13
คู่มือการใช้งานตราสัญลักษณ์ การประกันคุณภาพของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (Chulalongkorn University-Quality Assurance, CU-QA)

CUQA Identity Guidelines

Embed Size (px)

DESCRIPTION

Guidelines for CUQA Identity

Citation preview

คู่มือการใช้งานตราสัญลักษณ์ การประกันคุณภาพของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (Chulalongkorn University-Quality Assurance, CU-QA)

คู่มือการใช้งานตราสัญลักษณ์ CU-QA

คู่มือการใช้งานตราสัญลักษณ์ การประกันคุณภาพของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หรือที่จะเรียกต่อไปในคู่มือฉบับนี้ว่า CU-QA จัดทำขึ้นเพื่อเป็นแนวทางและข้อกำเกี่ยวกับวิธีการใช้งานตราสัญลักษณ์ CU-QA ในการนำตราสัญลักษณ์นี้ ไปประยุกต์ ใช้กับงานต่างๆ อาทิ หัวจดหมาย, นามบัตร, สื่อสิ่งพิมพ์อื่นๆ หรือแม้แต่บนผลิตภัณฑ์ต่างๆ โดยมีแนวความคิดในการออกแบบ ดังนี้

ตราสัญลักษณ์ การประกันคุณภาพของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยนี้ เป็นการประกอบกันของตราพระเกี้ยว อันเป็นสัญลักษณ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กับตรารูปเพชร ที่ ได้รับการออกแบบให้สอดคล้องกับแนวความคิดของ มาตรฐานประกันคุณภาพแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพรชคือเครื่องหมายของคุณภาพทียั่งยืน มั่นคง ไม่เสื่อมคลาย บนหน้าตัดเพชรนั้น มีลักษณะเป็นเส้นกราฟที่พุ่งขึ้นสู่จุดสูงสุด อันหมายถึงการพัฒนาที่ ไม่หยุดยั้ง ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในการเป็นสถาบันการศึกษาที่มีคุณภาพ ทั้งในแง่การศึกษา ตลอดจนหน่วยงานภายในต่างๆ เมื่อนำเพชร และเส้นกราฟมารวมกัน จึงเกิดเป็นตราสัญลักษณ์ CU-QA ที่สื่อความหมายถึงคุณภาพอันสูงสุดและพัฒนาการที่จะไม่หยุดยั้ง ของมหาวิทยาลัย

คู่มือการใช้งานฉบับนี้ จะช่วยให้นักออกแบบ สามารถนำ ตราสัญลักษณ์ดังกล่าวไปใช้ได้อย่างถูกต้อง เกิดความ สวยงามเป็นระเบียบ และมีความเป็นเอกภาพในงานต่อๆไป โดยเนื้อหาจะถูก แบ่งออกเป็นหมวดหมู่ต่างๆ ดังนี้

• ตราสัญลักษณ์• สี• รูปแบบตัวอักษร• การนำไปใช้กับสื่อต่างๆ

• แนวความคิด

0 1

คู่มือการใช้งานตราสัญลักษณ์ CU-QA

ตราสัญลักษณ์ CU-QA น้ันประกอบด้วย 2 องค์ประกอบหลัก คือตราพระเก้ียว และสัญลักษณ์รูปเพชรหรือ ข้าวหลามตัด โดยเมื่อนำไปใช้ ในงาน การประกันคุณภาพของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจะต้องนำทั้ง 2 ส่วนไปใช้คู่กัน ตามที่กำหนดไว้ ในคู่มือ ห้ามมิให้นำไปใช้เพียงส่วนใดส่วนหนึ่ง หรือวางสลับตำแหน่งกันเป็นอันขาด ทั้งนี้มีข้อยกเว้นในการใช้บางประการ ดังจะกล่าวต่อไปในหัวข้อ “การนำไปใช้”

สำหรับระยะห่างระหว่างสัญลักษณ์ทั้งสองนั้น ขอแทนด้วยระยะ “X” กำหนดให้เป็นระยะตายตัวไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ อย่างไรก็ดี ระยะ X นี้ จะเพิ่มขึ้นหรือน้อยลง เป็นสัดส่วน ตามขนาดของตราสัญลักษณ์ ที่ถูกย่อ - ขยาย ดังจะกล่าวในรายละเอียดการนำไปใช้ต่อไป

• ตราสัญลักษณ์

0 2

X

คู่มือการใช้งานตราสัญลักษณ์ CU-QA • สี

0 3

สีของตราสัญลักษณ์ แบ่งเป็น 2 แบบ ดังน้ี1. ตราสัญลักษณ์แบบสี2. ตราสัญลักษณ์แบบ ขาว-ดำ

