61
บทที2 ขอมูลประเทศอินเดีย 2.1 ขอมูลทั่วไป 1 2.1.1 ที่ตั้งและภูมิศาสตร อินเดียเปนประเทศที่มีเศรษฐกิจใหญเปนอันดับ 5 ของโลก กลาวคือเปนรองเพียงประเทศ สหรัฐอเมริกา ญี่ปุเยอรมัน และจีน มี GDP เปนอันดับ 3 ของทวีปเอเชีย มีฐานที่ตั้งอยูในภูมิภาคเอเชียใต มีขนาดพื้นที่กวางใหญมากเปนอันดับ 7 ของโลก คือ 3,287,590 ตารางกิโลเมตร จนเรียกกันวาเปนอนุทวีป มีความใหญเปน 6 เทา ของประเทศไทย มีอาณาเขตทางทะเลกวางขวางถึง 15 เทาของอาณาเขตทะเลในประเทศไทย โดยมีชายฝงทะเลยาว 7,000 กิโลเมตร มีอาณาเขตติดตอกับประเทศตางๆ 6 ประเทศ ไดแก บังกลาเทศ ( ภาคตะวันออก ) พมา (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) จีน เนปาล ภูฏาน (ภาคเหนือ) และปากีสถาน (ภาคตะวันตกเฉียงเหนือ) และ มีดินแดนในอาณัติคือหมูเกาะอันดามันซึ่งอยูหางจากชายฝงดานตะวันตกของประเทศไทยเพียง 300 กิโลเมตร มีภูมิประเทศและอากาศแตกตางกันจากยานมรสุมในภาคใต ปานกลางในภาคเหนือ มีทะเลทราย ในภาคตะวันตก มีภูเขาสูงแถบชายแดนภาคเหนือ และลอมรอบดวยมหาสมุทรอินเดียในภาคใต ลักษณะภูมิอากาศไดรับอิทธิพลจากลมมรสุมฤดูรอนและฤดูหนาว ทําใหบางปฝนแลงมากแตบางป ก็ฝนตกชุกเกินไป อินเดียจึงอยูในเขตที่ไดรับภัยธรรมชาติหลายอยางทั้งภัยแหงแลง น้ําทวมฉับพลัน และแผนดินไหว มีทรัพยากรธรรมชาติหลายชนิด เชน ถานหินซึ่งมีปริมาณสํารองมากเปนอันดับ 4 ของโลก แรเหล็ก แมงกานิส ไมกา บ็อคไซต ไททาเนี่ยม โครไมต แกสธรรมชาติ เพชร หินปูน และปโตรเลี่ยม มีพื้นที่เหมาะแกการเพาะปลูกซึ่งมีอยูถึง 54% ของพื้นที่ทั้งหมด โดยเปนพื้นที่ที่ไดรับ การชลประทานขนาดเทาพื้นที่ทั้งหมดของประเทศไทย แบงออกเปน 593 จังหวัด 5,545 เมือง และ 638,000 หมูบาน ประชากรอยูหนาแนนในเขตภาคใต และภาคตะวันออก 1 www.cia.gov; www.era.usda.gov; www. asoatradejib/com; www.helplinelaw.com; http://indiaimage.nic.in; www.worldbank.org; www.dft.moc.go.th

บทที่ 2 ข อมูลประเทศอ ินเดีย - ThaiFTAบทท 2 ข อม ลประเทศอ นเด ย 2.1 ข อม ลท วไป1 2.1.1

  • Upload
    others

  • View
    5

  • Download
    0

Embed Size (px)

Citation preview

Page 1: บทที่ 2 ข อมูลประเทศอ ินเดีย - ThaiFTAบทท 2 ข อม ลประเทศอ นเด ย 2.1 ข อม ลท วไป1 2.1.1

บทที่ 2 ขอมูลประเทศอินเดีย

2.1 ขอมูลท่ัวไป1

2.1.1 ที่ต้ังและภูมิศาสตร อินเดียเปนประเทศที่มีเศรษฐกิจใหญเปนอันดับ 5 ของโลก กลาวคือเปนรองเพียงประเทศ

สหรัฐอเมริกา ญ่ีปุน เยอรมัน และจีน มี GDP เปนอันดับ 3 ของทวีปเอเชีย มีฐานที่ตั้งอยูในภูมิภาคเอเชียใต มีขนาดพื้นที่กวางใหญมากเปนอันดับ 7 ของโลก คือ 3,287,590

ตารางกิโลเมตร จนเรียกกันวาเปนอนุทวีป มีความใหญเปน 6 เทา ของประเทศไทย มีอาณาเขตทางทะเลกวางขวางถึง 15 เทาของอาณาเขตทะเลในประเทศไทย โดยมีชายฝงทะเลยาว

7,000 กิโลเมตร มีอาณาเขตติดตอกับประเทศตางๆ 6 ประเทศ ไดแก บังกลาเทศ (ภาคตะวันออก) พมา

(ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) จีน เนปาล ภูฏาน (ภาคเหนือ) และปากีสถาน (ภาคตะวันตกเฉียงเหนือ) และ มีดินแดนในอาณัติคือหมูเกาะอันดามันซึ่งอยูหางจากชายฝงดานตะวันตกของประเทศไทยเพียง 300 กิโลเมตร

มีภูมิประเทศและอากาศแตกตางกันจากยานมรสุมในภาคใต ปานกลางในภาคเหนือ มีทะเลทราย ในภาคตะวันตก มีภูเขาสูงแถบชายแดนภาคเหนือ และลอมรอบดวยมหาสมุทรอินเดียในภาคใต

ลักษณะภูมิอากาศไดรับอิทธิพลจากลมมรสุมฤดูรอนและฤดูหนาว ทําใหบางปฝนแลงมากแตบางปก็ฝนตกชุกเกินไป อินเดียจึงอยูในเขตที่ไดรับภัยธรรมชาติหลายอยางทั้งภัยแหงแลง น้ําทวมฉับพลัน และแผนดินไหว

มีทรัพยากรธรรมชาติหลายชนิด เชน ถานหินซึ่งมีปริมาณสํารองมากเปนอันดับ 4 ของโลก แรเหล็ก แมงกานิส ไมกา บ็อคไซต ไททาเนี่ยม โครไมต แกสธรรมชาติ เพชร หินปูน และปโตรเลี่ยม

มีพื้นที่ เหมาะแกการเพาะปลูกซึ่ งมีอยูถึง 54% ของพื้นที่ ท้ังหมด โดยเปนพื้นที่ ท่ีไดรับ การชลประทานขนาดเทาพื้นที่ท้ังหมดของประเทศไทย

แบงออกเปน 593 จังหวัด 5,545 เมือง และ 638,000 หมูบาน ประชากรอยูหนาแนนในเขตภาคใตและภาคตะวันออก

1 www.cia.gov; www.era.usda.gov; www. asoatradejib/com; www.helplinelaw.com; http://indiaimage.nic.in; www.worldbank.org; www.dft.moc.go.th

Page 2: บทที่ 2 ข อมูลประเทศอ ินเดีย - ThaiFTAบทท 2 ข อม ลประเทศอ นเด ย 2.1 ข อม ลท วไป1 2.1.1

กลยุทธการเจรจาจัดทําเขตการคาเสรี ไทย-อินเดีย

19

แผนภาพที่ 2.1 แผนที่ประเทศอินเดีย

Page 3: บทที่ 2 ข อมูลประเทศอ ินเดีย - ThaiFTAบทท 2 ข อม ลประเทศอ นเด ย 2.1 ข อม ลท วไป1 2.1.1

กลยุทธการเจรจาจัดทําเขตการคาเสรี ไทย-อินเดีย

20

2.1.2 ประชากร ขนาดของประชากรใหญเปนอันดับ 2 ของโลก ซึ่งมีจํานวนมากกวาหนึ่งพันลานคน และมีอัตรา

การเพิ่มของประชากรสูงถึง 1.5% หญิงชาวอินเดียแตละคนมีบุตรโดยเฉลี่ย 2.9 คน และปจจุบัน 63% ของประชากรมีอายุระหวาง 15-64 ป โดยกลุมนี้เปนชาย 52%

เมืองท่ีมีประชากรมากกวา 1 ลานคน มีถึง 30 เมือง ในจํานวนนี้ 3 เมือง คือ Mumbai, Kolkata และ New Delhi มีประชากรมากกวา 10 ลานคน

ประชากรมีรายไดเฉลี่ยตอหัว โดยเทียบจากอํานาจซื้อ (Purchasing power parity) เพียง USUS$ 2,600 ตอป หรือเทากับ 37% ของรายไดประชากรของไทย ยังมีการกระจายรายไดอยางไมท่ัวถึง โดยประมาณ 25% เปนคนจนมากและอาศัยอยูในเขตชนบท คนชั้นกลางก็มีมากกวา 200 ลานคน

ประชากรสวนใหญมีเชื้อชาติอินโด-อารยัน ท่ีเหลือเปนคนเชื้อชาติ ดราวิเดียน (Dravidian) อารยัน (Aryan) มองโกลอยด (Mongoloid) และอื่นๆ

ประชากรนับถือศาสนาฮินดูถึง 83% และมุสลิม 12% นอกจากนั้นเปนซิกส คริสเตียน พุทธ เชน และนาชิ แตเปนจํานวนนอยมาก มีชนหลายเผาพันธุ มีความเชื่อและนับถือเทพเจาหลากหลาย เชน พระพรหม พระวิษณุ พระศิวะ พระราม และพระกฤษณะ เปนตน

มีภาษาพูดหลากหลายมากมาย ภาษาราชการสวนใหญใชภาษาฮินดี แตคนอินเดียพูดภาษาฮินดีไดเพียงประมาณ 30% และยังมีภาษาทางราชการอื่นอีกถึง 14 ภาษา อยางไรก็ดีภาษาอังกฤษเปนภาษาที่ใชในการคาขายและการเมือง

ระบบเงิน อินเดียใชเงินรูป (Rupee) ซึ่งเทียบกับเงินไทยประมาณ 0.86 บาท การนับจํานวนในระบบธุรกิจ การเงิน และการธนาคารของอินเดียยังเปนอนุรักษนิยมซึ่งใชเลขที่มีคาหลักแสนเรียกวา Lakh) และเลขจํานวนที่มีคาหลักโกฏิหรือสิบลานวา Crore ซึ่งแตกตางจากระบบสากลที่นิยมใชเลขหลักพัน หลักลาน (Million) และหลักพันลาน (Brillion) หลักลานลาน (Trillion) เชน เงินจํานวน 1,000 ลาน ตามที่นานาชาติเรียกวาเปนเงินหนึ่งพันลาน อินเดียจะเรียกวา 100 Crore และถาเปนเงินจํานวนหนึ่งลาน คือ 1,000,000 รูป อินเดียจะเรียกวา 10 Lakh เปนตน อยางไรก็ดี อินเดียนิยมใชบัตรเครดิตและเช็คเดินทางในทางธุรกิจดวย

สภาพทางสังคมและพฤติกรรมการบริโภคของคนอินเดียมีความแตกตางกันในแตละพื้นที่ โดยเฉพาะในภาคเหนือและใต พฤติกรรมการบริโภคสวนใหญเปนมังสวิรัติ บางพื้นที่มีขอหามในการบริโภคเนื้อวัว คนอินเดียสวนใหญไมนิยมดื่มสุราและสูบบุหรี่ แตคนในชนบทและคนจนยังนิยมกินหมาก

มีระบบการศึกษาภาคบังคับใหเรียนฟรี 12 ป เริ่มตั้งแตอายุ 6 ป (ประถมศึกษา 5 ป ระดับกลาง 3 ป มัธยมศึกษาตอนตน 2 ป และมัธยมศึกษาตอนปลาย 2 ป) แตประชากรสามารถอานเขียนไดโดยเฉลี่ยเพียง 60% ผูหญิงอานเขียนไดนอยกวาชาย อยางไรก็ดี หากเปรียบเทียบกับชวงเวลาหลังจากไดรับเอกราชจนถึงปจจุบัน มีผูรูหนังสือมากขึ้นจากเดิม

การศึกษาของอินเดียจํากัดอยูเฉพาะในกลุมของผูนํา ชนช้ันสูง และผูชาย โดยผูท่ีไมไดรับการศึกษาจะเปนกลุมผูหญิง ชนชั้นต่ํา รวมท้ังพวกจัณฑาล และที่ไมใชฮินดู เพราะมีธรรมเนียมปฏิบัติหามไมใหอานคัมภีรพระเวทย และหามมิใหคนชั้นต่ําและผูหญิงมีการศึกษาในระดับสูง

Page 4: บทที่ 2 ข อมูลประเทศอ ินเดีย - ThaiFTAบทท 2 ข อม ลประเทศอ นเด ย 2.1 ข อม ลท วไป1 2.1.1

กลยุทธการเจรจาจัดทําเขตการคาเสรี ไทย-อินเดีย

21

2.1.3 ภาวะเศรษฐกิจของประเทศ1 ระบบเศรษฐกิจเปนแบบผสมกันระหวางเศรษฐกิจเกษตรกรรมแบบดั้งเดิมและเกษตรกรรมแบบ

ใหม มีหัตถกรรม อุตสาหกรรมที่ทันสมัย และการบริการหลายชนิด อินเดียอยูในชวงเปลี่ยนผานจากยุคของการควบคุมโดยรัฐอยางเขมงวดและการบังคับใหตองมี

ใบอนุญาตประกอบธุรกิจไปสูยุคระบบเศรษฐกิจการคาเสรี โดยใชนโยบายคอยๆ เปดเสรีเปนระยะ ดวย การออกกฎระเบียบเกี่ยวกับการคาและการลงทุนขึ้นใหมหลายประการ

การพัฒนาเศรษฐกิจนับตั้งแตป 2533 รัฐบาลอินเดียใชนโยบายเศรษฐกิจแบบเปดใหภาคเอกชนและบรรษัทขามชาติเขาสูตลาดไดงายและมากขึ้น รวมท้ังลดการควบคุมลงทําใหผลผลิตภายในประเทศเพิ่มข้ึน มีอัตราความเจริญเติบโตเฉลี่ยสูงถึง 6% ตอป และคาดวานาจะโตไดถึง 8% ตอป ภายใตแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 10 ดวยการเพิ่มบทบาทดานการคาบริการ

การบริหารจัดการงบประมาณ มีปญหาการขาดดุลงบประมาณ ท่ี 5% ของ GDP การกูยืมเงินภาครัฐมีมากกวา 87% และมีหนี้สินภายในประเทศมากกวา 46% ของ GDP นอกจากนั้นสัดสวนหนี้ตอมูลคาสินคาและบริการที่สงออก (Debt Service Ratio) มีถึง 14.9% จึงทําใหในป 2546-2547 รัฐบาลตองเสียคาดอกเบี้ยเปนอันมากและมีภาวะหนี้สินสูง อีกทั้งรัฐบาลยังเพิ่มการจัดสรรงบประมาณการใชจายท่ีไมไดอยูในแผนฯ ถึง 7% เพื่อเพิ่มการอุดหนุนภายใน และตองใชเงินงบประมาณ 2.3% ของ GDP ในดานการทหารเพื่อความมั่นคง ของประเทศ เพราะอินเดียยังมีปญหาชายแดนกับประเทศเพื่อนบาน

อัตราเงินเฟออยูในระดับต่ําตลอดทั้งป โดยมีคาเฉลี่ยประมาณ 2.6% อัตราดอกเบี้ยลดต่ําลงเหลือเพียง 5% ในระยะ 5 ปท่ีผานมา จึงทําใหมีการผอนคลายกฎระเบียบการใหสินเชื่อจากธนาคาร และ อินเดียไดดุลบัญชีเดินสะพัดเปนครั้งแรกในรอบ 23 ป คือประมาณ 0.3% ของ GDP เพราะมีการเพิ่มข้ึนของการสงเงินเขาประเทศ อีกทั้งหลังจากเดือนพฤษภาคม 2547 คาเงินรูปขยับตัวสูงข้ึนดวย

GDP ของอินเดียประกอบดวยภาคเกษตรกรรม 25% อุตสาหกรรม 25% และภาคบริการ มีมากถึง 50% ในจํานวนแรงงานทั้งหมดประมาณ 410 ลานคนอยูในภาคเกษตรกรรม 60% บริการ 23% และอุตสาหกรรม 17% โดยมีอัตราการวางงานประมาณ 9%

อุตสาหกรรมที่สําคัญไดแก สิ่งทอ อุตสาหกรรมเคมี อุตสาหกรรมผลิตอาหาร เหล็ก อุปกรณขนสง ซีเมนต เหมืองแร ปโตรเลียม เครื่องจักร และซอฟแวร

ผลผลิตดานการเกษตร ไดแก ขาว ขาวสาลี เมล็ดพืชน้ํามัน ฝาย ปอ ชา ออย มันฝรั่ง วัว ควาย แกะ แพะ สัตวปก และปลา

สินคาสงออกที่สําคัญ ไดแก สิ่งทอ เพชรพลอย สินคาดานวิศวกรรม ผลิตภัณฑเคมีและเครื่องหนัง โดยประเทศสําคัญ คือ สหรัฐอเมริกา 22.4% อังกฤษ 5.1% ฮองกง 4.5% เยอรมัน 4.3% และจีน 4.1%

สินคานําเขาท่ีสําคัญ ไดแก น้ํามันดิบ เครื่องจักร เพชรพลอย ปุย และเคมีภัณฑ โดยนําเขาจากประเทศที่สําคัญไดแก สหรัฐอเมริกา 6.9% เบลเยี่ยม 6.4% จีน 4.5% สิงคโปร 4.4% และอังกฤษ 4.4%

1 www.cia.org; www.wto.org; www.commerce.nic.in

Page 5: บทที่ 2 ข อมูลประเทศอ ินเดีย - ThaiFTAบทท 2 ข อม ลประเทศอ นเด ย 2.1 ข อม ลท วไป1 2.1.1

กลยุทธการเจรจาจัดทําเขตการคาเสรี ไทย-อินเดีย

22

2.1.4 สาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน ดานการคมนาคม

ทางบก ระบบทางรถไฟ มีเครือขายใหญท่ีสุดในโลกแหงหนึ่ง คือประมาณ 63,500 กิโลเมตร ซึ่งมีขนาดราง

แตกตางกันถึง 4 ขนาด แตสวนใหญเปนขนาดรางกวาง 1.676 เมตร และ 1.0 เมตร ระบบถนน มีประมาณ 3.3 ลานกิโลเมตร แตเปนถนนที่มีพื้นผิวไดมาตรฐานเพียง 45% จึงจําเปน

จะตองไดรับการพัฒนาขนานใหญ ปจจุบันอินเดียไดรับอนุมัติเงินกูจากธนาคารโลกเพื่อพัฒนาระบบถนน เชื่อมระหวางรัฐ (Interstate Highway) แลว นอกจากนี้ยังมีการขนสงดวยระบบทอโดยเปนระบบทอแกสประมาณ 5,800 กิโลเมตร ระบบทอแกสหุงตมประมาณ 1,200 กิโลเมตร ระบบทอน้ํามันประมาณ 5,600 กิโลเมตร และระบบทอน้ํามันสําเร็จรูปประมาณ 5,600 กิโลเมตร

การเดินอากาศ มีทาอากาศยานจํานวน 334 แหง ประมาณ 70% เปนสนามบินที่มีรันเวยมาตรฐาน เปนสนามบินพาณิชยท่ีไดมาตรฐาน 94 แหง ในจํานวนนี้เปนสนามบินนานาชาติ 11 แหง คือ ท่ี Delhi, Mumbai, Kolkata, Chennai, Thiruvananthapuram, Bangalore, Hyderabad, Ahmedabad, Goa, Amritsar and Guwahati นอกจากนั้น ยังมีสนามบินทหารอีก 28 แหง และมีสนามบิน Heliport 19 แหง ปจจุบันอินเดียกําลังปรับปรุงโครงสรางสนามบินหลายแหงเพื่อบรรลุเปาหมายการเปนสนามบินระดับโลก

การบินพาณิชยเดินอากาศ มีโครงสรางกฎระเบียบอยูในความรับผิดชอบของ Directorate General of Civil Aviation – DGCA และ Bureau of Civil Aviation Security – BCAS มีผูประกอบการบินคือ Air India Ltd., Indian Airlines Ltd., Pawan Hans Helicopters Ltd. และยังมีผูประกอบการภาคเอกชนอื่นดวย โดยที่ Air India Ltd. ใหบริการระหวางประเทศ ในขณะที่อีกหลายสายการบินเปนการบินภายในประเทศ อยางไรก็ดี Indian Airline Ltd. ซึ่งใหบริการภายในประเทศแลวยังใหบริการไปยังประเทศเพื่อนบานซึ่งรวมทั้งประเทศไทยอีกดวย ปจจุบัน สายการบินแอรซาฮาราของเอกชนซึ่งใหบริการการบินภายในประเทศไดลดราคาคาโดยสาร จนเกือบเทากับคาโดยสารรถไฟปรับอากาศ ทําใหมีการแขงขันกันสูงมากขึ้นระหวางสายการบินภายในประเทศโดยเฉพาะอยางยิ่งกับสายการบินแอร Indian Airline

ทางน้ํา ระบบการขนสงทางน้ําภายในประเทศของอินเดียมีความยาวถึง 16,200 กิโลเมตร ซึ่ง 22% ของระยะทางสามารถใชเรือใหญได และมีทาเรือขนาดเล็กอีกมากกวา 200 แหง มีเรือเดินสมุทรประมาณ 300 ลํา ในการขนสงระหวางรัฐและระหวางประเทศมีทาเรือเดินสมุทรอีกหลายแหลงเปนทาเรือท่ีสําคัญถึง 14 แหง1 รายละเอียดท่ีตั้งทาเรือแสดงดังแผนภาพที่ 2.1 และรายละเอียดขอมูลทาเรือขนถายสินคาหลักและจํานวน ทาเทียบเรือ สรุปไดดังตารางที่ 2.1 และตารางที่ 2.2

1www.indiaonestop.com/ports.htm; www.mumbaiporttrust.com; www.nic.in/most

Page 6: บทที่ 2 ข อมูลประเทศอ ินเดีย - ThaiFTAบทท 2 ข อม ลประเทศอ นเด ย 2.1 ข อม ลท วไป1 2.1.1

กลยุทธการเจรจาจัดทําเขตการคาเสรี ไทย-อินเดีย

23

แผนภาพที่ 2.2 ที่ต้ังของทาเรือสําคัญในอินเดีย

KOLKATA1.1 KOLKATA1.2 HALDIA

PARADIPVISAKHAPATHAMENNORECHENNAITUTICORINCOCHINNEW MANGALOREMORMUGAOMUMBAIJ.N.P.TKANDLAMUNDRAPIPAVAV

INDIAN MAJOR PORTS

ที่มา: www.worldstonex.com

Page 7: บทที่ 2 ข อมูลประเทศอ ินเดีย - ThaiFTAบทท 2 ข อม ลประเทศอ นเด ย 2.1 ข อม ลท วไป1 2.1.1

กลยุทธการเจรจาจัดทําเขตการคาเสรี ไทย-อินเดีย

24

ตารางที่ 2.1 ขอมูลทาเรือขนถายสินคาหลักของอินเดยี

ชื่อทาเรือ ท่ีต้ัง ปท่ีเปด

สินคาหลัก หมายเหตุ

1. Paradip Orissa, 1966 แรเหล็ก ปโตรเลียม ทาเรือแหงแรกดานตะวันออก 2. New Mangalore Karnataka 1974 สินคาประเภทขนถาย

เคมีภัณฑเหลว สินคาอันตราย

ทาเรือแหงที่ 9

3. Mormugao 1964 แรเหล็ก ปโตรเลียม เปน 1 ใน 10 ที่สงแรเหล็กของโลก จํานวน 52% ของแรเหล็ก มีระบบปองกันน้ําทวมจากลมมรสุม

4. Tuticorin Tuticorin 1979 ศูนยกลางการคาทางทะเล กลุมสินคาที่สงไปยัง ศรีลังกา และมัลดีฟ

ทาเรือแหงที่ 10

5. Kandla Gandhidham Gulf of Kutch

1995 ธัญญพืช น้ํามัน ต้ังขึ้นมาเพื่อทดแทนการาจี มีรายไดสูงสุดในอินเดีย

6. Visakhapatnam Andhra Pradesh 1993 แรมังกานีส LPG/LNG มีบทบาทสําคัญตอการพัฒนา ต้ังอยูระหวาง Kolkata และChennai

7. Chennai Rajaji Salai,Chennai ปุย ธัญญพืช น้ํามัน ถานหิน

สินค าที่เปน Pallet จะไดรับยกเวนคาธรรมเนียม 10%

8. Mumbai Mumbai 1963 9. Calculta Kolkata, Bengal Bay

ริมแมน้ํา Hoogly 1870 ผลิตภัณฑเหลว น้ํามัน แหงแรกที่มีระบบสมบูรณ เปน

ตนแบบ/สนับสนุนทาเรืออื่น 10. Haldia Kolkata, ริมแมน้ํา

Hoogly (West) สินคาขนาดใหญ สะดวก และ ยนระยะเวลาการขน

ถาย มี่พ้ืนที่ใหเอกชนเชา 11. Jawaharlal Nehru สินคาสงขนถาย

ประเภทแหงและเปยก ที่มา: www.indiaport.com

Page 8: บทที่ 2 ข อมูลประเทศอ ินเดีย - ThaiFTAบทท 2 ข อม ลประเทศอ นเด ย 2.1 ข อม ลท วไป1 2.1.1

กลยุทธการเจรจาจัดทําเขตการคาเสรี ไทย-อินเดีย

25

ตารางที่ 2.2 จํานวนทาเทียบเรือ (Based on Reassessment of Existing Port Capacities) as on 31-3-1998

PORT POL & OTHER

LIQUID IRON ORE COAL FERTILIZER CONTAINER KOLKATA 7 - - - 5 HALDIA 2 - 2 - 1 PARADIP 1 1 - 1 - VISHAKHAPATNAM 3 US$ 1 - 1 - CHENNAI 2 1 - - 2 TUTICORN 1 - 2 - - COCHIN 3 - - 1 2 NEW MANGALORE 2 1 - - -

MORMUGAO 1 1+ 5

Transhippers - - - MUMBAI 5 - - 8 JNPT 2** 1** - 2 3 KANDLA 3 +SBM + 2VJs - - 1 -

TOTAL 32+SBM+ 2VJs 6 + Transhippers 4 6 22 NOTE : US$ Excludes one mooring berth in Outer harbour being used for transhipment of POL. (*) Includes one berth for FRM/C. Coal. ** Service berth at bulk terminal is modified and created for handling oils & safe grade chemicals through pipelines and Gen./Break Bulk, termed. # Excluding one Shalllow drafted. VJs = Virtual Jetties ที่มา: www.indiaport.com

ดานการโทรคมนาคมและการสื่อสาร อินเดียมีโทรศัพทพื้นฐานประมาณ 28 ลานเลขหมาย และโทรศัพทเคลื่อนที่ประมาณ 3 ลานเลขหมาย

โดยเฉลี่ยมีโทรศัพทพื้นฐาน 2 หมายเลขตอ 100 คน จึงยังมีผูตองการใชโทรศัพทอีกไมนอยกวา 2 ลานเลขหมาย ปจจุบันอินเดียใชระบบโทรศัพทผานไมโครเวฟและผานสายโทรศัพทซึ่งเปนระบบคอนขางเกา แตกําลังปรับปรุงระบบโดยใชสายไฟเบอรออพติคและระบบดาวเทียมซึ่งมีสถานีภาคพื้นดิน 254 สถานี

ระบบโทรศัพทเคลื่อนที่ มีใชจํากัดอยูเฉพาะในเขต 4 เมืองใหญ แตมีการเติบโตสูงมากและมีจํานวนมากถึง 35 ลานเลขหมาย โดยมีแนวโนมวาจะเพิ่มโดยเฉลี่ยอีกประมาณเดือนละ 2-3 ลานเลขหมาย

Page 9: บทที่ 2 ข อมูลประเทศอ ินเดีย - ThaiFTAบทท 2 ข อม ลประเทศอ นเด ย 2.1 ข อม ลท วไป1 2.1.1

กลยุทธการเจรจาจัดทําเขตการคาเสรี ไทย-อินเดีย

26

โทรศัพททางไกลตางประเทศ ใชระบบดาวเทียม Intelsat 8 สถานี และ Inmarsat 1 สถานี โดยมี Gateway Exchange 9 แหง นอกจากนั้น อินเดียมีระบบเคเบิลใตน้ํา 4 สายเชื่อมเมืองใหญกับจุดตางๆ ในโลก และมีระบบไฟเบอรออพติคท่ีเชื่อมตอท่ัวโลก (Fiber-Optic Link Around the Globe – FLAG)

การใช Internet ยังมีอยูนอยมากคือประมาณ 7 ลานคน มีผูใหบริการ (ISP) ประมาณ 40 กวาราย สวนใหญเปนระบบความเร็วต่ํา มีเครื่องคอมพิวเตอรนอย ระบบโทรศัพทพื้นฐานไมเพียงพอ ทําใหระบบ Internet สาธารณะมีนอย

มีสถานีวิทยุในระบบ AM 153 สถานี ระบบ FM 91 สถานี และระบบ SW 68 สถานี สามารถใหบริการคลอบคลุมประชากรทั้งประเทศ

มีสถานีโทรทัศน 562 สถานี ซึ่ง 82 สถานีมีกําลังสงมากกวา 1 kW และอีก 480 สถานีมกีําลังสงนอยกวา 1 kW โดยยังมีการจํากัดการสงสัญญาณของภาคเอกชนไวอยู

มีระบบเคเบิ้ลทีวีและดาวเทียมมากกวา 100 ชอง และสมาชิก 40 ลานครัวเรือนในป 2545 ซึ่งอินเดียเปน 1 ใน 6 ประเทศที่มีศักยภาพดานอวกาศ (Space) ในการสรางเครือขายดาวเทียม ทําใหมีการสื่อสารที่ทันสมัยมาก

มีเครื่องรับทีวีประมาณ 90 ลานเครื่อง (ทีวีสจีํานวน 30 ลานเครื่องและทีวีขาวดําประมาณ 60 ลานเครื่อง) โดยผูดทีูวีมีมากถึง 192 ลานครัวเรอืนแตเปนเจาของทีวีเพียงแค 42%

มีสื่อสิ่งพิมพจํานวนมาก มีหนังสือพิมพและนิตยสารมากกวา 44,000 ฉบับ ซึ่งจัดพิมพในภาษาตางๆ มากกวา 100 ภาษา 12% เปนหนังสือพิมพรายวันหลายภาษารวมทั้งหนังสือพิมพภาษาอังกฤษ ซึ่งเอกชนเปนเจาของ มีการพิมพในหลายเมือง รวมท้ัง The Times of India, The Indian Express, The Hindusatan Times, The Hindu, The Navbharat Times และ The Stateman เปนตน มีคนอานหนังสือพิมพมากกวา 50 ลานคน

ดานพลังงาน อินเดียผลิตไฟฟาไดประมาณ 533.3 Bn kWh โดยใชแหลงพลังงานจากเชื้อเพลิง Fossil fuel 81.7%

พลังน้ํา 14.5% พลังงานนิวเคลียร 3.4% และอื่นๆ เชน พลังลม แกลบ และกากออย 0.3% โดยปริมาณการใชไฟฟาของอินเดยีมีประมาณ 497.2 Bn kwh ทําใหมีไฟฟาสํารองเพียง 7% เฉลี่ยปริมาณการใชไฟฟาเทากับ 364.7 kwh ตอคน ซึ่งเมื่อเทียบกับไทยอยูท่ี 1,508.4 kwh ตอคน นับไดวานอยกวาของไทยมาก

ดานการประปา

อินเดียยังมีระบบการประปาที่ไมไดมาตรฐานและมีความขาดแคลน โดยเฉพาะแหลงทรัพยากรน้ําท่ีใชผลิตประปาเพื่อการบริโภคมีอยูเพียง 1,819 ลูกบาศกเมตรตอรายหัว ซึ่งนอยมากเมื่อเทียบกับของไทยที่มีถึง 6,600 ลูกบาศกเมตร ในป 2544 มีประชากรเพียง 70 ลานครัวเรือนหรือหนึ่งในสามของประชากรทั้งหมดสามารถเขาถึงการใชประปาได โดยเกือบ 35 ลานครัวเรือนตองใชน้ําบอของตนเอง อีก 80 ลานครัวเรือนใชระบบน้ําบาดาล ท้ังนี้ น้ําในหลายรัฐมีแรธาตุเจือปนอยูในระดับสูงซึ่งอาจเปนอันตรายตอสุขภาพของคนอินเดียได

Page 10: บทที่ 2 ข อมูลประเทศอ ินเดีย - ThaiFTAบทท 2 ข อม ลประเทศอ นเด ย 2.1 ข อม ลท วไป1 2.1.1

กลยุทธการเจรจาจัดทําเขตการคาเสรี ไทย-อินเดีย

27

2.2 การเมืองและนโยบายตางประเทศของอินเดีย1 2.2.1 ระบบการเมืองและการปกครอง อินเดียตกอยูภายใตอํานาจปกครองของอังกฤษตั้งแตป 2420 และไดรับเอกราช เมื่อวันที่ 15

