14
Development and Evaluation of CAI for Learning the Topic of Variable and Operation in an Introduction to Object- Oriented Programming Areewan Sukwilai and Vilailuck Kheamwong http://eprints.utcc.ac.th/id/eprint/1092 © University of the Thai Chamber of Commerce EPrints UTCC http://eprints.utcc.ac.th/

Development and Evaluation of CAI for Learning the Topic of …eprints.utcc.ac.th/1092/1/1092fulltext.pdf · 2014-05-04 · การพัฒนาและศึกษาผลการใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน

  • Upload
    others

  • View
    0

  • Download
    0

Embed Size (px)

Citation preview

Page 1: Development and Evaluation of CAI for Learning the Topic of …eprints.utcc.ac.th/1092/1/1092fulltext.pdf · 2014-05-04 · การพัฒนาและศึกษาผลการใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน

 

Development and Evaluation of CAI for Learning the Topic of Variable and Operation in an Introduction to Object-

Oriented Programming

Areewan Sukwilai and Vilailuck Kheamwong

http://eprints.utcc.ac.th/id/eprint/1092  

© University of the Thai Chamber of Commerce

EPrints UTCC http://eprints.utcc.ac.th/

Page 2: Development and Evaluation of CAI for Learning the Topic of …eprints.utcc.ac.th/1092/1/1092fulltext.pdf · 2014-05-04 · การพัฒนาและศึกษาผลการใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน

อารีวรรณ สุขวิลัย วิไลลักษณ์ เขมวงศ์

47วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ปีที่ 30 ฉบับที่ 2 เดือนเมษายน - มิถุนายน 2553

ารพัฒนาและศึกษาผลการใช้บทเรียน คอมพิวเตอร์ช่วยสอน วิชาการ โปรแกรมเชิง อ็อบเจกต์เบื้องต้น เรื่องตัวแปรและการดำเนินการ Development and Evaluation of CAI for Learning the Topic of Variable and Operation in an Introduction to Object-Oriented Programming

วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย

ปีที่ 30 ฉบับที่ 2 เดือนเมษายน - มิถุนายน 2553

. . . . . . . . . . . . . . .

อารีวรรณ สุขวิลัย อาจารย์ประจำสาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย

E-mail: [email protected]

วิไลลักษณ์ เขมวงศ ์กองส่งเสริมงานวิจัย ฝ่ายวิจัย มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย

E-mail: [email protected]

บทคัดย่อ*

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน

วิชาการโปรแกรมเชิงอ็อบเจกต์เบื้องต้น เรื่องตัวแปรและการดำเนินการ 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์

ทางการเรียนระหว่างก่อนกับหลังการใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน 3) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์

ทางการเรียนหลังการใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนกับเกณฑ์ที่กำหนด (80% ของคะแนน)

4) ศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อการใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน โดยกลุ่มตัวอย่างที่

ใช้ในการวิจัยเป็นนักศึกษาสาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ชั้นปีที่ 1 ภาคปลาย ปีการศึกษา 2551

* ผลงานวิจัยเรื่องนี้ได้รับทุนส่งเสริมการวิจัย สำหรับพนักงานประจำมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย

Page 3: Development and Evaluation of CAI for Learning the Topic of …eprints.utcc.ac.th/1092/1/1092fulltext.pdf · 2014-05-04 · การพัฒนาและศึกษาผลการใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน

การพัฒนาและศึกษาผลการใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน วิชาการ โปรแกรมเชิงอ็อบเจกต์เบื้องต้น เรื่องตัวแปรและการดำเนินการ

48 วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ปีที่ 30 ฉบับที่ 2 เดือนเมษายน - มิถุนายน 2553

กลุ่ม 1 จำนวน 24 คน เครื่องมือในการวิจัย คือ 1) บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนวิชาการ โปรแกรม

เชิงอ็อบเจกต์เบื้องต้น เรื่องตัวแปรและการดำเนินการ 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน

วิชาการโปรแกรมเชิงอ็อบเจกต์เบื้องต้น เรื่องตัวแปรและการดำเนินการ 3) แบบสอบถามความ

พึงพอใจต่อการใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ในการทดลองครั้งนี้ผู้วิจัยได้ดำเนินการพัฒนา

บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน สร้างแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและแบบสอบถามความ

พึงพอใจต่อการใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ทำการทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ก่อนเรียน มอบหมาย

ให้นักศึกษาเรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนด้วยตนเอง ทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์หลังการเรียน

ทำแบบสอบถามความพึงพอใจหลังจากทำแบบทดสอบหลังเรียนเสร็จแล้ว สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์

ข้อมูล คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบที (t-test) ผลการวิจัย พบว่า

1) บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนวิชาการโปรแกรมเชิงอ็อบเจกต์เบื้องต้น เรื่องตัวแปรและการดำเนิน

การ มีประสิทธิภาพ 80.3/80.4 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียนด้วยบทเรียน

คอมพิวเตอร์ช่วยสอน มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (p = 0.00)

3) ผลสัมฤทธิ์ของการเรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนจากการทดสอบหลังเรียนแตกต่าง

จากเกณฑ์ที่กำหนดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (p = 0.04) 4) นักศึกษามีความพึงพอใจ

เกี่ยวกับส่วนประกอบของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง (x = 3.42)

ส่วนความพึงพอใจในการใช้สื่อบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนโดยรวมอยู่ในระดับมาก (x = 3.51)

คำสำคัญ: บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน การ โปรแกรมเชิงอ็อบเจกต์ ตัวแปรและการดำเนินการ

Abstract

This is an experimental research. Its objective is to: 1) develop CAI for the subject

“Variable and Operation: an Introduction to Object Oriented Programming,” 2) compare

the learning achievements between pre-test and post-test using CAI, 3) compare the

80% criterion set for learning achievement between pre-test and post-test using CAI,

and 4) evaluate the satisfaction of learners toward CAI by using a sample population

of 24 1st year undergraduate students from the Computer Science department, School

of Science, UTCC.

The experimental tools are as following.

1) CAI of “Introduction to Object-Oriented Programming on the topic of Variable

and Operation.”

2) Pre-test and Post-test on the same topic.

