54
ประวัติ ผลงาน และแนวทางการบริหาร คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ผู้ช่วยศาสตราจารย์สุรศักดิ์ นุ่มมีศรี เสนอ คณะกรรมการสรรหาบุคคลเพื่อแต่งตั้งเป็นคณบดี คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ 30 มกราคม 2560

ประวัติ ผลงาน และแนวทางการ ......1 ประว ต และผลงาน ข อม ลส วนต ว ช อ-สก ล นายส

  • Upload
    others

  • View
    10

  • Download
    0

Embed Size (px)

Citation preview

Page 1: ประวัติ ผลงาน และแนวทางการ ......1 ประว ต และผลงาน ข อม ลส วนต ว ช อ-สก ล นายส

0

ประวัติ ผลงาน และแนวทางการบริหาร คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลย ี

ผู้ช่วยศาสตราจารย์สุรศักดิ์ นุ่มมีศร ี

เสนอ

คณะกรรมการสรรหาบุคคลเพื่อแต่งตั้งเป็นคณบดี

คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลยัราชภัฏเชียงใหม่

30 มกราคม 2560

Page 2: ประวัติ ผลงาน และแนวทางการ ......1 ประว ต และผลงาน ข อม ลส วนต ว ช อ-สก ล นายส

1

ค าน า

ตามที่มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ได้ก าหนดกรอบนโยบายและแนวทางการพัฒนา คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ในช่วงปีงบประมาณ พ .ศ. 2560–2563 เพ่ือใช้เป็นกรอบในการสรรหา คณบดีคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อให้การด าเนินการเป็นไปตามประกาศคณะกรรมการสรรหาฯ และด าเนินการตามประกาศและข้ันตอนการสรรหาคณบดีคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ข้าพเจ้าจึงได้จัดท าประวัติ ผลงาน และแนวทางการบริหารจัดการคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพ่ือประกอบการพิจารณาของคณะกรรมการสรรหาบุคคลเพ่ือแต่งตั้งเป็นคณบดีคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ตามประกาศต่อไป

ผู้ช่วยศาสตราจารย์สุรศักดิ์ นุ่มมีศรี 30 มกราคม 2560

Page 3: ประวัติ ผลงาน และแนวทางการ ......1 ประว ต และผลงาน ข อม ลส วนต ว ช อ-สก ล นายส

2

สารบัญ

ส่วนที่ 1 ประวัติและผลงาน 1 ส่วนที่ 2 วิสัยทัศน์ นโยบาย และแนวทางการพัฒนา คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ในช่วงปีงบประมาณ พ.ศ. 2560-2563 6 ประเด็นที่ 1 การจัดการศึกษาของคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 15 ประเด็นที่ 2 การบริหารงานของคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 22 ประเด็นที่ 3 การสร้างความโดดเด่นในการผลิตบัณฑิตที่เป็นเอกลักษณ์ 47 ประเด็นที่ 4 พัฒนานักศึกษาให้มีความพร้อมในการเป็นพลเมืองโลก ให้มีความรู้ เทา่ทันการเปลี่ยนแปลงของประเทศไทยและสังคมโลก 49

Page 4: ประวัติ ผลงาน และแนวทางการ ......1 ประว ต และผลงาน ข อม ลส วนต ว ช อ-สก ล นายส

1

ประวัติและผลงาน

ข้อมูลส่วนตัว ชื่อ-สกุล นายสุรศักดิ์ นุ่มมีศรี วันเกิด 31 พฤษภาคม 2516 อายุ 43 ปี 9 เดือน ภูมิล าเนา จังหวัด นครสวรรค์ ที่อยู่ปัจจุบัน 22/61 ถนนหมื่นด้ามพร้าคต ซอย 7 ต าบลช้างเผือก อ าเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่

50300 โทร. 08-1951-3922 ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ [email protected]

การศึกษา ปริญญาตรี วศ.บ. (วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม) มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ปริญญาโท วศ.ม. (วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม) มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ปริญญาโท ศษ.ม. (การจัดการมนุษย์กับสิ่งแวดล้อม) มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ใบประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม วิศวกรโยธา ใบประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม วิศวกรสิ่งแวดล้อม

ประวัติการท างาน 2540–2541 บริษัท ร่มฉัตร จ ากัด วิศวกรโยธา/สิ่งแวดล้อม มีหน้าที่ ออกแบบและควบคุมการ

ก่อสร้างอาคาร อุโมงค์ส่งน้ า ระบบประปา และระบบบ าบัดน้ าเสีย 2541–2543 บริษัท พัฒนาคุณภาพน้ า จ ากัด วิศวกรสิ่งแวดล้อมรับผิดชอบงานออกแบบและ

ควบคุมการก่อสร้าง ระบบน้ าประปา ระบบน้ าดื่ม น้ าบริสุทธิ์ และระบบบ าบัดน้ าเสีย 2543–ปัจจุบัน พนักงานมหาวิทยาลัยสายวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

ด้านการบริหาร

- หัวหน้าสาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ (2551-2555)

- รองคณบดีฝ่ายวิจัยและการบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ (2556-ปัจจุบัน)

ส่วนที่ 1

Page 5: ประวัติ ผลงาน และแนวทางการ ......1 ประว ต และผลงาน ข อม ลส วนต ว ช อ-สก ล นายส

2

กรรมการชุดต่างๆ ในมหาวิทยาลัยที่ส าคัญ ด้านนโยบาย

- กรรมการสภามหาวิทยาลัยจากคณาจารย์ประจ า - กรรมการบริหารการเงินและทรัพย์สินของมหาวิทยาลัย (ก.ง.ส.)

ด้านงานบุคคล - อนุกรรมการบริหารงานบุคคล - กรรมการพิจารณาทุนพัฒนาบุคลาการ

ด้านกฎระเบียบ ข้อบังคับ - กรรมการกลั่นกรอง กฎระเบียบ ข้อบังคับ - กรรมการแก้ค าฟ้อง

ด้านการหารายได้และสิทธิประโยชน์ - กรรมการงานสิทธิประโยชน์ เช่น น้ าดื่ม CMRU จัดสรรพื้นที่ให้เช่าในมหาวิทยาลัย ฯลฯ

ด้านงานก่อสร้าง - กรรมการตรวจการจ้างงานก่อสร้างกลุ่มอาคารคณะวิทยาศาสตร์ระบบสูบน้ า

ด้านงานประกันคุณภาพ - ผ่านการอบรมผู้ประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับหลักสูตร และระดับคณะฯ - กรรมการประเมินหลักสูตรระดับปริญญาตรีและปริญญาโท

ผลงานทางวิชาการ ผลงานวิจัยที่ได้รับทุนจากแหล่งต่างๆ วช. สกว. สกอ. สสส. พวส. สวทช. และกองทุน

มหาวิทยาลัย จ านวนทั้งสิ้น 23 เรื่อง 1. พ.ศ. 2543 เรื่อง ศึกษาคุณภาพน้ าผิวดินและใต้ผิวดิน ในพ้ืนที่ลุ่มน้ าปิงตอนบน. (ผู้วิจัยร่วม)

แหล่งทุน พวส. 2. พ.ศ. 2544 เรื่อง ส ารวจความต้องการบัณฑิตด้านวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อมของตลาดแรงงาน ภาคเหนือ ตอนบน. แหล่งทุน มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่. 3. พ.ศ. 2545 เรื่อง การใช้การสอนแบบโครงงานสอนวิชา การควบคุมดูแลระบบบ าบัดน้ าเสีย. (หัวหน้าโครงการวิจัย) แหล่งทุน ม.ราชภัฏเชียงใหม่. 4. พ.ศ. 2546 เรื่อง การใช้กระบวนการแลก-เปลี่ยนไอออนและออสโมซีสย้อนกลับผลิตน้ าใสบริสุทธิ์ ส าหรับใช้ในห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์. แหล่งทุน มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่. 5. พ.ศ. 2546 เรื่อง ชุดโครงการวิจัย วิทยาศาสตร์ท้องถิ่น ส าหรับครู อาจารย์ ในพ้ืนที่จังหวัดเชียงใหม่. (ผู้วิจัยร่วม) แหล่งทุน สกว.

Page 6: ประวัติ ผลงาน และแนวทางการ ......1 ประว ต และผลงาน ข อม ลส วนต ว ช อ-สก ล นายส

3

6. พ.ศ. 2547 เรื่อง การส่งเสริมขีดความสามารถของท้องถิ่นในการคัดแยกขยะมูลฝอยในพ้ืนที่ภาคเหนือตอนบน (ผู้วิจัยร่วม) แหล่งทุน กรมควบคุมมลพิษสิ่งแวดล้อม. 7. พ.ศ. 2548 เรื่อง การบ าบัดน้ าเสียจากอุตสาหกรรมในครัวเรือนย้อมกระดาษสา.(ผู้วิจัยร่วม) แหล่งทุน สวทช. 8. พ.ศ. 2549 เรื่อง การใช้ระบบบึงประดิษฐ์บ าบัดน้ าเสียจากการผลิตกระดาษสา. แหล่งทุน มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่. 9. พ.ศ. 2550 เรื่อง โครงการชุมชนรักษ์สิ่งแวดล้อม กรณีศึกษา ทรัพยากรน้ า ชุมชนไทลื้อ ต าบลดอยสะเก็ด อ าเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ แหล่งทุน วช. 10. พ.ศ. 2550 เรื่อง โครงการการจัดการมลภาวะทางอากาศโดยชุมชน เพ่ือชุมชนเป็นสุข กรณีศึกษา ต าบลห้วยผา จังหวัดแม่ฮ่องสอน แหล่งทุน สกอ. เครือข่ายภาคเหนือ. 11. พ.ศ. 2550 เรื่อง โครงการชุมชนรักษ์สิ่งแวดล้อม กรณีศึกษา การจัดการขยะมูลฝอย ชุมชนไทลื้อ ต าบลดอยสะเก็ด อ าเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ (ผู้วิจัยร่วม) แหล่งทุน วช. 12. พ.ศ. 2551 เรื่อง การใช้ประโยชน์จากขยะมูลฝอย โดยการน ามาผลิตเป็นวัสดุเซรามิก แหล่งทุน วช. 13. พ.ศ. 2551 เรื่อง การใช้ประโยชน์ของเสียจากฟาร์มสุกรโดยการแปรสภาพเป็นพลังงานทดแทนในชุมชน แหล่งทุน สสส. 14. พ.ศ. 2552 เรื่อง รูปแบบการจัดการมลพิษในพ้ืนที่ลุ่มน้ าแม่สะเรียงโดยชุมชน (หัวหน้าโครงการวิจัย) แหล่งทุน วช. 15. พ.ศ. 2553 เรื่อง ต้นแบบการจัดการก๊าซชีวภาพเพ่ือใช้เป็นพลังงานทดแทนในชุมชนการใช้ประโยชน์ของเสียจากฟาร์มสุกรโดยการแปรสภาพเป็นพลังงานทดแทนในชุมชน (หัวหน้าโครงการวิจัย) แหล่งทุน สสส. 16. พ.ศ. 2553 เรื่อง การจัดการทรัพยากรน้ าเพ่ือการอุปโภคบริโภคในพ้ืนที่ลุ่มน้ ายวม จังหวัดแม่ฮ่องสอน (หัวหน้าโครงการวิจัย) แหล่งทุน วช. 17. พ.ศ. 2554 เรื่อง การจัดการทรัพยากรน้ าเพ่ือการอุปโภคบริโภคในพ้ืนที่ลุ่มน้ าปาย จังหวัดแม่อ่องสอน (หัวหน้าโครงการวิจัย) แหล่งทุน วช. 18. พ.ศ. 2554 เรื่อง การบูรณาการจัดการเรียนการสอนเพ่ือแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อม กรณีศึกษารายวิชา โครงการวิจัยทางสิ่งแวดล้อม อ าเภอสันก าแพง จังหวัดเชียงใหม่ (หัวหน้าโครงการวิจัย) แหล่งทุน สกอ. 19. พ.ศ. 2555 เรื่อง การจัดการทรัพยากรน้ าในพ้ืนที่ต้นน้ า อ าเภอเมือง จังหวัดแม่ฮ่องสอน (หัวหน้าโครงการวิจัย) แหล่งทุน วช.

Page 7: ประวัติ ผลงาน และแนวทางการ ......1 ประว ต และผลงาน ข อม ลส วนต ว ช อ-สก ล นายส

4

20. พ.ศ. 2556 เรื่อง การใช้ประโยชน์จากชีวมวลโดยการน ามาแปรสภาพเป็นพลังงานทดแทนในการเพาะเห็ด เทศบาลเมืองเมืองแกนพัฒนา จังหวัดเชียงใหม่ (หัวหน้าโครงการวิจัย) แหล่งทุน สสส.

21 พ.ศ. 2556 เรื่อง การประยุกต์ใช้แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงเพ่ือการจัดการปัญหาสิ่งแวดล้อม พ้ืนที่เทศบาลต าบลต้นเปา อ าเภอสันก าแพง จังหวัดเชียงใหม่ (หัวหน้าโครงการวิจัย) แหล่งทุน สกอ. 22. พ.ศ. 2557 เรื่อง การบูรณาการการจัดการเรียนการสอนเพ่ือพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ อ าเภอกัลยาณิวัฒนา จังหวัดเชียงใหม่ (หัวหน้าโครงการวิจัย) แหล่งทุน วช.

23. พ.ศ. 2558 เรื่อง พฤกษศาสตร์พ้ืนบ้านและนิเวศวัฒนธรรมเพ่ือการสร้างจิตส านึกในการอนุรักษ์พืชอาหารจากป่ากรณีศึกษาชุมชนสะลวง – ขี้เหล็ก อ าเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ (หัวหน้าโครงการวิจัย) แหล่งทุน วช.

ผลงานวิจัยและบทความทางวิชาการที่ได้รับการตีพิมพ์และเผยแพร่ระดับชาติและนานาชาติ

1. ต้นแบบการจัดการมลภาวะทางอากาศโดยชุมชน กรณีศึกษาพื้นที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน. วารสารวิจัยเพื่อพัฒนาเชิงพ้ืนที่. 2551.

2. การใช้ระบบบึงประดิษฐ์บ าบัดน้ าเสียจากการผลิตกระดาษสา. วารสารวิจัยราชภฏัเชียงใหม่. 2552.

3. ต้นแบบการใช้ก๊าซชีวภาพเป็นพลังงานทดแทนในชุมชน. วารสารวิจัยเพื่อพัฒนาเชิงพ้ืนที่. 2553.

4. การจัดการทรัพยากรน้ าเพื่อการอุปโภคและบริโภคในพื้นที่ลุ่มน้ ายวม จังหวัดแม่ฮ่องสอน. วารสารวิจัยราชภฏัเชียงใหม่. 2555.

5. บทบาทขององค์การปกครองส่วนท้องถิ่นในการแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อม. วารสารสิ่งแวดล้อม จุฬาฯ. 2557.

6. การจัดการมลพิษทางน้ าโดยวิธีการมีส่วนร่วมของชุมชนในพื้นที่ลุ่มน้ าปาย จังหวัดแม่ฮ่องสอน. วารสารการจัดการสิ่งแวดล้อม ปีที่ 11 ฉบับที่ 1/2558.

7. Water Pollution Management from Community by Participative Approach in Pai Watershed, Mae Hong Son Province, The 10th International Conference “ASEAN Community Knowledge Networks for the Economy, Society, Culture, and Environmental Stability” 8 – 12 May 2014.

8. Teaching management, conservation and preservation of biodiversity; a case study centered on curriculum design to promote water resource management in Mae Hong Son province, Thailand: วารสารบัณฑิตศึกษา (SAKON NAKHON GRADUATE STUDIES JOURNAL) ปีที่ 13 ฉบับที่ 61 เมษายน – กรกฎาคม 2559 (Volume 13 No.61 April - June 2016).

Page 8: ประวัติ ผลงาน และแนวทางการ ......1 ประว ต และผลงาน ข อม ลส วนต ว ช อ-สก ล นายส

5

เอกสารและต ารา 1. เอกสารประกอบการสอน รายวิชาเทคโนโลยียีการปรับปรุงคุณภาพน้ าดื่มน้ าใช้. 2. ต ารา เทคโนโลยีการบ าบัดน้ าเสีย.

