156
บบบบบ 3 บบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบ บบบบบบบบบบบบบ บบบบ 1 บบบบบบบบบบบบ เเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเ เเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเ/เเเเเเเเ เเเเเเเเเเเเเเ เเเเเ เเเเเเเ เเเเเเเเเเเ เเเเเเเเเเเเเเเ เเเ เเเเเเเเเเเเ เเเเเเเเเเเเเเเเเ เเเเเเเเเเเเเเ เเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเ/เเเเเเเเ เเเ เเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเ เเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเ เเเเเเเเเเเเเเเเ เเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเ เเเเเเเเเเเเเเเเเเ เเเเเเเเ บบบ 1.1 บบบบบบบบบบบบบ / บบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบบ เเเเเเเเเเเเเเ เเเเเเเเเ บบ เเเเเเเเเเเเเเเเเเเ เเเเเเเเเเเเเเเ 1. บบบบบบบบบบบบบบบบบบบบ บบบบบบบบบบบบ (Key Factors) บบ บบ บบ เ.1 เเเเเเเเเเเเเเเเเ เเเเเเเเเเ เเเเเเเ เเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเเ เเเเเเเเเเเเเเเเเเเเ/เเเเเเเเ บบบบบบบบบบ (Vision) เเเเเเเเเเเเเเเเเ เเเเเเเเเเเเเ แแแแแแแแแแแแแแแแแแแแแแแแแแแแแแแแแแแแแแแแแแแแแแแแแ 34

¸šทที่ 3 (งปม.... · Web viewบทท 3 แบบประเม นการดำเน นการและผลล พธ ของการดำเน นการ

  • Upload
    others

  • View
    1

  • Download
    0

Embed Size (px)

Citation preview

บทที่ 3

แบบประเมินการดำเนินการและผลลัพธ์ของการดำเนินการ

หมวด 1 การนำองค์กร

เป็นการประเมินบทบาทสำคัญของผู้นำระดับสูงในเรื่องการชี้นำภาควิชา/หน่วยงาน การกำหนดวิสัยทัศน์ ค่านิยม ความคาดหวัง ผลการดำเนินงาน การกำหนดทิศทาง การสื่อสารบุคลากร การสร้างคุณค่า การพัฒนาระบบธรรมาภิบาลของภาควิชา/หน่วยงาน การสร้างบรรยากาศที่ส่งเสริมให้เกิดพฤติกรรมที่มีจริยธรรมและผลการดำเนินการที่ดี มีวิธีปฏิบัติที่แสดงถึงความเป็นพลเมืองที่ดี และมีความรับผิดชอบต่อชุมชน

ข้อ 1.1 การนำภาควิชา/หน่วยงานโดยผู้นำระดับสูง

ในการตอบคำถาม ถ้าตอบว่า มี กรุณาระบุว่าคืออะไร และได้มาอย่างไร

1. วิสัยทัศน์และค่านิยม

ปัจจัยสำคัญ (Key Factors)

มี

ไม่มี

ก.1 มีการกำหนดปรัชญา วิสัยทัศน์ พันธกิจ และค่านิยมที่สอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์ของภาควิชา/หน่วยงาน

(

วิสัยทัศน์ (Vision)

ภาควิชาศัลยศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นสถาบันที่ผลิตบัณฑิตและแพทย์เฉพาะทางที่มีคุณภาพ ผลิตผลงานวิจัย และการให้บริการทางวิชาการที่มีคุณค่า ชี้นำสังคม เป็นแหล่งอ้างอิงระดับชาติ และเป็นอันดับ 1 ในประเทศ

พันธกิจ (Mission)

ภาควิชาศัลยศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ต้องผลิตบัณฑิตและแพทย์เฉพาะทางที่มีคุณภาพ ต้องพัฒนาระบบด้านการศึกษา วิจัย บริการวิชาการ การบริหารจัดการ และเทคโนโลยีสารสนเทศอย่างต่อเนื่อง ให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผล

ค่านิยม

ค่านิยมของภาควิชาศัลยศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สอดคล้องกับค่านิยมของคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย MEDISCU

M: Moralityจริยธรรม

E:Excellenceความเป็นเลิศ

D:Dignityความภาคภูมิใจ

I:Innovationนวัตกรมและการเรียนรู้

S:Social Responsibiltyความรับผิดชอบต่อสังคม

C:Continuous Improvementพัฒนาอย่างต่อเนื่อง

U: Unityสามัคคี

ก.2 มีการกำหนดการถ่ายทอดปรัชญา วิสัยทัศน์ พันธกิจและค่านิยมไปสู่บุคลากรและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอื่นที่สำคัญ

(

จากการสัมมนาภาควิชาศัลยศาสตร์ ภาควิชาฯ มีการกำหนดให้มีการถ่ายทอดวิสัยทัศน์, พันธกิจ และค่านิยมไปสู่บุคลากร โดยมีประกาศที่บอร์ดภาควิชาฯ และการประชุมภาควิชาฯ เป็นต้น

แผนภูมิด้านล่างแสดงตัวอย่างการถ่ายทอดเพื่อนำไปปฏิบัติ

หัวข้อ

เนื้อหา

ถ่ายทอด

วิสัยทัศน์

มุ่งเน้นความเป็นเลิศทางวิชาการ

นโยบาย

(แผน)

แผนหน่วยงาน

(พันธกิจ)

กลยุทธ์ด้านการเรียนการสอน

วิจัย

บริการวิชาการ

พัฒนาบุคลากร

นโยบาย

(แผน)

ค่านิยม

(M)oratity (จริยธรรม)

- ภาควิชาศัลยศาสตร์มีการถ่ายทอด เรื่องจริยธรรมในทุกระดับ โดย ทางวาจา และการปฏิบัติตนให้เห็น (role play) เช่น ในขณะสอนข้างเตียงทั้งแพทย์ประจำบ้านและนิสิตแพทย์ โดยอาจารย์แพทย์ภาควิชาศัลยศาสตร์มีการจัด ethic conference เป็นประจำเดือนละ 1 ครั้ง และยังมีการจัด topic เรื่องทางจริยธรรมสำหรับแพทย์ประจำบ้าน เป็นต้น

- วาจา

- role play

- วัฒนธรรมภาค

(E) Excellence (ความเป็นเลิศ)

- ค่านิยมนี้ถือเป็นภาระกิจหลักของภาควิชาที่มุ่งเน้นความเป็นเลิศทางวิชาการเป็นหลักในขณะนี้จากนโยบาย 1 หน่วยงาน/1 ความเป็นเลิศ ที่นำมาใช้ในทั้ง 10 หน่วยงานของภาควิชาศัลยศาสตร์ นโยบายนี้ถ่ายทอดจากมติที่ประชุมภาคฯ ทางวาจา และมีการติดตามตัวชี้วัดเป็นประจำทุกปี (QA round)

นโยบาย

(แผน)

(D)ignity (ความภูมิใจ)

- ค่านิยมนี้มีอยู่ในภาคศัลยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ทุกคนดังจะเห็นได้จากภาควิชาศัลยศาสตร์มีการจัด Hall of frame ซึ่งเป็นความภูมิใจของภาควิชาฯ ที่มีการทำประโยชน์และชื่อเสียงต่อประเทศชาติมาโดยตลอด บุคลากรในภาควิชาได้เห็นตัวอย่างที่ดี และมีความรู้สึกภูมิใจ และอยากเป็นส่วนหนึ่งของความสำเร็จใน

อนาคตต่อไป

- วัฒนธรรมภาค

- Hall of frame

(I)nnovation

(นวตกรรมและการเรียนรู้)

- หน่วยงานแต่ละหน่วยงานมีการประเมินตนเองในลักษณะ Plan – Do – Check – Act เพื่อพัฒนานวตกรรมและการเรียนรู้โดยมีคณะกรรมการบริหารภาควิชาศัลยศาสตร์ ตรวจประเมิน QA round ในแต่ละหน่วยเป็นประจำทุกปี และมีการจัดลำดับการแข่งขันใน 10 หน่วยงาน (ถ่ายทอดโดยความรู้สึกต้องแข่งขัน) เช่น หน่วย Colorectal มีการเขียน program สำหรับเก็บข้อมูลการส่องกล้อง Colonoscopy เองเพื่องานวิจัยเป็นต้น

- วัฒนธรรมภาค

(S)ocial Responsibility

(ความรับผิดชอบต่อสังคม)