สิงหาคม 2490 สถาปนาเปนสาธารณรัฐอินเดีย (Republic of India) ในวันที่ 26 มกราคม 2493 ซึ่งถือเปน วันชาติอินเดีย (Republic Day)

มีการปกครองแบบสาธารณรัฐประชาธิปไตย (Federal Union of States)โดยแบงออกเปน 28 รัฐ และมีดินแดนในอาณัติ (Union territories) อีก 7 แหง แตละรัฐมีการบริหารงานและมีเมืองหลวงของตนเอง โดย มี New Delhi เปนเมืองหลวง และเปนที่ตั้งของรัฐบาลกลาง มีรัฐธรรมนูญเปนกฎหมายสูงสุดของประเทศซึ่งเริ่มใชบังคับตั้งแตวันที่ 26 มกราคม 2493

รัฐธรรมนูญวางหลักการบริหารประเทศใหมีการแบงแยกอํานาจระหวางฝายตุลาการ ฝายนิติบัญญัติ และฝายบริหาร กลาวคือ ใหรัฐธรรมนูญมีอํานาจสูงสุดเหนือรัฐสภาซึ่งเปนฝายบริหาร และใหอํานาจฝายตุลาการในการตีความรัฐธรรมนูญ

ฝายนิติบัญญัติ เปนระบบรัฐสภา ประกอบดวยประธานาธิบดีและรัฐสภา รัฐสภามี 2 สภา คือ สภาลางหรือโลกสภา (Lok Sabha) และราชยสภาหรือสภาสูง (Rajya Sabha) โลกสภาประกอบดวยสมาชิกซึ่งมาจากการเลือกตั้งโดยตรงซึ่งมีจํานวนสูงสุดไดไมเกิน 552 คน แตในปจจุบัน (สมัยท่ี 14) มีสมาชิกอยูเพียง 545 คน (เนื่องจากการลาออกและการตาย) ประกอบดวยบุคคลท่ีไดรับการเลือกตั้งจากรัฐตางๆ จํานวน 530 คน และมาจากดินแดนในอาณัติอีก 20 คน (มีสมาชิกที่เปนผูหญิง 45 คน) นอกจากนั้นยังมีสมาชิกอีก 2 คน ซึ่งประธานาธิบดีอาศัยอํานาจตามรัฐธรรมนูญมาตรา 331 ในการแตงตั้งสมาชิกจากชุมชนแองโกลอินเดียน (Anglo-Indian Community) หากเห็นวาชุมชนนั้นมีสิทธิมีเสียงไมเพียงพอในรัฐสภา ท้ังนี้ สมาชิกโลกสภามีวาระการดํารงตําแหนง 5 ป ทําหนาท่ีบริหาร ออกกฎหมาย อนุมัติงบประมาณ จัดการดานความสัมพันธระหวางประเทศ และกําหนดนโยบายชาติ ราชยสภาประกอบดวยสมาชิกจํานวน 250 คน ซึ่งจํานวนไมเกิน 12 คนเปนผูไดรับการแตงตั้ง จากประธานาธิบดี สวนที่ เหลือจะมาจากการสรรหาโดยสมาชิกแหงสภาของรัฐและดินแดนในอาณัติ (Elected members of the state and territorial assembly) สมาชิกราชยสภามีหนาท่ีพิจารณาและเห็นชอบ รางกฎหมายที่มาจากโลกสภา มีวาระการดํารงตําแหนง 6 ป โดยรองประธานาธิบดีทําหนาท่ีเปนประธาน ราชยสภาโดยตําแหนง พรรคการเมืองในอินเดียมีหลายพรรค ท่ีสําคัญในระดับชาติคือ Bhartiy Janata Party และ Indian National Congress Party นอกจากนั้นยังมีพรรคสําคัญในระดับรัฐอีกหลายพรรค

ฝายบริหาร ในระดับรัฐบาลกลาง มีประธานาธิบดีเปนประมุข ปจจุบันคือ Abdul Kalam มีรองประธานาธิบดี และคณะรัฐมนตรี (Council of Ministers) ซึ่งนายกรัฐมนตรีเปนหัวหนา ปจจุบันคือ Dr. Manmohan Singh 1 www.cia.gov, www.ers.usda.gov; www.parliamentofindia.nic.in/ls/intro/introls.html; http://indiaimage.nic.in; www.ficci.com; www.dtn.moc.go.th; www.mfa.go.th

Page 11: บทที่ 2 ข อมูลประเทศอ ินเดีย - ThaiFTAบทท 2 ข อม ลประเทศอ นเด ย 2.1 ข อม ลท วไป1 2.1.1

กลยุทธการเจรจาจัดทําเขตการคาเสรี ไทย-อินเดีย

28

ในระดับรัฐ ฝายบริหารมีโครงสรางการบริหารคลายกับรัฐบาลกลาง กลาวคือ ผูวาการรัฐ เปนผูแตงตั้งหัวหนามุขมนตรี (Chief Minister) ซึ่งคณะมุขมนตรี (Council of Ministers) บริหารโดยมีรัฐสภา ของรัฐ (Legislative assembly) เปนผูใหความเห็นชอบดานกฎหมายและงบประมาณของรัฐ และแบงอํานาจใหแตละรัฐมีอํานาจบริหารราชการภายในรัฐของตนเอง

ฝายตุลาการ อินเดียใชระบบศาลเดี่ยว ประกอบดวยศาลสูงสุดหรือศาลฎีกา (Supreme Court) ซึ่ง มีผูพิพากษาศาลสูงสุดจํานวนไมเกิน 25 คน ไดรับการแตงตั้งโดยประธานาธิบดีตามรัฐธรรมนูญ และทํางานไดจนถึงอายุ 65 ป โดยไมอาจถอดถอนจากตําแหนงได เวนแตรัฐสภาลงมติดวยเสียง 2 ใน 3 ใหพนตําแหนง ในระดับรัฐ ยังมีศาลสูง (High Court) จํานวน 18 แหงซึ่งมีอํานาจเหนือเขตรัฐและดินแดน ในอาณัติตางๆ นอกจากนั้น มีศาลช้ันตนและศาลรอง (Subordinate Courts) อื่นๆ ในแตละมลรัฐอีกดวย เชน Judicial district, Court of Civil Jurisdiction, Criminal Court เปนตน ในการพิจารณาตัดสินคดี ศาลใชกฎหมายหลัก คือรัฐธรรมนูญ กฎหมายลายลักษณอักษร กฎหมายจารีตประเพณี และกฎหมายคอมมอนลอวแบบอังกฤษ นอกจากการใชกระบวนการระงับขอพิพาททางศาลแลว อินเดียยังยอมรับระบบอนุญาโตตุลาการ (Lok Adalat) เชน Indian Council of Arbitration ท่ี New Delhi มี บทบาทหนาท่ีในการระงับขอพิพาท และใชอนุญาโตตุลาการในกลุมการคาระหวางประเทศและภายในประเทศดวย1

2.2.2 ความสัมพันธระหวางรัฐบาลกลางและรัฐบาลทองถิ่น การบริหารงานแผนดิน มีรัฐบาลสามระดับ คือ รัฐบาลกลาง รัฐบาลของรัฐ และรัฐบาลทองถิ่น

(Panchayat) ใหรัฐบาลแตละรัฐมีอํานาจในการบริหารงานของตนเอง แตใหอํานาจแกรัฐบาลกลางเหนืออํานาจรัฐบาลของแตละรัฐในหลายประการ เชน ดานนโยบายตางประเทศ และนโยบายดานภาษีบางอยาง อยางไรก็ดี รัฐบาลกลางสามารถกําหนดแนวนโยบายใหแตละรัฐปฏิบัติในทิศทางเดียวกันได โดยผานการจัดสรรงบประมาณ การจัดสรรงบประมาณของรัฐบาลกลางใหแกรัฐตางๆ ยังมีปญหาอยูบาง อิน เดี ยยั งมี ปญหา เรื่ อ งการแยกดินแดนของรัฐดวยการตั้งรัฐใหม มีความหลากหลายทางศาสนาและเชื้อชาติ ทําใหการปกครองทั้งของรัฐบาลกลาง รัฐตางๆ และ Union territory มีความยุงยากมาก

รัฐบาลไดประกาศนโยบายเศรษฐกิจใหทุกรัฐปฏิบัติในแนวทางเดียวกัน ซึ่งเปนไปในแนวเดียวกับรัฐบาลชุดกอน แตไมสามารถประสบผลสําเร็จ เพราะแตละรัฐสามารถใชนโยบายและระบบเศรษฐกิจของตนเองได จึงทําใหเปนการยากที่จะปฏิบัติไปในแนวทางเดียวกันได

ในดานการศึกษา รัฐบาลของแตละรัฐควบคุมระบบโรงเรียนของตนเอง โดยไดรับความชวยเหลือจากรัฐบาลกลาง ซึ่งสนับสนุนงบประมาณสําหรับสถาบันของชาติเพื่อการศึกษาระดับสูง และรับผิดชอบดานตํารา มีปญหาเรื่องงบประมาณที่จัดสรรใหแตละรัฐท่ียังไมเพียงพอตอการพัฒนา จึงมีการรณรงคและเรียกรองจาก รัฐตางๆ ใหรัฐบาลกลางใหความสําคัญกับการศึกษาของแตละรัฐใหมากขึ้นกวาเดิม

1 www.helpline.com; www.ers.gov

Page 12: บทที่ 2 ข อมูลประเทศอ ินเดีย - ThaiFTAบทท 2 ข อม ลประเทศอ นเด ย 2.1 ข อม ลท วไป1 2.1.1

กลยุทธการเจรจาจัดทําเขตการคาเสรี ไทย-อินเดีย

29

ในสวนของการดูแลความสงบเรียบรอยภายใน ตํารวจของแตละรัฐมีอํานาจหนาท่ีภายในแตละรัฐของตนเองและขึ้นตรงตอรัฐ ไมไดข้ึนตอรัฐบาลกลาง ปญหาสําคัญที่เกี่ยวของกับความสัมพันธระหวางรัฐบาลกลางและรัฐตางๆ คือปญหาเรื่องความมั่นคงของประเทศอินเดีย เชนปญหาเรื่องรัฐ Jammu & Kashmir ท่ีประชาชนสวนใหญเปนมุสลิมและพยายามแบงแยกดินแดนออก โดยมีปากีสถานเปนผูผลักดันอยูเบื้องหลังและกลุม 7 Sisters ท่ีอยูในสวนของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งเดิมเคยเปนประเทศอิสระแตไดกลายมาเปนรัฐภายใต การปกครองของอินเดีย ทําใหพลเมืองในรัฐมีเช้ือชาติ ศาสนา วัฒนธรรม และประวัติศาสตร แตกตางจากอินเดีย เกิดความขัดแยงกับรัฐบาลกลาง แมวารัฐบาลกลางพยายามจะเขาไปพัฒนารัฐในกลุมนี้ แตก็ทําไดไมงายนัก และมีผลกระทบตอการพัฒนาดานเศรษฐกิจการคาดวย

2.2.3 ความสัมพันธดานการเมืองระหวางไทย-อินเดีย1 ความสัมพันธดานการเมืองระหวางไทยและอินเดียมีรากฐานมาจากศาสนา ซึ่งครอบคลุมถึง

ความสัมพันธดานอื่นๆ มากมาย เชนดานภาษาและวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียม และความเชื่อหลายอยางของอนิเดยี เปนบอเกิดของวัฒนธรรมในประเทศไทย เชนภาษาไทยมีรากฐานมาจากภาษาบาลีและสันสกฤต หรือวัฒนธรรมที่มีพื้นฐานจากศาสนาฮินดู เชนการนับถือพระเจาตางๆ ของฮินดู พิธีกรรมหลายอยางยังคงมีใหเห็นอยูจนถึงปจจุบันทั้งท่ีเปนพระราชพิธี และเปนพิธีกรรมของชาวบาน แมแตวรรณกรรม เชน รามเกียรต์ิ และศิลปะแขนงอื่นๆ ก็มีตนแบบมาจากอินเดีย โดยท่ีไทยและอินเดียไดทําความตกลงรวมกันดานทางวัฒนธรรม (The Cultural Agreement, 2520) ไวดวย นอกจากนั้นศาสนาพุทธซึ่งเปนศาสนาประจําชาติไทยก็มีแหลงกําเนิดท่ีอินเดีย ยังคงมีหลักฐานทางประวัติศาสตรและแหลงสถานที่เกี่ยวกับศาสนาพุทธยังมีอยูมากในอินเดีย ทําใหมีคนไทยเดินทางไปแสวงบุญที่อินเดีย เชน พุทธคยา สารนาถ และกุสินารา รวมท้ังไปศึกษาในมหาวิทยาลัยศาสนาพุทธดวย

ไทยและอินเดียมีความสัมพันธดานเศรษฐกิจมานาน และไดทําความตกลงทวิภาคีเปน “ความตกลงทางการคา พ.ศ. 2513” ตอมาก็มีการทําความตกลงที่เกี่ยวกับการคาการลงทุนอีกหลายฉบับ ความสัมพันธ มีลักษณะเปนการเกื้อหนุนซึ่งกันและกัน ท้ังสองประเทศเปนสมาชิกผูเริ่มกอตั้งของ WTO และไดรวมมือกันในกลุม G 77 และกลุม G 20 ซึ่งเปนกลุมประเทศกําลังพัฒนาในการเรียกรองใหท่ีประชุมของสมาชิก WTO ใหความสําคัญกับประเทศกําลังพัฒนาในหลายประเด็น โดยเฉพาะอยางยิ่งในประเด็นเรื่องสินคาเกษตรที่กลุมประเทศกําลังพัฒนามีความเสียเปรียบกลุมประเทศพัฒนาแลวอยูมาก การรวมมือกันของไทยและอินเดียในเวทีโลก มีสวนทําใหอํานาจการเจรจาตอรองระหวางประเทศของไทยมีความชัดเจนและแข็งแกรงข้ึน

ในระดับภูมิภาค อินเดียและไทยตางเปนสมาชิกของกลุม BIMSTEC ขณะเดียวกันอินเดียยังมี ความรวมมือกับอาเซียนซึ่งไทยเปนสมาชิกอยูดวยในหลายเรื่อง โดยเริ่มตนสถาปนาความสัมพันธอยางเปนทางการในป 2535 ซึ่งเปนความรวมมือกันทั้งทางดานการเมือง ดานการคา และดานการพัฒนา รวมท้ังเ รื่องความตกลง FTA อินเดีย-อาเซียน ในป 2545 นอกจากนั้นยังมีการจัดตั้งกองทุนอาเซียน-อินเดีย ทําใหสามารถจัดทําโครงการความรวมมือระหวางกันไดหลายโครงการ 1 www.fti.or.th; www.mfa.or.th; www.thaiechamber.com; www.commerce.nic.in; www.ris.org

Page 13: บทที่ 2 ข อมูลประเทศอ ินเดีย - ThaiFTAบทท 2 ข อม ลประเทศอ นเด ย 2.1 ข อม ลท วไป1 2.1.1

กลยุทธการเจรจาจัดทําเขตการคาเสรี ไทย-อินเดีย

30

ไทยและอินเดียมีขอตกลงดานวิจัยทางวิทยาศาสตร อุตสาหกรรม และการใชพลังงานปรมาณูเพื่อสันติ และพยายามขยายผลใหมีความรวมมือกันมากขึ้น ความตกลง FTA ไทย-อินเดียทําใหความสัมพันธทางเศรษฐกิจของทั้งสองประเทศมีความใกลชิดกันยิ่งข้ึน ไทยจะเปนสะพานเชื่อมทางพาณิชยใหอินเดียกาวไปสูประเทศในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต ความมีศักยภาพสูงในดานโครงสรางพื้นฐาน ซึ่งรวมถึงทาเรือ สนามบิน ถนนทางหลวง และโครงสรางของเมืองตางๆ ของไทยสอดคลองเปนอยางยิ่งกับความตองการของอินเดีย

อินเดียมีตลาดที่ใหญ มีแรงงานที่มีทักษะสูงและคาจางต่ํา ความเชี่ยวชาญในทักษะเรื่อง Software ซึ่ง จะเปนประโยชนกับการพัฒนาดาน Hardware ของไทย รวมท้ังเรื่อง Bio-technology, Biomedicine และ Space Technology ท่ีจะเอื้อประโยชนใหกับทั้งสองประเทศได โดยอินเดียอาจอาศัยทักษะของไทยในดานการบริหารการทองเที่ยวและพัฒนาสถานที่ทองเที่ยว ในขณะที่อินเดียมีสถานที่สําคัญทางศาสนาหลายแหง ซึ่งนาจะเปนจุดสนใจรวมกัน ความรวมมือจากการเจรจาความตกลง FTA ไทย-อินเดียจึงเปนโอกาสสําหรับนักลงทุนไทยที่จะ เขาสูชองทางของตลาดโลก โดยเฉพาะอยางยิ่งตลาดเอเชียใต

ดานความสัมพันธระหวางประเทศ อินเดียมีนโยบาย Look East ขณะที่ไทยมีนโยบาย Look West จึงนาจะเปนการสอดคลองกันได เพราะตางฝายตางก็เปนเปาหมายซึ่งกันและกัน การที่อินเดียและไทยตางมีความสัมพันธระหวางประเทศกับประเทศเพื่อนบานตามนโยบายของตน ยอมทําใหการเชื่อมโยงความสัมพันธระหวางประเทศในภูมิภาคเอเชียขยายออกกวางมากขึ้น ตัวอยางที่เห็นไดชัดเจนคือเรื่องการขยายเสนทางคมนาคมซึ่งอินเดียไดทําความตกลงรวมมือกับไทยและพมาในการสรางเสนทางคมนาคมในป 2540 โดยการสรางถนนเสนทางแมสอด-เมียวดี-มะละแหมง –มาดราส ซึ่งเปนโครงการ “เสนทางสายเอเซียใต” ซึ่งหากเปดใชเสนทางนี้แลว ก็จะทําใหการคมนาคมติดตอสื่อสารกันไดสะดวกมากยิ่ง

ดานความสัมพันธทางการทูต ไทยและอินเดียมีความสัมพันธมาตั้งแตป 2490 โดยปจจุบันประเทศไทยมีสถานเอกอัครราชทูต (Royal Thai Embassy) อยูท่ี New Delhi และมีสถานกงสุลใหญ (Royal Thai Consulate-General) อยูท่ีเมืองMumbai และ Kolkata สวนสถานทูตของอินเดียในประเทศไทยอยูท่ีกรุงเทพฯ รวมท้ังมีสถานกงสุลท่ีเชียงใหมและสงขลา ทําใหการติดตอสอบถามขอมูลไดรับความสะดวกมากขึ้นสําหรับนักธุรกิจไทยที่ตองการทําธุรกรรมกับอินเดีย

2.2.4 ปจจัยทางการเมืองที่มผีลกระทบตอการคาระหวางประเทศ การเมืองของอินเดียเปนระบบประชาธิปไตย มีรัฐบาลผสมบริหารประเทศ โดยรัฐสภาประกอบดวยสมาชิกจากหลายพรรค นโยบายของพรรค ผูสนับสนุนพรรค และกลุมแรงงานซึ่งเปนฐานเสียงสวนใหญของประเทศ ลวนเปนปจจัยทางการเมืองอันสงผลกระทบตอการคาและการลงทุนระหวางประเทศของอินเดียมาก

การเปลี่ยนรัฐบาลของอินเดียสงผลถึงการเปลี่ยนแปลงแนวนโยบายการคาอยางเห็นไดชัด เพราะการกําหนดนโยบายของรัฐบาลขึ้นอยูกับฐานเสียงของพรรค ทําใหการกําหนดนโยบายของรัฐบาลชุดท่ีผานมามี

Page 14: บทที่ 2 ข อมูลประเทศอ ินเดีย - ThaiFTAบทท 2 ข อม ลประเทศอ นเด ย 2.1 ข อม ลท วไป1 2.1.1

กลยุทธการเจรจาจัดทําเขตการคาเสรี ไทย-อินเดีย

31

ลักษณะเปนการปฏิรูปเศรษฐกิจการคา และพยายามแปรรูปรัฐวิสาหกิจหลายแหงเพื่อใหเปนไปตามกลไกตลาดเสรี มีการเอื้ออํานวยประโยชนใหแกกลุมธุรกิจและผูประกอบการมากกวาการใหความสําคัญกับกลุมคนยากจนหรือระดับลาง

รัฐบาลชุดปจจุบันนําโดยพรรค Congress ซึ่งใหความสําคัญกับผูใชแรงงานและคนดอยโอกาส และเปนพรรคท่ีเกาแก มีเสียงสนับสนุนจากประชาชนที่ยากจนเปนจํานวนมาก นโยบายของพรรคจําเปนตองมุงไปในลักษณะ Inward looking เพื่อเอาใจฐานเสียงของพรรครวมรัฐบาล ดังนั้นเศรษฐกิจของประเทศ จึงมุงพัฒนาผูประกอบการรายยอยหรือ SMEs และมุงท่ีรากหญามากกวาผูลงทุนรายใหญ การประกาศใชนโยบาย Common Minimum Programme – CMP ซึ่งมีลักษณะเปนการเอียงซายเขาขางคนจนอยางชัดเจน ดวยการเนนใหมีการเพิ่มการใชจายในเรื่องการศึกษาและการเกษตร เพิ่มอัตราดอกเบี้ยเพื่อชวยการออมทรัพยของผูสูงอายุ ผอนคลายกําหนดเวลาของการปฏิรูปแรงงานและการแปรรูปรัฐวิสาหกิจใหชาลง ทบทวนกฎหมาย Electricity Act และพยายามใหใชระบบภาษีมูลคาเพิ่ม (VAT) มาแทนที่ภาษีการขาย ซึ่งกําลังจะมีผลในเดือนเมษายน 2548 นี้ ก็ทําใหการปฏิรูปเศรษฐกิจภายในประเทศไมอาจจะเรงใหเร็วไดดังเชนรัฐบาลที่ผานมา สงผลใหผูประกอบการรายใหญสวนใหญไมพอใจกับนโยบายเศรษฐกิจนี้ และมีการเตือนใหนักลงทุนระมัดระวังกับสถานการณทางการเมืองท่ียังไมมีเสถียรภาพนี้1 สวนเรื่องความเสี่ยงทางดานกลุมผูกอการรายนั้น ผูประกอบการในอินเดียแสดงความเห็นวาไมมีผลกระทบตอการลงทุนหรือทําธุรกิจในอินเดีย เพราะเหตุวายังไมมีกลุมใดที่แข็งแกรงเพียงพอที่จะทําใหรัฐบาลสั่นคลอนได เวนแตบริเวณที่อยูในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (กลุม 7 Sisters) และที่ Kashmir ซึ่งเปนรัฐท่ีอยูเหนือสุดของประเทศ แตก็ไมมีกลุมกอการรายใดสําคัญมากนัก นอกจากนั้น รัฐบาลอินเดียก็มีขอหามมิใหตางชาติ เขามาลงทุนในเขตนี้อยูแลว จึงไมกอใหเกิดผลกระทบตอการลงทุนตางชาติแตอยางใด

การแทรกแซงทางการเมืองในเรื่องของแรงงานอาจสงผลกระทบตอเศรษฐกิจการคาได การท่ีรัฐบาลออกกฎหมายอันเปนการสงเสริมสิทธิของผูใชแรงงานมากมายหลายฉบับ รวมท้ัง The Trade Union Act ซึ่งเปนกฎหมายการจัดตั้งสภาพแรงงาน จะสงผลตอสภาพการจางงานในอินเดียและกระทบถึงการคาการลงทุนในอินเดียดวย

นอกจากนั้น นโยบายรัฐในการปราบปรามการทุจริตคอรรัปช่ันของรัฐบาลทุกสมัยยังไมมีการนําไปปฏิบัติอยางจริงจัง ถึงแมวาจะมี The Central Bureau of Investigation (CBI) และ The Enforcement Directorate (ED) ทําหนาท่ีในการกํากับดูแลอยู แตยังมีการคอรัปชั่นอยางแพรหลาย โดยเฉพาะในกลุมขาราชการชั้นผูนอย ท่ีบางครั้งมีการเรียกรองเงินสินบนอยางเปดเผยจนเปนที่ทราบกันโดยทั่วไปในกลุมนักธุรกิจ ซึ่งมีผลตอ การดําเนินธุรกิจและการคาระหวางประเทศไดเชนกัน

1 เปนขอมลูทีไ่ดจากการสัมภาษณผูประกอบการไทยในอินเดียและในไทย รวมทั้งจากขาวทางหนังสือพิมพ

Page 15: บทที่ 2 ข อมูลประเทศอ ินเดีย - ThaiFTAบทท 2 ข อม ลประเทศอ นเด ย 2.1 ข อม ลท วไป1 2.1.1

กลยุทธการเจรจาจัดทําเขตการคาเสรี ไทย-อินเดีย

32

2.3 นโยบายรัฐดานเศรษฐกิจและงบประมาณ1 2.3.1 นโยบายเศรษฐกิจ

นโยบายเศรษฐกิจของอินเดียมีลักษณะเปนระบบเปดเสรีทางการคา (Liberalization and Open Door Policy) ซึ่งเปนระบบที่เพิ่งเริ่มตนใชเมื่อป 2534 โดยมีลักษณะแบบคอยๆ เปดทีละนอย ชวงแรกของนโยบาย เปดเสรีคือชวงภายหลังจากไดรับเอกราช ซึ่งเปนนโยบายที่คอนขางระมัดระวัง (Cautious Welcome Policy 2491-2509) และเริ่มผอนคลายมากขึ้นในชวง 2512-2514 (Selective and Restrictive Policy) จนถึงชวงการเปดเสรี เพิ่มมากขึ้นในชวง 2523-2533 (Partial Liberalization Policy) ปจจุบันนโยบายการคาของประเทศอินเดียอยูในชวงแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 10 (2545-2550) เปนแผนตอเนื่องและเปนไปในแนวทางเดียวกับแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 (2540-2544) ซึ่งเนนความเติบโตทางเศรษฐกิจเชื่อมโยงกับการคาระหวางประเทศและพันธกรณีในฐานะสมาชิกขององคการการคาโลก (World Trade Organization: WTO) การดําเนินนโยบายเศรษฐกิจของอินเดีย ในชวงแผนพัฒนาฯ ฉบับท่ี 9 ท่ีผานมา ถูกมองวาไมสามารถบรรลุผลไดตามเปาหมาย เนื่องจากผลกระทบของสองปจจัยหลักคือ ปจจัยภายในของอินเดียเองที่คงรูปแบบ ของนโยบายเศรษฐกิจแบบพึ่งพาตนเอง (Inward Looking) และปจจัยภายนอกดานเศรษฐกิจระหวางประเทศ ซึ่งรวมถึงเหตุการณ East Asian Crisis ในป 2540-2541 และสภาวะเศรษฐกิจถดถอยทั่วโลกในชวง 2542-2543 รวมท้ังเหตุกอวินาศกรรมในวันที่ 11 กันยายน 2544 ดวย

แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 10 ดานการสงออกซึ่งวางเปาหมายใหมีการขยายตัวเพิ่มข้ึน 12.4% โดยมีสินคาสงออกอุตสาหกรรมที่สําคัญคือ เพชรพลอย เครื่องหนัง สินคาดานวิศวกรรม เปนตน และคาดวาผลผลิตดานการเกษตรจะขยายตัว 4 % แตเนื่องจากความตองการภายในประเทศมีจํากัด ดังนั้นผลผลิตสวนใหญจึงมีโอกาส ในการสงออกสูง ซึ่งตลาดหลักของสินคาสงออกที่กําหนดไวในแผนพัฒนาฯ ยังคงเปนสหรัฐอเมริกา อังกฤษ ฮองกง เยอรมนี และจีน ทําใหอาจมองไดวาอินเดียตองพึ่งพาเศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกาอยูมาก 2.3.2 นโยบายงบประมาณ (Union Budget 2005-2006)

นโยบายงบประมาณของอินเดียเปนนโยบายขาดดุล และมีแนวโนมจะลดลงตอไปทุกๆ ป โดยตั้งงบประมาณรายจายไวท่ี 5143.44 พันลานรูป จัดทํางบประมาณแบบขาดดุลอยูท่ี 95312 Crore (สิบลานรูป) หรือ 2.7% ของ GDP การขาดดุลการคลัง อยูท่ีอัตรา 151144 Crore หรือ 4.3% ของ GDP การขาดดุลเบื้องตนเพิ่มข้ึนเปน 17199 Crore หรือ 0.5% ของ GDP โดยตามกฎหมายงบประมาณกําหนดใหตองลดการขาดดุลรายได 0.5% และขาดดุลการคลัง Fiscal deficit 0.3% ในทุกป ในปงบประมาณ 2005 คาดวาจะไดผลสําเร็จตามเปาหมายคือ ในที่สุดก็จะขาดดุลงบประมาณ 2.7% และขาดดุลงบคลัง ท่ี 4.5% ของ GDP รายละเอียดดังขอมูลตามตารางที่ 2.3

1 http://indiabudget.nic.in; www.cia.gov; www.ciionline.org; http://pib.nic.in; www.commerce.nic.in

Page 16: บทที่ 2 ข อมูลประเทศอ ินเดีย - ThaiFTAบทท 2 ข อม ลประเทศอ นเด ย 2.1 ข อม ลท วไป1 2.1.1

กลยุทธการเจรจาจัดทําเขตการคาเสรี ไทย-อินเดีย

33

ตารางที่ 2.3 คาใชจายภาครัฐของอินเดีย

ที่มา: www.indiainfoline.com

นโยบายประจําป 2547-25481 ซึ่งยังใชอยูในปจจุบันกอนที่จะใชนโยบายปงบประมาณ 2548-2549

ก็ไดวางเปาหมายใหมีอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจ 7-8% และมุงเนนพัฒนาดานเกษตรกรรมและโครงสรางพื้นฐาน รวมทั้งเรงรัดการบูรณาการและปฏิรูปงบประมาณ และเพิ่มการกระจายงบประมาณจากสวนกลาง ใหมีประสิทธิภาพ

การจัดสรรงบประมาณสําหรับรัฐตางๆ กําหนดใหสัดสวนของ Union taxes และ Duties เพิ่มมูลคาเปน 822,270 ลานรูป (จากเดิม 637,580 ลานรูป ในป 2546-2547) กําหนดใหอัตราดอกเบี้ยเงินกูของรัฐบาลกลางลดจาก 10.5% เปน 9% มีผลตั้งแต 1 มกราคม 2547 อนุญาตใหเพิ่มเงินกูเพื่อจายเงินกูท่ีมีตนทุนสูงใหแก NABRD และสถาบันการเงินอื่น แตละรัฐสามารถที่จะหาแหลงเงินกูจากแหลงอื่นไดแทนที่จะตองกูจากรัฐบาลกลางเทานั้น และมีการพิจารณาการโอนเงินกูในลักษณะ Back-to-back นอกจากนั้น ยังไดจัดตั้งคณะกรรมการรัฐดอยพัฒนาเพื่อจัดการเรื่องทุนชวยเหลือรัฐดอยพัฒนา ซึ่งจะเริ่มดําเนินการไดตั้งแตป 2548-2549

1 http://indiabudget.nic.in

Page 17: บทที่ 2 ข อมูลประเทศอ ินเดีย - ThaiFTAบทท 2 ข อม ลประเทศอ นเด ย 2.1 ข อม ลท วไป1 2.1.1

กลยุทธการเจรจาจัดทําเขตการคาเสรี ไทย-อินเดีย

34

รัฐ Bihar จะไดรับการชวยเหลือผาน Rashtriya Sam Vikas Yojana โดยจัดงบประมาณให 32,250 ลานรูป สําหรับรัฐ Jammu-Kashmir จะไดรับงบชวยเหลือเปนพิเศษสําหรับแผนงานที่มีขนาดของโครงการ ท่ีเหมาะสม มีการจัดงบประมาณจํานวน 3,000 ลานรูปไวเพื่อปรับเปลี่ยนจากการกูเงินเกินบัญชีกับธนาคารที่ Jammu-Kashmir ไปสูแผน Ways&Means ของ RBI

ทุกกระทรวงและกรมของรัฐในเขตพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ไดจัดสรรงบประมาณอยางนอย 70% จากแผนงบประมาณของพื้นท่ีในภาค (ประมาณ 58,230 ลานรูป) หากมีงบเหลือและไมไดถูกใช ก็จะถูกโอนเขาเปนงบประมาณรวมสําหรับพัฒนาพื้นที่นั้นๆ โดยไดรับจัดสรรงบประมาณจํานวน 6,500 ลานรูปจากงบกลางสําหรับโครงการหรือแผนที่ไดกําหนดไวเปนการเฉพาะ

ท้ังนี้อินเดียคาดวาจะเก็บภาษีทางตรงไดเพิ่ม 20,000 ลาน รูป สวนภาษีทางออมคาดวาจะไดเทาเดิม นโยบายงบประมาณที่สําคัญของอินเดียอาจสรุปไดดังนี้ (1) ดานความยากจน – จัดโครงการชวยเหลือคนยากจน ไมมีการปรับอัตราดอกเบี้ยสําหรับการออม

