78
ภาคที่ ๒ พระมหากษัตริย์แห่งพระบรมราชวงศ์จักรี องค์เอกอัครศาสนูปถัมภก

พระมหากษัตริย์แห่งพระบรม ......45 ฉะน หว งจะให ทายกท งปวงท ศร ทธากระทำก

  • Upload
    others

  • View
    3

  • Download
    0

Embed Size (px)

Citation preview

Page 1: พระมหากษัตริย์แห่งพระบรม ......45 ฉะน หว งจะให ทายกท งปวงท ศร ทธากระทำก

ภาคที่ ๒

พระมหากษัตริย์แห่งพระบรมราชวงศ์จักรี องค์เอกอัครศาสนูปถัมภก

Page 2: พระมหากษัตริย์แห่งพระบรม ......45 ฉะน หว งจะให ทายกท งปวงท ศร ทธากระทำก

๑ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช

Page 3: พระมหากษัตริย์แห่งพระบรม ......45 ฉะน หว งจะให ทายกท งปวงท ศร ทธากระทำก

๑ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช

Page 4: พระมหากษัตริย์แห่งพระบรม ......45 ฉะน หว งจะให ทายกท งปวงท ศร ทธากระทำก

42

Page 5: พระมหากษัตริย์แห่งพระบรม ......45 ฉะน หว งจะให ทายกท งปวงท ศร ทธากระทำก

43

พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชพระปฐมบรมราชจักรีวงศ์รัชกาลที่๑แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่ยึดมั่นและมีพระราชศรัทธาในพระพุทธศาสนาเป็นอย่างยิ่ง เห็นได้จากพระราชนิพนธ์เพลงยาวรบพม่าที่ท่าดินแดง ซึ่งทรงพระราชนิพนธ์ไว้เมื่อปีพ.ศ.๒๓๒๙ในคราวที่เสด็จไปรบกับพม่าที่มาตั้งทัพอยู่ที่ท่าดินแดงจังหวัดกาญจนบุรีว่า “ตั้งใจจะอุปถัมภก ยอยกพระพุทธศาสนา

ป้องกันขอบขัณฑสีมา รักษาประชาชนแลมนตรี”

คำร้อยกรองนี้ สะท้อนให้เห็นพระราชปณิธานของพระองค์ว่า พระมหากษัตริยาธิราชแห่งสยามประเทศทรงเป็นนักปกครองและบริหารราชการแผ่นดินด้วยหลัก๓ประการคือ ๑)ทำนุบำรุงฝ่ายพุทธจักรคือพระพุทธศาสนาและคณะสงฆ์ให้บริสุทธิ์เที่ยงธรรม ๒)รักษาความมั่นคงและเสถียรภาพของพระราชอาณาจักร ๓)บำรุงการอยู่ดีกินดี และจิตใจของประชาชน และการสร้างข้าราชการให้มีประสิทธิภาพ พระราชปณิธาน๓ประการนี้อาจนำมาจัดโครงสร้างที่เชื่อมโยงกันเป็นรูปสามเหลี่ยมอันจะนำพาพระราชอาณาจักรสยามให้มีความเป็นเอกภาพและเสถียรภาพมั่นคง หากฝ่ายพุทธจักรมีความมั่นคงและบริสุทธิ์เที่ยงธรรม จะสามารถเป็นหลักทางจิตวิญญาณให้ฝ่ายอาณาจักรได้ เมื่อฝ่ายอาณาจักรมีความมั่นคง หมายถึงเสถียรภาพความมั่นคงของขอบขัณฑสีมา พระราชปณิธานทั้ง ๓ ประการจึงเป็นหัวใจสำคัญของการปกครองบ้านเมืองของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชซึ่งแสดงถึงพระอัจฉริยภาพของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ในฐานะผู้นำที่ทรงกำหนดทิศทางของการปกครองบ้านเมืองและบริหารราชการแผ่นดินชัดเจนทรงมียุทธศาสตร์และกลยุทธ์ของพระราชปณิธานโดยทรงสร้างดุลยภาพของฝ่ายพุทธจักรและอาณาจักร เมื่อดุลยภาพของทั้งสองฝ่ายเกิดขึ้นในราชอาณาจักรแล้ว “ประชาชนแลมนตรี” หมายถึงประชาชนและข้าราชการ ย่อมได้รับประโยชน์สุขจากระบบบริหารราชการแผ่นดินนั้น นอกจากทรงกำหนดโครงสร้างการปกครองดินแดนต่าง ๆ ในขอบขัณฑสีมาแล้วพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ยังทรงวางรากฐานระเบียบการบริหารราชการแผ่นดินขึ้นใหม่ ทรงเป็นนักบริหารจัดการภาครัฐที่ยอดเยี่ยมเหมาะแก่กาลสมัยด้วยนโยบายสำคัญ๒ด้านพร้อมๆกันคือการสร้างความมั่นคงให้บ้านเมืองทั้งในฝ่ายพุทธจักรและอาณาจักร ได้แก่ กิจการด้านพระศาสนาและการบริหารราชการแผ่นดิน ด้วยมีพระราชดำริว่าบ้านเมืองที่มั่นคงบริบูรณ์นั้นจะต้องมีกิจการทั้งสองด้านนี้เป็นหลักค้ำจุนและ

พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ ๑ (พ.ศ. ๒๓๒๕-๒๓๕๒)

Page 6: พระมหากษัตริย์แห่งพระบรม ......45 ฉะน หว งจะให ทายกท งปวงท ศร ทธากระทำก

44

“หลักค้ำจุน” ทั้งสองจะต้องเป็นหลักให้แก่กันและกันด้วย หากหลักใดหลักหนึ่งขาดความมั่นคงแล้วย่อมมีผลให้อีกหลักหนึ่ง เสียความสมดุลไปด้วยและหากหลักทั้งสองของบ้านเมืองเสียสมดุลไปแล้วไซร้ก็ย่อมหมายถึงความเสื่อมของบ้านเมืองด้วย พระราชกรณียกิจสำคัญในการสร้างความมั่นคงให้แก่พระพุทธศาสนาได้แก่๑. ด้านการคณะสงฆ์ ๑.๑ การบริหารคณะสงฆ ์ ในรัชสมัยพระองค์ คงจัดตามแบบสมัยกรุงศรีอยุธยา และมีการแก้ไขบางประการให้เหมาะสมแก่สภาพความเป็นจริง เช่น คณะอรัญวาสีมีน้อย ไม่พอตั้งเป็นคณะได้จึงคงมีเพียง๒คณะคือคณะเหนือและคณะใต้ ๑.๒ กฎหมายคณะสงฆ์ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้ตรากฎหมายคณะสงฆ์ด้วย ทรงมีพระราชประสงค์ที่สำคัญ คือ เพื่อให้พระภิกษุสงฆ์และสามเณรประพฤติปฏิบัติตนเคร่งครัดในพระธรรม วินัย ให้พระราชาคณะ เจ้าอธิการและเจ้าหน้าที่สังฆการีกำกับดูแลและลงโทษผู้ที่ประพฤติผิดพระธรรมวินัยตามสมควรแก่โทษหนักเบาที่พระพุทธเจ้าได้ทรงบัญญัติไว้ กฎหมายฉบับนี้เรียกว่า “กฎพระสงฆ์” ได้ตราขึ้นในระหว่างพุทธศักราช๒๓๒๕ถึง๒๓๔๔รวม๑๐ฉบับดังที่ปรากฏอยู่ในกฎหมายตราสามดวงแห่งกรุงรัตนโกสินทร์นับเป็นกฎหมายคณะสงฆ์ชุดแรกที่ปรากฏหลักฐานอยู่ถึงปัจจุบัน กฎพระสงฆ์ที่ทรงตราขึ้นมามีอยู่๑๐ฉบับเนื้อหาสาระของแต่ละฉบับจะประกอบด้วยข้อความที่ทรงปรารภถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นแต่ละเรื่องว่าผิดพระธรรมวินัยข้อใด ทำให้พระศาสนาเสื่อมเสียอย่างไร แล้วทรงมีพระบรมราชโองการห้ามมิให้ทำเช่นนั้นอีกต่อไปพร้อมทั้งกำหนดโทษทางบ้านเมืองเพิ่มจากโทษทางพระธรรมวินัยอีกส่วนหนึ่ง ตัวอย่างสาระสำคัญของกฎพระสงฆ์แต่ละฉบับมีดังนี้ ผู้ ใดกักขฬะหยาบช้าสอนยากอุปัชฌาย์อาจารย์จะว่ามิฟัง...ให้กำจัดเสียอย่าให้

เข้าหมู่คณะได้เป็นอันขาดทีเดียวพระศาสนาจึงจะรุ่งเรืองสืบไป

กฎพระสงฆ์ฉบับที่๕

กฎให้ ไว้แก่สังฆการีธรรมการ สมเด็จพระบรมนารถบพิตรฯ...มีพระราชโองการฯ

สั่งว่า ไอ้มาต้องเมถุนปาราชิกแล้ว มิได้กลัวบาปละอายแก่บาป ปฏิญาณตัวว่าเป็นภิกษุ

เข้ากระทำสังฆกรรมด้วยพระสงฆ์ เป็นอุปัชฌาย์บวชนาค ปลอมเข้าผูกโบสถ์แลรับกฐิน...

ไอ้ชูต้องอทินนาทานปาราชิก... แล้วปกปิดโทษไว้ ปฏิญาณตัวว่าเป็นภิกษุสมณะนั่งหัตถบาศ

บวชนาคเข้าผูกโบสถ์ทำสังฆกรรมด้วยสงฆ์ ให้พระศาสนาเศร้าหมอง แลไอ้แก้วต้อง

อทินนาทานปาราชิก... แลเอามลทินไปโทษป้ายท่านผู้มีศีลบริสุทธิ์ พระสงฆ์ ว่ากล่าวแล้ว

Page 7: พระมหากษัตริย์แห่งพระบรม ......45 ฉะน หว งจะให ทายกท งปวงท ศร ทธากระทำก

45

ฉะนี้หวังจะให้ทายกทั้งปวงที่ศรัทธากระทำกุศลไว้ สอดแคล้วกินแหนง ท่านผู้มีศีลบริสุทธิ์

จะให้ผลของทายกนั้นน้อยไปมิควรหนักหนา

แต่นี้สืบไปเมื่อหน้าถ้าภิกษุองค์ใดต้องจตุปาราชิกทั้งสี่แต่อันใดอันหนึ่งปาราชิกแล้ว

ให้มาบอกแก่สงฆ์ จงแจ้งแต่ในอุโบสถเดียวนั้น อย่าให้ปกปิดโทษจตุปาราชิกไว้ปฏิญาณตัว

เป็นสงฆ์สมณะเข้ากระทำ สังฆกรรม อุปสมบทกรรมด้วยคณะสงฆ์ให้เป็นมลทินในสังฆกรรม

ทั้งปวง... ให้ศาสนาเศร้าหมอง ถ้ามีผู้ โจทนาว่ากล่าวพิจารณาเป็นสัจจะเอาตัวเป็นโทษ

ถึงสิ้นชีวิตแล้วให้ริบราชบาตรขับเฆี่ยนตีโบยญาติโยมจงหนักอย่าให้เป็นเยี่ยงอย่างสืบไป

การที่มีกฎพระสงฆ์ขึ้นนี้ สะท้อนให้เห็นเหตุการณ์ในครั้งนั้น โดยเริ่มจากการเสียกรุงศรีอยุธยา เมื่อพุทธศักราช ๒๓๑๐ สภาพบ้านเมืองแตกสาแหรกขาด ประชาชนพลเมืองเกิดความระส่ำระสาย ภิกษุสามเณรเป็นจำนวนมาก ประพฤติปฏิบัติย่อหย่อนในพระธรรมวินัยบรรดาพระราชาคณะพระอุปัชฌาย์อาจารย์ และเจ้าอาวาสปล่อยปละละเลยไม่ปฏิบัติตามภาระหน้าที่ การคณะสงฆ์จึงตกอยู่ในสภาพเสื่อมโทรม ไม่เป็นที่ตั้งแห่งศรัทธาของประชาชนเช่นที่เคยเป็นมาในสมัยก่อน หลังจากได้ทรงออกกฎเหล่านี้แล้ว ใน พ.ศ. ๒๓๔๔ โปรดให้พระราชาคณะสังฆการธรรมการ และเหล่าราชบัณฑิตร่วมกันพิจารณาพระสงฆ์ที่มีความประพฤติเสื่อมเสีย ไม่ปฏิบัติตนตามข้อห้ามที่ ได้ประกาศไว้ ผลก็คือให้พระสงฆ์สึก จำนวน ๑๒๘ รูป๑เอามาใช้งานหนักเพื่อมิให้เป็นเยี่ยงอย่างต่อไป ทรงแก้ ไขความวิปริตผิดเพี้ยนในสังฆมณฑลหลายประการ เช่นทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนนามพระราชาคณะที่พ้องกับพระนามสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นนามอื่น ตั้งสมเด็จพระสังฆราช ตั้งพระราชาคณะ และตั้งพระราชาคณะฝ่ายรามัญที่ว่างอยู่ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ในฐานะที่เป็นองค์เอกอัครศาสนูปถัมภก จึงทรงเร่งรัดฟื้นฟูสภาพของบ้านเมือง ให้พ้นจากวิกฤติโดยเร็วที่สุด เพื่อให้พระพุทธศาสนามีเอกภาพมั่นคงสามารถเป็นหลักให้แก่ฝ่ายอาณาจักรคือระบบการปกครองและบริหารราชการแผ่นดินได้ ๑.๓ การศึกษาของพระสงฆ์ ในสมัยรัชกาลที่ ๑ ได้ดำเนินตามแบบประเพณีเมื่อสมัยกรุงศรีอยุธยา กำหนดความรู้พระสงฆ์ออกเป็นเปรียญ ๓ ชั้น เรียกชื่อว่า บาเรียนบาลี อักษรย่อว่า บ.บ. ให้พระภิกษุสงฆ์เข้าสอบพระปริยัติธรรม แสดงภูมิรู้ในพระไตรปิฎก พระภิกษุสามเณรรูปใดรู้ภาษาบาลีแปลพระสูตรได้ถูกต้องก็ได้เป็นเปรียญตรี แปลพระสูตรพระวินัยได้ ก็ได้เป็นเปรียญโทถ้าแปลได้ทั้งพระสูตร พระวินัยและพระปรมัตถ์ก็ถือว่าจบหลักสูตรเป็นเปรียญเอก ทรงส่งเสริมให้พระภิกษุสงฆ์ให้มีความสนใจทบทวนศึกษาพระไตรปิฎกอยู่ตลอดเวลา ด้วยการให้มีพระราชปุจฉาให้พระราชาคณะถวายวิสัชชนาอยู่เสมอ เสด็จลงทรงบาตร เลี้ยงพระและสดับพระธรรมเทศนาทุกวัน

๑การศาสนา,กรม.ประวัติพระพุทธศาสนาแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ภาค๒,หน้า๒๒๑,๒๒๔

Page 8: พระมหากษัตริย์แห่งพระบรม ......45 ฉะน หว งจะให ทายกท งปวงท ศร ทธากระทำก

46

๒. ด้านการศาสนูปถัมภ์ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชทรงสร้างวัดขึ้นใหม่๒วัดและทรงปฏิสังขรณ์วัดที่มีอยู่เดิมในกรุงเทพฯ และตามหัวเมืองหลายแห่ง บางแห่งโปรดให้รื้อแล้วสร้างใหม่๒ ๒.๑ วัดสร้างใหม่ คือ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ทรงสร้างใน พ.ศ. ๒๓๒๕ โดยมีพระราชประสงค์๒ประการคือเพื่อให้เป็นเขตพระบรมมหาราชวังชั้นนอกมีแต่เขตพุทธาวาสประกอบพระราชพิธีทางศาสนาเท่านั้น ไม่มีพระสงฆ์อยู่จำพรรษาเหมือนกับราชธานีเดิม(คือกรุงสุโขทัยมีวัดมหาธาตุอยุธยามีวัดพระศรีสรรเพชญ์)และเพื่อให้วัดนี้เป็นที่ประดิษฐานพระแก้วมรกต วัดมหาสุทธาวาส (วัดสุทัศนเทพวราราม)สร้างเมื่อพ.ศ.๒๓๕๐ปลายรัชสมัยทรงมีพระราชประสงค์จะสร้างวัดใหญ่ใจกลางเมืองทำนองเดียวกับวัดพนัญเชิงในอยุธยาเพื่อเป็นที่ประดิษฐานพระศรีศากยมุนี ซึ่งได้อัญเชิญมาจากวัดมหาธาตุ เมืองสุโขทัย การก่อสร้างสำเร็จเพียงก่อพื้นพระวิหารและฐานพระ รวมทั้งยกพระศรีศากยมุนีขึ้นตั้งบนฐานก็สิ้นรัชกาลเสียก่อนรัชกาลที่ ๒ โปรดให้สร้างต่อ การก่อสร้างมาเสร็จสิ้นเรียบร้อยในรัชกาลที่ ๓ พระราชทานนามว่า“วัดสุทัศนเทพวราราม” ๒.๒ วัดที่ โปรดให้รื้อแล้วสร้างใหม่ คือ วัดสระเกศ (วัดสะแก) วัดราชบูรณะ(วัดเลียบ)และวัดระฆังโฆสิตาราม(วัดบางหว้าใหญ่) ๒.๓ วัดที่ทรงปฏิสังขรณ์ คือวัดโพธารามวัดนี้เป็นวัดสร้างครั้งแผ่นดินพระเพทราชาได้ยกขึ้นเป็นวัดหลวงครั้งกรุงธนบุรี มีพระพิมลธรรมเป็นเจ้าอาวาส (ได้รับสถาปนาเป็นสมเด็จพระพนรัตน์ สมัยรัชกาลที่ ๑) ทรงใช้เวลาสร้าง ๗ ปี บูรณปฏิสังขรณ์วัดโพธารามซึ่งเป็นวัดใหญ่ที่สุดในประเทศไทยแล้วเปลี่ยนนามวัดเป็น“วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม” คู่กับสมเด็จพระอนุชาธิราชซึ่งบูรณะวัดสลักให้ชื่อว่า วัดนิพพานาราม (ภายหลังเปลี่ยนเป็นวัดพระศรีสรรเพชญ์แล้วเปลี่ยนเป็นวัดมหาธาตุ ต่อมาได้รับพระราชทานนามเป็นทางการว่า “วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์”) ๓. ด้านศาสนธรรม ๓.๑ พระไตรปิฎก ๓.๑.๑เมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชโปรดให้สร้างพระไตรปิฎกฉบับหอหลวงขึ้นแล้วเสร็จ จมื่นไวยวรนารถกราบบังคมทูลว่า “พระไตรปิฎกซึ่งทรงพระราชศรัทธาสร้างไว้ทุกวันนี้ อักษรบทพยัญชนะตกวิปลาสอยู่แต่ฉบับเดิมมา หาผู้จะทำนุบำรุงขึ้น

มิได้ ครั้นทรงได้ฟังแล้วก็ทรงพระปรารภไปว่า พระอัตถกถาฎีกาบาฬีพระไตรปิฎกทุกวันนี้

๑การศาสนา,กรม.ประวัติพระพุทธศาสนาแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ภาค๒,หน้า๒๒๑,๒๒๔

Page 9: พระมหากษัตริย์แห่งพระบรม ......45 ฉะน หว งจะให ทายกท งปวงท ศร ทธากระทำก

47

เมื่อแลผิดเพี้ยนอยู่เปนอันมากจะเปนเค้ามูลปฏิบัติปฏิเวธสาสนานั้นมิได้อนึ่งท่านผู้รักษา

พระไตรปิฎกทุกวันนี้ก็น้อยนัก ถ้าสิ้นท่านเหล่านี้แล้วเห็นพระปริยัติสาสนา ปฏิบัติสาสนา

ปฏิเวธสาสนาจะสาปสูญเปนอันเร็วนัก สัตว์โลกทั้งปวงจะหาที่พีงมิได้ ในอนาคตกาลควรจะ

ทำนุบำรุงบวรพุทธสาสนา สมเด็จพระมหากรุณาไว้ ให้เปนประโยชน์ ไปแก่ เทพามนุษย์ทั้งปวง

จึงจะเปนทางพระบรมโพธิญาณ บารมี” จึงทรงพระราชดำริให้ทำสังคายนาพระไตรปิฎกเมื่อปีวอกพุทธศักราช๒๓๓๑ประชุมพระสงฆ์ทรงพระปริยัติธรรมเลือกได้ในเวลานั้น๒๑๙รูปมีสมเด็จพระสังฆราช(สี)เป็นประธานกับราชบัณฑิตอีก๓๐นายแบ่งกันเป็น๔กองสมเด็จพระสังฆราช(สี)วัดระฆังเป็นแม่กองชำระพระสุตตันตปิฏกพระวันรัต(สุก)วัดมหาธาตุเป็นแม่กองชำระพระวินัยปิฎกพระพิมลธรรมวัดพระเชตุพนเป็นแม่กองชำระพระอภิธรรมปิฎกพระพุฒาจารย์(เป้า)วัดบางยี่เรือใต้เป็นแม่กองชำระพระสัททาวิเสสและพระธรรมไตรโลก(ชื่น)วัดหงส์ เป็นผู้ช่วยอีกองค์หนึ่ง พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชและสมเด็จพระอนุชาธิราช กรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท ทรงพระราชอุตสาหะเสด็จโดยกระบวนพยุหยาตราไปยังที่ประชุมในวันแรก(วันพุธเดือน๑๒ขึ้น๑๕ค่ำปีวอกสัมฤทธิศกจุลศักราช๑๑๕๐พุทธศักราช๒๓๓๑)ณวัดนิพพานารามหรือวัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ ในปัจจุบันและต่อมาเวลาเช้าเสด็จไปทรงประเคนอาหารบิณฑบาต เลี้ยงพระที่พระระเบียง เวลาเย็นเสด็จไปถวายเครื่องอัฐบาน และถวายเทียนดูหนังสือทุกวัน ทำสังคายนาอยู่ ๕ เดือน จึงสำเร็จเมื่อเดือน๕ปีระกาพุทธศักราช๒๓๓๒ ในการสังคายนาครั้งนี้ ได้นำหนังสือพระไตรปิฏกฉบับหลวงซึ่งสร้างในครั้งรัชกาลที่๑ออกตรวจแก้ ด้วยเหตุนี้หนังสือพระไตรปิฎกฉบับนี้จึงมีชื่อเรียกกันว่า “ฉบับสังคายนา” และต่อมาเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า ฉบับ “ครูเดิม” สถานที่สำหรับประดิษฐานพระไตรปิฎกที่ทรงสังคายนาใหม่นั้น ก็ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาพระมหามณฑปขึ้นในวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ด้วยผลงานทางสถาปัตยกรรมอันประณีตศิลป์อย่างเยี่ยมยอดพร้อมทั้งตู้พระไตรปิฎกทรงมณฑปประดับมุกงดงามวิจิตร ๓.๑.๒เมื่อสังคายนาแล้วพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชมีรับสั่งให้สร้างพระไตรปิฏกขึ้นตามที่ ได้สังคายนาตรวจแก้เห็นว่าถูกต้องนั้นอีกฉบับหนึ่ง ฉบับนี้เดิมเรียกในกรมราชบัณฑิตว่า “ฉบับทอง” หรือ “ฉบับทองทึบ” เพราะปิดทองทั้งตัว ต่อมาในรัชกาลหลังๆทรงสร้างคัมภีร์ปิดทองขึ้นอีกจึงเรียกฉบับทองทึบครั้งรัชกาลที่๑ว่า“ฉบับทองใหญ่” คัมภีร์ฉบับทองใหญ่นี้คือฉบับที่ ได้มีการฉลองเมื่อคราวไฟไหม้หอมณเฑียรธรรมในรัชกาลที่๑ ๓.๑.๓ ต่อมาปรากฏได้โปรดให้สร้างพระไตรปิฎกอีก ๒ จบ จบ ๑ สำหรับใช้ในการสอบไล่พระปริยัติธรรมพระไตรปิฎกฉบับนี้ปรากฏชื่อเรียกในกรมราชบัณฑิตว่า “ฉบับรองทรง”เพราะรองจากฉบับทองใหญ่แต่เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “ฉบับข้างลาย” เพราะมีลายเขียนบริเวณสันด้านข้าง นอกจากนี้ยังมีชุดเล็กอีกฉบับหนึ่งเรียกในบาญชีเดิมว่า “ฉบับทองชุบ”

Page 10: พระมหากษัตริย์แห่งพระบรม ......45 ฉะน หว งจะให ทายกท งปวงท ศร ทธากระทำก

48

เพราะใช้เขียนด้วยเส้นหมึกเป็นอักษรขอมย่อตามแบบโบราณ ๓.๑.๔ นอกจากพระไตรปิฎกที่สร้างขึ้นสำหรับหอหลวง ๓ ฉบับ ที่กล่าวแล้วปรากฏว่าเมื่อในรัชกาลที่ ๑ ได้ทรงสร้างพระไตรปิฎกพร้อมพระราชทานตามพระอารามหลวงอีกทุกพระอาราม เพราะหนังสือตามวัดกระจัดกระจาย หายสูญแต่ครั้งเสียกรุงเก่า พระสงฆ์ไม่มีพระไตรปิฎกที่จะเล่าเรียน เมื่อทรงสร้างพระอารามขึ้นใหม่ จึงพระราชทานหนังสือฉบับหลวงให้จำลองไป ลักษณะที่จำลองพระไตรปิฎกฉบับหลวง ไปไว้สำหรับวัดในครั้งนั้น สันนิษฐานว่าคงจะทำเป็น๒อย่างคือสร้างเป็นหนังสือหลวงพระราชทานอย่างหนึ่งพระราชทานอนุญาตให้พระยืมหนังสือฉบับหลวงไปคัดจารเอาเองตามวัดอย่างหนึ่ง๔. ด้านศาสนพิธี ในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ ๑ งานเทศน์มหาชาติหลวงจัดเป็นงานยิ่งใหญ่ โดยพระเจ้าอยู่หัวทรงเกณฑ์พระบรมวงศานุวงศ์ ข้าราชการทำกระจาดใหญ่บูชากัณฑ์คราวหนึ่ง

วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม

Page 11: พระมหากษัตริย์แห่งพระบรม ......45 ฉะน หว งจะให ทายกท งปวงท ศร ทธากระทำก

๒ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย

Page 12: พระมหากษัตริย์แห่งพระบรม ......45 ฉะน หว งจะให ทายกท งปวงท ศร ทธากระทำก

50

Page 13: พระมหากษัตริย์แห่งพระบรม ......45 ฉะน หว งจะให ทายกท งปวงท ศร ทธากระทำก

51

พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ ที่มีพระราชศรัทธาในพระพุทธศาสนาเป็นอย่างยิ่งทรงได้รับการศึกษาเบื้องต้นที่สำนักพระวันรัต(ทองอยู่)วัดบางหว้าใหญ่ คือ วัดระฆังในปัจจุบัน เมื่อเสด็จขึ้นครองราชย์ ทรงทำนุบำรุงการศาสนาในฐานะองค์เอกอัครศาสนูปถัมภก หลายประการดังนี้๑. ด้านการคณะสงฆ์ ๑.๑ การบริหารคณะสงฆ์ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ทรงบริหารราชการแผ่นดินด้านการศาสนาทรงแต่งตั้งพระภิกษุสามเณรตำแหน่งต่าง ๆ ได้แก่ สมเด็จพระสังฆราช พระราชาคณะและยังทรงจัดพระภิกษุเป็นพระสงฆ์ฝ่ายเหนือฝ่ายใต้ เพื่อให้ปฏิบัติศาสนกิจต่าง ๆ บทบาทสำคัญในการพระราชพิธี เป็นหน้าที่ของพระภิกษุสงฆ์ตั้งแต่สมเด็จพระสังฆราชพระราชาคณะพระภิกษุสงฆ์ ดังปรากฏในหนังสือพระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์รัชกาลที่ ๒ ฉบับเจ้าพระยาทิพากรวงศ์ดังนี้ พระราชพิธีอุปราชาภิเษกเฉลิมพระราชมณเฑียร บทบาทหลักของพระภิกษุสงฆ์ในการพระราชพิธีอุปราชาภิเษกเฉลิมพระราชมณเฑียรคือพระราชาคณะดังปรากฏตอนหนึ่งว่า “...วันอังคารเดือนสิบ แรมสามค่ำ พระราชาคณะหกสิบรูปสวดพระปริตรพุทธมนต์ณ พระที่นั่งพรหมภักตร์พุทไธสวรรย์ สวดมนต์สามวัน ตั้งกระบวนแห่เปนพยุหยาตรามหามงคลฤกษเสดจเข้าสู่ที่สรงน้ำพระมุรธาภิเศก ทรงเครื่อง เสรจแล้ว พระสงฆฉันถวายไทยธรรม พระสงฆราชาคณะแล้วเสดจลงมารับ พระสุพรรณบัฏต่อพระหัตถพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในพระที่นั่งจักรพรรดิพิมานครั้นได้อุดมฤกษพระบาทสมเดจพระเจ้าอยู่หัวก็พระราชทานพระสุพรรณบัฏจาฤกพระนามตามโบราณราชประเพณี ในเวลานั้นพระชนม์สามสิบหกพรรษาได้ดำรงที่พระมหาอุปราช...” พระราชพิธีอุปสมบทสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระสังฆราช พระราชาคณะและพระภิกษุสงฆ์มีบทบาทสำคัญในการพระราชพิธีอุปสมบทสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอดังปรากฏในข้อความว่า “...ครั้นมาถึงณวันอังคารเดือนแปดขึ้นสิบเอดค่ำจึ่งมีพระราชโองการให้เจ้าพนักงานสมโภชเวียนเทียรสมเดจพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ามงกุฎสมมุติเทวาวงษ์ ณ พระที่นั่งจักรพรรดิพิมาน รุ่งขึ้น ณ วันพุฒเดือนแปดขึ้นสิบสองค่ำ เสดจทรงพระเสลี่ยงตามธรรมเนียม ได้ตั้งกระบวนแห่ออกประตูวิเสศไชยศรี...สรงอุทกะธารา ทรงพระภูษาจีบเขียนทอง ฉลองพระองค์ครุยกรองทอง รัตพระองค์ธัมรงค์เพชร์เสดจเข้าสู่พระอุโบสถได้อุปสมบทเปนพระภิกษุต่อสมเดจพระสังฆราชเปนพระอุปัชฌา พระราชาคณะเปนอันดับ...ครั้นเสรจการผนวช แล้วก็ประทับอยู่ ในพระอุโบสถ เวลาบ่ายพระสงฆราชาคณะ ได้สวด

พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ ๒ (พ.ศ. ๒๓๕๒-๒๓๖๗)

Page 14: พระมหากษัตริย์แห่งพระบรม ......45 ฉะน หว งจะให ทายกท งปวงท ศร ทธากระทำก

52

พระพุทธมนต์ครั้นรุ่งขึ้นเวลาเช้าพระสงฆฉันเปนการฉลองเสรจแล้วเสด็จไปสถิตย์อยู่วัดมหาธาตุในวันนั้น...” ๑.๒ การศึกษาของพระสงฆ์ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยทรงเห็นว่าพระสงฆ์เป็นครูผู้ประสิทธิ์ประสาทวิชาให้แก่ประชาชนที่ ใฝ่เรียน จึงทรงส่งเสริมการเล่าเรียนพระปริยัติธรรมของพระสงฆ์เพื่อเพิ่มพูนความรู้และวิทยฐานะ ให้มีการศึกษาภาษาบาลีเป็นภาษาสำคัญ และโปรดฯให้มีการปฏิรูปการสอนและการสอบพระปริยัติธรรมใหม่ จากเดิมในสมัยกรุงศรีอยุธยากำหนดหลักสูตรเป็นบาเรียน(เปรียญ)๓ชั้นคือบาเรียนตรีบาเรียนโทบาเรียนเอกมาเป็นหลักสูตรบาเรียน ๙ ประโยค โดยพระภิกษุต้องสอบให้ได้ตั้งแต่ ๓ ประโยคขึ้นไป จึงนับเป็นบาเรียนให้เรียกตามลำดับชั้นว่าเป็น บาเรียน ๓ ประโยค บาเรียน ๔ ประโยค บาเรียน ๕ ประโยคจนถึงบาเรียน ๙ ประโยค สมัยนี้ปรากฏว่ามีเจ้านายได้เป็น พระราชาคณะเป็นครั้งแรก คือพระเจ้าน้องยาเธอพระองค์เจ้าวาสุกรีสมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระปรมานุชิตชิโนรส ๒. ด้านการศาสนูปถัมภ์ ๒.๑. การสร้างและบูรณปฏิสังขรณ์วัด พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ทรงทำนุบำรุงส่งเสริมด้านการศาสนาตามขัตติยราชประเพณีในฐานะที่ทรงเป็นองค์พุทธศาสนูปถัมภกตั้งแต่ทรงเริ่มศึกษาที่วัดบางหว้าใหญ่(วัดระฆังโฆสิตาราม) ผนวชที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม เมื่อทรงขึ้นครองราชย์พระองค์ทรงทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาโดยทรงสร้างวัด บูรณปฏิสังขรณ์วัดสำคัญ ๆ และสร้างพุทธเจดีย์ด้วยฝีพระหัตถ์พระองค์เองหลายแห่งดังนี้ ๒.๑.๑ พระอุโบสถวัดอรุณราชวราราม พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยทรงปฏิสังขรณ์วัดนี้มาก พระองค์สร้างพระอุโบสถรวมทั้งโปรดให้หล่อพระพุทธธรรมมิศรราชขึ้นเป็นพระประธาน โดยทรงปั้นหุ่น ในส่วนพระพักตร์ พระปฏิมาประธานด้วยฝีพระหัตถ์ ลักษณะทรวดทรงเป็นอย่างใหม่ซึ่งประดิษฐ์ขึ้นในรัชกาลที่ ๒ รวมทั้งทรงสร้างพระระเบียงที่มีอยู่ให้สมบูรณ์ ได้รับคำกล่าวถึงว่า“ทรวดทรงงามกว่าพระระเบียงที่ ไหนหมดเป็นศรีแห่งฝีมือในรัชกาลที่๒ควรชมอย่างยิ่ง” ๒.๑.๒ พระวิหารวัดสุทัศนเทพวราราม พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยทรงสร้างวัดสุทัศนเทพวราราม สืบต่อจากที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชทรงเริ่มไว้ และทรงจำหลักบานประต ูกลางพระวิหารพระศรีศากยมุนีวัดสุทัศนเทพวราราม ด้วยฝีพระหัตถ์พระองค์เอง ทรงแกะสลักลวดลายซับซ้อน๔ชั้นงดงามเป็นเยี่ยม ๒.๒.๓ พระยารักใหญ่ พระยารักน้อย หนังสือสาส์นสมเด็จกล่าวว่า “...เพราะพระองค์ทรงชำนาญการแกะยิ่งนัก หน้าหุ่นซึ่งทรงแกะด้วยฝีพระหัตถ์ก็มีหน้าพระใหญ่กับพระน้อยคู่หนึ่ง เรียกกันว่า พระยารักใหญ่พระยารักน้อย (รักนั้นหมายความว่าแกะด้วยไม้รัก) งาม ไม่มีหน้าพระอื่นเสมอสองถ้าจะตามดูจงระวังสังเกตหน้าที่สวมชฎานั้นเปนฝีพระหัตถ์บรรจุไว้ลุ้งเดียวกันทั้งคู่...”

Page 15: พระมหากษัตริย์แห่งพระบรม ......45 ฉะน หว งจะให ทายกท งปวงท ศร ทธากระทำก

53

๒.๒.๔ วัดราชสิทธาราม (วัดพลับ) พระพุทธปฏิมาประธานในพระอุโบสถ คือ พระพุทธจุฬารักษ์ เป็นฝีพระหัตถ์ปั้นหุ่นพระพักตร์ที่งดงามยิ่ง พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ได้ทรงบูรณปฏิสังขรณ์วัดสำคัญ ๆ อื่น ๆอีกหลายวัด เช่น วัดพุทไศวรรย์ วัดดุสิดารามวัดเลียบ (วัดราชบูรณะ) วัดระฆังพระมณฑปวัดพระพุทธบาท สระบุรี ส่วนการสร้างพุทธเจดีย์ทรงสร้างไว้ครบ ๔ ประเภท คือ ธาตุเจดีย์บริโภคเจดีย์พระธรรมเจดีย์และอุทเทสิกเจดีย์ ๓. ด้านศาสนธรรม ๓.๑ ตรวจชำระพระไตรปิฎก ในรัชกาลที่ ๒ มีจดหมายเหตุปรากฏว่าได้ โปรดให้ตรวจหนังสือพระไตรปิฎกในหอพระมณเฑียรธรรมได้ความว่าพระไตรปิฎกขาดบาญชีไปมากบ้างน้อยบ้าง ทั้งฉบับครูเดิมฉบับทองใหญ่ และฉบับรองทรง ที่หนังสือขาดครั้งนั้น น่าจะเป็นเพราะเหตุที่ให้ยืมฉบับหลวงไปคัดตามวัดในรัชกาลที่ ๑ เจ้าพนักงานหลงลืมเสียไม่ได้เรียกฉบับกลับมาให้ครบ ในรัชกาลที่ ๒จึงทรงสร้างหนังสือแต่ใช้ฉบับของเดิมที่ขาดบาญชีไป โดยมากที่ ได้สร้างขึ้นใหม่สำหรับหอหลวงในครั้งรัชกาลที่๒ปรากฏว่าสร้างจบเดียวเรียกในกรมราชบัณฑิตว่า“ฉบับรดน้ำแดง” เพราะลานใบปกเขียนลายรดน้ำพื้นแดง แต่หนังสือฉบับนี้เห็นจะสร้างไม่ทันแล้ว ก็สิ้นรัชกาลที่ ๒ด้วยมีหนังสือลายรดน้ำแดงสร้างเพิ่มเติมในรัชกาลที่ ๓ และรัชกาลที่ ๔ ปนอยู่เป็นอันมากแต่จะมีจำนวนหนังสือเท่าใดไม่พบบาญชีเดิม ๓.๒ บูรณะหนังสือมหาชาติคำหลวง เมื่อปีจอ จ.ศ. ๑๑๗๖ ตรงกับ พ.ศ. ๒๓๕๘ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยรัชกาลที่ ๒ ได้ทรงเรียกประชุมนักปราชญ์ราชบัณฑิต ในกรุงรัตนโกสินทร์ให้มาช่วยประพันธ์หนังสือมหาชาติคำหลวงที่เชื่อว่าสูญหายไปบางส่วน เมื่อครั้งสิ้นกรุงศรีอยุธยา ได้แก่กัณฑ์หิมพานต์ ทานกัณฑ์ จุลพน มัทรี สักบรรพ และฉกษัตริย์ ต่อมาพบว่ากัณฑ์มัทรี ฉบับสำนวนเก่าได้ปรากฏอยู่ที่หอพระสมุด จึงนำมารวบรวมไว้เป็นมรดกของชาติสืบไป แต่งหนังสือโอวาทานุสาสนีซึ่งเป็นพระธรรมวินัยการแสดงข้อวัตรปฏิบัติอันสมควรแก่สมณเพศ๔. ด้านศาสนพิธี ๔.๑ ประเพณีทางศาสนา ๔.๑.๑ การที่กรุงศรีอยุธยาล่มสลาย บ้านเมืองอยู่ ในภาวะไม่สงบจึงขาดผู้สนใจประเพณีทางศาสนา ครั้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย บ้านเมืองปกติสงบสุขพระองค์จึงทรงฟื้นฟูประเพณีงานวิสาขบูชาซึ่งถือปฏิบัติสืบมาตั้งแต่พระเจ้าแผ่นดินครั้งกรุงสุโขทัย ดังปรากฏในพระราชบัญญัติกำหนดให้พลเมืองทำวิสาขบูชาและห้ามฆ่าสัตว์๓วันจุลศักราช๑๑๗๙(พุทธศักราช๒๓๖๐)ดังนี้ “...ตรัสเห็นว่าวิสาขบูชานี้จะเป็นเนื้อนาบุญราศีกองพระราชกุศลเกิดขึ้นอีกแห่งหนึ่งเป็นแท้จึงทรงพระราชศรัทธาจะยกรื้อวิสาขบูชามหายัญพิธีอันขาดประเพณีมานั้นให้กลับคืนเจียรฐิติกาลปรากฎสำหรับแผ่นดินสืบไปจะให้เป็นอัตตฐานประโยชน์แลปรัตฐาน

Page 16: พระมหากษัตริย์แห่งพระบรม ......45 ฉะน หว งจะให ทายกท งปวงท ศร ทธากระทำก

54

ประโยชน์ ทรงพระราชศรัทธาจะให้สัตว์โลก ข้าขอบขัณฑเสมาทั้งปวงจำเริญอายุและอยู่เย็นเป็นสุข ปราศจากทุกข์ภัยในชั่วนี้ชั่วหน้า จึงมีพระราชโองการ มา ณ พระบัณฑูรสุรสิงหนาท ดำรัสเหนือเกล้าเหนือกระหม่อมสั่งว่า แต่นี้สืบไปถึงณ วันเดือนหกขึ้นสิบสี่ค่ำสิบห้าค่ำ แรมค่ำหนึ่ง เป็นวันพิธีวิสาขบูชานักขัตฤกษ์ใหญ่ พระบาทสมเด็จพระพุทธเจ้าอยู่หัวจะทรงรักษา พระอุโบสถศีลปรนนิบัติพระสงฆ์สามวัน ปล่อยสัตว์สามวัน ห้ามมิให้ผู้ ใดฆ่าสัตว์ตัดชีวิตเสพสุราเมรัยในสามวันถวายประทีปตั้งโคมแขวนเครื่องสักการบูชาดอกไม้เพลิงสามอารามหลวง ถวายไทยทานสามวัน ส่วนพระบรมวงศานุวงศ์แลข้าทูลละอองธุลีพระบาทไพร่ฟ้าอาณาประชาราษฎร์ลูกค้าวานิช สมณชีพราหมณ์ทั้งปวง จงมีศรัทธาปลงใจลงในการกุศลอุตสาหะกระทำวิสาขบูชาให้เป็นประเพณียั่งยืนไปทุกปีอย่าให้ขาดฝ่ายคราวาสนั้นจงรักษาพระอุโบสถศีล ถวายบิณบาตทานปล่อยสัตว์ตามศรัทธาทั้งสามวัน ดุจวันตรุษสงกรานต์ เพลาเพลแล้วมีพระธรรมเทศนาในอารามธูปเทียนชวาลาธงผ้า ธงกระดาษออกไปยังพระอารามบูชาพระรัตนตรัย ตั้งพนมดอกไม้แขวนพวงดอกไม้ธูปเทียนธงใหญ่ธงน้อย ในพระอุโบสถพระวิหารแลนอกพระอุโบสถ พระวิหารที่ ลานเจดีย์ และพระศรีมหาโพธิ์และผู้ ใดจะมีเครื่องดุริยดนตรีมโหรีพิณพาทย์เครื่องเล่นสมโภชประการใดๆก็ตามแต่ ใจศรัทธา ครั้นเพลาค่ำให้บูชาพระรัตนตรัยด้วยเครื่องบูชาประทีปโคมตั้งแขวนจงแขวนทุกหน้าชานร้านโรงและโรงเรียนทุกแห่งทุกตำบล ให้คราวาสทำดังกล่าวนี้จงถ้วนครบสามวันและ ณ วันเดือนหก ขึ้นสิบห้าค่ำนั้น เป็นวันเพ็ญบูรณมี ให้ข้าทูลละอองธุลีพระบาทในพระราชวังหลวง ในกรมพระราชวังบวรสถานมงคลประชุมกันถวายสลากภัตแก่พระสงฆ์และให้มัคนายกทั้งปวงชักชวนสัปปบุรุษทายกบรรดาที่อยู่ ใกล้เคียงอารามใด ๆให้ทำสลากภัตถวายพระสงฆ์ในอารามนั้นๆ...” ๔.๑.๒ พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ ๒ ฉบับเจ้าพระยาทิพากรวงศ์บันทึกพระราชกรณียกิจด้านการพระศาสนาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยว่ามักจะเสด็จพระราชดำเนิน“พระราชทานผ้าไตรยพระกถิน”ดังนี้ “พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมิได้เสด็จพระราชดำเนินไปประพาศที่ ใดตำบลใดได้เสดจพระราชดำเนินไปก็แต่พระราชทานผ้าไตรยพระกถินเท่านั้น”

วัดอรุณราชวราราม

๓ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว

Page 17: พระมหากษัตริย์แห่งพระบรม ......45 ฉะน หว งจะให ทายกท งปวงท ศร ทธากระทำก

๓ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว

Page 18: พระมหากษัตริย์แห่งพระบรม ......45 ฉะน หว งจะให ทายกท งปวงท ศร ทธากระทำก

56

Page 19: พระมหากษัตริย์แห่งพระบรม ......45 ฉะน หว งจะให ทายกท งปวงท ศร ทธากระทำก

57

พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชศรัทธาแรงกล้าในพระบวรพุทธศาสนา ทรงรักษาศีลบำเพ็ญทาน ทำนุบำรุงคณะสงฆ์ สร้างและปฏิสังขรณ์วัดวาอารามจำนวนมาก ทรงประกอบพระราชกุศลอย่างสม่ำเสมอ ทรงบำเพ็ญพระราชกรณียกิจหลายประการเพื่อการพระศาสนาในด้านต่างๆดังนี้๑. ด้านการคณะสงฆ์ ๑.๑ การบริหารคณะสงฆ์ ๑.๑.๑ เหตุการณ์ด้านพระพุทธศาสนาในประเทศไทยที่แสดงให้เห็นพระราชหฤทัยและพระราชดำริที่กว้างขวางของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว คือ การเกิดนิกายใหม่ที่เรียกว่า ธรรมยุติกนิกาย ซึ่งเป็นการปฏิรูปการพระศาสนาครั้งใหญ่ โดยพระสมณเจ้าเจ้าฟ้ามงกุฎสมมติวงศ์ขณะทรงพระผนวชอยู่ ณ วัดบวรนิเวศวิหาร พระสงฆ์นิกายใหม่นี้มีจุดมุ่งหมายที่จะปฏิบัติพระธรรมเพื่อให้ทั้งตนเองและผู้อื่นหลุดพ้นจากความทุกข์ ถือสันโดษและเคร่งครัดในพระธรรมวินัยในรัชกาลนี้เจ้าฟ้ามงกุฎทรงตั้งธรรมยุตนิกายขึ้นเพื่อปรับปรุงวัตรปฏิบัติของสงฆ์ให้เคร่งครัดยิ่งขึ้น พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงแต่งตั้งเจ้าฟ้ามงกุฎเป็นเจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศวิหารทรงดำรงตำแหน่งนี้มาตลอดรัชกาลที่๓ เรื่องที่พระสงฆ์นิกายธรรมยุตกระทำเป็นผลดีแก่พระพุทธศาสนาในประเทศไทย คือการสังคายนาพระคัมภีร์หินยานให้ถูกต้องตามพระคัมภีร์เดิม โดยมีการสอบทานกับต้นฉบับแต่โดยที่สอบทานต้นฉบับจำเป็นจะต้องศึกษาภาษาบาลีให้ถ่องแท้ด้วย จึงได้มีการสอนภาษาบาลีขึ้นที่วัดบวรนิเวศวิหารอย่างจริงจัง ๑.๑.๒พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเห็นว่าพระสงฆ์ลังกาที่เข้ามาเมืองไทยในเวลานั้น มีพระวินัยเคร่งครัดแบบธรรมยุต จึงโปรดให้พำนักที่วัดบวรนิเวศวิหาร เมื่อพระสงฆ์ลังกาเดินทางกลับในพ.ศ.๒๓๘๕ทรงเห็นชอบด้วยกับเจ้าฟ้ามงกุฎในการส่งพระสงฆ์ธรรมยุต ๕ รูปเดินทางไปลังกา และได้ยืมหนังสือพระไตรปิฎกฉบับที่ยังขาดอยู่จากลังกากลับมาเพื่อคัดลอกไว้สำหรับแผ่นดิน โดยให้ไปกับเรือกำปั่นหลวงชื่อ จินดาดวงแก้ว ซึ่งไปจำหน่ายสินค้า หลังจากนั้นพระอีกคณะหนึ่งได้เดินทางนำพระไตรปิฎกที่เหลืออีก ๓๐ เล่ม มาให้ยืมต่อการศึกษาพระพุทธศาสนาในรัชกาลนี้ จึงมีการค้นคว้าเปรียบเทียบหลักฐานและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างพระสงฆ์ไทยกับพระสงฆ์ลังกา

พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ (พ.ศ. ๒๓๖๗-๒๓๙๔)

Page 20: พระมหากษัตริย์แห่งพระบรม ......45 ฉะน หว งจะให ทายกท งปวงท ศร ทธากระทำก

58

๒. ด้านการศาสนูปถัมภ์ ๒.๑ การสร้างและบูรณปฏิสังขรณ์วัด ๒.๑.๑ ความเจริญรุ่งเรืองทางพระพุทธศาสนาที่มีมากอย่างเด่นชัดในรัชกาลนี้ ได้แก่การสร้างและบูรณปฏิสังขรณ์วัดวาอาราม เนื่องจากวัดมีความผูกพันกับชีวิตจิตใจของคนไทยมากการศึกษาศีลธรรมจรรยาและศิลปะวิทยาการต่างๆล้วนอยู่ในวัด วัดจึงเป็นโรงเรียนและพระสงฆ์เป็นครูอาจารย์ การสร้างและบำรุงวัดจึงเป็นการสร้างโรงเรียนและบำรุงการศึกษาของประชาชนโดยตรง วัดยังเป็นศูนย์กลางแห่งสังคมของชาวบ้านด้วย นอกจากจะทรงสนับสนุนให้พระบรมวงศานุวงศ์และข้าราชการสร้างวัดและพระองค์เองได้โปรดให้สร้างวัดใหญ่ ๆ ขึ้นอีก ได้แก่ วัดเฉลิมพระเกียรติ ที่จังหวัดนนทบุรีทรงอุทิศพระราชทานพระชนกและพระชนนีของพระราชมารดาซึ่งมีเคหสถานอยู่ที่นั้น นอกจากนี้ ได้ทรง บูรณปฏิสังขรณ์ พระอารามทั้งภายในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัดเช่นวัดราชโอรส ซึ่งเดิมชื่อวัดจอมทอง เป็นวัดโบราณมีตำนานเล่าว่าครั้งทรงดำรงพระยศเป็นพระเจ้าลูกยาเธอ กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์เป็นแม่ทัพ ยกทัพไปขัดตาทัพข้าศึกที่เมืองกาญจนบุรีเมื่อพ.ศ.๒๓๖๓ได้เสด็จประทับแรมหน้าวัดและทรงอธิษฐานไว้เมื่อเสร็จราชการกลับมาโดยสวัสดิภาพ จึงทรงบูรณปฏิสังขรณ์แล้วถวายเป็น พระอารามหลวง รัชกาลที่ ๒พระราชทานนามว่าวัดราชโอรส วัดอื่น ๆ ที่ทรงบูรณปฏิสังขรณ์มีอีกมากมาย เช่น วัดราชสิทธาราม วัดศาลาปูนวัดสุทัศนเทพวรารามวัดสุวรรณารามวัดสังข์กระจายและวัดคงคารามเป็นต้น ๒.๒.๒ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงสนพระราชหฤทัยอย่างยิ่งในการสร้างพระพุทธรูป เมื่อสร้างแล้วทรงโปรดให้อัญเชิญไปเป็นพระประธานในวัดที่ทรงสร้างพระพุทธรูปสำคัญที่ทรงสร้างเป็นพระพุทธรูปยืนขนาดใหญ่ทรงเครื่องงดงาม คือ พระพุทธรูปยอดฟ้าจุฬาโลก และพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ประดิษฐานไว้ ในพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม เหตุที่ทรงสร้างเป็นพระพุทธรูปสององค์นี้ ก็โดยทรงพระราชดำริที่จะถวายพระนามแผ่นดินแด่สมเด็จพระอัยกาธิราช แผ่นดินที่ ๑ และสมเด็จพระบรมชนกนาถแผ่นดินที่๒ นอกจากนี้ ได้โปรดให้อัญเชิญพระพุทธรูปสำคัญจากหัวเมืองมาประดิษฐานในวัดที่กรุงเทพฯ และสร้างพระพุทธรูปใหม่อีกหลายองค์ “นายมี มหาดเล็ก” เขียนกลอนเพลงยาวสรรเสริญพระเกียรติรัชกาลที่๓บรรยายเรื่องการบูรณปฏิสังขรณ์พระพุทธรูปในรัชกาลนี้ไว้ว่า “ที่โรงหล่อต่อแต่งพระพุทธรูป ที่เศร้าซูบมัวหมองไม่ผ่องศรี พระบุราณบ้านเก่าคราวกลี ตกอยู่ที่เมืองร้างวัดดั้งเดิม ถูกแดดลมจมน้ำล้วนชำรุด ไปขนขุดบูรณะเฉลิมเสริม ที่ด่างพร้อยร่อยหรอก็ต่อเติม พระพักตร์เจิมจุนพระศอต่อพระกร

Page 21: พระมหากษัตริย์แห่งพระบรม ......45 ฉะน หว งจะให ทายกท งปวงท ศร ทธากระทำก

59

พระนาภีพระนลาฎพระบาทหัตถ์ ที่วิบัติมาบูรณปฏิสังขรณ์ พระประธานพระไสยาสน์ลีลาศจร ออกซับซ้อนน้อยใหญ่อยู่ในโรง” ๒.๒.๓ ตั้งโรงทาน พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเปี่ยมไปด้วยพระเมตตากรุณาแก่พสกนิกรโปรดให้ตั้งโรงทานเลี้ยงคนยากจนขึ้นที่ริมกำแพงพระราชวังด้านแม่น้ำทรงบริจาคแก่คนยากจนเป็นประจำ คราวหนึ่งทรงบริจาคพระราชทรัพย์ถึงพันชั่งทำสัตสดกมหาทาน เมื่อมีเหตุการณ์ไม่ปกติก็ยิ่งทรงบำเพ็ญทานมากยิ่งขึ้น และประกาศให้ราษฎรทำบุญให้ทานด้วย โดยปกติแล้วพระองค์ทรงบาตรทุกวัน และทรงประกอบพระราชกุศลในพระราชพิธีต่างๆเป็นประจำเช่นการถวายผ้ากฐินพระราชทาน๓. ด้านศาสนธรรม พระไตรปิฏก ในรัชกาลที่๓ทรงสร้างพระไตรปิฎกสำหรับหอหลวง๕ฉบับฉบับหนังสือที่ทรงสร้างคือ ๑.“ฉบับรดน้ำเอก” ฉบับนี้ฝีมือสร้างประณีตกว่าพระไตรปิฎกบรรดามีทุกฉบับบรรจงทำตั้งแต่ เลือกใบลาน ฝีมือจาร ฝีมือเขียนลายรดน้ำที่ใบปก ทำกรอบคัมภีร์ ป้ายชื่อคัมภีร์ตลอดจนเลือกหาผ้าห่มคัมภีร์ล้วนเป็นของบรรจงทำด้วยฝีมืออันวิจิตร ๒.“ฉบับรดน้ำโท” ทรงสร้างสำหรับหอหลวง ใช้ ในการสอบไล่พระปริยัติธรรมหนังสือฉบับนี้สร้างลักษณะเดียวกับฉบับรดน้ำเอก แต่ฝีมือที่ทำประณีตไม่ถึงกัน จึงเรียกว่า“ฉบับรดน้ำโท” ๓. “ฉบับทองน้อย” ฉบับนี้ ได้ความว่า เป็นฝีมือช่างผู้หญิงซึ่งหัดขึ้นในรัชกาลที่ ๓จารที่ตำหนักแพตัวคัมภีร์ปิดทองทึบอย่างฉบับทองใหญ่จึงเรียกว่า“ฉบับทองน้อย” ๔. “ฉบับชุบย่อ” ฉบับนี้เขียนชุบตัวหนังสือเป็นอักษรขอม ย่ออย่างฉบับรัชกาลที่ ๑ผิดกันแต่ลานเล็กกว่าและมีใบปกรดน้ำ ๕. “ฉบับอักษรรามัญ” ฉบับนี้เห็นจะจำลองจากพระไตรปิฎกซึ่งพระมอญหาได้ในเมืองรามัญเอามาถวาย ในรัชกาลที่ ๓ ทรงสร้างพระไตรปิฎกจบใหญ่พระราชทานสำหรับพระอารามหลวงอีก๒ ฉบับ ฉบับหนึ่งเรียกว่า “ฉบับเทพชุมนุม” เพราะใบปกเขียนลายรดน้ำเป็นรูปเทพชุมนุมพระราชทานไปไว้วัดพระเชตุพน พระไตรปิฎกรัชกาลที่๓อีกฉบับหนึ่งเรียกว่า“ฉบับลายกำมะลอ”เพราะใบปกเขียนลายกำมะลอ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสร้างแต่ยังเป็นกรม พระราชทานไปไว้สำหรับวัดราชโอรส หนังสือฉบับนี้ ไม่ปรากฏเรื่องราวต่อมา ครั้งเมื่อตั้งหอพระสมุดสำหรับพระนครกรรมการให้พระยาปริยัติธรรมธาดาไปตรวจ ได้ความว่าเป็นอันตรายสูญไปเสียแล้วทั้งจบ