- ภาควิชาศัลยศาสตร์มีการจัดกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อสังคมเป็นประจำอย่างต่อเนื่องทุกปี (แสดงในภาคผนวก) ซึ่งถูกถ่ายทอดรุ่นต่อรุ่นจนเป็นวัฒนธรรมของภาควิชาฯ

- วัฒนธรรม

(C)ontinous Improvement

(พัฒนาอย่างต่อเนื่อง)

- ภาควิชาศัลยศาสตร์มีการกระตุ้นให้มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง โดยใช้นโยบายการตรวจประเมิน QA round และการสัมมนาภาคฯ เป็นเครื่องมือ ซึ่งคาดว่าในไม่ช้าจะพัฒนาเป็นค่านิยมและวัฒนธรรมขององค์กรต่อไป

นโยบาย

(แผน)

(U)nity (สามัคคี)

- น่าจะเรียกได้ว่าเป็นวัฒนธรรมของบุคลากรในภาควิชาศัลยศาสตร์ก็ว่าได้ที่มีลักษณะนิสัยที่รักพวกพ้องชอบสังสรรค์จึงทำให้ภาควิชาศัลยศาสตร์มีความสนิทสนมและสามัคคี ไม่เพียงแต่ในภาควิชาฯ เรายังมีการจัดกิจกรรม เช่น แข่งกีฬาร่วมกับสถาบันอื่น และสถาบันสมทบขึ้นเป็นวัฒนธรรมระหว่างสถาบัน

- วัฒนธรรม

ก.3 หัวหน้าภาควิชา/คณะกรรมการบริหารภาควิชามีวิธีการสื่อสารปรัชญา วิสัยทัศน์ พันธกิจ ค่านิยม และทิศทางการดำเนินการไปยังผู้ปฏิบัติงานในลักษณะสองทิศทางทั่วทั้งภาควิชา

(

ภาควิชาศัลยศาสตร์มีการกำหนดให้ติดประกาศวิสัยทัศน์ พันธกิจ และค่านิยมของภาควิชาฯ ที่บอร์ดประกาศ เพื่อแจ้งให้บุคลากรในภาควิชาฯ ทราบถึงทิศทางของภาควิชาฯ และเปลี่ยนประกาศเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงของวิสัยทัศน์ พันธกิจ และค่านิยม เกิดขึ้น

ภาควิชาศัลยศาสตร์มีการสื่อสารในลักษณะสองทิศทางในที่ประชุมภาควิชา, ประชุมกรรมการและกรรมการบริหารภาควิชาฯ และ สัมมนาภาควิชาฯ ซึ่งหัวหน้าภาควิชาฯ เปิดรับความคิดเห็นของบุคลากรในภาควิชาฯ ยกตัวอย่างเช่น ในที่ประชุมสัมมนาภาคฯ ถึงทิศทางการดำเนินงานของภาควิชาฯ ในอนาคต ได้มีการอภิปรายกันอย่างกว้างขวาง ข้อสรุปที่สำคัญอย่างหนึ่งของทิศทางในการดำเนินงานของภาควิชาฯ เพื่อให้สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ คือ ภาควิชาศัลยศาสตร์มีนโยบายที่สนับสนุนการจัดแบ่งกลุ่มบุคลากร โดยกำหนดให้ควรมีความเชี่ยวชาญเฉพาะหรือจำกัดอยู่ในวงแคบ แต่มีความเชี่ยวชาญในเชิงลึกสูง ซึ่งกลยุทธ์นี้ทางภาควิชาฯ คาดหวังว่าจะทำให้ทักษะในแต่ละกลุ่มหรือแต่ละหน่วยสูงขึ้น ผลสัมฤทธิ์ที่จะตามมา ได้แก่ งานวิจัยและงานบริการที่มีคุณภาพของกลุ่มหรือหน่วยนั้นๆ, การได้รับการยอมรับในสาขาที่เชี่ยวชาญนั้นๆ ในวงกว้าง และสุดท้ายคือ ลำดับของการแข่งขันที่สูงขึ้น เป็นต้น ซึ่งนโยบาย คือ 1 หน่วยงาน / 1 ความเป็นเลิศโดยนำมาใช้ทั้ง 10 หน่วยงานในภาควิชา โดยแต่ละหน่วยงานก็ได้นำเสนอแนวทางในการพัฒนาความเป็นเลิศของแต่ละหน่วยเหมือนเป็นสัญญาซึ่งทางคณะกรรมการภาคฯ จะมีการตรวจประเมินใน QA round เป็นประจำทุกปี

เพื่อติดตามความก้าวหน้าของหน่วยงานต่างๆ ตามตัวชี้วัดที่ให้คำสัญญาไว้กับภาควิชาฯ นอกจากนั้น คณะกรรมการภาคฯ จะร่วมวิเคราะห์ และ feed back จุดแข็ง, จุดอ่อน, สิ่งที่ควรพัฒนาในโอกาสต่อไปซึ่งเป็นหนึ่งในกระบวนการ : PLAN-DO-CHECK-ACT ที่ภาควิชามีนโยบายที่ต้องการพัฒนาตามปรัชญา, วิสัยทัศน์, พันธกิจ ของมหาวิทยาลัย และเป็นค่านิยมของภาควิชาฯด้วย

ก.4 หัวหน้าภาควิชา/คณะกรรมการบริหารภาควิชามีการประพฤติตนเป็นแบบอย่างทางด้านคุณธรรมจริยธรรมอย่างต่อเนื่อง

(

หัวหน้าภาควิชาศัลยศาสตร์มีการประพฤติตนเป็นแบบอย่าง (role model) ในด้านคุณธรรมและจริยธรรม เป็นที่ประจักษ์ต่อบุคลากรในภาควิชาฯ ทั้งนี้ ดังได้กล่าวแล้ว ความมีคุณธรรมและจริยธรรมเป็นค่านิยมของภาควิชาศัลยศาสตร์ที่ถือปฏิบัติต่อๆ กันมาจากอาจารย์ผู้ใหญ่ของภาควิชาฯ นอกจากนั้น หัวหน้าภาควิชาฯ ได้มาจากการเลือกตั้ง โดยต้องได้คะแนนเสียงจากบุคลากรในภาควิชาฯ เป็นจำนวนสูงสุด คุณสมบัติข้อหนึ่งของหัวหน้าภาควิชาฯ คือ ต้องมีคุณธรรม จริยธรรม ดังนั้น การจะได้คะแนนเสียงส่วนใหญ่ บุคคลนั้นต้องมีคุณธรรม จริยธรรมเป็นที่ประจักษ์ต่อบุคลากรส่วนใหญ่ของภาควิชาฯ

ก.5 หัวหน้าภาควิชา/คณะกรรมการบริหารภาควิชามีส่วนร่วมในการวางแผนสืบทอดตำแหน่ง และการพัฒนาหัวหน้าภาควิชาในอนาคต

(

คณะกรรมภาควิชาศัลยศาสตร์มีการกำหนดคุณสมบัติของหัวหน้าภาควิชาฯ คือ ต้องเป็นอาจารย์ภาควิชาศัลยศาสตร์ที่มีวัยวุฒิและคุณวุฒิเหมาะสม มีคุณธรรมและจริยธรรม มีความซื่อสัตย์และรับผิดชอบ เป็นนักพัฒนาที่ต้องการนำภาควิชาฯ ไปสู่ความสำเร็จตามวิสัยทัศน์

หัวหน้าภาควิชาศัลยศาสตร์จะมาจากการเลือกตั้ง ซึ่งมีวาระคราวละ 4 ปี ไม่สามารถเป็นได้ 2 วาระติดต่อกัน การเฟ้นหาหัวหน้าภาควิชาฯ จะมีการเลือก 2 รอบ รอบแรก จะเฟ้นหาอาจารย์ที่มีคะแนนเสียงสูงสุด 3 คน หลังจากนั้นจะมีการจัดให้มีการรับฟังและสอบถามถึงนโยบายในการนำองค์กร หลังจากนั้นจะมีการเลือกตั้ง ผู้ที่ได้รับคะแนนสูงสุดจะดำรงตำแหน่ง หัวหน้าภาควิชาศัลยศาสตร์

ก.6 หัวหน้าภาควิชา/คณะกรรมการบริหารภาควิชามีการสร้างบรรยากาศเพื่อให้เกิดการปรับปรุงผลการดำเนินการ และวัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์

