13
การประชุมวิชาการระดับชาติ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์ ครั้งที่ 4 วันที10 มีนาคม 2560 ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์ 548 การสารวจวรรณกรรมปัจจุบันเรื่องมหาสติปัฏฐาน ๔ A Survey of the Present Literature on ‘Mahāsatipaṭṭhāna IV’ สรัญญา โชติรัตน์ Saranyar Chotirat 1 นักวิจัยชานาญการ มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ อาเภอร้องกวาง จังหวัดแพร่ โทรศัพท์ ๐๙๙-๖๓๖๖๒๖๓ E-mail : [email protected] บทคัดย่อ งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อรวบรวมและประมวลสาระความรู้จากวรรณกรรมปัจจุบันเรื่องมหาสติปัฏฐาน เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพเน้นการสารวจเพื่อนาไปสู่การวิเคราะห์เนื้อหาสาระจากวรรณกรรม โดยประชากรและ กลุ่มตัวอย่างคือ วรรณกรรมยุคปัจจุบันเรื่องสติปัฏฐาน ๔ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในปีพุทธศักราช ๒๕๔๙-๒๕๕๙ (๑๐ ปี) จานวน ๑๐๐ เล่ม ผลการศึกษาพบว่า จากการรวบรวมหนังสือวรรณกรรมปัจจุบันที่เกี่ยวข้องเรื่องมหาสติปัฏฐาน ๔ จาแนกประเภทตามลักษณะวรรณกรรมเรื่องมหาสติปัฏฐาน ๔ แบ่งออกเป็น ๔ ประเภทวรรณกรรม ดังต่อไปนีประเภท ๑)วรรณกรรมแนววิชาการ หมายถึง หนังสือวิชาการ แนวเขียนแบบตาราต่างๆ และเกี่ยวกับพระไตรปิฎก มักอ้างอิงคาบาลีเพื่ออธิบายความเนื้อหาสาระ จานวน ๑๕ เล่ม ร้อยละ ๑๕ ประเภท ๒)วรรณกรรมแนวคาสอนครู บาอาจารย์ หมายถึง คาสอนครูบาอาจารย์ที่อธิบายวิธีการภาคทฤษฎีและแนวปฏิบัติเรื่องมหาสติปัฏฐาน ๔ จานวน ๔๕ เล่ม ร้อยละ ๔๕ ประเภท ๓)วรรณกรรมแนวนักเขียนค้นคิด หมายถึง งานเขียนที่ผู้เขียนได้ค้นคิดศึกษาเรื่องสติ ปัฏฐาน ๔ จากการศึกษาของผู้เขียน จานวน ๒๕ เล่ม ร้อยละ ๒๕ ประเภท ๔)วรรณกรรมแนวบูรณาการศาสตร์ สมัยใหม่ หมายถึง หนังสือที่ผู้เขียนได้นาหลักการเรื่องมหาสติปัฏฐานไปบูรณาการเขียนกับศาสตร์สมัยใหม่หรือ การนาหลักการสติปัฏฐาน ๔ ไปประยุกต์ใช้กับศาสตร์สมัยใหม่ จานวน ๑๕ เล่ม ร้อยละ ๑๕ คาสาคัญ : มหาสติปัฏฐาน ๔ 1 วรรณกรรมปัจจุบัน 2 Abstract The purpose of this research was to collect and codify the comprehension and understanding in Mahāsatipaṭṭhāna IV. It was the qualitative research by emphasized survey for leading content analysis from literature. The population and sample was the present literature on Mah āsatipaṭṭhāna IV which had published in the year of 2016 -2006 about 100 copies. The results of the study were found that from the collect the text present literature on Mahāsatipaṭṭhāna IV which was classified the type of the literature characteristic of Mahāsatipaṭṭhāna IV. It was classified into four types they were; 1. Type of academic literature means academic book, the various text writing and Tipi aka that was referred Pali word for explanation about 15 copies, 25 percentages. 2. Type of teaching word literature of teacher means teaching of the teacher that had explained both the theory and practicing of Mahāsatipaṭṭhāna IV about 45 copies, 45 percentages. 3. Type of thinker literature means writing that had studied from Mahāsatipaṭṭhāna IV about 15 copies, 25 percentages. 4. Type of modern science integration means the books that the writer had brought Mahāsatipaṭṭhāna IV to integrate with the modern science about 15 copies, 25 percentages.

การส ารวจวรรณกรรมปัจจุบัน ...research.pcru.ac.th/pcrunc2017/datacd/pcrunc2017/files/B... · 2017-03-14 · คือ อานาปานสติ

  • Upload
    others

  • View
    9

  • Download
    0

Embed Size (px)

Citation preview

Page 1: การส ารวจวรรณกรรมปัจจุบัน ...research.pcru.ac.th/pcrunc2017/datacd/pcrunc2017/files/B... · 2017-03-14 · คือ อานาปานสติ

การประชุมวิชาการระดับชาติ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์ ครั้งท่ี 4 วันท่ี 10 มีนาคม 2560 ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์

548

การส ารวจวรรณกรรมปัจจุบันเรื่องมหาสติปัฏฐาน ๔ A Survey of the Present Literature on ‘Mahāsatipaṭṭhāna IV’

สรัญญา โชติรัตน์

Saranyar Chotirat 1นักวิจยัช านาญการ มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ อ าเภอร้องกวาง จังหวัดแพร ่

โทรศัพท์ ๐๙๙-๖๓๖๖๒๖๓ E-mail : [email protected]

บทคัดย่อ งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อรวบรวมและประมวลสาระความรู้จากวรรณกรรมปัจจุบันเรื่องมหาสติปัฏฐาน ๔ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพเน้นการส ารวจเพื่อน าไปสู่การวิเคราะห์เนื้อหาสาระจากวรรณกรรม โดยประชากรและกลุ่มตัวอย่างคือ วรรณกรรมยุคปัจจุบันเรื่องสติปัฏฐาน ๔ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในปีพุทธศักราช ๒๕๔๙-๒๕๕๙ (๑๐ ปี) จ านวน ๑๐๐ เล่ม ผลการศึกษาพบว่า จากการรวบรวมหนังสือวรรณกรรมปัจจุบันที่เกี่ยวข้องเรื่องมหาสติปัฏฐาน ๔ จ าแนกประเภทตามลักษณะวรรณกรรมเรื่องมหาสติปัฏฐาน ๔ แบ่งออกเป็น ๔ ประเภทวรรณกรรม ดังต่อไปนี้ ประเภท ๑)วรรณกรรมแนววิชาการ หมายถึง หนังสือวิชาการ แนวเขียนแบบต าราต่างๆ และเกี่ยวกับพระไตรปิฎก มักอ้างอิงค าบาลีเพื่ออธิบายความเนื้อหาสาระ จ านวน ๑๕ เล่ม ร้อยละ ๑๕ ประเภท ๒)วรรณกรรมแนวค าสอนครูบาอาจารย์ หมายถึง ค าสอนครูบาอาจารย์ที่อธิบายวิธีการภาคทฤษฎีและแนวปฏิบัติเรื่องมหาสติปัฏฐาน ๔ จ านวน ๔๕ เล่ม ร้อยละ ๔๕ ประเภท ๓)วรรณกรรมแนวนักเขียนค้นคิด หมายถึง งานเขียนท่ีผู้เขียนได้ค้นคิดศึกษาเรื่องสติปัฏฐาน ๔ จากการศึกษาของผู้เขียน จ านวน ๒๕ เล่ม ร้อยละ ๒๕ ประเภท ๔)วรรณกรรมแนวบูรณาการศาสตร์สมัยใหม่ หมายถึง หนังสือที่ผู้เขียนได้น าหลักการเรื่องมหาสติปัฏฐานไปบูรณาการเขียนกับศาสตร์สมัยใหม่หรือการน าหลักการสติปัฏฐาน ๔ ไปประยุกต์ใช้กับศาสตร์สมัยใหม่ จ านวน ๑๕ เล่ม ร้อยละ ๑๕ ค าส าคัญ : มหาสติปัฏฐาน ๔ 1 วรรณกรรมปัจจุบัน 2

Abstract The purpose of this research was to collect and codify the comprehension and understanding in Mahāsatipaṭṭhāna IV. It was the qualitative research by emphasized survey for leading content analysis from literature. The population and sample was the present literature on Mah āsatipaṭṭhāna IV which had published in the year of 2016 -2006 about 100 copies. The results of the study were found that from the collect the text present literature on Mahāsatipaṭṭhāna IV which was classified the type of the literature characteristic of Mahāsatipaṭṭhāna IV. It was classified into four types they were; 1. Type of academic literature means academic book, the various text writing and Tipiṭaka that was referred Pali word for explanation about 15 copies, 25 percentages. 2. Type of teaching word literature of teacher means teaching of the teacher that had explained both the theory and practicing of Mahāsatipaṭṭhāna IV about 45 copies, 45 percentages. 3. Type of thinker literature means writing that had studied from Mahāsatipaṭṭhāna IV about 15 copies, 25 percentages. 4. Type of modern science integration means the books that the writer had brought Mahāsatipaṭṭhāna IV to integrate with the modern science about 15 copies, 25 percentages.

