of 15 /15
ววสสสสสสสส : ววววววววววววววววววววววววววววววววว ววววววววววววววว ววววววววววววววววววววววว ววววววววววววววววววววววววว 3.3 สสสสสสสสสสสสสสส สสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสส 1. วววววววววววววววววววววววววววววววว ววววววววววววววววววววววววววววววววว (Integrate & Participation) ววววววววววววววววววววววววววว ววววววววววววววววว 2. ววววววววววววววววววววววววววววว วววววววววววววววววววววววววววววววววววววววววววว วววว (Input, Process, output/ outcome, Feedback) 3. ววววววววว วววววววววววววววววววววววว ววววววว สสสสสสสสส/สสสสสสสสสสสสสสสสส 1. วววววววววววววววววววววววววววววววววว ววววววววววววววววววววววววววววววววววววววววว (วววววว 70) สสสสสสสสสสสสสสสสสสสส : ววววววววววววววววว วววววววววววววววววววววววววววว ววววววววววว วววววววว ววววว วววววววว 1.) สสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสส สสสสสสสสสส สสสสสสสสสสสสสส สสสสสสสสสสสสสสส สสสสส/ สสสสสสส 1. สสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสส สสสสสสสสสส วววว 165 ววววววววววววววววววววววววววววววววววววววววววว ววววววววว ววว 12 วววววว 1 วววววววววว 2559

data.ptho.moph.go.thdata.ptho.moph.go.th/.../f1601_20160623161210.docx · Web view1.2 การว เคราะห จ ดอ อนจ ดแข งของการบร หารจ

  • Author
    others

  • View
    2

  • Download
    0

Embed Size (px)

Text of data.ptho.moph.go.thdata.ptho.moph.go.th/.../f1601_20160623161210.docx · Web view1.2 การว...

วิสัยทัศน์ : ระบบสุขภาพทุกระดับมีคุณภาพมาตรฐาน ประชาชนสุขภาพดี ชุมชนพึ่งตนเองทางสุขภาพ สู่เมืองสุขภาวะที่ยั่งยืน

วิสัยทัศน์ : ระบบสุขภาพทุกระดับมีคุณภาพมาตรฐาน ประชาชนสุขภาพดี ชุมชนพึ่งตนเองทางสุขภาพ สู่เมืองสุขภาวะที่ยั่งยืน

3.3 การพัฒนาบุคลากร

ประเด็นการตรวจราชการที่มุ่งเน้น

1. การจัดทำแผนพัฒนาบุคลากรโดยการมีส่วนร่วมจากภาคีเครือข่ายในพื้นที่ (Integrate & Participation) ครอบคลุมปัญหาทั้งด้านบริหาร บริการและสนับสนุน

2. กลไกและระบบสนับสนุนในการพัฒนาบุคลากรให้มีประสิทธิภาพเกิดผลสัมฤทธิ์ตามเป้าหมาย (Input, Process, output/ outcome, Feedback)

3. การกำกับ ติดตามการพัฒนาบุคลากรของจังหวัด

ตัวชี้วัด/ผลลัพธ์ที่ต้องการ

1. ร้อยละของจังหวัดในเขตสุขภาพที่ผ่านเกณฑ์คุณภาพการบริหารจัดการการพัฒนาบุคลากร (ร้อยละ 70)

ประเด็นการตรวจราชการ : การบริหารจัดการยาและเวชภัณฑ์ที่มิใช่ยาอย่างมีประสิทธิภาพ สมเหตุผล และมีจริยธรรม

1.) สถานการณ์การบริหารจัดการการพัฒนาบุคลากรของจังหวัด

ประเด็นการตรวจ

ผลการดำเนินงาน

ปัญหา/อุปสรรค

1. การจัดทำแผนพัฒนาบุคลากรโดยการมีส่วนร่วมจากพื้นที่ (สอดรับกับเกณฑ์คุณภาพการบริหารจัดการฯ ขั้นที่ 1 - 2)

1.1 องค์ประกอบของคณะกรรมการครอบคลุม

- ผู้บริหารทุกระดับ

- กลุ่มยุทธศาสตร์ระดับจังหวัด

- ผู้รับผิดชอบการพัฒนาบุคลากรของหน่วยงานทุกระดับ

- ผู้แทนวิชาชีพ

- หน่วยวิชาการ ได้แก่ สถานศึกษาต่างๆ /วิทยาลัยในสังกัด สบช.

- ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง

จังหวัดพัทลุงได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการบริหารทรัพยากรบุคคลด้านสุขภาพ โดยมีนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดพัทลุงเป็นประธาน ผู้อำนวยการโรงพยาบาลพัทลุงและนายแพทย์เชี่ยวชาญ(ด้านเวชกรรมป้องกัน)เป็นรองประธาน มีตัวแทนผู้อำนวยการโรงพยาบาลชุมชน ตัวแทนสาธารณสุขอำเภอ และมีหัวหน้ากลุ่มงานทรัพยากรบุคคลเป็นกรรมการและเลขานุการ

1.2 การวิเคราะห์จุดอ่อนจุดแข็งของการบริหารจัดการการพัฒนาบุคลากร(SWOT Analysis) มีองค์ประกอบต่างๆ เช่น

1.2.1 นโยบายด้าน HRD ของเขตสุขภาพ

1.2.2 แผนกำลังคนของจังหวัด

คณะกรรมการบริหารทรัพยากรบุคคลด้านสุขภาพ ได้มีการแต่งตั้งอนุกรรมการบริหารจัดการกำลังคน และคณะอนุกรรมการพัฒนากำลังด้านสุขภาพ ขึ้น โดยมีตัวแทนสายวิชาชีพต่าง ๆ ร่วมเป็นอนุกรรมการ เพื่อวิเคราะห์ข้อมูลด้านกำลังคน นโยบายต่าง ๆ เพื่อวางแผนจัดการกำลังคนของจังหวัด

การวิเคราะห์ข้อมูล อาจจะไม่ครอบคลุมทุกด้าน

1.3 การวิเคราะห์(Need Assessment)

1.3.1 แผนกำลังคนของเขตสุขภาพ

1.3.2 ปัญหาการจัดบริการสุขภาพ เช่น

- ปัญหาการส่งต่อผู้ป่วยออกนอกพื้นที่

- ปัญหาสุขภาพในพื้นที่ (สาเหตุการอัตราตายและอัตราป่วยของประชากรในจังหวัด)

1.3.3 ปัญหาการบริหารจัดการของหน่วยงานในจังหวัด : การจัดซื้อจัดจ้าง/การเงินการคลัง/ การบริหารงานบุคคล

1..4. แผนพัฒนาบุคลากรครอบคลุมสถานบริการทุกระดับและทุกกลุ่มเป้าหมาย(สายบริหาร สายวิชาชีพและสายสนับสนุน)

1.4.1 แผนฯ สอดรับกับผลการวิเคราะห์(Need Assessment)

1.4.2 มีการจัดลำดับความสำคัญของโครงการ/หลักสูตรในแผนพัฒนาบุคลากร

1.4.3 แผนนำสู่การปฏิบัติได้จริง (มีระบุหลักสูตร/โครงการ/วิธีการพัฒนา/กลุ่มเป้าหมาย/งบประมาณ/ระยะเวลาการดำเนินงาน/ผู้รับผิดชอบ)

คณะอนุกรรมการพัฒนากำลังด้านสุขภาพได้มีการประชุม เพื่อกำหนดกรอบ แนวทางในการพัฒนาบุคลากรของจังหวัดให้เป็นไปตามความต้องการ ความจำเป็นของหน่วยงาน ตลอดจนความจำเป็นเร่งด่วน เพื่อรองรับการพัฒนาระบบบริการสุขภาพ โดยเน้นที่หลักสูตรเฉพาะทาง ระยะสั้น 10 วัน 4 เดือน ไม่เกิน 1 ปี

ไม่สามารถดำเนินการตามแผนการพัฒนาบุคลากรได้ เนื่องจากขาดงบประมาณ หาสถานที่ฝึกอบรมไม่ได้ และไม่สามารถส่งบุคลากรเข้าฝึกอบรมได้เนื่องจากขาดบุคลากรในการปฏิบัติงาน

2. กลไกและระบบสนับสนุนในการพัฒนาบุคลากรให้มีประสิทธิภาพเกิดผลสัมฤทธิ์ตามเป้าหมายของจังหวัด/เขตสุขภาพ (Input, Process, output/outcome, Feedback)(สอดรับกับเกณฑ์คุณภาพการบริหารจัดการฯ ขั้นที่ 3 -4)

2.1 ชี้แจงและถ่ายทอดแนวทางการบริหารจัดการการพัฒนาบุคลากรให้กับทีมงานผู้รับผิดชอบของหน่วยงานทุกระดับในจังหวัด

ขณะนี้อยู่ระหว่างการตรวจสอบและรวบรวมแผนพัฒนาบุคลากร โดยคณะอนุกรรมการพัฒนากำลังคน ฯ ซึ่งได้ร่วมกันพิจารณาไปรอบหนึ่งแล้ว