(

การสร้างบรรยากาศของภาควิชาฯ ที่ส่งผลต่อการปรับปรุงผลการดำเนินการได้แก่ 1) การเพิ่มแรงจูงใจให้กับบุคลากรที่มีผลงาน เช่น เพิ่มเงิน add up ให้แก่บุคลากรที่ผลงานวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารที่มี Impact factor อีก 1 เท่าของจำนวนที่คณะ หรือ มหาวิทยาลัยให้ฯ การให้โบนัสแก่บุคลากรสายสนับสนุนตามผลงานในแต่ละปี 2) การสร้างบรรยากาศของการแข่งขันของแต่ละหน่วยงานภายใน ภาควิชาฯ ได้แก่ การจัดอันดับของหน่วยงานที่มีคุณภาพจากการทำ QA round ของคณะกรรมการภาควิชาฯ ในแต่ละปี เป็นต้น นอกจากนั้น นับเป็นวัฒนธรรมของภาควิชาศัลยศาสตร์ก็ว่าได้ ในช่วงเช้าก่อนเริ่มงานระหว่างเวลา 07.30 น.-08.30 น. ของทุกวัน อาจารย์และบุคลากรในภาควิชาฯ จะมาชุมนุมกันที่โต๊ะกลางของภาควิชาฯ โดยมีหัวหน้าภาควิชาฯ และคณะกรรมการภาคร่วมอยู่ด้วย เพื่อเริ่มดื่มกาแฟตอนเช้า ที่ชุมนุมมักจะมีการพูดถึงปัญหาของการดำเนินงานและผลการปฏิบัติงานในด้านต่างๆ อย่างกว้างขวาง บ่อยครั้งจะได้ข้อเสนอแนะ ข้อคิดเห็นดีๆ และปัญหาสำคัญๆ เป็นประเด็นไปนำเสนอในที่ประชุมภาคฯ เพื่อร่วมกันแสดงความคิดเห็น และบ่อยครั้งถ้าปัญหาเร่งด่วนก็จะมีการนัดประชุมฉุกเฉินของกรรมการและกรรมการบริหารประจำภาควิชาฯ จากที่ชุมนุมตอนเช้านี้ ทั้งนี้ อาจเป็นเพราะบรรยากาศที่เป็นกันเอง ทำให้อาจารย์และบุคลากรที่ยังเป็นคนรุ่นใหม่กล้าที่จะแสดงความคิดเห็นต่างกับในที่ประชุมภาคฯ ซึ่งบรรยากาศจะดูจริงจังมากกว่า

นอกจากนั้น การประชุมภาควิชาฯ เมื่อก่อนมีการกำหนดเฉพาะวันอังคารหรือวันพฤหัสบดีตอนบ่าย ระหว่างเวลา 13.00 น.-16.00 น. ซึ่งบ่อยครั้งอาจารย์ติดภาระกิจไม่สามารถเข้าร่วมได้ จึงได้มีการปรับปรุงแก้ไขเปลี่ยนมาเป็นประชุมช่วงเช้าระหว่างเวลา 08.00 น.-09.30 น. โดยหมุนเวียนวันที่จัดประชุม (จันทร์-ศุกร์) ไม่กำหนดเฉพาะต้องเป็นวันใด ผลจากการเปลี่ยนแปลงทำให้มีอาจารย์เข้าร่วมประชุมเฉลี่ยร้อยละ 85 ของอาจารย์ที่มาปฏิบัติงานตามปกติ ทุกครั้ง ซึ่งสูงกว่าการประชุมตอนบ่ายอย่างมีนัยสำคัญ นอกจากนั้นยังมีการเลี้ยงอาหารเช้า ทำให้บรรยากาศการประชุมเป็นไปด้วยดี

การประชุมภาควิชาฯ ซึ่งจะประชุม 2 เดือน/ครั้ง สลับกับการประชุมกรรมการและกรรมการบริหารประจำภาคฯ 2 เดือน/ครั้ง เช่นกัน ในที่ประชุม หัวหน้าภาควิชาศัลยศาสตร์ จึงทำหน้าที่เป็นประธาน การประชุมจะให้หัวหน้าแต่ละฝ่ายหรือผู้ร่วมรับผิดชอบนำเสนอการดำเนินงานและปัญหาที่พบ เพื่อร่วมกันเสนอแนวทางแก้ไข

ในตอนบ่ายๆ เกือบทุกวัน เมื่อหัวหน้าภาควิชาฯ เสร็จภาระกิจ จะเข้ามาเคลียร์หนังสือต่างๆ ที่โต๊ะเจ้าหน้าที่ธุรการ และมีการพูดคุยกันอย่างเป็นกันเองกับเจ้าหน้าที่ทุกระดับ ทำให้สามารถรับทราบปัญหาของระดับเจ้าหน้าที่บุคลากรสายสนับสนุนได้เป็นอย่างดี

ก.7 หัวหน้าภาควิชา/คณะกรรมการบริหารภาควิชามีการสร้างบรรยากาศเพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั้งในระดับภาควิชา และระดับบุคลากร

(

หัวหน้าภาควิชาศัลยศาสตร์ / คณะกรรมการบริหารภาควิชาศัลยศาสตร์ เล็งเห็นถึงความสำคัญของการแลกเปลี่ยนการเรียนรู้ เพื่อปรับระดับความรู้ของบุคลากรในภาควิชาฯ ให้มีระดับใกล้เคียงกัน เพื่อประโยชน์ในการพัฒนางานในภาควิชาฯ ต่อไป

โดยในระดับภาควิชาฯ มีนโยบายสนับสนุนให้มีการจัด Conference ระหว่างภาควิชาโดยอำนวยความสะดวกให้ใช้สถานที่และอุปกรณ์ของภาคฯได้โดยภาคได้จัดเตรียมสถานที่และอุปกรณ์อันทันสมัย เช่น ระบบ pacs เพื่อดูฟีลม์, จอ LCD ขนาดใหญ่ และ Projector เป็นต้น

ปัจจุบันมี Conference ระหว่างภาควิชาที่มาจัดที่ภาควิชาศัลย์ฯ เช่น GI tumor, รังสีแพทย์, อายุรแพทย์ และแพทย์ประจำบ้านจำนวนมากมาร่วม เป็นต้น

ระดับบุคลากร : หัวหน้าภาควิชาศัลยศาสตร์ / คณะกรมการบริหารภาควิชาศัลยศาสตร์สนับสนุนให้บุคลากรสายสนับสนุนศึกษาเพิ่มเติมในด้านที่จะเป็นประโยชน์ต่อภาควิชาฯ เช่น โปรแกรม computer, ความรู้ด้านการบริหารงาน เป็นต้น โดยอนุญาติให้ไปฝึกอบรม และสนับสนุนเงินทุน เป็นต้น

นอกจากภาควิชาศัลยศาสตร์ ได้จัดกิจกรรม knowledge Sharing เรื่องการใช้ program “Google Calendar” ให้กับบุคลากรสายสนับสนุนทุกหน่วยงานในภาควิชาฯในลักษณะ workshop ที่ห้องคอมพิวเตอร์ชั้น 8 ตึก อปร.โดยมีอาจารย์ภาควิชาศัลยศาสตร์ เองเป็นวิทยากร ซึ่งปัจจุบันโปรแกรมนี้ใช้ได้เป็นอย่างดี และมีประโยชน์ต่อบุคลากรทุกคนในภาคฯมาก

ก.8 หัวหน้าภาควิชา/คณะกรรมการบริหารภาควิชามีการจัดระบบการกระจายอำนาจในการตัดสินใจและแก้ไขปัญหา เพื่อความคล่องตัวในการทำงาน

(

หัวหน้าภาควิชาศัลยศาสตร์ และ คณะกรรมการบริหารภาควิชาศัลยศาสตร์ ได้จัดระบบการบริหารงานในภาควิชาฯ ดังแผนภูมิที่ 3

ซึ่งหัวหน้าภาควิชาศัลยศาสตร์ ได้กระจายอำนาจหน้าที่ให้การตัดสินใจและแก้ปัญหาได้ในกรณีเร่งด่วน หรือเสนอความคิดเห็นในที่ประชุมภาควิชาฯ เพื่อขอมติเห็นชอบในการดำเนินการในกรณีไม่เร่งด่วนต่อไป

แผนภูมิที่ 3 การบริหารงาน (Administrative Chart)

