11
1 Natanat การแยกแยะเพชรแท้ เพชรเทียม การอ่านใบเซอร์

ความรู้เรื่องเพชร ตอนที่3

Embed Size (px)

DESCRIPTION

การดูเพชรแท้-เทียม

Citation preview

Page 1: ความรู้เรื่องเพชร ตอนที่3

1Natanat

การแยกแยะเพชรแท้ เพชรเทียมการอ่านใบเซอร์

Page 2: ความรู้เรื่องเพชร ตอนที่3

2Natanat

-เพชรแท้ ถ้าเรียงตามเกรดคุณภาพตามลำดับ คือ เพชรรัสเชี่ยน เพชรเบลเยี่ยม เพชรอิสราเอล เพชรอินเดี่ยน เพชรจีน -สำหรับเพชรปลอม ที่ไม่ใช่เพชรธรรมชาติ คือ อัญมณีที่ทำเลียนแบบเพชร คือ เพชรสวิส และ เพชรรัสเซีย (Cubic Zirconia) การแยกแยะเพชรแท้ เพชรเทียม เริ่มจากเทคนิคง่ายๆกันดูก่อน-ทดสอบการมองทะลุ (Look through) ของแสงผ่านตัวหนังสือ วิธีการนี้เริ่มด้วยสมมติฐานที่ว่า เพชรมีค่าการหักเหแสง (Refrective Index) ที่สูงมาก-สัดส่วนด้านข้างของเพชรที่เรา สงสัยว่า แท้หรือเทียม เมื่อเทียบจากด้านบนสุดถึงเอวช่วงกลาง และจากเอวด้านกลางมาถึงก้นเพชร อยู่ในระหว่าง หนึ่งต่อสองถึงสาม

หากเพชรที่ต้องสงสัยมีสัดส่วนด้านล่างตามนี้ เมื่อนำมาคว่ำหน้าลง แล้วรูดผ่านตัวหนังสือ ถ้าเราสามารถมองเห็นตัวหนังสือทะลุผ่านเม็ดนั้น ทำให้สามารถอ่านตัวอักษรได้ชัดเจน

ก็ระบุได้เลยว่าเม็ดนั้นไม่ใช่เพชรแท้อย่างแน่นอน แต่ถ้ามองแล้ว ไม่เห็นตัวอักษร ก็ให้ทดสอบขั้นถัดไป

Page 3: ความรู้เรื่องเพชร ตอนที่3

3Natanat

ขั้นที่สอง - ใช้กล้องกำลังขยาย 10 เท่า

ส่องและสังเกตเพชรเม็ดนั้นดูอย่างละเอียด เริ่มพิจารณาจากตามขอบ ดูก่อนว่ามีรอยบิ่นหรือรอยแตกอยู่ไหม ถ้ามีให้สังเกตดูลักษณะว่าเป็นอย่างไร -ถ้าลักษณะที่แตกออกเป็นมันวาวโค้ง คล้ายรอยแก้วแตก ก็บอกได้เลยว่าเม็ดนี้เป็นสิ่ง เลียนแบบเพชร เพราะลักษณะรอยแตกของเพชรจะต้องเป็นชั้นคล้ายขั้นบันไดเท่านั้น

ขั้นต่อไป-สังเกตที่ขอบด้านข้าง(girdle)ของเพชรดูบ้าง

ถ้าดูแล้วขอบมันวาว เยื้อมคล้ายมีขี้ผึ้งเคลือบอยู่ เม็ดนี้ไม่ใช่เพชร

Page 4: ความรู้เรื่องเพชร ตอนที่3

4Natanat

ขอบด้านข้างของเพชรแท้มีทั้งที่ขัดแล้วกับยังไม่ได้ขัด หากเพชรไม่ได้ขัดเจียรขอบเพชรจะ ดูแล้วจะหยาบกว่าหน่อย

แต่หากได้รับการเจียรนัยเรียบร้อยดี ขอบเพชรจะคมเฉียบ

นอกจากนี้ในเพชรบางเม็ดบางครั้งอาจมีตำหนิทางธรรมชาติ ที่สามารถช่วยให้เราระบุได้ทันที ว่าเป็นเพชรธรรมชาติ เพราะมีแต่ในเพชรแท้เท่านั้น อย่างตำหนิที่มีชื่อว่า “หนวดเพชร” (bearding girdle)

