70
อาคารทรงปราสาทกับการเปลี่ยนแปลงแนวความคิดและความหมาย : กรณีศึกษาอุโบสถหลังใหม วัดโสธรวรารามวรวิหาร โดย นางสาวอภิญญา ทวนทอง การคนควาอิสระนี้เปนสวนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาประวัติศาสตรศิลปะ ภาควิชาประวัติศาสตรศิลปะ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร ปการศึกษา 2552 ลิขสิทธิ์ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร

ณฑ ลปะ 2552 - thapra.lib.su.ac.th · The style and concept of the new Ubosot Wat Sothonwararam-woraviharn differences from the Prasat with spire of grand palace because

  • Upload
    others

  • View
    1

  • Download
    0

Embed Size (px)

Citation preview

Page 1: ณฑ ลปะ 2552 - thapra.lib.su.ac.th · The style and concept of the new Ubosot Wat Sothonwararam-woraviharn differences from the Prasat with spire of grand palace because

อาคารทรงปราสาทกับการเปล่ียนแปลงแนวความคดิและความหมาย : กรณีศึกษาอุโบสถหลังใหม วัดโสธรวรารามวรวิหาร

โดย นางสาวอภิญญา ทวนทอง

การคนควาอิสระนี้เปนสวนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาประวัติศาสตรศิลปะ ภาควิชาประวัติศาสตรศิลปะ

บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร  ปการศึกษา 2552

ลิขสิทธ์ิของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร

Page 2: ณฑ ลปะ 2552 - thapra.lib.su.ac.th · The style and concept of the new Ubosot Wat Sothonwararam-woraviharn differences from the Prasat with spire of grand palace because

อาคารทรงปราสาทกับการเปล่ียนแปลงแนวความคดิและความหมาย : กรณีศึกษาอุโบสถหลังใหม วัดโสธรวรารามวรวิหาร

โดย นางสาวอภิญญา ทวนทอง

การคนควาอิสระนี้เปนสวนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาประวัติศาสตรศิลปะ ภาควิชาประวัติศาสตรศิลปะ

บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร ปการศึกษา 2552

ลิขสิทธ์ิของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร

Page 3: ณฑ ลปะ 2552 - thapra.lib.su.ac.th · The style and concept of the new Ubosot Wat Sothonwararam-woraviharn differences from the Prasat with spire of grand palace because

A TRANSFORMING CONCEPT OF THE PRASAT WITH SPIRE : CASE STUDY OF THE NEW UBOSOT WAT SOTHONWARARAM-WORAVIHARN

By Apinya Thuanthong

An Independent Study Submitted in Partial Fulfillment of the Requirements for the Degree MASTER OF ARTS

Department of Art History Graduate School

SILPAKORN UNIVERSITY 2009

Page 4: ณฑ ลปะ 2552 - thapra.lib.su.ac.th · The style and concept of the new Ubosot Wat Sothonwararam-woraviharn differences from the Prasat with spire of grand palace because

บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร อนุมัติใหการคนควาอิสระเร่ือง “ อาคารทรงปราสาทกับการเปล่ียนแปลงแนวความคิดและความหมาย : กรณีศึกษาอุโบสถหลังใหม วดัโสธรวรารามวรวิหาร ” เสนอโดย นางสาวอภิญญา ทวนทอง เปนสวนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาประวตัศิาสตรศิลปะ

……........................................................... (รองศาสตราจารย ดร.ศิริชัย ชินะตังกูร)

คณบดีบัณฑติวิทยาลัย วันท่ี..........เดอืน.................... พ.ศ...........

อาจารยท่ีปรึกษาการคนควาอิสระ ศาสตราจารย ดร.สันติ เล็กสุขุม คณะกรรมการตรวจสอบการคนควาอิสระ .................................................... ประธานกรรมการ (รองศาสตราจารย ดร.ศักดิ์ชัย สายสิงห) ............/......................../.............. .................................................... กรรมการ (ศาสตราจารย ดร.สันติ เล็กสุขุม) ............/......................../..............  

Page 5: ณฑ ลปะ 2552 - thapra.lib.su.ac.th · The style and concept of the new Ubosot Wat Sothonwararam-woraviharn differences from the Prasat with spire of grand palace because

49107210 : สาขาวิชาประวตัิศาสตรศิลปะ คําสําคัญ : อาคารทรงปราสาท, พระอุโบสถหลังใหม วดัโสธรวรารามวรวิหาร อภิญญา ทวนทอง : อาคารทรงปราสาทกับการเปล่ียนแปลงแนวความคิดและความหมาย : กรณีศึกษาอุโบสถหลังใหม วัดโสธรวรารามวรวิหาร. อาจารยท่ีปรึกษาการคนควาอิสระ : ศ.ดร.สันติ เล็กสุขุม. 60 หนา.  การวิจัยคร้ังนี้มีจุดมุงหมายเพื่อศึกษารูปแบบและแนวความคิดในการสรางอาคารทรงปราสาทในปจจุบัน กรณีศึกษาอุโบสถหลังใหม วัดโสธรวรารามวรวิหาร โดยศึกษาเปรียบเทียบกับพระท่ีนั่งดุสิตมหาปราสาทในพระบรมมหาราชวัง เพื่อเขาใจถึงความแตกตางทางดานแนวความคิดและความหมาย รวมถึงศึกษาบริบททางดานการเมือง สังคม ศาสนา และวัฒนธรรมอ่ืนๆ เพื่อทําความเขาใจถึงการคล่ีคลายฐานานุศักดิ์ทางสถาปตยกรรม อันนําไปสูความนิยมในการสรางอาคารทรงปราสาทอยางแพรหลาย ขอสมมุติฐานหลักของการวจิัยมีดังตอไปนี้ 1. รูปแบบและแนวความคิดในการสรางอุโบสถหลังใหม วัดโสธรวรารามวรวิหาร มีความแตกตางจากการสรางอาคารทรงปราสาทในพระบรมมหาราชวัง เนื่องจากการปรับเปล่ียนของยุคสมัย ทําใหคติความหมายถูกปรับเปล่ียนตาม 2. ความเช่ือในเร่ืองสมมติเทพ หรือเทวราชาของคนในสังคมลดนอยลง เนื่องจากการรับแนวความคิดเหตุผลนิยมจากชาติตะวันตก การสรางงานสถาปตยกรรมทรงปราสาทท่ีมีอยูในปจจุบัน จึงผันแปรจากแบบแผนประเพณีโบราณ ภาควิชาประวตัิศาสตรศิลปะ บัณฑติวทิยาลัย มหาวทิยาลัยศิลปากร ปการศึกษา 2552 ลายมือช่ือนักศึกษา........................................ ลายมือช่ืออาจารยท่ีปรึกษาการคนควาอิสระ ........................................

Page 6: ณฑ ลปะ 2552 - thapra.lib.su.ac.th · The style and concept of the new Ubosot Wat Sothonwararam-woraviharn differences from the Prasat with spire of grand palace because

49107210 : MAJOR : ART HISTORY KEY WORD : THE PRASAT WITH SPIRE, THE NEW UBOSOT WAT SOTHONWARARAM-

WORAVIHARN APINYA THUANTHONG : A TRANSFORMING CONCEPT OF THE PRASAT WITH SPIRE : CASE STUDY OF THE NEW UBOSOT WAT SOTHONWARARAM-WORAVIHARN. INDEPENDENT STUDY ADVISOR : PROF SANTI LEKSUKHUM, Ph.D. 60 pp. The objectives of this study were to examine the transforming concept of the new Ubosot Wat Sothonwararam-woraviharn by comparing with Dusit Maha Prasat Hall of grand palace to understand differences of concept and meanings including with the study context of politics, society, religion and other cultures and the transformation of architectural preceding status that is conducted to widespread construct the Prasat with spire. The mains of hypothesis in this study are as follows;

1. The style and concept of the new Ubosot Wat Sothonwararam-woraviharn differences from the Prasat with spire of grand palace because of the time that is changed in meaning ways.

2. The belief of divinity or deva is decreased due to being influenced by reasoning concept from western countries. So the Prasat with spires are in nowadays, have been transforming from the antiquity.

Department of Art History Graduate School, Silpakorn University Academic Year 2009 Student's signature ........................................ Independent Study Advisor's signature ........................................

Page 7: ณฑ ลปะ 2552 - thapra.lib.su.ac.th · The style and concept of the new Ubosot Wat Sothonwararam-woraviharn differences from the Prasat with spire of grand palace because

กิตติกรรมประกาศ  ผลงานสารนิพนธเร่ือง อาคารทรงปราสาทกับการเปล่ียนแปลงแนวความคิดและความหมายกรณีศึกษาอุโบสถหลังใหม วัดโสธรวรารามวรวิหาร สามารถสําเร็จลุลวงไปไดดวยดี เปนเพราะความกรุณาใสใจดูแล และใหคําแนะนําปรึกษาในกระบวนการวิจัยอยางสม่ําเสมอของ ศาสตราจารย ดร.สันติ เล็กสุขุม อาจารยท่ีปรึกษาสารนิพนธ โดยเร่ิมต้ังแตการเขียนโครงรางสารนิพนธ การวิเคราะหขอมูล จนกระท่ังข้ันสุดทาย คือ การเขียนสารนิพนธอยางถูกตอง ผูเขียนมีความซาบซ้ึงใจเปนอยางยิ่ง และขอกราบขอบพระคุณเปนอยางสูงมา ณ โอกาสนี้ ท้ังใครขอขอบพระคุณ รองศาสตราจารย ดร.ศักดิ์ชัย สายสิงห ที่ไดกรุณาช้ีแนะส่ิงท่ีเปนประโยชนตอผูเขียน ทําใหสารนิพนธฉบับนี้มีความสมบูรณมากยิ่งข้ึน นอกเหนือจากคณาจารยท้ัง 2 ทานแลว การวิจัยคร้ังนี้จะประสบผลสําเร็จลุลวงไมได หากไมไดรับความอนุเคราะห และเสียสละเวลาในการใหขอมูล รวมท้ังขอคิดเห็นตาง ๆ จากพระครูวิมล ภาวนาประสิทธ์ิ ผูชวยเจาอาวาส วัดโสธรวราวรามวรวิหาร และคุณ ณฐ ทะสังขา เจาหนาท่ีสํานักงาน วัดยานนาวา ผูเขียนขอขอบพระคุณทุกทานท่ีไดใหความอนุเคราะหดวยดีเปนอยางสูง ทายนี้ ขอกราบขอบพระคุณมารดา ท่ีใหการเล้ียงดูอบรมและสงเสริมการศึกษาเปนอยางดีตลอดมา จนกระท่ังงานวิจัยชิ้นนี้สําเร็จลุลวงไปไดเปนอยางดี และขอขอบคุณเพ่ือน ๆ ทุกทานท่ีไดชวยเหลือและเปนกําลังใจ ผูเขียนจึงขอมอบคุณคาของสารนิพนธฉบับนี้แกผูท่ีมีพระคุณทุก ๆ ทานท่ีไดกลาวมาแลว

Page 8: ณฑ ลปะ 2552 - thapra.lib.su.ac.th · The style and concept of the new Ubosot Wat Sothonwararam-woraviharn differences from the Prasat with spire of grand palace because

สารบัญ   หนา บทคัดยอภาษาไทย .................................................................................................................... ง บทคัดยอภาษาอังกฤษ ............................................................................................................... จ กิตติกรรมประกาศ ..................................................................................................................... ฉ สารบัญภาพ ............................................................................................................................... ฌ บทท่ี 1 บทนํา ............................................................................................................................ 1 ความเปนมาและความสําคัญของปญหา ................................................................ 1

ความมุงหมายและวัตถุประสงคของการศึกษา .............................................. 3 ประโยชนท่ีคาดวาจะไดรับ ........................................................................... 3 สมมุติฐานของการศึกษา ............................................................................... 3 ขอบเขตของการศึกษา ................................................................................... 4 ข้ันตอนของการศึกษา ................................................................................... 4

2 ความหมายและความสําคัญของการสรางสถาปตยกรรมทรงปราสาททางพุทธศาสนา ... 5 ความหมายและความสําคัญ ................................................................................... 5 สัญลักษณของสมมติเทพ .............................................................................. 7 ฐานานุศักดิ์ทางสถาปตยกรรม ...................................................................... 8 3 การศึกษาอาคารทรงปราสาทอุโบสถหลังใหม วดัโสธรวรารามวรวิหาร ........................ 10 ประวัติความเปนมา ................................................................................................ 10 การศึกษาทางดานรูปแบบ แนวความคิด คติและความหมายในการสราง ..... 11 ประเด็นวิเคราะห ........................................................................................... 15 4 พระอุโบสถหลังใหม วัดโสธรวรารามวรวหิารกับสถาปตยกรรมโบราณและสถา – ปตยกรรมรวมสมัย .......................................................................................................... 19 สถาปตยกรรมโบราณ ........................................................................................... 19 พระท่ีนัง่ดุสิตมหาปราสาท .......................................................................... 19 พระท่ีนัง่จักรีมหาปราสาท ........................................................................... 22 สถาปตยกรรมรวมสมัย ......................................................................................... 25 อาคารมหาเจษฎาบดินทร วัดยานนาวา ....................................................... 25

Page 9: ณฑ ลปะ 2552 - thapra.lib.su.ac.th · The style and concept of the new Ubosot Wat Sothonwararam-woraviharn differences from the Prasat with spire of grand palace because

บทท่ี หนา พระอุโบสถ วัดหัวลําโพง ........................................................................... 27 บทวิเคราะหความสัมพันธระหวางพระอุโบสถหลังใหม วัดโสธรวราราม- วรวิหารกับสถาปตยกรรมโบราณและสถาปตยกรรมรวมสมัย ............................. 29 ประเด็นทางดานรูปแบบ ....................................................................................... 29 ประเด็นทางดานแนวความคิด ............................................................................... 32 5 บทสรุปและขอเสนอแนะ ............................................................................................. 36 บรรณานุกรม ............................................................................................................................. 57 ประวัติผูวจิัย .............................................................................................................................. 59         

Page 10: ณฑ ลปะ 2552 - thapra.lib.su.ac.th · The style and concept of the new Ubosot Wat Sothonwararam-woraviharn differences from the Prasat with spire of grand palace because

สารบัญภาพ  ภาพท่ี หนา 1 พระอุโบสถหลังใหม วดัโสธรวรารามวรวหิาร .............................................................. 38

2 หลังคาพระอุโบสถหลังใหม วัดโสธรวรารามวรวหิาร ดานทิศใต .................................. 38 3 หนาบันมุขเดจ็ ดานทิศเหนือ พระอุโบสถหลังใหม วัดโสธรวรารามวรวิหาร ................ 39 4 ซุมประตูหลักเขาสูพระอุโบสถ ดานทิศเหนือ พระอุโบสถหลังใหม   วัดโสธรวรารามวรวหิาร ................................................................................................. 39 5 ซุมหนาตางมุขเด็จ ดานทิศตะวนัออก พระอุโบสถหลังใหม วดัโสธรวรารามวรวหิาร .. 40 6 บันไดเวียนภายในพระอุโบสถหลังใหม วดัโสธรวรารามวรวิหาร ................................. 40 7 ลวดลายชองลมบนยอดทรงปราสาท ทําจากสําริด พระอุโบสถหลังใหม วัดโสธรวรารามวรวหิาร ................................................................................................. 41 8 สวนมุขทิศตะวันออก ดานทิศเหนือ พระอุโบสถหลังใหม วัดโสธรวรารามวรวิหาร ..... 41 9 พื้นที่ภายในประดิษฐานหลวงพอโสธรองคจริง พระอุโบสถหลังใหม วัดโสธรวรารามวรวหิาร ................................................................................................. 42 10 มุขเด็จทิศเหนอื ดานทิศตะวนัตก พระอุโบสถหลังใหม วดัโสธรวรารามวรวิหาร ......... 42 11 หลักสีมาภายในพระอุโบสถหลังใหม วัดโสธรวรารามวรวิหาร ..................................... 43 12 มุขทิศตะวันตก ดานทิศใต พระอุโบสถหลังใหม วดัโสธรวรารามวรวหิาร.................... 43 13 สวนยอดทรงปราสาทของพระอุโบสถหลังใหม วดัโสธรวรารามวรวหิาร ..................... 44 14 สวนยอดทรงปราสาท ช้ันท่ี 1 – 2 พระอุโบสถหลังใหม วัดโสธรวรารามวรวหิาร ........ 44 15 สวนยอดทรงปราสาท ช้ันท่ี 3 พระอุโบสถหลังใหม วดัโสธรวรารามวรวิหาร .............. 45 16 สวนยอดทรงปราสาท ช้ันท่ี 4, บัลลังก, ปลี, ลูกแกว, ปลียอด, เม็ดน้ําคางและฉัตร พระอุโบสถหลังใหม วดัโสธรวรารามวรวหิาร .............................................................. 45 17 ภาพปลานานาชนิดบนพืน้พระอุโบสถหลังใหม วดัโสธรวรารามวรวหิาร..................... 46 18 ลวดลายปลารอบฐานชุกชี พระอุโบสถหลังใหม วดัโสธรวรารามวรวหิาร .................... 46 19 รูปแบบพระท่ีนั่งดุสิตมหาปราสาท ................................................................................. 47 20 รูปแบบสวนยอด พระท่ีนั่งดสิุตมหาปราสาท ................................................................. 47 21 รูปแบบสวนยอด พระท่ีนั่งดสิุตมหาปราสาท ................................................................. 48 22 รูปแบบสวนยอด พระท่ีนั่งดสิุตมหาปราสาท ................................................................. 48 23 รูปแบบสวนยอด พระท่ีนั่งดสิุตมหาปราสาท ................................................................. 49 

Page 11: ณฑ ลปะ 2552 - thapra.lib.su.ac.th · The style and concept of the new Ubosot Wat Sothonwararam-woraviharn differences from the Prasat with spire of grand palace because

24 รูปแบบพระท่ีนั่งจักรีมหาปราสาท ................................................................................. 49 25 รูปแบบพระท่ีนั่งจักรีมหาปราสาท ................................................................................. 50 26 สวนยอดของพระท่ีนั่งจกัรีมหาปราสาท ......................................................................... 50 27 สวนยอดปราสาท พระท่ีนั่งจักรีมหาปราสาท ................................................................. 51 28 รูปแบบอาคารมหาเจษฎาบดนิทร วัดยานนาวา .............................................................. 51 29 ยอดทรงปราสาทของอาคารมหาเจษฎาบดนิทร วัดยานนาวา ......................................... 52 30 มณฑปพระพุทธปฏิมาสมเด็จพระนั่งเกลาเจาอยูหวั อาคารมหาเจษฎาบดินทร วัดยานนาวา .................................................................................................................... 52 31 สวนยอดมณฑปพระพุทธปฏิมาสมเด็จพระนั่งเกลาเจาอยูหวั อาคารมหาเจษฎาบดินทร วัดยานนาวา .................................................................................................................... 53 32 รูปแบบพระอุโบสถ วัดหัวลําโพง ................................................................................... 53 33 บริเวณรอบนอกพระอุโบสถ วัดหวัลําโพง ..................................................................... 54 34 สวนฐานพระอุโบสถ วัดหัวลําโพง ................................................................................. 54 35 สวนเรือนธาตุพระอุโบสถ วัดหัวลําโพง ......................................................................... 55 36 ยอดทรงปราสาทของพระอุโบสถ วัดหัวลําโพง ............................................................. 55 37 ยอดทรงปราสาทของพระอุโบสถ วัดหัวลําโพง ............................................................. 56 

     

Page 12: ณฑ ลปะ 2552 - thapra.lib.su.ac.th · The style and concept of the new Ubosot Wat Sothonwararam-woraviharn differences from the Prasat with spire of grand palace because

1

บทท่ี 1 บทนํา

ความเปนมาและความสําคัญของปญหา (Statements and significance of problems)

ดวยอายุการใชงานท่ียาวนานของอุโบสถหลังเกา ทําใหมีสภาพชํารุดทรุดโทรม คร้ันพระบาทสมเด็จพระเจาอยูหัวเสด็จพระราชดําเนินมายังวัดโสธรวรารามวรวิหาร เพ่ือประกอบพระราชพิธีวิสาขบูชาตามขัตติยราชประเพณี เม่ือวันท่ี 3 มิถุนายน พ.ศ. 2509 พระบาทสมเด็จพระเจาอยูหัวทรงทอดพระเนตรเห็นความเกาแกทรุดโทรม พระองคจึงทรงมีพระราชดํารัสกับหลวงปูเจียม เจาอาวาสวัดขณะน้ันวา อุโบสถหลังนี้ไมเหมาะกับฐานานุศักดิ์ของหลวงพอโสธร สมควรอยางยิ่งท่ีจะตองปรับปรุงเสียใหมใหเหมาะสม หลวงปูเจียมจึงสนองพระราชดํารัสตามพระราชกระแสรับส่ังและเร่ิมสะสมเงินทุนในการกอสราง1

ตั้งแตบัดนั้นเปนตนมา ทางวัดไดดําเนินการปรับปรุงแกไขบริเวณหนาวัดและแหลงเส่ือมโทรมใหเปนระเบียบเรียบรอยตามพระราชดําริเปนเวลา 20 ป พระบาทสมเด็จพระเจาอยูหัวทรงมีพระบรมราชโองการแตงต้ังสถาปนิกผูอํานวยการกอสราง คือ นายประเวศ ลิมปรังษี2 โดยองคประกอบเดนสําคัญและนาสนใจของตัวอาคาร เม่ือมองจากดานนอก คือ สวนยอดเปนทรงปราสาท เฉกเชนเดียวกับรูปแบบท่ีพบในพระบรมมหาราชวัง เชน พระท่ีนั่งดุสิตมหาปราสาท เปนตน จากการศึกษาของนักวิชาการ ไดใหความหมายของปราสาท คือ รูปแบบของเรือนท่ีมีหลายช้ันซอนกัน หรือท่ีมีหลังคาลาดหลายช้ันซอนลดหล่ันกัน ตอยอดเปนกรวยซ่ึงมีทรงระฆังเปนสวนประกอบสําคัญ เม่ือการทําหลังคาซอนเปนความหมายของปราสาทแลว การสรางอุโบสถ หรือวิหารที่ทําหลังคาซอนช้ัน นาจะหมายถึงปราสาทดวยเชนกัน3 โดยสรุปความหมายของคําวา “ปราสาท” หมายถึงเรือนช้ันซอนท่ีสูงเกินกวาหนึ่งช้ันและไมจําเปนตองมียอดแหลม เชน อุโบสถ วิหาร หากมียอดแหลมเรียกวา กุฏาคาร หรือเรือนยอด

1เลิศลักษณา บุญเจริญ, โสธรวรารามวรวิหาร มงคลคูแปดร้ิว (กรุงเทพฯ: ดาวฤกษ, 2539), 84. 2เรื่องเดียวกัน, 84 – 86. 3สันติ เล็กสุขุม, เจดีย: ความเปนมาและศัพทเรียกองคประกอบเจดียในประเทศไทย (กรุงเทพฯ: มติ

ชน, 2535), 18.

