15
บทที4 การแปลภาพถายทางอากาศ ขอมูลการสํารวจระยะไกลอาจจะอยูในรูปแบบภาพที่มองเห็นได และ ภาพเชิงตัวเลข รูปแบบ ภาพที่มองเห็นได ไดแก ภาพถาย หรือภาพแบบอื่นที่เปนภาพพิมพแข็ง (hard-copy) สวนภาพตัวเลข ถูกเก็บในแผนดิสคคอมพิวเตอร เทป คาสเซ็ท หรืออื่นๆ ที่เก็บขอมูลแบบตัวเลขได ดังนั้นการแปล ภาพจึงแปลได 2 ทาง คือ แปลโดยสายตา (visual interpretation) จากภาพที่มองเห็น และแปลดวยการ ประมวลผลภาพเชิงตัวเลข (digital image processing) การแปลภาพถายทางอากาศเปนงานที่ละเอียด และสวนใหญเปนการแปลภาพดวยสายตา การแปลภาพถายเปนการตีความหมายจากภาพถาย ซึ่งเปนการวิเคราะหเชิงคุณภาพ ผูแปลตองใช ความชํานาญและความสามารถ คือ ความชํานาญในการปฏิบัติการ ความสามารถในการวิเคราะหอยาง เปนเหตุเปนผล อธิบาย และจําแนกรูปแบบตางๆ ที่ซับซอนได การแปลภาพถายอาจจะแปลจากภาพ เดี่ยว 2 มิติ แตความแมนยําจะนอย ซึ่งการแปลภาพถายแบบสามมิติโดยใชภาพคูสามมิติจะทําใหการ แปลภาพถูกตองและแมนยํามากขึ้น งานของการแปลภาพ การแปลภาพประกอบดวยงานประจําหลายอยางซึ่งอาจจะแยกจากกัน หรือในบางครั้งอาจจะ ทํารวมกันทั้งหมด งานของการแปลภาพแบงไดเปน 4 อยาง คือ (รูปที4.1) การจําแนก (classification) หมายถึง การระบุชนิด ลักษณะตางๆ ของวัตถุ หรือสภาพพื้นทีโดยขึ้นอยูกับลักษณะที่เห็นในภาพ การแยกแยะนี้กระทําใน 3 ระดับความเชื่อมั่น และความถูกตอง คือ ระดับการตรวจจับได (detection) วามีหรือไมมีลักษณะที่ตองการจําแนกในภาพ การจดจําได (recognition) ตองใชความรูในระดับสูงขึ้นในการแยกวัตถุนั้นวาอยูในประเภทใดโดยทั่วไป การกําหนด (identification) วัตถุชนิดตางๆ ใหอยูในประเภทที่เฉพาะเจาะจงดวยความเชื่อมั่นพอสมควร การจาระไน (enumeration) หมายถึง การนับรายการตางๆ ที่เห็นในภาพ เชน การจําแนก บานเปนแบบบานเดี่ยว หรือบานรวมหลายครัวเรือน หรือที่อยูอาศัยหลายชั้น หลังจากนั้นก็รายงานวา รูปที4.1 งานแปลภาพ a) การจําแนก b) การจาระไน c) การวัด d) การกําหนดขอบเขต ที่มา : Campbell, 1987

บทที่ 4 การแปลภาพถ ายทางอากาศnatres.psu.ac.th/Department/EarthScience/remote1/chapter... · 2006-10-02 · บท ที่ 4

  • Upload
    others

  • View
    2

  • Download
    0

Embed Size (px)

Citation preview

Page 1: บทที่ 4 การแปลภาพถ ายทางอากาศnatres.psu.ac.th/Department/EarthScience/remote1/chapter... · 2006-10-02 · บท ที่ 4

บทที่ 4 การแปลภาพถายทางอากาศ ขอมูลการสํารวจระยะไกลอาจจะอยูในรูปแบบภาพที่มองเห็นได และ ภาพเชิงตัวเลข รูปแบบภาพที่มองเห็นได ไดแก ภาพถาย หรือภาพแบบอื่นที่เปนภาพพิมพแข็ง (hard-copy) สวนภาพตัวเลขถูกเก็บในแผนดิสคคอมพิวเตอร เทป คาสเซ็ท หรืออ่ืนๆ ที่เก็บขอมูลแบบตัวเลขได ดังนั้นการแปลภาพจึงแปลได 2 ทาง คือ แปลโดยสายตา (visual interpretation) จากภาพที่มองเห็น และแปลดวยการประมวลผลภาพเชิงตัวเลข (digital image processing) การแปลภาพถายทางอากาศเปนงานที่ละเอียด และสวนใหญเปนการแปลภาพดวยสายตา การแปลภาพถายเปนการตีความหมายจากภาพถาย ซึ่งเปนการวิเคราะหเชิงคุณภาพ ผูแปลตองใชความชํานาญและความสามารถ คือ ความชํานาญในการปฏิบัติการ ความสามารถในการวิเคราะหอยางเปนเหตุเปนผล อธิบาย และจําแนกรูปแบบตางๆ ที่ซับซอนได การแปลภาพถายอาจจะแปลจากภาพเดี่ยว 2 มิติ แตความแมนยําจะนอย ซึ่งการแปลภาพถายแบบสามมิติโดยใชภาพคูสามมิติจะทําใหการแปลภาพถูกตองและแมนยํามากขึ้น งานของการแปลภาพ การแปลภาพประกอบดวยงานประจําหลายอยางซึ่งอาจจะแยกจากกัน หรือในบางครั้งอาจจะทํารวมกันทั้งหมด งานของการแปลภาพแบงไดเปน 4 อยาง คือ (รูปท่ี 4.1)

การจําแนก (classification) หมายถึง การระบุชนิด ลักษณะตางๆ ของวัตถุ หรือสภาพพื้นที่ โดยขึ้นอยูกับลักษณะที่เห็นในภาพ การแยกแยะนี้กระทําใน 3 ระดับความเชื่อมั่น และความถูกตอง คือ ระดับการตรวจจับได (detection) วามีหรือไมมีลักษณะที่ตองการจําแนกในภาพ การจดจําได (recognition) ตองใชความรูในระดับสูงขึ้นในการแยกวัตถุนั้นวาอยูในประเภทใดโดยทั่วไป การกําหนด (identification) วัตถุชนิดตางๆ ใหอยูในประเภทที่เฉพาะเจาะจงดวยความเชื่อมั่นพอสมควร การจาระไน (enumeration) หมายถึง การนับรายการตางๆ ที่เห็นในภาพ เชน การจําแนกบานเปนแบบบานเดี่ยว หรือบานรวมหลายครัวเรือน หรือที่อยูอาศัยหลายชั้น หลังจากนั้นก็รายงานวา

รูปท่ี 4.1 งานแปลภาพ a) การจําแนก b) การจาระไน c) การวัด d) การกําหนดขอบเขต ที่มา : Campbell, 1987

Page 2: บทที่ 4 การแปลภาพถ ายทางอากาศnatres.psu.ac.th/Department/EarthScience/remote1/chapter... · 2006-10-02 · บท ที่ 4

