Transcript

แผนการสอนที่ 2 (3 คาบ)

1

88

แผนการสอนบทที่ 3 (3 คาบ)

ความคิดรวบยอด

พฤติกรรมที่มนุษย์แสดงออกมาเกิดจากการทำงานร่วมกันของระบบโครงสร้างของกระดูก กล้ามเนื้อและระบบประสาท นอกจากนี้ฮอร์โมนก็เป็นสารเคมีที่มีความสำคัญต่อการเกิดและการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของมนุษย์ การศึกษาพื้นฐานชีวภาพของพฤติกรรมจะทำให้เข้าใจพฤติกรรมของมนุษย์ดียิ่งขึ้น

จุดประสงค์การเรียนรู้

1. อธิบายได้ว่ากล้ามเนื้อมีกี่ชนิดและแต่ละชนิดเป็นส่วนประกอบที่สำคัญส่วนใดของ

ร่างกาย

2. อธิบายได้ว่าที่ตั้งสำคัญของต่อมไร้ท่ออยู่บริเวณใดของร่างกายและต่อมเหล่านี้ผลิตฮอร์โมนอะไรและฮอร์โมนเหล่านี้มีความสำคัญอย่างไร

3. อธิบายได้ว่าโครงสร้างของเซลล์ประสาท ประกอบด้วยส่วนประกอบที่สำคัญอะไรบ้าง

4. อธิบายได้ว่าระบบประสาทของมนุษย์มีกี่ระบบ แต่ละระบบมีบทบาทหน้าที่สำคัญอย่างไรบ้าง

5. แนะนำผู้ที่ได้รับบาดเจ็บทางสมองได้ว่าควรใช้วิธีใดในการศึกษาสมองส่วนที่ได้รับบาดเจ็บ

6. อธิบายได้ว่าความผิดปกติทางสมองมีกี่ประเภทและแต่ละประเภทมีสาเหตุจากอะไร

7. อธิบายได้ว่าพันธุกรรมมีความสำคัญต่อพฤติกรรมอย่างไร

เนื้อหาวิชา

ตามเอกสารประกอบการสอนบทที่ 3 พื้นฐานชีวภาพของพฤติกรรม

กิจกรรมการเรียนการสอน

1. ตั้งคำถามให้นักศึกษาช่วยกันอภิปรายว่าระบบในร่างกายของเรามีกี่ระบบอะไรบ้างและระบบดังกล่าวเกี่ยวข้องกับการเกิดพฤติกรรมของเราอย่างไร

2. ให้นักศึกษาดูภาพการทำกิจกรรมในชีวิตประจำวัน แล้วให้นักศึกษาอภิปรายกับว่าแต่ละภาพนั้นเกี่ยวข้องกับพื้นฐานทางชีวภาพของพฤติกรรมอย่างไร

3. บรรยายในหัวข้อพื้นฐานทางชีวภาพของพฤติกรรม

4. ให้นักศึกษาช่วยกันอภิปรายในประเด็นอุบัติเหตุทางสมองเช่นกรณี คริส เบญจกุล

หรือ น้องกอล์ฟ นักเรียนที่ได้รับอุบัติเหตุทางสมอง ว่าอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นจะมีผลต่อ

พฤติกรรมของผู้ป่วยอย่างไร

5. ให้นักศึกษาทำแบบฝึกหัดท้ายบท

สื่อและอุปกรณ์การสอน

1. แผ่นใสประกอบการสอน

2. เอกสารประกอบการสอนบทที่ 3 พื้นฐานชีวภาพของพฤติกรรม

3. แบบฝึกหัด

4. ภาพการทำกิจกรรมในชีวิตประจำวัน 3-4 ภาพ

การวัดและประเมินผล

1. ผู้สอนสังเกตความสนใจในการเรียนการสอน

2. นักศึกษาตอบคำถามของผู้สอนในระหว่างการเรียนการสอน

3. การอภิปรายแสดงความคิดเห็น

4. ตรวจแบบฝึกหัดท้ายบท

บทที่ 3

พื้นฐานชีวภาพของพฤติกรรม

( The Biological Base of Behavior )

หลายคนอาจสงสัยว่า ทำไมจึงต้องเรียนเกี่ยวกับพื้นฐานทางชีวภาพของพฤติกรรมด้วย ซึ่งพื้นฐานทางชีวภาพของพฤติกรรมนั้นน่าจะเรียนในวิชาชีววิทยามากกว่า แต่แท้ที่จริงแล้วถ้าพอจะจำความหมายของจิตวิทยาได้ คงจะพอทำให้เข้าใจว่าทำไมจึงต้องศึกษาเกี่ยวกับพื้นฐานทางชีวภาพของพฤติกรรม นักจิตวิทยาสนใจการเกิดของพฤติกรรมทั้งพฤติกรรมภายนอกและภายในว่าเกิดขึ้นได้อย่างไร การทำความเข้าใจพฤติกรรมซึ่งสะท้อนถึงสภาวะของร่างกายและจิตใจจะสมบูรณ์ได้ ต้องมีความรู้เกี่ยวกับขบวนการทางสรีรวิทยาเป็นพื้นฐาน จากการศึกษาพบว่า พฤติกรรมที่เกิดขึ้นนั้นเกิดจากการทำงานที่สัมพันธ์กันของระบบโครงสร้างของกระดูก กล้ามเนื้อ ระบบการไหลเวียนโลหิตที่นำฮอร์โมนไปตามอวัยวะต่าง ๆ ทั่วร่างกายและที่สำคัญคือระบบประสาทควบคุมสิ่งเหล่านี้ทั้งหมด