Page 13: ณฑ ลปะ 2552 - thapra.lib.su.ac.th · The style and concept of the new Ubosot Wat Sothonwararam-woraviharn differences from the Prasat with spire of grand palace because

2

ซ่ึงสรางสําหรับพระมหากษัตริยเพื่อทรงใชสอยโดยเฉพาะ หรือพระมหากษัตริยมีรับส่ังโปรดใหสราง เนื่องดวยแนวความคิดเร่ืองฐานานุศักดิ์ทางสถาปตยกรรม4

จากรูปแบบทางสถาปตยกรรมของอุโบสถหลังใหม วัดโสธรวรารามวรวิหาร ท่ีมีลักษณะเปนอาคารทรงปราสาท ซ่ึงในอดีตพบวา การสรางสถาปตยกรรมทรงปราสาทสรางสําหรับพระมหากษัตริย หรือพระมหากษัตริยโปรดฯ ใหสรางเทานั้น แมแตพระบรมวงศช้ันสูง หรือสมเด็จพระบวรราชเจา (วังหนา) ก็มิอาจสรางอาคารทรงปราสาทไวเปนท่ีประทับได โดยปรากฏหลักฐานในสมัยรัชกาลท่ี 1 และรัชกาลท่ี 3 แหงพระบรมจักรีวงศ วังหนาจะมีปราสาทยอดแหลมไมได ท้ังนี้เพราะฐานานุศักดิ์ทางสถาปตยกรรมไมยอมใหมีปราสาทเรือนยอดได ยกเวนเม่ือพระมหากษัตริยพระราชทานเทานั้น5

ดังนั้น การสรางปราสาทจึงสะทอนใหเห็นความสําคัญของแนวความคิดท่ีมีความหมายเกี่ยวของกับพระมหากษัตริยท้ังส้ิน โดยเฉพาะอยางยิ่งแนวความคิดท่ีพระมหากษัตริยทรงเปนสมมุติเทพ หรือเทวราชาตามคติพุทธศาสนา ซ่ึงปรากฎในสมัยอยุธยาและสืบเนื่องมาในสมัยรัตนโกสินทร

ในปจจุบัน ปรากฎการสรางสถาปตยกรรมท่ีมีสวนยอดทรงปราสาท การสรางอาคารทรงปราสาทดังกลาวไมสอดคลองกับแนวความคิดเร่ืองฐานานุศักดิ์ทางสถาปตยกรรมและคติความเช่ือทางพุทธศาสนาอีกตอไป โดยอาจมีสาเหตุมาจากการลอกเลียนรูปแบบสวนยอดพระมหาปราสาท ในพระบรมมหาราชวัง โดยปราศจากการคํานึงถึงแนวความคิดและคติศาสนา เนื่องดวยความเปล่ียนแปลงทางความคิดที่เกิดข้ึนในสังคม แนวความคิดบางประการท่ีรับมาจากตะวันตก ทําใหความหมายของฐานานุศักดิ์ทางสถาปตยกรรมและการแฝงเรนคติความเชื่อทางศาสนาถูกมองขาม และละเลยไปจากการสรางสรรคงานสถาปตยกรรมไทย

อยางไรก็ตาม การสรางสถาปตยกรรมทรงปราสาทอยางแพรหลาย โดยปราศจากการคํานึงถึงความสําคัญของแนวความคิด หรือคติความหมายที่มี จึงเปนประเด็นในการนํามาศึกษาถึง

4ฐานานุศักด์ิในสถาปตยกรรมไทย หมายถึงการแสดงฐานะและความสําคัญของบุคคลในสังคมให

ปรากฎโดยอาศัยรูปแบบและศิลปลักษณะทางสถาปตยกรรมเปนเคร่ืองสื่อความหมาย หรือประกาศฐานะแหงศักด์ิน้ันตามลําดับแหงความสําคัญซึ่งเปนที่ยอมรับในสังคมสมัยกอน อางจาก จุลทัศน พยาฆรานนท , “ฐานานุศักด์ิในสถาปตยกรรมไทย” ใน หนังสือท่ีระลึกงานสมโภชกรุงรัตนโกสินทร 200 ป (กรุงเทพฯ: ราชบัณฑิตยสถาน, 2525), 480.

5สมภพ ภิรมย, “สถาปตยกรรมเวียง วัง วัด และเว้ิง สมัยรัตนโกสินทร” ใน เอกสารวิชาการและสรุปผลการสัมมนาเร่ืองเอกลักษณสถาปตยกรรมในประเทศไทย คณะสถาปตยกรรมศาสตร มหาวิทยาลัยศิลปากร (กรุงเทพฯ: โรงพิมพมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร, 2527), 48.

Page 14: ณฑ ลปะ 2552 - thapra.lib.su.ac.th · The style and concept of the new Ubosot Wat Sothonwararam-woraviharn differences from the Prasat with spire of grand palace because

3

ความเปล่ียนแปลงท่ีเกิดข้ึน และอาจเปนตัวอยางท่ีสามารถนําไปศึกษาคนควาเพื่ออธิบายถึงประเด็นปญหา อันจะกอใหเกิดความเขาใจถึงการคล่ีคลายฐานานุศักดิ์ทางสถาปตยกรรม รวมถึงบริบททางสังคมไดไมมากก็นอย ความมุงหมายและวัตถุประสงคของการศึกษา (Goal and objective)

1. ศึกษารูปแบบและแนวความคิดในการสรางอาคารทรงปราสาทในปจจุบัน กรณีศึกษาอุโบสถหลังใหม วัดโสธรวรารามวรวิหาร โดยศึกษาเปรียบเทียบกับพระท่ีนั่งดุสิตมหาปราสาทในพระบรมมหาราชวัง เพื่อเขาใจถึงความแตกตางทางดานแนวความคิด และความหมาย

2. ศึกษาบริบททางดานการเมือง สังคม ศาสนา และวัฒนธรรมอ่ืนๆ เพ่ือทําความเขาใจถึงการคล่ีคลายฐานานุศักดิ์ทางสถาปตยกรรม อันนําไปสูความนิยมในการสรางอาคารทรงปราสาทอยางแพรหลาย ประโยชนของการศึกษา (The advantage of study)

1. เขาใจถึงรูปแบบและแนวความคิดในการสรางอุโบสถหลังใหม วัดโสธรวรารามวรวิหาร ตลอดจนเขาใจถึงความแตกตางกับงานสถาปตยกรรมทรงปราสาทอ่ืนๆ เชน พระท่ีนั่งดุสิตมหาปราสาทในพระบรมมหาราชวัง เปนตน

2. เขาใจถึงบริบททางสังคมท่ีนํามาสูการเปล่ียนแปลงทางดานแนวความคิดในการสรางงานสถาปตยกรรมทรงปราสาท

3. ทําใหไดรับประสบการณในการศึกษาคนควา วิเคราะห สรุป และนําเสนอขอมูลอยางเปนระบบ

4. เปนแนวทางในการศึกษาสําหรับผูท่ีสนใจศึกษาประเด็นวิจัยท่ีเกี่ยวของตอไปในอนาคต สมมุติฐานของการศึกษา (Hypothesis to be tested)

1. รูปแบบและแนวความคิดในการสรางอุโบสถหลังใหม วัดโสธรวรารามวรวิหาร มีความแตกตางจากการสรางอาคารทรงปราสาทในพระบรมมหาราชวัง เนื่องจากการปรับเปล่ียนของยุคสมัย ทําใหคติความหมายถูกปรับเปล่ียนตาม

2. ความเช่ือในเร่ืองสมมติเทพ หรือเทวราชาของคนในสังคมลดนอยลง เนื่องจากการรับแนวความคิดจากชาติตะวันตก การสรางงานสถาปตยกรรมทรงปราสาทท่ีมีอยูในปจจุบัน จึงผันแปรจากแบบแผนประเพณีโบราณ

3. งานสถาปตยกรรมรวมสมัย เชนพระอุโบสถหลังใหม วัดโสธรวรารามวรวิหาร อาคารมหาเจษฎาบดินทร วัดยานนาวา และพระอุโบสถ วัดหัวลําโพง จะเนนถึงประโยชนใชสอยของพ้ืนท่ีเปนสําคัญ

Page 15: ณฑ ลปะ 2552 - thapra.lib.su.ac.th · The style and concept of the new Ubosot Wat Sothonwararam-woraviharn differences from the Prasat with spire of grand palace because

4

ขอบเขตของการศึกษา (Scope or delimitation of study) อุโบสถหลังใหม วัดโสธรวรารามวรวิหาร งานสถาปตยกรรมทรงปราสาทโบราณ เชน

พระท่ีนั่งดุสิตมหาปราสาทในพระบรมมหาราชวัง และอาคารทรงปราสาทรวมสมัยอ่ืนๆ ท่ีเกี่ยวของ เชน อาคารมหาเจษฎาบดินทร วัดยานนาวา พระอุโบสถ วัดหัวลําโพง เปนตน โดยศึกษาทางดานรูปแบบ พัฒนาการทางดานงานชาง และความสัมพันธท่ีสอดคลองกัน เพื่อนําขอมูลดังกลาวมาประกอบการศึกษาถึงความเปล่ียนแปลงทางดานแนวความคิด คติและความหมายของงานชางรวมสมัย ขั้นตอนของการศึกษา (Process of study)

1. รวบรวมขอมูลเอกสารและผลงานของนักวิชาการทานอ่ืนๆ ท่ีเกี่ยวของ โดยทําการศึกษาวิเคราะหเพื่อเปดประเด็นการตรวจสอบ และการคนควาเพิ่มเติมใหมๆ

2. เก็บขอมูลภาคสนามจากการสัมภาษณบุคคลและถายภาพ 3. วิเคราะหประเด็นปญหาและตรวจสอบขอมูลท้ังหมดท่ีเกี่ยวของ และดําเนินการ

วิจัย 4. สรุปผล และนําเสนอผลงานการศึกษา

Page 16: ณฑ ลปะ 2552 - thapra.lib.su.ac.th · The style and concept of the new Ubosot Wat Sothonwararam-woraviharn differences from the Prasat with spire of grand palace because

5

บทท่ี 2 ความหมายและความสําคัญของการสรางสถาปตยกรรมทรงปราสาททางพุทธศาสนา

ความหมายและความสําคัญ

ในปจจุบัน ปรากฏความนิยมในการสรางสถาปตยกรรมทรงปราสาททางพุทธศาสนา อยางแพรหลาย เชน อุโบสถ วิหารและศาลาการเปรียญ เปนตน จึงเปนประเด็นในการศึกษาถึงท่ีมาของความหมาย และความสําคัญของปราสาทท่ีมีมาแตอดีต ในหนังสือ “บันทึกเร่ืองความรูตางๆ” ของสมเด็จเจาฟากรมพระยานริศรานุวัตติวงศ ปรากฏขอความกลาวถึงคําวา “ปราสาท” ความวา

“ปราสาท มาแตเรือนช้ัน ไมจําตองเปนยอดแหลม จะเปนหลังคาตัดก็ได ยอดแหลมนั้นมีคําตางหากวา กูฎาคาร ปรางค ก็เปนปราสาทเหมือนกัน...

มณฑป กับ บุษบก นั้นเปนอยางเดียวกัน ตางแตขนาดเปนใหญกับเล็กแถมปราสาทเขาดวย ถามีมุขก็เรียกปราสาท จะเหนไดจากหลังคาปราสาทวาเปนเรือนช้ัน ...”1

โดยคําวา “ปราสาท” (Prasada) มาจากรากศัพทภาษาสันสกฤต หมายถึง อาคารท่ีมีสวนกลางเปนหองเรียกวา “หองครรภคฤหะ” หรือ “เรือนธาตุ” และมีหลังคาเปนช้ันซอนกันหลายช้ันเรียกวา “เรือนช้ัน” หลังคาแตละช้ันนั้นเปนการยอสวนของปราสาท โดยนํามาซอนกันในรูปของสัญลักษณแทนความหมายของเรือนฐานันดรสูง อันเปนท่ีสถิตของเหลาเทพเทวดา

1สมเด็จเจาฟากรมพระยานริศรานุวัตติวงศ, บันทึกเร่ืองความรูตางๆ (กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยสมาคม

สังคมศาสตรแหงประเทศไทย, 2506), 207 – 208.

Page 17: ณฑ ลปะ 2552 - thapra.lib.su.ac.th · The style and concept of the new Ubosot Wat Sothonwararam-woraviharn differences from the Prasat with spire of grand palace because

6

นอกจากนี้ คําวา” ปราสาท” แปลวาเรือนช้ัน หมายถึงอาคารท่ีสราง “สูงเกินกวาหนึ่งช้ัน” โดยมิไดกําหนดวาเปนท่ีอยูอาศัยของพระมหากษัตริยเทานั้น จะเปนท่ีอยูของแพศยก็ได เชน ยสกุลบุตร วรรณแพศยของฮินดูอาศัยอยูปราสาท แตในประเทศไทยนั้นปราสาทถูกกําหนดเปนกฎเกณฑจําเพาะพระมหากษัตริยเทานั้นจึงประทับในปราสาทได พระบรมวงศช้ันสูงแมเปนมหาอุปราช หรือบวรราชเจา (วังหนา) จะอยูปราสาทหรือกุฎาคาร2ไมได คือปราสาทวังหนาจะเปน “เรือนยอด” ไมไดเด็ดขาด หลักฐานปรากฏแลวในพระบวรราชวังในรัชกาลท่ี 1 และรัชกาลท่ี 3 แหงบรมราชจักรีวงศ วังหนาจะมีปราสาทยอดแหลมไมได ท้ังนี้ เพราะฐานานุศักดิ์ทางสถาปตยกรรมไมยอมให พระบวรราชวังมีปราสาทเรือนยอด (กุฎาคาร) ไดเม่ือพระมหากษัตริยพระราชทานเทานั้น3

จากการศึกษาของนักวิชาการ ไดใหความหมายของปราสาท คือ รูปแบบของเรือนท่ีมีหลายช้ันซอนกัน หรือท่ีมีหลังคาลาดหลายช้ันซอนลดหล่ันกัน ตอยอดเปนกรวยซ่ึงมีทรงระฆังเปนสวนประกอบสําคัญ เม่ือการทําหลังคาซอนเปนความหมายของปราสาทแลว การสรางอุโบสถ หรือวิหารที่ทําหลังคาซอนช้ัน นาจะหมายถึงปราสาทดวยเชนกัน4

อยางไรก็ตาม โดยสรุปความหมายของคําวา “ปราสาท” หมายถึงเรือนช้ันซอนท่ีสูงเกินกวาหนึ่งช้ันและไมจําเปนตองมียอดแหลม เชน อุโบสถ วิหาร หากมียอดแหลมเรียกวา กุฏาคาร หรือเรือนยอด ซ่ึงสรางสําหรับพระมหากษัตริยเพื่อทรงใชสอยโดยเฉพาะ หรือพระมหากษัตริยมีรับส่ังโปรดใหสราง เนื่องดวยแนวความคิดเร่ืองฐานานุศักดิ์ทางสถาปตยกรรม

ดังนั้น การสรางปราสาทจึงสะทอนใหเห็นความสําคัญของแนวความคิดท่ีมีความหมายเกี่ยวของกับพระมหากษัตริยท้ังส้ิน โดยเฉพาะอยางยิ่งแนวความคิดท่ีพระมหากษัตริยทรงเปน

2กุฎาคาร พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2525 ใหคํานิยามวา “เรือนยอด เชน ปราสาท เชน

ธก็แตงกุฎาคาร ปราสาท” โดยทั่วไปนิยมเรียกเรือนยอดมากกวา คําวา กุฎาคาร เพ่ือความเขาใจและจํากัดความใหแคบลง เรือนยอด หรือกุฎาคาร เฉพาะที่เปนสถาปตยกรรมไทย และเปนของสูงสําหรับพระมหากษัตริยหรือเก่ียวกับการศาสนานั้น มีลักษณะเฉพาะท่ีสําคัญคือ ตองเปนยอดตอจากหลังคา, เปนของสูงเน่ืองจากสรางโดยพระบรมราชโองการและเก่ียวของกับการเทิดทูนพระพุทธศาสนาหรือเทพเจา อางจาก สมภพ ภิรมย, กุฎาคาร (กรุงเทพฯ: ราชบัณฑิตยสถาน, 2545), 18 – 19.

3สมภพ ภิรมย, “สถาปตยกรรมเวียง วัง วัด และเว้ิง สมัยรัตนโกสินทร” ใน เอกสารวิชาการและสรุปผลการสัมมนาเร่ืองเอกลักษณสถาปตยกรรมในประเทศไทย คณะสถาปตยกรรมศาสตร มหาวิทยาลัยศิลปากร (กรุงเทพฯ: โรงพิมพมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร, 2527), 48.

4สันติ เล็กสุขุม, เจดีย: ความเปนมาและศัพทเรียกองคประกอบเจดียในประเทศไทย (กรุงเทพฯ: มติชน, 2535), 18.

Page 18: ณฑ ลปะ 2552 - thapra.lib.su.ac.th · The style and concept of the new Ubosot Wat Sothonwararam-woraviharn differences from the Prasat with spire of grand palace because

7

สมมุติเทพและเทวราชตามคติศาสนาพุทธ ซ่ึงปรากฏในสมัยอยุธยาและสืบเนื่องมาในสมัยรัตนโกสินทร

สัญลักษณของสมมติเทพ คติทางพุทธศาสนาท่ีมีอิทธิพลตอแนวความคิดการสรางปราสาทเพ่ือพระมหากษัตริย

ปรากฎในไตรภูมิพระรวงท่ีพระยาลิไททรงพระราชนิพนธข้ึน กลาวถึงจักรวาล ท่ีมีโลกและมีมนุษยอาศัยอยู ในจักรวาลหน่ึงๆ มีเขาพระสุเมรุเปนแกนกลาง และมีเขาสัตบริภัณฑท่ีเปนวงลอมรอบอยู 7 วง มีความสูงลดหล่ันกันตามลําดับ โดยเปนท่ีตั้งของทวีปใหญท้ัง 4 ทวีปและทวีปนอยอีก 4 ทวีป แตเฉพาะในชมพูทวีปเทานั้นท่ีจะเปนแดนท่ีบังเกิดของพระพุทธเจา พระปจเจกพุทธเจา และพระเจาจักรพรรดิ ความในไตรภูมิยังมีการจําแนกภพภูมิตางๆ ท้ังภูมิทางฝายกุศลกรรม คือ เทวภูมิ 6 ช้ัน รูปพรหมภูมิ 16 ช้ัน อรูปพรหมภูมิ 4 ช้ัน และภูมิทางฝายอกุศลกรรม คือ ติรัจฉาน เปรต อสุรกายและนรก ยอดเขาพระสุเมรุเปนท่ีตั้งของเมืองไตรตรึงศ อันเปนท่ีประทับของพระอินทรผูเปนใหญแหงสวรรคและเปนเทพผูรักษาพระพุทธศาสนา5

ดังนั้น การสรางยอดทรงปราสาทจึงเปนการนําเอาสัญลักษณของเมืองตรัยตรึงศอันเปนท่ีประทับของพระอินทรมาสรางเพื่อเฉลิมพระเกียรติพระมหากษัตริยนั้น นับวามีความเหมาะสมกับฐานานุศักดิ์ทางสถาปตยกรรม

นอกจากแนวความคิดในการเทียบฐานะของพระมหากษัตริยเทากับพระอินทรผูเปนเจาเปนใหญในเทวภูมิและมีท่ีสถิตยอยู ณ ดาวดึงสเหนือยอดเขาสิเนรุบรรพต ความเปนสมมติเทพในรูปของพระอินทรท่ีปรากฎอยูในพุทธศาสนาน้ัน พระอินทรเปนดั่งเทวราชแหงสวรรค เชนสมัยอยุธยามีพระราชพิธีอินทราภิเษกควบคูกับพระราชพิธีบรมราชาภิเษก หลักฐานท่ีปรากฏความสําคัญของพระอินทรในรัชกาลตอๆ มาคือ พระราชพิธีโสกันตเจานายท่ีทรงพระเยาว ในพระราชพิธีนี้มีพิธีเปดประตูไกรลาส และทําพิธีโสกันตบนเขาไกรลาส คือบนยอดเขาพระสุเมรุ6 อีกท้ังปรากฎการขนานนามพระที่นั่ง และวังตางๆ ใหเหมือนกับส่ิงท่ีมีในสวรรค เชน พระท่ีนั่งดุสิตมหาปราสาท เพื่อยกฐานะพระมหากษัตริยข้ึนเทียบเทาพระอินทร โดยแสดงสัญลักษณเทวราชาเหนือเขาไกรลาส เชนการประดับรูปสัตวท่ีอาศัยอยูตามเชิงเขาไกรลาส เชน สิงห และครุฑ เปนตน7

5กรมศิลปากร, ไตรภูมิกถาหรือไตรภูมิพระรวง พระราชนิพนธพระมหาธรรมราชาท่ี 1 (พญาลิไท)

ฉบับตรวจสอบชําระใหม (กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร, 2526), 3 – 49. 6โชติ กัลยาณมิตร, สถาปตยกรรมแบบไทยเดิม (กรุงเทพฯ: สมาคมสถาปนิกสยามในพระบรม

ราชูปถัมภ, 2539), 75. 7เรื่องเดียวกัน.