Page 2: การส ารวจวรรณกรรมปัจจุบัน ...research.pcru.ac.th/pcrunc2017/datacd/pcrunc2017/files/B... · 2017-03-14 · คือ อานาปานสติ

การประชุมวิชาการระดับชาติ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์ ครั้งท่ี 4 วันท่ี 10 มีนาคม 2560 ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์

549

Keywords : Mahāsatipatthāna IV 1, Present Literature 2 ๑. บทน า เรื่องมหาสติปัฏฐาน ๔ [๑] เป็นพระสูตรในพระไตรปิฎกฉบับภาษาไทยฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค [๙.มหาสติปัฏฐานสูตร] ที.ม. เล่มที่ ๑๐ข้อ ๓๗๒ ถึง ข้อ ๔๐๕ หน้า ๓๐๑–๓๔๐ กล่าวถึง ทางสายเอกท่ีน าไปสู่หนทางพ้นทุกข์ พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)[๒] ได้ให้ความหมาย สติปัฏฐาน ๔ หมายถึง ท่ีตั้งของสติ การตั้งสติก าหนดพิจารณาสิ่งทั้งหลายให้รู้เห็นตามความเป็นจริง คือ ตามที่สิ่งนั้นๆมันเป็นของมันเอง (Foundations of Mindfulness) (๑)กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน หมายถึง การตั้งสติก าหนดพิจารณากายให้รู้เห็นตามเป็นจริง ว่า เป็นเพียงกาย ไม่ใช่สัตว์บุคคลตัวตนเราเขา ท่านจ าแนกปฏิบัติไว้หลายอย่าง คือ อานาปานสติ ก าหนดลมหายใจ ๑ อิริยาบถ ก าหนดรู้ทันอิริยาบถ ๑ สัมปชัญญะ สร้างสัมปชัญญะในการกระท าความเคลื่อนไหวทุกอย่าง ๑ ปฏิกูลมนสิการ พิจารณาส่วนประกอบอันไม่สะอาดทั้งหลายที่ประชุมเข้าเป็นร่างกายนี้ ๑ ธาตุมนสิการ พิจารณาเห็นร่างกายของตนโดยสักว่าเป็นธาตุแต่ละอย่างๆ ๑ นวสีวถิกา พิจารณาซากศพในสภาพต่างๆ อันแปลกกันไปใน ๙ ระยะเวลา ให้เห็นคติธรรมดาของร่างกาย ของผู้อื่นเช่นใด ของตนก็จักเป็นเช่นนั้น ๑ (๒) เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน หมายถึง การตั้งสติก าหนดพิจารณาเวทนา ให้รู้เห็นตามเป็นจริงว่า เป็นแต่เพียงเวทนา ไม่ใช่สัตว์บุคคลตัวตนเราเขา คือ มีสติรู้ชัดเวทนาอันเป็นสุขก็ดี ทุกข์ก็ดี เฉยๆ ก็ดี ทั้งที่เป็นอามิส และเป็นนิรามิสตามที่เป็นไปอยู่ในขณะนั้นๆ (๓) จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน หมายถึง การตั้งสติก าหนดพิจารณาจิต ให้รู้เห็นตามเป็นจริงว่า เป็นแต่เพียงจิต ไม่ใช่สัตว์บุคคลตัวตนเราเขา คือ มีสติรู้ชัดจิตของตนที่มีราคะ ไม่มีราคะ มีโทสะ ไม่มีโทสะ มีโมหะ ไม่มีโมหะ เศร้าหมองหรือผ่องแผ้ว ฟุูงซ่านหรือเป็นสมาธิ อย่างไรๆ ตามที่เป็นไปอยู่ในขณะนั้นๆ(๔) ธัมมานุปัสสนา สติปัฏฐาน หมายถึง การตั้งสติก าหนดพิจารณาธรรม ให้รู้เห็นตามเป็นจริงว่า เป็นแต่เพียงธรรม ไม่ใช่สัตว์บุคคลตัวตนเราเขา คือ มีสติรู้ชัดธรรมทั้งหลาย ได้แก่ นิวรณ์ ๕ ขันธ์ ๕ อายตนะ ๑๒ โพชฌงค์ ๗ อริยสัจ ๔ ว่าคืออะไร เป็นอย่างไร มีในตนหรือไม่ เกิดขึ้น เจริญบริบูรณ์ และดับไปได้อย่างไร เป็นต้น ตามที่เป็นจริงของมันอย่างนั้นๆ. เนื่องจากงานวรรณกรรมเกี่ยวกับเรื่องมหาสติปัฏฐาน ๔ มีมากมายในปัจจุบัน มีความต่างกันขึ้นอยู่กับค าอธิบายความของผู้เขียน โดยการตีความหมายต่างกันขึ้นอยู่กับความเข้าใจหรือมุมมองของการให้การตีความหมายและความเข้าใจ ต่างจากงานในวรรณกรรมในอดีตที่เต็มไปด้วยภาษาบาลี และที่ส าคัญคือ ยุคสมัยเปลี่ยนแปลงไป ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีมากมายในชีวิตปัจจุบัน การอธิบายความหมาย วิธีการ และความรู้ความเข้าใจ จะเป็นลักษณะการบูรณาการศาสตร์สมัยใหม่ ให้เพิ่มเติมเข้าใจในเชิงวิทยาศาสตร์ ย่อมส่งผลต่อค าสอนของพระพุทธเจ้าเรื่องมหาสติปัฏฐาน ๔ ลักษณะการอธิบายความแตกต่างกันไป ท าให้ความรู้ความเข้าใจแตกต่างกันไป เพื่อให้มนุษย์ในปัจจุบัน มีความเข้าใจในทุกข์ และหาทางออกของทุกข์ได้ โดยอาศัยหลักการสติปัฏฐาน ๔ ตามเนื้อหาสาระแบบดั่งเดิมแต่วิธีการถ่ายทอดแบบยุคปัจจุบัน ผู้วิจัยท างานวิทยานิพนธ์เรื่อง “การสังเคราะห์วิทยานิพนธ์เรื่องมหาสติปัฏฐาน ๔ ของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยระหว่างปีพุทธศักราช ๒๕๔๐–๒๕๕๕”[๓] ดังนั้นเพื่อการต่อยอดองค์ความรู้เรื่องมหาสติปัฏฐาน ๔ จึงเป็นที่มาของปัญหาวิจัยว่า การศึกษาวรรณกรรมต่างๆยุคปัจจุบันส่งผลต่อความรู้ความเข้าใจพระพุทธศาสนาโดยเฉพาะเรื่องสติปัฏฐาน ๔ คือ วิธีการอย่างไร ท าให้พ้นจากทุกข์ ต้องเป็นอย่างไร ผู้วิจัยมีความสนใจในความรู้ด้านมหาสติปัฏฐาน ๔ โดยกระบวนอธิบายความหมาย การได้มาซึ่งความรู้ ความเหมือนและความแตกต่างของเรื่องมหาสติปัฏฐาน ๔ ดังกล่าวจากงานวรรณกรรมยุคปัจจุบันน ามาสร้างคุณค่าทางปัญญาพระพุทธศาสนา โดยวิธีการศึกษาได้น าวรรณกรรมปัจจุบันเรื่องมหาสติปัฏฐาน ๔ มาวิเคราะห์และสังเคราะห์ เพื่อให้ได้ค าอธิบายเรื่องมหาสติปัฏฐาน ๔ ในมุมมองยุคปัจจุบัน เพื่อเป็นประโยชน์การน าไปสู่การปฏิบัติ การอธิบายความโดยมีหลักการค าสอนของพระพุทธเจ้าเรื่องมหาสติปัฏฐาน ๔ น าทางไปสู่หนทางพ้นทุกข์ เป็นที่พ่ึงพาในธรรมะค าสอนของพระพุทธเจ้าในการด ารงชีวิตความเป็นมนุษย์ที่ดีต่อไป

Page 3: การส ารวจวรรณกรรมปัจจุบัน ...research.pcru.ac.th/pcrunc2017/datacd/pcrunc2017/files/B... · 2017-03-14 · คือ อานาปานสติ

การประชุมวิชาการระดับชาติ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์ ครั้งท่ี 4 วันท่ี 10 มีนาคม 2560 ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์

550

๒. วิธีด าเนินการวิจัย ระเบียบวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ(Qualitative Research Methodology)โดยศึกษาจากเอกสารแล้วน าข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์เนื้อหาเป็นหลักเป็นการสังเคราะห์วรรณกรรมที่ได้รวบรวมมาโดยวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) เสนอข้อมูลใช้วิธีการวิเคราะห์เชิงการพรรณนา (Descriptive Analysis) ส่วนการน าเสนอบทความวิจัยเรื่อง “การส ารวจวรรณกรรมปัจจุบันเรื่องมหาสติปัฏฐาน ๔”เรื่องนี้ซึ่งเป็นงานบางส่วนของการด าเนินงานโครงการวิจัยเรื่อง“การสังเคราะห์วรรณกรรมเร่ืองมหาสติปัฐาน ๔ ”เป็นการตอบค าถามวิจัยเพียงข้อเดียว คือวัตถุประสงค์ข้อ ๑ เพื่อรวบรวมและประมวลสาระความรู้จากวรรณกรรมปัจจุบันเรื่องมหาสติปัฏฐาน ๔ เป็นลักษณะการส ารวจข้อมูลเบื้องต้นเพื่อน าไปสู่การวิเคราะห์และการสังเคราะห์วรรณกรรม โดยประชากรและกลุ่มตัวอย่างคือ วรรณกรรมเรื่องสติปัฏฐาน ๔ ปัจจุบันที่ได้ตีพิมพ์ในยุคสมัยปัจจุบัน ระหว่าง ปีพุทธศักราช ๒๕๔๙–๒๕๕๙ (๑๐ ปี) จ านวน ๑๐๐ เล่ม การเลือกเป็นกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Samping) โดยเน้นตามความหมายหรือค านิยาม ค าว่า มหาสติปัฏฐาน ๔ จากเนื้อหาในพระไตรปิฏกภาษาไทยฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค [๙.มหาสติปัฏฐานสูตร] ที.ม. เล่มที่ ๑๐ข้อ ๓๗๒ ถึง ข้อ ๔๐๕ หน้า ๓๐๑–๓๔๐ เป็นหลักการสาระศึกษา โดยขั้นตอนการด าเนินงานวิจัย ดังแสดงในแผนภาพท่ี ๑

