13
๙๖ นิตยสารศิลปากร นักรองเสียงหวานจับใจ ดวงเนตร ดุริยพันธุ ไพโรจน ทองคำสุก * * นักวิชาการละครและดนตรีชำนาญการ กลุมวิจัยและพัฒนางานแสดง สำนักการสังคีต กรมศิลปากร. ศิลปน - ศิลปากร “เจานางตานีทองนองแกว เปนคนแลวพี่จะรักใหหนักหนา พี่ขอเชิญชวนแกวแววตา ไปเปนเพื่อนพี่ยาจนวันตาย พี่มุงมาหมายวาจะเชิญนอง เจานางตานีทองละอองฉาย ไปเปนเพื่อนคูยากลำบากกาย แลวเจาพลายเปามนตใหอาวรณ” บทละครเรื่องขุนชางขุนแผน ตอนพลายบัวเกี้ยวนางตานี ปรมาจารยดานดนตรีไทยนำไปบรรเลง และขับรองเพลงทองยอน มีความหมายถึงการเชิญชวน เกี้ยวพาราสี นับเปนเพลงที่มีความไพเราะ และ ใชในการฝกหัดของนักรอง นักดนตรีไดเปนอยางดี ครูดวงเนตร ดุริยพันธุ เริ่มฝกหัดเพลงทองยอน กับมารดา คือครูแชมชอย ดุริยพันธุ เปนครั้งแรก ยังความประทับใจอยางไมรูลืม สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พระราชทานของที่ระลึกให เนื่องในงานบวงสรวงพระสยามเทวาธิราช ณ พระบรมมหาราชวัง

ศิลป น - ศิลปากร นักร องเสียงหวานจับใจ ดวงเนตร ดุริยพันธุ · ขับร้องประกอบการแสดงละครในเรื่องอิเหนา

  • Upload
    others

  • View
    1

  • Download
    0

Embed Size (px)

Citation preview

Page 1: ศิลป น - ศิลปากร นักร องเสียงหวานจับใจ ดวงเนตร ดุริยพันธุ · ขับร้องประกอบการแสดงละครในเรื่องอิเหนา

๙๖ นิตยสารศิลปากร

นักรองเสียงหวานจับใจ ดวงเนตร ดุริยพันธุ

ไพโรจน ทองคำสุก *

* นักวิชาการละครและดนตรีชำนาญการ กลุมวิจัยและพัฒนางานแสดง สำนักการสังคีต กรมศิลปากร.

ศิลปน - ศิลปากร

“เจานางตานีทองนองแกว เปนคนแลวพี่จะรักใหหนักหนา

พี่ขอเชิญชวนแกวแววตา ไปเปนเพื่อนพี่ยาจนวันตาย

พี่มุงมาหมายวาจะเชิญนอง เจานางตานีทองละอองฉาย

ไปเปนเพื่อนคูยากลำบากกาย แลวเจาพลายเปามนตใหอาวรณ”

บทละครเรื่องขุนชางขุนแผน ตอนพลายบัวเกี้ยวนางตานี ปรมาจารยดานดนตรีไทยนำไปบรรเลง

และขับรองเพลงทองยอน มีความหมายถึงการเชิญชวน เกี้ยวพาราสี นับเปนเพลงที่มีความไพเราะ และ

ใชในการฝกหัดของนักรอง นักดนตรีไดเปนอยางดี ครูดวงเนตร ดุริยพันธุ เริ่มฝกหัดเพลงทองยอน กับมารดา

คือครูแชมชอย ดุริยพันธุ เปนครั้งแรก ยังความประทับใจอยางไมรูลืม

สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พระราชทานของที่ระลึกให เนื่องในงานบวงสรวงพระสยามเทวาธิราช ณ พระบรมมหาราชวัง

Page 2: ศิลป น - ศิลปากร นักร องเสียงหวานจับใจ ดวงเนตร ดุริยพันธุ · ขับร้องประกอบการแสดงละครในเรื่องอิเหนา

9๗นิตยสารศิลปากร

ภารกิจหลักในความรับผิดชอบของสำนักการสังคีต คือการอนุรักษ์ สืบทอดศิลปวัฒนธรรม

ด้านนาฏศิลป ดุริยางคศิลป และคีตศิลป ในงานพระราชพิธี รัฐพิธี และพิธีการต่าง ๆ ตามจารีตประเพณี