3) Questionnaire about “Introduction to Object-Oriented Programming on the

topic of Variable and Operation.” The research experiment is divided into

Page 4: Development and Evaluation of CAI for Learning the Topic of …eprints.utcc.ac.th/1092/1/1092fulltext.pdf · 2014-05-04 · การพัฒนาและศึกษาผลการใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน

อารีวรรณ สุขวิลัย วิไลลักษณ์ เขมวงศ์

49วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ปีที่ 30 ฉบับที่ 2 เดือนเมษายน - มิถุนายน 2553

บทนำ

ในการพัฒนาปรับปรุงการเรียนการสอนที่จะ

มุ่งเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ จะต้องมีแหล่งความรู้เพื่อ

ให้ผู้เรียนสามารถค้นคว้าหาข้อมูลได้อย่างเพียงพอ

ตรงตามความต้องการ ดังนั้น การที่จะทำให้ระบบ

การเรียนการสอนสอดคล้องกับพระราชบัญญัติ

การศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542 หมวด 9

เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา มาตรา 66 ผู้เรียนมีสิทธิ

ได้รับการพัฒนาขีดความสามารถในการใช้เทคโนโลย ี

เพื่อการศึกษาในโอกาสแรกที่ทำได้ เพื่อให้มีความรู้

และทักษะเพียงพอที่จะใช้เทคโนโลยี เพื่อการศึกษา

ในการแสวงหาความรู้ด้วยตนเองได้อย่างต่อเนื่อง

ตลอดชีวิต ดังนั้น จะต้องมีการพัฒนาแหล่งความรู้

ให้มีความพร้อมและสนองต่อความต้องการของ

ผู้เรียน ซึ่งผู้เรียนแต่ละคนมีความแตกต่างกันราย

บุคคลในด้านบุคลิกภาพ สติปัญญา วิธีการเรียนรู้

และลำดับการเรียนรู้ (ยืน ภู่วรวรรณ, 2529 อ้างถึง

ใน มณฑล สรรพิบูลย์ ปิยพันธ์ แสนทวีสุข และ

ไชยา ภาวะบุตร, 2551)

ในปัจจุบันบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน

(Computer Assisted Instruction: CAI) ซึ่งจัด

เป็นแหล่งความรู้ชนิดหนึ่ง ได้เข้ามามีบทบาทสำคัญ

ในการเรียนและยังมีแนวโน้มว่าจะเป็นสื่อการเรียน

การสอนที่ สำคัญในอนาคต เพราะบทเรี ยน

คอมพิวเตอร์ช่วยสอนสามารถเข้ามาช่วยแก้ปัญหา

การศึกษา ได้แก่ ปัญหาอัตราส่วนของครูต่อผู้เรียน

ปัญหาความแตกต่างระหว่างบุคคลของผู้ เรียน

ปัญหาขาดแคลนเวลาของผู้สอน และปัญหาการ

ขาดแคลนผู้ เชี่ยวชาญในสาขาต่างๆ (มณฑล

สรรพิบูลย์ ปิยพันธ์ แสนทวีสุข และไชยา

ภาวะบุตร, 2551)

three phases as follows: The first phase involves creating the CAI program and

allowing the students to learn the topic “Variable and Operation” on their own. The

second phase is the creating of a pre-and post-test to evaluate the learning

achievement. The last phase is the distribution and collection of the questionnaire to

evaluate learner’s satisfaction toward CAI.

The statistics measurements used in this research are percentage, means,

standard deviation and t-test.

The research results show that 1) CAI has an efficiency rate on pre-tests equal

to 80.3, while the efficiency rate on the post-test equaled 80.4, 2) that there is a

significant difference between the pre-and post-test at the level of 0.01, 3) that there

is a significant difference between learning achievement at the level of 0.05, 4) that the

learners have a moderate rate of satisfaction at 3.42 in the design and content of CAI

and 5) that the learners have a high satisfaction rate of 3.51 in CAI.

Keywords: Computer Assisted Instruction (CAI), Object-Oriented Programming (OOP),

Variable and Operation

Page 5: Development and Evaluation of CAI for Learning the Topic of …eprints.utcc.ac.th/1092/1/1092fulltext.pdf · 2014-05-04 · การพัฒนาและศึกษาผลการใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน

การพัฒนาและศึกษาผลการใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน วิชาการ โปรแกรมเชิงอ็อบเจกต์เบื้องต้น เรื่องตัวแปรและการดำเนินการ

50 วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ปีที่ 30 ฉบับที่ 2 เดือนเมษายน - มิถุนายน 2553

บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเป็นกระบวนการเรียน

การสอนโดยใช้ทรัพยากรต่างๆ ในระบบอินเทอร์เน็ต

มาออกแบบและจัดการระบบ เพื่อสร้างระบบการ

เรียนการสอนที่สนับสนุนและส่งเสริมให้เกิดการ

เรียนรู้อย่างมีความหมายตรงกับความต้องการของ

ผู้สอนและผู้ เรียน เชื่อมโยงระบบเครือข่ายที่

สามารถเรียนรู้ได้ทุกที่ทุกเวลาและทุกคน การสร้าง

โปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อนำเสนอเนื้อหาเรื่องราว

ต่างๆ ที่ได้จัดเรียงเป็นลำดับขั้นตอน มีการแทรก

เสียง ภาพเคลื่อนไหว กราฟิก และลูกเล่นต่างๆ

เพื่อดึงดูดความสนใจของผู้เรียน มีแบบฝึกหัด แบบ

ทดสอบ มีลักษณะเป็นการเรียนโดยตรงและ

เป็นการเรียนแบบมีปฏิสัมพันธ์ (Interactive)

เป็นการนำเครื่องคอมพิวเตอร์ มาเป็นเครื่องมือช่วย

เสริมประสิทธิภาพในการเรียนการสอน โดยมีจุดมุ่ง

หมายที่จะตอบสนองในเรื่องความแตกต่างระหว่าง

บุคคลของผู้เรียนเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ทางการ

ศึกษาเป็นรายบุคคล (ลักษณะของคอมพิวเตอร์

ช่วยสอน, 2552)