แผนภาพท่ี ๑ ขั้นตอนการรวบรวมวรรณกรรมและจัดประเภทวรรณกรรมเรื่องมหาสติปัฏฐาน ๔

๓. ผลการวิจัย เพื่อเป็นการตอบวัตถุประสงค์การวิจัยข้อ ๑) เพื่อรวบรวมและประมวลสาระความรู้จากวรรณกรรมเรื่องสติปัฏฐาน ๔ รายการวรรณกรรมเรื่องมหาสติปัฏฐาน ๔ ผู้ศึกษาวิจัยได้รวบรวมทั้งหมด จ านวน ๑๐๐ เล่ม ผลการศึกษาพบว่า การจัดประเภทวรรณกรรมเรื่องมหาสติปัฏฐาน ๔ ตามประเภทลักษณะวรรณกรรม แบ่งเป็น ๔ ประเภท ดังแสดงผลการศึกษา รายละเอียดจากตารางที่ ๑ ถึง ตารางที่ ๔ ต่อไปนี้ ตารางที่ ๑ แสดงลักษณะทั่วไปของหนังสือวรรณกรรมประเภท (๑) แนววิชาการ จ าแนกตาม ปก รหัสแบบบันทึก ช่ือเรื่องวรรณกรรม ผู้เขียนผู้รวบรวมเรียบเรียง พิมพ์ครั้งท่ี ปีพิมพ์ ส านักพิมพ์ ปก อธิบายลักษณะทั่วไปของวรรณกรรม

รหัส ป.๑-๑ วรรณกรรมเรื่อง“ธรรมะภาคปฏิบัติ ๖ (Buddhist Meditation VI)” ผู้เขียน คณาจารย์มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย พิมพ์ครั้งที่ ๑ ปีพิมพ์ ๒๕๕๖ ส านักพิมพ์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย : จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

ป. ๑-๒ วรรณกรรมเรื่อง“ธรรมะภาคปฏิบัติ ๗ (Buddhist Meditation VII)” ผู้เขียนมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย พิมพ์ครั้ งที่ ๑ ปีพิมพ์ ๒๕๕๖ ส านักพิมพ์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย : จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

ป.๑-๓ วรรณกรรมเรื่อง “ธรรมะภาคปฏิบัติ ๓ (Buddhist Meditation III)” ผู้เขียน คณาจารย์มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย พิมพ์ครั้งที่ ๓ ปีพิมพ์ ๒๕๕๕ ส านักพิมพ์ มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย : จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

Page 4: การส ารวจวรรณกรรมปัจจุบัน ...research.pcru.ac.th/pcrunc2017/datacd/pcrunc2017/files/B... · 2017-03-14 · คือ อานาปานสติ

การประชุมวิชาการระดับชาติ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์ ครั้งท่ี 4 วันท่ี 10 มีนาคม 2560 ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์

551

ป.๑-๔ วรรณกรรมเรื่อง“สมาธิ : ฐานสู่สุขภาพจิตและปัญญาหยั่งรู้” ผู้เขียน พระพรหมคุณาภรณ์ (ประยุทธ์ ปยุตโต) พิมพ์ครั้งท่ี ๙ ปีพิมพ์ ๒๕๕๓ ส านักพิมพ์ศยาม : กรุงเทพมหานคร

ป. ๑-๕ วรรณกรรมเรื่อง “ธรรมะภาคปฏิบัติ ๕ (Buddhist Meditation V)” ผู้เขียน มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย พิมพ์ครั้งที่ ๑ ปีพิมพ์ ๒๕๕๖ ส านักพิมพ์มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย : จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

ป.๑-๖ วรรณกรรมเรื่อง “ธรรมะภาคปฏิบัติ ๔ (Buddhist Meditation IV)” ผู้เขียน คณาจารย์มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย พิมพ์ครั้งที่ ๒ ปีพิมพ์ ๒๕๕๔ ส านักพิมพ์มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย : จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

ป.๑-๗ วรรณกรรมเรื่อง “ธรรมะภาคปฏิบัติ ๑ (Buddhist Meditation 1)” ผู้เขียน คณาจารย์มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย พิมพ์ครั้งที่ ๑ ปีพิมพ์ ๒๕๕๑ ส านักพิมพ์มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย: จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

ป.๑-๘ วรรณกรรมเรื่อง “วิปัสสนากรรมฐานตามรอยพระพุทธองค์” ผู้เขียน ศรีศายอโศก พิมพ์ครั้งท่ี ๑ ปีพิมพ ์๒๕๕๓ ส านักพิมพ์ธรรมสภา : กรุงเทพมหานคร

ป.๑-๙ วรรณกรรมเรื่อง “การปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐาน ตามแนวมหาสติปัฏฐาน ๔” ผู้เขียน พระครูปลัดวรเมธาวัฒน์(วรพงศ์ปภสฺสโร,ประโมณะกัง) พิมพ์ครั้งที่ ๑ ปีพิมพ์ ๒๕๕๖ บริษัทคอมม่า ดีไซน์แอนพริ้นท์จ ากัด : กรุงเทพมหานคร

ป.๑-๑๐ วรรณกรรมเรื่อง “ธรรมะภาคปฏิบัติ ๒ (Buddhist Meditation II)” ผู้เขียน คณาจารย์มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย พิมพ์ครั้งท่ี ๑ ปีพิมพ ์๒๕๕๑ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย : จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

ป.๑-๑๑ วรรณกรรมเรื่อง “สติปัฏฐานสี่ฐานแห่งสติและวิธีฝึกสติเพื่อความพ้นทุกข์” ผู้เขียน ภัณเต คุณะรัตนา มหาเถระ เขียน นัยนา นาควัชระ แปล พิมพ์ครั้งที่ ๑ ปีพิมพ์ ๒๕๕๗ ส านักพิมพ์ มูลนิธิโกมลคีมทอง : กรุงเทพมหานคร

ป.๑-๑๒ วรรณกรรมเรื่อง “พุทธปรัชญาแห่งชีวิต” ผู้เขียน ฟื้น ดอกบัว พิมพ์ครั้งที่ ๒ ปีพิมพ์ ๒๕๕๖ ส านักพิมพ์ บริษัทส านักพิมพ์สยามปริทัศน์ จ ากัด: กรุงเทพมหานคร

ป.๑-๑๓ วรรณกรรมเรื่อง “กรรมฐานและฌานสมาบัติตามรอยพระพุทธองค์”ผู้เขียน ศรีสากยอโศก พิมพ์ครั้งท่ี ๓ ปีพิมพ ์๒๕๕๓ ส านักพิมพ์ ธรรมสภา : กรุงเทพมหานคร

ป.๑-๑๔ วรรณกรรมเรื่อง “มหาสติปัฏฐานสูตรแปล (ฉบับปรังปรุง)”ผู้เขียน พระอาจารย์อ านวยศิลป์ สีลส วโร และคณะ พิมพ์ครั้งท่ี ๑ ปีพิมพ ์๒๕๕๗ ส านักพิมพ์ โรงพิมพ์ช้างเผือก : เชียงใหม่

ป.๑-๑๕ วรรณกรรมเรื่อง “พุทธปรัชญา ๒๕ ศตวรรษ” ผู้เขียน สมัคร บุราวาศ พิมพ์ครั้งที่ ๓ ปีพิมพ ์ ๒๕๕๓ ส านักพิมพ์ศยาม : กรุงเทพมหานคร

จากตารางที่ ๑ จากการรวบรวมและประมวลสาระวรรณกรรมเรื่องมหาสติปัฏฐาน ๔ จ าแนกตาม ช่ือเรื่องวรรณกรรม ผู้เขียน พิมพ์ครั้งที่ ปีพิมพ์ ส านักพิมพ์ จ านวน ๑๕ เล่ม คิดเป็นร้อยละ ๑๕ ผลการศึกษาพบว่า เป็น

Page 5: การส ารวจวรรณกรรมปัจจุบัน ...research.pcru.ac.th/pcrunc2017/datacd/pcrunc2017/files/B... · 2017-03-14 · คือ อานาปานสติ

การประชุมวิชาการระดับชาติ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์ ครั้งท่ี 4 วันท่ี 10 มีนาคม 2560 ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์

