36
วววว วว. 602 วววววววววววววววววววว วว.วว.วววววว ววววววววววว วววววววว 2 วววววว 19 วววววว 2549 วววววววววววววววววววววววววววววววววว (Variable and Empirical Indicator) ใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใ ใใใใใใใใใใใใใใ ใใใใใใใใใใใใใใใใใใใ ใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใ ใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใ ใใใใ ใใใใใใ Well Being หหหหหหหหหหหหหหหหหหห ใใใใใใ ใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใ ใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใ ใใใใ ใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใ ใใใใใใใใใใใใใใใใ ใใใใใใใใใใใใใใใใใ ใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใ ใใใใใใใใใใใใใใใใใ ใใใใใใใใใใใใใใใ Lower Needs ใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใ ใใใใ ใใใใใ ใใใใใใใใใใ ใใใใใใใ ใใใใใใใ ใใใใใใใใใใใใ ใใใใใใใใใใใใ ใใใใใใใใใใใใใใใใใ ใใใใใใใใใใ Well Being ใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใ ใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใ ใใใใ ใใใใใใ หหหหหหหหหหหห ใใใใใใใใใใใ ใใใ 1. ใใใใใใใใใ ใใใใใใใใใใ 2. ใใใใใใใ 3. ใใใใใใใใใ ใใใใใใใใ 4. ใใใใใใใใใใใใใใ ใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใ ใใใใใใใใใใใใ ใใใใใใ ใใ ใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใ ใใใใใใใ ใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใ ใใใใใใใ ใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใ ใใใใใใ ใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใ ใใใใใใ ใใใใ ใใใใใใใใใใใ ใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใ ใใใใใใ ใใใใใใใใใใใใใใใใ ใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใ ใใใใใใ ใใใใใใใใใใใใใใใใ ใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใ ใใใใใใใใ ใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใ ใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใ ใใใใใใใใใใใใใใใใใใ ใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใ ใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใ ใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใ ใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใใ 1

วิชา รอ - MPPM14 · Web viewรศ.ดร.พรเพ ญ เพชรส ขศ ร คร งท 2 ว นท 19 ม นาคม 2549 ต วแปรและเคร

  • Upload
    others

  • View
    1

  • Download
    0

Embed Size (px)

Citation preview

วิชา รอ

PAGE

24

วิชา รอ. 602 การวิจัยทางการจัดการรศ.ดร.พรเพ็ญ เพชรสุขศิริ ครั้งที่ 2 วันที่ 19 มีนาคม 2549

ตัวแปรและเครื่องชี้วัดเชิงประจักษ์ (Variable and Empirical Indicator)

ในการทำวิจัยเราจะศึกษาจากตัวแปร ตัวแปรส่วนใหญ่จะมีความเป็นนามธรรม จึงต้องสร้างตัวชี้วัดตัวแปรเพื่อให้สามารถวัดในประจักษ์ได้

เช่น คำว่า Well Being หรือความผาสุกของมวล จะเป็นตัวแปรที่แต่ละคนมีแตกต่างกัน และมีตัวชี้วัดหลายตัว เช่น สุขภาพดีถึงแม้จะมีเงินไม่มาก ความมีศีลธรรมของคนเป็นคุณภาพชีวิต บางคนรวยอาจจะไม่มีความสุขก็ได้

หากเป็นชนชั้นล่าง ตัวชี้วัดจะเป็น Lower Needs คือความจำเป็นพื้นฐาน เช่น อาหาร ยารักษาโรค เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย สิทธิเสรีภาพ ถ้ามีสิ่งเหล่านี้ก็ถือว่ามี Well Being เนื่องจากคนไทยส่วนใหญ่ยังยากจนก็ต้องใช้ทฤษฎีที่เกี่ยวกับความจำเป็นพื้นฐาน

หรือ คำว่า ผู้หญิงมีบุญ จะตัวชี้วัด คือ

1. เกิดมาสวย ถึงแม้จะจน 2. สกุลสูง

3. นิ้วเรียว มือเรียว

4. ครอบงำสามีได้

แต่แนวคิดทางพระพุทธศาสนาคือ ความเป็นคนดี มีสามีดี ถือว่าเป็นหญิงที่มีบุญ

ดังนั้น ตัวแปรแต่ละตัวอาจจะมีตัวชี้วัดที่แตกต่างกัน หากนำไปวัดกับกลุ่มคนที่ต่างกัน การวัดตัวแปรจึงขึ้นอยู่กับทฤษฎี มุมมอง เช่น คนที่มองว่าวัตถุเป็นเรื่องที่สำคัญเขาก็จะวัดจากวัตถุ ตัวชี้วัดคือได้สิ่งของ แต่บางคนมองว่าจิตใจสำคัญ ตัวชี้วัดคือความสมหวัง ความคิดและพฤติกรรมเป็นเรื่องเดียวกัน

ในเมืองไทยมีตัวชี้วัดที่สำคัญในการวัดความเป็นอยู่ที่ดีของคนในสังคมก็คือรายได้ ทำให้ที่ผ่านมาเราพยายามส่งเสริมให้คนมีรายได้ จากเดิมคนชนบทไม่จำเป็นต้องใช้เงินก็อยู่ได้ แต่ปัจจุบันนี้เปลี่ยนไปเพราะมีการกระตุ้นให้ใช้เงิน ตัวชี้วัดความเป็นอยู่ที่ดี แต่ถ้าคนๆหนึ่งบอกว่ามีทุกอย่างแล้วแต่ไม่มีความสุข แสดงว่าทฤษฎีที่นำมาใช้ในการสร้างตัวชี้วัดจะต้องเปลี่ยนไป การชี้วัดเรื่องของความเป็นอยู่จึงขึ้นอยู่กับความคิดของแต่ละคนด้วย

หรือ การพัฒนาประเทศ ที่ผ่านมาเราจะเอาความทันสมัย (Modernization ) มาเป็นตัวชี้วัด ทำให้เราจึงหลงทางในการพัฒนาประเทศ นั่นคือพัฒนาให้ทันสมัยในด้านต่างๆ แต่ลืมพัฒนาจิตใจ

ดังนั้น

ตัวแปร 1 ตัว จะมีตัวชี้วัดหลายตัว

จากตัวอย่างคำถามในการวิจัย เราจะพบตัวแปรที่ศึกษา

1. ผู้ที่อาศัยในเขตชลประทานมีรายได้และคุณภาพชีวิตดีกว่าผู้อาศัยนอกเขตชลประทานจริงหรือไม่ (รายได้และคุณภาพชีวิตคือตัวแปร) ตัวชี้วัดของรายได้ คือ เงินเดือน ผลผลิต การเก็บเกี่ยว

2. ผู้ที่อาศัยในเขตชลประทานมีการย้ายถิ่นต่ำกว่าผู้ที่อาศัยอยู่นอกเขตชลประทานจริงหรือไม่ (ตัวแปรที่เราศึกษาคือเรื่องของการย้ายถิ่น)

การกำหนดกรอบแนวความคิดและการแปลงแนวคิดให้เป็นรูปธรรม (Conceptualization and Operationalization Abstract Construct to Concrete Measure)

**หัวข้อนี้สำคัญ**

อย่างที่กล่าวไปแล้วว่าในการวิจัยจะศึกษาจากตัวแปร ตัวแปรจะมีลักษณะเป็น แนวคิดที่เป็นนามธรรมและมีความซับซ้อน ในการวิจัยเราจะมีการสร้างกรอบแนวคิด ซึ่งหมายถึงการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรที่จะศึกษา และแปลงตัวแปรที่นามธรรมนั้นให้เป็นรูปธรรมที่สามารถวัดได้

การสร้างความสัมพันธ์ของตัวแปรเรียกว่า Conceptualization ซึ่งมีกระบวนการ ดังรูป

จากรูปจะมีคำที่เกี่ยวข้องหลายคำคือ

- Independent Variable คือ ตัวแปรอิสระ หรือตัวแปรสาเหตุ

- Dependent Variable คือ ตัวแปรตาม หรือตัวแปรผล

- Abstract Construct คือ แนวคิดทฤษฎีที่เป็นนามธรรม มีความซับซ้อน มีสัญญลักษณ์สูง

- Concept คนเราเกิดมาย่อมรู้ Concept อยู่เสมอ ตั้งแต่ Concept ง่าย เช่น ปากกา โต๊ะ ทุกคนจะรู้ว่ามีลักษณะแบบใด แต่เด็กรู้ว่าใครเป็นแม่ ยาย เท่านั้น ซึ่งจริง ๆ แล้ว Concept คือแม่และยายเชื่อมโยงกัน ยายคือแม่ของแม่ ไปสู่ Concept ที่ยากขึ้น