การสํารวจขอมูลระยะไกลและการแปลภาพถายทางอากาศ 44

ลักษณะบานแตละแบบมีจํานวนเทาใด หรือมีความหนาแนนเทาไร ซึ่งความสามารถนี้ขึ้นอยูกับวา เราสามารถแยกแยะสิ่งตางๆ เหลานี้ชัดเจนเพียงไร การวัด (measuration) การวัดมักจะเปนปญหาของการแปลภาพ การวัดมี 2 อยาง คือ การวัดระยะทาง ความสูง ตลอดจนพ้ืนที่และปริมาตร ซึ่งมักเปนงานทางดานการวัดจากภาพถาย อีกรูปแบบหนึ่งของการวัด คือ การประเมินปริมาณความสองสวางของภาพ (photometry) การกําหนดขอบเขต (delineation) ผูแปลจะตองกําหนดขอบเขตลักษณะที่แปลลงบนภาพ โดยใชความแตกตางขององคประกอบตางๆ ของภาพเปนตัวกําหนด ปญหามักจะเกิดขึ้นตรงที่ การกําหนดระดับที่รวมหลายๆ วัตถุใหอยูในประเภทเดียวกัน (generalization) เชน ในบางครั้งพ้ืนที่หนึ่งมีแปลงเล็กๆ จํานวนมากที่เห็นไดชัด อยูกระจัดกระจายรวมกับพ้ืนที่อยางอื่น จะรวมพ้ืนที่เหลานั้นใหเปนเรื่องเดียวกับพ้ืนที่ใหญ หรือจะแยกกัน บางครั้งการตัดสินใจที่จะวาดขอบเขตพื้นที่ที่มีขอบเขตซับซอน หรือ ขอบเขตของพื้นที่ไมชัดเจนออกใหแนนอนจะทําไดยาก หลักการมองภาพสามมิติ การใชภาพถายทางอากาศในทุกงาน จะเกี่ยวของกับการมองภาพเปนสามมิติ การที่เราสามารถมองเห็นภาพเปนสามมิติ เกิดจากการที่เรามองวัตถุเดียวกัน จากตาทั้งสองขาง คนละตําแหนงพรอมๆ กัน ความแตกตางของตําแหนงของตาทั้ง 2 ขางทําใหภาพที่ปรากฏในตาแตละขางอยูในตําแหนงที่ตางกัน ความแตกตางนี้จะแปลงเปนความลึกโดยผูมอง ในทํานองเดียวกัน ถาวัตถุเดียวกันถายจากตําแหนงที่ตางกัน เราจะไดภาพ 2 ภาพที่อยูเรียงกัน เรียกวา ภายถายคูสามมิติ (stereopairs) (รูปท่ี 4.2) ภาพทั้งสองมีความแตกตางกันทั้งทางดานตําแหนงในภาพ และลักษณะที่ปรากฏ อันเนื่องมาจากของการเคลื่อนของตําแหนง เมื่อเรามองภาพทั้งสองดวยตาทั้งสองขาง เราจะไดโมเดลภาพสามมิติ รูปท่ี4.3 แสดงการวางภาพคูสามมิติเพ่ือการสรางโมเดลภาพสามมิติ เมื่อมองผานกลอง

รูปท่ี 4.3 ภาพคูสามมิติของพ้ืนที่ตะกอนใบพัดในเขต Death Valley แคลิฟอรเนีย (ภาพ USGS) ที่มา : Lillesand and Kiefer, 1994

Page 3: บทที่ 4 การแปลภาพถ ายทางอากาศnatres.psu.ac.th/Department/EarthScience/remote1/chapter... · 2006-10-02 · บท ที่ 4

การแปลภาพถายทางอากาศ 45

รูปท่ี 4.2 กลไกในการมองภาพสามมิติจากภาพถายทางอากาศ ที่มา : Paine, 1981 ภาพถายคูสามมิติ (stereo-pair) ที่สามารถนํามามองเห็นเปนภาพสามมิติได ตองเปนไปตามกฎดังนี้ 1. ภาพคูสามมิติที่ใชตองมีรายละเอียดที่เหมือนกันในดานมาตราสวน และความละเอียดของจุดภาพ

แตถายจากตําแหนงตางกัน โดยอัตราสวนระหวางระยะหางของสถานีถายภาพสองแหงที่ติดกัน กับความสูงของเครื่องบินจะตองมีคาที่เหมาะสม คือ ประมาณ 0.25

2. แนวแกนของกลองในขณะที่ถายภาพควรจะอยูในระนาบเดียวกัน และภาพที่ไดตองความชัดเทาเทียมกัน

3. ตองมองภาพคูทั้ง 2 ภาพในเวลาเดียวกัน โดยใหฐานตาขนานกับฐานกลอง ฐานกลองหมายถึงเสนที่ลากเชื่อมระหวางจุดหลักกับจุดหลักคู (conjugate principal point) ของภาพทั้งสอง (รูปท่ี 4.4) ฐานตา หมายถึง เสนที่ลากผานจุดกึ่งกลางกลองสองตา

ตารวมจุดภาพที่เหมือนกัน โดยเห็นฐานของวัตถุอยูที่ B และยอดของวัตถุที่ T

ภาพถายคูสามมิติ

ทิศทางบิน

ฐานกลองเทากับระยะทางระหวางสถานีถาย

ภาพถายคูสามมิติที่วางราบ

มองภาพถายคูสามมิติผานทางกลองมองภาพภาพถายคูสามมิติ

Page 4: บทที่ 4 การแปลภาพถ ายทางอากาศnatres.psu.ac.th/Department/EarthScience/remote1/chapter... · 2006-10-02 · บท ที่ 4

การสํารวจขอมูลระยะไกลและการแปลภาพถายทางอากาศ 46

รูปท่ี 4.4 การวางภาพถายคูสามมิติเพ่ือใหมองเห็นเปนโมเดลภาพสามมิติ โดยใหจุดหลัก, Pi และจุด

หลักคู, Pi′ อยูหางกันเทากับระยะฐานตา หรือ ระยะฐานกลอง (รูปที่ 4.5) ดัดแปลงจาก Zuidam, 1986 วิธีการมองภาพสามมิติดวยกลองมองภาพสามมิติ (stereoscope) กลองมองภาพสามมิติ เปนเครื่องมือที่ชวยในการแยกการมองภาพทางกายภาพ โดยภาพทางซายมือจะสองโดยตรงไปยังตาซาย และภาพทางขวามือจะสองโดยตรงไปยังตาขวา กลองมองภาพสามมิติแบบกระจก (mirror stereoscope) ทําใหมองภาพไดกวางขึ้น และขยายใหญขึ้น การมองภาพพ้ืนที่เดียวกันใหเกิดเปนสามมิติ จะตองมีหลักการเรียงภาพคูสามมิติคราวๆ ดังนี้

1) ทําเครื่องหมายจุดหลักลงบนภาพแตละภาพ (Pi ในรูปที่ 4.4) แลวใชรายละเอียดของภาพในการกําหนดจุดหลักเหลานั้นลงบนภาพขางเคียงโดยใชสายตา จุดหลักใหมที่ปรากฏอยูในรูป

ขางเคยีงนี้เรียกวาจุดหลักคู (conjugate principal point) (Pi′ ในรูปที่ 4.4) 2) เรียงภาพคูสามมิติโดยใหเงาของภาพหันเขาหาผูมอง หรือเรียงในลักษณะที่ใหจุดหลักของ

ภาพทั้งสองหางจากกัน(P1 และ P2 )ในขณะที่จุดหลักคูอยูใกลกัน (P2′ และ P1′) 3) ยึดภาพหนึ่งไมใหเคล่ือน แลวจัดอีกภาพหนึ่ง โดยใหจุดหลักและจุดหลักคูของภาพทั้งสองอยู

ในเสนเดียวกัน(P1 P2′ และ P1′ P2) และใหจุดหลักและจุดหลักคูจุดเดียวกัน(P1 P1′) หางกันเทากับระยะฐานตาถามองดวยตาเปลา หรือระยะฐานกลองถามองดวยกลองมองภาพสามมิติ (ประมาณ 24 เซนติเมตร) (รูปท่ี 4.5) เสนนี้จะเปนฐานภาพถาย (photo base) วางไมบรรทัดตามเสนนี้ หลังจากนั้นวางกลองลงบนภาพ และจัดใหแนวกลอง หรือเสนที่เชื่อมจุดกึ่งกลางของเลนซกลอง ขนานกับฐานภาพถาย การจัดแบบนี้จําเปนอยางมากตอการมองภาพเปนสามมิติ