การท างานวิจัยและบริการวิชาการร่วมกับหน่วยงานภายนอก

องค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่ 1. การติดตามตรวจสอบประสิทธิภาพของระบบการบริหารจัดการ ศูนย์การจัดการขยะมูลฝอย

รวมแบบครบวงจร องค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่. 2. โครงการติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อมจากโรงงานท าปุ๋ยหมักจากของเหลือใช้

องค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่. เทศบาลนครเชียงใหม่ 1. การติดตามตรวจสอบคุณภาพสิ่งแวดล้อมจากระบบรวบรวมและเก็บขนขยะในพ้ืนที่เทศบาลฯ

จังหวัดเชียงใหม่. 2. การส ารวจทัศนคติของประชาชนต่อรูปแบบการจัดการขยะมูลของเทศบาลนครเชียงใหม่

จังหวัดเชียงใหม่. องค์การบริหารส่วนต าบลในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่และแม่ฮ่องสอน เป็นที่ปรึกษา การจัดท ารายงานวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมเบื้องต้น (IEE) จัดการขยะมูลฝอยในท้องถิ่น

แบบครบวงจร รางวัลที่ได้รับ รางวัลนักวิจัยดีเด่น ราชภัฏวชิาการ 2552 การประชุมระดับชาติ มหาวิทยาลัยราชภัฏครั้งที่ 1

เรื่อง การวิจัยพัฒนาท้องถิ่นเพ่ือแผ่นดินไทย

Page 9: ประวัติ ผลงาน และแนวทางการ ......1 ประว ต และผลงาน ข อม ลส วนต ว ช อ-สก ล นายส

6

วิสัยทัศน์ นโยบาย และแนวทางการพัฒนา คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ในช่วงปีงบประมาณ พ.ศ. 2560-2563

ตามที่มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ได้ก าหนดกรอบนโยบายและแนวทางการพัฒนา คณะ

วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ในช่วงปีงบประมาณ พ.ศ. 2560 – 2563 เพ่ือใช้เป็นกรอบในการสรรหา คณบดีคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ประกอบด้วย

ข้อ 1 การจัดการศึกษาของคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีต้องเป็นไปตามนโยบาย และหรือมีส่วนร่วมในการสนับสนุนนโยบาย 3 ประการ ที่สภามหาวิทยาลัยก าหนดให้เป็นทิศทางในการพัฒนามหาวิทยาลัย คือ นโยบายที่ 1 พัฒนาการจัดการศึกษาของมหาวิทยาลัยให้มีคุณภาพ ทั้งด้านการผลิตบัณฑิต การวิจัย การบริการวิชาการ การท านุบ ารุงศิลปะและวัฒนธรรม นโยบายที่ 2 พัฒนามหาวิทยาลัยให้เป็นมหาวิทยาลัยชั้นน าระดับประเทศในการผลิตและพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา นโยบายที่ 3 พัฒนาพ้ืนที่ของมหาวิทยาลัย ทั้ง 4 แห่ง ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดในการจัดการศึกษา

ข้อ 2 การบริหารงานของคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีต้องสอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ระยะ 5 ปี (พ.ศ.2559 – 2563) ฉบับปรับปรุง ปี 2559

ข้อ 3 สร้างความโดดเด่นในการผลิตบัณฑิตในหลักสูตรที่เป็นความเชี่ยวชาญของคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี อย่างแท้จริง จนน าไปสู่ความเป็นเลิศและได้รับการยอมรับว่าผลผลิตของหลักสูตรที่โดดเด่นนี้เป็นเอกลักษณ์ของคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และเป็นเอกลักษณ์ของมหาวิทยาลัยอย่างยั่งยืนต่อไป

ข้อ 4 พัฒนานักศึกษาให้มีความพร้อมในการเป็นพลเมืองโลก ให้มีความรู้ เท่าทันการเปลี่ยนแปลงของประเทศไทยและสังคมโลก โดยการพัฒนานักศึกษาจะต้องค านึงถึงบริบทต่างๆ อาทิ (1) แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2560 – 2564 (2) กระบวนทัศน์การพัฒนาประเทศภายใต้โมเดล “Thailand 4.0” (3) กรอบยุทธศาสตร์ชาติ ระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2560 – 2579) และ (4) การปรับยุทธศาสตร์ (Reprofiling) ของกลุ่มมหาวิทยาลัยราชภัฏ เป็นต้น

ส่วนที่ 2

Page 10: ประวัติ ผลงาน และแนวทางการ ......1 ประว ต และผลงาน ข อม ลส วนต ว ช อ-สก ล นายส

7

จากกรอบนโยบายที่กล่าวมาแล้ว ข้าพเจ้าจึงได้จัดท า วิสัยทัศน์ นโยบาย และแนวทางการพัฒนา คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ในช่วงปีงบประมาณ พ.ศ. 2560 -2563 เพ่ือประกอบการพิจารณาของคณะกรรมการสรรหาบุคคลเพ่ือแต่งตั้งเป็นคณบดีคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ซึ่งจะประกอบด้วย สถานการณ์การเปลี่ยนแปลงที่มีผลต่อการพัฒนาประเทศในอนาคต นโยบายและยุทธศาสตร์ของภาครัฐ การวิเคราะห์สถานการณ์ปัจจุบันของมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ การวิเคราะห์สถานการณ์ปัจจุบันของคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และวิสัยทัศน์ ยุทธศาสตร์ และแนวทางการบริหารงานคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ซึ่งมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

สถานการณ์การเปลี่ยนแปลงที่มีผลต่อการพัฒนาประเทศในอนาคต

ด้านเทคโนโลยี ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วจึงเป็นปัจจัยส าคัญท าให้เกิดความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจและเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตและการท างาน เช่น การปฏิวัติดิจิทัล (Digital Revolution) อินเทอร์เน็ตมีบทบาทในทุกสิ่งทุกอย่าง (Internet of Things) การเข้าสู่ยุคสังคม เศรษฐกิจและอุตสาหกรรม 4.0 จะเป็นยุคท่ีมีการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมส่งเสริมในกระบวนการผลิตทั้งหมด

ด้านสังคม สังคมของประเทศไทยก าลังเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ แรงงานทักษะสูงและมีความสามารถจะมีความต้องการในขณะที่แรงงานทักษะต่ าจะตกงาน ความเหลื่อมล้ าหรือความไม่เท่าเทียมกันขยายตัวเพ่ิมข้ึนอย่างรวดเร็ว และการเคลื่อนไหลของกระแสวัฒนธรรมโลกที่รวดเร็วขึ้น สังคมไทยก าลังมีค่านิยมที่เปลี่ยนแปลงไปตามกระแสวัฒนธรรมที่หลากหลาย หากเราขาดทักษะการคิด วิเคราะห์ ท าให้ไม่สามารถเลือกหรือปรับเปลี่ยนค่านิยมและพฤติกรรมที่เหมาะสมกับวัฒนธรรมของตนเองได้

ด้านเศรษฐกิจ เศรษฐกิจของประเทศมีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างการผลิตเปลี่ยนจากภาคเกษตรและอุตสาหกรรมไปสู่บริการมากขึ้น (เกษตร 10% อุตสาหกรรม 37% บริการ 53%) ซึ่งมีสัดส่วนภาคบริการต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศสูงสุด เปิดโอกาสให้ประเทศก้าวสู่ความเป็นชาติการค้าและบริการ เศรษฐกิจสร้างสรรค์และดิจิทัล โดยเฉพาะงานบริการที่มีผลต่อกลุ่มผู้สูงอายุ

ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ภาวะโลกร้อนในปัจจุบันส่งผลกระทบต่อความหลากหลายทางชีวภาพ วิกฤตน้ า และการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศท าให้เกิดภัยพิบัติให้รุนแรงมากขึ้น ทุนทรัพยากรธรรมชาติเสื่อมโทรมและความขัดแย้งในการใช้ประโยชน์ทรัพยากรจะมีแนวโน้มรุนแรงมากขึ้น การบริหารจัดการน้ าทั้งในเชิงปริมาณและคุณภาพยังขาดประสิทธิภาพ คุณภาพสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติได้รับการแก้ไขแต่โดยรวมยังถือว่าไม่ประสบความส าเร็จมากนัก

ด้านความม่ันคง ประเทศไทยมีความเสี่ยงสูงในด้านการโจรกรรมข้อมูลทางอินเทอร์เน็ตโดยโปรแกรมท่ีไม่พึงประสงค์และในอนาคตแนวโน้มความเสี่ยงอาจจะเพ่ิมขึ้นเรื่อยๆ

Page 11: ประวัติ ผลงาน และแนวทางการ ......1 ประว ต และผลงาน ข อม ลส วนต ว ช อ-สก ล นายส

8

นโยบายและยุทธศาสตร์ของภาครัฐ กรอบยุทธศาสตร์ระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2560 –2579) เพ่ือให้ประเทศไทยก้าวผ่านสถานการณ์ที่มีการเปลี่ยนแปลงในด้านต่างๆ ดังที่กล่าวมาแล้วและน าประเทศไปสู่การเป็นประเทศที่พัฒนาแล้ว รัฐบาลจึงได้จัดท ากรอบยุทธศาสตร์ระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2560 –2579) ขึ้นเพื่อที่จะใช้เป็นแนวทางหลักในการพัฒนาประเทศ ได้ให้ความส าคัญกับการสร้างความเข้มแข็งให้กับท้องถิ่น สามารถพ่ึงพาตนเองได้ ในด้านต่างๆ เพ่ือน าประเทศไปสู่วิสัยทัศน์ “ประเทศมีความม่ันคง ม่ังคั่ง ยั่งยืน เป็นประเทศพัฒนาแล้ว ด้วยการพัฒนาตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง” น าไปสู่การพัฒนาให้คนไทยมีความสุข มีคุณภาพชีวิตที่ดี สร้างรายได้ระดับสูง เป็นประเทศพัฒนาแล้ว สังคมมีความมั่นคง เสมอภาคและเป็นธรรมเป็นประเทศท่ีสามารถแข่งขันได้ในระบบเศรษฐกิจ

แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับท่ี 12 ในส่วนของกรอบหลักของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 ได้น าแนวทางการ

พัฒนาประเทศตาม “ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง” ซึ่งสอดคล้องกับกรอบยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี ซึ่งการท าแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12 นี้จะมุ่งเน้นให้สามารถน าไปสู่การปฏิบัติได้ง่ายขึ้นโดยได้ยึดหลัก “ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง”เป็นแนวทางหลักในการพัฒนา ซึ่งต่อเนื่องจากแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 -11 โดย ส านักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ได้กล่าวว่าการพัฒนาตามแผนฯ 12 ต้องใช้การพัฒนาเชิงบูรณาการระหว่างหน่วยงานที่ยึดพื้นท่ีเป็นหลัก ปรับปรุงกฎหมายและกฎระเบียบต่างๆ ให้เอื้อต่อการขับเคลื่อนการพัฒนาในทุกระดับ คนไทยให้เป็นพลังส าคัญในการพัฒนาประเทศ โดยมีลักษณะส าคัญ 5 ประการ ได้แก่ มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน มีทักษะในการคิดเชิงสังเคราะห์ มีความสร้างสรรค์ มีความเคารพในความแตกต่าง และมีจุดยืนทางจริยธรรม ชุมชนภาคประชาสังคมภาคเอกชนและภาครัฐร่วมกันพัฒนาประเทศบนหลักการร่วมคิด ร่วมท า ร่วมรับผิดชอบและรว่มรับผลประโยชน์จากการพัฒนาดังภาพ

ที่มา: ส านักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

Page 12: ประวัติ ผลงาน และแนวทางการ ......1 ประว ต และผลงาน ข อม ลส วนต ว ช อ-สก ล นายส

9

จากที่กล่าวมาแสดงให้เห็นว่าว่าแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 12 ต้องมีความสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี โดยมีการปรับยุทธศาสตร์ชาติดังกล่าวให้เป็นแผนงาน/โครงการในช่วง 5 ปี โดยระบุแผนปฏิบัติการ และก าหนดตัวชี้วัดความส าเร็จที่เป็นรูปธรรม รวมทั้งให้มีการประเมินผลของการด าเนินงานทุกรอบ 1 ปี และ 5 ปี ซึ่งยุทธศาสตร์ส าคัญในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12 ที่เก่ียวข้องกับคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้แก่ ยุทธศาสตร์ที่ 8 วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิจัย และนวัตกรรม ซึ่งเป็นยุทธศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับการผลิตและการสร้างนวัตกรรม โครงสร้างพ้ืนฐานทางวิทยาศาสตร์ และโครงสร้างพ้ืนฐานทางเทคโนโลยี เพ่ิมบุคลากรด้านการวิจัยและพัฒนาของประเทศให้เพียงพอ เพ่ิมการจดสิทธิบัตรของคนไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านการประดิษฐ์ รวมทั้งเพ่ิม ผลงานตีพิมพ์ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของประเทศไทยยังอยู่ในระดับที่ไม่สูงนัก

การพัฒนาประเทศในโมเดล Thailand 4.0 นอกจากแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 12 และกรอบยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี แล้วรัฐบาลยังมีนโยบายใน

การพัฒนาประเทศในโมเดล Thailand 4.0 ซึ่งก็คือ การพัฒนาประเทศให้มีความทันสมัย มีรายได้มากขึ้น และก้าวพ้นจากกับดักประเทศที่มีรายได้ปานกลาง โดยจะต้องผลิตนวัตกรรมใหม่ๆ เพ่ือเป็นฐานในการพัฒนาประเทศ และต้องสามารถติดต่อค้าขายกับนานาประเทศได้ด้วย นอกจากนี้จากทิศทางการพัฒนาประเทศในโมเดล Thailand 4.0 ยังต้องท าบนพ้ืนฐานของแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง ตามพระบรมราโชวาทในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 “เศรษฐกิจพอเพียง เป็นเสมือนรากฐานของชีวิต รากฐานความมั่นคงของแผ่นดิน เปรียบเสมือนเสาเข็มที่ถูกตอกรองรับบ้านเรือนตัวอาคารไว้นั่นเอง สิ่งก่อสร้างจะมั่นคงได้ก็อยู่ที่เสาเข็ม แต่คนส่วนมากมองไม่เห็นเสาเข็ม และลืมเสาเข็มซะด้วยซ้ าไป” รัฐบาลจึงได้ก าหนดทิศทางการพัฒนาโมเดล Thailand 4.0 ภายใต้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โดยการพัฒนาประเทศภายใต้โมเดล Thailand 4.0 “จะพัฒนาเพื่อให้เกิดผลตามกรอบยุทธศาสตร์ 20 ปี ต้องมีการพัฒนาทางด้านวิทยาการ ความคิดสร้างสรรค์ นวัตกรรม วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี รวมถึงการวิจัยและพัฒนา แล้วต่อยอดในกลุ่มเทคโนโลยีอุตสาหกรรมเป้าหมาย”

การปรับยุทธศาสตร์ (Reprofiling) ของกลุ่มมหาวิทยาลัยราชภัฏ

จากกรอบยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี และแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 และการพัฒนาประเทศภายใต้โมเดล Thailand 4.0 ได้ส่งผลต่อสถาบันอุดมศึกษาทั่วประเทศต้องท าการปรับตัวและก าหนดทิศทางรวมถึงแนวทางในการพัฒนามหาวิทยาลัยต้องมีความสอดคล้องกับสถานการณ์ มหาวิทยาลัยแนวทางการพัฒนาโดยได้ปรับมาเป็นยุทธศาสตร์ (Reprofile) มหาวิทยาลัยกลุ่มมหาวิทยาลัยราชภัฏได้มีการขับเคลื่อนแผนยุทธศาสตร์เพ่ือยกคุณภาพมาตรฐานมหาวิทยาลัยราชภัฏสู่คุณภาพเป็นเลิศ ระยะ 10 ปี (พ.ศ. 2558-2567) โดยได้ปรับเปลี่ยนทิศทาง (Reprofile) และเป้าหมาย

Page 13: ประวัติ ผลงาน และแนวทางการ ......1 ประว ต และผลงาน ข อม ลส วนต ว ช อ-สก ล นายส

10

ของมหาวิทยาลัย โดยใช้แผนยุทธศาสตร์ฯ เป็นกรอบและแนวทางเพ่ือการพัฒนามหาวิทยาลัยราชภัฏ ไปสู่ความเป็นเลิศ แก้ปัญหาและพัฒนาท้องถิ่นให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น และได้ก าหนด กลุ่มสาขาวิชา (Cluster) ที่มุ่งไปสู่ความเป็นเลิศ 8 Cluster คือ Education (การผลิตและพัฒนาครู), Health Care & Applied Sc., Hospitality Industry, Food & Agriculture, Technology (การขนส่งโลจิสติกส์ ICT การสร้างและการผลิต), Royal & Public Management, Art & Culture & Language และ Energy & Environment ในส่วนของมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ได้อยู่ในกลุ่มภาคเหนือซึ่งต้องมุ่งไปที่

1. การผลิตและพัฒนาครู ให้ตอบโจทย์ประเทศ คือ Smart Teacher 2. การท่องเที่ยว ให้ตอบโจทย์ประเทศ คือ Smart Destination

3. อาหาร ให้ตอบโจทย์ประเทศ คือ Smart Food 4. เขตเศรษฐกิจพิเศษ ให้ตอบโจทย์ประเทศ คือ Smart Place

การวิเคราะห์สถานการณ์ปัจจุบันของมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

จากพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยราชภัฏ พ.ศ.2547 ในมาตรา 7 “ให้มหาวิทยาลัยเป็นสถาบันอุดมศึกษาเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นที่เสริมสร้างพลังปัญญาของแผ่นดิน ฟื้นฟูพลังการเรียนรู้ เชิดชูภูมิปัญญาของท้องถิ่น สร้างสรรค์ศิลปวิทยา เพื่อความเจริญก้าวหน้าอย่างม่ันคงและยั่งยืนของปวงชน มีส่วนร่วมในการจัดการ การบ ารุงรักษา การใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างสมดุลและยั่งยืน โดยมีวัตถุประสงค์ให้การศึกษา ส่งเสริมวิชาการและวิชาชีพชั้นสูง ท าการสอน วิจัย ให้บริการทางวิชาการแก่สังคม ปรับปรุง ถ่ายทอด และพัฒนาเทคโนโลยี ท านุบ ารุงศิลปะและวัฒนธรรม ผลิตครูและส่งเสริมวิทยาฐานะครู” รวมทั้งได้ก าหนด มาตรา 8 ในการด าเนินงานเพ่ือให้บรรลุวัตถุประสงค์ตาม มาตรา 7 ให้ก าหนดภาระหน้าที่ของมหาวิทยาลัยดังต่อไปนี้

1. แสวงหาความจริงเพื่อสู่ความเป็นเลิศทางวิชาการ บนพื้นฐานของภูมิปัญญาท้องถิ่น ภูมิปัญญาไทย และภูมิปัญญาสากล

2. ผลิตบัณฑิตที่มีความรู้คู่คุณธรรม ส านึกในความเป็นไทย มีความรักและผูกพันต่อท้องถิ่น อีกทั้งส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตในชุมชน เพ่ือช่วยให้คนในท้องถิ่นรู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลง การผลิตบัณฑิตดังกล่าว จะต้องให้มีจ านวนและคุณภาพสอดคล้องกับแผนการผลิตบัณฑิตของประเทศ

3. เสริมสร้างความรู้ความเข้าใจในคุณค่า ความส านึก และความภูมิใจในวัฒนธรรมของท้องถิ่นและของชาติ

4. เรียนรู้และเสริมสร้างความเข้มแข็งของผู้น าชุมชน ผู้น าศาสนาและนักการเมืองท้องถิ่นให้มีจิตส านึกประชาธิปไตย คุณธรรม จริยธรรม และความสามารถในการบริหารงานพัฒนาชุมชนและท้องถิ่นเพ่ือประโยชน์ของส่วนรวม

Page 14: ประวัติ ผลงาน และแนวทางการ ......1 ประว ต และผลงาน ข อม ลส วนต ว ช อ-สก ล นายส

11

5. เสริมสร้างความเข้มแข็งของวิชาชีพครู ผลิตและพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาให้มีคุณภาพและมาตรฐานที่เหมาะสมกับการเป็นวิชาชีพชั้นสูง

6. ประสานความร่วมมือและช่วยเหลือเกื้อกูลกันระหว่างมหาวิทยาลัย ชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและองค์กรอื่นทั้งในและต่างประเทศ เพ่ือการพัฒนาท้องถิ่น

7. ศึกษาและแสวงหาแนวทางพัฒนาเทคโนโลยีพ้ืนบ้านและเทคโนโลยีสมัยใหม่ให้เหมาะสมกับการด ารงชีวิต และการประกอบอาชีพของคนในท้องถิ่น รวมถึงการแสวงหาแนวทางเพ่ือส่งเสริมให้เกิดการจัดการ การบ ารุงรักษา และการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างสมดุลและยั่งยืน

8. ศึกษา วิจัย ส่งเสริมและสืบสานโครงการอันเนื่องมาจากแนวพระราชด าริในการปฏิบัติภารกิจของมหาวิทยาลัยเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น

ในส่วนของแผนยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2559-2563) ฉบับปรับปรุงปี 2559 ซึ่งมีวัตถุประสงค์ เพ่ือก าหนดทิศทางที่ชัดเจนในการบริหารงานของมหาวิทยาลัย เพ่ือเป็นกรอบแนวคิดในการวางแผนและก าหนดแนวทางการปฏิบัติงานของมหาวิทยาลัย และเพื่อเป็นกรอบแนวคิดของหน่วยงานในสังกัดมหาวิทยาลัยในการจัดท าแผนยุทธศาสตร์ ได้ให้ความส าคัญกับการพัฒนาท้องถิ่นให้มีความเข้มแข็งในทุกๆ ด้าน ซึ่งมีความสอดคล้องกับพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัย ราชภัฏ พ.ศ.2547 ในมาตรา 7 และมาตรา 8 โดยได้ก าหนดวิสัยทัศน์ของมหาวิทยาลัย คือ “เป็นมหาวิทยาลัยชั้นน าระดับประเทศในการผลิตและพัฒนาครูและเป็นมหาวิทยาลัยเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น” รวมทั้งมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ได้ก าหนดเอกลักษณ์ (Uniqueness) ของมหาวิทยาลัยว่า “สถาบันอุดมศึกษาเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น” โดยมียุทธศาสตร์ 7 ยุทธศาสตร์ ดังต่อไปนี้

ยุทธศาสตร์ที่ 1 พัฒนามหาวิทยาลัยให้เป็นมหาวิทยาลัยชั้นน าระดับประเทศในการผลิตและพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา

ยุทธศาสตร์ที่ 2 ผลิตบัณฑิตและสร้างโอกาสทางการศึกษา ให้มีคุณภาพและมาตรฐานวิชาชีพ ยุทธศาสตร์ที่ 3 พัฒนางานวิจัยและการบริการวิชาการ เพ่ือน าไปใช้ประโยชน์ในการเรียนการ

สอนตลอดจนส่งเสริมและสืบสานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชด าริ เพ่ือการพัฒนาท้องถิ่นอย่างยั่งยืน ยุทธศาสตร์ที่ 4 พัฒนามหาวิทยาลัยให้เป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ทางด้านภาษา ศิลปวัฒนธรรม

และการท่องเที่ยว ยุทธศาสตร์ที่ 5 พัฒนาและส่งเสริมความเข้มแข็งของชุมชน รวมทั้งมีส่วนร่วมในการจัดการการ

บ ารุงรักษา และการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างสมดุลและยั่งยืน ยุทธศาสตร์ที่ 6 พัฒนาพ้ืนที่ของมหาวิทยาลัยทั้ง 4 แห่ง ให้เป็นมหาวิทยาลัยที่มีคุณภาพ และ

เป็นแหล่งพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของท้องถิ่น ยุทธศาสตร์ที่ 7 พัฒนาระบบการบริหารของมหาวิทยาลัยให้มีประสิทธิภาพ

Page 15: ประวัติ ผลงาน และแนวทางการ ......1 ประว ต และผลงาน ข อม ลส วนต ว ช อ-สก ล นายส

12

ดังนั้นเพ่ือให้บรรลุเป้าหมายดังกล่าว คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีต้องด าเนินงานให้

สอดคล้องกับพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยราชภัฏ พ.ศ.2547 และแผนยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย ราชภัฏเชียงใหม่ ระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2559 - 2563) ฉบับปรับปรุงปี 2559 ตามที่ได้ก าหนดไว้ ซึ่งจะต้องมีผู้น าที่มีภาวะผู้น า รวมทั้งเป็นหลักของบุคลากรทุกภาคส่วนของคณะฯ ได้ตลอดจนต้องให้ความส าคัญในการสร้างความรู้ ความเข้าใจให้กับบุคลากรทุกฝ่ายทุกระดับอย่างทั่วถึง เพ่ือให้ทุกคนมีความเข้าใจไปในทิศทางและเป้าหมายเดียวกัน โดยต้องเน้นการมีส่วนร่วมและความร่วมมือร่วมใจจากทุกคนทุกฝ่าย ทั้งอาจารย์ นักศึกษา และบุคลากรสายสนับสนุนเพ่ือน าไปสู่วิสัยทัศน์ “คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มีความโดดเด่นเฉพาะทาง สร้างและถ่ายทอดองค์ความรู้เพื่อพัฒนาท้องถิ่นอย่างยั่งยืน” โดยการจัดการศึกษาที่มีประสิทธิภาพซึ่งจะท าให้ได้บัณฑิตที่ได้ตรงกับการพัฒนาประเทศภายใต้โมเดล Thailand 4.0 และ มีทักษะในศตวรรษที่ 21 (บัณฑิต 4.0) การวิจัยและงานบริการที่สนับสนุนการพัฒนาท้องถิ่นอย่างแท้จริงจนเกิดความยั่งยืน และร่วมท านุบ ารุงศิลปะและวัฒนธรรมและสืบสานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชด าริ อย่างต่อเนื่อง

การวิเคราะห์สถานการณ์ปัจจุบันของคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้ถูกจัดตั้งขึ้นในปี พ.ศ.2538 โดยมีวัตถุประสงค์ให้การศึกษา

วิชาการ และวิชาชีพชั้นสูง ท าการวิจัย ให้บริการทางวิชาการแก่สังคม ปรับปรุง ถ่ายทอดและพัฒนาเทคโนโลยี ท านุบ ารุงศิลปะและวัฒนธรรม ผลิตครูและส่งเสริมวิทยฐานะครู ในปัจจุบันได้ด าเนินงานมาแล้วกว่า 41 ปี ข้อมูลประจ าปีการศึกษา 2558 มีหลักสูตรในการความรับผิดชอบในระดับวิทยาศาสตรบัณฑิต (วท.บ.) 15 หลักสูตร วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (วท.ม.) 2 หลักสูตร และสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต 1 หลักสูตร มีนักศึกษารวมทั้งหมด 3,388 คน ระดับปริญญาตรี 3,341 คน ปริญญาโท 47 คน หลักสูตรร่วมผลิตครุศาสตรบัณฑิต (ค.บ.) จ านวน 7 หลักสูตร ในส่วนของจ านวนอาจารย์ประจ าทั้งหมดที่ปฏิบัติงานจริงและลาศึกษาต่อมีจ านวนทั้งสิ้น 146 คน อาจารย์คุณวุฒิ ปริญญาตรี 1 คน ปริญญาโท 84 คน ปริญญาเอก 61 คน ในส่วนของต าแหน่งทางวิชาการมี อาจารย์ 110 คน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ 30 คน รองศาสตราจารย์ 6 คน มีจ านวนบุคลากรสายสนับสนุนทั้งสิ้น 31 คน งบประมาณที่ได้รับการจัดสรรทั้งสิ้น 14,128,100 บาท เป็นงบประมาณแผ่นดิน 10,231,700.00 บาท (ร้อยละ 72.42) งบรายได้ 3,896,400 บาท (ร้อยละ 27.58) คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้รับการประเมินตามองค์ประกอบคุณภาพจ านวน 5 องค์ประกอบ จ านวน 13 ตัวบ่งชี้ โดยใช้เกณฑ์การประเมินคะแนนเต็ม 5.00 คะแนน ซึ่งในปีการศึกษา 2558 มีผลการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน เท่ากับ 3.06 คะแนน ซึ่งจัดอยู่ในเกณฑ์คุณภาพ พอใช้ โดยมีจ านวน 1 องค์ประกอบอยู่ในระดับดี คือ การวิจัย มีจ านวน 3 องค์ประกอบ

Page 16: ประวัติ ผลงาน และแนวทางการ ......1 ประว ต และผลงาน ข อม ลส วนต ว ช อ-สก ล นายส

13

อยู่ในระดับพอใช้ ประกอบด้วย การผลิตบัณฑิต การบริการวิชาการ และการบริหารจัดการ และมีจ านวน 1 องค์ประกอบ อยู่ในระดับปรับปรุง คือ การท านุบ ารุงศิลปะและวัฒนธรรม

จากสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงของสังคมโลก นโยบายของรัฐบาล กรอบยุทธศาสตร์ชาติ

ระยะ 20 ปี และแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 และการพัฒนาประเทศภายใต้โมเดล Thailand 4.0 สภาพทางเศรษฐกิจ พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยราชภัฏ พ.ศ.2547 และแผนยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2559 - 2563) ฉบับปรับปรุงปี 2559 และสถานะปัจจุบันของคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ที่ต้องมีการปรับเปลี่ยนและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง และต้องการน าศาสตร์ทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ไปเชื่อมต่อกับประเด็น Reprofile ของมหาวิทยาลัยให้ได้ ซึ่งจะท าให้เกิดการพัฒนาแบบเฉพาะทันที เช่น การออกแบบผลิตภัณฑ์ (ในรูปแบบของ Product Design) ประเด็นการผลิตครู (รูปแบบนวัตกรรมทางการศึกษา) ประเด็นวิทยาศาสตร์สุขภาพ-ผู้สูงอายุ (รูปแบบของอุปกรณ์เครื่องใช้เฉพาะกลุ่ม) ประเด็นการค้า (รูปแบบของสินค้า บรรจุภัณฑ์) เป็นต้น ซึ่งต้องการผู้บริหารที่มีคุณภาพทันต่อการเปลี่ยนแปลงที่จะมาพัฒนาคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีให้ก้าวหน้าอย่างต่อเนื่อง แนวทางการบริหารคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จะต้องใช้แนวทางในการบริหารงานให้อยู่บนฐานของแนวคิดหลัก 4 แนวคิดที่ส าคัญ คือ “แนวคิดการบริหารแบบการมีส่วนร่วม แนวคิดการท างานแบบ PDCA แนวคิด เข้าใจ-เข้าถึง-พัฒนา และแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง” ซึ่งจะท าให้เกิดการบูรณาการและเชื่อมโยงให้ทุกคนในคณะได้มีส่วนในการคิด แสดงความคิดเห็น ระดมสมองในเรื่องต่างๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาในทุกด้าน รวมทั้งมีการทบทวนวางแผนการท างานอย่างต่อเนื่อง อันจะท าให้ทุกคนได้น าเอาศักยภาพที่แท้จริงออกมาใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนั้นการบริหารแบบการมีส่วนร่วม จะก่อให้เกิดความร่วมมือระหว่างกันของทุกภาคส่วนในองค์กร ผลักดันให้เกิดการพัฒนาของคณะฯ และของมหาวิทยาลัยจนไปสู่วิสัยทัศน์ที่ตั้งไว้ต่อไป ซึ่งอาจารย์ต้องท างานหนักขึ้นทั้งทฤษฎีและปฏิบัติ ฝ่ายสนับสนุนต้องเข้มแข็ง ฝ่ายบริหารต้องมีวิสัยน์ทัศน์ กลยุทธ์ต้องปฏิบัติได้ คุ้มค่ากับเวลาและงบประมาณท่ีจ ากัด

Page 17: ประวัติ ผลงาน และแนวทางการ ......1 ประว ต และผลงาน ข อม ลส วนต ว ช อ-สก ล นายส

14

วิสัยทัศน์

คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มีความโดดเด่นเฉพาะทาง สร้างและถ่ายทอดองค์ความรู้เพื่อพัฒนาท้องถิ่นอย่างย่ังยืน

ยุทธศาสตร์

ยุทธศาสตร์ที่ 1 ผลิตและพัฒนาครู รวมทั้งบุคลากรทางการศึกษา เสริมสร้างความเข้มแข็งของวิชาชีพครูและบุคลากรทางการศึกษาให้มีคุณภาพมีมาตรฐานที่เหมาะสมกับการเป็นวิชาชีพชั้นสูง (Smart Teacher)

ยุทธศาสตร์ที่ 2 ผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพตามมาตรฐานคุณวุฒิอุดมศึกษาแห่งชาติและมาตรฐานวิชาชีพโดยการพัฒนาหลักสูตรให้มีความโดดเด่นทันต่อการเปลี่ยนแปลงและตอบสนองต่อความต้องการของสังคม และการพัฒนาประเทศชาติ

ยุทธศาสตร์ที่ 3 ผลิตงานวิจัย นวัตกรรม และเทคโนโลยีที่ความเหมาะสมกับการพัฒนาท้องถิ่น โดยใช้ภูมปิัญญาท้องถิ่นร่วมกับองค์ความรู้สากล

ยุทธศาสตร์ที่ 4 บริการวิชาการโดยเน้นการสื่อสารทางวิทยาศาสตร์ให้เหมาะสมกับการด ารงชีวิตและการประกอบอาชีพของคนในท้องถิ่น รวมทั้งต้องการบูรณาการกับการเรียนการสอนและการวิจัยเพ่ือการพัฒนาท้องถิ่นอย่างยั่งยืนตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง

ยุทธศาสตร์ที่ 5 ประยุกต์ใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในการส่งเสริมและสืบสานการท านุบ ารุงศิลปะและวัฒนธรรมของท้องถิ่นและของชาติ รวมทั้งโครงการอันเนื่องมาจากแนวพระราชด าริ ยุทธศาสตร์ที่ 6 ร่วมพัฒนาพ้ืนที่ศูนย์แม่ริมให้เป็นพ้ืนที่ อุทยานการศึกษาธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมด าเนินการภารกิจหลักเกี่ยวกับ พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยาและสิ่งแวดล้อม ค่ายการศึกษาธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และเส้นทางศึกษาธรรมชาติ ยุทธศาสตร์ที่ 7 พัฒนาศูนย์วิทยาศาสตร์ให้เป็น “ศูนย์บริการวิชาการทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี” ด าเนินงานตรวจวิเคราะห์ทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนและมาตรฐานด้านต่างๆ ที่ครบวงจร เพ่ือเป็นหน่วยงานที่บริการชุมชนและเป็นหน่วยงานที่สามารถสร้างรายได้ให้แก่คณะและมหาวิทยาลัย พัฒนาพ้ืนที่เวียงบัวเป็นพื้นที่เชิงธุรกิจ ยุทธศาสตร์ที่ 8 พัฒนาระบบการบริหารและการจัดการภายในคณะของคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีให้มีประสิทธิภาพและสอดคล้องกับปรัชญา วิสัยทัศน์ พันธกิจและเป้าหมายของมหาวิทยาลัย