- มีลักษณะเป็นเส้นๆ อยู่บริเวณรอบขอบเพชร -หรือตำหนิที่มีศัพท์ทางเทคนิคว่า “เนทเธอเรอร์” (trigons in natural)

-ตำหนิรูปสามเหลี่ยมเล็ก ในสามเหลี่ยมใหญ่ อยู่บริเวณขอบเพชร เพราะตำหนิเหล่านี้ จะมีเฉพาะในเพชรเท่านั้น

Page 5: ความรู้เรื่องเพชร ตอนที่3

5Natanat

ดูภาพขยาย -อีกจุดในการสังเกตุจากเหลี่ยมภายนอก ให้ลองสังเกต ความคมชัดของเหลี่ยมดูบ้าง ถ้าเหลี่ยมดูแล้วกลมมน ไม่คมชัด -หรือดูแล้วมีเงาเหลี่ยมซ้อน คือการทดสอบดูการหักเหคู่หรือที่เรียกว่า Doubling โดยดูจากหน้าเพชร ที่เหลี่ยม star ถ้าเห็นเหมือนมีเส้นซ้อนอีกเส้น ไม่ใช่เพชรแท้แน่อาจเป็น เพชรโมอีส ซึ่งเป็นอัญมณีที่มีสมบัติทางแสงเป็นหักเหคู่ ขณะที่เพชรแท้ จะเป็นหักเหเดี่ยว

-การสะท้อนแสง เพชรแท้มีค่าการกระจายแสงที่สูง และมักสะท้อนแสงสีเทา ปนสีรุ้งเล็กน้อย ถ้าสะท้อนแสงสีรุ้งชัดเจน สงสัยไว้ก่อนครับว่าเป็นเพชรปลอม เรายังสามารถสังเกต ความวาว (luster)

Page 6: ความรู้เรื่องเพชร ตอนที่3

6Natanat

ของเพชรได้ด้วย เพชรแท้มีความวาวแบบโลหะ (Adamantine) หากเพชรเม็ดนั้นๆ ดูด้านไม่ แวววาวเท่าที่ควรน่าจะเป็นเพชรปลอม-ดูประกายสีรุ้ง สำหรับคนที่ดูเพชรบ่อยๆ การดูประกายของเพชรจะสามารถแยกเพชรแท้กับเพชร เทียมได้ เช่น ปกติเพชรแท้เวลาส่องไฟมักจะมีประกายสีรุ้ง เล่นไฟอยู่แล้วใช่มั้ย แต่ถ้าเป็น CZ ประกายสีรุ้งจะมีมากกว่าเพชรแท้ คือจะเห็นเป็นสีรุ้งพรึ่บพรั่บกว่า

Cubic Zirconia หรือที่เรียกสั้น ๆ ว่า CZ, ปัจจุบันมีชื่อเรียกอย่างไม่เป็น ทางการในบ้านเราว่า "เพชรสวิส" -ทดสอบความถ่วงจำเพาะ เพชรแท้มีค่าความถ่วงจำเพาะที่สูง จะจมน้ำ ส่วนเพชรเลียนแบบ บางประเภทจะลอย-foggy test ลองเป่าลมหายใจใส่ ถ้าเพชรเป็นฝ้านานกว่า 2-3 วินาที เพชรเม็ดนั้นๆ ไม่ใช่เพชร แท้แน่นอน-ทดสอบด้วยแสง UV เพชรแท้ เพชรธรรมชาติส่วนใหญ่จะเรืองแสงสีฟ้า ถ้าเพชรเรืองแสงสีฟ้า มั่นใจได้ระดับนึงว่าเป็นเพชรแท้ -ใช้เครื่องตรวจเพชร

เครื่องตรวจสามารถตรวจสอบการนำความร้อนและค่าดัชนีหักเหได้ สามารถแยก เพชรแท้จากเพชร เลียนแบบได้ แต่เครื่องตรวจสอบเพชรนี้ไม่สามารถแยก เพชรแท้กับเพชรสังเคราะห์ได้