2.2 จังหวัดได้พัฒนาศักยภาพทีมงาน/ผู้รับผิดชอบการพัฒนาบุคลากรของหน่วยงานทุกระดับด้านองค์ความรู้การบริหารจัดการกำลังคน/การพัฒนาบุคลากร

ส่วนของการพัฒนาบุคลากรไม่ได้ดำเนินการพัฒนาศักยภาพทีมงาน สำหรับการบริหารจัดการกำลังคน มีการประชุมเป็นประจำเดือนละ 1 ครั้ง

2.3 สนับสนุนข้อมูลต่างๆ ให้กับสถานบริการทุกระดับ เช่น

-สถานการณ์กำลังคนของจังหวัด

-ข้อมูลการพัฒนาบุคลากรรายสถานบริการ/รายวิชาชีพ/รายสาขา 12 สาขา ตามแผนพัฒนาระบบบริการสุขภาพ(Service Plan)

-นโยบายด้าน HRD ของเขตสุขภาพ

-ปัญหาสุขภาพในพื้นที่

-ปัญหาการบริหารจัดการกำลังคนในพื้นที่

มีการประชุมชี้แจงผู้รับผิดชอบงานกำลังคนเดือนละ 1 ครั้ง สำหรับข้อมูลการพัฒนาบุคลากร ยังไม่ได้ดำเนินการ

2.4 แผนการจัดสรรงบประมาณด้านการพัฒนาบุคลากรของจังหวัด

จังหวัดพัทลุงไม่ได้ตั้งงบประมาณสำหรับการพัฒนาบุคลากรที่ชัดเจน โดยให้หน่วยงานบริหารจัดการเอง ทั้งนี้จะจัดสรรให้สำหรับกลุ่มงานต่าง ๆ ที่เสนอโครงการสำหรับการพัฒนาบุคลากร ตามกิจกรรม ของกลุ่มงาน

3. การกำกับ ติดตามการพัฒนาบุคลากรของจังหวัด/เขตสุขภาพ (สอดรับกับเกณฑ์คุณภาพการบริหารจัดการฯ ขั้นที่ 4-5)

3.1 แผนการกำกับ ติดตามผลการพัฒนาบุคลากร และนิเทศหน่วยงานในจังหวัด

จังหวัดมีการนิเทศ ติดตามงานร่วมกันกับกลุ่มงานอื่น ๆ ปีละ 2 ครั้ง

3.2 การปรับเปลี่ยนแผนการพัฒนาบุคลากร(จำนวนครั้งและสาเหตุที่จังหวัด)

ยังไม่มีการปรับเปลี่ยนแผนการพัฒนาบุคลากร

3.3 ผลการพัฒนาบุคลากรเปรียบเทียบกับเป้าหมายของแผนการพัฒนาบุคลากรของจังหวัด

ยังไม่มีการรายงานผลการพัฒนาบุคลากร

3.4 ผลการใช้จ่ายงบประมาณเปรียบเทียบกับเป้าหมายของแผนการพัฒนาบุคลากรของจังหวัด(คงเหลือ/ผูกพัน/คืน)และปัญหา/อุปสรรคการใช้จ่ายงบประมาณ

ยังไม่มีการรายงานผลการใช้จ่ายงบประมาณ

3.5 แผนปรับปรุงการบริหารจัดการพัฒนาบุคลากรของจังหวัด

ยังไม่มีการปรับปรุงแผนการพัฒนาบุคลากร

3.6 จำนวนโครงการ/หลักสูตรที่ได้จัดฝึกอบรมให้กับบุคลากรของจังหวัด

ทั้งในส่วนที่จัดอบรมเองและส่งไปอบรม

จำนวนโครงการที่กลุ่มงานต่าง ๆจัดอบรม จำนวน 8 โครงการ

3.7 จำนวน/โครงการ/หลักสูตรฝึกอบรมที่ใช้วิทยากรของจังหวัดดำเนินการฝึกอบรมให้กับบุคลากร

ไม่มีการจัดเก็บข้อมูล

ไม่สามารถจัดเก็บข้อมูลได้เนื่องจากการเชิญบุคลากรไปเป็นวิทยากร ไม่ได้ผ่านงานพัฒนาบุคลากร