ขนาดเล็ก รวมท้ัง Public Provident Fund (PPF) และ General Provident Fund (GPP) และเงินฝากพิเศษ และใชแผนการออมสําหรับผูสูงอายุฉบับใหม โดยใหอัตราดอกเบี้ย 9% มีการเตรียมแผนหลักเพื่อเปาหมายการอุดหนุนผูยากไรและผูท่ีมีความตองการความชวยเหลือ รวมท้ังการสรางที่พักอาศัยสําหรับคนจน

(2) ดานคุณภาพชีวิต a. การศึกษา – มีการประกันคุณภาพอยางทั่วถึง จัดสรรงบประมาณคาอาหารกลางวันใหนักเรียน

ปรับปรุงสถาบันดานเทคนิค และจัดโครงการเงินกูเพื่อการศึกษา จัดตั้งศูนยกลางเรียนรูทุกหมูบาน b. การสาธารณสุข – มีการประกันสุขภาพขั้นพื้นฐานอยางทั่วถึง มีโครงการอาหารกลางวัน และ

อาหารเพื่องาน Sarva Shiksha Abhiyan จัดโครงการนํารองสําหรับการกระจายแสตมปอาหารแทนระบบการกระจายอาหารผานรานที่กําหนดราคาแบบยุติธรรม รวมท้ังสงเสริมและปกปองการออมของผ ู สูงอายุ จัดใหมีการประกันชีวิต เพื่อชดเชยคารักษาพยาบาล เริ่มแผนประกันสุขภาพใหมแบบกลุม รวมท้ังการปองกันและควบคุม HIV/AIDS ท้ังนี้ ในปงบประมาณ 2549 กําหนดรายจายสําหรับสวัสดิการดานสุขภาพและสุขอนามัยครอบครัว กําหนดไวถึง 102 พันลานรูป

c. การปฏิรูปบําเหน็จบํานาญ – เสนอกฎหมายสําหรับกรอบการจัดสรรบํานาญ สําหรับพนักงานของรัฐบาลกลางที่เขาทํางานตั้งแตวันที่ 1 มกราคม 2547

d. ดานการจางงาน – กําหนดใหมีการจางงานเพิ่มข้ึนทั้งในภาคอุตสาหกรรมและการบริการ มี การประกันการจางงานสําหรับหัวหนาครอบครัว โดยจัดสรรงบประมาณ 110 พันลานรูป สําหรับโครงการประกันการจางงานในชนบท

(3) ดานโครงสรางพื้นฐาน a. รถไฟ จัดการปรับปรุงกิจการรถไฟใหทันสมัย b. ชลประทาน มีโครงการเรงรัดดานการใชระบบชลประทาน โครงการประปาชนบท โครงการน้ํา

ดื่มภายใตพันธกิจ Raju Gandhi Drinking Water Mission พัฒนาชลประทาน โครงการแหลงน้ํา โดยจัดสรรเงิน งบประมาณ 48 พันลานรูป และยังเพิ่มอีก 4 พันลานรูป เพื่อสนับสนุนเทคโนโลยี่ดานชลประทาน

Page 18: บทที่ 2 ข อมูลประเทศอ ินเดีย - ThaiFTAบทท 2 ข อม ลประเทศอ นเด ย 2.1 ข อม ลท วไป1 2.1.1

กลยุทธการเจรจาจัดทําเขตการคาเสรี ไทย-อินเดีย

35

c. ถนน โครงการสรางถนน และจัดสรรเงินงบประมาณพิเศษสําหรับการกอสรางทางหลวง ในเขตตะวันออกเฉียงเหนือ

d. กอสรางทาเรือ เพื่อขนถายสินคาระหวางประเทศที่ Vallarpadam ท่ีทาเรือ Kochi e. จัดสรางโรงงานแยกเกลือ ท่ีใหญท่ีสุดแหงแรกใกล Chennai f. ระบบการกระจายสาธารณะของภาครัฐ (Public Distribution System) ปรับปรุงใหเขมแข็งข้ึน g. ลงทุนในโครงสรางพื้นฐานในเขตชนบท จัดตั้งกลุม Inter-Institutional Group (IIG) เพื่อเรง

การสรุปผลของความตกลงการใหกูเงิน และการดําเนินงานของโครงการดานระบบพื้นฐาน ในป 2548 ไดจัดสรรงบประมาณ เพิ่มข้ึน 5,000 crore รูป สําหรับเขตพื้นที่ลาหลัง

(4) ดานการเกษตรและเศรษฐกิจชนบท a. เพิ่มสินเชื่อการเกษตร และใหทุนเพื่อปรับโครงสรางสินเชื่อ Regional Rural Banks (RRBs) ตั้ง

คณะทํางานเพื่อปฏิรูประบบธนาคารสหกรณ รวมท้ังจัดเงินกูปลอดดอกเบี้ยโดย NABARD b. เรงรัดการดําเนินการของโครงการชลประทาน จัดใหมีระบบน้ําดื่มใหประชาชน และ

ขยายแหลงน้ํา พัฒนาการจัดสรรน้ํา ฟนฟูแหลงน้ํา และระบบชลประทานขนาดเล็กตางๆ จัดทําแผนพัฒนาแหลงน้ําแหงชาติ

c. ปรับปรุงตลาดผลิตภัณฑการเกษตรและธุรกิจการเกษตร และสรางความเปนตลาดเดียวสําหรับทุกผลิตภัณฑการเกษตร

d. จัดโครงการนํารองจัดทําแผนการซอมบํารุง ปรับปรุงและฟนฟูเพื่อเกษตรกรรม e. สนับสนุนนโยบายดานราคา และจัดใหมีการประกันรายไดของสถานที่เลี้ยงสัตวและปศุสัตว

จัดกิจกรรมเพื่อลดความเสี่ยงมีการปรับปรุงโครงการประกันผลผลิตแหงชาติ National Agriculture Insurance Scheme (NAIS) พรอมทั้งขยายเวลาของโครงการนํารองการประกันรายไดของฟารม

f. สนับสนุนดานการวิจัยและพัฒนา g. ปรับปรุงการบริหาร Small Farmers Agri-business Consortium (SFAC) มีการจัดสรรเงิน 6.30

พันลานรูป สําหรับโครงการพัฒนาพืชสวนแหงชาติ ซึ่งจะเริ่มตนโครงการในเดือนเมษายน 2548 (5) ดานอุตสาหกรรม - เพิ่มการลงทุนในอุตสาหกรรมภาครัฐและเอกชนทั้งภายในและตางประเทศ

จัดตั้งคณะกรรมการตางๆ เชนคณะกรรมการการลงทุน และ National Manufacturing Competitiveness Council เพิ่มสัดสวนการลงทุนในหลายอุตสาหกรรม ปรับปรุงและลดขั้นตอนการจดทะเบียนตลาดทุน หาแนวทางรวมตลาดสินคาและตลาดหลักทรัพยเขาดวยกัน และปรับปรุงการดําเนินการของสถาบันการลงทุนตางประเทศ (FIIs) เพิ่มเพดานการลงทุนของ FIIs ในทุนการชําระหนี้ ใหความเปนอิสระแกธนาคารบางรายในดานการเปดเผยขอมูลในตลาดทุน ขยายโอกาสสําหรับอุตสาหกรรมขนาดเล็กใหเติบโตและกาวหนา สรางแนวทางของเวทีการคาของ SMEs จัดตั้งคณะกรรมการ Board for Reconstruction of Public Sector Enterprises (BRPSE) สนับสนุนดานการเงินสําหรับการปรับโครงสรางของ Hindustan Antibiotics Limited ยกเลิก 85 รายการสงวนของอุตสาหกรรมขนาดเล็ก ปรับเพดานเงินกูภายใต Capital Subsidy Scheme และเพิ่มอัตราการอุดหนุน “Promotion of SSI Schemes”

Page 19: บทที่ 2 ข อมูลประเทศอ ินเดีย - ThaiFTAบทท 2 ข อม ลประเทศอ นเด ย 2.1 ข อม ลท วไป1 2.1.1

กลยุทธการเจรจาจัดทําเขตการคาเสรี ไทย-อินเดีย

36

(6) ดานภาษีทางตรง ผูมีเงินไดไมเกิน 100,000 รูปไมตองเสียภาษีเงินได และกําหนดอัตราภาษีเปน 10%, 20%, และ

30% สําหรับผูมีเงินไดตั้งแต 1 แสน - 1.5 แสนรูป, ตั้งแต 1.5 แสน - 2.5 แสนรูป และเกินกวา 2.5 แสนรูป ตามลําดับ

ยกเวนภาษีสําหรับผูหญิงท่ีมีรายไดต่ํากวา 1.25 แสนรูป และคนชรา ท่ีมีรายไดต่ํากวา 1.5 แสนรูป ยกเลิกภาษีท่ีเก็บจากการ Capital gain ระยะยาวจากการซื้อขายหลักทรัพย (แตจะเรียกเก็บภาษีจาก

การขายหลักทรัพยในตลาดหุน โดยจะเรียกเก็บจากผูซื้อในอัตรา 0.15% ของมูลคาหลักทรัพย และลดอัตราภาษีของ Capital gain ระยะสั้นที่ไดจากการขายหลักทรัพยใหเปนอัตราเดียวท่ี 10%)

เพื่อปองกันการหลีกเลี่ยงภาษี การถอนเงินเกินกวา 10,000 รูปจากธนาคาร ตองเสียภาษี 0.1% ผลประโยชนอื่นๆ ท่ีไดรับจากนายจางนอกเหนือจากเงินเดือน ก็จะตองเสียภาษี 30% ยกเวน

ในเรื่องคาเดินทางและคาอาหาร โครงสรางภาษีใหมสําหรับหางหุนสวนบริษัทในอินเดีย อยูท่ี 30% และตองเสียคา Surcharge อีก

10% แตภาษีเงินไดนิติบุคคลตางประเทศยังคงตองเสียท่ี 40% และตองเสีย Surcharge ท่ี 2.5% ยกเวนภาษีใหสําหรับเงินไดกรณีตอไปนี้ o เงินบําเหน็จที่จายใหแกภรรยาหมาย เด็ก และทายาทของทหารที่เสียชีวิตระหวางปฏิบัติหนาท่ี o เงินชดเชยสําหรับเวนคืนพื้นที่เกษตรกรรมในพื้นที่เมืองไดรับการยกเวนภาษีกําไรจากการขาย

ทรัพยสินที่ราคาตลาด (Capital Gain Tax) ในกรณีท่ีไดรับคาชดเชยหลังจากวันที่ 1 เมษายน 2547 o ภาษี Exempt Tax (EET) นํามาใชสําหรับโครงการบําเหน็จบํานาญ “Defined contribution”

สําหรับผูเริ่มเขาทํางานกับรัฐบาลกลาง o การยกเวนภาษีดอกเบี้ยท่ีไดจากบัญชีของ Non-Resident ท่ีธนาคารจายใหแก Non-Resident

หรือ Not-Ordinary Resident จากเงินฝากในสกุลเงินตางประเทศและการจายคาซื้อเครื่องบินหรือการเชาเครื่องยนตอากาศยานจากตางประเทศ ของบริษัทอินเดีย (ยกเลิกตั้งแตวันที่ 1 กันยายน 2547 เปนตนไป)

o ของขวัญที่ไดจากญาติและที่ไดในโอกาสหรือพิธีการทางสังคม เชนงานแตงงาน จะไดรับ การยกเวนภาษี แตของขวัญที่ไดจากผูอื่นที่มีมูลคาเกินที่กําหนดไวท่ี 25,000 รูป จะตองเสียภาษี

o เงินปนผลท่ีไดจาก Equity – Oriented mutual fund ไดรับการยกเวน (แตเพิ่มอัตราภาษีเปน 20% สําหรับผูถือในรูปบริษัทในกองทุน Debt-oriented mutual fund; สวนผูถือรายบุคคล และ Hindu Undivided Family (HUF) อัตราภาษีไมเปลี่ยนแปลง)

การใหผลประโยชนตามกฎหมายภาษี o ครอบคลุมถึงผูทุพพลภาพจากโรค Autism อัมพาตทางสมอง และพิการทางรางกายอยางหนัก o ครอบคลุมถึงโครงการที่ดําเนินการ ชวงระหวาง วันที่ 1 เมษายน 2547 จนถึง 31 มีนาคม 2549 o ขยายเวลาการใหผลประโยชนสําหรับธุรกิจบาน ท่ีอยูอาศัย ท่ีเปนโครงการที่ไดรับการอนุมัติ

กอนวันที่ 31 มีนาคม 2548 โดยใหขยายเวลาออกไปจนถึง วันที่ 31 มีนาคม 2550 o ขยายเวลาการใหผลประโยชนสําหรับกิจการโทรคมนาคมที่ใหบริการกอนวันที่ 31 มีนาคม

2547 โดยใหขยายเวลาออกไปจนถึงวันที่ 31 มีนาคม 2548

Page 20: บทที่ 2 ข อมูลประเทศอ ินเดีย - ThaiFTAบทท 2 ข อม ลประเทศอ นเด ย 2.1 ข อม ลท วไป1 2.1.1

กลยุทธการเจรจาจัดทําเขตการคาเสรี ไทย-อินเดีย

37

• การหักคาลดหยอน o ผูมีเงินไดสามารถนําเงินออมรวมกันไมเกิน 1 แสนรูป มาหักเปนคาลดหยอนภาษีได o ดอกเบี้ยเงินกูเพื่อซื้อบาน คารักษาพยาบาลและคาเบี้ยประกัน สามารถนํามาลดหยอนภาษีได o อุตสาหกรรมแปรรูปผลิตภัณฑการเกษตร ท่ีเกี่ยวของกับกระบวนการแปรูป การเก็บรักษา

และบรรจุภัณฑ ผักและผลไม หักคาลดหยอนได 100% ของกําไรเปนระยะเวลา 5 ป และ 25% ของกําไรในอีก 5 ปตอมา

o บริษัทที่ดําเนินกิจการดานการวิจัยและพัฒนาวิทยาศาสตรและไดรับอนุมัติจาก The Department of Scientific and Industrial Research กอนวันที่ 1 เมษายน 2547 หักคาลดหยอนได 100% จากกําไรเปนระยะเวลา 10 ป และยังขยายเวลาออกไปจนถึงวันที่ 31 มีนาคม 2548

• การหักคาเสื่อมราคา o โรงงานและเครื่องจักรใหม ท่ีมีการลงทุนเพิ่มกําลังการผลิตในโรงงานเดิม 10% (จากเดิม

กําหนดวาตองเพิ่ม 25%) สามารถหักคาเสื่อมราคาเพิ่มไดอีก 15% จากที่เคยใหหักได แตคาเสื่อมราคาเบื้องตนในปแรกสามารถนํามาหักภาษีได 20%

• การหักคาใชจาย o อุตสาหกรรมรถยนตสามารถหักคาใชจายไดถึง 150% สําหรับอุปกรณเพื่อการวิจัยและพัฒนา

• การจัดเก็บภาษีตามขนาดของเรือ o ยอมรับการรองขอจากธุรกิจการขนสงทางเรือสําหรับการจัดเก็บภาษีตามขนาดของเรือ

(TONNAGE TAX)

(7) ดานภาษีทางออม • มีนโยบายปรับโครงสรางภาษีศุลกากรใหสอดคลองกับกลุมประเทศอาเซียน และตองการที่จะมี

อัตราภาษีในรูปแบบเดียวกันทั้งสินคาและบริการ รวมท้ังจัดสรรเงินเพื่อการศึกษา 2% จากภาษีเงินไดบุคคลธรรมดา ภาษีเงินไดนิติบุคคล ภาษีสรรพสามิต ภาษีศุลกากร และภาษีบริการ

• ภาษีมูลคาเพิ่ม o ไดฉันทามติระหวางรัฐตางๆที่จะใช VAT ใหมีผลตั้งแต 1 เมษายน 2548 และไดพัฒนา

สูตรการกําหนดคาชดเชยกรณีการสูญเสียรายได • ภาษี Countervailing Duty (CVD) o ยกเลิกสําหรับสินคานําเขาบางรายการซึ่งไมสอดคลองกับสินคาท่ีผลิตในอินเดียท่ีไดรับ

การยกเวนภาษีสรรพสามิต • ภาษีศุลกากรและอากรขาเขา o โครงสรางภาษีศุลกากร ปรับใหใกลเคียงกับกลุมประเทศเอเซียตะวันออก อัตราสูงสุดสําหรับ

สินคาท่ีมิใชเกษตร ลดลงจาก 20% เปน 15% สินคาหลักที่ลดภาษีคือ เครื่องหนัง รองเทา ยา เทคโนโลยีชีวภาพ เทคโนโลยีสารสนเทศ

o เหล็กผสม ทองแดง สังกะสี และ base metal ลดลงมาเหลือ 15% ตะกั่วลดจาก 15% เหลือ 5%

Page 21: บทที่ 2 ข อมูลประเทศอ ินเดีย - ThaiFTAบทท 2 ข อม ลประเทศอ นเด ย 2.1 ข อม ลท วไป1 2.1.1

กลยุทธการเจรจาจัดทําเขตการคาเสรี ไทย-อินเดีย

38

o สําหรับ Non-alloy steel ลดจาก 15% เปน 10% (แตใหเพิ่มภาษีสรรพสามิต สําหรับเหล็ก จาก 8% เปน 12% เพื่อท่ีจะไดเก็บ Countervailing Duty กับสินคานําเขา)

o แรดิบและผลิตภัณฑจากแร เชน กราฟไฟต แอสเบสตอส ไมกา และยิบซัม รวมท้ังสารเรงปฏิกิริยา ลดลงมาที่ 15%

o น้ํามันปาลมดิบคงอัตราภาษีศุลกากรที่ 65% และเพิ่มภาษีสําหรับน้ํามันปาลมบริสุทธิ์เปน 75% o เพิ่มรายการสินคาเกี่ยวกับเครื่องจักรโรงงานที่เกี่ยวของกับการผลิต ชาและกาแฟ ท่ีจะตองเสีย

ภาษีศุลกากร 5% o อุปกรณเพื่อการฟนฟูสมรรถภาพทางรางกายบางรายการ ไดแก ไมเทา รถเข็น แขน ขาเทียม

และอื่นๆ สําหรับอุปกรณชวยเหลือผูพิการ จะไดรับการยกเวนภาษีศุลกากร (รวมท้ังภาษีสรรพสามิต และ CVD ดวย)

o สถาบันที่ใหบริการรักษาสายตาและการฟง จะไดรับยกเวนภาษีศุลกากร รวมท้ังยกเลิกขอจํากัดและเงื่อนไขบางอยางออกไป

o วัตถุดิบบางรายการสําหรับผลิต สายไฟเบอร ออฟติก และสายเคเบิ้ล ในกิจการโทรคมนาคม ไดรับการยกเวนภาษีศุลกากร และสําหรับผูใหบริการโทรคมนาคม Universal access ไดรับการยกเวนภาษีนําเขาอุปกรณ

o ยกเวนภาษีศุลกากร 5% สําหรับสินคาทุนใหรวมถึงธุรกิจรองเทาท่ีไมไดทําจากหนังสัตว ผลิตภัณฑท่ีทําจากหนังและมีสิทธิบัตร จะไดรับการยกเวนภาษีศุลกากร

o ลดอากรขาเขาสําหรับ platinum จาก 550 รูป ตอ 10 กรัม เปน 200 รูป สวนอัญมณีท่ียังไมไดเจียระไนไดรับยกเวนอากรขาเขา

o ยังคงใหสิทธิในการยกเวนภาษีของรัฐ (ยกเวนรัฐดานตะวันออกเฉียงเหนือ และรัฐ Jummu-Kashmir) สําหรับกิจการที่กอตั้งหรือขยายกิจการกอนวันที่ 31 มีนาคม 2550

o ลดภาษีศุลกากรจาก 15% เหลือ 10% สําหรับน้ํามันเชื้อเพลิงและปโตรเลียม • ภาษีสรรพสามิต o ลดภาษีสรรพสามิตใหกับสินคาหลายรายการ o ยางรถยนต และเครื่องปรับอากาศ ลดจาก 24% เหลือ 16% แตใหคงภาษีสําหรับรถยนตสวน

บุคคลและน้ําอัดลมในอัตราเดิมท่ี 24% (แตเก็บภาษีพิเศษสําหรับน้ํามันเชื้อเพลิง เพื่อนําไปใชในการกอสรางทางหลวง)

o การเตรียมผลิตภัณฑเนื้อสัตว สัตวปก และปลา ลดจาก 16% เปน 8% o อาหาร Hexane (ใชในอุตสาหกรรมน้ํามันใชปรุงอาหาร) ลดจาก 32% เปน 16% o เพิ่มรายการอุปกรณท่ีจะไดรับการยกเวนภาษี เชน รถพยาบาลที่ไดลงทะเบียนเพื่อการฟนฟู

สมรรถภาพทางรางกายจะไดรับยกเวนภาษีสรรพสามิต 16% o คอนแทคเลนส และ ไพ สินคาบางรายการมีการปรับภาษีเพิ่มจาก 8% เปน 16% o บุหรี่ กําหนดอัตราภาษีท่ี 10% และตองเสียคา Surcharge อีก 10% o โลหะ เพิ่มภาษีสรรพสามิตจาก 12% เปน 16%

Page 22: บทที่ 2 ข อมูลประเทศอ ินเดีย - ThaiFTAบทท 2 ข อม ลประเทศอ นเด ย 2.1 ข อม ลท วไป1 2.1.1

กลยุทธการเจรจาจัดทําเขตการคาเสรี ไทย-อินเดีย

39

o ไมขีดไฟ ใน Mechanized/semi-mechanized sector เพิ่ม จาก 8% ไมรวมภาษีมูลคาเพิ่ม เปน 16% รวมภาษีมูลคาเพิ่ม

o กําหนดรายการยกเวนภาษี ไดแก วัตถุดิบบางประเภทสําหรับการผลิตช้ินสวนหลอดภาพ และสินคาทุนบางรายการ

สําหรับการผลิตโทรศัพทมือถือ จอพลาสมา รถแทรคเตอร เครื่องจักรเพื่อการผลิตนม และเครื่องมือพื้นฐาน เชน พลั่ว เคียว และ

อื่นๆ ไดรับการยกเวนภาษีสรรพสามิต ซึ่งเดิมตองเสีย 16% อุปกรณคอมพิวเตอร เตาแก็ส LPG ท่ีมีราคาขายปลีกสูงสุดไมเกิน 2,000 รูป รองเทาไมเกิน 250 รูป และ

อุปกรณการเขียน ไมเกิน 200 รูป ชา น้ํามันปรุงอาหาร และ Vanaspati

• โครงสรางภาษีใหมสําหรับสิ่งทอ o ยกเลิกภาษีมูลคาเพิ่ม CENVAT และภาษีสรรพสามิตสําหรับฝายบริสุทธิ์ ขนสัตวและไหม

ไมวาจะเปน เสนใย ดาย หรือเสื้อผา สําหรับสิ่งทอผสม และฝายผสม ( Polyester viscose acrylic และไนลอน) จะตองเสียภาษีในอัตราที่แตกตางกัน เสนใยที่ผลิตดวยมือตองเสียภาษี 16% Polyester เสียภาษี 24% และเสนดายขนาดเล็กที่ทําดวยมือจะเสียภาษี 16%

• ภาษีบริการ o เครดิตภาษีบริการและภาษีสรรพสามิต จะครอบคลุมทุกสินคาและบริการ o อัตราภาษีบริการ ปรับเพิ่มจาก 8% เปน 10% นอกจากนั้นยังรวมถึงการบริการรูปแบบใหมๆ

เชน การขนสงทางทอ การกอสรางและการรื้อถอน คาสมาชิกของชมรมตางๆ คาบริการ หีบหอและไปรษณียภัณฑ การบริการชางสํารวจและทําแผนที่ การกอสรางอาคารที่พักอาศัย

o ยกเลิกการประเมินภาษีของผูเสียภาษีดวยตัวเอง o ยกเลิกบทปรับของผูไมไดข้ึนทะเบียน การเปนผูเสียภาษี

2.3.3 บทบาทภาครัฐดานพัฒนาเศรษฐกิจ

กระทรวงหลักที่มีบทบาทดานเศรษฐกิจคือ Ministry of Commerce and Industry มีบทบาทหลักในการออกนโยบายและควบคุมกํากับดูแลกิจการทั้งหลายที่เกี่ยวกับการคาภายในประเทศและระหวางประเทศ หนวยงานที่ทําหนาท่ีกําหนดนโยบายคือ Department of Commerce ซึ่งประกอบดวยเลขาธิการ (Secretary) และผูชวยเลขาธิการอีก 4 คน และยังมีเลขาธิการรวม (Joint Secretaries) อีก 10 คน รวมทั้งเจาหนาท่ีอาวุโส (Senior Officers) ชวยงานอีกจํานวนมาก ทําหนาท่ีการคาระหวางประเทศและสงเสริมการสงออกระหวางประเทศ ความสัมพันธในระดับพหุภาคีและทวิภาคี การพัฒนา และออกกฎระเบียบที่เกี่ยวของ

การดําเนินนโยบายเศรษฐกิจการคาของกระทรวงฯ มีการจัดตั้ง “คณะที่ปรึกษา” (Advisory Bodies) ข้ึนหลายคณะ ท่ีสําคัญคือ

Page 23: บทที่ 2 ข อมูลประเทศอ ินเดีย - ThaiFTAบทท 2 ข อม ลประเทศอ นเด ย 2.1 ข อม ลท วไป1 2.1.1

กลยุทธการเจรจาจัดทําเขตการคาเสรี ไทย-อินเดีย

40

1. Board of Trade (BOT) กอตั้งข้ึนเมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม 2532 เพื่อสรางกลไกในการสงเสริมการคาระหวางประเทศ มีรัฐมนตรีวาการกระทรวงพาณิชยและอุตสาหกรรมเปนประธาน ทําหนาท่ีใหคําแนะนํารัฐบาลเกี่ยวกับนโยบายการคา วางแผนระยะสั้นและระยะยาวในการเพิ่มการสงออก เพื่อทบทวนการดําเนินงานของอุตสาหกรรมตางๆ โดยวิเคราะหถึงขอจํากัด มาตรการตางๆ เพื่อท่ีจะเพิ่มจํานวนการสงออก และจํากัดการนําเขา และตรวจสอบกรอบโครงงานสถาบันเพื่อการสงออกและใหคําแนะนําในทางปฏิบัติในการปรับรูปแบบองคกรใหเหมาะสม อีกทั้งยังทบทวนเครื่องมือรัฐในการสรางแรงจูงใจและกระบวนการในการสงออกและแนะนําข้ันตอนของการจูงใจที่สมเหตุสมผลและมีชองทาง

2. Export Promotion Board (EPB) เลขานุการคณะรัฐมนตรีเปนหัวหนามีหนาท่ีจัดนโยบายและสนับสนุนทางโครงสรางพื้นฐานผานการรวมมือระหวางหนวยงานที่เกี่ยวของ เพื่อผลักดันใหการสงออกเติบโต

3. Department of Commerce บริหารงานโดยแบงออกเปน 9 แผนก คือ Administrative and General Division, Finance Division, Economic Division, Trade Policy Division, Foreign Trade Territorial, Export Product Division, Export Industries, Export Services, Supply Division.

นอกจากนั้น มหีนวยงานซึ่งขึ้นตรงตอ Department of Commerce คือ 1. DGS&D (Directorate General of Supplies and Disposal) เปนหนวยงานหนึ่งของฝายจัดหา

(Supply Division) ทําหนาท่ีกําหนดอัตราสัญญาในรายการ ดูการจัดซื้อ ตรวจสอบคลังสินคา พิธีการสงออกและพิธีการนําเขา

2. DGCI&S (Directorate General of Commercial Intelligence & Statistics) ตั้งอยูท่ี Kolkata เปนหนวยงานหลักของรัฐบาลในการรวบรวม แยกแยะ ขอมูลและสถิติการคา ดวยการนําเสนอขอมูลชวยดานการคา และเผยแพรขอมูลเชิงพาณิชย ดวยการเผยแพรสถิติการคาท่ีหลากหลาย เปดเผยแกนักวิชาการและบุคคลท่ัวไป จัดใหมีหองสมุดดานการคาเพื่อประโยชนแกผูเกี่ยวของท้ังภาครัฐและภาคเอกชน

3. Directorate General Foreign Trade (DGFT) มีผูอํานวยการเปนหัวหนา รับผิดชอบดาน EXIM Policy ทําหนาท่ีกําหนดนโยบายสงเสริมการสงออก ดูแลงานออกใบอนุญาต กฎระเบียบการสงออก มีสํานักงานใหญอยูท่ี New Delhi มีสาขา 32 แหงตามภูมิภาคตางๆ ดังตารางที่ 2.4

ตารางที่ 2.4 ที่ต้ังของสํานักงานสงเสริมการสงออก

ท่ีมา: http://commerce.nic.in

Page 24: บทที่ 2 ข อมูลประเทศอ ินเดีย - ThaiFTAบทท 2 ข อม ลประเทศอ นเด ย 2.1 ข อม ลท วไป1 2.1.1

กลยุทธการเจรจาจัดทําเขตการคาเสรี ไทย-อินเดีย

41

4. Export Processing Zones (EPZs) / Special Economics Zones (SEZs) EPZs เปนเขตสินคาทัณฑบน ซึ่งเปนเขตปลอดภาษีเพื่อสงเสริมการสงออก แตละโซนมีหัวหนา

เรียกวา Development Commissioners โดยรัฐบาลไดเปลี่ยนสถานภาพของ EPZs ไปเปน SEZs ในหลายรัฐ เชน รัฐ Kandla (Gujarat) เมือง Santacruz (Maharahhtra) เมือง Cochin (Kerala)

SEZs เปนเขตเศรษฐกิจพิเศษตั้งข้ึนเมื่อ 31 มีนาคม 2545 โรงงานที่ตั้งข้ึนภายใตโซนนี้ซึ่งผลิต การคา แปรรูป ซอมบํารุง หรือกิจกรรมบริการ ตองเปนผูไดรับอัตราแลกเปลี่ยนตางประเทศสุทธิ แตจะตองไมอยูภายใตเงื่อนไขเรื่อง Predetermined Value Addition หรือเรื่องเงื่อนไขการสงออกขั้นต่ํา

ท้ังนี้ ท้ังสองเขตพิเศษรับผิดชอบเฉพาะ Export Unit ท่ีอยูในโซนนั้นเทานั้น 5. Office of the Custodian of Enemy Property (CEP), Mumbai หนวยงานนี้ทําหนาท่ีดูแล

ทรัพยสิน ของคูพิพาทที่ยึดไว โดย CEP มีสาขาอยูท่ี Kolkata 6. Pay and Accounts Office (Supply side) เปนหนวยงานการเงินและบัญชีของ Supply Division ซึ่ง

รวมถึง DGS&D และดําเนินการภายใตระบบบัญชีของกรมฯ ซึ่งเปนฝายจัดซื้อ 7. Pay and Accounts Office (Commerce and Textiles) เปนหนวยงานการเงินดานการคาและสิ่งทอ

ซึ่งข้ึนตรงตอกรมพาณิชยและยังตองข้ึนตรงตอกระทรวงสิ่งทอดวย ทําหนาท่ีรับผิดชอบเกี่ยวกับการกําหนดคาเสียหายท่ีคูพิพาทเรียกรองตอกัน โดยใน Delhi มีสํานักงานอยู 4 แหง และใน Mumbi มีอยู 2 แหง และใน Kokatta มีอยู 2 แหง และที่ Chennai มีอยู 2 แหง

8. Directorate General of Anti-Dumping & Allied Duties (DGAD) เปนหนวยงานที่ตั้งข้ึนอยางเปนทางการเมื่อเดือนเมษายน 2541 ทําหนาท่ีตรวจสอบและแนะนําเกี่ยวกับการตอตานการทุมตลาด กําหนดสินคาท่ีมีผลกระทบตอการคาภายในประเทศ

นอกจากนั้น Department of Commerce ยังไดจัดตั้งคณะกรรมการตางๆ อีกมากมายในการดําเนิน

นโยบายเศรษฐกิจของประเทศ โดยหนวยงานหลักๆ ไดแก 1. คณะกรรมการอิสระ (Autonomous bodies) มีอยู 5 ชุด เรียกวา Statutory Commodity Boards คือ (1) Coffee Board รับผิดชอบเรื่องกาแฟ ตั้งข้ึนภายใตกฎหมาย "The Coffee Act, 1942 มาตรา 4 เปน

คณะกรรมการชุดท่ีเกาแกท่ีสุดของกรมฯ มีสํานักงานอยูท่ี Bangalore มีสถานีวิจัยท้ังในสวนกลางและสวนภูมิภาค และมีฟารมสาธิตดวย

(2) Rubber Board ตั้งข้ึนตามมาตรา 4 ของ The Rubber Act, 1947 มีสํานักงานใหญอยูท่ี Kottayam และมีสํานักงานยอยท้ังในสวนกลางและภูมิภาค ทําหนาท่ีเก็บขอมูลเกี่ยวกับยางพารา สงเสริมการพัฒนาวิจัย