Page 22: พระมหากษัตริย์แห่งพระบรม ......45 ฉะน หว งจะให ทายกท งปวงท ศร ทธากระทำก

60

หนังสือพระไตรปิฎกที่สร้างในรัชกาลที่ ๓ วิเศษกว่าหนังสือสร้างในรัชกาลก่อน ๆ มาโดยเหตุอย่างหนึ่งด้วย เมื่อในรัชกาลที่ ๓ นั้น พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงผนวชอยู่ตลอดรัชกาลได้เอาเป็นพระราชธุระสอบสวนหนังสือพระไตรปิฎก ทรงทราบว่าพระไตรปิฎกที่มีอยู่ในประเทศนี้ยังไม่ครบบริบูรณ์ และบางคัมภีร์ทรงสงสัยในฉบับที่มีว่าจะไม่ถูกต้องอยู่บ้าง จึงทูลแต่พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ว่าควรจะหาพระไตรปิฎกฉบับประเทศอื่นมาเพิ่มเติม และสอบกับหนังสือที่มีอยู่แล้ว พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระราชดำริเห็นชอบด้วยจึงโปรดให้สมณทูตออกไปลังกาทวีป๒คราวไปเมื่อปีขาลจัตวาศกพุทธศักราช ๒๓๘๕ คราวหนึ่งไปเมื่อปีมะโรง ฉศก พุทธศักราช ๒๓๘๗ คราวหนึ่ง สืบหาพระไตรปิฎกฉบับลังกาเข้ามาได้มาก คัมภีร์ใดที่ลังกายังไม่มีก็จัดพระราชทานไปแลกเปลี่ยนกันคัดลอกและโปรดให้พระมอญช่วยกันหาพระไตรปิฎกทางรามัญประเทศด้วยอีกทางหนึ่งจึงได้หนังสือพระไตรปิฎกฉบับต่างประเทศเข้ามาเมื่อในรัชกาลที่๓มากอีกประการหนึ่งได้ทราบว่าเมื่อในรัชกาลที่ ๓ นั้นมีพระราชประสงค์จะให้แปลพระไตรปิฎกออกเป็นภาษาไทย โปรดให้วางฎีกาพระสงฆ์ที่ถวายเทศน์เวร ให้เทศน์เรื่องโดยลำดับพระไตรปิฎก ราชบัณฑิตส่งหนังสือฉบับหลวงไปพร้อมฎีกา ให้พระผู้จะเทศน์แปลแต่งเป็นภาษาไทยสำหรับถวายเทศน์ ด้วยเหตุนี้หนังสือแปลร้อยที่มีอยู่ทุกวันนี้ จึงสังเกตสำนวนได้ว่า โดยมากเป็นหนังสือแปลรัชกาลที่ ๓แต่ในครั้งนั้นทราบว่าหนังสือหลวงในหอมณเฑียรธรรมขาดไป ด้วยเรื่องราชบัณฑิตลืมเรียกต้นฉบับคืนอย่างเมื่อในรัชกาลที่ ๑ อีกคราวหนึ่งเมื่อตั้งหอพระสมุดสำหรับพระนคร หนังสือที่ ได้มาจากตามวัดยังพบหนังสือหลวงปะปนอยู่เนืองๆ๔. ด้านศาสนพิธี ประเพณีทางศาสนา ในตอนต้นกรุงรัตนโกสินทร์ การพระราชกุศลเทศน์มหาชาติจัดขึ้นในวันขึ้น ๑๔ ค่ำและ๑๕ค่ำเดือน๑๑แรม๑ค่ำมีอริยสัจจกถาจากนั้นจึงเสด็จลงลอยพระประทีปครั้นถึงแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ จะจัดเทศน์มหาชาติแต่ในปีที่พระองค์เจ้า หม่อมเจ้าทรงผนวชเป็นภิกษุและสามเณรมาก หากปีใดไม่ใคร่มี ก็เปลี่ยนเป็นเทศนาปฐมสมโภชน์แบ่งวันละ๑๐กัณฑ์๕. ด้านการอุปถัมภ์ศาสนา อื่น ๆ แม้ว่าจะทรงเคร่งครัดในพระบวรพุทธศาสนาแต่ก็มิได้ทรงกีดกันศาสนาอื่นทรงแสดงพระองค์เป็นองค์อัครศาสนูปถัมภก กล่าวคือ ได้พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้มีการเผยแพร่คริสตศาสนาในเมืองไทย ทั้งนิกายโรมันคาธอลิกและโปเตสแตนท์ จากหนังสือพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ตอนหนึ่ง

Page 23: พระมหากษัตริย์แห่งพระบรม ......45 ฉะน หว งจะให ทายกท งปวงท ศร ทธากระทำก

61

“...เมื่อพ.ศ.๒๓๗๖ตรงกับรัชกาลที่ ๓พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวสมัยนั้น

ทางประเทศญวนปกครองโดยพระเจ้ามินหม่าง เริ่มปราบปรามคริสตังค์ ห้ามฝรั่งเศสเข้า

ประเทศ ราษฎรจะเข้าถือศาสนาคริสต์ ไม่ ได้ ผู้ ใดขัดขืนมีโทษถึงประหารชีวิต ชาวฝรั่งเศส

และคริสตังค์ชาวญวนต้องถูกฆ่าตายเป็นจำนวนมาก ดังนั้น คริสตังค์ชาวญวณจึงต้องหลบ

หนีการตามฆ่าของทหารต้องหลบซ่อนอยู่ตามป่าด้วยความลำบาก

ต่อมา พ.ศ. ๒๓๗๗ กองทัพเรือไทยมีเจ้าพระยาบดินทร์เดชาเป็นแม่ทัพ ได้รับ

พระราชโองการให้ ไปทำศึกกับญวนเพื่อนำประเทศเขมรกลับคืนมาเป็นของชาวไทยตามเดิม

เมื่อกองทัพไทยได้ชัยชนะยึดเมืองราเคียมได้แล้ว จึงจัดทหารให้พักในบริเวณนั้นเอง

คริสตังค์ชาวญวณที่หลบซ่อนอยู่ ในป่าใกล้เคียงทราบ จึงส่งผู้แทนมาติดต่อ และขอความ

คุ้มครองจากกองทัพเรือไทยในเวลานั้นในกองทัพมีคุณพ่อเกลมังโชก็อยู่ด้วยและได้พูดคุย

กับคริสตังค์ชาวญวนเกี่ยวกับประเทศไทย คริสตังค์ชาวญวนเกือบทั้งหมดจึงออกจากป่า

และมาขออยู่ในอารักขาของกองทัพเรือไทย เพื่อขอพึ่งพระบรมโพธิสมภารของพระนั่งเกล้า

เจ้าอยู่หัว

เมื่อกองทัพไทยกลับถึงกรุงเทพฯ แล้ว เจ้าพระยาบดินทร์เดชาได้กราบบังคมทูล

รายงานการสงครามและการให้ความอารักขาแก่คริสตังค์ชาวญวนได้ทรงทราบทุกประการ

พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระเมตตากรุณาต่อคริสตังค์เหล่านี้

มากด้วยทรงเห็นว่าพลัดบ้านพลัดเมือง หนีร้อนมาพึ่งเย็น โดยมุ่งหวังแต่เพียงได้มีเสรีภาพ

ในการถือและประกอบกิจการทางศาสนา แล้วยังได้แสดงน้ำใจขอเข้าสวามิภักดิ์ ขอพึ่ง

พระบรมโพธิสมภาร จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระราชทานทรัพย์ส่วน

พระองค์ซื้อที่ดินสวนแปลงใหม่ อยู่ ในบริเวณวัดส้มเกลี้ยงเหนือบ้านเขมร ซึ่งมีคริสตังค์

จำนวนหนึ่งอาศัยอยู่แล้วให้เป็นที่พักอาศัย

นอกจากนั้น พระองค์ยังพระราชทานทรัพย์ส่วนพระองค์สร้างโบสถ์หลังแรกให้เป็น

โบสถ์ชั่วคราว ทำด้วยไม้ ไผ่ ให้ชื่อว่า “วัดแซงฟรังซัว ซาเวียร์” บาทหลวงตาแบรต์

ซึ่งหนีภัยเบียดเบียนศาสนาจากประเทศญวนมาอยู่กรุงเทพฯ แล้ว เป็นผู้จัดให้คุณพ่อปอล

คุณพ่อคัดและคุณพ่อยัวอยู่กับคริสตังค์ที่โบสถ์นี้”

นอกจากนี้ยังทรงเปิดโอกาสให้มิชชันนารีสมัยนั้นได้ถ่ายทอดวิทยาการตะวันตกให้แก่ผู้สนใจ ซึ่งมีทั้งพระบรมวงศานุวงศ์และข้าราชการชั้นผู้ ใหญ่รวมอยู่ด้วย รวมทั้งรักษาโรคโดยใช้ยาแผนปัจจุบันให้แก่ผู้มารักษาได้อย่างเสรี ศาสนาเป็นสถาบันสำคัญที่ช่วยเกื้อหนุนความเข้มแข็งและความเป็นปึกแผ่นให้แก่รัฐจากแนวพระราชดำริและพระราชจริยวัตรของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวที่เกี่ยวข้องกับการพระศาสนาดังกล่าว ทำให้สังคมไทยในเวลานั้นอยู่ร่วมกันได้อย่างสมานฉันท์และร่มเย็นเป็นสุข

Page 24: พระมหากษัตริย์แห่งพระบรม ......45 ฉะน หว งจะให ทายกท งปวงท ศร ทธากระทำก

62

วัดราชโอรสาราม

๔ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

Page 25: พระมหากษัตริย์แห่งพระบรม ......45 ฉะน หว งจะให ทายกท งปวงท ศร ทธากระทำก

๔ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

Page 26: พระมหากษัตริย์แห่งพระบรม ......45 ฉะน หว งจะให ทายกท งปวงท ศร ทธากระทำก

64

Page 27: พระมหากษัตริย์แห่งพระบรม ......45 ฉะน หว งจะให ทายกท งปวงท ศร ทธากระทำก

65

พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่ทรงศึกษาพระพุทธศาสนาอย่างแตกฉาน ด้วยทรงออกผนวชเป็นเวลานาน ขณะมีพระชนม์มายุครบ ๒๑ พรรษาและทรงผนวชอยู่ตลอดรัชกาลที่ ๓ เป็นเวลา ๒๗ พรรษา ทรงได้รับสมณนามว่า วชิรญาโณ แปลเป็นภาษาไทยว่า ผู้มีญาณ แข็งแกร่งประดุจดังเพชร ก่อนเสด็จเสวยถวัลยราชสมบัติพระองค์ทรงส่งเสริม พระพุทธศาสนา ทั้งด้านปริยัติและปฏิบัติให้ถูกต้องตามพระธรรมวินัยที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมและมีพุทธบัญญัติไว้ และทรงเป็นองค์เอกอัครศาสนูปถัมภ์ภกพระองค์พระราชทานพระบรมราชูปถัมภ์ ไปยังศาสนาอื่น ๆ และทรงคบหากับนักบวชต่างศาสนาทำให้มีโอกาสได้ทรงศึกษาหาความรู้วิทยาการต่างๆ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงประกอบพระราชกรณียกิจสำคัญทางด้านศาสนาดังนี้๑. ด้านการคณะสงฆ์ ๑.๑ ทรงก่อตั้งคณะสงฆ์ธรรมยุติกนิกายขึ้น โดยทรงพิจารณาพระไตรปิฎก แล้วทรงพบว่า พระสงฆ์ในเวลานั้นได้ปฏิบัติตนผิดไปจากพระวินัยที่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติไว้ ในพระวินัยปิฎกเป็นอันมาก จึงทรงแสวงหาผู้ที่รู้และปฏิบัติตามพระวินัยจริง ๆ ทรงเลื่อมใสใคร่จะปฏิบัติตามจึงเสด็จไปอยู่ที่วัดสมอราย(วัดราชาธิราชในปัจจุบัน)มีผู้เลื่อมใสปฏิบัติตามจนตั้งเป็นคณะสงฆ์ธรรมยุติกนิกายขึ้นเมื่อพ.ศ.๒๓๗๒ ๑.๒ ทรงพยายามฟื้นฟูการศึกษาพระปริยัติธรรมโดยแก้ ไขวิธีเรียน ซึ่งเดิมให้เรียนภาษามคธกับพระธรรมวินัยไปด้วยกันตามคัมภีร์ที่ใช้เป็นหลักสูตรสำหรับสอบทรงเปลี่ยนเป็น๒ ชั้น คือ ชั้นต้นเรียนแต่ ไวยากรณ์ขึ้นไปจนจบคัมภีร์มังคลัตถทีปนี กวดขันให้ภาษามคธแตกฉานเสียก่อนแล้วจึงให้ศึกษาหาความรู้พระธรรมวินัยด้วยอ่านคัมภีร์อื่นๆต่อไปเป็นชั้นหลังด้วยใช้วิธีนี้ นักเรียนสำนักเรียนวัดบวรนิเวศ จึงรู้ภาษามคธเชี่ยวชาญถึงสามารถพูดได้ และใช้หนังสืออรรถเทศน์ได้โดยสะดวก เมื่อเข้าแปลพระปริยัติธรรมก็ได้เป็นเปรียญประโยคสูงกว่าสำนักอื่นๆ เพราะเหตุนี้พระวชิรญาณภิกขุทรงสามารถจัดการศึกษาพระปริยัติธรรมได้รุ่งเรืองพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงโปรดให้มีตำแหน่งพระมหาเถระผู้สอบพระปริยัติธรรมในสนามหลวง ในคราวหนึ่งเกิดมีปัญหาขัดแย้งกับพระพุทธโฆษาจารย์ (ฉิม) วัดโมลีโลกยารามซึ่งเป็นผู้ใหญ่อยู่แต่ก่อนเรื่องมีอยู่ว่า มหาผ่อง นักเรียนผู้เข้าแปลหนังสือแปลคำว่า อาสเนว่า “ในอาสนะ” พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวไม่โปรด มหาผ่องจึงแปลใหม่ว่า“เหนืออาสนะ”

พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ (พ.ศ. ๒๓๙๔-๒๔๑๑)

Page 28: พระมหากษัตริย์แห่งพระบรม ......45 ฉะน หว งจะให ทายกท งปวงท ศร ทธากระทำก

66

แต่พระพุทธโฆษาจารย์(ฉิม)ซึ่งเป็นผู้สอบด้วยไม่ชอบเมื่อพระวชิรญาณภิกขุตรัสแย้งโดยให้เหตุผลว่า ถ้าใช้คำว่านั่งในอาสนะนั้นเป็นอย่างไร จะต้องเอาตัวเข้าไปอยู่ในอาสนะหรือเป็นเหตุให้พระพุทธโฆษาจารย์ขัดใจ และกล่าวคำหยาบต่อพระวชิรญาณภิกขุ เมื่อความทราบถึงพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์ทรงขัดเคืองพระพุทธโฆษาจารย์ (ฉิม)ถึงกับห้ามมิให้นิมนต์เข้าในราชการอยู่นาน และยังทรงมอบหมายให้สิทธิ์ขาดในการสอบไล่พระปริยัติธรรมแก่พระวชิรญาณภิกขุมาจนสิ้นรัชกาล เมื่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสวยราชย์ พระพุทธโฆษาจารย์ (ฉิม)เกรงว่าจะถูกถอดจากพระราชาคณะด้วยทรงอาฆาต ถึงเตรียมตัวจะกลับไปอยู่เมืองเพชรบุรีที่ถิ่นเดิม แต่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวกลับทรงพระกรุณาโปรดฯ ให้พ้นโทษตรัสยกย่องว่า พระพุทธโฆษาจารย์ (ฉิม) ชำนาญพระปริยัติธรรมมาก ให้เลื่อนสมณศักดิ์ขึ้นเป็นสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ฉิม) ตำแหน่งเจ้าคณะกลางมาครองวัดมหาธาตุ สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ฉิม) ก็เกิดความเลื่อมใสในพระคุณธรรมที่ ไม่ทรงพยาบาทว่า พระองค์ทรงเป็นบัณฑิตโดยแท้ จึงแต่งคาถาถวายพระพรอันขึ้นต้นด้วยบทว่า “ยํ ยํ เทวมนุสฺสานํมงฺคลตฺถาย ภาสิตํ” ตอบสนองพระเดชพระคุณ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวชอบพระราชหฤทัยจึงโปรดฯให้พระสงฆ์สวดคาถานั้นข้างท้ายพระปริตร ยังสวดมาจนทุกวันนี้ ๑.๓ ทรงตั้งธรรมเนียมนมัสการพระเช้าค่ำ ที่ เรียกว่าทำวัตรเช้า ทำวัตรค่ำเป็นประจำและทรงพระราชนิพนธ์บทสวดเป็นภาษาบาลี เป็นคาถา เป็นจุณณิยบท ซึ่งใช้แพร่หลายมาจนถึงปัจจุบันนี้ มีการรักษาศีลอุโบสถ และแสดงธรรมเทศนาเวลาเก้าโมงเช้าและบ่ายสามโมงเย็นในวันธรรมสวนะและวันอุโบสถเดือนละ๔ครั้ง ๑.๔ ทรงปฏิรูปการเทศน์และการอธิบายธรรมทรงเริ่มการเทศนาด้วยฝีพระโอษฐ์ ชวนให้ผู้ฟังเข้าใจง่ายและเกิดศรัทธา ไม่โปรดเขียนหนังสือไว้เทศน์ นอกจากนี้ยังทรงฝึกหัดศิษย์ให้ปฏิบัติตาม ทรงอธิบายเพื่อให้คนเข้าใจในเนื้อหาของหลักธรรม เผยแพร่หลักธรรมสู่ราษฎรอธิบายหลักอันยุ่งยากซับซ้อนคณะสงฆ์ธรรมยุติกนิกายได้เพิ่มบทสวดมนต์ภาษาไทยลงไปทำให้คนนิยมฟังเป็นอันมาก ๑.๕ ทรงแก้ ไขการขอบรรพชา และการสวดกรรมวาจาในอุปสมบทกรรมให้ถูกต้องยิ่งขึ้น เช่น ระบุนามอุปสัมปทา และนามอุปัชฌายะ ซึ่งเป็นภาษาบาลีในกรรมวาจา การออกเสียงอักษรบาลีทรงให้ถือหลักการออกเสียงให้ถูกฐานกรณ์ของอักขระตามหลักบาลีไวยากรณ์ ๑.๖ ทรงวางระเบียบการครองผ้า คือการนุ่งห่มของภิกษุสามเณร ให้ปฏิบัติไปตามหลักเสขิยวัตรในพระวินัยเพื่อให้สุภาพเรียบร้อย (เดิมพระสงฆ์ธรรมยุติกนิกายครองจีวรห่มแหวกแต่ตอนปลายรัชกาลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เปลี่ยนมาห่มคลุม (ห่มหนีบ)ตามแบบคณะสงฆ์มหานิกาย ครั้นถึงรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสวยราชย์จึงได้กลับมาห่มแหวกตามเดิม) ทรงวางระเบียบการกราบไหว้ของพระภิกษุสามเณร และระเบียบอาจารยมารยาท ต้องวางตัวให้น่าเลื่อมใสศรัทธา สังวรในกิริยามารยาทและขนบธรรมเนียม

Page 29: พระมหากษัตริย์แห่งพระบรม ......45 ฉะน หว งจะให ทายกท งปวงท ศร ทธากระทำก

67

๑.๗ ทรงเข้มงวดขันการประพฤติปฏิบัติของพระสงฆ์ ทรงถือว่า พระวินัยสิกขาบทเป็นเครื่องดำรงให้พระพุทธศาสนามั่นคงถาวร และทรงเห็นเป็นสิ่งผิดที่คฤหัสถ์จะถือลัทธิ“ชั่วช่างชีดีช่างสงฆ์” เพราะในยุคนี้มิใช่ยุคต้นศาสนา พุทธจักรต้องอาศัยราชอาณาจักรพระพุทธศาสนาจึงรุ่งเรืองอยู่ ได้ พระองค์ทรงออกประกาศของทางราชการและพระราชบัญญัติ อาทิ ประกาศว่าด้วยการทรงทะนุบำรุงพระพุทธศาสนา ประกาศห้ามมิให้พระสงฆ์บอกใบ้แทงหวยและประพฤติอนาจาร ประกาศห้ามมิให้ภิกษุสามเณรคบผู้หญิงมาพูดที่กุฏิประกาศพระราชบัญญัติเรื่องพระสงฆ์ สามเณรลักเพศ ทั้งนี้เพื่อให้พุทธจักรมีความบริสุทธิ์ไม่มัวหมองและเป็นเกียรติยศแก่บ้านเมืองและประเทศที่นับถือพระพุทธศาสนา ๑.๘ ทรงให้คณะสงฆ์ธรรมยุติกนิกาย ศึกษาพระปริยัติธรรมให้แตกฉาน สามารถแสดงธรรมเทศนา สั่งสอน สามารถแยกระหว่างความเชื่อที่มีเหตุผล และความเชื่อในสิ่งที่ไม่สามารถอธิบายได้ การศึกษาในด้านวิปัสสนาธุระ ไม่ใช่รับรู้เฉพาะสมถะวิธีอันเป็นเบื้องต้นแต่ให้รับรู้ ไปถึงขั้นวิปัสสนากรรมฐาน การปฏิบัติตามพระวินัย ทรงให้ถือหลักว่าสิ่งใดที่สงสัยและน่ารังเกียจไม่ควรกระทำโดยเด็ดขาดพึงเคารพพระวินัยอย่างเคร่งครัด ๑.๙ ทรงเห็นความสำคัญในการศึกษาหาความรู้สาขาอื่น ๆ ของพระสงฆ์ จึงทรงอนุญาตให้พระสงฆ์เข้าศึกษาภาษาอังกฤษกับหมอแคสเวล (Reverend Jesse Caswell) ตามความสนใจทำให้มีการสืบสานการเข้าศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมของพระสงฆ์มาจนถึงปัจจุบัน ๑.๑๐ ทรงจัดให้มีการทดสอบความรู้พระปริยัติธรรมพระสงฆ์สามเณร พระสงฆ์ที่สอบไล่ ได้เหล่านี้จะได้รับการยกย่องและได้รับพระราชทานสมณศักดิ์และนิตยภัตร ทั้งนี้เพราะทรงถือว่าพระภิกษุสามเณรที่รอบรู้ในพระไตรปิฎกนั้นเป็นแก้วอันหาได้ยากในโลกนี้ อนึ่ง การจัดให้มีการทดสอบความรู้พระปริยัติธรรมพระสงฆ์สามเณรเป็นมาตรการสำคัญประการหนึ่งสำหรับกำจัดผู้ที่อาศัยพระศาสนาหลบหนีการเกณฑ์เข้ารับราชการเหมือนครั้งในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชแห่งกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย ดังปรากฏหลักฐานในจดหมายเหตุรัชกาลที่๔ว่า “ทุกวันนี้ กุลบุตรที่บวดเป็นภิกษุสามเณรเข้าในพระศาสนา บางจำพวกมีศรัทธาตั้งใจรักษาศีลสิกขาบท อุสาหะเล่าเรียนคันถธุระ วิปัสสนาธุระตามสติปัญญา หวังจะให้เป็น คุณประโยชน์ก็มีบ้าง บางจำพวกเป็นคนเกียจคร้าน กลัวจะเกณฑ์ใช้ราชการหลบลี้หนีเข้ามาบวดเป็นภิกษุสามเณร อาศัยพึ่งพระศาสนาเลี้ยงชีวิต แล้วประพฤติอนาจารทุจริตต่าง ๆ...” ๑.๑๑ ทรงห้ามการข่มขี่และเบียดเบียนพระสงฆ์ที่ต่างนิกาย นับแต่วาระแรกที่พระองค์ เสด็จขึ้น เสวยราชย์ ทรงวางพระทัยให้เป็นกลางระหว่างคณะสงฆ์มหานิกายและคณะสงฆ์ธรรมยุติกนิกายแม้ว่าพระองค์ทรงเป็นผู้ก่อตั้งธรรมยุติกนิกายก็ตาม เมื่อคราวพระราชพิธีเสด็จฯ เลียบพระนครนั้น โปรดให้กระบวนเสด็จเลียบพระนครทางสถลมารคไปยังวัดพระเชตุพนฯ ซึ่งเป็นวัดสำคัญของคณะสงฆ์มหานิกาย และเสด็จทางชลมารคไปยังวัดบวรนิเวศ วัดสำคัญของคณะสงฆ์ธรรมยุติกนิกาย ทั้งนี้เพื่อแสดงว่าพระองค์

Page 30: พระมหากษัตริย์แห่งพระบรม ......45 ฉะน หว งจะให ทายกท งปวงท ศร ทธากระทำก

68

ทรงเป็นองค์ศาสนูปถัมภกพระพุทธศาสนาโดยไม่ลำเอียง และระงับข้อสงสัยของคนทั่วไปว่าเมื่อเสด็จขึ้นครองราชสมบัติจะใช้พระราชอำนาจบังคับพระสงฆ์ให้เป็นสงฆ์ธรรมยุตเสียหมด เมื่อคณะสงฆ์ธรรมยุติกนิกาย ถวายฎีกาเพื่อขอพระบรมราชานุญาตกลับไปห่มแหวกพระองค์ได้พระราชทานพระบรมราชวินิจฉัยว่า การปฏิบัติพระธรรมวินัยเป็นกิจของพระสงฆ์ผู้ปฏิบัติมิใช่ราชกิจของพระเจ้าแผ่นดินที่จะทรงสั่งให้ทำประการใด จะเห็นได้ว่าทรงระมัดระวังในการวางพระองค์ให้เป็นกลางอย่างเคร่งครัด เพราะทรงเป็นพระมหากษัตริย์ ฐานะของพระองค์ทรงเปลี่ยนไป มิใช่อย่างที่ทรงเคยเป็นในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว แม้ตำแหน่งในทางสมณศักดิ์ก็เช่นกัน ทรงส่งเสริมโดยถือหลักเกณฑ์อายุพรรษาและคุณธรรมความรู้เป็นสำคัญมากกว่ายึดถือนิกายและดำรัสสั่งในราชการให้ถือว่าพระสงฆ์สองนิกายเป็นอย่างเดียวกัน ฐานะเสมอกัน การสังฆมลฑลก็มิได้แตกร้าวตลอดรัชสมัยด้วยพระสงฆ์พากันเลื่อมใสในพระปรีชาญาณขององค์อัครศาสนูปถัมภก๒. ด้านการศาสนูปถัมภ์ การสร้างและบูรณปฏิสังขรณ์วัด ๒.๑ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงถือว่าประเทศไทยเป็นประเทศพุทธศาสนา ไม่ได้เป็นของศาสนาอื่นดังปรากฏในประกาศพระราชทานส่วนพระราชกุศล ในการที่ทรงบริจาคเพชรใหญ่ประดับพระอุนาโลมพระพุทธรัตนปฏิมากร(ณวันจันทร์เดือน๑๒แรมค่ำ ๑ ปีขาล ฉศก) ว่า “...พระนครนี้เป็นถิ่นที่ของคนผู้ที่นับถือพระพุทธศาสนาแต่เดิมไม่ใช่แผ่นดินของศาสนาอื่น คนที่นับถือศาสนาอื่นมาแต่ที่อื่นก็ดี อยู่ ในเมืองนี้ก็ดีจะโทมนัส

น้อยใจด้วยริษยาแก่พระพุทธศาสนาเพราะบูชาอันนี้ ไม่ ได้ด้วยไม่ใช่เมืองของศาสนาตัวเลย

ถ้าโทมนัสก็ชื่อว่าโลภล่วงเกินไป...”