เพชรโมอีส (Moissanite) เป็นพลอยสังเคราะห์ที่มีลักษณะทางกาย ภาพและคุณภาพที่คล้ายคลึงกับเพชรมากที่สุด มีชื่อเรียกเต็มๆว่า “Synthetic Moissanite” เพชรเทียมชนิดนี้สังเคราะห์ขึ้นมาโดยมีความแข็งที่ใกล้เคียงกับเพชรแท้ ทำให้แยกกันลำบาก ถ้ามองด้วยตาเปล่า เพราะว่าเหลี่ยมจะค่อนข้างคมเหมือนเพชรแท้ วิธีสังเกตเพชรเทียมชนิดนี้ ให้สังเกตที่ “ภาพซ้อน” (doubling) ของเหลี่ยมเพชร ซึ่งการเกิดภาพซ้อนของเพชรโมอิสเกิด จากการหักเหของแสงที่แตกต่างจากเพชรแท้ ลักษณะภาพซ้อนในเพชรโมอิส สังเกตว่าเหลี่ยมจะ เห็นเป็นเส้นคู่กันทำให้สามารถแยกได้ เครื่องจี้เพชรที่อาศัยการนำความร้อนใช้แยกไม่ได้

Page 7: ความรู้เรื่องเพชร ตอนที่3

7Natanat

เพราะเพชรโมอีส ก็มีคุณสมบัตินำความ ร้อนได้เหมือนกัน -การมองภาพซ้อนนี้ต้องใช้ความชำนาญพอสมควร คนที่ ดูไม่ชำนาญก็สามารถดูผิดพลาดได้-แต่ก็มีเครื่องจี้พิเศษใช้จี้เพื่อแยกเพชรโมอีสโดยเฉพาะ ข้อสังเกตุเพชรโมอีสจะมีค่าการกระจาย แสงสูงกว่าเพชร จึงมีสีรุ้งแตกออกมามากกว่า การอ่านใบเซอร์ใบเซอร์เพชรคือใบรับรองคุณภาพเพชร หรือใบรายงานเพชร ในปัจจุบันมีใบรับรองคุณภาพเพชร (Certificate of Diamond) อยู่หลายสถาบันในหลายๆประเทศ สำหรับประเทศไทยมีเพียงสามสถาบันที่ได้รับความนิยมและเลือกใช้อยู่ ได้แก่ GIA, IGI และ HRD

● GIA เป็นสถาบันที่เก่าแก่ และเป็นผู้คิดค้น เริ่มต้นการจัดคุณภาพเพชรตามหลักเกณฑ์ 4Cs จึงได้รับความเชื่อถืออย่างสูง และเป็นที่ยอมรับโดยทั่วไป

● เพราะเซอร์ GIA ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวาง จึงมักซื้อง่ายขายคล่องกว่าเพชรที่มีใบ เซอร์สถาบันอื่นๆ

Page 8: ความรู้เรื่องเพชร ตอนที่3

8Natanat

ในส่วนแรกจะแสดงถึง รูปแบบของใบรับรอง วันที่ที่ออกใบรับรอง เลขที่ใบรับรอง รูปทรงของเพชร และขนาดของเพชร หมายเลข 1 เป็นรูปแบบของใบรับรอง โดยในรูปตัวอย่างเป็นใบรับรองแบบย่อ (ในปัจจุบันของ GIA จะมีอยู่สองรูปแบบคือ DIAMOND GRADING REPORT (ใบรับรองแบบเต็ม) และ GIA DIAMOND DOSSIER (ใบรับรองแบบย่อ) ซึ่งใบรับรองแบบเต็มโดยส่วนมากจะออกสำหรับเพชร 1 กะรัตขึ้นไป และ ใบรับรองแบบย่อจะออกสำหรับเพชรที่มีขนาดเล็กกว่า 1 กะรัต)หมายเลข 2 เป็นวันที่ที่ออกใบร้บรอง โดยในรูปเป็นวันที่ 15 สิงหาคม 2551หมายเลข 3 เป็นข้อความที่บอกว่ามีการสลักเลขใบเซอร์ที่ขอบเพชร (Girdle) โดยที่ขอบเพชรจะต้อง มีข้อความ GIA 7102025278 (Gemologist: หากไม่มีการ Laser ที่ขอบเพชร จะไม่มีข้อความในบรรทัดนี้ โดยจะข้ามไปที่หมายเลข 4หมายเลข 4) เป็นรูปทรงของเพชรและรูปแบบการเจียรนัย โดยในตัวอย่างเป็น เพชรทรงกลมเหลี่ยมเกสรหมายเลข 5 เป็นขนาดของเพชร โดยสองตัวหน้าเป็นเส้นผ่านศูนย์กลางของเพชร และตัวเลขตัวสุดท้าย (2.97) เป็นความลึกของเพชรเม็ดนั้นๆ โดยมีหน่วยเป็นมิลลิเมตร