- Conceptualization คือการกำหนดแนวคิดเชิง Concept ซึ่งเป็นเรื่องที่ยากมาก เช่น คำว่าประชาธิปไตยในประเทศไทย ถือเป็น Concept นามธรรม ซึ่ง Conceptualization เกี่ยวกับประชาธิปไตยของประเทศไทยยังไม่ชัดเจน เราก็เลยมองว่าประชาธิปไตยคือ 1. การมีรัฐธรรมนูญ 2. ต้องไปเลือกตั้ง ซึ่งพอมีรัฐธรรมนูญแล้วเราก็เลยคิดว่าเป็นประชาธิปไตยแล้ว แต่จริง ๆ ในเนื้อหาอาจไม่ใช่ก็ได้ (เพราะ Concept ของคำว่าประชาธิปไตยมีความหมายที่ลึกซึ้งกว่าการไปเลือกตั้งและการมีรัฐธรรมนูญ เช่น คนในสังคมจะต้องมีการยอมรับความคิดเห็นที่แตกต่าง ต้องเคารพคนอื่น ๆ ในฐานะที่เป็นมนุษย์เท่า ๆ กับตนเอง สังคมใดที่คนยังมองคนอื่นต่ำกว่าตนเอง สังคมนั้นก็ยากจะเป็นประชาธิปไตย)

- Operationalization คือการแปลง Concept ให้เป็นรูปธรรม ซึ่งเป็นเรื่องยากเช่นกัน เมื่อครู่อาจารย์พูดว่า คุณภาพชีวิตคืออะไร การที่เราจะรู้ว่าคุณภาพชีวิตคืออะไร เราต้องอ่านให้มาก อ่านทฤษฎีต่าง ๆ ให้มาก เช่น ทฤษฎี Modernization ซึ่งแต่ละทฤษฎีก็จะมีแนวคิดที่ต่างกัน เมื่อแนวคิดต่างกัน Operationalization ก็จะต่างกันด้วย

หากอาจารย์บอกว่า คุณภาพชีวิตดูที่ Basic Needs ตัวชี้วัดที่เรา Operate ได้ เราจะวัดว่าเขามีรายได้ไหม มีบ้านไหม บ้านมีห้องน้ำไหม มีอาหารครบ 3 มื้อไหม เด็กแรกคลอดน้ำหนักเกิน 2.5 กก. ไหม บ้านอยู่ในสภาพแวดล้อมมีมลภาวะ มีขยะหรือไม่

แต่ถ้าเราบอกว่าคุณภาพชีวิต วัดโดยความทันสมัย ตัวชี้วัดที่เป็นรูปธรรม ดังนั้นอาจจะไม่ใช่แค่บ้าน แต่ต้องมีสิ่งอื่น ๆ ที่ทันสมัยด้วย มีรถก็ต้องทันสมัยรุ่นใหม่ ซึ่งคนที่คิดแบบนี้จะเน้นด้านวัตถุมาก

การจะสร้าง Conceptualization ใน Concept ต่าง ๆ จะเกิดจากการอ่านมาก ฟังมาก เข้าใจความหมายของคำที่อ่าน

และเนื่องจากเมื่อคนเราอ่าน รับรู้ รับฟัง แต่คิดไม่เหมือนกัน กรอบทฤษฎีจึงไม่เหมือนกัน คน 2 คนรับรู้ปัญหาและเรื่องราวของการพัฒนาต่างกัน ทำให้คนหนึ่งมองว่าจะพัฒนาคุณภาพชีวิตโดยเน้นแนวทันสมัย อีกคนจะมองว่าจะต้องพัฒนาตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง ตัวชี้วัดแต่ละแนวความคิดก็จะแตกต่างกัน แนวคิดทันสมัยต้องมีตัวชี้วัดหนึ่ง แต่หากเราจะพัฒนาคุณภาพชีวิตในแนวเศรษฐกิจพอเพียง ตัวชี้วัดก็จะเปลี่ยนไป

หากเชื่อว่าทฤษฎีความทันสมัยถูกต้อง เราจะเอาตัวชี้วัดตามทฤษฎีความทันสมัยมาเป็นตัวชี้วัดคุณภาพชีวิต เช่น คนไปพบว่าตู้เสื้อผ้าลดราคาจาก 1 แสน เหลือ 5 หมื่นซึ่งคิดว่าราคาถูกแล้วและมีความสุขมาก แสดงว่าคุณภาพชีวิตของเขาจะดีเมื่อเขาได้ซื้อตู้นั้นมา เพราะทำให้มีความสุข

ความสุขของบางคนคือการออกไปเที่ยว ร้องเพลง ไปผับ แต่ความสุขของบางคนคือการอยู่อย่างสงบ รดน้ำต้นไม้ นอน ก็เนื่องจาก Operationalization คำว่าความสุขต่างกัน

ในการวิจัยเราจะต้องสร้างความสัมพันธ์เชิงสมมติฐานแบบสาเหตุและผลระหว่าง Concept อย่างน้อย 2 Concept เข้าด้วยกัน

ตัวอย่าง เราเอาแรงจูงใจ (Motivation) และ ประสิทธิภาพในการทำงานมาสัมพันธ์กัน คำว่า Motivation และประสิทธิภาพ เป็น Abstract Construct

กรอบแนวคิดที่ว่าแรงจูงใจทำให้ประสิทธิภาพการทำงานดีเป็นคำพูดเชิงทฤษฎี ทั้งนี้ต้องนิยามคำนั้นก่อนว่าแนวคิดแรงจูงใจคืออะไร แล้วจึงมาหาตัวชี้วัด ตรงนี้คือขั้นตอนการแปลงจากแนวคิดให้เป็นตัวชี้วัด (Operationalization) เช่นเดียวกับคำว่าประสิทธิภาพในการทำงานก็ต้องมีการนิยามว่าประสิทธิภาพคืออะไร เช่น การมีผลงานดี งานมีความผิดพลาดน้อย คุ้มค่ากับงบประมาณและเวลา ตรงนี้คือการแปลงคำว่าประสิทธิภาพให้เป็นรูปธรรม

เนื่องจากในการทำวิจัยจะทำการทดสอบชี้วัดเชิงประจักษ์ เพื่อวัดตัวแปรที่เราศึกษา

เช่น คนนี้มีคุณภาพชีวิตดี เป็น Abstract ตัวชี้วัดคือ มีเงิน มีบ้าน เจ็บป่วยไม่บ่อย มีน้ำดื่ม เป็นการแปลง Abstract จากมองไม่เห็นให้เป็น Indicator สิ่งที่มองเห็น จับต้องได้ เช่น คนเป็นโรคมะเร็ง ข้อเสื่อม จะทำลายคุณภาพชีวิต หาความสุขได้น้อยลง

เวลาเราไปวัดก็ต้องไปดูตามที่เรา Operationalization เพื่อจะหาคำตอบว่าคนมีคุณภาพชีวิตจริงหรือไม่

หรือตัวชี้วัดของพนักงานที่ทำงานดี เช่น ผลงานดีได้มาตรฐาน งานเสียน้อย ใช้เวลาสั้น สิ้นเปลืองวัสดุน้อย เป็นต้น แสดงว่าการทำงานมีประสิทธิภาพ ต้องแปลงข้อมูลเหล่านี้ให้เป็น Indicator ซึ่งเรียกว่าตัวชี้วัด

สรุป การนำ Concept มาเขียนนิยาม เรียกว่าทฤษฎี เช่น ทฤษฎี Basic Needs จะบอกว่าคุณภาพชีวิต หมายถึง การที่คนได้รับการตอบสนองตามความจำเป็นพื้นฐาน แต่พอเอาความจำเป็นพื้นฐาน เช่น มีน้ำดื่มไหม มาแปลงมาเป็น Indicator นั่นคือ แปลงความหมายของคำให้เป็นรูปธรรม

แต่แนวคิดทางด้านตะวันออก เช่น พุทธ ฮินดู มุสลิม ปรัชญาของความสุขเป็นจิตนิยมดั้งเดิม เช่น พ่อแม่ฝากลูกไว้กับครูเพื่อให้เรียนหนังสือ หากพ่อแม่รวยก็ฝากเงินไว้กับครู แต่หากไม่มีเงินก็ให้เด็กช่วยทำงานบ้านแทน ไม่ได้มองว่าเป็นค่าจ้างแต่เป็นการช่วยเหลือ อยู่กันอย่างครอบครัว แต่ปัจจุบันแนวคิดได้เปลี่ยนเป็นวัตถุนิยม กลายเป็นสอนเพื่อเงินทอง เด็ก ป.1 ต้องสอบเข้าเรียน ต้องติวให้ลูกก่อนสอบ พ่อแม่มีเงินก็ส่งลูกเรียนโรงเรียนดี ๆ