(3) Tea Board ซึ่งแตงตั้งข้ึนตามมาตรา 4 ของ The Tea Act, 1947 มีสํานักงานใหญอยูท่ี Kolkata และยังมีสํานักงานอยูท่ีตางประเทศเชน Dubi, Moscow, New York, and London ทําหนาท่ีเกี่ยวกับชา

(4) Tobacco Board ตั้งเมื่อ 1 มกราคม 2519 ภายใต Tabacco Act, 1975 สํานักงานใหญอยูท่ี Guntur in Andhra Pradesh

(5) Spices Board ตั้งข้ึนตาม The Spices Act, 1986 บังคับใช 26 กุมภาพันธ 2530 ตั้งอยูท่ี Cochin

Page 25: บทที่ 2 ข อมูลประเทศอ ินเดีย - ThaiFTAบทท 2 ข อม ลประเทศอ นเด ย 2.1 ข อม ลท วไป1 2.1.1

กลยุทธการเจรจาจัดทําเขตการคาเสรี ไทย-อินเดีย

42

2. สภาตรวจสอบการสงออก (Export Inspection Council) เปนองคกรของรัฐท่ีเปนอิสระซึ่งอยูภายใต The Company Act, 1963 ทําหนาท่ีท้ังแนะนําใหคําปรึกษา (Advisory) โครงสรางบริหาร (Executive Function)

3. Indian Institute of Foreign Trade (IIFT) เปนสถาบันการคาตางประเทศ ตั้งอยูท่ี New Delhi ทําหนาท่ีอบรมบุคลากรในการใชเทคโนโลยี ใหมๆ เรื่องการคาระหวางประเทศ การทําวิจัยการตลาด การสํารวจตลาด ผูบริโภค เผยแพรขอมูลท่ีเกิดจากกิจกรรมการวิจัย

4. Indian Institute of Packaging เปนสถาบันบรรจุหีบหอ ตั้งอยูท่ี Mumbai ทําหนาท่ีวิจัยเกี่ยวกับการใชวัตถุดิบในอุตสาหกรรมบรรจุหีบหอ เพื่อจัดฝกอบรมเรื่องเทคโนโลยี บรรจุหีบหอ กระตุนและสงเสริมใหตระหนักถึงความสําคัญของการมีบรรจุภัณฑท่ีดี

5. Marine Products Export Development Authority (MPEDA) สํานักงานอยูท่ี Cochin ตั้งข้ึน โดยอาศัยมาตรา 4 ของ MPEDA Act, 1974 นอกจากนั้นยังมีสาขาอยูท่ีอื่นดวย ทําหนาท่ีพัฒนาอุตสาหกรรมผลิตภัณฑทางทะเลสําหรับการสงออก กิจกรรมหลักของหนวยงานนี้คือการชวยเหลือเงินทุนใหกับประมงทะเลลึกและพัฒนาใหมีฟารมใหม ขยายพันธใหม เปนศูนยอนุบาลเตาทะเล โดยไมคิดคาใชจาย จัดฝกอบรมและสัมมนาเชิงปฏิบัติการเรื่องของสุขอนามัยทางทะเล ใหมีระบบของกระบวนการผลิตเปนเลิศ

6. Agricultural and Processes Food Products Export Development Authority (APEDA) ตั้งอยูท่ี New Delhi มีอํานาจตามกฎหมายของรัฐสภาในป 2529 เริ่มดําเนินงานเมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ 2529 มุงเนนเรื่องเกษตรกรรมไมดอกเพื่อการสงออก รวมท้ังการสงออกอาหารสําเร็จรูป และสงเสริมและใหความชวยเหลือ การสงออก องคกรนี้ยังไดมีสวนรวมกับการจัดงานแสดง สินคาระหวางประเทศ และฝกอบรมตางๆ และแสวงหาตลาดใหเกษตรกรดวย

7. Indian Diamond Institute (IDI) สํานักงานตั้งอยูท่ี Surat กอตั้งเมื่อป 2521 มีหนาท่ีสนับสนุนความสามารถของบุคลากรดานอัญมณี จัดตั้งหลักสูตรในหลายระดับทั้งประกาศนียบัตรและปริญญา มีหองทดสอบคุณภาพ ความแท การเจียระไน รูปแบบ ความบริสุทธ น้ําหนัก และ สีของอัญมณี พรอมออกใบรับรองใหดวย เปนสถาบันเดียวในอินเดียท่ีครอบคลุมทุกดานที่ เกี่ยวกับอัญมณี ท้ังเรื่องการวิจัยและพัฒนา นอกจากนั้นรัฐบาลยังไดอนุมัติใหมีศูนยฝกอบรมอัญมณี ซึ่งเปนหนวยงานระดับที่ไดรับรอง ISO 9001

นอกจากนั้น ยังมีการจัดตั้ง Council ตางๆ อีก 10 กลุม เชน Export Promotion Council อยูภายใตการดูแลของ Department of Commerce รวมท้ังสภาสงเสริมการสงออก ทําหนาท่ีบริหารงานและใหคําปรึกษา

อยางไรก็ดี ในจํานวนนี้มี 8 สภาทําหนาท่ีสงเสริมการสงออกดานสิ่งทอ ซึ่งอยูภายใตการควบคุมของ Ministry of Textile ท้ังนี้ Council จะทําหนาท่ีหลักในการกําหนดกฎเกณฑสําหรับปรับโครงสรางการสงออกใหสอดคลองกับนโยบายและการคาโลกภายใตระบบเศรษฐกิจเสรี ใหคําแนะนําเพื่อใหการทํางานมีความแข็งแกรงและกระชับยิ่งข้ึน ในทางปฏิบัติ เมื่อรัฐไดรับคําแนะนําจาก Council รัฐก็จะออก Model Bye-Law เปนแนวทางให Council นําไปใช

Page 26: บทที่ 2 ข อมูลประเทศอ ินเดีย - ThaiFTAบทท 2 ข อม ลประเทศอ นเด ย 2.1 ข อม ลท วไป1 2.1.1

กลยุทธการเจรจาจัดทําเขตการคาเสรี ไทย-อินเดีย

43

นอกจากนั้น อินเดียยังมีหนวยงานอื่นที่ไมข้ึนตรงตอ Department of Commerce แตมีความเกี่ยวของกับการคาและเศรษฐกิจของอินเดียดวย ไดแก

1. National Center for Trade Information (NCTI) เปนศูนยกลางการรวมลงทุนระหวางองคกรสงเสริมการคา (ITPO) และศูนยขอมูลแหงชาติ (National Informatic Center (NIC) ทําหนาท่ีดานรวบรวมกิจกรรมของหนวยงานอื่นๆ และเผยแพรขอมูลดานการลงทุนและการคา

2. National Numbering Organization (EAN-India) เปนองคกรซึ่งทําหนาท่ีกําหนดรหัสสินคาเปน บารโคด สรางระบบ EDI ในอุตสาหกรรมและการคาของอินเดีย บริหารงานโดยคณะกรรมการซึ่งเปนตัวแทนของกรมพาณิชย และหนวยงานภาคเอกชนไดแก APEDA ASSOCHEM BIS, CII, FICCI, FIEO, SPICES BOARD ฯลฯ องคกรนี้เปนสมาชิกของสถาบันรหัสระหวางประเทศที่ตั้งอยูท่ี Brussels ดวย

3. Indian Trade Promotion Organization (ITPO) ตั้งข้ึนเพื่อสงเสริมการสงออกและนําเขา ดวยการยกระดับเทคโนโลยีอุตสาหกรรมการคา และสนับสนุนภาคเอกชนในการพัฒนาอุตสาหกรรม ท้ังดานการเผยแพรประชาสัมพันธ การตลาด และการประสานงานการคาตางประเทศ

การจัดแบงกระทรวงตางๆ ท่ีเกี่ยวของกับเศรษฐกิจการคาและการลงทุนของอินเดีย มีลักษณะพิเศษที่

นาสนใจ กลาวคือ นอกเหนือจากการจัดตั้ง The Ministry of Commerce and Industry แลว อินเดียยังไดจัดตั้งกระทรวงที่เกี่ยวของกับการคาการลงทุนออกเปนกระทรวงเฉพาะอุตสาหกรรมอีกดวย ไดแก Ministry of Coal and Mines, Ministry of Civil Aviation, Ministry of Food Processing Industries, Ministry of Steal, Ministry of Textile เปนตน และแมวาอินเดียจะมีกระทรวงพลังงานคือ Ministry of Power แลว ก็ยังไดจัดตั้ง Ministry of Non-Conventional Energy Sources และ Ministry of Petroleum and Natural Gas อีกดวย ยิ่งไปกวานั้น อินเดียตองการสนับสนุนธุรกิจขนาดกลางและขนาดยอม จึงไดจัดตั้ง Ministry of Small Scale Industries อีกดวย

จากการที่อินเดียจัดตั้งกระทรวงตางๆ มากมายหลากหลาย มีหลายหนวยงานรับผิดชอบในเรื่องท่ีมีลักษณะแบบเดียวกัน ทําใหอาจสงผลกระทบตอการคาระหวางประเทศไทย-อินเดีย และอาจเกิดผลกระทบตอผูประกอบการไทยในการติดตอทําการคากับอินเดียได เพราะมีปญหาการสื่อสารขอมูลระหวางหนวยงานที่เกี่ยวของ ปญหาความไมชัดเจน ความซ้ําซอน ความไมแนนอนของขอมูล และความไมชัดเจนของการปฏิบัติงานของหนวยงานที่เกี่ยวของ ขณะเดียวกัน ผูประกอบการก็จะไมมั่นใจในผลของการติดตอกับหนวยงานตางๆ วาข้ันตอนการติดตอท่ีสําคัญไดถูกตองและครบถวนแลวหรือไม และอาจมีการกระทําท่ีผิดข้ันตอนหรือกฎระเบียบท่ีแตละหนวยงานกําหนดขึ้น ซึ่งทําใหเสียเวลาและคาใชจายเพิ่มมากขึ้น นอกจากนั้นการติดตอกับเจาหนาท่ีรัฐก็ไมใชเปนเรื่องงายนัก ดังนั้น ผูประกอบการควรตองศึกษาขอมูลใหชัดเจนกอนที่จะตัดสินใจทําธุรกรรมกับอินเดีย โดยพึงตองศึกษาเปนรายอุตสาหกรรมและรายสินคาวาจะตองติดตอกับหนวยงานใดบาง และมีกฎระเบียบหรือคําสั่งพิเศษใดโดยเฉพาะที่กําหนดขึ้นของแตละหนวยงานหรือไม เพียงใด

Page 27: บทที่ 2 ข อมูลประเทศอ ินเดีย - ThaiFTAบทท 2 ข อม ลประเทศอ นเด ย 2.1 ข อม ลท วไป1 2.1.1

กลยุทธการเจรจาจัดทําเขตการคาเสรี ไทย-อินเดีย

44

2.4 นโยบายการคาตางประเทศ (Foreign Trade Policy) เดิมอินเดียมีนโยบายการคาตางประเทศ เรียกวานโยบายการสงออก-นําเขา (EXIM Policy 2002-2007) แกไขเพิ่มเติม 31 มีนาคม 2546 ปจจุบัน อินเดียปรับเปลี่ยน EXIM Policy เปน Foreign Trade Policy 2004 - 2009 ซึ่งเนนใหครอบคลุมทุกมิติของการพัฒนาการคาระหวางประเทศ กําหนดวัตถุประสงคไวสองประการหลักๆ คือ มุงใหนโยบายการคาตางประเทศเปนกลไกที่จะผลักดันการเติบโตของเศรษฐกิจ ดวยการเพิ่มการจางงานในเขตเมืองและชนบท และเพิ่มสวนแบงตลาดการคาระหวางประเทศใหมากขึ้นเปน 2 เทาภายในป 2552

นโยบายการคาตางประเทศของอินเดียไดกําหนดกลยุทธในการพัฒนาไวชัดเจนวา (1) ลดการควบคุม (2) สรางบรรยากาศของความไววางใจและความโปรงใส (3) ลดข้ันตอนของกระบวนการทาํงาน และตนทุนดําเนินงาน (4) ตั้งอยูบนหลักการที่สินคาสงออกจะตองไมมีตนทุนแฝงดวยภาษีตางๆ (5) สนับสนุนรายสาขาการคาเพื่อพัฒนาใหอินเดียเปนศูนยกลางของการผลิต การคา และบริการ โดยเหตุที ่นโยบายการคาตางประเทศเนนสรางศักยภาพการสงออก อินเดียจึงไดกําหนดใหมี

โครงการพิเศษสําหรับเปาหมายการคารายสาขา โดยเนนสงเสริมและกําหนดการลงทุนยุทธเปนพิเศษตอสาขาท่ีมีศักยภาพในการสงออกและการจางงานในเขตเมืองรอบนอกและเขตชนบท สวนสาขาอื่นๆ นอกเหนือจากนั้นก็จะประกาศเปนระยะในรายสาขาที่ไดรับการสนับสนุนใหอยูในโครงการที่ไดรับการสงเสริม (ปจจุบันมีสาขาที่อยูในโครงการคือ สาขาเกษตร หัตถกรรม ผาทอมือ อัญมณี หนังสัตวและรองเทา)

อยางไรก็ตาม นโยบายการคาตางประเทศไดลดเงื ่อนไขของการยกระดับใหเปนเมืองสงออก ยอดเยี่ยมจากที่กําหนดเปาหมายรายไดสงออกจาก 10,000 ลานรูป ลงมาที่ 2,500 ลานรูป

2.4.1 นโยบายดานการคาสินคา นโยบายการคาตางประเทศของอินเดียสนับสนุนการคาโดยแยกเปนรายสาขาและเปนนโยบาย

โดยรวมเพื่อสนับสนุนการสงออก สรุปไดดังนี้ นโยบายดานการเกษตร สงเสริมการสงออกผลิตผลดานการเกษตรเชน ผลไม ผัก ดอกไม ผลิตภัณฑจากปาไมและ

ผลิตภัณฑเสริมตางๆ ยกเวนภาษีนําเขาสินคาทุนเพื่อการสงออกภายใตโครงการ EPCG โดยสินคาที่นําเขาภายใต

EPCG สาขาการเกษตรจะไดรับอนุญาตใหนํามาใชเพื่อผลิตไดในเขต Agri Export Zone จัดตั้งกองทุน ASIDE เพื่อการพัฒนา Agri Export Zone เปดเสรีการนําเขาเมล็ดพันธุ เหงา และวัสดุการเพาะปลูก เปดเสรีใหสามารถสงออก

สวนประกอบของพืช ผลิตภัณฑจากพืช เพื่อสนับสนุนการสงออกพืชสมุนไพร

Page 28: บทที่ 2 ข อมูลประเทศอ ินเดีย - ThaiFTAบทท 2 ข อม ลประเทศอ นเด ย 2.1 ข อม ลท วไป1 2.1.1

กลยุทธการเจรจาจัดทําเขตการคาเสรี ไทย-อินเดีย

45

นโยบายดานอัญมณี การนําเขาโลหะที่ใชเปนเครื่องประดับซึ่งมิใชทองคําและทองคําขาว ไดรับการยกเวนภาษีไม

เกิน 2% ของราคา FOB การนําเขาสินคาอัญมณีที่ถูกปฏิเสธการสงออกและตองนํากลับเขาประเทศอีกครั ้ง ไดรับ

การยกเวนภาษีไมเกิน 2% ของราคา FOB การนําเขาตัวอยางสินคาอัญมณีจะไดรับการยกเวนภาษีถึง 100,000 รูป อนุญาตใหนําเขาทองคํา 18 กะรัตข้ึนไป เพื่อเปนวัตถุดิบสําหรับการผลิตสินคาอัญมณี ซึ่งมิใช

เพื่อการจําหนายโดยตรงเทานั้น นโยบายดานเครื่องทอผาดวยมือและสินคาหัตถกรรม การนําเขาสินคาสําหรับการตัด และตกแตงสําหรับการทอผาและสินคาหัตถกรรม จะไดรับ

การยกเวนภาษี 5% ของราคา FOB ยกเวนภาษี CVD สินคาสําหรับการตัด ตกแตง และตัวอยางสินคาสําหรับการทอผาและสินคา

หัตถกรรม Handicraft Export Promotion Council ไดรับสิทธิ์ใหเปนผูนําเขาสินคาสําหรับการตัด และ

ตกแตงสําหรับการทอผาและสินคาหัตถกรรม สําหรับผูประกอบการขนาดเล็ก จัดตั้ง Handicraft Special Economic Zone แหงใหม

นโยบายดานหนังสัตวและรองเทา การนําเขาสินคาสําหรับการตัด และตกแตง และชิ้นสวนรองเทาสําหรับอุตสาหกรรมเครื่องหนัง

ไดรับการยกเวนภาษี 3% ของราคา FOB การนําเขาสินคาที่ไดระบุไวเปนการเฉพาะสําหรับสินคาเครื่องหนัง ไดรับการยกเวนภาษี 5%

ของราคา FOB ปลอดภาษีการนําเขาสําหรับเครื่องจักรและอุปกรณที่ใชใน Effluent Treatment Plants ของ

อุตสาหกรรมเครื่องหนัง นโยบายสงเสริมการสงออก Target Plus: ผูสงออกที่มีอัตราการสงออกเพิ่มสูงขึ้นจะไดรับสิทธิในการยกเวนภาษี ถาหากมี

อัตราเพิ่มขึ้นสูงกวาเปาหมายที่ไดกําหนดไว โดยในป 2547-2548 จะตองมีอัตราการสงออกเพิ่มจากปที่ผานมาไมต่ํากวา 20% ทั้งนี้การยกเวนภาษีมีอัตราดังนี้ คือ ถามีอัตราการสงออกเพิ่มสูงกวา 20% 25% และ 100% จะไดรับการยกเวนภาษี 5% 10% และ 15% ของมูลคาสงออกที่เพิ่มข้ึน

Vishesh Krishi Upaj Yojana: เปนแผนสงเสริมการสงออกดานการเกษตร สินคาสงออกที่ไดรับ การสงเสริมภายใตแผนนี้ ไดแก ผัก ผลไม ดอกไม และผลิตภัณฑจากปา จะไดรับการยกเวนภาษี 5% ของราคา FOB

Page 29: บทที่ 2 ข อมูลประเทศอ ินเดีย - ThaiFTAบทท 2 ข อม ลประเทศอ นเด ย 2.1 ข อม ลท วไป1 2.1.1

กลยุทธการเจรจาจัดทําเขตการคาเสรี ไทย-อินเดีย

46

Served from India: ผูใหบริการบุคคลธรรมดาที่มีเงินไดเปนเงินตราตางประเทศไมต่ํากวา 500,000 รูป และกลุมผูใหบริการท่ีมีเงินไดเปนเงินตราตางประเทศไมต่ํากวา 1,000,000 รูป จะไดรับการยกเวนภาษี 10% ของเงินไดนั้น โดยรานอาหาร จะไดรับการยกเวนภาษี 20% และโรงแรมไดรับการยกเวน 5%

EPCG: เปนโครงการลดขั้นตอนและเงื่อนไขการสงออกสินคาและบริการ โดยอํานวยความสะดวกและสงเสริมการพัฒนาเทคโนโลยี อนุญาตใหเคลื่อนยายสินคาทุนในภาคการคาบริการ และยกเลิกเงื่อนไข การออกใบรับรอง Installation Certificate

DFRC: เปนโครงการสงเสริมดานการพลังงาน โดยกําหนดใหการนําเขาเชื้อเพลิงภายใตโครงการนี้ สามารถโอนสิทธิท่ีไดรับจาก Ministry of Petroleum and Natural Gas ใหแกตัวแทนการตลาดได

DEPB: เปนแผนการสงเสริมการสงออก ซึ่งใหยังคงอยูตอไป จนกวาจะถูกยกเลิกหรือเปลี่ยนแปลง การจัดกลุมสถานภาพผูสงออก (New Status Holder Categorization) คํานึงถึงระดับสตาร (Star

Export Houses) โดยวางเงื่อนไขใหมดังนี้ สถานภาพ ผลประกอบการ 3 ป One Star Export House 150 ลานรูป Two Star Export House 1,000 ลานรูป Three Star Export House 5,000 ลานรูป Four Star Export House 15,000 ลานรูป Five Star Export House 50,000 ลานรูป ตามแผนสงเสริมการสงออก ผูสงออกระดับ Star Export House เหลานี้จะไดรับสิทธิพิเศษหลาย

ประการ เชน ชองทางดานพิธีการศุลกากรแบบ Fast Track และการไดรับสิทธิพิเศษไมตองมี Bank Guarantee EOUs: เปนเขตสงเสริมการลงทุนที่รัฐใหสิทธิพิเศษแกผูลงทุนหลายประการไดแก

- ไดรับยกเวนภาษีบริการ (Service Tax) ตามสัดสวนของการสงออกสินคาและบริการ - ไดรับอนุญาตใหถือครองรายไดจากการสงออกทั้งหมดในบัญชี EEFC - สิทธิประโยชนทางภาษีเงินได (Income Tax) สําหรับโรงงานและเครื่องจักร ใหครอบคลุมถึง

DTA ท่ีไดเปลี่ยนมาเปน EOUs - ไดรับสิทธิการนําเขาสินคาทุนเพื่อการสงออก - EOUs ท่ีดําเนินกิจการดานสิ่งทอและเสื้อผา กรณีท่ีมีวัสดุและเสนดายเหลือจากการผลิต

ไดรับการยกเวนภาษีไมเกิน 2% ของมูลคา CIF หรือเสียภาษีศุลกากรสําหรับปริมาณสินคานําเขาเฉพาะมูลคาดําเนินการ(Transaction value) เทานั้น

- EOUs เกี่ยวกับสินคาประเภททองเหลือง และอัญมณีท่ีเปนสินคาหัตถกรรม ไมตองมีเงื่อนไขการลงทุนขั้นต่ํา

จัดตั้งเขตการคาและคลังสินคาเสรี ((Free Trade and Warehousing Zone) เพื่อสงเสริมการสงออก และนําเขาสินคา โดยไมมีการกําหนดสกุลเงินที่ใชในการคา อนุญาตใหลงทุน FDI ได 100% สําหรับการพัฒนาและจัดตั้งเขตการคาฯ ดังกลาว ท้ังนี้ภายใตเงื่อนไขวาแตละเขตการคาจะตองมีเงินหมุนเวียนไมต่ํากวา 1,000 ลานรูป และมีพื้นที่ไมนอยกวา 500,000 ตารางเมตร โดยบริษัทที่อยูในเขตการคาฯ นี้จะไดรับสิทธิเชนเดียวกับ SEZ

Page 30: บทที่ 2 ข อมูลประเทศอ ินเดีย - ThaiFTAบทท 2 ข อม ลประเทศอ นเด ย 2.1 ข อม ลท วไป1 2.1.1

กลยุทธการเจรจาจัดทําเขตการคาเสรี ไทย-อินเดีย

47

การนําเขาสินคาทุนมือสองสามารถนําเขาไดโดยไมตองมีเงื่อนไขเกี่ยวกับอายุสินคา เพดานคาเสื่อมราคาขั้นต่ําของโรงงานและเครื่องจักรที่นําเขามาในอินเดีย ลดจาก 500 ลานรูป เปน 250 ลานรูป จัดตั้ง Services Export Promotion Council เพื่อกําหนดและวางแผนกลยุทธดานการตลาด โอกาส

ทางธุรกิจ และการแสวงหาตลาดใหมท่ีมีศักยภาพ การสรางและสงเสริมตราสินคาของอินเดีย รวมท้ัง การประสานงานกับภาคการคาและอุตสาหกรรมตางๆ

จัดตั้ง Common Facilities Center เพื่อใหความสะดวกและสงเสริมผูใหบริการ ในระดับรัฐ และเมือง ใหมีการพัฒนาและยกระดับสินคาไปสูการสงออกโดยเฉพาะในสาขาการออกแบบวิศวกรรมและสถาปตยกรรม Multi-Media และการพัฒนาซอฟตแวร

กําหนดมาตรการ Procedural Simplification & Rationalization Measures ดวยการให - ผูสงออกที่มีประวัติการดําเนินงานที่ดี และมีรายไดสูงกวา 50 ลานรูป จะไดรับการยกเวน

ในเรื่องการทํา Bank Guarantee ท้ังนี้เพื่อเปนการชวยลดตนทุน - ยกเวนภาษีบริการ สําหรับสินคาและบริการสงออก รวมท้ังสนิคาจาก DTA - ขยายอายุใบอนุญาต และสิทธิภายใตแผนการสงเสริมตางๆ เปน 24 เดือนเทากันหมด - ลดข้ันตอนเอกสารและรูปแบบ ท้ังในสวนของ Customs และ Excise - เพิ่มอํานาจการอนุมัติใหแกสํานักงานเขตของ DGFT เพื่อความคลองตัวและลดขั้นตอนที่เปน

อุปสรรคตางๆ - นําระบบ EDI มาใชใหได 75% ของธุรกรรมการสงออก ภายในระยะเวลา 6 เดือน

พัฒนาใหมีศูนยแสดงสินคาขนาดใหญ (Praqati Maidan) ท่ีมีมาตรฐานระดับนานาชาติ รองรับผูรวมงานไมต่ํากวา 10,000 คน รวมทั้งหองประชุม อุปกรณโสตทัศน สําหรับการประชุม สถานที่จอดรถ อยางนอย 9,000 คัน

ความชวยเหลือดานกฎหมาย จัดใหมีความชวยเหลือดานการเงินแกผูสงออกที่ประสบปญหาคาใชจายกรณีมีขอพิพาทดานกฎหมายเกี่ยวกับการคา ภายใตคําแนะนําของ Export Promotion Councils

การแกไขปญหาขอขัดแยง จัดใหมีกลไกดูแลขอขัดของตางๆ ดานการคา โดยใชมาตรการของรัฐเขาไปดําเนินการชวยเหลือ ท้ังนี้เพื่อใหปญหาไดรับการแกไขอยางรวดเร็ว

นโยบายดานคุณภาพ - DGFT จะตองปรับบทบาทใหเปนตัวขับเคลื่อนธุรกจิมีความโปรงใส - ผูสงออกสามารถใชระบบ Digital Signature สําหรับการสมัครและใชระบบ Electronics

Fund Transfer เพื่อชําระคาธรรมเนียม - สํานักงาน DGFT ทุกแหง จะตองเชื่อมตอกบั Server กลางเพื่อการประมวลผลอยางรวดเร็ว

จัดตั้ง Bio Technology Parks ซึ่งจะไดรับสิทธิ 100% ของ EOUs กําหนดใหมีเอกสารที่เปนเสมือน Letter of Credit เพื่อความสะดวก คลองตัว และเปนเครื่องมือ

สําหรับการทําธุรกรรมทางการเงินของผูสงออก ปรับบทบาทของคณะกรรมการการคา (Board of Trade) ใหมีความชัดเจนและมีประสิทธิภาพ

โดยเสนอใหมีการคัดเลือกผู เชี่ยวชาญดานการคามาเปนประธาน และมีเลขานุการ รวมท้ังหัวหนางานงบประมาณอิสระ โดยการสนับสนุนของกระทรวงพาณิชย

Page 31: บทที่ 2 ข อมูลประเทศอ ินเดีย - ThaiFTAบทท 2 ข อม ลประเทศอ นเด ย 2.1 ข อม ลท วไป1 2.1.1

กลยุทธการเจรจาจัดทําเขตการคาเสรี ไทย-อินเดีย

48

2.4.2 นโยบายดานการคาบริการ อินเดียมีนโยบายสนับสนุนการบริการหลายเรื่อง ไดแก (1) ใหการบริการใน 161 สาขา รวมท้ังประเภทที่มีการชําระเปนเงินตราตางประเทศจะสามารถอาง

สิทธิการไดรับเครดิตภาษี และนําเขาสินคาทุนในอัตราภาษีพิเศษ (2) ผูใหบริการท่ีมีเงินไดเปนเงินตราตางประเทศเกินกวา 1 ลานรูป ในปท่ีผานมาหรือปปจจุบัน มีสิทธิ

ท่ีจะไดรับเครดิตภาษี รวมทั้งบุคคลธรรมดาก็ใหมีสิทธิไดรับเครดิตภาษีเชนกันหากวามีรายไดในปท่ีผานมา เกินกวา 5 แสนรูป โดยบุคคลหรือนิติบุคคลดังกลาว (ยกเวนโรงแรมหรือภัตตาคาร) มีสิทธิไดเครดิตภาษี 10% ของเงินตราตางประเทศที่ไดรับในปท่ีผานมา

(3) กิจการดานโรงแรม/ภัตตาคารที่มีระดับตั้งแตหนึ่งดาวขึ้นไป ซึ่งไดรับอนุมัติจาก Department of Tourism และผูใหบริการอื่นๆ ในสาขาการทองเที่ยวท่ีไดข้ึนทะเบียนไวกับ Department of Tourism จะไดรับเครดิตภาษี 5% ของของเงินตราตางประเทศที่ไดรับในปท่ีผานมา

(4) ภัตตาคารที่ไมมีเครือขาย (Standalone) มีสิทธิไดรับเครดิตภาษี 20 % ของเงินตราตางประเทศ ท่ีไดรับในปท่ีผานมา

(5) โรงแรมระดับ 1 และ 2 ดาว และภัตตาคารที่ไมมีเครือขาย จะนําเงินที่ไดรับเปนเงินตราตางประเทศผานบัตรเครดิตนานาชาติ มาคํานวณเครดิตภาษีไดก็ตอเมื่อเงินนั้นไดรับชําระเสร็จสิ้นแลว

(6) เครดิตภาษีอาจนําไปใชไดเฉพาะกับการนําเขาสินคาทุน หรืออะไหลและวัสดุสิ้นเปลือง หรืออุปกรณสําหรับการประกอบวิชาชีพ รวมท้ังเฟอรนิเจอร และสินคาท่ีใชหมดไปในธุรกิจประเภทนั้น แตสําหรับโรงแรมและภัตตาคารที่ ไมมี เครือข าย อาจนํา เครดิตภาษีไปใชในการนํา เข าอาหารและเครื่องดื่ม ท่ีมีแอลกอฮอล อยางไรก็ดี หามมิใหโอนสิทธิในการนําเขาสินคา 2.5 ระบบภาษี

การจัดเก็บภาษีเปนรายไดของรัฐบาลเพื่อการจัดสรรงบประมาณ มีหนวยงานหลักรับผิดชอบการจัดเก็บของรัฐบาลกลางสําคัญอยูสองแหงคือ Central Board of Direct Taxes: CBDT) ซึ่งทําหนาท่ีเก็บภาษีทางตรง และ Central Board of Excise and Customs: CBEC ซึ่งรับผิดชอบจัดเก็บภาษีทางออม โดยทั้งสองหนวยงานอยูสังกัดกระทรวงการคลัง

ในรอบ 7 ปท่ีผานมา อินเดียมีการปรับปรุงกฎหมายเกี่ยวกับภาษีใหงายตอการปฏิบัติ ปรับลดอัตราภาษีหลายรายการ ปรับปรุงใหเรียกคืนภาษีงายข้ึน และมีการขยายฐานภาษีไปยังธุรกิจบริการตางๆ มากขึ้น เชน การประกันภัย นายหนาคาหุน โทรศัพท โฆษณา วิทยุติดตามตัว สถาปนิก ท่ีปรึกษา ตัวแทนอสังหาริมทรัพย และธุรกิจสงขาวสาร (Courier services) โครงสรางภาษีจัดเปนสองระบบ คือภาษีรัฐบาลกลาง (Central government) และภาษีของรัฐ (State government) โดยมีการจัดเก็บทั้งท่ีเปนภาษีทางตรง (Direct Tax) และภาษีทางออม (Indirect tax) รัฐบาลกลางเปนผูเรียกเก็บภาษีทางตรงทั้งหมด และยังมีอํานาจในการจัดเก็บภาษีทางออมบางชนิดไดดวย สวนรัฐบาลของแตละรัฐจะจัดเก็บภาษีทองถิ่น เชน ภาษีท่ีดิน ภาษีเทศบาล ภาษีทรัพยสิน (Property Tax) ภาษีเขาเมือง (Octroi/Entry Tax) และภาษีการขายในทองถิ่น (Local Sale Tax)

Page 32: บทที่ 2 ข อมูลประเทศอ ินเดีย - ThaiFTAบทท 2 ข อม ลประเทศอ นเด ย 2.1 ข อม ลท วไป1 2.1.1

กลยุทธการเจรจาจัดทําเขตการคาเสรี ไทย-อินเดีย

49

Direct Tax คือภาษีเงินได (Income Tax) ภาษี Wealth Tax ภาษีดอกเบี้ย และภาษีของขวัญ (Gift Tax) Indirect Tax ไดแก คาอากรศุลกากร (Custom duties) ภาษีสรรพสามิต (Excise Tax) ภาษีการขาย (Sale Tax) ภาษีการบริการ (Service Tax) ภาษีสัญญาการทํางาน (Works Contract Tax) และภาษีเขาเมือง (Octroi/Entry Tax) เปนตน1