Page 19: ณฑ ลปะ 2552 - thapra.lib.su.ac.th · The style and concept of the new Ubosot Wat Sothonwararam-woraviharn differences from the Prasat with spire of grand palace because

8

ดวยเหตุนี้ อิทธิพลแนวความคิดทางพุทธศาสนา จึงสงผลใหเกิดการสรางปราสาทท่ีถูกกําหนดวา เปนส่ิงท่ีเหมาะสมตามฐานานุศักดิ์ทางสถาปตยกรรมสําหรับพระมหากษัตริยในแงของการยอมรับความเปนสมมติเทพ ซ่ึงในปจจุบัน กลับพบความนิยมในการสรางสถาปตยกรรมทรงปราสาทอยางแพรหลาย

ฐานานุศักดิ์ทางสถาปตยกรรม ฐานานุศักดิ์ในสถาปตยกรรมไทย หมายถึงการแสดงออกทางฐานะและความสําคัญของ

บุคคลในสังคมใหปรากฏโดยอาศัยรูปแบบและศิลปลักษณะทางสถาปตยกรรมเปนเคร่ืองส่ือความหมาย หรือประกาศฐานะแหงศักดิ์นั้นตามลําดับแหงความสําคัญซ่ึงเปนท่ียอมรับในสังคมสมัยกอน8 ในกฎมณเฑียรบาลสมัยกรุงศรีอยุธยาปรากฏขอความกลาวถึงฐานานุศักดิ์ทางสถาปตยกรรม ความวา

“พระเจาลูกเธอกินเมือง ข่ีพระยานุมาศกลีบบัว มีกรมผูชาย ผูหญิง มีหอพระ มีพระท่ีนั่งออกโรง9”

จากขอความดังกลาว จะพบวาสถาปตยกรรมหอพระและพระท่ีนั่งออกโรงนี้ เปนเคร่ืองแสดงพระอิสริยศักดิ์เฉพาะพระเจาลูกเธอท่ีพระเจาอยูหัวทรงพระกรุณาโปรดเกลาฯ ใหมีกรมหรือทรงกรมเทานั้น จึงสมควรมี “หอพระ” เปนเคร่ืองแสดงพระอิสริยยศ และพระท่ีนั่งออกโรงหรือทองพระโรงในวังท่ีประทับเปนสถานท่ีราชการ เปนเคร่ืองแสดงพระอิสริยศักดิ์หรือฐานะอันสําคัญใหปรากฎ เจานายท่ีมิไดโปรดเกลาฯ ใหทรงกรมหรือมีกรม จะสรางหอพระ ทําพระท่ีนั่งออกโรงหรือทองพระโรงข้ึนในวังมิได เพราะผิดพระราชนิยม10

การปลูกสรางบานเรือนเพื่อแสดงออกถึงฐานานุศักดิ์ของคนไทยนั้นมีมานานแลว เนื่องดวยการยอมรับสถานภาพทางสังคมแบบชนช้ันศักดินา การลําดับฐานะแหงศักดิ์ของบุคคลเปนสําคัญ ทําใหคนมีความสํานึกในหนาท่ีและฐานะของตนในสังคม ซ่ึงการแสดงออกท่ีชัดเจนในฐานะแหงศักดิ์คือ การสรางงานสถาปตยกรรมที่แฝงไวดวยคติความเช่ือท่ีเปนขนบธรรมเนียมและเปนประเพณีนิยม

ยกตัวอยางงานสถาปตยกรรมวังพระองคเจา หนาบันติดกรอบประดับดวยชอฟาใบระกาและหางหงส แตทํารวยระกาเปนแบบท่ีเรียกวา รวยระกามอญ คือทําตัวลํายองรับใบระกาใหรวยลงมาเฉยๆ ไมทําหยอนทองตกอยางนาคสะดุงทองพระโรง วังพระองคเจาจะทําตกแตง

8จุลทัศน พยาฆรานนท, “ฐานานุศักด์ิในสถาปตยกรรมไทย” ใน หนังสือท่ีระลึกงานสมโภชกรุง

รัตนโกสินทร 200 ป (กรุงเทพฯ: ราชบัณฑิตยสถาน, 2525), 480. 9เรื่องเดียวกัน. 10เรื่องเดียวกัน.

Page 20: ณฑ ลปะ 2552 - thapra.lib.su.ac.th · The style and concept of the new Ubosot Wat Sothonwararam-woraviharn differences from the Prasat with spire of grand palace because

9

ประกอบหนาบันแบบนี้เทานั้น ถาทํารวยลํายองอยางนาคสะดุงเปนการผิดขนบธรรมเนียมและประเพณีนิยม เพราะเกินศักดิ์ เคร่ืองประกอบกรอบหนาบันและพ้ืนหนาบันนี้ทาสีแดงท้ังส้ิน จะปดทองติดกระจกประดับไมไดเพราะเกินศักดิ์เชนกัน เปนตน

นอกจากนี้ การสรางหลังคาซอนกันหลายช้ันก็เปนธรรมเนียมและขอตกลงท่ีใชในการแสดงออกซ่ึงฐานานุศักดิ์ของผูเปนเจาของสถานท่ีนั้นๆ โดยบาทหลวงตาชารด ชาวฝร่ังเศสซ่ึงเขามาในสมัยสมเด็จพระนารายณมหาราช แหงกรุงศรีอยุธยา ไดใหขอสังเกตไววา “ในประเทศสยามนั้น เขาพิจารณาความเปนผูดีมีสกุลของแตละตระกูล จากจํานวนช้ันซอนของหลังคาเรือน พระอุโบสถองคนี้มีหลังคาถึงหาช้ัน สวนพระท่ีนั่ง ท่ีประทับมีหลังคาถึงเจ็ดช้ัน”11 ขอสังเกตดังกลาวเปนหลักฐานท่ีแสดงใหเห็นถึงธรรมเนียมปฏิบัติในการแสดงออกซ่ึงฐานานุศักดิ์ทางสังคม

ดังนั้นจึงอาจกลาวโดยสรุปไดวา การจัดลําดับฐานานุศักดิ์ของบุคคลในสังคมโดยอาศัยรูปแบบทางสถาปตยกรรมเปนเคร่ืองแสดงออกทางฐานะและเปนการประกาศแกคนในสังคม ผูมีความเชื่อและเห็นชอบ ซ่ึงยอมรับขนบธรรมเนียมและประเพณีนี้รวมกันตั้งแตสมัยโบราณจนกระท่ังถึงสมัยรัตนโกสินทรตอนตน คตินิยมหรือความเช่ือนี้จึงเปนไปเพื่อการจัดระบบระเบียบคนในสังคมและแสดงฐานะแหงศักดิ์ของบุคคลใหปรากฏเห็นชัดทางวัตถุคือ การสรางงานสถาปตยกรรมท่ีแสดงสถานภาพทางสังคมหรือสภาพฐานานุศักดิ์ท่ีลดหล่ันกัน

11จุลทัศน พยาฆรานนท, “ฐานานุศักด์ิในสถาปตยกรรมไทย” ใน หนังสือท่ีระลึกงานสมโภชกรุง

รัตนโกสินทร 200 ป (กรุงเทพฯ: ราชบัณฑิตยสถาน, 2525), 485.

Page 21: ณฑ ลปะ 2552 - thapra.lib.su.ac.th · The style and concept of the new Ubosot Wat Sothonwararam-woraviharn differences from the Prasat with spire of grand palace because

10

บทท่ี 3 การศึกษาอาคารทรงปราสาทอุโบสถหลังใหม วัดโสธรวรารามวรวิหาร

หากกลาวถึงพระพุทธรูปศักดิ์สิทธ์ิคูบานคูเมืองเรามาอยางชานาน หนึ่งในนั้นคงจะหนี

ไมพนท่ีจะตองกลาวถึงหลวงพอโสธร ซ่ึงไมเพียงแตเฉพาะชาวฉะเชิงเทราเทานั้นท่ีใหความเคารพนับถือ แรงศรัทธาของชาวไทยเกือบท่ัวสารทิศก็หล่ังไหลมาอยางไมขาดสายเชนกัน ดวยแรงศรัทธาท่ีมากลนของประชาชนถูกหลอมรวมเปนหนึ่งเดียว กอเกิดการสรางงานสถาปตยกรรมพระอุโบสถ เพื่อเปนท่ีประดิษฐองคหลวงพอโสธรอยางสมพระเกียรติ ส่ิงหนึ่งท่ีสรางความสะดุดตาใหแกผูพบเห็น คือสวนยอด มีลักษณะเปนหลังคาทรงปราสาท จึงเปนประเด็นในการศึกษาคร้ังนี้วา เปนการคล่ีคลายฐานานุศักดิ์ทางสถาปตยกรรมหรือไม นอกจากนี้ ยังพบวา ภายในตัวอาคารซ่ึงเปนพื้นท่ีท่ีหลวงพอโสธรประดิษฐานบนชุกชีนั้น ปรากฏลวดลายรูปปลานอยใหญวายวนโดยรอบ จึงเปนอีกประเด็นหนึ่งท่ีนาสนใจตอการศึกษาถึงท่ีมาและคติแนวความคิด ประวัติความเปนมา

ดวยอายุการใชงานท่ียาวนานของพระอุโบสถหลังเกา ทําใหมีสภาพชํารุดทรุดโทรม คร้ันพระบาทสมเด็จพระเจาอยูหัวเสด็จพระราชดําเนินมายังวัดโสธรวรารามวรวิหาร เพื่อประกอบพระราชพิธีวิสาขบูชาตามขัตติยราชประเพณี พรอมดวยสมเด็จพระนางเจาพระบรมราชินีนาถ และเจาฟาอุบลรัตนราชกัญญาฯ เม่ือวันท่ี 3 มิถุนายน พ.ศ. 2509 พระบาทสมเด็จพระเจาอยูหัวทรงทอดพระเนตรเห็นความเกาแกทรุดโทรม พระองคจึงทรงมีพระราชดํารัสกับหลวงปูเจียม เจาอาวาสวัดขณะนั้น วา พระอุโบสถหลังนี้ไมเหมาะกับฐานานุศักดิ์ของหลวงพอโสธร สมควรอยางยิ่งท่ีจะตองปรับปรุงเสียใหมใหเหมาะสม หลวงปูเจียมจึงสนองพระราชดํารัสตามพระราชกระแสรับส่ังและเร่ิมสะสมเงินทุนในการกอสราง1

1เลิศลักษณา บุญเจริญ, โสธรวรารามวรวิหาร มงคลคูแปดร้ิว (กรุงเทพฯ: ดาวฤกษ, 2539), 84.

Page 22: ณฑ ลปะ 2552 - thapra.lib.su.ac.th · The style and concept of the new Ubosot Wat Sothonwararam-woraviharn differences from the Prasat with spire of grand palace because

11

ตั้งแตบัดนั้นเปนตนมา ทางวัดไดดําเนินการปรับปรุงแกไขบริเวณหนาวัดและแหลงเส่ือมโทรมใหเปนระเบียบเรียบรอยตามพระราชดําริเปนเวลา 20 ป พระบาทสมเด็จพระเจาอยูหัวทรงมีพระบรมราชโองการแตงตั้งสถาปนิกผูอํานวยการกอสราง คือ นายประเวศ ลิมปรังษี นอกจากนี้ ทรงทอดพระเนตรรางแบบแปลนแผนผังการกอสรางดวยพระองคเองและทรงพระราชทานพระราชวินิจฉัยในการเลือกวัสดุ หลังจากนั้นจึงไดเร่ิมการกอสรางพระอุโบสถ ทรงเสด็จพระราชดําเนินมาวางศิลาฤกษการกอสรางพระอุโบสถหลังใหม และทรงประกอบพระราชพิธียกฉัตรทองคําเหนือยอดมณฑป ฯลฯ และทรงพระกรุณาโปรดเกลาฯ ใหสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกมารี เปนองคประธานในการกอสราง2

จากมูลเหตุความเส่ือมโทรมของพระอุโบสถหลังเกา จึงมีโครงการกอสรางพระอุโบสถหลังใหมดังกลาวขางตน ซ่ึงมีการต้ังงบประมาณไวท่ี 1,900,000,000 บาท โดยเปนการสะสมเงินทุนท่ีไดรับการบริจาคจากประชาชนเร่ือยมา3 ในขณะท่ีงบประมาณของโครงการการกอสรางตามจริงในปจจุบันป 2550 อยูท่ีประมาณ 2,041,000,000 บาท4 นํามาซ่ึงความยิ่งใหญอลังการของพระอุโบสถ โดยองคประกอบเดนสําคัญท่ีนาสนใจของตัวอาคาร เม่ือมองจากดานนอก คือ สวนยอดเปนทรงปราสาท เฉกเชนเดียวกับรูปแบบท่ีพบในพระบรมมหาราชวัง เชน พระท่ีนั่งดุสิตมหาปราสาท เปนตน การศึกษาทางดานรูปแบบ แนวความคิด คติและความหมายในการกอสราง

สถาปตยกรรมพระอุโบสถหลังใหม (ภาพท่ี 1) มีลักษณะเปนศิลปกรรมไทยแบบประยุกตและรวมสมัย เนื่องจากวัสดุท่ีใชในการกอสราง เชน เซรามิค ซ่ึงถูกส่ังทําและออกแบบเปนพิเศษเพื่อใชเปนกระเบ้ืองมุงหลังคา (ภาพท่ี 2) รวมถึงการทําลวดลายประดับสวนตางๆ เชน ชอฟาใบระกา หัวนาค ปนลม ลายหนาบัน และลายตกแตงอ่ืนๆ (ภาพท่ี 3) ดวยเปนวัสดุท่ีมีความคงทนไมนอยกวา 1,000 ป5 นอกจากนี้ยังพบวา บริเวณของพื้นอาคารตลอดจนบันได และซุมประตูท้ังภายในและภายนอกลวนทําจากวัสดุท่ีเปนหินแกรนิตและหินออน (ภาพที่ 4 - 5) เพื่อความคงทนถาวรเชนกัน อีกท้ังกรอบวงประตู กรอบบานประตู หนาตางและลายตกแตงอ่ืนๆ เชน ลายบานประตู ลายชองระบายอากาศ บันไดเวียน (ภาพท่ี 6-7) ทําหลอดวยทองสําริด6

2เลิศลักษณา บุญเจริญ, โสธรวรารามวรวิหาร มงคลคูแปดร้ิว (กรุงเทพฯ: ดาวฤกษ, 2539), 84 – 86. 3เรื่องเดียวกัน, 86. 4สัมภาษณ พระครูวิมล ภาวนาประสิทธิ์, ผูชวยเจาอาวาส วัดโสธรวรารามวรวิหาร, 28 มิถุนายน

2550. 5“พระอุโบสถหลังใหม วัดโสธรวรารามวรวิหาร,” อาษา 19, 20 (สิงหาคม 2537) : 57. 6เรื่องเดียวกัน, 57 – 58.

Page 23: ณฑ ลปะ 2552 - thapra.lib.su.ac.th · The style and concept of the new Ubosot Wat Sothonwararam-woraviharn differences from the Prasat with spire of grand palace because

12

อยางไรก็ตาม พระอุโบสถหลังใหมมีแผนผังเปนรูปส่ีเหล่ียมผืนผา วางตัวในแนวทิศตะวันออก – ตะวันตก ทางดานทิศเหนือเปนประตูทางเขาหลัก หันหนาออกสูถนนเมืองฉะเชิงเทราท่ีตัดผานหนาวัด และทางดานทิศใตหันออกสูแมน้ําบางปะกง ความกวางและความยาวของพื้นท่ีตัวอาคารมีขนาด 44.5 เมตร และ 85 เมตรตามลําดับ เปนอาคาร 8 ช้ัน ความสูงของฉัตรประดับยอดปราสาท 4.7 เมตร มีพื้นท่ีใชสอยรวมประมาณ 5,495 ตารางเมตร7 โครงสรางหลักสามารถแบงไดเปน 2 สวน คือ

1. สวนฐาน หรือตัวอาคาร สวนฐานหรือตัวอาคารเปนการออกแบบโดยการรวมสวนพื้นท่ีใชงานหลักเขาไว

ดวยกันในแกนราบ ซ่ึงสามารถแบงออกเปน 5 สวนหลักๆ ดังนี้ คือ สวนท่ี 1 มุขทิศตะวันออก – สวนนมัสการหลวงพอองคจําลอง เปนมุขอาคารโถงไมมี

ผนัง8 (ภาพท่ี 8) สวนท่ี 2 วิหารพระไตรปฎก – ถัดจากมุขดานหนาตอมา ลักษณะกึ่ง 2 ช้ัน โดยชั้นท่ี 2

เปนช้ันกึ่งลอย มีทางเดินรอบขางพระวิหาร สวนกลางเปนโถงโลง ภายในประดิษฐานพระอัฏฐารส และคัมภีรพระไตรปฎก

สวนท่ี 3 สวนพระอุโบสถ – ตั้งอยูตรงสวนกลางของอาคาร พื้นท่ีมีลักษณะเปนโถงใหญรูปส่ีเหล่ียมจัตุรัส สูง 2 ช้ัน ขนาบขางดวยอาคารมุขเด็จท้ังดานทิศเหนือและทิศใต ตั้งแตช้ันท่ี 3 ข้ึนไปเปนสวนของอาคารเรือนยอด ภายในประดิษฐานหลวงพอพุทธโสธรองคจริง พระประธานและพระพุทธรูปอ่ืนๆ บนฐานชุกชี ลอมรอบดวยลวดลายปลานานาชนิดบนพื้นพระอุโบสถ โดยท่ีมุมท้ัง 4 มุม ตั้งเปนหลักสีมา มีทางเขาออก 4 ทาง (ภาพท่ี 9 - 11)

สวนท่ี 4 พื้นท่ีพระวิหารเดิม – ลักษณะโดยท่ัวไป คลายคลึงกันกับพระวิหารพระไตรปฎกในสวนท่ี 2 ภายในประดิษฐานมหาธรรมาสน และประดิษฐานพระพุทธรูปองคเดิมท่ีเคยประดิษฐานอยูในวิหารหลังเดิม9

7วัดโสธรวรารามวรวิหาร, โสธรวรารามวรวิหาร นิมิตแหงบุญ (กรุงเทพฯ: ทีซีจีพริ้นต้ิง, 2549), 44. 8ในปจจุบันพบวายังไมมีการใชสอยพ้ืนที่ดังกลาวตามวัตถุประสงค เพราะเหตุวามีนกบินมารบกวน

อยูตลอดเวลาและถายสิ่งปฏิกูล จึงตองเคล่ือนยายหลวงพอพุทธโสธรองคจําลองกลับมาประดิษฐานที่พระวิหารเกาตามเดิม อางจาก สัมภาษณ พระครูวิมล ภาวนาประสิทธิ์, ผูชวยเจาอาวาส วัดโสธรวรารามวรวิหาร, 28 มิถุนายน 2550.

9นอกจากน้ี พ้ืนที่ในสวนที่ 4 ยังใชเปนพ้ืนที่หลักในการประกอบศาสนกิจสงฆ เชน ทําวัตรสวดมนตพระ, เทศนา และใชเปนที่ประชุมคณะกรรมการและเจาหนาที่วัด อางจาก สัมภาษณ พระครูวิมล ภาวนาประสิทธิ์, ผูชวยเจาอาวาส วัดโสธรวรารามวรวิหาร, 28 มิถุนายน 2550.

Page 24: ณฑ ลปะ 2552 - thapra.lib.su.ac.th · The style and concept of the new Ubosot Wat Sothonwararam-woraviharn differences from the Prasat with spire of grand palace because

13

สวนท่ี 5 อาคารมุขหลังดานทิศตะวันตก – เปนวิหารหอพระอุทิศ โครงสรางท่ัวไปมีลักษณะเดียวกับมุขโถงดานทิศตะวันออก ภายในประดิษฐานพระอุทิศตามแนวคิดของผูออกแบบใหเปนไปตามอยางราชประเพณีทางพุทธศาสนาท่ีมีมาแตโบราณ10 (ภาพท่ี 12)

2. สวนยอด สวนยอด หรือสวนช้ันหลังคา เปนการซอนช้ันลดหล่ันกันตามสัดสวนของตัวอาคาร

จุดเดนท่ีสําคัญคือ ช้ันหลังคาของสวนพระอุโบสถ มีลักษณะเปนทรงปราสาทแบบประยุกต กลาวคือ มีรูปทรง 8 เหล่ียม ตรงสันเหล่ียมประดับรวยระกาและหางหงสเปนนาคสามเศียร โดยสามารถแบงออกเปน 4 ช้ันซอนลดหล่ันกันข้ึนไป คลายคลึงกับรูปแบบของเจดีย (ภาพที่ 13) ดังนี้คือ

ชั้นท่ี 1 – มีลักษณะเหมือนชายคา เช่ือมตอกับสันหลังคาพระอุโบสถ ชั้นท่ี 2 – เปนหลังคาลาดขนาดใหญ ในทิศหลักประดับดวยบันแถลงขนาดยอม ขนาบ

ขางสวนบนสุดของหลังคาพระอุโบสถ ชั้นท่ี 3 – มีลักษณะเปนเรือนธาตุ บานประตูและชองหนาตางเปนแบบไทยประยุกต

หนาบรรพประตูประดับลวดลายสอดคลองกับช้ันหลังคาพระอุโบสถ และกินพื้นท่ีเขาไปกึ่งหนึ่งของช้ันหลังคา ตอจากช้ันเรือนธาตุข้ึนไป เปนช้ันหลังคาลาด ประดับดวยชองลมคลายกุฑุในศิลปะอินเดียเหนือหนาบรรพประตูในทิศหลัก บริเวณโดยรอบกั้นเปนระเบียงคลายลานปทักษิณ ประดับดวยฉัตรทอง 7 ช้ัน ทิศละ 4 ฉัตร ภายในเรือนธาตุเปนท่ีประดิษฐานพระสถูปเจดียบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ

ชั้นท่ี 4 – มีลักษณะคลายกับการจําลองเรือนธาตุของชั้นท่ี 3 แตตัดตรงสวนเรือนธาตุท่ียืดสูงออกใหเหลือเพียงรูปแบบชองหนาตางขนาดเล็ก 2 ชองในแตละทิศ สําหรับในสวนของหลังคาเปนลักษณะหลังคาลาด และประดับลวดลายอยางสอดคลองกันกับช้ันท่ี 3 และหลังคาพระอุโบสถ ตรงสวนทิศหลักประดับชองหนาตางรูปกุฑุ 2 บานซอนช้ันกัน

เหนือข้ึนไปจากช้ันท่ี 4 เปนสวนบัลลังกซอนกัน 2 ช้ัน ตอดวยปลี ซ่ึงมีลักษณะเปนแทงค่ันดวยลูกแกว ปลียอดและเม็ดน้ําคางแบบไทยประยุกต 11 ท้ังหมดอยูในรูปแปดเหล่ียม สวนยอดสุดเปนฉัตรทองคํา 5 ช้ัน ทําดวยทองคําแท (ภาพท่ี 14 – 16)

