108
คคคคคคคคคคคคคคคคคคคคค คคค คคคคคคคคคคคคคคค

nakhonmaesotcity.go.thnakhonmaesotcity.go.th/administrator/PhpObject/modules/... · Web viewพ จารณาทบทวนอ กคร งหน ง สปน.เสนอว

  • Upload
    others

  • View
    3

  • Download
    0

Embed Size (px)

Citation preview

ความเป็นมาและพัฒนาการ

ของ

เทศบาลนครแม่สอด

1.ความเป็นมาและพัฒนาการของเทศบาลนครแม่สอด

เทศบาลนครแม่สอด เป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ประเภทเทศบาลนคร ตั้งอยู่ในเขตอำเภอแม่สอดจังหวัดตาก เป็นเทศบาลนครที่จัดตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2553

ประวัติเทศบาลนครแม่สอด แต่เดิมเมื่อก่อนปีพุทธศักราช 2480มีฐานะการปกครองท้องถิ่นโดยขึ้นอยู่กับกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน มีที่ว่าการอำเภอและมีหน่วยงานของแผนกการต่างๆ คือ แผนกมหาดไทย แผนกที่ดิน แผนกสัสดี แผนกคลังแผนกศึกษาธิการอำเภอ แผนกสรรพสามิต แผนกสรรพากร แผนกอัยการและมีหน่วยงานที่เป็นเอกเทศอีก คือ สถานีตำรวจภูธร ไปรษณีย์ ศาลจังหวัดแม่สอดตรวจคนเข้าเมืองจังหวัด ป่าไม้ สหกรณ์ ด่านท่าออก และสถานีวิทยุอุตุนิยมต่อมามีประชากรแน่นหนา มีจำนวนพลเมืองในท้องถิ่นสมัยนั้นประมาณ 12,000 คนเศษจึงได้มีพระราชกฤษฎีกายกฐานะจัดตั้งขึ้นเป็นเทศบาลตำบลเมื่อวันที่30เดือนกันยายนพุทธศักราช 2480โดยอาณาเขตในสมัยนั้น มีเนื้อที่ 480ตารางกิโลเมตรมีจำนวนหมู่บ้าน 27 หมู่บ้าน ครั้นต่อมาโดยคณะเทศมนตรีและด้วยความเห็นชอบของอำเภอและจังหวัดได้พิจารณาเห็นว่าเขตเทศบาลกว้างขวางมากเกินไปไม่สามารถที่จะปกครองดูแลทำนุบำรุงได้ทั่วถึงจึงพิจารณาขอเปลี่ยนแปลงเขตเทศบาลให้เล็กลง เพื่อเหมาะสมกับกำลังเงิน รายได้ของท้องถิ่นที่จะทำการปกครองดูแลและทำนุบำรุงท้องถิ่นได้ทั่วถึงจึงได้มีพระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนแปลงเขตเทศบาล เสียใหม่ เมื่อปีพุทธศักราช 2492 โดยได้ทำการตัดหมู่บ้านที่อยู่ห่างไกลออกไปจาก 27 หมู่บ้านซึ่งลดเขตพื้นที่การปกครองเป็น 27.2 ตารางกิโลเมตรและเมื่อวันที่ 9 เดือนพฤศจิกายน พุทธศักราช 2544 ได้มีพระราชกฤษฎีกายกฐานะเทศบาลเมืองแม่สอดและเมื่อวันที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2553ได้มีประกาศกระทรวงมหาดไทยว่า เทศบาลเมืองแม่สอด มีราษฎรตั้งแต่ 50,000 คน ทั้งมีรายได้ควรแก่การที่จะปฏิบัติหน้าที่ตามที่กำหนดไว้ใน พ.ร.บ.เทศบาลพ.ศ. 2496 และเข้าเงื่อนไขหลักเกณฑ์ตาม พ.ร.บ.เทศบาล มาตรา 11 แห่ง พ.ร.บ.เทศบาลพ.ศ. 2496 แก้ไขเพิ่มเติม ฉบับที่ 12 พ.ศ. 2496 สมควรให้เปลี่ยนแปลงฐานะเป็นเทศบาล"นครแม่สอด"ตามเจตนารมณ์ของท้องถิ่น

ในการเปลี่ยนแปลงยกฐานะจากเทศบาลตำบลแม่สอด เทศบาลเมืองแม่สอดและเทศบาลนครแม่สอดเกิดขึ้นในสมัยที่นายเทอดเกียรติ ชินสรนันท์ เป็นนายกเทศมนตรีและเทศบาลนครแม่สอดกำลังดำเนินการยกฐานะเป็นท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ “นครแม่สอด”เพื่อพัฒนาสู่การเป็นเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษแม่สอด อีกไม่กี่ปีข้างหน้า

ความเป็นมาของร่างกฎหมายและระเบียบในการจัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษแม่สอด

ความเป็นมาของร่างพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการนครแม่สอด พ.ศ. .......

และระเบียบในการจัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษแม่สอด

ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ ๑๙ ตุลาคม ๒๕๔๗ โดยมี พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น เป็นประธานการประชุมคณะรัฐมนตรีสัญจร ที่อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก ได้มีมติเห็นชอบแนวทางการจัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดน ให้ ๓ อำเภอ ฝั่งตะวันตกของจังหวัดตาก ประกอบด้วย อำเภอแม่สอด อำเภอแม่ระมาด และอำเภอพบพระ เพื่อรองรับการขยายตัวทางด้านเศรษฐกิจ การค้าชายแดนการลงทุนในภาคอุตสาหกรรม และการท่องเที่ยว เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ในปี ๒๕๕๘ และเป็นประตูสู่อันดามันตามเส้นทางระเบียงเศรษฐกิจ East West Economic Corridor และได้อนุมัติโครงการหลายโครงการตามข้อเสนอของกระทรวง 23 กรม โดยมีสำนักงานคณะกรรมการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ดังนี้ คือ

1. สิทธิพิเศษของการลงทุน

2. สนับสนุนงบประมาณ เช่น .........