Conceptual Framework (กรอบแนวคิด)

หมายถึงความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรต้นและตัวแปรตาม

ตัวแปรอิสระ

ตัวแปรตาม

ตัวอย่างเราจะศึกษาผลของโครงการเสริมอาชีพนอกฤดูกาลเก็บเกี่ยว ก็สามารถเขียนออกมาเป็นกรอบแนวคิดได้ดังรูป

รายได้

โครงการเสริมอาชีพ

นอกฤดูกาลเก็บเกี่ยว

การย้ายถิ่น

คุณภาพชีวิต

เราจะรู้ว่าโครงการนี้ดีหรือไม่ ต้องดูที่รายได้ คุณภาพชีวิตและการย้ายถิ่น เราคงไม่ย้ายถิ่นหากมีโครงการเสริมเข้ามาหลังเก็บฤดูเก็บเกี่ยว (หนังสือหน้า 78)

สำหรับการย้ายถิ่น ปัจจุบันมีย้ายไปอยู่ต่างประเทศ หรือต่างประเทศย้ายเข้ามาอยู่ในไทย เพราะคุณภาพชีวิต รายได้เป็นตัวกำหนดการย้ายถิ่น เช่น คนยากจนเข้ามาอยู่ในประเทศไทยเยอะ คนชนบทเข้ามาอยู่กรุงเทพเยอะ

ตัวอย่าง กรอบแนวคิดในการวิจัยเรื่องปัจจัยที่มีผลกระทบต่อความสำเร็จของสหกรณ์

จากรูป หากสมาชิกมาก เงินทุนหมุนเวียนก็จะมาก ทำให้สมาชิกทำธุรกิจกับสหกรณ์มาก ทั้งนี้การมีส่วนร่วมต้องเป็นไปทางที่ดี ไม่คดโกง มีการตรวจสอบที่ดี กรอบแนวคิดทฤษฎีของสหกรณ์ คือหลักประชาธิปไตย คือการมีส่วนร่วม มีระบบตรวจสอบที่ดี การบริหารเป็นไปตามกรอบ มีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล ความคุ้มค่าของเงิน

อบต. บางที่ให้ชาวบ้านเป็นกรรมการในการตรวจซื้อจัดจ้าง เช่น อบต.ที่สงขลา มี Counter Service เช่น รับจ่ายค่าโทรศัพท์มือถือ เป็นต้น มีเงินจากตรงนี้นับล้านบาทต่อปีและนำเงินเข้าหน่วยงาน มีการสอนภาษาอังกฤษ ภาษาจีน คอมพิวเตอร์ โดยจ้างคนมาสอนเพราะคนนิยมไปทำงานที่มาเลเซียและจีนมาก เป็น อบต.ที่น่าชื่นชมมาก คนที่บริหารแล้วคำนึงถึง Well Being ของคนในท้องถิ่น ขณะที่ อบต.อื่น นิยมสร้างถนนหนทางมากกว่า

ตัวแปร Variable

ตัวแปร คือ ลักษณะที่แปรเปลี่ยนไปตามสิ่งที่เราศึกษา เช่น คนไทยมีคุณภาพชีวิตแตกต่างกันมาก จึงมาศึกษาว่าสรุปแล้วคนไทยมีคุณภาพชีวิตดีหรือไม่ ไอคิวของเด็กไทยต่ำลงแสดงว่าไอคิวของเด็กไทยต่างกัน แสดงว่า ไอคิวเป็นตัวแปร พนักงานมีประสิทธิภาพในการทำงานแตกต่างกัน มีแรงจูงใจและขวัญกำลังใจที่แตกต่างกัน ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์แตกต่างกัน คำถามคือความแตกต่างนี้ก่อให้เกิดผลอะไร หรือความแตกต่างนี้เกิดจากสาเหตุอะไร

(เรื่องของประสิทธิภาพในการทำงาน เป็นหัวข้อการวิจัยได้ เช่น เราอาจจะตั้งคำถามว่า ปัจจัยที่ทำให้เกิดประสิทธิภาพของพนักงานคืออะไรบ้าง การตั้งคำถามเช่นนี้จะต่างจากการตั้งคำถามว่าพนักงานมี Competency Fit ที่จะทำงานให้มีประสิทธิภาพหรือไม่ คือดูว่าในงาน 1 งานต้องการสมรรถนะของพนักงานแบบใด เพราะเราพบว่าบางครั้งความรู้ความสามารถของพนักงานที่มีอยู่อาจจะไม่สอดคล้องกับงานก็ได้ เช่นเดียวกับครูเราพบว่าความสามารถของครูไม่เหมาะสมกับการสอนที่ทันสมัย เช่น ครูใช้เทคโนโลยีไม่เป็น ดังนั้น การที่ครูบางกลุ่มบอกว่าหากโยกย้ายครูไปอยู่กับ อบต. จะมีปัญหา ถือว่าเป็นการเหมายกโหล ความเป็นจริง อบต. บางที่จบปริญญาโท ดังนั้นนโยบายเหมายกโหลถือว่าไม่ดี ต้องดูเป็นบางแห่ง)

การที่เราจะกำหนดตัวแปรในการศึกษาขึ้นอยู่กับหน่วยในการวิเคราะห์ด้วย คือการบอกว่าในการวิจัยหน่วยที่เราศึกษาวิเคราะห์ระดับใด หน่วยในการวิเคราะห์อาจจะเป็น

1. คน (Individuals) หรือปัจเจกบุคคล เช่น ลูกค้า 500 คน

2. องค์การ (Organization) เช่น สหกรณ์ออมทรัพย์ 200 แห่ง โรงเรียน 200 แห่ง

3. เหตุการณ์ (Events) เช่น คดีการลักทรัพย์ในเคหะสถาน ก็จะเป็นหน่วยในการวิเคราะห์ได้ เช่น คดีข่มขืนกระทำชำเรา หากนำคดีที่เกิดขึ้นมาวิเคราะห์ จะพบว่าคดีที่เกิดส่วนมากเกิดจากคนคุ้นเคย แต่เรากลับกลัวคนแปลกหน้า และไม่กลัวคนคุ้นเคย

หรือการเก็บข้อมูลสามารถเก็บได้จากคดี เช่น โจรมักจะลักทรัพย์ตอนเช้า หลังออกจากบ้านไปแล้ว กลางคืนก็ขโมยตอน ตี 2-3 เพราะสุนัขหลับไปแล้ว

การวัด (Measurement)

การทำวิจัยต้องมีการวัดตัวแปร เช่น สำรวจว่าเด็กไทยมีไอคิวเท่าไหร่ ต้องวัดก่อนว่าเด็กไทยฉลาดหรือไม่ โดยการเอาความฉลาดว่าเป็นตัววัด การวัดไอคิวได้พัฒนาขึ้นเยอะ สมัยก่อนไอคิวดี คือคนคิดเลขเก่ง คิดทางตรรกศาสตร์ได้ดี หรือจำเสียงก้องหูได้ แต่ความจำเก่งไม่ได้เป็นคนฉลาด ต้องแยกออกจากกัน ปัจจุบันคนที่ฉลาดต้องมี EQ และ AQด้วย

-AQ คือ ความอดทนอดกลั้นต่อความยุ่งยากซับซ้อน เมื่อล้มแล้วสามารถลุกขึ้นได้เร็ว เสียใจผิดหวังแล้วสามารถฟื้นได้เร็ว มีทักษะในการต่อสู้ คนที่ประสบความสำเร็จจะมี AQ สูงมาก

-EQ คือ ความฉลาดทางอารมณ์ เป็น concept ทางศาสนาพุทธ เคารพตนเอง มีศักดิ์ศรี พัฒนาตนเองสม่ำเสมอ คนที่มี EQ สูงจะเปลี่ยนแปลงตัวเองมากกว่าไปเปลี่ยนแปลงคนอื่น

การวัด หมายถึง การกำหนดตัวเลขให้แก่คุณลักษณะของสิ่งที่เราต้องการวัดตามกฎ (Rules) ที่กำหนดขึ้นตามการกำหนดความคิดเชิงมโนทัศน์ (Conceptualization) แต่ในปัจจุบันต้องมีความอดทนต่อความยุ่งยากซับซ้อนต่างๆได้ (EQ), (AQ)

ความคิดเชิงมโนทัศน์ (Conceptualization) ความคิดจะกว้างขึ้น เช่น คนสวยในปัจจุบัน ต้องสวยและมีสมองด้วย คนเก่งต้องมี IQ, EQ, AQ ด้วย