แนวความคิดในการออกแบบ

10วัดโสธรวรารามวรวิหาร, โสธรวรารามวรวิหาร นิมิตแหงบุญ (กรุงเทพฯ: ทีซีจีพริ้นต้ิง, 2549), 57. 11สวนยอดน้ีอาจจะมีหลักการและแนวคิดเดียวกันกับสวนยอดของเจดียแบบไทยประเพณีสมัยตน

รัตนโกสินทร ที่ปรากฏการประดับสวนยอดในลักษณะเดียวกัน คือ การประดับลูกแกวคั่นปลี ตอขึ้นไปเปนปลียอด และเม็ดนํ้าคาง

Page 25: ณฑ ลปะ 2552 - thapra.lib.su.ac.th · The style and concept of the new Ubosot Wat Sothonwararam-woraviharn differences from the Prasat with spire of grand palace because

14

จากการศึกษาแนวคิดในการออกแบบ พบวาปจจัยและขอจํากัดสําคัญท่ีนําไปสูแนวความคิดในการสรางพระอุโบสถนั้น สามารถนํามาพิจารณาไดดังนี้ คือ

1. พิจารณาจากวัตถุประสงคตามพระราชดําริใหปรับปรุงพระอุโบสถใหสมพระเกียรติหลวงพอพุทธโสธร

2. สภาพวัดไมไดสรางข้ึนตามหลักการสรางวัดโบราณ ไมมีการจัดแผนผังวัด 3. มีท่ีดินนอย ไมสามารถขยายไปได 4. ลักษณะการเคารพบูชาพระพุทธโสธร การปดทอง ขอพรท่ีตองแตะองคหลวงพอ 5. พิจารณาจากขนาดของพระอุโบสถหลังเดิม12 จากประเด็นปญหาดังกลาว ทําใหอาจารยประเวศ ลิมปรังษี สถาปนิกผูออกแบบไดหา

แนวทางการออกแบบพระอุโบสถ เพื่อแกไขจุดบกพรองตางๆ นํามาซ่ึงแนวความคิดในการออกแบบพระอุโบสถ ดังน้ี คือ

1. แกไขใหเปนไปตามหลักการจัดผังวัด โดยใหพระอุโบสถหลังใหมเปนเขตพุทธาวาส และใชเปนท่ีประกอบสังฆกรรมตามธรรมเนียมประเพณี

2. พื้นท่ีคับแคบ จึงแกปญหาโดยการออกแบบพระอุโบสถหลังใหมใหมีองคประกอบใชสอยของตัวอาคารในเขตพุทธวาสใหอยูในพื้นท่ีเดียวกัน เปนอาคารแบบหลังเดียว มีแนวร้ัวลอมเปนเขตพุทธวาสตามหลักประเพณีการสรางวัด

3. องคหลวงพอพุทธโสธรเปนพระประธานทีมีฐานชุกชีเต้ียๆ ทําใหสามารถเดินไปปดทอง นมัสการถึงองคหลวงพอได ลักษณะดังกลาวเปนเอกลักษณท่ีแสดงใหเห็นวาหลวงพอเปนของประชาชน จึงคงรูปแบบไวดังเดิม ไมมีการเปล่ียนแปลง

4. ขนาดอุโบสถเดิมเล็ก และแคบไมสามารถบรรจุคนไดมาก จึงออกแบบใหกวางข้ึนและระบายคนเขาออกไดสะดวก ใหลักษณะอาคารโปรง เพื่อความไมแออัด มีทางเขาออก 4 ทาง ยกเพดานสูงเพื่อไมใหอบอาว

5. ออกแบบตามพระราชดําริคือใหสมพระเกียรติกับหลวงพอโสธร มีความสงางาม มีคุณคาทางศิลปกรรม และเปนอาคารประสานหลายหนาท่ีใชสอย เนนการเปนสถาปตยกรรมแนวใหม ร.9

6. เนนการประหยัด คือออกแบบพระอุโบสถใหมีสวนสําคัญไวหลังเดียวกันในเขตพุทธวาส

7. การใชวัสดุ เนนคุณภาพ เพื่ออายุยืนนาน วัสดุท่ีใชตองผลิตข้ึนใหมเกือบท้ังหมด13

12“พระอุโบสถหลังใหม วัดโสธรวรารามวรวิหาร,” อาษา 19, 20 (สิงหาคม 2537): 55. 13เรื่องเดียวกัน, 57.

Page 26: ณฑ ลปะ 2552 - thapra.lib.su.ac.th · The style and concept of the new Ubosot Wat Sothonwararam-woraviharn differences from the Prasat with spire of grand palace because

15

ดวยปจจัยและขอจํากัดขางตน ทําใหอาจารยประเวศ ลิมปรังษี สถาปนิกผูออกแบบ หาแนวหาเพื่อขจัดปญหา โดยการรวมประโยชนและความมุงหมายเขาไวดวยกัน กลาวคือ ออกแบบอาคารแบบประสานประโยชนหลายๆ หนาท่ีการใชงานตามหลักการพุทธศาสนา ตามแตละสวนของตัวอาคาร โดยเนนสวนยอดเปนส่ิงแทนพระสถูปเจดียท่ีประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ ใหเปนหลักแหงพุทธาวาสตามแบบการสรางวัดแบบโบราณประเพณี อีกท้ังประสงคจะให เปนสถาปตยกรรมแนวใหมในยุครัชกาลท่ี 9 และมีคุณสมบัติตามพระราชดําริคือ เปนอาคารสมเกียรติกับหลวงพอโสธร ประเด็นวิเคราะห

จากการศึกษาทางดานรูปแบบของพระอุโบสถ และแนวความคิดท่ีนํามาใชในการสราง พบวา ประเด็นหนึ่งทางดานรูปแบบท่ีนาสนใจ นั่นคือ การสรางสวนยอดเปนทรงปราสาท เปนการคล่ีคลายทางฐานานุศักดิ์ทางสถาปตยกรรมหรือไม เหมาะสมหรือไมอยางไรในการนํารูปแบบดังกลาวมาใชกับพระอุโบสถหลวงพอโสธร และอีกประเด็นหนึ่งคือ ภาพปลานานาชนิดท่ีพื้นอุโบสถรายรอบฐานชุกชี วามีท่ีมาหรือแนวความคิดอยางไรในการนําภาพดังกลาวมานําเสนอ

1. ประเด็นทางดานรูปแบบทรงปราสาท จากการพิจาณาทางดานรูปแบบพระอุโบสถหลังใหมวัดโสธรวรารามวรวิหาร พบวามี

รูปแบบท่ีโดดเดนในสวนยอด โดยเปนการทําช้ันหลังคาซอนลดหล่ันกันข้ึนไปในลักษณะของทรงปราสาท รูปแบบการประดับช้ันหลังคาดวยทรงปราสาทดังกลาวมีความคลายคลึงกับอาคารปราสาทในพระบรมมหาราชวัง เชน พระท่ีนั่งดุสิตมหาปราสาท การสรางพระอุโบสถทรงปราสาท จึงอาจจะเปนการคล่ีคลายฐานานุศักดิ์ทางสถาปตยกรรม

อยางไรก็ตาม เม่ือพิจารณาถึงความหมายของคําวา ปราสาท แปลวา เรือนช้ัน หมายถึงอาคารท่ีสรางสูงเกินกวาหนึ่งช้ัน เปนท่ีประทับของพระมหากษัตริย เนื่องจากสามัญชนจะอยูอาศัยเพียงเฉพาะเรือนไมช้ันเดียว อาคารสูงต้ังแต 2 ช้ันข้ึนไปเรียกวา ปราสาท นับวาเปนอาคารสูงแบบโบราณ14 ในพุทธกาลปรากฏการสรางปราสาท เพื่อเปนท่ีอยูอาศัยของมหาเศรษฐี ช่ือวายสกุลบตุร15

14สมภพ ภิรมย, “สถาปตยกรรมเวียง วัง วัดและเวิ้งสมัยรัตนโกสินทร” ใน เอกสารวิชาการและ

สรุปผลสัมมนาเร่ืองเอกลักษณสถาปตยกรรมในประเทศไทย คณะสถาปตยกรรมศาสตร มหาวิทยาลัยศิลปากร, (กรุงเทพฯ: โรงพิมพมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร, 2527), 58.

15สมภพ ภิรมย, กุฎาคาร (กรุงเทพฯ: ราชบัณฑิตยสถาน, 2545), 8.

Page 27: ณฑ ลปะ 2552 - thapra.lib.su.ac.th · The style and concept of the new Ubosot Wat Sothonwararam-woraviharn differences from the Prasat with spire of grand palace because

16

ซ่ึงแสดงใหเห็นวา คติการสรางปราสาทในอินเดียนั้นสามารถเปนท่ีประทับของพระมหากษัตริยและเปนท่ีอยูอาศัยของบุคคลผูมีฐานะสูงข้ันมหาเศรษฐี16

แต เ ม่ือไทยรับคติการสร างปราสาทจากอินเดียมา จะเปน ท่ีประทับสําหรับพระมหากษัตริยหรือเทพเจาเทานั้น เพ่ือแสดงใหเห็นความแตกตางกันระหวางพระมหากษัตริยกับสามัญชนซ่ึงเปนเพียงบุคคลธรรมดา ซ่ึงนอกจากจะสรางจําเพาะเจาะจงสําหรับพระมหากษัตริยแลว อาจจะเปนการสรางโดยมีพระบรมราชโองการส่ังใหสรางเทานั้น17

ยกตัวอยางเหตุการณสําคัญในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟาจุฬาโลก กรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท ซ่ึงเปนวังหนาในสมัยนั้น จะทรงสรางปราสาทเหมือนอยางพระท่ีนั่งบรรยงครัตนาศนท่ีกรุงศรีอยุธยา แตสรางไมทันแลวเสร็จก็เกิดเหตุการณการลอบทํารายกรมพระราชวังบวรฯ ทานจึงมีรับส่ังวา “ท่ีวังจันทรเกษมซ่ึงเปนวังหนาคร้ังกรุงศรีอยุธยาไมมีปราสาท พระองคมาสรางปราสาทข้ึนในวังหนาเห็นจะเกินวาสนาไปจึงมีเหตุ จึงโปรดใหงดการสรางปราสาทนั้นเสีย...”18

จากเหตุการณดังกลาวทําใหเห็นวา การสรางอาคารทรงปราสาทในสมัยโบราณประเพณีนั้น จะสรางสําหรับเปนท่ีประทับของพระมหากษัตริยเทานั้น หรือพระมหากษัตริยทรงมีรับส่ังใหสรางเปนพุทธบูชา

เม่ือพิจารณาตามเหตุผลและขอมูลในการสรางปราสาทขางตนกับประเด็นทางดานรูปแบบทรงปราสาทของพระอุโบสถวัดโสธรวรารามวรวิหาร พบวา ไมนาจะเปนเร่ืองของการคล่ีคลายฐานานุศักดิ์ทางสถาปตยกรรม เนื่องจากเม่ือพิจารณาตามประวัติการกอสราง เราจะพบวา พระบาทสมเด็จพระเจาอยูทรงมีรับส่ังใหสรางพระอุโบสถใหสมเกียรติกับหลวงพอ โสธร การสนองพระกระแสรับส่ังดังกลาว โดยการสรางพระอุโบสถเปนทรงปราสาท ซ่ึงผานการวินิจฉัยดวยพระองคเอง จึงทําใหสถาปตยกรรมพระอุโบสถหลังนี้ มีความสอดคลองดวยเหตุผลของคติการสรางอาคารทรงปราสาท คือ สรางจากพระบรมราชโองการของพระมหากษัตริย และไมเปนการคล่ีคลายฐานานุศักดิ์ทางสถาปตยกรรมแตอยางใด

ดังนั้น จึงเช่ือไดวา การสรางอุโบสถทรงปราสาทที่วัดโสธรฯ มีฐานานุศักดิ์ทางสถาปตยกรรมท่ีอาจเทียบเทาอาคารทรงปราสาทในพระบรมมหาราชวัง ดวยเหตุท่ีพระมหากษัตริยทรงโปรดเกลาฯ รับส่ังใหสราง

16สมภพ ภิรมย, กุฎาคาร (กรุงเทพฯ: ราชบัณฑิตยสถาน, 2545), 8. 17เรื่องเดียวกัน. 18เรื่องเดียวกัน, 11.

Page 28: ณฑ ลปะ 2552 - thapra.lib.su.ac.th · The style and concept of the new Ubosot Wat Sothonwararam-woraviharn differences from the Prasat with spire of grand palace because

17

อยางไรก็ตาม ในดานของรูปแบบสถาปตยกรรมทางศาสนา มีนักวิชาการใหความเห็นวา วัดใดท่ีเปนวัดหลวง หรือวัดของขุนนางขาราชการเปนผูสราง มักจะมีอิทธิพลของศิลปกรรมเมืองหลวงผสมอยูในสัดสวนคอนขางมาก ซ่ึงอาจจะมีความแตกตางไปจากรูปแบบท่ีพบในทองถ่ิน แตอาจจะเหมือนท่ีอ่ืนๆ ท่ีนิยมในขณะน้ัน19 จากขอคิดเห็นดังกลาว สอดรับและสนับสนุนใหเห็นวาการสรางสถาปตยกรรมทรงปราสาทวัดโสธรฯ ท่ีอยูในทองถ่ินตางจังหวัด มีรูปแบบท่ีคลายคลึงกับสถาปตยกรรมในพระบรมมหาราชวังในแงของการทํายอดทรงปราสาท และความนิยมสรางพระอุโบสถขนาดใหญในปจจุบัน เพื่อส่ือใหเห็นถึงศรัทธาอันแรงกลาของประชาชนท่ีมีตอพุทธศาสนา

2. ประเด็นดานท่ีมาของแนวความคิดภาพเลาเร่ือง จากการศึกษาพบวา พระอุโบสถหลังใหมวัดโสธรฯ มีจุดประสงคสําคัญในการสรางข้ึน

เพ่ือเปนท่ีประดิษฐานองคหลวงพอโสธรอยางสมเกียรติตามท่ีพระบาทสมเด็จพระเจาอยูหัวทรงมีพระราชกระแสรับส่ังไว ทําใหการออกแบบภายในจึงตองมีความสอดคลองกับพระพุทธโสธรเชนกัน โดยสังเกตไดอยางชัดเจนจากการทําลวดลายพันธุปลานานาชนิดไวท่ีพื้นอุโบสถ แสดงอาการแหวกวาย เคล่ือนไหวไปมาอยูรายรอบฐานชุกชีท่ีประดิษฐานองคพระพุทธโสธร (ภาพท่ี 17) ภาพดังกลาวสามารถส่ือใหผูพบเห็นเขาใจไดโดยงายถึงประวัติความเปนมาของหลวงพอโสธร

ตามตํานานของหลวงพอโสธร มีการเลาขานกันตอๆ มาวา ในสมัยลานชาง – ลานนา เศรษฐีพี่นอง 3 คน ซ่ึงอาศัยอยูทางเหนือ ไดหลอพระพุทธรูปศักดิ์สิทธ์ิไว 3 องคตามวันเกิดของแตละคน มีปางสมาธิ ปางมารวิชัยและปางอุมบาตร จนกระท่ังบานเมืองเกิดยุคเข็ญและถูกพมาตีแตก ทําใหพระพุทธรูป 3 องคแสดงอภินิหารยายองคลงสูแมน้ําปง ลอยนํ้าลงมาทางใตถึงแมน้ําเจาพระยา และแยกทางกัน องคหนึ่งคือ หลวงพอวัดบานแหลม ลอยถึงแมน้ําแมกลอง จังหวัดสมุทรสาคร องคหนึ่งคือ หลวงพอโตบางพลี ลอยเขาคลองบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ และองคสุดทายคือ หลวงพอโสธร ลอยมาถึงแมน้ําบางประกง และข้ึนท่ีหนาวัดหงส (ช่ือเดิมของวัดโสธร) ชาวบานและผูมีความรูทางไสยศาสตรชวยกันอัญเชิญข้ึนมาประดิษฐานไวท่ีพระวิหาร ในราวประมาณ พ.ศ.2313 สมัยตนตนกรุงธนบุรี20

จากตํานานเลาขานถึงประวัติความเปนมาของหลวงพอโสธร ซ่ึงเปนท่ีรับรูของชาวบานในทองถ่ินและคนท่ัวไปวา องคพระพุทธโสธรลอยมากับน้ําและมาข้ึนฝงท่ีวัดโสธร ทําใหการออกแบบพระอุโบสถภายใน จึงเปนการออกแบบโดยการนําเสนอลวดลายรูปปลาหลากหลายชนิดมาแสดงไวท่ีพื้นพระอุโบสถ รายรอบฐานชุกชีหลวงพอพุทธโสธร เพื่อเปนการจําลองฉากหรือ

19ศรีศักร วัลลิโภดม, ขอสังเกตเก่ียวกับการเปล่ียนแปลงรูปแบบทางสถาปตยกรรม (ม.ป.ท., 2525), 1. 20วัดโสธรวรารามวรวิหาร, โสธรวรารามวรวิหาร นิมิตแหงบุญ (กรุงเทพฯ: ทีซีจีพริ้นต้ิง, 2549), 92 -

94.

Page 29: ณฑ ลปะ 2552 - thapra.lib.su.ac.th · The style and concept of the new Ubosot Wat Sothonwararam-woraviharn differences from the Prasat with spire of grand palace because

18

เหตุการณตอนที่พระพุทธโสธร กําลังลอยน้ํามาข้ึนฝงวัด จึงเปนการบอกเลาใหผูพบเห็นเขาใจในประวัติความเปนมาของพระพุทธโสธรไดโดยงายเชนเดียวกัน (ภาพท่ี 18)

Page 30: ณฑ ลปะ 2552 - thapra.lib.su.ac.th · The style and concept of the new Ubosot Wat Sothonwararam-woraviharn differences from the Prasat with spire of grand palace because

19

บทท่ี 4 พระอุโบสถหลังใหม วัดโสธรวรารามวรวิหารกับสถาปตยกรรมโบราณ

และสถาปตยกรรมรวมสมัย สถาปตยกรรมโบราณ

พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท ประวัติความเปนมา พระท่ีนั่งดุสิตมหาปราสาทเปนพระท่ีนั่งองคประธานของพระมหามณเฑียรท่ี

พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟาจุฬาโลกมหาราช (รัชกาลท่ี 1) ทรงโปรดใหสรางข้ึนใหมแทนพระท่ีนั่งอมรินทราภิเษกมหาปราสาท ท่ีถูกฟาผาและเพลิงไหมหมดท้ังหลัง การสรางพระท่ีนั่งองคนี้โปรดใหเล่ือนตําแหนงองคพระท่ีนั่งออกมาขางหนา และสรางพระท่ีนั่งเพิ่มอีกองคหนึ่งโดยตอกับมุขหลังของพระมหาปราสาท พรอมกันโปรดใหสรางพระปรัศวซายข้ึนใหมตรงท่ีเดิมและสรางกําแพงแกวเปนบริเวณพระท่ีนั่งโดยรอบ1

พระท่ีนั่งดุสิตมหาปราสาทใชเปนท่ีประดิษฐานพระบรมศพสมเด็จพระมหากษัตริยและสมเด็จพระอัครมเหสี บางคร้ังทรงพระกรุณาโปรดเกลาฯ ใหตั้งพระศพสมเด็จพระบรมราชวงศบางพระองคในระหวางท่ีไมมีการประดิษฐานพระบรมศพก็ใชประกอบพระราชพิธีและการพระราชกุศลตางๆ ท่ีสําคัญคือ พระราชพิธีฉัตรมงคลในสมัยรัชกาลท่ี 3 ไดทรงพระกรุณาโปรดเกลาฯ ใหใชเปนท่ีชุมนุมสงฆสังคายนาพระไตรปฎก และเคยทรงใชเปนท่ีเสด็จออกขุนนาง เม่ือเสร็จจากการบูรณะคร้ังใหญในระหวางทําการบูรณะหมูพระราชมณเฑียร2

1พลาดิศัย สิทธิธัญกิจ, พระบรมมหาราชวังกรุงรัตนโกสินทร (กรุงเทพฯ: บันทึกสยาม, 2545), 158. 2กรมศิลปากร, ศิลปวัฒนธรรมเลม 8 โบราณสถานและอนุสาวรียกรุงรัตนโกสินทร 200 ป

(กรุงเทพฯ: กองโบราณคดี, 2525), 30.