รัฐบาลอินเดียไดกําหนดใหมี Education Cess ซึ่งเริ่มตนใชบังคับเมื่อเดือนกรกฎาคม 2547 แตใหมีผลยอนหลังไปใชตั้งแตวันที่ 1 เมษายน 2547 ซึ่งเปนวันเริ่มตนของปภาษี โดยเรียกเก็บในอัตรา 2% จากภาษีเงินไดบุคคลธรรมดา ภาษีเงินไดนิติบุคคล ภาษีสรรพสามิต ภาษีศุลกากร และภาษีบริการ ซึ่งไดถูกวิจารณวาเงินภาษีท่ีเรียกเก็บประเภทนี้ไดนําไปใชในกิจการดานการศึกษาอยางไร เนื่องจากวายังไมมีแนวทางการใชจายที่ชัดเจน2

ปจจุบัน รัฐบาลอินเดียยังไดกําหนดใหผูมีเงินไดทุกคนมีหนาท่ีตองยื่นขอ Permanent Account Number (PAN) และหากผูประกอบการใดมี PAN แลว ก็ไมจําตองยื่นเอกสารรับรองการยกเวนภาษีอีก (Tax Certificate Exemption) 2.5.1 ภาษีเงินได (Income Tax)3 เปนภาษีที่เรียกเก็บตาม Income Tax Act, 1961 ซึ่งมีอยู 400 มาตราและ 12 ตาราง (มิไดกําหนดอัตราภาษีไวโดยเฉพาะ แตจะมีประกาศขึ้นใหมทุกปตาม The Finance Act) มีหนวยงานที่รับผิดชอบคือ Central Board of Direct Taxes: CBDT) โดยมีการออกกฎ The Income Tax Rules, 1962 แยกตางหากจากกฎหมายดวยการกําหนดกฎระเบียบและการปฏิบัติตามกฎหมาย รวมทั้งการใหอํานาจแก CBDT ทําหนาท่ีจัดเก็บภาษีเงินบุคคลธรรมดาและนิติบุคคลที่มีเงินไดภายในประเทศอินเดีย 2.5.1.1 ภาษีเงินไดบุคคลธรรมดา บุคคลธรรมดาตองเสียภาษีหากวาเปนผูมีถิ่นที่อยูในอินเดียในปภาษี (1 เมษายน – 31 มีนาคม) โดยตองเสียภาษีเงินได รวมท้ังคาตอบแทนที่ไดจากการทํางาน (ไมตองคํานึงถึงสถานที่ท่ีไดรับเงินไดมา) ไดแก เงินเดือน คาจาง บํานาญ คาธรรมเนียม คานายหนา ดอกเบี้ย กําไร เงินพิเศษนอกเหนือจากเงินเดือน เงินเดือนลวงหนา เงินรางวัลพิเศษ เบี้ยเลี้ยงและคาชดเชย เปนตน การกําหนดอัตราภาษีเงินไดบุคคลธรรมดาและการประเมินภาษีเปนลักษณะขั้นบันได ซึ่งผูมีเงินไดท่ีต่ํากวา 50,000 รูปไมตองเสียภาษี และผูมีเงินไดตั้งแต 50,001 เปนตนไป ตองเสียภาษีในอัตรา 10 และเพิ่มข้ึนตามลําดับ ดังตารางที่ 3.2 นอกจากนั้นหากมีเงินไดเกินกวา 60, 000 รูป ก็ยังตองเสียคาธรรมเนียมพิเศษ (Surcharge) อีกดวย อยางไรก็ดี ตามนโยบายงบประมาณ ประจําป 2547-2548 กําหนดใหผูมีเงินไดนับตั้งแต วันที่ 1 เมษายน ถึง 31 มีนาคม (ปภาษี) ในจํานวนไมเกิน 100,000 รูปไมตองเสียภาษีเงินได 1 http://indirecttax.indlaw.com/; http://www.legal500.com/devs/in/tx/intx_003.htm; 2 Time of India, 4 Feb., 2005 http://timeofindia.indiatimes.com 3 http://www.incometaxindia.gov.in/aboutus.asp; http://incometax.indlaw.com/Guest/aboutindlaw.asp

Page 33: บทที่ 2 ข อมูลประเทศอ ินเดีย - ThaiFTAบทท 2 ข อม ลประเทศอ นเด ย 2.1 ข อม ลท วไป1 2.1.1

กลยุทธการเจรจาจัดทําเขตการคาเสรี ไทย-อินเดีย

50

ตารางที่ 2.5 อัตราภาษีเงินไดบุคคลธรรมดาปภาษี 2547-2548

Taxable Income Rates of Income-tax for Assessment Year 2005-2006

Rs. Rs. 0-100,000 NIL

100,001-150,000 10% 150,001-200,000 20% Above 200,000 30%

การมีถิ่นที่อยูในอินเดีย หมายถึง บุคคลที่พํานักอยูในอินเดียเปนเวลาตั้งแต 182 วันขึ้นไป หรือเปน ผูมีถิ่นที่อยูเกินกวา 60 วันในปภาษี และอยูในอินเดียไมต่ํากวา 365 วันในรอบ 4 ปท่ีผานมา สําหรับคนเชื้อชาติอินเดียและออกไปทํางานตางประเทศโดยพํานักอาศัยในอินเดียไมเกินกวา 181 วัน ในระหวางป หรือพํานักอยูในอินเดียไมเกินกวา 59 วันและไมเกินกวา 364 วันภายในเวลา 4 ป ถือวาเปน Non-resident ซึ่งไมอยูภายใต The Income Tax Act แตหากไดเงินไดเปนเงินตราตางประเทศเขามาในประเทศอินเดีย ก็จะตองเสียภาษีในลักษณะเดียวกับผูท่ีมีถิ่นที่อยูในประเทศตามเกณฑท่ีกําหนดไวใน The Foreign Exchange Management Act, 1999: FEMA) การเปนคนมั่งมีดวยการมีทรัพยสินที่ไมไดนําไปใชเพื่อกอใหเกิดผลผลิตหรือกําไร (Non-productive Assets) ซึ่งมีมูลคามากกวา 1,500,000 รูป เชน บาน ท่ีดิน เพชรพลอย ทอง รถยนต เครื่องบิน เรือยอรช ฯลฯ ทําใหคนอินเดียตองเสียภาษี Wealth Tax ในอัตราคงที่ 1% จากสวนที่เกินกวา 1,500,000 รูป (The Wealth Tax Act, 1957) อยางไรก็ดี ผูมีบานไมเกิน 1 หลังไมตองเสียภาษี Wealth Tax จากราคาบานนั้น หากเปนกําไรหรือผลผลิตท่ีไดจากการซื้อขายหลักทรัพย เชน หุน หลักทรัพย พันธบัตร กองทุนรวม เงินฝากธนาคาร ไดรับการยกเวนภาษี Wealth Tax แตใหเสียภาษี Capital Gains Tax แทน อยางไรกด็ ี ตามนโยบายงบประมาณใหมประจําป 2547-2548 กําหนดใหยกเลิกการเสียภาษี Capital Gains Tax สําหรับการถือครองหลักทรัพยเปนเวลาเกินกวาสามป แดหากถือครองในระยะสั้นไมเกินกวา 1 ป ยังตองเสียภาษี Capital Gains Tax ในอัตราคงที่จํานวน 10% ในขณะที่ผูซื้อหุนในตลาดหลักทรัพยจะตองเสียภาษี Securities Transaction Tax ในอัตรา 0.15% ของมูลคาหุนนั้น โดยเริ่มใชบังคับตั้งแตวันที่ 1 ตุลาคม 2547 โดยท่ีการถือครองหลักทรัพยในระยะยาว ใหสามารถนําคาลดหยอนมาหักไดเฉพาะที่เปนคาใชจายจากการเขาซื้อกิจการ (Acquisition) และคาใชจายจากการเปลี่ยนแปลงอัตราแลกเปลี่ยนเงินตามสกุลเดิมท่ีซื้อไว นอกจากนั้น การขาดทุนจากการขายสินทรัพยก็สามารถนํามาใชคํานวณเพื่อไมตองเสียภาษีไดถึง 8 ปติดตอกัน การใหหรือรับของขวัญแกกันไมตองเสียภาษี Gift Tax ตามกฎหมายเรียกวา Gift Tax Act, 1958 ซึ่งรวมถึงของขวัญที่เปนเงินรูปดวย แตตองเปนเงินของขวัญที่สงใหคนในตระกูลเดียวกันเทานั้น ของขวัญที่ไดจากญาติและที่ไดในโอกาสหรือพิธีการทางสังคม เชนงานแตงงาน จะไดรับการยกเวนภาษี แตของขวัญที่ไดจากผูอื่นที่มีมูลคาเกินที่กําหนดไวท่ี 25,000 รูป จะตองเสียภาษี และตามนโยบายใหมก็ยังคงเปนเชนเดิม

Page 34: บทที่ 2 ข อมูลประเทศอ ินเดีย - ThaiFTAบทท 2 ข อม ลประเทศอ นเด ย 2.1 ข อม ลท วไป1 2.1.1

กลยุทธการเจรจาจัดทําเขตการคาเสรี ไทย-อินเดีย

51

กฎหมายของรัฐกําหนดใหมีการหักภาษี ณ ท่ีจาย (Withholding Tax) สําหรับเงินไดบางรายการ เชน ดอกเบี้ย เงินเดือนพนักงาน คาตอบแทนวิชาชีพ การจายเงินใหแกคูสัญญา นอกจากนั้น การจายเงินใหแกคนตางดาวท่ีเขามาประกอบอาชีพในอินเดียจะตองมีการหักภาษี ณ ท่ีจายในอัตราที่กฎหมายทองถิ่นกําหนดไวหรือตามกฎหมายเฉพาะอยางแลวแตกรณี โดยท่ี Income Tax Act, 1961 กําหนดใหมีการหัก ณ ท่ีจาย 20% สําหรับดอกเบี้ย คาสิทธิ และคาบริการทางเทคนิค สวนผูมีเงินไดต่ํากวาเกณฑท่ีกําหนดใหตองเสียภาษี ใหหัก ณ ท่ีจายต่ํากวาอัตราที่กําหนดไวได แตตองไดรับอนุมัติจากหนวยงานของรัฐกอน การคํานวณภาษีเงินไดบุคคลธรรมดาที่มีรายไดไมเกิน 500,000 รูป ใหสามารถหักคาลดหยอนได 40% หรือ 30,000 รูป แลวแตจํานวนไหนจะต่ํากวา และสําหรับผูมีรายไดเกิน 500,000 รูป ใหหักคาลดหยอนได 20,000 รูป สวนผูมีเงินไดจากการออกจากงานกอนเกษียณโดยความสมัครใจ Voluntary Retirement Scheme (VRS) สามารถหักลดหยอนไดถึง 500,000 รูป นอกจากนั้น ผูสูงอายุก็สามารถหักลดหยอนไดถึง 20,000 รูป ดังนั้น หากเปนผูมีเงินบํานาญไมเกิน 1.53 แสนรูป หรือ 1.83 แสนรูป ก็จะไดรับการยกเวนการเสียภาษี ตามนโยบายงบประมาณใหม กําหนดการยกเวนภาษีสําหรับเงินไดหลายรายการ เชน

เงินบําเหน็จที่จายใหแกภรรยาหมาย เด็ก และทายาทของทหารที่เสียชีวิตระหวางปฏิบัติหนาท่ี เงินชดเชยสําหรับเวนคืนพื้นที่เกษตรกรรมในพื้นที่เมืองไดรับการยกเวนภาษีกําไรจากการขาย

ทรัพยสินที่ราคาตลาด (Capital Gain Tax) ในกรณีท่ีไดรับคาชดเชยหลังจากวันที่ 1 เมษายน 2547 ภาษี Exempt Tax (EET) นํามาใชสําหรับโครงการบําเหน็จบํานาญ “Defined contribution”

สําหรับผูเริ่มเขาทํางานกับรัฐบาลกลาง การยกเวนภาษีดอกเบี้ยท่ีไดจากบัญชีของ Non-Resident ท่ีธนาคารจายใหแก Non-Resident หรือ

Not-Ordinary Resident จากเงินฝากในสกุลเงินตางประเทศ และการจายคาซื้อเครื่องบินหรือการเชาเครื่องยนตอากาศยานจากตางประเทศ ของบริษัทอินเดีย (ยกเลิกตั้งแตวันที่ 1 กันยายน 2547 เปนตนไป) 2.5.1.2 ภาษีเงินไดนิติบุคคล นิติบุคคลที่ตองเสียภาษีแบงออกเปนนิติบุคคลที่มีถิ่นที่อยูในอินเดีย (Residency) นิติบุคคลที่ไมมีถิ่น ท่ีอยูในอินเดีย (Non-residency) และนิติบุคคลตางชาติ (Foreign) นิติบุคคลที่มีถิ่นที่อยูในอินเดียตองเสียภาษีเงินไดในปภาษี (1 เมษายน ถึง 31 มีนาคม) ในอัตรา 30% ของกําไรสุทธิท่ีไดจากการประกอบธุรกิจทั้งในและนอกประเทศ (และตองเสียคาธรรมเนียมพิเศษอีก 10%) สวนนิติบุคคลตางชาติ และนิติบุคคลที่ไมมีถิ่นที่อยูในอินเดีย ท่ีเรียกวา NRI (Non-resident Investment) รวมท้ังสํานักงานสาขา ตามปกติไมตองเสียภาษี แตตองเสียในอัตรา 40% ของกําไรสุทธิ (และตอง เสียคาธรรมเนียมพิเศษ 5% ของเงินไดอีกดวย) หากวาเปนเงินกําไรซึ่งเกิดจากการประกอบธุรกิจในอินเดีย หรือเชื่อวาเกิดกําไรข้ึนในอินเดีย ท้ังนี้ในการประเมินภาษี ใหบริษัทแมและบริษัทลูกแยกประเมิน (บริษัทลูก หรือสาขาไดกําไรหลังจากหักภาษีแลว สามารถสงกลับไปยังบริษัทแมได โดยตองเสียภาษี 40% ของกําไร แต เงินที่สงกลับไปยังบริษัทแมแลวไมตองเสียภาษี เชนเดียวกับกรณีของการตั้งบริษัทรวมทุน)

Page 35: บทที่ 2 ข อมูลประเทศอ ินเดีย - ThaiFTAบทท 2 ข อม ลประเทศอ นเด ย 2.1 ข อม ลท วไป1 2.1.1

กลยุทธการเจรจาจัดทําเขตการคาเสรี ไทย-อินเดีย

52

นอกจากนั้น ตามกฎหมายใหม นิติบุคคลจะตองเสียภาษีเพิ่มเติมท่ีเรียกวา Education Cess ซึ่งเรียกเก็บจากหางหุนสวนบริษัทในอัตรา 2% ของภาษีเงินไดบวกกับ Surcharge โดยที่ Surcharge ในปปจจุบันจะตองเสีย 5% ของภาษีเงินได แตในป 2547-2548 และในปถัดไป จะเสียเพียง 2.5% จึงสงผลใหบริษัทในประเทศอินเดีย ตองเสียภาษีเปน 36.6% และบริษัทตางชาติจะตองเสียภาษีเปน 41.8% เงินไดของบริษัท หมายรวมถึง เงินไดและรายไดอื่นๆ เชน คาสิทธิ คาธรรมเนียมบริการทางเทคนิค เงินปนผล และรายไดจากการขายหุน รวมท้ังรายไดท้ังหลายที่เกิดข้ึนจากการดําเนินงานของสาขาดวย ซึ่งจะถูกเรียกเก็บจากรายไดข้ันตน (Gross Income) โดยเสียในอัตราคงที่ 20% และหากวาเปนเงินปนผล ใหนิติบุคคล (เฉพาะตางชาติ) ตองเปนผูเสียภาษีจากเงินปนผลท่ีไดจายไปในอัตราคงที่ 12.5% สวนผูไดรับเงินปนผลไมตองเสียภาษี กรณีท่ีนิติบุคคลอินเดียหรือนิติบุคคลตางชาติมีกําไรจากการขายหลักทรัพย (Capital Gains) ท่ีไดถือครองอยูเปนเวลาเกินกวา 3 ป ตองเสียภาษีในอัตราเทากันคือ 20.5% และตองเสียภาษี Wealth Tax ในอัตราคงที่ 1% เทากันดวย นอกจากนั้นหากเปนการซื้อขายหลักทรัพยในระยะสั้น จะตองเสียภาษีเทากับอัตราภาษีเงินไดปกติ สวนเงินปนผลท่ีไดจาก Equity – Oriented mutual fund ไดรับการยกเวน (แตเพิ่มอัตราภาษีเปน 20% สําหรับผูถือในรูปบริษัทในกองทุน Debt-oriented mutual fund) นิติบุคคลซึ่งมีรายไดทางบัญชีแตไมตองเสียภาษีเพราะเหตุท่ีสามารถหักคาลดหยอนไดเปนจํานวนมาก ก็ยังตองนํารายไดมาคํานวณเสียภาษีในอัตรา 7% ของรายไดทางบัญชีนั้นดวย และยังอาจตองเสียคาธรรมเนียมเพิ่มพิเศษ (Surcharge) อีกดวย ท้ังนี้ตามขอกําหนดของ Minimum Alternative Tax: MAT อยางไรก็ดี หากเปนบริษัทที่ดําเนินกิจการเพื่อการสงออกและกิจการในโครงสรางพื้นฐานซึ่งไดรับการยกเวนภาษีเงินได ก็ไมตองเสียภาษี MAT นี้ หากวานิติบุคคลมีผลกําไรท่ีเสียภาษีนอยกวา 30% นิติบุคคลนั้นยังตองเสียภาษีในอัตรา 30% ของกําไรท่ีได ตาม The Finance Act แตกฎหมายนี้ไมครอบคลุมถึงธุรกิจโครงสรางพื้นฐานและอุตสาหกรรมบางประเภทซึ่งตั้งอยูในเขตพื้นที่ดอยพัฒนา และไมรวมถึงการสงออกผลกําไรดวย สวนนิติบุคคลที่ขาดทุนก็สามารถขยายเวลาผอนผันการเสียภาษีไดถึง 8 ป แตจะใชสิทธิยอนหลังไมได และไมอนุญาตใหรอบบัญชีของการขาดทุนมาจากบริษัทในเครือเดียวกัน บริษัทตางชาติผูมีเงินไดจะตองเสียภาษีหัก ณ ท่ีจาย (Withholding Tax) ในเงินคาสิทธิ คาธรรมเนียมการบริการดานเทคนิค ดอกเบี้ยจากเงินกูตางประเทศ รายไดจากกองทุนเงินพิเศษและเงินปนผลใหหัก 20.5% สวนกําไรจากขายหลักทรัพย (Capital Gains) ในระยะยาว ใหหักได 10.25% ในระยะสั้นใหหักได 30.75% (Income Tax Act, 1961) นิติบุคคลสามารถคํานวณคาใชจายจากการซื้อสินคามาใชไดไมเกินกวา 180 วันในปท่ีซื้อ เพื่อเปน คาลดหยอนหักเปนคาเสื่อมราคาไดไมเกิน 50% แตคาใชจายบางรายการไมสามารถนํามาใชในการคํานวณเปนคาใชจายเพื่อหักภาษี อยางไรก็ดี ตามนโยบายงบประมาณใหมสําหรับป 2547-2548 กําหนดการหักคาลดหยอน คาเสื่อมราคา และคาใชจายเปนรายสาขา ดังไดกลาวไวแลวในสวนของนโยบายงบประมาณ

Page 36: บทที่ 2 ข อมูลประเทศอ ินเดีย - ThaiFTAบทท 2 ข อม ลประเทศอ นเด ย 2.1 ข อม ลท วไป1 2.1.1

กลยุทธการเจรจาจัดทําเขตการคาเสรี ไทย-อินเดีย

53

2.5.2 ภาษีขาย1 เปนภาษีทางออมท่ีจัดเก็บทั้งในระดับรัฐบาลกลาง (Central Sale Tax) และรัฐบาลทองถิ่น (State Sales Tax) ไมวาจะเปนการขายภายในรัฐหรือระหวางรัฐ โดยจัดเก็บจากการขายที่ไดจายสินคา ณ จุดเดียว (Single Point Tax) อยางไรก็ตาม จากการประกาศนโยบายใหมป 2547-2548 ภาษีขายจะถูกยกเลิกและใชภาษีมูลคาเพิ่ม (Value Added Tax –VAT) แทนที่นับตั้งแตวันที่ 1 เมษายน 2548 เปนตนไป ท้ังในระดับรัฐและระดับรัฐบาลกลาง รัฐบาลกลางมีอํานาจตาม Central Sales Tax Act, 1956 ในการเรียกเก็บภาษีขาย ในขณะที่รัฐแตละรัฐ ก็เรียกเก็บภาษีตามกฎหมายของรัฐ โดยมีอัตราที่แตกตางกันไปในแตละรัฐ (Respective State Sales Tax Act) แตไมเรียกเก็บภาษีขายกับการบริการและการขายอันเกิดจากการสงออกและนําเขาสินคา นอกจากนั้นใน การติดตอกันทางธุรกิจซึ่งจําเปนตองมีหลักฐานทางสัญญาก็จะตองมี Stamp duty ดวยการปดอากรแสตมปตาม The Stamps Act ตามมูลคาของธุรกรรมที่มีตอกัน การขายสินคาท่ีไมมีกระบวนการอื่นตอ จะไดรับการลดภาษขีายในหลายรัฐมีการเรียกเก็บภาษีจากงานสัญญาแทน โดยมีอัตราภาษีท่ีแตกตางกันในแตละรัฐ ท้ังในเรื่องมูลคาของสัญญาและอัตราภาษี 2.5.3 ภาษีการทํางาน2 ภาษีการทํางาน (Work Contract Tax) เปนภาษีทางออมท่ีเรียกเก็บจากสัญญาจางทําของ แตกรณีท่ีเปน Liaison Office หรือสํานักงานตัวแทน ก็ไมตองเสียภาษี เพราะเหตุวาอินเดียยังไมอนุญาตใหดําเนินธุรกิจในอินเดีย เพียงแตใหทําหนาท่ีในการประสานงานติดตอเทานั้น ในกรณีท่ีบุคคลตางชาติเขาไปทํางานในบริษัทตางชาติท่ีตั้งอยูท่ีอินเดียหรือบริษัทอินเดีย และมีรายไดจากวิชาชีพ ทรัพยสิน และธุรกิจอื่นใด รวมท้ังรายไดท่ีไดมาจากนอกประเทศอินเดียแตมีความเกี่ยวพันกับงานท่ีทําอยูในอินเดีย บุคคลตางชาตินั้นก็ตองเสียภาษีท่ีเรียกวา Expatriate Taxes ดวย อยางไรก็ตาม อินเดียไดประกาศกฎหมายใหบุคคลตางชาติท่ีอยูในอินเดียมากกวา 2 ป มีหนาท่ีเสียภาษีประเภทนี้ตั้งแตปท่ี 3 เปนตนไป 2.5.4 ภาษีสรรพสามิต3 เปนภาษีทางออม เรียกเก็บจากการผลิตและการอุตสาหกรรมที่ผลิตสินคาภายในประเทศ โดยเรียกเก็บตาม The Central Excise Act, 1944 และ The Central Excise Tariff Act, 1985 ซึ่งเปนกฎหมายที่ใชกับทุกรัฐในอินเดีย และมีคําเรียกภาษีสรรพสามิตแตกตางกันไป คือ Duty, Duty of Excise และ Central Value Added Tax (CENVAT) ผูฝาฝนกฎหมายสรรพสามิต จะมีความรับผิดอาญา ตองโทษทั้งจําคุกและปรับ ท้ังนี้การจัดเก็บภาษีอยูในความรับผิดชอบของ The Central Board of Excise and Customs (CBEC) ตาม The Central Excise Tariff Act, 1985 ซึ่งมีผลบังคับใชเมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม 2543 ภาษีสรรพสามิตมีโครงสรางภาษีสองสวนคือ 1 http://incometaxindia.gov.in; http://incometax.indlaw.com/Guest/aboutindlaw.asp 2 http://caclubindia.com; http://taxindiaonline.com 3 http://www.cebc.gov.in; http://finmin.nic.in; http://www.citcindia.org; http://sify.com/services/legal/fulstory.php.

Page 37: บทที่ 2 ข อมูลประเทศอ ินเดีย - ThaiFTAบทท 2 ข อม ลประเทศอ นเด ย 2.1 ข อม ลท วไป1 2.1.1

กลยุทธการเจรจาจัดทําเขตการคาเสรี ไทย-อินเดีย

54

สวนแรกเปนภาษีพื้นฐาน (Basic Excise Duty) หรือ The CENVAT ซึ่งเรียกเก็บจากสินคาท่ีผลิตหรือประกอบในอินเดียตามที่ระบุไวใน First Schedule ของ The Central Excise Tariff Act, 1985 โดยเรียกเก็บในอัตราคงที่ 16% ท้ังนี้ตั้งแตวันที่ 10 กันยายน 2547 รัฐบาลไดประกาศใหใชการเครดิตภาษี CENVAT (The CENVAT Credit Rules, 2004) แทนการรองขอคืนภาษีสําหรับสินคาและบริการได ภายใตกฎนี้ การนําสินคาและบริการมาใชเปนตนทุนในการผลิตจะสามารถขอเครดิตภาษีไดในเวลาเดียวกัน สวนท่ีสองเปน Special Duty of Excise - SED ซึ่งเรียกเก็บตามประเภทของสินคาท่ีระบุไวใน The Second Schedule ของ The Central Excise Tariff Act, 1985 โดยเรียกเก็บในอัตรา 8%, 16% หรือ 24% โดย ท่ีภาษีประเภทนี้สามารถขอเครดิตภาษีภายใต The CENVAT Credit Rules, 2004 ไดเชนเดียวกัน ความแตกตางของภาษีท้ังสองประเภทนี้คือเรื่องรายการสินคาท่ีตองเสียภาษีซึ่งจัดอยูคนละใน Schedule โดยที่สินคาท่ีจัดอยูใน First Schedule จะตองเสียภาษี CENVAT 16% เทานั้น ในขณะที่สินคาท่ีจัดอยูใน Second Schedule จะตองเสียภาษี SED เพิ่มข้ึนจากที่ตองเสียภาษี CENVAT อีกตามอัตราที่กําหนดไว ตัวอยางเชน ผลิตภัณฑหนังสัตว ไม อาหาร ซึ่งอยูในรายการ First Schedule จะเสียภาษีเพียง 16% แตสินคาประเภทรถยนต ยางรถยนต เครื่องดื่มผสมโซดา และเครื่องปรับอากาศ ซึ่งบรรจุอยูใน Second Schedule จะตองเสียภาษี CENVAT 16% และยังตองเสียภาษี SED อีก 8% รวมเปน 24% เชนการนําเขารถยนตโดยสาร 6 ท่ีนั่ง รถโดยสารสาธารณะ รถจักรยานยนต ช้ินสวนยานยนต จะตองเสียภาษีในอัตรา 24% แตหากเปนรถยนตท่ีใชไฟฟาจะเสียภาษีเพียง 8% ตามนโยบายงบประมาณประจําปนี้ (2547-2548) กําหนดใหมีการยกเลิกภาษี CENVAT สําหรับผลิตภัณฑดานสิ่งทอ รวมท้ังฝายบริสุทธิ์ ขนสัตว และไหม ไมวาจะเปนเสนใย ดาย หรือเสื้อผา อยางไรก็ดี หากเปนสิ่งทอผสม และฝายผสม (Polyester viscose acrylic และไนลอน) จะตองเสียภาษีในอัตราที่แตกตางกัน เชน เสนใยที่ผลิตดวยมือตองเสียภาษีในอัตรา 16% Polyester 24% และเสนดายขนาดเล็กที่ทําดวยมือ 16% ภาษีสรรพสามิตยังเก็บจากสินคาท่ีผลิตในเขตเศรษฐกิจเสรีแตไดนําสินคากลับมาขายในอินเดีย และ ยังเรียกเก็บจากสินคาท่ีผลิตเพื่อสงออก 100% แตไดนํากลับเขามาขายในอินเดีย โดยใชอัตราภาษีเดียวกับที่กําหนดไวในภาษีอากรและภาษีศุลกากร หรือกฎหมายอื่นใดที่บังคับใชอยูในเวลานั้น นอกจากกฎหมายภาษีสรรพสามิตของรัฐบาลกลางคือ The Central Excise Tariff Act, 1985 แลว ยังมีภาษีสรรพสามิตในอีกสามรูปแบบตามกฎหมายอื่นอีก1 คือ

(1) ภาษีสรรพสามิตแทนที่ภาษีขาย ซึ่งเก็บตาม The Additional Duties (Goods of Special Importance) Act, 1957 ซึ่งเปนภาษีท่ีเรียกเก็บของหลายรัฐจากการขายสินคาในบางรายการ เชนสิ่งทอ ผาฝ าย ไหม ขนสัตว น้ําตาล ยาสูบ ฯลฯ ซึ่งกําหนดไวใน Schedule II

(2) ภาษีเฉพาะที่เรียกเก็บสําหรับสินคาบางรายการตามกฎหมายเฉพาะ เชน ยา น้ําตาล หรือกฎหมายเพื่อการพัฒนาอุตสาหกรรมเฉพาะเรื่อง

(3) ภาษีสรรพสามิต Cess ซึ่งเรียกเก็บจากผลิตภัณฑเฉพาะอยาง ไดแก รถยนต ปอกระเจา น้ําตาล ชา ยาสูบ กาแฟ ยาง สิ่งทอ และเครื่องจักรสิ่งทอ

1 www.legalpundits.com; www.cebc.gov.in.cae/excise/cx-tariff/cx -.note.htm

Page 38: บทที่ 2 ข อมูลประเทศอ ินเดีย - ThaiFTAบทท 2 ข อม ลประเทศอ นเด ย 2.1 ข อม ลท วไป1 2.1.1

กลยุทธการเจรจาจัดทําเขตการคาเสรี ไทย-อินเดีย

55

ตามนโยบายป 2547-2548 ยังกําหนดใหตองเสียภาษี Education Cess สําหรับสินคาทุนเพื่อการผลิตในอัตรา 2% แตผูเสียภาษีสามารถนํามาเครดิตภาษีสําหรับสินคาข้ันสุดทายได ยกเวนดีเซลชนิดเบา ดีเซลหมุนเร็ว น้ํามันเบา (Notification No. 12/2004-CE (NT) ภาษีเพิ่มเติมพิเศษทั้งสามประการดังกลาว รวมท้ัง Ecudation Cess นี้ ก็สามารถนําไปเครดิตภาษีไดตาม The CENVAT Credit Rules, 2004 นอกจากนั้น นโยบายงบประมาณฉบับปจจุบันยังไดกําหนดใหมีการยกเวนภาษีสรรพสามิตในหลายรายการ เชน รถแทรคเตอร เครื่องจักรเพื่อการผลิตนม และเครื่องมือพื้นฐาน เชน พลั่ว เคียว รถพยาบาลที่ไดลงทะเบียนเพื่อการฟนฟูสมรรถภาพทางรางกาย และอื่นๆ อีกทั้งยังกําหนดใหลดอัตราภาษีสรรพสามิตอีกหลายรายการ เชน การเตรียมผลิตภัณฑเนื้อสัตว สัตวปก และปลา อาหาร Hexane (ใชในอุตสาหกรรมน้ํามันใชปรุงอาหาร) ในขณะที่สินคาบางรายการจะตองเสียภาษีในอัตราเพิ่มข้ึนจากเดิม เชน ไพ ไมขีดไฟ เปนตน การรองขอคืนเงินภาษี (Drawback)1 ผูสงออกที่ไดเสียภาษีสรรพสามิตไปแลวอาจรองขอเรียกคืนเงินภาษีได ตาม The Custom & Central Excise Duties Drawback Rules, 1995 โดยไดรับอนุมัติจากรัฐบาลกลาง ภายใตเงื่อนไขวาตองเปน

(1) สินคาท่ีผลิตจากวัสดุนําเขาจากตางประเทศ ซึ่งตองเสียภาษีศุลกากรตาม The Customs Act, 1962 (2) สินคาท่ีผลิตจากวัสดุท่ีผลิตภายในประเทศซึ่งจะตองเสียภาษีสรรพสามิตตาม The Central Excise

Act, 1944 อยางไรก็ตาม ผูสงออกสินคาดังกลาวมานั้นจะรองขอคืนภาษีไมไดหากวาสินคานั้น เปนสินคาท่ีไดถูกนํามาใชภายหลังการผลิตแลว (ยกเวนกลองชาที่ใชเปนวัสดุสําหรับบรรจุภัณฑ

เพื่อการสงออกชาบด) เปนสินคาท่ีผลิตโดยใชวัสดุนําเขาหรือวัสดุภายในประเทศที่ตองเสียภาษี แตยังไมไดชําระภาษี เปนสินคาประเภท Jute batching oil ท่ีใชในการผลิตสินคาสงออก คือ ดาย Bimlipatnam หรือ

Mesta fibre และเชือกประเภทตางๆที่ทําจากปอกระเจา เปนสินคาท่ีวัสดุบรรจุภัณฑไดถูกนํามาใช เพื่อการสงออกของ

เสนดาย (รวมท้ัง Bimlipatnam หรือ Mesta fibre และเชือกประเภทตางๆ ท่ีทําจากปอกระเจา) โดยที่สัดสวนน้าํหนักของสินคาสวนใหญมาจากเสนใยปอกระเจา