ในส่วนที่สองจะแสดงรายละเอียด 4'c ของเพชร คือน้ำหนักเพชร สีของเพชร ความสะอาดของเพชร และคุณภาพการเจียรนัยหมายเลข 6 ระบุถึงน้ำหนักของเพชร มีหน่วยเป็นกะรัต โดยในรูปเพชรหนัก 0.41 กะรัต(1 กะรัตเท่ากับ 0.2 กรัม)หมายเลข 7 ระบุถึงสีของเพชร (หรือบางคนอาจเรียกว่า น้ำ) โดยเริ่มจาก D color (น้ำ 100) โดยในรูปเป็น F color (น้ำ 98)

Page 9: ความรู้เรื่องเพชร ตอนที่3

9Natanat

หมายเลข 8 ระบุถึงการมองเห็นสิ่งเจือปนในเพชร โดยเริ่มจาก FL/IF, VVS1-2, VS1-2 ไปจนถึง I3 โดยในรูปเป็น VS1 (very slightly included-1) หรือมีสิ่งเจือปนน้อยมากหมายเลข 9 ระบุถึงการประเมินคุณภาพการเจียรนัย โดยเริ่มจาก Excellent, Very Good, Good Fair และ Poor โดยในรูปเป็น Excellent (ดีเลิศ)

ในส่วนที่สามแสดงถึงรายละเอียดเพิ่มเติมของการประเมินคุณภาพเพชร ได้แก่ลักษณะสิ่งเจือปน การขัดแต่ง ความสมมาตร การเรืองแสง และข้อความเพิ่มเติมอื่นๆหมายเลข 10 ระบุถึงลักษณะของสิ่งเจือปนทั้งภายนอกและภายใน โดยในรูปเป็น Feather (เหมือนขนนก) หมายเลข 11 ระบุถึงการขัดแต่งขั้นสุดท้ายหลังเจียรนัยเสร็จ โดยเริ่มจาก Excellent (ดีเลิศ) Very Good (ดีมาก) Good (ดี) Fair (พอใช้) และ Poor (ไม่ดี)หมายเลข 12 ระบุถึงความสมมาตรของการเจียรไน ซึ่งความผิดปกติของการเจียรไนจะทำให้ความไม่ สมมาตร และมีผลต่อการสะท้อนของแสงได้ โดยการประเมินมีอยู่ 4 ระดับคือ Excellent (ดีเลิศ), Very Good (ดีมาก), Good (ดี), Fair (พอใช้) และ Poor (ไม่ดี) หมายเลข 13 ระบุถึงการเรืองแสงของเพชร ซึ่งการเรืองแสงนี้สามารถทดสอบโดยการนำเพชรไ ปอยู่ ภายให้หลอด Backlight (แสงเหนือม่วง) โดยเพชรที่ผ่านการประเมินจาก GIA ทั้งหมดมีเพียง 25 ถึง 30 เปอร์เซนต์ทีมีการเรืองแสง โดยการเรือง แสงของเพชรอาจทำให้เพชรดูมีสีขาวขึ้ นในกว่า เพชรที่ไม่มี่ การเรืองแสง และการเรืองแสงที่พบส่วนมาก จะเป็นสีฟ้า ส่วนที่เคยพบก็จะมีสีส้ม สีเขียว สีเหลือง สีขาว หมายเลข 14 ระบุถึงข้อความเพิ่มเติมในขอบเพชร (Girdle) โดยอาจเป็นข้อความที่มีอยู่แล้ว หรือข้อความ ที่ให้สลักเพิ่ม ในรูปเป็นข้อความ IGI M1G25504 (เป็นเพชรที่ได้รับการประเมินจากสถาบัน IGI มาก่อน) ในบางกรณีอาจมีการสลัก H&A เพื่อแสดงว่าเพชรเม็ดนั้นเป็นเพชร heart and arrow (Gemologist: การสลักด้วยเลเซอร์ข้างขอบเพชรเป็นคำสั่งพิเศษที่โรงงานหรือบริษัทที่ส่งเพชรเม็ ดนั้นๆ ไปประเมินคุณภาพ ขอให้ทางห้องปฏิบัติการสลักให้โดยมีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม แต่สำหรับตัวอย่าง เพชรเม็ด ได้รับการสลักข้อความมาก่อนแล้วทางห้องปฏิบัติการของ GIA เลยเพิ่มข้อความว่ามีหมายเลย ดังกล่าว ที่ ขอบเพชร)