3. จัดทำร่างกฎหมายว่าด้วยเขตเศรษฐกิจพิเศษ

นอกจากนั้นยังมอบหมายให้ท่านมีชัย ฤชุพันธ์ ไปจัดร่างกฎหมายร่างพระราชบัญญัติการจัดเขตเศรษฐกิจพิเศษ ต่อมามีการปรับปรุงกฎหมายและระเบียบในการจัดตั้งเขตเศรษฐกิจอำเภอแม่สอดอย่างต่อเนื่อง โดย จังหวัดตาก ได้จ้างสถาบันที่ปรึกษาเพื่อพัฒนาประสิทธิภาพในราชการ (สปร.) โดย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในการจัดตั้งเขตปกครองพิเศษ(ท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ “นครแม่สอด”) โดยนำแนวทางร่างกฎหมายพระราชบัญญัติการจัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษ(เดิม) มาเป็นแนวทางในการจัดทำร่างกฎหมายและรับฟังความคิดเห็นจากทุกภาคส่วน ภาครัฐ ภาคเอกชน ท้องถิ่น ประชาสังคม ทุกภาคส่วนเห็นด้วย ต่อมาร่างพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการนครแม่สอด พ.ศ. .......... ได้ผ่านการพิจารณาจากคณะกรรมการกฤษฎีกา เมื่อวันที่26 เมษายน 2554 และ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย(ในฐานะประธานคณะกรรมการการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น) ได้นำเรื่องเสนอคณะกรรมการการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เห็นชอบ เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2554

ต่อมา ฯพณฯ นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ได้มีการประชุม ครม.สัญจรที่จังหวัดเชียงใหม่ เมื่อวันที่ 15 มกราคม 2555 และประชุม ครม.สัญจรที่จังหวัดอุดรธานี เมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2555 ได้หยิบยกเขตเศรษฐกิจพิเศษขึ้นมาอีกและมีแนวทางให้มีการจัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษแห่งประเทศไทย โดยมอบให้คณะกรรมการกฤษฎีกากระทรวงการคลัง/กระทรวงพาณิชย์/สศช.และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยมีการนัดการประชุมเพื่อพิจารณาดำเนินการตามมติ ครม. เมื่อวันที่ 15 มกราคม 2554 และวันที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554 เกี่ยวกับการจัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษในประเทศไทย เมื่อวันที่ 25 เมษายน 2555 ณ สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา โดยมีรายละเอียดดังนี้

สรุปเฉพาะข้อสังเกตและข้อเสนอที่สำคัญ

อ. มีชัย ฤชุพันธุ์ กล่าวว่า ได้มีการศึกษาร่าง พ.ร.บ. ระเบียบบริหารราชการนครแม่สอด พ.ศ. .... และคณะกรรมการกฤษฎีกา คณะที่ ๑ ได้พิจารณาตรวจร่างและเห็นชอบร่าง พรบ.ฯแล้ว ถ้านครแม่สอดมีความพร้อมก็สามารถจัดตั้งเป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษในรูปแบบขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ได้ทันที แต่ไม่ใช่เขตเศรษฐกิจพิเศษที่ทำกันในประเทศจีน และหาก สศช. เห็นว่า จะดำเนินการเรื่องการจัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษโดยการออกระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ก็ให้ดำเนินการผลักดันให้นครแม่สอดจัดตั้งเป็น อปท. รูปแบบพิเศษ เพราะในร่างกฎหมายดังกล่าวได้เขียนให้นครแม่สอดมีอำนาจหน้าที่ที่จำเป็นเกี่ยวกับการค้าชายแดนเพิ่มมากขึ้นอยู่แล้ว เมื่อมีความพร้อมและได้รับความยินยอมจากส่วนราชการเจ้าของอำนาจ รวมทั้งได้รับความเห็นชอบจาก ครม. ก็จะมีอำนาจที่จำเป็นเพิ่มมากขึ้นและลดข้อจำกัดลง

อ.บวรศักดิ์ อุวรรณโณ ประธานกรรมการสถาบันพระปกเกล้ากล่าวว่า หากมีการร่างกฎหมายนครแม่สอดไว้แล้ว วิธีที่สามารถดำเนินการได้อีกวิธีหนึ่ง คือ หารายชื่อประชาชนซึ่งเห็นด้วยกับร่างกฎหมายดังกล่าว ๑๐,๐๐๐ คน แล้วเสนอร่างกฎหมายดังกล่าวให้สภาผู้แทนราษฎรเพื่อพิจารณาต่อไป

อ. สุรพล นิติไกรพจน์จากการประชุม ครม. ที่ จ.เชียงใหม่และจ.อุดรธานี มีมติมอบให้ สคก. ร่วมกับกระทรวงการคลัง และกระทรวงการคลังพิจารณาเกี่ยวกับการจัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษในประเทศไทยซึ่งมีมูลเหตุมาจากการพิจารณาเรื่องร่าง พ.ร.บ. นครแม่สอดฯ และไม่ใช่การพิจารณาเรื่องเขตเศรษฐกิจพิเศษทั้งหมด ควรศึกษาเรื่องการจัดตั้งนครแม่สอดเป็น อปท. รูปแบบพิเศษด้วยเพื่อให้เป็นการตอบโจทย์ของ ครม. ว่า หลักการในการจัดตั้งนครแม่สอดเป็น อปท. รูปแบบพิเศษ นั้น ไม่ขัดแย้งต่อหลักการจัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษ แต่เป็นการดำเนินการที่สอดคล้องและสนับสนุนกัน โดยควรดำเนินการจัดตั้ง อปท. รูปแบบพิเศษนครแม่สอดเพื่อเป็นการนำร่องเขตเศรษฐกิจพิเศษ สำหรับรูปแบบของเขตเศรษฐกิจพิเศษอย่างเต็มรูปแบบต้องมีการพิจารณาและหารูปแบบที่เหมาะสม ซึ่งจะพิจารณาจากการปรับปรุงและพัฒนาร่าง พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการนครแม่สอดฯ ก็ได้ ทั้งนี้การจัดตั้ง อปท.รูปแบบพิเศษนครแม่สอดจะเป็นประโยชน์ต่อนครแม่สอดและประเทศต่อไป

อ.บวรศักดิ์ฯ เสนอว่า การดำเนินการเขตเศรษฐกิจพิเศษ ควรดำเนินการดังนี้

1.ผลักดันร่าง พ.ร.บ. ระเบียบบริหารราชการนครแม่สอด พ.ศ. ... ให้นำมาทดลองใช้ในพื้นที่ เนื่องจากมีกฎหมายอยู่แล้ว

2.ให้กระทรวงการคลัง และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการตามที่ ม.ร.ว ปรีดิยาธร เทวกุล เสนอ เพื่อเป็นปัจจัยแห่งความสำเร็จในการดำเนินการเขตเศรษฐกิจพิเศษ โดยใช้ Model ของนครแม่สอด เป็นการนำร่องดังนี้

2.1ให้พื้นที่ที่เป็น อปท. รูปแบบพิเศษนครแม่สอด ได้รับสิทธิและประโยชน์ด้านภาษีอากร ตาม พ.ร.บ. ส่งเสริมการลงทุนสูงสุด

2.2ให้ มท. ดำเนินการเกี่ยวกับการอนุญาตให้แรงงานต่างชาติเข้ามาทำงานในเขตนครแม่สอดโดยไม่ต้องมีใบอนุญาต