กิดานันท์ มลิทอง (2552) ได้กล่าวถึงคุณค่า

ของคอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่มีต่อการจัดการเรียน

การสอนหลายประการ เช่น คอมพิวเตอร์ช่วยเพิ่ม

แรงจูงใจในการเรียนรู้ให้แก่ผู้เรียน เนื่องจากการ

เรียนด้วยคอมพิวเตอร์นั้นเป็นประสบการณ์ที่แปลก

และใหม่ การใช้สี ภาพลายเส้นที่แลดูคล้าย

เคลื่อนไหว ตลอดจนเสียงดนตรี จะเป็นการเพิ่ม

ความเหมือนจริงและเร้าใจผู้เรียนให้เกิดความอยาก

เรียนรู้ ทำแบบฝึกหัด หรือทำกิจกรรมต่างๆ ความ

สามารถของหน่วยความจำของเครื่องคอมพิวเตอร์

ช่วยในการบันทึกคะแนนและพฤติกรรมต่างๆ ของ

ผู้เรียนได้เพื่อใช้ในการวางแผนบทเรียนในขั้นต่อไป

ได้ ความสามารถในการเก็บข้อมูลของเครื่องทำให้

สามารถนำมาใช้ได้ในลักษณะของการศึกษาราย

บุคคลได้เป็นอย่างดี โดยสามารถกำหนดบทเรียนให้

แก่ผู้เรียนแต่ละคน และแสดงผลก้าวหน้าให้เห็นได้

ทันที ลักษณะของโปรแกรมบทเรียนที่ให้ความเป็น

ส่วนตัวแก่ผู้เรียน เป็นการช่วยให้ผู้เรียนที่เรียนช้า

สามารถเรียนไปได้ตามความสามารถของตนโดย

สะดวกอย่างไม่รีบเร่งโดยไม่ต้องอายผู้อื่น และไม่

ต้องอายเครื่องเมื่อตอบคำถามผิด นอกจากนี้ ยัง

เป็นการช่วยขยายขีดความสามารถของผู้สอนในการ

ควบคุมผู้เรียนได้อย่างใกล้ชิด เนื่องจากสามารถ

บรรจุข้อมูลได้ง่ายและสะดวกในการนำออกมาใช้

ด้วยความตระหนักถึงการเปลี่ยนแปลงของ

การเรียนการสอนของมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ที่

มุ่งเน้นให้ผู้เรียน เรียนรู้แบบ Hybrid เริ่มตั้งแต่ภาค

ต้น ปีการศึกษา 2551 โดยนักศึกษาชั้นปีที่ 1

ทุกคนจะได้รับแจกคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ก เพื่อใช้

ประกอบการเรียนการสอน ซึ่งทำให้นักศึกษามี

เครื่องมือในการสืบค้นและทบทวนบทเรียนผ่าน

เครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้นอกเหนือจากการทบทวน

ในตำราเพียงอย่างเดียว การนำเอาบทเรียน

คอมพิวเตอร์ช่วยสอนมาเป็นสื่อช่วยการสอนจะ

ทำให้เกิดการเรียนรู้ตามความสามารถของผู้เรียน

ในฐานะที่ผู้วิจัยเป็นอาจารย์ที่สอนวิชาการโปรแกรม

เชิงอ็อบเจกต์เบื้องต้นมาแล้ว 4 ภาคการศึกษา พบ

ปัญหาเรื่องการเรียนรู้ของผู้เรียนจำนวนมากใน

ห้องเรียนขนาดใหญ่นักศึกษาไม่สามารถเรียนรู้ได้

ทันกัน โดยเฉพาะหัวข้อเรื่องตัวแปรและการดำเนิน

การ เป็นเนื้อหาที่นักศึกษามักจะมีปัญหาในการ

เรียน เนื่องจากนักศึกษาที่ไม่เคยเรียนวิชาการ

โปรแกรมมาก่อนจะทำความเข้าใจได้ยาก และ

หัวข้อนี้เป็นความรู้พื้นฐานที่ถือเป็นหัวใจสำคัญของ

การเรียนวิชาการโปรแกรม ซึ่งเป็นวิชาเอกของ

หลักสูตรวิทยาการคอมพิวเตอร์ นักศึกษาจำเป็น

ต้องมีพื้นฐานที่ดี จากเหตุผลที่กล่าวมา ผู้วิจัยสนใจ

Page 6: Development and Evaluation of CAI for Learning the Topic of …eprints.utcc.ac.th/1092/1/1092fulltext.pdf · 2014-05-04 · การพัฒนาและศึกษาผลการใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน

อารีวรรณ สุขวิลัย วิไลลักษณ์ เขมวงศ์

51วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ปีที่ 30 ฉบับที่ 2 เดือนเมษายน - มิถุนายน 2553

ที่จะพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนในวิชา

การโปรแกรมเชิงอ็อบเจกต์เบื้องต้น เรื่องตัวแปร

และการดำเนินการ เพื่อแก้ปัญหาการเรียนรู้ที่คำนึง

ถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล ซึ่ งบทเรียน

คอมพิวเตอร์ช่วยสอนจะช่วยให้นักศึกษาสามารถ

ทบทวนบทเรียนได้เองตามเวลาที่สะดวก ตามความ

สนใจของผู้เรียนจนกว่าจะเข้าใจเนื้อหาเป็นอย่างดี

และผู้เรียนสามารถประเมินผลเองเพื่อให้ผู้เรียนเห็น

ผลสำเร็จ เห็นความก้าวหน้าของตนในการเรียนรู้

ในแต่ละเนื้อหาการเรียน ซึ่งจะส่งผลให้ผู้เรียนมี

ความรู้พื้นฐานที่ดีในการศึกษาหัวข้อต่อไปในวิชาการ

โปรแกรมเชิงอ็อบเจกต์เบื้องต้น

วัตถุประสงค์ของการวิจัย

1. เพื่อพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน

วิชาการโปรแกรมเชิงอ็อบเจกต์เบื้องต้น เรื่อง

ตัวแปรและการดำเนินการให้มีประสิทธิภาพ 80/80

2. เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน

ระหว่างก่อนกับหลังการใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วย

สอน

3. เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน

หลังการใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนกับเกณฑ์

ที่กำหนด (80% ของคะแนน)

4. เพื่ อศึ กษาความพึ งพอใจของผู้ ใช้สื่ อ

บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเรื่องตัวแปรและการ

ดำเนินการ

สมมติฐานของการวิจัย

1. บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนน่าจะมี

ประสิทธิภาพตามเกณฑ์ที่กำหนด

2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังการเรียนโดย

ใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนน่าจะสูงกว่าก่อน

เรียน

3. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังการเรียนโดย

ใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนน่าจะสูงกว่าเกณฑ์

ที่กำหนด

ขอบเขตของการวิจัย

1. วิชาที่สร้างบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน

ได้แก่ วิชาการโปรแกรมเชิงอ็อบเจกต์เบื้องต้น

หัวข้อเรื่องตัวแปรและการดำเนินการ

2. ประชากร ที่ใช้ในการศึกษา คือ นักศึกษา

ชั้นปีที่ 1 ที่ลงทะเบียนเรียนวิชาการโปรแกรมเชิง

อ็อบเจกต์เบื้องต้น สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์

ภาคปลาย ปีการศึกษา 2551

3. กลุ่มตัวอย่าง ที่ใช้ในการศึกษา คือ นักศึกษา

ชั้นปีที่ 1 ที่ลงทะเบียนเรียนวิชาการโปรแกรมเชิง

อ็อบเจกต์เบื้องต้น สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์

กลุ่มที่ 1 ภาคปลาย ปีการศึกษา 2551

4. ตัวแปรที่ศึกษา ประกอบด้วย

- ตัวแปรอิสระ คือ การสอนด้วยบทเรียน

คอมพิวเตอร์ช่วยสอน ได้แก่ วิชาการโปรแกรมเชิง

อ็อบเจกต์เบื้องต้น หัวข้อเรื่องตัวแปรและการ

ดำเนินการ

- ตัวแปรตาม คือ ผลสัมฤทธิ์ทางการ

เรียนของนักศึกษาที่เรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์

ช่วยสอน และความพึงพอใจของนักศึกษาต่อการใช้

บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน

คำนิยามศัพท์เฉพาะ

1. บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน หมายถึง

Page 7: Development and Evaluation of CAI for Learning the Topic of …eprints.utcc.ac.th/1092/1/1092fulltext.pdf · 2014-05-04 · การพัฒนาและศึกษาผลการใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน

การพัฒนาและศึกษาผลการใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน วิชาการ โปรแกรมเชิงอ็อบเจกต์เบื้องต้น เรื่องตัวแปรและการดำเนินการ

52 วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ปีที่ 30 ฉบับที่ 2 เดือนเมษายน - มิถุนายน 2553