1. พื้นฐานทางชีวภาพในการเกิดพฤติกรรม

สำหรับพื้นฐานทางชีวภาพของพฤติกรรม สามารถแบ่งตามหน้าที่ได้ 3 อย่าง ซึ่งการทำหน้าที่ต่างๆ นี้ก็สัมพันธ์กับลักษณะโครงสร้างทางร่างกายหรือกลไกต่างๆ ดังนี้

กลไกรับสิ่งเร้า ได้แก่ ตัวรับ (Receptors)

กลไกเชื่อมโยง ได้แก่ เซลล์ประสาท (Nerve Cells)

กลไกแสดงปฏิกิริยา ได้แก่ ตัวแสดงออก (Effectors)

กลไกทั้ง 3 อย่างนี้ทำงานร่วมกันในการทำให้เกิดพฤติกรรมระดับต่างๆ ตั้งแต่ระดับง่ายๆ อย่างเช่น ปฏิกิริยาสะท้อนอย่างงาย ถึง พฤติกรรมระดับซับซ้อนต่างๆ เช่น การว่ายน้ำ การเขียนหนังสือ การเล่นดนตรี การทำงานศิลปะต่างๆ เป็นต้น

ปฏิกิริยาสะท้อนอย่างง่าย (Reflex action) ปฏิกิริยาสะท้อนเป็นตัวอย่างที่แสดงให้เห็นถึงกลไกการทำงานร่วมกันของกลไกทั้ง 3 ที่ทำงานร่วมกัน จัดว่าเป็นพฤติกรรมในระดับไม่ซับซ้อน ตัวอย่างปฏิกิริยาสะท้อน เช่น เมื่อท่านเดินเหยียบไปบนตะปู ท่านจะดึงเท้าออกจากตะปูอย่างรวดเร็ว พฤติกรรมเช่นนี้ นับว่าเป็นปฏิกิริยาสะท้อนเพื่อป้องกันอันตราย (Protective Reflex) ปฏิกิริยาสะท้อนดังกล่าวมีกระบวนการตามลำดับขั้นดังนี้คือ

ขั้นแรก ตะปูกระตุ้นที่กลไกรับสิ่งเร้าที่เรียกว่า ตัวรับ (Receptors) ตัวรับจะเปลี่ยนพลังงานกล เป็นพลังงานไฟฟ้าในรูปกระแสประสาท กระแสประสาทถูกส่งไปตามกลไกลเชื่อมโยง (ส่วนที่เป็นเซลล์ประสาทรับความรู้สึก (Sensory Fiber) ถึงไขสันหลัง (ผ่าน Interneurone) แล้วมีการส่งกระแสประสาทสั่งงานไปตามกลไกเชื่อมโยง (ส่วนที่เป็นเซลล์ประสาทส่งกระแสประสาทสั่งงาน (Motor Fiber) ในที่สุดก็ถึงกลไกแสดงปฏิกิริยาตามตัวอย่างนี้ก็คือ การตอบสนองของกล้ามเนื้อที่ขา เป็นการยกเท้าออกจากสิ่งเร้าโดยยังไม่ทันคิดหรือรู้สึกอะไรขึ้นก่อน

กิจกรรมดังกล่าวนี้ เกิดขึ้นภายในเศษส่วนของวินาทีเท่านั้น สมองไม่ได้เข้ามาเกี่ยวข้องกับกิจกรรมนี้โดยตรง กล่าวคือ หลังจากแสดงพฤติกรรมรีเฟล็กซ์ดังกล่าวไปแล้ว สมองอาจมีบทบาททำให้ท่านรู้สึกเจ็บหรือกลัว เพราะกระแสประสาทส่วนหนึ่งวิ่งไปยังสมองในเวลาต่อมา โดยเฉพาะถ้าพลังงานจากวัตถุนั้นแรงมาก แต่การเกิดความรู้สึกต่างๆ นี้จะมากหรือน้อยก็เกี่ยวข้องกับนิวโรนที่รับกระแสประสาทตามเส้นทางถึงสมอง และภายในสมองซึ่งมีขบวนการอย่างซับซ้อน ปัจจุบันพบว่าอินทรีย์มีด่านของใยประสาทที่ระงับความเจ็บปวดได้ ดังกรณีการฝังเข็มไปกดประสาทบางจุดอาจอธิบายได้ด้วยหลักนี้ (สงคราม เชวน์ศิลป์. 2535 : 25-26)

ในบทนี้จะแยกอภิปรายเกี่ยวกับกลไกแสดงปฏิกิริยาและกลไกเชื่อมโยงเท่านั้น สำหรับกลไกการรับรู้สิ่งเร้าจะมีอยู่ในบทที่ 4 และ 5

รูปที่ 3-1 ปฎิกิริยารีเฟล็กซ์

ที่มา : Bernstein. 1999 : 51

2. กลไกแสดงปฏิกิริยา : ระบบกล้ามเนื้อและต่อม

2.1 กล้ามเนื้อ (Muscles)

กล้ามเนื้อในร่างกายของมนุษย์ทั้งเพศชายและเพศหญิงแบ่งได้ 3 ชนิด คือ

กล้ามเนื้อลาย (Striated or Skeletal Muscle) เราใช้กล้ามเนื้อลายในการ

ทำงานเช่น ยกของ หรือ เล่นกีฬา เช่น ฟุตบอล บาสเกตบอล เป็นต้น กิจกรรมดังกล่าวเป็นผลมาจากการหดตัวของกล้ามเนื้อลาย กลามเนื้อลายมักอยู่ติดกับกระดูกมีลักษณะลาย ๆ ทำงานภายใต้การควบคุมของระบบประสาทส่วนกลาง เช่น กล้ามเนื้อแขน ขา มีขนาดต่าง ๆ กันตามสภาพการณ์ที่จะต้องใช้ในร่างกาย กล้ามเนื้อชนิดนี้บางครั้งก็เรียนว่า Voluntary muscle เนื่องจากทำงานตามเจตนาที่สั่งได้ มนุษย์มีกล้ามเนื้อลายอยู่ประมาณ 7,000 มัด