4) ปรับความคมชัดของภาพดวยตาแตละขาง โดยการมองภาพดวยตาขางเดียวแลวปรับกลองใหเห็นภาพไดชัดเจน แลวมองภาพทั้งสองดวยตาทั้งสองขางพรอมกันผานกลอง ถาภาพทั้งสองไมหลอมเปนภาพเดียวกัน หรือไมเกิดเปนภาพสามมิติ ใหขยับตําแหนงของกลอง หรือเล่ือนภาพอีกเล็กนอยใหตรงกับหลักการในขอ 3 หลังจากไดภาพสามมิติแลว ทดสอบดูวาภาพที่จัดแลวดูสบายตาหรือไม โดยการละสายตาจากภาพประมาณ 5 นาที แลวกมลงไปดูใหม ถาเห็นภาพเปนสามมิติโดยทันทีแสดงวาการจัดภาพใชได แตถาไมเห็นในทันที และภาพคอยๆ หลอมรวมกัน ใหปรับการจัดภาพใหม ใหสามารถมองเห็นภาพสามมิติทันทีที่มอง จึงจะนับวาจัดภาพไดถูกตอง

P1 P2

P2′ P1′ P3′P′

ระยะฐานเครื่องมือ

Page 5: บทที่ 4 การแปลภาพถ ายทางอากาศnatres.psu.ac.th/Department/EarthScience/remote1/chapter... · 2006-10-02 · บท ที่ 4

การแปลภาพถายทางอากาศ 47

รูปท่ี 4.5 กลองมองภาพสามมิติ (บน) การวางภาพใตกลองแบบเห็นภาพสามมิติไดดีที่สุด (ลาง) ที่มา : Zuidam, 1986 หลักการจัดภาพที่สําคัญ คือ การจัดใหแนวกลองขนานกับฐานภาพถาย และระยะหางระหวางจุดหลักและจุดหลักคูเดียวกันบนภาพทั้งสอง มีระยะใกลเคียงกับฐานเครื่องมือ บางคนใชเวลาในการจัดภาพเพียงไมกี่นาที แตบางคนอาจใชเวลานานมาก ขึ้นอยูกับประสบการณและสายตาของแตละคน บางคนที่มีตาสองขางที่ทํางานไมเทากัน อาจทําไมเห็นภาพสามมิติในตอนแรก แตเมื่อปรับตาไปนานๆ ตาสองขางจะทํางานเทากันจึงมองเห็นภาพสามมิติได หลักการแปลภาพถายทางอากาศ การแปลภาพถายทางอากาศ หมายถึง การสกัดเอาสารสนเทศดานคุณภาพ (qualitative information) ของธรรมชาติ การกําเนิด บทบาท หรือส่ิงที่แสดงออกของวัตถุตางๆ ที่เห็นจากภาพถาย สารสนเทศดานคุณภาพนี้ เปนการปฏิบัติที่นอกเหนือจากการคาดคะเนสารสนเทศทางดานปริมาณ ที่เราสามารถหาไดงายๆ จากภาพถาย เชน ขนาด ตําแหนง จํานวน หรือการกระจายของวัตถุตางๆ ซึ่งตองใชเปนขอมูลเบ้ืองตนในการแปลภาพอีกที การแปลภาพถายไมใชอาศัยเฉพาะลักษณะที่สามารถมองเห็นไดจากภาพถายเพียงอยางเดียว แตตองควบคูกับการจินตนาการ การวิเคราะห และการคาดคะเนโดยใชเหตุและผล ซึ่งตองใชความรูในวิชาการตางๆ จากหลายสาขามาประยุกต ทั้งนี้เพ่ือใหเกิดภาพพจนในส่ิงที่เราไมสามารถจะมองเห็นไดบนภาพถายโดยตรง หรือใชในการคาดคะเน ถึงลักษณะภายในและสมบัติอ่ืน จากสิ่งที่เรามองเห็นในภาพถายทางอากาศ การแปลภาพถายทางอากาศมิไดถือเปนวิทยาศาสตรอยางแทจริงนัก

กระจกเลนซ

กลองสองตา

ปริซึม ปุมขยาย

ระยะฐานเกลอง

วงแหวนปรับความชัด

Page 6: บทที่ 4 การแปลภาพถ ายทางอากาศnatres.psu.ac.th/Department/EarthScience/remote1/chapter... · 2006-10-02 · บท ที่ 4

การสํารวจขอมูลระยะไกลและการแปลภาพถายทางอากาศ 48

แตเปนศิลปะอยางหนึ่ง ที่จะตองมีเทคนิคหรือหลักวิชาการ เพ่ือใหบรรลุผลอยางมีประสิทธิภาพ หลักสําคัญในการแปลภาพถายทางอากาศอีกอยางหนึ่งก็คือ ตองสามารถแยกเฉพาะสิ่งที่เราตองการจะศึกษาออกจากสิ่งอื่นๆ ซึ่งมีอยูมากมายหลายอยางปะปนกันอยูบนภาพถาย ยกตัวอยาง เชน การแปลภาพถายทางอากาศเพื่อการสํารวจดิน ก็ตองเลือกลักษณะตางๆ ที่ปรากฏอยูบนภาพถายที่มีความสัมพันธกับดิน ความชํานาญของผูแปลภาพถาย ก็มีความสําคัญย่ิงอยางหนึ่งในการแปลภาพ ผูแปลภาพในสาขาใด จําเปนตองมีพ้ืนฐานความรูในวิชาการสาขานั้นอยางเพียงพอ (specialize knowledge) และตองมีความรูบางอยางที่เกี่ยวของ ตัวอยางเชน การแปลภาพถายเพ่ืองานสํารวจดิน จะตองศึกษาวิชาการอื่นๆ นอกเหนือไปจากวิชาปฐพีวิทยา เปนตนวา วิชาธรณีวิทยา วิชาธรณีสัณฐาน พืชพรรณ อุทกวิทยา และอื่นๆ ซึ่งจะทําใหผูแปลสามารถขจัดปญหาที่จะเกิดขึ้นในขณะแปลภาพ และทําใหเขาใจกระบวนการตางๆ ที่เกี่ยวของกับดินได นอกจากนี้ผูแปลจะตองมีความรูประจําถ่ิน (local reference level) คือ ความรูที่ไดจากความคุนเคยกับส่ิงตางๆ สถานที่และภูมิประเทศนั้นๆ เพ่ือทําใหสามารถตีความจากขอมูลที่เกี่ยวของไดดีย่ิงขึ้น ระดับการแปล (level of interpretation) ระดับการแปลภาพแบงออกเปน 3 ระดับใหญๆ แตกตางกันตามความซับซอนของกระบวนการแปล และความลุมลึกของสารสนเทศที่ตองการสกัดออกจากภาพ ซึ่งไดแก การอานภาพ(image reading) การวิเคราะหภาพ (image analysis) และการแปลภาพ (image interpretation) การอานภาพ การอานภาพเปนระยะแรกของการศึกษา เปนการพิจารณาภาพโดยผิวเผิน โดยแยกแยะลักษณะหลักในภาพ แลวหาการกระจายและความสัมพันธระหวางลักษณะหลักเหลานั้น ขั้นตอนนี้มีความสําคัญกอนการวิเคราะหภาพ เพราะผูวิเคราะหภาพจะไดเลือกภาพไดถูกตอง และสามารถประเมินถึงความเหมาะสมของภาพที่จะนํามาใชในการศึกษารายละเอียดตอไป การวิเคราะหภาพ การวิเคราะหภาพเปนการอานภาพที่เนนรายละเอียด เพ่ือใหเขาใจลักษณะตางๆ ที่เห็นในภาพไดมากขึ้น ในขณะเดียวกัน อาจจะมีความจําเปนตองมีการวัดลักษณะตางๆ ทางดานปริมาณจากภาพถายมาประกอบการแปลภาพดวย ตัวอยางเชน ทางการเกษตร อาจจะตองมีการแยกแยะ และวัดพ้ืนที่การใชที่ดินประเภทตางๆ แปลรูปแบบการระบายน้ํา ทําแผนที่ชั้นความสูง แปลพื้นที่ที่มีการชะลางพังทลาย และโครงขายถนน เปนตน การวิเคราะหภาพจะใหสาระที่จําเปนเกี่ยวกับพ้ืนที่ แตไมไดรวมถึงการสังเคราะห (synthesis) ขอมูลเหลานั้น ในบางครั้งการวิเคราะหภาพอาจจะเพียงพอแลวในบางวัตถุประสงค แตจะไมเพียงพอถาตองการเขาใจถึงเหตุ และผลของเรื่องราวตางๆ การจําแนกภาพ เปนการวิเคราะหแบบตั้งเหตุผล หรือต้ังสมมุติฐาน (inductive) และสืบสาวเหตุผลเฉพาะเรื่อง (deductive) โดยใชขอมูลอื่นมาประกอบดวย หลังจากที่นักตีความภาพถายทางอากาศไดทําการวิเคราะหภาพโดยแบงแยกกลุมของรายละเอียดแลว จะตองหาขอมูลเพ่ิมเติมมาอธิบายลักษณะทางกายภาพ ชีวะ สังคม หรืออ่ืนๆ เพ่ือที่จะทราบหนาที่และความสัมพันธของลักษณะสําคัญตางๆ ที่วิเคราะห การสืบสาวเหตุผลจากความรู ปรากฏการณ พยานหลักฐานและสิ่งแวดลอมตางๆ มาชวยในการตั้งสมมุติฐานและสืบสาวเหตุผล สามารถนําไปใชไดในทุกระดับการแปล การแปลสิ่งที่เราเห็นหรือไมเห็นก็ตาม ผูแปลตองสามารถนําลักษณะนั้นๆ เปรียบเทียบกับลักษณะภาพวัตถุที่คุนเคย และสรุปลักษณะนั้นวานาจะเปนอะไร หรือสรุปไดวาเปนปรากฏการณทํานองเดียวกันหรือตางกัน