วิสัยทัศน์ ยุทธศาสตร์ และแนวทางการบริหารงาน คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

Page 18: ประวัติ ผลงาน และแนวทางการ ......1 ประว ต และผลงาน ข อม ลส วนต ว ช อ-สก ล นายส

15

การจัดการศึกษาของคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

การจัดการศึกษาของคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีต้องเป็นไปตามนโยบาย และหรือมีส่วนร่วมในการสนับสนุนนโยบาย 3 ประการ ที่สภามหาวิทยาลัยก าหนดให้เป็นทิศทางในการพัฒนามหาวิทยาลัย ซึ่งมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ได้ก าหนดกรอบนโยบายในการสรรหาคณบดีคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ดังนี้

นโยบายที่ 1 พัฒนาการจัดการศึกษาของมหาวิทยาลัยให้มีคุณภาพ ทั้งด้านการผลิตบัณฑิต การวิจัย การบริการวิชาการ การท านุบ ารุงศิลปะและวัฒนธรรม

นโยบายที่ 2 พัฒนามหาวิทยาลัยให้เป็นมหาวิทยาลัยชั้นน าของประเทศในการผลิตและพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา

นโยบายที่ 3 พัฒนาพื้นที่ของมหาวิทยาลัย ทั้ง 4 แห่งให้เกิดประโยชน์สูงสุดในจัดการศึกษา

จากนโยบายทั้ง 3 ข้อ สามารถสรุปแนวทางการพัฒนาคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพ่ือให้เป็นไปตามนโยบาย ดังต่อไปนี้

พัฒนาการการศึกษาของมหาวิทยาลัยให้มีคุณภาพ ทั้งด้านการผลิตบัณฑิต การวิจัย การบริการวิชาการ การท านุบ ารุงศิลปะและวัฒนธรรม

จากผลการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ในปีการศึกษา 2558 มีผลการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน เท่ากับ 3.06 คะแนน ซึ่งจัดอยู่ในเกณฑ์คุณภาพ พอใช้ โดยมีจ านวน 1 องค์ประกอบอยู่ในระดับดี คือ การวิจัย มีจ านวน 3 องค์ประกอบ อยู่ในระดับพอใช้ ประกอบด้วย การผลิตบัณฑิต การบริการวิชาการ และการบริหารจัดการ และมีจ านวน 1 องค์ประกอบ อยู่ในระดับปรับปรุง คือ การท านุบ ารุงศิลปะและวัฒนธรรม จากผลการประเมินดังกล่าวซึ่งถือว่าคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ต้องท าการปรับปรุงระบบการจัดการศึกษาของคณะฯให้มีประสิทธิภาพซึ่งจะส่งผลให้พัฒนาการการศึกษาของมหาวิทยาลัยให้มีคุณภาพ ทั้งด้านการผลิตบัณฑิต การวิจัย การบริการวิชาการ การท านุบ ารุงศิลปะและวัฒนธรรม คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีต้องด าเนินการโดยเร่งด่วนดังต่อไปนี้

ประเด็นที่ 1

นโยบายที่ 1 นโย

Page 19: ประวัติ ผลงาน และแนวทางการ ......1 ประว ต และผลงาน ข อม ลส วนต ว ช อ-สก ล นายส

16

ด้านการผลิตบัณฑิต

ในด้านการผลิตบัณฑิต นักเรียนที่เข้ามาศึกษาต่อในคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมีคุณภาพและปริมาณลดลงรวมถึงมีอัตราการออกกลางคันที่ค่อนข้างสูง รวมถึงคุณภาพของบัณฑิตที่จบออกไปยังไม่ตรงกับความต้องการของผู้ใช้บัณฑิต ดังนั้น คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีต้องเพ่ิมประสิทธิภาพของการผลิตบัณฑิต จ าเป็นต้องมีการปรับปรุงประสิทธิภาพการเรียนการสอน รวมทั้ง อุปกรณ์เครื่องใช้ ทางการศึกษาต่างๆ รวมทั้งต้องมีการมุ่งเน้นให้นักศึกษาช่วยเหลือตนเองผ่านทางกิจกรรมที่ส่งเสริมการเรียน การสอน และต้องสร้างจุดเด่นให้กับบัณฑิตที่จบการศึกษา ด้วยการมุ่งเน้นทักษะการใช้ภาษาต่างประเทศให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น และควรจัดกิจกรรมให้ความรู้และทักษะในศตวรรษที่ 21 โดยเน้นการน าความรู้ไปใช้ในการท ากิจกรรมและทักษะการใช้ชีวิตประจ าวันของนักศึกษา รวมทั้งต้องพัฒนาระบบอาจารย์ที่ปรึกษา โดยก าหนดหน้าที่ความรับผิดชอบของอาจารย์ที่ปรึกษาในการให้ค าปรึกษาวิชาการ การใช้ชีวิตนักศึกษา และจัดให้มีการประเมินระบบการให้ค าปรึกษา เพ่ือน าผลการประเมินไปปรับปรุงการให้บริการอย่างสม่ าเสมอ โดยมีแนวทางในการด าเนินงานดังต่อไปนี้

1. ต้องจัดท าแผนพัฒนาบุคลากรเป็นรายบุคคล เพ่ือพัฒนาสมรรถนะด้านการสอนและการวิจัยวุฒิการศึกษารวมถึงการเข้าสู่ต าแหน่งทางวิชาการ และมีการก ากับ ติดตาม ให้มกีารด าเนินงานตามแผนฯ

2. ต้องวิเคราะห์ผลการประเมินผลการจัดกิจกรรมการให้บริการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหน่วยงานที่มีการให้บริการแก่นักศึกษาระดับปริญญาตรีด้านต่างๆ เพื่อปรับปรุงพัฒนาการให้บริการและการให้ข้อมูลที่ดียิ่งขึ้น

3. ต้องสร้างความเข้าใจให้ผู้รับผิดชอบการจัดกิจกรรมพัฒนานักศึกษา โดยเฉพาะโครงการส่งเสริมคุณลักษณะบัณฑิตตามมาตรฐานการเรียนรู้ 5 ด้าน เพ่ือให้สามารถก าหนดวัตถุประสงค์ของแผนการจัดกิจกรรม รวมถึงโครงการ/กิจกรรม ที่สามารถวัดและประเมินผลได้ และประเมินผลความส าเร็จตามวัตถุประสงค์ของแผนและโครงการ/กิจกรรม เพ่ือน า ผลการประเมินไปปรับปรุงแผนพัฒนานักศึกษาและโครงการ/กิจกรรมต่อไป

4. ต้องจัดกิจกรรมให้ความรู้และทักษะการประกันคุณภาพแก่นักศึกษาทุกคนในคณะ โดยเน้นการน าความรู้ไปใช้ในการท ากิจกรรมและทักษะการใช้ชีวิตประจ าวันของนักศึกษา

5. ต้องมีคู่มืออาจารย์ที่ปรึกษา และพัฒนาระบบอาจารย์ที่ปรึกษา โดยก าหนดหน้าที่ความรับผิดชอบของอาจารย์ที่ปรึกษาในการให้ค าปรึกษาวิชาการ การใช้ชีวิตนักศึกษา และจัดให้มีการประเมินระบบการให้ค าปรึกษา เพ่ือน าผลการประเมินไปปรับปรุงการให้บริการอย่างสม่ าเสมอ

Page 20: ประวัติ ผลงาน และแนวทางการ ......1 ประว ต และผลงาน ข อม ลส วนต ว ช อ-สก ล นายส

17

ด้านการวิจัย

ในด้านการวิจัย คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมีจุดแข็งที่มีคณาจารย์ที่มีคุณวุฒิระดับปริญญาเอกจ านวนสูง ถึงร้อยละ 41 ซึ่งสูงกว่ามาตรฐานการได้รับการยอมรับ และคณาจารย์ส่วนใหญ่มีอายุ เฉลี่ย 35-40 ปี ซึ่งไม่สูงนักจึงยังคงมีความกระตือรือร้น และทุ่มเทเวลาให้กับการทางานอย่างเต็มที่ อย่างไรก็ดีปริมาณผลงาน วิจัยที่ได้รับเผยแพร่ยังคงมีจ านวนน้อยอยู่ ทั้งนี้อาจจะเนื่องด้วยคณาจารย์มีภาระงานสอนมาก มีประสบการณ์ในการท างานวิจัยน้อย ดังนั้น คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจึงต้องมุ่งเน้นให้มีระบบนักวิจัยพ่ีเลี้ยง เพ่ือส่งเสริมให้คณาจารย์ได้ท างานวิจัยอย่างเป็นระบบ และมีผลงานเพ่ิมขึ้น อีกทั้งควรมุ่งเน้นให้มีการสร้างความร่วมมือกับภาคอุตสาหกรรม วิสาหกิจชุมชน และองค์กรภายนอก เพ่ือรับโจทย์งานวิจัย และรับการสนับสนุนทางด้านทุนวิจัย และต้องมีระบบสารสนเทศที่สามารถใช้ในการบริหารงานวิจัย ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยมีแนวทางในการด าเนินงานดังต่อไปนี้

1. ต้องก าหนดทิศทางความเข้มแข็งด้านวิจัยของคณะให้สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ที่และบริหารจัดการให้คณาจารย์ด าเนินการวิจัยไปในทิศทางท่ีก าหนด

2. ต้องจัดสรรเงินสนับสนุนการท าวิจัยนอกเหนือจากเงินสนับสนุนของมหาวิทยาลัย และอาจมีระบบนักวิจัยพ่ีเลี้ยง เพ่ือสร้างนักวิจัยรุ่นใหม่ และส่งเสริมให้นักวิจัยรุ่นเก่าสร้างผลงานวิจัยอย่างต่อเนื่อง

3. ต้องสร้างระบบสารสนเทศที่คณะใช้ในการบริหารงานวิจัย ว่าสารสนเทศที่ใช้สามารถน าไปบริหารงานวิจัยได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ด้านการบริการวิชาการ

ในด้านการบริการวิชาการ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยียังมีงานบริการวิชาการที่ยังไม่ตอบโจทย์การพัฒนาท้องถิ่นอย่างยังยืน รวมทั้งยังขาดการบูรณาการการบริการวิชาการ กับการเรียนการสอนและการวิจัย รวมทั้งงานบริการวิชาการที่ก่อให้เกิดรายได้ยังมีน้อย ดังนั้น คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีต้องมีแนวทางในการด าเนินงานดังต่อไปนี้

1. จัดท าแผนการบริการวิชาการ ให้สอดคล้องกับวิสัยทัศน์คณะ แผนยุทธศาสตร์การบริการวิชาการของมหาวิทยาลัย และความต้องการของชุมชนจนท าให้ชุมชนเข้มแข็งและพัฒนาอย่างยั่งยืนบนฐานเศรษฐกิจพอเพียง

2. จัดท าแผนการใช้ประโยชน์จากการบริการวิชาการในการพัฒนานักศึกษาให้ชัดเจน 3. เพ่ิมรูปแบบของงานบริการวิชาการท่ีก่อให้เกิดรายได้ของคณะฯ อย่างมีประสิทธิภาพ

Page 21: ประวัติ ผลงาน และแนวทางการ ......1 ประว ต และผลงาน ข อม ลส วนต ว ช อ-สก ล นายส

18

ด้านการท านุบ ารุงศิลปะและวัฒนธรรม

ในด้านการท านุบ ารุงศิลปะและวัฒนธรรม คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมีกิจกรรมและโครงการด้านการท านุบ ารุงศิลปะและวัฒนธรรมหลายโครงการแต่ขาดการบูรณาการกับการเรียนการสอน รวมทั้งการสร้างจิตส านึกอย่างยั่งยืนกับตัวนักศึกษา ดังนั้น คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มีแนวทางในการด าเนินงานดังต่อไปนี้

1. จัดท าแผนและวิเคราะห์แผนการท านุบ ารุงศิลปะและวัฒนธรรม ว่ามีการก าหนดตัวชี้วัดความส าเร็จ ตามวัตถุประสงค์ของแผน และมีโครงการ/กิจกรรมที่สอดคล้องกับบริบทของคณะ

2. เพ่ิมกิจกรรมที่ส่งเสริมให้เกิดวัฒนธรรมที่ดีงามและสอดคล้องกับบริบทของคณะ 3. พัฒนาระบบสารสนเทศส าหรับข้อมูลด้านการด าเนินกิจกรรมการท านุบ ารุงศิลปะและ

วัฒนธรรมของคณะ เพ่ือสร้างเครือข่ายในงานท่ีเกี่ยวข้องกับองค์กรภายนอก

พัฒนามหาวิทยาลัยให้เป็นมหาวิทยาลัยชั้นน าของประเทศ ในการผลิตและพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา

การพัฒนามหาวิทยาลัยให้เป็นมหาวิทยาลัยชั้นน าระดับประเทศในการผลิตและพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษานั้นต้องด าเนินการให้สอดคล้องกับนโยบายของประเทศ และแผนยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัย โดยต้องมุ่งเน้นให้บัณฑิตสายครูวิทยาศาสตร์ที่ผลิตออกไปมีความโดดเด่นและเป็นเอกลักษณ์ของมหาวิทยาลัย มีทักษะทางภาษาอังกฤษที่สามารถสอนรายวิชาทางวิทยาศาสตร์ในโรงเรียนเป็นภาษาอังกฤษได้ซึ่งจะเพ่ิมโอกาสในการท างานให้กับบัณฑิต รวมถึงการสามารถจัดการเรียนการสอนตามแนวทางสะเต็มศึกษาได้ โดยมีเป้าหมายคือ การผลิตและพัฒนาครู ให้ตอบโจทย์ประเทศ คือ Smart Teacher ดังนั้น คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจึงต้องเร่งด าเนินการปฏิรูปการเรียนรู้ให้กับนักศึกษาครู 4.0 อย่างเป็นรูปธรรม ที่ส าคัญได้แก่ การพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษ การส่งเสริมการจัดการเรียนการสอน วิชาคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ โดยใช้แนวทางของสะเต็มศึกษา (STEM Education) และการพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ เพ่ือวิเคราะห์ถึงเนื้อหาและความสอดคล้องและความสัมพันธ์เพ่ือน าไปสู่การประยุกต์ใช้แก้ปัญหาในชีวิตประจ าวันได้โดยใช้กลยุทธ์ดังต่อไปนี้

นโยบายที่ 2

Page 22: ประวัติ ผลงาน และแนวทางการ ......1 ประว ต และผลงาน ข อม ลส วนต ว ช อ-สก ล นายส

19

กลยุทธ์ที่ 1 การผลิตและพัฒนาครู ให้ตอบโจทย์ประเทศ คือ Smart Teacher

แนวทางในการด าเนินงาน

1. สร้างระบบกลไกการรับนักศึกษา ที่เปิดโอกาสให้ผู้ที่รักในวิชาชีพครู และเก่งวิชาการ มีโอกาสเข้ามาเรียนในหลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต ทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่มากขึ้น

2. พัฒนาอาจารย์ต้นแบบ (ครูของครู) ให้มีความเป็นมืออาชีพในการผลิตบัณฑิตครูของคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

3. สร้างเครือข่ายกับโรงเรียนสาธิตให้เป็นต้นแบบในการแหล่งฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูที่มีคุณภาพ และน าร่องนวัตกรรมทางการศึกษาท่ีผลิตขึ้น

4. ริเริ่มให้มีการโครงการผลิตบัณฑิตสายครูวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยี ที่มีความรู้ความสามารถ และทักษะทางภาษาอังกฤษอย่างต่อเนื่องและเป็นรูปธรรม เพ่ือให้บัณฑิตที่จบมีโอกาสทางตลาดงานที่เพ่ิมข้ึน

5. สร้างความรู้ความเข้าใจการจัดการเรียนการสอนตามแนวทางสะเต็มศึกษา (STEM education) ให้กับนักศึกษาครูของคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สามารถจัดการเรียนการสอนในโรงเรียนได้

6. พัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพ่ือเป็นแหล่งรวบรวมองค์ความรู้และข้อมูล ให้มีระบบการชี้แนะและให้ค าปรึกษาให้นักศึกษาครูที่เพ่ิงส าเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยไปสู่โรงเรียน เพ่ือความส าเร็จในการเป็นครูได้อย่างมีคุณภาพอย่างต่อเนื่องต่อไป

7. พัฒนาศูนย์พัฒนาความเป็นเลิศในการผลิตครูวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยี เพ่ือผลิตครูวิทยาศาสตร์ที่ดีของประเทศ