หรือกรอบแนวคิดเกี่ยวกับความพึงพอใจในสินค้า ขึ้นกับ ตัวสินค้า บริการ บรรจุหีบห่อ (Packaging) การส่งมอบดีตรงเวลา บริการหลังการขายดี การโฆษณา ราคา มีทางเลือกมาก มีภาพพจน์ทางสังคมดี เช่น Body Shop จุดขายคือไม่ทดลองกับสัตว์ (No Animal Test)

นิยามศัพท์ที่ใช้ในการวิจัย เป็นการให้ความหมายของศัพท์นั้นว่ามีความหมายอย่างไร มี 2 ระดับ คือ

1.ความหมายเชิงทฤษฎี นิยามแนวคิด (Conceptual Definition) มีลักษณะเป็นนามธรรม

2.นิยามปฏิบัติการ (Operational Definition) มีลักษณะเป็นรูปธรรม เช่น ถามถึงความพึงพอใจต่อสินค้า ราคา

ตัวอย่างตัวแปร (Variable)

นามธรรม

คุณลักษณะที่แปรเปลี่ยนไปในสิ่งที่

ศึกษา (คน, องค์การ, เหตุการณ์)

เครื่องมือ (Instrument)

รูปธรรม

-แบบสอบถาม -แบบสังเกต

เครื่องชี้วัดเชิงประจักษ์

-แบบสัมภาษณ์ -แบบทดสอบ

(Empirical Indicator)

-เครื่องมือทางวิทยาศาสตร์

จากตัวแปรที่เป็นนามธรรม (concept) ต้องทำให้เป็นรูปธรรม หรือตัวชี้วัดเชิงประจักษ์ (Empirical Indicator) เช่น เขาพอใจสินค้าที่มีราคายุติธรรม ซึ่งราคาสินค้านั้นไม่ได้ถูกเลย แต่เราต้องถามความพึงพอใจต่อตัวสินค้า ต่อราคา สินค้าไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม

จากรูปด้านบน นามธรรมเป็นตัวแปร รูปธรรมคือเครื่องมือชี้วัดเชิงประจักษ์ (Empirical Indicator) เช่น เรารู้ได้ว่าโครงการโปร่งใสหรือไม่ด้วยการตรวจสอบจากกรรมการจากองค์การภายนอก หรือตรวจสอบกันเองหรือการตรวจสอบภายใน

ตรวจสอบภายนอก คือคนภายนอก เช่น ตำรวจมี กตร.จังหวัด เลือกโดยตำรวจไม่ได้มาจากภายนอก สรุปคือต้องดู Empirical

เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล

-แบบสอบถาม (Questionnaire) เป็นการเก็บข้อมูลโดยการสร้างแบบสอบถามเพื่อถามจากกลุ่มเป้าหมาย เช่น ใครจะชอบนายกฯทักษิณ หรือนักการเมืองคนอื่นก็ชอบไป ไม่มีการเฉลยว่าถูกหรือผิด เพียงแต่สรุปเป็นเปอร์เซ็นต์

-แบบสังเกต (Observation Form)

-ข้อสอบ (Test) ใช้ข้อสอบในการวัดความรู้ เพราะมีคำเฉลยถูก-ผิด

-เครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ เช่น เครื่องจับเท็จ

การสร้างเครื่องมือวัดก็จะมาจากการแปรสิ่งที่เป็นนามธรรมให้เป็นรูปธรรมและสร้างเครื่องมือมาวัดจากรูปธรรมนั้น

ตัวอย่างตัวแปร “สติปัญญา” (นามธรรม)

แบบวัด IQ Test (เครื่องมือการวิจัย)

คะแนนจาก IQ Test คือ เครื่องมือชี้วัดเชิงประจักษ์ เป็นรูปธรรม และผลคะแนนเป็นตัวชี้วัดว่า IQ สูงหรือต่ำแค่ไหน

ตัวอย่าง

ตัวแปรภาวะทุพโภชนาการ

เครื่องมือในการวิจัย

- ตราชั่ง

- สายวัด

- Growth Chart

ผลแสดงระดับโภชนาการจาก Growth Chart แสดงความสัมพันธ์ระหว่างอายุ น้ำหนัก ส่วนสูง

น้ำหนัก

ปกติ

1

ภาวะทุพโภชนาการ

2

3

อายุ

เด็กที่อายุต่ำ 10 ปีต้องไม่ให้มีปัญหาเรื่องโภชนาการเพราะจะมีผลต่อการพัฒนาสมอง แต่บางคนชอบให้เด็กหย่านม ทั้งที่นมเป็นแหล่งโปรตีน

ขั้นตอนการวัด

ตัวแปร / Concept

การทบทวนวรรณกรรม

(Literature Review)

การกำหนดข้อความคิด

(Conceptualization)

นิยามศัพท์ / นิยามแนวคิด

(Conceptual / Definition)

นิยามศัพท์ปฏิบัติการ

(Operation Definition)

การวัดตัวแปรในโลกแห่งความจริง

(Measurements)

ดัชนี / เครื่องชี้วัดเชิงประจักษ์

(Empirical Indicators)

- ตัวแปร/ Concept: : concept ที่ใช้ในการวิจัยมีหลายแบบ เช่น แรงจูงใจ (แต่ตัวแปรทุกตังอาจจะไม่ใช่คอนเซ็ปต์ที่จะนำมาใช้ในการวิจัย) หรือตัวแปรเพศก็นำมาเป็น Concept ในการวิจัยได้ เช่นเพศหญิงกับการเข้าไปทำงานการเมือง เนื่องจากผู้หญิงมีจำนวนมากแต่ตัวแทนของผู้หญิงในสภาน้อย

- ความคิดเชิงมโนทัศน์ (Conceptualization) คือกระบวนการที่ผู้วิจัยรวบรวม ข้อความคิดเกี่ยวกับคำศัพท์ (term) ที่กำลังจะกำหนดนั้นมาพินิจวิเคราะห์เพื่อผู้วิจัยจะได้กำหนดได้อย่างชัดเจน และถูกต้องว่าคำศัพท์ที่จะใช้ในการวิจัยมีความหมายว่าอย่างไร เช่น วัดเรื่องความพึงพอใจของลูกค้า ความพึงพอใจในองค์การ

เช่น การวัดผลการปฏิบัติงาน มีตัวชี้วัดคือ พนักงานมีความรู้ ไม่ลาบ่อย ไม่มาสาย มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์

หากกำหนดตัวชี้วัดอย่างไร เราจะต้องวัดอย่างนั้น ทำให้คนมีพฤติกรรมตามนั้น

-นิยามศัพท์ปฏิบัติการ (Operational Definition) คือ นำศัพท์มาแปลงเป็นตัวชี้วัด และวัดในโลกแห่งความเป็นจริง โดยทั่วไปคะแนนสูงจะดี เช่น ขนาดไอคิว คะแนนสอบ

การนิยาม หมายถึง การกำหนดความหมายของศัพท์ที่มีความหมายเป็นที่เข้าใจยาก คลุมเครือ สับสน ให้ชัดเจน แน่นอน เป็นที่เข้าใจได้ว่าง่ายตรงกัน มี 2 ประเภท คือ

1.นิยามแนวคิด / นิยามศัพท์ (Nominal Definition หรือ Conceptual Definition)

2.นิยามปฏิบัติการ (Operational Definition) มีรายละเอียดจนสามารถวัดได้ ให้คะแนนได้อย่างเป็นรูปธรรม (ลงมือปฏิบัติการวัดได้ หรือปฏิบัติได้อย่างเป็นรูปธรรม) เช่น

ตัวแปร / ข้อความคิด

Variable / Concepts

นิยามศัพท์ ข้อความคิดรอง

(Sub concepts)

ตัวชี้วัดเชิงประจักษ์

(Empirical Indicators)

การพัฒนาที่ยั่งยืน

1.ประชาชนรู้จักสิทธิของตน

2.ไปเลือกตั้งโดยไม่ขายเสียง

3.ประชาชนมีส่วนร่วมในชุมชน

4.อนุรักษ์ทรัพยากร

5.ความปลอดภัยในชีวิต/ ทรัพย์สิน

6.การมีอาชีพและงานทำ

7.รักษาภูมิปัญญาท้องถิ่น

ชุมชนที่มีลักษณะนี้มากแค่ไหน หากมากแสดงว่าชุมชนนั้นจะยั่งยืน

การสร้างมาตรวัด (Scales)

คือ ชุดคำถามที่มีหลายข้อคำถาม (Items) มีรูปแบบการตอบเหมือนกัน (Same Response Format) ใช้วัดตัวแปรที่เป็นมโนทัศน์ที่เป็นนามธรรมสูง (Abstract Concept)

