบายไว้มีใจความว่า“พึงรู้เถิดว่า ในร่างกายนั้นมีก้อน

เนื้ออยู่ก้อนหนึ่ง ซึ่งถ้ามันดีแล้ว อวัยวะส่วนอื่นในร่างกายก็จะดีตามไปด้วยทั้งหมด

แต่หากมันเลวแล้ว อวัยวะอื่นทั้งหมดในร่างกายก็จะเลวตามไปด้วย พึงรู้เถิดว่ามัน

คือ หัวใจ”(รายงานโดยอัล-บุคอรีย์และมุสลิม)

จากหะดีษข้างตนแสดงให้เห็นว่าหัวใจหรือจิตใจคือส่วนสำคัญที่มีหน้าที่ควบคุม

พฤติกรรมและการกระทำทั้งหมดของมนุษย์เสมือนกับว่ามันเป็นเครื่องยนต์หลักที่คอย

ขับเคลื่อนให้มนุษย์กระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดซึ่งแน่นอนว่าถ้าหากมนุษย์มีหัวใจที่ดี

มีจิตสำนึกที่ดีงามเขาก็จะประพฤติแต่สิ่งที่ดีในทางกลับกันถ้าหากหัวใจของเขามีแต่สิ่งที่

ไม่ดีการกระทำที่แสดงออกมาก็จะมีแต่สิ่งที่เลวร้ายเท่านั้น

การทำให้หัวใจมีแต่สิ่งที่ดีนั้นทำได้ด้วยการเสริมความศรัทธาหรืออีมานเข้าไป เพราะ

หัวใจคือสถานที่สถิตย์อยู่ของอีมาน ซึ่งจะเป็นตัวคอยควบคุมหัวใจอีกทีหนึ่งเพื่อคอยสั่งให้

มนุษย์ประพฤติแต่สิ่งที่ดีและคอยเป็นภูมิคุ้มกันไม่ให้มนุษย์ทำชั่ว โดยที่คนที่ประพฤติ

ความผิดบาปนั้นก็คือคนที่ไม่มีอีมานอยู่ในหัวใจหรือมีอีมานอยู่น้อยจนไม่สามารถต้านทาน

ความรู้สึกของอารมณ์ใฝ่ต่ำในขณะที่เขาทำบาปอยู่นั้นดังเช่นที่ท่านรอซูลศ็อลลัลลอฮฺ

อะลัยฮิวะสัลลัมได้กล่าวไว้มีความว่า“ไม่มีผู้ผิดประเวณีที่กระทำการนั้นในขณะที่มี

อีมานอยู่ ผู้ใดจะไม่ขโมยทรัพย์ทั้งๆ ที่เขามีอีมานอยู่ และใครก็ตามจะไม่ดื่มสุราใน

ขณะที่เขาเป็นผู้ที่มีอีมานอยู่ หลังจากนั้นการอภัยโทษจะถูกนำมาเสนอแก่เขา”

(รายงานโดยอัล-บุคอรีย์และมุสลิม)

มุสลิมทุกคนจึงต้องรักษาอีกมานให้อยู่ในใจเสมอด้วยการหมั่นทำความดีปฏิบัติ

ศาสนกิจต่างๆอย่างสม่ำเสมอการอ่านอัลกุรอานการกล่าวรำลึกถึงอัลลอฮฺเป็นต้นและ

ต้องห่างไกลจากอบายมุขต่างๆความผิดบาปความชั่วและสิ่งไม่ดีทั้งหมดเพราะความผิด

บาปเหล่านั้นจะมีผลกระทบต่อความเข้มแข็งของอีมานในหัวใจส่งผลให้หัวใจอ่อนแอ

29 คู่มือศาสนบำบัด

Page 30: บทนำ - Ministry of Public Healthหลายคนเร ยกโลกสม ยน ว า“ย คสม ยส ดท ายความจร งจะเป นเช

และไม่สามารถควบคุมร่างกายให้ปลอดภัยยจากการยั่วยวนของชัยฏอนและอารมณ์ใฝ่ต่ำ

ได้ทุกครั้งที่มนุษย์ทำบาปก็จะเกิดจุดดำในหัวใจขึ้นจุดดำนั้นจะค่อยๆขยายมากขึ้นเรื่อยๆ

ถ้าหากเขาไม่เลิกทำบาปและไม่ขออภัยโทษจากอัลลอฮฺในที่สุดก็จะปิดหัวใจจนมืดบอดไม่

เหลือความดีงานใดๆไว้อีกเลย

ท่านรอซูลศ็อลลัลลอฮฺอะลัยฮิวะสัลลัมกล่าวไว้มีความว่า“แท้จริงเมื่อบ่าวผู้หนึ่ง

ทำความผิดใดๆ ประการหนึ่ง ก็จะมีจุดดำขึ้นจุดหนึ่งในใจของเขา เมื่อเขาหยุดทำ

ความผิดและขออภัยโทษ จุดดำนั้นในหัวใจของเขาก็จะสะอาด และหากเขาทำผิด

อีกครั้งจุดดำก็จะเกิดเพิ่มขึ้นอีกจนกระทั่งมันเต็มบนหัวใจเขา”(รายงานโดยอัต-ติรมิซีย์)

ข้อคิดที่ได้รับจากบทเรียน

1.หัวใจหรือจิตใจของมนุษย์คือองค์ประกอบที่สำคัญที่สุดซึ่งมีหน้าที่ควบคุม

พฤติกรรมทั้งหมดของเขา

2.หัวใจที่ดีงามจะสั่งให้มนุษย์ประพฤติสิ่งที่ดีงามหัวใจที่เลวทรามจะสั่งให้มนุษย์

ทำแต่สิ่งชั่วร้าย

3. สิ่งที่คอยควบคุมหัวใจเข้มแข็งและปกป้องหัวใจจากสิ่งที่ชั่วร้ายคืออีมานหรือ

ความศรัทธานั่นเอง

4.มนุษย์ต้องรักษาอีมานในใจให้เข้มแข็งอยู่เสมอเพื่อต่อต้านความเลวร้ายต่างๆ

ที่คอยคุกคามจิตใจ

5.ผู้ที่กระทำผิดคือผู้ที่ไม่มีอีมานอยู่ในใจขณะที่ทำผิดหรือมีอีมานอยู่น้อยจนไม่

สามารถต้านทานความรู้สึกด้านชั่วนั้นได้

6.เมื่อทำผิดจะเกิดจุดดำขึ้นในใจของมนุษย์และเขาจำเป็นต้องรีบลบล้างความผิด

นั้นด้วยการทำดีและกล่าวอภัยโทษเพื่อไม่ให้จุดดำในใจลุกลามมากขึ้น

คู่มือศาสนบำบัด 30

Page 31: บทนำ - Ministry of Public Healthหลายคนเร ยกโลกสม ยน ว า“ย คสม ยส ดท ายความจร งจะเป นเช

ใบงาน

คำชี้แจงให้ท่านทำกิจกรรมตามหัวข้อที่มอบหมาย(10นาที)แล้วนำเสนอผลงานโดยตอบ

คำถามตามประเด็นดังนี้

1.ท่านคิดว่าหัวใจมีความสำคัญต่อมนุษย์อย่างไร

2.ท่านคิดว่ามีวิธีการอย่างไรเพื่อรักษาจิตใจให้มีอีมานที่เข้มแข็งอยู่ตลอดเวลา

3.ท่านคิดว่าการทำความผิดบาปมีผลกระทบต่อจิตใจอย่างไรบ้าง

31 คู่มือศาสนบำบัด

Page 32: บทนำ - Ministry of Public Healthหลายคนเร ยกโลกสม ยน ว า“ย คสม ยส ดท ายความจร งจะเป นเช

ใบความรู้สำหรับผู้สอน

(แผนการสอนเรื่อง “หัวใจคือหนึ่ง”)

ประเด็นคำถาม

1.ท่านคิดว่าหัวใจมีความสำคัญ

ต่อมนุษย์อย่างไร

2.ท่านคิดว่ามีวิธีการอย่างไร

เพื่อรักษาจิตใจให้มีอีมานที่

เข้มแข็ง

3.ท่านคิดว่าการทำความผิดบาป

มีผลกระทบต่อจิตใจอย่างไรบ้าง

แนวคิดที่ควรได้

-หัวใจเป็นศูนย์กลางในการสูบฉีดโลหิตไปเลี้ยง

ส่วนต่างๆของร่างกายหากหัวใจไม่สามารถ

ทำงานได้จะทำให้ทุกส่วนของร่างกายขาดเลือด

และไม่สามารถทำงานได้ตามปกติจนกระทั่ง

ต้องเสียชีวิตไปในที่สุด

-ทำหน้าที่ควบคุมพฤติกรรมของมนุษย์ทั้ง

ด้านดีและด้านชั่ว

-ต้องเสริมความศรัทธาหรืออีมานอยู่ตลอดเวลา

เพราะหัวใจคือสถานที่สถิตย์อยู่ของอีมานและ

จะอยู่ตลอดเวลาคอยควบคุมหัวใจเพื่อให้มนุษย์

ประพฤติแต่สิ่งที่ดีและคอยเป็นภูมิคุ้มกันไม่ให้

มนุษย์ทำชั่ว

-ต้องรักษาอีมานให้อยู่ในใจเสมอด้วยการทำ

ศาสนกิจเป็นประจำวันรำลึกถึงอัลลอฮฺห่างไกล

จากอบายมุขและยาเสพติดทั้งหลาย

-เมื่อมีการทำผิดซึ่งเป็นบาปจะทำให้ความเข้มแข็ง

ของอีมานในหัวใจอ่อนแอและไม่สามารถควบคุม

ร่างกายให้ปลอดภัยจากการยั่วยวนของชัยฏอน

และอารมณ์ใฝ่ต่ำได้

-ทำให้หัวใจเกิดจุดดำถ้าหากเขาไม่เลิกทำบาป

และไม่ขออภัยโทษจากอัลลอฮฺในที่สุดพระองค์

ก็จะปิดหัวใจจนมืดบอดไม่เหลือความดีงามใดๆ

ไว้อีกเลย

คู่มือศาสนบำบัด 32

Page 33: บทนำ - Ministry of Public Healthหลายคนเร ยกโลกสม ยน ว า“ย คสม ยส ดท ายความจร งจะเป นเช

แผนการจัดการเรียนรู้

ศาสนบำบัดสำหรับผู้ป่วยยาเสพติด เวลาในการสอน 60 นาที

หน่วยการเรียนรู้ที่ 5 เรื่องอันตรายจากการทำบาป

1. สาระสำคัญ

การทำบาปมีผลทำให้ผู้ทำบาปนั้นมีมลทินและต้องได้รับการชำระโทษในโลกหน้า

การทำบาปมักก่อผลเสียให้กับมนุษย์ เช่นการผิดประเวณีก็อาจจะทำให้เป็นโรคเอดส์การ

ติดยาเสพติดต้องเสียสุขภาพและการงาน การนินทาว่าร้ายคนอื่นทำให้เกิดปัญหาทะเลาะ

เบาะแว้งกันและเป็นสาเหตุให้ผู้กระทำบาปนั้นไม่เป็นสุขเพราะหัวใจของเขาถูกครอบงำ

ด้วยความเลวทรามกิเลสตัณหาและความมืดบอดจากความเมตตาของอัลลอฮฺ

2. จุดประสงค์การเรียนรู้

1.เพื่อให้ผู้รับการบำบัดได้เข้าใจถึงลักษณะและประเภทของบาป

2.เพื่อให้ผู้รับการบำบัดตระหนักถึงอันตรายจากการทำบาป

3.เพื่อให้ผู้รับการบำบัดรู้และเข้าใจถึงวิธีการลบล้างบาป

3. กระบวนการจัดการเรียนรู้

3.1นำเข้าสู่บทเรียนโดยการถามว่า“เมื่อเราทำอะไรผิดแล้วเรารู้สึกอย่างไรกับ

ความผิดนั้น”(5นาที)

3.2สุ่มถามผู้รับการบำบัด2-3คนเกี่ยวกับความรู้เรื่องศาสนาที่เกี่ยวข้อง(5นาที)

3.3ผู้สอนบรรยายให้ความรู้เกี่ยวกับเนื้อหาในใบความรู้(30นาที)

3.4ให้ผู้รับการบำบัดทำกิจกรรมตามประเด็นใบงานอาจจะแบ่งเป็นกลุ่มหรือ

รายบุคคล(10นาที)

33 คู่มือศาสนบำบัด

Page 34: บทนำ - Ministry of Public Healthหลายคนเร ยกโลกสม ยน ว า“ย คสม ยส ดท ายความจร งจะเป นเช

3.5สุ่มตัวแทนนำเสนอผลงาน2-3คนผู้สอนรวบรวมข้อสรุปและอภิปราย

เพิ่มเติม(10นาที)

4. สื่อการเรียนการสอน

4.1ภาพพลิก,ภาพโปสเตอร์

4.2ใบงาน

4.3กระดาษชาร์ต/กระดาษA4

5. กระบวนการประเมิน

5.1ประเมินความรู้

5.1.1การตอบคำถาม

5.1.2การแสดงความคิดเห็นขณะอภิปรายในกลุ่ม

5.1.3ผลการนำเสนอผลงานของแต่ละกลุ่มหรือแต่ละคน

5.2ประเมินผลการปฏิบัติ

5.2.1สังเกตพฤติกรรมการแสดงความคิดเห็นขณะทำการสอน

5.2.2ตรวจผลงานหรือดูความรับผิดชอบงานที่ได้รับมอบหมาย

5.3เครื่องมือในการประเมิน

5.3.1ใบงาน

5.3.2ผลงานที่ได้รับมอบหมาย

คู่มือศาสนบำบัด 34

Page 35: บทนำ - Ministry of Public Healthหลายคนเร ยกโลกสม ยน ว า“ย คสม ยส ดท ายความจร งจะเป นเช

ใบความรู้

อันตรายจากการทำบาป

มนุษย์ทุกคนล้วนเกิดมาในสภาพบริสุทธิ์จากบาป ความผิดและบาปเกิดจากการที่

มนุษย์ทำตามคำยั่วยวนของชัยฏอนและอารมณ์ใฝ่ต่ำโดยทั่วไปแล้วบาปสามารถแบ่งออก

เป็นสามประเภทคือบาปใหญ่บาปเล็กบาปที่เกี่ยวข้องกับผู้อื่น

บาปใหญ่คือบาปที่อัลลอฮฺกำหนดโทษหนักทั้งในโลกนี้และโลกหน้าเช่นชิรกฺหรือ

การตั้งภาคีต่ออัลลอฮฺซึ่งเป็นบาปที่ใหญ่ที่สุดและทำให้มุสลิมตกศาสนาการฆ่าผู้อื่นโดย

มิชอบการผิดประเวณีการดื่มเหล้าฯลฯ

บาปเล็กคือบาปที่สามารถลบล้างได้ด้วยการทำความดีทดแทนเช่นบาปจากการ

ฟังหรือดูสิ่งต้องห้ามและการเผลอกระทำผิดที่ไม่ถึงขั้นเป็นบาปใหญ่เป็นต้น

บาปที่เกี่ยวข้องกับผู้อื่นเช่นการนินทาการยักยอกทรัพย์การกล่าวหาว่าร้าย

การด่าทอการทำร้ายผู้อื่นให้บาดเจ็บเป็นต้น

การทำบาปไม่ว่าจะเป็นบาปประเภทใดมีผลทำให้ผู้ทำบาปนั้นมีมลทินและต้องได้รับ

การชำระในโลกหน้าการทำบาปมักจะก่อผลเสียให้กับมนุษย์เช่นการผิดประเวณีก็อาจจะ

ทำให้เป็นโรคร้ายการดื่มเหล้าเป็นผลเสียต่อสุขภาพการนินทาว่าร้ายทำให้เกิดปัญหา

ทะเลาะเบาะแว้งกับผู้อื่นเป็นต้น

นอกจากนี้การทำบาปยังเป็นเหตุให้ผู้กระทำบาปนั้นไม่เป็นสุขเพราะหัวใจถูก

ครอบงำด้วยความเลวทรามกิเลสตัณหาและความมืดบอดจากความเมตตาของอัลลอฮฺ

มนุษย์ทุกคนเกิดมาหลีกเลี่ยงจากการทำบาปไม่พ้นยกเว้นบรรดาศาสนทูตเท่านั้น

ท่านรอซูลศ็อลลัลอัลลอฮฺอะลัยฮิวะสัลลัมได้กล่าวไว้มีใจความว่า“มนุษย์ผู้เป็นลูก

หลานอาดัมล้วนมีความผิด และผู้ที่ดีที่สุดในหมู่พวกเขาคือ ผู้ที่ขออภัยโทษเพื่อชำระ

ความผิดของเขา”(รายงานโดยอิบนุมาญะฮฺ)

เมื่อหลีกเลี่ยงจากการทำบาปไม่พ้นมนุษย์จึงต้องให้ความสำคัญกับการลบล้างบาป

ด้วยการขอภัยโทษจากอัลลอฮฺการหมั่นทำความดีเพื่อลบล้างบาป เพราะอัลกุรอานได้บอก

ไว้มีใจความว่า“แท้จริงความดีทั้งหลายนั้นสามารถลบล้างความชั่วร้ายได้”(อัลกุรอาน

ซูเราะฮฺฮูด:114)และถ้าหากบาปที่ทำนั้นเกี่ยวข้องกับผู้อื่นก็ต้องคืนสิทธิอันชอบธรรมของ

คนผู้นั้นให้เขานอกจากนี้ต้องมีความคิดแน่วแน่ที่จะเลิกทำบาปและหากพลั้งเผลอทำบาป

อีกก็ต้องเริ่มต้นในการขออภัยโทษอีก

35 คู่มือศาสนบำบัด

Page 36: บทนำ - Ministry of Public Healthหลายคนเร ยกโลกสม ยน ว า“ย คสม ยส ดท ายความจร งจะเป นเช

แท้จริงแล้วอัลลอฮฺทรงโปรดผู้ที่ขออภัยจากพระองค์เช่นที่พระองค์ได้ตรัสไว้

มีความว่า“แท้จริงอัลลอฮฺทรงรักผู้ที่มากด้วยการขออภัยและผู้ที่สะอาด” (ซูเราะฮฺ

อัล-บะเกาะเราะฮฺ:222)

ท่านรอซูลศ็อลลัลลอฮฺอะลัยฮิวะสัลลัมเองก็ได้ทำตัวอย่างด้วยการกล่าวอภัยโทษ

วันละ100ครั้งดังที่ท่านได้กล่าวไว้มีความว่า“แท้จริงฉันกล่าวขออภัยโทษต่ออัลลอฮฺ

วันละหนึ่งร้อยครั้ง”(รายงานโดยอิบนุมาญะฮฺ)

ข้อคิดที่ได้รับจากบทเรียน

1.บาปมีหลายระดับทั้งที่เป็นบาปใหญ่บาปเล็กและบาปที่เกี่ยวข้องกับผู้อื่น

2.การทำบาปเป็นผลเสียต่อตัวมนุษย์เองโดยเฉพาะในโลกหน้าเพราะบาปเป็น

สาเหตุที่ทำให้มนุษย์ต้องได้รับโทษในนรก

3.มนุษย์ทุกคนต้องเอาใส่ในใจการดูแลตัวเองไม่ให้ทำบาปและลบล้างบาปที่ตนทำ

4.การลบล้างบาปมีวิธีคือการขออภัยโทษจากอัลลอฮฺการทำความดีลบล้าง

ความผิดการเลิกจากความผิดที่ทำอยู่ การมีความแน่วแน่ว่าจะไม่หวนกลับไปทำบาปอีก

และการคืนสิทธิอันชอบธรรมแก่ผู้เป็นเจ้าของ

5.แท้จริงอัลลอฮฺทรงรักผู้ที่ขออภัยโทษจากพระองค์และความเมตตาของพระองค์

นั้นกว้างขวางไพศาลมากกว่าบาปทั้งหมดที่มนุษย์ได้กระทำ

6.มนุษย์ต้องรู้จักใช้โอกาสที่อัลลอฮฺประทานให้เพื่อขออภัยโทษจากพระองค์โดย

ไม่ย่อท้อและไม่เกียจคร้านที่จะกล่าวขออภัยโทษอย่างน้อยวันละ100ครั้ง

คู่มือศาสนบำบัด 36

Page 37: บทนำ - Ministry of Public Healthหลายคนเร ยกโลกสม ยน ว า“ย คสม ยส ดท ายความจร งจะเป นเช

ใบงาน

คำชี้แจงให้ท่านทำกิจกรรมตามหัวข้อที่มอบหมาย(10นาที)แล้วนำเสนอผลงานโดยตอบ

คำถามตามประเด็นดังนี้

1.ท่านคิดว่าบาปต่างๆมีผลเสียต่อตัวมนุษย์อย่างไร

2.ท่านมีวิธีการอย่างไรที่จะให้ปลอดจากการทำบาป

3.ท่านมีวิธีการอย่างไรให้สามารถกล่าวอภัยโทษอย่างน้อยวันละ100ครั้ง

37 คู่มือศาสนบำบัด

Page 38: บทนำ - Ministry of Public Healthหลายคนเร ยกโลกสม ยน ว า“ย คสม ยส ดท ายความจร งจะเป นเช

ใบความรู้สำหรับผู้สอน

(แผนการสอนเรื่อง “อันตรายจากการทำบาป”)

ประเด็นคำถาม

1.ท่านคิดว่าบาปต่างๆมีผลเสีย

ต่อตัวมนุษย์อย่างไร

2.ท่านมีวิธีการอย่างไรที่จะให้

ปลอดจากการทำบาป

3.ท่านมีวิธีการอย่างไรให้สามารถ

กล่าวอภัยโทษอย่างน้อยวันละ

100ครั้ง

แนวคิดที่ควรได้

-ผู้กระทำบาปมีมลทินและต้องได้รับการชำระโทษ

ในโลกหน้า

-การทำบาปมักจะก่อผลเสียต่อต่างกายและจิตใจ

รวมทั้งทรัพย์สมบัติของตนและครอบครัว

-มักเกิดปัญหาทะเลาะเบาะแว้งกับผู้อื่นมีชีวิต

ในสังคมอย่างไม่มีความสุข

-ต้องหยุดเสพยาเสพติดและไม่กลับไปเสพซ้ำ

-ต้องดำเนินชีวิตประจำวันตามหลักคำสอนของ

ศาสนา

-พยายามทบทวนการกระทำของตนเองทุกวัน

หากผิดพลาดทำบาปก็ต้องรีบขออภัยโทษต่อ

อัลลอฮฺและตั้งจิตให้แน่วแน่ว่าจะไม่กลับไปทำ

บาปและหมั่นทำความดีเพื่อลบล้างบาปอัลลอฮฺ

ก็จะทรงคุ้มครองให้รอดพ้นจากการยั่วยุของมาร

ชัยฏอนทำให้เราไม่พลั้งเผลอทำบาปอีก

-กล่าวขออภัยโทษด้วยคำว่า“อัซตัฆฟีรุลลอฮฮัล

อาซีมวาตูบูอีลัยก”

-กล่าวทุกครั้งหลังการละหมาดทุกวักตู

-การขออภัยอย่างจริงใจและบริสุทธิ์ใจ(อิคลาส)

โดยการตื่นขึ้นมาละหมาดกลางดึก(กียามุลลัยต)

และขอดุอาอฺจากอัลลอฮฺให้พระองค์ล้างบาป

และคุ้มครองให้ห่างไกลจากมารชัยฏอน

คู่มือศาสนบำบัด 38

Page 39: บทนำ - Ministry of Public Healthหลายคนเร ยกโลกสม ยน ว า“ย คสม ยส ดท ายความจร งจะเป นเช

แผนการจัดการเรียนรู้

ศาสนบำบัดสำหรับผู้ป่วยยาเสพติด เวลาในการสอน 60 นาที

หน่วยการเรียนรู้ที่ 6 เรื่องสิ่งเสพติดเป็นที่ต้องห้าม

1. สาระสำคัญ

อิสลามมีบทบัญญัติห้ามสิ่งเสพติดก็เพื่อประโยชน์ในการดูแลสติปัญญาของมนุษย์

ไม่ให้เสียหาย เพราะสิ่งเสพติดทุกชนิดเป็นโทษต่อระบบสมองของผู้เสพทำให้ผู้เสพมึนเมา

ไม่ได้สติอาจจะก่ออาชญากรรมร้ายแรงละเมิดต่อศีลธรรมอันดีงามและมีผลกระทบต่อ

ระดับสติปัญญาของผู้เสพในระยะยาว

2. จุดประสงค์การเรียนรู้

1.เพื่อให้ผู้รับการบำบัดได้เข้าใจถึงเป้าประสงค์ของบทบัญญัติอิสลามในการห้าม

สิ่งเสพติด

2.เพื่อให้ผู้รับการบำบัดรู้ถึงหลักการที่ห้ามสิ่งเสพติด

3. เพื่อให้ผู้รับการบำบัดตระหนักถึงสภาพอันเลวร้ายของการระบาดของสิ่งเสพติด

ในปัจจุบัน

3. กระบวนการจัดการเรียนรู้

3.1นำเข้าสู่บทเรียนโดยการอธิบายเรื่อง“โรคสมองติดยา”(5นาที)

3.2สุ่มถามผู้รับการบำบัด2-3คนเกี่ยวกับความรู้เรื่องศาสนาที่เกี่ยวข้อง(5นาที)

3.3ผู้สอนบรรยายให้ความรู้เกี่ยวกับเนื้อหาในใบความรู้(30นาที)

3.4ให้ผู้รับการบำบัดทำกิจกรรมตามประเด็นใบงานอาจจะแบ่งเป็นกลุ่มหรือ

รายบุคคล(10นาที)

39 คู่มือศาสนบำบัด

Page 40: บทนำ - Ministry of Public Healthหลายคนเร ยกโลกสม ยน ว า“ย คสม ยส ดท ายความจร งจะเป นเช

3.5สุ่มตัวแทนนำเสนอผลงาน2-3คนผู้สอนรวบรวมข้อสรุปและอภิปราย

เพิ่มเติม(10นาที)

4. สื่อการเรียนการสอน

4.1ภาพพลิก,ภาพโปสเตอร์

4.2ใบงาน

4.3กระดาษชาร์ต/กระดาษA4

5. กระบวนการประเมิน

5.1ประเมินความรู้

5.1.1การตอบคำถาม

5.1.2การแสดงความคิดเห็นขณะอภิปรายในกลุ่ม

5.1.3ผลการนำเสนอผลงานของแต่ละกลุ่มหรือแต่ละคน

5.2ประเมินผลการปฏิบัติ

5.2.1สังเกตพฤติกรรมการแสดงความคิดเห็นขณะทำการสอน

5.2.2ตรวจผลงานหรือดูความรับผิดชอบงานที่ได้รับมอบหมาย

5.3เครื่องมือในการประเมิน

5.3.1ใบงาน

5.3.2ผลงานที่ได้รับมอบหมาย

คู่มือศาสนบำบัด 40

Page 41: บทนำ - Ministry of Public Healthหลายคนเร ยกโลกสม ยน ว า“ย คสม ยส ดท ายความจร งจะเป นเช

ใบความรู้

สิ่งเสพติดเป็นที่ต้องห้าม

อิสลามได้กำหนดบทบัญญัติต่างๆทั้งที่เป็นข้อปฏิบัติและข้อห้ามโดยมีจุดประสงค์

เพื่อรักษาผลประโยชน์พื้นฐานของมนุษย์ทั้งห้าประการคือชีวิตความปลอดภัยทรัพย์สิน

สติปัญญาและเกียรติยศ

การที่อิสลามมีบทบัญญัติห้ามสิ่งเสพติดก็เพื่อประโยชน์ในการดูแลสติปัญญาของ

มนุษย์ซึ่งเป็นหนึ่งในห้าประการดังกล่าวไม่ให้เสียหายเพราะสิ่งเสพติดทุกชนิดเป็นโทษต่อ

ระบบสมองของผู้เสพทำให้ผู้เสพมึนเมาไม่ได้สติอาจจะก่ออาชญากรรมร้ายแรงละเมิดต่อ

ศีลธรรมอันดีงามและมีผลกระทบต่อระดับสติปัญญาของผู้เสพในระยะยาวนอกจากนี้เมื่อ

ผู้เสพได้รับสารเสพติดเข้าไปในร่างกายแล้วอาจจะทำให้ก่อความผิดอย่างอื่นได้อีกเพราะไม่

มีสติจากฤทธิ์ของยาที่เสพเข้าไป จะเห็นได้ว่ายาเสพติดนอกจากจะให้โทษต่อร่างกายผู้เสพ

แล้วบางครั้งอาจจะก่อผลเสียต่อผู้อื่นหรือต่อสังคมอีกด้วย

ด้วยเหตุนี้อิสลามจึงได้มีบัญญัติห้ามสิ่งเสพติดโดยมีบทบัญญัติห้ามการดื่มสุรา

ในอัลกุรอานไว้มีใจความว่า“โอ้บรรดาผู้ศรัทธาทั้งหลาย แท้จริงแล้วสุรา การพนัน

รูปปั้นต่างๆ และการเสี่ยงทายนั้น คือสิ่งสกปรกซึ่งเป็นงานของชัยฏอน ดังนั้นพวกเจ้า

จงละทิ้งมันเถิด เพื่อพวกเจ้าจะได้ประสบความสำเร็จ”(อัลกุรอานซูเราะฮฺอัล-มาอิดะฮฺ:90)

สิ่งเสพติดอื่นๆในปัจจุบันซึ่งไม่ได้มีระบุในอัลกุรอานนั้นก็เป็นสิ่งต้องห้ามเช่นกันโดย

อาศัยการเปรียบเทียบสุราเพราะต่างก็ให้โทษต่อร่างกายมนุษย์และทำให้เกิดการเสียสติได้

เท่าๆกันอีกทั้งยังมีการยืนยันจากท่านรอซูลศ็อลลัลลอฮฺอะลัยฮิวะสัลลัมว่าทุกสิ่งทุก

อย่างที่สามารถทำให้เกิดอาการมึนเมาได้นั้นมีสถานะเหมือนกับสุรา โดยที่ได้กล่าวไว้มี

ใจความว่า“ทุกสิ่งทุกอย่างที่ทำให้เมาได้นั้นก็เหมือนสุรา และสุราทุกชนิดนั้นเป็นที่

ต้องห้าม”(รายงานโดยมุสลิม)

ภัยของสิ่งเสพติดนั้นเป็นที่ทราบกันอย่างชัดเจนว่ามีผลเสียอย่างไรบ้างดังนั้นจึงควร

ตระหนักในการป้องกันไม่ให้สิ่งเสพติดระบาดในสังคม การระบาดของสิ่งเสพติดถือเป็น

สัญญาณอันตรายที่น่ากลัว เพราะสิ่งเสพติดมักจะระบาดในหมู่เยาวชนเสียส่วนใหญ่เมื่อ

เยาวชนติดสิ่งเสพติดนั่นก็แสดงว่าอนาคตอันสดใสของสังคมกำลังมืดลงทุกทีทุกคนทุกฝ่าย

จึงต้องเอาใจใส่มากเป็นอย่างยิ่งในการร่วมกันไม่ให้สิ่งเสพติดระบาดเพิ่มขึ้นไปจากที่เป็นอยู่

ในทุกวันนี้

41 คู่มือศาสนบำบัด

Page 42: บทนำ - Ministry of Public Healthหลายคนเร ยกโลกสม ยน ว า“ย คสม ยส ดท ายความจร งจะเป นเช

นอกจากนี้การระบาดของสิ่งเสพติดทุกชนิด ไม่ว่าจะเป็นที่ผิดกฎกมายเช่นเฮโรอีน

กัญชายาบ้าหรือที่ถูกกฎหมายเช่นเหล้าเบียร์ไวน์นั้นถือว่าเป็นสัญญาณหนึ่งของ

วันสิ้นโลกซึ่งท่านรอซูลศ็อลลัลลอฮฺอะลัยฮิวะสัลลัมได้กล่าวไว้มีใจความว่า“แท้จริงใน

จำนวนสัญญาณของวันสิ้นโลกนั้นคือจะมีการระบาดของสุรายาเมา”(รายงานโดยมุสลิม)

ข้อคิดที่ได้รับจากบทเรียน

1.อิสลามกำหนดบัญญัติห้ามสิ่งเสพติดเพื่อประโยชน์ของตัวมนุษย์เอง

2.สิ่งเสพติดทุกชนิดเป็นที่ต้องห้ามโดยหลักฐานที่ถูกต้อง

3.ภัยของสิ่งเสพติดนั้นเป็นโทษทั้งต่อตัวเองครอบครัวและสังคมโดยรวม

4.การป้องกันสิ่งเสพติดในสังคมเป็นหน้าที่ร่วมกันของทุกคนทุกฝ่ายที่ต้องดูแล

เอาใจใส่ป้องกันและทำความเข้าใจ

5.การระบาดของสิ่งเสพติดถือเป็นสัญญาณของวันสิ้นโลกประการหนึ่ง

ใบงาน

คำชี้แจงให้ท่านทำกิจกรรมตามหัวข้อที่มอบหมาย(10นาที)แล้วนำเสนอผลงานโดยตอบ

คำถามตามประเด็นดังนี้

1.ท่านคิดว่าเหตุผลใดอิสลามจึงห้ามสิ่งเสพติด

2.ท่านคิดว่าสิ่งเสพติดมีผลต่อตัวเองครอบครัวและสังคมอย่างไร

3.ท่านมีคำแนะนำอย่างไรบ้างเพื่อป้องกันไม่ให้กลับไปเสพยาเสพติดซ้ำ

คู่มือศาสนบำบัด 42

Page 43: บทนำ - Ministry of Public Healthหลายคนเร ยกโลกสม ยน ว า“ย คสม ยส ดท ายความจร งจะเป นเช

ใบความรู้สำหรับผู้สอน

(แผนการสอนเรื่อง “สิ่งเสพติดเป็นที่ต้องห้าม”)

ประเด็นคำถาม

1.ท่านคิดว่าเหตุใดอิสลามจึงห้าม

สิ่งเสพติด

2.ท่านคิดว่าสิ่งเสพติดมีผลต่อ

ตัวเองครอบครัวและสังคม

อย่างไร

แนวคิดที่ควรได้

-เพื่อรักษาผลประโยชน์พื้นฐานของมนุษย์5

ประการคือชีวิตความปลอดภัยทรัพย์สิน

สติปัญญาและเกียรติยศโดยเฉพาะการดูแลสติ

ปัญญาเพราะสิ่งเสพติดทุกชนิดเป็นโทษต่อ

ระบบสมองของผู้เสพทำให้เกิดอาการมึนเมา

อาจเป็นสาเหตุของอาชญากรรมร้ายแรงละเมิด

ต่อศีลธรรมอันดีงามและเป็นการทำลายสุขภาพ

ของตนเอง

ต่อตนเอง

-เสียการเรียนเสียอนาคตเสียสุขภาพด้านร่างกาย

และจิตใจ

-ก่อปัญหาอาชญากรรมการแพร่ระบาดของ

โรคเอดส์

-ไม่พบความสุขที่แท้จริงและตายไปในสภาพที่มี

บาปหนักโดยไม่ทันที่จะขออภัยโทษจากอัลลอฮฺ

ต่อครอบครัว

-ทำให้พ่อแม่เสียใจเสื่อมเสียชื่อเสียง

-พ่อแม่ต้องเสียเงินทองในการบำบัดรักษา

-ไม่มีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน

-ครอบครัวแตกแยก

43 คู่มือศาสนบำบัด

Page 44: บทนำ - Ministry of Public Healthหลายคนเร ยกโลกสม ยน ว า“ย คสม ยส ดท ายความจร งจะเป นเช

ใบความรู้สำหรับผู้สอน

(แผนการสอนเรื่อง “สิ่งเสพติดเป็นที่ต้องห้าม”)

ประเด็นคำถาม

3.ท่านมีคำแนะนำอย่างไรบ้าง

เพื่อป้องกันไม่ให้กลับไป

เสพยาเสพติดซ้ำ

แนวคิดที่ควรได้

ต่อสังคม

-ประชากรด้อยคุณภาพทำให้บ้านเมืองอ่อนแอ

มีการพัฒนาช้า

-สังคมไม่สงบสุขจากปัญหาสังคมที่ผู้เสพยาเสพติด

ได้ก่อขึ้น

-ต้องตั้งใจเลิกยาเสพติดอย่างเด็ดขาด

-นำหลักการของศาสนาใช้ในชีวิตประจำวัน

-พยายามฟังบรรยายเรื่องที่เกี่ยวข้องกับศาสนา

ให้มากเพื่อเตือนสติไม่ให้หลงลืมอัลลอฮฺและ

ตอกย้ำตนเองให้อยู่ในแนวทางของอิสลาม

ตลอดเวลา

-พยายามคิดทบทวนตนเองเสมอและเปลี่ยนแปลง

ตนเองในทางที่อิสลามสั่งให้ปฏิบัติละเว้นในสิ่งที่

อิสลามห้าม

คู่มือศาสนบำบัด 44

Page 45: บทนำ - Ministry of Public Healthหลายคนเร ยกโลกสม ยน ว า“ย คสม ยส ดท ายความจร งจะเป นเช

แผนการจัดการเรียนรู้

ศาสนบำบัดสำหรับผู้ป่วยยาเสพติด เวลาในการสอน 60 นาที

หน่วยการเรียนรู้ที่ 7 เรื่องบาปคือความทุกข์

1. สาระสำคัญ

ผู้ที่กระทำความผิดบาปเราอาจจะมองเห็นว่าเขามีความสุขแต่อันที่จริงแล้วในใจลึกๆ

ของเขาเต็มไปด้วยความทุกข์เพราะการทำบาปหมายถึงการฝ่าฝืนคำสั่งห้ามของอัลลอฮฺ

หรือการทรยศอัลลอฮฺนั้นเองมนุษย์จะไม่มีความสุขได้ถ้าหากตัวเองรู้ว่ากำลังทำผิดใน

ขณะที่อัลลอฮฺกำลังดูเขาอยู่และเตรียมบทลงโทษสำหรับบาปของเขาไว้เรียบร้อยแล้ว

2. จุดประสงค์การเรียนรู้

1.เพื่อให้ผู้รับการบำบัดได้เข้าใจถึงผลเสียจากการทำบาปที่มีต่อจิตใจ

2. เพื่อให้ผู้รับการบำบัดได้ตระหนักถึงความสุขของการดำเนินชีวิตอยู่บนแนวทาง

ที่ไม่มีความผิดบาป

3. กระบวนการจัดการเรียนรู้

3.1นำเข้าสู่บทเรียนโดยการถามว่า“ท่านมีความรู้สึกอย่างไรเมื่อได้ทำผิดในเรื่อง

ใดเรื่องหนึ่ง”(5นาที)

3.2สุ่มถามผู้รับการบำบัด2-3คนเกี่ยวกับความรู้เรื่องศาสนาที่เกี่ยวข้อง(5นาที)

3.3ผู้สอนบรรยายให้ความรู้เกี่ยวกับเนื้อหาในใบความรู้(30นาที)

3.4ให้ผู้รับการบำบัดทำกิจกรรมตามประเด็นใบงานอาจจะแบ่งเป็นกลุ่มหรือ

รายบุคคล(10นาที)

3.5สุ่มตัวแทนนำเสนอผลงาน2-3คนผู้สอนรวบรวมข้อสรุปและอภิปราย

เพิ่มเติม(10นาที)

45 คู่มือศาสนบำบัด

Page 46: บทนำ - Ministry of Public Healthหลายคนเร ยกโลกสม ยน ว า“ย คสม ยส ดท ายความจร งจะเป นเช

4. สื่อการเรียนการสอน

4.1ภาพพลิก,ภาพโปสเตอร์

4.2ใบงาน

4.3กระดาษชาร์ต/กระดาษA4

5. กระบวนการประเมิน

5.1ประเมินความรู้

5.1.1การตอบคำถาม

5.1.2การแสดงความคิดเห็นขณะอภิปรายในกลุ่ม

5.1.3ผลการนำเสนอผลงานของแต่ละกลุ่มหรือแต่ละคน

5.2ประเมินผลการปฏิบัติ

5.2.1สังเกตพฤติกรรมการแสดงความคิดเห็นขณะทำการสอน

5.2.2ตรวจผลงานหรือดูความรับผิดชอบงานที่ได้รับมอบหมาย

5.3เครื่องมือในการประเมิน

5.3.1ใบงาน

5.3.2ผลงานที่ได้รับมอบหมาย

คู่มือศาสนบำบัด 46

Page 47: บทนำ - Ministry of Public Healthหลายคนเร ยกโลกสม ยน ว า“ย คสม ยส ดท ายความจร งจะเป นเช

ใบความรู้

บาปคือความทุกข์

ผู้ศรัทธาคือผู้ที่เชื่อในพระผู้เป็นเจ้าและดำเนินชีวิตบนเส้นทางที่พระองค์กำหนดไว้

นั่นคือเส้นทางแห่งอิสลามซึ่งประกอบด้วยความดีงามต่างๆมากมายรวมทั้งมีประโยชน์ที่

จะส่งผลดีต่อตัวผู้ศรัทธาเอง เมื่อใดที่มนุษย์ยอมรับคำสอนของอัลลอฮฺและนำมาปฏิบัติใช้

จริงในชีวิตจะทำให้เขารู้สึกมีความสุขสงบจากการได้ปฏิบัติในสิ่งที่อัลลอฮฺสั่งให้ทำเพราะ

เขารู้ว่าทุกสิ่งที่อัลลอฮฺได้บัญญัตินั้นล้วนมีประโยชน์ต่อตัวเขาเองทั้งในโลกนี้และโลกหน้า

ตัวอย่างเช่นการละหมาดและการกล่าวรำลึกถึงอัลลอฮฺจะทำให้ใจของเขาสงบการอ่าน

อัลกุรอานจะทำให้เขามีจิตใจที่แช่มชื่นการถือศีลอดจะทำให้เขาฝึกความอดทนเป็นต้น

การทำดีตามที่อัลลอฮฺสั่งนั้นคือต้นเหตุแห่งความสุขของมนุษย์เช่นที่อัลลอฮฺได้ตรัส

ไว้มีใจความว่า“ผู้ใดที่ปฏิบัติความดีทั้งผู้ชายหรือผู้หญิงโดยที่เขาเป็นผู้ศรัทธา แล้วไซร้

แน่แท้เราจะให้เขามีชีวิตที่ดี และเราจะตอบแทนพวกเขาด้วยสิ่งที่ดีที่สุด ตามการปฏิบัติ

ความดีของพวกเขา”(อัลกุรอานซูเราะฮฺอัน-นะหฺลิ:97)

ในขณะที่ผู้กระทำความผิดบาปซึ่งบางครั้งเราอาจจะมองเห็นว่าเขามีความสุข แต่อัน

ที่จริงแล้วในใจลึกๆของเขาจะเต็มไปด้วยความทุกข์เพราะการทำบาปหมายถึงการฝ่าฝืน

คำสั่งห้ามของอัลลอฮฺหรือการทรยศต่ออัลลอฮฺนั่นเองมนุษย์จะไม่มีความสุขได้ถ้าหาก

ตัวเองรู้ว่ากำลังทำผิดในขณะทื่อัลลอฮฺกำลังดูเขาอยู่และเตรียมบทลงโทษสำหรับบาปของ

เขาไว้เรียบร้อยแล้ว

ใครก็ตามที่ศรัทธามั่นต่ออัลลอฮฺจะรู้สึกว่าความผิดบาปนั้นทำให้เขาอึดอัดและอยู่

ไม่เป็นสุขเพราะบาปนั่นคือสาเหตุที่อัลลอฮฺอาจจะส่งการลงโทษของพระองค์มายังเขาได้

เช่นที่อัลลอฮฺได้ตรัสไว้มีความว่า“หรือพวกเขาไม่เห็นสิ่งที่อยู่ต่อหน้าและข้างหลังพวก

เขาซึ่งมีทั้งฟากฟ้าและแผ่นดิน มาตรแม้นว่าเราประสงค์แล้วไซร้ เราก็จะให้แผ่นดิน

กลืนพวกเขา หรือเราจะส่งลูกไฟลงมาจากฟ้า แท้จริงสิ่งเหล่านั้นเป็นเครื่องหมายแก่

บ่าวทุกคนที่นอบน้อม”(อัลกุรอานซูเราะฮฺสะบะอ.:9)

ท่านรอซูลศ็อลลัลลอฮฺอะลัยฮิวะสัลลัมจึงได้กล่าวไว้ครั้งหนึ่งมีความว่า“บาปนั้น

คือสิ่งที่ทำให้ขุ่นหมองใจอยู่ในอกท่าน และท่านกลัวว่าคนอื่นจะมาเห็น”(รายงาน

โดยมุสลิม) จะเห็นได้ว่าบาปคือเหตุและต้นตอของความกังวลใจซึ่งมีผลต่อความสงบสุขของ

จิตใจมนุษย์

47 คู่มือศาสนบำบัด

Page 48: บทนำ - Ministry of Public Healthหลายคนเร ยกโลกสม ยน ว า“ย คสม ยส ดท ายความจร งจะเป นเช

การทำบาปและการฝ่าฝืนคำสั่งของอัลลอฮฺนั้นจะส่งผลเสียต่อตัวมนุษย์เอง และ

สามารถเห็นได้อย่างชัดเจนเช่นการดื่มเหล้าและของมึนเมาจะทำให้มนุษย์เสียสติมีผลเสีย

ต่อระบบสมอง การพนันทำให้มนุษย์สูญเสียทรัพย์สมบัติและส่งผลให้ขี้เกียจทำงานหาเลี้ยง