8. ประสานองค์ปกครองส่วนท้องถิ่นเกี่ยวกับการผลิตครูวิทยาศาสตร์ให้โรงเรียนเรียนสังกั ด อบต. เทศบาล โดยหน่วยงานท้องถิ่นต้องสนับสนุนทุนการศึกษาให้นักเรียนในพ้ืนที่

9. จัดท าโครงการเตรียมความพร้อมให้แก่บัณฑิตสายครูเพ่ือให้สอบบรรจุได้

Page 23: ประวัติ ผลงาน และแนวทางการ ......1 ประว ต และผลงาน ข อม ลส วนต ว ช อ-สก ล นายส

20

กลยุทธ์ที่ 2 การพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาในพื้นที่

แนวทางในการด าเนินงาน

1. จัดท าแผนพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาที่เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยี

2. พัฒนาศูนย์สะเต็มศึกษาเพ่ือเป็นแหล่งถ่ายทอดความรู้และนวัตกรรมทางการศึกษาตามแนวทางการเรียนรู้สะเต็มศึกษา (STEM education) และทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 เพ่ืออบรมและถ่ายทอดให้กับครูและบุคลากรทางการศึกษา

3. จัดตั้ง “คลินิกครูวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยี” เพ่ือเป็นแหล่งให้ค าปรึกษา สร้างเครือข่ายทางการศึกษา ตลอดจนติดตามและประเมินผลการพัฒนาครูอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง

พัฒนาพื้นที่ของมหาวิทยาลัยทั้ง 4 แห่งให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการจัดการศึกษา

จากผลการศึกษาแนวทางการใช้พ้ืนที่ของมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ตามที่คณะกรรมการศึกษาแนวทางการใช้พ้ืนที่ของมหาวิทยาลัยราชภัฏ ได้ก าหนดไว้ เพ่ือให้เกิดประโยชน์สูงสุดต้องด าเนินการโดยมีกลยุทธ์และแนวทางในการด าเนินงานดังต่อไปนี้

กลยุทธ์ที่ 1 การพัฒนาพื้นที่คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี พื้นที่เวียงบัวให้เป็นแหล่งหารายได้

แนวทางในการด าเนินงาน

1. จัดตั้งศูนย์วิทยาศาสตร์ให้เป็น “ศูนย์บริการวิชาการทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี” ด าเนินงานตรวจวิเคราะห์ทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนและมาตรฐานด้านต่างๆ ที่ครบวงจร เพ่ือเป็นหน่วยงานที่บริการชุมชนและเป็นหน่วยงานที่สามารถสร้างรายได้ให้แก่คณะและมหาวิทยาลัย

2. จัดตั้งหน่วยวิเทศน์สัมพันธ์เพ่ือด าเนินงานหลักในการประสานงานร่วมกับองค์กรในท้องถิ่น ทั้งภาครัฐและเอกชนเพื่อแสวงหาความร่วมมือในทางวิชาการและบริการวิชาการที่ก่อให้เกิดรายได้

3. จัดท าหลักสูตรอบรมระยะสั้นที่สามารถแก้ปัญหาของท้องถิ่นและพัฒนาท้องถิ่นหรือตาม ความต้องการของท้องถิ่น รวมทั้งหลักสูตรเพ่ือพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา อย่างเป็นระบบ เช่น หลักสูตรทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ การดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ ค่าย

นโยบายที่ 3

Page 24: ประวัติ ผลงาน และแนวทางการ ......1 ประว ต และผลงาน ข อม ลส วนต ว ช อ-สก ล นายส

21

วิทยาศาสตร์ส าหรับนักเรียน หลักสูตรทางด้านสิ่งแวดล้อม หลักสูตรส าหรับกลุ่มวิสาหกิจชุมชน (Start Up) เช่น ทางด้านออกแบบผลิตภัณฑ์ เป็นต้น

4. พัฒนาศูนย์สะเต็มศึกษา ให้เข้มแข็งจนมีชื่อเสียง ผ่านการอบรม ท ากิจกรรม ร่วมกันอย่างต่อเนื่องรวมทั้งท าให้เกิดห้องปฏิบัติการ STEM ส าหรับผลิตนวัตกรรมเพ่ือการเรียนรู้ตามแนวคิด STEM บนพื้นฐานทรัพยากร ภูมิปัญญา ศิลปะ วัฒนธรรม ความต้องการของท้องถิ่นจนน าไปสู่การจดสิทธิบัตรและเชิงธุรกิจ

5. ร่วมกับโรงเรียนสาธิตพัฒนาห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ส่วนหนึ่งของศูนย์วิทยาศาสตร์ให้เป็นห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ส าหรับนักเรียนโรงเรียนสาธิต เพ่ือให้โรงเรียนสาธิตมีความโดดเด่นในการจัดการเรียนการสอนทางวิทยาศาสตร์ด้วยห้องปฏิบัติการที่ทันสมัยบนแนวทางสะเต็มศึกษาเต็มรูปแบบ

กลยุทธ์ที่ 2 การพัฒนาคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในพื้นที่ศูนย์แม่ริม

ในส่วนของพ้ืนที่ศูนย์แม่ริม คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มีโครงการที่ก าลังด าเนินการก่อสร้างและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ทั้งในส่วนของ กลุ่มอาคารเรียนรวมและบริหารกลางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี วงเงิน 315,104,000 บาท และ กลุ่มอาคารอ านวยการและบริหารกลางของมหาวิทยาลัยวงเงิน 353,000,000 บาท ซึ่งตามแผนที่คณะกรรมการฯ ศึกษาไว้คณะวิทยาสาสตร์และเทคโนโลยีจะต้องย้ายไปจัดการเรียนการสอนอย่างเต็มรูปแบบในปี พ.ศ. 2562 ดังนั้น เพ่ือให้การด าเนินการพัฒนาพ้ืนที่ศูนย์แม่ริมส่วนที่คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพ่ือให้เกิดประโยชน์สูงสุดต้องด าเนินการตามแนวทางดังต่อไปนี้

แนวทางในการด าเนินงาน 1. จัดตั้งคณะกรรมการท างานจากทุกฝ่ายในคณะฯ เพื่อ จัดท าแผนการเคลื่อนย้าย และแผนการ

ด าเนินงาน (Road Map) ให้เป็นรูปธรรมทุกขั้นตอน เช่น ระบบโครงสร้างพ้ืนฐานห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ ด้านวิชาการ ด้านการบริหารงานบุคคล เป็นต้น

2. พิจารณาจัดตั้งงบประมาณรองรับการด าเนินงานเพ่ือให้เป็นไปตามแผนอย่างชัดเจน 3. ปรับปรุงโครงสร้างองค์กรและหน่วยงานในการบริหารงานให้มีความเหมาะสมและสอดคล้อง

กับแผนการด าเนินงานที่จะย้ายไปพ้ืนที่ศูนย์แม่ริม 4. สร้างความเข้าใจกับประชาคมทั้งภายในและภายนอกคณะฯ อย่างต่อเนื่องและกว้างขวางเพ่ือ

จะได้มีความเข้าใจตรงกันในการด าเนินพัฒนาพ้ืนที่ศูนย์แม่ริม 5. พัฒนาพ้ืนที่ศูนย์แม่ริมให้เป็นพ้ืนที่ อุทยานการศึกษาธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมด าเนินการ

ภารกิจหลักเกี่ยวกับ พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยาและสิ่งแวดล้อม ค่ายการศึกษาธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และเส้นทางศึกษาธรรมชาติ

Page 25: ประวัติ ผลงาน และแนวทางการ ......1 ประว ต และผลงาน ข อม ลส วนต ว ช อ-สก ล นายส

22

การบริหารงานของคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

การบริหารงานของคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีต้องสอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ระยะ 5 ปี (พ.ศ.2559–2563) ฉบับปรับปรุง ปี 2559 โดยคณะฯ ต้องน ารูปแบบการท างานแบบ PDCA มาใช้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนของการวางแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาในด้านต่าง ๆ ให้เด่นชัดและเป็นรูปธรรมมากนัก ซึ่งจะท าให้ท ามีข้อมูลและด าเนินการกิจกรรม โครงการต่างๆ และสามารถด าเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งสามารถน าข้อมูลไปวิเคราะห์ เช่น ข้อมูลทางการเงินที่มีอยู่ไปวิเคราะห์ความคุ้มค่า คุ้มทุน ของการบริหารหลักสูตร รวมถึงมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการผลิตบัณฑิตและโอกาสในการแข่งขัน ดังนั้น คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ต้องจัดท าแผนแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาในด้านต่าง ๆ ให้ครบถ้วน และด าเนินกิจกรรมโดยใช้รูปแบบการท างานแบบ PDCA มาใช้อย่างเป็นรูปธรรมท าเพ่ือให้เกิดการทบทวนปรับปรุงและพัฒนาการบริหารจัดการคณะได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งมีความสอดคล้องในระดับยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัยและกลยุทธ์ดังตารางต่อไปนี้

ประเด็นที่ 2

Page 26: ประวัติ ผลงาน และแนวทางการ ......1 ประว ต และผลงาน ข อม ลส วนต ว ช อ-สก ล นายส

23

ยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย ยุทธศาสตร์คณะฯ กลยุทธ์/แนวทางในการด าเนินงาน ยุทธศาสตร์ที่ 1 พัฒนามหาวิทยาลัยให้เป็นมหาวิทยาลัยชั้นน าระดับประเทศในการผลิตและพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา

ยุทธศาสตร์ที่ 1 ผลิตและพัฒนาครู รวมทั้งบุคลากรทางการศึกษา เสริมสร้างความเข้มแข็งของวิชาชีพครูและบุคลากรทางการศึกษาให้มีคุณภาพมีมาตรฐานที่เหมาะสมกับการเป็นวิชาชีพชั้นสูง (Smart Teacher)

กลยุทธ์ที่ 1 การผลิตและพัฒนาครู ให้ตอบโจทย์ประเทศ คือ Smart Teacher

แนวทางในการด าเนินงาน

1. สร้างระบบกลไกการรับนักศึกษา ที่เปิดโอกาสให้ผู้ที่รักในวิชาชีพครูและเก่งวิชาการ มีโอกาสเข้ามาเรียนในหลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต ทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่มากข้ึน

2. พัฒนาอาจารย์ต้นแบบ (ครูของครู) ให้มีความเป็นมืออาชีพในการผลิตบัณฑิตครูของคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

3. สร้างเครือข่ายกับโรงเรียนสาธิตให้เป็นต้นแบบในการแหล่งฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูที่มีคุณภาพ และน าร่องนวัตกรรมทางการศึกษาที่ผลิตขึ้น

4. ริเริ่มให้มีการโครงการผลิตบัณฑิตสายครูวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยี ที่มีความรู้ความสามารถ และทักษะทางภาษาอังกฤษอย่างต่อเนื่องและเป็นรูปธรรม เพ่ือให้บัณฑิตที่จบมีโอกาสทางตลาดงานที่เพ่ิมข้ึน

5. สร้างความรู้ความเข้าใจการจัดการเรียนการสอนตามแนวทางสะเต็มศึกษา (STEM education) ให้กับนักศึกษาครูของคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สามารถจัดการเรียนการสอนในโรงเรียนได้

23

Page 27: ประวัติ ผลงาน และแนวทางการ ......1 ประว ต และผลงาน ข อม ลส วนต ว ช อ-สก ล นายส

24

ยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย ยุทธศาสตร์คณะฯ กลยุทธ์/แนวทางในการด าเนินงาน 6. พัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพ่ือเป็นแหล่งรวบรวมองค์ความรู้และ

ข้อมูล ให้มีระบบการชี้แนะและให้ค าปรึกษาให้นักศึกษาครูที่เพ่ิงส าเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยไปสู่โรงเรียน เพื่อความส าเร็จในการเป็นครูได้อย่างมีคุณภาพอย่างต่อเนื่องต่อไป

7. พัฒนาศูนย์พัฒนาความเป็นเลิศการผลิตครูวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี-คณะต้องผลิตครูวิทยาศาสตร์ที่ดีในประเทศให้ได้ โดยใช้ศูนย์แม่ริมจะเป็นห้องปฏิบัติการธรรมชาติที่ใหญ่ที่สุดส าหรับครูวิทยาศาสตร์ ประสานองค์ปกครองส่วนท้องถิ่นเก่ียวกับการผลิตครูวิทยาศาสตร์ให้โรงเรียนเรียนสังกัด อบต. เทศบาล โดยหน่วยงานท้องถิ่นต้องสนับสนุนทุนการศึกษาให้นักเรียนในพ้ืนที่

8. จัดท าโครงการเตรียมความพร้อมให้แก่บัณฑิตสายครูเพ่ือให้สอบบรรจุได้

กลยุทธ์ที่ 2 การพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาในพื้นที่

แนวทางในการด าเนินงาน

1. จัดท าแผนพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาที่เก่ียวข้องกับวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยี

24

Page 28: ประวัติ ผลงาน และแนวทางการ ......1 ประว ต และผลงาน ข อม ลส วนต ว ช อ-สก ล นายส

25

ยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย ยุทธศาสตร์คณะฯ กลยุทธ์/แนวทางในการด าเนินงาน 2. พัฒนาศูนย์สะเต็มศึกษาเพ่ือเป็นแหล่งถ่ายทอดความรู้และนวัตกรรมทาง

การศึกษาตามแนวทางการเรียนรู้ตามแนวทางสะเต็มศึกษา (STEM education) และทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 เพ่ืออบรมและถ่ายทอดให้กับครูและบุคลากรทางการศึกษา

3. จัดตั้ง “คลินิกครูวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยี” เพ่ือเป็นแหล่งให้ค าปรึกษา สร้างเครือข่ายทางการศึกษา ตลอดจนติดตามและประเมินผลการพัฒนาครูอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง

ยุทธศาสตร์ที่ 2 ผลิตบัณฑิตและสร้างโอกาสทางการศึกษา ให้มีคุณภาพและมาตรฐานวิชาชีพ

ยุทธศาสตร์ที่ 2 ผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพตามมาตรฐานคุณวุฒิอุดมศึกษาแห่งชาติและมาตรฐานวิชาชีพโดยการพัฒนาหลักสูตรให้มีความโดดเด่นทันต่อการเปลี่ยนแปลงและตอบสนองต่อความต้องการของสังคม และการพัฒนาประเทศชาติ

กลยุทธ์ที่ 1 แสวงหานักศึกษา

แนวทางในการด าเนินงาน

1. วิเคราะห์ปัญหาสถานการณ์การรับนักศึกษา และวางแผนกลยุทธ์ในการรับนักศึกษา

2. การจัดท าโครงการ Road show เพ่ือประชาสัมพันธ์หลักสูตร ศักยภาพ จุดเด่นของคณะ และความส าเร็จของศิษย์เก่าให้นักเรียนโรงเรียนต่างๆ

3. จัดกิจกรรมเยี่ยมชมคณะ และภาควิชา (Open House) เพ่ือประชาสัมพันธ์ให้กับนักเรียน ผู้ปกครอง ผู้บริหารและครูแนะแนว รวมถึงจัดแข่งขันทางวิชาการของนักเรียนในสัปดาห์วันวิทยาศาสตร์

4. แสวงหาแหล่งทุนการศึกษาจากหน่วยงานภายนอกต่างๆ เพ่ือเป็นสิ่งดึงดูดใจให้ตัดสินใจเลือกเรียน

25

Page 29: ประวัติ ผลงาน และแนวทางการ ......1 ประว ต และผลงาน ข อม ลส วนต ว ช อ-สก ล นายส

26

ยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย ยุทธศาสตร์คณะฯ กลยุทธ์/แนวทางในการด าเนินงาน

กลยุทธ์ที่ 2 กระบวนการรับนักศึกษา

แนวทางในการด าเนินงาน

1. พัฒนารูปแบบของการรับนักศึกษาโควตาให้มีความหลากหลายมากขึ้น เช่น จัดท าข้อตกลงกับโรงเรียนในเขตพ้ืนที่ เพ่ือให้โควตานักเรียนเรียนดี มีทักษะทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มาเป็นนักศึกษาของมหาวิทยาลัย ราชภัฏเชียงใหม่ ทันทีเมื่อส าเร็จการศึกษา

กลยุทธ์ที่ 3 การเตรียมความพร้อมนักศึกษาก่อนเรียน

แนวทางในการด าเนินงาน

1. สนับสนุนให้ภาควิชา จัดท าโครงการเตรียมความพร้อม ด้านวิชาการ เช่น ทักษะด้านภาษา ทักษะวิทยาศาสตร์พื้นฐาน คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยีสารสนเทศ ให้แก่นักศึกษาที่จะเข้าเรียน ตามความต้องการของนักศึกษาและความจ าเป็นส าหรับแต่ละสาขาวิชา

2. จัดท าโครงการเตรียมความพร้อม ด้านทักษะการใช้ชีวิตในรั้วมหาวิทยาลัย เพ่ือให้นักศึกษาใช้ชีวิตในรั้วมหาวิทยาลัยได้อย่างมีความสุข