จากตัวตัวอย่างนิยามแนวคิด (Conceptual Definition) เรื่อง ความพึงพอใจในงาน หมายถึง การที่พนักงานประเมินความรู้สึกของตนเองว่ามีความพึงพอใจในเรื่องต่อไปนี้ในระดับมากน้อยเพียงใด เงินเดือน สวัสดิการ ผู้บังคับบัญชา เพื่อนร่วมงาน ลักษณะสังคมในหน่วยงาน ลักษณะงาน ความเป็นอิสระในการตัดสินใจ ความสะดวกสบายของสถานที่ และความมั่นคงในงานที่ทำ ความครบถ้วน ทันสมัยของอุปกรณ์การทำงาน

เนื้อหาจากนิยามแนวคิดดังกล่าวนำไปสร้างมาตรวัดต่อไปนี้ ซึ่งเป็นมาตรวัดแบบประเมินค่า (Rating Scale) มีอันดับการให้คะแนน 1 ถึง 5 โดยที่คะแนน 1 แสดงความพึงพอใจต่ำที่สุด ส่วน 5 หมายถึงพึงพอใจมากที่สุด

สังเกตว่าเนื้อหาในมาตรวัด 10 ข้อคำถาม (Items) มีเนื้อหาครบถ้วน สอดคล้องกับเนื้อหาในนิยามแนวคิด จึงสรุปว่า มาตรวัดความพึงพอใจในงานที่สร้างขึ้นมามีความตรงตามเนื้อหา (Content Validity) ตัวอย่าง มาตรวัดความพึงพอใจในงาน

เรื่อง

ระดับความพึงพอใจ

น้อย มาก

1.เงินเดือน

2.สวัสดิการ

3.ผู้บังคับบัญชา

4.เพื่อนร่วมงาน

5.ลักษณะสังคมในหน่วยงาน

6.ลักษณะงาน

7.ความอิสระในการตัดสินใจ

8.ความสะดวกสบายของสถานที่

9.ความครบถ้วนทันสมัยของอุปกรณ์การทำงาน

10.ความมั่นคงในงาน

1 2 3 4

1 2 3 4

1 2 3 4

1 2 3 4

1 2 3 4

1 2 3 4

1 2 3 4

1 2 3 4

1 2 3 4

1 2 3 4

ถ้าตอบได้ 1 ทั้งหมด คือไม่ชอบงาน ต้องลาออกหางานใหม่

ถ้าตอบได้ 4 ทั้งหมด คือรักงานมาก

ขั้นตอนการสร้างมาตรวัด

1.กำหนดชื่อตัวแปร เช่น ความพึงพอใจในงาน

2.การทบทวนวรรณกรรม คือ อ่านมาก ฟังมาก

3.การกำหนดแนวคิดเชิงมโนทัศน์

4.กำหนดนิยามศัพท์ (Definition)

5.เขียนข้อคำถาม (Items)

- การทบทวนวรรณกรรม คือการอ่านมาก ฟังมาก นอกจากอ่านตำราวิชาการแล้วอาจจะอ่านหนังสืออื่นๆก็ได้ เช่น อ่านข่าว อ่านหนังสือพิมพ์ทั่วไปที่เกี่ยวข้องกับที่เราศึกษาอยู่ เช่น ทำวิจัยเรื่องการค้ามนุษย์ ก็ต้องดูข่าวประกอบ ดูกฎของ UN, ดู Web Site

**การทบทวนวรรณกรรม เป็นการทบทวนหัวข้อวิจัยให้แจ่มแจ้ง เป็นการรวบรวมวรรณกรรมที่ได้อ่านมาจากหลายแหล่ง แล้วนำมาเรียบเรียงเป็นโครงสร้างใหม่ คนที่สามารถทบทวนวรรณกรรมได้จะสามารถจำข้อมูลต่างๆได้ และนึกภาพออกว่าคนอื่นกำลังพูดถึงเรื่องอะไรอยู่

การทบทวนวรรณกรรมส่วนมากจะได้หัวข้อออกมาเป็นประเด็น แล้วนำหัวข้อมารวบรวมและอธิบาย เช่น เรื่องการพัฒนาที่ยั่งยืน ที่สามารถสรุปออกมาได้ 7 ประเด็นข้างต้น เป็นข้อมูลที่ได้มาจากหนังสือหลายเล่ม เป็นต้น

ตัวอย่าง

ความมีส่วนร่วมในชุมชน (Community Participation) (เป็นนามธรรม) มี 5 ระดับ คือ

1.ร่วมคิด คนที่อยู่ในสังคมเดียวกันต้องร่วมกันคิด

2.ร่วมวางแผน

3.ร่วมทำ

4.ร่วมประเมินผล สิ่งที่ทำไปแล้วเป็นอย่างไร

5.ร่วมบำรุงรักษา มีความสามัคคีกัน รักษาน้ำใจกัน

โดยทั้ง 5 ระดับนี้ถือเป็นรูปธรรม

สุขภาพจิตที่ดี (Mentally Healthy Personality) (เป็นนามธรรม)

1.อารมณ์มั่นคง

2.อารมณ์ขัน

3.ความสามารถในการสื่อสาร

4.มีเหตุผล เป็นคนประนีประนอม

5.สามารถปรับตัวได้ดี

6.มองโลกในแง่ดี

7.มีคุณธรรม

8.มีมนุษยสัมพันธ์

โดยทั้ง 8 อย่างนี้ถือเป็นรูปธรรม

ตัวอย่าง ลักษณะผู้นำแบบประชาธิปไตย และเผด็จการ (เป็นนามธรรม)

1.การมีส่วนร่วมทางการบริหาร

2.รับฟังความคิดเห็น

3.เคารพเสียงส่วนใหญ่ แต่รับฟังเสียงส่วนน้อย

4.การแบ่งอำนาจ (Delegation of Power) และการกระจายอำนาจ (Decentralization)

5.ใช้เหตุผลมากกว่าอารมณ์ (Rationality มากกว่า Emotionality)

6.มีความอดกลั้นต่อความแตกต่างของผู้อื่น (To Levant To Individual Differences)

7.มีแนวคิดสิทธิมนุษยชน (Humanistic View Point or Humanism or Human Right) เคารพว่ามนุษย์สิทธิในการ มีศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์

ทัศนคติ (Attitude)

คือ ความโน้มเอียงหรือความพร้อม (Readiness) ที่จะตอบสนองในทางที่ชอบหรือไม่ชอบ (Favorable or Unfavorable) ต่อสิ่งเร้าที่กำหนดให้ (An Object)

องค์ประกอบทัศนคติ 3 ด้าน

1.ด้านความรู้ ความเข้าใจ (Cognitive of Belief Component)

2.ด้านอารมณ์หรือการประเมิน (Emotional Component or Evaluative Component)

3.ด้านพฤติกรรม (Behavioral Component)

เช่น การโฆษณาประชาสัมพันธ์สินค้า จะต้องให้ข้อมูลก่อนถึงจะแนะนำสินค้าตนเอง เป็นการให้ความรู้และโน้มน้าวจิตใจ เช่น ให้ข้อมูลว่าเมื่อแก่ตัวลงกระดูกจะเสื่อม จึงแนะนำนมที่มีแคลเซียมเพื่อเป็นการบำรุงกระดูก เป็นการจูงใจให้คนตระหนักถึงปัญหาและซื้อนมมาดื่ม

วิธีการสร้างมาตรวัดทัศนคติ

1.วิธีของเธอริสโตน (Turnstone’s Scale) ไม่มีคนใช้

2.วิธีแบบลิเคท (Likert’s Method) มีคนใช้มาก

3.วิธีกัตต์แมน (Guttman’s Scale) คือคำถามที่มีคำตอบว่า ใช่, ไม่ใช่ (ให้คะแนน 0,1)

4.วิธีการจำแนกแบบ S-D Scale (Semantic Differential Scale)

มาตรวัดแบบลิเคิท (Likert Scale) คือการตอบ 4 ข้อ คือ

1.เห็นด้วยอย่างยิ่ง

คะแนน 4 (ทัศนคติที่ดี)

2.เห็นด้วย

คะแนน 3

3.ไม่เห็นด้วย

คะแนน 2

4.ไม่เห็นด้วยอย่างยิ่ง

คะแนน 1 (ทัศนคติไม่ดี)

มาตรวัดนี้เป็นมาตรวัดที่ง่าย ไม่มีน้ำหนัก แต่สามารถแปลงได้โดยการคูณคะแนน Weight เข้าไป (โดยต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์การแปลงแบบไม่มีอคติ (bias))

เราสามารถแปลงหัวข้อตามน้ำหนักได้ เช่น บริษัทจะประเมินเจ้าหน้าที่ 10 ประเด็น ยอดขายมีน้ำหนักที่สุดให้ 40% จึงเอามาคูณ 0.4 เป็นต้น แปลงให้น้ำหนักสำคัญกว่าเรื่องอื่นเพราะการขายเป็นสิ่งที่สำคัญ