หากเป็นไปได้ ให้ ใช้ตราสัญลักษณ์สี กับงาน ออกแบบทุกชนิด ยกเว้นในกรณีที่ ไม่สามารถ พิมพ์สีได้ หรือบนพื้นผิว หรือพื้นหลัง ที่ ไม่เหมาะ กับการใช้สีอ่อน อนุโลมให้ ใช้ตราสัญลักษณ์ แบบขาว - ดำ ได้ตามความเหมาะสม

คู่มือการใช้งานตราสัญลักษณ์ CU-QA • สี

0 4

85% 75% 50% 20%

Pantone 238 UCMYK - 6/63/0/0

สีหลัก

85%

85%

75%

75%

75%

50%

50%

50%

25%

20%

20%

10%

CMYK - 0/0/0/90

CMYK - 20/30/70/15Pantone 872 C

CMYK - 0/100/0/0

สีรองสีในงานท่ีเก่ียวข้องกับตราสัญลักษณ์ CU-QA แบ่งออกเป็น

• สีหลัก คือสีที่ ใช้ ในพื้นที่ส่วนใหญ่ และมีความ สำคัญ ในทีนี้คือสีที่ ใช้กับตราสัญลักษณ์

• สีรอง คือสีที่มีไว้เพื่อเป็นทางเลือกและเพิ่ม ความหลากหลายในการใช้งาน ทำให้ภาพรวม ของงานดูน่าสนใจ

• การใช้สีทั้งสีหลัก และสีรอง หากเป็นไปได้ ควรใช้สีที่ความเข้ม 100%

คู่มือการใช้งานตราสัญลักษณ์ CU-QA • รูปแบบตัวอักษร

0 5

ตัวอักษรท่ีใช้ประกอบในงานท่ีเก่ียวข้องกับตรา สัญลักษณ์ CU-QA น้ัน ประกอบด้วย• TH Baijam ใช้กับตัวอักษรภาษาไทย• Futura ใช้กับตัวอักษรภาษาอังกฤษ และเลขอารบิคท่ีต้องการเน้น

ก ข ค ฆ ง จ ฉ ช ซ ฌ ญ ฎ ฏ ฐ ฑ ฒ ณ ด ต ถ ท ธน บ ป ผ ฝ พ ฟ ภ ม ย ร ล ว ศ ษ ส ห ฬ อ ฮ

ก ข ค ฆ ง จ ฉ ช ซ ฌ ญ ฎ ฏ ฐ ฑ ฒ ณ ด ต ถ ท ธน บ ป ผ ฝ พ ฟ ภ ม ย ร ล ว ศ ษ ส ห ฬ อ ฮ

ะ า ิ ี ึ ื ุ ู ั ำ ไ ใ เ แ ๆ ๐ “ ฦ ฤ ( ) / : ; ‘

ะ า ิ ี ึ ื ุ ู ั ำ ไ ใ เ แ ๆ ๐ “ ฦ ฤ ( ) / : ; ‘

ตัวหนา

ตัวปกติ

a b c d e f g h i j k l m n o p q r s t u v w x y z

a b c d e f g h i j k l m n o p q r s t u v w x y z

A B C D E F G H I J K L M N O P Q R S T U V W X Y Z

A B C D E F G H I J K L M N O P Q R S T U V W X Y Z

1 2 3 4 5 6 7 8 9 0 ( ) ? / > < , # @ % & * _ + !

1 2 3 4 5 6 7 8 9 0 ( ) ? / > < , # @ % & * _ + !

ตัวหนา

ตัวปกติ

TH Baijam

Futura

คู่มือการใช้งานตราสัญลักษณ์ CU-QA • การนำไปใช้กับสื่อต่างๆ

0 6

การนำตราสัญลักษณ์ไปใช้บนสื่อต่างๆ ตลอดจนบนผลิตภัณฑ์ ให้จัดวางตราสัญลักษณ์ ในตำแหน่งที่สามารถเห็นได้ชัดเจน ปราศจากองค์ประกอบอื่นรบกวน โดยให้มีระยะห่างจาก องค์ประกอบอื่นๆ โดยรอบ เป็นอย่างน้อยเท่ากับระยะห่างระหว่างตราพระเก้ียว กับตรารูปเพชร (ระยะ X) ดังภาพตัวอย่าง

อย่างไรก็ดี เนื่องจากความหลากหลายในการใช้ งาน การนำตราสัญลักษณ์ไปใช้บนสื่อต่างๆ จึงมีข้อกำหนด ข้อห้าม และข้อยกเว้น ดังต่อไปนี้