Page 7: บทที่ 4 การแปลภาพถ ายทางอากาศnatres.psu.ac.th/Department/EarthScience/remote1/chapter... · 2006-10-02 · บท ที่ 4

การแปลภาพถายทางอากาศ 49

อยางไร ยกตัวอยางเชน ในกรณีที่ตองการหาแนวเสนที่มีการฝงทอสงน้ํามัน ซึ่งเรามองไมเห็นทอในภาพถาย แตเราสามารถสืบไดจากเหตุผลที่วา บริเวณท่ีฝงทอจะมีพืชพรรณตางจากบริเวณขางเคียง และดินตองมีการระบายน้ําดี เพราะกลบดวยทรายและหิน สีของดินก็จะจางมากกวาดินขางเคียง และแนวฝงทอควรจะเปนเสนตรง ดังนั้นถาเราเห็นลักษณะเหลานี้ในภาพถาย เราอาจจะบอกไดวานาจะเปนแนวฝงทอน้ํามันได แตถาการวิเคราะหไมถูกตองก็จะตองวิเคราะหกันใหมถึงเหตุและผลท่ีจะสามารถจําแนกแนวทอสงน้ํามันจากภาพถายได ดังนั้นความรูเฉพาะเรื่องและประสบการณของผูแปลจะสําคัญมากในขั้นตอนนี้ หลักการที่ใชในการจดจําวัตถุตางๆ ในภาพ วัตถุตางๆ สามารถถูกแยกแยะในภาพไดในเบ้ืองตนจากลักษณะตางๆ ของวัตถุที่ถูกบันทึกในภาพไดแก ขนาด รูปราง เงา สีหรือโทนสี รูปแบบ และ เนื้อภาพ ลักษณะตางๆ เหลานี้ เรียกวา องคประกอบพื้นฐานของภาพ รูปราง (shape) หมายถึง รูปรางที่เห็นเปน 2 มิติในแนวดิ่ง การมองวัตถุตางๆ ในภาพถายทางอากาศ บางครั้งอาจจะมีความลําบากในการรูจัก หรือจดจําวัตถุนั้นไดจากการมองลงมาในแนวดิ่ง จําเปนตองอาศัยความคุนเคย จะเขาใจถึงโครงสราง องคประกอบและหนาที่ของส่ิงตางๆ ที่เห็นในภาพถายนั้น เชน ภาพถายในแนวดิ่งของบริเวณโรงงานอุตสาหกรรมขนาดใหญ ลักษณะของตัวอาคารจะมีสวนชวยใหรูวาสวนไหนของพื้นที่นั้นๆ มีหนาที่อยางไร ภาพของสภาพปาไม ที่มองจากแนวดิ่ง ทําใหสามารถจําแนกชนิดของปาไม สวนกิจกรรมและสิ่งกอสรางตางๆ ของมนุษย เชน ทางรถไฟ ถนนและตัวอาคารตางๆ ในเขตตัวเมือง สามารถมองเห็นและจดจําไดงาย เพราะกิจกรรมและส่ิงกอสรางเหลานั้นมีรูปรางเปนระเบียบและเปนแนวงายๆ ขนาด (size) ขนาดของวัตถุในภาพถายทางอากาศจะแปรเปลี่ยนไปตามมาตราสวนของภาพถาย และมีสวนสัมพันธกับขนาดของสิ่งตางๆ โดยรอบ การวัดขนาดของวัตถุจะสามารถชวยในการตีความไดมากในกรณีที่เกิดความสงสัย มิฉะนั้นอาจทําใหการตีความผิดได ถาหากวาการประเมินขนาดของวัตถุผิดไป เชน เลาไกกับตัวบาน หรือตนไมใหญกับไมพุม นอกจากนี้ยังมีความจําเปนตอการแปลภาพทางดานธรณีวิทยา เชน การวัดขนาดของสันเขา ขนาดการเคลื่อนที่ของรอยเลื่อน และความหมายของชั้นหิน เปนตน เงา (shadow) รูปรางหรือโครงรางของเงาของวัตถุ ชวยใหผูแปลภาพทราบลักษณะรูปหนาตัดของวัตถุ โดยเฉพาะวัตถุขนาดเล็ก ที่มีสีหรือความเขมไมเดนชัด เมื่อเทียบกับสภาพแวดลอม เชน โครงสรางของสะพาน ถังเก็บน้ํา เนื่องจากวัตถุที่อยูภายใตเงาจะสะทอนแสงไดนอย ทําใหยากตอการมองเห็น ดังนั้น งานที่สนใจในสภาพภูมิประเทศโดยทั่วๆ ไป จึงมักจะทําการถายภาพในชวงสองชั่วโมงกอนและหลังเที่ยง ซึ่งเปนชวงที่มีเงาทอดลงมาจากวัตถุนอยที่สุด สี หรือ โทนสี (color or tone) หมายถึง สีหรือระดับความเขมของสีเทาของจุดภาพ ซึ่งมีต้ังแตระดับของสีเทาจากจางสุดไปถึงเขมสุด (shade of grey) ระดับของโทนสี จะสัมพันธกับปริมาณของแสงที่สะทอนจากวัตถุ วัตถุที่สะทอนแสงอาทิตยกลับไปสูกลองไมมาก จะทําใหจุดภาพของวัตถุนั้นมีสีจาง วัตถุที่ดูดแสงมากจะทําใหเห็นเปนสีทึบหรือมืด สวนวัตถุที่มีผิวเรียบ เชน สนามหญา ถนน และพ้ืนดินธรรมดานั้นจะเห็นเปนสีจาง บริเวณที่ไมสม่ําเสมอ เชน สวนผลไมที่โตแลว ทุงหญาเล้ียงสัตว จะเห็นเปนสีเขมในภาพ น้ําซึ่งดูดกลืนแสงที่ตกกระทบเกือบทั้งหมดภาพที่ปรากฏจะเปนสีดํา แตถาตําแหนงของกลองไดรับแสงสะทอนของดวงอาทิตยจากน้ําโดยตรง จะทําใหภาพเปนสีขาวไปเลย