ชีพโดยสุจริต การผิดประเวณีทำให้เสี่ยงต่อการติดโรคร้ายและกลายเป็นปัญหาสังคม

ตามมาเป็นต้น

ดังนั้น เพื่อความสงบสุขของชีวิตมนุษย์จึงต้องดำรงอยู่บนเส้นทางของอัลลอฮฺด้วย

การหมั่นทำความดีและหลีกเลี่ยงการทำบาปให้มากที่สุด

ข้อคิดที่ได้รับจากบทเรียน

1.ผู้ศรัทธาที่ปฏิบัติความดีงามคือผู้ที่สามารถรับรู้ถึงความสงบสุขของจิตใจและ

มีพลังใจในการดำเนินชีวิตในโลกนี้

2.ความสุขที่แท้จริงคือความสุขที่เกิดขึ้นในจิตใจจากการที่มนุษย์น้อมรับคำสอน

ของอัลลอฮฺด้วยความเชื่อมั่นในพระองค์ไม่ใช่ความสุขทางกายชั่ววูบที่ได้มาจากการ

ทำบาป

3.บาปคือต้นเหตุที่อัลลอฮฺจะส่งบทลงโทษของพระองค์ลงมายังมวลมนุษย์บทลง

โทษของอัลลอฮฺอาจจะอยู่ในรูปแบบต่างๆเช่นภัยธรรมชาติภัยสังคมเป็นต้น

4.เครื่องหมายของความผิดบาปที่อาจจะรู้สึกได้คือความกังวลใจความสับสน

และจิตใจที่ไม่สงบนิ่งเพื่อสร้างความสุขให้กับจิตใจมนุษย์จึงต้องหันกลับไปพึ่งอัลลอฮฺ

ด้วยการศรัทธาปฏิบัติความดีละทิ้งความชั่วและขออภัยโทษเพื่อชำระล้างบาปทั้งหลาย

ที่ตนได้กระทำ

คู่มือศาสนบำบัด 48

Page 49: บทนำ - Ministry of Public Healthหลายคนเร ยกโลกสม ยน ว า“ย คสม ยส ดท ายความจร งจะเป นเช

ใบงาน

คำชี้แจงให้ท่านทำกิจกรรมตามหัวข้อที่มอบหมาย(10นาที)แล้วนำเสนอผลงานโดยตอบ

คำถามตามประเด็นดังนี้

1.ท่านคิดว่าการทำบาปมีผลเสียต่อมนุษย์อย่างไร

2.ท่านคิดว่าอะไรคือความสุขที่แท้จริงและท่านสามารถมีความสุขที่แท้จริง

ได้อย่างไร

3.การทำบาปจะทำให้มนุษย์รู้สึกไม่สงบในจิตใจท่านควรทำอย่างไรเมื่อรู้สึกเช่นนั้น

49 คู่มือศาสนบำบัด

Page 50: บทนำ - Ministry of Public Healthหลายคนเร ยกโลกสม ยน ว า“ย คสม ยส ดท ายความจร งจะเป นเช

ใบความรู้สำหรับผู้สอน

(แผนการสอนเรื่อง “บาปคือความทุกข์”)

ประเด็นคำถาม

1.ท่านคิดว่าการทำบาปมีผลเสีย

ต่อมนุษย์อย่างไร

2.ท่านคิดว่าอะไรคือความสุข

ที่แท้จริงและท่านสามารถ

มีความสุขที่แท้จริงได้อย่างไร

3.การทำบาปจะทำให้มนุษย์รู้สึก

ไม่สงบในจิตใจท่านควรทำ

อย่างไรเมื่อรู้สึกเช่นนั้น

แนวคิดที่ควรได้

-มนุษย์จะไม่มีความสุขเพราะเขารู้ตัวเองว่า

กำลังทำผิดและอัลลอฮฺกำลังดูเขาพร้อมกับเตรียม

บทลงโทษสำหรับบาปของเขาไว้เรียบร้อยแล้ว

-ส่งผลเสียต่อตัวเขาเองเช่นการดื่มเหล้าและ

ของมึนเมาจะทำให้เสียสติมีผลเสียต่อระบบสมอง

การพนันทำให้สูญเสียทรัพย์สมบัติและส่งผลให้

ขี้เกียจทำงานโดยสุจริตเป็นต้น

-การยอมรับคำสอนของอัลลอฮฺและนำมาปฏิบัติ

ใช้จริงในชีวิตจะทำให้เขารู้สึกมีความสุขสงบ

จากการได้ปฏิบัติในสิ่งที่อัลลอฮฺสั่งให้ทำดังนั้น

เราจึงต้องหลีกเลี่ยงการทำบาปซึ่งเป็นการฝ่าฝืน

คำสั่งห้ามของอัลลอฮฺจะทำให้เรารู้สึกอึดอัดและ

ไม่มีความสุข

-ต้องหันกลับไปพึ่งอัลลอฮฺด้วยความศรัทธาปฏิบัติ

คำสั่งสอนของอัลลอฮฺและขออภัยโทษเพื่อ

ชำระล้างบาปทั้งหลายที่ตนได้กระทำ

คู่มือศาสนบำบัด 50

Page 51: บทนำ - Ministry of Public Healthหลายคนเร ยกโลกสม ยน ว า“ย คสม ยส ดท ายความจร งจะเป นเช

แผนการจัดการเรียนรู้

ศาสนบำบัดสำหรับผู้ป่วยยาเสพติด เวลาในการสอน 60 นาที

หน่วยการเรียนรู้ที่ 8 เรื่องความสำคัญของการเตาบัต

1. สาระสำคัญ

การเตาบัตมีความสำคัญต่อมนุษย์เป็นอย่างยิ่งหากมนุษย์ได้กระทำผิดและไม่

สำนึกตนไม่ขออภัยโทษไม่ทำความดีลบล้างความผิดบาปก็ยังอยู่กับเขาและจะได้รับโทษ

จากบาปที่เขาทำไว้

2. จุดประสงค์การเรียนรู้

1.เพื่อให้ผู้รับการบำบัดได้เข้าใจถึงความหมายของการเตาบัต

2.เพื่อให้ผู้รับการบำบัดได้ตระหนักถึงความสำคัญของการเตาบัต

3.เพื่อให้ผู้รับการบำบัดได้รู้ถึงลักษณะของการเตาบัตที่แท้จริง

3. กระบวนการจัดการเรียนรู้

3.1นำเข้าสู่บทเรียนโดยการตั้งคำถามว่า“การเตาบัตหมายถึงอะไร”(5นาที)

3.2สุ่มถามผู้รับการบำบัด2-3คนเกี่ยวกับความรู้เรื่องศาสนาที่เกี่ยวข้อง(5

นาที)

3.3ผู้สอนบรรยายให้ความรู้เกี่ยวกับเนื้อหาในใบความรู้(30นาที)

3.4ให้ผู้รับการบำบัดทำกิจกรรมตามประเด็นใบงานอาจจะแบ่งเป็นกลุ่มหรือ

รายบุคคล(10นาที)

3.5สุ่มตัวแทนนำเสนอผลงาน2-3คนผู้สอนรวบรวมข้อสรุปและอภิปราย

เพิ่มเติม(10นาที)

51 คู่มือศาสนบำบัด

Page 52: บทนำ - Ministry of Public Healthหลายคนเร ยกโลกสม ยน ว า“ย คสม ยส ดท ายความจร งจะเป นเช

4. สื่อการเรียนการสอน

4.1ภาพพลิก,ภาพโปสเตอร์

4.2ใบงาน

4.3กระดาษชาร์ต/กระดาษA4

5. กระบวนการประเมิน

5.1ประเมินความรู้

5.1.1การตอบคำถาม

5.1.2การแสดงความคิดเห็นขณะอภิปรายในกลุ่ม

5.1.3ผลการนำเสนอผลงานของแต่ละกลุ่มหรือแต่ละคน

5.2ประเมินผลการปฏิบัติ

5.2.1สังเกตพฤติกรรมการแสดงความคิดเห็นขณะทำการสอน

5.2.2ตรวจผลงานหรือดูความรับผิดชอบงานที่ได้รับมอบหมาย

5.3เครื่องมือในการประเมิน

5.3.1ใบงาน

5.3.2ผลงานที่ได้รับมอบหมาย

คู่มือศาสนบำบัด 52

Page 53: บทนำ - Ministry of Public Healthหลายคนเร ยกโลกสม ยน ว า“ย คสม ยส ดท ายความจร งจะเป นเช

ใบความรู้

ความสำคัญของการเตาบัต

การเตาบัตหมายถึงการที่ผู้ทำผิดสำนึกตนและกลับไปหาอัลลอฮฺด้วยการขออภัย

โทษจากพระองค์ มนุษย์ทุกคนนั้นล้วนหนีไม่พ้นจากการทำความผิดไม่ว่าจะมากหรือน้อย

ยกเว้นผู้ที่อัลลอฮฺได้ปกป้องเช่นท่านรอซูลศ็อลลัลลอฮฺอะลัยฮิวะสัลลัมเมื่อมนุษย์ทำผิด

สิ่งที่สำคัญที่สุดคือการลบล้างความผิดนั้นด้วยการเตาบัตต่อพระองค์อัลลอฮฺการเตาบัต

นั้นมีความสำคัญต่อมนุษย์เป็นอย่างยิ่ง เพราะบาปทั้งหลายจะยังคงอยู่กับผู้ทำผิดถ้าหาก

เขาไม่สำนึกตนไม่ขออภัยโทษไม่ทำความดีลบล้างความผิดและเมื่อความผิดบาปยังอยู่กับ

ตัวเขาก็จะต้องได้รับโทษจากบาปที่เขาทำไว้

ดังนั้นอัลลอฮฺจึงได้กำชับให้มนุษย์มุ่งมั่นในการเตาบัตต่อพระองค์เมื่อรู้ว่าตัวเองทำ

ผิดและพระองค์ก็สัญญาว่าจะทรงอภัยโทษให้กับผู้ที่เตาบัตและจะทรงเตรียมผลตอบแทนที่

ดีในสวนสวรรค์แก่เขาพระองค์ได้ตรัสไว้มีความว่า“โอ้บรรดาผู้ศรัทธาทั้งหลายจงเตาบัต

ต่ออัลลอฮฺด้วยการเตาบัตที่จริงจัง เผื่อว่าอัลลอฮฺจะทรงลบล้างความผิดของพวกเจ้า

และนำพวกเจ้าเข้าสู่สวรรค์ซึ่งมีสายน้ำไหลผ่านอยู่เบื้องล่างของมัน”(อัลกุรอานซูเราะฮฺ

อัต-ตะหฺรีม:8)

การเตาบัตอย่างจริงจังเรียกว่า“เตาบัต นาศูฮา”คือการเตาบัตด้วยความสำนึก

อย่างจริงจังและตั้งใจว่าจะไม่กระทำความผิดอีก และถ้าหากว่าพลั้งเผลอทำผิดอีกครั้ง

ก็จะรีบเตาบัตอย่างจริงจังอีกเช่นเดิมถึงแม้ว่าจะพลั้งเผลออีกจนนับครั้งไม่ถ้วน

มีหะดีษที่ระบุถึงความสำคัญของการเตาบัตเป็นเรื่องราวของชายคนหนึ่งซึ่งฆ่าคน

ถึงหนึ่งร้อยคนและต้องการเตาบัตดังความว่า“ครั้งหนึ่งก่อนหน้ายุคสมัยของพวกท่าน

ยังมีชายผู้หนึ่งได้ฆ่าคนถึงเก้าสิบเก้าคน (และเขาต้องการกลับเนื้อกลับตัว) จึงได้

ถามถึงผู้ที่มีความรู้ที่สุดในแผ่นดินเพื่อจะได้ไปขอคำแนะนำจากเขาผู้นั้น ดังนั้นจึงมี

คนแนะนำให้เขาไปถามนักบวชผู้หนึ่ง เขาก็ได้ไปหาและถามนักบวชนั้นว่า เขาได้ฆ่า

คนถึงเก้าสิบเก้าคน มีทางที่เขาสามารถเตาบัตได้ไหม? นักบวชตอบเขาว่าไม่มี เมื่อ

ฟังเช่นนั้นเขาจึงฆ่านักบวชนั้นเสียและกลายเป็นคนที่ได้ฆ่าคนทั้งหมดหนึ่งร้อยคน

ถ้วน จากนั้นก็มีคนแนะนำให้เขาไปหานักปราชญ์ผู้หนึ่ง เขาจึงได้ไปหาและถาม

นักปราชญ์ผู้นั้นว่าเขาได้ฆ่าคนครบหนึ่งร้อยคนแล้วมีทางที่เขาจะเตาบัตได้ไหม

นักปราชญ์ตอบเขาว่า ย่อมมีทางสำหรับเขาแน่นอน เพราะไม่มีสิ่งใดเลยที่จะ

ขัดขวางเขาจากการเตาบัต นักปราชญ์แนะนำให้เขาอพยพไปเมืองหนึ่งซึ่งมีแต่คนที่

53 คู่มือศาสนบำบัด

Page 54: บทนำ - Ministry of Public Healthหลายคนเร ยกโลกสม ยน ว า“ย คสม ยส ดท ายความจร งจะเป นเช

ชอบทำความดีและให้ทิ้งเมืองเดิมของเขาเสีย เพระเป็นเมืองที่มีแต่คนชั่ว เขาจึง

ออกเดินทางไปยังเมืองที่นักปราชญ์ผู้นั้นแนะนำ แต่เขาก็เสียชีวิตลงกลางทางก่อน

ที่จะไปถึง เมื่อนั้นก็ได้มีมลาอิกะฮฺสองตนคือมลาอิกะฮฺแห่งความเมตตาและ มลาอิกะฮฺ

แห่งการลงโทษมาเพื่อรับวิญญาณเขา มลาอิกะฮฺแห่งความเมตตาต้องการนำวิญญาณ

เขาไป โดยกล่าวว่าเขาผู้นี้ได้เตาบัตแล้ว และมุ่งมั่นไปยังอัลลอฮฺด้วยใจจริง ขณะที่

มลาอิกะฮฺแห่งการลงโทษ ก็ต้องการนำตัวเขาไปและกล่าวว่าเขา ผู้นี้ไม่เคยทำดีเลยแม้

แต่น้อย เมื่อนั้นอัลลอฮฺจึงส่งมลาอิกะฮฺอีกตนหนึ่งเพื่อเป็น ผู้ตัดสิน โดยบอกให้มลาอิกะฮฺ

ทั้งสองวัดระยะทางจากจุดที่เขาเสียชีวิตไปยังทั้ง สองเมือง เมืองไหนที่มีระยะทางใกล้

กว่าก็ให้ถือว่าเขาเป็นพวกในเมืองนั้น แล้ว มลาอิกะฮฺทั้งสองจึงช่วยกันวัดและพบว่า

เมืองที่เขาจะอพยพไปมีระยะทางใกล้กว่า (ด้วยการบันดาลและความช่วยเหลือของ

อัลลอฮฺ) เมื่อเป็นดังนั้นมลาอิกะฮฺแห่งความเมตตาจึงได้นำเอาวิญญาณของผู้ชายผู้นั้น

ไป”(รายงานโดยมุสลิม)

ข้อคิดที่ได้รับจากบทเรียน

1.มนุษย์ล้วนหนีไม่พ้นความผิดจึงควรต้องเอาใจใส่ในการเตาบัต

2.การเตาบัตที่แท้จริงต้องเกิดจากความสำนึกและตั้งใจที่จะเลิกทำบาป

3.มนุษย์จะต้องไม่ท้อถอยในการเตาบัตไม่ว่าเขาจะพลั้งเผลอทำผิดมากี่ครั้งก็ตาม

4.การเตาบัตคือกุญแจสู่การได้เขาสวรรค์

5.บาปไม่ว่าจะใหญ่แค่ไหนก็สามารถลบล้างได้ด้วยการเตาบัตต่ออัลลอฮฺ

6.อัลลอฮฺจะทรงช่วยเหลือผู้ที่มีความตั้งใจจริงในการเตาบัตต่อพระองค์

คู่มือศาสนบำบัด 54

Page 55: บทนำ - Ministry of Public Healthหลายคนเร ยกโลกสม ยน ว า“ย คสม ยส ดท ายความจร งจะเป นเช

ใบงาน

คำชี้แจงให้ท่านทำกิจกรรมตามหัวข้อที่มอบหมาย(10นาที)แล้วนำเสนอผลงานโดยตอบ

คำถามตามประเด็นดังนี้

1.มนุษย์จำเป็นต้องเตาบัตต่ออัลลอฮฺท่านคิดว่าควรต้องทำอย่างไรเพื่อให้เตาบัต

นั้นเป็นการ“เตาบัตนาศูฮา”หรือเตาบัตที่แท้จริง

2.ท่านคิดว่าหลังจากเตาบัตแล้วควรทำอย่างไรเพื่อไม่ให้เกิดการพลั้งเผลอ

ทำผิดอีก

55 คู่มือศาสนบำบัด

Page 56: บทนำ - Ministry of Public Healthหลายคนเร ยกโลกสม ยน ว า“ย คสม ยส ดท ายความจร งจะเป นเช

ใบความรู้สำหรับผู้สอน

(แผนการสอนเรื่อง “ความสำคัญของการเตาบัต”)

ประเด็นคำถาม

1.มนุษย์จำเป็นต้องเตาบัตต่อ

อัลลอฮฺท่านคิดว่าควรต้อง

ทำอย่างไรเพื่อให้เตาบัตนั้น

เป็น“เตาบัตนาศูฮา”หรือ

เตาบัตที่แท้จริง

2.ท่านคิดว่าหลังจากเตาบัตแล้ว

ควรทำอย่างไรเพื่อไม่ให้เกิดการ

พลั้งเผลอทำผิดอีก

แนวคิดที่ควรได้

-ต้องกระทำด้วยความสำนึกอย่างจริงจังและ

ตั้งใจอย่างแน่วแน่ว่าจะไม่กระทำความผิดอีก

และหากพลาดพลั้งทำผิดอีกก็ต้องรีบเตาบัต

ทันทีถึงแม้ว่าจะเผลอทำบาปจนนับไม่ถ้วน

(ทำด้วยความอิคลาส)

-ยึดหลักการของอิสลามในการดำเนินชีวิต

ประจำวัน

-รำลึกถึงอัลลอฮอยู่เสมอ

-ต้องมีความตั้งใจอย่างจริงจังในการที่จะกลับตัว

กลับใจและจะไม่ทำการใดๆตามอารมณ์ใฝ่ต่ำ

(นับซู)แน่นอนอัลลอฮฺจะทรงช่วยเหลือผู้ที่มี

ความตั้งใจจริงในการเตาบัตต่อพระองค์

คู่มือศาสนบำบัด 56

Page 57: บทนำ - Ministry of Public Healthหลายคนเร ยกโลกสม ยน ว า“ย คสม ยส ดท ายความจร งจะเป นเช

แผนการจัดการเรียนรู้

ศาสนบำบัดสำหรับผู้ป่วยยาเสพติด เวลาในการสอน 60 นาที

หน่วยการเรียนรู้ที่ 9 เรื่อง อย่าทำร้ายตัวเอง

1. สาระสำคัญ

การทำร้ายตนเองไม่ว่าด้วยวิธีใดๆก็ตามเป็นสิ่งต้องห้ามทุกสิ่งที่มุสลิมบริโภคและ

ประพฤติปฏิบัติ จะต้องเป็นสิ่งที่ให้ประโยชน์และไม่ก่อผลเสียต่อตัวเองและผู้อื่น และการ

ทำร้ายตัวเองนั้นยังมีบทลงโทษที่หนักหน่วงและเจ็บปวดในโลกหน้าดังนั้นมนุษย์ทุกคนจึง

ต้องรักชีวิตซาบซึ้งในความเมตตาของอัลลอฮฺที่ได้ห้ามไม่ให้ทำร้ายตัวเอง

2. จุดประสงค์การเรียนรู้

1.เพื่อให้ผู้รับการบำบัดได้ตระหนักว่าการทำร้ายตัวเองเป็นสิ่งต้องห้ามในอิสลาม

2.เพื่อให้ผู้รับการบำบัดได้ตระหนักถึงความเมตตาอันล้นพ้นของอัลลอฮที่มีต่อมนุษย์

3. กระบวนการจัดการเรียนรู้

3.1นำเข้าสู่บทเรียนโดยยกอายัติอัลกรุอานซูเราะฮฺอัน-นิสาฮอายัติที่30

ความว่า“และพวกเจ้าอย่าได้คร่าชีวิตของพวกเจ้าเองแท้จริงอัลลอฮฺนั้นทรงเมตตากับ

พวกเจ้ายิ่งนักและหากผู้ใดกระทำเช่นแล้ว(คือฆ่าตัวเอง)ด้วยการละเมิดและไม่เป็นธรรม

เราจะนำเขาเข้าทรมานในไฟนรกและการลงโทษเช่นนั้นเป็นสิ่งที่ง่ายสำหรับพระองค์”

3.2สุ่มถามผู้รับการบำบัด2-3คนเกี่ยวกับความรู้เรื่องศาสนาที่เกี่ยวข้อง(5นาที)

3.3ผู้สอนบรรยายให้ความรู้เกี่ยวกับเนื้อหาในใบความรู้(30นาที)

3.4ให้ผู้รับการบำบัดทำกิจกรรมตามประเด็นใบงานอาจจะแบ่งเป็นกลุ่มหรือ

รายบุคคล(10นาที)

57 คู่มือศาสนบำบัด

Page 58: บทนำ - Ministry of Public Healthหลายคนเร ยกโลกสม ยน ว า“ย คสม ยส ดท ายความจร งจะเป นเช

3.5สุ่มตัวแทนนำเสนอผลงาน2-3คนผู้สอนรวบรวมข้อสรุปและอภิปราย

เพิ่มเติม(10นาที)

4. สื่อการเรียนการสอน

4.1ภาพพลิก,ภาพโปสเตอร์

4.2ใบงาน

4.3กระดาษชาร์ต/กระดาษA4

5. กระบวนการประเมิน

5.1ประเมินความรู้

5.1.1การตอบคำถาม

5.1.2การแสดงความคิดเห็นขณะอภิปรายในกลุ่ม

5.1.3ผลการนำเสนอผลงานของแต่ละกลุ่มหรือแต่ละคน

5.2ประเมินผลการปฏิบัติ

5.2.1สังเกตพฤติกรรมการแสดงความคิดเห็นขณะทำการสอน

5.2.2ตรวจผลงานหรือดูความรับผิดชอบงานที่ได้รับมอบหมาย

5.3เครื่องมือในการประเมิน

5.3.1ใบงาน

5.3.2ผลงานที่ได้รับมอบหมาย

คู่มือศาสนบำบัด 58

Page 59: บทนำ - Ministry of Public Healthหลายคนเร ยกโลกสม ยน ว า“ย คสม ยส ดท ายความจร งจะเป นเช

ใบความรู้

อย่าทำร้ายตัวเอง

อิสลามเป็นศาสนาที่ให้ความสำคัญกับชีวิตมนุษย์ โดยมีบทบัญญัติมากมายเพื่อให้

มนุษย์ใช้ในการรักษาชีวิตของตนและให้เห็นถึงความสำคัญของชีวิต

การทำร้ายร่างกายตนเองไม่ว่าด้วยวิธีใดๆก็ตามเป็นสิ่งต้องห้ามทุกสิ่งที่มุสลิม

บริโภคและประพฤติปฏิบัติจะต้องเป็นสิ่งที่ให้ประโยชน์และไม่ก่อผลเสียต่อตนเองและ

ผู้อื่นเห็นได้ชัดจากคำสั่งเสียของท่านรอซูลศ็อลลัลลอฮฺอะลัยฮิวะสัลลัมที่มีใจความว่า

“ต้องไม่ทำในสิ่งที่เป็นโทษต่อตัวเองและสร้างความเดือดร้อนแก่ผู้อื่น” (รายงานโดย

อิบนุมาญะฮฺ)

อัลลอฮฺได้ตรัสไว้มีความว่า“และพวกเจ้าอย่างได้โยนตัวของพวกเจ้าสู่ความ

หายนะ”(อัลกุรอานซูเราะฮฺอัล-บะเกาะเราะฮฺ:195)ความหมายคือกระทำการใดๆที่

อาจจะนำอันตรายหรือภัยพิบัติมาสู่ตัวเองจาออัลอุรอานบทนี้แสดงให้เห็นว่าการทำร้าย

ตัวเองไม่ว่าด้วยวิธีใดๆนั้นเป็นสิ่งที่อัลลอฮฺห้ามเพราะเป็นการโยนตัวเองเข้าสู่ความ

หายนะ

การทำร้ายตัวเองด้วยการฆ่าตัวตายนั้นมีบัญญัติห้ามอย่างชัดเจนในอิสลามซึ่ง

อัลลอฮฺได้ตรัสไว้มีใจความว่า“และพวกเจ้าอย่าได้คร่าชีวิตของพวกเจ้าเอง แท้จริง

อัลลอฮฺนั้นทรงเมตตากับพวกเจ้ายิ่งนัก และหากผู้ใดกระทำเช่นนั้นแล้ว (คือฆ่าตัวเอง

ตาย) ด้วยการละเมิดและไม่เป็นธรรม เราจะนำเขาเข้าทรมานในไฟนรก และการลงโทษ

เช่นนั้นเป็นสิ่งที่ง่ายสำหรับพระองค์”(อัลกุรอานซูเราะฮฺอัน-นิสาอฺ:30)ท่านรอซูล

ศ็อลลัลลอฮฺอะลัยฮิวะสัลลัมได้กล่าวไว้มีความว่า“ผู้ใดที่ฆ่าตัวตายบนโลกนี้ด้วยเหล็ก

เขาจะเป็นผู้ใช้เหล็กนั้นทิ่มแทงท้องชองตัวเองในนรกโลกันตร์ตราบชั่วกาลนาน ผู้ใดที่

กินยาพิษบนโลกนี้ เขาจะต้องดื่มยาพิษในนรกโลกันตร์ตราบชั่ว กาลนาน ผู้ใดที่โดดลง

มาจากภูเขาสูงเพื่อฆ่าตัวตายบนโลกนี้ต่อไปเขาจะต้องโดดเช่นนั้นในนรกโลกันตร์ตราบ

ชั่วกาลนาน”(รายงานโดยมุสลิม)

การทำร้ายร่างกายตัวเองนั้นนอกจากจะเป็นการนำพาตัวเองเข้าหาความหายนะ

แล้ว ยังมีบทลงโทษที่หนักหน่วงและเจ็บปวดในโลกหน้าอีกด้วยดังนั้นมนุษย์ทุกคนจึงต้อง

รักชีวิตซาบซึ้งในความเมตตาอันล้นพ้นของอัลลอฮฺที่ได้ห้ามไม่ให้ทำร้ายตัวเองไม่ว่าจะเป็น

การฆ่าตัวตายหรือการกระทำอย่างอื่นที่นำอันตรายมาสู่ตัวเองดังนั้นมนุษย์ควรจะต้อง

สำนักอยู่เสมอว่าอัลลอฮฺทรงมีความเมตตาปรานีพระองค์รักบ่าวทุกคนของพระองค์

59 คู่มือศาสนบำบัด

Page 60: บทนำ - Ministry of Public Healthหลายคนเร ยกโลกสม ยน ว า“ย คสม ยส ดท ายความจร งจะเป นเช

พระองค์ประสงค์ที่จะเห็นมนุษย์ดำเนินชีวิตอยู่บนเส้นทางที่เรียบง่ายปลอดภัยเปี่ยมไป

ด้วยความสงบสุขห่างไกลจากความเลวร้ายนั่นก็คือเส้นทางแห่งอิสลามที่พระองค์ได้เตรียม

ไว้ให้

มนุษย์ทุกคนต้องไม่สิ้นหวังในความเมตตาของอัลลอฮฺเพราะความเมตตาของ

พระองค์กว้างใหญ่ไพศาลมากมายล้นฟ้าล้นแผ่นดินถึงแม้เราจะรู้สึกว่าตัวเองต่ำต้อยและ

เลวทรามเพียงใดก็ตาม แต่กระนั้นเราก็ยังมีโอกาสที่จะได้รับความเมตตาจากอัลลอฮฺพระองค์

ได้ตรัสไว้มีความว่า“จงกล่าวเถิดโอ้ปวงบ่าวผู้ก่อความไม่เป็นธรรมกับตัวเองพวกเจ้าอย่า

ได้สิ้นหวังในความเมตตาของอัลลอฮฺ”(อัลกุรอานซูเราะฮฺอัซ-ซุมัร:53)

ข้อคิดที่ได้รับจากบทเรียน

1.ชีวิตทุกชีวิตเป็นสิ่งที่มีค่าเพราะเป็นสิ่งที่อัลลอฮฺมอบให้กับมนุษย์เป็นผู้ดูแลรักษา

2.มนุษย์ทุกคนมีหน้าที่รักษาชีวิตด้วยการไม่ทำร้ายตนเอง

3.การทำร้ายร่างกายตัวเองถือเป็นสิ่งต้องห้ามเพราะเป็นการฝ่าฝืนคำสั่งของ

อัลลอฮฺและไม่เห็นคุณค่าความเมตตาของพระองค์

4.ผู้ที่ทำร้ายร่างกายตัวเองจะต้องได้รับการลงโทษอย่างหนักและเจ็บปวดในนรก

โลกันตร์

5.อัลลอฮฺทรงมีคุณลักษณะแห่งความเมตตาอันล้นพ้นกว้างใหญ่มากมายมหาศาล

6.ผู้กระทำผิดต่อตัวเองจะต้องไม่สิ้นหวังในความเมตตาของอัลลอฮฺแต่ต้องสำนึก

อยู่เสมอว่าพระองค์พร้อมที่จะมอบความเมตตาของพระองค์ให้กับเขาอยู่เสมอถ้าเขาเป็น

ผู้กลับตัว

คู่มือศาสนบำบัด 60

Page 61: บทนำ - Ministry of Public Healthหลายคนเร ยกโลกสม ยน ว า“ย คสม ยส ดท ายความจร งจะเป นเช

ใบงาน

คำชี้แจงให้ท่านทำกิจกรรมตามหัวข้อที่มอบหมาย(10นาที)แล้วนำเสนอผลงานโดยตอบ

คำถามตามประเด็นดังนี้

1. ชีวิตของมนุษย์มีค่าแต่มีมนุษย์บางกลุ่มหรือบางคนกล้าทำร้ายร่างกายของ

ตัวเองท่านคิดว่าเพราะเหตุใด

2.จากที่ท่านได้ทราบว่าอัลลอฮมีความเมตตาอันล้นพ้นต่อบ่าวของพระองค์

ท่านควรทำอย่างไรเพื่อใช้โอกาสนี้ให้เป็นผลดีต่อตัวท่านมากที่สุด

61 คู่มือศาสนบำบัด

Page 62: บทนำ - Ministry of Public Healthหลายคนเร ยกโลกสม ยน ว า“ย คสม ยส ดท ายความจร งจะเป นเช

ใบความรู้สำหรับผู้สอน

(แผนการสอนเรื่อง “อย่าทำร้ายตัวเอง”)

ประเด็นคำถาม

1.ชีวิตของมนุษย์มีค่าแต่มีมนุษย์

บางส่วนกล้าทำร้ายร่างกายของ

ตัวเองท่านคิดว่าเพราะเหตุใด

2.จากที่ท่านได้ทราบว่าอัลลอฮฺ

มีความเมตตาอันล้นพ้นต่อบ่าว

ของพระองค์ท่านควรทำอย่างไร

เพื่อใช้โอกาสนี้ให้เป็นผลดีต่อตัว

ท่านเองมากที่สุด

แนวคิดที่ควรได้

-เพราะเขาไม่รู้จักอัลลอฮฺและไม่มีความศรัทธา

ต่อพระองค์ดังนี้เขาจะได้รับบทลงโทษจาก

พระองค์ในวันอาคีรัต

-เขาตามอารมณ์ชั่ววูบนั่นก็คืออารมณ์ใฝ่ต่ำ

(นับซู)เขาจึงกล้าทำในสิ่งที่อัลลอฮฺทรงห้าม

-เราต้องรักษาชีวิตด้วยการดูแลตนเองไม่ทำร้าย

ตัวเองอย่างเด็ดขาดเพราะอัลลอฮฺได้ทรงมอบ

ร่างกายให้มนุษย์ดูแลรักษาซึ่งเป็นหน้าที่ที่เรา

ต้องปฏิบัติอย่างจริงจังเช่นเมื่อเจ็บป่วยต้องหา

ยาหรือพบหมอเพื่อรักษาโรคให้หายไป

-การเสพยาเสพติดเป็นการบริโภคสิ่งที่เป็นอันตราย

ต่อร่างกายจึงถือว่าเป็นการทำร้านตนเองและ

ทำให้ผู้อื่นเดือดร้อนเช่นทำให้พ่อแม่เสียใจ

ขโมยของเพื่อนบ้านเพื่อเอาเงินมาเสพยาและ

อาจโดนจับเข้าตาราง(เกิดความหายนะกับตนเอง)

จนที่สุดต้องตายจากการเสพยาหรือมีโรคร้าย

แทรกซ้อน

คู่มือศาสนบำบัด 62

Page 63: บทนำ - Ministry of Public Healthหลายคนเร ยกโลกสม ยน ว า“ย คสม ยส ดท ายความจร งจะเป นเช

แผนการจัดการเรียนรู้

ศาสนบำบัดสำหรับผู้ป่วยยาเสพติด เวลาในการสอน 60 นาที

หน่วยการเรียนรู้ที่ 10 เรื่อง ซินาเป็นบาปใหญ่

1. สาระสำคัญ

ซินาคือการร่วมประเวณีนอกสมรสเป็นบาปใหญ่ประการหนึ่งที่อิสลามห้ามและ

เตือนไม่ให้มุสลิมเข้าใกล้การกระทำนี้ เพราะถือว่าเป็นการกระทำสกปรกและเลวร้ายยิ่ง

มุสลิมต้องหลีกห่างจากสาเหตุต่างๆที่อาจนำเขาไปสู่การพลั้งเผลอกระทำผิดซินาการ

ซินานั้นเป็นบาปใหญ่ที่มีโทษหนักทั้งในโลกนี้และโลกหน้า

2. จุดประสงค์การเรียนรู้

1.เพื่อให้ผู้รับการบำบัดรู้และเข้าใจถึงความเสียหายของซินา

2. เพื่อให้ผู้รับการบำบัดตระหนักที่จะละเว้นและหลีกเลี่ยงการทำซินาและพฤติกรรม

อันเป็นสาเหตุของการซินา

3.เพื่อให้ผู้รับการบำบัดตระหนักว่าการแพร่ขยายของซินาคือสัญญาณหนึ่งของ

วันสิ้นโลก

3. กระบวนการจัดการเรียนรู้

3.1นำเข้าสู่บทเรียนโดยให้ผู้บำบัดยกตัวอย่างเหตุการณ์ที่เกี่ยวกับการซินา(5นาที)

3.2สุ่มถามผู้รับการบำบัด2-3คนเกี่ยวกับความรู้เรื่องศาสนาที่เกี่ยวข้อง(5นาที)

3.3ผู้สอนบรรยายให้ความรู้เกี่ยวกับเนื้อหาในใบความรู้(30นาที)

3.4ให้ผู้รับการบำบัดทำกิจกรรมตามประเด็นใบงานอาจจะแบ่งเป็นกลุ่มหรือ

รายบุคคล(10นาที)

63 คู่มือศาสนบำบัด

Page 64: บทนำ - Ministry of Public Healthหลายคนเร ยกโลกสม ยน ว า“ย คสม ยส ดท ายความจร งจะเป นเช

3.5สุ่มตัวแทนนำเสนอผลงาน2-3คนผู้สอนรวบรวมข้อสรุปและอภิปราย

เพิ่มเติม(10นาที)

4. สื่อการเรียนการสอน

4.1ภาพพลิก,ภาพโปสเตอร์

4.2ใบงาน

4.3กระดาษชาร์ต/กระดาษA4

5. กระบวนการประเมิน

5.1ประเมินความรู้

5.1.1การตอบคำถาม

5.1.2การแสดงความคิดเห็นขณะอภิปรายในกลุ่ม

5.1.3ผลการนำเสนอผลงานของแต่ละกลุ่มหรือแต่ละคน

5.2ประเมินผลการปฏิบัติ

5.2.1สังเกตพฤติกรรมการแสดงความคิดเห็นขณะทำการสอน

5.2.2ตรวจผลงานหรือดูความรับผิดชอบงานที่ได้รับมอบหมาย

5.3เครื่องมือในการประเมิน

5.3.1ใบงาน

5.3.2ผลงานที่ได้รับมอบหมาย

คู่มือศาสนบำบัด 64

Page 65: บทนำ - Ministry of Public Healthหลายคนเร ยกโลกสม ยน ว า“ย คสม ยส ดท ายความจร งจะเป นเช

ใบความรู้

จุดหมายของการมีชีวิต

ซินา คือการร่วมประเวณีนอกสมรส เป็นบาปใหญ่ประการหนึ่งที่อิสลามห้ามและ

เตือนไม่ให้มุสลิมเข้าใกล้การกระทำนี้ เพราะถือว่าเป็นการกระทำที่สกปรกและเลวร้ายยิ่ง

อัลลอฮฺได้ตรัสไว้มีใจความว่า“และสูเจ้าทั้งหลายอย่าได้เข้าใกล้การกระทำซินา เพราะแท้

จริงมันเป็นการกระทำที่โสมมและเลวร้ายยิ่ง”(อัลกุรอานซูเราะฮฺอัล-อิสรออฺ:32)

จากโองการอัลกุรอานข้างต้นแสดงให้เห็นว่า มุสลิมต้องหลีกห่างจากสาเหตุต่างๆ

ที่อาจจะนำเขาไปสู่การพลั้งเผลอกระทำผิดซินาทั้งนี้การซินานั้นเป็นบาปใหญ่ที่มีโทษหนัก

ทั้งในโลกนี้และโลกหน้า นอกจากนี้เราพบว่าในยุคสมัยปัจจุบันมีปัจจัยหลายอย่างที่อาจจะ

นำไปสู่การซินาได้โดยง่ายเช่นภาพลามกตามสื่อต่างๆสถานบริการที่มีอยู่มากมายวัฒนธรรม

การคบหาอย่างเสรีกับเพศตรงข้ามตามแบบฉบับของชาวตะวันตกฯลฯ

ภัยของการซินานั้นเห็นได้ชัดเจนในรูปแบบของโรคเอดส์ที่ระบาดหนักอยู่ในขณะนี้

นอกจากปัญหาโรคเอดส์แล้วซินายังไดด้ก่อให้เกิดผลพวงตามมามากมายในสังคมเช่นลูก

ที่เกิดจากความไม่ตั้งใจของพ่อแม่ขาดความอบอุ่นในครอบครัวแล้วในที่สุดเติบโตขึ้นมาสร้าง

ปัญหากับสังคมต่อไปปัญหาการขายตัวของเด็กสาวการทารุณกรรมทางเพศปัญหา

อาชญากรรมปัญหาด้านสาธารณสุขปัญหายาเสพติดปัญหาความเสื่อมโทรมทางศีลธรรม

ของเยาวชนฯลฯซึ่งล้วนเกี่ยวข้องกับการไม่ใส่ใจต่อปัญหาซินาซึ่งเป็นสาเหตุเบื้องต้นของ

ปัญหาต่างๆเหล่านี้

ด้วยเหตุที่ซินาสามารถก่อปัญหามากมายต่อสังคมอิสลามจึงได้กำหนดมาตรการ

ที่เข้มงวดเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดซินาขึ้นเช่นการห้ามไม่ให้มีการคลุกคลีและคบอย่างอิสระ

ระหว่างชายหญิงการกำหนดบทลงโทษสำหรับผู้ทำซินาคือการเฆี่ยนหนึ่งร้อยหวายสำหรับ

ผู้ที่ยังโสดและขว้างด้วยหินถ้าผู้กระทำผิดแต่งงานแล้วนอกจากนี้อิสลามยังส่งเสริมการ

แต่งงานเพื่อลดปัญหาการซินาท่านรอซูลศ็อลลัมลอฮฺอะลัยฮิวะสัลลัมได้กล่าวไว้มี

ความว่า“โอ้บรรดาผู้เป็นหนุ่มทั้งหลาย ผู้ใดที่มีความสามารถในหมู่พวกเจ้าก็จงแต่งงาน

เถิดเพราะมันจะช่วยสงวนอวัยวะเพศของพวกท่านจากการประพฤติผิดได้ดีกว่ามันจะ

ช่วยลดสายตาของพวกท่านให้ต่ำลง (เป็นผู้ที่สำรวมตนไม่มองสิ่งที่ผิดมากขึ้น)”

(รายงานโดยอัล-บุคอรีย์และมุสลิม)

อิสลามยังถือว่าการแพร่กระจายของซินาอย่างกลาดเกลื่อนนั้น คือความหายนะ

ของมนุษย์ชาติและเป็นสัญญาณบ่งชี้ว่าโลกกำลังเข้าใกล้จุดจบมากขึ้นทุกทีท่านรอซูล

65 คู่มือศาสนบำบัด

Page 66: บทนำ - Ministry of Public Healthหลายคนเร ยกโลกสม ยน ว า“ย คสม ยส ดท ายความจร งจะเป นเช

ศ็อลลัมลอฮฺอะลัยฮิวะสัลลัมได้กล่าวถึงสัญญาณของวันสิ้นโลกว่า“แท้จริงในจำนวน

สัญญาณต่างๆของวันสิ้นโลกนั้นคือการแพร่กระจายของซินาอย่างกลาดเกลื่อน”(รายงาน

โดยมุสลิม)

ข้อคิดที่ได้รับจากบทเรียน

1.อิสลามห้ามการกระทำซินาและถือว่าเป็นบาปใหญ่

2.การซินาเป็นต้นเหตุของปัญหาต่างๆมากมายในสังคมซึ่งกระทบต่อการใช้ชีวิต

อย่างสงบสุขของมนุษย์

3.อิสลามสั่งให้ระแวดระวังตนและหลีกห่างจากสาเหตุต่างๆที่อาจจะนำไปสู่การ

กระทำผิดซินา

4. อิสลามสนับสนุนให้ตอบสนองต่ออารมณ์ทางเพศด้วยวิธีที่ถูกต้องนั่นคือการ

แต่งงาน

5.การแพร่กระจายของซินาถือเป็นความหายนะที่น่ากลัวและเป็นสัญญาณหนึ่ง

ของวันสิ้นโลก

ใบงาน

คำชี้แจงให้ท่านทำกิจกรรมตามหัวข้อที่มอบหมาย(10นาที)แล้วนำเสนอผลงานโดยตอบ

คำถามตามประเด็นดังนี้

1.ท่านคิดว่าซินามีผลเสียต่อตัวมนุษย์และสังคมอย่างไรบ้าง

2.ท่านคิดว่ามีวิธีใดบ้างที่จะป้องกันตัวเองให้พ้นจากการทำซินา

3.ท่านคิดว่าปัญหาวัยรุ่นประพฤติผิดทางเพศควรแก้ปัญหาอย่างไร

คู่มือศาสนบำบัด 66

Page 67: บทนำ - Ministry of Public Healthหลายคนเร ยกโลกสม ยน ว า“ย คสม ยส ดท ายความจร งจะเป นเช

ใบความรู้สำหรับผู้สอน

(แผนการสอนเรื่อง “ซินาเป็นบาปใหญ่”)

ประเด็นคำถาม

1.ท่านคิดว่าซินามีผลเสียต่อตัวเอง

และสังคมอย่างไรบ้างต่อตนเอง

2.ท่านคิดว่ามีวิธีใดบ้างที่จะป้องกัน

ตัวเองให้พ้นจากการทำซินา

แนวคิดที่ควรได้

ต่อตนเอง

-อาจทำให้เกิดโรคทางเพศสัมพันธ์เช่นโรคเอดส์

โรคซิฟิลิส

-ต้องออกจากโรงเรียนตั้งครรภ์โดยไม่ตั้งใจ

-ทำให้พ่อแม่ต้องอับอายเสียชื่อเสียง

ต่อสังคม

-ปัญหาเยาวชนเช่นเด็กจรจัดอันธพาล

-ปัญหาโสเภณีเช่นการขายตัวของเด็กสาวเพื่อ

นำเงินมาใช้จ่ายเที่ยวเตร่และเสพยาเสพติด

-ปัญหาอาชญากรรมเช่นแม่ฆ่าลูกการทำแท้ง

-ปัญหาความเสื่อมโทรมทางศีลธรรมของเยาวชน

เพราะเขาจะถือว่าเป็นเรื่องธรรมดาใครไม่เคย

ทำคือคนรุ่นเก่าไม่ทันสมัย(ไม่จ๊าบ)

-ไม่คลุกคลีและคบเพื่อนต่างเพศจนเกินขอบเขต

คำว่า“เพื่อน”

-หลีกเลี่ยงการดูสิ่งลามกจากสื่อต่างๆ

-ให้รีบแต่งงานอย่างถูกต้องตามประเพณีเมื่อถึง

วัยอันควรเพื่อทำให้ลดการเกิดอารมณ์ใคร่

ใบความรู้สำหรับผู้สอน(แผนการสอนเรื่อง“ซินา

เป็นบาปใหญ่”)

67 คู่มือศาสนบำบัด

Page 68: บทนำ - Ministry of Public Healthหลายคนเร ยกโลกสม ยน ว า“ย คสม ยส ดท ายความจร งจะเป นเช

ใบความรู้สำหรับผู้สอน

(แผนการสอนเรื่อง “ซินาเป็นบาปใหญ่”)

ประเด็นคำถาม

3.ท่านคิดว่าปัญหาวัยรุ่นประพฤติ

ผิดทางเพศควรแก้ปัญหาอย่างไร

แนวคิดที่ควรได้

-ไม่ทำตามอารยธรรมยุโรปในการคบหาเพื่อน

ต่างเพศ

-การให้ความรู้เรื่องเพศสัมพันธ์ที่ถูกต้องแก่

เยาวชนพร้อมกับการสอดแทรกเรื่องศีลธรรม

ในการหลีกเลี่ยงการซินาและพ่อแม่ควรจะหันมา

สนใจกับการคบเพื่อนของลูกให้มากขึ้น

คู่มือศาสนบำบัด 68

Page 69: บทนำ - Ministry of Public Healthหลายคนเร ยกโลกสม ยน ว า“ย คสม ยส ดท ายความจร งจะเป นเช

แผนการจัดการเรียนรู้

ศาสนบำบัดสำหรับผู้ป่วยยาเสพติด เวลาในการสอน 60 นาที

หน่วยการเรียนรู้ที่ 11 เรื่องเพื่อนดีเป็นศรีแก่ตัว

1.สาระสำคัญ

มนุษย์ไม่สามารถที่จะมีชีวิตอยู่ได้อย่างมีความสุขถ้าหากเขาไม่มีเพื่อนที่สามารถ

ร่วมแบ่งปันความสุขและแบ่งเบาความทุกข์ด้วยกัน การคบเพื่อนที่ดีเสมือนว่าได้ของดีและ