ผาทอจากปอกระเจา รวมท้ัง Bimlipatnam หรือ Mesta fibre ท่ีมีสัดสวนน้ําหนักของสินคาสวนใหญมาจากปอกระเจา

สินคาผลิตจากปอกระเจาอื่นๆ หากไมมีการระบุไว รวมท้ัง Bimlipatnam หรือ Mesta fibre ซึ่งมีสัดสวนน้ําหนักของสินคาสวนใหญมาจากปอกระเจา

ท้ังนี้ รัฐบาลกลางจะอนุมัติการเรียกคืนภาษีตาม The Custom & Central Excise Duties Drawback Rules, 1995 โดยคํานึงถึงปจจัยตางๆ ดังนี้ 1 www/cbec.gov.in; www.ieport.com.Cus2004/NT.not 14.html

Page 39: บทที่ 2 ข อมูลประเทศอ ินเดีย - ThaiFTAบทท 2 ข อม ลประเทศอ นเด ย 2.1 ข อม ลท วไป1 2.1.1

กลยุทธการเจรจาจัดทําเขตการคาเสรี ไทย-อินเดีย

56

• จํานวนเฉลี่ยหรือมูลคาของสินคาแตละกลุมตามลักษณะของวัตถุดิบซึ่งผลิตในอินเดีย หรือของวัตถุดิบที่นําเขาวัสดุท่ีจะตองเสียภาษีสรรพสามิตท่ีใชเพื่อการผลิตในอินเดีย

• จํานวนเฉลี่ยของคาอากรท่ีเสียไปสําหรับการนําเขาวัตถุดิบ หรือของคาภาษีสรรพสามิตท่ีเสียไปสําหรับสินคาท่ีนําใชในการผลิตเปนสวนประกอบ หรือเปนวัตถุดิบขั้นกลางที่ใชในโรงงาน

• จํานวนเฉลี่ยของคาอากรที่จายไปสําหรับวัตถุดิบที่สูญเสียในกระบวนการผลิต แตถามีการนํากลับมาใชอีกหรือขายไป จะตองนําจํานวนเฉลี่ยนั้นมาคํานวณรวมดวย

• จํานวนเฉลี่ยของคาอากรที่จายสําหรับสินคานําเขาหรือวัตถุดิบซึ่งใชสําหรับการบรรจุภัณฑเพื่อสงออก และไดเสียภาษีสรรพสามิตแลว

2.5.5 ภาษีศุลกากร1

ภาษีศุลกากรเปนภาษีทางออมที่รัฐบาลเรียกเก็บจากการนําเขาสินคา ตาม The Customs Act, 1962 และ The Customs Tariff Act, 1975 โดยเปนอากรพื้นฐาน (Basic Duty) และอากรพิเศษ (Special Duty) ซึ่งเรียกเก็บลดหลั่นกันไป โดยในทางปฏิบัติไมมีการเรียกเก็บภาษีการสงออก แตอาจมีการเก็บบางเปนครั้งคราวเพื่อที่จะลดการทํากําไรเกินควรในราคาสินคาของตลาดโลกเมื่อเทียบกับราคาภายในประเทศที่อาจต่ํากวา ซึ่งจะถูกเรียกเก็บอาการการสงออก (Export Duty) สินคาบางรายการ รวมทั้งหนังสัตว ผลิตภัณฑจากสัตว ภาษีมีอัตราลดหลั่นไปตั้งแต 0.5-10% โดยการกําหนดอัตราภาษีข้ันต่ําถือตามราคา FOB

การเรียกเก็บภาษี Education Cess จะเรียกเก็บจากภาษีศุลกากร แตจะไดรับการยกเวนไมถูกเรียกเก็บ ภาษี Education Cess จาก Safegaurd Dudy, CVD และ AD นอกจากนั้น สินคาบางรายการยังไดรับการยกเวนจากภาษี Education Cess เนื่องจากพันธกรณีตามความผูกพันกับองคการการคาโลก ภาษีศุลกากร โดยปกติมีการเรียกเก็บใน 5 รูปแบบคือ

1. อากรพื้นฐาน (Basic Duty) เปนอัตรามาตรฐาน หรืออัตราพิเศษสําหรับการนําเขาจากบางประเทศ 2. อากรศุลกากรเพิ่ม (Additional Customs Duty) เปนอัตราที่กําหนดใหเทียบเทากับภาษี

สรรพสามิตกลางที่เรียกเก็บจากการผลิตสินคาในอินเดีย เรียกอีกอยางหนึ่งวา ภาษี CVD (Countervailing Duty) การขอยกเวนภาษี CVD กําลังอยูในระหวางถูกยกเลิกบางกรณีตามที่กําหนดไวใน Notification No. 66

& 67/2004-Customs) อยางไรก็ตาม สินคาใดอยูในรายการยกเวนภาษีสรรพสามิต สินคานั้นก็จะไดรับการยกเวนภาษี CVD ไปดวยในตัว สินคาท่ีถูกเพิกถอนการไดรับยกเวนภาษี CVD มีหลายรายการ อาทิเชน ฟลมภาพยนตร กระดาษใชแลว กระดาษเคลือบสี มะมวงหิมพานตท่ียังไมปลอกเปลือก อุปกรณการเพาะปลูกตนไม เทปวิดีโอ ช้ินสวนสําหรับการผลิตเครื่องบิน เรือ อุปกรณเครื่องชวยฟง ฯลฯ

1 http://dgft.delhi.nic.in/; http://www.cbec.gov.in/cae/customs/cs-act/cs-regu-mainpg.htm; http://www.servicetaxindia.com/; http://www.citcindia.org/pre_budgetm04/sug_servicetax.htm

Page 40: บทที่ 2 ข อมูลประเทศอ ินเดีย - ThaiFTAบทท 2 ข อม ลประเทศอ นเด ย 2.1 ข อม ลท วไป1 2.1.1

กลยุทธการเจรจาจัดทําเขตการคาเสรี ไทย-อินเดีย

57

นอกจากนั้นยังมีการยกเวนภาษี CVD โดยอาศัยกฎหมายหรือกฎระเบียบอื่น เชน วัตถุดิบที่ใชสําหรับการผลิตปุย (Notification No. 128/94-Customs) สัตวและนกที่นําเขาโดยสวนสัตว แสตมป ตราไปรษณียากรที่ยังไมไดใช แคตตาลอกสินคา (Notification No. 22/2003 – Customs)

3. อากรศุลกากรเพิ่มพิเศษ (Special Additional Customs Duty-SAD) ซึ่งเรียกเก็บจากสินคาเฉพาะอยางในอัตรา 4% เพื่อท่ีจะใหเกิดความเทาเทียมกันในตลาดการแขงขันของสินคาทองถิ่นที่จะตองเสียภาษีขาย โดยอากรประเภทนี้จะคํานวณบนพื้นฐานของมูลคาที่ประเมินได อากรพื้นฐาน คาธรรมเนียมพิเศษ และอากรเพิ่ม ซึ่งถูกเรียกเก็บตามมาตรา 3 ของ The Customs Tariff Act, 1975 (อยางไรก็ดี ปจจุบัน ภาษี SAD ไดถูกยกเลิกแลว โดย Notification No. 6/2004 – Customs. Date 8/01/2004)

4. คาธรรมเนียมพิเศษ (Surcharge) เปนภาษีท่ีเรียกเก็บเพิ่มเติมอีก 10% จาก Basic Customs Duty (ตาม Section 90 of The Finance Act, 2000) ท้ังนี้ภายใตเงื่อนไขวาจะไดมีประกาศออกมาในภายหลัง

5. ภาษีตอตานการทุมตลาดหรือมาตรการฉุกเฉิน (Anti-dumping Duty/Safeguard Duty) ซึ่งเรียกเก็บจากสินคาพิเศษที่นําเขาโดยมีการทุมตลาด Anti-dumping Duty เปนภาษีท่ีเรียกเก็บจากสินคาท่ีเขามาทุมตลาดในอินเดียตาม Section 9A of the Custom Tariff Act 1975 สวน Safeguard Duty เปนภาษีท่ีเรียกเก็บจากสินคาท่ีนําเขามาอินเดียจนลนตลาดและกอใหเกิดความเสียหายแกอุตสาหกรรมในประเทศ ตาม Section 8B of the Custom Tariff Act 1975 ซึ่งจะมี การประกาศสินคาท่ีเรียกเก็บภาษีท้ังสองดังกลาวออกมาเปนระยะๆ อินเดียปฏิบัติตามพันธกรณีท่ีไดตกลงไวใน WTO ดวยการลดภาษีศุลกากรที่เปน Basic Duty ลงทุกป โดยในป 2546 ลดเฉลี่ยสูงถึง 29% ซึ่งต่ํากวาปท่ีผานมาถึง 32% และเมื่อเดือนมีนาคม 2547 ก็ลดลงจากเพดานเดิม 25 % เปน 20 % โดยอินเดียพยายามกําหนดโครงสรางภาษีศุลกากรใหเหลือเพียง 2 อัตราคือ 10 % สําหรับสินคาท่ีเปนปจจัยการผลิต และ 20 % สําหรับสินคาสําเร็จรูป

สินคาท่ีไดรับการลดภาษีศุลกากรอยางมากไดแก o ถานหิน นิเกิ้ล สิ่งท่ีทําดวยนิเกิ้ล เหล็กผสม ทองแดง ตะกั่ว สังกะสี และ base metal แรดิบ

และผลิตภัณฑจากแร เชน กราฟไฟต แอสเบสตอส ไมกา และยิบซัม รวมท้ังสารเรงปฏิกิริยา o เครื่องอุปกรณสําหรับโครงการระบบสายสงและระบบจําหนายพลังงานไฟฟา มิเตอรไฟฟา

อุปกรณและสายไฟเบอรออฟติค o สินคาทุนสําหรับการผลิตสินคาอิเล็กทรอนิกส o อุปกรณสําหรบัโครงสรางโทรคมนาคม ตัวเครื่องโทรศัพทมือถือ แผนวีซดีีและดีวีดี o ยารักษาโรคตอเนื่อง (Life-saving bulk drug) สูตรและเครื่องมือแพทย อุปกรณขาเทียม

เครื่องกายภาพบําบัด ยาเกี่ยวกับการศัลยกรรม ทันตกรรม o เฟอรนิเจอรของสัตวแพทย ตาขายกันยุงอาบยาฆาแมลง o น้ํามันเครื่องบินใบพัด (Aviation turbine fuel) o เครื่องมือสําหรบัโครงการจายระบบน้ําในอุตสาหกรรมและเกษตรกรรม

Page 41: บทที่ 2 ข อมูลประเทศอ ินเดีย - ThaiFTAบทท 2 ข อม ลประเทศอ นเด ย 2.1 ข อม ลท วไป1 2.1.1

กลยุทธการเจรจาจัดทําเขตการคาเสรี ไทย-อินเดีย

58

สําหรับภาษีท่ีเรียกเก็บจากการนําเขาสินคารถยนต (Import Duty) อินเดียกําหนดอัตราภาษีไวแตกตางกันตามประเภทของรถยนต เชน

o 60% สําหรับรถยนตแบบสําเร็จรูปทั้งคัน (CBU – Completely Build Unit) และรถจักรยานยนต o 50.8% สําหรับรถบรรทุกและรถดัมพ หรือรถท่ีใชในการกอสราง หรือยานยนตท่ีใชเพื่อ

วัตถุประสงคพิเศษ เชนรถปนจั่น รถบรรทุก รถกวาดถนน รถผสมคอนกรีต o รถยนต MUV (รถอเนกประสงค) และรถจักรยานยนต จะถูกเรียกเก็บภาษี NCCD 1% จากราคาที่

ไดรวมภาษีศุลกากรแลว o ไมตองเสียภาษีนําเขาสําหรับยานยนตท่ีใชเฉพาะในการกอสรางโครงสรางพื้นฐาน o 150% สําหรับการนําเขารถยนตใชแลว เพราะเหตุวาอินเดียไมสนับสนุนการนําเขารถยนตใชแลว o 25% สําหรับรถประเภท SKD/CKD และสินคาทุนในอุตสาหกรรมรถยนต o มีขอยกเวนวาหากเปนกิจการซึ่งอยูภายใตโครงการ Export Promotion Capital Goods Scheme

การนํา เข าสินคาทุน และ SKD/CKD รวมทั้ งระบบซอฟทแวร จะเสียภาษี ศุลกากร 5% ภายใตเงื่อนไขวาผูนําเขานั้นจะตองสงออกสินคาใหไดเปนมูลคา 5 เทาของสินคาทุนในราคา CIF ซึ่งไดนําเขาในระยะเวลา 8 ป นับตั้งแตวันที่ไดรับอนุญาต อยางไรก็ตาม หากวากิจการเชนวานั้นมีการลงทุนสูงกวา US$ 29 ลาน เงื่อนไขดังกลาวจะไดรับการผอนผันเพิ่มข้ึนเปน 12 ป

o 35.2% สําหรับการนําเขายางเกาและใหม o 50.8% สําหรับชิ้นสวนยานยนต รวมท้ังหัวเทียน (ภาษีนี้รวมคาธรรมเนียมแลว) แตถาเปน

ช้ินสวนยานยนตเกี่ยวกับการลดมลพิษในรถยนต จะเสียภาษีเพียง 5% 2.5.6 ภาษีการบริการ1 เปนภาษีทางออมท่ีบริหารงานโดย CBDC การจัดเก็บภาษีบริการ แบงออกเปน 23 เขต (Zone) และ แตละเขต ก็ยังแบงยอยออกไปตามจํานวนของ Commissionerate โดยที่แตละเขตมี Chief Commissioner เปนหัวหนาเขต และหัวหนาของแตละ Commissionerate เรียกวา Commissioner

ภาษีบริการ (Service Tax ฉบับแกไขครั้งท่ี 2, 2004) กําหนดใหอัตราภาษีบริการเพิ่มจาก 8% เปน 10% เชน การใหบริการจัดนิทรรศการเชิงธุรกิจ การทาอากาศยาน การขนสงสินคาทางบกและอากาศ สํารวจแร การสํารวจความคิดเห็นจัดทําโพล การใหบริการดานทรัพยสินทางปญญา (ยกเวนเรื่องลิขสิทธิ์) จัดสงอาหาร การผลิตรายการโทรทัศนและวิทยุ การใหบริการดานการกอสราง ตัวแทนทองเที่ยว (ยกเวนตัวแทนดานการเดินทางโดยทางรถไฟและอากาศ) (Clause 80 of Finance Bill, No.2, 2004)2

ปจจุบัน กฎหมายภาษีการบริการไดขยายเพิ่มครอบคลุมการบริการที่หลากหลายมากขึ้น รวมถึงการติดตั้งเครื่องจักรหรืออุปกรณอื่นใด นายหนาคาหุน และนายหนาค าหุนชวง ผูใหบริการเคเบิ้ล และ Multi system operator ดวย 1 G.D. Lohant, G.D & Rahman. All About Service Tax, 2004. New Delhi: Business Datainfo Publishing, 2004. 2 http://www.servicetaxindia.com

Page 42: บทที่ 2 ข อมูลประเทศอ ินเดีย - ThaiFTAบทท 2 ข อม ลประเทศอ นเด ย 2.1 ข อม ลท วไป1 2.1.1

กลยุทธการเจรจาจัดทําเขตการคาเสรี ไทย-อินเดีย

59

ตามนโยบายใหม อินเดียกําลังยกเลิกเพิกถอนสิทธิในการขอยกเวนภาษีบริการหลายสาขา อาทิเชน การใหบริการดานรับฝากทรัพยในตูเซฟ การแพรภาพแพรเสียงโดยเคเบิ้ล การซอมบํารุงรักษาคอมพิวเตอร และระบบคอมพิวเตอร รวมทั้งอุปกรณตอพวงท้ังหลาย อยางไรก็ดี อาจมีการขอยกเวนภาษีบริการไดสําหรับการเชาแท็กซี่ได 60% และสําหรับการจัดประชุมพรอมจัดเลี้ยงก็รองขอยกเวนได 40%1 เพื่อใหสอดคลองกับการขอเครดิตภาษี CENVAT การใหบริการตองมีการออกใบเสร็จใหแกลูกคาดวย

นอกจากนั้น ยังมีการเรียกเก็บ Presumptive tax จากการบริการบางประเภทเปนพิเศษเชน การปฏิบัติงานบนเครื่องบินเสียภาษีในอัตรา 5% บนเรือ 7.5% เปนตน ในการใชจายเปนคาท่ีพักหรือโรงแรมซึ่งมีคาหองตั้งแต 1,200 รูปข้ึนไปตอคืนตอคน จะตองเสียภาษีเปน Expenditure Tax ในอัตราตายตัวท่ี 10%

ในชวงเวลาที่ผานมา มีการแกไขกฎหมายและกฎระเบียบรวมทั้งประกาศเกี่ยวกับภาษีบริการหลายครั้ง เปนตนวา เรื่องภาษีในดอกเบี้ยเงินกู การประเมินโดยหนวยงานภาครัฐ การเสียภาษีลาชา บทลงโทษสําหรับ ผูไมยื่นเสียภาษี ใหอํานาจรัฐบาลกลางในการออกกฎสําหรับการกําหนดภาษีสงออกการบริการ ฯลฯ

2.5.7 ภาษีการสงออก (Export Taxes) อินเดียยกเลิกเงื่อนไขการสงออกหนังสัตว ตั้งแตป 2543 แตเพิ่มภาษีสงออกสําหรับหนังสัตวดิบ

และหนังสัตวกึ่งสําเร็จรูป จากเดิม 25% เปน 60% ตามประกาศ Notification No.132/2000 ของกรมศุลกากร และตามประกาศ Notification No.133/2000 กําหนดใหหนังสัตวบางประเภทไดรับการยกเวนภาษีสงออก 60% และบางประเภทก็ไดรับการลดหยอนภาษี ไดแก

• Snake skin, Raw fur lamb skins ลดเหลือ10% • E.I. tanned leather, Cycle saddle leathers, Hydraulic/packing/belting/washer leathers, Picking

band leathers, Strap/combing leathers ลดเหลือ 15% • Luggage leather - case hide or side/suit case/bag luggage/cash bag leather, Industrial harness

leather, Transistor case/camera case leathers ลดเหลือ 25%.

2.5.8 ภาษีการเขาเมือง (Entry Tax / Octroi) เปนภาษีทางออมท่ีรัฐแตละรัฐเรียกเก็บจากการนําเขาสินคาไปในแตละรัฐ ซึ่งปจจุบันไดมีการยกเลิก

ภาษีนี้ไปหลายรัฐแลว ** อินเดียทําความตกลงเกี่ยวกับอนุสัญญาภาษีซอน (Double Tax Avoidance Agreement) กับประเทศตางๆ มากกวา 80 ประเทศ รวมท้ังประเทศไทยดวย แตในทางปฏิบัติ เคยมีผูประกอบการบางรายไมไดรับประโยชนจากอนุสัญญาภาษีซอนที่ประเทศไทยไดตกลงไวกับอินเดีย นอกจากนั้น การเรียกคืนภาษี (Refund) ก็ตองใชเวลาและกระบวนการที่ยาวนานมาก และการจัดเก็บภาษีของอินเดียมีระบบที่ซับซอนระหวางรัฐบาลกลางและรัฐบาลทองถิ่นอีกมากมาย อีกทั้งมีการปรับเปลี่ยนบอยครั้ง ดวยการออกเปนประกาศ (Notifications)

1 http://indiabudget.nic.in; www.ciionline.org

Page 43: บทที่ 2 ข อมูลประเทศอ ินเดีย - ThaiFTAบทท 2 ข อม ลประเทศอ นเด ย 2.1 ข อม ลท วไป1 2.1.1

กลยุทธการเจรจาจัดทําเขตการคาเสรี ไทย-อินเดีย

60

2.6 นโยบายการลงทุน1 นโยบายการลงทุนเนนการเปดเสรีใหตางชาติเขาลงทุนโดยตรง (Foreign Direct Investment) นับตั้งแตป 2499 เปนตนมา และยิ่งเนนการเปดเสรีการลงทุนมากขึ้นในชวงป 2534 ซึ่งรัฐบาลประกาศนโยบายดานอุตสาหกรรมโดยการกําหนดโครงสรางและแนวทางปฏิรูปภาคอุตสาหกรรมทั้งหมด มีการสงเสริมการลงทุน มีการผอนคลายกฎระเบียบและการขอใบอนุญาตการลงทุน รวมท้ังยกเลิกขอจํากัดในการลงทุนหลายประการ

ตั้งแตป 2544 เปนตนมา รัฐบาลอินเดียเปดใหมีการลงทุนโดยตรงจากตางชาติมากข้ึน โดยเปดใหลงทุนในอุตสาหกรรมอุปกรณเพื่อการปองกันประเทศไมเกิน 26% ในธุรกิจธนาคารไดเปดเพิ่มข้ึนจากเดิม 49% เปน 74% ในธุรกิจผูใหบริการอินเตอรเน็ตหรอื ISP เปดใหจาก 49% เปน 74% ในอุตสาหกรรมยา จาก 74% เปน 100% และตอมาในป 2545 ก็เปดใหมีการลงทุนโดยตรงจากตางชาติในอุตสาหกรรมหนงัสือพิมพเปนจํานวน ไมเกิน 26 % ของเงินทุน และไมเกิน 74% สําหรับสิ่งพิมพดานวารสารและนิตยสาร

ในป 2545 ประเทศที่มีการลงทุนในอินเดียมากที่สุด 5 อันดับแรก ไดแก สหรัฐอเมริกา (US$ 427.3 ลาน) มอริเชียส (US$ 384.7 ลาน) สหราชอาณาจักร (US$ 375.9 ลาน) ญ่ีปุน (US$ 154.3 ลาน) และฝรั่งเศส (US$ 129.8 ลาน) ตามลําดับ โดยมีการลงทุนในภาคอุตสาหกรรมที่สําคัญดังนี้ ภาคบริการ (US$ 342.2 ลาน) ภาคอุตสาหกรรมการขนสง (US$ 312.4 ลาน) อุปกรณไฟฟา (US$ 295.3 ลาน) โทรคมนาคม (US$ 235.2 ลาน) อุตสาหกรรมหมักไวน (Fermentation) (US$ 164 ลาน) 2.6.1 กิจการที่หามการลงทุนตางชาติ อินเดียเปดใหมีการลงทุนตางชาติในอุตสาหกรรมและบริการทุกประเภท เวนแตธุรกิจการคาปลีก และอุตสาหกรรมและบริการที่เกี่ยวกับความมั่นคงและพลังงานปรมาณู ธุรกิจดานการพนันขันตอ และลอตเตอรี่ (Lottery business, gambling & betting) นอกจากนั้นยังมีกิจการที่สงวนไวสําหรับคนอินเดียเทานั้น คือ (1) โครงการที่ผูขอลงทุนเคยรวมทุนในอินเดีย (2) โครงการที่มีการผูกขาดในประเทศ (3) โครงการที่อยูนอก Sectoral policy (4) โครงการที่กฎหมายอุตสาหกรรมกําหนดไวมิใหมีการออกใบอนุญาตการลงทุน หากวาคนตางชาติถือหุนเกิน 24% ในกิจการที่สงวนไวสําหรับ SMEs ซึ่งเปนกิจการที่ตองขอใบอนุญาตตามนโยบายที่ตั้งอุตสาหกรรมในป 2534 2.6.2 ชองทางการลงทุนตางชาติ การลงทุนในอินเดียสามารถทําไดสองชองทางคือ (1) การไดรับอนุญาตโดยผานชองทางอัตโนมัติ (2) การตองขออนุมัติจาก Foreign Investment Promotion Board: FIPB และรัฐบาล2

1 http://www.indiaonestop.com/economy-fdi.htm; http://meaindia.nic.in/indiapublication/india.htm. 2 http://finmin.nic.in/the_ministry/dep_eco_affairs/fipb/fipb_index.htm

Page 44: บทที่ 2 ข อมูลประเทศอ ินเดีย - ThaiFTAบทท 2 ข อม ลประเทศอ นเด ย 2.1 ข อม ลท วไป1 2.1.1

กลยุทธการเจรจาจัดทําเขตการคาเสรี ไทย-อินเดีย

61

(1) การลงทุนโดยผานชองทางอัตโนมัติ (Automatic route) อยูในความรับผิดชอบโดยตรงของธนาคารกลางหรือ Reserve Bank of India (RBI) ดวยวิธีการท่ีนักลงทุนตางชาติแจงให RBI ทราบถึงการลงทุนภายใน 30 วัน นับแตวันที่นําเงินมาลงทุนและวันที่ออกหุนของบริษัท RBI ตั้งข้ึนเมื่อ 1 เมษายน 2478 เปนธนาคารชาติเมื่อป 2492 ทําหนาท่ีเปนธนาคารใหกับรัฐบาลกลางและรัฐตางๆ โดยมีหนาท่ีหลักดานการเงิน การธนาคาร สินเชื่อ การสํารองเงินตราตางประเทศ ดวยการออกกฎระเบียบ ขอบังคับตางๆ อาศัยอํานาจตาม The Foreign Exchange Management Act, 1999 หรือ FEMA (บังคับใชเมื่อ 1 มิถุนายน 2543 โดยแกไขกฎหมายเดิมคือ Foreign Exchange Regulation Act, 1973: FERA) แตการกําหนดนโยบายหลักตองไดรับความเห็นชอบจากรัฐบาลกลาง RBI มีอํานาจอนุมัติสัดสวนการลงทุนสําหรับอุตสาหกรรม 48 ประเภท (สวนใหญเปนอุตสาหกรรมดานการผลิต) ไดอยางจํากัดไมเกิน 51% ของเงินทุน และสําหรับอุตสาหกรรม 8 ประเภท (สวนใหญคือ เหมืองแร อุตสาหกรรมยา คลังสินคา และการขนสง) ไมเกิน 74% กิจการที่ตองหามใชวิธีการลงทุนโดยผานชองทางอัตโนมัติ มีหลายกรณีไดแก

เปนกิจการที่อยูในรายการที่สงวนไว(Negative List) เปนกิจการของบริษัทใหม (New Ventures) ซึ่งเคยไดรวมลงทุนในอินเดียมากอนแลว เปนโครงการที่ไดเขาถือครองหุนของบริษัทภายในประเทศ เปนโครงการที่ไมไดระบุไวใน Sectoral Policy เปนโครงการที่อยูในประเภทกิจการที่หามคนตางชาติลงทุน เปนกิจการที่เคยไดยื่นขอสงเสริมการลงทุนจาก FIBP แลวไมไดรับการอนุมัติ กิจการที่บริษัทอินเดียถือครองหุนบางสวนหรือท้ังหมดใน o สายการบินภายในประเทศ o การปลูกชา o การแพรภาพแพรเสียง o การพัฒนาเมือง o อุตสาหกรรมดานแรกัมมันตภาพ o กิจการดานสื่อสิ่งพิมพ o การติดตั้งและปฏิบัติงานดานดาวเทียม o การไปรษณีย หรือ การขนสงพัสดุภัณฑ o ธุรกิจดานปโตรเลี่ยม (เวนแตเปนการกลั่นน้ํามันของภาคเอกชน) o อุตสาหกรรมดานการปองกันประเทศและยุทธศาสตร o การลงทุนในโครงสรางพื้นฐาน และในสาขาการบริการ

อุตสาหกรรมที่สามารถลงทุนโดยการผานชองทางอัตโนมัติยังตองปฏิบัติตามเงื่อนไขตางๆ ท่ี RBI

กําหนดไวดวย และตองอยูภายใตขอกําหนดเฉพาะสาขาวาการลงทุนตางดาวจะมีสัดสวนการลงทุนไดเพียงใด ตัวอยางเชน การลงทุนโดยผานชองทางอัตโนมัติดานการธนาคารสามารถทําไดภายใตขอจํากัดวาสัดสวนการลงทุนตองไมเกินกวา 49%

Page 45: บทที่ 2 ข อมูลประเทศอ ินเดีย - ThaiFTAบทท 2 ข อม ลประเทศอ นเด ย 2.1 ข อม ลท วไป1 2.1.1

กลยุทธการเจรจาจัดทําเขตการคาเสรี ไทย-อินเดีย

62

(2) การลงทุนโดยตองไดรับอนุมัติจากรัฐบาล (ตามความเห็นชอบของ FIPB) เปนการลงทุน ในอุตสาหกรรมและบริการบางอยางที่กฎหมายกําหนดไว กลาวคือ

เปนโครงการที่จําเปนตองไดรบัใบอนุญาตประกอบอุตสาหกรรม (Industrial Licenses) อุตสาหกรรมตามพระราชบัญญัติ อุตสาหกรรม (การพัฒนาและกฎระเบียบ), 1951 มีทุนเรือนหุนเกินกวา 24 % ของอุตสาหกรรมที่สงวนไวสําหรับอุตสาหกรรมขนาดยอม

เปนโครงการที่ไมอาจไดรับอนุญาตโดยผานชองทางอัตโนมัติของ RBI กอนที่รัฐบาลจะอนุมัติการลงทุนนั้น FIPB จะพิจารณาขอเสนอการลงทุนภายใน 30 วันนับแตวันรับ

ขอเสนอ ซึ่งในทางปฏิบัติแลวคําขอสวนใหญจะไดรับการอนุมัติ โดยหลักแลวการลงทุนตางชาติโดยตรง (FDI) ไมจําเปนตองขอ “ใบอนุญาตเพื่อการผลิต” เวนแตเปน

การลงทุนในอุตสาหกรรมที่กําหนดไววาตองขอใบอนุญาตเพื่อการผลิตดวย คือ อุตสาหกรรมที่สงวนไวเฉพาะภาครัฐเทานั้นคือ พลังงานปรมาณู และการรถไฟ อุตสาหกรรมที่ประกาศใหตองมีการขอใบอนุญาตการผลิตตาม Development and Regulation

Act, 1951 คือ (a) การกลั่นและผลิตเครื่องดื่มแอลกอฮอล (b) ซิการและบุหรี่ซึ่งผลิตจากยาสูบ (c) อิเล็กทรอนิกสเกี่ยวกับอากาศยาน และอุปกรณดานการทหารทุกประเภท (d) อุตสาหกรรมเกี่ยวกับวัตถุระเบิด (e) เคมีภัณฑอันตราย (f) กรด Hydrocyanic และผลิตภัณฑ (g) Isocyanate, Di-isocyanates of hydrocarbon และ (h) ยาและเวชภัณฑ

อุตสาหกรรมที่อยูใน Negative List ซึ่งสงวนไวโดยเฉพาะสําหรับ SMEs ซึ่งมีขนาดของทรัพยสินถาวรมูลคาไมเกิน 10 ลานรูป) และมีสัดสวนทุนจากผูถือหุนอื่นไมเกิน 24%

อุตสาหกรรมที่มีสถานที่ตั้งอยูในระยะ 25 กิโลเมตรของเขตเมืองตามมาตรฐานผังเมือง

2.6.3 รูปแบบการลงทุนตางชาติ (1) การรวมทุน (Joint Venture)

เปนกรณีท่ีบริษัทตางชาติ หรือ Non-resident เขารวมลงทุนกับคนอินเดียหรือบริษัทอินเดีย ท้ังในดานการลงทุนดวยเงินหรือดานความรวมมือทางเทคนิค ดวยการจัดตั้งเปนธุรกิจใหม การเขาซื้อกิจการ (Take over) การเขาเปนพันธมิตรกับบริษัทอินเดียท่ีมีตลาดอยูกอนแลว

(2) ความรวมมือทางเทคนิค (Technical Collaboration) กรณีท่ีคนตางชาติหรือบริษัทตางชาติทําความตกลงความรวมมือทางเทคนิคกับบริษัทอินเดีย

(Foreign Technology Agreement) โดยเปนการลงทุนผานชองทางอัตโนมัติ (แตตองมีการจายเงินเปนคา Khow-how ของเทคนิคนั้นไมเกินกวา US$ 2 ลาน หรือคาสิทธิ์ 5% สําหรับการขายภายในประเทศ และ 8% สําหรับการสงออก) โดยที่ความรวมมือทางเทคนิคนั้นตองเปนเรื่องใหมท่ีไมมีอยูกอนแลวในอินเดีย และแมวาจะเปนความรวมมือในอุตสาหกรรมที่สงวนไวสําหรับคนอินเดีย และที่ เปนการออกใบอนุญาตโดยบังคับ (Compulsory Licenses) ก็ใหทําได

Page 46: บทที่ 2 ข อมูลประเทศอ ินเดีย - ThaiFTAบทท 2 ข อม ลประเทศอ นเด ย 2.1 ข อม ลท วไป1 2.1.1

กลยุทธการเจรจาจัดทําเขตการคาเสรี ไทย-อินเดีย

63

กรณีท่ีเปนความรวมมือทางเทคนิคซึ่งตองใชเครื่องหมายการคาโดยไมมีการถายทอดเทคโนโลยี ผูลงทุนนั้นตองจายคาสิทธิ 20% สําหรับการสงออก และ 1% สําหรับการขายภายในประเทศ นอกจากนั้น บริษัทอินเดียซึ่งรวมมือกันทางเทคนิคนั้นจะตองจาย 5% ของการจายดานเทคโนโลยีใหแกรัฐดวย และในการสงเงินตราตางประเทศออกนอกประเทศสําหรับการใชเครื่องหมายการคา หรือการซื้อ Franchise ก็จะตองไดรับอนุมัติจาก RBI ดวย (เวนแตรัฐบาลไดประกาศยกเวนไวกอนแลว)