ตัวอย่างเช่น

มาตรวัดทัศนคติที่ดีต่อรัฐบาล ตัวอย่างแบบ Likert Scale สำหรับเจ้าหน้าที่

1.ภาพพจน์โดยทั่วไปของคณะรัฐมนตรี ดี

เห็นด้วยอย่างยิ่ง= 4

เห็นด้วย

= 3

ไม่เห็นด้วย= 2

ไม่เห็นด้วยอย่างยิ่ง= 1

2.รัฐมนตรีส่วนมากได้รักษาผลประโยชน์ของประชาชนมากกว่าประโยชน์ส่วนตัว

เห็นด้วยอย่างยิ่ง= 4

เห็นด้วย

= 3

ไม่เห็นด้วย= 2

ไม่เห็นด้วยอย่างยิ่ง= 1

3.รัฐบาลตัดสินใจในปัญหาต่างๆ ชักช้า ไม่ทันต่อเหตุการณ์

เห็นด้วยอย่างยิ่ง= 4

เห็นด้วย

= 3

ไม่เห็นด้วย= 2

ไม่เห็นด้วยอย่างยิ่ง= 1

คำถามข้อที่ 3 เป็นคำถามเชิงลบ (Negative Question) และเป็นการให้ค่าคะแนนสลับกันกับข้อ 1 และ 2 ซึ่งเป็นคำถามเชิงบวก (Positive Question)

ลักษณะข้าราชการ

เห็นด้วยอย่างยิ่ง

เห็นด้วย

ไม่เห็นด้วย

ไม่เห็นด้วยอย่างยิ่ง

1.ซื่อสัตย์

2.เสียสละ

3.อดทน

4.ถือยศถือศักดิ์

5.ขยันหมั่นเพียร

6.อดออม

7.ชอบยกตนข่มท่าน

8.สุภาพ

9.เข้มแข็ง

10.เช้าชามเย็นชาม

ข้อ 4, 7, 10 เป็นข้อความแบบ Negative Question ส่วนข้ออื่นเป็น Positive Question

มาตรวัดแบบ S-D Scale (Semantic Differential Scale)

Bi-Polar Adjectives เป็นการวัดความแตกต่าง โดยเอาความแตกต่างทางภาษามาเป็นตัวกระตุ้นให้ตอบ จะใช้ 7 ช่องหรือ 5 ช่อง

เช่น พนักงานทำงานอย่างไรบ้าง

1 2 3 4 5 6 7

หยาบคาย

สุภาพ

เฉื่อยชา

กระตือรือร้น

ไม่ชำนาญ

ชำนาญ

สกปรก

สะอาด

จากรูป แสดงว่าลูกค้าเห็นว่าพนักงานของบริษัทมีความหยาบคายมาก

คุณภาพของการวัด (Quality of Measurement)

1.มีความตรง (Validity) ความตรงมี 2 อย่างคือ ตรงตามความเป็นจริง เช่น ชั่งน้ำหนัก วัดไอคิว วัดการทำงาน และความตรงตามเนื้อหา (Content Validity) คือตรงตามนิยามที่เราเขียน

เช่นถ้าเราประเมินผลการทำงานของพนักงานและกำหนดว่าจะต้องประเมินเรื่องอะไรบ้าง เวลาไปวัดกับพนักงานก็ต้องวัดในที่กำหนดเอาไว้อย่างนี้แสดงว่ามีความตรงตามเนื้อหา

2.ความเที่ยง (Reliability) หมายถึงเครื่องมือวัดต้องเป็นคำถามที่ชัดเจน ถาม 2 ครั้งได้คำตอบเหมือนเดิม

3.ความเป็นปรนัย (Objectivity) หมายถึงเครื่องมือวัดจะต้องมีความเป็นปรนัย เน้นเชิงปริมาณ สามารถนับได้ เช่นในทางวิทยาศาสตร์สามารถนับไปได้ถึงสิ่งที่เล็กที่สุด

วิทยาศาสตร์เป็นเรื่องที่เน้นการแจงนับได้ วิทยาศาสตร์จึงสอดคล้องกับวัตถุนิยม เพราะวัตถุนิยมสามารถมองเห็นได้ นับได้ ปัจจุบันตัวชี้วัดทางสังคมจึงเป็นปรนัยมากขึ้น แต่ความรู้สึกจะวัดได้ยากเพราะเป็นเรื่องของจิตใจ จึงต้องเทียบเป็นเปอร์เซ็นต์แทน

หรือปัญหารายการโทรทัศน์สำหรับเด็กที่มีการวิจารณ์กันว่ามีรายการสำหรับเด็กน้อย จึงมีการเพิ่มรายการเด็กมากขึ้น แต่เอาเข้าใจรายการสำหรับเด็กกลายเป็นรายการเกมโชว์ที่ต้องการโปรโมทสินค้าบางอย่าง เช่นขนมกรุบกรอบ เพราะตีความในเชิงปริมาณหรือปรนัย

4.ความสะดวกในการใช้ (Practicality) เช่นแบบสอบถาม ผู้ตอบต้องมีความสะดวก แบบสอบถามไม่ควรยาวไป ใช้เวลามากไป ไม่ยุ่งยาก ถ้ายุ่งยากยาวเกินไปก็ไม่มีใครอยากตอบ

ทั้งนี้คุณสมบัติของการวัดที่ดีความตรงกับความเที่ยงจะสำคัญที่สุด

สถิติในการวิจัย (*** เรื่องนี้ออกสอบ 6 คะแนน ***)

การวิจัยจะต้องอาศัยสถิติ โดยเฉพาะในขั้นตอนของการวิเคราะห์ข้อมูล แต่การที่เราจะใช้สถิติใดขึ้นอยู่กับตัวแปรที่เราศึกษาด้วย

ตัวแปรมี 2 ประเภท

1. ตัวแปรคุณภาพ (Qualitative Variable) รายงานผลเป็นเปอร์เซ็นต์ แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ

1.1 ตัวแปรกลุ่ม (Nominal Variable) เช่น เพศ อาชีพ เขตที่อยู่อาศัย เพศแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มคือ เพศชาย เพศหญิง

1.2 ตัวแปรอันดับ (Ordinal Variable) เป็นตัวแปรที่แบ่งเป็นกลุ่มแต่สามารถจัดอันดับว่าสูงกว่าหรือต่ำกว่าได้ แต่ไม่รู้ว่าต่ำกว่าหรือสูงกว่าเท่าไหร่เช่น ยศ ตำแหน่ง (เช่นเรารู้ว่า ผศ. จะต่ำกว่า รศ. แต่ไม่รู้ว่า รศ.สูงกว่า ผศ.เท่าไหร่)

2. ตัวแปรปริมาณ (Quantitative Variable) หมายถึงตัวแปรที่แบ่งกลุ่มได้ บอกความแตกต่างได้ และบอกว่าระยะได้ว่าแตกต่างกันเท่าไหร่ ที่เช่น รายได้ อายุ คะแนนไอคิว โดยธรรมชาติความฉลาดเป็นตัวแปรคุณภาพ แต่แปลงให้เป็นปริมาณ เช่น ไอคิว 80 จะต่ำกว่ำไอคิว 120 อยู่ 40

หรือความรักเป็นเรื่องจิตนิยม แต่ปัจจุบันคนพยายามไปวัดความรัก เช่นวัดจากการให้ดอกไม้ ให้ของขวัญ ถ้าให้ดอกไม้ราคาแพงแสดงว่ารักมากกว่าดอกไม้ราคาถูก ผลที่เกิดขึ้นก็คือทำให้คนตีค่าความรักออกมาเป็นวัตถุ เช่นเดียวกับทำให้ลูกๆรู้สึกพ่อแม่รักต่อเมื่อพ่อแม่ซื้อของขวัญให้

เป็นแนวคิดวัตถุนิยมเป็นเรื่องที่ต่อเนื่องมาจากวิทยาศาสตร์ เป็นเรื่องที่หนีไม่พ้น ซึ่งถ้าเราขัดขืนอาจจะทำให้เรามีทุกข์ จึงต้องมีศิลปะการทำให้สมดุล (Art of Equilibrium) คือทำให้เราดำรงชีวิตอยู่ด้วยโดยสร้างความสมดุลระหว่างจิตนิยมและวัตถุนิยม

ตัวแปรเชิงคุณภาพ

การหาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร 2 ตัว ที่เป็นตัวแปรคุณภาพ เช่น เพศ กับการเรียนต่อ หาว่าตัวแปร 2 ตัวนี้มีความสัมพันธ์กันหรือไม่ จะใช้สถิติ (2 (Chi - Square Test) และรายงานผลของการวิเคราะห์ออกมาเป็นร้อยละ