Page 31: ณฑ ลปะ 2552 - thapra.lib.su.ac.th · The style and concept of the new Ubosot Wat Sothonwararam-woraviharn differences from the Prasat with spire of grand palace because

20

รูปแบบพระท่ีนั่งดุสิตมหาปราสาท (ภาพท่ี 19) พระท่ีนั่งดุสิตมหาปราสาทต้ังอยูในเขตพระราชฐานชั้นกลางทางฝงฟากตะวันตก มี

รูปแบบเปนปราสาททรงจัตุรมุข แตละมุขมีความกวางยาวเสมอกัน ตรงกลางมุขเปนยอดปราสาท มุขดานทิศเหนือมีมุขเด็จยื่นออกมา องคพระท่ีนั่งกออิฐถือปูน3 ประกอบดวยสวนฐานคือฐานหนากระดาน ถัดข้ึนมาเปนฐานสิงห และฐานเชิงบาตร 2 ช้ัน เหนือข้ึนไปคือสวนช้ันเรือนธาตุ ซ่ึงประกอบดวยซุมประตูทรงปราสาทตรงมุขดานทิศเหนือ และซุมหนาตางทรงปราสาทดานละ 4 ซุม สวนมุขเด็จดานหนาเปนท่ีตั้งของพระท่ีนั่งบุษบกมาลา สําหรับใชเปนท่ีเสด็จฯ ออกพระราชพิธี

สวนยอดของพระท่ีนั่งดุสิตมหาปราสาท (ภาพท่ี 20) เปนการทําเรือนซอนช้ันลดหล่ันกันตามสัดสวนของตัวอาคาร ซ่ึงเปนสถาปตยกรรมแบบไทยประเพณี ลักษณะเดนอยูท่ีสวนยอดปราสาทและครุฑรับไขรายอดปราสาทท้ัง 4 ดาน ศาสตราจารยหลวงวิศาลศิลปกรรม ผูเช่ียวชาญงานสถาปตยกรรมไทยประเพณี ไดบรรยายไววา

“...นับเปนสถาปตยกรรมชั้นเยี่ยม คือ ยอดปราสาทไดรูปทรงจอมแห ถูกตองตามหลักวิชา นับต้ังแตหยาดน้ําคางลงมา ปลียอด ลูกแกว บัวกลุม เหมบัลลังก องคระฆัง ถึงแปตาราง ช้ันหลังคายอดแบงจังหวะเปนเจ็ดช้ัน มียอเหล่ียมไมสิบสองยื่นออกไปรับบานแถลงทุกๆ ช้ัน ส่ีมุมของหลังคามีนาคปกทุกเหล่ียม ตอจากมุมเชิงชายไมสิบสองลงไปยังมีครุฑแบกชายคาท้ังส่ีดานแทนคันทวย นับเปนยอดพระมหาปราสาทท่ีมีรูปทรงตองดวยศิลปลักษณะอันวิจิตรงดงาม...”4

อยางไรก็ตาม สวนยอดของพระท่ีนั่งดุสิตมหาปราสาท ประกอบดวยหลังคาช้ันลด ซอนลดหล่ันกันข้ึนไป 4 ซอน มีลักษณะเปนหลังคายอดปราสาท ประกอบดวยเคร่ืองยอดและเคร่ืองตกแตง ดังน้ี คือ

1. เหนือหลังคาช้ันซอน ช้ันท่ี 4 ข้ึนไป ประดับดวยครุฑยุดนาคในมุมทิศเฉียงทั้ง 4 ทิศ ใตไขรายอดปราสาท (ภาพท่ี 21)

2. ยอดปราสาทมีลักษณะคลายทรงระฆัง อยูในแผนผังแบบเพิ่มมุมไมสิบสอง

3หมอมราชวงศ แสงสูรย ลดาวัลย , พระมหาปราสาทและพระราชมณเฑียรสถานใน

พระบรมมหาราชวัง (กรุงเทพฯ: สํานักพระราชวัง, 2519), 52. 4สํานักราชเลขาธิการ, สถาปตยกรรมพระบรมมหาราชวัง (กรุงเทพฯ: สํานักราชเลขาธิการ, 2531),

26.

Page 32: ณฑ ลปะ 2552 - thapra.lib.su.ac.th · The style and concept of the new Ubosot Wat Sothonwararam-woraviharn differences from the Prasat with spire of grand palace because

21

3. สวนยอดปราสาท ประกอบดวยเชิงกลอน5 7 ช้ัน ซอนลดหล่ันกันข้ึนไปรองรับยอดปราสาทท่ีมีลักษณะคลายทรงระฆังเพิ่มมุมไมสิบสอง

4. บนช้ันเชิงกลอนแตละช้ัน ประดับดวยบันแถลงซอนช้ันกัน 2 ช้ัน ตรงจุดกึ่งกลางของช้ันในดานทิศหลัก (ทิศเหนือ-ทิศใต ทิศตะวันออก-ทิศตะวันตก) ท้ัง 4 ทิศ ซ่ึงเปนรูปแบบการจําลองหลังคาช้ันซอนดานลาง และขนาบขางดวยบันแถลงขนาดยอมตามสัดสวนลดหล่ันกันข้ึนไป

5. ท่ีจุดเพิ่มมุมในแตละทิศเฉียงประกอบดวยนาคปก6 3 เศียร สอดรับกับนาคเบือน7ท่ีประดับปลายรวยระกาที่ติดกับเชิงกลอนของช้ันหลังคา (ภาพท่ี 22)

6. ตอจากช้ันเชิงกลอนข้ึนไป เปนสวนคลายองคระฆังส่ีเหล่ียมเพิ่มมุมไมสิบสอง ถัดดวยบัลลังกเหล่ียมเพิ่มมุมสอดรับกับรูปแบบองคระฆัง

7. ถัดข้ึนไปจากองคระฆัง ประกอบดวยเหมซอนช้ันลดหล่ันกันข้ึนไป 3 ช้ัน ค่ันดวยชั้นรัดประคดในแตละช้ัน และตอดวยบัวคลุมซอนช้ันกัน 7 ช้ัน ถัดข้ึนมาเปนปลีท่ีค่ันดวยลูกแกว ท่ียอดปลีประกอบดวยเม็ดน้ําคาง และประดับดวยพุมขาวบิณฑ8 (ภาพท่ี 23)

จากประวัติความเปนมาและรูปแบบทางสถาปตยกรรมไทยประเพณีของพระท่ีนั่งดุสิตมหาปราสาท ในพระบรมมหาราชวัง พบวา เปนการสรางข้ึนตามคติทางศาสนา และมีความสอดรับตอความเหมาะสมทางฐานานุศักดิ์ทางสถาปตยกรรม ซ่ึงสามารถหยิบยกมาเปนตนแบบของการวิเคราะหเปรียบเทียบกับสถาปตยกรรมสมัยใหม เชน พระอุโบสถหลังใหม วัดโสธรวรารามวรวิหาร เพื่อแสดงใหเห็นถึงความเปล่ียนแปลงทางดานรูปแบบและแนวความคิด

5แผนไมติดปลายกลอนยาวตลอดความยาวของชายคา อยูใตแนวกระเบื้องตัวลางสุดของช้ันหลังคา

ถาเครื่องไมหลังคาใชจันทันตามแบบหลังคาทรงจั่วในปจจุบัน ตัวไมเชิงกลอนน้ีก็เรียกเชิงชายแทน อางจาก โชติ กัลยาณมิตร, พจนานุกรมสถาปตยกรรมและศิลปเก่ียวเน่ือง (กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548), 178.

6นาคปก เปนช่ือเรียกรูปพญานาคหลายหัว สลักจากแทงศิลาเพ่ือต้ังประดับบนมุมประธานของชุดช้ันซอนลดหล่ันของปราสาทแบบขอม อางจาก สันติ เล็กสุขุม, “จากนาคปก มาเปนนาคเบือน และมาเก่ียวกับหางหงส,” ดํารงวิชาการ วารสารรวมบทความทางวิชาการ คณะโบราณคดี 3, 5 (มกราคม – มิถุนายน 2547), 78.

7นาคเบือน เปนสัญลักษณของพญานาคหาหัวที่แยกออกเปนหาแฉก โดยสลักจากไมแทงเดียว สลักเปนแฉกปลายสบัดพองาม แฉกกลางเปนนาคหนาตรง แฉกที่ขนาบสองขางคือนาคเบือนหนาออก อางจาก เรื่องเดียวกัน, 79.

8พุมขาวบิณฑ คือ รูปหรือลายซึ่งมีสัณฐานเหมือนพุมดอกไมที่มีขาวสุกบรรจุในกรวยใสไวภายใน อางจาก หมอมราชวงศ แนงนอย ศักด์ิศรี, สถาปตยกรรมไทย (กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย, 2539), 70.

Page 33: ณฑ ลปะ 2552 - thapra.lib.su.ac.th · The style and concept of the new Ubosot Wat Sothonwararam-woraviharn differences from the Prasat with spire of grand palace because

22

พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท ประวัติความเปนมา ในป พ.ศ.2418 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกลาเจาอยูหัวไดมีพระราชดําริจะสรางพระ

ท่ีนั่งเปนทองพระโรง จึงโปรดเกลาฯ ใหจางสถาปนิกจากสิงคโปรช่ือ มิสเตอรยอน คลูนิช เปนนายชางหลวง ทําการออกแบบ และมีมิสเตอรแฮนร่ี คลูนิชโรส เปนนายชางผูชวย เนื่องดวยพระที่นั่งองคนี้จะสรางข้ึนทางทิศเหนือของพระท่ีนั่งมูลสถานบรมอาสน และพระท่ีนั่งสมมติเทวราชอุปบัติ จึงตองร้ือเข่ือนเพ็ชรท่ีสรางข้ึนใหมในรัชกาลนี้รวมไปถึงมุขหนาพระท่ีนั่งท้ัง 2 องคนี้ดวย พระราชดําริเดิม ทรงโปรดเกลาฯ ใหสรางพระท่ีนั่งองคนี้แบบตะวันตก ขณะท่ีกําลังทําการกอสราง สมเด็จเจาพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศไดกราบบังคมทูลขอใหทําเปนปราสาท โดยอางเหตุผล 2 ประการ คือ

1. กรุงศรีอยุธยามีปราสาทเรียงกัน 3 องค คือพระท่ีนั่งวิหารสมเด็จ พระที่นั่งสรรเพชญปราสาท พระท่ีนั่งสุยาศอมรินทร สวนท่ีกรุงเทพฯ มีหมูพระท่ีนั่งจักรพรรดิพิมานกับพระท่ีนั่งดุสิตมหาปราสาทอยูแลว พระท่ีนั่งจักรีสรางตรงกลางเสมือนพระท่ีนั่งสรรเพชญปราสาท ฉะนั้น พระท่ีนั่งจักรีควรสรางเปนปราสาทดวย

2. นับต้ังแตสรางกรุงรัตนโกสินทรไดทรงสรางปราสาทมาทุกรัชกาล ในรัชกาลท่ี 1 พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟาจุฬาโลกมหาราช ทรงสรางพระท่ีนั่งดุสิตมหาปราสาท ใน รัชกาลท่ี 2 พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหลานภาลัยไมไดทรงสรางปราสาท แตถึงรัชกาลท่ี 4 พระบาทสมเด็จพระจอมเกลาเจาอยูหัว โปรดเกลาฯใหสรางพระท่ีนั่งมหิศรปราสาทข้ึนเพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระบรมชนกนาถ ในรัชกาลท่ี 3 พระบาทสมเด็จพระนั่งเกลาเจาอยูหัวทรงแปลงพระท่ีนั่งสุทไธสวรรย ซ่ึงแตกอนเปนพลับพลามาต้ังแตรัชกาลท่ี 1 เปล่ียนหลังคาเปนยอดปราสาท ในรัชกาลท่ี 4 พระบาทสมเด็จพระจอมเกลาเจาอยูหัว โปรดเกลาฯ ใหสรางพระท่ีนั่งอาภรณพิโมกขปราสาท

ดวยเหตุนี้ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกลาเจาอยูหัว จึงทรงอนุโลมตามและโปรดเกลาฯ ใหเปล่ียนทรงหลังคาเปนรูปปราสาท 3 ยอด และตอมาไดพระราชทานนามพระท่ีนั่งองคนี้วา พระท่ีนั่งจักรีมหาปราสาท9

รูปแบบพระท่ีนั่งจักรีมหาปราสาท (ภาพท่ี 24) พระท่ีนั่งจักรีมหาปราสาทสรางข้ึนเปนแบบผสมผสานระหวางสถาปตยกรรมตะวันตก

และสถาปตยกรรมไทยประเพณี โดยองคพระท่ีนั่งเปนแบบยุโรป สวนหลังคาเปนทรงปราสาท

9สํานักราชเลขาธิการ, สถาปตยกรรมพระบรมมหาราชวัง (กรุงเทพฯ: สํานักราชเลขาธิการ, 2531), 100 - 101.

Page 34: ณฑ ลปะ 2552 - thapra.lib.su.ac.th · The style and concept of the new Ubosot Wat Sothonwararam-woraviharn differences from the Prasat with spire of grand palace because

23

แบบไทย รูปแบบท่ีปรากฏในปจจุ บันนั้นมีลักษณะท่ีตางไปจากเดิม ท้ังนี้ เนื่องจากการบูรณปฏิสังขรณข้ึนใหมในสมัยรัชกาลท่ี 7 โดยมีสมเด็จฯ เจาฟากรมพระยานริศรานุวัดติวงศทรงเปนผูอํานวยการซอม และมีหมอมเจาอิทธิเทพสรรคกฤดากร ทรงเปนผูควบคุม การบูรณะคร้ังนี้มีการเปล่ียนท้ังรูปรางบางสวน และวัสดุกอสราง ท้ังเคร่ืองบนและเคร่ืองยอด รวมท้ังเปล่ียนทรวดทรงและลวดลายของซุมพระทวารและพระบัญชรท้ังภายในและภายนอกเปนอันมาก10

พระท่ีนั่งจักรีมหาปราสาทเปนอาคารท่ีทอดยาวในแนวตะวันออก – ตะวันตก ตั้งอยูในผังส่ีเหล่ียมผืนผา หันดานหนาออกสูทิศเหนือ เปนพระท่ีนั่งองคเดียวมีมุข 3 มุขคือ มุขตะวันออก หรือท่ีเรียกวา พระท่ีนั่งจักรีมหาปราสาทองคตะวันออกอยูติดกับพระท่ีนั่งมูลสถานบรมอาสน ตอเช่ือมดวยอัฒจันทรใหญทอดยาวจากช้ันบนถึงช้ันลางเรียกกันเปนสามัญวาอัฒจันทรเสือ สวนมุขตะวันตก หรือพระท่ีนั่งจักรีมหาปราสาทองคตะวันตกอยูติดกับพระที่นั่งสมมติเทวราชอุปบัติ และมุขกลางมีลักษณะเปนมุขยาว เรียกวา พระท่ีนั่งจักรีมหาปราสาทองคกลาง มีมุขเด็จยื่นออกมาดานทิศเหนือ โดยมีทองพระโรงกลางเปนประธานของพระท่ีนั่งท้ังหมด พระท่ีนั่งท้ัง 3 องคเช่ือมตอกันดวยหองโถงยาว เรียกวา มุขกระสัน

องคพระท่ีนั่งจักรีมหาปราสาทเปนอาคารสูงซอนกัน 3 ช้ัน (ภาพที่ 25) แสดงรูปแบบสถาปตยกรรมตะวันตก ตอดวยช้ันหลังคาทรงปราสาทท่ีมุขพระท่ีนั่งท้ัง 3 มุข ประกอบดวยสวนตางๆ ดังนี้

- พระท่ีนั่งจักรีมหาปราสาทองคกลาง ช้ันบนเปนหอพระบรมอัฐิ มีมุขเด็จสําหรับเสด็จออกอยูดานหนา ช้ันกลางเปนทองพระโรงหนา ท่ีผนังแขวนพระบรมฉายาลักษณพระบาทสมเด็จพระเจาอยูหัวรัชกาลปจจุบันและสมเด็จพระนางเจาพระบรมราชินีนาถ ช้ันลางเปน กองรักษาการณมหาดเล็กรักษาพระองค

- พระท่ีนั่งจักรีมหาปราสาทองคตะวันออก ช้ันบนประดิษฐานปูชนียวัตถุ ช้ันกลางเปนหองรับรองพระราชอาคันตุกะ ผนังหองแขวนพระบรมฉายาลักษณพระบาทสมเด็จพระ จุลจอมเกลาเจาอยูหัวประทับรวมกับสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถและพระบรมราชโอรส 5 พระองค ช้ันลางเปนหองพักแขก

- พระท่ีนั่งจักรีมหาปราสาทองคตะวันตก ช้ันบนประดิษฐานพระอัฐิพระมเหสีและ พระอัฐิพระบรมราชวงศ ช้ันกลางเปนหองรับแขก ท่ีผนังแขวนพระบรมฉายาลักษณ พระบาทสมเด็จพระปกเกลาเจาอยูหัวและสมเด็จพระนางเจารําไพพรรณี พระบรมราชินี ช้ันลางเปนหองสมุด

10หมอมราชวงศ แนงนอย ศักด์ิศรี, มรดกสถาปตยกรรมกรุงรัตนโกสินทร เลม 2 (กรุงเทพฯ: สํานักราชเลขาธิ การ, 2536), 17.

Page 35: ณฑ ลปะ 2552 - thapra.lib.su.ac.th · The style and concept of the new Ubosot Wat Sothonwararam-woraviharn differences from the Prasat with spire of grand palace because

24

- มุขกระสันดานตะวันออก ช้ันบนเปนเฉลียงเช่ือมระหวางพระท่ีนั่งจักรีมหาปราสาทองค กลางกับองคตะวันออก ช้ันกลางเปนหองโถงแบงเปนสองตอน ตอนในเปนหองรับรอง ผนังประดับพระบรมฉายาลักษณพระบาทสมเด็จพระเจาอยูหัวรัชกาลท่ี 1 ถึงรัชกาลท่ี 7 ตอนนอกเปนเฉลียงเชื่อมระหวางทองพระโรงหนากับหองรับรองในพระท่ีนั่งจักรีมหาปราสาท องคตะวันออก ช้ันลางเปนหองโถง

- มุขกระสันดานตะวันตก ช้ันบนเปนเฉลียงเช่ือมระหวางพระท่ีนั่งจักรีมหาปราสาทองคกลางกับองคตะวันตก ช้ันกลางเปนหองโถงสําหรับรับแขก ผนังประดับพระบรมฉายาลักษณสมเด็จพระอัครมเหสีในรัชกาลท่ี 4 รัชกาลท่ี 5 และรัชกาลท่ี 7 ช้ันลางเปนหองโถง

- ทองพระโรงกลางอยูตอจากทองพระโรงหนา เปนทองพระโรงสําหรับเสด็จออกใหคณะทูตานุทูตเขาเฝาฯ และเปนท่ีประกอบพระราชพิธีการกุศลหรือประกอบพระราชกรณียกิจอ่ืนๆ ในรัชกาลท่ี 5 ทรงใชเปนท่ีเสด็จออกขุนนาง ภายในทองพระโรงกลางประดิษฐานพระแทนพุดตานถม ซ่ึงเปนพระราชบัลลังกประจําพระท่ีนั่งจักรีมหาปราสาทน้ี ผนังเบ้ืองหลังราชบัลลังกทําเปนซุมจรนํากลางซุมเขียนตาจักรี สวนผนังดานอ่ืนประดับภาพเขียนสีน้ํามันเกี่ยวกับประวัติการเจริญทางพระราชไมตรีระหวางประเทศไทยกับประเทศอังกฤษและฝร่ังเศส

สวนยอดของพระท่ีนั่งจักรีมหาปราสาท (ภาพท่ี 26) ประกอบดวยหลังคาช้ันลดซอนลดหล่ันกันข้ึนไปสองช้ัน ตอดวยยอดทรงปราสาทท่ีมุขพระท่ีนั่งองคตะวันออก มุขพระท่ีนั่งองคตะวันตกและมุขพระท่ีนั่งองคกลาง โดยมีรูปแบบ ดังน้ี

- เหนือหลังคาช้ันลดช้ันท่ี 2 ข้ึนไป ประกอบดวยยอดปราสาทมีลักษณะคลายทรงระฆัง ซอนลดหล่ันกันข้ึนไป 7 ซอน อยูในแผนผังแบบเพิ่มมุมไมสิบสอง

- ท่ีมุมไมสิบสองท้ัง 4 มุมของยอดปราสาท แตเดิมมีรูปจําหลักครุฑยุดนาครองรับอยู มาเปล่ียนเปนทวยรูปหงสเม่ือคราวซอมใหญในรัชกาลท่ี 7 (ภาพท่ี 27)

- บนชั้นเชิงกลอนแตละช้ัน ประดับดวยบันแถลงตรงจุดกึ่งกลางของช้ันในดานทิศหลัก ท้ัง 4 ทิศ ขนาบขางดวยบันแถลงขนาดยอมตามสัดสวนลดหล่ันกันข้ึนไป

- ตอจากช้ันเชิงกลอนข้ึนไป เปนสวนคลายองคระฆังส่ีเหล่ียมเพิ่มมุมไมสิบสอง ถัดดวยบัลลังกเหล่ียมเพิ่มมุมสอดรับกับรูปแบบองคระฆัง

- ถัดข้ึนไปจากองคระฆัง ประกอบดวยเหมซอนช้ันลดหล่ันกันข้ึนไป 3 ช้ัน ค่ันดวยช้ันรัดประคดในแตละช้ัน และตอดวยบัวคลุมซอนช้ันกัน 7 ช้ัน ถัดข้ึนมาเปนปลีท่ีค่ันดวยลูกแกว ท่ียอดปลีประกอบดวยเม็ดน้ําคาง และประดับดวยฉัตรซอนลดหล่ันกัน 5 ช้ัน

อยางไรก็ตาม ลักษณะของหลังคาของพระท่ีนั่งจักรีมหาปราสาทยังไมเปนไปตามแบบแผนของโบราณราชประเพณีเชนพระท่ีนั่งดุสิตมหาปราสาท คือเปนหลังคาท่ีตกแตงดวยชอฟาแบบ

Page 36: ณฑ ลปะ 2552 - thapra.lib.su.ac.th · The style and concept of the new Ubosot Wat Sothonwararam-woraviharn differences from the Prasat with spire of grand palace because

25

ชอฟามอญ ประกอบดวยรวยระกาและตัวลํายองแบบนาครวยแทนชอฟา ใบระกา นาคสะดุง และนาคเบือนแทนหางหงส ความลาดชันของหลังคามีนอยกวาอาคารแบบไทยประเพณีรุนกอนๆ เพราะความกวางของข่ือมีมากกวา รวมท้ังชอฟามีรูปแบบท่ีอวนกวาและขนาดส้ันกวา เพื่อใหสมดุลกับขนาดขององคพระท่ีนั่ง สถาปตยกรรมรวมสมัย

อาคารมหาเจษฎาบดินทร วัดยานนาวา ประวัติความเปนมา วัดยานนาวาเปนวัดท่ีมีการกอสรางมาแลวตั้งแตสมัยกรุงศรีอยุธยาเปนราชธานี เดิมมีช่ือ

เรียกวา วัดคอกควาย ตอมาในสมัยกรุงธนบุรี สมเด็จพระเจาตากสินไดทรงสถาปนาข้ึนเปนพระอารามหลวง เปนท่ีสถิตของพระราชาคณะและมีช่ือเรียกอยางเปนทางการวา วัดคอกกระบือ11

รัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟาจุฬาโลกแหงกรุงรัตนโกสินทร ทรงโปรดใหบูรณะปฏิสังขรณวัด ทรงโปรดใหสรางพระอุโบสถข้ึนใหม ซ่ึงยังคงใชงานจนถึงปจจุบันและยังคงความสําคัญในฐานะพระอารามหลวง ถึงสมัยรัชกาลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกลาเจาอยูหัว ในสวนของการปกครองสงฆ ทรงโปรดใหวัดคอกกระบืออยูในสังกัดของคณะกลาง ข้ึนตรงตอกรมสมเด็จพระปรมานุชิตชิโนรส และโปรดใหสรางพุทธเจดียเปนรูปเรือสําเภาทางดานหลังของพระอุโบสถ และพระราชทานช่ือวัดใหมวา วัดยานนาวาราม12

ในป พ.ศ. 2530 พระบาทสมเด็จพระเจาอยูหัวภูมิพลอดุลยเดชทรงพระกรุณาโปรดเกลาฯ ใหสรางอาคารมหาเจษฎาบดินทรข้ึน เนื่องในวโรกาสเฉลิมพระเกียรติ 200 ปพระบาทสมเด็จพระนั่งเกลาเจาอยูหัว รัชกาลท่ี 3 ตอมาในป พ.ศ.2544 พระพรหมวชิรญาณ (ประสิทธ์ิ เขมง.กโร) ไดมาดํารงตําแหนงเจาอาวาส โดยทําการปรับปรุงพัฒนาอาคารเจษฎาบดินทรและหอพระไตรปฏกเฉลิม

11อดุลยศักด์ิ เทิมแพงพันธ, “พุทธนาวา วัดยานนาวา การศึกษาสัญลักษณในความเช่ือทางพุทธ

ศาสนา,” (วิทยานิพนธปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาประวัติศาสตรศิลปะ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2540), 15.