ตลอดจนงานเผยแพร่ในรูปแบบของการบรรเลง และการแสดง งานด้านคีตศิลปนับเป็นงานในหน้าที่หลัก

ของคีตศิลปินของสำนักการสังคีต และครูดวงเนตร ดุริยพันธุ์ หรือที่เรามักจะเรียกขานท่านว่า น้อย ครูน้อย

พี่น้อย หรือ ป้าน้อย คือหนึ่งในคีตศิลปิน กลุ่มดุริยางค์ไทย สำนักการสังคีต ที่มากด้วยประสบการณ์ความ

สามารถท่านหนึ่งของกรมศิลปากร

ประวัติสวนตัว ชื่อ–นามสกุล ดวงเนตร ดุริยพันธุ์

เกิด วันที่๒๓มิถุนายนพุทธศักราช๒๔๘๒

บิดา นายเหนี่ยว ดุริยพันธุ์

มารดา นางแช่มช้อย ดุริยพันธุ์(ดุริยประณีต)

พี่–นองรวม๖คน สุรางค์ ดุริยพันธุ์

ชนะ ดุริยพันธุ์

ดวงเนตร ดุริยพันธุ์

นฤพนธ์ ดุริยพันธุ์

อนันต์ ดุริยพันธุ์

พจนา ดุริยพันธุ์

สามี นายสุพจน์ โตสง่า

บุตร–ธิดา นายณรงค์ฤทธิ์ โตสง่า

นางประดิษฐา วิบูลย์เลิศวัฒนา(โตสง่า)

นายชัยยุทธ์ โตสง่า

ครูแชมชอย ดุริยประณีต มารดา ครูเหนี่ยว ดุริยพันธุ บิดา

Page 3: ศิลป น - ศิลปากร นักร องเสียงหวานจับใจ ดวงเนตร ดุริยพันธุ · ขับร้องประกอบการแสดงละครในเรื่องอิเหนา

98 นิตยสารศิลปากร

ประวัติการศึกษา

เริ่มเข้ารับการศึกษาในระดับประถมศึกษาจากโรงเรียนวราวุฒิวิทยาลัย จนจบการศึกษาใน

พุทธศักราช ๒๔๙๕ จากนั้นเข้ารับการศึกษาต่อในระดับมัธยมศึกษาตอนต้นที่โรงเรียนเบญจมราชาลัย

จนจบมัธยมศึกษาปีที่ ๓ ในพุทธศักราช ๒๔๙๙ แล้วเข้าศึกษาต่อที่โรงเรียนเขมะสิริอนุสรณ์ ได้เพียง ๑ ปี

ก็หยุดพักการเรียน จากนั้นในเวลาต่อมาเข้าศึกษาต่อที่โรงเรียนสตรีวัดระฆังโฆษิตาราม ในระดับมัธยมศึกษา

ตอนปลายภาคพิเศษ วุฒิพิเศษมัธยม (พ.ม.) จนจบการศึกษาในพุทธศักราช ๒๕๒๕ แล้วเข้าศึกษาต่อ

ในระดับปริญญาตรี ครุศาสตรบัณฑิต (คบ.) จากวิทยาลัยครูสวนสุนันทา (มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา)

จบการศึกษาในพุทธศักราช๒๕๒๙

สำหรับการศึกษาด้านดนตรีไทย และการขับร้องเพลงไทยเดิมนั้น ด้วยเหตุที่ดวงเนตร ดุริยพันธุ์

เกิดในครอบครัวนักดนตรีไทย และขับร้องเพลงไทยเดิมที่มีชื่อเสียง แต่ในวัยเด็กมิได้สนใจดนตรีไทยเท่าใดนัก

ชอบแต่เป่าหีบเพลงฝรั่ง กอปรกับบิดาไม่ต้องการให้ลูกมาเป็นนักร้องเหมือนตนเพราะเห็นถึงความยากลำบาก

จนกระทั่งอายุได้ ๑๖ปี บิดาถึงแก่กรรมเมื่อพุทธศักราช๒๔๙๘จึงได้เริ่มศึกษาการขับร้องเพลงไทยและด้วย

พรสวรรค์ที่มีอยู่คือน้ำเสียงไพเราะแจ่มใสและแหลมสูงทำให้สามารถขับร้องเพลงไทยได้อย่างไพเราะในเวลา