ช่วยส่งเสริมสนับสนุนให้เรามีอะไรดีๆเข้ามาในชีวิตแต่ถ้าคบเพื่อนชั่วก็เท่ากับว่ากำลัง

เดินตามหลังเพื่อนไปหาความชั่วนั่นเอง

2.จุดประสงค์การเรียนรู้

1.เพื่อให้ผู้รับการบำบัดได้ตระหนักถึงความสำคัญของการเลือกเพื่อนที่ดี

2.เพื่อให้ผู้รับการบำบัดได้ตระหนักถึงอิทธิพลของเพื่อนต่อพฤติกรรมต่างๆของ

มนุษย์

3.กระบวนการจัดการเรียนรู้

3.1นำข้าสู่บทเรียนโดยให้ผู้บำบัดเล่าถึงเพื่อนที่ดีและไม่ดี(5นาที)

3.2สุ่มถามผู้รับการบำบัด2-3คนเกี่ยวกับความรู้เรื่องศาสนาที่เกี่ยวข้อง(5นาที)

3.3ผู้สอนบรรยายให้ความรู้เกี่ยวกับเนื้อหาในใบความรู้(30นาที)

3.4ให้ผู้รับการบำบัดทำกิจกรรมตามประเด็นใบงานอาจจะแบ่งเป็นกลุ่มหรือ

รายบุคคล(10นาที)

3.5สุ่มตัวแทนนำเสนอผลงาน2-3คนผู้สอนรวบรวมข้อสรุปและอภิปราย

เพิ่มเติม(10นาที)

69 คู่มือศาสนบำบัด

Page 70: บทนำ - Ministry of Public Healthหลายคนเร ยกโลกสม ยน ว า“ย คสม ยส ดท ายความจร งจะเป นเช

4. สื่อการเรียนการสอน

4.1ภาพพลิก,ภาพโปสเตอร์

4.2ใบงาน

4.3กระดาษชาร์ต/กระดาษA4

5. กระบวนการประเมิน

5.1ประเมินความรู้

5.1.1การตอบคำถาม

5.1.2การแสดงความคิดเห็นขณะอภิปรายในกลุ่ม

5.1.3ผลการนำเสนอผลงานของแต่ละกลุ่มหรือแต่ละคน

5.2ประเมินผลการปฏิบัติ

5.2.1สังเกตพฤติกรรมการแสดงความคิดเห็นขณะทำการสอน

5.2.2ตรวจผลงานหรือดูความรับผิดชอบงานที่ได้รับมอบหมาย

5.3เครื่องมือในการประเมิน

5.3.1ใบงาน

5.3.2ผลงานที่ได้รับมอบหมาย

คู่มือศาสนบำบัด 70

Page 71: บทนำ - Ministry of Public Healthหลายคนเร ยกโลกสม ยน ว า“ย คสม ยส ดท ายความจร งจะเป นเช

ใบความรู้

เพื่อนดีเป็นศรีแก่ตัว

พฤติกรรมต่างๆของมนุษย์ทั้งในทางที่ดีและชั่วได้รับอิทธิพลมาจากหลายๆ

ปัจจัยหนึ่งในจำนวนนั้นก็คือการคบเพื่อนเพื่อนฝูงและมิตรสหายนับได้ว่ามีความสำคัญ

ต่อมนุษย์แต่ละคนโดยธรรมชาติของคนๆหนึ่งไม่สามารถที่จะมีชีวิตอยู่ได้อย่างมีความสุข

ถ้าหากไม่มีเพื่อนที่สามารถร่วมแบ่งปันความสุขและแบ่งเบาความทุกข์ด้วยกัน ซึ่งบุคคลที่

เป็นเพื่อนกันมักจะมีอะไรบางอย่างที่พอจะเป็นจุดดึงดูดให้สามารถคบหากันได้เช่นความ

ชอบในบางสิ่งบางอย่างที่คล้ายกันอุปนิสัยใจคอที่ตรงกันเป็นต้นดังนนั้นผู้เป็นเพื่อนจึงมัก

จะมีอิทธิพลต่อกลุ่มเพื่อนด้วยกันอยู่เสมอเพราะต้องอยู่ด้วยกันกินด้วยกันทำอะไรด้วย

กันตลอดเวลาและเป็นวัยที่มักเลียนแบบซึ่งกันและกัน

การเลือกเพื่อนจึงมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งเพราะถ้าได้คบเพื่อนที่ดีก็เสมือนว่าได้

ของดีมาช่วยส่งเสริมสนับสนุนให้เราดีมากขึ้น แต่ถ้าได้เพื่อนชั่วก็เท่ากับว่ากำลังเดินตาม

หลังเพื่อนไปหาความชั่วนั่นเองด้วยเหตุนี้ท่านรอซูลศ็อลลัลลอฮฺอะลัยฮิวะสัลลัมจึงได้

เปรียบเทียบระหว่างเพื่อนดีและเพื่อนชั่วว่าเหมือนคนขายน้ำหอมและช่างตีเหล็กในหะดีษ

ของท่านบทหนึ่งมีใจความว่า“อุปมามิตรที่ดีและที่ชั่วนั้น เปรียบได้กับคนขายน้ำหอม

และช่างตีเหล็ก เพื่อนดีคือคนขายน้ำหอมซึ่งเขาอาจจะแจกน้ำหอมให้ท่านหรือไม่ท่าน

ก็ได้ซื้อน้ำหอมจากเขา เพื่อนชั่วก็คือช่างตีเหล็กซึ่งเขาอาจจะทำให้ลูกไฟกระเด็นไปโดน

เสื้อผ้าของท่านไหม้ หรือไม่ก็ท่านจะต้องได้รับกลิ่นเหม็นจากเขา”(รายงานโดยอัล-

บุคอรีย์และมุสลิม)

เพื่อนดีมักจะช่วยเหลือเพื่อนในทางที่ดี ในยามที่เพื่อนทำผิดเขากล้าที่จะเตือนสติ

ให้เพื่อนสำนึกและคิดได้ คอยให้กำลังใจในทางถูกต้อง มีความจริงใจที่ต้องการให้เพื่อนได้

ดีและหลีกห่างจากความชั่วและในบางครั้งเขาต้องเป็นตัวอย่างที่ดีเพื่อชักจูงเพื่อนๆและ

คนอื่นๆให้อยากเป็นคนดีเช่นเดียวกับเขาส่วนเพื่อนที่ไม่ดีนั้นส่วนใหญ่มีอิทธิพลในทาง

ที่ไม่สมควรมักจะชักจูงกันทำในสิ่งที่ไม่ดีทั้งหลายโดยไม่คิดไตร่ตรองถึงความถูกต้องและ

ผลที่ตามมาอาจจะทำให้มีนิสัยเป็นอันธพาล และผลที่แน่นอนของการคบเพื่อนที่ไม่ดีก็คือ

ทำให้เสื่อมเสียชื่อเสียงเป็นที่ครหาเพราะคบอยู่กับกลุ่มเพื่อนไม่ดีและเป็นที่ทราบกันอย่าง

ชัดเจนว่าปัญหาต่างๆที่เกี่ยวกับวัยรุ่นในปัจจุบันเช่นพฤติกรรมเบี่ยงเบนติดยาเสพติด

แก้งค์กวนเมืองฯลฯมักจะมีกลุ่มเพื่อนมาเกี่ยวข้องแทบทั้งสิ้นและสร้างความเดือดร้อน

ให้กับผู้อื่นอยู่เป็นนิจ

71 คู่มือศาสนบำบัด

Page 72: บทนำ - Ministry of Public Healthหลายคนเร ยกโลกสม ยน ว า“ย คสม ยส ดท ายความจร งจะเป นเช

ดังนั้นจึงจำเป็นต้องฉลาดเลือกและฉลาดคบหากับเพื่อน โดยควรเลือกเพื่อนที่ดี

เป็นมิตรเพื่อให้สามารถช่วยเหลือซึ่งกันและกันได้นอกจากนี้ตัวเราเองก็ควรเป็นเพื่อนที่ดี

แก่เพื่อนสามารถให้คำแนะนำหรือคำตักเตือนแก่เพื่อนเมื่อเห็นเพื่อประพฤติไม่เหมาะสม

และต้องรีบตักเตือนเพื่อนด้วยความหวังดี โดยถือว่าเป็นการช่วยเหลือซึ่งกันและกันซึ่งเป็น

สิ่งที่อิสลามสนับสนุนอย่างยิ่งที่สำคัญอีกประการหนึ่งก็คือในวันอาคิเราะฮฺเราจะต้องอยู่

กับเพื่อนที่เรารักอีกครั้งหนึ่งไม่ว่าจะเป็นสถานที่อันสงบสุขในสวรรค์หรือสถานที่แห่งการ

ทรมานในไฟนรกเช่นที่ท่านรอซูลศ็อลลัลลอฮฺอะลัยฮิวะสัลลัมได้กล่าวไว้มีใจความว่า

“คนๆ หนึ่งนั้นจะอยู่กับคนที่เขารัก”(รายงานโดยอัล-บุคอรีย์และมุสลิม)

ข้อคิดที่ได้รับจากบทเรียน

1.การคบเพื่อนมีอิทธิพลที่สำคัญต่อพฤติกรรมของมนุษย์

2.ควรเลือกคบเพื่อนที่ดีเพื่อเป็นการช่วยเหลือซึ่งกันและกันระหว่างเพื่อนฝูง

3.ควรเป็นตัวอย่างที่ดีแก่เพื่อนและให้คำแนะนำและคำตักเตือนได้เมื่อเพื่อน

หลงผิดหรือประพฤติไม่เหมาะสม

คู่มือศาสนบำบัด 72

Page 73: บทนำ - Ministry of Public Healthหลายคนเร ยกโลกสม ยน ว า“ย คสม ยส ดท ายความจร งจะเป นเช

ใบงาน

คำชี้แจงให้ท่านทำกิจกรรมตามหัวข้อที่มอบหมาย(10นาที)แล้วนำเสนอผลงานโดยตอบ

คำถามตามประเด็นดังนี้

1.ท่านคิดว่าเพื่อนมีอิทธิพลต่อนิสัยและพฤติกรรมของท่านอย่างไรบ้าง

2.ท่านคิดว่ามีวิธีในการคบเพื่อนในทางสร้างสรรค์อย่างไรบ้าง

3.ท่านสามารถให้คำแนะนำและคำตักเตือนอย่างไรเมื่อเพื่อนหลงผิดหรือ

ประพฤติไม่เหมาะสม

73 คู่มือศาสนบำบัด

Page 74: บทนำ - Ministry of Public Healthหลายคนเร ยกโลกสม ยน ว า“ย คสม ยส ดท ายความจร งจะเป นเช

ใบความรู้สำหรับผู้สอน

(แผนการสอนเรื่อง “เพื่อนดีเป็นศรีแต่ตัว”)

ประเด็นคำถาม

1.ท่านคิดว่าเพื่อนมีอิทธิพลต่อ

นิสัยและพฤติกรรมของท่าน

อย่างไรคบเพื่อนที่ไม่ดี

2.ท่านคิดว่ามีวิธีในการคบเพื่อน

ในทางสร้างสรรค์อย่างไร

3.ท่านสามารถให้คำแนะนำและ

ตักเตือนอย่างไรเมื่อเพื่อนหลงผิด

หรือประพฤติไม่เหมาะสม

แนวคิดที่ควรได้

คบเพื่อนไม่ดี

- ก่อปัญหาอาชญากรรม และเสียอนาคตในที่สุด

-ทำให้ต้องมาเสพยาเสพติดเพราะอยู่ในกลุ่ม

เดียวกัน

คบเพื่อนดี

-ทำให้มีกำลังใจในการเลิกเสพยาเพราะให้คำ

ปรึกษาที่ดีๆ

-เป็นตัวอย่างให้ปฏิบัติตามในทางที่สร้างสรรค์

-ตักเตือนซึ่งกันและกันและนำชีวิตให้เจริญยิ่งๆ

ขึ้นไป

-ควรคบเพื่อนที่ดีไม่เกเรเพราะการคบเพื่อนที่ดี

ทำให้เราปลอดภัยจากการทำชั่วและมีอะไรดีๆ

เข้ามาในชีวิตส่วนเพื่อนที่ไม่ดีเราก็สามารถคบ

ได้แต่เราต้องมีวิจารณญานในการเลือกปฏิบัติ

ตามเพื่อนทำให้เราได้เรียนรู้และสามารถหลีก

เลี่ยงในการกระทำชั่ว

-ต้องมีความจริงใจและหวังดีกับเพื่อนอย่างแท้

จริงและให้คำปรึกษาที่จะทำให้เพื่อนและตนเอง

ทำแต่ในสิ่งที่ดีๆและประคับประคองกันเพื่อให้

สามารถหลีกเลี่ยงสิ่งเสพติดและอบายมุขทั้ง

หลายได้อย่างถาวรและสามารถดำเนินชีวิต

ประจำวันในแนวทางของอัลลอฮฺได้

คู่มือศาสนบำบัด 74

Page 75: บทนำ - Ministry of Public Healthหลายคนเร ยกโลกสม ยน ว า“ย คสม ยส ดท ายความจร งจะเป นเช

แผนการจัดการเรียนรู้

ศาสนบำบัดสำหรับผู้ป่วยยาเสพติด เวลาในการสอน 60 นาที

หน่วยการเรียนรู้ที่ 12 เรื่อง ค่าของชีวิต

1. สาระสำคัญ

ชีวิตของมนุษย์จะไม่มีคุณค่าใดๆถ้าหากไม่สำนึกตนว่าเป็นบ่าวของอัลลอฮและ

ดำเนินชีวิตบนเส้นทางแห่งคุณธรรมตามที่อัลลอฮฺได้กำหนดไว้ ยิ่งถ้าหากเขาใช้สิ่งต่างๆที่

พระองค์ประทานให้มาในทางที่ผิดประกอบความชั่วและไม่ระลึกถึงคุณของพระองค์ชีวิต

ของเขาก็จะเป็นชีวิตที่น่าเหยียดหยามเพราะกลายเป็นผู้เนรคุณและไม่รู้จักตัวเอง

2. จุดประสงค์การเรียนรู้

1.เพื่อให้ผู้รับการบำบัดได้เข้าใจถึงคุณค่าที่แท้จริงของการมีชีวิต

2.เพื่อให้ผู้รับการบำบัดตระหนักถึงวิธีการใช้ชีวิตอย่างมีคุณค่า

3. กระบวนการจัดการเรียนรู้

3.1นำเข้าสู่บทเรียนโดยให้ผู้รับบำบัดยกตัวอย่างความดีของตนเอง(5นาที)

3.2สุ่มถามผู้รับการบำบัด2-3คนเกี่ยวกับความรู้เรื่องศาสนาที่เกี่ยวข้อง(5นาที)

3.3ผู้สอนบรรยายให้ความรู้เกี่ยวกับเนื้อหาในใบความรู้(30นาที)

3.4ให้ผู้รับการบำบัดทำกิจกรรมตามประเด็นใบงานอาจจะแบ่งเป็นกลุ่มหรือ

รายบุคคล(10นาที)

3.5สุ่มตัวแทนนำเสนอผลงาน2-3คนผู้สอนรวบรวมข้อสรุปและอภิปราย

เพิ่มเติม(10นาที)

75 คู่มือศาสนบำบัด

Page 76: บทนำ - Ministry of Public Healthหลายคนเร ยกโลกสม ยน ว า“ย คสม ยส ดท ายความจร งจะเป นเช

4. สื่อการเรียนการสอน

4.1ภาพพลิก,ภาพโปสเตอร์

4.2ใบงาน

4.3กระดาษชาร์ต/กระดาษA4

5. กระบวนการประเมิน

5.1ประเมินความรู้

5.1.1การตอบคำถาม

5.1.2การแสดงความคิดเห็นขณะอภิปรายในกลุ่ม

5.1.3ผลการนำเสนอผลงานของแต่ละกลุ่มหรือแต่ละคน

5.2ประเมินผลการปฏิบัติ

5.2.1สังเกตพฤติกรรมการแสดงความคิดเห็นขณะทำการสอน

5.2.2ตรวจผลงานหรือดูความรับผิดชอบงานที่ได้รับมอบหมาย

5.3เครื่องมือในการประเมิน

5.3.1ใบงาน

5.3.2ผลงานที่ได้รับมอบหมาย

คู่มือศาสนบำบัด 76

Page 77: บทนำ - Ministry of Public Healthหลายคนเร ยกโลกสม ยน ว า“ย คสม ยส ดท ายความจร งจะเป นเช

ใบความรู้

คุณค่าของชีวิต

มนุษย์เป็นสิ่งมีชีวิตที่ประเสริฐซึ่งมีอัลลอฮฺได้ให้บังเกิดมาบนโลกนี้อัลลอฮฺได้

สร้างมนุษย์ให้มีรูปลักษณ์ที่งดงามเพียบพร้อมด้วยสติปัญญาและความนึกคิดไม่เหมือน

สิ่งมีชีวิตอื่นๆพระองค์ได้ตรัสไว้มีความว่า“แท้จริงแล้วเราได้สร้างมนุษย์ขึ้นด้วยลักษณะ

ที่ดียิ่ง”(อัลกุรอานซูเราะฮฺอัต-ตีน:4)พระองค์ได้กำหนดให้มีสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ

มากมายแก่เผ่าพันธ์ุมนุษย์ไม่ว่าจะเป็นพืชพรรณต่างๆสัตว์ทุกชนิดทุกประเภทและ

ธรรมชาติอื่นๆอีกมากมายเช่นที่พระองค์ได้มีดำรัสไว้ความว่า“พระองค์คือ ผู้ทรงสร้าง

สิ่งต่างๆ ทั้งหมดบนแผ่นดินเพื่อพวกเจ้า”(อัลกุรอานซูเราะฮฺอัล-บะเกาะเราะฮฺ:29)

สิ่งเหล่านี้นับเป็นเครื่องหมายแห่งเกียรติและคุณค่าที่อัลลอฮฺได้ให้ความสำคัญกับ

มนุษย์พระองค์ได้ตรัสไว้มีความว่า“และแท้จริงแล้วเราได้มอบเกียรติให้แก่ลูกหลาน

อาดัม (คือเผ่าพันธ์ุมนุษย์) เราได้บรรทุกพวกเขาทั้งทางบกและทางน้ำ ได้ประทาน

ปัจจัยที่ดีต่างๆ และยกย่องให้เกียรติพวกเขาเหนือสิ่งอื่นที่เราได้สร้างขึ้นมา” (อัลกุรอาน

ซูเราะฮฺอัล-อิสรออฺ:70)

มนุษย์จึงต้องรู้จักคุณค่าของตัวเองว่า ตนเป็นสิ่งที่ถูกสร้างที่ได้รับการให้จากอัลลอฮฺ

ทั้งนี้ เพื่อให้มนุษย์รู้จักใช้สิ่งต่างๆ เหล่านั้นเพื่อการดำรงชีวิตที่ดีพร้อมทั้งระลึกถึงคุณความ

ดีของอัลลอฮฺที่ได้ประทานปัจจัยต่างๆมากมายแก่เขา

ชีวิตของมนุษย์จะไม่มีคุณค่าใดๆถ้าหากไม่สำนึกตนว่าเป็นบ่าวของอัลลอฮฺและ

ดำเนินชีวิตบนเส้นทางแห่งคุณธรรมตามที่อัลลอฮฺได้กำหนดไว้ ยิ่งถ้าหากเขาใช้สิ่งต่างๆที่

พระองค์ประทานให้มาในทางที่ผิดประกอบความชั่วและไม่ระลึกถึงคุณของพระองค์ชีวิต

ของเขาก็จะเป็นชีวิตที่น่าเหยียดหยามเพราะกลายเป็นผู้เนรคุณและไม่รู้จักตัวเองคุณค่า

ของมนุษย์จะเกิดขึ้นได้ด้วยการรู้จักธาตุแท้ของตัวเองเป็นอันดับแรกรู้จักว่าตนนั้นมีชีวิต

อยู่ได้ด้วยความกรุณาของอัลลอฮฺเมื่อรู้เช่นนั้นแล้วก็ต้องแสดงความขอบคุณต่อพระองค์

ด้วยการปฏิบัติตนตามคำสั่งที่พระองค์ได้ทรงใช้ การปฏิบัติตนด้วยการเชื่อฟังต่ออัลลอฮฺ

จะก่อให้เกิดผลดีต่อตัวมนุษย์เองเพราะเป็นการผูกพันกับพระองค์ตลอดเวลาสิ่งนี้นั่นเอง

ที่ทำให้ชีวิตของมนุษย์นั้นมีคุณค่าและทำให้มนุษย์รู้จักคุณค่าของตัวเอง

นอกจากการสร้างความผูกพันกับฮัลลอฮฺเพื่อสร้างคุณค่าให้กับตัวเองแล้วการอุทิศ

ตนเพื่อประโยชน์ของส่วนรวมก็เป็นคุณค่าของชีวิตอีกระดับหนึ่งที่สูงกว่าคุณค่าในระดับ

แรกการอุทิศตนอาจจะอยู่ในรูปแบบของการช่วยส่งเสริมศาสนาและจริยธรรมของสังคม

77 คู่มือศาสนบำบัด

Page 78: บทนำ - Ministry of Public Healthหลายคนเร ยกโลกสม ยน ว า“ย คสม ยส ดท ายความจร งจะเป นเช

การช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ในรูปแบบต่างๆการร่วมมือกันเพื่อสร้างสังคมที่ดีและช่วย

กันสอดส่องดูแลไม่ให้เกิดความชั่วร้ายในสังคมเป็นต้น

อัลลอฮฺได้ตรัสไว้มีความว่า“ผู้ใดอีกที่จะดีกว่าบุคคลผู้ซึ่งเชิญชวนสู่อัลลอฮฺ

(คือร่วมกันเชิญชวนผู้คนให้เคารพภักดีอัลลอฮฺและดำเนินชีวิตตามหนทางของพระองค์

โดยเขาได้ปฏิบัติความดีงานและได้กล่าวว่า แท้จริงฉันเป็นหนึ่งในบรรดามุสลิม

ผู้มอบตน (ต่ออัลลอฮฺ)”(อัลกุรอานซูเราะฮฺฟุศศิลัต:33)

ข้อคิดที่ได้รับจากบทเรียน

1. คุณค่าของมนุษย์อยู่ที่การรู้จักตัวเองว่าเป็นบ่าวของอัลลอฮฺและดำเนินชีวิตอยู่

ในหนทางของพระองค์

2.มนุษย์ควรระลึกถึงคุณความดีและเกียรติที่อัลลอฮฺได้ประทานให้แก่เขาอยู่เสมอ

3.การเชื่อฟังและเคารพภักดีอัลลอฮฺจะก่อให้เกิดคุณค่ากับตัวมนุษย์เองเพราะ

เป็นการสร้างสัมพันธ์กับอัลลอฮฺ

4.การอุทิศตนเพื่อความดีงามของสังคมโดยส่วนรวมเป็นคุณค่าที่อิสลามสนับ

สนุนให้ทำเป็นอย่างยิ่ง

คู่มือศาสนบำบัด 78

Page 79: บทนำ - Ministry of Public Healthหลายคนเร ยกโลกสม ยน ว า“ย คสม ยส ดท ายความจร งจะเป นเช

ใบงาน

คำชี้แจงให้ท่านทำกิจกรรมตามหัวข้อที่มอบหมาย(10นาที)แล้วนำเสนอผลงานโดยตอบ

คำถามตามประเด็นดังนี้

1.ท่านคิดว่าอะไรคือคุณค่าในชีวิตของท่าน

2.ท่านคิดว่าท่านสามารถสร้างคุณค่าในชีวิตของท่านได้อย่างไรบ้าง

79 คู่มือศาสนบำบัด

Page 80: บทนำ - Ministry of Public Healthหลายคนเร ยกโลกสม ยน ว า“ย คสม ยส ดท ายความจร งจะเป นเช

ใบความรู้สำหรับผู้สอน

(แผนการสอนเรื่อง “คุณค่าของชีวิต”)

ประเด็นคำถาม

1.ท่านคิดว่าอะไรคือคุณค่าในชีวิต

ของท่าน

2.ท่านคิดว่าท่านสามารถสร้าง

คุณค่าในชีวิตของท่านได้อย่าง

ไรบ้าง

แนวคิดที่ควรได้

-การได้ทำความดีและอยู่ในแนวทางของ

อัล-อิสลาม

-การเลิกเสพยาเสพติด

-การได้ทดแทนบุญคุณพ่อแม่

-การเป็นคนดีในสังคมไม่เบียดเบียนกันไม่ทำให้

ผู้อื่นเดือดร้อน

-การช่วยเหลือผู้ที่ด้อยโอกาสบริจาคทานจ่าย

ซากาตแก่ผู้ยากจน

-สำนึกตนว่าเป็นบ่าวของอัลลอฮฺและดำเนินชีวิต

บนเส้นทางแห่งคุณธรรมตามที่อัลลอฮฺได้กำหนด

ไว้

-ระลึกถึงคุณความดีของอัลลอฮฺที่ได้ประทาน

บัจจัยต่างๆให้มนุษย์และไม่เนรคุณพระองค์

-ใช้ปัจจัยต่างๆในทางที่ถูกต้อง

-ผูกสัมพันธ์กับพระองค์อัลลอฮฺตลอดเวลาและ

ช่วยส่งเสริมศาสนาจริยธรรมของส่วนรวม

-อุทิศตนเพื่อประโยชน์ของส่วนรวม

-ช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์โดยไม่คำนึงถึงว่าเขาจะ

นับถือศาสนาใด

-ร่วมมือกันสร้างสังคมที่ดีโดยการสอดส่องดูแล

ไม่ให้เกิดความช่วยร้ายในสังคมรวมทั้งการ

ประสานความร่วมมือทุกคนทุกฝ่ายในการแก้

ปัญหาสังคม

คู่มือศาสนบำบัด 80

Page 81: บทนำ - Ministry of Public Healthหลายคนเร ยกโลกสม ยน ว า“ย คสม ยส ดท ายความจร งจะเป นเช

แผนการจัดการเรียนรู้

ศาสนบำบัดสำหรับผู้ป่วยยาเสพติด เวลาในการสอน 60 นาที

หน่วยการเรียนรู้ที่ 13 เรื่องพระคุณพ่อแม่

1. สาระสำคัญ

ความกตัญญูและการทำดีต่อพ่อแม่นั้นเป็นหน้าที่ที่สูงส่งและสำคัญรองลงมาจาก

การเคารพภักดีต่ออัลลอฮและมีความประเสริฐกว่าออกไปต่อสู้ในหนทางของอัลลอฮฺดัง

นั้นอิสลามจึงได้สั่งกำชับให้มนุษย์ทุกคนทำความดีและแสดงความกตัญญูต่อบิดามารดา

2. จุดประสงค์การเรียนรู้

1.เพื่อให้ผู้รับการบำบัดได้รู้ถึงสถานะของพ่อแม่ในอิสลาม

2.เพื่อให้ผู้รับการบำบัดตระหนักถึงความสำคัญของการกตัญญูต่อพ่อแม่

3.เพื่อให้ผู้รับการบำบัดได้รู้ถึงวิธีการทำดีต่อพ่อแม่

3. กระบวนการจัดการเรียนรู้

3.1นำเข้าสู่บทเรียนโดยให้ผู้รับการบำบัดนึกทบทวนว่าตนเองเคยทำอะไรให้พ่อ

แม่ดีใจหรือเสียใจ(5นาที)

3.2สุ่มถามผู้รับการบำบัด2-3คนเกี่ยวกับความรู้เรื่องศาสนาที่เกี่ยวข้อง(5นาที)

3.3ผู้สอนบรรยายให้ความรู้เกี่ยวกับเนื้อหาในใบความรู้(30นาที)

3.4ให้ผู้รับการบำบัดทำกิจกรรมตามประเด็นใบงานอาจจะแบ่งเป็นกลุ่มหรือ

รายบุคคล(10นาที)

3.5สุ่มตัวแทนนำเสนอผลงาน2-3คนผู้สอนรวบรวมข้อสรุปและอภิปราย

เพิ่มเติม(10นาที)

81 คู่มือศาสนบำบัด

Page 82: บทนำ - Ministry of Public Healthหลายคนเร ยกโลกสม ยน ว า“ย คสม ยส ดท ายความจร งจะเป นเช

4. สื่อการเรียนการสอน

4.1ภาพพลิก,ภาพโปสเตอร์

4.2ใบงาน

4.3กระดาษชาร์ต/กระดาษA4

5. กระบวนการประเมิน

5.1ประเมินความรู้

5.1.1การตอบคำถาม

5.1.2การแสดงความคิดเห็นขณะอภิปรายในกลุ่ม

5.1.3ผลการนำเสนอผลงานของแต่ละกลุ่มหรือแต่ละคน

5.2ประเมินผลการปฏิบัติ

5.2.1สังเกตพฤติกรรมการแสดงความคิดเห็นขณะทำการสอน

5.2.2ตรวจผลงานหรือดูความรับผิดชอบงานที่ได้รับมอบหมาย

5.3เครื่องมือในการประเมิน

5.3.1ใบงาน

5.3.2ผลงานที่ได้รับมอบหมาย

คู่มือศาสนบำบัด 82

Page 83: บทนำ - Ministry of Public Healthหลายคนเร ยกโลกสม ยน ว า“ย คสม ยส ดท ายความจร งจะเป นเช

ใบความรู้

พระคุณพ่อแม่

พ่อและแม่เป็นบุคคลสำคัญที่สุดในชีวิตของมนุษย์แต่ละคน ทั้งสองคือผู้ให้กำเนิด

ผู้เลี้ยงดูอบรมสั่งสอนลูกตั้งแต่ยังเป็นทารกแบเบาะด้วยความเหนื่อยยากลำบากจนเขา

เติบโตเป็นผู้ใหญ่มีงานการทำและมีครอบครัวเป็นของตนเอง ด้วยเพราะพ่อแม่มีความสำคัญ

ต่อบุตรมาก อิสลามจึงได้สั่งกำชับให้มนุษย์ทุกคนทำดีและแสดงความกตัญญูต่อบิดามารดา

ของตน ความกตัญญูและการทำดีต่อพ่อแม่นั้นเป็นหน้าที่ที่สูงส่งและสำคัญรองลงมาจาก

การเคารพภักดีอัลลอฮฺเลยทีเดียวเช่นที่พระองค์ได้ตรัสไว้มีความว่า“สูเจ้าทั้งหลายจงเคารพ

ภักดีอัลลอฮฺและอย่าได้ตั้งภาคีใดๆ ต่อพระองค์ และกับบิดามารดานั้นสูเจ้าจงทำดีกับ

ทั้งสอง”(อัลกุรอานซูเราะฮฺอัน-นิสาอฺ:36)

ครั้งหนึ่งมีผู้ถามท่านรอซูลศ็อลลัลลอฮฺอะลัยฮิวะสัลลัมว่าสิ่งใดถือว่าเป็นงานที่

ประเสริฐที่สุดท่านได้ตอบว่า“การละหมาดในเวลา การทำดีต่อบิดามารดา และการ

ต่อสู้ในหนทางของอัลลอฮฺ”(รายงานโดยอัล-บุคอรีย์)

จากลำดับที่ถูกกล่าวถึงในหะดีษแสดงให้เห็นว่า การทำดีต่อบิดามารดานั้นมีความ

ประเสริฐว่าออกไปต่อสู้ในหนทางของอัลลอฮฺเช่นมีเหตุการณ์ครั้งหนึ่งในสมัยของท่าน

รอซูลศ็อลลัลลอฮฺอะลัยฮิวะสัลลัมที่ได้มีชายผู้หนึ่งมาขออนุญาตท่านออกไปร่วมรบใน

สงครามท่านรอซูลได้ถามชายผู้นั้นว่าเขายังมีพ่อแม่อยู่อีกไหมเขาตอบว่ายังมีดังนี้ท่าน

จึงสั่งให้ชายผู้นั้นกลับไปดูแลพ่อแม่ของเขาด้วยการกล่าวว่า“จงอยู่ดูแลคนทั้งสอง เพราะ

แท้จริงสวรรค์นั้นอยู่ใต้ฝ่าเท้าของทั้งสองคน (คือด้วยการทำดีต่อพ่อแม่)”(รายงานโดย

อัต-เฏาะบะรอนีย์)

การอกตัญญูหรือการเนรคุณพ่อแม่นั้นถือว่าเป็นบาปใหญ่ที่ต้องได้รับการลงโทษ

อย่างแสนสาหัสในวันอาคิเราะฮฺท่านรอซูลค็อลลัลลอฮฺอะลัยฮิวะสัลลัมได้กล่าวไว้มี

ความว่า“ในจำนวนบาปใหญ่ทั้งหลายคือการเนรคุณต่อพ่อแม่”(รายงานโดยอัล-บุคอรีย์

และมุสลิม)

แม้แต่เพียงการกล่าวไม่ดีต่อพ่อแม่ก็เป็นสิ่งต้องห้ามเช่นการกล่าวคำว่า“อุ๊ฟ”

หรือการปฏิเสธพ่อแม่การตะคอกใส่พ่อแม่การแสดงอาการเกลียดชังและไม่เคารพต่อ

ทั้งสองคนก็เช่นเดียวกันอัลลอฮฺได้ตรัสไว้มีความว่า“และพระผู้อภิบาลของเจ้าได้สั่งให้

พวกเจ้าเคารพภักดีผู้ใดเว้นแต่อัลลอฮฺเพียงผู้เดียว และต้องทำดีกับบิดามารดาทั้งสอง

แม้นว่าทั้งสองนั้นหรือใครคนใดคนหนึ่งได้แก่ชราลง ดังนั้นเจ้าอย่าได้กล่าว “อุ๊ฟ”

83 คู่มือศาสนบำบัด

Page 84: บทนำ - Ministry of Public Healthหลายคนเร ยกโลกสม ยน ว า“ย คสม ยส ดท ายความจร งจะเป นเช

ปฏิเสธทั้งสองคน อย่าตะคอกใส่ทั้งสอง และจงกล่าวคำพูดที่ดีกับทั้งสองคน จงนอบ

น้อมตนให้กับทั้งสองด้วยความเมตตา และจงกล่าวขอพรให้กับทั้งสองว่า โอ้ผู้อภิบาล

แห่งข้าได้โปรดอภัยให้ข้าพระองค์และให้แก่บิดามารดาของข้า ขอพระองค์ได้ทรงเมตตา

ทั้งสองคนเช่นเดียวกับที่ท่านทั้งสองได้เลี้ยงดูข้าพระองค์เมื่อครั้งยังเล็กๆ เยาว์วัย”

(อัลกุรอานซูเราะฮฺอัล-อิสรออฺ:23-24)ฉะนั้นมนุษย์จะไม่พบกับความดีงามในโลกนี้ได้

เลยถ้าหากเขาเป็นผู้เนรคุณและอกตัญญูต่อพ่อแม่ทั้งสองคนของเขา

ข้อคิดที่ได้รับจากบทเรียน

1.พ่อแม่เป็นคนที่มีคุณมหาศาลต่อมนุษย์ทุกคนที่เกิดมาบนโลกนี้

2.อัลลอฮฺสั่งให้มนุษย์ทำดีและตอบแทนคุณของพ่อแม่

3.การตอบแทนคุณและการกตัญญูต่อพ่อแม่ถือเป็นหน้าที่ที่สูงส่งและมีความ

สำคัญเป็นอย่างยิ่ง

4.ความประเสริฐของการทำดีต่อพ่อแม่นั้นยิ่งใหญ่กว่าการออกไปต่อสู้ในหนทาง

ของอัลลอฮฺ

5.การเนรคุณต่อพ่อแม่เป็นบาปใหญ่

6.เราทุกคนต้องเป็นบุตรที่ดีของพ่อแม่ต้องปรนนิบัติต่อทั้งสองคนด้วยความเมตตา

ต้องไม่ทำให้ทั้งสองเสียใจ ต้องไม่แสดงอาการเกลียดชังแม้เพียงด้วยคำพูดที่หยาบคายไม่

น่าฟังฯลฯ

7.การขอดุอาอฺให้กับพ่อแม่ถือเป็นวิธีการทำดีต่อพ่อแม่อีกประการหนึ่งเช่นเดียว

กัน

คู่มือศาสนบำบัด 84

Page 85: บทนำ - Ministry of Public Healthหลายคนเร ยกโลกสม ยน ว า“ย คสม ยส ดท ายความจร งจะเป นเช

ใบงาน

คำชี้แจงให้ท่านทำกิจกรรมตามหัวข้อที่มอบหมาย(10นาที)แล้วนำเสนอผลงานโดยตอบ

คำถามตามประเด็นดังนี้

1.ท่านคิดว่าจะแสดงความกตัญญูต่อพ่อแม่ของท่านอย่างไร

2.เวลาที่พ่อแม่ของท่านเสียใจท่านคิดว่าจะทำอย่างไรเพื่อแสดงความสำนึกคุณ

ต่อท่าน

85 คู่มือศาสนบำบัด

Page 86: บทนำ - Ministry of Public Healthหลายคนเร ยกโลกสม ยน ว า“ย คสม ยส ดท ายความจร งจะเป นเช

ใบความรู้สำหรับผู้สอน

(แผนการสอนเรื่อง “พระคุณพ่อแม่”)

ประเด็นคำถาม

1.ท่านคิดว่าจะแสดงความกตัญญู

ต่อพ่อแม่ของท่านอย่างไร

2.เวลาที่พ่อแม่ของท่านเสียใจ

ท่านคิดว่าจะทำอย่างไรเพื่อ

แสดงความสำนึกคุณต่อท่าน

แนวคิดที่ควรได้

-เป็นลูกที่ดีของพ่อแม่ไม่ทำให้ท่านเสียใจ

-บำบัดให้ครบกำหนดและเลิกเสพยาเสพติด

-ไม่พูดจาหยาบคายกับพ่อแม่ไม่ตะคอก

ไม่กล่าวคำว่า“อุ๊ฟ”และไม่แสดงกิริยาก้าว

ร้าวต่อท่านทั้งสอง

-ขอดุอาฮฺให้กับพ่อแม่ทุกวัน

-เลี้ยงดูท่านอย่างดีเมื่อท่านแก่ชรา

-เป็นคนดีในสังคม

-หลังจากการบำบัดรักษาแล้วออกไปหางานทำมี

รายได้ช่วยตนเองและครอบครัว

-หากเราเป็นต้นเหตุให้ท่านเสียใจต้องรีบขอโทษ

พ่อแม่ทันทีและจะต้องไม่ทำให้พ่อแม่เสียใจอีก

-ช่วยปลอบใจท่าน

-เชื่อฟังคำสั่งสอนของท่านและมีความกตัญญู

ต่อท่านตลอดไป

คู่มือศาสนบำบัด 86

Page 87: บทนำ - Ministry of Public Healthหลายคนเร ยกโลกสม ยน ว า“ย คสม ยส ดท ายความจร งจะเป นเช

แผนการจัดการเรียนรู้

ศาสนบำบัดสำหรับผู้ป่วยยาเสพติด เวลาในการสอน 60 นาที

หน่วยการเรียนรู้ที่ 14 เรื่อง อย่าโกรธ

1. สาระสำคัญ

ความโกรธเป็นอาการที่แสดงออกถึงการไม่สามารถยับยั้งสติอารมณ์ที่เกิดขึ้นชั่ววูบ

ซึ่งจะเป็นภัยต่อมนุษย์มากกว่าให้คุณประโยชน์ผู้ที่สามารถยับยั้งตนและระงับความโกรธ

ได้จึงถือเป็นผู้ที่ความเข้มแข็งอย่างแท้จริงและจะได้รับผลตอบแทนที่ดีจากอัลลอฮในวัน

อาคิเราะฮฺ

2. จุดประสงค์การเรียนรู้

1.เพื่อให้ผู้รับการบำบัดตระหนักถึงความสำคัญของการเอาชนะความโกรธ

2.เพื่อให้ผู้รับการบำบัดได้รู้ถึงเทคนิควิธีการเอาชนะความโกรธ

3. กระบวนการจัดการเรียนรู้

3.1นำเข้าสู่บทเรียนโดยถามผู้รับการบำบัดว่า“เวลาโกรธแล้วทำอย่างไร”(5นาที)

3.2สุ่มถามผู้รับการบำบัด2-3คนเกี่ยวกับความรู้เรื่องศาสนาที่เกี่ยวข้อง(5นาที)

3.3ผู้สอนบรรยายให้ความรู้เกี่ยวกับเนื้อหาในใบความรู้(30นาที)

3.4ให้ผู้รับการบำบัดทำกิจกรรมตามประเด็นใบงานอาจจะแบ่งเป็นกลุ่มหรือ

รายบุคคล(10นาที)

3.5สุ่มตัวแทนนำเสนอผลงาน2-3คนผู้สอนรวบรวมข้อสรุปและอภิปราย

เพิ่มเติม(10นาที)

87 คู่มือศาสนบำบัด

Page 88: บทนำ - Ministry of Public Healthหลายคนเร ยกโลกสม ยน ว า“ย คสม ยส ดท ายความจร งจะเป นเช

4. สื่อการเรียนการสอน

4.1ภาพพลิก,ภาพโปสเตอร์

4.2ใบงาน

4.3กระดาษชาร์ต/กระดาษA4

5. กระบวนการประเมิน

5.1ประเมินความรู้

5.1.1การตอบคำถาม

5.1.2การแสดงความคิดเห็นขณะอภิปรายในกลุ่ม

5.1.3ผลการนำเสนอผลงานของแต่ละกลุ่มหรือแต่ละคน

5.2ประเมินผลการปฏิบัติ

5.2.1สังเกตพฤติกรรมการแสดงความคิดเห็นขณะทำการสอน

5.2.2ตรวจผลงานหรือดูความรับผิดชอบงานที่ได้รับมอบหมาย

5.3เครื่องมือในการประเมิน

5.3.1ใบงาน

5.3.2ผลงานที่ได้รับมอบหมาย

คู่มือศาสนบำบัด 88

Page 89: บทนำ - Ministry of Public Healthหลายคนเร ยกโลกสม ยน ว า“ย คสม ยส ดท ายความจร งจะเป นเช

ใบความรู้

อย่าโกรธ

ความโกรธเป็นอาการที่แสดงออกถึงการไม่สามารถยับยั้งสติอารมณ์ชั่วขณะ ที่มี

อาการโกรธอาจจะก่อให้เกิดพฤติกรรมก้าวร้าวรุนแรงที่ไม่เหมาะสมโดยไม่ทันรู้ตัว เมื่อใด

ที่อาการโกรธหายไปและรู้สึกตัวอีกครั้ง ความเสียใจก็จะเกิดขึ้นกับผู้ที่ไม่สามารถยับยั้งตน

แสดงความก้าวร้าวหรือก่อความเสียหายในขณะที่ตนมีอาการโมโหโกรธา ด้วยเหตุนี้อิสลาม

จึงสั่งให้ระวังนิสัยชอบโกรธเพราะมักจะเป็นภัยต่อมนุษย์มากกว่าให้คุณประโยชน์การ

ระงับความโกรธบางครั้งก็ไม่ใช่ทำได้ง่ายๆดังนั้นผู้ที่สามารถยับยั้งตนและระงับความโกรธ

ได้จึงถือเป็นผู้ที่มีความเข้มแข็งอย่างแท้จริงท่านรอซูลศ็อลลัลลอฮฺอะลัยฮิวะสัลลัม

ได้กล่าวไว้มีความว่า“ผู้ที่แข็งแกร่งนั้นไม่ใช่ผู้ที่สามารถล้มคู่ต่อสู้ได้ แต่ผู้ที่แข็งแกร่งคือ

ผู้ที่สามารถควบคุมตัวเองได้ในยามโกรธ”(รายงานโดยอัล-บุคอรีย์และมุสลิม)การระงับ

ความโกรธจึงเป็นลักษณะของผู้ศรัทธาและผู้ยำเกรงต่ออัลลอฮฺ พระองค์ได้อธิบายถึง

คุณลักษณะของบุคคลเหล่านี้ว่า“คือบรรดาคนที่ใช้จ่ายให้ท่านทั้งในยามสุข และยาม

ทุกข์ อีกทั้งระงับความโมโหโกรธาและให้อภัยแก่คนอื่น แท้จริงแล้วอัลลอฮฺทรงรัก

บรรดาผู้ที่กระทำความดีงาม”(อัลกุรอานสูเราะฮฺอาลอิมรอน:134)

อาการโกรธเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้กับทุกคนดังนั้นจึงต้องระวังตนอยู่เสมอ โดยเฉพาะ

คนที่มีอารมณ์ฉุนเฉียวง่ายซึ่งอาจจะสร้างความเดือดร้อนให้กับผู้อื่นโดยไม่มีเหตุผลเป็นที่

เข็ดหลาบของคนอื่นและไม่มีผู้ใดอยากใกล้ชิด

ครั้งหนึ่งได้มีผู้ชายคนหนึ่งมาขอให้ท่านรอซูลศ็อลลัลลอฮฺอะลัยฮิวะสัลลัมตักเตือน

เขาท่านรอซูลได้สั่งเขาว่า“ท่านจงอย่าโกรธ ท่านได้ทวนเช่นนั้นหลายครั้งว่าอย่าโกรธ”

(รายงานโดยอัล-บุคอรีย์)เพราะอาการโกรธเกือบจะไม่เป็นผลดีใดๆเลยต่อตัวมนุษย์เป็น

อาการที่เกิดจากการยุแหย่ล่อลวงของชัยฏอนผู้ที่มีอาการเช่นนั้นจึงต้องหาวิธีเพื่อระงับ

ความโกรธเสีย

ท่านรอซูลศ็อลลัมลอฮฺอะลัยฮิวะสัลลัมได้แนะนำวิธีการระงับความโกรธว่าให้

กล่าวคำว่า“อาอูซุ บิลลาฮฺ มินัช ชัยฏอนิรรอญีม”(คือข้าขอให้อัลลอฮฺช่วยคุ้มครองให้

พ้นจากการล่อล่วงของชัยฏอน)(รายงานโดยอัล-บุคอรีย์และมุสลิม)ท่านรอซูลศ็อลลัมลอฮฺ

อะลัยฮิวะสัลลัมยังได้กล่าวไว้อีกมีความว่า“พึงรู้เถิดว่าความโกรธคือถ่านไฟที่อยู่ในใจ