๒.๒ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชดำริว่า ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงสร้างวัดไว้มากพอแล้ว การสร้างวัดใหม่ส่วนมากโปรดเกล้าฯ ให้สร้างวัดในต่างจังหวัด ในกรุงเทพฯ โปรดเกล้าฯ ให้สร้างวัดใหม่ ๕ วัด ได้แก่วัดโสมนัสวิหาร วัดปทุมวนาราม วัดราชประดิษฐ์สถิตมหาสีมาราม วัดมกุฏกษัตริยาราม และวัดตรีทศเทพ วัดที่ทรงสร้างไม่มีพระราชประสงค์ ให้ ใหญ่โต เพราะจะรักษายากดังประชุมประกาศความว่า “...ในหลวงบัดนี้ก็ไม่สู้ถนัดที่จะคิดสร้างวัดใหญ่วัดโต เพราะเห็นว่าของชำรุดก็ไม่มีใครซ่อม วัดใหญ่นักก็ถวายเปนที่อยู่ของศัตรูพระศาสนาไป จึงโปรดแต่ที่จะสร้างวัดเล็ก ๆ ที่จะบรรจุพระสงฆ์ ๓๐ รูป ลงมาพอให้เจ้าอาวาสมีความรักวัดบ้าง เอาใจใส่วัดบ้าง...” ๒.๓ ปูชนียสถานที่สำคัญอีกแห่งหนึ่งที่ทรงบูรณปฏิสังขรณ์ คือ พระปฐมเจดีย์พระองค์ทรงเลื่อมใสพระปฐมเจดีย์เมื่อยังอยู่ในสมณวิสัย เมื่อธุดงค์ผ่านไปคราวใด ก็มักปักกลดทุกครั้งได้ปฏิญญาว่าจะทรงหาทางบูรณะให้จงได้

Page 31: พระมหากษัตริย์แห่งพระบรม ......45 ฉะน หว งจะให ทายกท งปวงท ศร ทธากระทำก

69

๓. ด้านศาสนธรรม ๓.๑ พระไตรปิฎก พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้โปรดให้ตรวจหนังสือในหอมณเฑียรธรรม และปรากฎว่าหนังสือหลวงขาดบาญชีไปมาก มีหนังสือพระไตรปิฎกที่สร้างขึ้นใหม่สำหรับหอหลวงเมื่อในรัชกาลที่ ๔ มีฉบับหนึ่ง เรียกว่า “ฉบับล่องชาด” เพราะข้างๆปิดทองและสลักชาด ๓.๒ ทรงส่งสมณทูตไปลังกาและที่ต่าง ๆ เพื่อรวบรวมหลักฐานทางพระพุทธศาสนามาซ่อมพระไตรปิฎกที่ขาดไปให้ครบบริบูรณ์ ๓.๓ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชนิพนธ์หนังสือด้านศาสนาไว้หลายประเภทมักจะกล่าวถึงคุณพระรัตนตรัยคำสวดนมัสการต่างๆพระไตรลักษณญาณบ้างพระคาถาสวดสาธยายในราชการ ทำพระราชพิธีพระราชปุจฉา พระราชนิพนธ์มหาชาติ คาถาอธิษฐานน้ำพระพิพัฒน์สัตยาพิธีเสกน้ำพระพุทธมนต์ทรงแก้ไขคาถานมัสการพระพุทธเจ้าใหม่และที่สุดวิธีลงยันต์ปฐมังของเก่า ก็ทรงแก้ ไขเป็นคาถาให้ถูกต้องด้วยอรรถพยัญชนะส่วนเรื่องเบ็ดเตล็ดได้แก่ ทรงติถ้อยคำใช้ศัพท์แปลภาษาบาลีที่พระสงฆ์ถวายเทศนา เป็นต้นพระราชนิพนธ์หนังสือด้านศาสนานั้น ทรงประดิษฐ์อักษรการยุต สำหรับใช้เขียนภาษาไทยแทนภาษาบาลี ซึ่งต่อมาพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงใช้อักษรนี้ ในการพิมพ์พระไตรปิฎก เมื่อ พ.ศ.๒๔๓๖ และทรงประดิษฐ์อักษรอริยกะขึ้นใช้สำหรับเขียนภาษาบาลีแทนภาษาเขมรโดยทรงดัดแปลงมาจากอักษรโรมันอักษรทั้งสองชนิดนับเป็นสิ่งประดิษฐ์ที่ชาวไทยควรภาคภูมิใจที่สุด ๓.๔ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงสืบพระศาสนาทั้งครั้งที่ผนวชและเสวยราชย์ แม้วันเสด็จสวรรคต ยังทรงพระราชนิพนธ์คำขอขมาและลาพระสงฆ์ ด้วยภาษาบาลี แล้วทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ พระศรีสุนทรโวหาร เชิญพระราชนิพนธ์นี้พร้อมเครื่องสักการะไปอ่านในที่ประชุมสงฆ์ณพระวิหารหลวงวัดราชประดิษฐ์ ๔. ด้านศาสนพิธี ประเพณีทางศาสนา ๔.๑ ทรงกำหนดวันมาฆบูชา เป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาเพิ่มขึ้นจากวันวิสาขบูชา ทรงพระราชนิพนธ์คำบูชา และวางระเบียบให้เดินเวียนเทียนและสดับพระธรรมเทศนา ทรงชักนำให้บำเพ็ญกุศลตามเทศกาลต่าง ๆ เช่น ถวายสลากภัตร ตักบาตรน้ำผึ้งถวายผ้าจำนำพรรษา ๔.๒ ทรงแก้ ไขการรับผ้ากฐินให้ถูกต้องตามพุทธบัญญัติ คือเริ่มแต่การซัก ตัด เย็บย้อมให้เสร็จภายในวันเดียวกัน ๔.๓ ทรงนำพิธีทางพระพุทธศาสนาเข้ามาเกี่ยวข้องในการพระราชพิธีต่าง ๆ ซึ่งเดิมจัดตามพิธีพราหมณ์เพียงอย่างเดียว เช่น พระราชพิธีบรมราชาภิเษก พระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญพระราชพิธีตรียัมปวายพระราชพิธีโสกันต์เป็นต้น

Page 32: พระมหากษัตริย์แห่งพระบรม ......45 ฉะน หว งจะให ทายกท งปวงท ศร ทธากระทำก

70

๕. ด้านการอุปถัมภ์ศาสนาอื่น ๆ ๕.๑ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานเสรีภาพทางศาสนาแก่ประชาชนโดยมีประกาศการถือศาสนาและผู้ถือผิด (ปีมะเมีย สัมฤทธิศก) ว่า “ธรรมเนียมผู้ครองแผ่นดินที่เป็นยุติธรรม มิได้ห้ามราษฎร์ทั้งปวงในการถือศาสนาเป็นที่พึ่งของตัว ๆ

ในเวลาที่สุดแลการเบื้องหน้า ทรงอนุญาตยอมให้คนถือศาสนาตามอัธยาศัย...” ในประกาศฉบับนี้ทรงอนุญาตถือศาสนาตามอัธยาศัยก็จริงแต่ทรงห้ามการปฏิบัติที่ผิดแปลกที่เกิดขึ้นในสมัยนั้นเช่นเผาตัวบูชาพระตัดศีรษะบูชาพระเชือดเนื้อรองโลหิตตามตะเกียงบูชาพระฯลฯ ๔.๒ทรงพระราชทานที่ดินแก่ศาสนิกชนคริสเตียนเพื่อสร้างโบสถ์ ๔.๓โปรดให้สร้างวัดถวายเป็นราชพลีแก่พระญวณนิกายมหายาน ทั้งหมดนี้แสดงว่าพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นผู้ทรงไว้ซึ่งทศพิธราชธรรมสิทธิเสรีภาพในอาณาจักรของพระองค์ย่อมมาจากเมตตากรุณามัททวะอวิหิงสาที่มีอยู่ในพระทัยของพระองค์และเป็นที่ประจักษ์แก่ปวงชนชาวไทยทุกหมู่เหล่าตลอดจนนานาประเทศ

วัดราชประดิษฐ์สถิตมหาสีมาราม

๕ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

Page 33: พระมหากษัตริย์แห่งพระบรม ......45 ฉะน หว งจะให ทายกท งปวงท ศร ทธากระทำก

๕ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

Page 34: พระมหากษัตริย์แห่งพระบรม ......45 ฉะน หว งจะให ทายกท งปวงท ศร ทธากระทำก

72

Page 35: พระมหากษัตริย์แห่งพระบรม ......45 ฉะน หว งจะให ทายกท งปวงท ศร ทธากระทำก

73

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานพระบรมราชูปถัมภ์แก่ทุกศาสนา ศาสนาพุทธ ซึ่งเป็นศาสนาประจำชาตินั้น ทรงยึดมั่นและเลื่อมใสอย่างลึกซึ้งทรงมีพระราชดำริที่จะปรับปรุงกิจการทางฝ่ายศาสนจักรทั้งในด้านการปกครองและการศึกษาของพระภิกษุสงฆ์ให้เจริญก้าวหน้ายิ่งขึ้น ในขณะที่ทรงปฏิรูปการทางฝ่ายอาณาจักรดังกล่าวมาแล้วพระราชกรณียกิจที่สำคัญทางด้านศาสนามีดังนี้๑. ด้านการคณะสงฆ์ ๑.๑ การตราพระราชบัญญัติลักษณะการปกครองคณะสงฆ์ เนื่องจากพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระราชประสงค์ที่จะจัดการปกครอง สังฆมณฑลให้เป็นระเบียบแบบแผน เพื่อความเจริญมั่นคงของพุทธศาสนาเมื่อพุทธศักราช ๒๔๔๕ จึงโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติลักษณะการปกครองคณะสงฆ์ร.ศ. ๑๒๑ ขึ้น กำหนดให้มีมหาเถรสมาคมเป็นองค์กรสูงสุด มีหน้าที่ประชุมปรึกษาวินิจฉัยการต่าง ๆ ในการปกครองคณะสงฆ์ กับทั้งเป็นที่ปรึกษาของพระมหากษัตริย์ในการที่เกี่ยวกับคณะสงฆ์พระราชบัญญัติฉบับนี้เปิดโอกาสให้พระสงฆ์ได้มีบทบาทในการปกครองตนเองเป็นประโยชน์ในการจัดระเบียบการปกครองให้เป็นแบบแผนและคล่องตัวในการปฏิบัติงาน พระราชบัญญัติดังกล่าวได้ใช้เป็นหลักในการปกครองคณะสงฆ์สืบต่อจนมาถึงพุทธศักราช๒๔๘๔เมื่อมีการตราพระราชบัญญัติการปกครองคณะสงฆ์ขึ้นใช้ใหม่แทนฉบับแรก ๑.๒ การจัดตั้งสถานศึกษาของคณะสงฆ์ เมื่อพุทธศักราช ๒๔๓๒ ได้มีการจัดตั้งมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ขึ้นที่วัดมหาธาตุเพื่อเป็นสถานศึกษาพระปริยัติธรรมของพระสงฆ์ฝ่ายมหานิกาย ต่อมาเมื่อพุทธศักราช ๒๔๓๖ได้จัดตั้งมหามกุฎราชวิทยาลัยขึ้นที่วัดบวรนิเวศ สำหรับพระสงฆ์ฝ่ายธรรมยุต และเป็นสถานที่อบรมสั่งสอนด้านพุทธศาสนาและการศึกษาแก่เยาวชน ตลอดจนเผยแพร่พุทธศาสนาแก่ประชาชนทั่วไปด้วย ๑.๓ การจัดการศึกษาหัวเมือง ได้มีการวางแบบแผนจัดการศึกษาหัวเมืองร.ศ.๑๑๗(พุทธศักราช๒๔๔๑)ขึ้นเป็นครั้งแรกโดยมีการฝึกอบรมพระสงฆ์ให้มีความรู้ความสามารถและความเข้าใจในการศึกษาแบบใหม่แล้วตั้งให้เป็นผู้อำนวยการจัดการศึกษาในหัวเมืองประจำมณฑลต่างๆผู้มีบทบาทสำคัญในการจัดการศึกษาของภิกษุสามเณรในรัชกาลนี้คือ สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส พระเจ้าลูกยาเธอ ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งนอกจากทรงจัดการศึกษาและปรับปรุงลักษณะการปกครองคณะสงฆ์แล้ว ยังทรงนิพนธ์หนังสือธรรมะในระดับต่างๆและทรงจัดตั้งโรงพิมพ์มหามกุฎราชวิทยาลัยพร้อมกับทรงออกหนังสือ๒ฉบับ๑คือ

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ (พ.ศ. ๒๔๑๑-๒๔๕๓)

๑ข้อมูลจากหนังสือประวัติพระพุทธศาสนาแห่งกรุงรัตนโกสินทร์,กรมการศาสนาจัดพิมพ์พ.ศ.๒๕๒๕

Page 36: พระมหากษัตริย์แห่งพระบรม ......45 ฉะน หว งจะให ทายกท งปวงท ศร ทธากระทำก

74

๑. แถลงการณ์คณะสงฆ์ เพื่อให้เป็นเอกสารสำคัญในการปกครองคณะสงฆ์เช่นเดียวกับหนังสือราชกิจจานุเบกษา เพื่อพิมพ์ประกาศ คำสั่ง เรื่องราวต่าง ๆ ทางคณะสงฆ์ทั่วไปซึ่งยังออกติดต่อกันมาจนบัดนี้ ๒. ธรรมจักษุ เป็นวารสารเผยแพร่ธรรมของพระพุทธศาสนา เพื่อเป็นของสมนาคุณแก่ผู้บำรุงมหามกุฏราชวิทยาลัย มีเรื่องพระสูตรแปล คำอธิบายพระสูตร พระธรรมเทศนาและบทความทางพุทธศาสนาได้เริ่มออกในปีพ.ศ.๒๔๓๗ตลอดมาจนถึงปัจจุบัน การศึกษาของไทยในสมัยโบราณอาศัยวัดเป็นสถานที่เรียน และมีพระสงฆ์เป็นผู้สอนการที่พระสงฆ์สามารถสั่งสอนกุลบุตรได้นั้น จะต้องมีความรู้ในทางหนังสือ ด้วยเหตุที่พระสงฆ์มีความรู้ในทางหนังสือนี่เอง ได้ก่อให้เกิดประโยชน์อย่างน้อยสองประการคือ เป็นการช่วยให้ภิกษุสามเณรและกุลบุตรมีความรู้ในทางหนังสือต่อไปอีก และเป็นเครื่องมือสำหรับพระสงฆ์จะใช้ในการศึกษาพระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธองค์ ดังปรากฏในประกาศ “จะให้อาจารย์สอนหนังสือไทยแลสอนเลขทุกๆพระอาราม”เมื่อวันที่๖กรกฎาคมพ.ศ.๒๔๑๘ว่า ซี่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯตั้งพระราชาคณะพระครูถานานุกรมเปรียญที่ ได้รับพระราชทานนิตยภัตร์ตามฐานาศักดิ์ ในพระอารามหลวง สำหรับจะได้สั่งสอนสามเณรศิษย์วัด เพื่อจะให้เปนคุณ เปนประโยชน์แก่กุลบุตร์ผู้ที่จะเล่าเรียน แลอาจารย์ผู้ที่จะสั่งสอนให้ถาวรวัฒนาการขึ้นกว่าแต่ก่อน เพราะหนังสือไทยเปนประโยชน์ที่จะเล่าเรียนพระไตรปิฎกต่อไปเปนการเกื้อกูลแก่พระพุทธศาสนา... ด้วยพระราชดำริเช่นนี้ โรงเรียนเกือบทั้งหมดที่ตั้งในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและในสมัยต่อมาโดยเฉพาะโรงเรียนสำหรับราษฎรทั่วไปจึงตั้งอยู่ในวัดด้วยมีประโยชน์หลายทาง เช่น ผู้ปกครองเด็กโดยปกติก็ไปฝากเด็กเล่าเรียนอยู่แล้ว ทางวัดยังคงได้ประโยชน์จากทางบ้านดังเดิมเป็นการประหยัดค่าซื้อที่ดินและค่าก่อสร้างอาคารเรียนได้มาก จุดมุ่งหมายในข้อนี้ ถ้าพิจารณาให้ลึกซึ้งลงไปจะพบว่าการจัดการศึกษาโดยให้โรงเรียนอยู่ในวัด เป็นการสนับสนุนให้เด็กนักเรียนสนใจในพระพุทธศาสนา เพราะพระสงฆ์ย่อมสั่งสอนศีลธรรมแก่เด็กเป็นธรรมดา ประกอบกับเด็กมีสิ่งแวดล้อมที่ดีอยู่แล้ว จึงย่อมทำให้เด็กสนใจพระพุทธศาสนามากขึ้น เมื่อเด็กเหล่านี้โตขึ้นครบอายุบวชก็จะใช้ความรู้ทางหนังสือที่ตนได้เล่าเรียนมา ศึกษาค้นคว้าพระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธองค์ต่อไป จึงกล่าวได้ว่าการศึกษาทำให้พระพุทธศาสนาแพร่หลายและทำให้คนใกล้ชิดกับวัดหรือพระพุทธ ศาสนามากยิ่งขึ้นดังพระราชหัตถเลขาของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงกราบทูลกรมหมื่นวชิรญาณวโรรส (สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส) เพื่อทรงปรึกษาในเรื่องการจัดการศึกษาของไทยตามแผนการของพระยาวิสุทธสุริยศักดิ์ เมื่อวันที่๒๔กรกฎาคมร.ศ.๑๑๗(พ.ศ.๒๔๔๑)ว่า เรื่องการศึกษานี้ขอให้ทรงช่วยคิดให้มาก ๆ จนถึงรากเหง้าของการศึกษาในเมืองไทยอย่าตัดช่องไปแต่ข้างวัด อีกประการหนึ่ง การสอนศาสนาในโรงเรียนทั้งกรุงแลหัวเมืองจะให้มีขึ้น ให้มีความวิตกไปว่าเด็กชั้นหลังจะห่างเหินจากศาสนา จนเลยเปนคนไม่มีธรรมในใจมากขึ้น...คนที่ ไม่มีธรรมเปนเครื่องดำเนินตามคงจะหันไปหาทางทุจริตโดยมาก ถ้ารู้น้อยก็

Page 37: พระมหากษัตริย์แห่งพระบรม ......45 ฉะน หว งจะให ทายกท งปวงท ศร ทธากระทำก

75

โกงไม่ใคร่คล่อง ฤๅโกงไม่สนิท ถ้ารู้มากก็โกงคล่องขึ้นแลโกงพิสดารมากขึ้น การที่หัดให้รู้อ่านอักขรวิธี ไม่เปนเครื่องฝึกหัดให้คนดีและคนชั่วเปนแต่ ได้วิธีสำหรับจะเรียนความดีความชั่วได้คล่องขึ้น... เพราะทรงเห็นในคุณค่าของการศึกษาในวัดนี่เอง ในพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ซึ่งประกาศใช้เมื่อวันที่ ๑๙ กรกฎาคม ร.ศ. ๑๒๑ (พ.ศ. ๒๔๔๕) จึงได้กำหนดหน้าที่ของพระสงฆ์ตั้งแต่ชั้นเจ้าอาวาสขึ้นมาจนถึงระดับสูงสุดไว้ประการหนึ่งว่าต้องมีหน้าที่บำรุงการศึกษาด้วย กล่าวได้ว่า การพุทธศาสนาได้รับการปฎิรูปจริงจังในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เช่นเดียวกับงานด้านอื่น ๆ โดยมีสมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญาณวโรรสเป็นกำลังสำคัญ๒. ด้านการศาสนูปถัมภ์ การสร้างและบูรณปฏิสังขรณ์วัด พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้สร้างวัดต่าง ๆ เช่น วัดราชบพิธ เป็นวัดประจำรัชกาล วัดเทพศิรินทราวาสวัดเบญจมบพิตรฯลฯ รวมทั้งการบูรณปฏิสังขรณ์วัดสำคัญต่าง ๆ ทั่วพระราชอาณาจักร เช่นวัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามวัดอรุณราชวรารามวัดพระปฐมเจดีย์เป็นต้น๓. ด้านศาสนธรรม ๓.๑พระไตรปิฎกรัชกาลที่๕ทรงสร้างพระไตรปิฎกคัมภีร์ใบลานฉบับหอหลวงจบหนึ่งเรียกว่า “ฉบับทองทึบ” เพราะปิดทองทึบเหมือนกับฉบับทองใหญ่และทองน้อย ต่อมาเมื่อพุทธศักราช๒๔๓๑ได้โปรดเกล้าฯให้ชำระพระไตรปิฎกให้ถูกต้องสมบูรณ์เพื่อเป็นหลักฐานของพระธรรมคำสอนสืบไป แล้วโปรดเกล้าฯ ให้จัดพิมพ์พระไตรปิฎกด้วยอักษรไทยจำนวน๑,๐๐๐ชุดเรียกว่า“พระไตรปิฎกฉบับพิมพ์”สำเร็จเมื่อพุทธศักราช๒๔๓๖นับเป็นครั้งแรกที่มีการพิมพ์พระไตรปิฎกเป็นอักษรไทยแล้วโปรดเกล้าฯ ให้พระราชทานพระไตรปิฎกชุดนี้ ไปตามพระอารามหลวง หอสมุด และสถานศึกษาต่าง ๆ แห่งละชุด ต่อมารัฐบาลและสถานศึกษาชั้นสูงในต่างประเทศได้ขอพระราชทานพระไตรปิฎกดังกล่าวเพื่อใช้ศึกษาค้นคว้าในประเทศของตน เป็นผลให้พระไตรปิฎกชุดนี้เผยแพร่หลายไปทั่วโลก นับเป็นการเผยแพร่พุทธศาสนาให้กว้างขวางอีกทางหนึ่ง ๓.๒ เมื่อคราวเสด็จประพาสอินเดียในปี พ.ศ. ๒๔๑๔ ทรงนำพันธุ์พระศรีมหาโพธิ์จากพุทธคยามาทรงปลูกไว้ที่วัดเบญจมบพิตรและวัดอัษฎางคนิมิตเกาะสีชัง๔. ด้านศาสนพิธี ประเพณีทางศาสนา ประเพณีการเทศน์มหาชาติในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์นั้นยังคงได้รับความนิยมแม้กระทั่งในราชสำนักเองยังปรากฏมี การพระราชกุศลเทศนามหาชาติ อยู่ในพระราชพิธีสิบสองเดือน พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕มีพระบรมราชาธิบายไว้ว่า

Page 38: พระมหากษัตริย์แห่งพระบรม ......45 ฉะน หว งจะให ทายกท งปวงท ศร ทธากระทำก

76

“การเทศน์มหาชาติแต่ใน ๓ รัชกาล ก่อนนั้นเทศน์บนพระที่นั่งเศวตฉัตร ในพระที่นั่ง อมรินทรวินิจฉัยแห่งเดียว ยกไว้แต่มีพระบรมศพอยู่บนพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท จึงได้ยกขึ้นไปเทศนาบนพระแท่นมุกพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท แต่ในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวนั้น เคยยกไปมีที่พระที่นั่งอนันตสมาคมแต่แรก ข้างในไม่ได้ยิน จึงได้ย้ายเข้าไปมีที่พระที่นั่งทรงธรรมเป็นข้างในฟังทั้งสิ้น ครั้นแผ่นดินปัจจุบันนี้ย้ายกลับมาเทศน์ที่พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท... มาเมื่อแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ข้าพเจ้าบวชเป็นเณรได้ถวายเทศน์ มีกระจาดใหญ่เป็นรูปเรือสำเภา ทำที่หน้าพระที่นั่งพุทไธสวรรค์ เป็นกัณฑ์เฉพาะตัวคนเดียวคราวหนึ่ง”๕. ด้านการอุปถัมภ์ศาสนาอื่น ๆ ศาสนาอื่น ๆ นั้น พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ก็ทรงดำเนินพระบรมราโชบายเช่นเดียวกับสมเด็จพระบรมชนกนาถคือ ทรงทำนุบำรุงทุกศาสนาอย่างดียิ่งอาทิเช่น ๕.๑ทรงพระราชทานที่ดินสำหรับสร้างวัดโปรเตสแตนส์ ๕.๒ออกพระราชบัญญัติว่าด้วยลักษณฐานะของวัดบาดหลวงโรมันคาธอลิกในกรุงสยาม ตามกฎหมาย อนุญาตให้บาทหลวง สอนศาสนาในประเทศไทย ตลอดจนอนุญาตให้มิสซังสามารถถือครองที่ดินได้ ๕.๓มีพระบรมราชโองการของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเรื่องการถือศาสนาประกาศไว้ เมื่อจุลศักราช๑๒๔๐(พ.ศ.๒๔๒๑)ให้ประชาชนสามารถนับถือศาสนาใดก็ได้

๖ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว

วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม

Page 39: พระมหากษัตริย์แห่งพระบรม ......45 ฉะน หว งจะให ทายกท งปวงท ศร ทธากระทำก

๖ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว

Page 40: พระมหากษัตริย์แห่งพระบรม ......45 ฉะน หว งจะให ทายกท งปวงท ศร ทธากระทำก

78

Page 41: พระมหากษัตริย์แห่งพระบรม ......45 ฉะน หว งจะให ทายกท งปวงท ศร ทธากระทำก

79

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่สนใจในเรื่องการศึกษาเป็นอย่างยิ่งทรงปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรมทางศาสนาให้กับราษฎรโดยผ่านทางบทพระราชนิพนธ์ ซึ่งมีทั้งร้อยแก้วและร้อยกรองจำนวนมาก ทรงสนพระทัยในเรื่องพุทธศาสนาและศาสนาอื่นๆจะเห็นได้จากพระราชกรณียกิจอันเป็นคุณประโยชน์พอที่จะยกมากล่าวได้ดังนี้๑. ด้านการคณะสงฆ์ ๑.๑ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงผนวชเป็นพระภิกษุในขณะที่ดำรงพระอิศริยายศเป็นมกุฎราชกุมาร เมื่อวันที่ ๒๐ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๔๗ณวัดพระศรีรัตนศาสดารามแล้วเสด็จไปประทับณพระที่นั่งปั้นหยาในวัดบวรนิเวศน์วิหาร ๑.๒ ในเรื่องการศึกษาพระปริยัติธรรมซึ่งมหาธาตุวิทยาลัย ยังมีสังฆิกเสนาสน์ราชวิทยาลัย ที่ยังก่อสร้างค้างอยู่ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดให้สร้างต่อจนสำเร็จ แต่ให้ตัดมุขและยอดปรางค์ตามแปลนเดิมออกเสีย และให้ย้ายหอสมุดสำหรับพระนคร ที่อาศัยตึกหน้าประตูพิมานชัยศรี มาตั้งที่ตึกใหญ่หน้าวัดมหาธาตุ เพื่อประโยชน์แห่งการศึกษาค้นคว้าหาความรู้ ซึ่งย่อมจะใช้ ได้ทั้งการศึกษาของมหาธาตุวิทยาลัยและประชาชนทั่วไปอีกด้วย๒. ด้านการศาสนูปถัมภ์ การสร้างและบูรณปฏิสังขรณ์วัด ตามพระราชประเพณีของพระมหากษัตริย์ไทยนั้นเมื่อแรกเสวยราชย์แล้วจะต้องสร้างหรือปฎิสังขรณ์วัดขึ้นเป็นของประจำสำหรับรัชกาลแต่ครั้นมาถึงรัชสมัยของพระองค์ทรงเห็นว่ามีวัดวาอารามทั้งของหลวงและของราษฎร์มากเกินที่จะปฏิสังขรณ์ ให้ดำรงอยู่ ได้จึงทรงคำนึงถึงสถานศึกษาของกุลบุตรกุลธิดาซึ่งยังมีไม่พอแก่ความต้องการโดยเฉพาะสถานศึกษาชนิดที่ดี จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างโรงเรียนขึ้นแห่งหนึ่ง เมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๔โดยพระราชทานที่ดินอันเป็นของพระคลังข้างที่ ที่ติดต่อกับสวนดุสิต มีชื่อว่า “สวนกระจง”อยู่ริมถนนราชวิถี ให้จัดดำเนินการสอนแบบ Public School แต่ให้เป็นโรงเรียนกินนอนมีบริเวณสถานที่ก่อสร้างกว้างขวาง เท่ากับวัดขนาดใหญ่วัดหนึ่ง มีหอเรียน หอประชุม หอพักนักเรียนและหอพักอาจารย์ สร้างขึ้นเป็นตึกถาวรสวยงาม ตามศิลปไทย พระราชทานนามว่า“โรงเรียนมหาดเล็กหลวง” ซึ่งต่อมา รัชกาลที่ ๗ โปรดให้เรียกว่า“โรงเรียนวชิราวุธวิทยาลัย”แม้พระองค์จะสร้างโรงเรียนแทนวัดก็ตาม แต่การปฏิสังขรณ์พระอารามหลวงนั้น ก็มิได้ละทิ้งโดยได้ทรงพระราชอุทิศ พระราชทรัพย์จำนวนหนึ่ง ให้จัดเฉลี่ยแบ่งปัน นำไปปฎิสังขรณ์พระอารามที่ชำรุดทรุดโทรมเป็นประจำทุกปีเรียกว่า“เงินพระราชอุทิศ”

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ (พ.ศ.๒๔๕๓-๒๔๖๘)

Page 42: พระมหากษัตริย์แห่งพระบรม ......45 ฉะน หว งจะให ทายกท งปวงท ศร ทธากระทำก

80

๓. ด้านศาสนธรรม ๓.๑ พระไตรปิฎก การสร้างพระไตรปิฎกและอุปถัมภ์การศึกษาพระปริยัติธรรม พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงให้จัดพิมพ์อรรถกถาพระไตรปิฎกเป็นเล่มสมุด พระราชทานในพระราชอาณาจักร๒๐๐จบและพระราชทานในนานาประเทศ๔๐๐จบ ๓.๒พระราชนิพนธ์และเทศนาทางพระศาสนา ๓.๒.๑ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว แม้จะมิได้ทรงสร้างสรรค์งานด้านก่อสร้างถาวรวัตถุในพระพุทธศาสนาอย่างรัชกาลก่อน ๆ ก็ตาม แต่ในด้านการศึกษาค้นคว้าหลักธรรมและการอบรมสั่งสอน พสกนิกรของพระองค์ให้เข้าใจในพระพุทธศาสนาแล้วพระองค์ได้ทรงบำเพ็ญไว้และเป็นประโยชน์อย่างมหาศาลแก่ประชาชนชาวไทย ตราบจนทุกวันนี้การบำเพ็ญพระราชกรณียกิจของพระองค์ในด้านนี้ มีทั้งทรงพระราชนิพนธ์เป็นหนังสือและแสดงเป็นเทศนาปาฐกถานอกจากจะทรงอบรมสั่งสอนหลักธรรมของพระพุทธศาสนาโดยตรงแล้วยังแสดงหลักธรรมของศาสนาอื่นๆขึ้นเปรียบเทียบด้วยเช่น เรื่องศุนหเศป เป็นเรื่องเกี่ยวกับลัทธิศาสนาพราหมณ์ ทรงแปลจากต้นฉบับภาษาอังกฤษของมร.วิลเลียมเฮนรีรอบินสัน พระราชนิพนธ์ เทศนามงคลวิเศษกถา ซึ่งทรงแปลเป็นภาษาอังกฤษ รัฐบาลพม่าได้ขอพระบรมราชานุญาตนำไปใช้สั่งสอนทหารด้วย เทศนาเสือป่าเป็นพระโอวาทที่ทรงแสดงด้วยปากเปล่าแก่เสือป่าในวันประชุมไหว้พระในวันเสาร์ ทรงแสดงเป็นคราว ๆ เป็นลำดับ ระหว่างวันที่ ๒๕ เมษายน พ.ศ. ๒๔๕๗-วันที่๒๘สิงหาคมพ.ศ.๒๔๕๘ทรงเรียกการแสดงครั้งหนึ่งๆว่ากัณฑ์หนึ่งรวม๑๗กัณฑ์ทรงมีพระบรมราชานุญาตให้พระองค์เจ้าหญิงอาทรทิพย์นิภา รวมพิมพ์เป็นเล่มแจกในงานเมรุพระศพพระองค์เจ้าหญิงสุจิตราภรณี (ตามอารัมภกถา ของพระองค์ลงวันที่ ๒๗ กุมภาพันธ์พ.ศ.๒๔๖๒)เทศนาเสือป่านี้ ได้นำเอาหลักธรรมของพระพุทธศาสนามาอบรมสั่งสอนแก่เสือป่าโดยยกหลักธรรมของศาสนาอื่น ๆ มาเปรียบเทียบประกอบด้วย พระราชนิพนธ์เล่มนี้นับเป็นเยี่ยมยอดในด้านการอบรมสั่งสอนหลักธรรมของพระพุทธศาสนาแก่ประชาชนชาวไทยอย่างหาที่สุดมิได้ ๓.๒.๒พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเป็นผู้“อ่านมากเห็นมากฝึกฝนมาก”จึงทรงเป็นครูที่ดี ทรง พระราชนิพนธ์ หนังสือหลักราชการ แล้วทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้พิมพ์พระราชทานแจกข้าราชการในการพระราชพิธีตรุษสงกรานต์ พุทธศักราช ๒๔๕๗เพื่อเป็นแนวทางในการปฏิบัติหน้าที่ หนังสือหลักราชการ กล่าวถึงหลัก ๑๐ ประการที่ข้าราชการทั้งผู้ใหญ่และผู้น้อยพึงยึดถือปฏิบัติเพื่อประโยชน์ในการรับราชการ โดยทรงนำหลักธรรมทางพุทธศาสนาและสุภาษิตต่าง ๆ มาเตือนใจให้ตระหนักถึงคุณสมบัติของข้าราชการที่ดีดังต่อไปนี้ ๑. ความสามารถ หมายถึง “การทำการงานให้เป็นผลสำเร็จได้ดียิ่งกว่าผู้ที่มีโอกาสเท่า ๆ กัน” อันเป็นคุณสมบัติสำคัญของผู้บังคับบัญชาทั้งฝ่ายทหารและพลเรือนข้าราชการพึงใช้วิชาความรู้ของตน ทำการในหน้าที่ ให้เหมาะแก่กาลเทศะ โดยไม่ต้องรอให้นายสั่งจึงเรียกว่าเป็นผู้มีความสามารถ