นั้นได้เริ่มฝึกหัดกับครอบครัวอย่างจริงจัง โดยเริ่มฝึกหัดในตอนเช้าก่อนไปโรงเรียน และหลังจากเลิกเรียนก็จะ

กลับมาต่อเพลง และฝึกซ้อมเพิ่มเติม เพลงไทยที่ได้รับการถ่ายทอดจากมารดาเป็นเพลงแรกคือเพลงทองย่อน

จากนั้นก็เริ่มฝึกหัดเพลงเถากับครอบครัวเรื่อยมาเช่นครูโชติดุริยประณีตครูชมรุ่งเรืองเป็นต้นในเวลาต่อมา

จึงได้มีโอกาสเรียนเพลงละครกับครูสุดา เขียววิจิตร (สกุลเดิมดุริยประณีต)ซึ่งเป็นป้าแท้ๆและเพลงเกร็ดจาก

ครูสุดจิตต์ดุริยประณีตโดยได้รับการศึกษาทั้งวิธีการขับร้องและบทเพลง

ในพุทธศักราช ๒๕๐๑ ได้มีโอกาสร่วมบันทึกเสียงกับวงดนตรีคณะเสริมมิตรบรรเลง จึงได้มีโอกาส

ศึกษาแนวทางการขับร้องและบทเพลงของทางฝั่งธนบุรีจากครูฉวีวรรณเปลี่ยนทันผลเช่นเพลงไอยเรศ๓ชั้น

เป็นต้น นอกจากนี้ยังได้ศึกษาวิธีการขับร้อง และบทเพลงจากครูชลอรัตน์ อ่วมหร่าย เช่นเพลงเทวาประสิทธิ์

เถา เป็นต้นซึ่งครูทั้งสองท่านนี้ล้วนแต่เป็นนักร้องที่มีชื่อเสียงของสำนักดนตรีไทย ในสายของบ้านฝั่งธนบุรี คือ

สายของจางวางทั่วพาทยโกศล

Page 4: ศิลป น - ศิลปากร นักร องเสียงหวานจับใจ ดวงเนตร ดุริยพันธุ · ขับร้องประกอบการแสดงละครในเรื่องอิเหนา

99นิตยสารศิลปากร

ประวัติการทำงาน ในพุทธศักราช๒๕๐๔ได้เข้ารับราชการเป็นครูในโรงเรียนสายปัญญามีโอกาสพบกับครูอุดมอรุณรัตน์

และได้ฝึกหัดขับไม้บัณเฑาะว์ เพลงบุหลันลอยเลื่อน และเพลงหกบท เป็นต้น นอกจากนี้ยังได้ฝึกเพลงเถา

เพลงละครประเภทต่างๆเพิ่มเติมกับครูจันทนาพิจิตรคุรุการอีกด้วยในระยะนี้ได้มีโอกาสร่วมงานการขับร้อง

ออกอากาศทางสถานีวิทยุ กรมประชาสัมพันธ์ ในนามคณะศิษย์ครูสุดา และในนามคณะดุริยพันธุ์ อยู่เป็น

ประจำ

ขณะขับรองเพลงไทยรวมกับบรรดาคีตศิลปน

ในพุทธศักราช ๒๕๒๒ ได้โอนมาเข้ารับราชการที่สำนักการสังคีต กรมศิลปากร ปฏิบัติหน้าที่เป็น

คีตศิลปินในกลุ่มดุริยางค์ไทยร่วมขับร้องเพลงไทยกับคีตศิลปินในงานเผยแพร่ณโรงละครแห่งชาติและงาน

อื่น ๆ มากมาย ในระหว่างนี้ก็ได้แลกเปลี่ยนความรู้กับเพื่อนคีตศิลปิน นอกจากนี้ยังได้มีโอกาสฝากตัวเป็นศิษย์

กับครูละม่อมอิศรางกูรณอยุธยาโดยได้รับการถ่ายทอดกลวิธีการขับร้องเพลงประกอบการแสดงหุ่นกระบอก

แบบโบราณในครั้งนั้นได้เข้าพิธีการรับมอบโดยมีการตระเตรียมดอกไม้ธูปเทียนผลไม้สามชนิดพร้อมเงินกำนล

หกบาทนอกจากนี้ยังนำเครื่องดนตรีได้แก่ซออู้ฉิ่งกลองตุกและกลองแตวใส่ถาดเข้าร่วมในพิธีด้วยการฝึกหัด