ของมนุษย์ พวกท่านไม่เห็นดอกหรือว่าตาของเขาแดงก่ำ และกรามของเขาพองโต

เพราะฉะนั้นใครที่มีอาการเช่นนั่นให้เขารีบไปอาบน้ำวูฎูอฺ (อาบน้ำละหมาด)”

89 คู่มือศาสนบำบัด

Page 90: บทนำ - Ministry of Public Healthหลายคนเร ยกโลกสม ยน ว า“ย คสม ยส ดท ายความจร งจะเป นเช

(รายงานโดยอัต-ติรมิซีย์)

นอกจากนี้ผู้ที่สามารถระงับความโกรธจะได้รับผลตอบแทนที่ดีจากอัลลอฮฺในวัน

อาคิเราะฮฺเช่นที่ท่านรอซูลศ็อลลัมลอฮฺอะลัยฮิวะสัลลัมได้กล่าวไว้มีความว่า“ผู้ใดที่

ระงับความโกรธไว้ในขณะที่เขาสามารถปะทุมันออกมาได้ ในวันกิยามะฮฺอัลลอฮฺจะ

เรียกเขาท่ามกลางผู้คนมากมาย และให้เขาเลือกจะเอานางสวรรค์คนใดก็ได้ตาม ใจ

เขา”(รายงานโดยอัต-ติรมิซีย์)

ข้อคิดที่ได้รับจากบทเรียน

1.ความโกรธเป็นอาการที่ไม่พึงประสงค์เพราะแสดงออกถึงความไร้สติซึ่งสามารถ

สร้างความเดือดร้อนและความเสียหายทั้งต่อตัวเองและผู้อื่นได้

2.การระงับความโกรธเป็นบุคลิกลักษณะของผู้ศรัทธาและยำเกรงต่ออัลลอฮฺเป็น

สิ่งที่พระองค์รักใคร่

3.ความโกรธเป็นการยุแหย่ล่อลวงของชัยฏอนผู้ที่มีอาการโกรธจึงควรขอให้

อัลลอฮฺคุ้มครองเขาให้พ้นจากมัน

4.การระงับความโกรธได้ถือเป็นความแข็งแกร่งของจิตใจถ้ามีอาการโกรธอย่างถึง

ที่สุดให้แก้ไขด้วยการอาบน้ำละหมาดถ้ายังไม่หมดอีกก็ให้รีบละหมาดเพื่อให้ใจสงบลง

5.ผู้ที่สามารถระงับความโกรธจะได้รับผลตอบแทนที่ดีจากอัลลอฮฺในวันอาคิเราะฮฺ

คู่มือศาสนบำบัด 90

Page 91: บทนำ - Ministry of Public Healthหลายคนเร ยกโลกสม ยน ว า“ย คสม ยส ดท ายความจร งจะเป นเช

ใบงาน

คำชี้แจงให้ท่านทำกิจกรรมตามหัวข้อที่มอบหมาย(10นาที)แล้วนำเสนอผลงานโดยตอบ

คำถามตามประเด็นดังนี้

1.ท่านคิดว่าความโกรธมีผลเสียต่อตัวเองและผู้อื่นอย่างไร

2.ท่านมีวิธีแก้ไขความโกรธอย่างไรบ้าง

91 คู่มือศาสนบำบัด

Page 92: บทนำ - Ministry of Public Healthหลายคนเร ยกโลกสม ยน ว า“ย คสม ยส ดท ายความจร งจะเป นเช

ใบความรู้สำหรับผู้สอน

(แผนการสอนเรื่อง “อย่าโกรธ”)

ประเด็นคำถาม

1.ท่านคิดว่าความโกรธมีผลเสีย

ต่อตัวเองและผู้อื่นอย่างไร

2.ท่านมีวิธีแก้ไขความโกรธ

อย่างไรบ้าง

แนวคิดที่ควรได้

ผลเสียต่อตัวเอง

-ทำให้ร่างกายทำงานมากกว่าปกติเช่นหัวใจ

เต้นแรงการสูบฉีดโลหิตสูงขึ้นมีผลทำให้ความ

ดันโลหิตสูงเป็นต้น

-เกิดพฤติกรรมก้าวร้าวรุนแรงทำร้ายคนอื่นพูดจา

หยาบคายโดยไม่สามารถยับยั้งได้แต่เมื่อหาย

โกรธแล้วก็จะเสียใจกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น

-ไม่มีใครอยากเข้าใกล้

ผลเสียต่อผู้อื่น

-ทำให้ผู้อื่นได้รับอันตรายทั้งร่างกายและทรัพย์สิน

-ทำให้ผู้อื่นเสียใจเศร้าใจ

-รีบออกไปจากเหตุการณ์ที่ทำให้เราโกรธ

-อาบน้ำละหมาดและหากความโกรธยังคงอยู่ก็

รีบละหมาดเสีย

-ให้คำกล่าวว่า“อาอูซุ บิลลาฮฺ ฮิมินัชชัยฏอนิรอญีม”

เพื่อให้อัลลอฮฺคุ้มครองจากการล่อลวงของ

ชัยฏอนและทำให้ตนเองมีสติอยู่ตลอดเวลา

คู่มือศาสนบำบัด 92

Page 93: บทนำ - Ministry of Public Healthหลายคนเร ยกโลกสม ยน ว า“ย คสม ยส ดท ายความจร งจะเป นเช

แผนการจัดการเรียนรู้

ศาสนบำบัดสำหรับผู้ป่วยยาเสพติด เวลาในการสอน 60 นาที

หน่วยการเรียนรู้ที่ 15 เรื่องมุสลิมต้องศึกษาหาความรู้

1. สาระสำคัญ

ความรู้เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับมุสลิมทุกคนมุสลิมจึงต้องแสวงหาความรู้ที่มีประโยชน์

ต่อการปฏิบัติศาสนกิจและการประกอบอิบาดะห์ส่วนความรู้ที่มีประโยชน์ในการดำเนิน

ชีวิตในโลกนี้อิสลามก็สนับสนุนให้ศึกษาเช่นกัน

2. จุดประสงค์การเรียนรู้

1.เพื่อให้ผู้รับการบำบัดได้ตระหนักถึงความสำคัญในการศึกษาหาความรู้

2.เพื่อให้ผู้รับการบำบัดได้รับทราบถึงความรู้อิสลามสนับสนุนให้ศึกษา

3. กระบวนการจัดการเรียนรู้

3.1นำเข้าสู่บทเรียนโดยถามผู้รับการบำบัด“หากมีโอกาสอีกครั้งท่านต้องการ

เรียนให้จบชั้นไหนเพราะเหตุใด”(5นาที)

3.2สุ่มถามผู้รับการบำบัด2-3คนเกี่ยวกับความรู้เรื่องศาสนาที่เกี่ยวข้อง(5นาที)

3.3ผู้สอนบรรยายให้ความรู้เกี่ยวกับเนื้อหาในใบความรู้(30นาที)

3.4ให้ผู้รับการบำบัดทำกิจกรรมตามประเด็นใบงานอาจจะแบ่งเป็นกลุ่มหรือ

รายบุคคล(10นาที)

3.5สุ่มตัวแทนนำเสนอผลงาน2-3คนผู้สอนรวบรวมข้อสรุปและอภิปราย

เพิ่มเติม(10นาที)

93 คู่มือศาสนบำบัด

Page 94: บทนำ - Ministry of Public Healthหลายคนเร ยกโลกสม ยน ว า“ย คสม ยส ดท ายความจร งจะเป นเช

4. สื่อการเรียนการสอน

4.1ภาพพลิก,ภาพโปสเตอร์

4.2ใบงาน

4.3กระดาษชาร์ต/กระดาษA4

5. กระบวนการประเมิน

5.1ประเมินความรู้

5.1.1การตอบคำถาม

5.1.2การแสดงความคิดเห็นขณะอภิปรายในกลุ่ม

5.1.3ผลการนำเสนอผลงานของแต่ละกลุ่มหรือแต่ละคน

5.2ประเมินผลการปฏิบัติ

5.2.1สังเกตพฤติกรรมการแสดงความคิดเห็นขณะทำการสอน

5.2.2ตรวจผลงานหรือดูความรับผิดชอบงานที่ได้รับมอบหมาย

5.3เครื่องมือในการประเมิน

5.3.1ใบงาน

5.3.2ผลงานที่ได้รับมอบหมาย

คู่มือศาสนบำบัด 94

Page 95: บทนำ - Ministry of Public Healthหลายคนเร ยกโลกสม ยน ว า“ย คสม ยส ดท ายความจร งจะเป นเช

ใบความรู้

มุสลิมต้องศึกษาหาความรู้

อิสลามเป็นศาสนาที่ให้ความสำคัญในเรื่องการศึกษาอย่างยิ่ง เนื่องจากการศึกษา

เป็นสิ่งจำเป็นในชีวิตของมนุษย์เป็นหัวใจของความเจริญดังที่ได้รู้กันว่าการดำเนินชีวิต

ของมนุษย์ในด้านต่างๆจำเป็นต้องอาศัยวิชาความรู้จึงจะได้รับผลความสำเร็จดังนั้น

อิสลามจึงส่งเสริมและสนับสนุนให้มนุษย์มีความรู้ ดังปรากฏในห้าอายะฮฺแรกที่อัลลอฮฺทรง

ประทานให้ท่านนบีมุหัมมัดศ็อลลัลลอฮฺอะลัยฮิวะสัลลัมซึ่งได้เริ่มด้วยอายะฮฺที่เกี่ยวข้อง

กับการส่งเสริมให้มีการศึกษาหาความรู้ อัลลอฮฺได้ตรัสไว้ความว่า“จงอ่านด้วยพระนาม

แห่ง ผู้อภิบาลของเจ้าผู้ทรงให้บังเกิด ทรงให้บังเกิดมนุษย์จากก้อนเลือด จงอ่านเถิด

และผู้อภิบาลของเจ้านั้นผู้ทรงใจบุญยิ่ง ผู้ทรงสอนการใช้ปากกา ผู้ทรงสอนมนุษย์ใน

สิ่งที่เขาไม่รู้”(อัลกุรอานซูเราะฮฺอัล-อะลัก:1-5)

ความรู้เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับมุสลิมทุกคนโดยเฉพาะความรู้เกี่ยวกับศาสนานั้นยังมี

ความสำคัญเป็นอันดับแรกเช่นความรู้เกี่ยวกับการศรัทธาการปฏิบัติศาสนกิจจริยธรรม

มุสลิมเป็นต้นท่านรอซูลศ็อลลัลลอฮฺอะลัยฮิวะสัลลัมได้กล่าวไว้มีความว่า“ผู้ใดที่อัลลอฮฺ

ประสงค์ให้เขาได้รับความดีงาม พระองค์จะทรงทำให้เขาเข้าใจศาสนา”(รายงานโดย

อัล-บุคอรีย์)และอัลลอฮฺได้ตรัสไว้มีความว่า“พึงรู้เถิด (คือต้องหาความรู้) ว่าไม่มีพระเจ้า

อื่นใด (ที่เที่ยงแท้) นอกจากอัลลอฮฺ และจงขออภัยโทษต่อความผิดเพื่อตัวเจ้าและเพื่อ

บรรดาผู้ศรัทธาชายและบรรดาผู้ศรัทธาหญิง”(อัลกุรอานซูเราะฮฺมุหัมมัด:19)

การศึกษาหาความรู้เพื่อใช้ปฏิบัติให้ถูกต้องตามบทบัญญัติศาสนาจึงนับว่าเป็น

หน้าที่สำหรับมุสลิมทุกคนเช่นที่ท่านรอซูลศ็อลลัลลอฮฺอะลัยฮิวะสัลลัมได้กล่าวไว้มี

ความว่า“การศึกษาหาความรู้เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับมุสลิมทุกคน”(รายงานโดยอิบนุมา

ญะฮฺ)ความจำเป็นที่ต้องหาความรู้ไม่แตกต่างจากความจำเป็นของการละหมาดการถือศีลอด

การจ่ายซากาตและบทบัญญัติอื่นๆที่จำเป็นต้องปฏิบัติในอิสลาม

อิสลามต้องการให้คนมุสลิมศึกษาและแสวงหาความรู้ที่มีประโยชน์ต่อการปฏิบัติ

ศาสนกิจและการประกอบอิบาดะฮฺ ท่านรอซูลกล่าวในดุอาอฺของท่านในตอนหนึ่งมีความ

ว่า“โอ้ อัลลอฮฺ แท้จริงฉันขอจากพระองค์ความรู้ที่มีประโยชน์”ท่านอาลีกล่าวว่า“แท้

จริงการปฏิบัติอิบาดะฮฺจะไม่เกิดความดีอะไรเลย ถ้าหากขาดความรู้เกี่ยวกับมัน”ส่วน

ความรู้ที่มีประโยชน์ในการดำเนินชีวิตในโลกนี้ก็เป็นสิ่งที่อิสลามสนับสนุนให้ศึกษาเช่นกัน

ทั้งนี้เพื่อเป็นปัจจัยส่งเสริมในเรื่องอาคิเราะฮฺอีกทอดหนึ่งท่านรอซูลศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ

95 คู่มือศาสนบำบัด

Page 96: บทนำ - Ministry of Public Healthหลายคนเร ยกโลกสม ยน ว า“ย คสม ยส ดท ายความจร งจะเป นเช

วะสัลลัมได้กล่าวไว้ความว่า“พวกท่านมีความรู้เรื่องมากกว่าฉัน เกี่ยวกับกิจการทางโลก

ของพวกท่าน”(รายงานโดยมุสลิม)ดังนั้นมุสลิมทุกคนจึงต้องเอาใจใส่ในเรื่องการหา

ความรู้เพื่อให้เข้าใจศาสนาและปฏิบัติได้ถูกต้องโดยต้องหาความรู้ที่เป็นประโยชน์ไม่ว่าจะ

เป็นประโยชน์ในโลกนี้หรือโลกหน้า

ข้อคิดที่ได้รับจากบทเรียน

1.การศึกษาหาความรู้มีความสำคัญต่อมุสลิมทุกคน

2.มุสลิมต้องศึกษาหาความรู้เพื่อทำความเข้าใจศาสนาและปฏิบัติให้ถูกต้องตาม

บทบัญญัติอิสลาม

3.การไม่รู้เป็นเหตุให้มุสลิมประพฤติปฏิบัติตนอย่างผิดๆ

4.ความรู้ที่มุสลิมต้องศึกษาคือความรู้ที่เป็นประโยชน์แก่ตัวเขาทั้งในเรื่องศาสนา

และการยังชีพบนโลกนี้

คู่มือศาสนบำบัด 96

Page 97: บทนำ - Ministry of Public Healthหลายคนเร ยกโลกสม ยน ว า“ย คสม ยส ดท ายความจร งจะเป นเช

ใบงาน

คำชี้แจงให้ท่านทำกิจกรรมตามหัวข้อที่มอบหมาย(10นาที)แล้วนำเสนอผลงานโดยตอบ

คำถามตามประเด็นดังนี้

1.ท่านคิดว่าความรู้อะไรที่สำคัญสำหรับท่าน

2.ท่านคิดว่าเพราะเหตุใดอิสลามจึงสนับสนุนให้ศึกษาหาความรู้

3.ท่านคิดว่าสามารถศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมจากที่ใดบ้าง

97 คู่มือศาสนบำบัด

Page 98: บทนำ - Ministry of Public Healthหลายคนเร ยกโลกสม ยน ว า“ย คสม ยส ดท ายความจร งจะเป นเช

ใบความรู้สำหรับผู้สอน

(แผนการสอนเรื่อง “มุสลิมต้องศึกษาหาความรู้”)

ประเด็นคำถาม

1.ท่านคิดว่าความรู้อะไรที่สำคัญ

สำหรับท่าน

2.ท่านคิดว่าเพราะเหตุใดอิสลามจึง

สนับสนุนให้ศึกษาหาความรู้

3.ท่านคิดว่าสามารถศึกษาหา

ความรู้เพิ่มเติมจากที่ใดบ้าง

แนวคิดที่ควรได้

-ความรู้ที่มีประโยชน์สำหรับการยังชีพในโลก

ดุนยา

-ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับศาสนาเพื่อทำความเข้าใจ

กับศาสนาและปฏิบัติได้ถูกต้องตามบทบัญญัติ

ของอิสลาม

-เพราะว่าการดำเนินชีวิตของมนุษย์ในด้านต่างๆ

จำเป็นต้องอาศัยวิชาความรู้จึงจะได้รับผลความ

สำเร็จอิสลามจึงให้ความสำคัญในเรื่องการศึกษา

เป็นอย่างยิ่งโดยต้องหาความรู้ที่เป็นประโยชน์

ต่อการปฏิบัติศาสนกิจและการประกอบอิบาดะฮฺ

(การงานต่างๆ)

-เราสามารถจะเรียนรู้วิชาใดๆก็ได้ที่เป็นประโยชน์

โดยต้องหาความรู้ที่เป็นประโยชน์ไม่ว่าจะเป็น

ประโยชน์ทั้งในโลกนี้หรือโลกหน้าและสามารถ

ศึกษาจากสถาบันต่างๆตามที่เราต้องการและ

ตามกำลังความสามารถ

คู่มือศาสนบำบัด 98

Page 99: บทนำ - Ministry of Public Healthหลายคนเร ยกโลกสม ยน ว า“ย คสม ยส ดท ายความจร งจะเป นเช

แผนการจัดการเรียนรู้

ศาสนบำบัดสำหรับผู้ป่วยยาเสพติด เวลาในการสอน 60 นาที

หน่วยการเรียนรู้ที่ 16 เรื่องอัลกุรอานทางนำชีวิต

1. สาระสำคัญ

อัลกุรอานคือพระดำรัสของอัลลอฮฺที่ทรงประทานแก่ท่านนบีมุหัมมัดศ็อลลัลลอฮฺ

อะลัยฮิวะสัลลัมผ่านมลาอิกะฮญิบรีลเป็นคัมภีร์เล่มสุดท้ายของอัลลอฮฺสำหรับมนุษยชาติ

เพื่อเป็นทางนำสำหรับมนุษย์ไปสู่การมีชีวิตที่มีความสงบสุขในโลกนี้และโลกหน้า

2. จุดประสงค์การเรียนรู้

1.เพื่อให้ผู้รับการบำบัดได้รู้ถึงความสำคัญของอัลกุรอาน

2.เพื่อให้ผู้รับการบำบัดได้รู้ถึงความประเสริฐและประโยชน์ของการอ่านอัลกุรอาน

3.เพื่อให้ผู้รับการบำบัดตระหนักกับการอ่านและการปฏิบัติตามอัลกุรอาน

3. กระบวนการจัดการเรียนรู้

3.1นำเข้าสู่บทเรียนโดยถามผู้รับการบำบัดว่า“ในรอบปีที่ผ่านมาท่านอ่าน

อัลกุรอานบ้างหรือไม่(5นาที)

3.2สุ่มถามผู้รับการบำบัด2-3คนเกี่ยวกับความรู้เรื่องศาสนาที่เกี่ยวข้อง(5นาที)

3.3ผู้สอนบรรยายให้ความรู้เกี่ยวกับเนื้อหาในใบความรู้(30นาที)

3.4ให้ผู้รับการบำบัดทำกิจกรรมตามประเด็นใบงานอาจจะแบ่งเป็นกลุ่มหรือ

รายบุคคล(10นาที)

3.5สุ่มตัวแทนนำเสนอผลงาน2-3คนผู้สอนรวบรวมข้อสรุปและอภิปราย

เพิ่มเติม(10นาที)

99 คู่มือศาสนบำบัด

Page 100: บทนำ - Ministry of Public Healthหลายคนเร ยกโลกสม ยน ว า“ย คสม ยส ดท ายความจร งจะเป นเช

4. สื่อการเรียนการสอน

4.1ภาพพลิก,ภาพโปสเตอร์

4.2ใบงาน

4.3กระดาษชาร์ต/กระดาษA4

5. กระบวนการประเมิน

5.1ประเมินความรู้

5.1.1การตอบคำถาม

5.1.2การแสดงความคิดเห็นขณะอภิปรายในกลุ่ม

5.1.3ผลการนำเสนอผลงานของแต่ละกลุ่มหรือแต่ละคน

5.2ประเมินผลการปฏิบัติ

5.2.1สังเกตพฤติกรรมการแสดงความคิดเห็นขณะทำการสอน

5.2.2ตรวจผลงานหรือดูความรับผิดชอบงานที่ได้รับมอบหมาย

5.3เครื่องมือในการประเมิน

5.3.1ใบงาน

5.3.2ผลงานที่ได้รับมอบหมาย

คู่มือศาสนบำบัด 100

Page 101: บทนำ - Ministry of Public Healthหลายคนเร ยกโลกสม ยน ว า“ย คสม ยส ดท ายความจร งจะเป นเช

ใบความรู้

อัลกุรอานทางนำชีวิต

อัลกุรอานคือพระดำรัสของอัลลอฮฺที่ทรงประทานแก่ท่านนบีมุหัมมัดศ็อลลัลลอฮฺ

อะลัยฮิวะสัลลัมผ่านมลาอิกะฮฺญิบรีลเป็นคัมภีร์เล่มสุดท้ายของอัลลอฮฺสำหรับมนุษยชาติ

เพื่อเป็นทางนำสำหรับมนุษย์ไปสู่การมีชีวิตที่มีความสงบสุขในโลกนี้และโลกหน้าอัลลอฮฺ

ได้ตรัสไว้ความว่า“แท้จริง อัลกุรอานนี้นำสู่ทางที่เที่ยงตรงยิ่งและแจ้งข่าวดีแก่บรรดาผู้

ศรัทธาที่ประกอบความดีทั้งหลายว่า สำหรับพวกเขานั้นจะได้รับการตอบแทนอันยิ่ง

ใหญ่” (อัลกุรอานซูเราะฮฺอัล-อิสรออฺ:9)นอกจากนั้นอัลกุรอานยังเป็นสิ่งมหัศจรรย์ที่ยิ่ง

ใหญ่และตลอดกาลจนถึงวันกิยามะฮฺเป็นธรรมนูญแห่งชีวิตของประชาชาติมุสลิมที่

ครอบคลุมทุกๆด้านไม่ว่าในเรื่องส่วนตัวหรือในเรื่องครอบครัวสังคมและประเทศชาติ

อัลกุรอานมีคุณลักษณะเด่นหลายประการคือถูกประทานลงจากอัลลอฮฺไม่ใช่เป็น

การคิดมาจากมนุษย์ ได้รับประกันจากอัลลอฮฺว่าปลอดภัยจากการเปลี่ยนแปลงถูกประทาน

แก่มนุษย์ทั้งมวลและญินด้วยคำสอนอัลกุรอานเป็นคำสอนที่ครอบคลุมชีวิตของมนุษย์ใน

ทุกๆด้านเป็นคัมภีร์ที่มีคำสอนและบทบัญญัติที่ใช้ได้ทุกเหตุการณ์ในทุกสถานที่และตลอด

กาล

หน้าที่ของมุสลิมต่ออัลกุรอาน คือต้องยึดมั่นและศรัทธาว่าอัลกุรอานเป็นคำพูดของ

อัลลอฮฺ ยึดมั่นและศรัทธาว่าคำสอนต่างๆ ในอัลกุรอานเป็นคำสอนที่ถูกต้องและดีที่สุด

ครอบคลุมในทุกๆด้านมุสลิมทุกคนต้องปฏิบัติตามคำสอนของอัลกุรอานไม่ว่าคำสอน

นั้นเกี่ยวข้องกับการศรัทธาหรือที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติ พยายามเป็นมิตรกับอัลกุรอาน

ให้ใกล้ชิดที่สุดด้วยการอ่านอย่างสม่ำเสมอพยายามให้เป็นกิจวัตรประจำวันและอ่านให้

มากที่สุดเพื่อจะได้รับทางนำและผลบุญจากอัลลอฮฺให้มากที่สุดเวลาอ่านอัลกุรอานจำเป็น

ต้องอ่านอย่างถูกต้องและควรอ่านในสภาพบริสุทธิ์คือมีน้ำละหมาดและปิดเอารัตให้เรียบร้อย

พร้อมทั้งพยายามทำความเข้าใจเนื้อหาสาระในอัลกุรอานด้วยการเรียนรู้และศึกษาความ

หมายของอัลกุรอาน จากผู้รู้และค้นคว้าจากหนังสือคำแปลอัลกุรอานและหนังสืออรรถาธิบาย

อัลกุรอานเพื่อจะได้เข้าใจอัลกุรอานอย่างลึกซึ้ง

การอ่านอัลกุรอานเป็นสิ่งที่อิสลามกำชับและส่งเสริมอย่างยิ่ง โดยได้กำหนดผลบุญ

มากกมายไว้เช่นที่ท่านรอซูลศ็อลลัลลอฮฺอะลัยฮิวะสัลลัมได้กล่าวไว้มีว่า“พวกท่าน

จงอ่านอัลกุรอานเถิด เพราะในวันกิยามะฮฺมันจะคอยให้ความช่วยเหลือแก่มิตรสหาย

(คือผู้ที่อ่านมัน)”(รายงานโดยมุสลิม)

101 คู่มือศาสนบำบัด

Page 102: บทนำ - Ministry of Public Healthหลายคนเร ยกโลกสม ยน ว า“ย คสม ยส ดท ายความจร งจะเป นเช

ท่านได้กล่าวอีกมีความว่า “ผู้ใดที่อ่านอัลกุรอานหนึ่งตัวอักษรเขาจะได้รับหนึ่ง

ความดีงาม โดยหนึ่งความดีงามนั้นจะเพิ่มทวีคูณเป็นสิบเท่า ฉันไม่ได้บอกว่า อลิฟ ลาม

มีม เป็นหนึ่งอักษร แต่อลิฟเป็นหนึ่งอักษร ลามเป็นหนึ่งอักษร มีมก็เป็นหนึ่งอักษร”

(รายงานโดยอัต-ติรมิซีย์)

นอกจากนี้การอ่านอัลกุรอานจะช่วยให้จิตใจสงบความศรัทธาในใจเพิ่มพูนเช่นที่

อัลลอฮฺได้ตรัสไว้มีความว่า“และ (ผู้ศรัทธานั้น) เมื่อใดที่ได้ฟังอัลกุรอานแล้ว จะทำให้

ศรัทธาของพวกเขาเพิ่มพูนขึ้น”(อัลกุรอานซูเราะฮฺอัล-อันฟาล:2)

เมื่อมุสลิมปฏิบัติตามคำสอนของอัลลอฮฺในอัลกุรอานเขาจะได้ประโยชน์อย่าง

มากมายเช่นได้รับทางนำจากอัลลอฮฺทำให้ความศรัทธามีความมั่นคงและเข้มแข็งมีความ

มั่นใจต่ออัลลอฮฺเพิ่มมากขึ้น ทำให้จิตใจบริสุทธิ์และรำลึกต่ออัลลอฮฺเสมอและเกรงกลัวต่อ

วันอาคิเราะฮฺมากขึ้นกระตุ้นให้เกิดความรู้สึกจะปฏิบัติตามคำสอนของอัลลอฮฺอย่างสม่ำเสมอ

และละเว้นสิ่งที่ห้ามต่างๆส่งเสริมให้เป็นมุสลิมที่ดีมีศีลธรรมและคุณธรรมสูงเพื่อป้องกัน

การกระทำที่ขัดกับบทบัญญัติและคำสอนของอิสลามได้

ข้อคิดที่ได้รับจากบทเรียน

1.อัลกุรอานเป็นคัมภีร์ซึ่งเป็นพระดำรัสของอัลลอฮฺที่ทรงประทานให้เป็นทางนำ

แก่มนุษยชาติ

2.อัลกุรอานมีความสำคัญต่อมุสลิมเพราะเป็นคัมภีร์ที่รวบรวมคำสอนและบท

บัญญัติต่างๆไว้

3.มุสลิมมีหน้าที่ต้องศรัทธาและปฏิบัติตามคำสอนของอัลกุรอาน

4.การอ่านอัลกุรอานมีความประเสริฐและประโยชน์ที่ยิ่งใหญ่มีผลบุญที่มหาศาล

5.การปฏิบัติตามคำสอนของอัลกุรอานจะก่อให้เกิดผลดีต่างๆมากมายแก่ตัว

มนุษย์

คู่มือศาสนบำบัด 102

Page 103: บทนำ - Ministry of Public Healthหลายคนเร ยกโลกสม ยน ว า“ย คสม ยส ดท ายความจร งจะเป นเช

ใบงาน

คำชี้แจงให้ท่านทำกิจกรรมตามหัวข้อที่มอบหมาย(10นาที)แล้วนำเสนอผลงานโดยตอบ

คำถามตามประเด็นดังนี้

1.ท่านคิดว่าความรู้อะไรที่สำคัญสำหรับท่าน

2.ท่านคิดว่าเพราะเหตุใดอิสลามจึงสนับสนุนให้ศึกษาหาความรู้

3.ท่านคิดว่าสามารถศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมจากที่ใดบ้าง

103 คู่มือศาสนบำบัด

Page 104: บทนำ - Ministry of Public Healthหลายคนเร ยกโลกสม ยน ว า“ย คสม ยส ดท ายความจร งจะเป นเช

ใบความรู้สำหรับผู้สอน

(แผนการสอนเรื่อง “อัลกุรอานทางนำชีวิต”)

ประเด็นคำถาม

1.ท่านคิดว่าได้ปฏิบัติตามคำสอน

ของอัลกุรอานในเรื่องใดบ้าง

2.ท่านจงยกตัวอย่างคุณประโยชน์

ของการอ่านอัลกุรอานมีอะไรบ้าง

แนวคิดที่ควรได้

เชื่อในหลักการศรัทธาทั้ง 6 ประการ คือ

1.ศรัทธาต่ออัลลอฮฺ

2.ศรัทธาต่อคัมภีร์อัลกุรอาน

3.ศรัทธาต่อวันกียามัต(วันสิ้นโลก)

4.ศรัทธาต่อบรรดานบีและรอซูล

5.ศรัทธาต่อบรรดามาลาอีกัต

6.ศรัทธาต่อกฎสภาวะกอฎอและกอฎัร

เชื่อในหลักการอิสลาม 5 ประการ คือ

1.ต้องกล่าวคำปฏิญาณตน

2.ต้องทำการละหมาด

3.ต้องทำการจ่ายซากาต

4.ต้องทำการถือศีลอด

5.ต้องเข้าร่วมการทำฮัจย์(สำหรับผู้ที่มีความ

สามารถ)และปฏิบัติตามบทบัญญัติที่อัลลอฮฺ

ทรงห้าม

-ได้รับทางนำจากอัลลอฮทำให้มีความศรัทธาที่

มั่นคงและเข้มแข็ง

-ทำให้จิตใจบริสุทธิ์และรำลึกถึงอัลลอฮฺเสมอส่ง

ผลทำให้มีศีลธรรมและคุณธรรมสูงไม่ประพฤติ

ในสิ่งที่ขัดกับบทบัญญัติและคำสอนของอิสลาม

-กระตุ้นให้เกิดความรู้สึกที่จะปฏิบัติตามคำสอน

ของอัลลอฮฺและเกรงกลัวต่อวันอาคีเราะฮฺ

มากขึ้น

คู่มือศาสนบำบัด 104

Page 105: บทนำ - Ministry of Public Healthหลายคนเร ยกโลกสม ยน ว า“ย คสม ยส ดท ายความจร งจะเป นเช

แผนการจัดการเรียนรู้

ศาสนบำบัดสำหรับผู้ป่วยยาเสพติด เวลาในการสอน 60 นาที

หน่วยการเรียนรู้ที่ 17 เรื่องเวลาที่หลุดลอยไป

1. สาระสำคัญ

อายุขัยของมนุษย์บนโลกนี้นั้นแสนสั้น เมื่อเทียบกับเวลาในโลกหน้าดังนั้นมนุษย์

จึงต้องตักตวงและใช้ประโยชน์จากเวลาที่มีอยู่ให้มากที่สุด เพื่อเตรียมสัมภาระ (ความดีที่

ได้กระทำในโลกดุนยา)และพร้อมสำหรับการเดินทางอันแสนยาวนานสู่โลกหน้า

2. จุดประสงค์การเรียนรู้

1.เพื่อให้ผู้รับการบำบัดได้รู้ถึงความสำคัญของเวลาและอายุขัยของชีวิต

2.เพื่อให้ผู้รับการบำบัดตระหนักที่จะให้ความสำคัญกับเวลาและใช้เวลาในทางที่

ถูกต้อง

3. กระบวนการจัดการเรียนรู้

3.1นำเข้าสู่บทเรียนโดยถามผู้รับการบำบัดว่า“ใน24ชั่วโมงท่านบริหารเวลา

อย่างไร(5นาที)

3.2สุ่มถามผู้รับการบำบัด2-3คนเกี่ยวกับความรู้เรื่องศาสนาที่เกี่ยวข้อง(5นาที)

3.3ผู้สอนบรรยายให้ความรู้เกี่ยวกับเนื้อหาในใบความรู้(30นาที)

3.4ให้ผู้รับการบำบัดทำกิจกรรมตามประเด็นใบงานอาจจะแบ่งเป็นกลุ่มหรือ

รายบุคคล(10นาที)

3.5สุ่มตัวแทนนำเสนอผลงาน2-3คนผู้สอนรวบรวมข้อสรุปและอภิปราย

เพิ่มเติม(10นาที)

105 คู่มือศาสนบำบัด

Page 106: บทนำ - Ministry of Public Healthหลายคนเร ยกโลกสม ยน ว า“ย คสม ยส ดท ายความจร งจะเป นเช

4. สื่อการเรียนการสอน

4.1ภาพพลิก,ภาพโปสเตอร์

4.2ใบงาน

4.3กระดาษชาร์ต/กระดาษA4

5. กระบวนการประเมิน

5.1ประเมินความรู้

5.1.1การตอบคำถาม

5.1.2การแสดงความคิดเห็นขณะอภิปรายในกลุ่ม

5.1.3ผลการนำเสนอผลงานของแต่ละกลุ่มหรือแต่ละคน

5.2ประเมินผลการปฏิบัติ

5.2.1สังเกตพฤติกรรมการแสดงความคิดเห็นขณะทำการสอน

5.2.2ตรวจผลงานหรือดูความรับผิดชอบงานที่ได้รับมอบหมาย

5.3เครื่องมือในการประเมิน

5.3.1ใบงาน

5.3.2ผลงานที่ได้รับมอบหมาย

คู่มือศาสนบำบัด 106

Page 107: บทนำ - Ministry of Public Healthหลายคนเร ยกโลกสม ยน ว า“ย คสม ยส ดท ายความจร งจะเป นเช

ใบความรู้

เวลาที่หลุดลอยไป

เวลาคืออายุของชีวิตเป็นนิอฺมัตที่สำคัญสำหรับมนุษย์อัลลอฮฺได้กล่าวถึงนิอฺมัต

อันสำคัญนี้ความว่า“และพระองค์ทรงให้ดวงอาทิตย์และดวงจันทร์เป็นประโยชน์แก่

พวกเจ้า โดยโคจรเป็นปกติ และทรงให้กลางคืนและกลางวันเป็นประโยชน์แก่พวกเจ้า”

(อัลกุรอานซูเราะฮฺอิบรอฮีม:33-34)

อายุขัยของมนุษย์บนโลกนี้นั้นแสนสั้นเมื่อเทียบเวลาในโลกหน้าหน้าที่ของมนุษย์

ในขณะที่ยังมีชีวิตในโลกนี้จึงเป็นการตักตวงและใช้ประโยชน์จากเวลาที่มีอยู่ให้มากที่สุด

เพื่อเตรียมสัมภาระที่จำเป็นและพร้อมสำหรับการเดินทางอันแสนยาวนานในโลกหน้า

ด้วยเพราะความจำกัดของเวลาที่มีอยู่ดังนั้นมนุษย์จึงควรรู้จักใช้เวลาให้ดีที่สุดไม่

ปล่อยให้เวลาและอายุขัยของชีวิตหลุดลอยไปโดยไร้ประโยชน์ใดๆต่อตัวเองการละเลยต่อ

การใช้เวลาให้คุ้มค่าในชีวิตนี้ถือว่าเป็นความขาดทุนที่ใหญ่หลวง แต่กระนั้นก็ยังมีมนุษย์

มากมายจมอยู่ในสภาพของการใช้เวลาไม่เป็นท่านรอซูลศ็อลลัลลอฮฺอะลัยอิวะสัลลัม

ได้กล่าวไว้มีความว่า “นิอฺมัตสองประการที่มนุษย์หลงลืมและใช้อย่างเสียหายมากที่สุดนั่น

คือสุขภาพที่ดีและเวลาว่าง”(รายงานโดยอัล-บุคอรีย์)การหลงลืมของมนุษย์ต่อการใช้

เวลานั้นมีรูปแบบที่แตกต่างกันไป แต่ที่สำคัญที่สุดคือการหลงลืมความเป็นจริงของชีวิตว่า

ตนเป็นบ่าวของอัลลอฮฺ มีหน้าที่ต้องศรัทธาต่อพระองค์ต้องปฏิบัติความดีงามเพื่อใช้เป็น

เสบียงในโลกหน้า มนุษย์จะขาดทุนอย่างมหาศาลถ้าหากในชีวิตของเขาไม่ได้นึกถึงสิ่งเหล่า

นี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าหากเขาใช้เวลาในชีวิตเพื่อปรนเปรอความต้องการของตัวเองและ

อารมณ์ใฝ่ต่ำเพื่อความสุขสนุกสนานชั่วครู่ชั่วคราวบนโลกนี้เพียงอย่างเดียว

ดังนั้น การป้องกันการขาดทุนจากการใช้เวลาคือการกลับไปสู่คำสอนของอัลลอฮฺ

ซึ่งพระองค์ได้ตรัสไว้ความว่า“ขอสาบานด้วยเวลา แท้จริงมนุษย์นั้นอยู่ในความขาดทุน

อย่างแน่นอน ยกเว้นผู้ที่ศรัทธาและปฏิบัติความดีงาม และผู้ที่สั่งเสียและตักเตือนกันใน

สัจธรรมความถูกต้อง และสั่งเสียกันให้มีความอดทน”(อัลกุรอานซูเราะฮฺอัล-อัศรฺ)

ความขาดทุนที่ใหญ่หลวงคือความขาดทุนในโลกหน้า เพราะปล่อยเวลาให้ล่วงเลย

ไปในโลกนี้โดยไม่ใช้ประโยชน์เพื่อเตรียมพร้อมสู่การเดินทางไปยังโลกอาคิเราะฮฺอัลลอฮฺ

ได้ตรัสไว้ความว่า“แท้จริงบรรดาผู้ขาดทุนนั้นคือผู้ที่ทำให้ตัวเองและครอบครัวเสียหาย

ในวันกิยามะฮฺ พึงรู้เถิดว่านั่นคือการขาดทุนที่ชัดแจ้ง”(อัลกุรอานซูเราะฮฺอัซุมัรฺ:15)

107 คู่มือศาสนบำบัด

Page 108: บทนำ - Ministry of Public Healthหลายคนเร ยกโลกสม ยน ว า“ย คสม ยส ดท ายความจร งจะเป นเช

เพื่อหลีกเลี่ยงความขาดทุนในชีวิตอันยาวนานในโลกหน้ามนุษย์จึงต้องรักษาความศรัทธา

และการปฏิบัติความดีของตนอยู่เสมอ และต้องรู้จักฉกฉวยโอกาสที่มี่อยู่เพื่อสร้างประโยชน์

ให้กับตนเองเพื่อจะได้ประสบความสำเร็จในโลกหน้าท่านรอซูลศ็อลลัลลอฮฺอะลัยฮิวะสัลลัม

ได้กล่าวกำชับไว้มีความว่า “จงฉวยโอกาสในห้าอย่างก่อนอีกห้าอย่างจะมาถึงนั่นคือความ

หนุ่มก่อนความแก่ สุขภาพดีก่อนการเจ็บไข้ ความมั่นคงมีก่อนจะยากไร้ เวลาว่างก่อน

จะไม่มีเวลา และชีวิตก่อนความตายมาเยือน” (รายงานโดยอัล-ฮากิม)

ข้อคิดที่ได้รับจากบทเรียน

1.เวลามีความสำคัญอย่างยิ่งสำหรับมนุษย์เพราะหมายถึงอายุขัยและชีวิตของเขา

2.เวลาในโลกนี้แสนสั้นยิ่งนักเมื่อเทียบกับเวลาในโลกหน้าดังนั้นมนุษย์จึงต้องรู้จัก

ใช้เวลาให้เป็น

3.อัลลอฮฺสั่งให้มนุษย์ใช้เวลาในชีวิตให้คุ้มค่าที่สุดเพื่อผลประโยชน์ของเขาใน

โลกหน้า

4.การปล่อยปละเวลาในชีวิตโดยให้ล่วงเลยไปถือเป็นความขาดทุนและความ

เสียหายอย่างใหญ่หลวง

5.มนุษย์จะพ้นจากความขาดทุนทั้งในโลกนี้และโลกหน้าถ้าหากสามารถรักษา

อีมานหรือความศรัทธาของตนต่อพระผู้เป็นเจ้ารวมทั้งหมั่นปฏิบัติความดีอย่างสม่ำเสมอ

และไม่ขาดตกบกพร่อง

คู่มือศาสนบำบัด 108

Page 109: บทนำ - Ministry of Public Healthหลายคนเร ยกโลกสม ยน ว า“ย คสม ยส ดท ายความจร งจะเป นเช

ใบงาน

คำชี้แจงให้ท่านทำกิจกรรมตามหัวข้อที่มอบหมาย(10นาที)แล้วนำเสนอผลงานโดยตอบ

คำถามตามประเด็นดังนี้

1.ท่านคิดว่าวัยหนุ่มสาวมีความสำคัญสำหรับมนุษย์อย่างไร

2.ท่านคิดว่าควรจะทำอย่างไรบ้างเพื่อไม่ให้ขาดทุนในวันอาคิเราะฮฺ

109 คู่มือศาสนบำบัด

Page 110: บทนำ - Ministry of Public Healthหลายคนเร ยกโลกสม ยน ว า“ย คสม ยส ดท ายความจร งจะเป นเช

ใบความรู้สำหรับผู้สอน

(แผนการสอนเรื่อง “เวลาที่หลุดลอยไป”)

ประเด็นคำถาม

1.ท่านคิดว่าวัยหนุ่มสาวมีความ

สำคัญสำหรับมนุษย์อย่างไร

2.ท่านคิดว่าควรจะทำอย่างไรบ้าง

เพื่อไม่ให้ขาดทุนในวันอาคิเราะฮฺ

แนวคิดที่ควรได้

-ช่วงวัยหนุ่มสาวเป็นวัยที่มีความพร้อมทั้งทาง

ร่างกายและจิตใจในการทำกิจกรรมต่างๆหาก

วัยล่วงเลยไปสภาพร่างกายไม่อำนวยต่อการทำ

อามาลอีบาดัตหรือกิจกรรมงานต่างๆคืออาจจะ

ทำได้ไม่เต็มที่และไม่สมบูรณ์ดังนั้นในช่วงวัย

หนุ่มสาวจึงต้องรีบเร่งทำในทุกๆกิจกรรมที่เป็น

อามาลอีบาดัต(กิจกรรมที่ดีงาน)เพราะเราก็ไม่

สามารถรู้ได้ว่าพรุ่งนี้จะมีชีวิตอยู่หรือไม่จึงต้อง

พยายามทำวันนี้ให้ดีที่สุด

-ใช้เวลาให้ดีที่สุดแต่ละวันหากเราปล่อยเวลา

ให้สูญเปล่าถือว่าเราขาดทุนอย่างใหญ่หลวง

-อย่ามัวแต่หลงระเริงกับการใช้เวลาในโลกนี้

โดยการปรนเปรอความต้องการของตัวเองและ

อารมณ์ใฝ่ต่ำแสวงหาแต่ความสนุกสนาน

อย่างเดียว

-ต้องรักษาความศรัทธาและการปฏิบัติความดี

ของตนอยู่เสมอ

-ต้องฉกฉวยโอกาสที่มีอยู่เพื่อสร้างความดีให้กับ

ตนเองเพื่อจะได้ประสบความสำเร็จในโลกหน้า

คู่มือศาสนบำบัด 110

Page 111: บทนำ - Ministry of Public Healthหลายคนเร ยกโลกสม ยน ว า“ย คสม ยส ดท ายความจร งจะเป นเช

แผนการจัดการเรียนรู้

ศาสนบำบัดสำหรับผู้ป่วยยาเสพติด เวลาในการสอน 60 นาที

หน่วยการเรียนรู้ที่ 18 เรื่องมารยาทมุสลิม

1. สาระสำคัญ

จริยธรรมและมารยาทเป็นสิ่งที่สำคัญในอิสลามเป็นอย่างยิ่งซึ่งเป็นเครื่องประดับ

ประจำกายของแต่ละคนเป็นการสร้างความรู้สึกชื่นชอบแก่ผู้อื่นและไม่ทำให้ผู้อื่นได้รับ

ความเดือดร้อนมุสลิมต้องมีมารยาทกับทุกคนไม่เพียงเฉพาะกับมุสลิมเท่านั้นแต่กับ

ศาสนิกชนอื่นๆมุสลิมก็ต้องแสดงมารยาทที่ดีเช่นกัน

2. จุดประสงค์การเรียนรู้

1.เพื่อให้ผู้รับการบำบัดได้รู้ถึงความสำคัญของมารยาทและจริยธรรมในอิสลาม

2.เพื่อให้ผู้รับการบำบัดได้รับรู้ถึงตัวอย่างของมารยาทที่ดีในอิสลาม

3.เพื่อให้ผู้รับการบำบัดได้ตระหนักที่จะปฏิบัติตนเป็นผู้มีมารยาท

3. กระบวนการจัดการเรียนรู้

3.1นำเข้าสู่บทเรียนโดยการยกตัวอย่างจริยวัตรและมารยาทของท่านรอซูล

ศ็อลลัลลอฮฺอะลัยฮิวะสัลลัมโดยผู้สอนต้องหาหนังสือเพิ่มเติมเช่นประวัติท่านรอซูล

ศ็อลลัลลอฮฺอะลัยฮิวะสัลลัมซุนนะห์นบี(5นาที)