26

Page 30: ประวัติ ผลงาน และแนวทางการ ......1 ประว ต และผลงาน ข อม ลส วนต ว ช อ-สก ล นายส

27

ยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย ยุทธศาสตร์คณะฯ กลยุทธ์/แนวทางในการด าเนินงาน

กลยุทธ์ที่ 4 การพัฒนานักศึกษาระหว่างเรียน

แนวทางในการด าเนินงาน

1. จัดท าแผนพัฒนาคุณภาพบัณฑิตของคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ให้มีคุณภาพอย่างเป็นรูปธรรมทั้งวิชาการและวิชาชีพ

2. มีโครงการพัฒนานักศึกษาที่ส่งเสริมให้มีคุณลักษณะของบัณฑิตที่พึงประสงค์ 3. ก าหนดให้มีกระบวนการดูแลนักศึกษาอย่างเป็นระบบตลอดหลักสูตร ผ่าน

ระบบอาจารย์ที่ปรึกษา โดยเน้นให้มีการดูแล/ให้ค าปรึกษาแก่นักศึกษา เสมือนเป็นลูกหลาน เพ่ือลดจ านวนนักศึกษาที่พ้นสภาพ

4. ส่งเสริมให้แต่ละภาควิชามีการพัฒนาการเรียนการสอน ให้สอดคล้องกับทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษท่ี 21

5. ส่งเสริมให้แต่ละภาควิชาสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ ให้มีความทันสมัย พร้อมใช้งาน

6. ส่งเสริม สนับสนุนให้จัดกิจกรรมนอกหลักสูตรเพื่อเพ่ิม ทักษะการใช้ชีวิต ทักษะการคิด ทักษะการท างาน ทักษะสังคม รวมถึงการปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรมให้แก่นักศึกษาอย่างต่อเนื่อง

27

Page 31: ประวัติ ผลงาน และแนวทางการ ......1 ประว ต และผลงาน ข อม ลส วนต ว ช อ-สก ล นายส

28

ยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย ยุทธศาสตร์คณะฯ กลยุทธ์/แนวทางในการด าเนินงาน 7. จัดกิจกรรมเสริมหลักสูตร เพ่ือพัฒนาทักษะด้านต่างๆ เพ่ิมเติม ให้แก่

นักศึกษาระหว่างเรียน เช่น ทักษะด้านภาษา และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ

8. จัดตั้ง “คลินิกให้ค าปรึกษา” แก่นักศึกษา เกี่ยวกับการเรียน การใช้ชีวิตในรั้วมหาวิทยาลัย

9. ยกระดับกิจกรรมวันวิทยาศาสตร์ให้เป็นเวทีเพ่ือแข่งขันทักษะทางวิชาการของนักศึกษาแต่ละหลักสูตร และสามารถแข่งขันกับสถาบันอุดมศึกษาอ่ืนได้

10. ปรับปรุงสภาพทางกายภาพ และพ้ืนที่การเรียนรู้ส าหรับนักศึกษา เพ่ือสร้างบรรยากาศในการเรียนรู้ให้เกิดขึ้นในคณะ เช่น การปรับพ้ืนที่ให้เป็น Learning Space

11. พัฒนาแนวทางการจัดหาแหล่งทุนการศึกษา เพ่ือช่วยเหลือนักศึกษาจากองค์กรภายนอกและศิษย์เก่า

12. ส่งเสริมวัฒนธรรมด้านความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการ ให้เป็นหนึ่งในลักษณะของบัณฑิตท่ีพึงประสงค์

13. ยกย่องนักศึกษาที่ท าคุณประโยชน์/ชื่อเสียง ให้คณะ มีการประชาสัมพันธ์รับทราบในวงกว้าง

28

Page 32: ประวัติ ผลงาน และแนวทางการ ......1 ประว ต และผลงาน ข อม ลส วนต ว ช อ-สก ล นายส

29

ยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย ยุทธศาสตร์คณะฯ กลยุทธ์/แนวทางในการด าเนินงาน

กลยุทธ์ที่ 5 การพัฒนาทักษะความสามารถทางภาษาและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ

แนวทางในการด าเนินงาน

1. สนับสนุนให้มีการจัดท าโครงการระยะยาวเพ่ือพัฒนาความรู้ ความสามารถและทักษะทางภาษาอังกฤษและเทคโนโลยีสารสนเทศให้แก่นักศึกษาของคณะอย่างต่อเนื่องและเป็นรูปธรรม เพ่ือรองรับ ASEAN และเป็นการเปิดโอกาสในการหางานท าของนักศึกษาเม่ือส าเร็จการศึกษา

กลยุทธ์ที่ 6 การเตรียมความพร้อมนักศึกษาก่อนจบการศึกษา

แนวทางในการด าเนินงาน

1. จัดท าโครงการเตรียมความพร้อมส าหรับการสมัครงานให้แก่บัณฑิตที่ส าเร็จการศึกษา

2. จัดท าโครงการเตรียมความพร้อมด้านทักษะชีวิตนอกรั้วมหาวิทยาลัย เพ่ือให้บัณฑิตมีทักษะการใช้ชีวิตในชุมชนได้อย่างมีความสุข

29

Page 33: ประวัติ ผลงาน และแนวทางการ ......1 ประว ต และผลงาน ข อม ลส วนต ว ช อ-สก ล นายส

30

ยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย ยุทธศาสตร์คณะฯ กลยุทธ์/แนวทางในการด าเนินงาน

กลยุทธ์ที่ 7 การปรับปรุงและพัฒนาหลักสูตร

แนวทางในการด าเนินงาน

1. ส่งเสริมให้หลักสูตรแต่ละหลักสูตรมีการพัฒนาเพ่ือสร้างเอกลักษณ์ที่โดดเด่นเฉพาะตัวของหลักสูตร เพ่ือให้ได้บัณฑิตท่ีมีเอกลักษณ์ สามารถตอบสนองความต้องการของชุมชนและประเทศต่อไป

2. ส่งเสริมให้มีการพัฒนาหลักสูตรใหม่ ที่มีลักษณะเป็นหลักสูตรบูรณาการ เพ่ือตอบสนองความต้องการของท้องถิ่น

3. ก าหนดให้ทุกภาควิชา ติดตามการมีงานท าของบัณฑิต ตลอดจนความพึงพอใจของผู้ใช้บัณฑิตอย่างต่อเนื่องเพ่ือประกอบการพัฒนาหลักสูตรอย่างมีเป้าหมายและทิศทาง

4. ทบทวนผลการประเมินหลักสูตรเพื่อปรับปรุงและพัฒนาคุณภาพของนักศึกษาอย่างต่อเนื่องทุกปี

30

Page 34: ประวัติ ผลงาน และแนวทางการ ......1 ประว ต และผลงาน ข อม ลส วนต ว ช อ-สก ล นายส

31

ยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย ยุทธศาสตร์คณะฯ กลยุทธ์/แนวทางในการด าเนินงาน ยุทธศาสตร์ที่ 3 พัฒนางานวิจัยและการบริการวิชาการ เพ่ือน าไปใช้ประโยชน์ในการเรียนการสอนตลอดจนส่งเสริมและสืบสานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชด าริ เพ่ือการพัฒนาท้องถิ่นอย่างยั่งยืน

ยุทธศาสตร์ที่ 3 ผลิตงานวิจัย นวัตกรรม และเทคโนโลยีที่ความเหมาะสมกับการพัฒนาท้องถิ่น โดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นร่วมกับองค์ความรู้สากล

กลยุทธ์ที่ 1 การพัฒนาโครงร่างงานวิจัย

แนวทางในการด าเนินงาน

1. จัดท าพัฒนาฐานข้อมูลต่างๆ ที่สนับสนุนนักวิจัยเพ่ือเตรียมความพร้อมในการพัฒนาโครงร่างงานวิจัย เช่น ฐานข้อมูลแหล่งทุน ฐานข้อมูลขั้นตอนและวิธีการเขียนโครงร่าง

2. งานวิจัย รวมถึงความต้องการของแหล่งทุนต่างๆ ที่เก่ียวข้องกับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

3. จัดท าฐานข้อมูลการวิจัยของคณาจารย์ในคณะ ทั้งในปัจจุบันและในอดีต เพ่ือน ามาเป็นข้อมูล ในการจัดท าแผนการส่งเสริมการวิจัยระดับคณะ ซึ่งจะเป็นการก าหนดทิศทางการพัฒนาการวิจัย ที่ตอบสนองยุทธศาสตร์ของคณะ มหาวิทยาลัย และประเทศ อันจะน าไปสู่การแก้ปัญหาของท้องถิ่น รวมถึงการพัฒนาคุณภาพชีวิตและการพัฒนาท้องถิ่นอย่างแท้จริง

4. วิเคราะห์ช่วงอายุของคณาจารย์ที่มี/ไม่มี ผลงานวิจัย ผลงานวิชาการ เพื่อใช้ประกอบการส่งเสริม และสนับสนุนให้บุคลากรของคณะ ได้มีงานวิจัยที่กระจายตัวอย่างทั่วถึงในทุกๆ ศาสตร์ของคณะ

5. แสวงหาโจทย์วิจัยเชิงพ้ืนที่ โดยให้นักวิจัยได้สัมผัสกับปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นในท้องถิ่น เพื่อน ามาเป็นโจทย์วิจัยในการพัฒนาโครงร่างงานวิจัย

31

Page 35: ประวัติ ผลงาน และแนวทางการ ......1 ประว ต และผลงาน ข อม ลส วนต ว ช อ-สก ล นายส

32

ยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย ยุทธศาสตร์คณะฯ กลยุทธ์/แนวทางในการด าเนินงาน

6. จัดฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการการ เพื่อพัฒนาโครงร่างงานวิจัยให้นักวิจัยรุ่นใหม่ รวมถึงจัดประชุมเพ่ือให้นักวิจัยรุ่นใหม่ได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนประสบการณ์วิจัย กับนักวิจัยรุ่นพี่ผ่านระบบ “พ่ีเลี้ยงนักวิจัย” ทั้งนักวิจัยรุ่นใหม่ ที่เป็นสายวิชาการและสายสนับสนุน

7. ส่งเสริม และสนับสนุน ให้บุคลากรในคณะวิทยาศาสตร์ท าวิจัยให้มากข้ึน โดยให้ความส าคัญกับงานวิจัยที่พัฒนาการเรียนการสอน วิจัยสถาบันเพ่ือพัฒนามหาวิทยาลัย วิจัยเพื่อพัฒนาท้องถิ่น และการวิจัยประยุกต์เพ่ือให้ได้องค์ความรู้ใหม่

8. สนับสนุนให้มีการวิจัยในชั้นเรียนมากขึ้น เพ่ือเป็นประโยชน์ในการพัฒนาการเรียนการสอนที่ดีขึ้นอย่างเป็นระบบ

กลยุทธ์ที่ 2 การบริหารจัดการงานวิจัย

แนวทางในการด าเนินงาน

1. ส่งเสริมการท างานของสถานวิจัยคณะให้เข้มแข็ง เพ่ือจะเป็นหน่วยงานที่สามารถเป็นพี่เลี้ยงนักวิจัยรุ่นใหม่ ช่วยเหลือ สนับสนุน และเสริมสร้างบรรยากาศการท าวิจัยของคณาจารย์ในคณะ

32

Page 36: ประวัติ ผลงาน และแนวทางการ ......1 ประว ต และผลงาน ข อม ลส วนต ว ช อ-สก ล นายส

33

มหาวิทยาลัย คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กลยุทธ์/แนวทางในการด าเนินงาน

2. จัดเวทีสัมมนาวิจัย “Luncheon Research Seminar” สัปดาห์ ละ 1 ครั้งในช่วงเปิดภาคเรียน โดยแบ่งกลุ่มของงานวิจัยเป็น กลุ่มวิทยาศาสตร์ และกลุ่มเทคโนโลยี เพื่อส่งเสริมให้คณาจารย์นักวิจัยของคณะ ได้น าเสนอความก้าวหน้าของงานวิจัย (Working Process Papers) หรือผลงานวิจัยที่ได้ด าเนินการเสร็จสิ้นแล้ว ทั้งนี้เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยน และรับฟังข้อคิดเห็นต่างๆ อันจะเป็นประโยชน์ต่อการวิจัยต่อไป นอกจากนี้ยังสามารถเชิญนักวิจัยจากสถาบันต่างๆ มาน าเสนอผลงานวิจัยได้ด้วย เพื่อเป็นการเสริมสร้างบรรยากาศการวิจัยในคณะ

3. ยกย่องและให้รางวัลนักวิจัยที่มีผลงานวิจัยดีเด่น เป็นที่ยอมรับ 4. ส่งเสริม สนับสนุนให้มีการท าวิจัยที่ส่งเสริมและสืบสานโครงการอัน

เนื่องมาจากพระราชด าริ ทั้งงานวิจัยเดี่ยว และการวิจัยแบบชุดโครงการที่บูรณาการศาสตร์ต่างๆ ในการวิจัย

5. ส่งเสริม สนับสนุน การท าวิจัยที่สร้างองค์ความรู้ในแต่ละศาสตร์ เพื่อให้ผลงานวิจัยเป็นที่ยอมรับในวงการวิจัยระดับประเทศและระดับนานาชาติ

6. ส่งเสริม สนับสนุน การท าวิจัยแบบชุดโครงการที่มีการบูรณาการข้ามศาสตร์ ทั้งภายในและภายนอกคณะ เพื่อน าไปสู่การพัฒนาคุณภาพชีวิตและการแก้ไขปัญหาท้องถิ่นได้อย่างแท้จริง

33

Page 37: ประวัติ ผลงาน และแนวทางการ ......1 ประว ต และผลงาน ข อม ลส วนต ว ช อ-สก ล นายส

34

ยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย ยุทธศาสตร์คณะฯ กลยุทธ์/แนวทางในการด าเนินงาน

กลยุทธ์ที่ 3 การเผยแพร่ผลงานวิจัย

แนวทางในการด าเนินงาน

1. ส่งเสริม สนับสนุนการเผยแพร่ผลงานวิจัย โดยเฉพาะการเผลแพร่ในวารสารที่ได้รับมาตรฐานทางวิชาการท้ังในระดับชาติและนานาชาติ

2. ผลักดันให้วารสารวิชาการของมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ให้อยู่ในฐานข้อมูลด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการตีพิมพ์ผลงานของนักวิจัย ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของมหาวิทยาลัย

3. ส่งเสริมให้มีการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมและสิ่งประดิษฐ์เพ่ือการพัฒนาท้องถิ่นและสนับสนุนให้มีระบบการจดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญาหรืออนุสิทธิบัตรหรือลิขสิทธิ์จากผลงานวิจัย

กลยุทธ์ที่ 4 แสวงหาแหล่งทุนและสร้างเครือข่ายความร่วมมือ

แนวทางในการด าเนินงาน

1. พัฒนาความร่วมมือกับหน่วยงานที่ให้ทุนสนับสนุนการวิจัยในเครือข่ายขององค์กรบริหารงานวิจัยแห่งชาติ (คอบช) ส่งเสริมการพัฒนาข้อเสนอโครงการ การบริหารงานวิจัย การน าเสนอผลงานวิจัย และการตีพิมพ์ผลงานวิจัย

34

Page 38: ประวัติ ผลงาน และแนวทางการ ......1 ประว ต และผลงาน ข อม ลส วนต ว ช อ-สก ล นายส

35

ยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย ยุทธศาสตร์คณะฯ กลยุทธ์/แนวทางในการด าเนินงาน

2. จัดตั้งหน่วยวิเทศน์สัมพันธ์เพ่ือด าเนินงานหลักในการประสานงานร่วมกับองค์กรในท้องถิ่น ทั้งภาครัฐและเอกชนเพื่อแสวงหาความร่วมมือในทางวิชาการและบริการวิชาการท่ีก่อให้เกิดรายได้

3. แสวงหาแหล่งทุนสนับสนุนการวิจัยเพิ่มเติมจากองค์กรภายนอกให้มากขึ้นโดยเฉพาะแหล่งทุนที่มาจากการวิจัยร่วมกับภาคเอกชน พร้อมน าผลมาพัฒนาการจัดการเรียนการสอนที่สนับสนุนการมีงานท าของนักศึกษาทั้งระหว่างเรียน และภายหลังที่ส าเร็จการศึกษา

4. ส่งเสริมการท าวิจัยร่วมกับภาคธุรกิจ และองค์กรในท้องถิ่น โดยใช้ศักยภาพห้องปฏิบัติการของคณะเป็นแหล่งทดลอง และน าผลไปใช้จริงในสถานประกอบการ

5. ยกระดับงานวิจัยของนักศึกษา ให้ตอบสนองความต้องการของภาคธุรกิจ และหน่วยงานในท้องถิ่น

6. ส่งเสริมการท าวิจัยและสร้างความร่วมมือทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย กับองค์กรระดับชาติ ระดับภูมิภาคและระดับนานาชาติ

35

Page 39: ประวัติ ผลงาน และแนวทางการ ......1 ประว ต และผลงาน ข อม ลส วนต ว ช อ-สก ล นายส