เริ่มจากฝึกร้องบทไหว้ครูหุ่นกระบอกแบบโบราณในเพลงช้าปี่ จากนั้นจึงถ่ายทอดกลวิธีการร้องอันมีจุดเด่นอยู่

ในการแทรกเสียงเอื้อนของบทโศกเศร้า เสียใจ ที่เรียกว่า “ครวญ” กลวิธีดังกล่าวครูจะถ่ายทอดให้ว่าโศกแค่

ไหน และจะครวญแค่ไหนจึงจะเหมาะสม ซึ่งต้องใช้การฝึกฝนอย่างต่อเนื่อง ในด้านเพลงหุ่นกระบอกนี้ยังได้รับ

การถ่ายทอดเพิ่มเติมจากครูเจริญใจ สุนทรวาทิน ศิลปินแห่งชาติ โดยได้รับการถ่ายทอดเพลงหุ่นกระบอกทาง

ดึกดำบรรพ์ จากนั้นในพุทธศักราช ๒๕๒๒ ก็ได้ฝากตัวเป็นศิษย์กับครูชื้น สกุลแก้ว ศิลปินแห่งชาติ ได้รับการ

ครอบครูหุ่นกระบอก และได้รับการถ่ายทอดกลวิธีการขับร้องประกอบการเชิดหุ่นกระบอก โดยเฉพาะตัวตลก

ที่มีความสนุกสนานขบขันเพิ่มเติม

Page 5: ศิลป น - ศิลปากร นักร องเสียงหวานจับใจ ดวงเนตร ดุริยพันธุ · ขับร้องประกอบการแสดงละครในเรื่องอิเหนา

100 นิตยสารศิลปากร

ผลงานการปฏิบัติหน้าที่ในการขับร้องเพลงไทยให้กับกรมศิลปากรเนื่องในโอกาสต่างๆมากมายเช่น

ขับร้องประกอบการแสดงละครในเรื่องอิเหนาตอนศึกกะหมังกุหนิงในพ.ศ.๒๕๒๓

ขับร้องประกอบการแสดงละครนอกเรื่องโกมินทร์ตอนโกมินทร์คะนองในพ.ศ.๒๕๒๖

ขับร้องประกอบการแสดงโขนชุดหนุมานชาญสมรในพ.ศ.๒๕๒๘

ขับร้องประกอบการแสดงละครนอกเรื่องพระอภัยมณีในพ.ศ.๒๕๒๙

ขับร้องประกอบการแสดงโขนชุดรามาวตารในพ.ศ.๒๕๓๐

ขับร้องประกอบการแสดงละครในเรื่องอิเหนาตอนลักผิดตัวในพ.ศ.๒๕๓๕

ขับร้องประกอบการแสดงละครเสภาเรื่องกากีในพ.ศ.๒๕๓๕

ขับร้องประกอบการแสดงละครนอกเรื่องพระอภัยมณีในพ.ศ.๒๕๓๕

ขับร้องประกอบการแสดงโขนชุดปราบโอรสทศกัณฐ์ในพ.ศ.๒๕๓๕

ถายภาพรวมกับนิษา ถนอมรูป และสมชาย ทับพร

ถายภาพรวมกับศิริญาณี กิ่มเปยม

Page 6: ศิลป น - ศิลปากร นักร องเสียงหวานจับใจ ดวงเนตร ดุริยพันธุ · ขับร้องประกอบการแสดงละครในเรื่องอิเหนา

101นิตยสารศิลปากร

ขับร้องประกอบการแสดงละครเสภาเรื่องขุนช้างขุนแผนตอนขุนแผนแสนสะท้านพ.ศ.๒๕๓๕

ขับร้องประกอบการแสดงโขนชุดศึกสัทธาสูร–วิรุญจำบังในพ.ศ.๒๕๓๕

ที่ปรึกษาด้านการขับร้องการแสดงโขนชุดนางลอยในพ.ศ.๒๕๔๔

ที่ปรึกษาด้านการขับร้องการแสดงโขนชุดพรหมาสตร์ในพ.ศ.๒๕๔๔

อำนวยการฝึกซ้อมละครอิงประวัติศาสตร์เรื่องไทในพ.ศ.๒๕๔๘

อำนวยการฝึกซ้อมละครเรื่องสมเด็จพระนเรศวรมหาราชในพ.ศ.๒๕๔๘

ที่ปรึกษาด้านการขับร้องเนื่องในงานครบรอบ๔๐ปีโรงละครแห่งชาติในพ.ศ.๒๕๔๘

ที่ปรึกษาด้านการขับร้องในรายการ“สิบทศวรรษนาฏยสังคีต”ในพ.ศ.๒๕๕๔

ที่ปรึกษาด้านการขับร้องในรายการดนตรีไทยไร้รสหรือเป็นประจำ

ที่ปรึกษาด้านการขับร้องในรายการศรีสุขนาฏกรรมเป็นประจำฯลฯ

สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงขับรองเพลงไทย ครูดวงเนตร ดุริยพันธุ รวมอยูในวงปพาทยมอญดวย