กล้ามเนื้อเรียบ (Smooth or Unstriated Muscle) เป็นกล้ามเนื้อที่บุอยู่ตาม

อวัยวะต่าง ๆ ในร่างกาย เช่น ผนังกระเพาะอาหาร ลำไส้เล็ก ลำไส้ใหญ่ หลอดลมและเส้นโลหิต กล้ามเนื้อเรียบประกอบด้วยเซลล์เนื้อเยื่อเล็ก ๆ และบางเรียบ กล้ามเนื้อชนิดนี้ทำงานอยู่นอกการควบคุมของจิตใจ ( Involuntary muscle ) แต่อยู่ภายใต้การควบคุมของระบบประสาทอัตโนมัติ (Autonomic Nervous System)

กล้ามเนื้อหัวใจ (Cardiac Muscle) เป็นกล้ามเนื้อที่มีลายน้อยกว่ากล้ามเนื้อ

ลาย และลายแตกเป็นกิ่งคล้ายตาข่ายบุอยู่ที่ผนังของหัวใจ ทำหน้าที่หดและขยายตัวในเวลาสูบฉีดโลหิตแรงดันเลือดจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับความแข็งแรงของหัวใจและปฏิกิริยาที่มีต่อสถานการณ์ที่เร้าอารมณ์ กล้ามเนื้อหัวใจอยู่ภายใต้การควบคุมของระบบประสาทอัตโนมัติเช่นเดียวกับกล้ามเนื้อเรีบย

2.2 ระบบต่อม (Glands)

ในร่างกายของมนุษย์มีต่อม 2 ประเภท คือ ต่อมมีท่อ (Duct gland) กับต่อม

ไร้ท่อ (Ductless gland) หรือ Endocrine gland

ต่อมมีท่อ (Duct Gland) เป็นต่อมที่ขับของเหลวออกมาแล้วส่งผ่านท่อของ

ตนเอง เช่น ต่อมน้ำลาย ต่อมน้ำตา ต่อมเหงื่อ ต่อมน้ำย่อยในกระเพาะอาหาร ต่อมเหล่านี้จะขับน้ำออกมาตามท่อออกไปสู่ที่ต่าง ๆ ของร่างกาย

ต่อมไร้ท่อ (Ductless gland) เป็นต่อมที่ขับสารเคมีออกมาที่เรียกว่า

ฮอร์โมน (Hormone) โดยอาศัยกระแสโลหิตกระจายฮอร์โมนไปตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย สารเคมีในฮอร์โมนที่ต่อมไร้ท่อขับออกมา มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมหลายประการ (รายละเอียดดังในตาราง 1) ถ้าร่างกายของคนเรามีฮอร์โมนไม่สมดุล พฤติกรรมของคนเราจะเปลี่ยนไปและในที่สุดพฤติกรรมของคนเราจะได้รับการกระทบกระเทือนด้วย

ต่อมไร้ท่อทั้งหลายของมนุษย์ได้แก่ ต่อมใต้สมอง ไทรอยด์ พาราไทรอยด์ ไทมัส ต่อมในตับอ่อน ต่อมไพเนียล ต่อมเพศและต่อมหมวกไต แต่ต่อมไร้ท่อที่มีความสำคัญทางจิตวิทยามากนั้นมี 2 ต่อมคือ ต่อมใต้สมองและต่อมหมวกไต รายละเอียดของต่อมต่างๆ มีดังนี้

1. ต่อมไทรอยด์ (Thyroid Gland) อยู่ตรงคอหอย มีลักษณะเป็นเนื้อเยื่อซึ่ง

แบ่งออกเป็น 2 กลีบคือ ข้างซ้ายและข้างขวา ต่อมนี้มีเลือดไหลเข้ามาเลี้ยงมากที่สุดต่อมหนึ่ง ต่อมไทรอยด์ผลิตฮอร์โมนที่เรียกว่า ไทรอกซิน (Thyroxin) มีหน้าที่รักษาระดับการเผาผลาญพลังงานของเนื้อเยื่อในร่างกายให้เป็นปกติ ถ้าฮอร์โมนนี้มีน้อยไปจะทำให้บุคคลต้านทานอากาศหนาวได้น้อย การทำงานทั้งร่างกายและจิตใจจะเชื่องช้า ในเด็กทำให้เกิดภาวะปัญญาอ่อนและแคระแกนได้ ในทางตรงกันข้ามถ้าฮอร์โมนมากเกินไป จะทำให้บุคคลมีน้ำหนักลด เพลีย ใจสั่น หัวใจพิการ เกิดอาการกระวนกระวายใจมากและมีความร้อนถูกขับออกจากร่างกายมาก ถ้าบุคคลขาดธาตุไอโอดีน ต่อมนี้จะพองโตจนเป็นโรคคอหอยพอก ตาโปน เพราะต่อมนี้สร้างฮอร์โมนไม่ได้สัดส่วนที่จะกระตุ้นการใช้พลังงานตามปกติ