Page 10: ความรู้เรื่องเพชร ตอนที่3

10Natanat

รูป A เป็นรูปที่แสดงถึงสัดส่วนของเพชรเม็ดที่ได้นำไปประเมินคุณภาพ โดยเป็นสัดส่วนของเพชรที่วัดได้จริงๆ รายละเอียดต่างๆของเพชร (รูป A) มีดังนี้ความลึกของเพชร (Total Depth) 61.9 เปอร์เซ็นต์ความกว้างของหน้าเพชร (Table size) 55.0 เปอร์เซ็นต์องศาของยอดเพชร (Crown Angle) 34.5 องศาความสูงของยอดเพชร (Crown Height) 15.5 เปอร์เซ็นต์องศาของฐานเพชร (Pavilion Angle) 43.5 องศาความลึกของฐานเพชร (Pavilion Depth) 43.5 เปอร์เซ็นต์ความยาวของเหลี่ยมรูปดาว (Star Length) 55.0 เปอร์เซ็นต์ความยาวของเหลี่ยมรูปดาว (Star Length) 55.0 เปอร์เซ็นต์ความยาวของเหลี่ยมด้านฐานเพชร (Lower Half) 75.0 เปอร์เซ็นต์ขอบเพชร เป็นขนาด บางถึงปานกลาง (THM to MED), เจียรนัย (Facted) สูง 2.9 เปอร์เซ็นต์ก้นเพชร: ไม่มี(none)ส่วนรูป B เป็นการสรุปรายละเอียดของเพชรทั้งหมด (โดยส่วนมากรายละเอียดจะถูกเก็บไว้เพื่อเป็นข้อมูลของร้าน) ปิดท้าย:ปัจจัย 3 ประการที่เกิดขึ้น จากผลของการเจียระไนเพชร คือ ความสว่างไสว เจิดจ้า (Brightness) ซึ่งเกิดจากปริมาณแสงที่ผ่านเข้าไปในเพชร แล้วเกิดการหักเหและสะท้อนกลับเข้าสู่ตา และประกายของ เพชร (Fire) ซึ่งเกิดจากการที่แสงจากดวงอาทิตย์ หรือไฟต่างๆ ผ่านเข้าไปในเพชรแล้วสะท้อนกลับ การกระจายแสงจะกระจายออกเป็นสีรุ้ง และความแวววาว (Scintillation) ซึ่งเกิดเมื่อเพชรมีการเคลื่อนไหว

Page 11: ความรู้เรื่องเพชร ตอนที่3

11Natanat

นี่คือสัดส่วนการเจียระไนในอุดมคติ (Ideal Cut) คิดค้นโดย Marcel Tolkowsky ในปี ค.ศ. 1919 การคิดค้นของ Tolkowsky นี้เป็นการปฎิวัติมาตรฐานการเจียระไนเพชร และยังคงยึดถือเป็นมาตรฐานการ เจียระไนในปัจจุบัน โดยการค้นพบของ Tolkowsky ทำให้เพชรมีประกายและไฟที่งดงาม สัดส่วนของการ เจียระไน มีผลต่อการตกกระทบ การหักเหของแสง และการสะท้อนของแสง อีกทั้งเพชรควรมีสัดส่วนที่ สมมาตร เพื่อให้เพชรมีความสวยงาม และมีประกาย ระยิบระยับ และแวววาว มีต่อ ตอนที่4กลับไปอ่านตอนท 1กลับไปอ่านตอนท 2