ปัจจัยสำคัญ (Key Factors)

มี

ไม่มี

ก.9 หัวหน้าภาควิชา/คณะกรรมการบริหารภาควิชามีการติดตาม กำกับดูแล และทบทวนผลการดำเนินการอย่างสม่ำเสมอ

(

หัวหน้าภาควิชาศัลยศาสตร์ / คณะกรรมการบริหารภาควิชาศัลยศาสตร์ จัดให้มีการทำ QA round ปีละ 1 ครั้ง โดยคณะกรรมการด้านการประกันคุณภาพการศึกษาของภาค และหัวหน้าภาควิชาศัลยศาสตร์ ทำการตรวจเยี่ยมหน่วยงานทั้ง 10 หน่วยงาน เพื่อติดตาม และทบทวนผลการดำเนินการตามตัวชี้วัดที่ให้สัญญาไว้ หลังจากนั้นคณะกรรมจะร่วม feed back จุดแข็ง จุดด้อย และแนวทางแก้ไขต่อไป

นอกจากนั้น ภาควิชาศัลยศาสตร์มีการติดตาม กำกับดูแลผลการดำเนินการอย่างสม่ำเสมอ โดยหัวหน้าภาควิชาฯ มอบหมายให้ รองหัวหน้าภาควิชาฯ ฝ่ายต่างๆ รายงานผลการดำเนินงานในที่ประชุมภาควิชาฯ ที่จัดให้มีทุกๆ 2 เดือน ถ้าผลการดำเนินงานในฝ่ายใดๆ เริ่มจะไม่เป็นไปตามเป้า ภาควิชาฯ จะมอบหมายให้ผู้รับผิดชอบไปทบทวนหาสาเหตุและวิธีการแก้ไข และรายงานให้ที่ประชุมทราบครั้งต่อไป ในกรณีเร่งด่วนอาจจะมีการตั้งคณะทำงานเพื่อมาแก้ไข และรายงานความคืบหน้าต่อที่ประชุมภาควิชาฯ และหัวหน้าภาควิชาฯ ต่อไป

ภาควิชาศัลยศาสตร์จัดให้มีการประชุมทบทวนผลการดำเนินงานใหญ่ปีละ 1 ครั้ง ในการสัมมนาภาควิชาฯ ประจำปี โดยใช้หลัก Plan, Do, Check, Act และปรับปรุงแก้ไขในกรณีที่มีผลการดำเนินงานไม่เป็นไปตามเป้าประสงค์

ก.10 หัวหน้าภาควิชา/คณะกรรมการบริหารภาควิชามีการนำข้อมูลและสารสนเทศเกี่ยวกับผลการดำเนินการมาใช้ในการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงเพื่อให้ผลลัพธ์ดีขึ้นอย่างต่อเนื่องและก้าวกระโดด

(

ในการสัมมนาประจำปีของภาควิชาศัลยศาสตร์ แต่ละฝ่ายจะนำข้อมูลตัวชี้วัดที่สำคัญของการดำเนินการในฝ่ายต่างๆ มาแสดงต่อที่ประชุม เพื่อมาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นอันจะนำไปสู่การปรับปรุง เปลี่ยนแปลงการดำเนินงานให้มีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น

ยกตัวอย่างเช่น ฝ่ายวิจัยเสนอตัวชี้วัดที่สำคัญคือ จำนวน publications ของภาควิชาศัลยศาสตร์มีแนวโน้มลดลงเมื่อเทียบกับปีอื่น ในขณะที่ภาควิชาใหญ่ๆ ของคณะฯ มีจำนวน publications เพิ่มมากขึ้น ที่ประชุมมีมติเสนอให้นำเอางานวิจัยของแพทย์ประจำบ้านที่ทำร่วมกับอาจารย์ ซึ่งส่วนใหญ่มักจะยังไม่ได้ตีพิมพ์ มาขัดเกลาแล้วส่งตีพิมพ์ นอกจากนั้น ภาควิชาฯ ยังมีมติเสนอเพิ่มเงิน add up ให้อีก 1 เท่าจากที่ทางมหาวิทยาลัยมอบให้ในกรณีที่มีการตีพิมพ์ เป็นแรงจูงใจอีกทางหนึ่ง เป็นต้น

อีกตัวอย่างเช่น ในรอบ 2-3 ปีที่ผ่านมา มีตัวชี้วัดที่บ่งบอกว่าคุณภาพของแพทย์ประจำบ้านศัลยกรรมที่มาสมัครลดต่ำลง เช่น มีจำนวนที่มาสมัครลดลง, แพทย์ประจำบ้านที่มาสมัครมีผลการเรียน (GPAX) ต่ำลง เมื่อนำมาพิจารณาแล้วพบว่า สถาบันอื่นมีกำหนดการสอบสัมภาษณ์ก่อนหน้าภาควิชาศัลยศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นระยะเวลานาน ภาควิชาฯ จึงได้ปรับเปลี่ยนกำหนดการเปิดรับสมัครและสอบสัมภาษณ์ให้เร็วยิ่งขึ้น ซึ่งในปีนี้ก็มีแพทย์ที่มาสมัครจำนวนเพิ่มขึ้นและมีผลการเรียนอยู่ในเกณฑ์ดีจำนวนมากขึ้น

ก.11 หัวหน้าภาควิชา/คณะกรรมการบริหารภาควิชามีการนำข้อมูลตัวชี้วัดมาจัดทำแผนยุทธศาสตร์ของภาควิชา

(

ในการสัมมนาภาควิชาประจำปีของภาควิชาศัลยศาสตร์ แต่ละฝ่ายจะนำเสนอผลการดำเนินการในรอบปีที่ผ่านมา และนำตัวชี้วัดต่างๆ มานำเสนอ เพื่อปรับปรุงผลการดำเนินงานในปีต่อๆ ไปให้ดีขึ้น ซึ่งก็จะมีการปรับเปลี่ยนแผนยุทธศาสตร์ของภาควิชาฯ

ยกตัวอย่างเช่น จากการรายงานตัวชี้วัดด้านผลงานวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารระดับนานาชาติของปีที่ผ่านมา พบว่า จำนวน publication ลดน้อยลงจึงได้วิเคราะห์ถึงสาเหตุพบว่า ในช่วงปีที่มี publication มากมักมาจากการที่มีบุคลากรไปทำวิจัยอยู่ที่ต่างประเทศพอกลับมาทำงานในภาควิชาฯก็ไม่ค่อยได้ทำต่อ ภาควิชาฯได้ประชุมและได้บรรจุแนวทางในการแก้ไขเอาไว้ในแผนของภาควิชาฯ ได้แก่

1.) เพิ่มเงิน add up ให้กับบุคลากรที่ได้รับการตีพิมพ์อีก 1 เท่า จากที่ทางคณะหรือมหาวิทยาลัยให้

2.) ให้นำเอางานวิจัยที่ทำร่วมกับแพทย์ประจำบ้านมาแก้ไข แล้วส่งตีพิมพ์ (แพทย์ประจำบ้านศัลยกรรมต้องทำงานวิจัยหนึ่งฉบับเต็มกับทางราชวิทยาลัยก่อนจะสอบวุฒิบัตร)

3.) กระตุ้นให้แต่ละหน่วยรับแพทย์ประจำบ้านต่อยอด โดยภาควิชาสนับสนุนในการจัดหาตำแหน่งให้ เพื่อช่วยงานด้านวิจัยในแต่ละหน่วยซึ่งปีนี้มีแพทย์ประจำบ้านต่อยอด ถึง 4 หน่วย ได้แก่ หน่วย Colorectal, หน่วย Minimally Invasive Surgery, หน่วย Craniofacial Surgery และ หน่วย Cardiothoracic Surgery