12นัฏกพิชัย ถาวรธรรม, ผูเรียบเรียง, ชม "พระสําเภาเจดีย" สักการะ "พระบรมสารีริกธาตุ" สมโภชพระอารามหลวง 240 ป "วัดยานนาวา" [ออนไลน], เขาถึงเมื่อ 15 สิงหาคม 2551. เขาถึงไดจาก http://www.perdbucha.com

Page 37: ณฑ ลปะ 2552 - thapra.lib.su.ac.th · The style and concept of the new Ubosot Wat Sothonwararam-woraviharn differences from the Prasat with spire of grand palace because

26

พระเกียรติ รวมถึงไดบูรณะปฏิสังขรณ พระสําเภาเจดียและเสนาสนะสงฆ จนแลวเสร็จในป พ.ศ. 254613

รูปแบบอาคารมหาเจษฎาบดินทร วัดยานนาวา (ภาพท่ี 28) อาคารมหาเจษฎาบดินทร มีลักษณะเปนอาคารเอกประสงคขนาดใหญในผัง

ส่ีเหล่ียมผืนผา วางตัวในแนวทิศตะวันออก – ตะวันตก หันดานหนาอาคารออกสูทิศใต มีความสูงถึง 3 ช้ัน ภายนอกตัวอาคารดานทิศใต เปนบันไดท่ีเช่ือมตอสูชั้นบนของตัวอาคาร ซ่ึงในแตละช้ันของอาคารมีรูปแบบดังตอไปนี้

ช้ันท่ี 1 ศาลาเอนกประสงค – เปนหองโถงขนาดใหญ ในผังส่ีเหล่ียมผืนผาปูพรมแดง ปจจุบันทางวัดใชสําหรับเปนท่ีประดิษฐานพระปจเจกพุทธเจา และพระอรหันตธาตุของพระสาวก

ช้ันท่ี 2 – หองปฏิบัติธรรมสําหรับพุทธศาสนิกชน มีลักษณะเปนหองโถงขนาดใหญ ปูดวยพรมแดงเชนเดียวกัน

ช้ันท่ี 3 – ทางดานทิศตะวันออก ทิศเหนือ และทิศตะวันตก มีลักษณะเปนหองโถงยาวขนาดพอประมาณเช่ือมตอกันคลายรูปตัวยู เวนพื้นท่ีตรงกลางไวเปนท่ีตั้งของอาคารทรงปราสาท โดยปรากฏยอดทรงปราสาทในแตละมุมของหองโถงดวยเชนกัน รวมท้ังหมด 4 ยอด (ภาพท่ี 29) หองโถงดังกลาว ตรงสวนกลางใชเปนท่ีประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุของพระสมณโคดมศักยมุนีพระพุทธเจา ซ่ึงนํามาจากเมืองศรีลังกา เพื่อไวการบูชาสักการะของพุทธศาสนิกชน หองโถงทิศตะวันออกเปนหองเพงกสิณ สําหรับผูมาปฏิบัติธรรม และหองโถงทิศตะวันตกใชสําหรับเปนหองประชุมของทางวัด14

อาคารทรงปราสาทท่ีปรากฎตรงจุดกึ่งกลางดานทิศใตบนช้ัน 3 ของอาคารมหาเจษฎาบดินทร (ภาพท่ี 30) อันเปนท่ีประดิษฐานพระพุทธปฏิมาปางหามสมุทร หรือมีช่ือเรียกวา “มณฑปพระพุทธปฏิมาสมเด็จพระนั่งเกลาเจาอยูหัว” มีลักษณะแผนผังและรูปแบบของตัวอาคารเปนทรงจัตุรมุขขนาดยอม ประกอบดวยสวนฐานซ่ึงเปนฐานบัวหนากระดาน ยืดทรงสูงในสวนของเรือนธาตุ ประดับดวยซุมประตูทิศละ 1 ซุม ซุมหนาตางทางทิศเหนือและทิศใต ทิศละ 2 ซุม ทิศตะวันออกและทิศตะวันตกทิศละ 1 ซุม โดยท้ังซุมประตูและซุมหนาตางทํายอดทรงบันแถลงอยางสอดคลองกัน เชนเดียวกับตราพระราชลัญจกรของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกลาเจาอยูหัวรัชกาลท่ี 3

13นัฏกพิชัย ถาวรธรรม, เรียบเรียง, ชม"พระสําเภาเจดีย" สักการะ "พระบรมสารีริกธาตุ" สมโภช

พระอารามหลวง 240 ป "วัดยานนาวา" [ออนไลน], เขาถึงเมื่อ 15 สิงหาคม 2551. เขาถึงไดจาก http://www.perdbucha.com

14สัมภาษณ ณฐ ทะสังขา, เจาหนาที่สํานักงานวัดยานนาวา, 19 มกราคม 2551.

Page 38: ณฑ ลปะ 2552 - thapra.lib.su.ac.th · The style and concept of the new Ubosot Wat Sothonwararam-woraviharn differences from the Prasat with spire of grand palace because

27

สวนยอดมณฑปพระพุทธปฏิมาฯ (ภาพท่ี 31) มีความสัมพันธทางทัศนียภาพเดียวกันกับสวนยอดปราสาทท้ัง 4 ยอดของหองโถง คือ หลังคาช้ันลด ตกแตงดวยชอฟา ใบระกาและหางหงส ซอนลดหล่ันข้ึนไปสามซอน รองรับยอดปราสาทขนาดเต้ียๆ ซ่ึงมีรูปแบบคลายทรงระฆังเพิ่มมุมไมสิบสอง ซอนลดหล่ันกันข้ึนไปสามซอน บนช้ันเชิงกลอนแตละช้ัน ประดับดวยบันแถลงใหญตรงจุดกึ่งกลางของช้ัน ในดานทิศหลัก ท้ัง 4 ทิศ และบันแถลงขนาดยอมในแตละจุดเพ่ิมมุมตามสัดสวนลดหล่ันกันข้ึนไป ตอจากช้ันเชิงกลอน เปนสวนคลายองคระฆังส่ีเหล่ียมเพิ่มมุมไมสิบสอง ถัดดวยบัลลังกเหล่ียมเพิ่มมุม เหมซอนช้ันลดหล่ันกันข้ึนไป 3 ช้ัน ค่ันดวยช้ันรัดประคดในแตละช้ัน และตอดวยบัวคลุมขนาดยอมดูคลายเปนวงแหวนซอนช้ันกัน 7 ช้ัน ถัดข้ึนมาเปนปลีท่ีค่ันดวยลูกแกวคลายวงแหวนและท่ียอดปลีประกอบดวยเม็ดน้ําคาง

พระอุโบสถ วัดหัวลําโพง ประวัติความเปนมา วัดหัวลําโพงเดิมช่ือวัดวัวลําพอง เปนวัดราษฎร ใครเปนคนสรางและสรางเม่ือใด ไม

ปรากฏหลักฐาน แตคาดวาคงสรางในสมัยตนกรุงรัตนโกสินทร ประมาณรัชกาลท่ี 1 ถึงรัชกาลท่ี 3 ท้ังนี้โดยอาศัยการสันนิษฐานจากรูปทรงของอุโบสถหลังเกาและเจดียดานหลัง ซ่ึงสรางคูกันมา ความเปนมาของวัดนี้ มีผูรูประมวลไว โดยอาศัยจากการเลาตอๆ กันมาวา ในป พ.ศ.2310 กรุงศรีอยุธยาถูกพมาทําลายเผาผลาญบานเมือง ตลอดวัดวาอารามจนในท่ีสุดไดเสียกรุงแกขาศึก ประชาชนจึงพากันอพยพครอบครัว ลงมาทางใตตั้งถ่ินฐานท่ีบริเวณวัดหัวลําโพงในปจจุบันนี้เห็นวาเปนทําเลท่ีเหมาะ ยังไมมีเจาของถือกรรมสิทธ์ิ มีลําคลองเชื่อมโยงสะดวกตอการสัญจรไปมา จึงไดตั้งหลักฐานและจับจองที่ดิน นานปเขาตางก็มีหลักฐานม่ันคงเปนปกแผนท่ัวกัน ตอมาจึงไดรวมกันสรางวัดข้ึนและใหช่ือวา วัดวัวลําพอง ตามความนิยมที่ช่ือของวัดจะพองกับช่ือหมูบาน15

ป พ.ศ.2433 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกลาเจาอยูหัว รัชกาลท่ี 5 ทรงสรางทางรถไฟข้ึนเปนคร้ังแรกในประเทศไทย พระราชทานนามวา สถานีหัวลําโพง ซ่ึงอยูหางจากวัดวัวลําพอง ประมาณ 2 กิโลเมตร ประมาณป พ.ศ.2447 ราวเดือนตุลาคมหรือเดือนพฤศจิกายน ซ่ึงเปนฤดูกาลทอดกฐิน จากหลักฐานและคําบอกเลานั้นวา พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกลาเจาอยูหัว รัชกาลที่ 5 ไดเสด็จพระราชดําเนินไปทอดพระกฐินท่ีวัดวัวลําพองนั้นไดโปรดเกลาฯ ใหเปล่ียนช่ือวัดเสียใหม พระราชทานนามวา วัดหัวลําโพง16

รูปแบบพระอุโบสถ วัดหัวลําโพง (ภาพท่ี 32)

15วัดหัวลําโพง พระอารามหลวง, ภาพจิตรกรรมฝาผนังพระอุโบสถ “วัดหัวลําโพง พระอาราม

หลวง” (กรุงเทพฯ: กราฟคอารตพริ้นต้ิง, 2546), 17 – 18. 16เรื่องเดียวกัน, 19.

Page 39: ณฑ ลปะ 2552 - thapra.lib.su.ac.th · The style and concept of the new Ubosot Wat Sothonwararam-woraviharn differences from the Prasat with spire of grand palace because

28

พระอุโบสถ วัดหัวลําโพงเปนอาคารทรงปราสาทในแผนผังจัตุรมุขซอนกัน 3 ช้ันหันหนาไปทางทิศตะวันออก โดยพระอุโบสถตั้งอยูบนช้ันท่ี 3 ของตัวอาคาร ติดกับอาคารพระวิหารเฉลิมพระเกียรติทางดานทิศเหนือ วัสดุท่ีใชในการกอสราง ท่ีสําคัญคือ พื้นและฝาผนังปูดวยหินออนและหินแกรนิต หลังคามุงดวยกระเบ้ืองเคลือบสี

รูปแบบสวนฐานรองรับพระอุโบสถ คือสวนของอาคารช้ันลางและช้ันกลาง เปนหองโถงเอนกประสงค เขียนภาพจิตรกรรมเพดานและฝาผนัง ชุดวรรณคดีไทย ชาดก และประเพณีไทย ถัดข้ึนมาบนช้ันท่ี 3 ของตัวอาคาร เปนท่ีตั้งของพระอุโบสถ และพระวิหารเฉลิมพระเกียรติ บริเวณลานดานนอกพระอุโบสถเปนทางเดินปูดวยหินออนและหินแกรนิต มีศาลารายทรงจัตุรมุขยอดปราสาท ๔ หลัง ประจํา ๔ ทิศ เปนท่ีประดิษฐานพระพุทธรูป อดีตบูรพาจารย มีซุมระฆังทรงไทย ดานขางซาย 1 ซุม ดานขางขวา 1 ซุม ดานหลังอีก 1 ซุม (ภาพท่ี 33)

สวนฐานพระอุโบสถในผังส่ีเหล่ียมจัตุรัส มีรูปแบบคลายกับฐานบัวลูกแกวอก ไก 1 ฐานรองรับสวนเรือนธาตุ (ภาพท่ี 34) ในดานทิศหลักของพระอุโบสถ คือทิศเหนือ ทิศใต ทิศตะวันออกและทิศตะวันตก จะปรากฎมุขท่ียื่นออกมาจากตัวอาคารทั้ง 4 ดาน (ภาพท่ี 35) ลักษณะเรือนธาตุมีความยืดสูงพอประมาณ รองรับยอดทรงปราสาทอยางสมสัดสวน ประตูและหนาตางมีซุมทรงปราสาทครึ่งซีกติดลายปูนปน ลงรักปดทอง ประดับกระจกสี ประกอบดวยซุมประตูดานหนา 3 ซุม ดานขางซาย 1 ซุม ดานขางขวา 1 ซุม ดานหลัง 1 ซุม ซุมหนาตาง ดานละ 4 ซุม บานประตูและบานหนาตางดานในดานนอกทําลวดลายประดับมุก ตกแตงดวยจิตรกรรมฝาผนังท้ัง 4 ดาน หนาบันมีลวดลายประดิษฐานตราสัญลักษณงานฉลองสิริราชสมบัติครบ 50 ป เหนือครุฑท้ัง 4 ดาน มีเชิงชายหลังคาประดับลวดลาย มีคันทวยเทพพนมและหัวเสาปูน ลงรักปดทอง ประดับกระจกสี

ลักษณะยอดทรงปราสาทของพระอุโบสถ วัดหัวลําโพง (ภาพท่ี 36) ประกอบดวยหลังคาช้ันลด ติดชอฟาและหางหงสเปนพญานาคสามเศียร ซอนลดหล่ันกันข้ึนไปสามช้ัน รองรับยอดทรงปราสาท ซ่ึงมีลักษณะคลายทรงระฆัง ซอนลดหล่ันกันข้ึนไป 7 ซอน อยูในแผนผังแบบเพิ่มมุมไมสิบสองสอดรับกับการเพ่ิมมุมของอาคารพระอุโบสถ มีครุฑยุดนาครองรับอยูท่ีมุมท้ัง 4 ของยอดปราสาท บนช้ันเชิงกลอนแตละช้ัน ประดับดวยบันแถลงใหญตรงจุดกึ่งกลางของช้ัน ในดานทิศหลัก ท้ัง 4 ทิศ ขนาบขางดวยบันแถลงขนาดยอมตามสัดสวนลดหล่ันกันข้ึนไป ตอจากชั้นเชิงกลอนข้ึนไป เปนสวนคลายองคระฆังส่ีเหล่ียมเพิ่มมุมไมสิบสอง ถัดดวยบัลลังกเหล่ียมเพิ่มมุม เหมซอนช้ันลดหล่ันกันข้ึนไป 3 ช้ัน ค่ันดวยช้ันรัดประคดในแตละช้ัน และตอดวยบัวคลุมขนาดยอมดูคลายเปนวงแหวนซอนชั้นกัน 7 ช้ัน ถัดข้ึนมาเปนปลีท่ีค่ันดวยลูกแกวคลายวงแหวน โดยท่ียอดปลีประกอบดวยเม็ดน้ําคาง และประดับดวยฉัตร (ภาพท่ี 37)

Page 40: ณฑ ลปะ 2552 - thapra.lib.su.ac.th · The style and concept of the new Ubosot Wat Sothonwararam-woraviharn differences from the Prasat with spire of grand palace because

29

บทวิเคราะหความสัมพันธระหวางพระอุโบสถหลังใหม วัดโสธรวรารามวรวิหารกับสถาปตยกรรมโบราณ และสถาปตยกรรมรวมสมัย

ประเด็นทางดานรูปแบบ จากการศึกษารูปแบบอุโบสถหลังใหม วัดโสธรวรารามวรวิหารกับสถาปตยกรรม

โบราณ และสถาปตยกรรมรวมสมัย สามารถนํามาวิเคราะหเปรียบเทียบ ไดดังน้ี คือ - ดานรูปแบบแผนผัง ทางดานรูปแบบแผนผังของสถาปตยกรรมพระอุโบสถหลังใหม วัดโสธรฯ กับ

สถาปตยกรรมโบราณ คือพระท่ีนั่งดุ สิตมหาปราสาท และพระท่ีนั่งจักรีมหาปราสาทในพระบรมมหาราชวัง สถาปตยกรรมรวมสมัย คืออาคารมหาเจษฎาบดินทร วัดยานนาวา พระอุโบสถ วัดหัวลําโพง สามารถจําแนกความเหมือนคลายและความแตกตางทางดานแผนผัง ออกเปน 2 กลุม คือ กลุมท่ีมีแผนผังเปนส่ีเหล่ียมผืนผา คือ พระอุโบสถหลังใหม วัดโสธรฯ พระท่ีนั่งจักรีมหาปราสาท อาคารเจษฎาบดินทร วัดยานนาวา กับกลุมท่ีมีแผนผังเปนส่ีเหล่ียมจัตุรมุข คือ พระท่ีนั่งดุสิตมหาปราสาท อาคารมณฑปพระปฏิมาฯ ซ่ึงประดิษฐานอยูบนชั้นสามของอาคารเจษฎาบดินทร วัดยานนาวา และพระอุโบสถ วัดหัวลําโพง

- ดานวัสดุและเทคโนโลยีในการกอสราง พบวามีการใชวัสดุ และเทคโนโลยีการกอสรางท่ีแตกตางกัน กลาวคือ อุโบสถหลังใหม

วัดโสธรฯ ใชวัสดุสมัยใหมท่ีถูกส่ังทําและออกแบบมาเปนพิเศษ เชน เซรามิค หินแกรนิต และหินออน เชนเดียวกันกับอาคารมหาเจษฎาบดินทร วัดยานนาวา และพระอุโบสถ วัดหัวลําโพง ซ่ึงมีงานประดับกระจกสีเพิ่มเขามา

แตสําหรับพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท ปรากฏการบูรณะซอมในสมัยรัชกาลท่ี 3 โดยไดเปล่ียนตัวไมเคร่ืองบนเคร่ืองยอด17 แสดงใหเห็นถึงการเปล่ียนแปลงในการใชวัสดุการกอสราง แตรูปแบบยังคงเปนการทําเลียนแบบเครื่องไม ตอมาในสมัยรัชกาลท่ี 6 โปรดใหสรางคานคอนกรีตเสริมเหล็ก และตัดเสาหานกลางมุข ท้ัง 4 มุขภายในองคพระมหาปราสาท18

สวนพระท่ีนั่งจักรีมหาปราสาทพบวา พระบาทสมเด็จพระจุมจอมเกลาเจาอยูหัวทรงนําความรูดานคอนกรีตเสริมเหล็ก19 มาใชในการกอสรางงานสถาปตยกรรมในสมัยของพระองค โดยมี

17สมภพ ภิรมย, กุฎาคาร (กรุงเทพฯ: ราชบัณฑิตยสถาน, 2545), 77. 18เรื่องเดียวกัน, 81. 19สํานักราชเลขาธิการ, สถาปตยกรรมพระบรมมหาราชวัง (กรุงเทพฯ: สํานักราชเลขาธิการ, 2531),

100 - 101.