3.2สุ่มถามผู้รับการบำบัด2-3คนเกี่ยวกับความรู้เรื่องศาสนาที่เกี่ยวข้อง(5นาที)

3.3ผู้สอนบรรยายให้ความรู้เกี่ยวกับเนื้อหาในใบความรู้(30นาที)

3.4ให้ผู้รับการบำบัดทำกิจกรรมตามประเด็นใบงานอาจจะแบ่งเป็นกลุ่มหรือ

รายบุคคล(10นาที)

111 คู่มือศาสนบำบัด

Page 112: บทนำ - Ministry of Public Healthหลายคนเร ยกโลกสม ยน ว า“ย คสม ยส ดท ายความจร งจะเป นเช

3.5สุ่มตัวแทนนำเสนอผลงาน2-3คนผู้สอนรวบรวมข้อสรุปและอภิปราย

เพิ่มเติม(10นาที)

4. สื่อการเรียนการสอน

4.1ภาพพลิก,ภาพโปสเตอร์

4.2ใบงาน

4.3กระดาษชาร์ต/กระดาษA4

5. กระบวนการประเมิน

5.1ประเมินความรู้

5.1.1การตอบคำถาม

5.1.2การแสดงความคิดเห็นขณะอภิปรายในกลุ่ม

5.1.3ผลการนำเสนอผลงานของแต่ละกลุ่มหรือแต่ละคน

5.2ประเมินผลการปฏิบัติ

5.2.1สังเกตพฤติกรรมการแสดงความคิดเห็นขณะทำการสอน

5.2.2ตรวจผลงานหรือดูความรับผิดชอบงานที่ได้รับมอบหมาย

5.3เครื่องมือในการประเมิน

5.3.1ใบงาน

5.3.2ผลงานที่ได้รับมอบหมาย

คู่มือศาสนบำบัด 112

Page 113: บทนำ - Ministry of Public Healthหลายคนเร ยกโลกสม ยน ว า“ย คสม ยส ดท ายความจร งจะเป นเช

ใบความรู้

มารยาทมุสลิม

จริยธรรมและมารยาทเป็นสิ่งที่สำคัญในอิสลามเป็นอย่างยิ่ง การมีมารยาทคือการ

ที่มุสลิมมีอุปนิสัยที่ดีงามติดตัวเป็นเครื่องประดับประจำกายของเขาเป็นการสร้างความ

รู้สึกชื่นชอบแก่ผู้อื่นและไม่ทำให้ผู้อื่นได้รับความเดือดร้อนท่านรอซูลศ็อลลัลลอฮฺอะลัยอิ

วะสัลลัมได้กล่าวไว้มีความว่า“แท้จริงแล้ว ฉันถูกส่งมาเพื่อสร้างความสมบูรณ์ให้กับ

มารยาทที่ดี”(รายงานโดยอะหฺมัด)

ท่านได้กำชับให้มุสลิมนั้นเป็นคนที่มีมารยาทต่อผู้อื่น เช่น การพูดด้วยดี การให้สลาม

การยิ้มแย้มให้กันการเห็นอกเห็นใจการเคารพความคิดเห็นการให้เกียรติไม่เหยียดหยาม

ไม่ติฉินนินทาไม่ด่าทอและไม่สาปแช่งต่อกันเป็นต้นท่านได้กล่าวไว้มีความว่า“ท่านจง

ยำเกรงอัลลอฮฺตลอดเวลาไม่ว่าจะอยู่ที่ไหน และจงทำความดีลบล้างความชั่ว และจง

คลุกคลีกับผู้อื่นด้วยมารยาทที่ดี”(รายงานโดยอัต-ติรฺมิซีย์)ท่านยังได้กล่าวอีกมีความว่า

“มุสลิมกับมุสลิมเป็นพี่น้องกัน จะต้องไม่รังเก (ก่อความอธรรม) แก่เขา ไม่เหยียบย่ำ

เขาและไม่เหยียดหยามเขา”(รายงานโดยมุสลิม)

“รอยยิ้มที่ปรากฏให้เห็นแก่พี่น้องของท่านนั้นเป็นเศราะดะเกาะฮฺ”(รายงานโดย

อิบนุหิบบาน)

“ห้าประการที่เป็นหน้าที่ของมุสลิมที่พึงปฏิบัติต่อมุสลิมคือการตอบรับสลาม

การกล่าวรับผู้ที่จาม การรับคำเชิญ การเยี่ยมผู้ป่วย และการส่งศพไปสุสาน”(รายงาน

โดยมุสลิม)

“ความดีนั้นคือการมีมารยาทที่ดี”(รายงานโดยมุสลิม)

“ไม่ใช่พวกเรา ผู้ที่ไม่เมตตาและเอ็นดูเด็กๆ และผู้ที่ไม่ให้เกียรติผู้ใหญ่” (รายงาน

โดยอัต-ติรฺมิซีย์)

การมีมารยาทที่ดีนั้นจะต้องแสดงกับทุกคนไม่เพียงเฉพาะกับมุสลิมเพียงอย่างเดียว

เท่านั้นกับผู้อื่นที่ไม่ใช่มุสลิมก็ต้องแสดงมารยาทที่ดีด้วยเช่นกัน เพราะมุสลิมเป็นผู้นำแห่ง

ความดีงามจึงสมควรต้องเป็นตัวอย่างให้ผู้อื่นได้สัมผัสถึงมารยาทและจริยธรรมความดีงาม

ของตน

ครั้งหนึ่งได้มีชาวยิวเข้ามาหาท่านรอซูลศ็อลลัลลอฮฺอะลัยอิวะสัลลัมและกล่าวว่า

“ขอความตายประสบแก่ท่าน”แทนที่พวกเขาจะกล่าวสลามท่านอาอิซะฮฺได้ยินดังนั้น

113 คู่มือศาสนบำบัด

Page 114: บทนำ - Ministry of Public Healthหลายคนเร ยกโลกสม ยน ว า“ย คสม ยส ดท ายความจร งจะเป นเช

จึงตอบไปว่า“ความตายจะประสบกับพวกเจ้านั่นแหละ”เมื่อท่านรอซูลศ็อลลัลลอฮฺ

อะลัยฮิวะสัลลัมได้ยินเช่นนั้นก็ได้ห้ามอาอิชะฮฺและได้กล่าวว่า“แท้จริงแล้วอัลลอฮฺเป็น

ผู้นุ่มนวล และทรงรักความนุ่มนวลในทุกๆ สิ่ง”ท่านอาอิชะฮฺได้ถามว่า“ท่านไม่ได้ยินที่

พวกเขากล่าวอย่างนั้นหรือ?”ท่านรอซูลได้ตอบนางว่า“ก็ฉันได้กล่าวแล้วว่า ‘พวกท่าน

ก็เช่นกัน’ แค่นั่นเอง”(รายงานโดยอัล-บุคอรีย์และมุสลิม)

มารยาทที่ดีคือสิ่งที่ทำให้มุสลิมมีเกียรติ และได้รับผลตอบแทนใหญ่หลวงในวัน

อาคิเราะฮฺท่านรอซูลศ็อลลัลลอฮฺอะลัยฮิวะสัลลัมได้กล่าวไว้มีความว่า“แท้จริงผู้

ศรัทธานั้นจะได้รับผลตอบแทนถึงขั้นผู้ถือศีลอดในเวลากลางวันและละหมาดในเวลา

ค่ำคืนด้วย เพราะการมีมารยาทที่ดีของเขา”(รายงานโดยอะหฺมัด)

ข้อคิดที่ได้รับจากบทเรียน

1.มารยาทที่ดีงามเป็นส่วนหนึ่งของคำสอนอิสลามที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง

2.มุสลิมเป็นผู้นำและตัวอย่างที่ดีในการมีมารยาททั้งต่อมุสลิมเองและต่อผู้อื่นที่

ไม่ใช่มุสลิม

3.ลักษณะของมารยาทที่ดีคือการสร้างความสุขหรือไม่สร้างความเดือดร้อนให้

กับคนอื่น

4.มุสลิมจะต้องมีนิสัยนุ่มนวลอ่อนโยนถึงแม้กับคนที่ทำกิริยาก้าวร้าวกับเรา

5.ผลตอบแทนของผู้ที่มีมารยาทที่ดีนั้นเทียบเท่าผู้ที่ถือศีลอดในเวลากลางวัน

และละหมาดในเวลากลางคืน

คู่มือศาสนบำบัด 114

Page 115: บทนำ - Ministry of Public Healthหลายคนเร ยกโลกสม ยน ว า“ย คสม ยส ดท ายความจร งจะเป นเช

ใบงาน

คำชี้แจง

ให้ท่านทำกิจกรรมตามหัวข้อที่มอบหมาย(10นาที)แล้วนำเสนอผลงานโดยตอบ

คำถามตามประเด็นดังนี้

1.ท่านคิดว่าอะไรคือผลดีที่ได้จากการมีมารยาทที่ดีต่อผู้อื่น

2.ท่านคิดว่ามารยาทใดที่ทำได้ง่ายที่สุดและมารยาทใดที่ทำได้ยากที่สุด

115 คู่มือศาสนบำบัด

Page 116: บทนำ - Ministry of Public Healthหลายคนเร ยกโลกสม ยน ว า“ย คสม ยส ดท ายความจร งจะเป นเช

ใบความรู้สำหรับผู้สอน

(แผนการสอนเรื่อง “มารยาทมุสลิม”)

ประเด็นคำถาม

1.ท่านคิดว่าอะไรคือผลดีที่ได้

จากการมีมารยาทที่ดีต่อผู้อื่น

2.ท่านคิดว่ามารยาทใดที่ทำได้ง่าย

ที่สุดและมารยาทใดที่ทำได้ยาก

ที่สุด

แนวคิดที่ควรได้

-จะได้รับผลตอบแทนจากอัลลอฮฺเทียบเท่าผู้ที่

ถือศีลอดในเวลากลางวันและละหมาดในเวลา

กลางคืนจึงทำให้การมีมารยาทที่ดีนั้นเป็นสิ่ง

สำคัญในอิสลามเพราะมุสลิมเป็นผู้นำแห่งความ

ดีงามและต้องเป็นตัวอย่างให้ผู้อื่นได้สัมผัสถึง

มารยาท

-มารยาทที่ทำได้ง่ายที่สุดคือการยิ้มการให้สลาม

และการพูดจาไพเราะเพราะเป็นพฤติกรรมที่

สามารถแสดงออกมาได้โดยผิวเผินเมื่อมีสิ่งเร้า

โดยอาจมีเจตนาหรือไม่มีก็ได้

-มารยาทที่ทำได้ยากที่สุดคือการไม่ติฉินนินทา

การไม่เหยียดหยามการเห็นอกเห็นใจการไม่ด่า

ทอและเคารพในสิทธิส่วนบุคคลเพราะเป็น

พฤติกรรมที่ต้องใช้ความรู้สึกจากจิตใจและเจตนา

ในการแสดงพฤติกรรมและเป็นการแสดงพฤติกรรม

แบบมีเงื่อนไขโดยอาจจะมีมารชัยฏอนมาล่อ

ลวงให้แสดงพฤติกรรมเหล่านี้ร่วมด้วย

คู่มือศาสนบำบัด 116

Page 117: บทนำ - Ministry of Public Healthหลายคนเร ยกโลกสม ยน ว า“ย คสม ยส ดท ายความจร งจะเป นเช

แผนการจัดการเรียนรู้

ศาสนบำบัดสำหรับผู้ป่วยยาเสพติด เวลาในการสอน 60 นาที

หน่วยการเรียนรู้ที่ 19 เรื่อง ความซื่อสัตย์

1. สาระสำคัญ

อิสลามไม่สนับสนุนและต่อต้านการพูดโกหกด้วยเพราะมันเป็นนิสัยของพวกสับปลับ

หน้าไหว้หลังหลอกหรือพวกมุนาฟิก การโกหกนั้นจะนำไปสู่ความหายนะและเนรคุณต่อ

อัลลอฮฺส่วนผู้ที่มีความซื่อสัตย์ต่อตนเองและผู้อื่นตลอดจนซื่อสัตย์ต่อหน้าที่ของเขานั้น

จะเป็นที่รักใคร่ของฮัลลอฮฺและเพื่อนมนุษย์

2. จุดประสงค์การเรียนรู้

1.เพื่อให้ผู้รับการบำบัดได้รู้ถึงความสำคัญของความซื่อสัตย์

2.เพื่อให้ผู้รับการบำบัดได้ตระหนักถึงอันตรายจากการพูดโกหก

3.เพื่อให้ผู้รับการบำบัดได้ตระหนักที่จะปฏิบัติตนเป็นผู้ซื่อสัตย์ทั้งในการเจตนา

การพูดและการกระทำ

3. กระบวนการจัดการเรียนรู้

3.1นำเข้าสู่บทเรียนโดยถามผู้รับการบำบัดว่า“เคยพูดโกหกเรื่องอะไรบ้าง”(5นาที)

3.2สุ่มถามผู้รับการบำบัด2-3คนเกี่ยวกับความรู้เรื่องศาสนาที่เกี่ยวข้อง(5นาที)

3.3ผู้สอนบรรยายให้ความรู้เกี่ยวกับเนื้อหาในใบความรู้(30นาที)

3.4ให้ผู้รับการบำบัดทำกิจกรรมตามประเด็นใบงานอาจจะแบ่งเป็นกลุ่มหรือ

รายบุคคล(10นาที)

3.5สุ่มตัวแทนนำเสนอผลงาน2-3คนผู้สอนรวบรวมข้อสรุปและอภิปราย

เพิ่มเติม(10นาที)

117 คู่มือศาสนบำบัด

Page 118: บทนำ - Ministry of Public Healthหลายคนเร ยกโลกสม ยน ว า“ย คสม ยส ดท ายความจร งจะเป นเช

4. สื่อการเรียนการสอน

4.1ภาพพลิก,ภาพโปสเตอร์

4.2ใบงาน

4.3กระดาษชาร์ต/กระดาษA4

5. กระบวนการประเมิน

5.1ประเมินความรู้

5.1.1การตอบคำถาม

5.1.2การแสดงความคิดเห็นขณะอภิปรายในกลุ่ม

5.1.3ผลการนำเสนอผลงานของแต่ละกลุ่มหรือแต่ละคน

5.2ประเมินผลการปฏิบัติ

5.2.1สังเกตพฤติกรรมการแสดงความคิดเห็นขณะทำการสอน

5.2.2ตรวจผลงานหรือดูความรับผิดชอบงานที่ได้รับมอบหมาย

5.3เครื่องมือในการประเมิน

5.3.1ใบงาน

5.3.2ผลงานที่ได้รับมอบหมาย

คู่มือศาสนบำบัด 118

Page 119: บทนำ - Ministry of Public Healthหลายคนเร ยกโลกสม ยน ว า“ย คสม ยส ดท ายความจร งจะเป นเช

ใบความรู้

ความซื่อสัตย์

ศาสนาอิสลามเป็นศาสนาที่สมบูรณ์แบบครอบคลุมทั้งสามองค์ประกอบที่มนุษย์

ทุกคนจะต้องมีคือด้านการศรัทธาการปฏิบัติ(อิบาดะฮฺ)และมารยาทต่างๆที่ดีงามส่วน

หนึ่งของมารยาทที่ดีงามก็คืออิสลามสอนให้ทุกคนมีความซื่อสัตย์ในทุกๆด้านที่รับผิดชอบ

ไม่ว่าจะเป็นการซื่อสัตย์ต่อตัวเองหรือผู้อื่นอิสลามไม่เห็นด้วยกับผู้ที่ชอบพูดในสิ่งที่เขาไม่

ปฏิบัติหรือพูดไม่ตรงกับสิ่งที่มีในใจของเขาอัลลอฮฺได้ตรัสไว้ความว่า“โอ้บรรดาผู้ศรัทธา

ทั้งหลาย เหตุไฉนพวกเจ้าจึงกล่าวในสิ่งที่พวกเจ้าไม่ได้กระทำ เป็นความพิโรธอันใหญ่

หลวงสำหรับอัลลอฮฺ ในการที่พวกเจ้ากล่าวในสิ่งที่ไม่ได้กระทำ” (อัลกุรอานซูเราะฮฺ

อัศ-ศ็อฟ:3)

อิสลามไม่สนับสนุนและต่อต้านการพูดโกหกด้วยเพราะมันเป็นนิสัยของพวกสับปลับ

หน้าไหว้หลังหลอกหรือที่เรียกกันว่าพวกมุนาฟิกท่านรอซูลศ็อลลัลลอฮฺอะลัยอิวะสัลลัม

ได้กล่าวถึงคุณลักษณะของมุนาฟิกว่า“เครื่องบ่งบอกมุนาฟิกนั้นคือ เมื่อเขาเล่าเรื่องเขา

จะพูดปด เมื่อสัญญาก็จะไม่ทำตาม และเมื่อได้รับความวางใจก็จะทำลาย”(รายงาน

โดยอัล-บุคอรีย์)

ท่านหญิงอาอิชะฮฺภรรยาของท่านรอซูลศ็อลลัลลอฮฺอะลัยอิวะสัลลัมได้กล่าว

ถึงจุดยืนของท่านรอซูลที่มีต่อผู้ที่ชอบพูดโกหกว่าท่านจะโกรธมากต่อผู้ที่ชอบพูดโกหกเมื่อ

ใดท่านศาสดาได้ยินผู้ใดพูดโกหกเพียงครั้งเดียวท่านจะโกรธเขาผู้นั้นจนกว่าเขาจะกลับเนื้อ

กลับตัวและขออภัยโทษต่ออัลลอฮฺและสัญญาว่าเขาจะไม่พูดโกหกอีก

การโกหกนั้นจะนำไปสู่ความหายนะและเนรคุณต่ออัลลอฮฺ ส่วนผู้มีความซื่อสัตย์

ต่อตนเองและผู้อื่นตลอดจนซื่อสัตย์ต่อหน้าที่นั้นจะเป็นที่รักใคร่ของอัลลอฮฺและเพื่อน

มนุษย์ดังหะดีษที่มีความว่า“พวกท่านจงห่างไกลจากการพูดโกหก แท้จริงแล้วการพูด

โกหกจะนำไปสู่การกระทำความชั่ว และแท้จริงแล้วการกระทำความชั่วจะนำไปสู่

ขุมนรกและเมื่อชายผู้หนึ่งได้กล่าวเท็จอย่างสม่ำเสมอเขาจะถูกอัลลอฮฺบันทึกว่าเป็น

จอมโกหกหลอกลวง พวกท่านจงซื่อสัตย์ ซึ่งแท้จริงแล้วความซื่อสัตย์จะนำไปสู่ความ

ดีและแท้จริงแล้วความดีนั้นจะนำไปสู่สวรรค์ เมื่อใดเขาผู้นั้นพูดแต่ความจริง (ซื่อสัตย์)

เขาจะถูกอัลลอฮฺบันทึกว่าเป็นคนที่ซื่อสัตย์ยิ่ง”(รายงานโดยอัล-บุคอรีย์)

119 คู่มือศาสนบำบัด

Page 120: บทนำ - Ministry of Public Healthหลายคนเร ยกโลกสม ยน ว า“ย คสม ยส ดท ายความจร งจะเป นเช

หะดีษข้างต้นได้บอกอย่างชัดเจนว่าการพูดความจริงหรือความซื่อสัตย์คือเส้นทาง

สู่สวรรค์และความโกหกก็คือเส้นทางไปสู่นรก การซื่อสัตย์ต่อหน้าที่ในการเป็นมุสลิมนั้น

หมายถึงการปฏิบัติงานที่ดีอย่างสม่ำเสมอเพื่อเป็นเสบียงไว้ในโลกอาคิเราะฮฺอัลลอฮฺได้

ตรัสไว้มีความว่า“เจ้าจงทำการภักดีต่อองค์อภิบายของเจ้าจนกว่าความแน่นอน

(ความตาย) จะประสบแก่ตัวเจ้า”(อันกุรอานซูเราะฮฺอัล-หิจญ์รฺ:99)และท่านรอซูล

ศ็อลลัลลอฮฺอะลัยฮิวะสัลลัมได้กล่าวไว้มีความว่า“อัลลอฮฺทรงรักผู้ปฏิบัติงานประจำ

อย่างสม่ำเสมอ”(รายงานโดยอัล-บุคอรีย์และมุสลิม)

1. สาระสำคัญ

ข้อคิดที่ได้รับจากบทเรียน

1.อัลลอฮฺทรงรักผู้ที่มีความซื่อสัตย์และไม่ชอบการพูดโกหก

2.ผู้ที่ไม่ซื่อสัตย์พูดไม่ตรงกับการกระทำจะได้รับความโกรธกริ้วจากอัลลอฮฺ

3.ความซื่อสัตย์เป็นศูนย์ของความดีงามทั้งมวลและเป็นเส้นทางสู่สวรรค์

4.การพูดโกหกเป็นหนึ่งในคุณลักษณะประจำตัวของพวกมุนาฟิก

5.มุสลิมจะต้องซื่อสัตย์ต่ออัลลอฮฺต่อตนเองและผู้อื่น

6.การปฏิบัติศาสนกิจและความดีอย่างสม่ำเสมอนับเป็นเครื่องหมายแห่งความ

ซื่อสัตย์เช่นเดียวกัน

คู่มือศาสนบำบัด 120

Page 121: บทนำ - Ministry of Public Healthหลายคนเร ยกโลกสม ยน ว า“ย คสม ยส ดท ายความจร งจะเป นเช

ใบงาน

คำชี้แจงให้ท่านทำกิจกรรมตามหัวข้อที่มอบหมาย(10นาที)แล้วนำเสนอผลงานโดยตอบ

คำถามตามประเด็นดังนี้

1.ท่านคิดว่าการซื่อสัตย์และการพูดความจริงมีผลดีและผลเสียอย่างไร

2.การซื่อสัตย์เป็นสิ่งที่ทำได้ยากเราจะทำอย่างไรเพื่อรักษานิสัยความซื่อสัตย์ไว้

ให้ได้

121 คู่มือศาสนบำบัด

Page 122: บทนำ - Ministry of Public Healthหลายคนเร ยกโลกสม ยน ว า“ย คสม ยส ดท ายความจร งจะเป นเช

ใบความรู้สำหรับผู้สอน

(แผนการสอนเรื่อง “ผู้ซื่อสัตย์”)

ประเด็นคำถาม

1.ท่านคิดว่าการซื่อสัตย์

และการพูดความจริง

มีผลดีและผลเสียอย่างไร

2.การซื่อสัตย์เป็นสิ่งที่ทำได้ยาก

เราจะทำอย่างไรเพื่อรักษา

นิสัยความซื่อสัตย์ไว้ให้ได้

แนวคิดที่ควรได้

ผลดี

-เป็นที่รักใคร่และโปรดปรานของอัลลอฮฺรวมทั้ง

มนุษย์ด้วยกันเอง

-อัลลอฮฺจะประทานความจำเริญแก่ชีวิตในโลกนี้

และได้รับผลตอบแทนที่ดีในโลกหน้า

ผลเสีย

-อาจจะทำให้เกิดเป็นช่องทางให้กับผู้ที่ชอบ

คดโกงใช้เราเป็นเครื่องมือ

-อาจจะถูกลอบทำร้ายถึงแก่ชีวิตเพราะไม่ยอม

ร่วมมือกระทำชั่ว

-อาจเข้าสังคมลำบากเพราะมักจะพูดแต่ความ

จริงทำให้ผู้อื่นรับไม่ได้

-ไม่หัดพูดโกหก

-ต้องยึดเส้นทางที่อิสลามได้กำหนดและหลีกเลี่ยง

ในสิ่งที่อัลลอฮฺทรงห้าม

-ปฏิบัติศาสนกิจและความดีอย่างสม่ำเสมอ

-มีความเกรงกลัวต่อวันพิพากษาในวันอาคีเราะฮฺ

คู่มือศาสนบำบัด 122

Page 123: บทนำ - Ministry of Public Healthหลายคนเร ยกโลกสม ยน ว า“ย คสม ยส ดท ายความจร งจะเป นเช

แผนการจัดการเรียนรู้

ศาสนบำบัดสำหรับผู้ป่วยยาเสพติด เวลาในการสอน 60 นาที

หน่วยการเรียนรู้ที่ 20 เรื่อง ความสำคัญของการละหมาด

1. สาระสำคัญ

การละหมาดคือเสาหลักของศาสนาที่มุสลิมทุกคนจะต้องช่วยกันรักษาและปฏิบัติ

ทุกวันตราบเท่าที่มีชีวิตอยู่ การละหมาดเป็นศาสนกิจที่จะช่วยสานสัมพันธ์ระหว่างพระเจ้า

และบ่าวของพระองค์และทุกอิริยาบถในช่วงประกอบพิธีละหมาดคืออิริยาบถของบ่าว

ผู้อ่อนแอที่กำลังเข้าเฝ้าพระเจ้าผู้ทรงยิ่งใหญ่คือพระองค์อัลลอฮฺ

2. จุดประสงค์การเรียนรู้

1.เพื่อให้ผู้รับการบำบัดได้รู้ถึงความสำคัญของการละหมาด

2.เพื่อให้ผู้รับการบำบัดได้ตระหนักที่จะดำรงการละหมาดไว้ให้ดีที่สุด

3.เพื่อให้ผู้รับการบำบัดได้รู้ถึงประโยชน์และผลที่ได้รับจากการละหมาด

3. กระบวนการจัดการเรียนรู้

3.1นำเข้าสู่บทเรียนโดยบอกความหมายของเบอร์โทรศัพท์ที่โทรหาอัลลอฮฺคือ

24434(รอกาอัตของการละหมาดซูโบะห์ซุบฮีอัศรีมัฆริบอีศา)(5นาที)

3.2สุ่มถามผู้รับการบำบัด2-3คนเกี่ยวกับความรู้เรื่องศาสนาที่เกี่ยวข้อง(5นาที)

3.3ผู้สอนบรรยายให้ความรู้เกี่ยวกับเนื้อหาในใบความรู้(30นาที)

3.4ให้ผู้รับการบำบัดทำกิจกรรมตามประเด็นใบงานอาจจะแบ่งเป็นกลุ่มหรือ

รายบุคคล(10นาที)

3.5สุ่มตัวแทนนำเสนอผลงาน2-3คนผู้สอนรวบรวมข้อสรุปและอภิปราย

เพิ่มเติม(10นาที)

123 คู่มือศาสนบำบัด

Page 124: บทนำ - Ministry of Public Healthหลายคนเร ยกโลกสม ยน ว า“ย คสม ยส ดท ายความจร งจะเป นเช

4. สื่อการเรียนการสอน

4.1ภาพพลิก,ภาพโปสเตอร์

4.2ใบงาน

4.3กระดาษชาร์ต/กระดาษA4

5. กระบวนการประเมิน

5.1ประเมินความรู้

5.1.1การตอบคำถาม

5.1.2การแสดงความคิดเห็นขณะอภิปรายในกลุ่ม

5.1.3ผลการนำเสนอผลงานของแต่ละกลุ่มหรือแต่ละคน

5.2ประเมินผลการปฏิบัติ

5.2.1สังเกตพฤติกรรมการแสดงความคิดเห็นขณะทำการสอน

5.2.2ตรวจผลงานหรือดูความรับผิดชอบงานที่ได้รับมอบหมาย

5.3เครื่องมือในการประเมิน

5.3.1ใบงาน

5.3.2ผลงานที่ได้รับมอบหมาย

คู่มือศาสนบำบัด 124

Page 125: บทนำ - Ministry of Public Healthหลายคนเร ยกโลกสม ยน ว า“ย คสม ยส ดท ายความจร งจะเป นเช

ใบความรู้

ความสำคัญของการละหมาด

การละหมาดเป็นรูก่น(หลักการ)ที่สองของอิสลามและเป็นสิ่งที่สำคัญยิ่งรองลง

มาจากการปฏิญาณตนเป็นมุสลิม เพราะการละหมาดคือเสาหลักของศาสนาที่มุสลิม

ทุกคนจะต้องช่วยกันรักษาและคงไว้ตราบเท่าที่ยังมีชีวิตอยู่อัลลอฮฺได้กำชับและฝากฝังบรรดา

ผู้ศรัทธาทั้งหลายให้ช่วยกันรักษาและดำรงการละหมาดห้าเวลาไว้ ดังดำรัสของพระองค์

ที่มีความว่า“พวกเจ้าจงรักษาการละหมาดทั้งหลายไว้ และละหมาดที่อยู่กึ่งกลาง (คือ

ละหมาดอัศริ) และจงยืนละหมาดเพื่ออัลลอฮฺโดยนอบน้อม”(อัลกุรอานซูเราะฮฺอัล-

บะเกาะเราะฮฺ238)และสิ่งสุดท้ายที่ท่านรอซูลศ็อลลัลลอฮฺอะลัยอิวะสัลลัมได้ฝากไว้

กับเหล่าเศาะหาบะฮฺของท่านก่อนที่ท่านจะจากโลกนี้ไปก็คือการละหมาดห้าเวลา

การละหมาดเป็นศาสนกิจอันหนึ่งที่จะช่วยสานสัมพันธ์อันดีงามและมั่นคงระหว่าง

พระผู้เป็นเจ้ากับบ่าวของพระองค์นับตั้งแต่เราเริ่มกล่าวตักบีรฺ(อัลลอฮฺอักบัรฺ)ก็แสดงให้

เห็นได้ชัดเจนว่าขณะนี้บ่าวกำลังเข้าเฝ้าอัลลอฮฺผู้ทรงสร้างเพราะว่าตั้งแต่ตักบีรจนถึงการ

ให้สลามเป็นกิริยามารยาทและทุกอิริยาบทที่ถูกแสดงออกมาในช่วงประกอบพิธีละหมาด

นั้นคืออิริยาบทของบ่าวผู้อ่อนแอที่กำลังเข้าเฝ้าพระเจ้าผู้ยิ่งใหญ่คือพระองค์อัลลอฮฺ

อีกหลักฐานหนึ่งที่จะช่วยบ่งชี้ว่าการละหมาดคือการเข้าเฝ้าอัลลอฮฺก็คือเวลาที่ผู้

ละหมาดต้องอ่านสูเราะฮฺอัล-ฟาติหะฮฺในทุกๆร๊อกอัตของการละหมาดทุกๆอายัตที่

เขาได้อ่านในสูเราะฮฺอัล-ฟาติหะฮฺนั้นอัลลอฮฺจะทรงตอบรับดังที่มีรายงานในหะดีษของ

ท่านรอซูลศ็อลลัลลอฮฺอะลัยอิวะสัลลัม

ส่วนหนึ่งของประโยชน์สำหรับผู้ที่รักษาไว้ซึ่งการละหมาดก็คือการละหมาดจะช่วย

ชำระบาปและจะช่วยชำระจิตใจให้บริสุทธิ์ปราศจากสิ่งที่ไม่ดีต่างๆหรือบาปอันเป็นสิ่ง

โสโครกที่ติดอยู่ให้หมดสิ้นไปดังหะดีษที่มีความว่า“พวกท่านลองตอบสิว่า ถ้าหากว่าหน้า

ประตูบ้านของพวกท่านมีแม่น้ำไหลผ่าน เพื่อที่พวกท่านจะได้อาบน้ำชำระร่างกายห้า

ครั้งๆ ในทุกๆ วัน แล้วท่านยังจะมีสิ่งสกปรกหรือกลิ่นตัวติดหรือค้างอยู่อีกไหม?”บรรดา

ผู้ที่ฟังท่านอยู่ตอบว่าจะไม่มีสิ่งสกปรกลงเหลือเลยท่านก็กล่าวอีกต่อไปว่า“ดังนั้นการ

ละหมาดห้าเวลาก็เช่นกัน อัลลอฮฺจะทรงชำระบาปและความผิดต่างๆ ของพวกท่าน

ด้วยการละหมาด”(รายงานโดยอัล-บุคอรีย์และมุสลิม)ท่านศาสดาได้กล่าวไว้ความว่า

“การละหมาดห้าเวลาและการละหมาดญุมอะฮฺ (ละหมาดวันศุกร์)หนึ่งไปยังอีกญุมอะฮฺหนึ่ง

มีผลตอบแทนคืออัลลอฮฺจะทรงไถ่โทษ (ชำระบาป) ในสิ่งที่ไม่ใช่บาปใหญ่” (รายงาน

125 คู่มือศาสนบำบัด

Page 126: บทนำ - Ministry of Public Healthหลายคนเร ยกโลกสม ยน ว า“ย คสม ยส ดท ายความจร งจะเป นเช

โดยมุสลิม)การละหมาดมิใช่เพียงแต่สามารถชำระบาปและสิ่งโสโครกเท่านั้นแต่การ

ละหมาดยังสามารถสร้างเกราะป้องกันบาปอีกด้วยดังดำรัสของอัลลอฮฺที่มีใจความว่า“แท้จริง

การละหมาดสามารถยับยั้งมิให้กระทำความโสมมและความชั่ว”(อัลกุรอานซูเราะฮฺ

อัล-อันกะบูต :45)นั่นเป็นเพราะว่าการละหมาดคือแสงสว่างที่จะช่วยส่องจิตใจของผู้ศรัทธา

บนโลกนี้และในวันอาคีเราะฮฺท่านรอซูลได้กล่าวไว้มีความว่า“การละหมาดนั่นคือแสง

สว่าง”(รายงานโดยมุสลิม)ซึ่งใครก็ตามที่รักษาไว้ซึ่งการละหมาดเขาจะได้รรับแสงสว่าง

และความสำเร็จในวันกิยามะฮฺ

ข้อคิดที่ได้รับจากบทเรียน

1.การละหมาดมีความสำคัญอย่างยิ่งเพราะเป็นหลักการข้อที่สองของรุก่นอิสลาม

(หลักการอิสลาม)

2.การละหมาดคือการแสดงความเคารพภักดีต่ออัลลอฮฺที่มุสลิมทุกคนต้องดำรง

ไว้อย่างเคร่งครัดสม่ำเสมอ

3.การละหมาดเป็นการสร้างสายสัมพันธ์ของผู้เป็นบ่าวกับพระผู้เป็นเจ้าของเขา

4.การละหมาดห้าเวลาสามารถเป็นได้ทั้งการชำระล้างบาปและสิ่งสกปรกในจิต

ใจของมนุษย์และยังเป็นเกราะกำบังจากการล่อลวงของชัยฏอนที่คอยชักจูงมนุษย์ในทาง

ที่ผิด

5.การละหมาดเป็นแสงสว่างให้กับมนุษย์ทั้งในโลกนี้และโลกหน้า

คู่มือศาสนบำบัด 126

Page 127: บทนำ - Ministry of Public Healthหลายคนเร ยกโลกสม ยน ว า“ย คสม ยส ดท ายความจร งจะเป นเช

ใบงาน

คำชี้แจงให้ท่านทำกิจกรรมตามหัวข้อที่มอบหมาย(10นาที)แล้วนำเสนอผลงานโดยตอบ

คำถามตามประเด็นดังนี้

1.ท่านคิดว่าเหตุใดมุสลิมจึงต้องรักษาการละหมาดห้าเวลาทุกวัน

2.ท่านคิดว่าการละหมาดมีผลทางจิตใจของท่านอย่างไร

3. ท่านคิดว่าควรจะทำอย่างไรเพื่อให้การละหมาดของท่านสมบูรณ์และมีประโยชน์

ต่อท่าน

127 คู่มือศาสนบำบัด

Page 128: บทนำ - Ministry of Public Healthหลายคนเร ยกโลกสม ยน ว า“ย คสม ยส ดท ายความจร งจะเป นเช

ใบความรู้สำหรับผู้สอน

(แผนการสอนเรื่อง “ความสำคัญของการละหมาด”)

ประเด็นคำถาม

1.ท่านคิดว่าเหตุใดมุสลิมจึงต้อง

รักษาการละหมาดห้าเวลาทุกวัน

2.ท่านคิดว่าการละหมาด

มีผลทางจิตใจของท่านอย่างไร

3.ท่านคิดว่าควรจะทำอย่างไร

เพื่อให้การละหมาดของท่าน

สมบูรณ์และมีประโยชน์ต่อ

ท่าน

แนวคิดที่ควรได้

-เพราะเป็นเสาหลักของศาสนาที่มุสลิมทุกคน

ต้องปฏิบัติ

-เป็นกิจกรรมที่ช่วยสานสายสัมพันธ์อันมั่นคง

ระหว่างพระเจ้าและบ่าวของพระองค์

-เป็นการแสดงความภักดีของผู้อ่อนแอต่อพระเจ้า

ผู้ยิ่งใหญ่

- ช่วยชำระบาปและช่วยจิตใจให้บริสุทธิ์ จากสิ่งที่

ไม่ดีต่างๆและยังเป็นเกราะกำบังจากการล่อลวง

ของชัยฏอนที่คอยชักจูงมนุษย์ให้หลงผิด

-เป็นแสงส่องนำทางสู่สรวงสวรรค์

-ทำให้จิตใจสงบมีสมาธิ

-ทำให้สบายใจมีความสุขเมื่อเราได้ทำการละหมาด

หากเวลาใดที่มีเหตุให้ต้องละหมาดจวนเจียน

หมดเวลาทำให้รู้สึกมีความกระวนกระวายใจ

-ทำการละหมาดด้วยความจริงใจเพื่อหวังความ

โปรดปรานจากพระเจ้าไม่เสแสร้งแกล้งทำเพื่อ

หวังการเยินยอจากมนุษย์

-ทำอย่างมีสมาธิตั้งจิตให้มั่น

-ทำการละหมาดเปรียบดุจพระองค์ได้มายืนอยู่

ต่อหน้าเราซึ่งเราต้องสำรวมในทุกอิริยาบทขณะ

เข้าเฝ้า(ละหมาด)

-ละหมาดทันทีเมื่อถึงเวลาละหมาดเพราะจะได้

รับความประเสริฐยิ่งกว่าการทำดีต่อพ่อแม่และ

การต่อสู้ในหนทางของอัลลอฮฺ

-พยายามละหมาดเป็นกลุ่ม(ญะมาอะฮฺ)

คู่มือศาสนบำบัด 128

Page 129: บทนำ - Ministry of Public Healthหลายคนเร ยกโลกสม ยน ว า“ย คสม ยส ดท ายความจร งจะเป นเช

แผนการจัดการเรียนรู้

ศาสนบำบัดสำหรับผู้ป่วยยาเสพติด เวลาในการสอน 60 นาที

หน่วยการเรียนรู้ที่ 21 เรื่อง ละหมาดเมื่อถึงเวลา

1. สาระสำคัญ

การละหมาด ตรงต่อเวลาถือเป็นภารกิจที่ประเสริฐยิ่งกว่าการทำดีต่อพ่อแม่และ

การต่อสู้ในหนทางของอัลลอฮฺผู้ที่ประกอบการด้วยความเกียจคร้านทำเพื่อให้แล้วเสร็จ

โดยไม่คำนึงถึงความบริสุทธิ์ใจต่ออัลลอฮและความถูกต้องสมบูรณ์ของการละหมาดนั้น

คือคุณลักษณะของคนมุนาฟิก

2. จุดประสงค์การเรียนรู้

1.เพื่อให้ผู้รับการบำบัดได้รู้ถึงความสำคัญของการละหมาดทันทีเมื่อถึงเวลา

2.เพื่อให้ผู้รับการบำบัดได้ตระหนักผลเสียของการขี้เกียจละหมาด

3.เพื่อให้ผู้รับการบำบัดได้รู้ถึงความสำคัญของการละหมาดเป็นกลุ่ม(ญะมาอะฮฺ)

4.เพื่อให้ผู้รับการบำบัดทราบถึงความหมายของเสียงอะซาน

3. กระบวนการจัดการเรียนรู้

3.1นำเข้าสู่บทเรียนโดยอธิบายความหมายของอัลกุรอานซูเราะฮฺอัน-นิสาอ(5นาที)

3.2สุ่มถามผู้รับการบำบัด2-3คนเกี่ยวกับความรู้เรื่องศาสนาที่เกี่ยวข้อง(5นาที)

3.3ผู้สอนบรรยายให้ความรู้เกี่ยวกับเนื้อหาในใบความรู้(30นาที)

3.4ให้ผู้รับการบำบัดทำกิจกรรมตามประเด็นใบงานอาจจะแบ่งเป็นกลุ่มหรือ

รายบุคคล(10นาที)

3.5สุ่มตัวแทนนำเสนอผลงาน2-3คนผู้สอนรวบรวมข้อสรุปและอภิปราย

เพิ่มเติม(10นาที)

129 คู่มือศาสนบำบัด

Page 130: บทนำ - Ministry of Public Healthหลายคนเร ยกโลกสม ยน ว า“ย คสม ยส ดท ายความจร งจะเป นเช

4. สื่อการเรียนการสอน

4.1ภาพพลิก,ภาพโปสเตอร์

4.2ใบงาน

4.3กระดาษชาร์ต/กระดาษA4

5. กระบวนการประเมิน

5.1ประเมินความรู้

5.1.1การตอบคำถาม

5.1.2การแสดงความคิดเห็นขณะอภิปรายในกลุ่ม

5.1.3ผลการนำเสนอผลงานของแต่ละกลุ่มหรือแต่ละคน

5.2ประเมินผลการปฏิบัติ

5.2.1สังเกตพฤติกรรมการแสดงความคิดเห็นขณะทำการสอน

5.2.2ตรวจผลงานหรือดูความรับผิดชอบงานที่ได้รับมอบหมาย

5.3เครื่องมือในการประเมิน

5.3.1ใบงาน

5.3.2ผลงานที่ได้รับมอบหมาย

คู่มือศาสนบำบัด 130

Page 131: บทนำ - Ministry of Public Healthหลายคนเร ยกโลกสม ยน ว า“ย คสม ยส ดท ายความจร งจะเป นเช

ใบความรู้

ละหมาดเมื่อถึงเวลา

มีโองการจากอัลกุรอานและจากอัลหะดีษหลายบทด้วยกันที่กำชับมิให้เราละทิ้ง

การละหมาดโดยไม่มีเหตุที่ถูกต้องทางศาสนาอัลลอฮฺได้ตรัสไว้ความว่า“ดังนั้นความ

หายนะจงมีแด่บรรดาผู้ทำละหมาด โดยที่พวกเขาละเลยต่อการละหมาดของพวกเขา”

(อัลกุรอานซูเราะฮฺอัล-มาอูน:4-5)

อัลลอฮฺได้กล่าวถึงคุณลักษณะคนมุนาฟิกไว้มีความว่า“และเมื่อพวกเขา (พวก

มุนาฟิก) ยืนทำการละหมาด พวกเขาจะกระทำด้วยความเกียจคร้าน”(อัลกุรอาน

ซูเราะฮฺอัน-นิสาอฺ:142)ผู้ที่ประกอบการละหมาดด้วยความเกียจคร้านหรือทำเพื่อให้

แล้วเสร็จ โดยไม่คำนึงถึงความบริสุทธิ์ใจต่อพระองค์อัลลอฮฺและความถูกต้องสมบูรณ์ของ

การละหมาดในแต่ละครั้งนั้นคือคุณลักษณะของคนมุนาฟิกซึ่งจะได้รับผลตอบแทนที่เจ็บ

ปวดในวันอาคิเราะฮฺคือการลงโทษในนรกชั้นต่ำสุด

การละหมาดตรงต่อเวลาถือเป็นภารกิจที่ประเสริฐยิ่งกว่าการทำดีต่อพ่อแม่และ

การต่อสู้ในหนทางของอัลลอฮฺซึ่งมีระบุในหะดีษว่ามีผู้ถามท่านรอซูลศ็อลลัลลอฮฺอะลัยอิ

วะสัลลัมว่าศาสนกิจอะไรที่ประเสริฐที่สุดท่านตอบว่า“การละหมาดตรงต่อเวลา หลัง

จากนั้นก็คือการทำดีต่อพ่อแม่ และหลังจากนั้นก็คือการต่อสู้ในหนทางของอัลลอฮฺ”

(รายงานโดยอัล-บุคอรีย์และมุสลิม)

อีกสิ่งที่สำคัญเช่นกันก็คือการละหมาดร่วมกันหรือที่เรียกกันว่า“ละหมาดญะมา

อะฮฺ” ท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยอิ วะสัลลัม ได้ปลูกฝังและส่งเสริมให้ประชาชาติ

ของท่านประกอบการละหมาดญะมาอะฮฺในมัสยิด โดยที่ผู้ประกอบการละหมาดแบบ

ญะมาอะฮฺนั้น จะดีกว่าผู้ที่ละหมาดคนเดียวถึง 27 เท่า ดังที่มีหะดีษความว่า “การละ

หมาดญะมาอะฮฺจะดีกว่าการละหมาดคนเดียวถึง 27 เท่า”(รายงานโดยอัต-ติรฺมิซีย์)

การที่ท่านรอซูลศ็อลลัลลอฮฺอะลัยอิวะสัลลัมส่งเสริมให้ประกอบการละหมาด

ญะมาอะฮฺในมัสยิดนั้นก็เพราะว่า มัสยิดคือศูนย์กลางของการพัฒนาและขัดเกลาจิตใจของ

คนในสังคมฉะนั้นการที่เราประกอบการละหมาดญะมาอะฮฺในมัสยิดนั้นเป็นการแสดง

และคงไว้ซึ่งเอกลักษณ์อันโดดเด่นของอิสลามอัลลอฮฺได้ชมเชยแก่ผู้ประกอบการละหมาด

ในมัสยิดว่าเป็นผู้ที่ช่วยฟื้นฟูบทบาทของมัสยิดท่านรอซูลศ็อลลัลลอฮฺอะลัยอิวะสัลลัม

ได้ย้ำอีกว่าผู้ที่ประกอบการละหมาดที่มัสยิดเป็นการบ่งบอกว่าเขาเป็นผู้ศรัทธาดังหะดีษ

ที่มีความว่า“เมื่อใดในหมู่พวกเจ้าได้เห็นชายผู้หนึ่งไปมาหาสู่ที่มัสยิดเป็นประจำ จงเป็น