2.3ให้มีการนำสินค้าเข้า-ส่งออก อย่างเสรี ในเขตพื้นที่นครแม่สอดกับสาธารณรัฐแห่งสหภาพพม่า โดยไม่ต้องมีการตรวจสินค้าและไม่มีการเก็บภาษี ทั้งนี้ให้มีการตรวจเฉพาะสินค้าต้องห้ามเท่านั้นเนื่องจากในปี ค.ศ. ๒๐๑๕ ประเทศไทยจะเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนASEAN Economic Community(AEC) ซึ่งประเทศต่างๆ ในอาเซียนจะเป็นเขตการค้าเสรีอาเซียน (ASEAN Free Trade Area : AFTA) และไม่มีการเก็บภาษีสินค้านำเข้า-ส่งออกอยู่แล้ว

2.4ควรมีมาตรการให้แรงงานพม่าเปิดบัญชีธนาคารในประเทศไทยอย่างเสรี

2.5ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องควรมีการปรับตัวอย่างเร่งด่วน เพื่อรองรับ AEC เนื่องจากประเทศไทยมีเวลาก่อนเข้าเป็น AEC เพียง ๓ ปีเท่านั้น

2.6เมื่อสามารถจัดตั้งนครแม่สอดแล้ว อาจมีการขยายเป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษเพื่อการลงทุนเป็น ๓-๕ อำเภอในจังหวัดตาก และควรมีการขยายผลกับ อปท. อื่นๆ ที่มีศักยภาพด้านต่างๆ ด้วย

3.ออกระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี โดยใช้ร่างระเบียบบริหารราชการนครแม่สอด พ.ศ. ... เป็นต้นแบบ และให้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการประสานงานเรื่องต่างๆ ที่นครแม่สอดไม่สามารถดำเนินการได้ ให้สามารถดำเนินการได้ และนำไปปรับใช้กับ แม่สาย และ สะเดา ซึ่งจะมีการจัดตั้ง อปท. รูปแบบพิเศษต่อไป โดยองค์ประกอบของคณะกรรมการฯ จะประกอบด้วยผู้แทนหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งผู้แทนของสภาความมั่นคงแห่งชาติ และ ปปส. ด้วยก็ได้

4.ในชั้นนี้เห็นว่า ยังไม่ควรออกกฎหมายเขตเศรษฐกิจพิเศษอย่างเต็มรูปแบบ

ที่ประชุมไม่ได้มีมติ แต่ สคก. จะทำหนังสือเสนอต่อ ครม. เพื่อพิจารณาต่อไป

และในคราวประชุมคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2555เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกาเสนอว่าร่าง พรบ.ระเบียบบริหารราชการนครแหลมฉบัง พ.ศ. ......... ตามที่สำนักปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีเสนอมีหลักการเช่นเดียวกับร่าง พรบ.ระเบียบบริหารราชการนครแม่สอด พ.ศ. ...... ซึ่งคณะรัฐมนตรีมีมติมอบหมายให้กระทรวงมหาดไทยและคณะกรรมการการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไปพิจารณาร่วมกัน ซึ่งร่าง พรบ.ทั้งสองฉบับมีหลักการให้โอนอำนาจบางประการของรัฐ เช่น การจัดเก็บภาษีหรือค่าธรรมเนียมบางประเภทให้ อปท. ดำเนินการแทน และโดยที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาได้รับมอบหมายจากคณะรัฐมนตรีให้พิจารณาเรื่องการจัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษ และได้หารือร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติและกระทรวงการคลังแล้วเห็นว่า การจัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษควรกำหนดหน่วยงานบริหารในรูปแบบ one stop service โดยไม่โอนอำนาจต่างๆของรัฐไปดำเนินการแทนจะเหมาะสมกว่า โดยกำหนดเป็นระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการรับฟังความคิดเห็นจากภาคเอกชน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมเสนอว่า การดำเนินการเกี่ยวกับคนต่างด้าวอาจมีความเกี่ยวข้องกับความมั่นคง ต้องบูรณาการในภาพรวมทั้งประเทศเห็นควรให้รัฐดำเนินการเอง ซึ่งคณะรัฐมนตรีพิจารณาแล้วลงมติ

1. มอบหมายให้คณะกรรมการกฤษฎีกา สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติและกระทรวงการคลังรับไปพิจารณาเกี่ยวกับการจัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษ ตามที่เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกาเสนอ โดยให้รับความคิดเห็นจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมไปพิจารณา แล้วเสนอผลการพิจารณาต่อไป

2. มอบหมายให้กระทรวงมหาดไทยรับร่างพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการนครแหลมฉบัง พ.ศ. ........ ไปพิจารณาหารือร่วมกับส่วนราชการที่เกี่ยวข้องให้สอดคล้องกับการจัดตั้งเจตเศรษฐกิจพิเศษ ก่อนเสนอร่าง พรบ.ระเบียบบริหารราชการแหลมฉบังและร่าง พรบ.ระเบียบบริหารราชการนครแม่สอด พ.ศ. ..... ให้คณะรัฐมนตรีพิจารณา

3. มอบหมายให้กระทรวงการคลังรับความเห็นของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเกี่ยวกับการจัดเก็บภาษี

4. หากมีร่างพระราชบัญญัติที่มีการบริหารจัดการ อปท.ในพื้นที่ที่มีลักษณะพิเศษทางด้านเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อม ซึ่งแตกต่างจาก อปท.ทั่วไป ให้ส่วนราชการผู้รับผิดชอบหารือร่วมกับส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง โดยให้สอดคล้องกับแนวทางการจัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษที่มีอยู่ระหว่างการพิจารณาของคณะกรรมการกฤษฎีกาก่อนเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาต่อไป