บทเรียนที่ออกแบบและพัฒนาขึ้นโดยใช้คอมพิวเตอร ์

เป็นสื่อในการนำเสนอเนื้อหาโดยผ่านกระบวนการ

พัฒนาบทเรียนตามทฤษฎีด้านการเรียนรู้และด้าน

พฤติกรรม มีขั้นตอนในการหาประสิทธิภาพจาก

แบบวัดผลสัมฤทธิ์ของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วย

สอน มีจุดมุ่งหมายเพื่อใช้ในการเรียนวิชาการ

โปรแกรมเชิงอ็อบเจกต์เบื้องต้น เรื่องตัวแปรและ

การดำเนินการ

2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หมายถึง คุณภาพ

ของบทเรียนซึ่งวัดผลจากผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนจาก

บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนในการเรียนวิชาการ

โปรแกรมเชิงอ็อบเจกต์เบื้องต้น เรื่องตัวแปรและ

การดำเนินการ ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นโดยมีประสิทธิภาพ

ตามเกณฑ์ 80/80 โดยที่

- 80 ตัวแรก หมายถึง ค่าคะแนนเฉลี่ย

ของคะแนนที่ผู้เรียนทั้งหมดทำคะแนนได้โดยคิดเป็น

ร้อยละจากการประเมินผลของแบบฝึกหัด

- 80 ตัวหลัง หมายถึง ค่าคะแนนเฉลี่ย

ของคะแนนที่ผู้เรียนทั้งหมดทำคะแนนได้โดยคิดเป็น

ร้อยละจากการประเมินผลของแบบทดสอบท้าย

บทเรียน

3. แบบทดสอบ หมายถึง เครื่องมือที่ใช้วัดผล

สัมฤทธิ์ทางการเรียนของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วย

สอน มีจุดมุ่งหมายเพื่อใช้ในการเรียนวิชาการ

โปรแกรมเชิงอ็อบเจกต์เบื้องต้น เรื่องตัวแปรและ

การดำเนินการที่ผู้ วิจัยสร้างขึ้น โดยเป็นแบบ

ทดสอบชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ

4. ความพึงพอใจของนักศึกษา หมายถึง

ความคิดเห็น ความพอใจของนักศึกษาที่มีต่อลักษณะ

ของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนวิชาการโปรแกรม

เชิงอ็อบเจกต์เบื้องต้น เรื่องตัวแปรและการดำเนิน

การ ในด้านองค์ประกอบของโครงสร้างบทเรียน

คอมพิวเตอร์ช่วยสอน และวิธีการนำเสนอเนื้อหาใน

บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน

วิธีดำเนินการวิจัย

เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย

1. บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน วิชาการ

โปรแกรมเชิงอ็อบเจกต์เบื้องต้น หัวข้อเรื่องตัวแปร

และการดำเนินการที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นและนำไปทดลอง

หาคุณภาพเพื่อให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน

80/80

2. แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน

วิชาการโปรแกรมเชิงอ็อบเจกต์เบื้องต้น เรื่องตัวแปร

และการดำเนินการ

3. แบบสอบถามความพึงพอใจที่มีต่อการใช้

บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน

วิธีการสร้างเครื่องมือ

1. บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน

1.1 ศึกษาและวิเคราะห์เนื้อหา แยกออก

เป็นหน่วยต่างๆ แต่ละหน่วยแบ่งออกเป็นหัวข้อ

ย่อยๆ เรียงลำดับจากง่ายไปยาก

1.2 กำหนดวัตถุประสงค์ของการเรียน

1.3 เขียนแผนโครงเรื่อง (Story board)

ที่จะสอน กำหนดขอบเขตเนื้อหาและเวลาให้

เหมาะสม ให้ผู้เชี่ยวชาญด้านเนื้อหาตรวจสอบความ

ถูกต้อง แล้วปรับปรุงแก้ไขตามคำแนะนำ

1.4 ออกแบบและสร้างบทเรียนคอมพิวเตอร์

ช่วยสอนตามเนื้อหาที่ได้รับการปรับปรุงแก้ไข

1.5 นำบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่

Page 8: Development and Evaluation of CAI for Learning the Topic of …eprints.utcc.ac.th/1092/1/1092fulltext.pdf · 2014-05-04 · การพัฒนาและศึกษาผลการใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน

อารีวรรณ สุขวิลัย วิไลลักษณ์ เขมวงศ์

53วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ปีที่ 30 ฉบับที่ 2 เดือนเมษายน - มิถุนายน 2553

สร้างเสร็จเรียบร้อยแล้วให้ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโน-

โลยีการศึกษาทำการตรวจสอบโครงสร้างภายในสื่อ

และความถูกต้องของเนื้อหาตลอดจนความต่อเนื่อง

ของการเปลี่ยนแปลงจอภาพ สี แสง เสียง และ

ทำการปรับปรุงแก้ไขตามคำแนะนำ

1.6 นำบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน

ที่แก้ไขข้อบกพร่องแล้วไปทำการทดลองเพื่อหา

ประสิทธิภาพ ดังนี้

1.6.1 ทดลองกับนักศึกษาที่เคยเรียน

วิชาการโปรแกรมเชิงอ็อบเจกต์เบื้องต้น สาขาวิชา

วิทยาการคอมพิวเตอร์ จำนวน 3 คน คัดเลือกจาก

นักศึกษาที่มีเกรดเฉลี่ยสะสม 3 ช่วง คือ ระดับดี

ปานกลาง และอ่อน ซึ่งไม่ได้เป็นนักศึกษาที่อยู่ใน

กลุ่มการวิจัยครั้งนี้ เพื่อหาข้อบกพร่องของโปรแกรม

1.6.2 นำบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วย

สอนที่ปรับปรุงแก้ไขแล้วไปทดลองซ้ำอีกครั้งกับ

นักศึกษาที่เคยเรียนวิชาการโปรแกรมเชิงอ็อบเจกต์

เบื้องต้น สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ จำนวน

6 คน คัดเลือกจากนักศึกษาที่มีเกรดเฉลี่ยสะสม 3

ช่วง คือ ระดับดี ปานกลาง และอ่อน ระดับละ 2

คน ซึ่งไม่ได้เป็นนักศึกษาที่อยู่ในกลุ่มการวิจัยครั้งนี้

เพื่อหาข้อบกพร่องของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วย

สอนอีกครั้งและทำการปรับปรุงแก้ไข

1.6.3 นำบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วย

สอนที่ปรับปรุงแก้ไขแล้วไปทดลองซ้ำอีกครั้งกับ

นักศึกษาที่เคยเรียนวิชาการโปรแกรมเชิงอ็อบเจกต์

เบื้องต้น สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ จำนวน

30 คน คัดเลือกจากนักศึกษาที่มีเกรดเฉลี่ยสะสม 3

ช่วง คือ ระดับดี ปานกลาง และอ่อน ระดับละ 10

คน ซึ่งไม่ได้เป็นนักศึกษาที่อยู่ในกลุ่มการวิจัยครั้งนี้

เพื่อหาข้อบกพร่องของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วย

สอนอีกครั้งและทำการปรับปรุงแก้ไข

2. แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน

ผู้วิจัยได้ดำเนินการสร้างแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์

โดยให้ครอบคลุมเนื้อหาที่ใช้ในการเรียนการสอน

และตรวจสอบโดยผู้เชี่ยวชาญ ดังนี้

2.1 วิเคราะห์เนื้อหาและจุดประสงค์การ

เรียนรู้ของบทเรียน

2.2 ศึกษาวิธีการสร้างแบบทดสอบและ

การเขียนข้อสอบ

2.3 สร้างแบบทดสอบตามเนื้อหาแต่ละ

หน่วยเป็นแบบปรนัย ให้สอดคล้องกับจุดประสงค์

การเรียนรู้

2.4 นำแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการ

เรียนรู้ที่สร้างขึ้นให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบอีกครั้ง