นอกจากนั้น กรณีนิสิตแพทย์ปี 6 จากการสำรวจตัวชี้วัดของทักษะในด้านการทำหัตถการ คือ จำนวนการทำผ่าตัด appendectomy ต่อนิสิตแพทย์ปี 6 ในขณะที่ปฏิบัติงานในภาควิชาศัลยศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พบว่า ค่าเฉลี่ยเท่ากับ < 0-1 ราย/นิสิตแพทย์ ภาควิชาฯ จึงได้ปรับเปลี่ยนแผนยุทธศาสตร์โดยให้นิสิตแพทย์ปี 6 ออกไปปฏิบัติงานที่โรงพยาบาลสมทบคุณภาพสูง เป็นระยะเวลา 2 สัปดาห์ (ที่ภาควิชาฯ ได้ออกไปสำรวจและติดต่อทำสัญญาการเรียนการสอนร่วมกัน โดยปีที่ผ่านมาได้ทำสัญญาเพิ่มอีก 2 โรงพยาบาล ได้แก่ โรงพยาบาลสมเด็จพระปิ่นเกล้า และ โรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์) จากการสุ่มสำรวจเบื้องต้นพบว่า อัตราการผ่าตัด appendectomy เพิ่มขึ้นฉลี่ยเป็น 1-3 ราย/คน เป็นต้น

ข การสื่อสารและผลการดำเนินการของภาควิชา/หน่วยงาน

ปัจจัยสำคัญ (Key Factors)

มี

ไม่มี

ข.1 หัวหน้าภาควิชา/คณะกรรมการบริหารภาควิชามีการดำเนินการสื่อสารและสร้างความผูกพันกับบุคลากรทุกคนทั่วทั้งภาควิชา/หน่วยงาน

(

หัวหน้าภาควิชาศัลยศาสตร์ และ คณะกรรมการบริหารภาควิชาศัลยศาสตร์ มีการดำเนินการสื่อสารกับบุคลากรในภาควิชาฯ หลายช่องทาง ทั้งแบบเป็นทางการและไม่เป็นทางการ แบบเป็นทางการ เช่น ประกาศต่างๆ ของภาควิชาฯ จะนำมาติดไว้ที่บอร์ดประกาศ, การสื่อสาร โดยเฉพาะคำสั่งผ่านหนังสือต่างๆ ให้ผู้รับคำสั่งเซ็นรับทราบเพื่อนำไปปฏิบัติ, การสื่อสารแบบสองทาง ในที่ประชุมภาควิชาฯ และ ที่ประชุมกรรมการและกรรมการบริหารภาควิชาฯ นอกจากนั้น ก็ยังมีตู้รับความคิดเห็นของบุคลากรซึ่งจะเปิดทุกสัปดาห์โดยเลขานุการภาควิชาฯ สำหรับอีกช่องทางหนึ่งคือการสื่อสารแบบไม่เป็นทางการ ซึ่งช่องทางนี้เป็นช่องทางที่สร้างบรรยากาศในการสื่อสารและสร้างความผูกพันกับบุคลากรในหน่วยงานได้ดี โดยในช่วงเช้าเวลาประมาณ 07.30 น.-08.30 น. จะมีการชุมนุมของบุคลากรในภาควิชาฯ ที่โต๊ะกลางของภาควิชาฯ จะมีการพูดคุยถึงปัญหาการดำเนินงานในทุกๆ เรื่อง ซึ่งหัวหน้าภาควิชาฯ, กรรมการบริหารภาควิชาฯ มักจะได้ข้อมูลสำคัญๆ จากการชุมนุมตอนเช้านี้

ส่วนบุคลากรสายสนับสนุน หัวหน้าภาควิชาฯ, กรรมการบริหารภาควิชาฯ เมื่อสิ้นสุดภาระกิจในช่วงเช้า เวลาบ่ายของวันที่ไม่มีภาระกิจก็จะเข้ามานั่งโต๊ะธุรการเพื่อเซ็นหนังสือและจะมีการสนทนากับเจ้าหน้าที่ธุรการถึงปัญหาทั่วๆ ไป ซึ่งสามารถสร้างความผูกพันกับบุคลากรสายสนับสนุนดีช่องทางหนึ่ง

ข.2 หัวหน้าภาควิชา/คณะกรรมการบริหารภาควิชามีการกระตุ้นให้เกิดการสื่อสารที่ตรงไปตรงมาและเป็นไปในลักษณะสองทิศทางทั่วทั้งภาควิชา/หน่วยงาน

(

หัวหน้าภาควิชาศัลยศาสตร์ และ คณะกรรมการและกรรมการบริหารคณะฯ ตระหนักถึงความสำคัญของการสื่อสารภายในภาควิชาฯ เนื่องจากภาควิชาศัลยศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นภาควิชาที่มีขนาดใหญ่ มีหน่วยงานมากถึง 10 หน่วย และอยู่กระจัดกระจายในโรงพยาบาล ดังนั้น บางครั้งการกระจายข่าวสาร, ประกาศ หรือมติที่ได้จากที่ประชุมคณะฯ อาจจะเป็นไปอย่างไม่ทั่วถึง เพราะบ่อยครั้งี่มีบุคลากรร้องเรียนว่าไม่ทราบเรื่องนั้นเรื่องนี้ ในปีนี้ภาควิชาฯ โดยคณะกรรมการสารสนเทศของภาควิชาฯ (ซึ่งเพิ่งมีการจัดตั้งในปีนี้) จึงได้เพิ่มวิธีการกระจายข่าวสารผ่านทางจดหมายอิเลคทรอนิคส์ไปสู่บุคลากรทุกคนในภาควิชาฯ โดยภาควิชาฯ ได้ทำการสำรวจถึงความต้องการของบุคลากรที่จะให้ภาควิชาฯ ส่งข่าวสารทางช่องทางนี้ โดยพบว่าบุคลากรทุกคนมีบัญชีจดหมายอิเลคทรอนิคส์ และมากกว่าร้อยละ 90 มีการเปิดจดหมายทุกวัน มีเพียงส่วนน้อยที่ประสงค์ให้แจ้งข่าวสารทางระบบเอกสารปกติ ภาควิชาฯ ยังได้กำหนดระบบ feed back หลังจากบุคลากรได้รับข่าวสารทางจดหมายอิเลคทรอนิคส์นี้แล้ว ให้ตอบกลับด้วยการส่งอีเมล์เปล่ากลับมา เพื่อภาควิชาฯ จะได้รับทราบว่าบุคลากรรับทราบข่าวสารนั้นๆ นับเป็นการสื่อสารแบบสองทิศทาง นอกจากนั้น ในกรณีเร่งด่วนหรือแจ้งเตือนการประชุม ภาควิชาฯ ได้กำหนดให้มีการสื่อสารผ่านทาง SMS ไปยังเครื่องโทรศัพท์เคลื่อนที่ของอาจารย์เป้าหมายที่ภาควิชาฯ ได้ทำการสำรวจแล้วเช่นกันว่า บุคลากรทุกท่านมีโทรศัพท์เคลื่อนที่และยินดีให้ส่ง SMS แจ้งเตือน

ภาควิชาศัลยศาสตร์ตระหนักดีว่า การสื่อสารในภาควิชาฯ ที่ตรงไปตรงมาและเป็นไปในลักษณะสองทิศทางที่ดีที่สุดคือ การประชุมภาควิชาฯ เนื่องจากบุคลากรทุกคนมีหน้าที่ที่จะต้องเข้าร่วมประชุม จากการปฏิบัติที่สืบทอดต่อๆ กันมาจะมีการประชุมทุก 2 เดือน ระหว่างเวลา 13.00 น.-16.00 น. ของวันอังคารและวันพฤหัสบดี แต่พบว่าบางหน่วยบางสายติด activity สำคัญ จึงมาได้บ้างไม่ได้บ้าง ทำให้ไม่เป็นไปตามเป้าประสงค์ของการประชุม ในปีที่ผ่านมาภาควิชาฯ จึงมีมติให้จัดการประชุมทุก 2 เดือนเช่นเดิม แต่เปลี่ยนแปลงเวลาเป็นช่วงเช้า ระหว่างเวลา 08.00 น.-09.30 น. โดยหมุนเวียนวันที่จัดประชุม ไม่กำหนดตายตัวว่าต้องเป็นวันใด และให้แจ้งให้บุคลากรทราบก่อนล่วงหน้าเป็นเดือน ผลพบว่ามีบุคลากรเข้าร่วมประชุมมากกว่าร้อยละ 90 การเปลี่ยนแปลงนี้ถือเป็นการกระตุ้นให้เกิดการสื่อสารในลักษณะสองทิศทางทั่วทั้งภาควิชาฯ อันหนึ่ง