552

ลักษณะวรรณกรรมประเภทแนววิชาการ หมายความถึง ต าราต่างๆ และเกี่ยวกับพระไตรปิฎก หนังสือเกี่ยวกับเรื่องมหาสติปัฏฐาน ที่ผู้เขียนน าเสนอเป็นวิชาการ อ้างพระไตรปิฎก อ้างอิงค าบาลีเพื่ออธิบายความ เนื้อหาสาระเป็นการอธิบายรูปแบบวรรณกรรม แนวทางศึกษาเชิงวิชาการ ตารางที่ ๒ ลักษณะทั่วไปของหนังสือวรรณกรรมประเภท (๒) แนวค าสอนครูบาอาจารย์ จ าแนกตาม ปก รหัสแบบบันทึก ช่ือหนังสือ ผู้เขียนผู้รวบรวมเรียบเรียง พิมพ์ครั้งท่ี ปีพิมพ์ ส านักพิมพ์ ปก ลักษณะทั่วไปของวรรณกรรม

ป.๒-๑ วรรณกรรมเรื่อง“พระอรหันต์สอนกรรมฐาน” ผู้เขียน สมชาย สุวรรณโปดก (เจตสิก) เรียบเรียง พิมพ์ครั้ งที่ ๒ ปีพิมพ์ ๒๕๕๘ ส านักพิมพ์บริษัท ส านักพิมพ์สุภาจ ากัด : กรุงเทพมหานคร

ป.๒-๒ วรรณกรรมเรื่อง “การปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานตามแนวของหลวงปูุมั่น ภูริทตฺโต” ผู้เขียน พระมหายุทธนา นรเชฏฺโฐ พิมพ์ครั้งที่ ๒ ปีพิมพ์ ๒๕๕๗ โรงพิมพ์ บริษัทสหธรรมิกจ ากัด : กรุงเทพมหานคร

ป ๒-๓ วรรณกรรมเรื่อง “อริยสัจ เพื่อความหลุดพ้น” ผู้เขียน หลวงพ่อปราโมชย์ ปาโมชโช พระธรรมเทศนา พิมพ์ครั้งที่ ๓ ปีพิมพ์ ๒๕๕๕ ส านักพิมพ์ บริษัท แปลน พริ้นติ้งจ ากัด : กรุงเทพมหานคร

ป.๒-๔ วรรณกรรมเรื่อง “คู่มือมนุษย์ ๖ ฉบับอ่านง่าย เข้าใจง่าย เรื่อง สมาธิและวิปัสสนาตามธรรมชาติ (การท าให้รู้แจ้งตามวิธีธรรมชาติ)” ผู้เขียน ท่านพุทธทาสภิกขุ พิมพ์ครั้งที่ ๑ ปีพิมพ์ ๒๕๕๔ ส านักพิมพ์เลี่ยงเชียง เพียรเพื่อพุทธศาสน์ : : กรุงเทพมหานคร

ป.๒-๕ วรรณกรรมเรื่อง “มนุษย.์.เกิดมาท าไม? เล่ม ๑๖ ตอน จบพรหมจรรย์ (กิจอื่นที่พึงกระท ายิ่งไปกว่านี้ไม่มี)” ผู้เขียน สุวัฒน์ สุวัฑฒโน (พิทักษ์วงษ์) พิมพ์ครั้งที่ ๑ ปีพิมพ์ ๒๕๕๕ ส านักพิมพ์ บริษัทพิมพ์สวย : กรุงเทพมหานคร

ป.๒-๖ วรรณกรรมเรื่อง “หลวงปูุมั่น” ผู้เขียน เพ็ญอลงกรณ์ ผู้เรียบเรียง.พิมพ์ครั้งที่ ๒ ปีพิมพ์ ๒๕๕๘ ส านักพิมพ์ บริษัทอมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชช่ิง จ ากัด (มหาชน) : กรุงเทพมหานคร

ป.๒-๘ วรรณกรรมเรื่อง “โรดแม็พ ธรรมปฎิบัติทางเดินสู่โลกุตรธรรม” ผู้เขียน พระปราโมทย์ ปาโมชฺโช พิมพ์ครั้งท่ี ๑ ปีพิมพ ์๒๕๕๖ ส านักพิมพ์บริษัทอมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชช่ิง จ ากัด (มหาชน) : กรุงเทพมหานคร

ป.๒-๙ วรรณกรรมเรื่อง “คู่มือการเจริญสติแบบเคลื่อนไหว” ผู้เขียน พุทธยานันทภิกขุ พิมพ์ครั้งท่ี ๒ ปีพิมพ ์ ๒๕๔๙ บริษัทนพบุรีการพิมพ์ จังหวัดเชียงใหม่

ป.๒-๑๐ วรรณกรรมเรื่อง “คิดแบบพระโสดาบัน” ผู้เขียน พระครูใบฎีกา อ านาจ โอภาโส วัดพระธาตุผาซ่อนแก้ว พิมพ์ครั้งท่ี ๑ ๒๕๕๖ บริษัท ตถาตา พับลิเคช่ัน : กรุงเทพมหานคร

ป.๒-๑๑ วรรณกรรมเรื่อง “บรรลุธรรมตามหลักวิชาการ(สมาธิและวิปัสสนา ๒)”ผู้เขียน ท่านพุทธทาสภิกขุ พิมพ์ครั้ งที่ ๑ ปีพิมพ์ ๒๕๕๔ ส านักพิมพ์ เลี่ยง เ ชียงเพียร เพื่ อพุทธศาสน์ : กรุงเทพมหานคร

Page 6: การส ารวจวรรณกรรมปัจจุบัน ...research.pcru.ac.th/pcrunc2017/datacd/pcrunc2017/files/B... · 2017-03-14 · คือ อานาปานสติ

การประชุมวิชาการระดับชาติ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์ ครั้งท่ี 4 วันท่ี 10 มีนาคม 2560 ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์

553

ป.๒-๑๒ วรรณกรรมเรื่อง “สันติสุขทุกลมหายใจ: วิธีปฏิบัติส าหรับคนไม่มีเวลา” ผู้เขียน ติช นัท ฮันห์ พิมพ์ครั้งที่ ๑ ปีพิมพ์ ๒๕๕๕ ส านักพิมพ์บริษัทฟรีมายด์ พัลลิชช่ิง จ ากัด :กรุงเทพมหานคร

ป.๒-๑๓ วรรณกรรมเรื่อง “สติเคล็ดลับมองด้านใน” ผู้เขียน พุทธยานันทภิกขุ พิมพ์ครั้งที่ ๑ ปีพิมพ์ ๒๕๕๐ ส านักพิมพ์บริษัทนพบุรีการพิมพ์ : จังหวัดเชียงใหม ่

ป.๒-๑๔ วรรณกรรมเรื่อง “พื้นฐานการท าสมาธิ” ผู้เขียน ขันติพโล และคณะศิษย์วัดธรรมมงคล พิมพ์ครั้งท่ี ๗ ปีพิมพ ์๒๕๕๘ ส านักพิมพ์ สถาบันพลังจิตตานุภาพ มูลนิธิหลวงพ่อวิริยังค์ สิรินฺธโร : กรุงเทพมหานคร

ป.๒-๑๕ วรรณกรรมเรื่อง “มนุษย์เกิดมาท าไม? เล่ม ๑๘ ตอน จบกิจ-จบกรรมสังสารวัฏ” ผู้เขียน สุวัฒน์ สุวฑฺตโน (พิทักษ์วงษ์) ผู้เรียบเรียง พิมพ์ครั้งที่ ๑ ปีพิมพ์ ๒๕๕๗ ส านักพิมพ์กองทุนมูลนิธิมนุษย์เกิดมาท าไม? : กรุงเทพมหานคร

ป.๒-๑๖ วรรณกรรมเรื่อง “มนุษย์. เกิดมาท าไม ? เล่ม ๑๔ ตอน กรรมฐานลืมตา (ในชีวิตประจ าวัน)” ผู้เขียน สุวัฒน์ พิทักษ์วงษ์ พิมพ์ครั้งที่ ๑ ปีพิมพ์ ๒๕๕๓ บริษัทพิมพ์สวยจ ากัด : กรุงเทพมหานคร

ป.๒-๑๗ วรรณกรรมเรื่อง “สมถวิปัสสนาแห่งยุคปรมาณู” ผู้เขียน พุทธทาสภิกขุ พิมพ์ครั้งที่ ๑ ปีพิมพ์ ๒๕๕๘ ส านักปัญญา ญาณ : กรุงเทพมหานคร

ป.๒-๑๘ วรรณกรรมเรื่อง “เรื่องเกี่ยวกับการปฏิบัติธรรมศิลปะอันจ าเป็นส าหรับชีวิตมนุษย์” ผู้เขียน ท่านพุทธทาสภิกขุ พิมพ์ครั้งท่ี ๑ ปีพิมพ ์๒๕๕๔ ส านักพิมพ์แสงดาว : กรุงเทพมหานคร

ป.๒-๑๙ วรรณกรรมเรื่อง “เจริญกรรมฐาน ๗ วัน ได้ผลแน่นอน” ผู้เขียน หลวงพ่อจรัญ ฐิตธัมโม พิมพ์ครั้งท่ี ๑ ปีพิมพ ์ ๒๕๕๓ ส านักพิมพ์ธรรมสภา : กรุงเทพมหานคร

ป.๒-๒๐ วรรณกรรมเรื่อง “หลวงปูุชาสอนกรรมฐาน” ผู้เขียน หลวงปูุชา สุภทฺโท พิมพ์ครั้งที่ ๑ ปีพิมพ ์๒๕๕๔ ส านักพิมพ์ธรรมลดา : กรุงเทพมหานคร