ผลงานการปฏิบัติหน้าที่ในการขับร้องเพลงไทยให้กับกรมศิลปากรเนื่องในโอกาสพิเศษเช่น

การแสดงมหรสพสมโภช งานพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระบรมศพ สมเด็จพระศรีนครินทราบรม

ราชชนนี ครูดวงเนตร ดุริยพันธุ์ ขับร้องเพลงประกอบการแสดงโขนของกรมศิลปากรณ เวทีท้องสนามหลวง

วันที่๙มีนาคมพ.ศ.๒๕๓๙

สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารีเสด็จพระราชดำเนินณโรงละครแห่งชาติทรงดนตรี

ประกอบการแสดงโขนหน้าจอ ชุดศึกทศกัณฐ์ขาดเศียรขาดกร ในพ.ศ. ๒๕๔๕ ครูดวงเนตร ดุริยพันธุ์ ได้มี

โอกาสขับร้องร่วมในวงปี่พาทย์ครูอาวุโสกรมศิลปากร

Page 7: ศิลป น - ศิลปากร นักร องเสียงหวานจับใจ ดวงเนตร ดุริยพันธุ · ขับร้องประกอบการแสดงละครในเรื่องอิเหนา

102 นิตยสารศิลปากร

สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารีเสด็จพระราชดำเนินณโรงละครแห่งชาติทรงดนตรี

ประกอบการแสดงโขนหน้าจอ ชุดศึกวิรุญจำบัง ในพ.ศ. ๒๕๔๖ ครูดวงเนตร ดุริยพันธุ์ ได้มีโอกาสขับร้องร่วม

ในวงปี่พาทย์ครูอาวุโสกรมศิลปากร

การแสดงมหรสพสมโภช งานพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้า

กัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ครูดวงเนตร ดุริยพันธุ์ ขับร้องเพลงประกอบการแสดง

หุ่นกระบอกของกรมศิลปากรเรื่องพระอภัยมณีตอนรักจำพรากณเวทีท้องสนามหลวงวันที่๑๕พฤศจิกายน

พ.ศ.๒๕๕๑

สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตรการแสดงโขน

ของกรมศิลปากร ณ อุทยานพระบรมราชานุสรณ์พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย อำเภออัมพวา

จังหวัดสมุทรสงครามเป็นประจำในเดือนกุมภาพันธ์ของทุกปีครูดวงเนตรดุริยพันธุ์ขับร้องเพลงประกอบการ

แสดงโขน

การแสดงมหรสพบวงสรวงพระสยามเทวาธิราช ภายในพระบรมมหาราชวัง จัดเป็นประจำในเดือน

เมษายนของทุกปีครูดวงเนตรดุริยพันธุ์ขับร้องประกอบการแสดงฯลฯ

นอกจากนี้ครูดวงเนตร ดุริยพันธุ์ ยังได้มีโอกาสเดินทางไปเผยแพร่การขับร้องประกอบการแสดงโขน

ละคร ระบำ รำ ฟ้อน และการแสดงหุ่นกระบอก ยังต่างประเทศกับกรมศิลปากรมากกว่า ๒๐ ประเทศ เช่น

อังกฤษสวีเดน เดนมาร์กฮังการี เบลเยี่ยม เนเธอร์แลนด์อิตาลีสวิสเซอร์แลนด์ฝรั่งเศส เยอรมันญี่ปุ่นจีน

สเปนปากีสถานฮ่องกงฯลฯสำหรับการขับร้องประกอบการแสดงหุ่นกระบอกของกรมศิลปากรที่ครูดวงเนตร

ดุริยพันธุ์ ประทับใจมากที่สุด คือได้มีโอกาสเดินทางร่วมกับคณะไปแสดงในสหภาพโซเวียต เนื่องในงาน