เมื่อวันที่ 20 มกราคม 2556 ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร พร้อมคณะได้ลงพื้นที่ตรวจราชการอำเภอแม่สอด มีนโยบาย “ให้พัฒนาปรับปรุงสิ่งที่มีอยู่คู่ขนานกับการพัฒนาสิ่งใหม่” ซึ่งจากการขยายตัวของการค้าขายชายแดนที่มีมูลค่าเกือบ 40,000 ล้านบาท และคาดว่าปี ๒๕๕๘ เมื่อเข้าสู่ประชาคมอาเซียน มูลค่าการค้าขายชายแดนแม่สอด – เมียวดี จะมีมูลค่ามากกว่า 100,000 ล้านบาท ในขณะที่สภาพสะพานมิตรภาพไทย-พม่าแห่งที่ 1 และด่านพรมแดนแม่สอด ซึ่งในปัจจุบันไม่สามารถรองรับความเจริญเติบโตและอำนวยความสะดวกให้แก่นักลงทุน นักธุรกิจทั้งไทยและต่างประเทศได้ จึงต้องมีการพัฒนาและปรับปรุง ในขณะที่การก่อสร้างสะพานมิตรภาพไทย-พม่าแห่งที่ 2 ที่มากกว่า 6 ปี ที่ยังไม่ได้สร้าง ประกอบกับมีปัญหาเรื่องการใช้ประโยชน์ในที่ดิน5,603 ไร่ 56 ตารางวา ที่ยังไม่มีเจ้าภาพเข้าไปดำเนินการที่ชัดเจน ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี ได้มอบหมายให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย เป็นผู้รับผิดชอบติดตามโครงการพัฒนาพื้นที่อำเภอแม่สอดที่ต้องเร่งดำเนินการ เพื่อรองรับการจัดตั้งเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษแม่สอด ท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ“นครแม่สอด” และการนำเข้าสู่ประชาคมอาเซียนและร่วมประชุมเพื่อรับฟังความคิดเห็นของหน่วยงานภาครัฐ เอกชนและภาคประชาสังคมในพื้นที่ โดยมีแนวทาง เช่น  โครงการพัฒนารองรับ เช่นถนน 4 เลน ตาก-แม่สอดการปรับปรุงสนามบินแม่สอดการสร้างเส้นทางรถไฟและขุดเจาะอุโมงค์ เชื่อมต่อระบบคมนาคมของเส้นทาง EWEC เชื่อมไปยังจังหวัดพิษณุโลกไปถึงขอนแก่น และจังหวัดในภาคอีสาน เข้าสู่ประเทศลาวและเวียดนาม เนื่องจากฝ่ายปกครองเห็นว่าแม่สอด เป็นจุดสำคัญนอกเหนือจากการเป็นเมืองเศรษฐกิจการค้าชายแดนในกลุ่ม AECแล้ว เราจะต้องสร้างแม่สอด ให้เป็นศูนย์กลางของ อาเซียน-อินเดียและจีน จึงต้องเร่งวางยุทธศาสตร์สร้างนครแม่สอด เป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษ ให้เสร็จสิ้นโดยเร็ว  การเร่งรัด ออกร่างพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการ“นครแม่สอด” พ.ศ......ควบคู่การจัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษ,โครงการสร้างสนามกีฬานานาชาติ-การปรับปรุงด่านพรมแดนแม่สอด ให้สมกับศักยภาพของเมืองประตู AEC-การขยายสนามบินแม่สอด ,การขยายเส้นทาง 4 เลนช่องทางการจราจร รองรับการเชื่อมโยงเส้นทาง EWEC จัดตั้งเขตการค้าการลงทุนร่วมแม่สอด-เมียวดี ของพม่า พร้อมคณะกรรมการ 2 ประเทศเพื่อกำหนดรูปแบบ และยุทธศาสตร์เศรษฐกิจร่วม ,จัดตั้งคณะกรรมการเป็นเจ้าภาพดำเนินการอย่างต่อเนื่อง เพื่อพัฒนาพื้นที่14,000 ไร่ให้เป็นรูปธรรม ,เร่งก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็นรองรับการสร้างความเชื่อมโยงระหว่างกันในอาเซียน หรือ ASEAN Connectivity  เพื่อความชัดเจน คือ สร้างสะพานมิตรภาพไทย-พม่าแห่งที่ 2 และถนนเชื่อมโยง บริการแบบจุดเดียวเบ็ดเสร็จหรือ one stop service ของส่วนราชการ และหน่วยงานต่างๆเร่งให้มีการสำรวจ ออกแบบ เพื่อพัฒนาถนนสายอำเภอเมืองตาก- อำเภอแม่สอดให้เป็นทางสมัยใหม่ มีการเจาะอุโมงค์ และทำสะพานเชื่อมเพื่อย่นระยะทาง ผลักดันให้มีเที่ยวบินเชื่อมโยงกรุงเทพฯ- แม่สอด- ย่างกุ้ง , กรุงเทพฯ-แม่สอด-เมาะละแหม่ง และให้รัฐบาลเจรจาให้มีการท่องเที่ยวเชื่อมโยงระหว่างชายแดนไทย-พม่าโดยใช้หนังสือผ่านแดน ตามข้อตกลงไทย-พม่าว่าด้วยเรื่องการข้ามแดนปี 2540 โดยเปิดให้คนไทยสามารถไปได้ถึงเมืองเมาะละแหม่ง และคนพม่าเข้าถึง จ.พิษณุโลก เป็นเวลา 7 วัน เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวระหว่างประเทศ

และการประชุม ครม.สัญจรที่จังหวัดอุตรดิตถ์ เมื่อวันที่ 21 มกราคม 2556 โดย ฯพณฯนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะรัฐมนตรีที่ประชุมมีมติเห็นชอบร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ พ.ศ. ..... โดยให้มีการจัดตั้งเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษแม่สอดเป็นแห่งแรกของประเทศไทย และให้นครแม่สอดเป็นหนึ่งในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษที่จะมีการเสนอผ่านคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ ซึ่ง ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี ได้มอบหมายให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ฯพณฯ จารุพงศ์ เรืองสุวรรณ เป็นผู้รับผิดชอบติดตามโครงการพัฒนาพื้นที่อำเภอแม่สอดที่ต้องเร่งดำเนินการ เพื่อรองรับการจัดตั้งเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษแม่สอด ท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ “นครแม่สอด” และการนำเข้าสู่ประชาคมอาเซียน (AEC)และเป็นพื้นที่นำร่องในการจัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษของประเทศไทยและในขั้นตอนต่อไป ครม. จะต้องนำร่างระเบียบดังกล่าวเสนอให้กับคณะกรรมการกฤษฎีกา พิจารณาอีกครั้งหนึ่ง (ครั้งที่ 2) ก่อนนำเสนอ ครม. เพื่อให้นายกรัฐมนตรีลงนามบังคับใช้ระเบียบนี้ ต่อมารัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย นายจารุพงศ์ เรืองสุวรรณ ได้เป็กนประธานการประชุม เรื่องติดตามโครงการพัฒนาพื้นที่อำเภอแม่สอดที่ต้องเร่งดำเนินการ เพื่อรองรับการจัดตั้งเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษแม่สอด ท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ “นครแม่สอด” และการนำเข้าสู่ประชาคมอาเซียน เมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2556 ณ ห้องประชุมโรงแรมเซ็นทารา อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก ได้มอบหมายให้กระทรวงมหาดไทยประสานสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ติดตามร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ พ.ศ. .... และในห้วงระหว่างที่รอร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ พ.ศ. ........ จะประกาศใช้ ให้กระทรวงมหาดไทยดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องในร่างพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการนครแม่สอด พ.ศ. ........ เพื่อเตรียมเสนอนายกรัฐมนตรีลงนามนำเข้าวาระการประชุมคณะรัฐมนตรีในโอกาสต่อไป และมีดำริให้แต่ละหน่วยงานที่เกี่ยวข้องที่เข้าร่วมประชุม ได้สรุปประเด็นปัญหาข้อกฎหมายที่เป็นอุปสรรคต่อการจัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษแม่สอดและประเด็นต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการแก้ปัญหาระยะเร่งด่วนในการจัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษแม่สอด นำส่งจังหวัดภายใน 2 สัปดาห์ โดยมอบหมายให้นายวงศ์ศักดิ์ สวัสดิ์พาณิชย์ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงมหาดไทย รับผิดชอบควบคุม กำกับ ดูแล ติดตาม โครงการพัฒนาพื้นที่อำเภอแม่สอดที่ต้องเร่งดำเนินการ

วันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2556ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงมหาดไทย นายวงศ์ศักดิ์ สวัสดิ์พาณิชย์เป็นประธานการประชุม คณะอนุกรรมการติดตามและประสานงานการจัดตั้ง อปท.รูปแบบพิเศษ “นครแม่สอด” ครั้งที่ 1/2556 ณ ห้องประชุมกรรมาธิการ หมายเลข 3601 อาคารรัฐสภา 3 ชั้น 6 ได้รับมอบหมายจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ให้รับผิดชอบควบคุมกำกับดูแลติดตามโครงการพัฒนาพื้นที่อำเภอแม่สอดที่ต้องเร่งดำเนินการ

วันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2556จังหวัดตาก ได้ตั้งคณะกรรมการเร่งรัดติดตามการแก้ไขปัญหาระยะเร่งด่วนของการจัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษแม่สอด คำสั่งจังหวัดตาก ที่ 298/2556 ลงวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2556 และได้มีการประชุมคณะกรรมการเร่งรัดติดตามการแก้ไขปัญหาระยะเร่งด่วนของการจัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษแม่สอด ณ ห้องประชุมตากสินมหาราช (ชั้น 5) ศาลากลางจังหวัดตาก

วันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2556 นายไชยา พรหมา ประธานคณะกรรมาธิการการเงิน การคลัง การธนาคารและสถาบันการเงิน สภาผู้แทนราษฎร พร้อมคณะ ได้เดินทางมาประชุมติดตามความคืบหน้าในการจัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษแม่สอด เพื่อรองรับการเปิดเสรีประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ณ ที่ว่าการอำเภอแม่สอด ได้มีมติในเรื่องความจำเป็นระยะเร่งด่วนด้านโครงสร้างพื้นฐานใน ปี 2557-2558 จะเปิดประตูสู่อาเซียน

วันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2556 รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี นายวราเทพ รัตนากร พร้อมคณะ ได้เดินทางมากำกับติดตามการปฏิบัติราชการและการแก้ไขปัญหาภัยแล้ง ที่จังหวัดตาก และได้มีนโยบายให้จังหวัดเร่งทบทวนแผนงานโครงการตามยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดตาก และกลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนล่าง 1 ให้สอดคล้องกับแนวทางการพัฒนาประเทศ ซึ่งเป็นไปตามนโยบายของรัฐบาล

วันที่ 15 มีนาคม 2556 นายบุญชัย โชควัฒนา ประธานคณะกรรมาธิการเศรษฐกิจ การพาณิชย์และอุตสาหกรรม วุฒิสภา พร้อมคณะ ได้เดินทางมาศึกษาดูงานเกี่ยวกับสภาพเศรษฐกิจการค้าและการลงทุนของประเทศไทยกับสหภาพเมียนมาร์ ณ ห้องประชุมโกเมน เทศบาลนครแม่สอด อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก

วันที่ 18 มีนาคม 2556 จังหวัดตาก ได้ประชุมหารือแนวทางในการจัดทำแผนพัฒนาพื้นที่เศรษฐกิจพิเศษแม่สอดณ ห้องประชุมตากสินมหาราช (ชั้น 5) ศาลากลางจังหวัดตาก

วันที่ 26 มีนาคม 2556 จังหวัดตาก ได้รับการสนับสนับสนุนงบประมาณจากเทศบาลนครแม่สอด จำนวน 1 ล้านบาท และได้ประชุมเพื่อกำหนดขอบเขตงานศึกษาและออกแบบก่อสร้างศูนย์ One Stop Service ณ บริเวณหนองน้ำสาธารณะต้นผึ้ง ณ ห้องประชุมโกเมน เทศบาลนครแม่สอด อำเภอแม่สอด จังหวัดตา

ร่างพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการนครแม่สอด พ.ศ. .......

เรื่องเดิม

1. สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี(สปน.)ได้เสนอร่างพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการนครแม่สอด พ.ศ. ....... ที่ได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น(ก.ก.ถ.)แล้ว เพื่อดำเนินการ

2. คณะรัฐมนตรีได้มีมติ (วันที่ 22 มิถุนายน 2553) อนุมัติหลักการร่างพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการนครแม่สอด พ.ศ. ....... ตามที่ สปน. เสนอ และส่งให้ สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ตรวจพิจารณา โดยให้รับฟังความเห็นของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักงาน ก.พ.ร. สำนักงานตำรวจแห่งชาติ สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงมหาดไทยและสำนักงบประมาณ ไปประกอบการพิจารณา แล้วส่งให้คณะกรรมการประสานงานด้านนิติบัญญัติพิจารณา ก่อนเสนอสภาผู้แทนราษฎรพิจารณา

3. สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา แจ้งว่า คณะกรรมการกฤษฎีกา(คณะที่ 1) ได้ตรวจพิจารณาร่างพระราชบัญญัติฯเสร็จแล้ว โดยนำข้อสังเกตและความเห็นของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาประกอบการพิจารณา ทั้งนี้ ได้นำหลักการในร่างประมวลกำหมายองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และร่างพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการส่วนท้องถิ่น พ.ศ. ...... มาพิจารณาเทียบเคียงเพื่อแก้ไขปรับปรุงร่างพระราชบัญญัติฯด้วย เพื่อมิให้นครแม่สอดเกิดความลักลั่นกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่นเมื่อกฎหมายว่าด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีผลบังคับใช้

4. สปน. ยืนยันให้ความเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวที่ สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา (คณะกรรมการกฤษฎีกา คณะที่ 1) ตรวจพิจารณาแล้ว

5. คณะรัฐมนตรีได้มีมติ (วันที่ 3 พฤษภาคม 2554 ) รับทราบและเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการนครแม่สอด พ.ศ. .... และให้ส่งให้คณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎรพิจารณาแล้วเสนอสภาผู้แทนราษฎรพิจารณา

6. โดยที่ได้มีการยุบสภาผู้แทนราษฎร สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีจึงได้ส่งคืนร่างพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการนครแม่สอด พ.ศ. .. คืน เพื่อให้ สปน. พิจารณาทบทวนอีกครั้งหนึ่ง สปน.เสนอว่าได้เสนอร่างพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการนครแม่สอดให้ ก.ก.ถ. พิจารณาเมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2554 และได้รับความเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบเพื่อส่งให้รัฐสภาพิจารณาต่อไป