36

ยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย ยุทธศาสตร์คณะฯ กลยุทธ์/แนวทางในการด าเนินงาน ยุทธศาสตร์ที่ 4 บริการวิชาการโดย

เน้นการสื่อสารทางวิทยาศาสตร์ให้เหมาะสมกับการด ารงชีวิตและการประกอบอาชีพของคนในท้องถิ่น รวมทั้งต้องการบูรณาการกับการเรียนการสอนและการวิจัยเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นอย่างยั่งยืนตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง

กลยุทธ์ที่ 1 การพัฒนาศักยภาพการบริการวิชาการ

แนวทางในการด าเนินงาน

1. จัดตั้งคณะกรรมการบริการวิชาการ ระดับคณะ เพ่ือด าเนินงานบริการวิชาการให้เป็นระบบและเป็นรูปธรรม

2. สังเคราะห์และสรุปผลงานวิจัยที่ผ่านมา เพื่อจัดท าเป็นเอกสารผลการวิจัยที่มีเนื้อหาง่ายต่อการเข้าถึง และสามารถน าองค์ความรู้ไปถ่ายทอดและประชาสัมพันธ์ให้กับท้องถิ่น หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ใช้ประโยชน์อย่างแท้จริง

3. จัดท าฐานข้อมูลหลักสูตรต่างๆ ที่ภาควิชา และศูนย์วิทยาศาสตร์ สามารถให้บริการวิชาการได้ เพ่ือน าไปประชาสัมพันธ์ให้กับบุคคลที่สนใจ หรือหน่วยงานที่ต้องการการบริการวิชาการต่างๆ ได้

4. จัดตั้งหน่วยวิเทศน์สัมพันธ์เพ่ือด าเนินงานหลักในการประสานงานร่วมกับองค์กรในท้องถิ่น ทั้งภาครัฐและเอกชนเพื่อแสวงหาความร่วมมือในทางวิชาการและบริการวิชาการท่ีก่อให้เกิดรายได้

5. ส่งเสริม สนับสนุนให้แต่ละภาควิชามีการบริการวิชาการที่ส่งเสริมการเรียนการสอน โดยให้นักศึกษาได้มีส่วนร่วมในการบริการวิชาการอย่างแท้จริง

36

Page 40: ประวัติ ผลงาน และแนวทางการ ......1 ประว ต และผลงาน ข อม ลส วนต ว ช อ-สก ล นายส

37

ยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย ยุทธศาสตร์คณะฯ กลยุทธ์/แนวทางในการด าเนินงาน

กลยุทธ์ที่ 2 การบริการวิชาการที่ก่อให้เกิดรายได้กับคณะ

แนวทางในการด าเนินงาน

1. จัดตั้งศูนย์วิทยาศาสตร์ให้เป็น “ศูนย์บริการวิชาการทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี” ด าเนินงานตรวจวิเคราะห์ทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนและมาตรฐานด้านต่างๆ ที่ครบวงจร เพ่ือเป็นหน่วยงานที่บริการชุมชนและเป็นหน่วยงานที่สามารถสร้างรายได้ให้แก่คณะและมหาวิทยาลัย

2. จัดตั้งหน่วยวิเทศน์สัมพันธ์เพ่ือด าเนินงานหลักในการประสานงานร่วมกับองค์กรในท้องถิ่น ทั้งภาครัฐและเอกชนเพื่อแสวงหาความร่วมมือในทางวิชาการและบริการวิชาการท่ีก่อให้เกิดรายได้

3. จัดท าหลักสูตรอบรมระยะสั้นที่สามารถแก้ปัญหาของท้องถิ่นและพัฒนาท้องถิ่นหรือตาม ความต้องการของท้องถิ่น รวมทั้งหลักสูตรเพ่ือพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา อย่างเป็นระบบ เช่น หลักสูตรทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ การดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ ค่ายวิทยาศาสตร์ส าหรับนักเรียน หลักสูตรทางด้านสิ่งแวดล้อม หลักสูตรส าหรับกลุ่มวิสาหกิจชุมชน (Start Up) เช่น ทางด้านออกแบบผลิตภัณฑ์ เป็นต้น

37

Page 41: ประวัติ ผลงาน และแนวทางการ ......1 ประว ต และผลงาน ข อม ลส วนต ว ช อ-สก ล นายส

38

ยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย ยุทธศาสตร์คณะฯ กลยุทธ์/แนวทางในการด าเนินงาน

4. พัฒนาศูนย์สะเต็มศึกษา ให้เข้มแข็งจนมีชื่อเสียง ผ่านการอบรม ท ากิจกรรม ร่วมกันอย่างต่อเนื่องรวมทั้งท าให้เกิดห้องปฏิบัติการ STEM ส าหรับผลิตนวัตกรรมเพ่ือการเรียนรู้ตามแนวคิด STEM บนพื้นฐานทรัพยากร ภูมิปัญญา ศิลปะ วัฒนธรรม ความต้องการของท้องถิ่นจนน าไปสู่การจดสิทธิบัตรและเชิงธุรกิจ

ยุทธศาสตร์ที่ 4 พัฒนามหาวิทยาลัยให้เป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ทางด้านภาษา ศิลปวัฒนธรรมและการท่องเที่ยว

ยุทธศาสตร์ที่ 5 ประยุกต์ใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในการส่งเสริมและสืบสานการท านุบ ารุงศิลปวัฒนธรรมของท้องถิ่นและของชาติ รวมทั้งโครงการอันเนื่องมาจากแนวพระราชด าริ

กลยุทธ์ที่ 1 การท านุบ ารุงศิลปะและวัฒนธรรมภายในองค์กร

แนวทางในการด าเนินงาน

1. ส่งเสริม สนับสนุนให้คณาจารย์ บูรณาการการเรียนการสอนกับการการท านุบ ารุงศิลปะและวัฒนธรรม

2. สนับสนุน ส่งเสริมให้บุคลากรทุกฝ่าย และนักศึกษามีจิตส านึกและมีส่วนร่วมในการท านุบ ารุงศิลปะและวัฒนธรรม และอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย

3. จัดอบรมเชิงปฏิบัติการให้กับบุคลากร และนักศึกษา ในหัวข้อที่เชื่อมโยงองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีกับการท านุบ ารุงศิลปะและวัฒนธรรม

38

Page 42: ประวัติ ผลงาน และแนวทางการ ......1 ประว ต และผลงาน ข อม ลส วนต ว ช อ-สก ล นายส

39

ยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย ยุทธศาสตร์คณะฯ กลยุทธ์/แนวทางในการด าเนินงาน 4. ส่งเสริมและผลักดันให้ผลงานด้านการท านุบ ารุงศิลปะและวัฒนธรรม

และอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นที่ยอมรับระดับชาติ 5. สนับสนุนให้มีการเผยแพร่กิจกรรมด้านการท านุบ ารุงศิลปะและ

วัฒนธรรมสู่สาธารณชน

กลยุทธ์ที่ 2 การสร้างเครือข่ายด้านท านุบ ารุงศิลปะและวัฒนธรรมกับองค์กรภายนอก

แนวทางในการด าเนินงาน

1. สร้างร่วมมือกับองค์กรภายนอกในการการท านุบ ารุงศิลปะและวัฒนธรรม

2. พัฒนาระบบสารสนเทศส าหรับข้อมูลด้านการด าเนินกิจกรรมการท านุบ ารุงศิลปะและวัฒนธรรมของคณะ เพื่อสร้างเครือข่ายในงานที่เก่ียวข้องกับองค์กรภายนอก

3. ส่งเสริมให้เกิดการประยุกต์ใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในการส่งเสริมและสืบสานการท านุบ ารุงศิลปวัฒนธรรมของท้องถิ่นและของชาติ รวมทั้งโครงการอันเนื่องมาจากแนวพระราชด าริ

39

Page 43: ประวัติ ผลงาน และแนวทางการ ......1 ประว ต และผลงาน ข อม ลส วนต ว ช อ-สก ล นายส

40

ยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย ยุทธศาสตร์คณะฯ กลยุทธ์/แนวทางในการด าเนินงาน ยุทธศาสตร์ที่ 5 พัฒนาและส่งเสริมความเข้มแข็งของชุมชน รวมทั้งมีส่วนร่วมในการจัดการการบ ารุงรักษา และการใช้ประโยชน์จากทรัพยากร ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างสมดุลและยั่งยืน

ยุทธศาสตร์ที่ 6 ร่วมพัฒนาพื้นที่ศูนย์แม่ริมให้เป็นพื้นที่ อุทยานการศึกษาธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

กลยุทธ์ที่ 1 การพัฒนาคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในพื้นที่ศูนย์แม่ริม แนวทางในการด าเนินงาน

1. จัดตั้งคณะกรรมการท างานจากทุกฝ่ายในคณะฯ เพ่ือ จัดท าแผนการเคลื่อนย้าย และแผนการด าเนินงาน (Road Map) ให้เป็นรูปธรรมทุกขั้นตอน เช่น ระบบโครงสร้างพ้ืนฐานห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ ด้านวิชาการ ด้านการบริหารงานบุคคล เป็นต้น

2. พิจารณาจัดตั้งงบประมาณรองรับการด าเนินงานเพ่ือให้เป็นไปตามแผนอย่างชัดเจนและต่อเนื่อง

3. ปรับปรุงโครงสร้างองค์กรและหน่วยงานในการบริหารงานให้มีความเหมาะสมและสอดคล้องกับแผนการด าเนินงาน

4. พัฒนาพื้นที่ อุทยานการศึกษาธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมด าเนินการ ภารกิจหลักเก่ียวกับ พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยาและสิ่งแวดล้อม ค่ายการศึกษาธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และเส้นทางศึกษาธรรมชาติ

40

Page 44: ประวัติ ผลงาน และแนวทางการ ......1 ประว ต และผลงาน ข อม ลส วนต ว ช อ-สก ล นายส

41

ยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย ยุทธศาสตร์คณะฯ กลยุทธ์/แนวทางในการด าเนินงาน ยุทธศาสตร์ที่ 6 พัฒนาพ้ืนที่ของมหาวิทยาลัยทั้ง 4 แห่ง ให้เป็นมหาวิทยาลัยที่มีคุณภาพ และเป็นแหล่งพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของท้องถิ่น

ยุทธศาสตร์ที่ 7 พัฒนาศูนย์วิทยาศาสตร์ให้เป็น “ศูนย์บริการวิชาการทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี” ด าเนินงานตรวจวิเคราะห์ทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนและมาตรฐานด้านต่างๆ ที่ครบวงจร เพ่ือเป็นหน่วยงานที่บริการชุมชนและเป็นหน่วยงานที่สามารถสร้างรายได้ให้แก่คณะและมหาวิทยาลัย พัฒนาพื้นที่เวียงบัวเป็นพื้นที่เชิงธุรกิจ

กลยุทธ์ที่ 1 การพัฒนาพื้นที่คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี พื้นที่เวียงบัวให้เป็นแหล่งหารายได้ แนวทางในการด าเนินงาน

1. จัดตั้งศูนย์วิทยาศาสตร์ให้เป็น “ศูนย์บริการวิชาการทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี” ด าเนินงานตรวจวิเคราะห์ทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนและมาตรฐานด้านต่างๆ ที่ครบวงจร เพ่ือเป็นหน่วยงานที่บริการชุมชนและเป็นหน่วยงานที่สามารถสร้างรายได้ให้แก่คณะและมหาวิทยาลัย

2. จัดตั้งหน่วยวิเทศน์สัมพันธ์เพ่ือด าเนินงานหลักในการประสานงานร่วมกับองค์กรในท้องถิ่น ทั้งภาครัฐและเอกชนเพื่อแสวงหาความร่วมมือในทางวิชาการและบริการวิชาการท่ีก่อให้เกิดรายได้

3. จัดท าหลักสูตรอบรมระยะสั้นที่สามารถแก้ปัญหาของท้องถิ่นและพัฒนาท้องถิ่นหรือตาม ความต้องการของท้องถิ่น รวมทั้งหลักสูตรเพ่ือพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา อย่างเป็นระบบ เช่น หลักสูตรทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ การดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ ค่ายวิทยาศาสตร์ส าหรับนักเรียน หลักสูตรทางด้านสิ่งแวดล้อม หลักสูตรส าหรับกลุ่มวิสาหกิจชุมชน (Start Up) เช่น ทางด้านออกแบบผลิตภัณฑ์ เป็นต้น

41

Page 45: ประวัติ ผลงาน และแนวทางการ ......1 ประว ต และผลงาน ข อม ลส วนต ว ช อ-สก ล นายส

42

ยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย ยุทธศาสตร์คณะฯ กลยุทธ์/แนวทางในการด าเนินงาน 4. พัฒนาศูนย์สะเต็มศึกษา ให้เข้มแข็งจนมีชื่อเสียง ผ่านการอบรม ท า

กิจกรรม ร่วมกันอย่างต่อเนื่องรวมทั้งท าให้เกิดห้องปฏิบัติการ STEM ส าหรับผลิตนวัตกรรมเพ่ือการเรียนรู้ตามแนวคิด STEM บนพื้นฐานทรัพยากร ภูมิปัญญา ศิลปะ วัฒนธรรม ความต้องการของท้องถิ่นจนน าไปสู่การจดสิทธิบัตรและเชิงธุรกิจ

5. ร่วมกับโรงเรียนสาธิตพัฒนาห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ส่วนหนึ่งของศูนย์วิทยาศาสตร์ให้เป็นห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ส าหรับนักเรียนโรงเรียนสาธิต เพื่อให้โรงเรียนสาธิตมีความโดดเด่นในการจัดการเรียนการสอนทางวิทยาศาสตร์ด้วยห้องปฏิบัติการที่ทันสมัยบนแนวทางสะเต็มศึกษาเต็มรูปแบบ

ยุทธศาสตร์ที่ 7 พัฒนาระบบการบริหารของมหาวิทยาลัยให้มีประสิทธิภาพ

ยุทธศาสตร์ที่ 8 พัฒนาระบบการบริหารและการจัดการภายในคณะของคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีให้มีประสิทธิภาพและสอดคล้องกับปรัชญา วิสัยทัศน์ พันธกิจและเป้าหมายของมหาวิทยาลัย

กลยุทธ์ที่ 1 พัฒนาระบบการบริหารจัดการ ตามหลักธรรมาภิบาลที่มีประสิทธิภาพ

แนวทางในการด าเนินงาน

1. ส่งเสริมให้มีการบริหารจัดการที่อาศัยหลักธรรมาภิบาล มีความรวดเร็ว โปร่งใสและสามารถตรวจสอบได้ในการท างานทุกระดับ

2. กระตุ้นให้การท างานของแต่ละหน่วยในคณะมีรูปแบบการด าเนินงานที่ตอบสนองต่อนโยบายและวิสัยทัศน์ของคณะและของมหาวิทยาลัยเป็นส าคัญ

42

Page 46: ประวัติ ผลงาน และแนวทางการ ......1 ประว ต และผลงาน ข อม ลส วนต ว ช อ-สก ล นายส

43

ยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย ยุทธศาสตร์คณะฯ กลยุทธ์/แนวทางในการด าเนินงาน

3. พัฒนาระบบสารสนเทศของคณะให้มีความสมบูรณ์และเป็นปัจจุบัน เพ่ือเป็นฐานข้อมูลที่ส าคัญส าหรับประกอบการพัฒนางานด้านต่างๆ ของคณะ ได้แก่ การจัดการเรียนการสอน ด้านอัตราก าลัง ด้านการบริหารงบประมาณ รวมถึงการประกันคุณภาพการศึกษาทั้งระดับหลักสูตรและระดับคณะ

4. ก าหนดให้บริหารจัดการมีกระบวนการเป็นไปในทิศทางที่ส่งเสริมและตอบสนองต่อการประกันคุณภาพการศึกษา คือ กระบวนการแบบ PDCA ในทุกระดับ เพื่อการพัฒนาที่ต่อเนื่องและยั่งยืนต่อไป

กลยุทธ์ที่ 2 พัฒนาระบบบริหารงานบุคลากรให้มีประสิทธิภาพ

แนวทางในการด าเนินงาน

1. ส่งเสริมให้การบริหารจัดการบุคลากรในคณะทุกระดับมีความเป็นเอกภาพ โดยค านึงถึงการมีความสุขในการท างานของหมู่คณะ และสร้างบรรยากาศในการท างานเพ่ือให้บุคลากรมีความรู้สึกในการมีส่วนร่วมของการเป็นเจ้าขององค์กรร่วมกัน

2. ส่งเสริมให้บุคลากรสายวิชาการมีการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง โดยส่งเสริมให้มีคุณวุฒิหรือต าแหน่งทางวิชาการท่ีสูงขึ้น เพ่ือเพ่ิมสัดส่วนของคุณวุฒิและผลงานทางวิชาการให้เป็นไปตามเกณฑ์การประกันคุณภาพ

43

Page 47: ประวัติ ผลงาน และแนวทางการ ......1 ประว ต และผลงาน ข อม ลส วนต ว ช อ-สก ล นายส

44

ยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย ยุทธศาสตร์คณะฯ กลยุทธ์/แนวทางในการด าเนินงาน