ป.๒-๒๑ วรรณกรรมเรื่อง “วิธีฝึกสมาธิวิปัสสนา ฉบับนานาแบบอย่างสมบูรณ์” ผู้เขียน พุทธทาสภิกขุ พิมพ์ครั้งท่ี ๑ ๒๕๔๘ ส านักพิมพ์สุขภาพใจ : กรุงเทพมหานคร

ป.๒-๒๒ วรรณกรรมเรื่อง “อยู่กับมาร” ผู้เขียน พระครูใบฎีกาอ านาจ โอภาโส. พิมพ์ครั้งที่ ๒ ปีพิมพ ์ ๒๕๕๓ บริษัทอมรินทร์ธรรมะ : กรุงเทพมหานคร

ป.๒-๒๓ วรรณกรรมเรื่อง “ปฏิบัติธรรมให้ถูกทาง : ค าถามส าหรับชาวพุทธ (ส ารวจตัวก่อนปฏิบัติธรรม)” ผู้เขียน พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต) พิมพ์ครั้งที่ ๗๒ ปีพิมพ์ ๒๕๔๘ โรงพิมพ์พระพุทธศาสนาของธรรมสภาสถาบันบันลือธรรม : กรุงเทพมหานคร

Page 7: การส ารวจวรรณกรรมปัจจุบัน ...research.pcru.ac.th/pcrunc2017/datacd/pcrunc2017/files/B... · 2017-03-14 · คือ อานาปานสติ

การประชุมวิชาการระดับชาติ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์ ครั้งท่ี 4 วันท่ี 10 มีนาคม 2560 ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์

554

ป.๒-๒๔ วรรณกรรมเรื่อง “พุทโธ ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน” ผู้เขียน ด ารงเกียรติ อาจหาญ พิมพ์ครั้งท่ี ๑ ปีพิมพ ์๒๕๕๗ ส านักพิมพ์ดีเอ็มจี : กรุงเทพมหานคร

ป.๒-๒๕ วรรณกรรมเรื่อง “ดูจิตเพื่อรู้แจ้ง : วิธีปฏิบัติภาวนาอย่างง่ายๆด้วยการดูจิตในชีวิตประจ าวัน” ผู้เขียน หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช สุรวัฒน์ เสรีวิวัฒนา ผู้เรียบเรียง พิมพ์ครั้งที่ ๒ ปีพิมพ์ ๒๕๕๗ ส านักพิมพ์อมรินทร์ธรรมะ อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชช่ิง : กรุงเทพมหานคร

ป ๒-๒๖ วรรณกรรมเรื่อง “อัศจรรย์สมาธิพระโพธิสัตว์หลวงปูุดู่ พรหมปัญโญ” ผู้เขียน ทิพยจักร พิมพ์ครั้งท่ี ๑ ปีพิมพ ์ ๒๕๕๘ ส านักพิมพ์กรีน ปัญญาญาณ : จังหวัดนนทบุรี

ป ๒-๒๗ วรรณกรรมเรือ่ง “พุทธานุสสติหัวใจกรรมฐาน” ผู้เขียน พระครูสิทธิสังวร (วีระ ฐานวิโร) เรียบเรียง พิมพ์ครั้งท่ี ๑ ปีพิมพ ์ ๒๕๕๙ ส านักพิมพ์สัมปชัญญะ จังหวัดนนทบุรี

ป ๒-๒๘ วรรณกรรมเรื่อง “กรรมฐานจากหลวงปูุทวดสู่หลวงปูุดู่ ” ผู้ เขียน ทิพยจักร พิมพ์ครั้งท่ี ๑ ปีพิมพ ์๒๕๕๙ ส านักพิมพ์กรีน ปัญญาญาณ : กรุงเทพมหานคร

ป ๒-๒๙ วรรณกรรมเรื่อง “อบรมกรรมฐาน” ผู้เขียน พระราชสังวรญาณ (หลวงพ่อพุธ ฐานิโย) พิมพ์ครั้งที ๑ ปีพิมพ ์๒๕๕๓ ส านักพิมพ์ธรรมสภาและสถาบันบันลือธรรม: กรุงเทพมหานคร

ป.๒-๒๙ วรรณกรรมเรื่อง “วิปัสสนาสมาธิภาวนารักษาใจ” ผู้เขียน พระอาจารย์ฟั้น อาจาโร พิมพ์ครั้งท่ี ๑ ปีพิมพ ์๒๕๕๔ สถาบันบันลือธรรม : กรุงเทพมหานคร

ป ๒-๓๑ วรรณกรรมเรื่อง “กรรมฐานแก้กรรมพ้นทุกข์ด้วยกรรมฐาน” ผู้เขียน หลวงพ่อจรัญ ฐิตธัมโม พิมพ์ครั้งที่ ๑ ปีพิมพ์ ๒๕๕๘ ส านักพิมพ์ห้างหุ้นส่วนจ ากัด ที บี เค มีเดีย พับลิซซิ่ง จ ากัด : กรุงเทพมหานคร

ป ๒-๓๒ วรรณกรรมเรื่อง “บริกรรมพุทโธสมาธิรักษาโรคก าจัดภัย” ผู้เขียน หลวงปูุเทสก์ เทสรังสี พิมพ์ครั้งท่ี ๑ ปีพิมพ ์ ๒๕๕๔ ส านักพิมพ์สถาบันบันลือธรรม : กรุงเทพมหานคร

ป ๒-๓๓ วรรณกรรมเรื่อง “คู่มือมนุษย์ฉบับสมบูรณ์ (วิชาที่ว่าด้วยอะไรเป็นอะไร)” ผู้เขียน พระธรรมโกศาจารย์ (หลวงพ่อพุทธทาสภิกขุ) พิมพ์ครั้งที่ ๑ ปีพิมพ์ ๒๕๕๔ ส านักพิมพ์ธรรมสภาและสถาบันบันลือธรรม : กรุงเทพมหานคร

๒ -๓๔ ว ร รณกร รม เ รื่ อ ง “อดี ต ก ร รม ป ระสพกา รณ์ . . ป ร ะ สพกร รม ” ผู้ เ ขี ย น พระธรรมสิงหบุราจารย์ (หลวงพ่อจรัญ ฐิตธัมโม) พิมพ์ครั้งที่ ๑ ปีพิมพ์ ๒๕๕๔ สถาบันบันลือธรรม : กรุงเทพมหานคร

ป.๒-๓๕ วรรณกรรมเรื่อง “ธรรมะจากพระไพศาล วิสาโล” ผู้เขียน พระไพศาล วิสาโล พิมพ์ครั้งท่ี ๑ ปีพิมพ ์๒๕๕๔ ส านักพิมพ์อัมรินทร์ธรรมะ : กรุงเทพมหานคร

Page 8: การส ารวจวรรณกรรมปัจจุบัน ...research.pcru.ac.th/pcrunc2017/datacd/pcrunc2017/files/B... · 2017-03-14 · คือ อานาปานสติ

การประชุมวิชาการระดับชาติ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์ ครั้งท่ี 4 วันท่ี 10 มีนาคม 2560 ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์

555

ป.๒-๓๖ วรรณกรรมเรื่อง “อตุโล จิต คือ พุทธะ เล่ม ๒” ผู้เขียน พระโพธินันทมุนี (พระมหาสมศักดิ์ ปณฺฑิโต) ผู้เรียบเรียง พิมพ์ครั้งท่ี ๑ ปีพิมพ์ ๒๕๕๘ ส านักพิมพ์ดีเอ็มจี : กรุงเทพมหานคร

ป.๒-๓๗ วรรณกรรมเรื่อง “ธรรมะจากพระราชวุฒาจารย์ (หลวงปูุดูลย์ อตุโล)” ผู้เขียน พระราชวุฒาจารย์ (หลวงปูุดูลย์ อตุโล) ศุทธดา อชิรกัมพู ผู้รวบรวม พิมพ์ครั้งที่ ๓ ปีพิมพ ์๒๕๕๕ ส านักพิมพ์อมรินทร์ธรรมะ : กรุงเทพมหานคร

ป.๒-๓๘ วรรณกรรมเรื่อง “สันติภาพทุกย่างก้าว ติช นัท ฮันห์” ผู้เขียน ติช นัท ฮันห์ พิมพ์ครั้งที ่๖ ปีพิมพ์ ๒๕๕๔ ส านักพิมพ์ศยาม : กรุงเทพมหานคร

ป.๒-๓๙ วรรณกรรมเรื่อง “ปัจจุบันเป็นเวลาประเสริฐสุด” ผู้เขียน ติช นัท ฮันห์ ส.ศิวรักษ์ ผู้แปล พิมพ์ครั้งท่ี ๖ ปีพิมพ ์๒๕๕๔ ส านักพิมพ์ศยาม : กรุงเทพมหานคร

ป.๒-๔๐ วรรณกรรมเรื่อง “สงบ” ผู้เขียน พระราชสังวรญาณ (หลวงพ่อพุธ ฐานิโย) พิมพ์ครั้งท่ี ๑ ปีพิมพ ์๒๕๕๕ ส านักพิมพ์ดีเอ็มจี : กรุงเทพมหานคร

ป.๒-๔๑ วรรณกรรมเรื่อง “สว่าง” ผู้เขียน พระราชสังวรญาณ (หลวงพ่อพุธ ฐานิโย) พิมพ์ครั้งที่ ๑ ปีพิมพ ์๒๕๕๕ ส านักพิมพ์ดีเอ็มจี : กรุงเทพมหานคร