131 คู่มือศาสนบำบัด

Page 132: บทนำ - Ministry of Public Healthหลายคนเร ยกโลกสม ยน ว า“ย คสม ยส ดท ายความจร งจะเป นเช

พยานได้เลยว่าเขาคือผู้ศรัทธา”(รายงานโดยอิบนุมาญะฮฺ)ความหมายของเสียงอาซาน

ประโยคแรกและสองคือ“”ความว่า“อัลลอฮฺผู้

ทรงยิ่งใหญ่ (สองครั้ง) ข้าขอปฏิญาณตนว่าไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากอัลลอฮฺ” ทั้งสอง

ประโยคจะสอนให้เราทราบว่าอิสลามประกอบด้วยโครงสร้างด้านการศรัทธาหรืออากีดะฮฺ

ที่มุสสิมทุกคนจะต้องยึดมั่นที่สำคัญคือการยอมจำนนและนอบน้อมต่อพระองค์อัลลอฮฺผู้

ทรงสร้าง

ประโยคที่สาม“”(สองครั้ง)ความว่า“ข้าขอปฏิญาณตนว่า

มุหัมมัด คือศาสนทูตของอัลลอฮฺ”จากประโยคนี้แสดงว่าเราพร้อมที่จะยอมรับว่าท่าน

รอซูลของเราคือแบบอย่างที่ดีของเราในการที่จะเอาบัญญัติต่างๆของอัลลอฮฺมาปฏิบัติ

ประโยคที่สี่“”(สองครั้ง)ความว่า“เรามาละหมาดพร้อมๆ กันเถิด”

ซึ่งสอนให้ทราบว่าอุดมการณ์ของศาสนาอิสลามนั้นคือสอนให้คนทำแต่ความดีซึ่งส่วน

หนึ่งของความดีนั้นก็คือการละหมาดร่วมกันเพราะถ้าเราสังเกตเกี่ยวกับพฤติกรรมหรือ

พิธีกรรมของการละหมาดตั้งแต่ต้นจนจบเราจะทราบว่าทุกๆอิริยาบทของการละหมาด

จะเป็นการกระทำที่มีประโยชน์ในการออกกำลังกายและบทสวด(ซูเราะฮฺ)ที่อ่านก็จะสอน

ให้ทำแต่สิ่งที่ดีงามเท่านั้นยิ่งไปกว่านั้นการละหมาดร่วมกันที่มัสยิดจะเป็นการสร้าง

สัมพันธ์ไมตรีที่ดีต่อกันระหว่างผู้ไปละหมาดด้วยกันและเป็นการสอนถึงการเคารพและ

ทำตามคำสั่งของผู้นำ

ประโยคที่ห้า“”(สองครั้ง)ความว่า“โอ้พวกเรา มาสู่หลักชัยแห่ง

ความสำเร็จกันเถิด”แสดงให้เห็นว่าศาสนาอิสลามพยายามเชิญชวนและสอนในสิ่งที่จะ

นำไปสู่ความสำเร็จทั้งโลกนี้และโลกหน้านั่นก็คือให้มุ่งมั่นทำแต่ความดี หนึ่งในความดีนั้น

ก็คือการละหมาด

ข้อสังเกตหนึ่งที่เห็นจากบทอาซานนั้นจะเริ่มด้วยหลักการศรัทธาต่ออัลลอฮฺและ

นอบน้อมต่อพระองค์และจะจบด้วยประโยคนี้เช่นกัน แสดงว่าทุกสิ่งทุกอย่างที่เรากระทำ

ในโลกนี้จะต้องวางอยู่บนพื้นฐานของการศรัทธาต่ออัลลอฮฺทำเพื่ออัลลอฮฺและเราจะต้อง

กลับสู่อัลลอฮฺ

คู่มือศาสนบำบัด 132

Page 133: บทนำ - Ministry of Public Healthหลายคนเร ยกโลกสม ยน ว า“ย คสม ยส ดท ายความจร งจะเป นเช

ข้อคิดที่ได้รับจากบทเรียน

1.การละหมาดเป็นหน้าที่ของมุสลิมทุกคนที่ต้องปฏิบัติให้ตรงต่อเวลาอย่างสม่ำเสมอ

2.อิสลามสนับสนุนให้ละหมาดญะมาอะฮฺเพราะมีความสำคัญและความประเสริฐ

ใหญ่หลวงยิ่ง

3.การขี้เกียจละหมาดเป็นลักษณะที่คล้ายกับนิสัยของพวกมุนาฟิก

4. เสียงอะซานมีความหมายในการเชิญชวนให้มนุษย์หันมาศรัทธาต่ออัลลอฮฺ

ต่อรอซูลและมุ่งมั่นทำความดีเพื่อความสำเร็จในโลกนี้และโลกหน้า

ใบงาน

คำชี้แจงให้ท่านทำกิจกรรมตามหัวข้อที่มอบหมาย(10นาที)แล้วนำเสนอผลงานโดยตอบ

คำถามตามประเด็นดังนี้

1.ท่านเห็นว่าการละหมาดครบห้าครั้งในแต่ละวันให้ตรงตามเวลามีความสำคัญ

อย่างไรบ้าง

2.เพื่อเป็นมุสลิมที่ดีท่านต้องทำอย่างไรเมื่อได้ยินเสียงอะซาน

133 คู่มือศาสนบำบัด

Page 134: บทนำ - Ministry of Public Healthหลายคนเร ยกโลกสม ยน ว า“ย คสม ยส ดท ายความจร งจะเป นเช

ใบความรู้สำหรับผู้สอน

(แผนการสอนเรื่อง “ความสำคัญของการละหมาด”)

ประเด็นคำถาม

1.ท่านเห็นว่าการละหมาดครบ

ห้าครั้งในแต่ละวันให้ตรงตาม

เวลามีความสำคัญอย่างไรบ้าง

2.เพื่อเป็นมุสลิมที่ดีท่านต้อง

ทำอย่างไรเมื่อได้ยินเสียง

อะซาน

แนวคิดที่ควรได้

-ได้รับความประเสริฐจากอัลลอฮยิ่งกว่าการทำดี

ต่อพ่อแม่และการต่อสู้ในหนทางของอัลลอฮฺ

-ทำให้เราเป็นคนมีระเบียบตรงต่อเวลาและบริหาร

เวลาอย่างคุ้มค่าได้รับประโยชน์อย่างเต็มที่

-ฝึกให้มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ในการละหมาด

ซึ่งจะส่งผลถึงกิจการงานอื่นๆด้วย

-ฝึกความซื่อสัตย์ต่อตนเองและผู้อื่น

-ทำให้เรามีการวางแผนในการทำงานของแต่ละวัน

-ทำให้เรามีการขัดเกลาจิตใจในการนอบน้อมมี

การรำลึกถึงอัลลอฮฺอย่างสม่ำเสมอและมั่นคง

-สงบเงียบเพื่อสดับฟังการเชิญชวนให้ละหมาด

-ต้องเตรียมตัวไปละหมาดโดยการเอาน้ำละหมาด

คู่มือศาสนบำบัด 134

Page 135: บทนำ - Ministry of Public Healthหลายคนเร ยกโลกสม ยน ว า“ย คสม ยส ดท ายความจร งจะเป นเช

แผนการจัดการเรียนรู้

ศาสนบำบัดสำหรับผู้ป่วยยาเสพติด เวลาในการสอน 60 นาที

หน่วยการเรียนรู้ที่ 22 เรื่อง เอาชนะอารมณ์

1. สาระสำคัญ

อารมณ์และจิตใจของมนุษย์เป็นตัวควบคุมพฤติกรรมต่างๆซึ่งแบ่งออกเป็น3ระดับ

ตามที่อัลกุรอานได้ระบุไว้คืออัน-นัพซุลอัมม่าเราะฮฺ(อารมณ์ระดับล่างสุด)อัน-นัพซุลเล่า

ว่ามะฮฺ(อารมณ์ระดับกลาง)และอัน-นัพซุลมุ๊ฏมะอินนะฮ(อารมณ์ระดับสูงสุด)โดยเรียง

ตามลำดับ

2. จุดประสงค์การเรียนรู้

1.เพื่อให้ผู้รับการบำบัดได้รู้ถึงระดับต่างๆของอารมณ์และจิตใจในคำสอนอิสลาม

2.เพื่อให้ผู้รับการบำบัดได้รู้ถึงผลตอบแทนของการเอาชนะอารมณ์ใฝ่ต่ำ

3. กระบวนการจัดการเรียนรู้

3.1นำเข้าสู่บทเรียนโดยให้ความหมายของอารมณ์(5นาที)

3.2สุ่มถามผู้รับการบำบัด2-3คนเกี่ยวกับความรู้เรื่องศาสนาที่เกี่ยวข้อง(5นาที)

3.3ผู้สอนบรรยายให้ความรู้เกี่ยวกับเนื้อหาในใบความรู้(30นาที)

3.4ให้ผู้รับการบำบัดทำกิจกรรมตามประเด็นใบงานอาจจะแบ่งเป็นกลุ่มหรือ

รายบุคคล(10นาที)

3.5สุ่มตัวแทนนำเสนอผลงาน2-3คนผู้สอนรวบรวมข้อสรุปและอภิปราย

เพิ่มเติม(10นาที)

135 คู่มือศาสนบำบัด

Page 136: บทนำ - Ministry of Public Healthหลายคนเร ยกโลกสม ยน ว า“ย คสม ยส ดท ายความจร งจะเป นเช

4.สื่อการเรียนการสอน

4.1ภาพพลิก,ภาพโปสเตอร์

4.2ใบงาน

4.3กระดาษชาร์ต/กระดาษA4

5.กระบวนการประเมิน

5.1ประเมินความรู้

5.1.1การตอบคำถาม

5.1.2การแสดงความคิดเห็นขณะอภิปรายในกลุ่ม

5.1.3ผลการนำเสนอผลงานของแต่ละกลุ่มหรือแต่ละคน

5.2ประเมินผลการปฏิบัติ

5.2.1สังเกตพฤติกรรมการแสดงความคิดเห็นขณะทำการสอน

5.2.2ตรวจผลงานหรือดูความรับผิดชอบงานที่ได้รับมอบหมาย

5.3เครื่องมือในการประเมิน

5.3.1ใบงาน

5.3.2ผลงานที่ได้รับมอบหมาย

คู่มือศาสนบำบัด 136

Page 137: บทนำ - Ministry of Public Healthหลายคนเร ยกโลกสม ยน ว า“ย คสม ยส ดท ายความจร งจะเป นเช

ใบความรู้

เอาชนะอารมณ์

มนุษย์มีความแตกต่างกันทั้งทางด้านรูปพรรณและสติปัญญารวมทั้งอารมณ์และ

ความรู้สึกนึกคิดทางจิตใจอารมณ์และจิตใจของมนุษย์นั้นเป็นแหล่งกำเนิดพฤติกรรมต่างๆ

ของเขาคำพูดและการกระทำของมนุษย์มักจะเกี่ยวข้องกับความรู้สึกทางอารมณ์อย่างปฏิเสธ

ไม่ได้

โดยทั่วไปแล้ว อารมณ์ของมนุษย์แบ่งออกเป็นสามระดับหรือสามประเภทตามที่มี

ระบุในอัลกุรอานคือระดับล่างสุดเรียกว่า“อัน-นัฟซุล อัมม่าเราะฮฺ”อัลลอฮฺได้ตรัสไว้

ความว่า“แท้จริงแล้วอารมณ์ขั้นต่ำ (อัน-นัฟซุล อัมม่าเราะฮฺ) นั้นคอยบงการแต่ความ

ชั่ว”(อัลกุรอานซูเราะฮฺยูสุฟ:53)อารมณ์ระดับนี้เป็นความรู้สึกที่คอยกระซิบกระซาบ

ให้มนุษย์กระทำผิดด้วยการตามใจตัวเองฝ่าฝืนคำสั่งอัลลอฮฺและไม่สนใจปฏิบัติความดีงาม

ที่พระองค์ใช้ให้ทำ

อารมณ์ระดับกลางคือ“อัน-นัฟซุลเลาว่ามะฮฺ”เป็นอารมณ์ที่อยู่กึ่งกลางระหว่าง

ความดีและความชั่วคือปกติแล้วก็ควบคุมให้มนุษย์ปฏิบัติตามคำสั่งของอัลลอฮฺแสดงความ

ภักดีต่อพระองค์รักษาตนจากการทำผิดบาปแต่ในบางครั้งก็พลั้งเผลอไม่สามารถควบคุม

จิตใจให้ดีตลอดเวลาจึงทำผิดพลาดลงไปแต่หลังจากนั้นก็จะพยายามทำดีอีกครั้งเพื่อลบ

ล้างความผิดนั้นและคอยกล่าวโทษตัวเองที่ไม่รู้จักป้องกันความพลั้งเผลอจนพลาดกระทำ

ผิดบาปอัลลอฮฺได้ตรัสถึงอารมณ์ประเภทนี้ไว้มีความว่า“และขอสาบานด้วยอารมณ์ที่คอย

กล่าวโทษ (อัน-นัฟซุล เลาว่ามะฮฺ)”(อัลกุรอานซูเราะฮฺอัล-กิยามะฮฺ:2)

อารมณ์ระดับที่สูงสุดคือ“อัน-นัฟซุล มุ๊ฏมะอินนะฮฺ”เป็นอารมณ์สงบเสงี่ยมที่

สามารถควบคุมตัวเองให้ดำรงตนอยู่ในครรลองได้ตลอดเวลาไม่ฝ่าฝืนคำสั่งของอัลลอฮฺ

และไม่ตกเป็นทาสของอารมณ์ใฝ่ต่ำมนุษย์ผู้เป็นเจ้าของอารมณ์ประเภทนี้จะได้เกียรติและ

ผลตอบแทนที่ยิ่งใหญ่จากอัลลอฮฺพระองค์ได้ตรัสไว้ความว่า“โอ้ จิตที่สงบนิ่ง (อัน-นัฟซุล

มุ๊ฏมะอินนะฮฺ) เอ๋ย จงกลับไปยังพระผู้อภิบาลของเจ้าด้วยความพอใจและเป็นที่พอ

พระทัยเถิด แล้วจงเข้าไปเป็นหนึ่งในหมู่บ่าวของข้า และจงเข้าไปพำนักอยู่ในสวรรค์

ของข้าเถิด”(อัลกุรอานซูเราะฮฺอัล-ฟัจรฺ:27-30)

ผลตอบแทนของผู้ที่สามารถเอาชนะอารมณ์ใฝ่ต่ำได้ก็คือสวรรค์เช่นที่อัลลอฮฺได้

ตรัสไว้ความว่า“และแม้นผู้ใดที่เกรงกลัวต่อสถานะของพระผู้เป็นเจ้า และได้หักห้าม

ตนจากอารมณ์ใฝ่ต่ำ แน่แท้ว่าสวรรค์นั้นคือที่พำนักของเขา”(อัลกุรอานซูเราะฮฺอัน-

137 คู่มือศาสนบำบัด

Page 138: บทนำ - Ministry of Public Healthหลายคนเร ยกโลกสม ยน ว า“ย คสม ยส ดท ายความจร งจะเป นเช

นาซิอาต:40-41)เหตุใดที่เป็นเช่นนี้เพราะการทำตามอารมณ์ใฝ่ต่ำนั้นคือเส้นทางสู่นรก

ในขณะที่เส้นทางสู่สวรรค์คือการต่อสู้กับความไม่พอใจของอารมณ์เช่นที่ท่านรอซูล

ศ็อลลัลลอฮฺอะลัยฮิวะสัลลัมได้กล่าวไว้ความว่า“นรกถูกห้อมล้อมด้วยความอยากของ

ตัณหา (คือบาปทั้งหลายที่เป็นการตามอารมณ์) ส่วนสวรรค์นั้นถูกห้อมล้อมด้วยสิ่งที่

พวกเจ้าไม่ชอบ (นั่นคือการปฏิบัติตามคำสั่งของอัลลอฮฺ)”(รายงานโดยอิบนุหิบบาน)

ดังนั้นมุสลิมทุกคนจึงต้องศึกษาวิธีการเอาชนะอารมณ์ใฝ่ต่ำของตัวเอง ด้วยการสร้าง

ความผูกพันธ์กับอัลลอฮฺอยู่เสมอเพื่อเป็นเกราะป้องกันไม่ให้ชัยฏอนเข้ามาอาศัยจุดอ่อน

ของอารมณ์ของมนุษย์ในการล่อลวงเขา

ข้อคิดที่ได้รับจากบทเรียน

1.อารมณ์และจิตใจของมนุษย์เป็นแหล่งกำเนิดของพฤติกรรมต่างๆทั้งในด้านดี

และชั่ว

2.อารมณ์ใฝ่ต่ำคืออารมณ์ที่คอยกระซิบกระซาบให้มนุษย์ทำแต่ความผิด

3.มุสลิมที่ทำพลาดพลั้งทำผิดในบ้างครั้งถือว่ามีอารมณ์ระดับกลางนั่นคือ

อัน-นัฟซุลเลาว่ามะฮฺ

4.อารมณ์ระดับสูงสุดคือจิตที่สงบหรืออัน-นัฟซุลมุ๊ฏมะอินนะฮฺเป็นระดับอารมณ์

ที่อัลลอฮฺชื่นชมและเตรียมผลตอบแทนอันใหญ่หลวงไว้ให้

5.มุสลิมต้องพยายามเอาชนะอารมณ์ใฝ่ต่ำของตนเพราะการเอาชนะอารมณ์ให้

ได้คือการต่อสู้เพื่อเส้นทางสู่ผลตอบแทนอันใหญ่หลวงในสวรรค์

ใบงาน

คำชี้แจงให้ท่านทำกิจกรรมตามหัวข้อที่มอบหมาย(10นาที)แล้วนำเสนอผลงานโดยตอบ

คำถามตามประเด็นดังนี้

1.กรุณายกตัวอย่างพฤติกรรมที่เกิดจากอารมณ์ระดับต่างๆ

2.ท่านคิดว่ามีวิธีใดบ้างเพื่อเอาชนะอารมณ์ใฝ่ต่ำของตัวเอง

3.ท่านคิดว่าเพราะเหตุใดการทำผิดบาปส่วนใหญ่มักสอดคล้องกับความอยาก

และตัณหา

คู่มือศาสนบำบัด 138

Page 139: บทนำ - Ministry of Public Healthหลายคนเร ยกโลกสม ยน ว า“ย คสม ยส ดท ายความจร งจะเป นเช

ใบความรู้สำหรับผู้สอน

(แผนการสอนเรื่อง “เอาชนะอารมณ์”)

ประเด็นคำถาม

1.กรุณายกตัวอย่างพฤติกรรม

ที่เกิดจากอารมณ์ระดับต่างๆ

แนวคิดที่ควรได้

-อารมณ์ระดับล่างสุด(อัน-นัพซุลอัมม่าเราะฮ)

เช่นการเสพยาเสพติดการเที่ยวในสถานเริงรมณ์

การไม่ละหมาดไม่ถือศีลอดการทำผิดกฎหมาย

บ้านเมืองฯลฯ

-อารมณ์ระดับกลาง(อัน-นัพซุลเลาว่ามะฮฺ)เช่น

การพลั้งเผลอทำความชั่วต่างๆแต่จะมีความ

สำนึกผิดต่อการกระทำเหล่านั้นและขออภัยโทษ

จากอัลลอฮฺอยู่เสมอเพื่อให้ตนเองพ้นบาปและ

ไม่กลับไปทำชั่วอีก

-อารมณ์ระดับสูง(อัน-นัพซุลมุ๊ฏมะอินนะฮฺ)

เช่นการปฏิบัติของบรรดานบีและรอซูลรวมทั้ง

บรรดาภรรยาที่ซอและของรอซูลบรรดา

ซอฮาบะฮฺ(เพื่อนของนบี)และบรรดาผู้ที่ศรัทธา

ต่ออัลลอฮฺโดยความบริสุทธิ์ใจ(อิคลาส)และ

ไร้ภาคี(ชิริก)

139 คู่มือศาสนบำบัด

Page 140: บทนำ - Ministry of Public Healthหลายคนเร ยกโลกสม ยน ว า“ย คสม ยส ดท ายความจร งจะเป นเช

ใบความรู้สำหรับผู้สอน

(แผนการสอนเรื่อง “เอาชนะอารมณ์”)

ประเด็นคำถาม

2.ท่านคิดว่ามีวิธีใดบ้างเพื่อเอา

ชนะอารมณ์ใฝ่ต่ำของตัวเอง

3.ท่านคิดว่าเพราะเหตุใดการ

ทำผิดบาปส่วนใหญ่มัก

สอดคล้องกับความอยาก

และตัณหา

แนวคิดที่ควรได้

-การระลึกถึงอัลลอฮตลอดเวลา

-การดุอาฮต่ออัลลอฮฺเพื่อให้พ้นและปลอดภัย

จากการหลอกลวงของชัยฏอน

-การละหมาดวันละห้าเวลาและละหมาดสุนัต

การถือศีลอดอื่นๆ

-การดำเนินชีวิตตามแนวทางของอิสลาม

-เพราะการทำผิดบาปทั้งหลายเกิดจากอารมณ์

ใฝ่ต่ำซึ่งเป็นจุดอ่อนของมนุษย์ที่ชัยฏอนจะเข้า

มายุยงและหลอกลวงให้ฝ่าฝืนต่อคำสั่งของ

อัลลอฮฺ

-เพราะมีความอ่อนแอในความศรัทธาต่ออัลลอฮฺ

จึงมีอีมานที่ไม่เข้มแข็งทำให้หลงเชื่อทำบาป

ตามชัยฏอน

คู่มือศาสนบำบัด 140

Page 141: บทนำ - Ministry of Public Healthหลายคนเร ยกโลกสม ยน ว า“ย คสม ยส ดท ายความจร งจะเป นเช

แผนการจัดการเรียนรู้

ศาสนบำบัดสำหรับผู้ป่วยยาเสพติด เวลาในการสอน 60 นาที

หน่วยการเรียนรู้ที่ 23 เรื่องดุอาอฺคืออาวุธของผู้ศรัทธา

1. สาระสำคัญ

การขอดุอาอคือการขอพรและขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮในเรื่องต่างๆและเป็น

การสร้างความผูกพันอย่างแนบแน่นระหว่างมนุษย์กับพระเจ้าการดุอาอฺสามารถใช้ได้ทุก

ครั้งยามที่ประสบปัญหาหรือในยามสุข

2. จุดประสงค์การเรียนรู้

1.เพื่อให้ผู้รับการบำบัดได้รู้ถึงความสำคัญของการขอดุอาอฺ

2.เพื่อให้ผู้รับการบำบัดได้รู้ถึงเงื่อนไขของดุอาอฺที่อัลลอฮอฺจะทรงตอบรับ

3.เพื่อให้ผู้รับการบำบัดได้ตระหนักและมีสำนึกที่จะกล่าวขอดุอาอฺจากอัลลอฮฺ

3. กระบวนการจัดการเรียนรู้

3.1นำเข้าสู่บทเรียนโดยถามผู้รับการบำบัดว่า“ท่านเคยขอดุอาอจากอัลลอฮฺใน

เรื่องใดบ้าง”(5นาที)

3.2สุ่มถามผู้รับการบำบัด2-3คนเกี่ยวกับความรู้เรื่องศาสนาที่เกี่ยวข้อง(5นาที)

3.3ผู้สอนบรรยายให้ความรู้เกี่ยวกับเนื้อหาในใบความรู้(30นาที)

3.4ให้ผู้รับการบำบัดทำกิจกรรมตามประเด็นใบงานอาจจะแบ่งเป็นกลุ่มหรือ

รายบุคคล(10นาที)

3.5สุ่มตัวแทนนำเสนอผลงาน2-3คนผู้สอนรวบรวมข้อสรุปและอภิปราย

เพิ่มเติม(10นาที)

141 คู่มือศาสนบำบัด

Page 142: บทนำ - Ministry of Public Healthหลายคนเร ยกโลกสม ยน ว า“ย คสม ยส ดท ายความจร งจะเป นเช

4. สื่อการเรียนการสอน

4.1ภาพพลิก,ภาพโปสเตอร์

4.2ใบงาน

4.3กระดาษชาร์ต/กระดาษA4

5. กระบวนการประเมิน

5.1ประเมินความรู้

5.1.1การตอบคำถาม

5.1.2การแสดงความคิดเห็นขณะอภิปรายในกลุ่ม

5.1.3ผลการนำเสนอผลงานของแต่ละกลุ่มหรือแต่ละคน

5.2ประเมินผลการปฏิบัติ

5.2.1สังเกตพฤติกรรมการแสดงความคิดเห็นขณะทำการสอน

5.2.2ตรวจผลงานหรือดูความรับผิดชอบงานที่ได้รับมอบหมาย

5.3เครื่องมือในการประเมิน

5.3.1ใบงาน

5.3.2ผลงานที่ได้รับมอบหมาย

คู่มือศาสนบำบัด 142

Page 143: บทนำ - Ministry of Public Healthหลายคนเร ยกโลกสม ยน ว า“ย คสม ยส ดท ายความจร งจะเป นเช

ใบความรู้

ดุอาอฺคืออาวุธของศรัทธา

การขอดุอาอฺหรือการขอพรต่ออัลลอฮฺเป็นอิบาดะฮฺที่ทำได้ง่ายที่สุดแต่มีความสำคัญ

อย่างมหาศาลการขอดุอาอฺนอกจากจะเป็นการขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮฺในเรื่องต่างๆ

ที่ผู้ขอมีความต้องการแล้ว ยังเป็นการสร้างความผูกพันอย่างแนบแน่นระหว่างมนุษย์กับ

พระผู้เป็นเจ้าซึ่งจะเป็นแรงใจและพลังทางจิตวิญญาณให้มนุษย์มีความมั่นคงสามารถ

ต่อสู้กับอุปสรรคต่างๆที่เกิดขึ้นในชีวิตได้เสมอดังนั้นดุอาอฺจึงเปรียบเสมือนอาวุธของผู้

ศรัทธาที่สามารถใช้ได้ทุกครั้งยามที่ประสบกับปัญหาและความยากลำบากอันเป็นบททดสอบ

ในชีวิตท่านรอซูลศ็อลลัลลอฮฺอะลัยฮิวะสัลลัมได้กล่าวไว้มีความว่า“ดุอาอฺเป็นอาวุธ

ของผู้ศรัทธาเป็นเสาหลักของศาสนา เป็นรัศมีแห่งฟากฟ้าและแผ่นดิน”(รายงานโดย

อัล-หากิม)

เหตุที่การขอดุอาอฺมีสถานะที่สูงส่งเช่นนี้ เพราะการขอดุอาอฺเป็นการแสดงถึงการ

ยอมรับโดยศิโรราบต่อความเป็นพระเจ้าขององค์อัลลอฮฺและเป็นเครื่องหมายบอกว่าบ่าว

ผู้นั้นศรัทธาต่อพระองค์ผู้ทรงอานุภาพและผู้ที่เพียบพร้อมด้วยปัจจัยต่างๆที่สามารถจะให้

แก่บ่าวได้หัวใจของการขอดุอาอฺจึงอยู่ที่การยอมรับในความเกรียงไกรแห่งผู้เป็นเจ้านี่เอง

เพราะถ้าหากมนุษย์ไม่เชื่อและไม่ยอมรับในพระเจ้าก็ย่อมต้องไม่วอนขอจากพระองค์

ด้วยเหตุนี้อัลลอฮฺจึงมีบัญชาให้มนุษย์ขอดุอาอฺจากพระองค์และพระองค์ทรงรักที่จะ

ให้บ่าวนั้นขอดุอาอฺ ในขณะเดียวกันพระองค์จะไม่โปรดถ้าหากมนุษย์นิ่งเฉยไม่ยอมขอดุอาอฺ

เพราะถือว่าเป็นการแสดงออกถึงความหยิ่งยะโสต่อพระองค์ผู้ซึ่งมีความเมตตาล้นพ้นต่อ

ปวงบ่าวอัลกุรอานระบุไว้มีความว่า“และพระผู้เป็นเจ้าของพวกเจ้าได้สั่งว่า จงขอดุอาอฺ

จากฉัน แท้จริงบรรดาผู้ยะโสในการอิบาดะฮฺต่อฉัน จะต้องเข้านรกญะฮันนัมในสภาพ

ที่ต่ำต้อย”(อัลกุรอานซูเราะฮฆอฟิรฺ:60)

อัลลอฮฺทรงเป็นผู้ที่เมตตามนุษย์ด้วยการเปิดโอกาสให้พวกเขาขอดุอาอฺจากพระองค์

โดยไม่จำกัดเวลาและสถานที่ไม่จำกัดภาษาที่ใช้ขอเพียงแต่มีเงื่อนไขคือตอบรับคำบัญชา

ของพระองค์และศรัทธาต่อพระองค์เท่านั้นพระองค์ได้ตรัสมีความว่า“และเมื่อใดที่บ่าว

ของฉันสอบถามเจ้าเกี่ยวกับฉัน ก็ (จงตอบว่า) แท้จริงฉันนั้นอยู่ใกล้ คอยรับดุอาอฺจาก

ผู้วอนขอเมื่อเขาขอจากฉัน ดังนั้นให้พวกเขาตอบรับฉัน และให้พวกเขาศรัทธาต่อฉัน

เพื่อพวกเขาจะได้รับการชี้นำ”(อัลกุรอานซูเราะฮฺอัล-บะเกาะเราะฮฺ:186)

143 คู่มือศาสนบำบัด

Page 144: บทนำ - Ministry of Public Healthหลายคนเร ยกโลกสม ยน ว า“ย คสม ยส ดท ายความจร งจะเป นเช

มนุษย์ทุกคนต้องสำนึกว่าไม่มีผู้ใดอีกแล้วที่รู้ซึ้งถึงความจำเป็นและความต้องการ

ของตนมากกว่าพระผู้เป็นเจ้าพระองค์ผู้เดียวคือผู้ที่สามารถขจัดทุกข์ภัยที่มนุษย์ประสบ

พระองค์จะทำให้ความยากเป็นสิ่งที่ง่ายทุกสิ่งทุกอย่างล้วนอยู่ในกำมือของพระองค์และล้วน

เป็นไปตามที่พระองค์ทรงประสงค์ อีกทั้งพระองค์ยังเปี่ยมด้วยความกรุณาเมตตาที่มากมาย

ยิ่งนักดังนั้นมีพระองค์เท่านั้นที่เราต้องวอนขอและต้องเพียรพยายามที่จะขอจากพระองค์

อย่างสม่ำเสมออัลลอฮฺได้ตรัสมีความว่า“หรือมีผู้ใดเล่าที่ตอบรับผู้ที่วอนขอยามคับขัน

และผู้ที่ขจัดความชั่วร้ายออกไป และผู้ที่ทำให้พวกเจ้าได้ปกครองแผ่นดิน (นอกเสีย

จากอัลลอฮฺ) ยังมีพระเจ้าอื่นใดนอกจากอัลลอฮฺอีกหรือ? น้อยนักที่พวกเจ้าคิดใคร่ครวญ”

(อัลกุรอานซูเราะฮฺอัน-นัมลฺ:62)

ข้อคิดที่ได้รับจากบทเรียน

1.การขอดุอาอฺมีสถานะที่สูงส่งในอิสลามเพราะเป็นการยอมรับในพระผู้เป็นเจ้า

2.การขอดุอาอฺมีผลดีต่อมนุษย์อย่างใหญ่หลวงเช่นเป็นการขอในสิ่งที่เขามีความ

ประสงค์เป็นการสร้างความผูกพันกับอัลลอฮฺเป็นกำลังใจในการต่อสู้ฟันฝ่าอุปสรรค์

เป็นต้น

3.อัลลอฮฺสั่งให้มนุษย์วอนขอจากพระองค์เท่านั้นการไม่ยอมขอดุอาอฺถือเป็นการ

หยิ่งยะโสต่อความเมตตาของพระองค์

4.เงื่อนไขสำคัญที่อัลลอฮฺจะทรงตอบรับดุอาอฺของมนุษย์คือการศรัทธาต่อพระองค์

อย่างบริสุทธิ์ใจ

5. ไม่มีผู้ใดที่อาจจะเทียบเคียงพระผู้เป็นเจ้าได้ดังนั้นหน้าที่ของมนุษย์ก็คือการ

เคารพภักดีพระองค์และต้องมอบความไว้วางใจด้วยการขอดุอาอฺจากพระองค์เท่านั้น

คู่มือศาสนบำบัด 144

Page 145: บทนำ - Ministry of Public Healthหลายคนเร ยกโลกสม ยน ว า“ย คสม ยส ดท ายความจร งจะเป นเช

ใบงาน

คำชี้แจงให้ท่านทำกิจกรรมตามหัวข้อที่มอบหมาย(10นาที)แล้วนำเสนอผลงานโดยตอบ

คำถามตามประเด็นดังนี้

1.ท่านคิดว่าการขอดุอาอฺให้ประโยชน์อะไรแก่มนุษย์

2.ท่านคิดว่าเหตุใดการไม่ขอดุอาอจึงเป็นสิ่งที่อัลลอฮฺไม่ทรงโปรด

3.ท่านคิดว่ามีสิ่งใดบ้างในชีวิตที่ท่านอยากขอดุอาอจากอัลอลฮฺมากที่สุด

145 คู่มือศาสนบำบัด

Page 146: บทนำ - Ministry of Public Healthหลายคนเร ยกโลกสม ยน ว า“ย คสม ยส ดท ายความจร งจะเป นเช

ใบความรู้สำหรับผู้สอน

(แผนการสอนเรื่อง “ดุอาอฺคือวาวุธของศรัทธา”)

ประเด็นคำถาม

1.ท่านคิดว่าการขอดุอาอฺ

ให้ประโยชน์อะไรแก่มนุษย์บ้าง

2.ท่านคิดว่าเหตุใดการไม่ขอดุอาอ

จึงเป็นสิ่งที่อัลลอฮฺไม่ทรงโปรด

3.ท่านคิดว่ามีสิ่งใดบ้างในชีวิตที่

ท่านอยากขอดุอาอจากอัลลอฮฺ

มากที่สุด

แนวคิดที่ควรได้

-ขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮฺในเรื่องต่างๆที่เรา

ประสงค์

-สร้างความผูกพันอย่างแน่นแฟ้นระหว่างเราและ

อัลลอฮฺ

-สร้างกำลังใจให้มีความมั่นคงสามารถต่อสู้กับ

อุปสรรคต่างๆที่เกิดขึ้นในชีวิต

-ช่วยขัดเกลาให้จิตใจอ่อนน้อมยอมรับและลด

ความยิ่งยะโสของตนเอง

-เพราะเป็นการแสดงให้ทราบว่าเขาไม่มีความ

ศรัทธาและไม่ยอมรับต่อความเป็นพระเจ้าของ

อัลลอฮฺและถือว่าเป็นการแสดงความหยิ่งยะโส

ต่อพระองค์

-ขอให้พระองค์ทรงคุ้มครองและให้หลุดพ้นจาก

การเสพยาเสพติด

-ขอให้พระองค์ทรงปกป้องอีมาน(ความศรัทธา)

ต่อพระองค์ให้มั่นคงตลอดไป

-ขอให้ข้าได้ตายในขณะที่อยู่ในศาสนา

-ขอให้พระองค์ทรงปกป้องข้าและครอบครัวของ

ข้าให้พ้นจากไฟนรก

-ขอให้พระองค์ทรงเอ็นดูและเมตตาบิดา

มารดาของข้าเสมือนท่านทั้งสองได้เอ็นดูและ

เมตตาข้าพระองค์เมื่อยังเยาว์วัยขอให้พระองค์

ทรงอภัยโทษข้าด้วยเถิด

คู่มือศาสนบำบัด 146

Page 147: บทนำ - Ministry of Public Healthหลายคนเร ยกโลกสม ยน ว า“ย คสม ยส ดท ายความจร งจะเป นเช

แผนการจัดการเรียนรู้

ศาสนบำบัดสำหรับผู้ป่วยยาเสพติด เวลาในการสอน 60 นาที

หน่วยการเรียนรู้ที่ 24 เรื่อง การรำลึกถึงอัลลอฮฺ

1. สาระสำคัญ

ซิกรคือการรำลึกถึงอัลลอฮฺซึ่งเป็นข้อปฏิบัติทางศาสนาในอิสลาม(อามัล)ที่มี

ความสำคัญไม่ยิ่งหย่อนกว่าศาสนกิจอื่นๆสามารถที่จะทำได้ทุกเมื่อทุกที่ทุกเวลาโดย

แทบจะไม่มีเงื่อนไขใดๆและเป็นอีบาดัตที่ทำได้ง่ายที่สุดโดยมีผลบุญมากมายที่อัลลอฮฺได้

ทรงเตรียมไว้

2. จุดประสงค์การเรียนรู้

1.เพื่อให้ผู้รับการบำบัดได้รู้ถึงความสำคัญของการรำลึกถึงอัลลอฮฺ

2.เพื่อให้ผู้รับการบำบัดได้รับรู้ถึงตัวอย่างต่างๆของการรำลึกถึงอัลลอฮฺ

3.เพื่อให้ผู้รับการบำบัดได้ตระหนักที่จะปฏิบัติตนในการรำลึกถึงอัลลอฮฺ

3. กระบวนการจัดการเรียนรู้

3.1นำเข้าสู่บทเรียนโดยให้ผู้รับการบำบัดร่วมกันซิกรด้วยการกล่าวว่า“อัลฮัม

ดุลิลลาฮ”(ขอขอบคุณอัลลอฮฺ)คนละ33ครั้งหรือให้ได้มากที่สุดในเวลา(5นาที)

3.2สุ่มถามผู้รับการบำบัด2-3คนเกี่ยวกับความรู้เรื่องศาสนาที่เกี่ยวข้อง(5นาที)

3.3ผู้สอนบรรยายให้ความรู้เกี่ยวกับเนื้อหาในใบความรู้(30นาที)

3.4ให้ผู้รับการบำบัดทำกิจกรรมตามประเด็นใบงานอาจจะแบ่งเป็นกลุ่มหรือ

รายบุคคล(10นาที)

3.5สุ่มตัวแทนนำเสนอผลงาน2-3คนผู้สอนรวบรวมข้อสรุปและอภิปราย

เพิ่มเติม(10นาที)

147 คู่มือศาสนบำบัด

Page 148: บทนำ - Ministry of Public Healthหลายคนเร ยกโลกสม ยน ว า“ย คสม ยส ดท ายความจร งจะเป นเช

4. สื่อการเรียนการสอน

4.1ภาพพลิก,ภาพโปสเตอร์

4.2ใบงาน

4.3กระดาษชาร์ต/กระดาษA4

5. กระบวนการประเมิน

5.1ประเมินความรู้

5.1.1การตอบคำถาม

5.1.2การแสดงความคิดเห็นขณะอภิปรายในกลุ่ม

5.1.3ผลการนำเสนอผลงานของแต่ละกลุ่มหรือแต่ละคน

5.2ประเมินผลการปฏิบัติ

5.2.1สังเกตพฤติกรรมการแสดงความคิดเห็นขณะทำการสอน

5.2.2ตรวจผลงานหรือดูความรับผิดชอบงานที่ได้รับมอบหมาย

5.3เครื่องมือในการประเมิน

5.3.1ใบงาน

5.3.2ผลงานที่ได้รับมอบหมาย

คู่มือศาสนบำบัด 148

Page 149: บทนำ - Ministry of Public Healthหลายคนเร ยกโลกสม ยน ว า“ย คสม ยส ดท ายความจร งจะเป นเช

ใบความรู้

การรำลึกถึงอัลลอฮฺ

“อามัลฺ”หรือข้อปฏิบัติทางศาสนาในอิสลามนั้นมีมากมายหลายประการทุกอย่าง

ล้วนอยู่บนหลักพื้นฐานของการแสดงความเคารพภักดีต่ออัลลอฮฺ สร้างความผูกพันกับ

พระองค์และยืนยันในความศรัทธาอันเหนียวแน่นที่มีต่อพระองค์ข้อปฏิบัติต่างๆเหล่านี้

อาจจะมีความยากง่ายแตกต่างกัน แต่ทั้งหมดก็มีจุดประสงค์อยู่บนหลักที่กล่าวมาแล้วด้วย

กันทั้งสิ้น

“ซิกรฺ” หรือการรำลึกถึงอัลลอฮฺคืออามัลฺที่มีความสำคัญไม่ยิ่งหย่อนกว่าศาสนกิจ

อื่นๆที่อาจจะทำได้ยากกว่าเพราะต้องมีเงื่อนไขหรือกาลเทศะที่ถูกต้องเหมาะสมแต่การ

รำลึกถึงอัลลอฮฺสามารถที่จะทำได้ทุกเมื่อทุกที่ทุกเวลาโดยแทบจะไม่มีเงื่อนไขใดๆเลย

ครั้งหนึ่งได้มีเศาะหาบะฮฺกล่าวแก่ท่านรอซูลศ็อลลัลลอฮฺอะลัยฮิวะสัลลัมว่าแท้

จริงบัญญัติของอิสลามนั้นมีมากมายเหลือเกินดังนั้นพอจะบอกได้ไหมว่ามีสิ่งใดที่เป็นศูนย์

รวมของบัญญัติต่างๆทั้งหมดนั้น?ท่านรอซูลศ็อลลัลลอฮฺอะลัยฮิวะสัลลัมตอบพวกเขา

มีความว่า“จงทำให้ลิ้นของท่านนั้นเปียกชื้นอยู่เสมอ ด้วยการกล่าวรำลึกถึงอัลลอฮฺ”

(รายงานโดยอัต-ติรมิซีย์,อิบนุมาญะฮฺ,อัล-หากิม)

การกล่าวรำลึกถึงอัลลอฮฺเป็นสิ่งที่ทำได้ง่ายที่สุด และมีผลบุญมากมายที่อัลลอฮฺ

เตรียมไว้เช่นที่รอซูลศ็อลลัลลอฮฺอะลัยฮิวะสัลลัมได้สาธยายไว้มีความว่า“การกล่าว

‘อัล-ฮัมดุ ลิลลาฮฺ’ นั้นจะเติมเต็มตาชั่งในวันกิยามะฮฺ การกล่าว ‘สุบหานัลลอฮฺ วัลหัม

ดุลิลลาฮฺ’ นั้นมีผลบุญมากมายเท่าระหว่างฟ้าและแผ่นดิน”(รายงายโดยมุสลิม)“สอง

ประโยคที่เบาแก่ลิ้นที่จะกล่าว แต่หนักสำหรับการชั่งในวันกิยามะฮฺ และเป็นที่รักของ

อัลลอฮฺผู้ทรงเมตตานั่นคือ ‘สุบหานัลลอฮฺ วะบิหัมดิฮฺ สุบหานัลลอฮิลอะซี”(รายงาน

โดยอัล-บุคอรีย์และมุสลิม)“การกล่าวรำลึกถึงอัลลอฮฺที่ประเสริฐที่สุดคือ ‘ลาอิลาฮะ

อิลลัลลอฮฺ’ การกล่าวขอดุอาอฺที่ดีที่สุดคือ ‘อัลฮัมดุลิลลาฮฺ”(รายงานโดยอัต-ติรมิซีย์

และอิบนุมาญะฮฺ)

นอกจากนี้การอ่านอัลกุรอานก็ยังถือว่าเป็นการกล่าวรำลึกถึงอัลลอฮฺเช่นกันเพราะ

อัลกุรอานเป็นดำรัสของอัลลอฮฺซึ่งเป็นเนื้อความที่ประเสริฐที่สุด และการอ่านอัลกุรอาน

ก็มีผลบุญที่ใหญ่หลวงเช่นเดียวกัน

การรำลึกถึงอัลลอฮฺด้วยการกล่าวซิกรอย่างสม่ำเสมอเป็นแบบอย่างของท่านรอซูล

ศ็อลลัลลอฮฺอะลัยฮิวะสัลลัมซึ่งท่านได้ปฏิบัติอย่างดีเยี่ยมทั้งยามเช้ายามเย็นและทุกๆ

149 คู่มือศาสนบำบัด

Page 150: บทนำ - Ministry of Public Healthหลายคนเร ยกโลกสม ยน ว า“ย คสม ยส ดท ายความจร งจะเป นเช

เวลาด้วยบทซิกิรต่างๆที่มีรายงานจากท่านทั้งนี้เป็นการตอบรับต่อคำสั่งของอัลลอฮฺที่ได้

สั่งให้ท่านอดทนในความมานะเพื่อกล่าวรำลึกถึงอัลลอฮฺพระองค์ได้ตรัสไว้มีความว่า“และ

จงอดทนอยู่กับบรรดาผู้ที่กล่าวขอพรต่อพระผู้อภิบาลของพวกเขาในยามเช้าและยามเย็น

ด้วยความประสงค์ในความโปรดปรานของพระองค์ และอย่าได้หันสายตาของเจ้าออก

จากพวกเขาเพราะต้องการสิ่งประดับประดาในโลกดุนยา และอย่าได้เชื่อฟังผู้ที่เราทำ

ให้เขาหลงลืมจากการกล่าวรำลึกถึงเราโดยเขาได้ทำตามกิเลสในตัวเขา” (อัลกุรอาน

ซูเราะฮฺอัล-กะหฺฟิ:28)พระองค์ยังได้ตรัสอีกมีความว่า“พึงรู้เถิดว่าด้วยการรำลึกถึง

อัลลอฮฺนั้น หัวใจจะสงบนิ่ง”(อัลกุรอานซูเราะฮฺอัร-เราะอดุ:28)