ข.3 หัวหน้าภาควิชา/คณะกรรมการบริหารภาควิชามีการสื่อสารการตัดสินใจที่สำคัญ

(

การตัดสินใจที่สำคัญทุกครั้ง ภาควิชาศัลยศาสตร์จะต้องมีการสื่อสารซึ่งกันและกัน ในการพิจารณาไตร่ตรองเพื่อตัดสินใจในเรื่องที่สำคัญๆ ดังได้กล่าวมา เช่น ปีนี้มีปัญหาเรื่องการรับแพทย์ประจำบ้าน คณะกรรมการภาคฯได้ประชุมร่วมกันอยู่หลายครั้งเพื่อพิจารณาถึงผลดีผลเสียที่อาจเกิดขึ้นกับทั้งภาควิชาฯ และแพทย์ผู้สมัครรายหนึ่ง อย่างรอบคอบ ก่อนที่จะมีมติตัดสินออกมา

ข.4 หัวหน้าภาควิชา/คณะกรรมการบริหารภาควิชามีบทบาทเชิงรุกในการให้รางวัลและยกย่องชมเชยบุคลากรเพื่อเสริมสร้างให้มีผลการดำเนินการที่ดี

(

ภาควิชาศัลยศาสตร์มีบทบาทเชิงรุกในการให้รางวัลและยกย่องชมเชยบุคลากรที่มีผลงานที่ดี เช่น ในระดับอาจารย์ ภาควิชาฯ มีมติสนับสนุนเงิน add up เพิ่มให้อีก 1 เท่าของจำนวนที่ทางคณะฯ/มหาวิทยาลัย มอบให้ในกรณีที่มีผลงานได้ตีพิมพ์ในวารสารระดับนานาชาติ

ในส่วนของบุคลากรสายสนับสนุน ภาควิชาศัลยศาสตร์ มีนโยบายที่จะมอบเงินรางวัลให้แก่บุคลากรสายสนับสนุนที่ทำงานดีเด่นในรอบปีนั้นๆ เป็นประจำทุกปีในช่วงงานปีใหม่ของภาควิชาฯ โดยมีการประเมินจากบุคลากรในภาควิชาฯ

ภาควิชาศัลยศาสตร์จะมีประกาศยกย่องชมเชยบุคลากรที่ทำผลงานให้แก่ภาควิชาฯ เช่น ได้รับรางวัลจากการประกวดผลงานทางวิชาการต่างๆ หรือไปไปนำเสนอผลงานทางวิชาการในระดับนานาชาติ ในที่ประชุมภาควิชาฯ และบันทึกไว้ในเอกสารการประชุม

ข.5 หัวหน้าภาควิชา/คณะกรรมการบริหารภาควิชามีการดำเนินการในการมุ่งเน้นให้เกิดการลงมือทำ เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ในการปรับปรุงผลการดำเนินการ และบรรลุวิสัยทัศน์ของภาควิชา/หน่วยงาน

(

หัวหน้าภาควิชาศัลยศาสตร์ / คณะกรรมการบริหารภาควิชาศัลยศาสตร์ มีความมุ่งมั่นและเอาจริงเอาจังกับการพัฒนาคุณภาพการศึกษา โดยในปีนี้ได้จัดให้มีการทำ QA round โดย หัวหน้าภาควิชาศัลยศาสตร์ และคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของภาควิชาศัลยศาสตร์ ออกตรวจเยี่ยมหน่วยในภาควิชาศัลยศาสตร์ ทั้ง 10 หน่วย เพื่อตรวจประเมินและติดตามผลการดำเนินการในแต่ละหน่วย โดยมุ่งเน้นให้เกิดการพัฒนาซึ่งกิจกรรมดังกล่าวก่อให้เกิดการกระตุ้น ให้แต่ละหน่วยเกิดการลงมือทำ ในสิ่งที่ให้สัญญากับภาควิชาฯ การดำเนินการในการมุ่งเน้นให้เกิดการลงมือทำของภาควิชาฯ คือ การจัดตั้งผู้รับผิดชอบหรือคณะทำงานขึ้นมาดูแลเพื่อให้มีการจัดทำแผนปฏิบัติการ คณะกรรมการชุดนั้นๆ จะมีการกำหนดกรอบและผลผลิตที่ต้องการอย่างชัดเจน

ยกตัวอย่างเช่น ในปีที่ผ่านมามติจากการสัมมนาภาควิชาฯ อันหนึ่งคือ การจัดทำคลังข้อสอบปรนัยของนิสิตแพทย์ปี 4 เนื่องจากเป็นข้อสอบซ้ำๆ กันมาหลายปี ไม่สามารถแยกแยะนิสิตที่เก่งออกจากนิสิตไม่เก่งได้ ภาควิชาฯ จึงมอบหมายให้คณะกรรมการการศึกษาก่อนปริญญาไปดำเนินการ และได้ข้อสรุปให้มีการจัดการสัมมนาในรูปแบบการปฏิบัติการ (workshop) การออกข้อสอบโดยกำหนดวัน เวลา สถานที่และจำนวนข้อสอบที่ต้องการต่ออาจารย์ (20ข้อ/อาจารย์) โดยได้จัดไปเรียบร้อยแล้ว ได้ข้อสอบมารวม 1,000 ข้อ และทำการจัดสอบสำหรับนิสิตแพทย์ปี 4 ไปแล้ว 3 รุ่น ผลลัพธ์เป็นที่น่าพอใจอย่างยิ่ง บรรลุตามเป้าประสงค์

อีกตัวอย่างที่ทำสำเร็จแล้วก็คือ เรื่องการสื่อสารในภาควิชาฯ ซึ่งภาควิชาฯ ได้รับข้อร้องเรียนเรื่องการไม่รับทราบข้อมูลข่าวสารที่ภาควิชาฯ ประกาศ ทั้งนี้เนื่องจากเป็นภาควิชาใหญ่และมีหน่วยถึง 10 หน่วยที่อยู่กระจัดกระจายทั้งโรงพยาบาล ภาควิชาฯ จึงตั้งคณะกรรมการสารสนเทศของภาควิชาฯ ขึ้นมาใหม่และที่ประชุมมีมติให้มีการสื่อสารผ่านทางจดหมายอิเลคทรอนิคส์และ SMS ดังกล่าวข้างต้น

ข.6 หัวหน้าภาควิชา/คณะกรรมการบริหารภาควิชามีการทบทวนตัวชี้วัดผลการดำเนินการเป็นประจำ เพื่อสื่อให้ผู้ปฏิบัติงานทราบถึงสิ่งที่ต้องทำในการตั้งความคาดหวังต่อผลการดำเนินการ

(

คณะกรรมการบริหารภาควิชาศัลยศาสตร์ในฝ่ายต่างๆ จะมีการทบทวนตัวชี้วัดผลการดำเนินงานเป็นประจำและจะแจ้งให้ที่ประชุมรับทราบถึงผลการดำเนินงาน โดยเน้นในตัวชี้วัดที่มีแนวโน้มต่ำกว่าเป้าหมายที่ตั้ง เช่น ฝ่ายวิจัยแจ้งจำนวน publications ของภาควิชาฯ ให้ทราบปีละ 2 ครั้ง หรือ ฝ่ายการศึกษาระดับปริญญาจะแจ้งเตือนในที่ประชุมภาควิชาฯ ว่าจำนวนสื่อการสอนอิเลคทรอนิคส์ (CAI) ยังต่ำกว่าเป้าหมายอยู่ หรือ ฝ่ายการศึกษาหลังปริญญาแจ้งให้ที่ประชุมทราบว่าจำนวนนิสิตเข้าร่วมประชุมวิชาการ เช่น Grand round มีจำนวนน้อยกว่าปกติ นอกจากนั้น หัวหน้าภาควิชาศัลยศาสตร์ /คณะกรรมการบริหารภาควิชาศัลยศาสตร์ มีการทบทวนตัวชี้วัดขณะทำ QA round ดังกล่าว

ข.7 หัวหน้าภาควิชา/คณะกรรมการบริหารภาควิชามีการคำนึงถึงการดำเนินการในเรื่องการสร้างคุณค่าและทำให้เกิดความสมดุลของคุณค่าระหว่างลูกค้าและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

(

ภาควิชาศัลยศาสตร์สร้างคุณค่าให้แก่ลูกค้า เช่น แพทย์ประจำบ้านปีที่สูงขึ้นมีความรับผิดชอบสูงขึ้น มีโอกาสได้ทำหัตถการที่ยากขึ้นมากขึ้น เป็นต้น เช่นเดียวกับนิสิตแพทย์ที่มีการกำหนดกรอบหน้าที่ความรับผิดชอบให้มากขึ้นในชั้นปีที่สูงขึ้น