2.) ผลการบริหารจัดการการพัฒนาบุคลากรของจังหวัดในแต่ละขั้นตอน

เกณฑ์คุณภาพการบริหารจัดการการพัฒนาบุคลากร

ผลการบริหารจัดการการพัฒนาบุคลากรของจังหวัด

ขั้นตอนที่ 1 : กำหนดโครงสร้างและผู้รับผิดชอบการพัฒนาบุคลากรของจังหวัดให้ชัดเจน และมีคณะกรรมการพัฒนาบุคลากรของจังหวัด ซึ่งมีองค์ประกอบจากหน่วยงานทุกระดับภายในจังหวัด ดำเนินการค้นหาจุดแข็งและโอกาสการพัฒนาของบุคลากร

1.1 คณะกรรมการพัฒนาบุคลากรของจังหวัดมีองค์ประกอบของในพื้นที่

1.2 คณะกรรมการฯ ร่วมดำเนินการค้นหาจุดแข็งและโอกาสของการบริหารจัดการการพัฒนาบุคลากร(SWOT Analysis) วิเคราะห์(Need Assessment) เช่น นโยบายด้าน HRD ของเขตสุขภาพ แผนกำลังคนของเขตสุขภาพ ปัญหาการจัดบริการสุขภาพ ปัญหาการบริหารจัดการ เป็นต้น

จังหวัดพัทลุงมีคณะอนุกรรมการพัฒนากำลังคนด้านสุขภาพ ที่มีองค์ประกอบจากตัวแทนสายวิชาชีพ ร่วมกันวิเคราะห์ข้อมูล หาส่วนขาด ความต้องการพัฒนาบุคลากร มาจัดทำเป็นแผนพัฒนาบุคลากรของจังหวัด

ขั้นตอนที่ 2 : จัดทำแผนพัฒนาบุคลากรอย่างมีส่วนร่วมให้สอดคล้องกับเป้าประสงค์เชิงยุทธศาสตร์ของจังหวัดและเขตสุขภาพ โดยกำหนดกลุ่มเป้าหมาย งบประมาณ ระยะเวลา วิธีการพัฒนาบุคลากร และผู้รับผิดชอบอย่างชัดเจน และดำเนินการพัฒนาบุคลากร

2.1 แผนพัฒนาบุคลากรของจังหวัด

2.2 แผนจัดสรรงบประมาณด้านการพัฒนาบุคลากรและนำแผนฯ สู่การปฏิบัติ

2.2 ผลการพัฒนาบุคลากรตามแผนฯ

จังหวัดพัทลุงได้จัดทำแผนพัฒนาบุคลากรเพื่อรองรับ Service plan และตามสายวิชาชีพ ซึ่งอยู่ระหว่างการรวบรวมแผน ตรวจสอบความถูกต้องครบถ้วน ก่อนการแจ้งแผน ฯ ให้ทุกหน่วยงานทราบ

ขั้นตอนที่ 3 : พัฒนาและจัดเก็บข้อมูลการพัฒนาบุคลากรอย่างเป็นระบบ สามารถนำมาใช้ในการตัดสินใจเชิงบริหารด้านการพัฒนาบุคลากร

3.1 มีข้อมูลและระบบจัดเก็บข้อมูลการพัฒนาบุคลากรที่สามารถวิเคราะห์ได้ตามรายสถานบริการ/รายวิชาชีพ/รายสาขาตามแผนพัฒนาระบบบริการสุขภาพ(Service Plan) 12 สาขา

3.2 มีข้อมูลผลการใช้จ่ายงบประมาณเมื่อเทียบกับค่าเป้าหมายของแผนการพัฒนาบุคลากรของจังหวัด(คงเหลือ/ผูกพัน/คืน) /ปัญหา/อุปสรรคการใช้จ่ายงบประมาณ

ขณะนี้ยังไม่มีระบบการจัดเก็บข้อมูลการพัฒนาบุคลากร

ขั้นตอนที่ 4 : จัดระบบและกลไกในการสนับสนุนให้เกิดการพัฒนาบุคลากรให้มีประสิทธิภาพ ได้แก่ มีแผนจัดสรรงบพัฒนาบุคลากรของจังหวัด และ แผนนิเทศติดตามการพัฒนาบุคลากร

4.1 แผนการติดตามผลการพัฒนาบุคลากร และนิเทศหน่วยงานในจังหวัด

4.2 จังหวัดได้พัฒนาศักยภาพทีมงาน/ผู้รับผิดชอบการพัฒนาบุคลากรของหน่วยงานทุกระดับด้านองค์ความรู้ด้านบริหารจัดการกำลังคน/ด้านพัฒนาบุคลากร