3. สนับสนุนให้บุคลากรสายสนับสนุนมีการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง มีการท างานที่เป็นระบบ จนท าให้สามารถพัฒนาตนเองเข้าสู่ต าแหน่งงานที่สูงขึ้น เช่น ต าแหน่งช านาญการ และผู้เชี่ยวชาญตามล าดับ เพื่อท าให้การพัฒนาองค์กรในภาพรวม

กลยุทธ์ที่ 3 พัฒนาระบบการบริหารงบประมาณที่โปร่งใส ตรวจสอบได้

แนวทางในการด าเนินงาน

1. สร้างระบบการบริหารจัดการงบประมาณท่ีมีความรวดเร็ว โปร่งใส สามารถตรวจสอบได้ และเป็นไปตามระเบียบข้อบังคับในการบริหารงบประมาณ

2. ส่งเสริมให้ด าเนินงานบริหารจัดการ และท าการจัดสรรงบประมาณให้กับหน่วยงานต่างๆ ภายในคณะอย่างเหมาะสม และเป็นธรรม โดยยึดนโยบายและวิสัยทัศน์ของมหาวิทยาลัยเป็นหลัก

3. จัดให้มีระบบสารสนเทศท่ีทันสมัย และอ านวยความสะดวกเกี่ยวการบริหารจัดการงบประมาณ เพ่ือความสะดวกในการท างานของบุคลากรในทุกหน่วยงานของคณะ เนื่องจากภาครัฐมีการเปลี่ยนแปลงรูปการเบิกจ่ายงบประมาณ

44

Page 48: ประวัติ ผลงาน และแนวทางการ ......1 ประว ต และผลงาน ข อม ลส วนต ว ช อ-สก ล นายส

45

ยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย ยุทธศาสตร์คณะฯ กลยุทธ์/แนวทางในการด าเนินงาน

กลยุทธ์ที่ 4 การบริหารวัสดุ ครุภัณฑ์ ทรัพยากร และสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ แนวทางในการด าเนินงาน

1. พัฒนาระบบสารสนเทศของคณะให้มีความสมบูรณ์และเป็นปัจจุบัน เพ่ือเป็นฐานข้อมูลที่ส าคัญส าหรับประกอบการพัฒนางานด้านต่างๆ ของคณะ ได้แก่ การจัดการเรียนการสอน ด้านอัตราก าลัง ด้านการบริหารงบประมาณ รวมถึงการประกันคุณภาพการศึกษาทั้งระดับหลักสูตรและระดับคณะ

2. สร้างระบบการบริหารจัดการวัสดุ ครุภัณฑ์ ทรัพยากร และสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ที่ท าให้เกิดประโยชน์ต่อคณะและนักศึกษาเป็นส าคัญ และเป็นไปตามระเบียบการบริหารจัดการที่ถูกต้อง

3. เร่งรัดการพัฒนาระบบสารสนเทศที่ใช้งานได้จริง เกิดประโยชน์ และมีคุณค่า เป็นระบบฐานข้อมูลกลางที่สามารถเชื่อมโยงทั้งระดับมหาวิทยาลัยระดับคณะฯ และภาควิชา ประกอบด้วย

4. สนับสนุนให้มีระบบสารสนเทศเพ่ือการเรียนรู้ เช่น ระบบการเรียนการสอนอิเล็กทรอนิกส์ (E-learning) ระบบสารสนเทศเพ่ือพัฒนาทักษะด้านภาษา เป็นต้น

45

Page 49: ประวัติ ผลงาน และแนวทางการ ......1 ประว ต และผลงาน ข อม ลส วนต ว ช อ-สก ล นายส

46

ยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย ยุทธศาสตร์คณะฯ กลยุทธ์/แนวทางในการด าเนินงาน กลยุทธ์ที ่5 พัฒนากระบวนการประกันคุณภาพการศึกษาของคณะ ท้ังภายในและ

ภายนอกอย่างมีประสิทธิภาพ

แนวทางในการด าเนินงาน

1. ก าหนดให้บริหารจัดการมีกระบวนการเป็นไปในทิศทางที่ส่งเสริมและตอบสนองต่อการประกันคุณภาพการศึกษา คือ กระบวนการแบบ PDCA ในทุกระดับ เพื่อการพัฒนาที่ต่อเนื่องและยั่งยืนต่อไป

2. ส่งเสริมให้มีการจัดท าการประกันคุณภาพการศึกษาที่เป็นระบบ เพ่ือยกระดับมาตรฐานคุณภาพทางการศึกษาให้เป็นไปตามมาตรฐานสากล

3. สร้างระบบสารสนเทศของงานประกันคุณภาพการศึกษาให้สามารถน าข้อมูลมาวิเคราะห์เพ่ือใช้ใช้ประโยชน์ได้จริง

46

Page 50: ประวัติ ผลงาน และแนวทางการ ......1 ประว ต และผลงาน ข อม ลส วนต ว ช อ-สก ล นายส

47

การสร้างความโดดเด่นในการผลิตบัณฑิตที่เป็นเอกลักษณ์

ในการสร้างความโดดเด่นในกับการผลิตบัณฑิตในหลักสูตรที่เป็นความเชี่ยวชาญของคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี อย่างแท้จริง จนน าไปสู่ความเป็นเลิศและได้รับการยอมรับว่าผลผลิตของหลักสูตรที่โดดเด่นนี้เป็นเอกลักษณ์ของคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และเป็นเอกลักษณ์ของมหาวิทยาลัยอย่างยั่งยืนต่อไปนั้น คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีต้องผลิตบัณฑิตให้สอดคล้องกับสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงที่มีผลต่อการพัฒนาประเทศ โดยต้องน าศาสตร์ทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ไปเชื่อมต่อกับ การพัฒนาประเทศภายใต้โมเดล Thailand 4.0 รวมถึงประเด็น Reprofile ของมหาวิทยาลัยให้ได้ ซึ่งจะท าให้เกิดการพัฒนาแบบเฉพาะและมีความโดดเด่นขึ้นมาทันท ีโดยมีกลยุทธ์และแนวทางในการด าเนินงานดังต่อไปนี้

กลยุทธ์ที่ 1 สร้างความโดดเด่นให้กับหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต ทางด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยี ให้ตอบโจทย์ประเทศ คือ Smart Teacher

แนวทางในการด าเนินงาน

1. พัฒนาบัณฑิตสายครูวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยี ที่มีความรู้ความสามารถ และทักษะทางภาษาอังกฤษอย่างต่อเนื่องและเป็นรูปธรรม เพ่ือให้บัณฑิตสามารถจัดการเรียนการสอนทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเป็นภาษาอังกฤษได้ซึ่งจะเป็นการเพ่ิมโอกาสในการท างานมากยิ่งข้ึน

2. พัฒนาบัณฑิตสายครูวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยี ที่มีความรู้ความสามารถ ในการจัดการเรียนการสอนตามแนวทางสะเต็มศึกษา (STEM education) ได้ซึ่งจะท าให้เกิดการพัฒนาการเรียนรู้ทางวิทยาศาสตร์อย่างมีประสิทธิภาพทั้งระบบ

3. พัฒนาบัณฑิตสายครูวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยี ให้สามารถใช้ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศในการจัดการเรียนการสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ประเด็นที่ 3

Page 51: ประวัติ ผลงาน และแนวทางการ ......1 ประว ต และผลงาน ข อม ลส วนต ว ช อ-สก ล นายส

48

กลยุทธ์ที่ 2 สร้างความโดดเด่นให้กับหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต ให้ตอบโจทย์ประเทศ

แนวทางในการด าเนินงาน

1. หลักสูตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ต้องผลิตบัณฑิต ให้ตอบโจทย์ประเทศ คือ Smart Design-tech โดยสามารถประยุกต์ศาสตร์ทางการออกแบบให้ตอบสนองการพัฒนาประเทศในอนาคต เช่น ในรูปแบบของ Product Design ประเด็นการผลิตครู ในรูปแบบนวัตกรรมทางการศึกษา ประเด็นวิทยาศาสตร์สุขภาพ-ผู้สูงอายุ ในรูปแบบของอุปกรณ์เครื่องใช้ของผู้สูงอายุ ประเด็นการค้าวิสาหกิจชุมชน ในรูปแบบของสินค้า บรรจุภัณฑ์ เป็นต้น

2. หลักสูตรสาธารณสุขศาสตร์ ต้องผลิตบัณฑิตให้ตอบโจทย์ประเทศ คือ Smart Health โดยสามารถประยุกต์ศาสตร์ทางสาธารณสุขศาสตร์รวมกับเทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสารให้ตอบสนองการเปลี่ยนแปลงของประเทศท่ีจะเป็นสังคมของผู้สูงอายุ

3. หลักสูตรคหกรรมศาสตร์ ต้องผลิตบัณฑิตให้ตอบโจทย์ประเทศ คือ Smart Food โดยสามารถประยุกต์ศาสตร์ทางคหกรรมศาสตร์ร่วมกับศาสตร์อ่ืนเช่นการออกแบบและการน าเทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการผลิตอาหาร ให้ตอบสนองการเปลี่ยนแปลงของประเทศที่จะเป็นแหล่งผลิตอาหารของโลก “ครัวไทยสู่ครัวโลก”

4. หลักสูตรวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม ต้องผลิตบัณฑิตให้ตอบโจทย์ประเทศ คือ Smart Environmentalist โดยสามารถประยุกต์ศาสตร์ทางวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อมให้ตอบสนองการ เปลี่ยนแปลงของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่เสื่อมโทรมลงและความขัดแย้งในการใช้ประโยชน์ทรัพยากรจะมีแนวโน้มรุนแรงมากข้ึน การบริหารจัดการน้ าทั้งในเชิงปริมาณและคุณภาพยังขาดประสิทธิภาพ

5. หลักสูตรทางคอมพิวเตอร์ ต้องผลิตบัณฑิตให้ตอบโจทย์ประเทศ คือ Smart Digital-tech โดยสามารถประยุกต์ศาสตร์คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศให้ตอบสนองการเปลี่ยนแปลงของประเทศท่ีอินเทอร์เน็ตจะมีบทบาทในทุกสิ่งทุกอย่าง (Internet of Things) การเข้าสู่ยุคสังคม เศรษฐกิจและอุตสาหกรรม 4.0

6. หลักสูตรทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ ต้องผลิตบัณฑิตให้ตอบโจทย์ประเทศ คือ Smart Scientist โดยสามารถประยุกต์ศาสตร์ทางด้านวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ ให้ตอบสนองการเปลี่ยนแปลงของประเทศที่ต้องการการพัฒนาทางด้านวิทยาการ ความคิดสร้างสรรค์ นวัตกรรม วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีตอบสนองความต้องการของท้องถิ่นและประเทศ

Page 52: ประวัติ ผลงาน และแนวทางการ ......1 ประว ต และผลงาน ข อม ลส วนต ว ช อ-สก ล นายส

49

พัฒนานักศึกษาให้มีความพร้อมในการเป็นพลเมืองโลก ให้มีความรู้ เท่าทันการเปลี่ยนแปลงของประเทศไทยและสังคมโลก

การพัฒนานักศึกษาให้มีความพร้อมในการเป็นพลเมืองโลก ให้มีความรู้ เท่าทันการเปลี่ยนแปลงของประเทศไทยและสังคมโลก ซึ่งจะต้องค านึงถึงบริบทต่างๆ อาทิ (1) แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 พ.ศ. 2560 – 2564 (2) กระบวนทัศน์การพัฒนาประเทศภายใต้โมเดล “Thailand 4.0” (3) กรอบยุทธศาสตร์ชาติ ระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2560 – 2579) และ (4) การปรับยุทธศาสตร์ (Reprofiling) ของกลุ่มมหาวิทยาลัยราชภัฏ ซึ่งต้องเพ่ิมเติม ต้องการน าศาสตร์ทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ไปเชื่อมต่อกับประเด็น Reprofile ของมหาวิทยาลัยให้ได้ โดยต้องพัฒนานักศึกษาให้มีความพร้อมทางด้านทักษะด้านภาษา และทักษะการใช้เทคโนโลยีและสารสนเทศ วิทยาการ ความคิดสร้างสรรค์ นวัตกรรม วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี ตอบสนองความต้องการของท้องถิ่นและประเทศซึ่งจะต้องด าเนินการดังต่อไปนี้

กลยุทธ์

พัฒนานักศึกษาให้มีทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 โดยเน้น ทักษะด้านภาษา ทักษะด้านการใช้เทคโนโลยีและสารสนเทศ และทักษะการใช้ชีวิตตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง

แนวทางในการด าเนินงาน

1. พัฒนาระบบ Transcript กิจกรรมของคณะฯ ให้มีความสมบูรณ์ ให้มีกิจกรรมครบในทุกทักษะ ให้มีความเข้มแข็งมีประสิทธิภาพ เพื่อประกอบการพัฒนานักศึกษาให้มีความพร้อมในการเป็นพลเมืองโลก ให้มีความรู้ เท่าทันการเปลี่ยนแปลงของประเทศไทยและสังคมโลก

2. เสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับ และกระตุ้นให้บุคคลากรมีความตระหนักถึงความส าคัญของทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21

3. เพ่ือพัฒนาทักษะด้านต่างๆ เพ่ิมเติม ให้แก่นักศึกษาระหว่างเรียน เช่น ทักษะด้านภาษา และทักษะการใช้เทคโนโลยีและสารสนเทศ

4. เสริมสร้างและกระตุ้นบรรยากาศการเรียนการสอนให้เป็นแบบอยากรู้ อยากท า และอยากเป็น (Passion-Driven) แทนการเรียนการสอนแบบภาคบังคับ (Duty-Driven)

ประเด็นที่ 4

Page 53: ประวัติ ผลงาน และแนวทางการ ......1 ประว ต และผลงาน ข อม ลส วนต ว ช อ-สก ล นายส

50

5. ส่งเสริมกิจกรรมที่ปลูกฝังพฤติกรรมการเรียนรู้ ทั้งในชั้นเรียนและในชีวิตประจ าวัน เพื่อให้เกิดลักษณะนิสัยการใฝ่เรียนรู้ตลอดชีวิต

6. ส่งเสริมให้อาจารย์ปรับเปลี่ยนกิจกรรมการเรียนการสอนจากแบบท่องจ าทฤษฎี (Teaching) ให้เป็นแบบการชี้แนะและกระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้แบบการคิดวิเคราะห์ ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์และแก้ไขปัญหา (Coaching) รวมทั้งการสอดแทรกคุณธรรมจริยธรรม มีความรับผิดชอบ ในรูปแบบของกิจกรรมในชีวิตประจ าวัน

7. ส่งเสริมกิจกรรมที่เสริมสร้างความมีระเบียบวินัย จิตสาธารณะ การเคารพความคิดเป็นและการท างานเป็นทีม

8. ส่งเสริมให้บุคลากร เกิดความรู้ ความเข้าใจ และความตระหนักในการด าเนินชีวิตตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง รวมทั้งส่งเสริมให้มีการสอดแทรก แนวคิดการใช้ชีวิตตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงในการเรียนการสอน

9. ส่งเสริมการด าเนินการปรับรูปแบบองค์กรให้เป็น Green Faculty โดยมีกิจกรรมต่างๆ ของส านักงานและภาควิชาต่างๆ ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

Page 54: ประวัติ ผลงาน และแนวทางการ ......1 ประว ต และผลงาน ข อม ลส วนต ว ช อ-สก ล นายส

51

เอกสารอ้างอิง กองนโยบายและแผน. การประชุมทบทวนภารกิจเพื่อสนองนโยบายของรัฐ. มหาวิทยาลัยราชภัฏ

เชียงใหม่. สืบค้นจาก http://www.plan.cmru.ac.th/2016/ (20 มกราคม 2560). มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่. (2559). แผนยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ระยะ 5 ปี

(พ.ศ. 2559-2560) ฉบับปรับปรุงปี 2559. กองนโยบายและแผน. ปรเมธี วิมลศิริ. ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ. 2560 – 2579). สืบค้นจาก http://plan.vru.ac.th/

(20 มกราคม 2560). สุวิทย์ เมษินทรีย์. THAILAND 4.0 มิติการพัฒนาด้านสังคม. สืบค้นจาก

http://www.admissionpremium.com/news/1377 (20 มกราคม 2560). ส านักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม

แห่งชาติ ฉบับท่ี 12 (พ.ศ. 2560-2564). สืบค้นจาhttp://www.ratchakitcha.soc.go.th /DATA/PDF/2559/A/115/1.PDF (20 มกราคม 2560).

ส านักงานรัฐมนตรี. นโยบายผู้บริหารสถาบันอุดมศึกษาทั่วประเทศ. สืบค้นจาก http://www.moe.go.th/websm/2016/sep/385.html [20 มกราคม 2560].

ส านักนโยบายและแผนการอุดมศึกษา ส านักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา . การปรับยุทธศาสตร์ Reprofiling กลุ่มมหาวิทยาลัยราชภัฏ. สืบค้นจากhttp://www.old.nrru.ac.th/plan/

UserFiles/File/Reprofiling.pdf [20 มกราคม 2560].