ข้อ 1.2 ธรรมาภิบาลและความรับผิดชอบต่อสังคม

1. ธรรมาภิบาลของภาควิชา/หน่วยงาน

ปัจจัยสำคัญ (Key Factors)

มี

ไม่มี

ก.1 ภาควิชามีคณะกรรมการ/คณะที่ปรึกษาด้านธรรมาภิบาลที่มีความสำนึกรับผิดชอบ มีความรู้ความเข้าใจและรับผิดชอบผลที่เกิดขึ้น และสามารถปกป้องผลประโยชน์ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (เช่น สภามหาวิทยาลัย สภาอาจารย์ ฯลฯ)

(

ภาควิชาศัลยศาสตร์มีคณะกรรมการฝ่ายต่างๆ ประกอบด้วย

· คณะกรรมการบริหารภาควิชาฯ

· คณะกรรมการฝ่ายการศึกษาระดับปริญญา

· คณะกรรมการฝ่ายการศึกษาหลังปริญญา

· คณะกรรมการฝ่ายวิจัย

· คณะกรรมการสารสนเทศ

· คณะกรรมการฝ่ายพัฒนาคุณภาพ

· คณะกรรมการฝ่ายวางแผนและพัฒนา

· คณะกรรมการฝ่ายบริการ

ประกอบไปด้วยผู้ทรงคุณวุฒิในด้านต่างๆ และที่สำคัญมีสำนึกรับผิดชอบสูง เนื่องจากเป็นค่านิยมของภาควิชาฯ ที่มีการปฏิบัติต่อๆ กันมาดังกล่าว ซึ่งคณะกรรมการเหล่านี้จะช่วยกันกลั่นกรองเปรียบเทียบผลดีผลเสียที่จะเกิดขึ้น และปกป้องผลประโยชน์ของทุกๆ ฝ่าย ทั้งภาควิชาฯ, ลูกค้า และผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

ยกตัวอย่างเช่น มีนิสิตแพทย์ประจำบ้านชั้นปีสุดท้าย (ปีที่ 4) มีปัญหาเรื่อง มี performance ไม่เหมาะสมต่อการเป็นศัลยแพทย์, มีการตัดสินใจในการรักษาผู้ป่วยที่ไม่ดี แต่เป็นผู้ที่มีความรับผิดชอบ ขยันทำงานอยู่ในเกณฑ์ที่ดี

กรณีนี้เป็นกรณีที่ตัดสินใจยาก คณะกรรมการบริหารภาควิชาศัลยศาสตร์ได้เรียกนิสิตแพทย์มาพูดคุยหลายครั้ง ซึ่งนิสิตแพทย์ก็ยืนยันว่าชอบที่จะเป็นศัลยแพทย์ และไม่ได้มีปัญหาใดๆ

สุดท้ายคณะกรรมการได้ประชุมร่วมกันอยู่หลายครั้ง อย่างรอบคอบพิจารณาถึงผลดีผลเสีย ที่จะเกิดขึ้นกับนิสิต, ต้นสังกัด, ผู้ป่วย และภาควิชาศัลยศาสตร์ (ทั้งลูกค้า และผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย) จึงได้ตัดสินใจที่จะให้นิสิตแพทย์ซ้ำชั้นอีก 1 ปี เพื่อให้โอกาสในการปรับปรุงตัว ซึ่งลูกค้า (นิสิต) และต้นสังกัด (ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย) ก็พอใจกับผลการตัดสิน เป็นต้น

ก.2 ภาควิชามีระบบการทบทวนและตรวจสอบด้านความรับผิดชอบของหัวหน้าภาควิชาในการดำเนินการด้านการเงิน ความโปร่งใสในการดำเนินการ

(

คณะกรรมการบริหารของภาควิชาศัลยศาสตร์ จะมีการประชุมและตรวจสอบรายรับรายจ่ายในภาควิชาฯ เป็นประจำทุกๆ 6 เดือน

ระเบียบการใช้เงินของภาควิชาฯ กำหนดให้การเบิกจ่ายใดๆ ต้องผ่านการพิจารณาจากที่ประชุมกรรมการและกรรมการบริหารภาควิชาฯ ทุกครั้ง

ก.3 ภาควิชามีการกำหนดตัวชี้วัดหรือดัชนีชี้วัดเพื่อใช้ในการติดตามการทบทวนผลการดำเนินการด้านการพัฒนาภาควิชา (ขยายความว่าใช้ตัวชี้วัดหรือดัชนีชี้วัดอะไรบ้าง)

(

ภาควิชาศัลยศาสตร์ได้มีการจัดทำแผนพัฒนาภาควิชาฯ ซึ่งขณะนี้ใช้แผนประจำรอบระหว่างปีงบประมาณ พ.ศ.2551-2553 (แผนพัฒนาคุณภาพรวม 3 ปี) ซึ่งแบ่งเป็น 5 ด้าน ได้แก่

1. แผนประกันคุณภาพด้านการเรียนการสอน

2. แผนประกันคุณภาพด้านงานวิจัย

3. แผนด้านบริการทางวิชาการ

4. แผนด้านส่งเสริมและทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม

5. แผนพัฒนาบุคลากรและการบริหาร

ภาควิชากำหนดตัวชี้วัด เพื่อใช้ในการติดตามทบทวนผลการดำเนินการพัฒนาภาควิชาทั้งสิ้น 37 ตัวชี้วัด ดังกล่าวในตาราง (ตัวหนาในตาราง)

ตัวชี้วัดเพื่อใช้ในการติดตามผลการดำเนินงานเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาของภาควิชาศัลยศาสตร์

แผนประกันคุณภาพด้านการเรียนการสอน ประจำรอบระหว่างปีงบประมาณ พ.ศ. 2551-2553

ภารกิจหลัก

ที่จะทำการพัฒนา :

การเรียนการสอน

ผลลัพธ์ที่คาดหวัง

(ต้องการพัฒนาให้เกิดสิ่งใดขึ้น)

ตัวชี้วัดความสำเร็จ

(ทราบได้อย่างไรว่าก้าวหน้าแค่ไหน)

เป้าหมาย

1. มีหลักสูตร

1.1 ป.บัณฑิต ทางวิทยาศาสตร์การแพทย์คลินิก สาขาวิชาศัลยศาสตร์

1.2 ป.บัณฑิต ชั้นสูง ทางวิทยาศาสตร์การแพทย์คลินิก สาขาวิชา

· ศัลยศาสตร์ทั่วไป

· ประสาทศัลยศาสตร์

· ศัลยศาสตร์ทรวงอก

· กุมารศัลยศาสตร์

· ศัลยศาสตร์ตกแต่งและเสริมสร้าง

· ศัลยศาสตร์ยูโรวิทยา

มีประมวลรายวิชาและแผนการสอนครบทุกสาขา

100%

2. แผนปรับปรุงคุณภาพการเรียนการสอนและการประเมินผล

ระดับปริญญาบัณฑิต

2.1 Problem Based Learning

มีการจัดการเรียนการสอนแบบ Problem Based Learning

1 ครั้ง/1 รุ่น

2.2 ฝึกปฏิบัติ

จำนวนครั้ง/ปี ที่เรียนปฏิบัติใน Soft Cadaver

1

2.3 การบรรยาย

จำนวน CAI

10

2.4 ประเมิน

· จำนวนข้อสอบในคลัง

500 ข้อ

· จำนวนร้อยละของข้อสอบซักประวัติและตรวจร่างกาย

10%

2.5 เพิ่มจำนวนโรงพยาบาลพันธมิตร ร่วมสอนทางทักษะศัลยศาสตร์แก่นิสิต

จำนวนโรงพยาบาล Affliate ที่เพิ่มขึ้น/ปี

1/ปี

2.6 มุ่งเน้นความรับผิดชอบของนิสิต

· จัด Board รับผู้ป่วยสำหรับนิสิตปี 4

มี

· จัดให้มีการทำ Pre-test ก่อนการสอนบรรยาย

80%

ของการบรรยาย

2.7 มีขบวนการประเมินผลการจัดการเรียนการสอนของภาควิชาฯ

ร้อยละของแบบประเมินของนิสิต

มากกว่า

80%

ระดับบัณฑิตศึกษา

2.8 มีกระบวนการคัดเลือกบัณฑิตที่มีคุณภาพ

กำหนดเกณฑ์ในการคัดเลือกบัณฑิต

มี

2.9 มีการจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการสหสาขาวิชา

จำนวนกิจกรรมวิชาการแบบบูรณาการต่อสัปดาห์

1 ครั้ง/สัปดาห์

2.10 มีการประเมินคุณภาพบัณฑิต

· การลงโทษนิสิต

มี

· แบบประเมินคุณภาพบัณฑิต

มี

· การสอบ Intraining (หลังปริญญา)