Page 41: ณฑ ลปะ 2552 - thapra.lib.su.ac.th · The style and concept of the new Ubosot Wat Sothonwararam-woraviharn differences from the Prasat with spire of grand palace because

30

การใชโครงเหล็ก หินออนและกระจกสีท่ีนําเขาจากตางประเทศ จึงทําใหมีรูปแบบท่ีผสมผสานกันระหวางศิลปะไทยกับตะวันตก ดังนั้น ดวยการใชวัสดุและเทคโนโลยีในการกอสรางท่ีแตกตางกันแตละยุคสมัย ทําใหรูปแบบทางสถาปตยกรรมนั้นมีความแตกตางดวยเชนกัน

- ดานขนาดและสัดสวน ความแตกตางทางดานขนาดและสัดสวน สามารถสังเกตไดอยางชัดเจน เม่ือพิจารณา

เปรียบเทียบกันระหวางพระอุโบสถหลังใหม วัดโสธรวรารามวรวิหาร พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท พระท่ีนั่งจักรีมหาปราสาท อาคารมหาเจษฎาบดินทร วัดยานนาวา และพระอุโบสถ วัดหัวลําโพง พบวา พระอุโบสถหลังใหม วัดโสธรฯ มีขนาดใหญ โดยเฉพาะสวนยอดปราสาทแบบประยุกต ซ่ึงประกอบดวยช้ันเรือนธาตุท่ีสามารถใหคนข้ึนไปเดินเวียนประทักษิณได สอดรับกับรูปแบบพระอุโบสถท่ีมีขนาดใหญ เฉกเชนเดียวกันกับพระท่ีนั่งจักรีมหาปราสาท ในพระบรมมหาราชวัง ซ่ึงมีรูปแบบทางสถาปตยกรรมขนาดใหญเชนกัน โดยมีลักษณะเฉพาะท่ียอดปราสาทแบบไทยประเพณี 3 ยอดปราสาทตรงดานมุมท้ัง 2 ขาง และตรงจุดกึ่งกลางของอาคาร รูปแบบยอดปราสาท ท้ัง 3 ยอดดังกลาวดูจะสอดคลองกับขนาดของตัวอาคารท่ีแมจะมีขนาดใหญและสูงถึง 3 ช้ัน

เนื่องดวยสถาปตยกรรมพระอุโบสถ วัดหัวลําโพง รองรับดวยฐานซ่ึงเปนอาคารขนาดใหญ สูง 2 ช้ัน มีรูปแบบเหมือนกันกับอาคารมหาเจษฎาบดินทร วัดยานนาวา ท่ีสูงถึง 3 ช้ันและลานช้ันท่ี 3 เปนท่ีตั้งของมณฑปพระพุทธปฏิมาฯ การใชงานรูปแบบอาคารเปนช้ันๆ รองรับงานสถาปตยกรรมพระอุโบสถ หรือพระพุทธปฏิมาฯ ท่ีวัดหัวลําโพง และวัดยานนาวาตามลําดับ ทําใหรูปแบบของตัวอาคารมีขนาดใหญ โดยเนนองคประกอบทางสถาปตยกรรมในช้ันบนสุดใหมีความโดดเดน ซ่ึงมียอดอันเปนทรงปราสาท สวนอาคารดานลาง เปนพื้นท่ีเอนกประสงคโดยสวนใหญ ปจจุบันพบวาเปนท่ีนิยมอยางมากในการสรางพระอุโบสถบนฐานอาคารซอนช้ัน เชน วัดสุทธิวราราม วัดบุคคโล เปนตน

ในดานสวนยอดทรงปราสาทของพระอุโบสถ วัดหัวลําโพง อาคารมหาเจษฎาบดินทร วัดยานนาวา และพระท่ีนั่งดุสิตมหาปราสาท ในพระบรมมหาราชวัง มีขนาดและสัดสวนท่ีสอดรับกับรูปแบบงานสถาปตยกรรมตามลักษณะของตัวอาคาร อาจจะแตกตางกันบางไมมากก็นอย ในสวนของงานประดับยอดปราสาท เชน เหม และบัวทรงคลุมเถา ซ่ึงท่ีพระท่ีนั่งดุสิตมหาปราสาทดูจะมีความประณีตและชัดเจนมากกวายอดปราสาทของพระอุโบสถ วัดหัวลําโพงและอาคารมหาเจษฎาบดินทร วัดยานนาวา ตามลําดับ

- ดานหนาท่ีและการใชงาน จากการศึกษา พบวา รูปแบบสวนยอดของพระอุโบสถหลังใหม วัดโสธรวราราม

วรวิหาร มีความแตกตางไปจากงานสถาปตยกรรมพระท่ีนั่งดุสิตมหาปราสาท พระท่ีนั่งจักรีมหา

Page 42: ณฑ ลปะ 2552 - thapra.lib.su.ac.th · The style and concept of the new Ubosot Wat Sothonwararam-woraviharn differences from the Prasat with spire of grand palace because

31

ปราสาทในพระบรมมหาราชวัง อาคารมหาเจษฎาบดินทร วัดยานนาวา และพระอุโบสถ วัดหัวลําโพง ทําใหหนาท่ีการใชงานแตกตางกัน กลาวคือ สวนยอดทรงปราสาทของพระอุโบสถหลังใหม วัดโสธรวรารามวรวิหาร มีลักษณะเปนเรือนธาตุบนช้ันหลังคา ภายในเปนท่ีประดิษฐานพระเข้ียวแกว เพ่ือเปนท่ีเคารพสักการะ และสามารถอนุญาตใหประชาชนเดินเวียนประทักษิณไดรอบในวันสําคัญทางพุทธศาสนา เนื่องจากพ้ืนท่ีใชสอยท่ีคับแคบของวัดโสธรฯ ทําใหไมสามารถที่จะสรางเจดียซ่ึงเปนดั่งสัญลักษณหรือส่ิงแทนองคสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจาได จึงมีการออกแบบเพ่ือใหสอดคลองกับแนวความคิดดังกลาวไวท่ีสวนยอด ในขณะท่ียอดทรงปราสาทของพระท่ีนั่งดุสิตมหาปราสาท พระท่ีนั่งจักรีมหาปราสาทในพระบรมมหาราชวัง มีหนาท่ีเปนสวนประดับของช้ันหลังคาและแสดงถึงฐานานุศักดิ์ทางสถาปตยกรรม แตสําหรับสวนยอดทรงปราสาทท่ีอาคารมหาเจษฎาบดินทร วัดยานนาวา และพระอุโบสถ วัดหัวลําโพง มีหนาท่ีเปนสวนประดับของช้ันหลังคาเทานั้น

- ดานยุคสมัย รูปแบบท่ีแตกตางกันออกไปของสวนยอดพระอุโบสถหลังใหม วัดโสธรวราราม

วรวิหาร กับงานสถาปตยกรรมโบราณ คือพระท่ีนั่งดุสิตมหาปราสาท พระท่ีนั่งจักรีมหาปราสาทในพระบรมมหาราชวัง และสถาปตยกรรมรวมสมัย คืออาคารมหาเจษฎาบดินทร วัดยานนาวา พระอุโบสถ วัดหัวลําโพง ตางสอดรับกับรูปแบบตัวอาคารท่ีสะทอนใหเห็นถึงความเปล่ียนแปลงและการคล่ีคลายทางดานรูปแบบและแนวความคิดในงานสถาปตยกรรมไทย

กลาวคือ พระอุโบสถหลังใหม วัดโสธรวรารามวรวิหาร ลักษณะตัวอาคารมีรูปแบบเปนไทยรวมสมัย เปนการผสมผสานความเปนตะวันตกกับความเปนไทยเขาไวดวยกัน เชน การทําชองหนาตางลูกมะหวดแบบไทย ซ่ึงทําจากหินออนท่ีรับอิทธิพลมาสถาปตยกรรมตะวันตก แสดงใหเห็นถึงความหนักแนนแข็งแรงมากกวาความออนชอยอยางรูปแบบสถาปตยกรรมไทยประเพณี เชนเดียวกับอาคารมหาเจษฎาบดินทร วัดยานนาวา ซ่ึงเปนท่ีประดิษฐานมณฑปพระพุทธปฏิมาฯ และพระอุโบสถ วัดหัวลําโพง แมจะพยายามแสดงใหเห็นถึงความงดงามอยางงานสถาปตยกรรมแบบโบราณราชประเพณีในสวนยอดทรงปราสาท ดวยระยะเวลาท่ีผานพนแหงยุคสมัย รูปแบบท่ีลอกเลียนตอกันมา จึงอาจจะขาดรายละเอียดท่ีประณีตบรรจงไปบาง แตอาจหันกลับมาเนนท่ีการใชงาน หรือพื้นท่ีใชสอยเปนสําคัญ เชนการสรางเปนอาคาร 2 – 3 ช้ันข้ึนไป รองรับงานสถาปตยกรรมสวนยอดทรงปราสาท ซ่ึงปรากฏอยูแพรหลายตามวัดตางๆ ในปจจุบัน

สวนงานสถาปตยกรรมโบราณ เชน พระท่ีนั่งดุสิตมหาปราสาท ในพระบรมมหาราชวัง มีรูปแบบเปนไทยประเพณี เนื่องจากสรางข้ึนโดยไดรับแบบอยางมาจากพระท่ีนั่งสุริยามรินทร พระมหาปราสาทท่ีกรุงเกา20 สวนยอดทรงปราสาทสอดคลองกับรูปแบบของตัวอาคารเชนเดียวกัน

20สมภพ ภิรมย, กุฎาคาร (กรุงเทพฯ: ราชบัณฑิตยสถาน, 2545), 76.

Page 43: ณฑ ลปะ 2552 - thapra.lib.su.ac.th · The style and concept of the new Ubosot Wat Sothonwararam-woraviharn differences from the Prasat with spire of grand palace because

32

กลาวคือ การทํารูปแบบสวนยอดทรงปราสาทท่ีซอนช้ันลดหล่ันกันข้ึนไปคลายทรงระฆัง สอดรับกับรูปแบบของประตูและหนาตางท่ีมีรูปแบบสวนยอดเปนทรงปราสาทเชนเดียวกันกับพระท่ีนั่งจักรีมหาปราสาท ท่ีงานประดับสวนยอดทรงปราสาทยังคงไวซ่ึงความประณีตบรรจง เนื่องจากเปนงานสถาปตยกรรมท่ีพระมหากษัตริยทรงใชสอย แมจะไมเปนไปตามแบบแผนทางโบราณราชประเพณี เชนการตกแตงดวยชอฟาแบบชอฟามอญ ซ่ึงมีรูปแบบท่ีอวนและส้ันกวาและใชนาคเบือนแทนหางหงส ความลาดชันของหลังคามีนอยเพื่อใหไดสัดสวนกับขนาดของตัวอาคาร ความคล่ีคลายทางงานประดับของสถาปตยกรรมดังกลาวนี้ช้ีใหเห็นถึงความเปล่ียนแปลงแหงยุคสมัย ซ่ึงถูกรายลอมไปดวยอิทธิพลจากชาติตะวันตก จนยากท่ีจะปฏิเสธ

- รูปแบบพิเศษและความสอดคลอง ขอสังเกตประการหนึ่งท่ีเห็นไดอยางชัดเจน คือ สวนยอดทรงปราสาทของพระอุโบสถ

หลังใหม วัดโสธรวรารามวรวิหาร นอกจากสรางข้ึนเพื่อเปนสวนประดับของช้ันหลังคาพระอุโบสถแลว ยังเปนการสรางข้ึนเพื่อเนนประโยชนและหนาท่ีในการใชงาน คือการประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ และมีพื้นท่ีไวสําหรับใหพุทธศาสนิกชนทําการเคารพสักการะและเดินเวียนประทักษิณบนยอดปราสาท ซ่ึงพบวา นาจะเปนสถาปตยกรรมไทยแนวใหมท่ีเกิดข้ึนในปจจุบัน โดยมีการใชสอยพ้ืนท่ีสวนยอดปราสาท

ประเด็นทางดานแนวความคิด - สัญลักษณของสมมุติเทพ แนวความคิดสําคัญในสรางปราสาทเร่ิมจากคติความเช่ือในทางศาสนาพุทธท่ียกยอง

ฐานะพระมหากษัตริยเทียบเทาพระอินทร และเปนดั่งสมมุติเทพท่ีสถิตอยูบนสวรรคช้ันดาวดึงสเหนือยอดเขาพระสุเมรุแกนกลางของจักรวาล ฐานะของพระมหากษัตริยตามความเช่ือดังกลาว จึงมีความสูงสง การสรางท่ีประทับของพระมหากษัตริยผูเปนดั่งสมมติเทพ จึงจําเปนตองจําลอง เทวสถานท่ีวิจิตรงดงามดั่งสวรรคโดยการใชสัญลักษณตางๆ เขามาเปนองคประกอบหลักในการออกแบบสถาปตยกรรม

ในแงคติความหมายทางศาสนา พระอุโบสถทรงปราสาท ท่ีวัดโสธรฯ แสดงความหมายของปราสาทไพชยนตท่ีประทับของพระอินทรบนสวรรคช้ันดาวดึงส บนยอดเขาพระสุเมรุ เปนท่ีประดิษฐานเจดียจุฬามณี ซ่ึงบรรจุพระบรมอัฐิธาตุสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจา เปนดั่งศูนยกลางจักรวาล พระอินทรจึงเปนประมุขแหงเทวดาท้ังปวง มีอํานาจหนาท่ีปกครอง ควบคุม ธํารง รักษา และบํารุงสวรรคโลกและมนุษยโลก

ตามประวัติของพระอินทรในพุทธศาสนา ทรงเปนพระโพธิสัตวมาจุติเปนมนุษยชื่อมฆมาณพไดสราง กุศลอยางแรงกลา คือการจัดสรางสาธารณประโยชนเพื่อผูอ่ืน เชน ศาลารวมท้ังได

Page 44: ณฑ ลปะ 2552 - thapra.lib.su.ac.th · The style and concept of the new Ubosot Wat Sothonwararam-woraviharn differences from the Prasat with spire of grand palace because

33

บําเพ็ญ กุศลธรรม 7 ประการคือ บํารุงมารดาบิดา ประพฤติออนนอมตอผูเจริญในตระกูล พูดคําสัตย ไมพูดคําหยาบ ไมพูดสอเสียด กําจัดความตระหน่ี และไมโกรธ แตกลับถูกนายบานไปทูลฟองพระราชา วามฆมาณพเปนโจรซองสุมผูคน พระราชาจึงใหสงชางไปเหยียบใหตาย แตดวยอานุภาพแหงความเมตตาท่ีมฆมาณพมีอยู จึงทําใหชางไมทําราย ความทราบถึงพระราชาจึงรับส่ังให มฆมาณพเขาเฝา และเม่ือพระองคทรงทราบความจริงท้ังหมดจึงไดพระราชทานชางใหเปนพาหนะแกมฆมาณพ ดังนั้น เม่ือมณมาณพตายไปแลวจึงเกิดเปนพระอินทร อยูบนสวรรคช้ันดาวดึงส ครองปราสาทไพชยนต และมีชางเอราวัณเปนพาหนะ21

นอกจากน้ีในตํานานพุทธศาสนา ไดกลาวถึงบทบาทสําคัญของพระอินทรไว เชน เม่ือพระโพธิสัตวเสด็จออกบรรพชาเสด็จขามแมน้ําอโนมาแลวจะอธิษฐานเพศบรรพชิต ทรงตัดมวยพระเกศาขวางไปในอากาศ พระอินทรนําผอบแกวมารองรับเอาไปประดิษฐานในพระเจดียจุฬามณี หรือตอมาเม่ือพระพุทธเจาเสด็จดับขันธปรินิพพานแลว ในขณะแจกพระบรมสารีริกธาตุ พระอินทรไดมานําเอาพระเข้ียวแกว ขางขวาท่ีโทณพราหมณซอนไวในผาโพกศีรษะ ใสผอบทอง นําไปบรรจุในจุฬามณีเจดียดวย22

จากการศึกษาประวัติและบทบาทของพระอินทรซ่ึงมีความสําคัญไมนอยในทางพุทธศาสนา จึงทําใหพิจารณาถึงแนวความคิดในการสรางงานสถาปตยกรรมทรงปราสาทท่ีสรางเพื่อเปนท่ีประทับของพระมหากษัตริย หรือพระมหากษัตริยมีรับส่ังใหสรางนั้น พบวา ในแนวความคิดดังกลาว เปรียบกษัตริยเฉกเชนเดียวกับพระอินทร ผูทรงเปนใหญและเปนผูมีอํานาจในการปกครองประเทศ ซ่ึงบทบาทท่ีสําคัญในทางพุทธศาสนา คือพระมหากษัตริยทรงเปนอัครศาสนูปถัมภก ทรงนับถือพุทธศาสนา ทรงเปนประมุขในการทํานุบํารุงและเปนผูอุปถัมภพระพุทธศาสนา ดังนั้น การสรางงานสถาปตยกรรมทรงปราสาท จึงเปนการแสดงสัญลักษณของพระมหากษัตริยท่ีเทียบเคียงกับพระอินทร ในบทบาทหนาท่ีของผูปกปกษรักษา และอุปถัมภพุทธศาสนา

ในกรณีของพระท่ีนั่งดุสิตมหาปราสาท มีแนวความคิดท่ียึดถือตามคติความเช่ือทางศาสนาขางตน คือ การสรางปราสาทเพ่ือเปนการเฉลิมพระเกียรติสําหรับองคพระมหากษัตริย ดวยความเชื่อท่ีวา พระมหากษัตริยเปรียบดังอวตารของเทพเจา เม่ือพระราชสมภพถือเปนทิพยเทพา วตาร คร้ันส้ินพระชนมแลว ก็ตองเสด็จกลับสูเทวพิภพ คือการสวรรคต ซ่ึงหมายความถึงการเสด็จไปสูเทวาลัยสถาน ณ เขาพระสุเมรุ แตสําหรับช่ือเรียกวา “ดุสิต” นั้น นาจะเปนช่ือเรียกตามช่ือของ

21นฤมล สารากรบริรักษ, “พระอินทร เทพแหงเมืองฟาอมร,” ธรรมลีลา, 4 เมษายน 2550. 22 เรื่องเดียวกัน.

Page 45: ณฑ ลปะ 2552 - thapra.lib.su.ac.th · The style and concept of the new Ubosot Wat Sothonwararam-woraviharn differences from the Prasat with spire of grand palace because

34

สวรรคช้ันดุสิต ซ่ึงเปนเทวโลกช้ันท่ี 4 และอยูสูงกวาสวรรคช้ันดาวดึงสข้ึนไปอีก23 ดังนั้น การสรางพระท่ีนั่งดุสิตมหาปราสาท ในพระบรมมหาราชวัง อาจจะไมไดส่ือความหมายท่ียกฐานะกษัตริยเทียบเทาพระอินทร แตนาจะแสดงความหมายถึงพระโพธิสัตว ซ่ึงจะเสด็จมาตรัสรูเปนพระสัมมาสัมพุทธเจา ท่ียอมสถิตในสวรรคช้ันดุสิต เชน พระศรีอาริยโพธิสัตว ซ่ึงจะมาตรัสรูเปนพระพุทธเจาในภายภาคหนา เปนตน

- ฐานานุศักดิ์ทางสถาปตยกรรม ฐานานุศักดิ์ทางสถาปตยกรรม คือการใชรูปแบบงานสถาปตยกรรมในการแสดงออก

ทางฐานะแหงศักดิ์และความสําคัญของบุคคลในอดีต การสรางพระท่ีนั่งดุสิตมหาปราสาทและพระท่ีนั่งจักรีมหาปราสาท ในสมัยรัชกาลท่ี 1

และรัชกาลท่ี 5 ตามลําดับ ซ่ึงแมจะผานการซอมแซมอยูบอยคร้ังในสมัยตอมา แตการปลูกสรางงานสถาปตยกรรมพระท่ีนั่งท้ัง 2 แหงดังกลาวนี้ ยังคงอิงคติความเช่ือทางพุทธศาสนาและแนวความคิดในเ ร่ืองฐานานุ ศักดิ์ทางสถาปตยกรรมท่ีแสดงออกถึงความสํา คัญและฐานะแหงองคพระมหากษัตริย

การสรางสวนยอดทรงปราสาทสําหรับอุโบสถ วัดโสธรฯ เปนงานสถาปตยกรรมรวมสมัยที่มีความเหมาะสมทางฐานานุศักดิ์ หากเช่ือตามแนวความคิดวา “การสรางปราสาท” คือส่ิงท่ีสรางข้ึนสําหรับพระมหากษัตริย หรือพระมหากษัตริยโปรดใหสราง การสรางอุโบสถ วัดโสธรฯ นาจะสอดคลองกับแนวทางดังกลาว แตหากเขาใจตามความหมายของคําวา “ฐานานุศักดิ์” แลว จะพบวา ฐานานุศักดิ์ทางสถาปตยกรรมจําเปนตองสอดคลองกับการแสดงฐานะและความสําคัญของบุคคล กลาวคือ อุโบสถหลังใหม วัดโสธรฯ เปนท่ีประดิษฐานองคพระพุทธโสธร ซ่ึงเปนพระศักดิ์สิทธ์ิคูบานคูเมือง และเปนท่ีเคารพสักการะของผูคนท้ังประเทศ ทําใหการสรางยอดทรงปราสาท เพื่อแสดงใหเห็นถึงฐานะท่ีถูกเชิดชูใหสูงศักดิ์ จึงมีความเหมาะสมและสอดคลองทางความหมายในเร่ืองของฐานานุศักดิ์ทางสถาปตยกรรมเชนเดียวกับพระท่ีนั่งดุสิตมหาปราสาทในพระบรมมหาราชวัง

ดังนั้น การสรางสถาปตยกรรมพระท่ีนั่งดุสิตมหาปราสาท พระท่ีนั่งจักรีมหาปราสาทในพระบรมมหาราชวัง และพระอุโบสถทรงปราสาท วัดโสธรฯ จึงมีความหมายทางฐานานุศักดิ์ทางสถาปตยกรรมท่ีสอดคลองกัน กลาวคือ พระมหากษัตริยมีรับส่ังโปรดใหสราง และสรางข้ึนเพื่อเปนท่ีใชสอยสําหรับพระมหากษัตริย

23กรมศิลปากร, ไตรภูมิกถาหรือไตรภูมิพระรวง พระราชนิพนธพระมหาธรรมราชาที่ 1 (พญาลิไท)

ฉบับตรวจสอบชําระใหม (กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร, 2526), 111.

Page 46: ณฑ ลปะ 2552 - thapra.lib.su.ac.th · The style and concept of the new Ubosot Wat Sothonwararam-woraviharn differences from the Prasat with spire of grand palace because

35

แตในปจจุบัน กลับพบวา การสรางสถาปตยกรรมท่ีมีสวนยอดทรงปราสาท เชน วัดหัวลําโพง วัดยานนาวา เปนตน การสรางอาคารทรงปราสาทดังกลาวไมสอดคลองกับแนวความคิดเร่ืองฐานานุศักดิ์ทางสถาปตยกรรมและคติความเช่ือทางพุทธศาสนาอีกตอไป ท่ีอาจมีสาเหตุมาจากการลอกเลียนรูปแบบสวนยอดพระมหาปราสาท ในพระบรมมหาราชวัง เชน พระท่ีนั่งดุสิตมหาปราสาทและพระท่ีนั่งจักรีมหาปราสาท โดยปราศจากการคํานึงถึงแนวความคิดและคติศาสนา เนื่องดวยการเปล่ียนแปลงทางความคิดที่เกิดข้ึนในสังคม

การรับอิทธิพลและแนวความคิดจากตะวันตก เชน แนวความคิดในเร่ืองสิทธิเสรีภาพ และความเทาเทียมกันของมนุษย ไดเขามาบ่ันทอนระบบศักดินาหรือการลดหลั่นกันทางชนช้ันในสังคมไทย ทําใหความหมายของฐานานุศักดิ์ทางสถาปตยกรรมและการแฝงเรนดานคติความเช่ือทางศาสนาถูกมองขาม และละเลยไปจากการสรางสรรคงานสถาปตยกรรมไทย โดยในประเด็นดังกลาวมีนักวิชาการไดใหความเห็นไววา

“สภาวะของสังคมท่ีไดเปล่ียนแปลงไปจากการยอมรับฐานะบุคคลในสังคมตามระเบยีบศักดินามาเปนการยอมรับฐานะบุคคลซ่ึงเปนผูมีสิทธิและเสรีภาพตามระบอบรัฐธรรมนูญ เปนเหตุหนึ่งท่ีทําใหบุคคลในสังคมมีสิทธิและเสรีภาพในอันท่ีจะเลือกสรรแบบอยางในการปลูกเรือนไดอยางอิสระและตามความพอใจ24”

นอกจากน้ี มีนักวิชาการไดตั้ งขอสังเกตถึงการเปลี่ยนแปลงรูปแบบของงานสถาปตยกรรมไทยไววา “สถาปตยกรรมเปนผลผลิตของสังคม การเปล่ียนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรมท่ีเกิดข้ึนในกลุมชนหรือชุมชนนั้น ยอมมีผลตอการเปล่ียนแปลงในเร่ืองรูปแบบทางสถาปตยกรรมไมมากก็นอย25”

อยางไรก็ตาม เม่ือมีความเปล่ียนแปลงทางความคิดเกิดข้ึนในสังคมไทย กอใหเกิดการเปล่ียนแปลงทางดานคตินิยมและความเช่ือตางๆ นําไปสูการแสดงออกที่ผิดแผกแตกตางออกไปจากการรับรู หรือธรรมเนียมปฏิบัติอยางอดีตท่ีเคยมีมา บางคร้ังอาจสรางความสับสนใหแกผูพบเห็น หรือสรางงานโดยปราศจากความเขาใจในความหมายท่ีแทจริง

24จุลทัศน พยาฆรานนท, “ฐานานุศักด์ิในสถาปตยกรรมไทย” ใน หนังสือท่ีระลึกงานสมโภชกรุงรัตนโกสินทร 200 ป (กรุงเทพฯ: ราชบัณฑิตยสถาน, 2525), 480.