การทําความตกลงเชนวานี้อาจรองขอตอเวลาของสัญญาได แตตองไดรับอนุมัติเปนพิเศษจาก RBI และตองคํานึงถึงความไดประโยชนจากการถายทอดเทคโนโลยีและ Know-how ทั้งนี้การวาจางนักเทคนิคตางชาติในระยะสั้น (การอยู ไมเกินกวาสามเดือนในแตละครั ้ง) ไมจําเปนตองไดรับการอนุมัติลวงหนา แตถาอยูนานเกินกวาสามเดือนจะตองไดรับอนุมัติจาก Ministry of Home Affair อยางไรก็ดี ชางเทคนิคตองอยูไมเกิน 12 เดือนในชวงเวลารวมกันทั้งหมด และคาเบี้ยเลี้ยงจะตองไมเกิน US$ 1,000 และยอดท้ังหมดตอปตองไมเกิน US$ 200,000

(3) การจัดต้ังสาํนักสาขา การตั้งสํานักงานสาขา (Branch) โดยนักลงทุนตางชาติตองอยูภายใต FEMA กลาวคือตองทํา

หนาที่เปนตัวแทนของบริษัทแม ทําวิจัยในสวนที่เกี่ยวของกับบริษัทแม สงออก หรือนําเขาสินคา สงเสริมความรวมมือทางเทคนิคและการเงิน นอกจากนั้น ภายใต The Companies Act, 1956 บริษัทตางชาติที่เปดสาขาในอินเดีย ตองจดทะเบียนกับสํานักทะเบียนการคา (The Registrar of Companies) ในรัฐที่สํานักงานสาขานั้นตั้งอยู และตองจดทะเบียนที่สํานักทะเบียนการคากลางที่ New Delhi ดวย โดยตองนําสงบัญชีของสาขาใหกับสํานักทะเบียนการคาทุกป

อยางไรก็ดี การตั้งสํานักงานสาขาใน SEZ ไมจําเปนตองขออนุญาตจาก RBI หากวาไดดําเนินกิจการในสาขาที่ลงทุนตางชาติโดยตรงได 100% ปฏิบัติตามบทบัญญัติของกฎหมายเกี่ยวกับการดําเนินธุรกิจของบริษัทตางชาติและดําเนินกิจการโดยลําพัง นอกจากนั้น การสงเงินออกของสํานักงานสาขาจะกระทําไดโดยผานตัวแทนผูไดรับอนุญาตเทานั้น

(4) การตั้งสาํนักตัวแทน FEMA กําหนดไววาบริษัทตางชาติจัดตั้งสํานักงานตัวแทน (Liaison Office) ตองอยูภายใตการ

อนุญาตและการควบคุมกํากับดูแลของ RBI และ The Companies Act, 1956 โดยสํานักงานนี้จะทําหนาที่ไดเพียงเปนตัวกลางในการสงขอมูลขาวสารใหกับบริษัทของตน ดังนั้นสํานักงานเชนนี้จึงไมอาจมีรายไดในประเทศอินเดีย และคาใชจายที่เกิดขึ้นในสํานักงานจะตองเปนเงินที่โอนมาจากตางประเทศ อยางไรก็ดี การขออนุมัติจัดตั้ง Liaison Office จะไมถูกปฏิเสธจาก RBI หากวาการไมอนุมัติของ RBI จะสงผลใหคูสัญญาของผูรองขอจัดตั้งสํานักงานนั้นไดรับผลกระทบ

(5) การขายตรง บริษัทตางชาติสามารถทําธุรกิจขายตรงไปยังผูบริโภคในอินเดียได โดยไมจําตองมีสํานักงาน

ในอินเดีย และเนื่องจากรายไดมิไดเกิดขึ้นในอินเดีย บริษัทนั้นจึงไมตองเสียภาษีเงินได (แตมีเงื่อนไขวาตองมีการโอนกรรรมสิทธิ ์ในทรัพยสินที่ซื ้อขายภายนอกประเทศ) อยางไรก็ดี ผู ซื ้อและนําเขาสินคานั ้นมาภายในประเทศจะตองเสียภาษีนําเขา

Page 47: บทที่ 2 ข อมูลประเทศอ ินเดีย - ThaiFTAบทท 2 ข อม ลประเทศอ นเด ย 2.1 ข อม ลท วไป1 2.1.1

กลยุทธการเจรจาจัดทําเขตการคาเสรี ไทย-อินเดีย

64

(6) การทํา Franchise ธุรกิจ Franchise เติบโตเร็วมากในอินเดีย ปจจุบัน ธุรกิจโรงแรม อาหารจานดวน รานคาปลีก และ

การศึกษาเกี่ยวกับคอมพิวเตอร โดยการทําสัญญา Franchise กําลังเปนที่นิยม อยางไรก็ดี อินเดียไมมีกฎหมายเฉพาะสําหรับธุรกิจนี้ ดังนั้นการจัดการเกี่ยวกับธุรกิจนี้จึงตองอยูภายใตกฎหมายของแตละสาขาธุรกิจที่เกี่ยวของ เชน กฎหมายวาดวยสัญญา กฎหมายทรัพยสินทางปญญา กฎหมายปองกันการผูกขาด กฎหมายภาษี กฎหมายแรงงาน กฎหมายเกี่ยวกับการควบคุมเงินตราตางประเทศ การลงทุนตางประเทศ และกฎหมายคุมครองผูบริโภค เปนตน นอกจากนั้น การสงเงินคาสิทธิในสัญญา Franchise ไปยังตางประเทศ จะตองไดรับการอนุมัติจาก RBI เวนแตจะเปนคาสิทธิท่ีมีจํานวนไมเกินกวาท่ี FEMA กําหนดไวใหสงได

2.6.4 เงื่อนไขพิเศษสําหรับการลงทุนกิจการดานยานยนต มีกิจการสําคัญที่รัฐบาลกําหนดเงื่อนไขการลงทุนไวเปนพิเศษคือกิจการยานยนต กลาวคือกําหนดให

ผูรวมลงทุนทั้งใหมและเกาท่ีนําเขายานยนตท่ีประกอบแลวบางสวนหรือช้ินสวนยานยนตท่ียังไมไดประกอบหรืออะไหลช้ินสวนรถยนต ซึ่งมีการลงทุนเกินกวา 51% ของเงินลงทุนทั้งหมด ตองไดรับการอนุมัติจากรัฐบาลอีก ซึ่งตองมีการลงนามในบันทึกความเขาใจในเรื่อง (1) การเพิ่มทุนอยางนอย US$ 50 ลาน โดยใหชาวตางชาติเปนหุนสวนใหญ (2) การบังคับใหตองใชช้ินสวนยานยนตท่ีผลิตในประเทศ (Local content) (3) เกณฑการสงออก (Export Performance) และ (4) อัตราแลกเปลี่ยน อินเดียสามารถสงออกรถยนตได 15% ของปริมาณที่ผลิตได คือในป 2547 สงไดเพียง 120,000 คันเทานั้น ทําใหสามารถเห็นไดวาอินเดียผลิตรถยนตไดประมาณ 800,000 คันตอป และรถยนตท่ีสงออกเกือบท้ังหมดเปนรถขนาดเล็ก นอกจากนั้นอินเดียสงออกชิ้นสวนยานยนตในป 2547 เพียงแค US$ 800 ลาน แตหากลงทุนผลิตรถยนตในอินเดีย จะตองถูกบังคับใหใชช้ินสวนภายในประเทศ 50% ภายใน 3 ป และ 70% ภายใน 5 ป เพราะอินเดียใชนโยบายเนนใหใชช้ินสวนภายในประเทศ

อยางไรก็ดี หากผูผลิตช้ินสวนภายในประเทศไมสามารถทําคุณภาพและราคาไดตามความตองการของผูลงทุนตางชาติ ผูลงทุนนั้นก็สามารถใชช้ินสวนจากประเทศอื่นได (จากขอมูลการสัมภาษณและเอกสารพบวาบริษัท TATA STELL ซึ่งผลิตเหล็ก และบริษัท Bharet Forg ซึ่งผลิตเพลา สามารถผลิตช้ินสวนรถยนตไดในตนทุนที่ต่ําและมีคุณภาพ

ปจจัยท่ีสงผลกระทบตอการผลิตช้ินสวนยานยนตในอินเดีย คือระบบไฟฟา ระยะเวลาการขนสงไป ยังตลาด โรงงานผลิตแยกออกจากกันเปนหลายสถานที่ไมไดรวมกันอยูในบริเวณเดียวกัน ทําใหมีปญหา ดาน Logistic ของการจัดสงรวมกันของชิ้นสวน แตในอนาคตอันใกลปญหานี้จะหมดไปเพราะอินเดียกําลัง จะเสร็จสิ้น โครงการทางหลวงแหงชาติ ท่ีเรียกวา Golden Quadrilateral ซึ่งเชื่อมเมืองสําคัญตางๆ

อุตสาหกรรมยานยนตภายในประเทศอินเดียเติบโตมากขึ้นโดยผลพวงจากการใหสินเชื่อเพื่อการบริโภค อีกทั้งรัฐยังจัดใหอุตสาหกรรมนี้สามารถหักคาใชจายไดถึง 150% สําหรับอุปกรณเพื่อการวิจัยและพัฒนา

Page 48: บทที่ 2 ข อมูลประเทศอ ินเดีย - ThaiFTAบทท 2 ข อม ลประเทศอ นเด ย 2.1 ข อม ลท วไป1 2.1.1

กลยุทธการเจรจาจัดทําเขตการคาเสรี ไทย-อินเดีย

65

2.6.5 เงื่อนไขพิเศษเรื่องการโอนหรือจายเงินตราตางประเทศ ในการลงทุนตางชาติหรือ FDI นั้น นอกจากนักลงทุนจะถูกควบคุมโดยรัฐบาลกลาง RBI และ FIDB แลว ยังตองถูกควบคุมใหเปนไปตามที่ FEMA กําหนดไวอีกดวย หากวามีกิจการที่ตองโอนหรือจายหรือรับเงินตราตางประเทศ กลาวคือธุรกรรมการแลกเปลี่ยนเงินตรา หลักทรัพยตางประเทศ และอื่นๆ ท่ีเกี่ยวของ ใหทําไดเฉพาะธนาคารตามที่กําหนดไวในตาราง ผูไดรับอนุญาตใหทําธุรกรรมการแลกเปลี่ยนเงินตรา และธนาคาร Off-shore เทานั้น อินเดียไดเปลี่ยนอัตราแลกเปลี่ยนจาก 2 อัตรามาเปนอัตราเดียว เงินรูปใชอัตราแลกเปลี่ยนตามบัญชีเดินสะพัด (Current Account) โดยมีการควบคุมการแลกเปลี่ยนเงินตราสําหรับการทองเที่ยวและการเดินทาง แตสําหรับบัญชีเงินทุน (Capital Account) ผูลงทุนตางชาติสามารถแลกเปลี่ยนไดอยางเสรีท้ังเงินที่ไหลเขามาในตลาดหุนและการลงทุนโดยตรง อยางไรก็ดีผูลงทุนชาวอินเดียยังคงถูกควบคุมการแลกเปลี่ยนเงินตราในบัญชีเงินทุนเหลานี้ 2.6.6 เงื่อนไขพิเศษดานวิชาชีพที่ปรึกษาดานเทคนิคและการจัดการ FEMA กําหนดวาการประกอบวิชาชีพเปนที่ปรึกษาดานเทคนิคและการจัดการ หรือการกอตั้งธุรกิจในอินเดียซึ่งเปนการแตงตั้งบุคคลหรือตัวแทนหรือตัวแทนหรือนิติบุคคลท่ีมีถิ่นที่อยูนอกอินเดีย ไมวาจะเปน คนอินเดี ยหรือไมก็ตาม หรือบุคคลซึ่ งไม ใชคนอินเดี ยแตมีถิ่นที่ อยู ในอินเดีย หรือเปนบริษัท (นอกเหนือจากบริษัทดานธนาคาร) ซึ่งมิไดจดทะเบียนบริษัทภายใตกฎหมายอินเดีย หรือสาขาของบริษัทเชนวานั้น จะตองไมประกอบวิชาชีพท่ีปรึกษาในอินเดีย นอกจากจะไดรับอนุญาตเปนพิเศษของ RBI 2.6.7 มาตรการจูงใจการลงทุนตางชาติ

อินเดียมีมาตรการจูงใจดานภาษี (Tax incentive) สําหรับการลงทุนและการทําธุรกิจกับอนิเดียไวหลายกรณี1 ไดแก

• งานดานโครงสรางพื้นฐาน เชน ถนน ทาเรือ สะพาน ระบบทางรถไฟ โครงการชลประทาน สุขาภิบาล ระบบขจัดน้ําเสีย โดยใหปลอดภาษีเปนเวลา 5 ป แตตองเริ่มตนโครงการหลังจากเดือนเมษายน 2538 และหลังจากพนเวลาปลอดภาษีแลวในชวง 10 ปติดตอกันของเวลา 12 ป จะไดหัก 30% จากกําไร และสําหรับ การสรางถนนหลวง (Highway) จะไดถึง 20 ป

• ดานพลังงาน ปลอดภาษีใหเปนเวลา 5 ป จนถึงป 2003 และใหหัก 25% (หรือ 30% หากอยูในรูปบริษัท) จากกําไรสําหรับปตอๆ ไปอีก 5 ป

• ธุรกิจโทรคมนาคม มีระยะเวลาปลอดภาษี 5 ป จนถึงวันสิ้นเดือนมีนาคม 2543 และใหหัก 25 % (หรือ 30% หากอยูในรูปบริษัท) จากกําไรสําหรับปตอๆ ไปอีก 5 ป

• การจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรม มีระยะเวลาปลอดภาษี 5 ป ท่ีเริ่มตนจัดตั้งนับแตเดือนเมษายน 2540 ถึงมีนาคม 2545 และใหหัก 25 % (หรือ 30% หากอยูในรูปบริษัท) จากกําไรสําหรับปตอๆ ไปอีก 5 ป 1 http://finmin.nic.in/the_ministry/dep_eco_affairs/fipb/fipb_index.htm

Page 49: บทที่ 2 ข อมูลประเทศอ ินเดีย - ThaiFTAบทท 2 ข อม ลประเทศอ นเด ย 2.1 ข อม ลท วไป1 2.1.1

กลยุทธการเจรจาจัดทําเขตการคาเสรี ไทย-อินเดีย

66

• ดานการสงออก มีระยะเวลาปลอดภาษี 5 ป สําหรับการจัดตั้งศูนยเทคโนโลยีดานซอฟทแวร ฮารดแวร สําหรับบริษัทที่สงออก 100%

• การโอนเงินออกนอกประเทศสามารถทําไดภายในเวลาเพียงสามวัน • เงินปนผลสําหรับบริษัทตางชาติท่ีเขารวมทุนกับบริษัทอินเดีย ไมตองเสียภาษีภายใตมาตรา 10

(34) โดยไมมีการหักภาษี ณ ท่ีจาย • เขตเศรษฐกิจพิเศษ ไดรับการยกเวนภาษีสําหรับกําไรจากการสงออก และไดรับการลดภาษีจาก

รายไดท่ีเกิดจากการสงออก Computer software และจะลดใหบางสวนหรือเต็มจํานวนสําหรับรายได การแลกเปลี่ยนเงินตราตางประเทศและบริษัทกอสราง

• มาตรการจูงใจอื่นๆ เชน ภาษีสัมปทาน สําหรับนักลงทุนตางประเทศ ภาษีเงินที่ไดจากการวิจัยและพัฒนาทางวิทยาศาสตร รวมท้ังใหหักคาเสื่อมราคา (Depreciation allowance) ในสินทรัพยซึ่งใชในธุรกิจ ท้ังท่ีเปนสินทรัพยจับตองไดและที่จับตองไมได

• มีการใหปลอดภาระภาษีช่ัวคราว (Tax holidays and Concessions) ทําใหกําไรตางๆ ไมตองนํามาเสียภาษีในชวง 10 ป หรือใหหักภาษีได 30% จากกําไรเปนเวลา 10 ป อยางไรก็ดี ตองเปนธุรกิจ ดังตอไปนี้

o ดําเนินการเกี่ยวกับการพัฒนาและบํารุงรักษาโครงสรางพื้นฐาน o ผลิตสินคาในเขต EOUs และ STP Units ท่ีไดรับการสงเสริม 100% (ไมตองเสียภาษีจากกําไร 90%) o ผลิตสินคาในเขตที่ประกาศโดยรัฐบาลกลางหรือ SEZ ระหวาง 1 เมษายน 2540 ถึง 31 มีนาคม 2549 o ผลิตและจําหนายไฟฟาในชวงระหวาง 1 เมษายน 2536 ถึง 31 มีนาคม 2549 และดานการ

วางเครือขายการสงกระแสไฟฟาในชวงระหวาง 1 เมษายน 2542 ถึง 31 มีนาคม 2549 o อุตสาหกรรมที่ตั้งอยูในรัฐท่ีดอยพัฒนาและผลิตสินคาหรือประกอบการในโรงงานเกี่ยวกับ

หองเย็น ในชวงระหวาง 1 เมษายน 2536 ถึง 31 มีนาคม 2546 o อุตสาหกรรมที่ตั้งอยูในเมืองที่ดอยพัฒนาและผลิตสินคาหรือประกอบการในโรงงานเกี่ยวกับ

หองเย็น ในชวงระหวาง 1 ตุลาคม 2537 ถึง 31 มีนาคม 2547 o ธุรกิจขนาดเล็กที่เริ่มดําเนินกิจการในชวงระหวาง 1 เมษายน 2538 ถึง 31 มีนาคม 2545 ใหมี

สิทธิหักคาลดหยอนภาษีได 30% จากกําไรเปนระยะเวลา 10 ป o ธุรกิจโรงแรมที่ตั้งอยูในเขตที่กําหนดไวและเริ่มกิจการในชวงระหวางวันที่ 1 เมษายน 2540

ถึง 31 มีนาคม 2544 มีสิทธิหักคาลดหยอนภาษีได 50% จากกําไรเปนระยะเวลา 10 ป o ธุรกิจพัฒนาโครงการที่อยูอาศัยซึ่งไดรับการอนุมัติจากหนวยงานทองถิ่นกอน 31 มนีาคม 2548 และ

เริ่มพัฒนาและกอสรางภายหลังจาก 1 ตุลาคม 2541 ไดสิทธิหักคาลดหยอนภาษีได 100% จากกําไร นอกจากนั้น นักลงทุนอาจไดรับประโยชนจากการที่อินเดียมีความตกลงวาดวยอนุสัญญาภาษีซอน (Double Tax Avoidance Agreement) กับหลายประเทศมากกวา 80 ประเทศ รวมท้ังประเทศไทยดวย เชน เยอรมัน กรีซ ฮังการี อินโดนีเซีย อิหราน อิสราเอล อิตาลี ญ่ีปุน คาซัคสถาน เคนยา เกาหลี คูเวต โรมาเนีย รัสเซีย อราเบียใต สิงคโปร แอฟริกาใต ฟนแลนด ฝรั่งเศส โปแลนด โอมาน ปากีสถาน ฟลิปปนส เวียตนาม เยเมน จีน แซมเบีย ไซปรัส แคนาดา สหรัฐอเมริกา เลบานอน มาเลเซีย มอริเชียส เนปาล เนเธอรแลนด นิวซีแลนด เชคโกสโลวาเกีย นอรเวย อยางไรก็ดี ในทางปฏิบัติ การไดรับประโยชนจากอนุสัญญาภาษีซอนที่ประเทศไทยไดตกลงไวกับอินเดียนั้น ยังมีความยุงยากและลําบากเมื่อเรียกคืนภาษี (Refund)

Page 50: บทที่ 2 ข อมูลประเทศอ ินเดีย - ThaiFTAบทท 2 ข อม ลประเทศอ นเด ย 2.1 ข อม ลท วไป1 2.1.1

กลยุทธการเจรจาจัดทําเขตการคาเสรี ไทย-อินเดีย

67

มาตรการจูงใจดานอื ่นที่มิใชภาษี นอกเหนือจากมาตรการจูงใจการลงทุนตางชาติในดานภาษี (Tax incentive) ดังกลาวแลว อินเดียยังใชมาตรการจูงใจอื่นอีกหลายประการ อาทิเชน

อนุญาตใหสงเงินทุนและผลกาํไรกลับประเทศได แตตองถือตามอัตราการแลกเปลี่ยนเงินตราตางประเทศ

อนุญาตใหใชตราสินคาตางประเทศได ตลาดทุนของอินเดียเปดโอกาสใหสถาบันการลงทุนตางประเทศเขามาลงทุนได อนุญาตใหบริษัทของอินเดียสามารถเพิ่มทุนจากตลาดทุนตางประเทศได ยกเลิกเงื่อนไขความสมดุลของเงินปนผล (Dividend balancing) ในกิจการดานอุปโภคบริโภค

22 รายการ รวมทั้งเงื่อนไขการกําหนดการลงทุนตางชาติในสาขาพลังงาน (Power Sector) โดยผานชองทางอัตโนมัติ

ใหสิทธิประโยชนเปนพิเศษแกนักลงทุนที่ลงทุนในเขตสงเสริมการลงทุน เชน EOU / EPZ/ STP/ PEX/EHTP/SEZ

2.6.8 SEZ: Special Export Zone SEZ เปนเขตสงออกพิเศษที่ตั้งขึ้นเพื่อสนับสนุนการลงทุนจากตางประเทศ สงเสริมการสงออก

และพัฒนาอุตสาหกรรมและธุรกิจภายในประเทศใหสามารถแขงขันกับชาวโลก SEZ ตั้งขึ้นเมื่อเดือนเมษายน 2543 โดยกําหนดใหเปนเขตปลอดภาษี ปลอดจากกฎระเบียบ

เรื่องการนําเขาสงออก ใหสามารถนําเขาสินคาทุนและวัตถุดิบเขามาเพื่อการผลิตเพื่อสงออกไดโดยไมตองเสียภาษี และยังสามารถนําเขาและสงออกวัตถุดิบจากเขต Domestic Tariff Area ไดโดยไมตองเสียภาษีสรรพสามิตดวย

SEZ ครอบคลุมอาณาเขตของนักลงทุนตางชาติ เพื่อวัตถุประสงคจะกระตุนการลงทุนตางประเทศทั้งในดานอุตสาหกรรมการผลิต การพาณิชย และการบริการดานการเงิน และเอื้อใหตนทุนดานสินคา การขนสงสินคา คลังสินคา Logistics สามารถแขงขันไดในตลาดโลก

SEZ มีโครงสรางมาตรฐานและการนําเขาสูตลาดแรงงานที่มีฝมือ มีคุณภาพสูง เอื้อประโยชนแกธุรกิจ ลดขั้นตอนในการดําเนินงาน ไมมีการตรวจสอบโดยศุลกากร และปลอดจากการแทรกแซงของรัฐบาล

การขายใหแกบริษัทในเขต SEZ ใหถือเปนการสงออก ซึ่งจะทําใหผูผลิตภายในประเทศสามารถรองขอการยกเวนภาษีการบริการได

อุตสาหกรรมการเกษตรและพืชสวนที่ตั ้งอยูในเขตนี้ จะไดรับการอนุญาตใหนําวัตถุดิบและอุปกรณเพื่อการผลิตเขาไปสงใหแกเกษตรกรที่อยูนอกเขตสงเสริมฯ เพื่อสงเสริมการผลิตตามความตองการของประเทศ ผูนําเขา ซึ่งชวยการผลิตและการแปรรูปในเขตเศรษฐกิจพิเศษ

ผูเดินทางไปตางประเทศสามารถนําสินคาท่ีผลิตในเขตนี้ออกไปได ผูลงทุนใน SEZ สามารถรับงานจากตางประเทศและสงออกจากจุดนั้นได

Page 51: บทที่ 2 ข อมูลประเทศอ ินเดีย - ThaiFTAบทท 2 ข อม ลประเทศอ นเด ย 2.1 ข อม ลท วไป1 2.1.1

กลยุทธการเจรจาจัดทําเขตการคาเสรี ไทย-อินเดีย

68

ผอนผันกฎระเบียบเรื่องการนําสงเงินตราตางประเทศที่ไดจากการสงออกสินคา รวมทั้งการไดรับอนุญาตใหสงกําไรกลับประเทศไดโดยไมมีขอกําหนดในดาน Dividend balancing

เศษเพชรพลอยที่เหลือจากการทําเครื่องประดับและอัญมณีในเขต SEZ และนอกเขต อนุญาตใหแลกเปลี่ยนไดโดยไมตองเสียภาษี รวมทั้งผูสงออกอัญมณีและเพชรพลอยสามารถเปดบัญชีเปนสกุลเงินดอลลารเพื่อสนับสนุนการซื้อขาย และตั้งตัวแทนเพื่อรับการจายเงินในสกุลดอลลารสําหรับการนําเขาโลหะท่ีมีคา

อนุญาตใหสงออกและการนําเขาผานทางไปรษณียหรือผูขนสงสินคาได มูลคาของสินคาทุนที่นําเขา สามารถที่จะนํามาหักคาเสื่อมราคาได 10 ป เงินที่ตองจายในการนําเขา สามารถนําไปคํานวณเปนทุนได การสงออกและนําเขา สามารถนําเงินมาหักกลบกันไดมากกวาหนึ่งป แมวาสินคาในเขตนี้จะไมสามารถขายไดโดยทั่วไปในตลาด แตก็สามารถขายไดในการจัด

นิทรรศการ รานปลอดภาษี หรือรานในตางประเทศ สินคาท่ีนําเขาเพื่อใชในการปฏิบัติการหรือซอมบํารุงเพื่อการผลิตใน SEZ ไมตองเสียภาษีนําเขา FDI สําหรับการพัฒนาเมืองหลักใน SEZ ท้ังท่ีอยูอาศัย การศึกษา การดูแลสุขภาพและสันทนา

การจะไดรับอนุญาตเปนกรณีๆ ไป อินเดียอนุมัติการจัดตั้งเขต SEZ จํานวน 35 แหง แตท่ีดําเนินการไปแลวมีเพียง 8 แหง คือ

(1) SEEPZ Special Economic Zone, Development Commissioner, SEEPZ, Andheri (East)Mumbai-400096

(2) Kandla Special Economic Zone, Development Commissioner KSEZ, Gandhidham, Kachchh (3) Cochin Special Economic Zone, Development Commissioner, CSEZ, Kakkanad, Cochin –

682030 (4) Madras Special Economic Zone, Development Commissioner, MEPZ Special Economic

Zone, National Highway 45, Tambaram,Chennai-600045 MEPZ CHENNAI (5) Visakhapatnam Special Economic Zone, Development Commissioner, VSEZ, Duvvada,

Visakhapatnam, 530046 (6) Falta Special Economic Zone, Development Commissioner, FSEZ, M.S.O Building,

4th Floor, Nizam Palace, Kolkata-700020 (7) Noida Export Processing Zone, Development Commissioner, NSEZ, Noida Dadri Road,

Phase-II, Noida District, Gautam Budh Nagar-201305 (U.P.) (8) Surat Special Economic Zone, Development Commissioner, Surat Special Economic Zone

Diamond Park, SachinSurat-394230

Page 52: บทที่ 2 ข อมูลประเทศอ ินเดีย - ThaiFTAบทท 2 ข อม ลประเทศอ นเด ย 2.1 ข อม ลท วไป1 2.1.1

กลยุทธการเจรจาจัดทําเขตการคาเสรี ไทย-อินเดีย

69

รายชื่อและที่ต้ังของ SEZ อีก 27 แหง

รายชื่อ ท่ีต้ัง 1. Manikanchan, Salt Lake SEZ -

(Kolkata) Since commenced exports) Salt Lake SEZ

West Bengal Industrial Development Corporation Ltd.,5, Council House Street, Kolkata-700001

2. Indore SEZ - (Madhya Pradesh) (Ready for operation)

Indore Special Economic Zone 3/54, Press Complex, Free Press Home, H.B. Road, Indore-452008

3. Moradabad SEZ - (Kanpur)

(Ready for operation)

Moradabad Special Economic Zone Managing Director,

U.P. State Industrial Development Corporation Ltd., UPSIDC Complex A-1/4, Lakhanpur,

Kanpur-208024 Uttar Pradesh) 4. Sitapura SEZ - (Jaipur)

(Ready for operation)

Sitapura SEZ Jaipur Chairman cum Managing Director

Rajasthan State Industrial Development & Investment Corporation Ltd., (RIICO)Udyog Bhawan, Tilak Marg

Jaipur-302005 5. Bornada SEZ

(Jaipur)

(Ready for operation)

Bornada SEZ Jodhpur Chairman cum Managing Director

Rajasthan State Industrial Development & Investment Corporation Ltd., (RIICO)Udyog Bhawan, Tilak Marg

Jaipur-302005 6. Kopata, Maha Mumbai SEZ

(Mumbai)

Maha Mumbai SEZ Gujarat Positra Port Infrastructure Ltd.,

Pipavav House, 209 Bank Street Cross Lane, Off Shahid Bhagat Singh Road,

Fort Mumbai-400023 7. Positra SEZ

(Gujarat) Gujarat Positra Port Infrastructure Ltd.,Pipavav House, 209 Bank

StreetCress Lane,Off Shahid Bhagat Singh Road Fort, Mumbai-400023

8. Nanguneri SEZ

(Tamil Nadu)

Chairman cum Managing Director,Tamil Nadu & Industrial Development Corporation,

19-A Lakshmipathy Road, Egmore Chennai-600008

9. Hassan SEZ (Karnataka) Karnataka Industrial Areas Development Board, 14/3 2nd Floor R.P. Building Nrupathunga Road, Banagalore 560 001

10. Navi Mumbai SEZ Vice Chairman and Managing Director City & Industrial Development

Corporation of Maharashtra Ltd., Nirmal, 2nd Floor, Nariman Point, Mumbai-400021

11. Bhadohi SEZ (Uttar Pradesh) Managing Director, U.P. State Industrial Development Corporation Ltd., UPSIDC Complex A-1/4,

Lakhanpur, Kanpur-208024

Page 53: บทที่ 2 ข อมูลประเทศอ ินเดีย - ThaiFTAบทท 2 ข อม ลประเทศอ นเด ย 2.1 ข อม ลท วไป1 2.1.1

กลยุทธการเจรจาจัดทําเขตการคาเสรี ไทย-อินเดีย

70

รายชื่อ ท่ีต้ัง 12

Kanpur SEZ (Uttar Pradesh)

3 Managing Director, U.P. State Industrial Development Corporation Ltd.,

UPSIDC Complex A-1/4, Lakhanpur, Kanpur-208024

13. Greater Noida (U.P) Greater

Noida Development AuthorityH-169, Chitvan Estate, Sectors GrammaGreater Noida City, District G.B. Nagar, U.P.

14. Visakhapatanam SEZ (Andhra Pradesh)

A.P. Industrial Infrastructure Corporation Ltd., Parisrama Bhavanam, 6th Floor, 5-9-58/B, Fateh Maidan RoadHyderabad-500004

15. Kakinada SEZ (Andhra Pradesh)

Kakinada Sea Port Ltd., 2nd Floor, Port Administrative Building Beach Road, Kakinada-533007

16. Paradeep SEZ (Orissa)

Managing Director, Industrial Development Corporation of Orissa (IDCO) IDCO Tower Janpath, Bhuvaneshwar

Bhuvaneshwar- 751001

17. Gopalpur SEZ (Orissa)

Managing Director, Industrial Development Corporation of Orissa (IDCO) IDCO Tower Janpath, Bhuvaneshwar

Bhuvaneshwar- 751001

18. Kulpi SEZ (West Bengal)

West Bengal Industrial Development Corporation Ltd., 5, Council House Street, Kolkata-700001

19. Vallarpadam/ Puthvypeen (Kerala)

Cochin Port Trust Willington Island, Cochin Ltd.