2. ต่อมพาราไทรอยด์ (Parathyroid Gland) มีลักษณะเป็นเม็ดเล็กๆ ฝังอยู่

ในแนวขนานกับต่อมไทรอยด์ ข้างละ 2 เม็ด มีหน้าที่สร้างฮอร์โมนชื่อว่า พาราทอร์โมน (Parathomone) ซึ่งทำหน้าที่รักษาระดับการใช้ธาตุแคลเซียมของเซลล์เนื้อเยื่อร่างกายและเลือด อันทำให้ระบบประสาททำงานได้ปกติ ถ้าฮอร์โมนนี้ผลิตในระดับน้อยผิดปกติ บุคคลจะเกิดอาการเกร็ง กระสับกระส่าย ถ้าผลิตปริมาณมากเกินไป จะทำให้เกิดอาการอ่อนเพลีย ปวดกระดูก การหลั่งฮอร์โมนนี้มากเกินไปอาจจะเนื่องมาจากเนื้องอกที่ส่วนต่างๆ ของต่อม

3. ต่อมไทมัส (Thymus Gland) ประกอบด้วยโครงสร้างที่มีอยู่ 2 พู ติด

ต่อกันในช่องอกระหว่างปอดทั้ง 2 ข้าง ต่อมนี้ผลิตฮอร์โมนที่ทำหน้าที่ควบคุมระบบน้ำเหลืองและการสร้างภูมิคุ้มกันโรค โดยเมื่อละลายกระจายในโลหิต ก็จะช่วยฆ่าเชื้อจุลินทรีย์ที่เข้าไปในร่างกาย

4. ต่อมไพเนียล (Pineal Gland) ฝังอยู่ในส่วนศูนย์กลางของสมองผลิต

ฮอร์โมนที่เกี่ยวข้องกับการเจริญเติบโตตามวัย เมื่อถึงวัยหนุ่มสาวแล้วต่อมนี้จะไม่มีบทบาทจะฝ่อหายไป

4.1 ต่อมในตับอ่อน (Pancreas Gland) มีลักษณะเป็นกลุ่มเซลล์ที่แทรก

กระจายไปทั่วเนื้อเยื่อของตับอ่อน ซึ่งอยู่ชิดด้านหลังของกระเพราะอาหารทอดขวางท้องอยู่ ต่อมนี้สร้างฮอร์โมนเชิงซับซ้อนชื่อ อินซูลินและกลูคากอน ซึ่งมีหน้าที่สำคัญคือ ควบคุมการเผาผลาญคาร์โบไฮเดรท โปรตีน และไขมัน กลูคากอนยังเป็นฮอร์โมนที่หลั่งมาจากระบบย่อยอาหารด้วยอีกทางหนึ่ง

4.2 อินซูลินเป็นสารแอนนาโบลิก จึงช่วยให้ร่างกายดึง กลูโคส กรดไขมัน

และกรดอะมิโน ไปเก็บไว้ กลูโคสจะเก็บในรูปไกลโคเจนในตับ ไขมันเก็บตามส่วนต่างๆ ของร่างกายและกรดอะมิโนเก็บที่กล้ามเนื้อของอวัยวะต่างๆ ส่วนกลูคากอนเป็นสารคาตาโบลิก จึงเป็นตัวกระตุ้นให้กลูโคส กรดไขมันและกรดอะมิโน ถูกดึงออกมาจากแหล่งเก็บสะสมของมัน เข้าสู่เส้นเลือด เพื่อปฏิบัตตามคุณสมบัติของมันต่อไป

จะเห็นได้ว่า ฮอร์โมน 2 ตัวนี้มีหน้าที่ตรงข้ามแต่ก็ทำงานเข้ากันได้ หรือ

เกื้อกูลกันให้เกิดความเหมาะสมในการทำงาน คนที่เป็นโรคเบาหวาน คือคนที่ตับอ่อนผลิตฮอร์โมนอินซูลินน้อยกว่าปกติ ทำให้ในเลือดมีปริมาณน้ำตาลมากเกินไป ซึ่งสามารถแก้ไขได้โดยการควบคุมอาหารและฉีดอินซูลินเข้าไปในร่างกาย เพื่อให้อินซูลินในร่างกายดึงกลูโคสจากเลือดไปเก็บไว้ที่ตับ

5. ต่อมเพศ (Sex Gland or Gonad) เป็นต่อมที่สำคัญต่อการแยกความ

แตกต่างระหว่างเพศชายและเพศหญิง ทั้งทางด้านโครงสร้างร่างกายและบทบาททางเพศ แต่ละเพศจะมีต่อมเพศในลักษณะที่แตกต่างกันไปเป็นลักษณะเฉพาะเพศ ต่อมเพศชายอยู่ที่อันฑะ (Testes) ส่วนต่อมเพศหญิงอยู่ที่รังไข่ (Ovaries)

เมื่อคนเราเกิดมา ต่อมเพศยังคงอยู่นิ่งเฉยจนกว่าจะถึงวัยแรกรุ่น จะมี

ฮอร์โมนจากต่อมใต้สมองส่วนหน้ามากระตุ้นให้ทำหน้าที่ ต่อมเพศทั้งสองเพศทำงานในลักษณะเชิงคู่ (Dual Function) คือ ในเพศชายอันฑะจะผลิตสเปอร์ม(Sperm) และผลิตฮอร์โมนเพศชื่อ แอนโดเจน (Androgen) ฮอร์โมนแอนโดเจนที่สำคัญคือ เทสโตสเตอโรน (Testosterone) ควบคุมการทำงานของระบบอวัยวะเพศและลักษณะความเป็นเพศชาย เช่น การมีหนวด มีเครา เสียงห้าว เป็นต้น ส่วนรังไข่ในเพศหญิงผลิตฮอร์โมนเอสโตรเจน (Estrogen) ควบคุมการทำงานของระบบอวัยวะเพศและลักษณะเพศหญิง เช่น การมีทรวงอก ประจำเดือน มีเสียงแหลม เป็นต้น และ ฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน (Progesterone) ทำงานร่วมกับเอสโตรเจน ในการเตรียมมดลูกให้พร้อมสำหรับการฝังตัวของไข่ที่ผสมแล้ว และบำรุงรักษาครรภ์ระหว่างมีครรภ์ต่อไป