Page 43: พระมหากษัตริย์แห่งพระบรม ......45 ฉะน หว งจะให ทายกท งปวงท ศร ทธากระทำก

81

๒. ความเพียร แปลว่า “กล้าหาญไม่ย่อท้อต่อความยาก และบากบั่นเพื่อจะข้ามความขัดข้องให้จงได้โดยใช้ความอุตสาหะวิริยภาพมิได้ลดหย่อน” ข้าราชการจึงพึงมีความอุตสาหะวิริยะกระทำการในหน้าที่ที่ ได้รับมอบหมายอย่างสม่ำเสมอ โดยไม่ต้องพะวงว่าตนมีวิชามากหรือน้อย เพราะผู้บังคับบัญชามักเพ่งใช้คนที่มีความเพียรมากกว่า ผู้มีวิชาแต่เกียจคร้านไม่มีความบากบั่นอดทน ๓. ความไหวพริบแปลว่า“รู้จักสังเกตเห็นโดยไม่ต้องมีใครเตือนว่าเมื่อมีเหตุเช่นนั้นๆจะต้องปฏิบัติการอย่างนั้น ๆ เพื่อให้บังเกิดผลดีที่สุดแก่กิจการทั่วไป และรับทำการอันเห็นควรนั้นโดยฉับพลันทันท่วงที” ความมีไหวพริบนี้เป็นคุณสมบัติสำคัญของผู้บังคับบัญชาเพราะต้องแก้ไขปัญหาของตนและคนในบังคับบัญชาอยู่เสมอ ไม่เกี่ยวกับการมีวิชามากหรือน้อยดังนั้นผู้มีวิชามากแต่ไม่มีไหวพริบจึงสู้คนที่มีวิชาน้อยกว่าแต่มีไหวพริบดีกว่าไม่ได้ ๔. ความรู้เท่าถึงการณ์ คือ การ “รู้จักปฏิบัติกิจการให้เหมาะสมด้วยประการทั้งปวง”ทั้งกาละและเทศะ เป็นสิ่งที่ ไม่มีอยู่ในตำราแต่ข้าราชการพึงศึกษาด้วยความพากเพียรจดจำแบบอย่างที่ผู้อื่นได้ปฏิบัติมาแล้ว โดยไม่ยึดถือเป็นแบบแผนตายตัวและอาศัยไหวพริบของตนเองประกอบด้วย ๕. ความซื่อตรงต่อหน้าที่ เป็นสิ่งสำคัญสำหรับข้าราชการทั้งปวง ทั้งผู้ใหญ่กับผู้น้อยและผู้สั่งกับผู้รับคำสั่ง คือ ความ “ตั้งใจกระทำกิจการซึ่งได้รับมอบให้เป็นหน้าที่ของตนนั้นโดยซื่อสัตย์สุจริต ใช้ความอุตสาหะวิริยภาพเต็มสติกำลังของตน ด้วยความมุ่งหมายให้กิจการนั้น ๆ บรรลุถึงซึ่งความสำเร็จโดยอาการอันงดงามที่สุดที่จะพึงมีหนทางจัดไปได้”เมื่อรับมอบหมายให้ทำการอะไรก็มีความรับผิดชอบ ตั้งใจทำกิจการนั้นเต็มกำลังความสามารถจึงเป็นผู้ที่ควรไว้วางใจมอบหมายให้ทำงานสำคัญได้ เพราะเชื่อได้ว่าคงไม่ละทิ้งหน้าที่ความซื่อตรงต่อหน้าที่นี้เป็นคุณสมบัติสำคัญที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเน้นย้ำอยู่เสมอไม่เฉพาะต่อข้าราชการเท่านั้นแต่รวมถึงนักเรียนที่จะเติบใหญ่เป็นอนาคตของชาติด้วย ๖. ความซื่อตรงกับบุคคลทั่วไป เป็นคุณสมบัติสำคัญที่จะทำให้ข้าราชการทั้งปวงเป็นที่นิยมแห่งคนทั่วไปด้วยการประพฤติปฏิบัติตนให้เป็นที่เชื่อถือได้ รักษาวาจาสัตย์ ไม่คิดเอาเปรียบใคร ไม่ยกตนข่มท่าน ไม่หาดีใส่ตัวหาชั่วใส่เขา เมื่อผู้ใดมีไมตรีต่อก็ตอบแทนด้วยไมตรีโดยสม่ำเสมอไม่ใช้ความรักใคร่ไมตรีซึ่งผู้อื่นมีแก่เรานั้นเพื่อเป็นเครื่องทำร้ายเขาเองหรือผู้ใด ความประพฤติซื่อตรงต่อคนทั่วไปเช่นนี้ เป็นคุณสมบัติของผู้เป็นใหญ่ และสำหรับผู้น้อยหากประพฤติเช่นนี้ ได้ก็ย่อมจะเป็นศรีแก่ตนทำให้คนนิยมรักใคร่และให้ผู้ใหญ่เมตตากรุณา ๗. การรู้จักนิสัยคน เป็นคุณสมบัติสำคัญของผู้ใหญ่และผู้น้อย กล่าวคือ ผู้น้อยต้องรู้จักนิสัยผู้บังคับบัญชาของตน แล้วทำการงานให้ต้องตามอัธยาศัยของผู้ใหญ่ รู้จักเจียมตัวอ่อนน้อมถ่อมตนให้เป็นที่รักใคร่เมตตา ส่วนผู้ใหญ่ก็จำเป็นต้องรู้จักนิสัยของผู้น้อย เพื่อจะได้รู้วิธีสั่งการเพื่อให้งานสำเร็จได้ด้วยดี ทั้งผู้น้อยที่เป็นชาวไทยและชาวต่างประเทศผู้มีวัฒนธรรมแตกต่างกัน ทั้งที่เป็นทหารและพลเรือนที่ ได้รับการฝึกหัดอบรมมาแตกต่างกัน ผู้ใหญ่ไม่อาจใช้วิธีการเดียวกันกับทุกคนได้พึงต้องหาวิธีปฏิบัติต่อผู้น้อยแต่ละกลุ่มให้เหมาะสมดังนั้นผู้บังคับบัญชาจึงต้องเป็นคนช่างสังเกตและรู้จักนิสัยคนให้มาก ๘. การรู้จักผ่อนผัน (คือ การผ่อนสั้นผ่อนยาว) เป็นสิ่งที่ปฏิบัติได้ยาก เพราะคนบางพวกยึดติดกับระเบียบแบบแผน เข้าใจว่าการผ่อนผันเป็นเรื่องเหลวไหล จึงไม่ยอมผ่อนผันจน

Page 44: พระมหากษัตริย์แห่งพระบรม ......45 ฉะน หว งจะให ทายกท งปวงท ศร ทธากระทำก

82

เสียการมากกว่าที่ควร ในขณะที่คนบางพวกคิดถึงความสะดวกของตนและผู้ใต้บังคับบัญชาเป็นที่ตั้ง จึงผ่อนผันไปทุกอย่าง จนเสียทั้งวินัยทั้งแบบแผนและหลักการ ดังนั้น ข้าราชการทุกระดับจึงต้องรู้จักที่จะผ่อนผันให้เหมาะสม ๙. ความมีหลักฐานคือข้าราชการผู้มีที่อยู่เป็นหลักแหล่งแน่นอนมีภรรยาผู้เหมาะสมที่จะช่วยสร้างครอบครัวอันมั่นคง และตั้งตนเอาไว้ชอบ คือ มีความประพฤติดี ไม่เป็นทาสอบายมุขจึงเป็นคุณสมบัติที่ทำให้ได้รับตำแหน่งหน้าที่อันมีความรับผิดชอบและอยู่ในตำแหน่งได้อย่างมั่นคง ๑๐. ความจงรักภักดี เป็นคุณสมบัติที่พึงมีในผู้ที่ ได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่ทั้งใหญ่และน้อยยิ่งเป็นผู้บังคับบัญชาแล้วก็ยิ่งจำเป็นมากขึ้น เพราะความจงรักภักดีแปลว่า“ความยอมสละตนเพื่อประโยชน์แห่งท่าน” ถึงแม้ว่าตนจะได้รับความเดือดร้อนรำคาญตกระกำลำบาก หรือจนถึงต้องสิ้นชีวิตเป็นที่สุด ก็ยอมได้ทั้งสิ้นเพื่อมุ่งประโยชน์อันแท้จริงให้มีแก่ชาติศาสนาและพระมหากษัตริย์ดังนั้น“ความจงรักภักดีก็คือความรักชาติที่คนสมัยใหม่พูดกันจนติดปากนั่นเอง” หนังสือหลักราชการ เป็นแนวทางในการปฏิบัติของข้าราชการเพื่อประโยชน์สุขของบ้านเมืองสรุปได้ว่าข้าราชการในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว พึงเป็นผู้มีความประพฤติดีมีคุณธรรม ซื่อสัตย์สุจริตต่อตนเองและผู้อื่นมีความรับผิดชอบในหน้าที่การงาน สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างราบรื่น และใช้ ไหวพริบของตนประกอบกิจการที่ ได้รับ มอบหมายอย่างเต็มความสามารถ เพื่อประโยชน์ของชาติเป็นสำคัญ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงใส่พระทัยในศาสนามาก ทรงศึกษาศาสนาสำคัญของโลกทุกศาสนา และทรงลงมติว่า พระพุทธศาสนาเป็นที่พึงสักการะของพระองค์ที่ดีที่สุด พระองค์ทรงศึกษาพระพุทธศาสนากับ สมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญาณวโรรส จนแตกฉาน ครั้นถึงวันเพ็ญเดือน ๖ อันเป็นวันวิสาขบูชา ทรงชักชวนข้าราชบริพารสวดมนต์ ไหว้พระ และทรงอธิบายพุทธศาสนาเป็นนิจ ได้ทรงพระราชนิพนธ์เรื่องศาสนาไว้๘เรื่องมีทั้งเทศน์ปาฐกถาและบทกวี จาก จดหมายเหตุรายวันในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัตนโกสินทรศก๑๓๑ ปีชวด จุลศักราช ๑๒๗๔ พุทธสาสนายุกาล ๒๔๕๕ เล่ม ๓ วันที่ ๒๑ ธันวาคม ถึงวันที่๓๑มีนาคมแสดงให้เห็นว่าพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพุทธมามกะดังนี้ ธันวาคม เรื่องใช้พุทธศักราชในราชการ เราได้แสดงความเห็นในที่ประชุมว่า ศักราช รัตนโกสินทร ซึ่งใช้อยู่ ในราชการเดี๋ยวนี้ มีข้อบกพร่องสำคัญอยู่ คือเปนศักราชที่สั้นนัก จะกล่าวถึง เหตุการณใด ๆ ในอดีตภาคก็ขัดข้อง ด้วยว่าพอกล่าวถึงเรื่องราวที่ก่อนสร้างกรุง ขึ้นไปแล้วก็ต้องหันไปใช้จุลศักราชบ้าง มหาศักราชบ้าง และในข้างวัดใช้พุทธศักราช ฝ่ายคนไทยสมัยใหม่ที่อยากจะกล่าวถึงเหตุการณอันมีมาก่อนสร้างกรุงรัตนโกสินทร์นี้ ก็มักหันไปใช้คฤสตศักราช ซึ่งดูเปนการเสียรัศมีอยู่ จึ่งเห็นว่าควรใช้พุทธศักราช จะเหมาะดีด้วยประการทั้งปวง เปนศักราชที่คนไทยเรารู้จักซึมทราบดีอยู่แล้ว ทั้งในประกาศใช้พุทธศักราชอยู่แล้ว และอีกประการ ๑ ในเวลานี้ก็มีแต่เมืองไทยเมืองเดียวที่มีพระเจ้าแผ่นดินถือพระพุทธศาสนา ดูเปนการชอบมาพากลอยู่มาก ที่ประชุมเห็นชอบด้วย ตกลงเปนจะได้ประกาศให้ใช้พุทธศักราชตั้งแต่เมษายนศกน่าเปนต้นไป ในส่วนทางพุทธจักรเสด็จก็ทรงยอม

Page 45: พระมหากษัตริย์แห่งพระบรม ......45 ฉะน หว งจะให ทายกท งปวงท ศร ทธากระทำก

83

แล้วว่าให้เริ่มปีวันที่ ๑ เมษายน เพราะกรมพระเทววงษ์ ได้ทรงคำนวณดูตามทางปักขคณ ได้ความว่า วันประสูติ ตรัสรู้ และปรินิพพาน แห่งพระสัมมาสัมพุทธเจ้าของเรานั้น อันที่จริงตกในกลางเดือนเมษายน ที่คลาศเคลื่อนเลื่อนเลยไปนั้น เปนโทษแห่งประดิทินที่เทียบผิดคลาศมาที่ละน้อย ๆ เท่านั้น ๔. ด้านศาสนพิธี ประเพณีทางศาสนา ทรงเป็นคนไทยคนแรกที่แสดงพระองค์เป็นพุทธมามกะ เนื่องจากพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว จะต้องเสด็จไปเมืองนอกก่อนพระชนม์มายุครบบรรพชาเป็นสามเณรตามพระราชประเพณี และระยะเวลาที่จะไปประทับอยู่ที่ประเทศอังกฤษ เป็นเวลาหลายปีเกินระยะเวลาที่จะทรงบรรพชาเป็นสามเณร สมเด็จพระบรมชนกนาถ ทรงวิตกว่า เด็ก ๆจักหาได้ความรู้สึกในทางพระศาสนาไม่ จึงได้ทรงหารือกับสมเด็จพระมหาสมณเจ้าฯ ให้ทำพิธีให้แก่พระราชโอรส ผู้ ไม่ เคยทรงผนวชเป็นสามเณร และในครั้งนั้นพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงได้เป็นพระองค์แรก ที่ทรงปฏิญาณพระองค์เป็นพุทธมามกะตามธรรมเนียมที่ตั้งขึ้นใหม่และเป็นราชประเพณีสืบต่อมา๕. ด้านการอุปถัมภ์ศาสนาอื่น ๆ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงตระหนักถึงความหลากหลายทางเชื้อชาติและวัฒนธรรมของราษฎรในแต่ละภาคทั้งประเทศ ทั้งที่ถือกำเนิดในแผ่นดินไทยและชาวต่างชาติที่สมัครใจจะเป็นคนไทย ผ่านพระราชบัญญัติสัญชาติ (พุทธศักราช ๒๔๕๔)เพื่อรวมใจราษฎรในชาติเดียวกันได้ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระบรมราโชบายที่จะปกครองเพื่อประโยชน์สุขของราษฎรโดยมิได้ทรงเลือกว่าราษฎรเหล่านั้นจะมีเชื้อชาติหรือศาสนาใดเพราะ “...เราตั้งใจอยู่เสมอ ที่จะให้บรรดาประชาชนที่อยู่ ในความปกครองของเราได้รับความร่มเย็นและได้มีโอกาสประกอบกิจการทางศาสนาโดยบริบูรณ์ด้วยอิสรภาพ ไม่ต้องได้รับการกดขี่ข่มเหงบังคับบัญชาให้เปลี่ยนแปลงหรือถือศาสนาไม่ต้องด้วยความนิยมท่านทั้งหลายที่ถือศาสนาของมะหะหมัด เราก็รู้สึกว่าเป็นข้าแผ่นดินของเราไม่ผิดกันกับผู้ที่ถือศาสนาอื่น เพราะฉะนั้นเราได้แสดงปรากฏมาแล้วว่า เรามีความเต็มใจที่จะทำการปกป้องมิให้ภัยอันตรายมีมาแก่บรรดาอิสลามศาสนิกที่อยู่ ในแผ่นดินของเรา...” อย่างไรก็ตาม เมื่อปลาย พุทธศักราช ๒๔๖๕ เกิดความวุ่นวายในมณฑลปัตตานีทำให้ราษฎรกว่า๑๐๐คนถูกจับในข้อหา“อุดหนุนการก่อการร้ายต่อบ้านเมือง”จึงโปรดเกล้าฯให้ส่งทหารรักษาวังหนึ่งกองทัพ ออกไปช่วยรักษาความสงบ ให้เจ้าพระยายมราช (ปั้น สุขุม)เสนาบดีกระทรวงมหาดไทย ลงไปตรวจราชการเพื่อสำรวจปัญหาพบว่าความวุ่นวายนั้นเกิดจากการพยายามปฏิบัติหน้าที่ของข้าราชการในหลายหน่วยงานอาทิการเร่งรัดจัดเก็บภาษีการจัดการศึกษาตามพระราชบัญญัติประถมศึกษา โดยมิได้พิจารณาให้เหมาะสมกับความเป็นอยู่ของราษฎร เมื่อวันที่ ๓๐ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๔๖๖ ได้มีการประชุมเสนาบดีเพื่อแก้ไขปัญหาอย่างเร่งด่วน และผลการประชุมครั้งนี้ ได้นำไปสู่แนวคิดที่ว่า สมควรให้มีนโยบายพิเศษในการ

Page 46: พระมหากษัตริย์แห่งพระบรม ......45 ฉะน หว งจะให ทายกท งปวงท ศร ทธากระทำก

84

ปกครองเฉพาะกรณีของมณฑลปัตตานีที่มีหัวเมืองมลายูทั้ง ๗ ได้แก่ ปัตตานี ยะลา ยะหริ่งระแงะ รามัน หนองจิกและสายบุรี นั้น จึงมีการเสนอ “หลักรัฐประศาสโนบายสำหรับมณฑลปัตตานี”จำนวน๖ข้อมีสาระโดยสรุปจากที่ประชุมดังนี้ ๑.ควรตั้งวิธีปฏิบัติว่าเว้นจากการกดขี่ศาสนาอิสลาม ๒.ภาษีอากรทุกชนิดคิดถัวกันไม่ควรให้สูงกว่าที่อังกฤษเขาเก็บ ๓.พยายามไม่ให้มีการกดขี่บีบคั้นพลเมืองแต่เจ้าพนักงาน ๔.พยายามอย่าให้ราษฎรต้องเสียเวลาป่วยการในเมื่อเจ้าพนักงานบังคับ ๕.ข้าราชการในมณฑลนี้ควรเลือกเฟ้นเป็นพิเศษและอบรมกันขี้นให้ดีเสมอ ๖.ระเบียบการใหม่อันใดอันเกี่ยวด้วยสุขทุกข์ของราษฎรควรหารือสมุหเทศาภิบาลเสียก่อนที่จะบังคับให้ทำลงไป หลักการดังกล่าวนี้ “พึงถือว่าเป็นหลักที่ควรพากเพียรยึดถือ” เพราะ “ท่านเสนาบดีทุกคนย่อมรับว่าชอบ” และพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงมีพระราชหัตถเลขาอธิบายความเพิ่มเติมเกี่ยวกับ“หลักรัฐประศาสโนบายสำหรับมณฑลปัตตานี”นี้ว่า “...การใช้ความระมัดระวังในข้อนี้ควรจะนึกให้กว้างๆถึงการที่เกี่ยวกับลัทธิศาสนาประกอบด้วย เช่น วันศุกร์ตามธรรมดา...จะต้องไปนั่งฟังเทศน์ ในสุเหร่า เมื่อจะมีการเรียกร้องบังคับให้กระทำการใด ๆ แล้ว ถ้าพอจะหลีกเลี่ยงเปลี่ยนวันไปได้ก็ควรละเว้นเสียหรืออีกอย่างหนึ่งเช่นในระหว่างเวลาปอซอ(ถือบวช)กิจการบางอย่างที่ควรจะผ่อนผันให้พอดีพอควรแก่ฤดูกาล...” ดังนั้นเมื่อจะส่งข้าราชการไปปฏิบัติหน้าที่ในมณฑลปัตตานีจึงต้องมีหลักว่า “...พึงเลือกเฟ้นแต่คนมีนิสัยซื่อสัตย์สุจริตสงบเสงี่ยมเยือกเย็นไม่ใช่สักแต่ว่าส่งไปบรรจุให้เต็มตำแหน่งหรือส่งไปเป็นการลงโทษเพราะเลว...” นอกจากนั้นจะส่งข้าราชการดังกล่าวไปก็ต้อง “...สั่งสอนชี้แจงให้รู้ลักษณะทางการอันจะพึงประพฤติระมัดระวัง ...ผู้ ใหญ่ในท้องที่พึงสอดส่องอบรมกันต่อ ๆ ไปในคุณธรรมเหล่านั้นเนือง ๆ ไม่ใช่แต่คอยให้พลาดพลั้งลงไปก่อนแล้วจึงจะว่ากล่าวโทษ...”

วัดบวรนิเวศวิหาร

๗ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว

Page 47: พระมหากษัตริย์แห่งพระบรม ......45 ฉะน หว งจะให ทายกท งปวงท ศร ทธากระทำก

๗ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว

Page 48: พระมหากษัตริย์แห่งพระบรม ......45 ฉะน หว งจะให ทายกท งปวงท ศร ทธากระทำก

86

Page 49: พระมหากษัตริย์แห่งพระบรม ......45 ฉะน หว งจะให ทายกท งปวงท ศร ทธากระทำก

87

พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จไปศึกษาต่อต่างประเทศ ตั้งแต่ยังทรงพระเยาว์ และได้เสด็จกลับประเทศไทยในเดือนเมษายน พุทธศักราช ๒๔๕๗ และในปีพุทธศักราช ๒๔๖๐ ทรงผนวชและทรงได้รับพระฉายา “ปชาธิโป” แต่ทรงมีพระพลานามัยไม่สมบูรณ์นักด้วยมีพระโรคเบียดเบียน จึงทรงลาผนวช และเสด็จไปรักษาพระองค์ ในต่างประเทศพร้อมศึกษาต่อ ณ ประเทศฝรั่งเศส ทรงสำเร็จการศึกษาเสด็จกลับประเทศไทยในเดือนธันวาคม๒๔๖๗ต่อมาในวันที่ ๒๕ พฤศจิกายนพุทธศักราช๒๔๖๘พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จสวรรคต โดยไม่มีพระราชโอรส พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงเสด็จขึ้นครองราชย์ในวันที่๒๕กุมภาพันธ์พุทธศักราช๒๔๖๘ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติ ในขณะที่ประเทศไทยต้องประสบกับภาวะเศรษฐกิจตกต่ำและเกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครองโดยคณะราษฎรทรงดำรงอยู่ในสิริราชสมบัติ ๙ ปี และเสด็จสวรรคต เมื่อวันที่ ๓๐ พฤษภาคม พุทธศักราช๒๔๘๔ ขณะพระชนมายุ ๔๘ พรรษา แม้จะเป็นเวลาเพียงน้อยนิดแต่ตลอดรัชสมัย ทรงริเริ่มสิ่งใหม่ให้ปรากฏในแผ่นดินหลายประการ ทั้งการเมือง การปกครอง เศรษฐกิจ และสังคมทรงมีพระราชดำริว่า การศึกษาไม่ควรจะแยกจากวัด กรมธรรมการ (กรมการศาสนาในปัจจุบัน)จึงได้กลับมารวมอยู่ในกระทรวงศึกษาธิการอีกในพ.ศ.๒๔๖๗หลังจากที่รัชกาลที่๖โปรดให้ย้ายกรมธรรมการไปรวมอยู่ในกระทรวงวัง เมื่อ พ.ศ.๒๔๖๒ นอกจากนี้ ในด้านการส่งเสริมพระพุทธศาสนาได้มีเรื่องสำคัญๆเกิดขึ้นดังนี้๑. ด้านศาสนธรรม ๑.๑ การจัดพิมพ์พระไตรปิฎกฉบับสยามรัฐ ในปีแรกที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๗ เสด็จเสวยราชสมบัติในพุทธศักราช ๒๔๖๘ นั้น โปรดเกล้าให้เตรียมการพิมพ์พระไตรปิฎกตามแบบอย่างที่พระบรมชนกนาถ (รัชกาล ที่ ๕) ได้เคยทรงทำมาแล้ว แต่ฉบับพิมพ์ในครั้งรัชกาลที่ ๕ นั้น มีเพียง๓๔ เล่ม เท่านั้น ยังมีบางคัมภีร์ที่ยังไม่ ได้พิมพ์ บางฉบับพิมพ์ ไว้แล้วแต่ยังไม่สำเร็จ ดังนั้นพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงโปรดให้กราบทูลอาราธนา กรมหลวงชินวรสิริวัฒน์สมเด็จพระสังฆราชเจ้า ทรงเป็นประธานในการชำระตรวจทานต้นฉบับให้เรียบร้อย ในการตรวจทานนี้ ทรงมอบหมายให้มหาเถระผู้ชำนาญบาลีได้ช่วยกันตามความถนัด (มิใช่ทรงตรวจพระองค์เดียวอย่างที่หนังสือบางเล่มกล่าว)

พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๗ (พ.ศ. ๒๔๖๘-๒๔๗๗)

Page 50: พระมหากษัตริย์แห่งพระบรม ......45 ฉะน หว งจะให ทายกท งปวงท ศร ทธากระทำก

88

ทางฝ่ายบ้านเมืองนั้น พระเจ้าอยู่หัวทรงมอบหมายให้ สมเด็จพระเจ้าพี่ยาเธอกรมพระจันทบุรี นฤนาถ เป็นประธานในการถวายความสะดวกและจัดหาทุน การจัดหาทุนนั้นได้ออกประกาศแจ้งความชักชวน พระบรมวงศานุวงศ์ ข้าราชการ และประชาชนทั่วราชอาณาจักร ปรากฏว่าได้เงินในครั้งนี้ ๖๐๐,๐๐๐ บาทเศษ โดยรวมทุนส่วนพระองค์๒๐๐,๐๐๐บาทนับเป็นจำนวนทุนที่เกินกว่าที่ตั้งไว้มากมาย สาเหตุแห่งการพิมพ์พระไตรปิฎกครั้งนี้ ก็สืบเนื่องมาจากพระราชพินัยกรรมที่รัชกาลที่๖ได้ทรงกระทำไว้(ให้พิมพ์หนังสือธรรมแจกงานพระบรมศพของพระองค์)ดังนั้นพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงทรงให้จัดการตามพระราชประสงค์ของพระบรมเชษฐาธิราชในงานบำเพ็ญพระราชกุศลนี้ กระชั้นชิดมาก จึงชำระเสร็จและพิมพ์ได้อย่างละเล่ม หลังจากนั้นก็ชำระต่อให้เสร็จบริบูรณ์เป็นจำนวน๔๕เล่ม พระไตรปิฎกฉบับนี้ เป็นฉบับแรกที่ ได้มีการจัดพิมพ์เป็นอักษรไทยครบบริบูรณ์ ชุดละ ๔๕ เล่มและได้ขนานนามว่า“พระไตรปิฎกสยามรัฐ”มีตราช้างเป็นเครื่องหมายแสดงว่าเป็นของปวงชนชาวไทยทั้งมวลเพราะประชาชนได้ช่วยกันบริจาคทรัพย์ด้วย พระไตรปิฎกฉบับนี้พิมพ์ ได้เรียบร้อยมาก และพิมพ์ในเวลาที่นานาชาติกำลังต้องการพระไตรปิฎก ดังนั้นเมื่อพิมพ์เสร็จ ได้พระราชทานแจกจ่ายไปตามมหาวิทยาลัยและหอสมุดนานาชาติทั่วโลก จำนวนถึง ๔๕๐ จบ นับเป็นเกียรติประวัติของประเทศสยามอย่างยิ่งเพราะประเทศพุทธศาสนาอื่นๆในครั้งนั้นยังไม่มีประเทศใดทำได้ ๑.๒ การเพิ่มหลักสูตรจริยศึกษาในโรงเรียน สืบเนื่องจากการสนับสนุนการเรียนการสอนนักธรรมมาตั้งแต่ครั้งรัชกาลที่ ๖ มาถึงรัชกาลนี้ ได้พิจารณาเห็นว่า ควรจะได้มีการสอนวิชาธรรมในโรงเรียนด้วย ดังนั้น ในปีพ.ศ. ๒๔๗๑ กระทรวงธรรมการ (กระทรวงศึกษาธิการปัจจุบัน) จึงได้ประกาศเพิ่มหลักสูตรทางจริยศึกษาขึ้นมาอีก ให้นักเรียนได้เรียนและสดับพระธรรมเทศนา เพื่ออบรมให้เกิดสันดานเลื่อมใสศรัทธาในพุทธศาสนาอันบรรพบุรุษได้มีมาแล้วนั้น ๑.๓ ประกวดแต่งหนังสือสอนพระพุทธศาสนา ใน พ.ศ.๒๔๗๑ มีหนังสือสอนพระพุทธศาสนาสำหรับเด็ก ชื่อหนังสือ “พุทธมามกะ”ซึ่งเป็น พระราชนิพนธ์ของสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส และหลังจากนั้นราชบัณฑิตยสถานได้เปิดโอกาสให้มีการประกวดเป็นประจำทุกปี