(ขวา)ภาพตัวอย่างการใช้ตราสัญลักษณ์บนนามบัตร

X

X >X

>X

>X

>X

คู่มือการใช้งานตราสัญลักษณ์ CU-QA

เมื่อมีการ ย่อ - ขยายตราสัญลักษณ์ ให้เป็นไปตามสัดส่วนที่กำหนด ห้ามย่อ - ขยายเพียงด้านใดด้านหนึ่งเป็นอันขาด และกำหนดให้ ขนาดท่ีเล็กท่ีสุดท่ีสามารถนำไปใช้ ได้ คือ กว้าง 3.50 ซม. x ยาว 2.80 ซม. หากเล็กเกินกว่าที่กำหนด อาจทำให้เกิดปัญหาในการมองเห็นได้

ภาพตัวอย่าง: การย่อ - ขยาย ตราสัญลักษณ์ขนาดต่างๆ

• การนำไปใช้

0 7

3.50 cm

2.80 cm

ข้อกำหนดการใช้งานตราสัญลักษณ์ CU-QA

คู่มือการใช้งานตราสัญลักษณ์ CU-QA

ข้อห้ามการนำไปใช้1. ห้ามย่อ - ขยายด้านใดด้านหนึ่งเพียงด้านเดียว2.-3. ห้ามวางตราพระเกี้ยวและสัญลักษณ์รูปเพชรชิดหรือห่างกันเกินระยะที่กำหนด4. ห้ามวางตราทั้งสองสลับด้านกัน5. ให้ ใช้ตราพระเกี้ยวตามแบบและสีที่กำหนดไว้เท่านั้น ห้ามมิให้ ใช้แบบอื่น6. ขนาดของตราทั้งสอง ให้เป็นไปตามสัดส่วนที่กำหนด ห้ามย่อ หรือขยาย ตราอย่างใดอย่างหนึ่ง เป็นอันขาด

• การนำไปใช้

0 8

X

X

X

X

X

X

คู่มือการใช้งานตราสัญลักษณ์ CU-QA

ข้อยกเว้น สำหรับการใช้งานตราสัญลักษณ์ CU-QA• ในกรณีที่ ใช้ตราพระเกี้ยว และสัญลักษณ์รูปเพชรแยกกัน สามารถใช้ได้เป็นบางกรณี โดยเฉพาะเมื่อต้องการเน้นย้ำภาพลักษณ์ขององค์กร โดยจะถือว่า สัญลักษณ์รูปเพชรนั้น ทำหน้าที่เป็นลวดลาย หรือองค์ประกอบทางกราฟิก (graphic/decorative element)หาใช่ตราสัญลักษณ์ไม่ ตราสัญลักษณ์ CU-QA ท่ีสมบูรณ์จะต้องประกอบด้วยตราพระเกี้ยวและตรารูปเพชร วางประกอบกัน ในสัดส่วนที่กล่าวไปแล้วข้างต้นเท่านั้น อย่างไรก็ดี เมื่อนำไปใช้ ในลักษณะดังกล่าว ควรมีตราพระเกี้ยว กำกับอยู่ทุกครั้ง ดังตัวอย่างการนำไปใช้กับถ้วยรางวัล และลวดลายพื้น (pattern)

• การนำไปใช้

0 9

คู่มือการใช้งานตราสัญลักษณ์ CU-QA

ตัวอย่างการนำตรารูปเพชรไปใช้เป็นส่วนประกอบในงานออกแบบ เช่น ทำลวดลายpattern ต่างๆในส่วนนี้ สามารถกระทำได้ แต่จะไม่ถือว่ารูปเพชรเป็นตราสัญลักษณ์

• การนำไปใช้

10

คู่มือการใช้งานตราสัญลักษณ์ CU-QA

ในการจัดทำคู่มือการใช้งานตราสัญลักษณ์นี้ ผู้จัดทำ ได้แนบไฟล์ดิจิทัลต่างๆ ที่จำเป็นต้องใช้ ในงานออกแบบมาด้วย เพื่ออำนวยความสะดวกแก่นักออกแบบ ที่จะใช้งานต่อไปในอนาคตโดยไฟล์ดังกล่าว จะจัดรวมอยู่ในfolder: CU-QA-MATERIALS

1. ตราสัญลักษณ์ CU-QA แบบสีfile: CU-QA-LOGO-C

2. ตราสัญลักษณ์ CU-QA แบบขาว-ดำfile: CU-QA-LOGO-BW

3. ตัวอักษรภาษาไทย TH Baijamfolder: TH BAIJAM

4. ตัวอักษรภาษาอังกฤษ Futurafolder: FUTURA

5. ตัวอย่างงานออกแบบรางวัล CU-QAfile: CU-QA-TROPHY

• สิ่งที่แนบมาด้วย

11