ก่อนนำไปใช้จริง

3. แบบสอบถามความพึงพอใจต่อการใช้บท

เรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ดำเนินการตามลำดับ

ต่อไปนี้

3.1 ศึกษาเอกสาร แบบสอบถามจากงาน

วิจัยและวิทยานิพนธ์ต่างๆ ที่เกี่ยวกับเรื่องโปรแกรม

คอมพิวเตอร์ช่วยสอน

3.2 กำหนดขอบเขตของเนื้อหาที่สร้าง

แบบสอบถาม

3.3 ศึกษาวิธีการสร้ างเครื่ องมือและ

เทคนิคการเก็บรวบรวมข้อมูลแบบมาตราส่วน

ประมาณค่า (rating scale) ของลิเคอร์ท

3.4 สร้างแบบสอบถามความพึงพอใจต่อ

การใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเป็นแบบ

มาตราส่วนประมาณค่า (rating scale) 5 ระดับ

3.5 นำแบบสอบถามไปเสนอผู้เชี่ยวชาญ

เพื่อพิจารณาความถูกต้อง ความเที่ยงตรงตาม

เนื้อหา และความครอบคลุมของเรื่องที่ต้องการวัด

Page 9: Development and Evaluation of CAI for Learning the Topic of …eprints.utcc.ac.th/1092/1/1092fulltext.pdf · 2014-05-04 · การพัฒนาและศึกษาผลการใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน

การพัฒนาและศึกษาผลการใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน วิชาการ โปรแกรมเชิงอ็อบเจกต์เบื้องต้น เรื่องตัวแปรและการดำเนินการ

54 วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ปีที่ 30 ฉบับที่ 2 เดือนเมษายน - มิถุนายน 2553

การเก็บรวบรวมข้อมูล

ผู้วิจัยได้ทำการทดลองและเก็บข้อมูลโดยมี

นักศึกษาช่วยงาน 2 คน โดยดำเนินการ ดังนี้

1. ก่อนดำเนินการทดลองทุกครั้ง ผู้วิจัยตรวจ

ความเรียบร้อยของห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ที่ใช้

ในการทดลอง รวมทั้งเครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง

2. ทำการทดลอง

2.1 ผู้วิจัยจะอธิบายการใช้โปรแกรมบท

เรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนและวิธีการใช้เครื่อง

คอมพิวเตอร์ พร้อมทั้งแจงจุดประสงค์ในการเรียน

และเงื่อนไขในการเรียนให้กลุ่มตัวอย่างเข้าใจ

2.2 ให้กลุ่มตัวอย่างทำแบบทดสอบวัดผล

สัมฤทธิ์ก่อนเรียน ใช้เวลา 30 นาที

2.3 มอบหมายให้กลุ่มตัวอย่างเรียนด้วย

บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน โดยกลุ่มตัวอย่าง

เรียนด้วยตนเองภายในห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์

ใช้เวลาทดลอง 2 คาบๆ ละ 75 นาที โดยผู้สอน

อยู่ในห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ด้วย

2.4 ให้กลุ่มตัวอย่างทำการทดสอบวัดผล

สัมฤทธิ์หลังการเรียนเรื่องตัวแปรและการดำเนินการ

ใช้เวลา 30 นาที โดยใช้แบบทดสอบชุดเดียวกับข้อ

2.2 แต่สลับข้อเพื่อให้เกิดความแตกต่าง

3. ให้กลุ่มตัวอย่างทำแบบสอบถามความพึง

พอใจหลังจากทำแบบทดสอบหลังเรียนเสร็จแล้ว

4. นำข้อมูลที่ได้จากการทดลอง ไปวิเคราะห์

หาค่าทางสถิติ

การวิเคราะห์ข้อมูล

การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป

ทางสถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล แบ่งเป็น

1. หาค่าสถิติพื้นฐาน ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย

และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

2. ทดสอบสมมติฐาน โดยการทดสอบที

(t-test) คือ

2.1 การเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของกลุ่ม

ตัวอย่างกับประชากรหรือค่าคงที่ในทฤษฎี หรือค่า

คงที่ค่าใดค่าหนึ่งที่ผู้วิจัยต้องการเปรียบเทียบ

2.2 การทดสอบสมมติ ฐ านของกลุ่ ม

ตัวอย่าง 2 กลุ่มที่ไม่เป็นอิสระต่อกัน

สรุปผลการวิจัย

การศึกษาเรื่อง การพัฒนาและศึกษาบทเรียน

คอมพิว เตอร์ช่ วยสอนวิชาการโปรแกรมเชิ ง

อ็อบเจกต์เบื้องต้น เรื่องตัวแปรและการดำเนินการ

สามารถสรุปได้ ดังนี้

1. บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนวิชาการ

โปรแกรมเชิงอ็อบเจกต์เบื้องต้น เรื่องตัวแปรและ

การดำเนินการมีประสิทธิภาพ 80.3/80.4 ดังแสดง

ในตารางที่ 1

Page 10: Development and Evaluation of CAI for Learning the Topic of …eprints.utcc.ac.th/1092/1/1092fulltext.pdf · 2014-05-04 · การพัฒนาและศึกษาผลการใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน

อารีวรรณ สุขวิลัย วิไลลักษณ์ เขมวงศ์

55วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ปีที่ 30 ฉบับที่ 2 เดือนเมษายน - มิถุนายน 2553

ตารางที่ 1 การวิเคราะห์ประสิทธิภาพของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน

กลุ่มทดลอง แบบฝึกหัด

ระหว่างเรียน

(20 คะแนน)

แบบทดสอบ

ก่อนเรียน

(30 คะแนน)

แบบทดสอบ

หลังเรียน

(30 คะแนน)

ประสิทธิภาพ

ครั้งที่ 1

ครั้งที่ 2

ครั้งที่ 3

13.3

13.7

16.1

16.7

14.7

13.2

25.3

18.3

24.1

66.7/83.3

68.3/61.1

80.3/80.4

2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้วยบทเรียน

คอมพิวเตอร์ช่วยสอนวิชาการโปรแกรมเชิงอ็อบเจกต์

เบื้องต้น เรื่องตัวแปรและการดำเนินการ พบว่า

นักศึกษาส่วนใหญ่มีคะแนนแบบฝึกหัด เท่ากับ 20

คะแนนจากคะแนนเต็ม 20 คะแนน จำนวน 18

คน จากนักศึกษาทั้งหมด 24 คน คิดเป็นร้อยละ 75

ส่วนนักศึกษาที่มีคะแนนแบบฝึกหัดน้อยที่สุด

เท่ากับ 12 คะแนน นักศึกษามีคะแนนก่อนเรียน

ด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนวิชาการโปรแกรม

เชิงอ็อบเจกต์เบื้องต้น เรื่องตัวแปรและการดำเนิน

การ เฉลี่ย 14.71 คะแนน จากคะแนนเต็ม 30

คะแนน และนักศึกษามีคะแนนหลังเรียนด้วยบท

เรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเฉลี่ย 22.58 คะแนน

จากคะแนนเต็ม 30 คะแนน เมื่อทดสอบความแตก

ต่างของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียน

ด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน พบว่า แตกต่าง

กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (p =

0.00) และเมื่อทำการทดสอบผลสัมฤทธิ์ของการเรียน

ด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนจากการทดสอบ

หลังเรียนกับเกณฑ์ที่กำหนด 80% คือ 24 คะแนน

จากคะแนนเต็ม 30 คะแนน พบว่า ผลสัมฤทธิ์ของ

การเรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนจากการ

ทดสอบหลังเรียนแตกต่างจากเกณฑ์ อย่างมีนัย-

สำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (p = 0.04)