Page 8: บทที่ 4 การแปลภาพถ ายทางอากาศnatres.psu.ac.th/Department/EarthScience/remote1/chapter... · 2006-10-02 · บท ที่ 4

การสํารวจขอมูลระยะไกลและการแปลภาพถายทางอากาศ 50

โทนสีของภาพ มีสวนชวยในการแปลภาพถายไดมาก โทนสีแตกตางกัน อาจจะหมายถึงลักษณะของดิน หรือพืชพรรณที่แตกตางกัน ซึ่งอาจเปนผลของสภาพทางธรณีที่ตางกัน มีปจจัยหลายอยางที่มีผลตอโทนสีของภาพถาย ซึ่งไดแก ตําแหนงของดวงอาทิตยกับกลอง ตลอดถึงสภาพภูมิประเทศ เชน ภาพของปาไมจะปรากฏเปนสีจางมากกวา เมื่อกลองถายภาพและดวงอาทิตยอยูดานเดียวกัน ชนิดของฟลมและแผนกรองแสง รวมถึง กระบวนการอัดภาพและอื่นๆ มีผลอยางมากตอโทนสีดวยเชนกัน อาจจะกลาวไดวาประโยชนที่ไดรับจากโทนสีแทจริงในการแปลภาพ คือ การตัดกันของโทนสี (contrast) ระหวางวัตถุ ซึ่งทําใหสามารถสังเกตความแตกตางกันของสภาพของวัตถุที่แตกตางกัน หรือเหมือนกัน โดยเฉพาะ เมื่อส่ิงที่เราสนใจในภาพมีความสูงนอย หรือไมมีความแตกตางกันทางดานภาพสามมิติ โทนสีของภาพจะมีความสําคัญมากขึ้น เน้ือภาพ (texture) คือ ความถี่ของการเปลี่ยนโทนสีของจุดภาพซึ่งเกิดจากการรวมหนวยเล็กๆ ที่ไมสามารถมองเห็นแยกออกเปนแตละหนวย ความหยาบละเอียดของภาพถายมักจะบรรยายลักษณะเปนลักษณะ เรียบ ละเอียด ขรุขระ หยาบ และอ่ืนๆ มาตราสวนของภาพถายจะมีผลตอความหยาบและละเอียดของภาพ เมื่อเรายอมาตราสวนของภาพถายใหเล็กลง ความหยาบละเอียดของวัตถุบนภาพถายจะปรากฏละเอียดขึ้น ความแตกตางของความหยาบละเอียดของภาพถาย มักจะใชบอกถึงชนิดของพืช รูปแบบ (pattern) เกี่ยวของกับลักษณะการเรียงตัวของวัตถุตางๆ ที่มีตามธรรมชาติ และท่ีมนุษยสรางขึ้น เชน การเรียงตัวของพืชพรรณในสภาพธรรมชาติ จะแตกตางจากการจัดพ้ืนที่เกษตรโดยมนุษย รูปแบบมีสวนชวยในการแปลภาพไดดีย่ิงขึ้นในรายละเอียดที่เราสนใจ เชน นักภูมิศาสตรและมนุษยวิทยาจะสนใจรูปลักษณะของการตั้งถ่ินฐาน และการกระจายของประชากร นักธรณีสนใจในรูปลักษณะของหินโผล ซึ่งอาจทําใหรูถึงโครงสรางทางธรณี และประเภทของเนื้อดินได กลยุทธในการแปลภาพ (interpretation strategies) หลักการที่ใชในการจดจําวัตถุตางๆ ในภาพ เปนเทคนิคที่ชวยในการแยกแยะชนิดของวัตถุและหนาที่ของมัน แตไมไดใหมุมมอง (perspective) ที่กวางกวาในการวิเคราะห มุมมองเปนส่ิงจําเปนในการทําความเขาใจถึง การเชื่อมโยงระหวางวัตถุและหนาที่ของมันในพ้ืนที่หนึ่งๆ หรือเพ่ือใชแกปญหาอันเนื่องมาจากความไมแนใจของการแปล กลยุทธในการแปลจะชวยใหมีมุมมองในการวิเคราะห คือ ท่ีต้ังและความสัมพันธกับรายละเอียดขางเคยีง (location and relation to associated features) ในบางกรณีรายละเอียดที่ปรากฏอยูใกลเคียงกันในภาพถายทางอากาศ จะชวยใหผูอานตีความไดวา รายละเอียดที่ปรากฏใหเห็นนั้นเปนอะไร เชน เห็นอาคารอยูชิดทางรถไฟ เปนอาคารขนาดใหญยาว และมีรางแยกออกหลายราง ก็ทราบไดทันทีวาเปนสถานีรถไฟ ลักษณะทางธรณีวิทยานั้นอาจจะเห็นไดจากโครงรางของหวยน้ํา ลําธาร ชนิดของพืชอาจจะรูไดโดยอาศัยที่ต้ังของลักษณะภูมิประเทศ เชน บริเวณริมทะเลซึ่งมีหาดเปนเลน ปาไมที่ขึ้นอยูกค็วรจะเปนปาชายเลน การเปลี่ยนแปลงตามเวลา (temporal change) การเปล่ียนแปลงตางๆ ทางธรรมชาติที่เกิดในแตละชวงเวลาที่เปล่ียนแปลง มีความสําคัญตอการแปลภาพถายเพราะวาปจจัยตางๆ ที่เปล่ียนแปลงจะมีผลตอการเปลี่ยนแปลงสภาพพื้นที่ ตัวอยางเชน การแยกชนิดของพืชพรรณจะทําไดดีถามีภาพจากหลายๆ ฤดูกาล หรือหลายๆ ป นอกจากนั้นการผันแปรของฤดูกาล และภูมิอากาศจะทําไดเกิดการเปลี่ยนแปลงทั้งในระยะส้ัน และในระยะยาวดวย

Page 9: บทที่ 4 การแปลภาพถ ายทางอากาศnatres.psu.ac.th/Department/EarthScience/remote1/chapter... · 2006-10-02 · บท ที่ 4