ข้อคิดที่ได้รับจากบทเรียน

1.การกล่าวซิกรฺหรือการรำลึกถึงอัลลอฮฺเป็นอามัลฺที่สำคัญประการหนึ่งในศาสนา

อิสลาม

2.การกล่าวรำลึกถึงอัลลอฮฺเป็นอามัลฺที่สามารถทำได้ง่ายโดยไม่มีเงื่อนใขใดๆ

3.คุณค่าจากการกล่าวรำลึกถึงอัลลอฮฺที่สำคัญที่สุดเป็นการสร้างความผูกพันกับ

อัลลอฮฺอยู่เสมอ

4.มุสลิมควรมีความสำนึกและตระหนักพร้อมกับความอดทนที่จะกล่าวรำลึกถึง

อัลลอฮฺอยู่ตลอดเวลาเช่นการกล่าวอัลฮัมดุลิลลาฮฺ,สุบหานัลลอฮฺ,ลาอิลาฮาอิลลัลลอฮฺ

ฯลฯเป็นต้น

5.การอ่านอัลกุรอานก็ถือว่าเป็นการรำลึกถึงอัลลอฮฺเช่นกันเพราะอัลกุรอานคือ

ดำรัสของอัลลอฮฺการอ่านดำรัสของพระองค์ก็คือการรำลึกถึงพระองค์นั่นเอง

6.การกล่าวรำลึกถึงอัลลอฮฺจะทำให้หัวใจสงบนิ่งไม่กระวนกระวายเพราะเป็น

การสร้างความเชื่อมั่นในพลังของอัลลอฮฺ

คู่มือศาสนบำบัด 150

Page 151: บทนำ - Ministry of Public Healthหลายคนเร ยกโลกสม ยน ว า“ย คสม ยส ดท ายความจร งจะเป นเช

ใบงาน

คำชี้แจงให้ท่านทำกิจกรรมตามหัวข้อที่มอบหมาย(10นาที)แล้วนำเสนอผลงานโดยตอบ

คำถามตามประเด็นดังนี้

1.การกล่าวรำลึกถึงอัลลอฮฺเป็นสิ่งที่ควรทำอย่างยิ่งเพราะเหตุใด

2.ท่านคิดว่าพร้อมที่จะกล่าวรำลึกถึงอัลลอฮฺในเวลาใดบ้าง

3.ท่านคิดว่ามีบทซิกรฺใดบ้างที่ท่านสามารถกล่าวได้

151 คู่มือศาสนบำบัด

Page 152: บทนำ - Ministry of Public Healthหลายคนเร ยกโลกสม ยน ว า“ย คสม ยส ดท ายความจร งจะเป นเช

ใบความรู้สำหรับผู้สอน

(แผนการสอนเรื่อง “การรำลึกถึงอัลลอฮฺ”)

ประเด็นคำถาม

1.การกล่าวรำลึกถึงอัลลอฮฺ

เป็นสิ่งที่ควรทำอย่างยิ่ง

เพราะเหตุใด

2.ท่านคิดว่าพร้อมที่จะกล่าวรำลึก

ถึงอัลลอฮฺในเวลาใดบ้าง

3.ท่านคิดว่ามีบทซิกรฺใดบ้าง

ที่ท่านสามารถกล่าวได้

แนวคิดที่ควรได้

-เพราะเป็นอามัลที่สำคัญประการหนึ่งในศาสนา

อิสลามสามารถทำได้ง่ายโดยไม่มีเงื่อนไขใดๆ

เลย

-เป็นการแสดงความเคารพภักดีและสร้างความ

ผูกพันกับอัลลอฮฺ

-ทำให้หัวใจสงบนิ่งไม่กระวนกระวายสร้างความ

เชื่อมั่นในความเกรียงไกรของอัลลอฮฺ

-เพราะอัลลอฮฺจะตอบแทนบุญคุณอย่างมากมาย

ในวันกิยามัต

-เราสามารถรำลึกถึงอัลลอฮฺได้ทุกเวลาทุกสถาน

ที่หรือควรปฏิบัติเป็นประจำทุกเช้าและเย็น

-“อัล-ฮัมดุลลิลลาฮ”(ขอบคุณพระเจ้า)

-“สุบหานัลลอฮวัลหัมดุลิลลาฮฺ”(อัลลอฮฺผู้ยิ่งใหญ่

และทรงยิ่งแก่การสรรเสริญ)

-“สุบหานัลลอฮวะบิฮัมดิฮสุบหานัลลอฮฺ

ฮัลอะซีม”(อัลลอฮฺผู้ทรงเกรียงไกร)

-“ลาอิลาฮาอิลลัลลอฮฺ”(ไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอก

จากอัลลอฮฺองค์เดียว)และฯลฯ

คู่มือศาสนบำบัด 152

Page 153: บทนำ - Ministry of Public Healthหลายคนเร ยกโลกสม ยน ว า“ย คสม ยส ดท ายความจร งจะเป นเช

แผนการจัดการเรียนรู้

ศาสนบำบัดสำหรับผู้ป่วยยาเสพติด เวลาในการสอน 60 นาที

หน่วยการเรียนรู้ที่ 25 เรื่อง กิจวัตรตามแบบซุนนะฮฺ

1. สาระสำคัญ

ซุนนะฮหมายถึงแบบอย่างของท่านรอซูลศ็อลลัลลอฮฺอะลัยฮิวะสัลลัม

ในกิจกรรมต่างๆของการดำเนินชีวิตประจำวันทุกๆกิจการของมุสลิมจำเป็นต้องเรียนรู้

และปฏิบัติตามแบบอย่างของท่านเพื่อจะได้ปฏิบัติตนเป็นมุสลิมให้สมบูรณ์ที่สุดและได้รับ

ทางนำจากการปฏิบัติตามแบบอย่างของท่าน

2. จุดประสงค์การเรียนรู้

1.เพื่อให้ผู้รับการบำบัดได้รู้ถึงความสำคัญของการปฏิบัติตามแบบอย่างซุนนะฮฺ

2.เพื่อให้ผู้รับการบำบัดได้ตระหนักและมีจิตสำนึกที่จะปฏิบัติตามซุนนะฮฺของท่าน

รอซูลศ็อลลัลลอฮฺอะลัยฮิวะสัลลัม

3. กระบวนการจัดการเรียนรู้

3.1นำเข้าสู่บทเรียนโดยให้ผู้รับการบำบัดยกตัวอย่างของกิจกรรมตามซุนนะฮฺ

ท่านรอซูลศ็อลลัลลอฮฺอะลัยฮิวะสัลลัมเช่นการอ่านดุอาอฺก่อนจะทำกิจกรรมต่างๆ

การรักเด็กและคนแก่การตรงต่อเวลาความซื่อสัตย์อดทนเป็นที่ไว้วางใจของผู้อื่นมี

เหตุผลและอื่นๆ

3.2สุ่มถามผู้รับการบำบัด2-3คนเกี่ยวกับความรู้เรื่องศาสนาที่เกี่ยวข้อง(5นาที)

3.3ผู้สอนบรรยายให้ความรู้เกี่ยวกับเนื้อหาในใบความรู้(30นาที)

3.4ให้ผู้รับการบำบัดทำกิจกรรมตามประเด็นใบงานอาจจะแบ่งเป็นกลุ่มหรือ

รายบุคคล(10นาที)

153 คู่มือศาสนบำบัด

Page 154: บทนำ - Ministry of Public Healthหลายคนเร ยกโลกสม ยน ว า“ย คสม ยส ดท ายความจร งจะเป นเช

3.5สุ่มตัวแทนนำเสนอผลงาน2-3คนผู้สอนรวบรวมข้อสรุปและอภิปราย

เพิ่มเติม(10นาที)

4. สื่อการเรียนการสอน

4.1ภาพพลิก,ภาพโปสเตอร์

4.2ใบงาน

4.3กระดาษชาร์ต/กระดาษA4

5. กระบวนการประเมิน

5.1ประเมินความรู้

5.1.1การตอบคำถาม

5.1.2การแสดงความคิดเห็นขณะอภิปรายในกลุ่ม

5.1.3ผลการนำเสนอผลงานของแต่ละกลุ่มหรือแต่ละคน

5.2ประเมินผลการปฏิบัติ

5.2.1สังเกตพฤติกรรมการแสดงความคิดเห็นขณะทำการสอน

5.2.2ตรวจผลงานหรือดูความรับผิดชอบงานที่ได้รับมอบหมาย

5.3เครื่องมือในการประเมิน

5.3.1ใบงาน

5.3.2ผลงานที่ได้รับมอบหมาย

คู่มือศาสนบำบัด 154

Page 155: บทนำ - Ministry of Public Healthหลายคนเร ยกโลกสม ยน ว า“ย คสม ยส ดท ายความจร งจะเป นเช

ใบความรู้

กิจวัตรตามแบบซุนนะฮฺ

คำว่า“ซุนนะฮฺ”โดยรวมแล้วหมายถึงแบบอย่างของท่านรอซูลศ็อลลัลลอฮฺอะลัยฮิ

วะสัลลัมในกิจกรรมต่างๆของการดำเนินชีวิตการตามซุนนะฮฺก็คือการตามแบบอย่างของ

ท่านรอซูลศ็อลลัลลอฮฺอะลัยฮิวะสัลลัมนั้นเอง

การตามแบบอย่างของท่านรอซูลศ็อลลัลลอฮฺอะลัยฮิวะสัลลัมในการดำเนิน

ชีวิตนั้นเป็นสิ่งที่อิสลามได้กำชับเป็นอย่างยิ่ง เพราะอิสลามถือว่าท่านรอซูลศ็อลลัลลอฮฺ

อะลัยฮิวะสัลลัมคือผู้ที่สามารถดำรงชีวิตตามแบบอย่างได้สมบูรณ์ที่สุดดังนั้นผู้เป็นมุสลิม

ทุกคนจึงต้องปฏิบัติตามแบบอย่างของท่านเพื่อจะได้ปฏิบัติตนเป็นมุสลิมให้สมบูรณ์เท่าที่

จะทำได้อัลลอฮฺได้ตรัสว่า “ขอสาบานว่าแท้จริงแล้วในตัวของศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺนั้น

มีแบบอย่างที่ดีงามสำหรับพวกเจ้าที่หวังในอัลลอฮฺและวันอาคิเราะฮฺ” (อัลกุรอาน

ซูเราะฮฺอัล-อะหฺซาบ:21)

ทุกๆกิจกรรมของมุสลิมจำเป็นต้องให้ตรงกับตัวอย่างของท่านรอซูลศ็อลลัลลอฮฺ

อะลัยฮิ วะสัลลัม เพราะหากว่าไม่ตรงแล้วก็ไม่อาจจะรับประกันได้ว่าสิ่งที่เขาทำนั้นถูกต้อง

และเป็นที่ยอมรับของอัลลอฮฺหรือไม่ท่านรอซูลศ็อลลัลลอฮฺอะลัยฮิวะสัลลัมเองก็ได้สั่ง

ในหลายตอนให้ปฏิบัติศาสนกิจตามแบบอย่างของท่านเช่น“พวกท่านจงละหมาดเหมือน

ที่พวกท่านเห็นฉันละหมาด) (รายงานโดย มุสลิม) “พวกท่านจงเอาวิธีการทำฮัจญ์

จากฉัน”(รายงานโดยอัล-บุคอรีย์)

ท่านรอซูลศ็อลลัลลอฮฺอะลัยฮิวะสัลลัมได้ทำตัวอย่างทั้งหมดที่จำเป็นในชีวิต

ของมุสลิมไม่ว่าเรื่องที่ใหญ่ที่สุดหรือเรื่องที่เล็กที่สุดเรื่องเกี่ยวกับศาสนกิจการครองเรือน

การค้าขายการเรียนการสอนการชำระล้างการกินการดื่มการขับถ่ายฯลฯซึ่งสามารถ

ศึกษาได้จากวจนะหรือหะดีษต่างๆของท่าน

ท่านรอซูลศ็อลลัลลอฮฺอะลัยฮิวะสัลลัมเสียชีวิตไปโดยได้ทิ้งแบบอย่างเหล่านี้ไว้

เพื่อให้มุสลิมได้ศึกษาและปฏิบัติตามท่านได้กล่าวไว้มีความว่า“แท้จริงฉันได้ทิ้งสิ่งสอง

ประการไว้แก่พวกท่าน ซึ่งพวกท่านไม่มีวันที่จะหลงทางถ้าหากตราบใดที่พวกท่านยึดมั่น

อยู่กับมัน นั่นคือ อัลกุรอานและซุนนะฮฺของฉัน”(รายงานโดยอัล-หากิมและอัด-ดาเราะ

กุฏนีย์)

การตามแบบอย่างของท่านรอซูลศ็อลลัลลอฮฺอะลัยฮิวะสัลลัมคือเครื่องหมาย

ของการศรัทธาและความรักที่เรามอบให้ท่านรอซูลอย่างสมบูรณ์และยังเป็นเครื่องหมายว่า

155 คู่มือศาสนบำบัด

Page 156: บทนำ - Ministry of Public Healthหลายคนเร ยกโลกสม ยน ว า“ย คสม ยส ดท ายความจร งจะเป นเช

เรารักอัลลอฮฺเช่นที่พระองค์ได้ตรัสไว้มีความว่า“จงกล่าวเถิด (มุหัมมัด) ถ้าหากพวกเจ้า

รักอัลลอฮฺแล้วไซร้ ก็จงตามฉัน แล้วอัลลอฮฺก็จะรักพวกเจ้า และพระองค์จะทรงอภัย

บาปให้กับพวกเจ้า”(อัลกุรอานซูเราะฮฺอาลอิมรอน:31)

ดังนั้นมุสลิมจึงต้องศึกษาให้รู้และเข้าใจถึงวิถีชีวิตและแบบอย่างของท่านรอซูล

ศ็อลลัลลอฮฺอะลัยฮิวะสัลลัมเพื่อให้สามารถปฏิบัติตามได้อย่างถูกต้องและได้รับทางนำ

จากการปฏิบัติตามแบบอย่างของท่าน

ข้อคิดที่ได้รับจากบทเรียน

1.การตามแบบอย่างซุนะฮฺของท่านรอซูลศ็อลลัลลอฮฺอะลัยฮิวะสัลลัมเป็นสิ่ง

จำเป็นสำหรับมุสลิมทุกคน

2.การไม่ปฏิบัติตามแบบอย่างของท่านรอซูลศ็อลลัลลอฮฺอะลัยฮิวะสัลลัมจะไม่

ได้รับการประกันว่าถูกต้องและถูกตอบรับ

3.ท่านรอซูลศ็อลลัลลอฮฺอะลัยฮิวะสัลลัมได้ทำแบบอย่างไว้ในทุกๆด้านเพียบ

พร้อมแล้วสำหรับประชาชาติของท่าน

4.การตามแบบอย่างของท่านรอซูลศ็อลลัลลอฮฺอะลัยฮิวะสัลลัมเป็นเครื่องหมาย

แห่งความสมบูรณ์ของอีมานเป็นสิ่งบ่งชี้ว่าเรารักอัลลอฮฺและรักท่านรอซูลศ็อลลัลลอฮฺ

อะลัยฮิวะสัลลัม

5.มนุษย์จะไม่ประสบกับการหลงทางหากยึดมั่นในคำสอนของอัลกุรอานและแบบ

อย่างของท่านรอซูลศ็อลลัลลอฮฺอะลัยฮิวะสัลลัม

คู่มือศาสนบำบัด 156

Page 157: บทนำ - Ministry of Public Healthหลายคนเร ยกโลกสม ยน ว า“ย คสม ยส ดท ายความจร งจะเป นเช

ใบงาน

คำชี้แจงให้ท่านทำกิจกรรมตามหัวข้อที่มอบหมาย(10นาที)แล้วนำเสนอผลงานโดยตอบ

คำถามตามประเด็นดังนี้

1.การคิดว่าซุนนะฮของท่านรอซูลศ็อลลัลลอฮฺอะลัยฮิวะสัลลัม

มีความสำคัญต่อมุสลิมอย่างไร

2.ท่านคิดว่าวิธีใดคือวิธีที่ถูกต้องที่สุดในการแสดงความรักต่อท่านรอซูล

ศ็อลลัลลอฮฺอะลัยฮิวะสัลลัม

3.ท่านคิดว่าการเรียนรู้ซุนนะฮฺของท่านรอซูลศ็อลลัลลอฮฺอะลัยฮิวะสัลลัม

สามารถเรียนรู้ได้อย่างไร

157 คู่มือศาสนบำบัด

Page 158: บทนำ - Ministry of Public Healthหลายคนเร ยกโลกสม ยน ว า“ย คสม ยส ดท ายความจร งจะเป นเช

ใบความรู้สำหรับผู้สอน

(แผนการสอนเรื่อง “กิจวัตรตามแบบซุนนะฮฺ”)

ประเด็นคำถาม

1.การคิดว่าซุนนะฮของท่านรอซูล

ศ็อลลัลลอฮฺอะลัยฮิวะสัลลัม

มีความสำคัญต่อมุสลิมอย่างไร

บ้าง

2.ท่านคิดว่าวิธีใดคือวิธีที่ถูกต้องที่

สุดในการแสดงความรักต่อท่าน

รอซูลศ็อลลัลลอฮฺอะลัยฮิ

วะสัลลัม

3.ท่านคิดว่าการเรียนรู้ซุนนะฮฺของ

ท่านรอซูลศ็อลลัลลอฮฺอะลัยฮิ

วะสัลลัมสามารถเรียนรู้ได้

อย่างไร

แนวคิดที่ควรได้

-ทำให้สามารถปฏิบัติกิจกรรมต่างๆได้ถูกต้อง

ตามแนวทางของอิสลามและได้รับทางนำจาก

การปฏิบัติตามแบบอย่างของท่าน

-ทำให้ผู้ปฏิบัติมีความมั่นใจว่าสิ่งที่เขาทำนั้นถูก

ต้องและเป็นที่ยอมรับของอัลลอฮฺ

-ทำให้ผู้ปฏิบัติยึดมั่นกับอัลกุรอานและอัลฮาดีษ

-การเชื่อฟังคำสั่งสอนและปฏิบัติตามแบบอย่าง

ในการดำเนินชีวิตประจำวันตั้งแต่ตื่นนอนกระทั่ง

เข้านอนซึ่งเป็นการแสดงว่าเรามีความรักใน

ท่านรอซูลศ็อลลัลลอฮฺอะลัยฮิวะสัลลัมและ

เอกองค์อัลลอฮฺอย่างแท้จริงและเราจะได้รับรางวัล

ที่ดีเยี่ยมในวันอาคีเราะฮฺ

-สามารถศึกษาได้จากฮาดีษต่างๆที่ซอฮิฮฺซึ่งมี

เป็นภาษาไทยเช่นอัลกุรอานทั้งฉบับภาษาอาหรับ

และฉบับแปลภาไทย,ฮาดีษ40,ฮาดีษรียาดุช

ซอลีฮีนหนังสือซุนนะห์ท่านรอซูล(ซล.)

คู่มือศาสนบำบัด 158

Page 159: บทนำ - Ministry of Public Healthหลายคนเร ยกโลกสม ยน ว า“ย คสม ยส ดท ายความจร งจะเป นเช

แผนการจัดการเรียนรู้

ศาสนบำบัดสำหรับผู้ป่วยยาเสพติด เวลาในการสอน 60 นาที

หน่วยการเรียนรู้ที่ 26 เรื่อง อิสติฆฟารวันละร้อยครั้ง

1. สาระสำคัญ

การกล่าวอิสติฆฟารคือการกล่าวขอลุแก่โทษจากอัลลอฮฺซึ่งมีความสำคัญอย่าง

ยิ่งในการขัดเกลาจิตใจให้สะอาดปกป้องจากการหลอกลวงของชัยฏอนในการพลั้งเผลอ

หลงลืมและประพฤติผิดบาปทั้งที่รู้จักตัวและไม่รู้จักตัวควรจะกล่าวให้มากที่สุดเท่าที่จะ

ทำได้ในแต่ละวันโดยอย่างน้อยต้องให้ได้วันละหนึ่งร้อยครั้งดังเช่นท่านรอซูลศ็อลลัลลอฮฺ

อะลัยฮิวะสัลลัมได้ปฏิบัติเป็นประจำ

2. จุดประสงค์การเรียนรู้

1.เพื่อให้ผู้รับการบำบัดตระหนักถึงความสำคัญของการอิสติฆฺฟารฺ(การกล่าวขอ

อภัยโทษ)

2.เพื่อให้ผู้รับการบำบัดได้รู้ถึงวิธีการกล่าวอิสติฆฺฟารฺและพร้อมที่จะปฏิบัติ

3. กระบวนการจัดการเรียนรู้

3.1นำเข้าสู่บทเรียนโดยให้ผู้รับการบำบัดยกตัวอย่างกล่าวคำว่าอัซตัฆฟิรุลลอฮ

วะอะตูบูอิลัยฮิให้ได้มากที่สุดภายในเวลา(5นาที)

3.2สุ่มถามผู้รับการบำบัด2-3คนเกี่ยวกับความรู้เรื่องศาสนาที่เกี่ยวข้อง(5นาที)

3.3ผู้สอนบรรยายให้ความรู้เกี่ยวกับเนื้อหาในใบความรู้(30นาที)

3.4ให้ผู้รับการบำบัดทำกิจกรรมตามประเด็นใบงานอาจจะแบ่งเป็นกลุ่มหรือ

รายบุคคล(10นาที)

3.5สุ่มตัวแทนนำเสนอผลงาน2-3คนผู้สอนรวบรวมข้อสรุปและอภิปราย

159 คู่มือศาสนบำบัด

Page 160: บทนำ - Ministry of Public Healthหลายคนเร ยกโลกสม ยน ว า“ย คสม ยส ดท ายความจร งจะเป นเช

เพิ่มเติม(10นาที)

4. สื่อการเรียนการสอน

4.1ภาพพลิก,ภาพโปสเตอร์

4.2ใบงาน

4.3กระดาษชาร์ต/กระดาษA4

5. กระบวนการประเมิน

5.1ประเมินความรู้

5.1.1การตอบคำถาม

5.1.2การแสดงความคิดเห็นขณะอภิปรายในกลุ่ม

5.1.3ผลการนำเสนอผลงานของแต่ละกลุ่มหรือแต่ละคน

5.2ประเมินผลการปฏิบัติ

5.2.1สังเกตพฤติกรรมการแสดงความคิดเห็นขณะทำการสอน

5.2.2ตรวจผลงานหรือดูความรับผิดชอบงานที่ได้รับมอบหมาย

5.3เครื่องมือในการประเมิน

5.3.1ใบงาน

5.3.2ผลงานที่ได้รับมอบหมาย

คู่มือศาสนบำบัด 160

Page 161: บทนำ - Ministry of Public Healthหลายคนเร ยกโลกสม ยน ว า“ย คสม ยส ดท ายความจร งจะเป นเช

ใบความรู้

อิสติฆฺฟารฺวันละร้อยครั้ง

การดำเนินชีวิตของมนุษย์ใจแต่ละวันย่อมมีความผิดพลาดเกิดขึ้นเสมออันเนื่อง

มาจากความหลงลืมและทำตามอารมณ์หรือการล่อลวงของชัยฏอนความผิดบาปเป็นสิ่ง

ที่ทำให้หัวใจของผู้กระทำผิดหม่นหมองเพราะถูกปิดบังด้วยความชั่วที่ตนทำเป็นเหตุให้

เขาดูเป็นคนที่ไร้ราศีไม่มีความบะรอกัตในการดำเนินชีวิตดังนั้นการชำระจิตใจให้ใสสะอาด

และปลอดจากบาปทั้งมวลจึงมีความสำคัญอย่างยิ่งเพื่อจะให้มีความดีงามเกิดขึ้นในชีวิต

ของมนุษย์วิธีการทำความสะอาดจิตใจนั้นทำได้ด้วยการทำอิบาดะฮฺต่างๆและที่สำคัญที่

สุดคือการกล่าวอิสติฆฺฟารฺหรือการกล่าวขอลุแก่โทษจากอัลลอฮฺ

ท่านรอซูลศ็อลลัลลอฮฺอะลัยฮิวะสัลลัมเป็นผู้ที่อัลลอฮฺทรงปกป้องให้บริสุทธิ์จาก

บาปแม้กระนั้นท่านก็ยังไม่เว้นที่จะทำอิบาดะฮฺพร้อมทั้งได้ทำตัวอย่างด้วยกล่าวอิสติฆฺฟารฺ

ถึงวันละหนึ่งร้อยครั้งท่านได้กล่าวไว้มีความว่า“แท้จริงฉันพบว่าเหมือนมีสิ่งปกคลุมใจ

ฉันอยู่ ดังนั้น แท้จริงฉันจึงได้กล่าวอิสติฆฺฟารฺหนึ่งร้อยครั้งในแต่ละวัน”(รายงานโดย

มุสลิม)

หะดีษข้างต้นแสดงให้เห็นถึงความสำคัญของการกล่าวอิสติฆฺฟารฺอย่างสม่ำเสมอ

เพราะเป็นการขัดเกลาจิตใจให้สะอาดและกระชุ่มกระชวยจากอาการปวกเปียกอ่อนแอ

ซึ่งเกิดจากพลั้งเผลอหลงลืมและประพฤติผิดบาปทั้งที่รู้ตัวและไม่รู้ตัว การฟื้นฟูจิตใจด้วย

การกล่าวอิสติฆฺฟารฺจึงเป็นวิธีการที่ทำได้ง่ายและให้ผลที่ดีที่สุดการกล่าวอิสติฆฺฟารฺควร

จะทำให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ในแต่ละวันโดยอย่างน้อยต้องกล่าวให้ได้วันละหนึ่งร้อย

ครั้งเช่นที่ท่านรอซูลศ็อลลัลลอฮฺอะลัยฮิวะสัลลัมได้ทำไว้เป็นตัวอย่างและหากว่ารู้สึก

ลำบากที่จะกล่าวในคราวเดียวกันหนึ่งร้อยครั้งก็อาจจะหาเทคนิควิธีที่ให้สามารถทำได้ง่าย

ขึ้นเช่นกล่าวครั้งละยี่สิบครั้งหลังละหมาดห้าเวลาครบห้าเวลาละหมาดก็จะครบหนึ่งร้อย

ครั้งในการกล่าวอิสติฆฺฟารฺ

ส่วนสำนวนในการกล่าวอิสติฆฺฟารฺนั้นมีอยู่หลากหลายแต่ที่สั้นที่สุดและง่ายที่สุดก็

คือการกล่าวด้วยสำนวนว่า“”(อ่านว่าอัซตัฆฺฟิรุลลอฮฺวะอะตูบุ

อิลัยฮิ)มีความหมายว่าฉันขออภัยโทษจากอัลลอฮฺและขอกลับตัวสู่พระองค์

ถ้าหากมนุษย์พิจารณาตนเองแล้ว เขาก็จะพบว่าไม่มีใครที่รับรองว่าตนนั้นบริสุทธิ์

จากบาปไม่เคยมีใครที่มารับรองว่าเราเป็นชาวสวรรค์แน่นอนแต่เราก็ยังนิ่งเฉยไม่กระตือรือร้น

ที่จะขอลุแก่โทษจากอัลลอฮฺเพื่อให้เราปลอดพ้นจากไฟนรกในวันอาคิเราะฮฺ

161 คู่มือศาสนบำบัด

Page 162: บทนำ - Ministry of Public Healthหลายคนเร ยกโลกสม ยน ว า“ย คสม ยส ดท ายความจร งจะเป นเช

ถ้าจะเปรียบเทียบการอิสติฆฺฟารฺก็เหมือนกับการขับถ่ายของเสียออกจากร่างกาย

หากในวันหนึ่งเราไม่ได้ถ่ายเราก็จะรู้สึกอึดอัดอยู่ไม่ได้และนับประสาอะไรถ้าหากเราไม่ได้

ถ่ายเป็นสัปดาห์หรือเป็นปีแน่นอนว่าของเสียในร่างกายย่อมต้องบูดเน่าและก่ออันตราย

ต่อร่างกายอย่างยิ่ง เช่นเดียวกับบาปที่เป็นของเสียในจิตใจเราซึ่งจำเป็นต้องขับออกเพื่อไม่

ให้จิตใจเน่าเสียและได้รับอันตรายจากบาปที่เน่าเสียเหล่านั้น

ข้อคิดที่ได้รับจากบทเรียน

1.มนุษย์ทุกคนไม่มีใครที่ปลอดพ้นจากบาปนอกจากท่านรอซูลศ็อลลัลลอฮฺ

อะลัยฮิวะสัลลัม

2.บาปเป็นสิ่งที่ส่งผลกระทบต่อจิตใจของมนุษย์วิธีการฟื้นฟูจิตใจให้ดีขึ้นทำได้

ด้วยการกล่าวอิสติฆฺฟารฺ

3.ท่านรอซูลศ็อลลัลลอฮฺอะลัยฮิวะสัลลัมได้ทำตัวอย่างการกล่าวอิสติฆฺฟารฺถึง

วันละหนึ่งร้อยครั้งทั้งๆที่ท่านเป็นผู้ที่อัลลอฮฺรับรองว่าปลอดพ้นจากบาป

4.มุสลิมต้องพยายามและหมั่นกล่าวอิสติฆฺฟารฺให้มากที่สุดในแต่ละวันและควร

หาเทคนิควิธีง่ายๆเพื่อให้สามารถทำได้โดยไม่เบื่อและทำสม่ำเสมอ

5.วิธีอิสติฆฺฟารฺอย่างง่ายคือการกล่าวสั้นๆว่า“ ” (อ่านว่า

อัซตัฆฺฟิรุลลอฮฺวะอะตูบุอิลัยฮิ)

คู่มือศาสนบำบัด 162

Page 163: บทนำ - Ministry of Public Healthหลายคนเร ยกโลกสม ยน ว า“ย คสม ยส ดท ายความจร งจะเป นเช

ใบงาน

คำชี้แจงให้ท่านทำกิจกรรมตามหัวข้อที่มอบหมาย(10นาที)แล้วนำเสนอผลงานโดยตอบ

คำถามตามประเด็นดังนี้

1.ท่านคิดว่าเหตุใดในบางครั้งจิตใจของมนุษย์จึงอ่อนแอและไม่มีความกระตือรือร้น

ในการทำดี

2.ท่านคิดว่ามีวิธีการใดบ้างเพื่อให้สามารถกล่าวอิสติฆฺฟารฺให้ได้วันละมากๆ

163 คู่มือศาสนบำบัด

Page 164: บทนำ - Ministry of Public Healthหลายคนเร ยกโลกสม ยน ว า“ย คสม ยส ดท ายความจร งจะเป นเช

ใบความรู้สำหรับผู้สอน

(แผนการสอนเรื่อง “อิสติฆฺฟารฺวันละร้อยครั้ง”)

ประเด็นคำถาม

1.ท่านคิดว่าเหตุใดในบางครั้ง

จิตใจของมนุษย์จึงอ่อนแอ

และไม่มีความกระตือรือร้น

ในการทำดี

2.ท่านคิดว่ามีวิธีการใดบ้าง

เพื่อให้สามารถกล่าวอิสติฆฺฟารฺ

ให้ได้วันละมากๆ

แนวคิดที่ควรได้

-เพราะหัวใจของเขาหม่นหมองถูกปิดบัง

ด้วยความชั่วที่ตนทำและสะสมจนทำให้จิตใจ

อ่อนแอครอบงำจิตใจให้หลงลืมและทำตาม

อารมณ์หรือการล่อลวงของชัยฏอนเกียจคร้าน

ในการทำอีบาดะฮฺต่างๆ

-กล่าวทุกครั้งเมื่อนึกได้

-ในยามว่างก็ไม่ควรพูดเรื่องไร้สาระมานั่งกล่าว

อิสติฆฺฟารฺดีกว่า

-กล่าวทุกครั้งหลังละหมาดอย่างน้อยวักตูละ

20ครั้ง

-กล่าวในขณะขับรถหรือนั่งรอเพื่อนช่วงนั่งรอ

เวลาระหว่างการทำกิจกรรมกลุ่มบำบัด

คู่มือศาสนบำบัด 164

Page 165: บทนำ - Ministry of Public Healthหลายคนเร ยกโลกสม ยน ว า“ย คสม ยส ดท ายความจร งจะเป นเช

แผนการจัดการเรียนรู้

ศาสนบำบัดสำหรับผู้ป่วยยาเสพติด เวลาในการสอน 60 นาที

หน่วยการเรียนรู้ที่ 27 เรื่อง อิสลามสนับสนุนการทำงาน

1. สาระสำคัญ

อิสลามสนับสนุนให้ทำงานเพื่อจะได้เกิดประโยชน์ต่อตัวเองและสามารถแบ่งปัน

ให้กับผู้อื่นด้วยดังนั้นผู้ที่ให้นั้นย่อมดีกว่าผู้ที่รับมุสลิมไม่ควรมีนิสัยขี้เกียจทำงานหรือ

งอมืองอเท้าไม่ยอมทำงานเพราะนั่นเป็นนิสัยของความไม่เจริญและอิสลามไม่สนับสนุนการ

เป็นขอทาน

2. จุดประสงค์การเรียนรู้

1.เพื่อให้ผู้รับการบำบัดได้รู้ถึงการส่งเสริมของอิสลามในการประกอบอาชีพอย่าง

สุจริต

2.เพื่อให้ผู้รับการบำบัดได้รู้ถึงความประเสริฐในการทำงานด้วยความสามารถของ

ตนเอง

3.เพื่อให้ผู้รับการบำบัดได้รู้ถึงตัวอย่างจากบรรพบุรุษอิสลามรุ่นก่อนที่ให้ความ

สำคัญกับการทำงาน

3. กระบวนการจัดการเรียนรู้

3.1นำเข้าสู่บทเรียนโดยให้ผู้รับการบำบัดนึกทบทวนตนเองเคยทำงานหาราย

ได้เลี้ยงตนเองหรือครอบครัวหรือไม่(5นาที)

3.2สุ่มถามผู้รับการบำบัด2-3คนเกี่ยวกับความรู้เรื่องศาสนาที่เกี่ยวข้อง(5นาที)

3.3ผู้สอนบรรยายให้ความรู้เกี่ยวกับเนื้อหาในใบความรู้(30นาที)

3.4ให้ผู้รับการบำบัดทำกิจกรรมตามประเด็นใบงานอาจจะแบ่งเป็นกลุ่มหรือ

165 คู่มือศาสนบำบัด

Page 166: บทนำ - Ministry of Public Healthหลายคนเร ยกโลกสม ยน ว า“ย คสม ยส ดท ายความจร งจะเป นเช

รายบุคคล(10นาที)

3.5สุ่มตัวแทนนำเสนอผลงาน2-3คนผู้สอนรวบรวมข้อสรุปและอภิปราย

เพิ่มเติม(10นาที)

4. สื่อการเรียนการสอน

4.1ภาพพลิก,ภาพโปสเตอร์

4.2ใบงาน

4.3กระดาษชาร์ต/กระดาษA4

5. กระบวนการประเมิน

5.1ประเมินความรู้

5.1.1การตอบคำถาม

5.1.2การแสดงความคิดเห็นขณะอภิปรายในกลุ่ม

5.1.3ผลการนำเสนอผลงานของแต่ละกลุ่มหรือแต่ละคน

5.2ประเมินผลการปฏิบัติ

5.2.1สังเกตพฤติกรรมการแสดงความคิดเห็นขณะทำการสอน

5.2.2ตรวจผลงานหรือดูความรับผิดชอบงานที่ได้รับมอบหมาย

5.3เครื่องมือในการประเมิน

5.3.1ใบงาน

5.3.2ผลงานที่ได้รับมอบหมาย

คู่มือศาสนบำบัด 166

Page 167: บทนำ - Ministry of Public Healthหลายคนเร ยกโลกสม ยน ว า“ย คสม ยส ดท ายความจร งจะเป นเช

ใบความรู้

อิสลามสนับสนุนการทำงาน

อิสลามเป็นศาสนาที่สนับสนุนการประกอบอาชีพและการทำมาหากินอย่างสุจริต

การทำงานเพื่อหาเลี้ยงชีพเช่นนี้อิสลามถือว่าเป็นสิ่งที่มีเกียรติเพราะเป็นการเลี่ยงจากการ

ขอทานผู้อื่นซึ่งทำให้ตัวเองดูต่ำต้อยซึ่งมีหะดีษจากท่านรอซูลศ็อลลัลลอฮฺอะลัยฮิวะสัลลัม

ที่ได้กล่าวสนับสนุนการทำงานไว้มีความว่า“ผู้ใดผู้หนึ่งจะไม่รับประทานอาหารใดๆ ที่

ประเสริฐไปกว่าสิ่งที่เขาได้หามาด้วยการทำงานจากน้ำมือของตัวเอง”(รายงานโดย

อัล-บุคอรีย์)

การทำงานหาเลี้ยงชีพด้วยตัวเองแม้เพียงด้วยงานเล็กๆ ที่อาจจะดูไม่มีเกียรติทาง

สังคมใดๆ เลยแต่ก็ถือว่าเป็นสิ่งประเสริฐในอิสลามดีกว่าการจากผู้อื่นโดยไม่ยอมทำงาน

ท่านรอซูลได้กล่าวไว้มีความว่า“การที่พวกท่านผู้ใดผู้หนึ่งหาฟืนแล้วแบกบนหลังเอาไปขาย

นั้นย่อมดีกว่าการเที่ยวขอจากผู้อื่น ซึ่งอาจจะให้หรือไม่ให้เขา”(รายงานโดยอัล-บุคอรีย์)

หะดีษข้างต้นนี้แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่ามุสลิมไม่ควรมีนิสัยขี้เกียจทำงานหรือ

งอมืองอเท้าไม่ยอมทำอะไรเป็นการเป็นงานเพราะนั่นเป็นนิสัยของความไม่เจริญโดยเฉพาะ

อย่างยิ่งการเที่ยวขอทานจากผู้อื่นยิ่งเป็นสิ่งที่อิสลามไม่สนับสนุนท่านรอซูลศ็อลลัลลอฮฺ

อะลัยฮิวะสัลลัมได้กล่าวไว้มีความว่า“เศาะดะเกาะฮฺนั้นไม่เหมาะสมสำหรับคนรวยคนที่

สมบูรณ์พร้อมทางด้านร่างกาย หรือคนที่แข็งแรงและสามารถทำงานได้” (รายงานโดย

อัด-ดาเราะกุฏีย์)

อิสลามสนับสนุนให้ทำงานเพื่อจะได้เกิดประโยชน์ต่อตัวเองและสามารถแบ่งปันให้

กับผู้อื่นด้วยผู้ที่ให้นั้นย่อมต้องดีกว่าผู้ที่รับเช่นที่ท่านรอซูลศ็อลลัลลอฮฺอะลัยฮิวะสัลลัมได้

กล่าวไว้มีความว่า“มือข้างบน (ผู้ให้) ดีกว่ามือล่าง (ผู้รับ)”(รายงานโดยอัล-บุคอรีย์)

ดังนั้นเราจึงพบว่าบรรพบุรุษอิสลามสมัยก่อนทั้งบรรดานบีทั้งหลายก็เป็นคนที่ทำ

งานเช่นนบีมูซาเคยรับจ้างทำงานเลี้ยงแพะนบีดาวูดก็ทำงานและหาเลี้ยงชีพจากน้ำมือ

ของตน “ท่านนบีดาวูดไม่เคยกินอาหารใดเว้นแต่ที่ได้มาจากการทำงานด้วยน้ำมือของ

ตน”(รายงานโดยอัล-บุคอรีย์)ท่านรอซูลศ็อลลัลลอฮฺอะลัยฮิวะสัลลัมเองก็ทำงานเช่น

กัน สมัยที่ยังเป็นเด็กท่านเคยรับจ้างเลี้ยงแพะและเมื่อเป็นหนุ่มท่านเคยทำงานเป็นพ่อค้า

และเคยเดินทางค้าขายถึงเมืองซีเรีย

167 คู่มือศาสนบำบัด

Page 168: บทนำ - Ministry of Public Healthหลายคนเร ยกโลกสม ยน ว า“ย คสม ยส ดท ายความจร งจะเป นเช

เศาะหาบะฮฺของท่านก็มีอาชีพต่างๆหลากหลายเช่นท่านอบูบักรฺนั้นเป็นช่างฝีมือ

และเป็นพ่อค้าท่านอุมัรเป็นชาวสวนท่านอุษมานเป็นพ่อค้าบางท่านนั้นมีทรัพย์สินมาก

มายจากการค้าขายทุกคนล้วนขยันขันแข็งในการทำงานในขณะที่ไม่เคยละทิ้งภารกิจ

อื่นๆทางศาสนาเลยแม้แต่น้อย

แบบอย่างต่างๆ เหล่านี้สามารถที่จะเป็นแนวทางที่ดีสำหรับคนรุ่นหลัง เพราะอิสลาม

เป็นศาสนาที่เอาใจใส่ทุกๆเรื่องของมนุษย์ซึ่งรวมทั้งการทำงานหาเลี้ยงชีพด้วยโดยจะเห็น

ได้จากการที่อิสลามสนับสนุนให้ทำงานและกำหนดจริยธรรมในการทำงาน เช่นต้อง

ซื่อสัตย์เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ไม่ยักยอกคดโกงเป็นต้น

ข้อคิดที่ได้รับจากบทเรียน

1.การทำงานอย่างสุจริตเพื่อหาเลี้ยงชีพเป็นสิ่งที่อิสลามสนับสนุนเป็นอย่างยิ่ง

2.การทำงานไม่ว่าจะเป็นอาชีพอะไรก็ตามถ้าหากเป็นอาชีพที่สุจริตแล้วล้วนเป็น

สิ่งที่มีเกียรติถึงแม้จะดูต่ำต้อยในสายตาผู้อื่น

3.อิสลามไม่สนับสนุนให้ขอทานจากผู้อื่นโดยเฉพาะผู้ที่มีความสามารถจะทำงาน

ได้

4.อิสลามต้องการให้มุสลิมเป็นผู้ให้มากกว่าเป็นผู้รับ

5.การทำงานเป็นสิ่งที่บรรดานบีและคนรุ่นก่อนได้ทำไว้เป็นแบบอย่างให้คนรุ่น

หลังได้ทำตาม

คู่มือศาสนบำบัด 168

Page 169: บทนำ - Ministry of Public Healthหลายคนเร ยกโลกสม ยน ว า“ย คสม ยส ดท ายความจร งจะเป นเช

ใบงาน

คำชี้แจงให้ท่านทำกิจกรรมตามหัวข้อที่มอบหมาย(10นาที)แล้วนำเสนอผลงานโดยตอบ

คำถามตามประเด็นดังนี้

1.ท่านคิดว่าการทำงานเพื่อหาเลี้ยงชีพด้วยตัวเองมีคุณค่าอย่างไร

2.ท่านคิดว่าจริยธรรมในการทำงานมีอะไรบ้าง

169 คู่มือศาสนบำบัด

Page 170: บทนำ - Ministry of Public Healthหลายคนเร ยกโลกสม ยน ว า“ย คสม ยส ดท ายความจร งจะเป นเช

ใบความรู้สำหรับผู้สอน

(แผนการสอนเรื่อง “อิสลามสนับสนุนการทำงาน”)

ประเด็นคำถาม

1.ท่านคิดว่าการทำงานเพื่อหา

เลี้ยงชีพด้วยตัวเองมีคุณค่า

อย่างไร

2.ท่านคิดว่าจริยธรรมในการ

ทำงานมีอะไรบ้าง

แนวคิดที่ควรได้

-เกิดความภูมิใจในตนเอง

-ช่วยแบ่งเบาภาระของพ่อแม่และไม่ต้องรบกวน

ขอเงินจากท่านทั้งสอง

-สามารถช่วยเหลือคนข้างเคียงเมื่อเขามีความ

เดือดร้อนเรื่องเงิน

-สามารถบริจาคซากาตให้กับคนยากจน

-ต้องมีความซื่อสัตย์ในงานของตนไม่คดโกง

-ขยันอดทนต่อความยากลำบากและรวมทั้ง

อุปสรรคในการทำงาน

-เลือกงานที่สุจริตถูกต้องตามกฎหมายแม้จะเป็น

งานที่ต่ำต้อย

-ไม่ควรเลือกงานจนเกินเหตุซึ่งอาจส่งผลให้ต้อง

ว่างงาน

คู่มือศาสนบำบัด 170

Page 171: บทนำ - Ministry of Public Healthหลายคนเร ยกโลกสม ยน ว า“ย คสม ยส ดท ายความจร งจะเป นเช

แผนการจัดการเรียนรู้

ศาสนบำบัดสำหรับผู้ป่วยยาเสพติด เวลาในการสอน 60 นาที

หน่วยการเรียนรู้ที่ 28 เรื่อง เส้นทางที่อัลลอฮฺรัก

1. สาระสำคัญ

ความรักที่ทรงอานุภาพและยิ่งใหญ่ที่สุดคือความรักของอัลลอฮฺที่มีต่อบ่าวของ

พระองค์ซึ่งเป็นความรักที่มนุษย์โหยหาและอยากได้เพราะหากอัลลอฮฺรักแล้วจะทำให้เรา

ประสบแต่ความสุขในชีวิตและได้รับความคุ้มครองจากอัลลอฮฺตลอดเวลา

2. จุดประสงค์การเรียนรู้

1.เพื่อให้ผู้รับการบำบัดได้รู้ถึงความรักที่อัลลอฮฺมีให้กับบ่าวของพระองค์

2.เพื่อให้ผู้รับการบำบัดได้รู้ถึงผลดีที่ได้รับจากความรักของอัลลอฮฺ

3. เพื่อให้ผู้รับการบำบัดได้ตระหนักที่จะพยายามปฏิบัติเพื่อบรรลุถึงความรัก

ของอัลลอฮฺ

3. กระบวนการจัดการเรียนรู้

3.1นำเข้าสู่บทเรียนโดยถามผู้รับการบำบัดว่า“นิยามคำว่าความรักคืออะไร”

(5นาที)

3.2สุ่มถามผู้รับการบำบัด2-3คนเกี่ยวกับความรู้เรื่องศาสนาที่เกี่ยวข้อง(5นาที)

3.3ผู้สอนบรรยายให้ความรู้เกี่ยวกับเนื้อหาในใบความรู้(30นาที)

3.4ให้ผู้รับการบำบัดทำกิจกรรมตามประเด็นใบงานอาจจะแบ่งเป็นกลุ่มหรือ

รายบุคคล(10นาที)

3.5สุ่มตัวแทนนำเสนอผลงาน2-3คนผู้สอนรวบรวมข้อสรุปและอภิปราย

เพิ่มเติม(10นาที)

171 คู่มือศาสนบำบัด

Page 172: บทนำ - Ministry of Public Healthหลายคนเร ยกโลกสม ยน ว า“ย คสม ยส ดท ายความจร งจะเป นเช