เพศ

การเรียนต่อ

สมมติว่า นักเรียนจะเรียนต่อ ม.1 ขึ้นอยู่กับว่าเป็นเพศหญิงหรือเพศชาย มีโอกาสแตกต่างกัน แสดงว่าสาเหตุหรือโอกาสที่จะเรียนต่อขึ้นอยู่กับเพศ หรืออีกนัยหนึ่งคือความแตกต่างในเพศจะก่อให้เกิดโอกาสที่แตกต่างในการจะได้เรียนต่อ ถือว่ามีความสัมพันธ์กัน

สังคมไทยทั่วๆไป เด็กชายมีโอกาสได้เรียนต่อสูงกว่าเด็กหญิง ผู้ปกครองต่างจังหวัดย่อมจะเลือกให้เด็กชายเรียนมากกว่า เพราะวัฒนธรรมไทยเป็นวัฒนธรรมของผู้ชาย ดังนั้นการดำรงตำแหน่งทางการเมืองต่างๆจึงมีผู้หญิงน้อย

แสดงว่าสามารถทำนายได้ หากเป็นเด็กผู้ชายต่างจังหวัดจะมีโอกาสเรียนต่อมากกว่าผู้หญิง ถ้าหากสามารถทำนายแสดงว่าตัวแปรทั้ง 2 ตัวมีความสัมพันธ์กัน

เช่นงานวิจัยบอกว่า ผู้หญิงฉลาดมักมีเท้ายาว ทำให้ต่อไปเราสามารถทำนายได้ว่า หากผู้หญิงเท้ายาวจะฉลาด

ตัวแปรปริมาณ (หน้า 119)

จะใช้ค่าสหสัมพันธ์เพียร์สัน Correlation Coefficient หรือ ค่า (r) ในการหาความสัมพันธ์ตัวแปรอิสระและตัวแปรตามที่เป็นตัวแปรเชิงปริมาณ

ตัวอย่าง

Cases

X Y XY X2 Y2

1

28 12

2

34 7

3

42 3

:

n

(X (Y (XY (X2 (Y2

r^ = …..

ตัวแปรที่ 1 คือผลงาน

ตัวแปรที่ 2 คือรางวัล

ถ้าดูสูตรหน้า 119 จะเห็นได้ว่าเราสามารถตั้งคำนวณได้ คือมีคอลัมน์แบบนี้และมี ค่าเฉลี่ยของ (X และ (Y โดย ผลงาน ((X) มี 28 คะแนน รางวัลที่ได้รับ ((Y) คือ 12%

0.2

0.5

0.8

(Perfect)

0.00

1.00

ตัวแปรที่ 1 Performance

ค่าสหสัมพนธ์ใช้วัดความแกร่งของความสัมพันธ์

ค่าที่คำนวณได้ต่ำที่สุดคือ 0.00 และสูงที่สุด คือ 1.00

-0.00 คือไม่มีความสัมพันธ์

-1.00 คือมีความสัมพันธ์สมบูรณ์

- 0.5 คือความสัมพันธ์ปานกลาง

Performance : X

Rewards : Y

ในภาครัฐ (XY = 0.20 ต่ำ

ในภาคเอกชน (XY

= 0.80 สูง

แสดงว่าในภาครัฐ ความสัมพันธ์ระหว่าง Performance กับ Rewards จะได้ค่าต่ำ แต่ภาคเอกชนจะได้ค่าสูง

ในที่นี้เครื่องหมาย

+ คือ ความสัมพันธ์เชิงบวก

- คือ ความสัมพันธ์เชิงลบ

ทั้งนี้ต้องมีการทดสอบความสัมพันธ์ว่ามีนัยยะสำคัญทางสถิติก่อน วิธีการทดสอบคือ

เริ่มต้นจาก การตั้งสมมติฐานการวิจัย ซึ่งมี 3 อย่างคือ (ดูหน้า 221)

-เชิงบวก

-เชิงลบ

-ไม่ระบุความสัมพันธ์

ยกตัวอย่าง

1.การตั้งสมมุติฐานเชิงบวก

อายุ

+ ประสิทธิภาพในการทำงาน

(ปี)

(คะแนน)

สมมุติฐานคือ อายุมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับประสิทธิภาพในการทำงาน แสดงว่าคนมีอายุมากขึ้นจะทำงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น

2.การตั้งสมมติฐานเชิงลบ

การศึกษา - จำนวนชิ้นงานที่ผลิตบกพร่อง

สมมุติฐานคือ การศึกษามีความสัมพันธ์ทางลบกับจำนวนชิ้นงานที่ผลิตบกพร่อง การศึกษาสูง ชิ้นงานที่เสียจะลดลง

3.กรณีไม่ระบุความสัมพันธ์

X

Y

เป็นการตั้งสมมุติฐานแบบกล่าวลอยๆว่าตัวแปร 2 ตัวมีความสัมพันธ์กัน ซึ่งในทางการวิจัยเราจะไม่ทำเพราะไม่มีประโยชน์ เราต้องการทราบทิศทางที่ชัดเจนว่าเป็นไปในทิศทางใด เช่น งานบางอย่างอายุจะมีความสัมพันธ์เชิงลบกับประสิทธิภาพงาน แต่งานบางอย่างจะเป็นเชิงบวกกับอายุ

ดังนั้นงานวิจัยจะมี 2 อย่าง คือ เชิงบวก และเชิงลบ

การทดสอบสมมติฐาน

เป็นการทดสอบว่าความสัมพันธ์ของตัวแปรมีนัยยะสำคัญหรือไม่ เราเรียกว่า นัยยะสำคัญทางสถิติ ณ ระดับ .01 และ .05 เรียกว่าระดับความเสี่ยงที่จะสรุปผิด คือโอกาสที่จะผิดพลาด การทดสอบสมมุติฐานในงานวิจัยจะมีความสำคัญมาก

ในงานวิจัยทางสังคมศาสตร์ยอมรับได้ 5% บางครั้งงานวิจัยทางการแพทย์จะผิดพลาด 1 ในหมื่น หรือ 1 ในแสน แต่หากเป็น 1 ในพัน ถือว่าสูงมาก แล้วแต่เลือกว่าเกี่ยวกับชีวิตมากน้อยแค่ไหน

การทดสอบสมมติฐาน คือการทดสอบว่าตัวแปร 2 ตัวมีความสัมพันธ์กันหรือไม่ เรียกว่า การทดสอบนัยยะสำคัญ สมมติฐาน จึงเป็นข้อความที่คาดคะเนระหว่างตัวแปร 2 ตัว

การตั้งสมมติฐาน จะมี 2 อย่างคือ

1.ตัวแปร 2 ตัวมีความสัมพันธ์เชิงบวก

2.ตัวแปร 2 ตัวมีความสัมพันธ์เชิงลบ

นำสมมติฐานมาแปลงเป็นสมมติฐานทางสถิติ ซึ่งสมมติฐานทางสถิติมี 2 สมมติฐาน คือ

1.สมมติฐานศูนย์

2.สมมติฐานหนึ่ง (หรือสมมุติฐานทางเลือก Alternative Hypothesis)

สมมติฐานศูนย์ (หน้า 122)

1.แรงจูงใจ มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับประสิทธิภาพ

H0 Reject

0

+

H0 : r ≤ 0 คือ ไม่มีความสัมพันธ์ หรือมีค่าน้อยกว่า 0 แสดงว่าติดลบ

H1 : r > 0 คือ r มีค่าเป็นบวก แต่หากต่ำกว่า 0 แสดงว่าติดลบ

สมมติฐาน H0, H1 จะตรงข้ามกัน คือ H0 เป็นสมมติฐานเชิงลบ H1 เป็นสมมติฐานเชิงบวก

2.การศึกษามีความสัมพันธ์เชิงลบกับทัศนคติ

Reject

H0

-

0

H0 : r ≥ 0 คือ r ไม่มีความสัมพันธ์ หรือมากกว่า 0 แสดงว่าเป็นบวก

H1 : r < 0 คือ r มีค่าติดลบ

3. อายุมีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิต

Reject

H0

Reject H0

-

0 +

H0 : r = 0 คือ ไม่มีความสัมพันธ์

H1 : r ≠ 0 คือ r อาจจะมากกว่า 0 หรือน้อยกว่า 0 เป็นสมมติฐานที่อาจจะเป็นได้ทั้งเชิงบวกและเชิงลบ

กรณีที่ 3 นี้จะไม่ออกข้อสอบและไม่ให้ทำวิจัยในลักษณะนี้ด้วย ส่วนกรณีที่ 1 และ 2 มีสอบ 6 คะแนน