6. ต่อมใต้สมอง (Pituitary Gland) มีรูปร่างเป็นเม็ดกลม ๆ ขนาดเท่าถั่ว

ลันเตา อยู่ใต้ไฮโปทาลามัส (Hypothalamus) เป็นต่อมไร่ท่อที่สำคัญ ทำหน้าที่ในการควบคุมการเจริญเติบโตและผลิตฮอร์โมนเพื่อไปควบคุมการทำงานของต่อมต่างๆ ให้ทำงานได้เป็นปกติ (Halonen and Santrock. 1996 : 76) ต่อมใต้สมองแบ่งออกได้เป็น 3 ส่วนคือ ส่วนหน้า ส่วนกลาง และส่วนหลัง ทั้ง 3 ส่วนสร้างฮอร์โมนต่างกัน และมีหน้าที่ต่างกันด้วย เช่น ฮอร์โมนควบคุมการเจริญเติบโตของร่างกาย ฮอร์โมนควบคุมการเจริญเติบโตของต่อม ไทรอยด์ ฮอร์โมนควบคุมต่อมแอดรีนัล ฮอร์โมนควบคุมการทำงานของต่อมน้ำนม ฮอร์โมนควบคุมการเจริญเติบโตของรังไข่และอัณฑะ

7. ต่อมหมวกไต (Adrenal Gland) ตั้งอยู่ส่วนบนของไตข้างละต่อมรวมเป็น

2 ต่อม ต่อมแอดรีนัลแบ่งออกเป็นสองส่วนคือส่วนในกับส่วนนอกหรือส่วนคอร์เท็กซ์ แอดรีนัล ส่วนในผลิตฮอร์โมนแอดรีนาลีน (Adrenalin) และนอร์แอดรีนาลีน (Noradrenalin) ส่วนนอกผลิตฮอร์โมนคอร์ติโกสเตอรอยด์ (Corticosteroids)

ฮอร์โมนแอดรีนาลีน มีหน้าที่ทำให้ร่างกายตื่นตัวอยู่ในสภาพที่จะต่อสู้ป้องกัน

ตัวเช่น กล้ามเนื้อลายสั่น ปริมาณน้ำตาลในเลือดมีมากขึ้น ความดันโลหิตสูง และหากได้รับบาดแผลเลือดจะแข็งตัวเร็ว การเปลี่ยนแปลงนี้ทำให้คนมีพละกำลังมาก ใจกล้า เช่น คนที่ตกใจเมื่อไฟไหม้บ้าน สามารถยกตุ่มน้ำหนีได้ด้วยตนเองเพียงคนเดียว แต่พอร่างกายกลับคืนสู่สภาพเดิม ก็จะไม่สามารถยกของชิ้นเดิมได้อีกเพียงคนเดียว

ส่วนคอร์ติโกสเตอรอยด์มีหลายชนิดและมีความสำคัญต่อชีวิตมาก หากแอดรี

นัลส่วนนอกนี้ถูกทำลายจะทำให้เสียชีวิตทันที นอกจากจะได้รับการฉีดคอร์ติโกสเตอรอยด์เข้าเส้นเลือดตลอดเวลาซึ่งเป็นสิ่งที่ทำได้ยาก คอร์ติโกสเตอรอยด์ ควบคุมปริมาณเกลือและคาร์โบไฮเดรทในร่างกาย

รูปที่ 3-2 ต่อมไร้ท่อที่สำคัญในร่างกาย

ที่มา : Bernstein. 1999 : 65

ตาราง 1 ความสัมพันธ์ระหว่างต่อมไร้ท่อกับพฤติกรรม

ที่มา : ไพบูลย์ เทวรักษ์ 2537 : 27-28

ต่อมไร้ท่อ

ฮอร์โมน

หน้าที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรม

Pituitary

Growth Hormone

Prolactin Hormone

Thopic Hormone

Gonadotrophin,

Thyrotrophin,

Corticotrophin,

ควบคุมความเจริญเติบโตของร่างกายให้เป็นปกติ

กระตุ้นให้ต่อมน้ำนมสร้างน้ำนม

ควบคุมการทำงานของต่อมไร้ท่ออื่น ๆ เช่น

ต่อมโกแนด ต่อมธัยรอยด์ เป็นต้น

Thyroid

Thyroxin

ควบคุมการเผาผลาญอาหารและเพิ่มระดับ

น้ำตาลในเลือด หากมีมากทำให้ตื่นตัว นอนไม่หลับ ถ้ามีน้อยจะเกิดอาการซึมและเชื่องช้า

Parathyroid

Parathomone

ควบคุมปริมาณแคลเซียมและฟอสฟอรัสในเลือด ช่วยในการทำงานของประสาท

Adrenal

Adrenalin

Cortin

กระตุ้นตับอ่อนให้เปลี่ยน Glycogen เป็น Glucose ทำให้ร่างกายมีพลังมาก พร้อมจะสู้หรือหนี

ควบคุมระดับโซเดียมและโพแทสเซียมใน

พลาสม่าของเลือด

Pancreas

Insurin

ควบคุมปริมาณน้ำตาลในเลือด กระตุ้นตับเปลี่ยนน้ำตาลให้เป็น Glycogen ไปเก็บไว้ในตับอ่อน ถ้าบกพร่องจะเกิดโรคเบาหวาน