มหกรรมหุ่นกระบอกนานาชาติโดยมีประเทศไทยอินเดียบังคลาเทศเวียดนามฟิลิปปินส์และมองโกเลียร่วม

แสดงโดยจัดแสดงระหว่างวันที่๒๕–๓๑ตุลาคม๒๕๒๒

Page 8: ศิลป น - ศิลปากร นักร องเสียงหวานจับใจ ดวงเนตร ดุริยพันธุ · ขับร้องประกอบการแสดงละครในเรื่องอิเหนา

103นิตยสารศิลปากร

แผนภูมิการถ่ายทอดกลวิธีการขับร้องเพลงไทย ครูดวงเนตร ดุริยพันธุ์

ครูแช่มช้อย ดุริยพันธุ์ มารดา ผู้ปูพื้นฐานการขับร้องเพลงไทยเดิม

ดวงเนตร ดุริยพันธุ์

ครูชื้น สกุลแก้ว ถ่ายทอดทาง

เพลงหุ่นกระบอกเพิ่มเติม

ครูเจริญใจ สุนทรวาทิน ถ่ายทอดทางเพลงหุ่นดึกดำบรรพ์

ครูละม่อม อิศรางกูร ณ อยุธยา ถ่ายทอดทางเพลงหุ่นกระบอก

ครูนันทนา พิจิตรคุรุการ ถ่ายทอดเพลงเถา / เพลงละครเพิ่ม

ครูอุดม อรุณรัตน์ ถ่ายทอดขับไม้บัณเฑาะว ์

ครูชลอรัตน์ อ่วมหร่าย ถ่ายทอดทางเพลงฝั่งธนบุรี

ครูฉวีวรรณ เปลี่ยนทันผล ถ่ายทอดทางเพลงฝั่งธนบุร ี

ครูชม รุ่งเรือง ถ่ายทอดเพลงเถาเพิ่มเติม

ครูโชติ ดุริยประณีต ถ่ายทอดเพลงเถา

ครูสุดจิตต์ ดุริยประณีต ถ่ายทอดเพลงเกร็ด / เพลงเถา / เพลงละคร

ครูสุดา เขียววิจิตร (ดุริยประณีต) ป้า ผู้ถ่ายทอดกลวิธีการขับร้องเพลงไทยเดิม

Page 9: ศิลป น - ศิลปากร นักร องเสียงหวานจับใจ ดวงเนตร ดุริยพันธุ · ขับร้องประกอบการแสดงละครในเรื่องอิเหนา

10๔ นิตยสารศิลปากร

สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พระราชทานประกาศนียบัตร และเข็มที่ระลึก ผูปรับวงชนะเลิศ ๒๕๔๘

พระเจาวรวงศเธอ พระองคเจาโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ พระราชทานเข็มเชิดชูเกียรติ

Page 10: ศิลป น - ศิลปากร นักร องเสียงหวานจับใจ ดวงเนตร ดุริยพันธุ · ขับร้องประกอบการแสดงละครในเรื่องอิเหนา

10๕นิตยสารศิลปากร

เกียรติคุณที่ได้รับ พ.ศ.๒๕๓๕ โล่แผ่นทองผดุงเกียรติ ๖๐ ปี โรงเรียนเขมะสิริอนุสรณ์ ในฐานะศิษย์เก่าดีเด่น

สาขาการขับร้อง

พ.ศ.๒๕๓๙ เกียรติบัตรครูดนตรีไทยดีเด่น มหาวิทยาลัยรังสิต ร่วมกับ หนังสือพิมพ์เนชั่นและ

กระทรวงวัฒนธรรม

พ.ศ.๒๕๔๙ เข็มเชิดชูเกียรติงานวิศิษฏศิลปินปิ่นสยาม

พ.ศ.๒๕๕๐ ผู้มีผลงานดีเด่นทางวัฒนธรรม

พ.ศ.๒๕๕๒ ครูภูมิปัญญาไทย รุ่นที่ ๖ ด้านศิลปกรรม (คีตศิลปไทย) สำนักงานเลขาธิการสภา

การศึกษากระทรวงศึกษาธิการ

รับประกาศนียบัตร และเข็มเชิดชูเกียรติ ครูภูมิปญญาไทย รุนที่ ๖ จากสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา

การถ่ายทอดความรู้ ครูดวงเนตรดุริยพันธุ์มีลักษณะถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์โดยไม่ปิดบังอำพรางผ่านการจัดการ