20. Noida (UP) Export Promotion Council for Handicrafts EPCH House, Pocket 6&7, Sector-C, Local Shopping Centre Vasant Kunj New Delhi 110070

21. Baikampady (Karnataka) Kanara Chamber of Commerce and Industries Chamber Building P.B.No.116, Bunder Managalore 575 001

22. Dahej SEZ (Gujarat) Gujarat Infrastructure Development Corporation Udyog Bhavan, Block No.4, Sector 11 Gandhinagar 382017

23. Ennore (Tamil Nadu) Chairman Cum Managing Director,Tamil Nadu & Industrial Development Corporation, 19-A Lakshmipathy Road,

Egmore, Chennai-600008 24. Mundra SEZ (Gujarat) Mundra Special Economic Zone, Adani House, Near Mithakhali Six

Roads, Navarangpura, Ahmedabad – 380 009 25. Ranchi SEZ (Jharkhand) Randhi Industrial Area Development Authority RIADA Bhavan,

Main Road, Ranchi – 834 001 26 Calcutta Leather Complex (Kolkata) M/s M L Dalmiya & Company Ltd., 32, Shakespeare Sarani,

Kolkata – 700 017 27 Mahindra City SEZ Mahindra Industrial Park Limited, Arjay Apex Centre,

24 College Road, Chennai – 60006

Page 54: บทที่ 2 ข อมูลประเทศอ ินเดีย - ThaiFTAบทท 2 ข อม ลประเทศอ นเด ย 2.1 ข อม ลท วไป1 2.1.1

กลยุทธการเจรจาจัดทําเขตการคาเสรี ไทย-อินเดีย

71

2.6.9 EOU – Export Oriented Unit อุตสาหกรรมการเกษตรและพืชสวนที่ตั้งอยูในเขตนี้ จะไดรับการอนุญาตใหนําวัตถุดิบและ

อุปกรณเพื่อการผลิตเขาไปสงใหแกเกษตรกรที่อยูนอกเขตสงเสริมฯ เพื่อสงเสริมการผลิตตามความตองการของประเทศผูนําเขา ซึ่งชวยการผลิตและการแปรรูปในเขตเศรษฐกิจพิเศษ

ใหถือวา EOU เปนผูจัดหาเงินตราตางประเทศ จึงไมตองคํานึงถึงผลสําเร็จของการสงออกของผูผลิต ผูโดยสารไปตางประเทศสามารถนําสินคาท่ีผลิตในเขตนี้ออกไปได เพื่อเปนการสงเสริมการคา

การทองเที่ยวและการสงออก มูลคาของสินคาทุนที่นําเขา สามารถที่จะนํามาหักคาเสื่อมราคาได 10 ป วัตถุดิบที่นํามาผลิตในเขตฯ นี้ มีระยะเวลาการใช เพิ่มข้ึนจาก 1 ป เปน 3 ป การผลิตอัญมณีและเครื่องประดับ สามารถวาจางการผลิตนอกเขตฯ ได เศษเพชรพลอยที่เหลือจากการทําเครื่องประดับและอัญมณี ในเขตและนอกเขต อนุญาตให

แลกเปลี่ยนไดโดยไมตองเสียภาษี อนุญาตใหสงออกและการนําเขาผานทางไปรษณียหรือผูขนสงสินคาได แมวาสินคาในเขต นี้ จะไมสามารถขายไดโดยทั่วไปในตลาด แตก็สามารถขายไดในการจัด

นิทรรศการ รานปลอดภาษี หรือรานในตางประเทศ เครื่องเพชรพลอยที่ผลิตในเขตฯ นี้สามารถขายลวงหนาในตลาดภายในประเทศได

2.6.10 EPCG – Export Production of Capital Goods อนุญาตใหนําเขาสินคาทุนสําหรับกอนการผลิตและหลังการผลิต หนาท่ีในการสงออกจะตองเชื่อมโยงกับภาษีท่ีประหยัด (Duty Saved) ได โดยตองมีมูลคา

การสงออก 8 เทาของภาษีท่ีประหยัดได เพื่อพัฒนาโรงงานและเครื่องจักร การนําเขาอะไหลใหทําได ผูผลิตสินคาสามารถเลือกผลิตไดหลากหลายมากขึ้นตามความตองการของตลาด สินคาทุนสามารถนํามาหักคาเสื่อมราคาได 10 ป เพื่อสงเสริมการเพิ่มมูลคาการสงออก จึงยกเลิกเงื่อนไขในเรื่องหนาท่ีการสงออกซึ่งกําหนดให

ตองสงออกสินคาในระดับที่สูงข้ึน 50% เฉพาะการนําเขาสินคาทุนเพื่อจัดตั้งหนวยซอฟทแวร สามารถนํามูลคาสินคาทุนที่นําเขาไปรวม

กับมูลคาสินคาสงออก เพื่อใหครบจํานวนมูลคาการสงออกตามหนาท่ีซึ่งกําหนดไว คาสิทธิ และคาทดสอบมาตรฐานที่ไดรับจากตางประเทศ สามารถนําขาไปรวมกับมูลคาสินคา

สงออกเพื่อใหครบจํานวนมูลคาการสงออกตามหนาท่ีซึ่งกําหนดไว

Page 55: บทที่ 2 ข อมูลประเทศอ ินเดีย - ThaiFTAบทท 2 ข อม ลประเทศอ นเด ย 2.1 ข อม ลท วไป1 2.1.1

กลยุทธการเจรจาจัดทําเขตการคาเสรี ไทย-อินเดีย

72

2.6.11 ปจจัยในการตัดสินใจลงทุนตางชาติในอินเดยี กลาวไดวา อินเดียเปนประเทศที่นาสนใจสําหรับนักลงทุนได เพราะปจจัยหลายประการ ไดแก

(1) ดานทําเลและประชากร อินเดียเปนประเทศที่มีเศรษฐกิจที่ใหญประเทศหนึ่งของโลก มีทําเลท่ีตั้งท่ีเหมาะสม เพราะมีท้ังตลาดภายในที่ใหญมากและสามารถเชื่อมตอไปยังเอเชียใตได จากการที่มีจํานวนประชากรมาก ทําใหความตองการสินคาอุปโภคบริโภคสูงและตลาดขยายตัวเร็วมาก โดยเฉพาะอยางยิ่งตลาดของสินคา Brand name คาดวาจะโตถึง 8% ตอป นอกจากนั้นอินเดียเปนแหลงวัตถุดิบ แรธาตุ และเกษตรกรรม เปนหนึ่งในดานอุตสาหกรรมที่ใหญของโลก ซึ่งครอบคลุมเกือบทุกดานของอุตสาหกรรม จึงทําใหอินเดียเปนแหลงดึงดูดนักลงทุนจากทั่วโลก

(2) ดานนโยบายการคาเสรีและการสงเสริมการลงทุน อินเดียมีนโยบายที่เปดมากขึ้น ใหเสรีภาพใน การลงทุน และสนับสนุนดานสถานที่ เทคโนโลยี การผลิต นําเขาและสงออก มีระบบดานกฎหมายและบัญชีท่ีดี มีระบบ R&D ดานเทคนิคและการตลาด มีเงินสกุลรูปท่ีมีคาสามารถนําไปใชแลกเปลี่ยนในตลาดเงินตราตางประเทศได เปนตลาดการลงทุนขนาดใหญท่ีมีมากกวา 9,000 บริษัทที่อยูในตลาดหุน ซึ่งมีเงินลงทุนรวม US$ 154 พันลาน และเปดโอกาสใหนักลงทุนตางชาติอยางเต็มท่ี แมวาจะตองมีการขออนุมัติ แตก็มีถึง 60 รายการ ท่ีสามารถอนุมัติไดโดยผานชองทางอัตโนมัติ ไดรับการยกเวนการเสียภาษีศุลกากรในผลผลิตทางอุตสาหกรรม และไดรับยกเวน 100% ในหนวยท่ีผลิตเพื่อการสงออกและที่ตั้งอยูในเขต EPZ รวมท้ังมีภาษีบริษัทสําหรับประเทศที่มีขอตกลงกัน ทําใหหลีกเลี่ยงปญหาการเสียซ้ําซอน และผูเสียภาษีมีสิทธิเลือกเสียภาษีในประเทศที่กําหนดอัตราต่ํากวาก็ได นอกจากนั้นอินเดียยังใชระบบ DEPB (Duty Entitlement Passbook) เพื่อชวยใหผูลงทุนสามารถสงออกสินคาไดสะดวกยิ่งข้ึนอีกดวย

(3) ดานศักยภาพทรัพยากรมนุษย อินเดียมีความพรอมดานบุคคลการที่มีทักษะ และเปนมืออาชีพ ในอัตราคาจางที่แขงขันได มีการใชภาษาอังกฤษอยางแพรหลายและเขาใจกันไดดี มี Brand Name ท่ีสามารถใชไดอยางอิสระในอินเดีย และไมตองเสียภาษีรายไดในกําไรท่ีเกิดจากการสงออก ปจจุบัน รัฐบาลมีนโยบายเปดการลงทุนตางชาติเพิ่มมากขึ้นอีก โดยกําหนดสัดสวนการลงทุนโดยตรงของตางชาติใหมดวยการยินยอมใหลงทุนไดถึง 100% สําหรับกิจการทุกประเภท โดยเฉพาะอยางยิ่งในโครงการลงทุนดานโครงสรางพื้นฐาน กิจการกลั่นน้ํามัน และกิจการ B to B E-commerce อยางไรก็ดี มีอุตสาหกรรมและบริการเฉพาะอยางที่อินเดียกําหนดไวมิใหลงทุนไดเต็ม 100% โดยกําหนดสัดสวนการลงทุนลดหลั่นกันไปตามแตละประเภทกิจการตามแนวทางการลงทุนของอินเดีย ซึ่งมีผลบังคับใชตั้งแตเดือนมีนาคม 2547 ดังรายละเอียดในตารางที่ 2.6 และ 2.7

Page 56: บทที่ 2 ข อมูลประเทศอ ินเดีย - ThaiFTAบทท 2 ข อม ลประเทศอ นเด ย 2.1 ข อม ลท วไป1 2.1.1

กลยุทธการเจรจาจัดทําเขตการคาเสรี ไทย-อินเดีย

73

ตารางที่ 2.6 เงื่อนไขสัดสวนการลงทุนตางชาติในภาคอุตสาหกรรม ลําดับ ประเภทอุตสาหกรรม แนวทางการลงทุน 1 ปโตรเลียม

(ยกเวนการกลั่นน้ํามัน) ปโตรเลียม (การกลั่นน้ํามัน)

a. ลงทุนผานชองทางอัตโนมัติได 100% ในการสํารวจน้ํามันทั้งในแหลงน้ํามันที่มีขนาดเล็กและกลาง ภายใตเงื ่อนไขและนโยบายรัฐบาลในเรื่องการมีสวนรวมของภาคเอกชน ในเรื่องการสํารวจน้ํามันและแหลงน้ํามันที่คนพบของบริษัทน้ํามันแหงชาติ

b. ลงทุนผานชองทางอ ัตโนมัต ิได 100% ในเรื ่องการตลาดด านผลิตภัณฑปโตรเลียม และเรื ่องทอสงน้ํามัน แตตองอยู ภายใตเงื่อนไขดานนโยบายและกฎระเบียบที่เกี่ยวของ

c. ลงทุนผานชองทางอัตโนมัติได 100% ผานการอนุมัติจากรัฐบาลเกี่ยวกับกาซธรรมชาติและทอสงกาซ LNG

d. บริษัทลูกที่บริษัทแมถือหุน100% จะไดรับการอนุญาตใหศึกษาตลาดภายใตชองทางที่ FIPB กําหนดไว และไดรับการอนุญาตใหลงทุนและดูแลเรื่องการเงินตามชองทางที่ FIPB กําหนดไว

--------------------------------------------------- ----------------- ลงทุนไดไมเกิน 26% โดยรวมกับหนวยงานของรัฐที่ถือหุน 26% และอีก 48% ที่เหลือตองกระจายหุนใหแกบุคคลทั่วไป ทั้งนี้ไมสามารถผานชองทางอัตโนมัติได *บริษัทเอกชนอินเดีย ถือหุนไดเต็ม 100% และไดสิทธิผานชองทางอัตโนมัติ

2 บานและที่ดิน (Housing and Real Estate)

ลงทุนไดถึง 100% โดยการอนุมัติจากรัฐบาล เฉพาะในการพัฒนาเมืองและตั้งถิ่นฐานเทานั้น NRI ลงทุนไดในกิจการดังตอไปนี้ a. การพัฒนาการวางแผนและการสรางที่อยูอาศัย b. การลงทุนในอสังหาริมทรัพย ซึ่งรวมถึงที่อยูอาศัยและอาคาร

พาณิชย ศูนยกลางธุรกิจและสํานักงาน c. การพัฒนาเมืองใหม d. การสรางโครงสรางพื้นฐานในเมือง ถนน และสะพาน e. การลงทุนในเรื่องของอุตสาหกรรมวัสดุกอสราง (ไดสิทธิ FDI) f. การลงทุนในกิจการรวมคาในกิจการตามขอ a.-e. *การลงทุนในสถาบันการเงินเพื่อที่อยูอาศัย (ไดสิทธิ FDI และ NBFC)

3 ถานหินและลิกไนท (Coal and Lignite)

a. บริษัทเอกชนอินเดียซึ่งมีกิจการดานการพลังงานและเหมืองถานหินและลิกไนทเพื่อใชในการผลิต ไดรับอนุญาตใหลงทุนได 100%

b. ลงทุนได 100% ในการตั้งโรงงานผลิตถานหินภายใตเงื่อนไขวาบริษัทนี้ตองไมทําเหมืองถานหินและตองขายถานหินที่ผลิตไดใหเฉพาะกับโรงงานเทานั้น และจะขายใหกับตลาดทั่วไปไมได

c. ลงทุนไดถึง 74% สําหรับกิจการสํารวจหรือทําเหมืองถานหินและลิกไนทเพื่อใชในอุตสาหกรรม

d. การอนุญาตใหลงทุนตางชาติ อาจทําไดโดยผานชองทางอัตโนมัติตอเมื่อเปนการลงทุนไมเกิน 50% และภายใตเงื่อนไขวาตองไมเกิน 49% ของทุนรวมทั้งหมดของหนวยงานภาครัฐ

Page 57: บทที่ 2 ข อมูลประเทศอ ินเดีย - ThaiFTAบทท 2 ข อม ลประเทศอ นเด ย 2.1 ข อม ลท วไป1 2.1.1

กลยุทธการเจรจาจัดทําเขตการคาเสรี ไทย-อินเดีย

74

ลําดับ ประเภทอุตสาหกรรม แนวทางการลงทุน 4 การรวมลงทุน

(Venture Capital) บริษัทรือกองทุน Offshore Venture Capital จะไดรับอนุญาตใหลงทุนในประเทศและสามารถทํากิจการเชนเดียวกับบริษัทอื่นๆ โดยผานชองทางอัตโนมัติ ทั ้งนี ้จะตองเปนไปตามกฎระเบียบของ SEBI Company (VCC) และตามที่กําหนดสําหรับ FDI ใน Venture Capital

5 การคา (Trading) ลงทุนไดถึง 51% เฉพาะการคาเพื่อการสงออก และตองเปนกิจการ export house/ trading house/ super trading house/ star trading house โดยตองอยูในชองทางของ FIPB a. อนุญาตใหลงทุนตางชาติได 100% เฉพาะธุรกิจดังตอไปนี้

1. การสงออกสินคาที่ตองขนถายไวในคลังสินคาเฉพาะเพื่อการสงออกมิใชเพื่อจําหนายในประเทศ

2. การขายสง 3. การนําเขาสินคาและบริการอยางนอยที่สุด 75% สําหรับการจัดซื้อ

จัดจางและการขายระหวางบริษัทในกลุมเดียวกัน b. การคาประเภทตอไปนี้จะไดรับอนุญาต

1. บริษัทที่มีบริการหลังการขาย 2. การคาภายในประเทศในสินคาของกิจการรวมคากับบริษัทอินเดีย

จะไดรับอนุญาตในระดับเดียวกับการขายสง หากไดทําการตลาดในนามของกิจการรวมคานั้น

3. การคาสินคาที่เปนเทคโนโลยีช้ันสูงที่ตองการความชํานาญพิเศษของบริการหลังการขาย

4. การคาสินคาดานสังคม (Trade of items for social sector) 5. การคาสินคาเทคโนโลยีช้ันสูงเกี่ยวกับยาและการรักษาโรค 6. การคาสินคาของธุรกิจขนาดเล็ก ที่มีพื้นฐานของการใชเทคโนโลยี

ที่มีขอกําหนดเรื่องคุณภาพ และเปนบริษัทที่สามารถทําการตลาดภายใตตราสินคาตนเอง

7. เปนแหลงผลิตสินคาภายในประเทศเพื่อการสงออก 8. การตรวจสอบตลาดกอนนําสินคาที่ผลิตออกเปนจําหนาย เปนเวลา

ไมเกิน 2 ป และลงทุนผลิตสินคาที่ตรวจสอบนั้นในเวลาเดียวกัน ลงทุนตางชาติไดถึง 100% สําหรับการทํา E-Commerce ภายใตเงื่อนไขวาบริษัทนั้นตองกระจายหุน 26% ใหกับคนอินเดียภายใน 5 ป โดยบริษัทนั ้นตองจดทะเบียนบริษัทที ่ประเทศอื ่น และทําธ ุรกิจ E-Commerce ประเภท B to B เทานั้น ไมใชเปนการขายปลีก เพราะอินเดียไมอนุญาตใหลงทุนในการขายปลีก

6 โครงสรางพื้นฐานและการบริการ (Investing Company Infrastructure/ Service Sector)

ตางชาติลงทุนไดไมเกิน 49% ภายใตเงื่อนไขวาคนอินเดียตองเปนผูบริหารจัดการและเปนเจาของ และไมไดรับอนุญาตใหผานชองทางอัตโนมัติ

7 แรกัมมันตภาพรังสี (Atomic Minerals)

FDI/NRI ไดรับอนุญาตใหลงทุนไดในกิจกรรมตอไปนี้ ภายใตการอนุมัติของ FIPB คือ

Page 58: บทที่ 2 ข อมูลประเทศอ ินเดีย - ThaiFTAบทท 2 ข อม ลประเทศอ นเด ย 2.1 ข อม ลท วไป1 2.1.1

กลยุทธการเจรจาจัดทําเขตการคาเสรี ไทย-อินเดีย

75

ลําดับ ประเภทอุตสาหกรรม แนวทางการลงทุน a. การทําเหมืองและการแยกแร b. การเพิ่มมูลคาใหกับผลิตภัณฑในขอ a. c. กิจกรรมทั้งปวงที่เกี่ยวของกับขอ a และ b. ทั้งนี้ภายใตหลักเกณฑตอไปนี้ a. ลงทุนไมเกิน 74% ในกิจกรรมตาม ขอ b และขอ c b. กิจกรรมตาม b และ c ที่สรางมูลคาเพิ่มขึ้นอีกจนถึงขั้นกอนเปน

สินคา ลงทุนได 74% ในรูปของกิจการรวมคากับหนวยงานรัฐ และตองมีสัดสวนการลงทุนในแตละหนวยงานไมนอยกวา 26 %

c. กรณีที่ไดรับการยกเวนมากกวา 24% จะไดรับอนุญาตใหลงทุนตางชาติไดภายใตเงื่อนไขวาตองผาน Atomic Energy Commission กอนที่จะสงให FIPB อนุมัติ

8 อุตสาหกรรมยุทธศาสตรและการปองกันประเทศ (Defence&Strategic Ind.)

FDI/NRI ไดรับอนุญาตใหลงทุนได 26% แตตองไดรับอนุญาตจากรัฐบาล ตองไดรับใบอนุญาต (Licensing) และตามเงื่อนไขคุณสมบัติดานความมั่นคง

9 การเกษตร และการเพาะปลูก (Agriculture including Plantation)

ไมอนุญาตให FDI/NRI ในภาคเกษตร ยกเวนเปนอุตสาหกรรมเกี่ยวกับชาและการเพาะปลูกชาซึ่ง FDI ได 100% โดยการอนุมัติจากรัฐบาล และตองกระจายหุน 26% ใหกับคนอินเดียภายใน 5 ป

10 สื่อสิ่งพิมพ (Print Media) การลงทุนตองไดรับการอนุมัติจากรัฐบาลกอน ภายใตเงื่อนไขตอไปนี้ -FDI ไดถึง 100% สําหรับการลงทุนในกิจการสิ่งพิมพที่เผยแพรดานวิทยาศาสตรและเทคโนโลยี -FDI ได 26% ในสิ่งพิมพวารสารเกี่ยวกับขาว ภายใตเงื่อนไขการตรวจสอบคุณสมบัติของนักลงทุนตางประเทศกอน และบรรณาธิการ และ ผูบริหารตองเปนคนอินเดีย อีกทั้งตองทําใหมั่นใจในความเทาเทียมกันของคนอินเดียดวย

11 ยาและเกี่ยวกับเภสัชภัณฑ (Drugs & Pharmaceuticals)

FDI ไดถึง 100% โดยผานชองทางอัตโนมัติได สําหรับการผลิตยาและเวชภัณฑ โดยมีเงื่อนไขวากิจกรรมนั้นตองไมเปนการขัดตอการออกใบอนุญาตโดยกฎหมายบังคับ (Compulsory Licensing) หรือเกี่ยวกับการใชเทคโนโลยีการรวม DNA และเนื้อเยื่อพิเศษ (Specific cell) และสูตร (Targeted formulations) *การรองขอของ FDI เพื่อการผลิตยาและเวชภัณฑที่สามารถขอใบอนุญาตไดนั้น จะตองไดรับการอนุมัติจากรัฐบาลกอน

12 การทําเมืองแร (Mining) a. FDI ไดถึง 74% โดยผานชองทางอัตโนมัติสําหรับการสํารวจและทําเหมืองเพชร และอัญมณี

b. FDI ไดถึง 100% โดยผานชองทางอัตโนมัติสําหรับการสํารวจและทําเหมืองทองและเงิน การแยกโลหะออกจากแรและกระบวนการที่เกี่ยวของ

c. ไมอนุญาตใหจัดตั้งบริษัทลูกที่ถือหุนโดยบริษัทแม100% ในกิจการที่เกี่ยวของกับการทําเหมืองแร โดยขึ้นอยูกับการแสดงหลักฐานของผูขออนุญาตวาไมไดมีกิจการรวมคาใดๆในพื้นที่และหรือการทําเหมืองแรประเภทเดียวกัน (ตาม Press Note No.18 (2541 series) 14.12.98)

Page 59: บทที่ 2 ข อมูลประเทศอ ินเดีย - ThaiFTAบทท 2 ข อม ลประเทศอ นเด ย 2.1 ข อม ลท วไป1 2.1.1

กลยุทธการเจรจาจัดทําเขตการคาเสรี ไทย-อินเดีย

76

ตารางที่ 2.7 เงื่อนไขสัดสวนการลงทุนตางชาติในภาคบริการ ลําดับ ประเภทอุตสาหกรรม แนวทางการลงทนุ 1 ภาคธนาคารเอกชน

Non Banking Financial Companies (NBFC)

ธุรกิจประกัน (Insurance)

อนุญาตใหลงทุนไดในกิจการตอไปน้ี • Merchant Banking; Stock Broking; Financial Consultancy

Underwriting; Portfolio Management Services; Investment Advisory Services; Asset management; Venture capital; Custodial services; Factoring; Credit rating Agencies; Leasing and Finance; Housing Finance; Forex broking; Credit card business; Money changing business; Micro credit; Rural credit สัดสวนการลงทุนขั้นต่ําสําหรับ Fund based NBFCs • สัดสวนการลงทุนไมเกิน 51% ตองจายลวงหนา US$ 5 ลาน • สัดสวนการลงทุนระหวาง 75 - 100% ตองจายทั้งหมด US$ 50 ลาน

(จายลวงหนา US$ 7.5 ลาน ที่เหลือจายภายใน 24 เดือน) สัดสวนการลงทุนขั้นต่ําสําหรับ Non-fund based activities • กําหนดใหมีทุนขั้นต่ําจํานวน US$ 0.5 ลาน • ผูลงทุนตางชาติต้ังบริษัทลูกไดโดยปราศจากเงื่อนไขเรื่องการใหบริษัทอินเดียมีสัดสวนทุนไมตํ่ากวา 25%

*กลุมกิจการรวมคาที่มีสัดสวนการลงทุนตางชาติไมเกิน 75% ไดรับอนุญาตใหต้ังบริษัทลูกเพื่อดําเนินกิจการตามที่กําหนดได ทั้งนี้ใหเปนไปตามกฎเกณฑที่กําหนดไว

ลงทุนไดในสัดสวนไมเกิน 26% ตามขั้นตอน Automatic Route ซึ่งกําหนดโดย Insurance Regulatory & Development Authority (IRDA)

2 สายการบินภายในประเทศ

สนามบิน

1. ลงทุนตางชาติไดไมเกิน 40% 2. ลงทุนได 100% สําหรับคนอินเดียที่อาศัยอยูตางประเทศ (NRI) 3. ไมสามารถขออนุญาตตามขั้นตอนแบบ Automatic Route อนุญาตใหลงทุนตางชาติได 100% สัดสวนการลงทุนตางชาติเกิน 49% ตองผานการอนุมัติจากรัฐบาลดวย

3 การไปรษณีย (Postal Services)

FDI ไดรับอนุญาตไดถึง 100% สําหรับกิจการสงพัสดุภัณฑแตตองไดรับการอนุมัติจากรัฐบาลกอนดวย ทั้งนี้ไมรวมถึงบริการสงจดหมายซึ่งสงวนไวใหรัฐดําเนินการเทานั้น

4 พลังงาน (Power) FDI ไดรับอนุญาตใหลงทุนไดถึง 100% สําหรับโครงการผลิตไฟฟาระบบสงและระบบจําหนาย นอกเหนือจากโรงงานพลังไฟฟานิวเคลียร ไมมีการจํากัดตนทุนโครงการและขนาดของการลงทุนจากตางประเทศ

Page 60: บทที่ 2 ข อมูลประเทศอ ินเดีย - ThaiFTAบทท 2 ข อม ลประเทศอ นเด ย 2.1 ข อม ลท วไป1 2.1.1

กลยุทธการเจรจาจัดทําเขตการคาเสรี ไทย-อินเดีย

77

ลําดับ ประเภทอุตสาหกรรม แนวทางการลงทนุ 5 โทรคมนาคม

(Telecommunications) การลงทุนตางชาติ ในบริการโทรศัพทเคลื่อนที่ บริการเสริมและบริการสื่อสารไรสายตางประเทศผานดาวเทียม ใหลงทุนไดไมเกิน 49% และตองปฏิบัติตามระเบียบการขอใบอนุญาตและความปลอดภัย รวมถึงเงื่อนไขของการลงทุนตางๆ การลงทุนตางชาติในบริการ ISP with gateway วิทยุติดตามตัว และบริการโทรคมนาคมแบบ End-to-End Bandwidth กําหนดใหลงทุนไดไมเกิน 74% และสัดสวนการลงทุนเกินกวา 49% ตองผานการอนุมัติจากรัฐบาล และตองปฏิบัติตามระเบียบการขอใบอนุญาตและความปลอดภัย ไมมีเพดานสัดสวนหุนสําหรับการอุตสาหกรรมการผลิต การลงทุนตางชาติ 100% ทําไดในกิจการตอไปนี้

• ISP ที่ไมมี Gateway • ดานโครงสรางพื้นฐานที่ใหบริการ Dark Fibre • Electronic Mail • Voice Mail

โดยอยูภายใตเงื่อนไขดังตอไปนี้ 1. หากเปนบริษัทที่จดทะเบียนในประเทศอื่นดวย บริษัทนั้นจะตองกระจายหุนใหคนอินเดีย 26% ภายใน 5 ป

2. การบริการอยูภายใตเงื่อนไขของการไดใบอนุญาตเรื่องความปลอดภัย ** หากสัดสวนการลงทุนตางชาติมีมากกวา 49% ตองไดรับพิจารณาจาก FIPB เปนรายกรณีดวย

6 การแพรภาพแพรเสียง (Broadcasting)

a. การผลิตซอฟทแวรโทรทัศน ใหลงทุนได 100% โดยมีเงื่อนไขวา • ไมเปนการละเมิดตอกฎหมายที่อาจมีขึ้นในอนาคตในสวนของการเรียกคาเสียหายอันเกิดจากการละเมิดสิทธิในซอฟทแวร

• หามการแพรภาพแพรเสียงโดยไมไดรับการอนุมัติจากรัฐบาล b. ลงทุนสราง Hardware ซึ่งเปนอุปกรณที่ใชเช่ือมโยงสัญญาณ ได 49%

ในกิจการ teleport ซึ่งใหเชาอุปกรณสําหรับการแพรภาพแพรเสียง (การเผยแพรสัญญาณโทรทัศนผานดาวเทียม จะตองอยูภายใต Broadcast Code)

c. ระบบเครือขายเคเบิ้ลทีวี FDI/FPI ลงทุนได 49% ของทุนที่ชําระแลว (บริษัทที่ชําระแลวอยางนอย 51% และถือหุนโดยคนสัญชาติอินเดียจะมีสิทธิภายใต Cable Television Network Rules, 2537 ในการใหบริการ)

d. สายตรงเขาบาน (Direct to Home) FDI/NRI/FII ลงทุนได 49% โดยตองไดใบอนุญาตเฉพาะ ภายในกลุมของบริษัทตางชาติทั้งหลายให FDI ไดไมเกิน 20%

e. การกระจายเสียงทางวิทยุระบบ FM ผูไดรับอนุญาตตองเปนบริษัท จดทะเบียนในประเทศอินเดียภายใตกฎหมายบริษัท (The Companies Act)

Page 61: บทที่ 2 ข อมูลประเทศอ ินเดีย - ThaiFTAบทท 2 ข อม ลประเทศอ นเด ย 2.1 ข อม ลท วไป1 2.1.1

กลยุทธการเจรจาจัดทําเขตการคาเสรี ไทย-อินเดีย

78

ลําดับ ประเภทอุตสาหกรรม แนวทางการลงทนุ แตผูถือหุนทั้งหมดตองเปนคนอินเดีย

ยกเวนเปนการลงทุนผาน FII/NRI/PIO/OCB ภายใตเงื่อนไขวาสัดสวนผูถือหุนอาจจะมีการเปลี่ยนแปลงไดในภายหลัง และบริษัทตองไมใชเปนประเภท FDI/NRI/OCB การลงทุนตางชาติที่ไดรับอนุญาตจะตองมีการลงทุนผานสถาบันไมเกิน 20% (ไมอนุญาตใหเอกชนดําเนินการในโทรทัศนภาคพ้ืนดิน (Terrestrial TV))

7 ถนน ทางหลวง ทาเรือ (Roads/Highway/Ports

FDI ไดรับอนุญาตไดถึง 100% โดยผานชองทางอัตโนมัติในโครงการ เกี่ยวกับการกอสราง/บํารุงรักษาถนน ทางหลวง ทาเรือ สะพาน อุโมงค

8 การโรงแรม/การทองเที่ยว (Hotels / Tourism)

FDI ไดรับอนุญาตไดถึง 100% โดยผานชองทางอัตโนมัติในกิจการโรงแรมรวมทั้งภัตตาคาร ที่พักตากอากาศ และศูนยทองเที ่ยว ภายใตเงื่อนไขวาตองเปนที่พักอาศัยและใหบริการดานอาหารแกนักทองเที่ยว และเกี ่ยวของกับธุรกิจตัวแทนการเดินทาง ผูประกอบธุรกิจทองเที ่ยว ตัวแทนทองเที ่ยว ซึ่งจัดหาสิ่งอํานวยความสะดวกดานวัฒนธรรม การผจญภัย ประสบการณชีวิตธรรมชาติใหกับนักทองเที่ยว รวมทั้งการบันเทิง การสัมมนา การกีฬา การสันทนาการ การสุขภาพ

ขอตกลงดานเทคโนโลยีจากตางประเทศ ไดรับอนุมัติโดยอัตโนมัติ ภายใตเงื่อนไขวา a. ตนทุนโครงการไมเกิน 3% ไดใชไปเพื่อบริการใหคําปรึกษาและทางเทคนิค และคาธรรมเนียมสําหรับสถาปนิก การออกแบบ การควบคุม

b. ไมเกิน 3 % ของรายรับสุทธิ ซึ่งไดใชเพื่อธุรกิจ Franchising /การตลาด/สังคม

c. ไมเกิน 10% ของกําไรขั้นตนที่ใชจายเตอบแทนการบริหาร/รางวัลจูงใจ 9 การจัดการดานสิ่งแวดลอม

(Pollution Control and Management)

FDI ได 100% โดยผานชองทางอัตโนมัติสําหรับการผลิตอุปกรณควบคุมมลพิษ และการเปนที่ปรึกษาสําหรับระบบควบคุมมลพิษรวม

10 การโฆษณาและภาพยนตร (Advertising and Films)

การโฆษณาลงทุนไดถึง 100% โดยผานชองทางอัตโนมัติ ภาพยนตร ลงทุนไดถึง 100% โดยผานชองทางอัตโนมัติ ไดแก การผลิตภาพยนตร นิทรรศการ การจัดจําหนายรวมถึงบริการและผลิตภัณฑ

11 ระบบการขนสงในเมือง (Mass Rapid Metro Transit System)

FDI ไดถึง 100% โดยผานชองทางอัตโนมัติสําหรับระบบทางดวน ขนสงมวลชนของทุกเมือง รวมทั้งการพัฒนาอสังหาริมทรัพยที่เกี่ยวของ

12 การพัฒนาเมือง (Township Development)

ได FDI 100% โดยตองไดรับการอนุมัติจากรัฐบาลกอนการพัฒนาเมือง แบบบูรณาการ เชน บาน อาคารพาณิชย โรงแรม ที่พักตากอากาศ ระบบโครงสรางพื้นฐานตางๆ การพัฒนาที่ดินและโครงสรางพื้นฐาน การสรางระบบรวมของการพัฒนาเมือง