ตัวอย่างเชิงบวก หน้า 126

สมมติว่าข้อมูลอัตราการเกิดของประชากรและอัตราการเกิดอาชญากรรมในตารางต่อไปนี้ได้จากตัวอย่างอำเภอ จำนวน 9 อำเภอ ซึ่งสุ่มเป็นตัวแทนของอำเภอทุกอำเภอในประเทศไทย

ตารางที่ 1 อัตราการเกิดของประชากรและอัตราการเกิดอาชญากรรมของอำเภอ 9 อำเภอ

อำเภอ

อัตราการเกิดประชากร

อัตราการเกิดอาชญากรรม

1

4.9

13.5

2

1.5

1.2

3

2.2

3.8

4

3.7

15.6

5

2.8

1.6

6

4.2

11.0

7

1.7

2.3

8

1.4

.8

9

3.3

7.0

สมมติฐานการวิจัย

อัตราการเกิดของประชากรมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับอัตราการเกิดอาชญากรรม

H0 = r ≤ 0

H1 = r > 0 (เป็นการทดสอบสมมติฐานทางด้านบวก)

r^ = .88

สถิติทดสอบ

t คำนวณ = r^ n – 2

= r^ 9 - 2

1 - 82

1 - (.88)2

= .88 7

= .88 7

1 - .77

.23

= .88 30.43

= .88 x 5.52

t คำนวณ = 4.86 ; t ตาราง = 1.895 (เราจะปฏิเสธ H0 ถ้า t คำนวณ > t ตาราง)

t คำนวณ = 4.9

t ตาราง = 1.895

สรุปว่า อัตราการเกิดของประชากร และอัตราการเกิดอาชญากรรมมีความสัมพันธ์กันเชิงบวกอย่างมีนัยยะสำคัญทางสถิติ ณ ระดับ .05 และมีความแกร่งสูงมาก (r^ = .88)

หมายความว่า ถ้าอัตราการเกิดของประชากรเพิ่มขึ้น เราสามารถทำนายได้ว่าอัตราการเกิดอาชญากรรมจะเพิ่มมากขึ้นด้วย

ตัวอย่างความสัมพันธ์เชิงบวกเพิ่มเติม

-ขวัญกำลังใจมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับประสิทธิภาพการทำงาน หมายถึง หากมีขวัญกำลังใจในการทำงานสูง ประสิทธิภาพการทำงานก็จะสูงขึ้น

อธิบายเพิ่มเติม : ตัวแปรและชนิดตัวแปร

-ชื่อตัวแปรจะเป็นคำกลางๆ เช่น อัตราการเกิดอาชญากรรม ส่วนคำว่าประเทศนี้มีอัตราการเกิดอาชญากรรมสูง และประเทศนี้มีอัตราการเกิดอาชญากรรมต่ำ ถือเป็นชนิด เป็นคำอธิบายตัวแปร

-เหตุผลที่ตั้งสมมติฐานเชิงบวกเพราะโจทย์บอกว่า “จะเป็นที่สังเกตว่าเมืองใดที่มีคนเกิดมากก็จะเกิดอาชญากรรมมากตามไปด้วย” ดังนั้นจึงตั้งสมมติฐานเชิงบวกว่า อัตราการเกิดของประชากรมีความสัมพันธ์กับอัตราการเกิดอาชญากรรม

-ตัวแปรคือ อัตราการเกิดของประชากรมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับอัตราการเกิดอาชญากรรมสูง (คำว่าสูง เป็นชนิดของตัวแปร)

-เพศ เป็นตัวแปร ส่วนเพศชายและเพศหญิงเป็นชนิดของตัวแปร

อธิบายเพิ่มเติม : ค่า 0 เชิงสถิติ

-สมมติว่า วันนี้ไม่ออกไปไหนเพราะไม่มีเงิน (ไม่มีเงินคือ 0) แต่คำพูดนี้อาจจะไม่จริงเพราะหากค้นในบ้านอาจจะเจอเศษเงินบ้างสัก 500 บาท แต่มี 500 บาทก็เหมือนไม่มีเพราะไม่สามารถซื้อของได้มาก แบบนี้เรียกว่าไม่ต่างจาก 0 ในทางสถิติไม่ได้บอกว่ามากกว่า 1 บาทมีนัยยะสำคัญ แต่หากที่บ้านมีเงิน 10,000 บาท แสดงว่ามีเกณฑ์

-ยุค IMF ที่ดีคือไม่มีหนี้ แต่จริงๆแล้วมีหนี้อย่างน้อยค่าน้ำ ค่าไฟฟ้า ซึ่งเป็นหนี้ที่ไม่มีนัยยะพอที่จะจ่ายได้ คือ r กลับมาเป็น 0

เกร็ดความรู้เพิ่มเติม

-อดีตประเทศที่มีอาชญากรรมน้อยที่สุดอันดับ 1 คือ สวิสเซอร์แลนด์ อันดับ 2 ญี่ปุ่น อันดับ 3 ซาอุดิอารเบีย อันดับ 4 เนปาล อันดับ 5 ศรีลังกา แต่พอ 20 ปีให้หลังประเทศเหล่านี้กลับไม่สงบเพราะมีการฆ่าฟันกันมากขึ้น

-ประเทศที่มีคนเกิดมากจะมีอาชญากรรมมาก ประชาชนยากจน ประเทศสวิสฯ มีคนเกิดน้อย อาชญากรรมน้อย จึงเป็นประเทศที่ร่ำรวยและเป็นเมืองที่สงบที่สุด

ตัวอย่างสมมุติฐานเชิงลบ หน้า 128

ผู้วิจัยต้องการทดสอบว่าจริงหรือไม่ถ้าพนักงานมีการศึกษาระดับสูงจะยิ่งทำให้จำนวนชิ้นงานที่ผลิตบกพร่องน้อยลง จึงเก็บรวบรวมโดยสุ่มตัวอย่างพนักงาน 30 คน ตามข้อมูลการศึกษาและจำนวนชิ้นงานที่ผลิตบกพร่องในรอบเดือน ผลการคำนวณค่า สปส. สหสัมพันธ์เทียร์สัน พบว่ามีค่าเท่ากับ -.20 แล้วดำเนินการทดสอบสมมติฐานตามขั้นตอน ดังนี้

สมมติฐานการวิจัย คือ

การศึกษาของพนักงานมีความสัมพันธ์เชิงลบกับจำนวนชิ้นงานที่ผลิตบกพร่อง

การศึกษา

ชิ้นงานบกพร่อง

H0 : r ≥ 0n = 30

( = .05

H1 : r < 0d.f = 30 -2 = 28

หาค่า t วิกฤต (t ตาราง) ได้ = -1.701

เราจะปฏิเสธ H0 ถ้าค่า t คำนวณมีค่าต่ำกว่า t วิกฤตหรือ t ตาราง

สถิติทดสอบ

t คำนวณ = r^ n – 2

= -.20 30 - 2

1-r^2

1- (-.20)2

= -.20 28

= -.20 28

1 – (.40)

0.96

= -.20 29.17

= -.20 x 5.40

t คำนวณ = - 1.08

เขตปฏิเสธ H0 (( = .05)

t ตาราง = -1.701

t คำนวณ = -1.08

ดังนั้น t คำนวณ > t ตาราง จึงตกอยู่ในเขตยอมรับ H0 แสดงว่าตัวแปรทั้ง 2 ตัวไม่มีความสัมพันธ์กัน

จึงสรุปได้ว่า ข้อมูลไม่ได้สนับสนุนสมมติฐานการวิจัยที่ว่าการศึกษาของพนักงานมีความสัมพันธ์เชิงลบกับจำนวนชิ้นงานที่ผลิตบกพร่องอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ณ ระดับ .05 หรือ ตัวแปรสองตัวไม่มีความสัมพันธ์เชิงลบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ณ ระดับ 0.05 เมื่อไม่มีความสัมพันธ์ก็ไม่ต้องตีค่าความแกร่ง

แต่ถ้าเราเปลี่ยนค่า สัมประสิทธิสหสัมพันธ์ = -.80 (จากโจทย์ตัวอย่างที่ 2)

t คำนวณ = -.80 30-2

= -.80 28

1-(-.80)2

1-.64

= -.80 28

= -.80 77.78

.36

= -.80 x 8.82

= -7.055

t คำนวณ = -7.055; t ตาราง = -1.701

เขตปฏิเสธ H0 (( = .05)

t ตาราง = -1.701

t คำนวณ = -7.055

t คำนวณ < t ตาราง จึงตกอยู่ในเขตปฏิเสธ H0 ยอมรับ H1

จึงสรุปได้ว่า ข