ป.๒-๔๒ วรรณกรรมเรื่อง “กรรมฐาน ๔๐ สมาธิแบบพระพุทธเจ้า” ผู้เขียน หลวงปูุมั่น ภิริทัตโต พิมพ์ครั้งท่ี ๑ ปีพิมพ ์๒๕๕๔ ส านักพิมพ์สถาบันบันลือธรรม : กรุงเทพมหานคร

ป.๒-๔๓ วรรณกรรมเรื่อง “นิพพานระหว่างวัน” ผู้เขียน ว.วชิรเมธี อิสระพร บวรเกิด ผู้เรียบเรียง พิมพ์ครั้งท่ี ๑๑ ปีพิมพ ์๒๕๕๕ ส านักพิมพ์อมรินทร์ธรรมะ : กรุงเทพมหานคร

ป.๒-๔๔ วรรณกรรมเรื่อง “ทางเอก” ผู้เขียน พระปราโมชย์ ปาโมชโช พิมพ์ครั้งที่ ๑ ปีพิมพ์ ๒๕๕๕ : ส านักพิมพ์บริษัทอัมรินทร์พริ้นติ้งแอนพับลิซซิ่ง จ ากัด : กรุงเทพมหานคร

ป.๒-๔๕ วรรณกรรมเรื่อง “ผลของจิตภาวนาคือนิพพาน” ผู้เขียน พุทธทาสภิกขุ พิมพ์ครั้งที่ ๑ ปีพิมพ ์๒๕๕๔ ส านักพิมพ์สุขภาพใจ: กรุงเทพมหานคร

จากตารางที่ ๒ จากการรวบรวมและประมวลสาระวรรณกรรมเรื่องมหาสติปัฏฐาน ๔ จ าแนกตาม ช่ือเรื่องวรรณกรรม ผู้เขียน พิมพ์ครั้งที่ ปีพิมพ์ ส านักพิมพ์ จ านวน ๔๕ เล่ม คิดเป็นร้อยละ ๔๕ ผลการศึกษาพบว่า เป็นลักษณะวรรณกรรมประเภทแนวค าสอนครูบาอาจารย์ หมายความถึง แนวค าสอนครูบาอาจารย์อธิบายเรื่องมหาสติปัฏฐาน ๔ ในภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติตามแนวทางและวิธีการค าสอนของครูบาอาจารย์

Page 9: การส ารวจวรรณกรรมปัจจุบัน ...research.pcru.ac.th/pcrunc2017/datacd/pcrunc2017/files/B... · 2017-03-14 · คือ อานาปานสติ

การประชุมวิชาการระดับชาติ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์ ครั้งท่ี 4 วันท่ี 10 มีนาคม 2560 ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์

556

ตารางที่.๓ ลักษณะทั่วไปของวรรณกรรมประเภท (๓) แนวความคิดนักเขียนจ าแนกตาม ปก รหัสแบบบันทึก ช่ือหนังสือ ผู้เขียนผู้เขียนผู้รวบรวมเรียบเรียง ครั้งท่ีพิมพ์ ปีพิมพ์ ส านักพิมพ์ ปก ลักษณะทั่วไปของวรรณกรรม

ป.๓-๑ วรรณกรรมเรื่อง “ศิลปะการปฏิบัติสมาธิ The art of meditation” ผู้เขียน มาติเยอ ริการ์ (Matthieu Ricard) เขียน สดใส ขันติวรพงศ์ แปล พิมพ์ครั้งที่ ๑ ปีพิมพ์ ๒๕๕๔ ส านักพิมพ์สวนเงินมีมา : กรุงเทพมหานคร

ป.๓-๒ วรรณกรรมเรื่อง “ไม่ใช่กู” ผู้เขียน หลวงพ่อเอี้ยน วิโนทโก (พระครูวินัยธร พระมหาทรงศักดิ์ วิโนทโร) พิมพ์ครั้งที่ ๒ ปีพิมพ์ ๒๕๕๕ ส านักพิมพ์อมรินทร์ธรรมะ : กรุงเทพมหานคร

ป.๓-๓ วรรณกรรมเรื่อง “จะเสียอะไรถ้าได้ปฏิบัติธรรม” ผู้เขียน พระกรภพ กิตติปญฺโญ. พิมพ์ครั้งท่ี ๑ ปีพิมพ ์๒๕๕๙ ส านักพิมพ์อมรินทร์ธรรมะ : กรุงเทพมหานคร

ป.๓-๔ วรรณกรรมเรื่อง ทางสายเอก สติปัฏฐานสี่ ผู้เขียน นิลมณี พิมพ์ครั้งที่ ๑ ปีพิมพ์ ๒๕๕๕ ส านักพิมพ์ปราชญ์ : กรุงเทพฯ

ป ๓-๕ วรรณกรรมเรื่อง “ความเข้าใจเกี่ยวกับการปฏิบัติธรรม” ผู้เขียน วศิน อินทสระ พิมพ์ครั้งที ่๒ ปีพิมพ ์ ๒๕๕๓ ส านักพิมพ์ธรรมดา : กรุงเทพมหานคร

ป ๓-๖ วรรณกรรมเรื่อง “ถึงโสดาบันในชาตินี้ ” ผู้ เขียน สนอง วรอุไร พิมพ์ครั้ งที่ ๖ ปีพิมพ ์๒๕๕๓ ส านักพิมพ์อมรินทร์ธรรมะ : กรุงเทพมหานคร

ป ๓-๗ วรรณกรรมเรื่อง “ ฝึกจิต ชีวิตเปลี่ยน” ผู้เขียน อรรถจาโร ภิกขุ พิมพ์ครั้งที่ ๑ ปีพิมพ์ ๒๕๕๖ ส านักพิมพ์กรีน ปัญญาญาณ : กรุงเทพมหานคร

ป ๓-๘ วรรณกรรมเรื่อง “จิตอยู่สุข” ผู้ เขียน พระอาจารย์ สุมโน ภิกขุ . พิมพ์ครั้งที่ ๒ ปีพิมพ ์๒๕๕๘ ฟรีมายด์ : กรุงเทพมหานคร

ป.๓-๙ วรรณกรรมเรื่อง “ภาวนา เริ่มต้น ณ กม.๐” ผู้เขียน ประมวล เพ็งจันทร์ พิมพ์ครั้งที่ ๑ ปีพิมพ ์๒๕๕๘ ส านักพิมพ์บริษัท ตถาพับลิเคช่ัน จ ากัด : กรุงเทพมหานคร

ป.๓-๑๐ วรรณกรรมเรื่อง “รู้แล้ว ละได้” ผู้เขียน พระอาจารย์ ชาญชัย อธิปญฺโญ . พิมพ์ครั้งท่ี ๑ ปีพิมพ ์๒๕๕๔ ส านักพิมพ์อมรินทร์ธรรมะ : กรุงเทพมหานคร

ป.๓-๑๑ วรรณกรรมเรื่อง “หายใจให้เป็น The Tibetan Yoga of Breath” ผู้เขียน อาเญน รินโปเช และอัลลิลัน เชอยิง จังโม พิมพ์ครั้งที่ ๑ ปีพิมพ์ ๒๕๕๙ ส านักพิมพ์อมรินทร์ธรรมะ อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชช่ิง จ ากัด : กรุงเทพมหานคร

Page 10: การส ารวจวรรณกรรมปัจจุบัน ...research.pcru.ac.th/pcrunc2017/datacd/pcrunc2017/files/B... · 2017-03-14 · คือ อานาปานสติ

การประชุมวิชาการระดับชาติ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์ ครั้งท่ี 4 วันท่ี 10 มีนาคม 2560 ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์

557

ป.๓-๑๒ วรรณกรรมเรื่อง “คลายเครียดด้วยลมหายใจ เยียวยาความเครียดด้วยวิถีพุทธ” จอห์น แมคคอนแนล เขียน สุรภี ชูตระกูล แปล พิมพ์ครั้งที่ ๒ ปีพิมพ์ ๒๕๕๓ ส านักพิมพ์ศูนย์ศึกษาและพัฒนาสันติวิธี (ศพส.) มหาวิทยาลัยมหิดล : จังหวัดนครปฐม

ป.๓-๑๓ วรรณกรรมเรื่อง “สติ กุญแจไขชีวิต” ผู้เขียน คงศักดิ์ ตันไพจิตร พิมพ์ครั้งที่ ๑ ปีพิมพ ์๒๕๕๐ ส านักพิมพ์หอรัตนชัยการพิมพ์ : กรุงเทพมหานคร

ป.๓-๑๔ วรรณกรรมเรื่อง “เรื่องสติ...ใครว่ายาก ค าอธิบายสติและการปฏิบัติธรรมด้วยภาษาที่เข้าใจง่าย” ภัณเต คุณะรัตนา มหาเถระ เขียน นัยนา นาควัชระ แปล พิมพ์ครั้งที่ ๑ ปีพิมพ์ ๒๕๕๕ ส านักพิมพ์มูลนิธิโกมลคีมทอง : กรุงเทพมหานคร

ป.๓-๑๕ วรรณกรรมเรื่อง “บรรลุธรรมได้ไม่ติดรูปแบบ” ผู้เขียน ณัฐพบธรรม ธนันท์เมธากรณ์ พิมพ์ครั้งที่ ๑ ปีพิมพ์ ๒๕๕๖.ส านักพิมพ์ อมรินทร์ธรรมะ อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชช่ิง: กรุงเทพมหานคร