4.3 สนับสนุนข้อมูลต่างๆให้กับสถานบริการทุกระดับ เช่น สถานการณ์กำลังคนของจังหวัด นโยบายด้าน HRD ของเขตสุขภาพ ปัญหาสุขภาพในพื้นที่ ปัญหาการบริหารจัดการกำลังคนในพื้นที่

มีการนิเทศติดตามผลการพัฒนาบุคลากร ปีละ 2 ครั้ง

ขั้นตอนที่ 5 : สรุปรายงานผลนำสู่การปรับปรุงระบบ กลไก ยุทธศาสตร์ เป้าหมาย ข้อเสนอแนะการพัฒนาบุคลากรที่มีประสิทธิภาพในทุกระดับ(จังหวัด เขตสุขภาพ และภาพรวมระดับประเทศ)

5.1 เอกสารสรุปผลการพัฒนาบุคลากรของจังหวัด

5.2 แผนปรับปรุงการบริหารจัดการการพัฒนาบุคลากรของจังหวัดรวมทั้งข้อเสนอแนะเชิงนโยบายเพื่อการปรับปรุงระดับจังหวัด/เขตสุขภาพ/ประเทศ ประเทศ

3.) นวัตกรรมที่เป็นแบบอย่าง (ถ้ามี)

1.

รูปแบบการพัฒนาบุคลากร

2.

การใช้ทรัพยากรของหน่วยงานอื่นๆ

4.) สรุปประเด็นสำคัญที่เป็นความเสี่ยงต่อการทำให้การขับเคลื่อนนโยบายหรือการดำเนินงานไม่ประสบความสำเร็จความสำเร็จ (Key Risk Area/ Key Risk Factor) ซึ่งได้จากการวินิจฉัย ประมวล วิเคราะห์ สังเคราะห์ จากการตรวจติดตาม

การวิเคราะห์หาส่วนขาดความต้องการพัฒนาบุคลากร อาจจะไม่ครอบคลุมบุคลากรทุกสายงานงบประมาณมีจำกัดทำให้ไม่สามารถส่งบุคลากรไปฝึกอบรมตามแผนได้ทุกหลักสูตร

5.) ปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะ

ปัญหา/อุปสรรค/ปัจจัยที่ทำให้

การดำเนินงานไม่บรรลุวัตถุประสงค์

ข้อเสนอแนะที่ให้ต่อหน่วยรับตรวจ

สิ่งที่ผู้ทำหน้าที่ตรวจราชการรับไปประสานหรือดำเนินการต่อ

- การจัดทำแผนพัฒนาบุคลากร ไม่ครอบคลุมทุกสายงาน โดยเฉพาะสายสนับสนุน เนื่องจากการพัฒนาบุคลากรสายสนับสนุนส่วนใหญ่เป็นหลักสูตร 1-5 วัน ซึ่งเป็นดุลยพินิจของหัวหน้าหน่วยงาน ไม่ได้บรรจุอยู่ในเป็นพัฒนาบุคลากรของจังหวัด

-ไม่มีระบบการจัดเก็บข้อมูลการพัฒนาบุคลากร

-งบประมาณในการพัฒนาบุคลากรมีไม่เพียงพอโดยเฉพาะหลักสูตรอบรมเฉพาะทางที่ต้องใช้งบประมาณมาก ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานเขตสุขภาพเพียงค่าลงทะเบียน

ขอให้มีระบบการจัดเก็บข้อมูลหรือโปรแกรมสำเร็จรูปที่สามารถอำนวยความสะดวกแก่ผู้ปฏิบัติ

สำนักงานเขตสุขภาพควรสนับสนุนงบประมาณ หรือหากสำนักงานเขตสามารถประสานศูนย์วิชาการในเขต ให้สามารถจัดอบรมภายในเขต เพื่อลดค่าใช้จ่าย

6.) ข้อเสนอแนะต่อนโยบาย / ต่อส่วนกลาง / ต่อผู้บริหาร / ต่อระเบียบ กฎหมาย

-

7.) ผู้รายงาน

ชื่อ – สกุลนางจุฑารัตน์ ไพชำนาญ

ตำแหน่ง นวก.สาธารณสุขชำนาญการ

วัน/เดือน/ปี 25 มกราคม 2559

โทร 086 2953366

E-mail: [email protected]

สรุปผลการดำเนินงานเสนอผู้ตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข เขต 12 รอบที่ 1 ปีงบประมาณ 2559หน้า 170

หน้า 169สรุปผลการดำเนินงานเสนอผู้ตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข เขต 12 รอบที่ 1 ปีงบประมาณ 2559