ศึกษา๓รูปแบบดังนี้

๑. การศึกษาในระบบ ถ่ายทอดการขับร้องเพลงไทยเดิมให้กับหน่วยงานราชการ และสถานศึกษา

ทุกระดับการศึกษาดังนี้

• กลุ่มดุริยางค์ไทยสำนักการสังคีตกรมศิลปากร

• สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป

• วิทยาลัยนาฏศิลป

• โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา

• จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

• ภ.ป.ร.ราชวิทยาลัยฯลฯ

Page 11: ศิลป น - ศิลปากร นักร องเสียงหวานจับใจ ดวงเนตร ดุริยพันธุ · ขับร้องประกอบการแสดงละครในเรื่องอิเหนา

106 นิตยสารศิลปากร

๒. การศึกษานอกระบบขับร้องเพลงไทยเดิมในโอกาสต่างๆดังนี้

• การแสดงโขนของกรมศิลปากร

• การแสดงละครประเภทต่างๆของกรมศิลปากร

• การแสดงหุ่นกระบอกของกรมศิลปากร

๓. การศึกษาตามอัธยาศัย ถ่ายทอดแนวการขับร้องเพลงไทยเดิม และเพลงหุ่นกระบอก เนื่องในงาน

พระราชพิธีรัฐพิธีและงานเผยแพร่ในต่างประเทศเนื่องในโอกาสสำคัญ

วิธีการถ่ายทอดองค์ความรู้ ครูดวงเนตร ดุริยพันธุ์ ถ่ายทอดองค์ความรู้ ตลอดจนเทคนิคการขับร้องเพลงไทยเดิมในรูปแบบที่

หลากหลายดังนี้

• ถ่ายทอดในชั้นเรียนวางรากฐานที่ถูกต้องในการขับร้องเพลงไทยเดิม

• ถ่ายทอดเฉพาะบุคคลตัวต่อตัวเน้นกลวิธีการขับร้อง

• สาธิตการขับร้องให้กับสถาบันการศึกษาทั่วไป

• ขับร้องประกอบการบรรเลงและการแสดงโขนละครและหุ่นกระบอกของกรมศิลปากร

• ขับร้องประกอบการแสดงโขนละครและหุ่นกระบอกให้กับสถาบันการศึกษาและคณะต่างๆที่ขอ

ความร่วมมือ

• ขับร้องผ่านสื่อการเรียนการสอนประเภทต่างๆ

• ขับร้องในรายการวิทยุทางสถานีวิทยุศึกษา

ศิษย์ที่ได้รับการถ่ายทอดการขับร้องเพลงไทย คีตศิลปินของกลุ่มดุริยางค์ไทยสำนักการสังคีต

• มัณฑนาอยู่ยั่งยืน

• ศิริญาณีกิ่มเปี่ยม

• นิรมลนุชทรัพย์

• นิษาถนอมรูป

• กัญจนปกรณ์แสดงหาญ

• กำจรเดชสดแสงจันทร์

• ประจักษ์อยู่เจริญ

คีตศิลปินของกองดุริยางค์ทหารเรือ

• สมนึกงามพร้อม

Page 12: ศิลป น - ศิลปากร นักร องเสียงหวานจับใจ ดวงเนตร ดุริยพันธุ · ขับร้องประกอบการแสดงละครในเรื่องอิเหนา