ป.๓-๑๖ วรรณกรรมเรื่อง “ฆราวาสบรรลุธรรม” ผู้เขียน อัจฉราวดี วงศ์สกล พิมพ์ครั้งที่ ๒ ปีพิมพ์ ๒๕๕๙ ส านักพิมพ์อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พัลลิชช่ิง กรุงเทพมหานคร

ป.๓-๑๗ วรรณกรรมเรื่อง “ชีวิตไม่ได้มีด้านเดียว” ผู้เขียน พระอาจารย์นวลจันทร์ กิตติปัญโญ พิมพ์ครั้งที่ ๑ ปีพิมพ์ ๒๕๕๙ บริษัทอมรินทร์ธรรมะ อมรินทร์พริ้นติ้ งแอนพับลิซซิ่ง : กรุงเทพมหานคร

ป.๓-๑๘ วรรณกรรมเรื่อง “วิธีปฏิบัติธรรมในชีวิตประจ าวันอย่างง่ายๆ” เอกชัย จุละจาริตต์ พิมพ์ครั้งท่ี ๘ ปีพิมพ ์๒๕๕๓ หอรัตนชัยการพิมพ ์: กรุงเทพมหานคร

ป.๓-๑๙ วรรณกรรมเรื่อง “รหัสลับ บรรลุธรรมแบบเซน” ผู้เขียน อ.นิโรธ จิตวิสุทธิ์พิมพ์ครั้งที่ ๑ ปีพิมพ ์๒๕๕๙ ส านักพิมพ์ก้าวแรก : กรุงเทพมหานคร

ป.๓-๒๐ วรรณกรรมเรื่อง “ศาสตร์แห่งภาวนาการหลอมรวมพุทธศาสนากับประสาทวิทยา” ผู้เขียน บี. อลัน วอลเลซ เขียน เพชรรัตน์ พงษ์เจริญสุข แปล พิมพ์ครั้งท่ี ๑ ปีพิมพ ์๒๕๕๒ ส านักพิมพ์บริษัทแปลนพริ้นติ้งจ ากัด : กรุงเทพมหานคร

ป ๓-๒๑ วรรณกรรมเรื่อง “อริยทรัพย์ แห่ง ผู้รู้แจ้ง หลักปฏิบัติว่าด้วยสัมมาทิฏฐิ สัมมาภาวนา และสัมมาจริยา” ผู้เขียน ริมโปเช,ดิลโก เค็นเซ นัยนา นาควัชระ ผู้แปล พิมพ์ครั้งที่ ๑ มกราคม ปีพิมพ ์๒๕๕๗ ส านักพิมพ์มูลนิธิโกมลคีมทอง : กรุงเทพมหานคร

ป.๓-๒๒ วรรณกรรมเรื่อง “จิตดวงสุดท้าย” ผู้เขียน พระอาจารย์นวลจันทร์ กิติปัญโญ พิมพ์ครั้งที่ ๗ ปีพิมพ ์๒๕๙๙ ส านักพิมพ์บริษัทอัมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิซซิ่งจ ากัด : กรุงเทพมหานคร

ป.๓-๒๓ วรรณกรรมเรื่อง “เตโชวิปัสสนา เปิดประตูนิพพาน” ผู้เขียน อัจฉราวดี วงษ์สกล พิมพ์ครั้งท่ี ๖ ปีพิมพ ์๒๕๕๙ ส านักพิมพ์บริษัทอัมรินทร์บุ๊คเซ็นเตอร์ จ ากัดกรุงเทพมหานคร

Page 11: การส ารวจวรรณกรรมปัจจุบัน ...research.pcru.ac.th/pcrunc2017/datacd/pcrunc2017/files/B... · 2017-03-14 · คือ อานาปานสติ

การประชุมวิชาการระดับชาติ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์ ครั้งท่ี 4 วันท่ี 10 มีนาคม 2560 ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์

558

ป.๓-๒๔ วรรณกรรมเรื่อง “นิพพานไม่ไกลเกินเอื้อม” ผู้ เขียน พระกรภพ กิตติปัญโญ (พ.ต.ท.กรภพ เอมซบุตร) พิมพ์ครั้งที่ ๑ ปีพิมพ์ ๒๕๕๖ ส านักพิมพ์บริษัทอัมรินทร์บุ๊คเซ็นเตอร์ จ ากัด : กรุงเทพมหานคร

ป.๓-๒๕ วรรณกรรมเรื่อง “กรรมตามสมอง” ผู้เขียน ขุนเขา สินธุเสน เขจรบุตร พิมพ์ครั้งที่ ๑๒ ปีพิมพ ์๒๕๕๙ ส านักพิมพ์บริษัท ไพบูลย์อ๊อฟเซต จ ากัด : กรุงเทพมหานคร

จากตารางที่ ๓ จากการรวบรวมและประมวลสาระวรรณกรรมเรื่องมหาสติปัฏฐาน ๔ จ าแนกตาม ช่ือเรื่องวรรณกรรม ผู้เขียน พิมพ์ครั้งที่ ปีพิมพ์ ส านักพิมพ์ จ านวน ๒๕ เล่ม คิดเป็นร้อยละ ๒๕ ผลการศึกษาพบว่า เป็นลักษณะวรรณกรรมแนวความคิดนักเขียนคิดค้น หมายความถึง งานเขียนที่ผู้เขียนได้ค้นคิดเรื่องสติปัฏฐาน ๔ ตามแนวทางความรู้ความเข้าใจของผู้เขียน ตารางที่ ๔ แสดงลักษณะทั่วไปของวรรณกรรมประเภท (๔) แนวบูรณาการกับศาสตร์สมัยใหม่ จ าแนกตาม ปก รหัสแบบบันทึก ช่ือหนังสือ ผู้เขียนผู้รวบรวมเรียบเรียง ครั้งท่ีพิมพ์ ปีพิมพ์ ส านักพิมพ์ ปก ลักษณะทั่วไปของวรรณกรรม

ป ๔-๑ วรรณกรรมเรื่อง “ไอน์สไตน์พบ พระพุทธเจ้าเห็น” ผู้เขียน ทันตแพทย์สม สุจิรา พิมพ์ครั้งที่ ๗ ปีพิมพ ์๒๕๕๐ ส านักพิมพ์อมรินทร์ธรรมะ อมรินทร์พริ้นติ้งพับลิชช่ิง : กรุงเทพมหานคร

ป.๔-๒ วรรณกรรมเรื่อง “ไอน์สไตน์พบ พระพุทธเจ้าเห็น II” ผู้เขียน ทันตแพทย์สม สุจีรา พิมพ์ครั้งที ่๑๒ ปีพิมพ ์๒๕๕๓ ส านักพิมพ์อมรินทร์ธรรมะ อมรินทร์พริ้นติ้งพับลิชช่ิง กรุงเทพมหานคร

ป.๔-๓ วรรณกรรมเรื่อง “ทวาร ๖ : ศาสตร์แห่งการรู้ทันตนเอง” ผู้เขียน ทันตแพทย์สม สุจีรา พิมพ์ครั้งที่ ๒๓ ปีพิมพ์ ๒๕๕๒ ส านักพิมพ์อมรินทร์ธรรมะ อมรินทร์พริ้นติ้งพับลิชช่ิง : กรุงเทพมหานคร

ป.๔-๔ วรรณกรรมเรื่อง “เดอะท็อปซีเคร็ต” ผู้เขียน ทันตแพทย์สม สุจีรา พิมพ์ครั้งที่ ๗๒ ปีพิมพ์ ๒๕๕๑ ส านักพิมพ์อมรินทร์ธรรมะ อมรินทร์พริ้นติ้งพับลิชช่ิง : กรุงเทพมหานคร

ป ๔-๕ วรรณกรรมเรื่อง“เดอะท็อปพาวเวอร์พลังจิตใต้ส านึกพลังสู่ความส าเร็จ”ทันตแพทย์สม สุจีรา พิมพ์ครั้งที่ ๔ ปีพิมพ์ ๒๕๕๖ ส านักพิมพ์อมรินทร์ธรรมะ อมรินทร์พริ้นติ้งพับลิชช่ิง : กรุงเทพมหานคร

ป.๔-๖ วรรณกรรมเรื่อง “สมาธิบ าบัดแบบ SKT รักษาสารพัดโรคได้ด้วยตัวเอง” ผู้เขียน สมพร กันทรดุษฏี-เตรียมชัยศรี พิมพ์ครั้งท่ี ๑ ปีพิมพ ์๒๕๕๔ ส านักพิมพ์ปัญญาชน กรุงเทพมหานคร

ป.๔-๗ วรรณกรรมเรื่อง“พุทธศาสนาในฐานะเป็นรากฐานของวิทยาศาสตร์” ผู้เขียน พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) พิมพ์ครั้งท่ี ๑๑ ปีพิมพ ์๒๕๕๖ ส านักพิมพ์กรีนปัญญาญาณ : จังหวัดนนทบุรี

ป.๔-๘ วรรณกรรมเรื่อง “ธรรมชาติของร่างกายและจิต” ผู้เขียน รุ่งเรือง ลิ้มชูปฏิภาณ์ พิมพ์ครั้งที่ ๓ ปีพิมพ ์ ๒๕๕๖ ไม่ระบุส านักพิมพ์