Page 51: พระมหากษัตริย์แห่งพระบรม ......45 ฉะน หว งจะให ทายกท งปวงท ศร ทธากระทำก

89

ต่อมาจึงโปรดเกล้าฯ ให้ราชบัณฑิตสภา ออกประกาศชักชวนให้ผู้ทรงคุณความรู้แต่งหนังสือสอนพุทธศาสนาแก่เด็กเพื่อรับพระราชทานรางวัล โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้เยาวชนได้เข้าใจและเข้าถึงคำสอนของพระพุทธเจ้า จะได้เติบโตขึ้นเป็นคนดี ในการนี้ให้ราชบัณฑิตทำหน้าที่รับและตรวจคัดเลือกฉบับที่แต่งดีนำทูลเกล้าฯ ถวาย เพื่อให้ทรงตัดสินว่าฉบับใดควรจะได้รับรางวัลที่ ๑ ที่ ๒ แล้วยังทรงพระกรุณาพระราชนิพนธ์ คำนำให้เป็นเกียรติแก่ผู้แต่งอีกด้วย พระราชกรณียกิจนี้ ได้เริ่มขึ้นในงานวิสาขบูชาปีพ.ศ.๒๔๗๒เป็นครั้งแรกเรื่องแรกที่ ได้รับพระราชทานรางวัลในโอกาสนั้น ก็คือ เรื่อง “ศาสนคุณ” บทพระนิพนธ์ของหม่อมเจ้าหญิงพูนพิสมัยดิศกุล การประกวดแต่งหนังสือสอนพระพุทธศาสนาแก่เด็กนี้ ยังคงดำเนินการสืบเนื่องอยู่ถึงปัจจุบันนี้โดยราชบัณฑิตยสถานเป็นผู้ดำเนินการ๒. ด้านศาสนพิธี พระราชกรณียกิจสำคัญประการหนึ่งในรัชกาลที่ ๗ คือ โปรดให้มีการมหกรรมสมโภชพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร (พระแก้วมรกต) ซึ่งจัดขึ้นเนื่องในโอกาสสมโภชกรุงเทพมหานครครบ๑๕๐ปีในพ.ศ.๒๔๗๕๓. ด้านการอุปถัมภ์ศาสนาอื่น ๆ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จเยี่ยม โรงเรียน โรงพยาบาล และหน่วยงานของศาสนาคริสต์หลายครั้งเช่น ๑. เสด็จเยี่ยมโรงเรียนดาราวิทยาลัยในปีพ.ศ.๒๔๖๘ ๒.เสด็จเยี่ยมโรงพยาบาลแมคคอร์มิคในปีพ.ศ.๒๔๗๐ ๓. เสด็จเยี่ยมสถาบันแมคเคนในปีพ.ศ.๒๔๗๐

Page 52: พระมหากษัตริย์แห่งพระบรม ......45 ฉะน หว งจะให ทายกท งปวงท ศร ทธากระทำก

90

วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม

๘ พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล

Page 53: พระมหากษัตริย์แห่งพระบรม ......45 ฉะน หว งจะให ทายกท งปวงท ศร ทธากระทำก

๘ พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล

Page 54: พระมหากษัตริย์แห่งพระบรม ......45 ฉะน หว งจะให ทายกท งปวงท ศร ทธากระทำก

92

Page 55: พระมหากษัตริย์แห่งพระบรม ......45 ฉะน หว งจะให ทายกท งปวงท ศร ทธากระทำก

93

เนื่องจากตลอดพระชนม์ชีพของ พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอนันทมหิดลนั้นทรงใช้เวลาส่วนใหญ่เพื่อการศึกษาเล่าเรียนในทวีปยุโรป อีกทั้งทรงเจริญในท่ามกลางวิธีชีวิต

แบบสังคมตะวันตก แต่อย่างไรก็ตามทรงได้รับการอภิบาล และการอบรมเยี่ยงชาวไทยมาตั้ง

แต่ยังทรงพระเยาว์นั่นคือ การที่ทรงได้รับการปลูกฝังเพื่อทรงเป็นพุทธมามกะที่ดี จากสมเด็จ

พระบรมราชชนนีดังปรากฏในพระราชนิพนธ์ตอนหนึ่งจากเรื่องเจ้านายเล็กๆยุวกษัตริย์ว่า

“...แม่จะอธิบายพุทธประวัติในถ้อยคำง่าย ๆ ที่เราสามารถจะเข้าใจได้และก่อนนอนจะให้

สวดมนต์สั้น ๆ เป็นภาษาธรรมดา...” ทำให้พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอนันทมหิดล

ทรงมีความสนพระราชหฤทัยในหลักธรรมของพระพุทธศาสนาอย่างสม่ำเสมอ ทำให้ทรงมี

ความเข้าใจในพระพุทธศาสนาและทรงพระปรีชาสามารถในการประกอบพระราชกรณียกิจที่

เกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนาได้อย่างถูกต้องงดงามในทุกวโรกาสอาทิเช่น

๑. เมื่อคราวเสด็จนิวัติพระนครครั้งแรก ในวันที่ ๑๙พฤศจิกายนพุทธศักราช๒๔๘๑

ได้เสด็จพระราชดำเนินไปยังวัดพระศรีรัตนศาสดารามเพื่อทรงมีพระราชดำรัสแสดงพระองค์

เป็นพุทธมามกะ

๒.ความสนพระราชหฤทัยในพระพุทธศาสนามีมากจนถึงทรงมีพระราชปณิธานที่จะ

เสด็จออกทรงผนวช เมื่อทรงสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอกแล้ว จากข้อความที่ปรากฏใน

พระราชหัตถเลขาทูลสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวง วชิรญาณวงศ์ ลงวันที่ ๑๙ มีนาคม

พุทธศักราช ๒๔๘๙ สะท้อนให้เห็นถึงการเตรียมพระองค์ ให้พร้อมสำหรับการเสด็จ

พระราชดำเนินกลับมาเพื่อทรงผนวชดังนี้

พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล รัชกาลที่ ๘ (พ.ศ. ๒๔๗๗-๒๔๘๙)

Page 56: พระมหากษัตริย์แห่งพระบรม ......45 ฉะน หว งจะให ทายกท งปวงท ศร ทธากระทำก

94

พระที่นั่งบรมพิมาน

วันที่๑๙มีนาคมพุทธศักราช๒๔๘๙

ทูลสมเด็จพระสังฆราช

ด้วยหม่อมฉันมีประสงค์ ใคร่จะได้อ่านแนวการศึกษาทางพระพุทธศาสนาเพื่อ

เป็นการเตรียมตัวและช่วยเหลือในการที่จะอุปสมบทในกาลต่อไป ครั้นจะค้นหาอ่านจาก

ตำราจำนวนมากก็มีเวลาน้อย ถ้าจะได้รับ สังฆราชานุเคราะห์ให้ ได้ศึกษาจากตำราง่าย ๆ

และเป็นทางลัดโดยจัดขึ้นเป็นกัณฑ์ฯ ไม่มากมายนัก พอหาโอกาสอ่านได้เดือนละกัณฑ์

กว่าจะถึงเวลาอุปสมบทของหม่อมฉันก็จะได้รับความสะดวก หนังสือเรื่องนี้ต้องการได้อ่าน

ในเวลาพักอยู่ ในเมืองไทย และแม้ ไปพักอยู่ต่างประเทศ จึงทูลขอพระดำริและสังฆราชานุ

เคราะห์มา

ขอถวายนมัสการ

การที่พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอนันทมหิดล ทรงสนพระราชหฤทัยในพระพุทธ

ศาสนาและทรงมีพระราชปณิธานเสด็จออกทรงพระผนวชทำให้หลายฝ่ายคลายความกังวลใจ

ในเรื่องที่ทรงเติบโตและใช้ชีวิตในสังคมตะวันตกจะทำให้ทรงไม่เลื่อมใสในพระพุทธศาสนาแต่

การณ์กลับตรงกันข้ามเช่นนี้ ย่อมเป็นผลดีหลายประการที่สำคัญคือ การที่ทรงเป็นพระมหา

กษัตริย์ของประเทศที่ผู้คนส่วนใหญ่เป็นพุทธศาสนิกชน และปรากฏตามรัฐธรรมนูญแห่งราช

อาณาจักรสยามว่า “พระมหากษัตริย์ ต้องทรงเป็นพุทธมามกะ และทรงเป็นอัคร

ศาสนูปถัมภก” ย่อมทำให้พระองค์ทรงดำรงตำแหน่งพระมหากษัตริย์ผู้เป็นที่รักและเคารพยิ่ง

ของชาวไทย ตลอดจนเป็นผลดีต่อด้านศาสนาและด้านการเมือง เมื่อได้ศึกษาจากการบำเพ็ญ

พระราชกุศล และจากกระแสพระราชดำรัสเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาแล้ว จะพบว่าความสน

พระราชหฤทัยในหลักธรรมของพระพุทธเจ้านั้น ทรงปรารถนาที่จะเข้าใจอย่างถ่องแท้ เพื่อนำ

หลักธรรมเหล่านั้นมาทรงใช้ ให้เกิดประโยชน์ในทางปฏิบัติในชีวิตประจำวัน ทรงเลื่อมใส

และตระหนักในคุณค่าแห่งหลักธรรมด้วยพระราชอัธยาศัยพระองค์เอง

Page 57: พระมหากษัตริย์แห่งพระบรม ......45 ฉะน หว งจะให ทายกท งปวงท ศร ทธากระทำก

95

ตลอดระยะเวลาขณะที่ทรงประทับอยู่ในประเทศไทย คราวเสด็จนิวัติครั้งที่ ๒ จะทรง

ศึกษาภาษาไทยและพระพุทธศาสนาประจำในเวลาประมาณ๑๑.๐๐น.และช่วงบ่ายประมาณ

๑๕.๐๐น.

๓. การเสด็จประพาสวัดและการทำนุบำรุงวัดต่าง ๆ การเสด็จนิวัติประเทศไทยทั้ง

๒ ครั้ง พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอนันทมหิดล จะทรงประกอบพระราชกรณียกิจด้าน

พระพุทธศาสนาอย่างสม่ำเสมอ คือ การเสด็จประพาสวัด และเสด็จไปทรงนมัสการพระพุทธ

รูปสำคัญ ๆ ตลอดจนเสด็จไปเข้าเฝ้าสมเด็จพระสังฆราชและสมณสงฆ์อื่น ๆ เสด็จ

พระราชดำเนินไปถวายบังคมพระบรมอัฐิสมเด็จพระบรมราชบุพการี และการบำเพ็ญพระราช

กุศลทักษิณานุประทาน พระบรมอัฐิสมเด็จพระบูรพกษัตริยาธิราช การเสด็จประพาสวัดและ

ทรงนมัสการพระพุทธรูปที่สำคัญ ได้แก่ การเสด็จพระราชดำเนินไปทรงนมัสการพระพุทธมหา

มณีรัตนปฏิมากร ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม การเสด็จพระราชดำเนินไปทรงนมัสการ

พระพุทธรูปต่าง ๆที่วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามวัดเบญจมบพิตรดุสิตวนารามวัดสระเกศ

วรวิหาร วัดอรุณราชวรารามวรมหาวิหาร วัดบวรนิเวศวิหาร และวัดเทพศิรินทราวาส เป็นต้น

การเสด็จพระราชดำเนินไปทรงนมัสการพระปฐมเจดีย์ จังหวัดนครปฐม การเสด็จ

พระราชดำเนินแต่ละครั้งทรงโปรดที่จะสนทนาธรรมกับพระเถระผู้ ใหญ่ของวัดเหล่านั้น

นอกจากนั้นแล้วยังทรงประกอบพระราชกรณียกิจในการบำเพ็ญพระราชกุศลในวาระสำคัญ

ต่าง ๆ อาทิ การเสด็จพระราชดำเนินในพระราชพิธีหล่อพระพุทธรูปพระบาทสมเด็จ

พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวการบำเพ็ญพระราชกุศลในวันขึ้นปีใหม่

การเสด็จประพาสวัดต่างๆเป็นที่พอพระราชหฤทัยเป็นอย่างยิ่งและสะท้อนให้เห็นถึง

พระราชอัธยาศัยที่มีส่วนละม้ายคล้ายคลึงกับสมเด็จพระบรมอัยกาเจ้า พระบาทสมเด็จ

พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว “พระปิยะมหาราช” ที่ทรงโปรดการเสด็จเยี่ยมเยือนราษฎรเป็น

การส่วนพระองค์ที่เรียกว่า การเสด็จประพาสต้น เพราะจะทำให้ทรงได้รับรู้ปัญหาทุกข์สุข

ตลอดจนความเป็นอยู่ของราษฎร์อย่างแท้จริง พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอนันท

มหิดลทรงมีพระราชดำรัสเกี่ยวกับการเสด็จประพาสตามวัดต่างๆดังนี้

Page 58: พระมหากษัตริย์แห่งพระบรม ......45 ฉะน หว งจะให ทายกท งปวงท ศร ทธากระทำก

96

วัดสุทัศนเทพวราราม

“...ที่จริงไปตามวัดดีมาก ได้รู้จักกับพระได้เห็นสิ่งที่ ไม่ค่อยได้พบเห็น และไปพบปะ

กับราษฎรได้คุยกับเขาถามถึงทุกข์สุขของเขาและได้ความรู้...”

การประกอบพระราชกรณียกิจด้านนี้เป็นประโยชน์ต่อการสร้างความผูกพันระหว่าง

พระมหากษัตริย์และประชาชน เพราะแม้พระองค์จะมิได้ประทับอยู่ในประเทศไทยแต่ทุกครั้งที่

นิวัติพระนคร ก็จะเสด็จพระราชดำเนินไปตามวัดและโรงพยาบาลต่าง ๆ ทั้งในกรุงเทพฯ

และหัวเมือง ซึ่งเป็นโอกาสอันดีที่ทำให้พระองค์ท่านและราษฎรได้มีโอกาสพบกัน และราษฎร

ก็ยิ่งเกิดความจงรักภักดีและเทิดทูนพระองค์ท่าน จากพระราชอัธยาศัยอันงดงามเป็นที่

ประจักษ์แก่ทุกคน

Page 59: พระมหากษัตริย์แห่งพระบรม ......45 ฉะน หว งจะให ทายกท งปวงท ศร ทธากระทำก

๙ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช

Page 60: พระมหากษัตริย์แห่งพระบรม ......45 ฉะน หว งจะให ทายกท งปวงท ศร ทธากระทำก

98

Page 61: พระมหากษัตริย์แห่งพระบรม ......45 ฉะน หว งจะให ทายกท งปวงท ศร ทธากระทำก

99

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงเป็นพุทธมามกะ และทรงเป็นเอกอัครศาสนูปถัมภก ประเทศไทยประกอบด้วยกลุ่มชนที่นับถือศาสนาต่าง ๆ หลายศาสนาพระมหากษัตริย์ไทยทรงนับถือศาสนาพุทธซึ่งเป็นศาสนาหลักของชาติ แต่ในขณะเดียวกันก็ทรงอุปถัมภ์ศาสนาอื่น ๆ ด้วย ทรงให้การสนับสนุนกิจกรรมของบรรดาศาสนิกชนของทุกศาสนามากมายหลายด้านอย่างเท่าเทียมกันทำให้ไม่เกิดความแตกแยกในศาสนิกชนทุกหมู่เหล่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงปฏิบัติตามหลักธรรมสำหรับพระมหากษัตริย์ทรงพระราชศรัทธาในพระพุทธศาสนาเป็นอย่างยิ่ง พระราชกรณียกิจที่ทรงปฏิบัติทางพุทธศาสนามีมากมาย๑. ด้านการคณะสงฆ์ ๑.๑ ทรงพระผนวช พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงศึกษาหลักการปฎิบัติของพระพุทธศาสนิกชนมาเป็นเวลานาน ในระหว่างที่ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจ ทรงมีพระราชศรัทธาและมีพระราชประสงค์ที่จะทรงพระผนวชเป็นพระภิกษุในพระพุทธศาสนา ทรงพระผนวช วันที่ ๒๒ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๔๙๙ ณ พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม โดยมีสมเด็จพระสังฆราชทรงเป็นพระอุปฌาย์ ได้รับพระสมณนามว่าภูมิพโลแปลว่าพลังแห่งแผ่นดินเสด็จประทับณวัดบวรนิเวศวิหาร ๑.๒ ทรงศึกษาพระพุทธศาสนาและปฏิบัติธรรม พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพล เมื่อทรงผนวชแล้วทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจประจำวันอันเป็นกิจวัตรของพระภิกษุสงฆ์เช่นเดียวกับพระภิกษุอื่นๆกิจวัตรในวันปกติคือ เวลา๐๘.๐๐นาฬิกาเสด็จฯลงพระอุโบสถทรงทำวัตรเช้าทรงสดับพระวินัย เวลา๑๗.๐๐นาฬิกาเสด็จฯลงพระอุโบสถทรงทำวัตรเย็นทรงสดับพระวินัย ส่วนในวันธัมมัสสวนะในระหว่างทรงผนวชมี๒วันคือวันที่๒๗ตุลาคมพุทธศักราช๒๔๙๙ ตรงกับวันแรม ๘ ค่ำ เดือน ๑๑ เวลา ๐๙.๐๐ นาฬิกา เสด็จฯ ลงพระอุโบสถทรงทำวัตรเช้าแล้วทรงธรรม๑กัณฑ์ วันที่ ๓พฤศจิกายนพุทธศักราช๒๔๙๙ตรงกับวันขึ้น๑ค่ำ เดือน๑๒ เป็นวันภิกขุอุโบสถตามปักขคณนา ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจตามธรรมเนียมในวันธัมมัสสวนะเพิ่มขึ้นแต่เวลา ๑๓.๐๐ นาฬิกา เสด็จฯ ลงพระอุโบสถ ทรงทำวัตรแล้วทรงสดับพระปาติโมกข์เวลา๑๕.๐๐นาฬิกาเสด็จฯลงพระอุโบสถทรงธรรม๑กัณฑ์

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ ๙ (พ.ศ. ๒๔๘๙-ปัจจุบัน)

Page 62: พระมหากษัตริย์แห่งพระบรม ......45 ฉะน หว งจะให ทายกท งปวงท ศร ทธากระทำก

100

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงศึกษาพระพุทธศาสนา ในโอกาสทั่วไปเป็นประจำมิได้ขาด โดยเฉพาะในระหว่างทรงพระผนวช การทรงสดับพระธรรมเทศนาเป็นกรณีพิเศษสรุปได้ดังนี้ วันที่๒๓ตุลาคมพุทธศักราช๒๔๙๙ทรงสดับอรรถศาสตร์เรื่อง“หิตจรรยา” วันที่ ๒๕ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๔๙๙ ภาคเช้า ทรงสดับวินับมุข เรื่องสิกขาบท“ปาราชิก”ภาคเย็นทรงสดับอรรถศาสตร์เรื่อง“กรรม” วันที่ ๒๖ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๔๙๙ ภาคเช้า ทรงสดับวินัยมุข เรื่อง “ว่าด้วยความเป็นภิกษุ”ภาคเย็นทรงสดับอรรถศาสตร์เรื่อง“ความบริสุทธิ์” วันที่๒๗ตุลาคมพุทธศักราช๒๔๙๙ภาคเช้าทรงสดับพระธรรมเทศนาเรื่อง“อัคคกถา” วันที่ ๒๘ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๔๙๙ ภาคเย็น ทรงสดับพระธรรมเทศนา เรื่อง“พละทั้ง๕”ต่อจากนั้นทรงสนทนาธรรมกับพระพรหมมุนี วันที่ ๒๙ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๔๙๙ ภาคเย็น ทรงสดับบทความธรรมมะเรื่อง“ศาสนากับคน”ต่อจากนั้นทรงสดับบทความธรรมะเรื่อง“การใช้ปัญญา” วันที่ ๓๐ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๔๙๙ ภาคเย็น ทรงสดับพระนิพนธ์ของสมเด็จพระสังฆราชเรื่อง“คนกันธรรม”ภาคกลางคืนทรงสดับพระธรรมเทศนาเรื่อง“สังขาร” วันที่ ๓๑ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๔๙๙ ภาคเย็น ทรงสดับธรรมะเรื่อง “คำสอนของพระพุทธเจ้าและการปฏิบัติธรรม”ต่อจากนั้นทรงสดับพระธรรมเทศนาเรื่อง“ขันธ์๕” วันที่ ๒ พฤศจิกายน พุทธศักราช ๒๔๙๙ ภาคเช้า ทรงสดับวินัยมุข เรื่อง “อุโบสถ”ภาคเย็นทรงสดับพระธรรรมเทศนาเรื่อง“สัปปุริสบัญญัติ” วันที่ ๔พฤศจิกายนพุทธศักราช๒๔๙๙ภาคเช้า ทรงสดับวินัยมุข เรื่อง “กาลิก๔”ทรงสดับพระธรรมเทศนาเรื่อง“บุญกิริยาวัตถุ๓บุญกิริยาวัตถุ๑๐”ต่อจากนั้นทรงสนทนาธรรมกับพระพรหมมุนีและพระโศภณคณาภรณ์“ขันธ์๑และขันธ์๕คืออะไร” วันที่ ๕ พฤศจิกายน พุทธศักราช ๒๔๙๙ เป็นวันสุดท้ายที่พระภิกษุพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงครองผ้ากาสาวพัสตร์อยู่ในเพศบรรพชิตภาคเช้าทรงสดับพระธรรรมเทศนาเรื่อง“สรุปเรื่องพระวินัยบัญญัติ” นอกจากนี้ พระองค์ทรงสดับธรรมตามกาลอยู่สม่ำเสมอ ในวโรกาสต่าง ๆ พระธรรมเทศนาที่ทรงสดับเป็นประจำในพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษาณ พระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัยคือพระมงคลวิเสสกถา ทรงปฏิบัติธรรมทั้งในยามที่ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจในการพัฒนาประเทศและในยามว่างจากพระราชกรณียกิจ มิได้ทรงให้เวลาผ่านพ้นไปโดยปราศจากการประพฤติประโยชน์ “ก่อนที่จะทรงงานทุกครั้งพระองค์จะเสด็จเข้าห้องพระทรงสวดมนต์ไหว้พระแล้วก็ทรงทำสมาธิจิตให้สงบในระยะหนึ่ง แล้วจึงทรงงาน พระองค์เคยมีพระราชดำริครั้งหนึ่งว่าการที่พระองค์ทรงทำเช่นนั้นก็รู้สึกว่างานได้ผลดีมีสมาธิในการทำงานงานที่ทรงทำก็รู้สึกทำได้อย่างมีระเบียบได้คุณภาพดีจิตใจก็ปลอดโปร่ง”

Page 63: พระมหากษัตริย์แห่งพระบรม ......45 ฉะน หว งจะให ทายกท งปวงท ศร ทธากระทำก

101

๑.๓ ทรงบำเพ็ญพระราชกุศล ทรงบำเพ็ญพระราชกุศลมาฆบูชา วันขึ้น ๑๕ค่ำ เดือน๓หรือวันขึ้น ๑๕ค่ำ เดือน๔ ในปีที่มีอธิกมาสเป็นวันมาฆบูชาพุทธศาสนิกชนในประเทศไทยบำเพ็ญกุศลเป็นกรณีพิเศษมาตั้งแต่โบราณกาล พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ ทรงเริ่มบำเพ็ญพระราชกุศลมาฆบูชามีการบำเพ็ญพระราชกุศลเวลาเช้า ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม เวลาค่ำทรงจุดธูปเทียนเครื่องนมัสการ พระสงฆ์ ทำวัตรเย็นและสวดมนต์ต่อแล้วสวดคาถาโอวาทปาติโมกข์มีการจุดเทียนตามราวรอบอุโบสถจำนวน๑,๒๕๐เล่มมีการแสดงพระธรรมเทศนา ตั้งแต่รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวจนถึงปัจจุบัน เฉพาะส่วนการทรงบำเพ็ญพระราชกุศลของพระมหากษัตริย์นั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชจะเสด็จพระราชดำเนินไปยังพระอุโบสถ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม พระสงฆ์ ๓๐ รูปเจริญพระพุทธมนต์แล้ว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงโปรดดอกมะลิ ๑,๒๕๐ ดอกเท่าจำนวนพระอรหันต์ที่มาประชุมกันในครั้งพุทธกาล พระราชาคณะถวายศีลและถวายพระธรรมเทศนา ๑ กัณฑ์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงประเคนจตุปัจจัยไทยธรรมพระสงฆ์ถวายอนุโมทนาถวายอดิเรกเป็นเสร็จพิธี การบำเพ็ญพระราชกุศลวันวิสาขบูชา วันขึ้น๑๕ค่ำเดือน๖หรือวันขึ้น๑๕ค่ำเดือน๗ในปีที่มีอธิกมาสเป็นวันวิสาขบูชาพุทธศาสนิกชนในประเทศไทยได้ถือปฏิบัติบูชามาตั้งแต่สมัยสุโขทัย ครั้นมาถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ในพุทธศักราช๒๓๖๐พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยรัชกาลที่๒ทรงประกอบพิธีพระราชกุศลวิสาขบูชาและพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ก็ได้ทรงบำเพ็ญพระราชกุศลสืบทอดมาทุกปีมิได้ขาดจนถึงกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดช ทรงประกอบพระราชพิธีทรงบำเพ็ญพระราชกุศลวิสาขบูชาต่อเนื่อง๒วันคือ วันขึ้น๑๕ค่ำ เดือน๖หรือวันขึ้น๑๔ค่ำ เดือน๗ ในปีที่มีอธิกมาส เป็นพิธีทรงตั้งพระภิกษุสามเณรเปรียญ วันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๖ หรือวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๗ ในปีที่มีอธิกมาส เป็นวันทรงบำเพ็ญพระราชกุศลวิสาขบูชา พิธีบำเพ็ญพระราชกุศลทั้ง ๒ วันนี้ ทรงประกอบณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม โดยเฉพาะการพระราชกุศลวิสาขบูชา บรรดาข้าราชการจัดโคมประทีปแขวนที่กำแพงแก้วและศาลารายรอบพระอุโบสถ เมื่อทรงจุดธูปเทียนบูชาพระพุทธรูปสำคัญแล้ว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะทรงจุดเทียนธูปและถือไว้ เพื่อให้พระบรมวงศานุวงศ์และข้าราชการเข้าไปขอพระราชทานต่อไปสำหรับการบูชาพระรัตนตรัยและเวียนเทียน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะทรงนำสวดบูชาพระรัตนตรัยและเวียนเทียนรอบพระอุโบสถ ๓ รอบ และเสด็จขึ้นสู่

Page 64: พระมหากษัตริย์แห่งพระบรม ......45 ฉะน หว งจะให ทายกท งปวงท ศร ทธากระทำก

102

พระอุโบสถทรงโปรยมะลิและกลีบกุหลาบที่ธรรมาสน์ศิลาพระราชาคณะถวายศีลและถวายพระธรรมเทศนา ๑ กัณฑ์ เสร็จแล้วพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงประเคนจตุปัจจัยไทยธรรมทรงหลั่งทักษิโณทกพระสงฆ์ถวายอนุโมทนาถวายอดิเรกและเสด็จพระราชดำเนินกลับ การบำเพ็ญพระราชกุศลวันอาสาฬหบูชา วันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๘ หรือวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๘ หลังในปีที่มีอธิกมาสเป็นวันอาสาฬหบูชา พุทธศาสนิกชน ในประเทศไทยถือปฏิบัติบูชามาตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัย โดยบำเพ็ญกุศลต่อเนื่องกันไป ๒ วัน คือ วันอาสาฬหบูชา และวันเข้าพรรษา ในสมัยกรุงศรีอยุธยา ได้มีการกำหนดไว้ใน กฎมณเฑียรบาล ให้เป็นพระราชพิธีหนึ่งในพระราชพิธี ๑๒ เดือน เรียกว่า“พระราชพิธีเข้าพรรษา” ต่อมาเปลี่ยนเป็น”พระราชพิธีอาษาฒ” ในหนังสือคำให้การชาวกรุงเก่ามีกล่าวถึงพระราชพิธีนี้แต่เพียงย่อๆว่า“เดือน๘พระราชพิธีอาษาฒพระเจ้ากรุงศรีอยุธยาทรงบำเพ็ญพระราชกุศลบวชนาคเป็นภิกษุบ้างสามเณรบ้างรวมเท่าจำนวนพระชนมายุมีการมหรสพสมโภชพระพุทธสุรินทร๓วัน๓คืนทรงหล่อเทียนพรรษาแล้วในวันขึ้น๑๕ค่ำส่งไปถวายเป็นพุทธบูชาตามพระอาราม ทั้งในกรุงและหัวเมือง” พระราชพิธีนี้สืบทอดมาจนถึงปัจจุบันโดยงดเฉพาะมหรสพสมโภชเท่านั้น วันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๘ หรือวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๘ หลังในปีที่มีอธิกมาสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช เสด็จพระราชดำเนิน ณ พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ทรงจุดไฟจากโคมสำหรับถวายเจ้าอาวาสไปจุดเทียนพรรษาที่ทรงพระราชอุทิศไว้แล้วทรงจุดเทียนพรรษาบูชาพระรัตนตรัยทรงถวายพุ่มเทียนบูชาพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากรพระสัมพุทธพรรณี พระพุทธรูป ฉลองพระองค์พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย และทรงจุดธูปเทียนเครื่องนมัสการ ทรงประเคนถาดบรรจุพุ่มเทียน ถวายถาดใส่ดอกไม้ธูป๑กล่องเทียน๕๐เล่มแด่สมเด็จพระสังฆราชสมเด็จพระราชาคณะเป็นต้น วันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๘ หรือวันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๘ หลังในปีที่มีอธิกมาสเป็นวันเข้าพรรษาเวลาเช้าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้นิมนต์พระสงฆ์ ๑๕๐ รูป เข้าไปรับพระราชทานอาหารบิณฑบาตของหลวง ในพระบรมมหาราชวังในเวลาเย็นพระราชดำเนินไปยังพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดารามทรงเปลี่ยนเครื่องทรงพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร จากเครื่องทรงฤดูร้อนเป็นเครื่องทรงฤดูฝนเสด็จพระราชดำเนินไปยังวัดบวรนิเวศวิหารทรงประกอบพิธีถวายบูชาสักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์ การบำเพ็ญพระราชกุศลถวายผ้ากฐิน ในเทศกาลกฐินระหว่างวันแรม๑ค่ำเดือน๑๑ถึงวันขึ้น๑๕ค่ำเดือน๑๒ซึ่งเป็นช่วงระยะเวลา หนึ่งเดือนหลังจากออกพรรษา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชทรงบำเพ็ญพระราชกุศล ถวายผ้าพระกฐินเป็นพระราชกรณียกิจทุกปี โดยมีพระราชประสงค์จะอนุเคราะห์ แก่พระภิกษุผู้อยู่ จำพรรษากาลถ้วนไตรมาส ให้ได้รับประโยชน์ในทางพระวินัย