4. สื่อการเรียนการสอน

4.1ภาพพลิก,ภาพโปสเตอร์

4.2ใบงาน

4.3กระดาษชาร์ต/กระดาษA4

5. กระบวนการประเมิน

5.1ประเมินความรู้

5.1.1การตอบคำถาม

5.1.2การแสดงความคิดเห็นขณะอภิปรายในกลุ่ม

5.1.3ผลการนำเสนอผลงานของแต่ละกลุ่มหรือแต่ละคน

5.2ประเมินผลการปฏิบัติ

5.2.1สังเกตพฤติกรรมการแสดงความคิดเห็นขณะทำการสอน

5.2.2ตรวจผลงานหรือดูความรับผิดชอบงานที่ได้รับมอบหมาย

5.3เครื่องมือในการประเมิน

5.3.1ใบงาน

5.3.2ผลงานที่ได้รับมอบหมาย

คู่มือศาสนบำบัด 172

Page 173: บทนำ - Ministry of Public Healthหลายคนเร ยกโลกสม ยน ว า“ย คสม ยส ดท ายความจร งจะเป นเช

ใบความรู้

เส้นทางที่อัลลอฮฺรัก

ในโลกนี้อาจจะถือได้ว่าสิ่งที่มีอานุภาพยิ่งใหญ่ที่สุดนั้นคือความรักไม่ว่าจะเป็น

ความรักของพ่อแม่ความรักระหว่างสามีภรรยาความรักระหว่างเพื่อนมนุษย์ด้วยกันแต่

ความรักที่ทรงอานุภาพมากที่สุดและยิ่งใหญ่ที่สุดคือความรักของอัลลอฮฺที่มีต่อบ่าวของ

พระองค์เป็นความรักที่มนุษย์ทุกคนโหยหาและอยากได้เพราะความรักของอัลลอฮฺเป็น

ความรักที่บริสุทธิ์ยิ่งกว่าความรักใดๆเป็นความรักที่จะทำให้มนุษย์ประสบแต่ความสุขใน

ชีวิตและได้รับความคุ้มครองจากอัลลอฮฺอยู่ตลอดเวลาด้วยเหตุนี้มนุษย์จึงต้องพยายาม

หาทางที่จะทำให้อัลลอฮฺมอบความรักให้กับตนโดยต้องศึกษาให้รู้ว่าอะไรบ้างที่เป็นกุญแจ

สู่ความรักของอัลลอฮฺ

อันที่จริงในอัลกุรอานมีระบุถึงคุณลักษณะต่างๆที่อัลลอฮฺรักอย่างมากมายเช่น

แท้จริงอัลลอฮฺทรงรักบรรดาผู้ยำเกรงบรรดาผู้ชอบความสะอาดบรรดาผู้ทำความดีเป็นต้น

แต่เพื่ออธิบายอย่างง่ายๆให้เห็นได้ชัดเจนมากขึ้นท่านรอซูลศ็อลลัลลอฮฺอะลัยฮิวะสัลลัม

จึงได้กล่าวไว้ตอนหนึ่งมีความว่า“ฮัลลอฮฺได้ทรงมีดำรัสว่า ผู้ใดที่ทำร้าย วะลี (สหาย

ผู้ใกล้ชิด คนรัก) ฉัน แน่แท้ฉันได้ประกาศต่อสู้กับเขา และไม่มีสิ่งใดที่บ่าวของฉันได้

ทำเพื่อใกล้ชิดจะเป็นที่ชื่นชอบแก่ฉันมากไปกว่าสิ่งที่ฉันได้มอบหมายให้เขาทำ (ฟัรฎู)

และบ่าวของฉันนั้นมีอุตสาหะในการเข้าใกล้ (ภักดี) ฉันด้วยการปฏิบัติศาสนกิจต่างๆ

ที่เป็นความสมัครใจ (ไม่ใช่ฟัรฎู) จนฉันรักเขา เมื่อใดที่ฉันรักเขาแล้ว ฉันจะเป็นหูของ

เขาที่เขาใช้ฟัง เป็นตาของเขาที่เขาใช้ดู เป็นมือของเขาที่เขาใช้จับ และเป็นเท้าของเขา

ที่เขาใช้เดิน (เป็นการเปรียบเทียบซึ่งหมายถึงว่าอัลลอฮฺจะชี้นำเขาและดูแลอวัยวะส่วน

ต่างๆ ในร่างกายเขาให้ประพฤติปฏิบัติในทางที่ดีเท่านั้น) ถ้าเขาขอจากฉันแน่แท้ฉันจะ

ให้แก่เขา ถ้าเขาขอความคุ้มครองจากฉัน แน่แท้ฉันจะคุ้มครองเขา และไม่มีสิ่งใดที่ฉัน

ทำอย่างลังเลเหมือนที่ฉันจะรับเอาชีวิตของผู้ศรัทธาที่ไม่ชื่นชอบความตายในขณะที่ฉัน

เองไม่อยากทำร้ายเขา”(รายงานโดยอัล-บุคอรีย์)

ประเด็นที่สำคัญในหะดีษข้างต้นคือ กุญแจแห่งความรักของอัลลอฮฺต่อมนุษย์

ผูห้นึ่งนั้นอยู่ที่การปฏิบัติภารกิจต่างๆที่พระองค์ทรงใช้ให้ครบถ้วนและเสริมด้วยการ

ปฏิบัติศาสนกิจและความดีอื่นๆที่เป็นสุนัตเมื่อสามารถรักษากิจการงานได้ดังนี้ก็จะเป็น

ที่รักของอัลลอฮฺ ซึ่งพระองค์จะคอยช่วยดูแลและกำกับให้เขาพบแต่สิ่งที่ดีและปลอดพ้น

จากความเลวร้ายต่างๆในชีวิต

173 คู่มือศาสนบำบัด

Page 174: บทนำ - Ministry of Public Healthหลายคนเร ยกโลกสม ยน ว า“ย คสม ยส ดท ายความจร งจะเป นเช

ความรักของอัลลอฮฺนั้นยิ่งใหญ่นักเพราะเมื่อพระองค์รักผู้ใดพระองค์จะทรงทำให้

สรรพสิ่งอื่นทั้งหมดรักคนผู้นั้นด้วยเช่นกันเช่นที่ท่านรอซูลศ็อลลัลลอฮฺอะลัยฮิวะสัลลัม

ได้กล่าวไว้มีความว่า“เมื่อใดที่อัลลอฮฺรักผู้หนึ่งผู้ใดแล้ว พระองค์จะตรัสกับญิบรีลว่า ฉัน

ได้รักคนผู้นี้แล้วดังนั้นเจ้าจงรักเขาด้วย ญิบรีลก็จะรักเขาผู้นั้น แล้วญิบรีลก็จะป่าว

ประกาศแก่มลาอิกะฮฺทั้งหลายบนฟ้าว่า แท้จริงอัลลอฮฺได้รักคนผู้นี้ดังนั้นพวกเจ้าก็จง

รักเขาด้วยมลาอิกะฮฺทั้งหมดก็จะรักเขา แล้วอัลลอฮฺก็จะทรงกำหนดการตอบรับจาก

ชาวโลกให้แก่เขา”(รายงานโดยอัล-บุคอรีย์และมุสลิม)มุสลิมจึงต้องเพียรพยายามเพื่อ

หาความรักของอัลลอฮฺอย่างจริงจังเพื่อจะได้รับความดีงามนี้

ข้อคิดที่ได้รับจากบทเรียน

1.ความรักของอัลลอฮฺเป็นสิ่งที่มุสลิมทุกคนโหยหาเพราะมีค่าแก่ชีวิตของเขา

อย่างยิ่ง

2.กุญแจแห่งความรักของอัลลอฮฺคือการปฏิบัติตามคำสั่งของพระองค์และสั่งสม

ความดีงามต่างๆอย่างสม่ำเสมอ

3.เมื่อใดที่อัลลอฮฺรักผู้ใดแล้วพระองค์จะทรงรับเพื่อปกป้องและชี้นำเขาไปในทาง

ที่ดี

4.ผู้ที่อัลลอฮฺรักจะได้รับความรักจากมลาอิกะฮฺทั้งหลายรวมทั้งได้รับความชื่นชอบ

จากเพื่อนมนุษย์ร่วมโลก

5.มุสลิมต้องเพียรพยายามเพื่อหาความรักของอัลลอฮฺไม่ว่าจะเป็นด้วยการปฏิบัติ

ศาสนกิจการขอดุอาอการทำความดีต่างๆฯลฯ

คู่มือศาสนบำบัด 174

Page 175: บทนำ - Ministry of Public Healthหลายคนเร ยกโลกสม ยน ว า“ย คสม ยส ดท ายความจร งจะเป นเช

ใบงาน

คำชี้แจงให้ท่านทำกิจกรรมตามหัวข้อที่มอบหมาย(10นาที)แล้วนำเสนอผลงานโดยตอบ

คำถามตามประเด็นดังนี้

1.ท่านมีความรู้สึกอย่างไรกับความรักที่อัลลอฮฺมีต่อมนุษย์

2.ท่านคิดว่าเพราะเหตุใดความรักของอัลลอฮฺที่มีต่อมนุษย์นั้นเป็นสิ่งที่มีค่า

175 คู่มือศาสนบำบัด

Page 176: บทนำ - Ministry of Public Healthหลายคนเร ยกโลกสม ยน ว า“ย คสม ยส ดท ายความจร งจะเป นเช

ใบความรู้สำหรับผู้สอน

(แผนการสอนเรื่อง “เส้นทางที่อัลลอฮฺรัก”)

ประเด็นคำถาม

1.ท่านมีความรู้สึกอย่างไรกับ

ความรักที่อัลลอฮฺมีต่อมนุษย์

2.ท่านคิดว่าเพราะเหตุใดความรัก

ของอัลลอฮฺที่มีต่อมนุษย์นั้นเป็น

สิ่งที่มีค่า

แนวคิดที่ควรได้

-ความรักของอัลลอฮฺเสมือนหนึ่งเป็นกุญแจให้

มนุษย์ได้รับการช่วยเหลือดูแลและจะได้รับความ

คุ้มครองให้พบแต่สิ่งที่ดีๆและปลอดภัยจาก

ความเลวร้ายต่างๆในชีวิต

-เพราะอัลลอฮฺจะทรงปกป้องคุ้มครองให้รอดพ้น

จากมารชัยฏอนและจะได้รับทางนำเพื่อเข้าสู่

สรวงสวรรค์ในวันอาคีเราะฮฺ

-เมื่ออัลลอฮฺรักเราแล้วพระองค์จะทำให้มลาอิกะฮฺ

ทั้งหลายรักเรารวมทั้งได้รับความชื่นชอบจาก

เพื่อนมนุษย์ร่วมโลกด้วยแต่อย่างไรก็ตามเรา

ต้องพยายามปฏิบัติศาสนกิจที่พระองค์ทรงใช้

ให้ครบถ้วนและเสริมด้วยการรับผิดชอบภารกิจ

ต่างๆและความดีอื่นๆที่เป็นซุนนะห์อย่าง

สม่ำเสมอ

คู่มือศาสนบำบัด 176

Page 177: บทนำ - Ministry of Public Healthหลายคนเร ยกโลกสม ยน ว า“ย คสม ยส ดท ายความจร งจะเป นเช

แผนการจัดการเรียนรู้

ศาสนบำบัดสำหรับผู้ป่วยยาเสพติด เวลาในการสอน 60 นาที

หน่วยการเรียนรู้ที่ 29 เรื่อง การตายในสภาพเป็นมุสลิม

1. สาระสำคัญ

ความตายเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่พ้นและไม่มีผู้ใดล่วงรู้ได้ เมื่อถึงเวลาที่แต่ละคนจะ

สิ้นชีวิตดังนั้นเราจึงต้องระแวดระวังในการดำเนินชีวิตการแสดงพฤติกรรมและการกระทำ

ของตนเองให้อยู่ในกรอบที่อัลลอฮฺทรงพอพระทัยและขอดุอาอฺจากพระองค์ให้ตายใน

สภาพที่เป็นมุสลิมโดยปราศจากความกริ้วจากอัลลอฮฺ

2. จุดประสงค์การเรียนรู้

1.เพื่อให้ผู้รับการบำบัดได้ตระหนักถึงความเป็นจริงเกี่ยวกับความตายที่เลี่ยงไม่พ้น

2. เพื่อให้ผู้รับการบำบัดได้ตระหนักที่จะเตรียมพร้อมเพื่อเผชิญกับความตายด้วย

การปฏิบัติความดี

3.เพื่อให้ผู้รับการบำบัดได้ให้ความสำคัญกับความยำเกรงซึ่งเป็นเสบียงที่ดีที่สุด

เพื่อพบกับความตาย

3. กระบวนการจัดการเรียนรู้

3.1นำเข้าสู่บทเรียนโดยถามผู้รับการบำบัดว่า“ท่านได้เตรียมตัวหรือเตรียมความ

พร้อมเพื่อรับความตายบ้างแล้วหรือยัง”(5นาที)

3.2สุ่มถามผู้รับการบำบัด2-3คนเกี่ยวกับความรู้เรื่องศาสนาที่เกี่ยวข้อง(5นาที)

3.3ผู้สอนบรรยายให้ความรู้เกี่ยวกับเนื้อหาในใบความรู้(30นาที)

3.4ให้ผู้รับการบำบัดทำกิจกรรมตามประเด็นใบงานอาจจะแบ่งเป็นกลุ่มหรือ

รายบุคคล(10นาที)

177 คู่มือศาสนบำบัด

Page 178: บทนำ - Ministry of Public Healthหลายคนเร ยกโลกสม ยน ว า“ย คสม ยส ดท ายความจร งจะเป นเช

3.5สุ่มตัวแทนนำเสนอผลงาน2-3คนผู้สอนรวบรวมข้อสรุปและอภิปราย

เพิ่มเติม(10นาที)

4. สื่อการเรียนการสอน

4.1ภาพพลิก,ภาพโปสเตอร์

4.2ใบงาน

4.3กระดาษชาร์ต/กระดาษA4

5. กระบวนการประเมิน

5.1ประเมินความรู้

5.1.1การตอบคำถาม

5.1.2การแสดงความคิดเห็นขณะอภิปรายในกลุ่ม

5.1.3ผลการนำเสนอผลงานของแต่ละกลุ่มหรือแต่ละคน

5.2ประเมินผลการปฏิบัติ

5.2.1สังเกตพฤติกรรมการแสดงความคิดเห็นขณะทำการสอน

5.2.2ตรวจผลงานหรือดูความรับผิดชอบงานที่ได้รับมอบหมาย

5.3เครื่องมือในการประเมิน

5.3.1ใบงาน

5.3.2ผลงานที่ได้รับมอบหมาย

คู่มือศาสนบำบัด 178

Page 179: บทนำ - Ministry of Public Healthหลายคนเร ยกโลกสม ยน ว า“ย คสม ยส ดท ายความจร งจะเป นเช

ใบความรู้

การตายในสภาพเป็นมุสลิม

มนุษย์ทุกคนที่อยู่บนโลกนี้ย่อมมีอายุจำกัดทุกๆคนนั้นต่างก็รอความตายที่จะมา

หาพวกเขาเพราะความตายนั้นเป็นสิ่งที่หนีไม่พ้นดังที่อัลลอฮฺได้กล่าวตรัสไว้มีความว่า

“จงกล่าวเถิด (มุหัมมัด) แท้จริงความตายที่พวกเจ้ากำลังวิ่งหนีจากมันย่อมต้องมาเจอ

พวกเจ้า แล้วพวกเจ้าก็จะถูกนำกลับไปยังพระผู้อภิบาลผู้ซึ่งรอบรู้สิ่งที่เปิดเผยและความ

ลับ แล้วพระองค์ก็จะบอกพวกเจ้าถึงสิ่งที่พวกเจ้าได้กระทำไว้”(อัลกุรอานซูเราะฮฺอัล-

ญุมุอะฮฺ:8)

ด้วยเหตุที่ความตายเป็นสิ่งที่เลี่ยงไม่พ้นและไม่มีผู้ใดล่วงรู้ถึงเวลาที่แต่ละคนจะสิ้น

ชีวิตดังนั้นมนุษย์จึงต้องระแวดระวังในการดำเนินชีวิตโดยดูแลพฤติกรรมและการกระทำ

ของตนให้อยู่ในกรอบที่อัลลอฮฺพอพระทัยอยู่เสมออย่าให้สิ้นลมในสภาพที่พระองค์ทรงกริ้ว

อัลลอฮฺได้ตรัสไว้มีความว่า“โอ้บรรดาผู้ศรัทธาทั้งหลาย จงยำเกรงต่ออัลลอฮฺด้วยความ

ยำเกรงที่สัจแท้เถิด และอย่าได้ตายเว้นแต่ในสภาพที่พวกเจ้านั้นเป็นมุสลิม”(อัลกุรอาน

ซูเราะฮฺอาลอิมรอน:102)

เพราะฉะนั้น อิสลามจึงได้เน้นหนักเกี่ยวกับการปฏิบัติศาสนกิจและคุณงามความ

ดีต่างๆที่จะใช้เป็นเสบียงไปยังวันปรโลกข้างหน้าและได้ตักเตือนให้มนุษย์สำนึกถึงความ

ละเลยหน้าที่และการเตรียมพร้อมเพื่อจะเผชิญกับมัน อัลลอฮฺได้ตรัสไว้มีความว่า “ความ

เจ็บปวดแห่งความตายนั้นจะต้องมาถึงอย่างสัจแท้แน่นอน นั่นเป็นสิ่งที่พวกเจ้าต่างหลีก

หนี และจะมีการเป่าลงในแตร นั่นคือวันเวลาแห่งสัญญา และทุกชีวิตจะมาพร้อมกับ

ผู้จูงและสักขีพยาน ขอสาบานว่าแท้จริงเจ้านั้นอยู่ในความหลงลืมจากสิ่งเหล่านี้ แล้ว

เราก็ได้เปิดสิ่งที่ปกปิดอยู่ออกจากเจ้า ดังนั้นสายตาของเจ้าในวันนั้นจะแหลมคมยิ่ง”

(อัลกุรอานซูเราะฮฺก๊อฟ:19-22)

การเตรียมพร้อมเพื่อเผชิญกับความตายคือการมุ่งมั่นปฏิบัติความดีตั้งแต่ในขณะที่

ยังมีโอกาสปฏิบัตินั่นคือเวลาที่ยังสามารถใช้ชีวิตอยู่บนโลกนี้เพราะเมื่อความตายมาถึง

การงานทั้งหมดก็จะตัดขาดจากมนุษย์ความดีต่างๆที่ทำมาก็จะจบลงเพียงแค่นั้นยกเว้น

ความดีสามประการเท่านั้นที่จะยังส่งผลบุญถึงผู้ตายแม้ว่าจะอยู่ในโลกสุสานดังที่ท่านรอซูล

ศ็อลลัลลอฮฺอะลัยฮิวะสัลลัมได้กล่าวไว้มีความ“เมื่อมนุษย์ผู้หนึ่งเสียชีวิต การงาน

ของเขาก็จะตัดขาดจากเขา ยกเว้นสามประการ คือการให้ทานของเขาที่เป็นคุณูปการ

179 คู่มือศาสนบำบัด

Page 180: บทนำ - Ministry of Public Healthหลายคนเร ยกโลกสม ยน ว า“ย คสม ยส ดท ายความจร งจะเป นเช

อยู่หรือความรู้ที่เป็นประโยชน์สืบทอด หรือบุตรที่ดีที่คอยขอพรให้เขา”(รายงานโดย

อัต-ติรฺมิซีย์)

กุญแจสำคัญที่สุดในการเตรียมตัวเพื่อพบกับความตายคือความยำเกรงต่ออัลลอฮฺ

(ตักวา) เพราะตักวาคือศูนย์รวมของความสำนึกดีทั้งปวง ที่คอยปลุกเร้าให้มนุษย์พึงกระทำ

ความดีและละทิ้งความชั่ว ด้วยเหตุนี้อัลลอฮฺจึงได้สั่งให้ผู้ศรัทธาทั้งหลายยำเกรงต่อพระองค์

ด้วยความบริสุทธิ์ใจและจริงใจถึงที่สุดแล้วเมื่อมีความยำเกรงอยู่ในตัวมนุษย์ก็จะไม่จาก

โลกนี้ไปเว้นแต่ในสภาพที่เป็นมุสลิมเท่านั้นอินซาอัลลอฮฺดังอัลลอฮฺได้ตรัสไว้ความว่า

“และจงเตรยีมเสบยีงเถดิ แทจ้รงิเสบยีงทีด่ทีีส่ดุนัน้คอืความยำเกรง”(อนักรุอานซเูราะฮฺ

อัล-บะเกาะเราะฮฺ:197)

ข้อคิดที่ได้รับจากบทเรียน

1.ความตายคือข้อเท็จจริงของชีวิตซึ่งมนุษย์มิอาจเลี่ยงพ้น

2.มนุษย์จำเป็นต้องเตรียมพร้อมเพื่อเผชิญกับความตายด้วยความสำนึกและไม่

หลงลืม

3. การเตรียมพร้อมเพื่อเผชิญกับความตายคือการปฏิบัติความดีที่จะเป็นเสบียง

เมื่อได้สิ้นชีวิตแล้ว

4.เมื่อสิ้นชีวิตแล้วการงานต่างๆของมนุษย์ก็จะถูกตัดขาดเว้นเพียงสามประการ

เท่านั้น

5.ความยำเกรงคือกุญแจสำคัญที่ดีที่สุดในการใช้เป็นเสบียงเพื่อเตรียมพบกับ

ความตาย

คู่มือศาสนบำบัด 180

Page 181: บทนำ - Ministry of Public Healthหลายคนเร ยกโลกสม ยน ว า“ย คสม ยส ดท ายความจร งจะเป นเช

ใบงาน

คำชี้แจง

ให้ท่านทำกิจกรรมตามหัวข้อที่มอบหมาย(10นาที)แล้วนำเสนอผลงานโดยตอบ

คำถามตามประเด็นดังนี้

1.ท่านคิดว่าความตายเป็นสิ่งที่ท่านปรารถนาหรือไม่เพราะเหตุใด

2.ท่านคิดว่าเมื่อใดคือเวลาที่ท่านพร้อมจะพบกับความตาย

3.มีสิ่งใดบ้างที่ท่านเตรียมไว้แล้วเพื่อใช้เป็นเสบียงของท่านในโลกหน้า

181 คู่มือศาสนบำบัด

Page 182: บทนำ - Ministry of Public Healthหลายคนเร ยกโลกสม ยน ว า“ย คสม ยส ดท ายความจร งจะเป นเช

ใบความรู้สำหรับผู้สอน

(แผนการสอนเรื่อง “อย่าตายเว้นแต่เป็นมุสลิม”)

ประเด็นคำถาม

1.ท่านคิดว่าความตายเป็นสิ่ง

ที่ท่านปรารถนาหรือไม่เพราะ

เหตุใด

2.ท่านคิดว่าเมื่อใดคือเวลาที่ท่าน

พร้อมจะพบกับความตาย

3.มีสิ่งใดบ้างที่ท่านได้เตรียมไว้แล้ว

เพื่อใช้เป็นเสบียงของท่านในโลก

หน้า

แนวคิดที่ควรได้

-คนที่ปรารถนาแต่ไม่ใช่การฆ่าตัวตายเพราะมี

ความพร้อมในอามัลมีบาดัตเพื่อเป็นเสบียง

สำหรับการพิพากษาในวันอาคีเราะห์

-คนที่ไม่ปรารถนาเพราะเขาเกรงกลัวต่อคำ

พิพากษาของอัลลอฮฺที่จะลงโทษเขาให้สาสม

กับความผิดบาปที่ได้กระทำเมื่อยังมีชีวิตอยู่ใน

โลกดุนยา

-เมื่อเราได้ปฏิบัติตามคำสั่งของอัลลอฮฺและยำเกรง

ต่อพระองค์ด้วยความบริสุทธิ์ใจอยู่ในสภาพที่ตน

เป็นมุสลิมที่สมบูรณ์ที่สุดเท่าที่จะทำได้ที่สุด

เมื่อเราจากโลกนี้ไปทำให้มีความหวังที่อัลลอฮฺ

จะทรงเมตตาและโปรดปรานให้เราได้ลิ้มรสของ

ชาวสวรรค์(อินซาอัลลอฮฺ)

-การเลิกยาเสพติดและหันกลับเข้าสู่แนวทางของ

อัลลอฮฺ

-ประกอบอามัลและอีบาดัตอย่างถูกต้อง

-การขอดุอาอฺและการขออภัยโทษต่ออัลลอฮฺ

-ปฏิบัติตามซุนนะฮให้ได้มากที่สุด

-ศึกษาอิสลามในหนทางที่เที่ยงแท้เพื่อนำมาปฏิบัติ

ได้อย่างถูกต้อง

-ศรัทธาและเชื่อมั่นในอัลลอฮฺด้วยความบริสุทธิ์ใจ

และยอมศิโรราบต่อพระองค์โดยไม่ตั้งภาคีใดๆ

คู่มือศาสนบำบัด 182

Page 183: บทนำ - Ministry of Public Healthหลายคนเร ยกโลกสม ยน ว า“ย คสม ยส ดท ายความจร งจะเป นเช

แผนการจัดการเรียนรู้

ศาสนบำบัดสำหรับผู้ป่วยยาเสพติด เวลาในการสอน 60 นาที

หน่วยการเรียนรู้ที่ 30 เรื่อง โลกในยุคแห่งความวุ่นวาย

1. สาระสำคัญ

โลกแห่งยุคสมัยสุดท้ายนั้นจะเต็มไปด้วยความวิบัติทั้งในด้านศีลธรรมจรรยาการ

เมืองการปกครองหรือแม้แต่ปรากฏการณ์ธรรมชาติ ความวิบัติเช่นนี้ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของ

วันสิ้นโลกดังนั้นจึงจำเป็นต้องเร่งปฏิบัติคุณความดีให้มากก่อนจะถึงวันที่ความวุ่นวาย

จะเพิ่มมากขึ้นจนมนุษย์ไม่อาจต้านทานกระแสแห่งความวุ่นวายได้

2. จุดประสงค์การเรียนรู้

1.เพื่อให้ผู้รับการบำบัดตระหนักถึงสภาพของปัญหาสังคมในโลกปัจจุบัน

2.เพื่อให้ผู้รับการบำบัดเข้าใจถึงความสัมพันธ์ระหว่างปัญหาสังคมกับสัญญาณ

ของวันสิ้นโลก

3. เพื่อให้ผู้รับการบำบัดเกิดจิตสำนึกเพื่อเตรียมพร้อมเผชิญหน้ากับปัญหาต่างๆ

ตามหลักคำสอนอิสลาม

3. กระบวนการจัดการเรียนรู้

3.1นำเข้าสู่บทเรียนโดยให้ผู้รับการบำบัดยกตัวอย่างของความวิบัติในโลกยุค

โลกาภิวัฒน์(5นาที)

3.2สุ่มถามผู้รับการบำบัด2-3คนเกี่ยวกับความรู้เรื่องศาสนาที่เกี่ยวข้อง(5นาที)

3.3ผู้สอนบรรยายให้ความรู้เกี่ยวกับเนื้อหาในใบความรู้(30นาที)

3.4ให้ผู้รับการบำบัดทำกิจกรรมตามประเด็นใบงานอาจจะแบ่งเป็นกลุ่มหรือ

รายบุคคล(10นาที)

183 คู่มือศาสนบำบัด

Page 184: บทนำ - Ministry of Public Healthหลายคนเร ยกโลกสม ยน ว า“ย คสม ยส ดท ายความจร งจะเป นเช

3.5สุ่มตัวแทนนำเสนอผลงาน2-3คนผู้สอนรวบรวมข้อสรุปและอภิปราย

เพิ่มเติม(10นาที)

4. สื่อการเรียนการสอน

4.1ภาพพลิก,ภาพโปสเตอร์

4.2ใบงาน

4.3กระดาษชาร์ต/กระดาษA4

5. กระบวนการประเมิน

5.1ประเมินความรู้

5.1.1การตอบคำถาม

5.1.2การแสดงความคิดเห็นขณะอภิปรายในกลุ่ม

5.1.3ผลการนำเสนอผลงานของแต่ละกลุ่มหรือแต่ละคน

5.2ประเมินผลการปฏิบัติ

5.2.1สังเกตพฤติกรรมการแสดงความคิดเห็นขณะทำการสอน

5.2.2ตรวจผลงานหรือดูความรับผิดชอบงานที่ได้รับมอบหมาย

5.3เครื่องมือในการประเมิน

5.3.1ใบงาน

5.3.2ผลงานที่ได้รับมอบหมาย

คู่มือศาสนบำบัด 184

Page 185: บทนำ - Ministry of Public Healthหลายคนเร ยกโลกสม ยน ว า“ย คสม ยส ดท ายความจร งจะเป นเช

ใบความรู้

โลกในยุคแห่งความวุ่นวาย

สังคมโลกทุกวันนี้มีปัญหาต่างๆมากมายที่คุกคามความสงบสุขในการใช้ชีวิตของ

มนุษย์และดูเหมือนว่ายิ่งนานวันความวุ่นวายของปัญหาต่างๆเหล่านี้จะยิ่งเพิ่มขึ้นซึ่ง

สอดคล้องกับหะดีษที่ท่านรอซูลศ็อลลัลลอฮฺอะลัยฮิวะสัลลัมกล่าวไว้มีใจความว่า“ไม่มี

ปีใดหรือวันใดที่มาถึงนอกเสียจากมันจะต้องเลวร้ายกว่าวันที่ผ่านๆ มา จนกระทั่งถึงวาระ

ที่พวกท่านต้องพบองค์อภิบาลของพวกท่าน”(เศาะฮีหฺอัล-ญามิอฺ:7068,7576)

จากหะดีษบทนี้ทำให้เราเข้าใจว่า โลกแห่งยุคสมัยสุดท้ายนั้นจะเต็มไปด้วยความวิบัติ

ทั้งในด้านศีลธรรมจรรยา การเมืองการปกครอง หรือแม้แต่ในเรื่องที่เกี่ยวกับปรากฏการณ์

ธรรมชาติความวิบัติเช่นนี้ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของวันสิ้นโลกมีตัวอย่างจากหะดีษที่ได้กล่าว

ถึงสัญญาณของวันสิ้นโลกในรูปแบบของปัญหาสังคมต่างๆเช่น

“ระยะเวลาจะสั้นลง ความรู้ (แห่งทางนำ) จะถูกยึด (หมายถึงจะค่อยๆ เลือนหาย)

ความละโมภจะถูกโยน (เข้าไปในใจผู้คน) ความวุ่นวายจะปรากฏ และจะเกิดการ

ฆาตกรรมอย่างมากมาย”(เศาะฮีหฺอัล-ญามิอฺ:8020)

“แท้จริงในจำนวนสัญญาณแห่งโลกาวสานนั้นคือ ความรู้ (ที่เป็นทางนำ) จะถูกยก

ขึน้ (จนเหอืดหาย) อวชิชา (กากรไรศ้ลีธรรม) จะผดุขึน้ชดัเจน การผดิประเวณจีะแพรข่ยาย

สุรา (หรือสิ่งมึนเมา) จะระบาดไปทั่ว”(เศาะฮีหฺอัล-ญามิอฺ:2206)

“จะมียุคสมัยหนึ่งมาถึงมนุษย์ ที่คนคนหนึ่งจะไม่สนใจว่า เขาได้รับทรัพย์สินมาจาก

ไหน ได้มาจากสิ่งที่ฮาลาลหรือหะรอม”(เศาะฮีหฺอัล-ญามิอฺ:5344)

สิ่งที่เราได้เห็นเช่นข่าวตามสื่อต่างๆมากมายอาทิข่าวข่มขืนล่วงละเมิดทาง

ผิดเพศข่าวอาชญากรรมข่าวสงครามปัญหาโสเภณียาเสพติดคอร์รัปชั่นโรคระบาด

แปลกๆปัญหาสุขภาพจิตปัญหามลภาวะฯลฯเหล่านี้ล้วนสอดคล้องกับคำสอนของ

อิสลามทั้งสิ้น

การเชื่อมั่นในคำสอนของอัลลอฮฺจะทำให้มนุษย์เข้าใจสภาพของความวุ่นวายต่างๆ

และทำให้มนุษย์รู้จักหาวิธีที่ถูกต้องและดีที่สุดเพื่อให้ตนปลอดภัยยิ่งนานวันโลกก็จะยิ่ง

มากด้วยบททดสอบดังนั้นจึงจำเป็นต้องเร่งปฏิบัติคุณความดีให้มากเข้าไว้ก่อนจะถึงวันที่

ความวุ่นวายจะเพิ่มมากขึ้น เมื่อยุคนั้นมาถึงความเข้มแข็งในใจของมนุษย์จะไม่อาจต้านทาน

กระแสแห่งความวุ่นวายได้อีกต่อไปถ้าไม่เพียบพร้อมด้วยอีมานที่มั่นคงต่ออัลลอฮฺและหลัก

คำสอนของพระองค์ท่านรอซูลศ็อลลัลลอฮฺอะลัยฮิวะสัลลัมได้กำชับพวกเราทุกคนว่า

185 คู่มือศาสนบำบัด

Page 186: บทนำ - Ministry of Public Healthหลายคนเร ยกโลกสม ยน ว า“ย คสม ยส ดท ายความจร งจะเป นเช

“จงรีบเร่งปฏิบัติคุณความดีก่อนถึงกาลอันแสนวุ่นวายน่ากลัวเสมือนหนึ่งค่ำคืน

ที่มืดมิด เวลานั้นผู้ศรัทธาคนหนึ่งจะตื่นเช้าขึ้นมาด้วยอีมาน พอตกค่ำเขากลับกลายเป็น

กาฟิรฺ (เพราะไม่สามารถต้านทานต่อบททดสอบของความวุ่นวาย) หรือตอนเย็นเป็น

ผู้ศรัทธา แต่พอตื่นเข้าก็เป็นกาฟิรฺ เขาขายศาสนาด้วยเพียงทรัพย์ ดุนยาอันน้อยนิด”

(เศาะฮีหฺอัล-ญามิอฺ:2814)

คำสอนเหล่านี้เป็นทางรอดของมนุษย์สำหรับการเผชิญหน้ากับความวุ่นวายในโลก

ยุคสมัยสุดท้ายวันลอฮฺอะอฺลัม(อัลลอฮฺเท่านั้นที่รู้)

ข้อคิดที่ได้รับจากบทเรียน

1.มุสลิมต้องเชื่อวันกิยามะฮฺหรือวันสิ้นโลก

2. การศรัทธาอย่างเชื่อมั่นต่อวันกิยามะฮฺมีผลต่อระดับศีลธรรมของผู้เป็นมุสลิม

โดยตรง

3.อัลลอฮฺได้กำหนดให้มีสัญญาณต่างๆก่อนวันสิ้นโลกเพื่อให้มนุษย์ได้สำนึกตน

และเตรียมพร้อมเพื่อกลับสู่อาคิเราะฮฺ

4.ปัญหาและความวุ่นวายต่างๆที่เกิดขึ้นในยุคปัจจุบันนับเป็นหนึ่งในสัญญาณ

ของวันสิ้นโลก

5.ทางรอดของมนุษย์ในโลกแห่งความวุ่นวายที่มากด้วยการทดสอบคือการยึดมั่น

ในหลักคำสอนของอัลลอฮฺ

6.การยึดมั่นในหลักคำสอนของศาสนาอย่างเคร่งครัดท่ามกลางภาวะความวุ่นวาย

แห่งยุคสมัยมีผลบุญที่ใหญ่หลวงยิ่งนัก

7.ท่านรอซูลศ็อลลัลลอฮฺอะลัยฮิวะสัลลัมได้กำชับให้ประชาชาติของท่านเร่ง

ปฏิบัติคุณความดีก่อนที่จะไม่มีโอกาสปฏิบัติอีกต่อไป

คู่มือศาสนบำบัด 186

Page 187: บทนำ - Ministry of Public Healthหลายคนเร ยกโลกสม ยน ว า“ย คสม ยส ดท ายความจร งจะเป นเช

ใบงาน

คำชี้แจงให้ท่านทำกิจกรรมตามหัวข้อที่มอบหมาย(10นาที)แล้วนำเสนอผลงานโดยตอบ

คำถามตามประเด็นดังนี้

1.ท่านคิดว่าปัญหาต่างๆในสังคมปัจจุบันสอดคล้องกับคำสอนของอิสลามเกี่ยว

กับสัญญาณของวันสิ้นโลกตามที่มีระบุในหะดีษต่างๆอย่างไร

2.ท่านคิดว่าอะไรคือทางอยู่รอดของมนุษย์ท่ามกลางปัญหาสังคมต่างๆมากมาย

ในปัจจุบัน

3.ท่านสามารถใช้ชีวิตให้ปลอดภัยได้อย่างไรท่ามกลางความวุ่นวายในโลกทุกวัน

นี้

187 คู่มือศาสนบำบัด

Page 188: บทนำ - Ministry of Public Healthหลายคนเร ยกโลกสม ยน ว า“ย คสม ยส ดท ายความจร งจะเป นเช

ใบความรู้สำหรับผู้สอน

(แผนการสอนเรื่อง “โลกแห่งความวุ่นวาย”)

ประเด็นคำถาม

1.ท่านคิดว่าปัญหาต่างๆในสังคม

ปัจจุบันมีสอดคล้องกับคำสอน

ของอิสลามเกี่ยวกับสัญญาณ

ของวันสิ้นโลกตามที่มีระบุใน

หะดีษต่างๆอย่างไร

2.ท่านคิดว่าอะไรคือทางรอดของ

มนุษย์ท่ามกลางปัญหาสังคม

ต่างๆมากมายในปัจจุบัน

แนวคิดที่ควรได้

-ปัจจุบันปัญหาวิบัติทั้งด้านศีลธรรมจรรยา

การเมืองการปกครองปรากฏการณ์ธรรมชาติ

โรคภัยไข้เจ็บจะคุกคามความสงบสุขของมนุษย์

และทวีความรุนแรงเพิ่มขึ้นทุกขณะซึ่งสอดคล้อง

กับหะดีษทุกประการสัญญาณวันสิ้นโลกแสดง

ให้เราได้ประจักษ์มากมายแต่กระนั้นมนุษย์

ก็ยังหลงระเริงปล่อยปละและไม่ตระหนักในการ

ปฏิบัติคุณความดีตามแนวทางของอิสลาม

เพื่อเป็นเสบียงในวันที่ถูกพิพากษา

-เชื่อมั่นและปฏิบัติตนบนหลักการของอิสลาม

ศึกษาซุนนะฮท่านรอซูลและนำมาปฏิบัติให้ได้

มากที่สุดดำรงไว้ซึ่งศาสนาอย่างเคร่งครัดแล้ว

อัลลอฮฺจะตอบแทนด้วยการให้ผลบุญที่ใหญ่

หลวงยิ่งนัก

คู่มือศาสนบำบัด 188

Page 189: บทนำ - Ministry of Public Healthหลายคนเร ยกโลกสม ยน ว า“ย คสม ยส ดท ายความจร งจะเป นเช

ใบความรู้สำหรับผู้สอน

(แผนการสอนเรื่อง “โลกแห่งความวุ่นวาย”)

ประเด็นคำถาม

3.ท่านสามารถใช้ชีวิตให้ปลอดภัย

ได้อย่างไรท่ามกลางความวุ่นวาย

ในโลกทุกวันนี้

แนวคิดที่ควรได้

-ต้องมีความเชื่อมั่นในวันกิยามะฮฺหรือวันสิ้นโลก

ซึ่งจะส่งผลให้เราเกรงกลัวต่อการทำบาปและ

การลงโทษจากอัลลอฮฺในวันตัดสิน

-ต้องสำนึกตนและเตรียมพร้อมเพื่อกลับสู่

อาคิเราะฮฺอย่ามัวหลงระเริงกับวัตถุเกียรติยศ

และอื่นๆในดุนยาเพราะทุกสิ่งทุกอย่างเป็นสิ่ง

ชั่วคราว

-ต้องหักห้ามใจไม่ให้ทำอะไรตามอารมณ์ใฝ่ต่ำ

(id)แต่ต้องสำนึกและทบทวนตนเองอยู่เสมอ

(ego)พร้อมทั้งดำเนินชีวิตประจำวันด้วยการมี

ศีลธรรมจรรยา(superego)

189 คู่มือศาสนบำบัด

Page 190: บทนำ - Ministry of Public Healthหลายคนเร ยกโลกสม ยน ว า“ย คสม ยส ดท ายความจร งจะเป นเช

คู่มือศาสนบำบัด 190

Page 191: บทนำ - Ministry of Public Healthหลายคนเร ยกโลกสม ยน ว า“ย คสม ยส ดท ายความจร งจะเป นเช

บรรณานุกรรม

กุชรีค้าขาย.2540.จิตวิทยาการเรียนการสอน.กรุงเทพมหานคร:ม.ป.น.

ทิศนาเศมณี.2540.ศาสตร์การสอน : องค์ความรู้เพื่อการจัดการกระบวนการเรียนรู้ ที่มี

ประสิทธิภาพ.กรุงเทพมหานคร:สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ประเทืองภูมิภัทราคม.2535.การปรับพฤติกรรม : ทฤษฎีและการประยุกต์.ปทุมธานี:

วิทยาลัยครูเพชรบุรีวิทยาลงกรณ์.

ประเวศวะสี.2535.คุยกันเรื่องความคิด ศ.นพ.ประเวศ วะสี.กรุงเทพมหานคร:มูลนิธิ

โกลคีมทอง

191 คู่มือศาสนบำบัด

Page 192: บทนำ - Ministry of Public Healthหลายคนเร ยกโลกสม ยน ว า“ย คสม ยส ดท ายความจร งจะเป นเช

บรรณานุกรรมสุชาติเลาบริบัตรและคณะ.2542.คู่มือแนวทางการดำเนินงานแก้ไขปัญหาการะบาด

ของยาบ้า.กรุงเทพมหานคร:ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

สมาคมนักเรียนเก่าอาหรับแห่งประเทศไทย.2532.ความหมายอัลกุรอานเป็นภาษาไทย.

กรุงเทพมหานคร:โรงพิมพ์อักษรบัณฑิต.

สุรางค์โค้วตระกูล.2544.จิตวิทยาการศึกษา.พิมพ์ครั้งที่5.กรุงเทพมหานคร:ด่าน

สุทธาการพิมพ์.

อรุณบุญชม.2536.หะดิษฺซอเฮี๊ยะห์.กรุงเทพมหานคร:สำนักพิมพ์วงเสงี่ยม.

อำนวยโพธิ์กระเจน.2538.พจนานุกรมอาหรับไทย.กรุงเทพมหานคร:สำนักพิมพ์

วงศ์เสงี่ยม.

ImanshamsuddinAbiAbdullahIbniQuiyim.2003.AltipAlnabawi[online]

www.aleman.com/islamlib/viewehp.asp?

Parke,PhillipM.2004ArabicEnglishDictionary[online]Avilablehttp://

www.websters-online-dictionary.org/delinition/Arabic-english/

ndex60.html.

คู่มือศาสนบำบัด 192

Page 193: บทนำ - Ministry of Public Healthหลายคนเร ยกโลกสม ยน ว า“ย คสม ยส ดท ายความจร งจะเป นเช

คณะผู้จัดทำคณะที่ปรึกษา 1.นายแพทย์ธวัชชัย ลาพินี ผู้อำนวยการ

ศูนย์บำบัดรักษายาเสพติดปัตตานี

2.นายแพทย์อดิศักดิ์ งามขจรวิวัฒน์รองผู้อำนวยกลุ่มภารกิจวิชาการ

ศูนย์บำบัดรักษายาเสพติดปัตตานี

3.อาจารย์นูรุดดีน สารีมิง อาจารย์ประจำมหาวิทยาลัย

อิสลามศึกษามหาวิทยาลัย

สงขลานครินทร์วิทยาเขตปัตตานี

4.อาจารย์ชัยนูรดีน นิมา นักวิชาการศึกษาวิทยาลัยอิสลามศึกษา

มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

วิทยาเขตปัตตานี

5.อาจารย์อาหมัด อัลฟารีตี อาจารย์ประจำวิทยาลัยอิสลามยะลา

ชมรมส่งเสริมกิจการอิสลาม 1.อาจารย์อับดุลเราะมัน เจะอารง นักวิชาการอิสลาม

2.อาจารย์แวอัดนาน แวดือเระ นักวิชาการอิสลาม

3.อาจารย์อัสมัน แตอาลี นักวิชาการอิสลาม

4.อาจารย์นุมาน สะอะ นักวิชาการอิสลาม

5.อาจารย์อุสมาน สาและ นักวิชาการอิสลาม

6.อาจารย์ลุตฟี อุสมาน นักวิชาการอิสลาม

7.อาจารย์ซอฟี การอ นักวิชาการอิสลาม

8.อาจารย์อับดุลอาซิ กะลูแป นักวิชาการอิสลาม

9.อาจารย์อิสมาแอ หะยีสอและ นักวิชาการอิสลาม

10.อาจารย์รอยาลี อาหมัด นักวิชาการอิสลาม

11.อาจารย์มะดาโอะ มาแจ นักวิชาการอิสลาม

12.อาจารย์อิลยาส สีเดะ นักวิชาการอิสลาม

13.อาจารย์มูฮัมหมัด กอยา นักวิชาการอิสลาม

14.อาจารย์กูฮาเซ็ม อับดุลบุตร นักวิชาการอิสลาม

193 คู่มือศาสนบำบัด

Page 194: บทนำ - Ministry of Public Healthหลายคนเร ยกโลกสม ยน ว า“ย คสม ยส ดท ายความจร งจะเป นเช

ศูนย์บำบัดรักษายาเสพติดปัตตานี 1.นางพาตีเมาะ นิมา พยาบาลวิชาชีพ

2.นางรอดีหย๊ะ เจ๊ะโซ๊ะ พยาบาลวิชาชีพ

3.นางสรินฏา ปุติ พยาบาลวิชาชีพ

4.นางรัตนาภรณ์ จันทรเพชร พยาบาลวิชาชีพ

5.นายสมจิตร ชำนาญ พยาบาลวิชาชีพ

6.นายชัชวาล โพยมเมฆา ผู้ช่วยเหลือคนไข้

คู่มือศาสนบำบัด 194