เหตุผลและความจำเป็นในการเสนอร่างพระราชบัญญัติ

เพื่อเป็นการรองรับแนวนโยบายด้านการบริหารราชการแผ่นดินตามมาตรา 78(3)ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย โดยเฉพาะนโยบายด้านการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้สามารถพึ่งตนเองและตัดสินใจในกิจการของท้องถิ่นเองได้ รวมทั้งพัฒนาจังหวัดที่มีความพร้อมให้เป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นขนาดใหญ่ ประกอบการมาตรา 284 วรรคเก้า ซึ่งบัญญัติให้จัดตั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษที่มีโครงสร้างการบริหารที่แตกต่างจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทั่วไปได้ภายใต้เงื่อนไขที่ว่าคณะผู้บริหารท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่นต้องมาจากการเลือกตั้ง จึงสมควรสนับสนุนให้พื้นที่ในส่วนของเทศบาลนครแม่สอดและเทศบาลตำบลท่าสายลวด จังหวัดตาก ซึ่งมีศักยภาพในการเป็นประตูเศรษฐกิจที่จะเชื่อมโยงกับประเทศเพื่อนบ้าน และสามารถพัฒนาให้เป็นฐานในการพัฒนาทางเศรษฐกิจ การค้า และการลงทุนที่สอดคล้องกับการพัฒนาประเทศ ได้จัดตั้งขึ้นเป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ เพื่อให้สามารถจัดบริการสาธารณะที่มีคุณภาพแก่ประชาชนและรองรับการเจริญเติบโตของพื้นที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

สาระสำคัญของร่างพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการนครแม่สอด พ.ศ. ....

จัดตั้งนครแม่สอดขึ้นเป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษและกำหนดระเบียบบริหารราชการนครแม่สอดไว้ดังต่อไปนี้

1. การจัดตั้งนครแม่สอด

กำหนดให้จัดตั้งนครแม่สอดขึ้นเป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีฐานะเป็นนิติบุคคล มีเขตพื้นที่ครอบคลุมพื้นที่ของเทศบาลนครแม่สอดและเทศบาลตำบลท่าสายลวดที่มีอยู่ในวันก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ โดยภายหลังจากจัดตั้งนครแม่สอดขึ้นแล้วให้ยุบเทศบาลทั้งสอง และเขตพื้นที่ของนครแม่สอดจะไม่รวมอยู่ในเขตองค์การบริหารส่วนจังหวัดตาก

2. การบริหารนครแม่สอด

กำหนดให้นครแม่สอดมีสภานครแม่สอด และนายกนครแม่สอดซึ่งมาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชน และทั้งสองฝ่ายมีวาระคราวละ 4 ปี โดยสภานครแม่สอดมีสมาชิกจำนวน 36 คน และนายกนครแม่สอดอาจแต่งตั้งรองนายกนครแม่สอดได้ไม่เกิน 4 คน

นอกจากนี้ยังกำหนดให้มี “คณะกรรมการที่ปรึกษาพัฒนานโยบายนครแม่สอด”ซึ่งประกอบด้วยหัวหน้าส่วนราชการหรือผู้แทนรัฐวิสาหกิจที่ผู้ว่าราชการจังหวัดแต่งตั้งจำนวน 7 คน ผู้แทนภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องที่นายกนครแม่สอดแต่งตั้งจำนวน 7 คน และผู้ทรงคุณวุฒิที่สภานครแม่สอดแต่งตั้งจำนวน 7 คน ทำหน้าที่ให้ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการจัดทำแผนพัฒนานครแม่สอด การดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ การจัดทำร่างข้อบัญญัติงบประมาณ การแก้ไขปัญหาแก่นายกนครแม่สอดจะต้องนำข้อเสนอแนะหรือความเห็นของคณะกรรมการฯไปคำนึงด้วย

3. อำนาจหน้าที่ของนครแม่สอด

นอกจากมีหน้าที่เช่นเดียวกับเทศบาลนครแล้ว เมื่อนครแม่สอดมีความพร้อมและคณะรัฐมนตรีเห็นสมควร อาจมีการตราพระราชกฤษฎีกากำหนดให้นครแม่สอดมีอำนาจหน้าที่เข้าไปบริหารจัดการหรือดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยการดำเนินกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการเป็นเมืองการค้าชายแดนเพิ่มขึ้นได้ อาทิ กฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการลงทุน กฎหมายว่าด้วยการทำงานของคนต่างด้าว กฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง กฎหมายว่าด้วยธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ กฎหมายว่าด้วยการผังเมือง กฎหมายว่าด้วยโรงงาน กฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม เป็นต้น

4. รายได้ของนครแม่สอด

นครแม่สอดจะมีรายได้ตามที่กฎหมายกำหนดให้เป็นรายได้ของเทศบาลและองค์การบริหารส่วนจังหวัดในเขตพื้นที่ของนครแม่สอด และอาจมีรายได้ตามกฎหมายอื่นๆ เพิ่มขึ้นจาก อปท. ทั่วไป รายได้เพิ่มเติมจากอำนาจหน้าที่ในการอนุญาตให้คนต่างด้าวที่มีภูมิลำเนาและเป็นคนสัญชาติของประเทศที่มีชายแดนติดกับนครแม่สอดเข้ามาทำงานในเขตพื้นที่ได้เป็นการชั่วคราวหรือตามฤดูกาลเนื่องจากปรากฏข้อเท็จจริงว่าในปัจจุบันมีคนต่างด้าวที่เข้ามาทำงานในเขตนครแม่สอดในลักษณะเช้ามาเย็นกลับเป็นปริมาณมาก ซึ่งเป็นผลให้นครแม่สอดมีภาระหน้าที่ในการบริหารจัดการกับกลุ่มคนต่างด้าวเหล่านี้ซึ่งต้องมีค่าใช้จ่ายเป็นจำนวนสูงมาก เช่น การรักษาความสะอาด การป้องกันและปราบปรามอาชญากรรม การอนามัยและสิ่งแวดล้อม ค่าธรรมเนียมอนุญาตให้คนต่างด้าวทำงานในนครแม่สอด ฯลฯ ทั้งนี้ตามที่กฎหมายกำหนด นอกจากนครแม่สอดจะมีรายได้ค่าธรรมเนียมที่จัดเก็บรายได้จากอำนาจหน้าที่พิเศษที่เพิ่มขึ้นทุกรายการด้วย

5.การกำกับดูแล

ผู้ว่าราชการจังหวัดมีอำนาจหน้าที่กำกับดุแลการปฏิบัติราชการของนครแม่สอดและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยมีอำนาจสั่งเพิกถอนหรือสั่งให้ระงับการปฏิบัติการใดของนครแม่สอดหรือสั่งการอื่นใดได้ตามที่เห็นสมควร

ตารางการจัดสรรงบประมาณเงินอุดหนุนให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นปีงบประมาณ 2555 และ ปีงบประมาณ 2556

ร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ พ.ศ. ..........