Gonads

เพศชายมี Andogen

เพศหญิงมี Estrogen

ควบคุมการทำงานอวัยวะเพศชายและลักษณะเพศชาย

ควบคุมการทำงานอวัยวะเพศหญิงและลักษณะเพศหญิง

Thymus

Thymovidin

ควบคุมการเจริญเติบโตของร่างกายให้เป็นไปตามวัย

Pineal

Melatonin

ควบคุมการเจริญเติบโตตั้งแต่เกิดจนถึง 7 ขวบ

3. กลไกเชื่อมโยง : ระบบประสาท

ระบบประสาทเป็นระบบเชื่อมโยงติดต่อกับส่วนต่างๆ ของร่างกาย เมื่อมีการกระตุ้นระบบประสาท มีกลไกในการทำให้เกิดปฏิกิริยาลักษณะต่างๆ กัน เนื่องจากระบบนี้มีโครงสร้างที่ซับซ้อนมาก และพฤติกรรมภายใน (Covert Behavior) ที่สำคัญในจิตวิทยา เช่น ความคิด ความรู้สึก และความจำ เราจะศึกษาเข้าใจได้ดีก็โดยศึกษาเรื่องพื้นฐานทางสรีร

วิทยาของระบบประสาท

3.

โครงสร้างพื้นฐานของระบบประสาทประกอบด้วยเซลล์ประสาท เซลล์ประสาททำขึ้นจาก Protoplasm มีเยื่อบาง ๆ อยู่รอบ ๆ เซลล์ประสาทประกอบด้วย cell body ซึ่งมี Necleus อยู่ตรงกลาง มี Dendrite เป็นตัวรับสัญญาณที่เกิดจากการกระตุ้นของสิ่งเร้าเข้าสู่เซลล์ประสาทและสัญญาณจะถูกส่งออกจากเซลล์ประสาททาง Axon ที่ Axon นี้มี Myelin Sheath ห่อหุ้มไปจนถึงปลายสุดที่เรียกว่า Terminal Buttons บริเวณที่เชื่อมต่อระหว่างเซลล์ประสาท 2 เซลล์ เรียกว่า Synapse โดยที่ Axon ของเซลล์ประสาทหนึ่งจะไปเชื่อมต่อกับ Dendrite ของเซลล์ประสาทอีกเซลล์หนึ่งเพื่อถ่ายโอนสัญญาณที่ได้รับไปยังระบบประสาทส่วนกลาง (Matlin. 1995 : 60-62)

การทำงานของเซลล์ประสาท (Nervous Impulse) เมื่อมีสิ่งเร้ามากระตุ้นเซลล์ประสาทจะเกิดการเปลี่ยนแปลงทางเคมีไฟฟ้าขึ้น การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวจะก่อให้เกิดการเคลื่อนที่ของกระแสประสาทส่งผ่าน Axon ไปยัง Dendrite ของเซลล์ประสาท (Neuron) ตัวอื่นที่อยู่ใกล้เคียงต่อไป จนกระทั่งก่อให้เกิดพฤติกรรมขึ้น

รูปที่ 3-3 เซลล์ประสาท (ที่มา : Bernstein. 1999 : 43)

3.2 ระบบประสาท (Nervous System)

ระบบประสาทมีบทบาทในการควบคุมกลไกทั้งหมดของปฏิกิริยาภายในร่างกาย ได้แก่ การเต้นของหัวใจ สภาพการหมุนเวียนของโลหิต การเคลื่อนไหว ตลอดจนการหลั่งหรือการผลิตของสารชีวเคมี ระบบประสาทของมนุษย์แบ่งการทำงานออกเป็น 2 ระบบคือ ระบบประสาทส่วนกลาง (Central Nervous System) และระบบประสาทส่วนนอก (Peripheral Nervous System)

รูปที่ 3-4 ระบบประสาท

ที่มา : Bernstein. 1999 : 49

3.3 ระบบประสาทส่วนกลาง (Central Nervous System)

ระบบประสาทส่วนกลางประกอบขึ้นด้วยสมองและไขสันหลัง ปกติไขสันหลังมี

หน้าที่รับกระแสประสาทส่งไปยังสมอง และรับกระแสประสาทจากสมองส่งไปยังส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย นอกจากนี้ไขสันหลังยังเป็นศูนย์ Reflex action ด้วย เซลล์ประสาทส่วนกลางเหล่านี้จะติดต่อกับอวัยวะสัมผัสและอวัยวะมอเตอร์ทุกแห่ง

3.3.1 สมอง (Brain)

สมองคนเป็นอวัยวะที่บอบบางมาก ตั้งอยู่ในกระโหลกศีรษะและลอยตัวอยู่ในน้ำ มีน้ำ

หนักประมาณ 1,300-1,400 กรัม สมองแบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ 1. สมองส่วนหน้า (Forebrain) 2. สมองส่วนกลาง (Midbrain) 3. สมองส่วนหลัง (Hindbrain)

รูปที่ 3-5 โครงสร้างหลักที่สำคัญของสมอง

ที่มา : Bernstein. 1999 : 54

สมองส่วนหน้า (Forebrain) เป็นส่วนของสมองที่มีขนาดใหญ่ที่สุด รวมถึงส่วนที่

เรียกว่า Cerebral Cortex ซึ่งเป็นส่วนที่น่าสนใจมากและยังมีอีกหลายส่วนในสมองส่วนนี้ที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมที่น่าสนใจของมนุษย์ ส่วนของสมองที่สำคัญที่อยู่ในสมองส่วนหน้าได้แก่

1. Thalamus อยู่ส่วนกลางเหนือ Midbrain ขึ้นไป ทำหน้าที่

สำหรับรับส่งกระแสประสาทรับความรู้สึกผ่านจากไขสันหลังไปยังสมอง และจากสมองไปยังส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย

2. Hypothalamus อยู่ใต้ Thalamus ลงมา เป็นศูนย์ควบคุมสภาพ

ความสมดุลของร่างกาย (Homeostasis) เช่น ทำให้อุณหภูมิของร่างกายพอเหมาะ ควบคุมการสูบฉีดของโลหิตและความดันเลือดให้สม่ำเสมอ รวมทั้งการนอนและการอยากอาหารและน้ำ การเผาผลาญแป้งกับไขมัน ความก้าวร้าวและพฤติกรรมทางเพศ

3. Pituitary gland เป็นต่อมไร้ท่อที่ผลิตฮอร์โมนที่สำคัญหลายชนิด

ที่ได้กล่าวไปแล้ว

4. Limbic System เป็นระบบที่ช่วยในการควบคุมอารมณ์ต่าง ๆ และยังแสดง

บทบาทสำคัญในเรื่องที่เกี่ยวกับแรงจูงใจ การเรียนรู้ และการจำ

5. Cerebral Cortex เป็นส่วนที่อยู่นอกสุด มีลักษณะเป็นก้อนครึ่งวงกลม 2

ก้อน ผิวมีลักษณะหยักเป็นร่องลึก ๆ เป็นสมองส่วนที่ทำหน้าที่สำคัญเกี่ยวกับการรับรู้ การจำ การคิดที่ซับซ้อน สมองส่วนนี้แบ่งออกได้อีกเป็น 4 ส่วน คือ

รูปที่ 3-6 โครงสร้างบางส่วนของสมองส่วนหน้า

ที่มา : Bernstein. 1999 : 55

5.1 กลีบสมองส่วนหน้า (Frontal lobe) เป็นที่ตั้งของศูนย์ควบคุมกล้าม

เนื้อที่อยู่ใต้อำนาจของจิตใจ ได้แก่ กล้ามเนื้อแขน ขา ลำตัว และยังเป็นศูนย์ควบคุมอารมณ์ การตัดสินใจ การควบคุมตัวเองและกำลังใจ ตัวอย่างเช่น Motor area ทำหน้าที่ควบคุมกล้ามเนื้อของร่างกายทั่วไป และควบคุมการเคลื่อนไหวของร่างกาย ถ้ากระตุ้นซีกซ้ายจะมีการเคลื่อนไหวของซีกขวา หรือกระตุ้นซีกขวาจะมีการเคลื่อนไหวของซีกซ้ายขึ้น หากถูกทำลายจะทำให้คนเป็นอัมพาต

5.2 กลีบสมองส่วนกลาง (Parietal lobe) เป็นที่ตั้งเกี่ยวกับการสัมผัสต่าง ๆ หรือความรู้สึกทั่ว ๆ ไป (Somatosensory cortex) เช่น ความรู้สึกร้อนหนาว ความเจ็บปวด ความตึงของกล้ามเนื้อ

5.3 กลีบสมองส่วนข้าง (Temperal lobe) เป็นที่ตั้งของศูนย์แห่งกลิ่น รส

และการได้ยิน (Auditory cortex) เกี่ยวกับเสียง การพูด และดนตรี

5.4 กลีบสมองส่วนหลัง (Occipital lobe) เป็นที่ตั้งที่สำคัญของสมองที่เป็น

ศูนย์รวมของการมองเห็นต่าง ๆ (Visual cortex)

รูปที่ 3-7 กลีบสมองทั้ง 4 ส่วนและหน้าที่ที่สำคัญของกลีบสมองแต่ละส่วน

ที่มา : Bernstein. 1999 : 56

สมองส่วนกลาง (Midbrain) ตั้งอยู่บริเวณเหนือ Pons ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของสมองส่วนหลัง (Hindbrain) กระแสประสาททั้งหมดที่ผ่านจากไขสันหลังไปยังสมองส่วนหน้าจะต้องผ่านสมองส่วนกลางนี้ นอกจากนี้สมองส่วนกลางยังทำหน้าที่สำคัญในการส่งผ่านข้อมูลเกี่ยวกับการมองเห็นจากตาไปยังสมองส่วนหน้า และยังช่วยควบคุมอวัยวะที่เคลื่อนไหวได้ให้ทำงานสัมพันธ์กับการมองเห็น ตัวอย่างการทำงานของสมองส่วนกลาง เช่น เวลาเรายืนอยู่หน้ากระจกเงาและมองดูตัวเอง หมุนศีรษะไปทางซ้ายขณะที่ยังมองดูตัวเองที่กระจกเงา จะสังเกตเห็นว่าทิศทางของตาจะเคลื่อนไหวตรงกันข้ามกับศีรษะ การทำงานประสานกันนี้เป็นการทำงานที่กระทำโดยสมองส่วนกลาง

สมองส่วนหลัง (Hindbrain) สมองส่วนหลังเป็นส่วนที่อยู่หลังสุดติดกับไขสันหลัง

สมองส่วนนี้ทำหน้าที่สำคัญ ๆ หลายอย่าง เช่น ทำหน้าที่เกี่ยวกับการขยายปอดเวลาหายใจ ควบคุมการเต้นของหัวใจ ควบคุมการเคลื่อนไหวและการทรงตัว ส่วนของสมองที่สำคัญที่อยู่ในสมองส่วนหลังได้แก่