การแปลภาพถายทางอากาศ 51

การรวบรวมหลักฐานตางๆ (convergence of evident) ในการแปลภาพ ผูแปลจะรวบรวมหลักฐานรอบดานที่เกี่ยวของกับส่ิงที่เราสนใจจากภาพถาย เมื่อรวบรวมหลักฐานไดมากพอ เราจึงตั้งสมมุติฐานอันหนึ่ง ยกตัวอยางเชน โทนสีของสิ่งที่เราสนใจมีสีเขม มีรูปแบบเปนแนวตรง และมีการแตกสาขา และต้ังอยูในหุบเขา หลักฐานที่ไดนี้เพียงพอที่จะบอกวาส่ิงที่เราเห็น คือ ทางน้ําที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ แตในบางครั้งหลักฐานที่ไดจากภาพไมเพียงพอตอการตั้งสมมุติฐาน ดังนั้นจําเปนตองหาหลักฐานจากแหลงอื่นมาเสริมดวย แหลงขอมูลที่หางายที่สุด คือ การปรึกษากับผูรวมงาน เพราะการเขาถึงปญหาจากหลายๆ ดาน ทําใหสมมุติฐานกระจางขึ้น แตถายังแกปญหาไมไดก็ตองออกภาคสนาม การออกภาคสนามจะดีที่สุด ไมวาจะกระทํากอนหรือหลังการแปลภาพ การออกภาคสนามอาจจะมีวัตถุประสงค เพ่ือประเมินความแมนยําของการแปล (accuracy assessment) แตถาไมมีความแนใจในการแปลมาก การออกภาคสนามจะตองกระทําโดยเร็วที่สุด การปฏิบัติการแปลภาพถาย (interpretation procedure) กอนเริ่มกระบวนการแปล ผูแปลจะตองมีวิธีการที่จะทําการแปลภาพ ซึ่งแตละคนอาจจะใชวิธีที่แตกตางกัน แตมีขั้นตอนทั่วไป ดังนี้

1. เขาใจแจมแจงถึงสารสนเทศที่เราตองการ เชน ประเภท และระดับของการจําแนก ระดับความละเอียด และความถูกตองของการแปล

2. เขาใจวาขอมูลที่เราตองการนั้นแสดงออกอยางไรในภาพถาย จากเอกสารอื่นๆ 3. ประเมินความเหมาะสมของภาพที่นํามาใช เครื่องมือ และความชํานาญของผูรวมงานใน

การสกัดขอมลูออกมา 4. แปลภาพ

กระบวนการแปลภาพ การเริ่มกระบวนการแปล ไมไดมีวิธีที่ถูกตองวิธีเดียว ขึ้นอยูกับวัสดุภาพที่ใช และเครื่องมือที่มีอยู นอกจากนี้แลว วัตถุประสงคเฉพาะของการแปล จะเปนตัวกําหนดกระบวนการที่ใช เชน ผูวิเคราะหอาจจะแคนับวาในภาพมีรถกี่คัน มีสัตวกี่ตัว แตบางคนอาจจะวิเคราะหในส่ิงที่ปกติจะไมเห็นในภาพ เชน แหลงของมลพิษที่เกิดในลําน้ํา พ้ืนที่ปาไมที่เกิดการทําลายโดยแมลง หรือ อ่ืนๆ การประยุกตการแปลภาพหลายอยาง ตองใชการลากขอบเขตหนวยตางๆ ที่แยกออกจากกันได เชน การทําแผนที่ชุดดิน การใชที่ดิน ชนิดของปา หรืออ่ืนๆ ซึ่งผูแปลจะตองลากเสนแบงหนวยตางๆ ที่แตกตางกัน แตถาส่ิงที่จะแบงมีความแตกตางกันอยางไมชัดเจน ก็อาจจะเกิดมีปญหาขึ้นได ประเด็นที่สําคัญอยางยิ่ง 2 ประเด็นที่ผูแปลตองเตรียมไวกอนที่จะลากขอบเขต (delineate) หนวยที่จะแยกในภาพถาย ประเด็นท่ีแรก คือ ตองกําหนดระบบการจําแนก (classification system) และบรรทัดฐาน (criteria) ที่ใชในการแบงประเภท (categories) ของสิ่งที่ปรากฏบนภาพถาย ยกตัวอยางเชน ถาตองการทําแผนที่การใชที่ดิน ผูแปลตองกําหนดระบบการจําแนกการใชที่ดินกอน ซึ่งอาจใชระบบของกรมพัฒนาที่ดินของประเทศไทย (ตามตัวอยางตอไปในบทนี้) หรือตามระบบของสหรัฐอเมริกา (Campbell, 1987) และในแตละสภาพการใชที่ดินนั้น มีลักษณะเฉพาะอะไรที่ใชแยกความแตกตาง ส่ิงเหลานี้ตองทําความเขาใจใหดี และกําหนดไวกอนที่จะลงมือแปล และถามีผูทํางานรวมกันหลายคนจะตองมีการตกลงกันในรายละเอียดใหแนนอน หลังจากนั้นก็ใหกําหนดสัญลักษณกับส่ิงที่แยกไว

Page 10: บทที่ 4 การแปลภาพถ ายทางอากาศnatres.psu.ac.th/Department/EarthScience/remote1/chapter... · 2006-10-02 · บท ที่ 4

การสํารวจขอมูลระยะไกลและการแปลภาพถายทางอากาศ 52

ประเด็นท่ี 2 ที่ตองรูในการลากขอบเขตหนวยพ้ืนที่ในภาพถาย คือ การเลือกหนวยแผนที่ที่เล็กที่สุด (minimum mapping unit, MMU) ที่จะใชในกระบวนการแปล MMU หมายถึง ขนาดพื้นที่บนภาพที่เล็กที่สุด ที่สามารถวาดขอบเขตเพื่อการทําแผนที่หนึ่งๆ MMU จะเปนตัวกําหนดรายละเอียดของการแปล ดังแสดงในรูปท่ี 4.6 จะเห็นวา แผนที่ที่ใช MMU ขนาดเล็ก จะแสดงรายละเอียดไดมากกวาแผนที่ที่ใช MMU ขนาดใหญ

a b รูปท่ี 4.6 อิทธิพลของขนาดของหนวยแผนที่ที่เล็กที่สุด a) ขนาดพื้นที่เล็ก b) ขนาดพื้นที่ใหญ ที่มา : Campbell, 1987 ขนาดของพื้นที่ที่นอยที่สุด ที่สามารถกําหนดขอบเขตลงบนแผนที่ภาพถาย ขึ้นอยูกับมาตราสวนและความละเอียดของภาพ แตโดยทั่วไปขนาดเล็กที่สุดไมควรจะเล็กกวา 2.5 มิลลิเมตรในแตละดาน ย่ิงกวานั้นพ้ืนที่ขนาดเล็กมากที่แสดงในแผนที่จะทําใหมีปญหากับคนใชแผนที่ ตารางที่ 4.1 แสดงถึง ขนาดพื้นที่ภูมิประเทศที่เล็กที่สุดที่สามารถกําหนดลงแผนที่ ที่ระดับการจําแนกตางๆ กัน (McCloy, 1995) หลังจากกําหนดระบบการจําแนก และ MMU แลว ผูแปลก็จะไดประเภทของสิ่งที่สนใจ ผูแปลก็เริ่มลากขอบเขต เพ่ือแยกประเภทสิ่งตางๆ ใหเริ่มจากสิ่งที่มีลักษณะที่แตกตางกันมากที่สุดกอน หรือ เริ่มทํางานจากลักษณะทั่วไป (general) ไปสูเฉพาะเรื่องที่เฉพาะเจาะจง (specific) เชน การแปลการใชที่ดินใหเริ่มจากการแยก “ที่อยูอาศัย” กับ “น้ํา” และ“พ้ืนที่เกษตร” กอนที่จะไปแยกรายละเอียดในแตละหัวขอเพ่ิมขึ้น (มาตราสวนเล็ก ไปหามาตราสวนใหญ) โดยแปลสิ่งที่รูหรือจดจําไดกอน แลวคอยแปลรายละเอียดโดยใชกลยุทธในการแปลภาพ ถาไมทราบวาส่ิงที่แปลคืออะไร ใหเลือกลากขอบเขตจากการดู “photo-morphic region” ซึ่งหมายถึง บริเวณที่เห็นลักษณะพื้นฐานในภาพถายเปนแบบเดียวกัน และจะทราบวามันเปนอะไรก็ตอเมื่อไปตรวจสอบในภาคสนาม ตารางที่ 4.1 ขนาดพื้นที่ภูมิประเทศที่เล็กที่สุด ที่สามารถกําหนดลงบนแผนที่ที่ระดับการจําแนกตางๆ กัน โดยมี MMU เทากับ 2.5 มม. x 2.5 มม. ระดับการจําแนก มาตราสวนของแผนที่ ขนาดพื้นที่ที่เล็กที่สุดที่จะกําหนดลง