เรื่องเดิม

สำนักงานเลขาธิการนายกรัฐมนตรี แจ้ง สศช.ว่าสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา เห็นชอบร่างระเบียบฯและนายกรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบแล้วในหลักการ แต่ให้สำนักงาน สศช. นำร่างระเบียบฯนำไปพิจารณาในรายละเอียดเพื่อนำเสนอคณะรัฐมนตรีอีกครั้งหนึ่ง

ต่อมา สศช. ได้เห็นควรเพิ่มเติมสาระเพื่อให้ร่างระเบียบฉบับนี้มีประสิทธิภาพและสามารถทำงานอย่างสอดคล้องมีบูรณาการกับภาคส่วนต่างๆมากขึ้น ดังนี้

1. ให้หน่วยงานที่จะพัฒนาและรับผิดชอบกำกับดูแลพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษแต่ละแห่งเป็นผู้จัดทำแผนแม่บทและแผนปฏิบัติการแทนสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษ

2. เพื่อความคล่องตัวในการทำงานและเพื่อบูรณาการทำงานกับทุกภาคส่วนโดยการทำงานจะต้องสอดคล้องกับกฎหมายและระเบียบอื่นๆที่เกี่ยวข้องโดยไม่ขัดกัน

หลักการ

1. สนับสนุน อปท.ให้มีการบริการสาธารณะตอบสนองความต้องการของประชาชน มีศักยภาพที่มีระบบสาธารณูปโภคและสาธารณูปการของตนเองในการรองรับการขยายตัวด้านเศรษฐกิจ

2. ประชาชนและ อปท. ในพื้นที่ต้องมีส่วนร่วมกันทำและต้องได้รับความเห็นชอบจากประชาชนและ อปท.ในพื้นที่ในการพัฒนาพื้นที่เป็นเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ เช่น การจัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษ การจัดทำแผนแม่บท เป็นต้น

3. ส่วนกลางและราชการส่วนภูมิภาคให้การสนับสนุนเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษโดยการมอบอำนาจในการอนุมัติ อนุญาต ปฏิบัติราชการหรือดำเนินการอื่นใดหรือมติของ ครม. ที่เกี่ยวข้องกับการค้าบริเวณพรมแดนไทยกับประเทศเพื่อนบ้านและการค้าเสรีภายใต้กรอบอาเซียนในลักษณะแบบจุดเดียวเบ็ดเสร็จ คือ ระบบ Asean Single Window (อำเภอพิเศษแม่สอด)

สาระสำคัญของระเบียบนี้ (สศช.เสนอ)

1. คำนิยามที่สำคัญ

1.1 เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ หมายความว่า พื้นที่ทั้งหมดหรือบางส่วนของ อปท.แห่งหนึ่ง หรือหลายแห่งที่ได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็นต่อการค้าสินค้าหรือบริการ หรือการลงทุน เพื่อรองรับการขยายตัวทางเศรษฐกิจ อันเนื่องมาจากการค้าบริเวณพรมแดนและการค้าเสรีในกรอบอาเซียน รวมทั้งการพัฒนาระบบการบริการแบบ OSS ที่สอดคล้องกับ “ ASEAN Single Window ”

1.2 การให้บริการแบบจุดเดียวเบ็ดเสร็จ หมายถึง การที่ราชการบริหารส่วนกลางและราชการส่วนภูมิภาค บรรดาอำนาจหน้าที่การอนุมัติ อนุญาต ปฏิบัติราชการหรือดำเนินการอื่นใดตามกฎหมาย กฎ ระเบียบ ประกาศหรือคำสั่งใดหรือมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องกับการค้าบริเวณพรมแดนระหว่างประเทศไทยกับประเทศเพื่อนบ้านและการค้าภายใต้กรอบอาเซียน โดยมอบอำนาจให้แก่เจ้าหน้าที่ส่วนภูมิภาคเพื่อให้สามารถสั่งการ อนุญาต อนุมัติปฏิบัติการ หรือดำเนินการจุดเดียวในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษนั้น

1.3 หน่วยงาน หมายความว่า ราชการส่วนท้องถิ่น ราชการส่วนกลาง ราชการส่วนภูมิภาค รัฐวิสาหกิจและหน่วยงานอื่นๆ

1.4 หน่วยงานรับผิดชอบเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ หมายถึงหน่วยงานที่รับความเห็นชอบจาก คณะรัฐมนตรีให้เป็นผู้รับผิดชอบและกำกับดูแลเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษแต่ละแห่ง

2. องค์ประกอบของคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ

1. นายกรัฐมนตรีเป็นประธานกรรมการ

2. รองนายกรัฐมนตรีที่นายกรัฐมนตรีมอบหมายเป็นรองประธานกรรมการ

3. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม,รัฐมนตรีว่าการะทรวงการคลัง,รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ,รัฐมนตรีว่ากระทรวงคมนาคม,รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์,รัฐมนตรีว่าการะทรวงมหาดไทย,รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม,รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

4. ผู้แทนการค้าไทย ประธานสภาหอการค้าไทย ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย

5. ผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งนายกรัฐมนตรีแต่งตั้งอีกไม่เกิน 10 คน

6. เลขาธิการ สศช. เป็นกรรมการและเลขานุการและให้ผู้อำนวยการสำนักเป็นผู้ช่วยเลขานุการ

3. อำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการนโยบายมี 10 ข้อ

1. พิจารณาและเสนอแผนแม่บทต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาอนุมัติ

2. พิจารณาและให้ความเห็นชอบแผนปฏิบัติการที่สำนักงานเสนอ

3. ให้ความเห็นเกี่ยวกับแผนงานหรือโครงการของหน่วยงานตามที่สำนักงานร้องขอ

4. กำหนดแนวทางให้หน่วยงานถือปฏิบัติเพื่อให้การส่งเสริมและพัฒนาการค้าบริเวณพรมแดนและการค้าเสรีภายใต้กรอบอาเซียนเป็นไปโดยเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ

5. กำกับดูแล ติดตามและประเมินผลการดำเนินงานตามแผนแม่บท ตลอดจนให้คำแนะนำแก้ไขปัญหาอุปสรรคเพื่อให้หน่วยงานดำเนินแผนงานหรือโครงการตามแผนแม่บทและรายงานผลการดำเนินงานต่อคณะรัฐมนตรี

6. แต่งตั้งคณะอนุกรรมการหรือคณะทำงานได้ตามความเหมาะสม

7. ส่งเสริมและสนับสนุนภาคเอกชนและประชาชนให้มีความรู้และส่วนร่วมในการดำเนินการให้เป็นไปตามแผนแม่บท

8. เชิญเจ้าหน้าที่หน่วยงานหรือบุคคลที่เกี่ยวข้องมาชี้แจง หรือเรียกเอกสารจากหน่วยงานหรือบุคคลที่เกี่ยวข้องเพื่อประกอบการพิจารณาได้ตามความจำเป็น