Page 12: การส ารวจวรรณกรรมปัจจุบัน ...research.pcru.ac.th/pcrunc2017/datacd/pcrunc2017/files/B... · 2017-03-14 · คือ อานาปานสติ

การประชุมวิชาการระดับชาติ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์ ครั้งท่ี 4 วันท่ี 10 มีนาคม 2560 ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์

559

ป.๔-๙ วรรณกรรมเรื่อง “จิตวิทยาของความดับทุกข์” ผู้เขียน จ าลอง ดิษยวณิช พิมพ์ครั้งที่ ๒ ปีพิมพ ์ ๒๕๕๔ ส านักพิมพ์ต้นบุญ : กรุงเทพมหานคร

ป.๔-๑๐ วรรณกรรมเรื่อง “ชีวิต พระพุทธศาสนา และ วิทยาศาสตร์” ผู้เขียน รุ่งเรือง ลิ้มชูปฏิภาณ์ พิมพ์ครั้งท่ี ๓ ปีพิมพ์ ๒๕๕๖ ไม่ระบุส านักพิมพ์

ป.๔-๘ วรรณกรรมเรื่อง “ความลับของจักรวาลทางแห่งนิพพาน” ผู้เขียน ทันตแพทย์สม สุจีรา พิมพ์ครั้งท่ี ๑ ปีพิมพ์ ๒๕๕๔ ส านักพิมพ์ บริษัทโพสต์ พับลิชช่ิง จ ากัด :กรุงเทพมหานคร

ป.๔-๑๒ วรรณกรรมเรื่อง “ธรรมชาติของสรรพสิ่ง : การเข้าถึงความจริงทั้งหมด” ผู้เขียน ประเวศ วะสี พิมพ์ครั้งท่ี ๑ ปีพิมพ ์๒๕๕๓ ส านักพิมพ์กรีนปัญญาญาณ :กรุงเทพมหานคร

ป.๔-๑๓ วรรณกรรมเรื่อง “สมการความว่าง” ผู้เขียน วัชระ งามจิตรเจริญ พิมพ์ครั้งที่ ๑ ปีพิมพ์ ๒๕๕๔ ส านักพิมพ์กรีนปัญญาญาณ :กรุงเทพมหานคร

ป.๔-๑๔ วรรณกรรมเรื่อง “พุทธปรัชญา : มองพุทธศาสนาด้วยทรรศนะทางวิทยาศาสตร์” ผู้เขียน สมัคร บุราวาศ พิมพ์ครั้งท่ี ๔ ปีพิมพ ์๒๕๕๒ ส านักพิมพ์บริษัทเคล็ดไทย จ ากัด :กรุงเทพมหานคร

ป.๔-๑๕ วรรณกรรมเรื่อง “ปัญญา” ผู้เขียน สมัคร บุราวาศ พิมพ์ครั้งที่ ๓ ปีพิมพ์ ๒๕๕๒ ส านักพิมพ์ศยาม :กรุงเทพมหานคร

จากตารางที่ ๔ จากการรวบรวมและประมวลสาระวรรณกรรมเรื่องมหาสติปัฏฐาน ๔ จ าแนกตาม ช่ือเรื่องวรรณกรรม ผู้เขียน พิมพ์ครั้งที่ ปีพิมพ์ ส านักพิมพ์ จ านวน ๒๕ เล่ม คิดเป็นร้อยละ ๒๕ ผลการศึกษาพบว่า เป็นลักษณะวรรณกรรมแนวประเภทบูรณาการศาสตร์สมัยใหม่ หมายความถึง หนังสือที่ผู้เขียนได้น าหลักการเรื่องมหาสติปัฏฐาน ไปบูรณาการเขียนกับศาสตร์สมัยใหม่โดยเฉพาะด้านวิทยาศาสตร์เป็นแกนกลางอธิบายความ หรือการน าหลักการสติปัฏฐาน ๔ ไปประยุกต์ใช้อธิบายความโดยใช้หลักความคิดที่เป็นวิทยาศาสตร์ ๔. สรุปและเสนอแนะ ผลการศึกษาวิจัย พบว่า จากการส ารวจวรรณกรรมปัจจุบัน จ านวน ๑๐๐ เล่ม จ าแนกลักษณะงานเรื่องมหาสติปัฏฐาน ๔ แบ่งได้เป็น ๔ ประเภทวรรณกรรม ดังต่อไปนี้ ๑) แนววิชาการ จ านวน ๑๕ เล่ม ร้อยละ ๑๕ ๒) แนวค าสอนครูบาอาจารย์ จ านวน ๔๕ เล่ม ร้อยละ ๔๕ ๓) แนวนักเขียนคิดค้น จ านวน ๒๕ เล่ม ร้อยละ ๒๕ ๔) แนวบูรณาการศาสตร์สมัยใหม่ จ านวน ๑๕ เล่ม ร้อยละ ๑๕ อธิบายตามลักษณะประเภท ๑) วรรณกรรมแนววิชาการ หมายถึง หมายความถึง หนังสือเกี่ยวกับเรื่องมหาสติปัฏฐาน ที่ผู้ เขียนน าเสนอเป็นวิชาการ อ้างพระไตรปิฎก อ้างอิงค าบาลีเพื่ออธิบายความ เนื้อหาสาระเป็นการอธิบายรูปแบบวรรณกรรม แนวทางวิชาการ ประเภท ๒) วรรณกรรมแนวค าสอนครูบาอาจารย์ หมายความถึง ค าสอนครูบาอาจารย์อธิบายเรื่องมหาสติปัฏฐาน ๔ ตามภาคทฤษฎีและปฏิบัตขิองสายครบูาอาจารย์ ประเภท ๓) วรรณกรรมแนวนักเขียน หมายความถึง งานเขียนที่ผู้เขียนได้ค้นคิดเรื่องสติปัฏฐาน ๔ ตามแนวทางความรู้ความเข้าใจเรื่องมหาสติปัฏฐาน ประเภท ๔)วรรณกรรมแนวบูรณาการศาสตร์สมัยใหม่ หมายความถึง หนังสือที่ผู้เขียนได้น าหลักการเรื่องมหาสติปัฏฐาน ไปบูรณาการเขียนกับศาสตร์สมัยใหม่ หรือการน าหลักการสติปัฏฐาน ๔ ไปประยุกต์ใช้

Page 13: การส ารวจวรรณกรรมปัจจุบัน ...research.pcru.ac.th/pcrunc2017/datacd/pcrunc2017/files/B... · 2017-03-14 · คือ อานาปานสติ

การประชุมวิชาการระดับชาติ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์ ครั้งท่ี 4 วันท่ี 10 มีนาคม 2560 ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์

560

จากการศึกษาบทความเรื่องนี้เป็นการส ารวจวรรณกรรมปัจจุบันเรื่องมหาสติปัฏฐาน ๔ แสดงให้เห็นถึงความอธิบายเรื่องมหาสติปัฏฐาน ๔ หลายมุมมองหลายรูปแบบวิธีการเข้าถึงเพื่อท าความรู้ความเข้าใจเรื่องมหาสติปัฏฐาน ๔ กระบวนการได้มาซึ่งความรู้ความเข้าใจทางพระพุทธศาสนา น าสู่การอธิบายความเชิงงานวิชาการงานวิจัยเป็นความยากเป็นอย่างยิ่งต้องใช้เวลาท าความเข้าใจอย่างต่อเนื่องและยาวนาน ไม่เพียงแค่ภาคทฤษฎีเท่านั้นยังต้องเช่ือมโยงต่อภาคปฏิบัติด้วยจึงส่งผลดี ที่จะเข้าใจเรื่องมหาสติปัฏฐาน ๔ งานวิจัยเรื่องนี้จึงเป็นเพียงการสืบจากหนังสือวรรณกรรมที่มีอยู่ในปัจจุบันไปยังเรื่องมหาสติปัฏฐาน ๔ ๕. กิตติกรรมประกาศ ขอบคุณคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) โดยเฉพาะอย่างยิ่งกราบขอบพระคุณผู้ทรงคุณวุฒิที่พิจารณาอ่านข้อเสนอโครงการวิจัยและเห็นคุณค่างานวิจัยที่ให้ทุนสนับสนุนงานวิจัย ปี ๒๕๕๙ โครงการวิจัยเรื่อง “การสังเคราะห์วรรณกรรมเรื่องมหาสติปัฏฐาน ๔” และกราบขอบพระคุณอย่างสูง ที่ปรึกษาโครงการวิจัยพระอาจารย์ พระครูสังฆรักษ์บุญเสริม กิตติวณโณ,ดร มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตแพร่ ๖. เอกสารอ้างอิง [๑] พระไตรปิฏกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค [๙.มหาสติปัฏฐานสูตร] ที.ม. เล่มที่ ๑๐ข้อ ๓๗๒ ถึง ข้อ ๔๐๕ หน้า ๓๐๑–๓๔๐ [๒] พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม. พิมพ์ครั้งท่ี ๑๘. (นนทบุรี : เพิ่มทรัพย์การพิมพ์, นนทบุรี). ๒๕๕๓, หน้า ๑๔๑. [๓] สรัญญา โชติรัตน์ . การสังเคราะห์วิทยานิพนธ์เรื่องมหาสติปัฏฐาน ๔ ของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ ราชวิทยาลัยระหว่างปีพุทธศักราช ๒๕๔๐–๒๕๕๕. วิทยานิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต (สาขาพระพุทธศาสนา) มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.