บนแผนที่ (เฮกตาร) 1 2 3

1 : 500,000 1 : 62,500 1 : 24,000

150 2.5 0.35

Page 11: บทที่ 4 การแปลภาพถ ายทางอากาศnatres.psu.ac.th/Department/EarthScience/remote1/chapter... · 2006-10-02 · บท ที่ 4

การแปลภาพถายทางอากาศ 53

ขั้นตอนตอไปหลังการแปลภาพ คือ การออกไปตรวจสอบสภาพความเปนจริงในภาคสนาม วา ขอบเขตของทรัพยากรที่ไดจาการแปลนั้น ถูกตองตามความเปนจริงในภาคสนามหรือไม ลักษณะและรายละเอียดเปนอยางไร ตรงตามที่คาดหมายไวหรือไม ถาไมถูกตองก็ตองแกไขใหถูกตอง และรายงานผลที่ถูกตอง การเตรียมภาพและการดูภาพรวม (photo preparation and viewing) ขั้นตอนในการการเตรียมภาพ และการแปลภาพ คือ

1. รวบรวมขอมูลที่เกี่ยวของจากแหลงตางๆ เชน แผนท่ี รายงานในภาคสนาม หรือภาพอื่นๆ รวมถึงเคร่ืองมือที่ใชในการดูภาพ

2. เรียงภาพถายอยางเปนระบบตามดัชนีภาพ และสอดคลองกับแผนที่ ถาบริเวณใดที่มีเมฆปกคลุม อาจจะตองวางแผนหาวิธีการอื่นมาทดแทนที่วางนี้

3. ทาบกระดาษไขหรือแผนใสลงเปนภาพถาย ทําเครื่องหมายจุดตางๆ ลงไปกอนเพ่ือการตอภาพ เชน ทิศเหนือ จุดดัชนี หมายเลขรูปถาย จุดหลัก และ จุดควบคุมบนพ้ืนดิน ถนน หรือ แมน้ํา ลําคลอง เปนตน

4. เริ่มตนผูแปลตองจํากัดขอบเขตพื้นที่ประสิทธิภาพ (effective area) บนภาพที่จะแปล พ้ืนที่ประสิทธิภาพ เปนพ้ืนที่ระหวางเสนตั้งฉากของจุดกึ่งกลางของเสน ที่ตอระหวางจุดหลักและจุดหลักคูของภาพขางเคียง (match line ในรูปที่ 4.7) เพราะบริเวณนี้อยูใกลจุดหลัก จะชวยลดปญหาความคลาดเคลื่อนเนื่องจากความสูงได หลังจากนั้นใหกําหนดจุดบน match line ประมาณ 3 - 4 จุด ซึ่งจะใชเปนจุดปก (wing points) หลังจากนั้น ยายจุดปกนี้ไปยังภาพดานขางซึ่งจะกลายเปนจุดปกยาย (wing transferred points) การยายจุดปกตองกําหนดใตกลองมองภาพสามมิติ การเลือกจุดปกใหเลือกจุดทั้งบนที่ราบและที่สูง

ภาพที่ 1 ภาพที่ 2 ภาพที่ 3

รูป ท่ี 4.7 พ้ืนที่ประ สิทธิภาพ จุดปก (x) ของภาพคู สามมิ ติ และการยายจุดปกไปยังภาพ

ขางเคียง (x′) ดัดแปลงจาก Zuidam, 1986

P1

P2 P3P1′ P3′

x x x x

x′ x′ x′ x′

P2′

พ้ืนที่ประสิทธิภาพ match line

Page 12: บทที่ 4 การแปลภาพถ ายทางอากาศnatres.psu.ac.th/Department/EarthScience/remote1/chapter... · 2006-10-02 · บท ที่ 4

การสํารวจขอมูลระยะไกลและการแปลภาพถายทางอากาศ 54

จุดปกที่ยายนี้เมื่อลากตอกันจะเปนเสนตรง แตถาเปนบริเวณที่มีพ้ืนที่สูงต่ําอาจจะไมเปนเสนตรงเนื่องจากมีความคลาดเคลื่อนเนื่องจากความสูงของพ้ืนที่ จุดปกนี้จะเปนประโยชนเมื่อเราเอาแผนรางที่แปลแลวมาตอกันตรงจุดปก จะทําใหภาพไมเล่ือน

ในกรณีการทําโครงขายสามเหลี่ยมเพ่ือตอรูป และปรับมาตราสวนของรูป ใหเลือกจุดควบคุมภาคสนามที่กําหนดจุดไดแนนอน (GC1 และ GC2) และจุดควบคุมบนภาพถาย ((PC1, PC2, PC3 และ PC4) ในรูปท่ี 4.8 จุดเหลานี้จะอยูในสวนของภาพที่ซอนกัน เมื่อเอาภาพมาตอกันตามเสนที่โยงจากจุดหลักจะไดภาพที่ตอกันในรูปที่ 4.9

รูปท่ี 4.8 ภาพคูสามมิติ 3 ภาพที่ประกอบดวยจุดควบคุมภาคสนาม และจุดควบคุมบนภาพถาย ที่มา : Paine, 1981

รูปท่ี 4.9 โครงขายสามเหลี่ยมของภาพที่ควบคุมจุดจากรูปที่ 4.8 แนวการบินจะตองเปนแนวตรงอยาง

สมบูรณ ที่มา : Paine, 1981

5. ลากขอบเขตบนแผนใสหรือกระดาษไขที่ทาบลงบนภาพ แลวเขียนสัญลักษณ หรือตัวเลขแทนสัญลักษณลงในขอบเขตที่วาดทุกครั้ง ขอบเขตที่ลากจะตองใหมีจุดเริ่มและจุดจบเปนจุดเดียวกัน (polygon) สัญลักษณดังกลาวไดมาจากการกําหนดแบบแผนการจําแนก และ MMU ในตอนเริ่มกระบวนการแปลภาพ

6. เมื่อไดแผนที่ที่แปลแลว นําแผนที่มาตอกันตามจุดปกยาย หรือจุดควบคุมบนพ้ืนดิน และถาภาพถายมีขนาดเทากับแผนที่ใหทาบเปรียบเทียบกับแผนที่อีกทีหนึ่ง ในกรณีที่มีคนทํางานหลายคนในโครงการเดียวกัน แตละคนจะตองคํานึงถึงขอตกลงในการแปลภาพอยางเครงครัด

Page 13: บทที่ 4 การแปลภาพถ ายทางอากาศnatres.psu.ac.th/Department/EarthScience/remote1/chapter... · 2006-10-02 · บท ที่ 4

การแปลภาพถายทางอากาศ 55

ไมวาจะเปนระบบการจําแนก และ MMU และเมื่อเอาภาพที่แปลมาตอกัน ผูแปลแตละคนจะตองรับผิดชอบรวมกันในการปรับขอบเขตของพื้นที่ ที่เปนรอยตอใหเขากันได ดังรูปท่ี 4.10 ซึ่งอาจจะเปนแนวขอบเขต หรือสัญลักษณ