Page 65: พระมหากษัตริย์แห่งพระบรม ......45 ฉะน หว งจะให ทายกท งปวงท ศร ทธากระทำก

103

นี้ส่วนหนึ่ง อีกส่วนหนึ่ง การทอดกฐินเป็นประเพณีสำคัญของพุทธศาสนิกชน เป็นบุญพิเศษที่ทำได้เฉพาะกาล ทรงมีพระราชประสงค์ที่จะสืบประเพณีของพุทธศาสนิกชน และทรงสืบทอดพระราชประเพณีเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาที่พระมหากษัตริย์ไทย ได้ทรงถือปฏิบัติมา จึงได้เสด็จพระราชดำเนินไปถวายผ้าพระกฐินณพระอารามหลวงต่างๆแต่เนื่องจากพระอารามหลวงมีจำนวนมาก ไม่สามารถจะเสด็จพระราชดำเนินทุกพระอารามได้ จึงต้องมีการแบ่งพระกฐินออกเป็น๔ประเภทดังนี้ ๑. พระกฐินที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินด้วยพระองค์เอง ๒.พระกฐินที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระบรมราชินีนาถ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯสยามมกุฎราชกุมารสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารีและสมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ เสด็จไปทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจแทนพระองค์ ๓. พระกฐินที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระบรมวงศานุวงศ์ ราชสกุล องคมนตรีหรือผู้ที่ทรงพระราชดำริเห็นสมควรให้ไปทอดถวายแทนพระองค์ ๔. พระกฐินที่พระราชทานให้ส่วนราชการ องค์กร หรือบุคคลที่สมควรขอรับพระราชทานเชิญไปทอดณพระอารามหลวงใดพระอารามหลวงหนึ่งยกเว้นพระอารามหลวงสำคัญ๑๖พระอารามที่สงวนไว้ไม่ให้ขอพระราชทาน นอกจากนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชศรัทธาในอารามใดก็จะเสด็จพระราชดำเนินไปถวายผ้าพระกฐินณอารามนั้นๆตามพระราชอัธยาศัยนี้เรียกว่า“พระกฐินต้น”๒. ด้านศาสนธรรม ๒.๑ ทรงอุปถัมภ์การชำระพระไตรปิฎก พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชทรงเห็นความสำคัญของการตรวจชำระและจัดพิมพ์พระไตรปิฎกทรงมีพระราชดำริว่า “พระพุทธวจนะอันเรียกว่าพระไตรปิฎก ย่อมเป็นหนังสือที่ประมวลพระธรรมวินัยของสมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า ซึ่งยังบริบูรณ์และตั้งมั่นอยู่ตราบใด ก็ย่อมเป็นหลักธรรมของพุทธบริษัทที่จะปฏิบัติให้เป็นสัมมนาปฏิบัติถึงความงอกงามรุ่งเรืองอยู่ตราบนาน” ทรงพระราชศรัทธาเลื่อมใสพระราชทานพระบรมราชูปถัมภ์ การสังคายนาพระธรรมวินัยชำระพระไตรปิฎกเนื่องในมงคลดิถีที่พระชนมพรรษาบรรจบครบ๕รอบนักษัตรในวันที่๕ธันวาคมพุทธศักราช๒๕๓๐ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการประกาศขออาราธนาสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก สมเด็จพระราชาคณะ พระราชาคณะ พระสงฆ์เปรียญธรรม พร้อมผู้ทรงคุณวุฒิ เป็นการธุระดำเนินการสังคายนาพระธรรมวินัย ตรวจชำระพระไตรปิฎก เมื่อวันที่ ๒๙ ตุลาคม พุทธศักราช๒๕๒๘โดยมีพลเอกเปรมติณสูลานนท์นายกรัฐมนตรีเป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการ

Page 66: พระมหากษัตริย์แห่งพระบรม ......45 ฉะน หว งจะให ทายกท งปวงท ศร ทธากระทำก

104

พระไตรปิฎกฉบับ “มหาจุฬาเตปิฎกํ” และพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณ ราชวิทยาลัย พุทธศักราช ๒๕๐๐ มหาวิทยาลัย มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ได้ดำเนินการชำระและตีพิมพ์พระไตรปิฎกภาษาบาลีฉบับ “มหาจุฬาเตปิฎกํ” เพื่อเป็นอนุสรณ์ในมหามงคลสมัย๒๕ พุทธศตวรรษ พร้อมกันนั้นได้ประกาศแจ้งวัตถุประสงค์และเจริญศรัทธาไปยังพุทธศาสนิกชนนับตั้งแต่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวองค์เอกอัครศาสนูปถัมภกพระบรมวงศานุวงศ์และคณะรัฐบาลข้าราชการพ่อค้าประชาชน โครงการชำระและตีพิมพ์พระไตรปิฎกฉบับ “มหาจุฬาเตปิฎกํ” นี้ ได้ทราบถึงพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถและสมเด็จพระราชชนนีศรีสังวาลทั้ง๓พระองค์ได้ทรงเจริญพระราชศรัทธามีพระราชประสงค์จะทรงอุปถัมภ์ การสร้างพระไตรปิฎกให้สำเร็จตามวัตถุประสงค์ จึงได้ทรงพระกรุณาโปรดพระราชทานการอุปถัมภ์ โดยทรงพระกรุณาโปรดเกล้าพระราชทานทุนส่วนพระองค์สำหรับพิมพ์พระไตรปิฎกฉบับ “มหาจุฬาเตปิฎกํ” พระองค์ ละ ๗๐,๐๐๐ บาท รวมเป็นเงิน๒๑๐,๐๐๐๐บาท(สองแสนหนึ่งหมื่นบาทถ้วน) พระมหากรุณาธิคุณอันประเสริฐหาที่เปรียบมิได้นี้ เป็นธรรมวิทยาทาน สำเร็จเป็นมหาสิริมงคลดลบันดาลให้ประชาชนชาวพุทธเจริญศรัทธาโดยเสด็จตามพระราชจริยวัตรส่วนธรรมวิทยาทานเป็นมูลฐานให้การสร้างพระไตรปิฎกฉบับนี้สำเร็จสมบูรณ์ในพุทธศักราช๒๕๓๕ พระไตรปิฏกและอรรถกถาฉบับคอมพิวเตอร์ และ BUDSIR IV บน CD-ROM พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ได้ทรงโปรดให้มหาวิทยาลัยมหิดลจัดทำโครงการพัฒนาระบบคอมพิวเตอร์เพื่อการศึกษาพระไตรปิฏกและอรรถกถา เมื่อเดือนเมษายน๒๕๓๔ ทรงเห็นชอบในโครงการฯ พร้อมทั้งพระราชทานทรัพย์ส่วนพระองค์ เป็นจำนวน๑,๔๗๒,๙๐๐บาท(หนึ่งล้านสี่แสนเจ็ดหมื่นสองพันเก้าร้อยบาทถ้วน)เพื่อเป็นทุนดำเนินการ ๒.๒ งานสถาปัตยกรรมและประติมากรรมทางพระพุทธศาสนา พระสมเด็จจิตรลดา เมื่อปีพุทธศักราช ๒๕๐๘ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ได้ทรงสร้างพระเครื่องขึ้นพิมพ์หนึ่งเป็นการส่วนพระองค์เรียกว่า“พระกำลังแผ่นดิน”หรือ“สมเด็จจิตรลดา”พระองค์มีวัตถุประสงค์๓ประการคือ ๑.เพื่อพระราชทานแก่ผู้ทูลขอ หรือพระราชทานตามพระราชอัธยาศัยเพื่อเป็นเครื่องเตือนใจให้ผู้ที่ ได้รับพระราชทานมีความประพฤติปฏิบัติดีงามสมกับที่ ได้รับพระราชทาน ๒.เพื่อเป็นกำลังของแผ่นดิน ๓.เพื่อให้เกิดความสามัคคีรวมกำลังกันรักษาแผ่นดินสืบไป พระสมเด็จจิตรลดานี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงดำริทรงออกแบบ และทรงสร้างขึ้นด้วยฝีพระหัตถ์ของพระองค์เองทุกองค์ มีพระลักษณะด้าน

Page 67: พระมหากษัตริย์แห่งพระบรม ......45 ฉะน หว งจะให ทายกท งปวงท ศร ทธากระทำก

105

พุทธศิลป์สวยงาม วัสดุเป็นเนื้อขององค์พระนำมาจากปูชนียสถานวัตถุทั่วพระราชอาณาจักร เช่นพระมหาธาตุเจดีย์ที่มีอยู่ในประเทศไทย ศาลหลักเมือง พระพุทธรูปสำคัญ ผงจากดอกไม้แห้งที่ประชาชนทูลเกล้าฯถวายเส้นพระเกศาของพระองค์ที่เจ้าพนักงานได้รวบรวมไว้หลังจากที่ทรงเครื่องใหญ่ (ตัดผม) ทุกครั้ง สีซึ่งขูดจากผ้าใบที่ทรงเขียนภาพฝีพระหัตถ์ ชันและสีซึ่งทรงขูดจากเรือใบพระที่นั่งขณะที่ทรงตกแต่งเรือใบพระที่นั่ง พระสมเด็จจิตรลดา มีรูปลักษณ์แบบ“พระนางพญา” เป็นพระพิมพ์ที่สร้างขึ้นมาด้วยพระวิริยภาพ พระอัจฉริยภาพของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช พระพุทธนวราชบพิตร พระพุทธนวราชบพิตร เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย หน้าตักกว้าง ๒๓ เซนติเมตรสูง ๔๐ เซนติเมตร พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช มีพระราชดำริที่จะให้สร้างขึ้นเพื่อประดิษฐานไว้ ณ จังหวัดต่างๆ ทุกจังหวัดทั่วพระราชอาณาเขต เมื่อปีพุทธศักราช๒๕๐๙ และได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้นายไพฑูรย์ เมืองสมบูรณ์ ข้าราชการกองหัตถศิลป์ กรมศิลปากร เข้าปั้นหุ่นพระพุทธปฏิมานี้ในพระราชฐานณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐานและได้ทรงตรวจพระพุทธลักษณะของพระปฏิมานั้นจนเป็นที่พอพระราชหฤทัยแล้วจึงโปรดเกล้าฯ ให้นายช่างเททองหล่อพระพุทธรูปนั้นขึ้น เมื่อวันที่ ๑๘ เมษายน พุทธศักราช๒๕๐๙และได้โปรดเกล้าฯให้ขนานพระนามพระพุทธรูปนั้นว่า“พระพุทธนวราชบพิตร” ที่ฐานบัวหงายของพระพุทธนวราชบพิตรนั้น ได้ทรงบรรจุพระพุทธรูปพิมพ์ไว้ ๑ องค์อันพระพุทธรูปพิมพ์นี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ได้ทรงสร้างขึ้นด้วยฝีพระหัตถ์ประกอบด้วยผงศักดิ์สิทธิ์ต่างๆจากทุกจังหวัด พระพุทธนวราชบพิตร นอกจากจะเป็นนิมิตหมายแห่งคุรพระรัตนตรัยอันเป็นที่เคารพบูชาสูงสุดแห่งพุทธศาสนิกชนทั่วไปแล้ว ยังเป็นนิมิตหมายแห่งความผูกพันเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันระหว่างองค์พระมหากษัตริยาธิราชกับบรรดาพสกนิกรของพระองค์ในทุกจังหวัดทั่วราชอาณาจักร พระพุทธรูปปางประทานพร ภปร และพระกริ่ง ภปร วันศุกร์ที่ ๒๗สิงหาคม๒๕๐๘ เวลา๑๖.๒๐น. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชและสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถเสด็จพระราชดำเนินณพระอุโบสถวัดบวรนิเวศวิหารในพิธีเจริญพระพุทธมนต์และลงคาถาในแผ่นโลหะที่จะผสมหล่อพระพุทธรูปในวันเสาร์ที่ ๒๘ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๕๐๘ มีพิธีเจริญพระพุทธมนต์และถวายภัตตาหารเพลแก่พระสงฆ์ทรงสมณศักดิ์๑๐รูป วันอาทิตย์ที่ ๒๙ สิงหาคม ๒๕๐๘ เวลา ๑๖.๓๐ น. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนิน ณ วัดบวรนิเวศวิหาร เวลา ๑๗.๑๓ น. ทรงประกอบพิธีเททองสำหรับพระพุทธรูปปางประทานพรภปรและพระกริ่งภปร

Page 68: พระมหากษัตริย์แห่งพระบรม ......45 ฉะน หว งจะให ทายกท งปวงท ศร ทธากระทำก

106

พระพุทธรูปปางประทานพร ภปร ที่ทรงพระกรุณาเสด็จพระราชดำเนินทรงประกอบพระราชพิธีพุทธาภิเษก นับเป็นพระพุทธรูปสำคัญ มีพระปรมาภิไธย ภปร ประดับผ้าทิพย์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถเสด็จพระราชดำเนินทรงบำเพ็ญพระราชกุศลถวายผ้ากฐิน ณ วัดเทวสังฆาราม (วัดเหนือ)จังหวัดกาญจนบุรี ในวันที่ ๒๖ตุลาคม๒๕๐๖ เสด็จแล้ว ได้ทรงประกอบพิธีบรรจุทองคำ นากเงินลงในเบ้าหล่อพระพุทธรูป นับเป็นการสร้างขึ้นโดยพระบรมราชานุญาตเป็นครั้งที่ ๑ ส่วนพระพุทธรูปปางประทานพรภปร ที่ทรงประกอบพิธีทองหล่อ ณ วัดบวรนิเวศวิหาร นั้นสร้างขึ้นโดยพระบรมราชานุญาตครั้งที่๒ พุทธมณฑล ในสมัยครบรอบ๒๕พุทธศตวรรษรัฐบาลได้จัดงานฉลอง๒๕พุทธศตวรรษและได้มีมติให้สร้างพุทธมณฑลขึ้นในเนื้อที่๒,๕๐๐ไร่ ในเขตจังหวัดนครปฐมและได้กราบบังคมทูลเชิญพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช เสด็จพระราชดำเนินไปทรงประกอบพิธีก่อฤกษ์ ณ ตำแหน่งฐานพระพุทธรูป พระประทานพุทธมณฑล เมื่อวันที่ ๒๙ กรกฎาคมพุทธศักราช๒๔๙๘ ในท้องที่ตำบลบางระทึก อำเภอสามพราน และตำบลศาลายา อำเภอนครชัยศรีจังหวัดนครปฐมซึ่งเป็นชัยภูมิที่เหมาะสมและสง่างาม โดยที่ดินดังกล่าวเป็นที่ดินทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ และที่ดินเอกชน เฉพาะที่ดินส่วนพระมหากษัตริย์นั้น ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯถวายเป็นพุทธบูชา พระศรีศากยะทสพลญาณ ประธานพุทธมณฑลสุทรรศน์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช พร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินทรงประกอบพิธีเททองหล่อพระเกตุมาลาพระพุทธรูปพระประธานพุทธมณฑลณบริเวณพุทธมณฑลเมื่อวันที่๑๘พฤศจิกายนพุทธศักราช๒๕๒๔อันตรงกับวันวิสาขบูชา วันที่ ๒๔ พฤศจิกายน พุทธศักราช ๒๕๓๔ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระนามพระพุทธรูปพระประธานพุทธมณฑลว่า“พระศรีศากยะทสพลญาณประธานพุทธมณฑลสุทรรศน์” วัดญาณสังวราราม และพระพุทธมหาวชิรอุตตโมภาสศาสดา วัดญาณสังวราราม ได้รับการยกฐานะเป็นวัดโดยสมบูรณ์ เมื่อปีพุทธศักราช ๒๕๒๓สมเด็จพระญาณสังวร (สุวฑฺฒโน) เป็นองค์ประธานดำเนินการจัดสร้างโดยมีความประสงค์ที่จะให้เป็นพระอารามหลวงประจำรัชกาลที่๙ วัดญาณสังวรารามตั้งอยู่ที่อำเภอบางละมุงจังหวัดชลบุรีบนเนื้อที่ประมาณ๔๐๐ไร่ท่ามกลางภูมิทัศน์อันงดงาม ในบริเวณวัดมีสิ่งก่อสร้างอันประณีตบรรจง เป็นศิลปกรรมล้ำค่า

Page 69: พระมหากษัตริย์แห่งพระบรม ......45 ฉะน หว งจะให ทายกท งปวงท ศร ทธากระทำก

107

เช่น พระบรมธาตุเจดีย์มหาจักรพิพัฒน์ พระมหามณฑลพระพุทธบาท ภปร สก พระอุโบสถอันสวยงาม พระพุทธรูป “สมเด็จพระพุทธญาณนเรศวรพุทธเจ้า” ซึ่งเป็นพระประธานในพระอุโบสถ พระพุทธมหาวชิรอุตตโมภาสศาสดาเป็นพระพุทธรูปสลักลายเส้นบนแผ่นหินหน้าผาปางมารวิชัย องค์พระมีความสูง ๑๐๙ เมตร ฐานบัวสองชั้นสูง ๒๑ เมตร รวมเป็นความสูงขององค์พระ ๑๓๐ เมตร สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายกทรงพระดำริจัดสร้างขึ้นเพื่อเป็นพุทธรูปประจำรัชกาลที่ ๙ น้อมเกล้าฯ ถวายเป็นพระราชกุศลในพระราชพิธีกาญจนาภิเษก เนื่องในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิอดุลยเดชทรงครองสิริราชสมบัติครบ ๕๐ ปี ในเดือนมิถุนายน พุทธศักราช ๒๕๓๙ เริ่มดำเนินการจัดสร้างเมื่อวันที่ ๑ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๕๓๘ สำเร็จเรียบร้อย เมื่อเดือนธันวาคมพุทธศักราช ๒๕๓๙ มีการใช้เทคโนโลยีทันสมัยในการสร้าง โดยการวาดภาพต้นแบบ (สแกน)เข้าเครื่องคอมพิวเตอร์ แล้วยิงด้วยลำแสงเลเซอร์ เพื่อวาดลวดลายเส้นองค์พระที่หน้าผาเขาชีจรรย์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามว่า “พระพุทธมหาวชิรอุตตโมภาสศาสดา” วัดพระราม ๙ กาญจนาภิเษก วัดพระราม ๙ กาญจนาภิเษก เป็นวัดที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชทรงมีพระราชดำริให้สร้างขึ้น เป็นโครงการขยายจากโครงการทดลองและแก้ไขปัญหาน้ำเน่าเสียด้วยวิธีเติมอากาศและต้านชีวภาพ ที่บริเวณบึงพระราม ๙ เขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานครโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้เป็น พุทธสถาน “ต้นแบบ” ในการประกอบกิจการของพระสงฆ์และเป็นศูนย์รวมแห่งจิตใจและศรัทธาของราษฎรที่เป็นพุทธศาสนิกชนที่จะประกอบศาสนกิจและกิจกรรมอื่น ๆ ร่วมกัน โดยให้สร้างเป็นวัดขนาดเล็ก มีรูปแบบของพระอุโบสถขนาดเล็กกะทัดรัดแต่เพียงพอสำหรับการประกอบศาสนกิจต่างๆดังนั้นวัดพระราม๙กาญจนาภิเษกจึงมีลักษณะเฉพาะที่สำคัญแตกต่างกับวัดในพระพุทธศาสนาอื่น ๆ หลายประการ อาทิโครงสร้างของวัด ได้รับการออกแบบให้เป็นวัดขนาดเล็กในชุมชนเมือง ให้ใช้งบประมาณด้วยความประหยัด โดยคำนึงถึงความเรียบง่ายและประโยชน์ใช้สอยสูงสุด ประกอบด้วยพระอุโบสถ ศาลาอเนกประสงค์ กุฏิสงฆ์ จำนวน ๕ หลัง โรงครัว และอาคารประกอบเท่าที่จำเป็นพระอุโบสถสีขาวเรียบง่ายขนาดเล็กนี้เป็นสถาปัตยกรรมที่มีลักษณะแบบโบราณผสมกับสมัยใหม่ ที่มีวัตถุประสงค์เพื่อให้เป็นรูปแบบพระอุโบสถในอุดมคติสืบต่อไปซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงแนะนำแก้ไขแบบแปลนก่อนการก่อสร้างมาโดยตลอด พระพุทธกาญจนธรรมสถิตย์ พระพุทธกาญจนธรรมสถิตย์ เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัยซึ่งเป็นพระประธานประจำพระอุโบสถได้รับการคัดเลือกจากการออกแบบพระพุทธรูปทั้งสิ้น ๗ แบบ ซึ่งแต่ละเเบบมีพระพุทธลักษณะแตกต่างกันไป พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

Page 70: พระมหากษัตริย์แห่งพระบรม ......45 ฉะน หว งจะให ทายกท งปวงท ศร ทธากระทำก

108

ทรงเลือกแบบและทรงแก้ไขด้วยพระองค์เอง ตลอดจนพระราชทานนามพระประธานประจำพระอุโบสถวัดพระราม๙กาญจนาภิเษกว่า“พระพุทธกาญจนธรรมสถิตย์” ๒.๓ งานพระราชนิพนธ์วรรณกรรม พระราชนิพนธ์เรื่อง “พระมหาชนก” พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงมีพระราชหฤทัยรักที่จะทรงงานพระราชนิพนธ์โดยทรงมีพระปรีชาสามารถอันยิ่งในการพรรณนาเป็นพระราชนิพนธ์ จากการศึกษาพระพุทธศาสนาเป็นเวลายาวนานและมีพระราชหฤทัยแน่วแน่ในอันที่จะประยุกต์หลักธรรม แหล่งข้อมูลของพระราชนิพนธ์เรื่องนี้ อยู่ ในพระสุตันตปิฏก ขุทกกนิกาย ชาดกภาค ๒ ตอนมหานิบาตชาดก เรื่อง “มหาชนกชาดก” ว่าด้วยการอรรถกถา แสดงให้เห็นหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาเช่นสติความระลึกได้สัมปชัญญะความรู้ตัววิริยะความเพียร พระราชนิพนธ์เรื่อง “พระมหาชนก” แสดงให้เห็นพระอัจฉริยภาพ พระปรีชาสามารถในด้านภาษาและพระวิริยอุตสาหะในการศึกษาค้นคว้าพระพุทธศาสนา โดยแปลศัพท์ แปลความหมายและถ่ายทอดประโยคที่ยากซับซ้อน ออกมาเป็นประโยคที่ผู้อ่านสามารถเข้าและมีคติเตือนใจนอกจากนี้ยังทรงถ่ายทอดเป็นภาษาอังกฤษ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงมีพระราชหฤทัยที่จะทรงแสดงตัวอย่างการบำเพ็ญธรรมและผลของการบำเพ็ญธรรมอันจะเป็นแบบอย่างให้คนทั่วไปได้ยึดถือปฏิบัติตามและมั่นใจในผลการปฏิบัติด้วยทรงพระมหากรุณาธิคุณต่อพสกนิกรและประเทศชาติจึงทรงสร้างสรรค์งานพระราชนิพนธ์เรื่อง “พระมหาชนก” เพื่อทรงชี้ให้เห็นถึงการปฏิบัติธรรมดังนี้ ๑. สติ ความระลึกได้ สัมปชัญญะ ความรู้ตัว ศรัทธา ความเชื่อมั่น พระราชนิพนธ์เรื่อง “พระมหาชนก” แสดงถึงการใช้สติควบคุมมิให้ตื่นตระหนกมีสัมปชัญญะ ความรู้รอบตัวอยู่เสมอว่ากำลังเดินเหตุการณ์อะไรขึ้น ในขณะนั้น และควรดำเนินการเฉพาะหน้าอย่างไร ในขณะเดียวกันก็มีศรัทธา คือ ความเชื่อมั่นในพลังความสามารถของมนุษย์ ๒. วิริยะ ความเพียร พระมหาชนกแสดงให้เห็นว่า เมื่อมีภารกิจเกิดขึ้นไม่ว่าจะยากหรือง่ายก็ตามจะมองเห็นช่องทางแห่งความสำเร็จหรือไม่ก็ตามไม่ใช่สิ่งที่บุคคลจะต้องคำนึงถึง หน้าที่ของบุคคลต้องพยายามทำภารกิจนั้นเต็มความสามารถ ๓. ปัญญา ความรอบรู้ แสดงถึงการให้ความสำคัญในการพัฒนาปัญญาให้เกิดขึ้นในโลกโดยการตั้งสถานศึกษาก่อนที่นางมณีเมขลาจะช่วยพระมหาชนกขึ้นบก ได้ถามว่า “จะไปที่ ไหน” พระมหาชนกตอบว่า“มิถิลานคร”ซึ่งเป็นเมืองแห่งนักปราชญ์

Page 71: พระมหากษัตริย์แห่งพระบรม ......45 ฉะน หว งจะให ทายกท งปวงท ศร ทธากระทำก

109

พระราชนิพนธ์เรื่อง “พระมหาชนก” กล่าวได้ว่าเป็นผลงานที่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชทรงรักยิ่งนักทรงมีพระราชดำรัสเกี่ยวกับพระราชนิพนธ์เรื่องนี้เมื่อวันที่ ๒๘มีนาคมพุทธศักราช๒๕๓๙ความตอนหนึ่งว่า “หนังสือนี้เป็นที่รักของข้าพเจ้า...หนังสือนี้ ไม่มีที่เทียมและจะเป็นที่เริงใจของท่านผู้อ่าน...ต้องการให้เห็นว่าสำคัญที่สุดคนเราทำอะไรต้องมีความเพียร“ขอจงมีความเพียรบริสุทธิ์ปัญญาเฉียบแหลมกำลังกายที่สมบูรณ์ ๒.๔ ทรงประยุกต์หลักธรรมในการแก้ปัญหาและพัฒนาประเทศ ความสามัคคีและความไม่ประมาทจะพาให้ชาติอยู่รอดปลอดภัย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงเห็นว่า ความสามัคคีทำให้เกิดพลังความไม่ประมาททำให้สามารถเตรียมตัวรับสถานการณ์อันจะเกิดขึ้นในอนาคตได้อย่างเหมาะสมทั้งสองส่วนจะนำพาชาติให้อยู่รอดปลอดภัย ดังกระแสพระราชดำรัส พระราชทานแก่ประชาชนชาวไทยในโอกาสขึ้น ปีใหม่ ๒๔๙๙ เมื่อวันที่ ๓๑ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๔๙๘ความว่า “กิจการบ้านเมืองและสถานการณ์ของโลกในรอบปีที่ผ่านมา แต่ละประเทศก็ดูแสดงทีท่ามุ่งประสงค์ในสันติ แต่กระนั้น ปรากฏการณ์ความไม่สงบก็ยังอุบัติขึ้นหลายแห่ง เราจึงไม่ความประมาท ถ้าหากเราชาวไทยยังคงมีความสามัคคีพร้อมเพรียงกันโดยทั่วไปอย่างประจักษ์แก่ข้าพเจ้าในคราวไปเยือนจังหวัดต่างๆนี้แล้วก็จะช่วยสร้างความเป็นปึกแผ่นแก่ประเทศชาติให้อยู่ในฐานะสามารถเผชิญเหตุการณ์ที่จะมีมาในภายหน้าได้ดี ยึดมั่นในอุดมคติที่จะปฏิบัติหน้าที่ ด้วยความซื่อสัตย์สุจริตมุ่งประโยชน์ส่วนรวม เพื่อประเทศของเราจะได้เจริญวัฒนาสถาพรสืบไป” พระพุทธศาสนาเป็นศาสตร์ที่สอนให้ยึดหลักเหตุผลสิ่งทั้งปวงล้วนมีเหตุเป็นแดนเกิด สร้างเหตุอย่างใดย่อมได้ผลอย่างนั้น การสอนคนต้องเน้นหลักเหตุผล พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงศึกษาพระพุทธศาสนาอย่างลึกซึ้งทั้งในเชิงปรัชญา ญาณวิทยา และจริยศาสตร์ ที่สำคัญอย่างยิ่งทรงประยุกต์แนวคำสอนเชิงปรัชญามาสู่ภาคปฏิบัติ ดังพระราชดำรัสพระราชทานในการเสด็จฯ พุทธสมาคมแห่งประเทศไทยเมื่อวันที่๒๖พฤศจิกายนพุทธศักราช๒๕๑๓ความตอนหนึ่งว่า “พระพุทธศาสนาแสดงความจริงของชีวิตแสดงทางปฏิบัติที่จะให้บรรลุความสุขสูงสุดของชีวิต มีวิธีการสั่งสอนที่ยึดหลักเหตุและผล ว่าทุกสิ่งเกิดจากเหตุ ผู้ใดประกอบเหตุอย่างไรเพียงใดก็ได้ผลนั้นเพียงนั้น หากจะถามว่าพระพุทธศาสนาเป็นอย่างไร ก็ต้องตอบว่า โดยเนื้อหาที่เป็นเรื่องความจริงของชีวิต พระพุทธศาสนาเป็นปรัชญา โดยวิธีการที่ยึดหลักเหตุผลพระพุทธศาสนาเป็นศาสตร์หรือพูดให้ชัดลงไปอีกก็เป็นวิทยาศาสตร์เพราะฉะนั้นข้าพเจ้าจึงมีความเห็นว่า การสอนพระพุทธศาสนาที่ถูกต้อง คือ การสอนให้คนมีความสามารถพิจารณา