25ศรีศักร วัลลิโภดม, ขอสังเกตเก่ียวกับการเปล่ียนแปลงรูปแบบทางสถาปตยกรรม (ม.ป.ท., 2525), 1.

Page 47: ณฑ ลปะ 2552 - thapra.lib.su.ac.th · The style and concept of the new Ubosot Wat Sothonwararam-woraviharn differences from the Prasat with spire of grand palace because

36

บทท่ี 5 บทสรุปและขอเสนอแนะ

พระอุโบสถหลังใหมวัดโสธรวรารามวรวิหาร เปนพระอุโบสถขนาดใหญท่ีรวมเอาการ

ผสานประโยชนดานพ้ืนท่ีใชสอยเขาไวดวยกัน แตยังคงไวซ่ึงหลักการใชงานตามโบราณประเพณี ตามแนวความคิดของสถาปนิกผูออกแบบ และเพื่อ เปนไปตามพระราชประสงคของพระบาทสมเด็จพระเจาอยูหัวท่ีมีพระราชกระแสรับส่ังใหสรางพระอุโบสถใหสมเกียรติกับหลวงพอโสธร ทําใหการออกแบบพระอุโบสถซ่ึงมีสวนยอดทรงปราสาทนั้น มีความสอดคลองเหมาะสมกับความเปนฐานานุศักดิ์ทางสถาปตยกรรมที่พระมหากษัตริยทรงรับส่ังใหสรางเปนพุทธบูชา อีกท้ัง การปรากฏลวดลายพันธุปลานานาชนิดรายลอมรอบฐานชุกชีหลวงพอโสธรนั้น ยิ่งเปนการเนนย้ําใหผูคนท่ัวไปที่เขามาเคารพสักการะองคหลวงพอโสธร เห็นถึงความศักดิ์สิทธ์ิ และเขาใจประวัติความเปนมาขององคหลวงพอโสธรไดงายมากข้ึน จากการนําเสนอเร่ืองราวผานภาพดังกลาว

จากการศึกษาเปรียบเทียบรูปแบบความสัมพันธของพระอุโบสถหลังใหม วัดโสธรวรารามวรวิหาร กับงานสถาปตยกรรมโบราณ เชน พระท่ีนั่งดุสิตมหาปราสาทและพระท่ีนั่งจักรีมหาปราสาท ในพระบรมมหาราชวัง และงานสถาปตยกรรมรวมสมัย เชน อาคารมหาเจษฎาบดินทร วัดยานนาวา และพระอุโบสถ วัดหัวลําโพง ทางดานรูปแบบท่ีปรากฏและทางดานแนวความคิด พบวา ทางดานรูปแบบสวนยอดทรงปราสาทมีความแตกตางกัน ในดานรูปแบบ เชน แผนผังและโครงสรางของตัวอาคารท่ีมีขนาดและสัดสวนแตกตางกันออกไป รวมถึงวัสดุท่ีใชในการกอสรางท่ีมีความคงทนแข็งแรงมากข้ึน

นอกจากนี้ ยุคสมัยท่ีเปล่ียนไป สงผลใหงานสถาปตยกรรมโบราณและรวมสมัยมีความแตกตางกันมากข้ึน กลาวคือ สวนยอดทรงปราสาทพระอุโบสถหลังใหม วัดโสธรฯ จะเนนถึงประโยชนใชสอยของพ้ืนท่ีเปนสําคัญ ซ่ึงนาจะเปนสถาปตยกรรมทรงปราสาทแนวใหมท่ีเกิดข้ึนในปจจุบัน และลักษณะตัวอาคารท่ีมีขนาดใหญ เชนเดียวกับอาคารมหาเจษฎาบดินทร วัดยานนาวา และพระอุโบสถ วัดหัวลําโพง ยิ่งเนนใหเห็นถึงความสําคัญทางดานการใชงาน แตสําหรับสวนยอดของพระท่ีนั่งดุสิตมหาปราสาท และพระท่ีนั่งจักรีมหาปราสาท ในพระบรมมหาราชวัง มีหนาท่ีหลักคือการเปนสวนประดับบนช้ันหลังคา ท่ีแสดงความหมายของฐานานุศักดิ์ทางสถาปตยกรรมมากกวา

Page 48: ณฑ ลปะ 2552 - thapra.lib.su.ac.th · The style and concept of the new Ubosot Wat Sothonwararam-woraviharn differences from the Prasat with spire of grand palace because

37

ทางดานแนวคิดในการสรางสวนยอดทรงปราสาท พบวา สวนยอดทรงปราสาทพระอุโบสถหลังใหม วัดโสธรฯ และพระท่ีนั่งดุสิตมหาปราสาทและพระท่ีนั่งจักรีมหาปราสาท ในพระบรมมหาราชวัง ตางมีความสอดคลองกันในแงของคติความหมายการสรางยอดปราสาท ซ่ึงแสดงถึงนัยการทําเรือนชั้นซอน และความเหมาะสมกันทางดานฐานานุศักดิ์ทางสถาปตยกรรมท่ีสอดคลองกัน กลาวคือ พระมหากษัตริยมีรับส่ังโปรดใหสราง และสรางเพ่ือเปนท่ีใชสอยสําหรับพระมหากษัตริยตามลําดับ สําหรับในแงคติความหมายทางศาสนา อุโบสถ ท่ีวัดโสธรฯ แสดงความหมายปราสาทบนสวรรคช้ันดาวดึงสซ่ึงเปนท่ีประดิษฐานเจดียจุฬามณี ศูนยกลางจักรวาล สําหรับพระท่ีนั่งดุสิตมหาปราสาท เปนปราสาทบนสวรรคช้ันดุสิต ท่ีสถิตของพระโพธิสัตวผูท่ีจะเสด็จมาตรัสรูเปนพระสัมมาสัมพุทธเจา

การสรางสวนยอดทรงปราสาท ในกรณีของงานสถาปตยกรรมรวมสมัย เชน อาคารเจษฎาบดินทร วัดยานนาวา และพระอุโบสถ วัดหัวลําโพง อาจจะสรางเพ่ือเปนงานประดับใหเกิดความสวยงามมากกวาการสรางเพ่ือคติความหมายทางศาสนา หรือแนวความคิดในเร่ืองฐานานุศักดิ์ทางสถาปตยกรรม ท้ังนี้ อาจเปนการลอกเลียนรูปแบบที่ปรากฏในพระบรมมหาราชวัง เชน พระท่ีนั่งดุสิตมหาปราสาท และพระที่นั่งจักรีมหาปราสาท เนื่องดวยการขาดความเขาใจในความหมายท่ีแทจริงในการสราง และความเปล่ียนแปลงทางความคิดของคนในสังคมท่ีรับมาจากชาติตะวันตก

Page 49: ณฑ ลปะ 2552 - thapra.lib.su.ac.th · The style and concept of the new Ubosot Wat Sothonwararam-woraviharn differences from the Prasat with spire of grand palace because

38 ภาพท่ี 1 พระอุโบสถหลังใหม วดัโสธรวรารามวรวหิาร ภาพท่ี 2 หลังคาพระอุโบสถดานทิศใต

Page 50: ณฑ ลปะ 2552 - thapra.lib.su.ac.th · The style and concept of the new Ubosot Wat Sothonwararam-woraviharn differences from the Prasat with spire of grand palace because

39 ภาพท่ี 3 หนาบันมุขเดจ็ พระอุโบสถสวนกลาง ดานทิศเหนือ ภาพท่ี 4 ซุมประตูหลักเขาสูพระอุโบสถ ดานทิศเหนือ

Page 51: ณฑ ลปะ 2552 - thapra.lib.su.ac.th · The style and concept of the new Ubosot Wat Sothonwararam-woraviharn differences from the Prasat with spire of grand palace because

40 ภาพท่ี 5 ซุมหนาตางมุขเด็จ พระอุโบสถสวนกลาง ดานทิศตะวันออก ภาพท่ี 6 บันไดเวียนภายในพระอุโบสถ

Page 52: ณฑ ลปะ 2552 - thapra.lib.su.ac.th · The style and concept of the new Ubosot Wat Sothonwararam-woraviharn differences from the Prasat with spire of grand palace because

41 ภาพท่ี 7 ลวดลายชองลมบนยอดทรงปราสาท ทําจากสําริด ภาพท่ี 8 สวนมุขทิศตะวันออก ดานทิศเหนือ

Page 53: ณฑ ลปะ 2552 - thapra.lib.su.ac.th · The style and concept of the new Ubosot Wat Sothonwararam-woraviharn differences from the Prasat with spire of grand palace because

42 ภาพท่ี 9 พื้นที่ภายในพระอุโบสถ ประดิษฐานหลวงพอโสธรองคจริง ภาพท่ี 10 มุขเด็จทิศเหนือของสวนพระอุโบสถ ดานทิศตะวนัตก

Page 54: ณฑ ลปะ 2552 - thapra.lib.su.ac.th · The style and concept of the new Ubosot Wat Sothonwararam-woraviharn differences from the Prasat with spire of grand palace because

43 ภาพท่ี 11 หลักสีมาภายในพระอุโบสถ ภาพท่ี 12 มุขทิศตะวนัตก ดานทิศใต

Page 55: ณฑ ลปะ 2552 - thapra.lib.su.ac.th · The style and concept of the new Ubosot Wat Sothonwararam-woraviharn differences from the Prasat with spire of grand palace because

44 ภาพท่ี 13 ภาพสวนยอดทรงปราสาทของพระอุโบสถ ภาพท่ี 14 ภาพสวนยอดทรงปราสาท ช้ันที่ 1 – 2

Page 56: ณฑ ลปะ 2552 - thapra.lib.su.ac.th · The style and concept of the new Ubosot Wat Sothonwararam-woraviharn differences from the Prasat with spire of grand palace because

45 ภาพท่ี 15 ภาพสวนยอดทรงปราสาท ช้ันที่ 3 ภาพท่ี 16 ภาพสวนยอดทรงปราสาท ช้ันที่ 4, บัลลังก, ปลี, ลูกแกว, ปลียอด, เม็ดน้ําคางและ

ฉัตร

Page 57: ณฑ ลปะ 2552 - thapra.lib.su.ac.th · The style and concept of the new Ubosot Wat Sothonwararam-woraviharn differences from the Prasat with spire of grand palace because

46 ภาพท่ี 17 ภาพปลานานาชนิดบนพืน้อุโบสถ ภาพท่ี 18 ภาพลวดลายปลารอบฐานชุกชี

Page 58: ณฑ ลปะ 2552 - thapra.lib.su.ac.th · The style and concept of the new Ubosot Wat Sothonwararam-woraviharn differences from the Prasat with spire of grand palace because

47 ภาพท่ี 19 รูปแบบพระท่ีนั่งดุสิตมหาปราสาท ภาพท่ี 20 รูปแบบสวนยอด พระท่ีนั่งดสิุตมหาปราสาท

Page 59: ณฑ ลปะ 2552 - thapra.lib.su.ac.th · The style and concept of the new Ubosot Wat Sothonwararam-woraviharn differences from the Prasat with spire of grand palace because

48 ภาพท่ี 21 รูปแบบสวนยอด พระท่ีนั่งดสิุตมหาปราสาท ภาพท่ี 22 รูปแบบสวนยอด พระท่ีนั่งดสิุตมหาปราสาท

Page 60: ณฑ ลปะ 2552 - thapra.lib.su.ac.th · The style and concept of the new Ubosot Wat Sothonwararam-woraviharn differences from the Prasat with spire of grand palace because

49 ภาพท่ี 23 รูปแบบสวนยอด พระท่ีนั่งดสิุตมหาปราสาท ภาพท่ี 24 รูปแบบพระท่ีนั่งจักรีมหาปราสาท

Page 61: ณฑ ลปะ 2552 - thapra.lib.su.ac.th · The style and concept of the new Ubosot Wat Sothonwararam-woraviharn differences from the Prasat with spire of grand palace because

50 ภาพท่ี 25 รูปแบบพระท่ีนั่งจักรีมหาปราสาท ภาพท่ี 26 สวนยอดของพระท่ีนั่งจกัรีมหาปราสาท

Page 62: ณฑ ลปะ 2552 - thapra.lib.su.ac.th · The style and concept of the new Ubosot Wat Sothonwararam-woraviharn differences from the Prasat with spire of grand palace because

51 ภาพท่ี 27 สวนยอดปราสาท พระท่ีนั่งจักรีมหาปราสาท ภาพท่ี 28 รูปแบบอาคารมหาเจษฎาบดินทร วัดยานนาวา

Page 63: ณฑ ลปะ 2552 - thapra.lib.su.ac.th · The style and concept of the new Ubosot Wat Sothonwararam-woraviharn differences from the Prasat with spire of grand palace because

52 ภาพท่ี 29 ยอดทรงปราสาทของอาคารมหาเจษฎาบดินทร วัดยานนาวา ภาพท่ี 30 มณฑปพระพุทธปฏิมาสมเด็จพระนั่งเกลาเจาอยูหวั

Page 64: ณฑ ลปะ 2552 - thapra.lib.su.ac.th · The style and concept of the new Ubosot Wat Sothonwararam-woraviharn differences from the Prasat with spire of grand palace because

53 ภาพท่ี 31 สวนยอดมณฑปพระพุทธปฏิมาสมเด็จพระนั่งเกลาเจาอยูหวั ภาพท่ี 32 รูปแบบพระอุโบสถ วัดหัวลําโพง

Page 65: ณฑ ลปะ 2552 - thapra.lib.su.ac.th · The style and concept of the new Ubosot Wat Sothonwararam-woraviharn differences from the Prasat with spire of grand palace because

54 ภาพท่ี 33 บริเวณรอบนอกพระอุโบสถ วัดหวัลําโพง ภาพท่ี 34 สวนฐานพระอุโบสถ วัดหัวลําโพง

Page 66: ณฑ ลปะ 2552 - thapra.lib.su.ac.th · The style and concept of the new Ubosot Wat Sothonwararam-woraviharn differences from the Prasat with spire of grand palace because

55 ภาพท่ี 35 สวนเรือนธาตุพระอุโบสถ วัดหัวลําโพง ภาพท่ี 36 ยอดทรงปราสาทของพระอุโบสถ วัดหัวลําโพง

Page 67: ณฑ ลปะ 2552 - thapra.lib.su.ac.th · The style and concept of the new Ubosot Wat Sothonwararam-woraviharn differences from the Prasat with spire of grand palace because

56 ภาพท่ี 37 ยอดทรงปราสาทของพระอุโบสถ วัดหัวลําโพง

Page 68: ณฑ ลปะ 2552 - thapra.lib.su.ac.th · The style and concept of the new Ubosot Wat Sothonwararam-woraviharn differences from the Prasat with spire of grand palace because

57

บรรณานุกรม

กรมศิลปากร. ไตรภูมิกถาหรือไตรภูมิพระรวง พระราชนิพนธพระมหาธรรมราชาท่ี 1 (พญาลิไท) ฉบับตรวจสอบชําระใหม. กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร, 2526.

_______. ศิลปวัฒนธรรมเลม 8 โบราณสถานและอนุสาวรียกรุงรัตนโกสินทร 200 ป. กรุงเทพฯ: กองโบราณคดี, 2525.

จุลทัศน พยาฆรานนท. “ฐานานุศักดิ์ในสถาปตยกรรมไทย.” ใน หนังสือท่ีระลึกงานสมโภชกรุง รัตนโกสินทร 200 ป. 480 - 485. กรุงเทพฯ: ราชบัณฑิตยสถาน, 2525.

โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปตยกรรมและศิลปะเกี่ยวเนื่อง. กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2548. _______. สถาปตยกรรมแบบไทยเดิม. กรุงเทพฯ: สมาคมสถาปนิกสยามในพระบรมราชูปถัมภ,

2539. ณฐ ทะสังขา. เจาหนาท่ีสํานักงานวัดยานนาวา. สัมภาษณ, 19 มกราคม 2551. นริศรานุวัตติวงศ, สมเด็จเจาฟากรมพระยา. บันทึกเร่ืองความรูตางๆ. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัย

สมาคมสังคมศาสตรแหงประเทศไทย, 2506. นฤมล สารากรบริรักษ. “พระอินทร เทพแหงเมืองฟาอมร.” ธรรมลีลา 77 (เมษายน 2550) : 4. นัฏกพิชัย ถาวรธรรม. ผูเรียบเรียง. ชม"พระสําเภาเจดีย" สักการะ "พระบรมสารีริกธาตุ" สมโภช

พระอารามหลวง 240 ป “วัดยานนาวา” [ออนไลน]. เขาถึงเม่ือ 15 สิงหาคม 2551. เขาถึงไดจาก http://www.perdbucha.com

แนงนอย ศักดิ์ศรี, หมอมราชวงศ. มรดกสถาปตยกรรมกรุงรัตนโกสินทร เลม 2. กรุงเทพฯ: สํานัก ราชเลขาธิการ, 2536.

_______. สถาปตยกรรมไทย. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย, 2539. พระครูวิมล ภาวนาประสิทธ์ิ. ผูชวยเจาอาวาส วัดโสธรวรารามวรวิหาร. สัมภาษณ, 28 มิถุนายน

2550. “พระอุโบสถหลังใหม วัดโสธรวรารามวรวิหาร.” อาษา 19, 20 (สิงหาคม 2537) : 55 - 58. พลาดิศัย สิทธิธัญกิจ. พระบรมมหาราชวังกรุงรัตนโกสินทร. กรุงเทพฯ: บันทึกสยาม, 2545. เลิศลักษณา บุญเจริญ. โสธรวรารามวรวิหาร มงคลคูแปดร้ิว. กรุงเทพฯ: ดาวฤกษ, 2539. วัดโสธรวรารามวรวิหาร. โสธรวรารามวรวิหาร นิมิตแหงบุญ. กรุงเทพฯ: ทีซีจีพร้ินต้ิง, 2549. วัดหัวลําโพง พระอารามหลวง. ภาพจิตรกรรมฝาผนังพระอุโบสถ “วัดหัวลําโพง พระอาราม

หลวง”. กรุงเทพฯ:กราฟคอารตพร้ินต้ิง, 2546.

Page 69: ณฑ ลปะ 2552 - thapra.lib.su.ac.th · The style and concept of the new Ubosot Wat Sothonwararam-woraviharn differences from the Prasat with spire of grand palace because

58

ศรีศักร วัลลิโภดม. ขอสังเกตเกี่ยวกับการเปล่ียนแปลงรูปแบบทางสถาปตยกรรมไทย. ม.ป.ท., 2535.

สมภพ ภิรมย. กุฎาคาร. กรุงเทพฯ: ราชบัณฑิตยสถาน, 2545. _______. “สถาปตยกรรมเวยีง วัง วัด และเวิ้ง สมัยรัตนโกสินทร.” ใน เอกสารวิชาการและสรุปผล การสัมมนาเร่ืองเอกลักษณสถาปตยกรรมในประเทศไทย คณะสถาปตยกรรมศาสตร มหาวิทยาลัยศิลปากร. กรุงเทพฯ: โรงพิมพมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร, 2527. สันติ เล็กสุขุม. “จากนาคปก มาเปนนาคเบือน และมาเกี่ยวกับหางหงส.” ดํารงวิชาการ วารสารรวม

บทความทางวิชาการ คณะโบราณคดี 3, 5 (มกราคม – มิถุนายน 2547) : 78. _______. เจดีย: ความเปนมาและศัพทเรียกองคประกอบเจดียในประเทศไทย. กรุงเทพฯ: มติชน, 2535. สํานักราชเลขาธิการ. มรดกสถาปตยกรรมกรุงรัตนโกสินทร. กรุงเทพฯ: สํานักราชเลขาธิการ, 2536. _______. สถาปตยกรรมพระบรมมหาราชวัง. กรุงเทพฯ: สํานักราชเลขาธิการ, 2531. แสงสูรย ลดาวัลย, หมอมราชวงศ. พระมหาปราสาทและพระราชมณเฑียรสถานในพระบรม

มหาราชวัง. กรุงเทพฯ: สํานักพระราชวัง, 2519. อดุลยศักดิ์ เทิมแพงพันธ. “พุทธนาวา วัดยานนาวา การศึกษาสัญลักษณในความเช่ือทางพุทธ

ศาสนา.” วิทยานิพนธปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาประวัติศาสตรศิลปะ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2540.

Page 70: ณฑ ลปะ 2552 - thapra.lib.su.ac.th · The style and concept of the new Ubosot Wat Sothonwararam-woraviharn differences from the Prasat with spire of grand palace because

59

ประวัติผูวิจัย

ชื่อ – นามสกุล อภิญญา ทวนทอง วัน เดือน ป เกิด 28 กรกฎาคม 2525 ท่ีอยูปจจุบัน 88/16 หมู 7 ตําบลสวนหลวง อําเภอกระทุมแบน

จังหวัดสมุทรสาคร 74110 ท่ีทํางานปจจุบัน บริษัท ไวลดิ้งกอลฟ จํากัด 399 ตึกอินเตอรเชนจ ช้ันบี 2 ถนนสุขุมวิท คลองเตยเหนือ กรุงเทพมหานคร 10110 ตําแหนงหน าท่ีปจจุบัน พนักงานฝายปฏิบัติการและบริการลูกคา ประวัติการศึกษา พ.ศ. 2548 อษ.บ. (ประวัติศาสตร) มหาวิทยาลัยศิลปากร