3. ความพึงพอใจของผู้ใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์

ช่วยสอนวิชาการโปรแกรมเชิงอ็อบเจกต์เบื้องต้น

เรื่องตัวแปรและการดำเนินการ พบว่า นักศึกษามี

ความพึงพอใจเกี่ยวกับองค์ประกอบของบทเรียน

คอมพิวเตอร์ช่วยสอนโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง

ส่วนความพึงพอใจในการใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์

ช่วยสอนโดยรวมอยู่ในระดับมาก

อภิปรายผลการวิจัย

1. การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน

วิชาการโปรแกรมเชิงอ็อบเจกต์เบื้องต้น เรื่องตัวแปร

และการดำเนินการ พบว่า บทเรียนคอมพิวเตอร์

ช่วยสอนมีประสิทธิภาพ 80.3/80.4 ซึ่งแสดงว่า

บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนมีประสิทธิภาพตาม

เกณฑ์ที่กำหนด 80/80 สามารถนำบทเรียน

คอมพิวเตอร์ไปใช้เป็นสื่อประกอบการเรียนการสอน

ได้ ทั้งนี้ เนื่องมาจากกระบวนการสร้างบทเรียน

คอมพิวเตอร์ช่วยสอนได้ผ่านการพิจารณาจาก

ผู้เชี่ยวชาญด้านเนื้อหาและด้านสื่อโปรแกรม มีการ

ปรับปรุงตามข้อเสนอแนะทุกขั้นตอน การพัฒนา

เป็นไปทีละขั้นตอนอย่างเป็นระบบ การออกแบบ

บทเรียนคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล เพื่อ

ให้เกิดการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งผลการ

วิจัยสอดคล้องกับ ภีมศักดิ์ เอ้งฉ้วน (2544) ได้

ทำการวิจัยเรื่อง การสร้างบทเรียนคอมพิวเตอร์

Page 11: Development and Evaluation of CAI for Learning the Topic of …eprints.utcc.ac.th/1092/1/1092fulltext.pdf · 2014-05-04 · การพัฒนาและศึกษาผลการใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน

การพัฒนาและศึกษาผลการใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน วิชาการ โปรแกรมเชิงอ็อบเจกต์เบื้องต้น เรื่องตัวแปรและการดำเนินการ

56 วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ปีที่ 30 ฉบับที่ 2 เดือนเมษายน - มิถุนายน 2553

ช่วยสอนกระบวนวิชาสถิติและการวิจั ยทาง

สังคมศาสตร์ พบว่า บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน

กระบวนวิชาสถิติและการวิจัยทางสังคมศาสตร์มี

ประสิทธิภาพเป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนดไว้

80/80 สอดคล้องกับ นิธิวรรณ รุ้งรังษี (2552) ได้

ทำการวิจัยเรื่อง การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์

ช่วยสอน เรื่องการถอด ประกอบ และดูแลรักษา

เครื่องคอมพิวเตอร์ ผลงานวิจัยพบว่า บทเรียน

คอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่องการถอด ประกอบ และ

ดูแลรักษาเครื่องคอมพิวเตอร์ มีประสิทธิภาพ

85.44/83.22 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด สอดคล้อง

กับ กมลรัตน์ สมใจ (2552) ได้ทำการวิจัยเรื่อง การ

พัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนผ่านเครือข่าย

อินเทอร์เน็ต วิชาเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการ

เรียนรู้ เรื่องการทำงานในระบบคอมพิวเตอร์

สถาบันราชภัฏบุรีรัมย์ พบว่า บทเรียนคอมพิวเตอร์

ช่วยสอนผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ที่พัฒนาขึ้นมี

ประสิทธิภาพเท่ากับ 82.40/83.67 ยังมีงานวิจัยของ

นัฏยา ลิ้มไพบูลย์ (2550) ได้ทำการวิจัยเรื่อง การ

สร้างบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนบนเครือข่าย

อินเทอร์เน็ต วิชาคอมพิวเตอร์เพื่องานอาชีพ ของ

นักเรียนชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) วิทยาลัย

สารพัดช่างขอนแก่น สำนักงานคณะกรรมการการ

อาชีวศึกษา พบว่าบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน

บนเว็บไซต์ที่สร้างขึ้นทั้ง 13 หน่วยการเรียนรู้ มี

ประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด 80/80 คือ

86.55/86.00 ค่าดัชนีประสิทธิผลของบทเรียนบน

เครือข่าย มีค่าเท่ากับ 0.71 ซึ่งแสดงว่าบทเรียน

บนเว็บไซต์ ทำให้ผู้เรียนมีคะแนนเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ

71 คะแนน ผลจากการทำแบบทดสอบวัดผล

สัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนด้วยบทเรียน

คอมพิวเตอร์ช่วยสอนบนเว็บไซต์ หลังเรียนสูงกว่า

ก่อนเรียน และผู้เรียนมีความพึงพอใจต่อบทเรียน

บนเว็บไซต์รายวิชาคอมพิวเตอร์เพื่องานอาชีพใน

ระดับมาก นอกจากนี้ ยังสอดคล้องกับผลงานวิจัย

ของ อภิญญา อิงอาจ (2551) ได้ทำการวิจัยเรื่อง

การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนวิชาสถิติ

เบื้องต้น เรื่องทฤษฎีความน่าจะเป็นเบื้องต้น พบว่า

บทเรี ยนคอมพิว เตอร์ช่ วยสอนที่พัฒนาขึ้ นมี

ประสิทธิภาพ 82/81.33 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด

2. การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน

ระหว่างก่อนกับหลังการใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วย

สอน พบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลัง

เรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนวิชาการ

โปรแกรมเชิงอ็อบเจกต์เบื้องต้น มีความแตกต่างกัน

อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 แสดงให้เห็น

ว่า นักศึกษาที่ได้ใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนจะ

มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น เนื่องมาจากบทเรียน

คอมพิวเตอร์ช่วยสอน ประกอบด้วย ข้อความ

ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว และเสียง ทำให้การเรียน

นั้นน่าสนใจ ซึ่งเป็นสิ่งเร้าที่ดี มีข้อแนะนำในการใช้

บทเรียน มีแบบฝึกหัดให้ผู้เรียนทดสอบ ผู้เรียน

สามารถเลือกเรียนเนื้อหาที่สนใจและตามระดับ

ความสามารถ ทำให้เรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

กว่าการเรียนแบบปกติ ซึ่งผลการวิจัยครั้งนี้สอดคล้อง

กับ กัลยา อุบลทิพย์ (2549) ได้ทำการวิจัยเรื่องการ

สร้างและหาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของบทเรียน

คอมพิวเตอร์ช่วยสอนระบบมัลติมีเดียสาขาช่างยนต์

เรื่อง งานบริการภาระทางไฟฟ้า ผลการวิจัย พบว่า

หลังจากนักศึกษาที่เรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์

ช่วยสอนระบบมัลติมีเดียที่สร้างขึ้น มีผลสัมฤทธิ์

ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมี

นัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และสอดคล้องกับ

อภิญญา อิงอาจ (2551) ได้ทำการวิจัยเรื่องการ

พัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนวิชาสถิติ

เบื้องต้น เรื่องทฤษฎีความน่าจะเป็นเบื้องต้น พบว่า

Page 12: Development and Evaluation of CAI for Learning the Topic of …eprints.utcc.ac.th/1092/1/1092fulltext.pdf · 2014-05-04 · การพัฒนาและศึกษาผลการใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน

อารีวรรณ สุขวิลัย วิไลลักษณ์ เขมวงศ์

57วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ปีที่ 30 ฉบับที่ 2 เดือนเมษายน - มิถุนายน 2553

ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังการเรียนด้วยบทเรียน

คอมพิวเตอร์ช่วยสอนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัย-

สำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วน สุพี เจริญพานิช

(2549) ได้ทำการวิจัยเรื่องการพัฒนาคอมพิวเตอร์

ช่วยสอน เรื่องคำสั่งในภาษา C ในวิชา 4121202

การเขียนโปรแกรมภาษาคอมพิวเตอร์ 1 พบว่า ผล

สัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องฟังก์ชันในภาษาซีของกลุ่ม

ตัวอย่างที่ใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนสูงกว่า

กลุ่มที่ไม่ได้ใช้บทเรียนอย่างมีนัยสำคัญที่ .05 และ

งานวิจัยของ ญาณิน ทองเพิ่ม (2551) ได้ทำการ

วิจัยเรื่องการสร้างเลิร์นนิง อ็อบเจกต์ เพื่อพัฒนา

ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐาน สําหรับ

นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 การค้นคว้าแบบอิสระ

ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้าง Learning Objects

เพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้น

พื้นฐาน สําหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่มี

คุณภาพ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ

นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/3 โรงเรียนดารา-

วิทยาลัย อําเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ ภาคเรียน

ที่ 1 ปี การศึกษา 2551 จํานวน 48 คน เครื่องมือ

ที่ ใช้ในการศึกษา ประกอบด้วย 1) Learning

Objects เพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยา-

ศาสตร์ขั้นพื้นฐานสําหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่

1 เรื่อง ทักษะการจําแนกประเภท 2) แบบสังเกต

พฤติกรรมการเรียนของนักเรียน 3) แบบสอบถาม

ความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการใช้งานของ

Learning Objects ดําเนินการศึกษาโดยนํา

Learning Objects ไปใช้กับนักเรียนกลุ่มตัวอย่าง

จากนั้นนําข้อมูลที่ ได้มาวิเคราะห์โดยการใช้ค่า

เปอร์เซ็นต์และค่าเฉลี่ย จากการศึกษา พบว่า การ

ทดสอบด้านพฤติกรรมการเรียนของผู้เรียนมีผลการ

ประเมินอยู่ในระดับดีมาก และผลความคิดเห็นของ

นักเรียนที่มีต่อการใช้งานของ Learning Objects

โดยเฉลี่ยอยู่ในระดับดีมาก ซึ่งได้แก่ การใช้ภาพ

กราฟิก ประกอบ การจัดวางปุ่ม การให้คําอธิบาย

วิธีการเล่นเกมมีความชัดเจน โดยมีด้านการใช้เสียง

ปริมาณเนื้อหาและกิจกรรม และความท้าทายตื่นเต้น

อยู่ในระดับดี และด้านความรู้และประสบการณ์ที่ได้

พบว่า ทําให้นักเรียนเกิดทักษะการจําแนกประเภท

ได้มากขึ้น และมีทักษะในการจําแนกประเภทใน

ระดับดีมาก

3. ความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อการใช้

บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเรื่องตัวแปรและการ

ดำเนินการ พบว่า นักศึกษามีความพึงพอใจเกี่ยวกับ

ส่วนประกอบของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนโดย

รวมอยู่ในระดับปานกลาง ซึ่งพิจารณาเป็นรายข้อ

พบว่า นักศึกษามีความพึงพอใจเกี่ยวกับส่วน

ประกอบบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เพราะ

อาจารย์ผู้สอนมีคู่มือ หรือชี้แจงการนำเข้าสู่บทเรียน

คอมพิวเตอร์ช่วยสอน มีคำชี้แจงในการใช้บทเรียน

คอมพิวเตอร์ช่วยสอน มีเมนูแสดงรายการเพื่อเลือก

ในการเข้าสู่บทเรียน/แบบฝึกหัด มีคำสั่งในการให้

ปฏิบัติในแบบฝึกหัด มีการบอกคะแนนหลังจากทำ

แบบฝึกหัดเสร็จ เป็นต้น ส่วนความพึงพอใจในการ

ใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนโดยรวมอยู่ใน

ระดับมาก ซึ่งพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า นักศึกษา

มีความพึงพอใจในการใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วย

สอน เพราะตัวอักษรในบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วย

สอนชัดเจน อ่านง่าย นักศึกษาต้องการเรียนกับบท

เรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนในบทเรียนอื่นๆ จำนวน

ตัวอย่าง/แบบฝึกหัดมีความเหมาะสม บทเรียน

คอมพิวเตอร์ช่วยสอนทำให้นักศึกษาเข้าใจเนื้อหาใน

เรื่องนั้นได้ดีขึ้น บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนทำให้

นักศึกษาเรียนอย่างมีความสุข สนุกกับการเรียน

และสี เสียงของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนทำให้

น่าสนใจ ซึ่งสอดคล้องกับผลงานวิจัยของ กัลยา

Page 13: Development and Evaluation of CAI for Learning the Topic of …eprints.utcc.ac.th/1092/1/1092fulltext.pdf · 2014-05-04 · การพัฒนาและศึกษาผลการใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน

การพัฒนาและศึกษาผลการใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน วิชาการ โปรแกรมเชิงอ็อบเจกต์เบื้องต้น เรื่องตัวแปรและการดำเนินการ

58 วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ปีที่ 30 ฉบับที่ 2 เดือนเมษายน - มิถุนายน 2553