107นิตยสารศิลปากร

อาจารย์จากวิทยาลัยนาฏศิลปกระทรวงวัฒนธรรม

• อาภรณ์ทองไกรแสน วิทยาลัยนาฏศิลปอ่างทอง

• นุชจิราสุขพันธุ์ วิทยาลัยนาฏศิลปอ่างทอง

• มยุรีสุขกลัด วิทยาลัยนาฏศิลปอ่างทอง

• ปกครองทองสมบัติ วิทยาลัยนาฏศิลปอ่างทอง

• สมพรทองสีเขียว วิทยาลัยนาฏศิลปนครราชสีมา

• สุรชัยสีบุปผา วิทยาลัยนาฏศิลปลพบุรี

• ฉัตราพรดวงสร้อย วิทยาลัยนาฏศิลปลพบุรี

• บุญสมทรัพย์สิน วิทยาลัยนาฏศิลปลพบุรี

• นงนุชสุนทรสุข วิทยาลัยนาฏศิลปลพบุรี

• อรุณสังพาลี วิทยาลัยนาฏศิลปลพบุรี

• แสงจันทร์อรรถกฤษณ์ วิทยาลัยนาฏศิลปสุพรรณบุรี

• ปิยภรณ์มีมั่งคั่ง วิทยาลัยนาฏศิลปสุพรรณบุรี

• ปัทมาวุฒิประดิษฐ์ วิทยาลัยนาฏศิลปจันทบุรี

• ศิริวรรณแก้วเพ็งกรอ วิทยาลัยนาฏศิลปกาฬสินธุ์

• ชุลีเมธาศุภสวัสดิ์ วิทยาลัยนาฏศิลปกาฬสินธุ์

• เชาวลิตทองคำ วิทยาลัยนาฏศิลปกาฬสินธุ์

• วาสนาซึ่งรำ วิทยาลัยนาฏศิลปกาฬสินธุ์

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ • เหรียญจักรพรรดิมาลา

• ทวีติยาภรณ์ช้างเผือก

ครูดวงเนตร ดุริยพันธุ์ รับราชการในสำนักการสังคีต กรมศิลปากร ด้วยความตั้งใจ มีวิริยะอุตสาหะ

ปฏิบัติงานอย่างเต็มความสามารถทั้งในด้านการขับร้อง และการถ่ายทอดความรู้ให้กับคีตศิลปินรุ่นเยาว์

ของกลุ่มดุริยางค์ไทย จนเมื่ออายุได้ ๖๐ ปี ครูดวงเนตร ดุริยพันธุ์ ก็เกษียณอายุราชการ ในพ.ศ. ๒๕๔๓

และด้วยความรู้ความสามารถที่มีอยู่ในตัวครูดวงเนตร ดุริยพันธุ์ สำนักการสังคีต กรมศิลปากร จึงเชิญ

ให้เป็นผู้เชี่ยวชาญ คอยให้คำปรึกษา และถ่ายทอดความรู้ด้านการขับร้องเพลงไทยให้กับคีตศิลปินของ

กลุ่มดุริยางค์ไทยสำนักการสังคีตกรมศิลปากร

Page 13: ศิลป น - ศิลปากร นักร องเสียงหวานจับใจ ดวงเนตร ดุริยพันธุ · ขับร้องประกอบการแสดงละครในเรื่องอิเหนา

๑๐๘ นิตยสารศิลปากร

ถายภาพกับศิษย

เอกสารอางอิง

ไพโรจน ทองคำสุก. ครูศิริวัฒน ดิษยนันทน ศิลปนแหงชาติ ตนแบบของศิลปนชั้นครูผูถายทอด และ

สรางสรรคนาฏศิลปไทย, กรุงเทพมหานคร : ดอกเบี้ย, ๒๕๔๙.

ราชบัณฑิตยสถาน. สารานุกรมศัพทดนตรีไทย ภาคประวัตินักดนตรีและนักรอง ฉบับราชบัณฑิตยสถาน,

กรุงเทพมหานคร : อรุณการพิมพ, ๒๕๔๒.

ศิลปากร, กรม. สูจิบัตรละครในเรื่องอิเหนา, กรุงเทพมหานคร : การศาสนา, ๒๕๒๓.

. สูจิบัตรละครนอกเรื่องโกมินทร, กรุงเทพมหานคร : เรือนแกว, ๒๕๒๖.

. สูจิบัตรละครเรื่องกากี, กรุงเทพมหานคร : คุรุสภาลาดพราว, ๒๕๓๕.

. สูจิบัตรละครนอกเรื่องพระอภัยมณี ตอนหลงเลหเสนหละเวง, กรุงเทพมหานคร : คุรุสภา

ลาดพราว, ๒๕๓๕.

. สูจิบัตรโขน ชุดนางลอย, กรุงเทพมหานคร : คุรุสภาลาดพราว, ๒๕๔๔.

. สูจิบัตรโขน ชุดพรหมาสตร, กรุงเทพมหานคร : คุรุสภาลาดพราว, ๒๕๔๔.

สิริแข อนันถาวร. ชีวประวัติ ครูดวงเนตร ดุริยพันธุ, สารนิพนธหลักสูตรปริญญาศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชา

ดนตรีไทย ภาควิชาศิลปนิเทศ คณะมนุษยศาสตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร พุทธศักราช ๒๕๔๘.

ครูดวงเนตร ดุริยพันธุ ในปจจุบัน