มี

3. แผนการพัฒนาคุณภาพบุคลากรด้านการเรียนการสอน

3.1 แผนพัฒนาคุณภาพอาจารย์ผู้สอน

ผ่านการอบรมจากสถาบันชั้นนำของโลก

100%

3.2 กระตุ้นให้อาจารย์มีตำแหน่งทางวิชาการ ตามระยะเวลาที่เหมาะสม

ร้อยละตำแหน่งทางวิชาการ (รศ./ผศ.) ของอาจารย์ที่บรรจุเกิน 5 ปี

95%

ของอาจารย์ในภาควิชาฯ

3.3 อบรมแพทยศาสตรศึกษา

ผ่านการอบรมแพทยศาสตรศึกษา

100%

3.4 สนับสนุนอบรมหลักสูตรผู้บริหาร และ ระบาดวิทยา

ผ่านการอบรมหลักสูตรผู้บริหาร

และ ระบาดวิทยา

1 คน/1 ปี

3.5 มีแผนการจัดอัตรากำลังของแต่ละหน่วยในภาควิชาฯ

มีแผนอัตรากำลังของแต่ละหน่วยในภาควิชาฯ

มี

4. โครงการจัดทำตำราวิชาการทางศัลยศาสตร์

ตำราทางศัลยศาสตร์มาตรฐาน

1 เล่ม/5 ปี

แผนประกันคุณภาพด้านงานวิจัย ประจำรอบระหว่างปีงบประมาณ พ.ศ. 2551-2553

ภารกิจหลัก

ที่จะทำการพัฒนา :

การวิจัย

ผลลัพธ์ที่คาดหวัง

(ต้องการพัฒนาให้เกิดสิ่งใดขึ้น)

ตัวชี้วัดความสำเร็จ

(ทราบได้อย่างไรว่าก้าวหน้าแค่ไหน)

เป้าหมาย

1. มีผลงานวิจัยระดับนานาชาติอย่างต่อเนื่อง

จำนวนบทความวิจัยระดับนานาชาติที่พิมพ์เผยแพร่ต่อปี

0.5/คน/ปี

2. มีการนำผลงานวิจัยของภาควิชาฯ ไปอ้างอิงในระดับนานาชาติ

จำนวนครั้งของการอ้างอิงของภาควิชาฯ ในระดับนานาชาติต่อปี

5 ครั้ง/ปี

3. มีฐานข้อมูลผงานวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารระดับนานาชาติ

จำนวน Impact Factor ของผลงานวิจัยระดับนานาชาติรวมกันต่อปี

> 10

4. มีผลงานวิจัยที่ได้ไปเสนอในการประชุมวิชาการระดับนานาชาติ

รายงานผลงานวิจัยของภาควิชาฯ ประจำปี

5/ปี

5. มีการจัดทำบอร์ดแสดงผลงานวิจัยของอาจารย์ในภาควิชาฯ

จำนวนผลงานที่แสดงในบอร์ด

100%

6. จัดตั้ง Research Unit

จำนวน Research Unit

1/ปี

แผนด้านการบริการทางวิชาการ ประจำรอบระหว่างปีงบประมาณพ.ศ. 2551-2553

ภารกิจหลักที่จะทำการพัฒนา :

การบริการทางวิชาการ

ผลลัพธ์ที่คาดหวัง

(ต้องการพัฒนาให้เกิดสิ่งใดขึ้น)

ตัวชี้วัดความสำเร็จ

(ทราบได้อย่างไรว่าก้าวหน้าแค่ไหน)

เป้าหมาย

1. เพิ่มประสิทธิภาพในการบริการทางวิชาการ เพื่อลดความเสี่ยงในการบริการทางวิชาชีพ

จัดให้มีการประชุม Morbidity, Mortality Conference

2 ครั้ง/เดือน

2. ใช้เทคโนโลยีใหม่ๆ เพื่อการบริการทางวิชาการ เช่น Teleconference, Workshop, Cadaver

จำนวนร้อยละของการเรียนการสอนที่ใช้เครื่องมือที่เป็นเทคโนโลยีใหม่

4 ครั้ง/ปี

3. จัดการประชุมและการฝึกอบรมทางวิชาการแก่แพทย์

จำนวนครั้งที่จัด (ครั้ง/ปี)

· ระดับชาติ

· ระดับนานาชาติ

- 3 ครั้ง/ปี

- 1 ครั้ง/ปี

4. จัดการประชุมวิชาการสำหรับประชาชน

จำนวนครั้งที่จัด (ครั้ง/ปี)

2 ครั้ง/ปี

5. ออกหน่วยบริการสู่สังคม

จำนวนครั้งที่ออกหน่วย

4 ครั้ง/ปี

6. จำนวนแพทย์ต่างประเทศที่มาดูงาน

จำนวนครั้งที่มีแพทย์ต่างประเทศ

4 ครั้ง/ปี

แผนด้านส่งเสริมและทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม ประจำรอบระหว่างปีงบประมาณ พ.ศ. 2551-2553

ภารกิจหลัก

ที่จะทำการพัฒนา :

ส่งเสริมและทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม

ผลลัพธ์ที่คาดหวัง

(ต้องการพัฒนาให้เกิดสิ่งใดขึ้น)

ตัวชี้วัดความสำเร็จ

(ทราบได้อย่างไรว่าก้าวหน้าแค่ไหน)

เป้าหมาย

ส่งเสริมและทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม

ร้อยละของงานที่เป็นไปตามแผน

> 80%

แผนพัฒนาบุคลากรและการบริหาร ประจำรอบระหว่างปีงบประมาณ พ.ศ. 2551-2553

ภารกิจหลัก

ที่จะทำการพัฒนา :

พัฒนาบุคลากรและการบริหาร

ผลลัพธ์ที่คาดหวัง

(ต้องการพัฒนาให้เกิดสิ่งใดขึ้น)

ตัวชี้วัดความสำเร็จ

(ทราบได้อย่างไรว่าก้าวหน้าแค่ไหน)

เป้าหมาย

1. บุคลากรมีการพัฒนาทางด้านความสามารถในการปฏิบัติงานและมีความพึงพอใจ

จำนวนบุคลากรที่เข้ารับการอบรมด้านการพัฒนาคุณภาพ/ประเมิน หรือด้านการบริหารงาน

1 คน/เรื่อง/ปี

2. พัฒนาบุคลากรสาย ก เพื่อพัฒนางาน HA และ QA

· จำนวนบุคลากรที่เป็นผู้ดำเนินงาน HA และ QA

2 คน/ปี

3. เพิ่มแรงจูงใจให้กับบุคลากร

มีการให้เงินพิเศษเมื่อสิ้นปีแก่บุคลากร

มี

2. การประพฤติปฏิบัติตามกฎหมายและมีจริยธรรม

ปัจจัยสำคัญ (Key Factors)

มี

ไม่มี

ข.1 ภาควิชามีการดำเนินการในกรณีที่หลักสูตร การเรียนการสอน และการปฏิบัติการมีผลกระทบในเชิงลบต่อสังคม

(

1.) ในกรณีทิ้งสารคัดหลั่งจากร่างกาย หรือของมีคมต้องมีภาชนะพิเศษที่ใส่สิ่งเหล่านี้ โดยผู้เก็บขยะไปทิ้ง เช่น คนงานจะเข้าใจได้

2.) กรณีนิสิตแพทย์ หรือ แพทย์ประจำบ้าน ถ้าจะเข้าไปตรวจร่างกายผู้ป่วย ต้องมีบุคคลที่ 3 เสมอ และไม่ไปในยามวิกาล ในกรณีที่ไม่เร่งด่วน

3.) การจัดการบริการทางวิชาการให้แก่ ศัลยแพทย์ทั่วไปในรูปแบบ การปฏิบัติการในอาจารย์ใหญ่แบบพิเศษ (Workshop in Soft Cadaver) ก่อนที่จะได้รับอนุญาติจัด หน่วยที่รับผิ