อุบลทิพย์ (2549) ได้ทำการวิจัยเรื่อง การสร้างและ

หาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของบทเรียนคอมพิวเตอร์

ช่วยสอนระบบมัลติมีเดียสาขาช่างยนต์ เรื่องงาน

บริการภาระทางไฟฟ้า พบว่า บทเรียนคอมพิวเตอร์

ช่วยสอนสามารถสร้างความพึงพอใจในการใช้งาน

ให้กับผู้เรียนด้านกระบวนการเรียนการสอนและ

ด้านเทคนิคมัลติมีเดียในประเด็นต่างๆ อยู่ในระดับ

มากที่สุด และสอดคล้องกับผลงานวิจัยของ อภิญญา

อิงอาจ (2551) ได้ทำการวิจัยเรื่อง การพัฒนาบทเรียน

คอมพิวเตอร์ช่วยสอนวิชาสถิติเบื้องต้น เรื่องทฤษฎี

ความน่าจะเป็นเบื้องต้น พบว่า นักศึกษาชอบเรียน

ด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ทำให้มีความ

เข้าใจเนื้อหาในบทเรียนได้ดีขึ้น ต้องการให้นักศึกษา

ผู้อื่นและตนเองได้มี โอกาสเรียนด้วยบทเรียน

คอมพิวเตอร์ช่วยสอนในวิชานี้และวิชาอื่นๆ อีกด้วย

ข้อเสนอแนะในการนำผลการวิจัยไปใช้

1. นักศึกษาที่ใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน

เรื่องตัวแปรและการดำเนินการ ควรศึกษาหรืออ่าน

คู่มือการใช้ให้เข้าใจก่อนใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วย

สอนในการทบทวนเนื้อหาด้วยตนเอง

2. ในระหว่างการใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์

ช่วยสอนเรื่องตัวแปรและการดำเนินการ พบเห็นว่า

นักศึกษาบางคนยังไม่คุ้นเคยกับการเรียนแบบใช้สื่อ

ทำให้การเรียนดำเนินไปอย่างเชื่องช้า ซึ่งอาจทำให้

เกิดความเบื่อหน่าย ควรออกแบบให้บทเรียนมีการ

กระตุ้นผู้เรียนอยู่ตลอดเวลา

3. จากผลการวิจัยที่ได้ทำให้ทราบว่า การเรียน

ด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเรื่องตัวแปรและ

การดำเนินการ ทำให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น

มากกว่าการเรียนการสอนในชั้นเรียนตามปกติ หาก

นักศึกษานำบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนไปเรียนรู้

เพิ่มเติม ซ่อมเสริม หรือทบทวน ก็จะส่งผลให้

ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่าวิธีการทบทวนด้วย

ตนเองตามปกติ หรือสอนเสริมตามปกติ

บรรณานุกรม

กมลรัตน์ สมใจ. 14 พฤษภาคม 2552. การพัฒนา

บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนผ่านเครือข่าย

อินเทอร์เน็ตวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อ

การเรียนรู้ เรื่องการทำงานในระบบคอมพิว-

เตอร์ สถาบันราชภัฏบุรีรัมย์ [ออนไลน์].

เข้าถึงจาก: http://www.thaiedresearch.org

กัลยา อุบลทิพย์. 2549. “การสร้างและหาผล

สัมฤทธิ์ทางการเรียนของบทเรียนคอมพิวเตอร์

ช่วยสอน ระบบมัลติมีเดียสาขาช่างยนต์ เรื่อง

งานบริการภาระทางไฟฟ้า.” วารสารวิชาการ

พระจอมเกล้าพระนครเหนือ 16, 3: 52-58.

กิดานันท์ มลิทอง. 14 พฤษภาคม 2552. คุณค่า

ของ CAI ต่อการศึกษา [ออนไลน์]. เข้าถึง

จาก: http://yalor.yru.ac.th/

ญาณิน ทองเพิ่ม . 2551. การสร้างเลิร์นนิง

อ็อบเจกต์ เพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการ

ทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐาน สําหรับนักเรียน

ชั้นมัธยมศึกษาปที่ 1 [ออนไลน]์. เข้าถึงจาก:

http://library.cmu.ac.th/digital_collection/

etheses/searching.php

นัฏยา ลิ้มไพบูลย์ . 2550. การสร้างบทเรียน

คอมพิวเตอร์ช่วยสอน บนเครือข่ายอินเทอร์-

เน็ต วิชาคอมพิวเตอร์เพื่องานอาชีพ ของ

นักเรียนชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.)

วิทยาลัยสารพัดช่างขอนแก่น สำนักงาน

คณะกรรมการการอาชีวศึกษา [ออนไลน์].

เข้าถึงจาก: http://www.kroobannok. com/

blog/view.php?article_id=20363

Page 14: Development and Evaluation of CAI for Learning the Topic of …eprints.utcc.ac.th/1092/1/1092fulltext.pdf · 2014-05-04 · การพัฒนาและศึกษาผลการใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน

อารีวรรณ สุขวิลัย วิไลลักษณ์ เขมวงศ์

59วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ปีที่ 30 ฉบับที่ 2 เดือนเมษายน - มิถุนายน 2553

นิธิวรรณ รุ้งรังษี. 14 พฤษภาคม 2552. การพัฒนา

บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่องการถอด

ประกอบ และดูแลรักษาเครื่องคอมพิวเตอร์

[ออนไลน์ ] . เข้าถึงจาก: http://www.

thaiedresearch.org

ภีมศักดิ์ เอ้งฉ้วน. 2544. การสร้างบทเรียน

คอมพิวเตอร์ช่วยสอนกระบวนวิชาสถิติและ

การวิจัยทางสังคมศาสตร์. กรุงเทพมหานคร:

คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

มณฑล สรรพิบูลย์, ปิยพันธ์ แสนทวีสุข และไชยา

ภาวะบุตร. 2551. “การพัฒนาบทเรียน

คอมพิวเตอร์ช่วยสอนกลุ่มสาระการเรียนรู้

ศิลปะ ช่วงชั้นที่ 4 สาระการเรียนรู้ที่ 2 เรื่อง

องค์ประกอบของดนตรี.” ในเอกสารประชุม

วิชาการนเรศวรวิจัย ครั้งที่ 4: การบริหาร

นวัตกรรม, หน้า 230. พิษณุโลก: มหา-

วิทยาลัยนเรศวร.

ลักษณะของคอมพิวเตอร์ช่วยสอน 13 พฤษภาคม

2552. [ออนไลน์ ] . เข้าถึงจาก: http://

senarak.tripod.com/

สุพี เจริญพานิช. 2549. การพัฒนาคอมพิวเตอร์

ช่วยสอน เรื่องคำสั่งในภาษา C [ออนไลน์].

เข้าถึงจาก: www.research.cmru.ac.th/ris/

resin/abs/I0142.doc

อภิญญา อิงอาจ. 1 กรกฎาคม 2551. การพัฒนา

บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนวิชาสถิติ

เบื้องต้น เรื่องทฤษฎีความน่าจะเป็นเบื้องต้น

[ออนไลน์]. เข้าถึงจาก: http://std.kku.ac.th/

Mrs. Areewan Sukwilai received her Master of Applied Statistics Degree

in Computer Science from the National Institute of Development

Administration, Bangkok, Thailand. She is a lecturer at the Department of

Computer Science, School of Science, University of the Thai Chamber of

Commerce. Her main interests are Object-Oriented Programming and

teaching techniques.

Ms. Vilailuck Kheamwong graduated with a Master’s Degree in

Educational Research from Ramkhamhaeng University, Bangkok, Thailand.

She is currently working as a research assistant in the Research Support

Office, University of the Thai Chamber of Commerce. Her main interest is

in Educational Research.