Page 72: พระมหากษัตริย์แห่งพระบรม ......45 ฉะน หว งจะให ทายกท งปวงท ศร ทธากระทำก

110

ขุดค้นหาหลักธรรมะจากชีวิตและนำหลักธรรมะนั้นมาปฏิบัติให้เป็นประโยชน์” นอกจากนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงแสดงถึงความสำคัญแห่งหลักเหตุผลว่า เป็นหลักการที่ทำให้คนทันสมัยทันเหตุการณ์ ดังพระราชดำรัสที่ประทานในโอกาสเดียวกันตอนหนึ่งว่า “...คนที่เรียกว่าเป็นคนสมัยใหม่นั้น ยึดหลักเหตุผลเป็นสำคัญ การสอนคนสมัยใหม่จะต้องนำเหตุผลที่อยู่ในคัมภีร์มาพิจารณาและหยิบยกแต่เฉพาะเนื้อหามาอธิบาย การสอนให้ปฏิบัติตามแบบฉบับเฉย ๆ โดยปราศจากเหตุอันสมควร จะทำให้เกิดความรู้สึกว่า “ถูกอบรม”และ“ถูกบีบบังคับ”จนหมดความสนใจ...” ความเที่ยงธรรม ความซื่อสัตย์เที่ยงตรง เป็นเครื่องธำรงความยุติธรรม และ ความศักดิ์สิทธิ์ของกฎหมาย กฎหมายเป็นกรอบอบรมการดำรงชีวิตร่วมกันในสังคม เพื่อสร้างความเป็นระเบียบเรียบร้อย ความยุติธรรม และความสงบร่มเย็นในสังคม ในขณะเดียวกันกฎหมายก็อาจทำให้เกิดความไม่เป็นระเบียบเรียบร้อยความไม่ยุติธรรมและความเดือนร้อนได้ถ้าผู้รักษากฎหมายปราศจากความเที่ยงธรรมคุณธรรมว่าด้วยความเที่ยงธรรมว่าจะต้องอยู่กับกฎหมายเสมอดังพระบรมราโชวาทในพิิธีพระราชทานประกาศนียบัตรแก่ผู้สอบไล่ได้ตามหลักสูตร ของสำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตสภา ณ อาคารใหม่สวนอัมพร เมื่อวันที่ ๑๙ กรกฎาคมพุทธศักราช๒๕๒๐ความตอนหนึ่งว่า “กฎหมายทั้งปวงจะธำรงความยุติธรรมและถูกต้องเที่ยงตรง หรือจะธำรงความศักดิ์สิทธิ์และประสิทธิภาพเต็มเปี่ยมอยู่ ได้หรือไม่เพียงไรนั้น ขึ้นอยู่กับการใช้ คือถ้าใช้ให้ ได้ถูกวัตถุประสงค์ หรือเจตนารมณ์ของกฎหมายนั้น ๆ จริงแล้ว ก็จะทรงความศักดิ์สิทธิ์และประสิทธิภาพอันสมบูรณ์ไว้ได้ แต่ถ้าหากนำไปใช้ผิดวัตถุประสงค์และเจตนารมณ์ โดยการพลิกแพลงบิดพลิ้วให้ผันผวนไปด้วยความหลงผิดด้วยอคติ หรือด้วยเจตนาอันไม่สุจริตต่าง ๆกฎหมายก็เสื่อมความศักดิ์สิทธิ์และประสิทธิภาพทันที และกลับกลายเป็นพิษเป็นภัยแก่ประชาชนอย่างใหญ่หลวง ผู้ที่ต้องการจะใช้กฎหมายสร้างสรรค์ความผาสุกสงบและความเป็นปึกแผ่นก้าวหน้าของประชาชนและบ้านเมือง จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องรักษาวัตถุอันแท้จริงของกฎหมายแต่ละฉบับไว้ให้แน่วแน่เสมอไปอย่างไม่มีข้อแม้ประการใด ๆ พร้อมรักษาอุดมคติจรรยาความสุจริตและมโนธรรมของนักกฎหมายไว้โดยรอบคอบเคร่งครัด”

Page 73: พระมหากษัตริย์แห่งพระบรม ......45 ฉะน หว งจะให ทายกท งปวงท ศร ทธากระทำก

111

“คุณธรรม ๔ ประการ” พระบรมราโชวาทพระราชทานเนื่องในวโรกาส พระราชพิธีบวงสรวงบุรพมหากษัตริยาธิราชเจ้า ในการพระราชพิธีสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ ๒๐๐ ปี ณ มณฑลพิธีท้องสนามหลวง เมื่อวันที่ ๕ เมษายน พุทธศักราช ๒๕๒๕ คุณธรรมที่ทุกคนควรจะศึกษาและน้อมนำมาปฏิบัติมีอยู่สี่ประการ ประการที่หนึ่ง คือ การรักษาความสัตย์ ความจริงใจต่อตัวเองที่จะประพฤติแต่สิ่งที่เป็นประโยชน์และเป็นธรรม ประการที่สองคือการรู้จักข่มใจตนเองฝึกใจตนเองให้ประพฤติปฏิบัติอยู่ในความสัตย์ความดีนั้น ประการที่สาม คือ การอดทน อดกลั้น และอดออมที่จะไม่ประพฤติล่วงความสัตย์สุจริตไม่ว่าจะด้วยเหตุประการใด ประการที่สี่ คือ การรู้จักละวางความชั่ว ความทุจริต และรู้จักสละประโยชน์ส่วนน้อยของตนเพื่อประโยชน์ส่วนใหญ่ของบ้านเมือง คุณธรรมสี่ประการนี้ เรียกว่า “ฆราวาสธรรม” ถ้าแต่ละคนพยายามปลูกฝังและบำรุงให้เจริญงอกงามขึ้นโดยทั่วกันแล้วจะช่วยให้ประเทศชาติบังเกิดความสุขความร่มเย็นสมัยหนึ่งพระพุทธเจ้าตรัสกับอาฬวกยักษ์ว่า “บุคคลอยู่ครองเรือน ประกอบด้วยศรัทธา มีธรรม๔ ประการ คือ สัจจะ ธรรม ธิติ จาคะ ละโลกนี้ ไปแล้ว ย่อมไม่เศร้าโศก เชิญท่านถามสมณพราหมณ์เป็นอันมากเหล่าอื่นดูเถิดว่าในโลกนี้มีอะไรที่ยิ่งกว่าสัจจะทมะขันติจาคะเล่า” พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงพระปรีชาสามารถประยุกต์หลัก“ฆราวาสธรรม๔ประการ”ที่ปรากฏในคัมภีร์พระสุตตันตปิฏกสังยุตตนิกายสคาถวรรคและขุททกนิกายสุตตนิบาทเพื่อทรงสอนพสกนิกรชาวไทยทุกหมู่เหล่าให้ยึดมั่นนำไปปฏิบัติอันจะนำมาซึ่งความวัฒนาสถาพรของตนและประเทศชาติ “ศรัทธาไม่ประมาท สัจจะ จิตใจสะอาด และสงบใจ เป็นรากฐานและวิธีการไปสู่ความก้าวหน้า” พระบรมราโชวาทพระราชทานแก่ข้าราชการพลเรือน ในวันข้าราชการพลเรือน ๑ เมษายน พุทธศักราช ๒๕๒๖ การทำงานสร้างเกียรติยศชื่อเสียงและความเจริญก้าวหน้า นอกจากจะต้องใช้วิชาความรู้ที่ดีแล้ว แต่ละคนยังต้องมีจิตใจที่มั่นคงในความสุจริต และมุ่งมั่นต่อความสำเร็จเป็นรากฐานรับรอง กับต้องอาศัยกุศโลบายหรือวิธีการอันแยบคายในการประพฤติปฏิบัติเข้าประกอบอีกหลายประการ

Page 74: พระมหากษัตริย์แห่งพระบรม ......45 ฉะน หว งจะให ทายกท งปวงท ศร ทธากระทำก

112

ปราการที่หนึ่งได้แก่การสร้างศรัทธาความเชื่อถือในงานที่กระทำซึ่งเป็นพละกำลังส่งเสริมให้เกิดความพอใจและความเพียรพยายามอย่างสำคัญในอันที่จะทำการงานให้บรรลุผลเลิศ ประการที่สอง ได้แก่ การไม่ประมาท ปัญญาความรู้ความฉลาดสามารถทั้งของตนและของผู้อื่นซึ่งเป็นเครื่องช่วยให้ทำงานได้ก้าวหน้ากว้างไกล ประการที่สาม ได้แก่ การตามรักษาความจริงใจ ทั้งต่อผู้อื่น ทั้งต่อตนเอง ซึ่งเป็นเครื่องทำให้ไว้วางใจร่วมมือกันและทำให้ได้โดยราบรื่น ประการที่สี่ ได้แก่ การกำจัดจิตใจที่ต่ำทราม รวมทั้งสร้างเสริม ความคิด จิตใจที่สะอาดเข้มแข็งซึ่งจะช่วยให้ฝักใฝ่แต่ในการปฏิบัติดีให้เกิดความก้าวหน้า ประการที่ห้าได้แก่การรู้จักสงบใจซึ่งเป็นเครื่องช่วยให้ยั้งคิดได้ในเมื่อมีเหตุทำให้เกิดความหวั่นไหวฟุ้งซ่านและสามารถพิจารณาแก้ไขปัญหาได้โดยถูกต้อง คุณสมบัติหรือคุณธรรมที่กล่าวแล้วทั้งที่เป็นรากฐานทั้งที่เป็นส่วนวิธีการต่างเป็นเหตุเป็นผลอาศัยกัน และเกื้อกูลส่งเสริมกันอยู่ทั้งหมด จะอาศัยเพียงข้อใดข้อหนึ่ง หรือเพียงบางส่วนบางข้อมิได้เพราะจะไม่ช่วยให้เกิดผลหรือได้ผลน้อย ดังนั้น จึงจำเป็นต้องพยายามอบรมสร้างเสริมให้บริบูรณ์ขึ้นแต่ละข้อและทุกข้อ เมื่อคุณสมบัติดังกล่าวประชุมพร้อมกันขึ้นแล้วจึงจะบันดาลผลเลิศให้เกิดขึ้นสมบูรณ์บริบูรณ์เป็นประโยชน์ช่วยตัวช่วยผู้อื่นได้อย่างแท้จริง ทรงประยุกต์หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา เพื่อสร้างแนวความคิดเศรษฐกิจพอเพียง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชนั้น เป็นที่ทราบและตระหนักซาบซึ้งกันดีในพสกนิกรชาวไทยทั้งปวงว่า นอกจากจะทรงเสียสละทุ่มพระวรกาย ทรงงานหนักเพื่อความเจริญผาสุกของมหาชนชาวสยามแล้ว พระองค์ยังทรงเป็น “ประทีปแห่งปัญญา” ซึ่งสามารถชี้แนะนำทางให้เกิดสัมมาทิฏฐิ และสัมมาปฏิบัติในท่ามกลางวิกฤติแห่งสถานการณ์ ไม่ว่าการเมืองเศรษฐกิจและสังคม จนเป็นที่ประจักษ์ชัดว่า ในยามที่ประเทศชาติและประชาชนเผชิญหน้าความยากลำบากไม่ว่ากรณีใดก็จะทรงปัดเป่าและคลี่คลายสถานการณ์ไปได้ด้วยดีตลอด ในท่ามกลางความยากลำบากทางเศรษฐกิจครั้งนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานแนวคิด “เศรษฐกิจพอเพียง” และเรื่อง “พออยู่” “พอกิน” “พอเพียง” และ“พอดี” นี้ ไม่ใช้ของใหม่ ความจริงเป็นเรื่องที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงแนะนำให้ประชาชนคนไทยน้อมนำไปปฏิบัติ และยิ่งไปกว่านี้ยังทรงดำเนินการให้เห็นเป็นตัวอย่างด้วยพระองค์เองมาโดยตลอด ในช่วงระยะเวลาไม่ต่ำกว่า ๕ ทศวรรษมาแล้ว นับแต่ได้ทรงริเริ่มโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริเป็นต้นมา

Page 75: พระมหากษัตริย์แห่งพระบรม ......45 ฉะน หว งจะให ทายกท งปวงท ศร ทธากระทำก

113

หากวิเคราะห์อย่างละเอียดแล้ว จะเห็นได้ว่าปรัชญาหลักและแนวความคิด “เศรษฐกิจพอเพียง”ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวนั้นสอดคล้องประสานกลมกลืนกับหลักธรรมในทางพระพุทธศาสนาอย่างแนบแน่น การละเลิกความโลภ ความรู้จักพอเพียงในการบริโภคและการใช้ชีวิตการยุติวัฒนธรรมการบริโภคที่ ไร้สาระตามกระแสของวัตถุนิยมและเศรษฐกิจกระแสหลักการมัธยัสถ์และอดออม การสร้างความมั่นคงในชุมชน พร้อม ๆ กับการสร้างความมั่นคงในจิตใจ การตั้งมั่นอยู่ในความเมตตา กรุณา และไม่เอารัดเอาเปรียบซึ่งกัน การให้และการเกื้อกูลสงเคราะห์กัน การประสานประโยชน์ซึ่งกันและกันอย่างเท่าเทียมยุติธรรม ล้วนแล้วแต่ปรากฏอยู่ในหลักธรรมทั้งสิ้น กล่าวโดยสรุปได้ว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ผู้ทรงพระคุณอันประเสริฐของประชาชนชาวไทยนั้น ทรงเป็น “นักคิด” และ “นักพัฒนา” ที่ทรงมีพระวิสัยทัศน์กว้างไกล และทรงเป็น “นักแก้ปัญหา” ที่มีแนวทางและปรัชญาสอดคล้องต้องกันกับหลักการสำคัญในพระพุทธศาสนาโดยเฉพาะอย่างยิ่งในแนวทางมัชฌิมาปฏิปทาเรื่องการสันโดษและหลักมัตตัญญุตา ในแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงอันเนื่องมาจากพระราชดำริ เพื่อแก้ ไขปัญหาวิกฤติทางเศรษฐกิจซึ่งกระทบต่อการดำรงชีวิตของพสกนิกรของพระองค์เป็นส่วนรวมนั้นประสานสอดคล้องกับหลักธรรมในพระพุทธศาสนาที่ว่าด้วยการดำรงชีวิตที่ประเสริฐตามสมมติสัจจะในโลกธรรมด้วย“วิถีแห่งพุทธะ”คือโดยรู้จักประสานกลมกลืนกับสิ่งแวดล้อมและธรรมชาติ โดยใช้ประโยชน์และนำกฎเกณฑ์ของธรรมชาติและทรัพยากรธรรมชาติมาใช้ให้เกิดประโยชน์ โดยไม่เป็นการทำลายและเบียดเบียนกัน ขณะเดียวกันก็ให้มีชีวิตอยู่โดยมี “ปัญญา”และ“สัมมาทิฏฐิ”กำกับโดยไม่โลภหลงใหลในวัตถุจนเกินความสมควร แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวตรัสไว้นั้นตั้งอยู่บนหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา ที่เกี่ยวกับความสามารถพึ่งตนเองได้ (อัตตนาถะ) การพอใจในสิ่งที่มีอยู่(สันโดษ) การรู้ประมาณ (มัตตัญญุตา) และการดำเนินชีวิตตามทางสายกลาง (มัชฌิมาปฏิปทา) ซึ่งเป็นหลักการของเศรษฐกิจพอเพียงแนวพุทธ พระบรมราโชวาทในเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้ส่งเสริมให้พสกนิกรชาวไทยเห็นคุณค่าของพระพุทธศาสนาและรู้ชัดว่าการที่ประเทศชาติจะได้รับการฟื้นตัวทางด้านเศรษฐกิจนั้นก็โดยอาศัยการศึกษาและนำเอาหลักคำสอนของพระพุทธเจ้าเกี่ยวกับเศรษฐกิจมาปฏิบัติโดยพร้อมเพรียงกัน ๒.๕ ทรงดำรงพระองค์อยู่ในธรรม เมื่อวันที่ ๕ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๔๙๓ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศรรามาธิบดี จักรีนฤบดินทร สยามมินทราธิราช บรมนาถบพิตรทรงเครื่องต้นบรมขัติยราชภูษิตาภรณ์ ประทับเหนือพระที่นั่งภัทรบิฐ ภายใต้นพปฎลมหา

Page 76: พระมหากษัตริย์แห่งพระบรม ......45 ฉะน หว งจะให ทายกท งปวงท ศร ทธากระทำก

114

เศวตฉัตร ทรงหลั่งทักษิโณทก ตั้งพระราชสัตยาธิษฐาน จะทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจปกครองพระราชอาณาจักรไทย โดยทศพิธราชธรรมจริยา ตามที่ ได้มีพระปฐมบรมราชโองการว่า“เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม” จากวันนั้นจนถึงวันนี้ พระมหากษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่พระองค์หนึ่งในประวัติศาสตร์อันยาวนานของชาติไทย ทรงแสดงให้พสกนิกรมหาชนชาวสยามได้ประจักษ์ถ่องแท้ถึงพระราชหฤทัยอันเด็ดเดี่ยว แน่วแน่ มั่นคง ในการที่ทรงปฏิบัติพระองค์อยู่ใน “ทศพิธราชธรรมจริยา”ดังที่ ได้มีพระราชปณิธานไว้แต่เมื่อเริ่มขึ้นครองแผ่นดิน พระองค์เป็นแบบอย่างแห่งการดำเนินชีวิตในแบบของพุทธศาสนิกชนที่ดี กล่าวได้ว่าตลอดระยะเวลายาวนาน พระองค์เสด็จไปทั่วเขตดินถิ่นประเทศ ท่ามกลางความยากไร้กันดาร ทุกข์ร้อนและสิ้นหวังของพสกนิกร พระองค์ทรงวางแนวทางพัฒนาทั้งพื้นที่และคุณภาพของประชากรให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น อย่างน้อยก็พอมีพอกิน พระองค์ไม่เพียงสงเคราะห์ช่วยเหลือพสกนิกรเพียงด้านการทำมาหากินอย่างเดียวเท่านั้น หากแต่ยังทรงสั่งสอนแนะนำ ให้พสกนิกรดำรงอยู่และดำเนินชีวิตไปตามหลักพุทธธรรมที่สอดคล้องกับวิถีชีวิตของคนแต่ละพื้นที่ โดยให้ยึดมั่นในการเดินทางสายกลาง ไม่โลภ ไม่ฟุ้งเฟ้อ ไม่เบียดเบียนซึ่งกันและกัน โดยทรงสั่งสอนให้รู้จักการให้ มีเมตตา กรุณา เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ร่วมมือร่วมใจมีความรู้จักสามัคคี และผนึกกำลัง เพื่อป้องกันการถูกเอารัดเอาเปรียบเพื่อทำกิจของส่วนรวมให้ถึงพร้อมซึ่งความไพบูลย์โดยใช้หลักพระพุทธศาสนามาเป็นแนวทาง พระผู้ครองแผ่นดินโดยทศพิธราชธรรมและธรรมทั้งปวง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงครองแผ่นดินโดยทศพิธราชธรรมอย่างแน่วแน่มั่นคงประกอบด้วย ทานะ หรือการให้ ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจในอันที่จะบำบัดทุกข์บำรุงสุขแก่ทวยอาณาประชาราษฎร์ โดยทรงเสียสละพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์รวมตลอดถึงพระพลังกายพระพลังใจและพลังสติปัญญา มุ่งพัฒนาให้ประชาชนสามารถพึ่งตนเองได้อันเป็นผลให้เกิดความมั่นคงและความเจริญแก่ประเทศชาติเป็นส่วนรวม ศีละทรงตั้งมั่นและประพฤติพระราชจริยวัตรพระวรกายพระวาจาโดยปราศจากโทษและตั้งมั่นอยู่ในศีลอันเป็นข้อปฏิบัติโดยสมบูรณ์ พระราชจริยวัตรทั้งปวงล้วนหมดจดงดงามอีกทั้งทรงเป็นผู้นำในการปฏิบัติพระองค์และทรงชี้แนะแนวทางที่ถูกต้องตามหลักพระพุทธศาสนาแก่พสกนิกรเสมอมา ปริจจาคะ ทรงบริจาคและเสียสละพระราชทรัพย์เพื่อธำรงพระพุทธศาสนา ทรงทำนุบำรุงพระสงฆ์ สมณชีพราหมณ์และราษฎร์ทั่วไป ทุกครั้งที่บ้านเมืองและประชาชนประสบความยากลำบากหรือมีภัย จะทรงเป็นผู้นำในการช่วยเหลือสงเคราะห์แบ่งเบา ดังกระแสพระราชดำรัสว่า “คนเราจะอยู่สุขสบายคนเดียวไม่ ได้ ถ้าคนที่อยู่ล้อมรอบมีความทุกข์ยาก

Page 77: พระมหากษัตริย์แห่งพระบรม ......45 ฉะน หว งจะให ทายกท งปวงท ศร ทธากระทำก

115

ควรต้องแบ่งเบาความทุกข์ยากของเขาบ้างตามกำลังและความสามารถเท่าที่จะทำได้” อาชชวะ พระองค์ทรงยึดมั่นในความซื่อตรง ในฐานะผู้ปกครองที่ซื่อตรงต่อพระราชสัมพันธมิตรและอาณาประชาราษฎร์ทรงวางพระองค์อย่างสุจริตเที่ยงตรงสม่ำเสมอโดยมิเคยแม้แต่เพียงครั้งเดียวที่จะทำให้พสกนิกรทั้งมวลมีความรู้สึกว่าพระราชจริยวัตรของพระองค์นั้นผิดแผกไปจากพระราชปณิธานนี้ มัททวะทรงเป็นผู้มีพระราชอัธยาศัยอ่อนโยนทรงมีสัมมาคารวะต่อพระสงฆ์ผู้อาวุโสและอ่อนโยนต่อบุคคลทั่วไปทรงมีพระราชจริยวัตรอันนุ่มนวลงดงามทรงมีพระราชปฏิสันถารกับเหล่าประชาชนที่มาคอยเฝ้าทรงไต่ถามสารทุกข์สุขดิบของราษฎร์ทั้งปวง เยี่ยงบุคคลที่มีความรักคุ้นเคยกันอย่างใกล้ชิดสนใจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ด้อยโอกาสและยากไร้แร้นแค้นในชนบทห่างไกล ตบะ คือ ความเพียรที่แผดเผาความเกียจคร้าน ทรงตั้งพระราชหฤทัยที่จะทรงมีพระวิริยอุตสาหะในการปฏิบัติพระราชกรณียกิจให้สำเร็จลุล่วงโดยสมบูรณ์ และทรงงานหนักอย่างหาผู้ที่มาเปรียบเทียบได้ยากยิ่ง อักโกธะ คือ การไม่แสดงความโกรธให้ปรากฏ ไม่พยายามมุ่งร้ายผู้อื่น แม้จะลงโทษผู้ทำผิดก็ทำตามเหตุผล ทรงมีพระอาการสงบนิ่งทุกโอกาส ทรงมีน้ำพระราชหฤทัยอันบริสุทธิ์สะอาดเปี่ยมล้นไปด้วยพระเมตตากรุณา ที่ปรากฏทางพระราชจริยวัตรอันนุ่มนวลอ่อนโยนแก่พสกนิกรถ้วนหน้า อวิหิงสา คือ ทรงมีพระราชอัธยาศัยกอปรด้วยพระมหากรุณา ไม่ทรงก่อทุกข์หรือเบียดเบียน ทรงเป็นผู้ ให้อย่างแท้จริง ประชาชนในท้องถิ่นใดได้รับความทุกข์เดือดร้อนก็จะเสด็จฯ ไปทรงเยี่ยมเยียนช่วยขจัดปัดเป่าความทุกข์เดือดร้อนนั้น เฉกเช่นความรักความผูกพันที่บิดาจะพึงให้แก่บุตรซึ่งเป็นที่รักของตน ขันติ ความอดทน ทรงมีพระราชจริยวัตรอันอดทน อดกลั้นต่อสิ่งทั้งปวง รักษาพระราชหฤทัยพระอาการพระวรกายและพระวาจาให้เรียบร้อยทรงตั้งมั่นอยู่ขันติธรรมอันเลิศทรงอดกลั้นต่อกิเลส ยั่วยุทั้งปวง ตลอดจนทรงอดทนต่อทุกขเวทนาเดือนร้อนรำคาญต่าง ๆแม้ยามทรงพระประชวรก็ ไม่ทรงงดพระราชภารกิจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งทรงตรากตรำพระวรกาย ในงานพัฒนาเพื่อพสกนิกรผู้ยากไร้ ผู้ต้องการความช่วยเหลือ ดังที่มีกระแสพระราชดำรัสว่า “ประชาชนยากลำบาก เขาคอยไม่ได้” จึงทำให้ทรงสามารถปฏิบัติพระราชกรณียกิจอันน้อยใหญ่ได้สำเร็จลุล่วง อวิโรธนะ การที่ทรงตั้งอยู่ในขัตติยราชประเพณี ไม่ทรงประพฤติผิดจากพระราชจริยวัตรทางธรรมนิติ และธรรมาภิบาล ไม่ทรงประพฤติให้คลาดเคลื่อนไปจากความยุติธรรมทรงอุปถัมภ์ยกย่องผู้ที่มีความชอบด้วยความยุติธรรม และโดยปราศจากอำนาจความอคติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงไว้ซึ่งความยุติธรรมและความเป็นธรรมในพระราชอัธยาศัย

Page 78: พระมหากษัตริย์แห่งพระบรม ......45 ฉะน หว งจะให ทายกท งปวงท ศร ทธากระทำก

116

อยู่เป็นประจำ กล่าวได้ว่าทรงใช้หลักพุทธธรรมเป็นหลักในการพิจารณาตัดสินปัญหาและบริหารแผ่นดินโดยถ่องแท้ พระราชจริยวัตรที่ทรงบำเพ็ญเพียรปฏิบัติยึดมั่นอยู่ในหลักทศพิธราชธรรมล้วนหมดจดงดงามบริบูรณ์ จนพระบารมีแผ่ปกป้องคุ้มเกล้าเหล่าอาณาประชาราษฎร์ ดังได้ประจักษ์แล้วแก่พสกนิกรถ้วนหน้า ต่างสงบสุขร่มเย็นภายใต้ร่มพระบรมโพธิสมภารของพระองค์นับเนื่องตลอดมา นอกจากทศพิธราชธรรมดังแสดงให้เห็นทุกประการโดยลำดับนี้แล้ว พระองค์ยังทรงถึงพร้อมด้วยพระกตัญญูกตเวทิตาธรรมต่อสมเด็จพระบรมราชบุพการี ดังประชาชนทั้งประเทศได้เห็นเป็นตัวอย่าง พระองค์ทรงยึดมั่นในพรหมวิหารธรรม จักรวรรดิวัตรราชสังคหวัตถุ และธรรมที่สำคัญอื่นในพระพุทธศาสนา ทรงดำรงพระองค์อยู่ในธรรมทั้งปวงนั้นและทรงประพฤติปฏิบัติพระองค์ให้เป็นอย่างเสมอมาตลอดระยะเวลาที่ทรงครองสิริราชสมบัติ จึงเห็นได้ชัดว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ผู้ทรงเป็นพุทธมามกะผู้ทรงเป็นองค์เอกอัครศาสนูปถัมภกพระองค์นี้ ทรงมีพระราชจริยวัตร ทรงประพฤติปฏิบัติพระองค์และทรงดำรงพระชนมชีพอยู่ด้วยหลักพุทธธรรมและธรรมอันควรที่พระมหากษัตริยาธิราชเจ้าพึงทรงปฏิบัติสมดังพระราชปณิธานในพระปฐมราชโองการว่า “เราจะครองแผ่นดินโดยธรรมเพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม”

วัดพระราม ๙ กาญจนาภิเษก