9. ออกระเบียบ ประกาศ และคำสั่ง เพื่อปฏิบัติการตามระเบียบนี้

10. ปฏิบัติการอื่นใดเพื่อให้เป็นไปตามระเบียบนี้ หรือตามที่คณะรัฐมนตรีหรือนากรัฐมนตรีมอบหมาย

4. สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษเป็นหน่วยงานภายใน สศช. มีอำนาจหน้าที่ 8 ข้อ

1. ศึกษา วิเคราะห์ร่างแผนแม่บทเพื่อเสนอคณะกรรมการนโยบายพิจารณาและให้ความเห็นชอบ

2. ตรวจสอบและวิเคราะห์แผนงานหรือโครงการและแผนปฏิบัติการของหน่วยงานเพื่อเสนอคณะกรรมการนโยบายพิจารณาและให้ความเห็นชอบ

3. ประสานการปฏิบัติงานและให้คำแนะนำแก่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการจัดทำแผนงานหรือโครงการต่างๆตามแผนแม่บท

4. อำนวยความสะดวกและประสานงานให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ภาคเอกชน และประชาชนมีส่วนร่วมในการพัฒนาพื้นที่ให้เป็นไปตามแผนแม่บท

5. อำนายการ ติดตามผล และประสานงานการบริหาร และการปฏิบัติตามแผนแม่บทรวมทั้งสนับสนุนและให้คำแนะนำแก่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานเพื่อให้เป็นไปตามแผนแม่บท

6. ศึกษา วิเคราะห์ หรือวิจัย ปัญหา อุปสรรคในการพัฒนาพื้นที่ และเสนอแนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรคดังกล่าวต่อคณะกรรมการนโยบาย

7. ขอยืมตัวบุคคล วัสดุ อุปกรณ์และครุภัณฑ์ รวมทั้งการขอใช้ทรัพย์ของหน่วยงานเพื่อช่วยเหลือการปฏิบัติงานของสำนักงานได้ตามความจำเป็น

8. ปฏิบัติงานหรือดำเนินการอื่นใดตามที่คณะกรรมการนโยบายหรือประธานกรรมการมอบหมาย

5. หน่วยงานที่รับผิดชอบขอบเขตการพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ คือ หน่วยงานที่คณะรัฐมนตรีให้รับผิดชอบและกำกับดูแล เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษแต่ละแห่ง เป็นผู้จัดทำแผนแม่บทและแผนปฏิบัติการของขอบเขตพัฒนาเศรษฐกิจนั้นๆ เพื่อให้การจัดทำแผนแม่บทและแผนปฏิบัติการมีความรวดเร็วและสอดคล้องกับความต้องการของประชาชนในชุมชนท้องถิ่นแต่ละแห่ง

6. การดำเนินการตามร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีฯ

6.1 หน่วยงานที่ประสงค์จะรับผิดชอบเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษจัดทำร่างแผนแม่บทและรับฟังความคิดเห็นของ อปท.และประชาชนในชุมชนท้องถิ่น (ข้อ 14)

6.2 เสนอร่างแผนแม่บทผ่านความเห็นชอบของกระทรวงเจ้าสังกัดต่อคณะกรรมการนโยบายและคณะรัฐมนตรีพิจารณาตามลำดับ (ข้อ 14)

6.3 เมื่อคณะรัฐมนตรีเห็นชอบแผนแม่บทเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษนั้นๆให้คณะกรรมการนโยบายกำหนดแนวทางการดำเนินการ เพื่อให้หน่วยงานปฏิบัติตามแผนแม่บท (ข้อ 16)

6.4 หน่วยงานเจ้าของแผนงานหรือโครงการที่ถูกมอบหมายให้ดำเนินการตามแผนแม่บท จัดทำแผนแม่บท จัดทำแผนงานโครงการส่งให้หน่วยงานรับผิดชอบเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ พร้อมรับฟังความคิดเห็นของ อปท. และประชาชนในพื้นที่ (ข้อ 17)

6.5 หน่วยงานรับผิดชอบขอบเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษจัดทำแผนปฏิบัติการเสนอต่อคณะกรรมการนโยบายและคณะรัฐมนตรีพิจารณา (ข้อ 17,18)

6.6 เมื่อคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบแผนปฏิบัติการให้หน่วยงานเจ้าของแผนแม่บทหรือโครงการดำเนินการให้เป็นไปตามเป้าหมาย พร้อมทั้งให้มีระบบควบคุม ตรวจสอบ และติดตามความก้าวหน้าและส่งรายงานความก้าวหน้าของแผนงานหรือโครงการเพื่อเสนอให้กับคณะกรรมการนโยบายทราบ (ข้อ 18,19)

ข้อเสนอ

อำเภอแม่สอดและเทศบาลนครแม่สอด จะเป็นหน่วยงานรับผิดชอบในการจัดทำแผนแม่บทในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษแม่สอด

เหตุผลในการเร่งออกกฎหมายร่างพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการนครแม่สอด พ.ศ. ......

และร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ พ.ศ. ......

****************************************************************************

ตามที่ ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ได้ลงพื้นที่อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก เมื่อ

วันที่ 20 มกราคม 2556 และเป็นประธานการประชุม คณะรัฐมนตรีสัญจร ที่จังหวัดอุตรดิตถ์ เมื่อวันที่ 21 มกราคม 2556ที่ประชุมมีมติเห็นชอบร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ พ.ศ. ..... โดยให้มีการจัดตั้งเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษแม่สอดเป็นแห่งแรกของประเทศไทย และให้นครแม่สอดเป็นหนึ่งในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษที่จะมีการเสนอผ่านคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ ซึ่ง ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี ได้มอบหมายให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ฯพณฯ จารุพงศ์ เรืองสุวรรณ เป็นผู้รับผิดชอบติดตามโครงการพัฒนาพื้นที่อำเภอแม่สอดที่ต้องเร่งดำเนินการ เพื่อรองรับการจัดตั้งเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษแม่สอด ท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ “นครแม่สอด” และการนำเข้าสู่ประชาคมอาเซียน (AEC)

เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมในการดำเนินการให้เป็นไปตามร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ พ.ศ. ... เมื่อมีผลบังคับใช้แล้วให้เป็นไปด้วยความถูกต้อง รวดเร็ว และเป็นรูปธรรม จึงเห็นควรที่จะเร่งดำเนินการออกกฎหมาย ร่างพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการนครแม่สอด พ.ศ. .... ให้มีผลบังคับใช้โดยเร่งด่วน เนื่องจากเหตุผลและความจำเป็น ดังนี้

1. เป็นไปตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 78(3) บัญญัติให้รัฐต้องดำเนินการตามแนวนโยบายด้านการบริหารราชการแผ่นดิ