รูปท่ี 4.10 บริเวณขอบภาพที่แปลแลวจะตองเขากันไดทั้งขอบเขตและสัญลักษณ ที่มา : Campbell, 1987 ตัวอยางการจําแนกประเภทการใชท่ีดิน และสิ่งปกคลุมดิน การใชที่ดินบอกถึง การเอาที่ดินไปใชประโยชน แตส่ิงปกคลุมดินแสดงถึงลักษณะที่พ้ืนผิวดินถูกปกคลุม กิจกรรมของการใชที่ดินตลอดระยะเวลาหนึ่งๆ หรือ ฤดูกาลหนึ่งมักจะมีการเปลี่ยนแปลง โดยเฉพาะอยางยิ่งในพ้ืนที่ที่ทําการเกษตร ภาพที่ถายจากดาวเทียมหรือภาพถายทางอากาศจะแสดงสภาพของการใชที่ดินในขณะที่ถายภาพ ดังนั้นภาพที่ถายในตางเวลาอาจจะมีความแตกตางกัน ในทางตรงกันขาม ในบางชวงเวลาที่การใชที่ดินตางประเภทอาจดูคลายกันมาก จนอาจเกิดความสับสนในการตีความได จากที่กลาวมาแลว จะเห็นวาในบางครั้ง อาจจะเปนไปไดยากที่จะทําแผนที่การใชที่ดินทุกประเภทจากภาพเพียงภาพเดียว แตอาจจะตองใชภาพหลายๆ เวลา การทําแผนที่การใชที่ดิน อาจจะทําโดยการใชแบบแผนการจําแนกการใชที่ดิน ซึ่งจะแยกชนิดการใชที่ดินออกเปนประเภทตางๆ ที่อาจไมเหมือนกันในทุกระบบ ดังนั้น จึงไดมีความพยายามในการกําหนดเกณฑแบบแผนการจําแนกที่ดิน เพ่ือใหการกําหนดประเภทการใชที่ดินใหเปนแนวเดียวกัน โดยยึดเกณฑดังนี้ คือ

1. แบบแผนตองคํานึงถึงทั้งการใชที่ดิน และลักษณะปกคลุมดิน 2. แผนที่ที่จําแนกตองมีความถูกตองอยางนอยที่สุด 85 % 3. ความถูกตองของการจําแนกสําหรับทุกประเภทการใชที่ดินควรจะใกลเคียงกัน 4. การจําแนกควรจะสามารถนําไปใชซ้ําไดโดยผูแปลคนอื่น หรือ กับภาพถายบริเวณอื่น 5. ทุกประเภทการใชที่ดินที่กําหนดในแบบแผน ควรจะนําไปใชไดอยางกวางขวาง 6. ระบบที่ใชควรจะเหมาะสมกับการใชสําหรับพ้ืนที่ขนาดใหญ

A : ความผิดพลาดดานขอบเขต B : ความผิดพลาดดานสัญลักษณ

แผนที่ 1 แผนที่ 2

Page 14: บทที่ 4 การแปลภาพถ ายทางอากาศnatres.psu.ac.th/Department/EarthScience/remote1/chapter... · 2006-10-02 · บท ที่ 4

การสํารวจขอมูลระยะไกลและการแปลภาพถายทางอากาศ 56

7. ระบบควรจะมีลําดับชั้น (hierarchy) เพ่ือที่จะใหลําดับชั้นยอยสามารถรวมเปนกลุมไดหลังจากการตรวจสอบในภาคสนาม หรือเมื่อใชกับภาพถายดาวเทียม

8. แตละประเภทการใชที่ดินควรจะรวมกลุมกันได 9. สามารถนําไปเปรียบเทียบกับการใชที่ดินในอนาคตได 10. การทําแผนที่ควรจะทําในระดับที่ละเอียดที่สุดเทาที่ขอมูลจะอํานวย เพ่ือเปนประโยชนตอ

กลุมผูใชจํานวนมากที่สุด ตัวอยางการจําแนกการใชที่ดิน ซึ่งใชในแผนที่การใชที่ดินของกรมพัฒนาที่ดิน แบงออกไดถึงระดับที่ 3 ดังตารางที่ 4.2 การจําแนกการใชที่ดินแบบนี้ เปนแบบลําดับชั้น ซึ่งลําดับที่ 1 ภาพถายดาวเทียมสามารถจําแนกได สวนระดับที่ 2 สามารถจําแนกไดดวยภาพถายดาวเทียม หรือภาพถายทางอากาศที่ถายจากระยะสูง ระดับที่ 3 จําแนกไดดวยภาพถายทางอากาศมาตราสวนกลาง หรือภาพถายดาวเทียมรายละเอียดสูง อาจจะมีการจําแนกในระดับที่ 4 ซึ่งตองใชภาพถายทางอากาศในมาตราสวนใหญเทานั้น สําหรับการจําแนกการใชที่ดินในระดับ 3 และ 4 จําเปนตองมีขอมูลเพ่ิมเติมมาเสริม นอกเหนือจากขอมูลที่แปลไดจากภาพถายโดยตรง สัญลักษณที่ใชแทนการใชที่ดินอาจจะใชตัวอักษรหรือตัวเลข หรืออาจใชตัวอักษรผสมตัวเลขก็ได เชน 11 หรือ U11 ดังตัวอยางใน รูปท่ี 4.11 แสดงการวาดขอบเขตแผนที่ดินของ USDA-ASCS ซึ่งมีสัญลักษณชนิดของดินภายในขอบเขตที่วาด และมีเสนถนนเพ่ือเปนจุดสังเกตได

รูปท่ี 4.11 แสดงแผนที่ดินของ USDA-ASCS , Dane County, Wisconsin. ที่มา : Lillesand and Kiefer, 1994

Page 15: บทที่ 4 การแปลภาพถ ายทางอากาศnatres.psu.ac.th/Department/EarthScience/remote1/chapter... · 2006-10-02 · บท ที่ 4

การแปลภาพถายทางอากาศ 57

ตารางที่ 4.2 การจําแนกการใชที่ดินในระดับตางๆ ระดับที่ 1 ระดับที่ 2 ระดับที่ 3 1.พื้นที่อยูอาศัย 2.พื้นที่เกษตรกรรม 3.ปาไม 4.พื้นที่ชุมนํ้า 5. แหลงนํ้า 6.พื้นที่วาง

11 ตัวเมือง 12 หมูบาน 13 สถานที่ราชการ 14 พื้นที่โลง 21 นาขาว 22 ไมยืนตน 23 พืชไร 24 พื้นที่เลี้ยงสัตว 31 ปาเบญจพรรณ 32 ปาดิบชื้น 33 ปาชายหาด 41 พื้นที่ชุมนํ้าที่เปนปา 42 พื้นที่ชุมนํ้าไมใชปา 51 อางเก็บนํ้า 52 ทะเลสาบและแองนํ้า 61 ชายหาด 62 พื้นที่หินโผล

112 บริเวณที่มีความหนาแนนมาก 113 บริเวณที่มีความหนาแนนปานกลาง 114 บริเวณที่มีความหนาแนนต่ํา 121 หมูบานสวน 122 อื่นๆ 131 โรงเรียน 132 วัด 141 พื้นที่กําลังพัฒนา 142 พื้นที่เมืองที่ไมไดรับการพัฒนา 211 นาดํา 212 นาหวาน 213 นาในเขตชลประทาน 221 ยางพารา 222 ไมผล 223 อื่นๆ 231 ออย 232 ผักและไมผลลมลุก 241 ทุงหญาเลี้ยงสัตว 242 ฟารมเลี้ยงสุกร 311 ปาสัก 312 ปาถูกทําลาย 321 ปาถูกทําลาย 322 ปาสมบูรณ 411 ปาโกงกาง 412 ปาเสม็ด 421 หญาที่ลุม 422 ที่ลุมนํ้าจืด 521 ทะเลสาบ 522 บอปลา