1. Medulla อยู่บริเวณไขสันหลัง ทำหน้าที่สำคัญหลายอย่าง เช่น ควบคุมการ

หายใจและอัตราการเต้นของหัวใจ ถ้าขาดสมองส่วนนี้เราจะไม่สามารถมีชีวิตอยู่ได้

2. Pons อยู่ต่อจาก Medulla ขึ้นไปทางสมองส่วนกลาง คำว่า Ponsหมายถึง

สะพานซึ่งเชื่อมต่อระหว่างสมองส่วนล่างสุดกับส่วนบนสุด หรือระหว่าง Medulla กับ Cerebellum ซึ่ง Pons ทำหน้าที่สำคัญในการควบคุมกล้ามเนื้อ เช่น การแสดงออกทางใบหน้า และทักษะการใช้นิ้วมือ

3. Cerebellum มีลักษณะคล้ายรูปจำลองเล็ก ๆ ของสมองทั้งหมด อยู่ใต้ส่วน

หลังของ Cerebral Cortex ข้างหลัง Pons และ Medulla มีหน้าที่สำคัญคือ ช่วยควบคุมการเคลื่อนไหวและการทรงตัวให้อยู่ในท่าตรงเสมอ คนที่สมองส่วนนี้ได้รับความกระทบกระเทือนจะสูญเสียการควบคุมกล้ามเนื้อเกี่ยวกับการเคลื่อนไหว เช่น ถ้าให้หลับตาจะไม่สามารถใช้นิ้วมือแตะปลายจมูกได้อย่างถูกต้อง

4. Reticular formation เป็นส่วนที่วิ่งตรงจากสมองส่วนหลังไปยังสมองส่วน

กลาง มี Axon นำกระแสประสาทจากสมองส่วนนี้ไปยัง Cerebral Cortex ที่ส่วนบนของสมอง โครงสร้างส่วนนี้มีความสำคัญในการควบคุมความสนใจ การนอน การเรียนรู้งานที่ไม่ซับซ้อนและอาการงุนงงต่าง ๆ

ไขสันหลัง (Spinal cord)

ไขสันหลังยาวประมาณ 18 นิ้ว ต่อจาก Medulla ยาวเกือบตลอดหลัง ภายในช่อง

กระดูกสันหลังแบ่งได้ 31 ปล้อง คือที่คอ 8 ปล้อง อก 12 ปล้อง เอว 5 ปล้อง ก้น 5 ปล้อง และก้นกบ 1 ปล้อง แต่ละปล้องทำงานไม่ขึ้นต่อกัน ส่วนนอกเป็น White Matter ส่วนในเป็น Gray Matter มีลักษณะคล้ายผีเสื้อกางปีกหรือตัว H

หน้าที่ของไขสันหลัง

5. นำกระแสประสาทจากศูนย์ควบคุมการเคลื่อนไหว (Motor Center) สู่อวัยวะ

ต่าง ๆ ของร่างกาย

2. รับกระแสประสาทจากอวัยวะรับสัมผัส (Receptor) ส่งไปยังสมอง

3. นำกระแสประสาทจากระบบประสาทอัตโนมัติสู่อวัยวะต่าง ๆ โดยผ่านไขสัน

หลัง

4. เป็นศูนย์กลางควบคุม Reflex ที่สำคัญของร่างกาย

ระบบประสาทส่วนนอก (Peripheral Nervous System)

เป็นระบบประสาทที่อยู่นอกเหนือจากระบบประสาทส่วนกลาง (สมองและไขสันหลัง)

ระบบประสาทส่วนนอกทำหน้าที่ส่งข้อมูลจากตัวรับความรู้สึกไปยังระบบประสาทส่วนกลาง และยังส่งข้อมูลกลับออกจากระบบประสาทส่วนกลางไปยังกล้ามเนื้อและต่อมต่าง ๆ

ระบบประสาทส่วนนอกยังแบ่งออกได้เป็นอีก 2 ส่วนคือ ส่วนที่เรียกว่า Somatic division และส่วน Autonomic divisionSomatic division ประกอบด้วย ประสาทรับความรู้สึก (Sensory neurons) เกี่ยวกับความรู้สึกไปที่ระบบประสาทส่วนกลางและประสาทรับการเคลื่อนไหว Motor neurons) ที่นำคำสั่งเกี่ยวกับการเคลื่อนไหวออกจากระบบประสาทส่วนกลางไปยังกล้ามเนื้อ เราใช้ระบบประสาทส่วนนี้เมื่อเราเกาจมูก เคี้ยวหมากฝรั่งและทำพฤติกรรมต่าง ๆ ที่อยู่ภายในอำนาจของจิตใจ

ในทางตรงกันข้าม Autonomic division ช่วยในการควบคุมต่อมต่าง ๆ หลอดเลือด ลำไส้ หัวใจและอวัยวะภายในอื่น ๆ ระบบประสาทอัตโนมัติมักจะทำงานโดยอัตโนมัติ ไม่เหมือนกับการทำงานของ Somatic division

ระบบประสาทอัตโนมัติยังแบ่งออกได้อีกเป็น 2 ส่วน คือ Sympathetic nervous System และ Parasympathetic nervous System ทั้ง 2 พวกนี้ทำงานตรงกันข้ามถ่วงกันอยู่

1. Sympathetic nervous System ทำให้ร่างกายทำงานมากขึ้น เกิดการ

ตื่นตัว เตรียมพร้อม ชีพจรและหัวใจเต้นเร็ว ความดันโลหิตสูง ผนังของลำไส้หดตัวน้อยลง ม่านตาขยายกว้าง เหงื่อแตก ขนลุก ระบบนี้ทำให้ร่างกายมีการเปลี่ยนแปลงเพื่อต้อนรับสถานการณ์ที่จะเกิดขึ้น

2. Parasympathetic nervous System ทำให้ร่างกายมีความสงบและร่าง

กายพักผ่อน การย่อยดี ความดันโลหิตต่ำ ระบบนี้ทำให้ร่างกายอยู่ในความสงบ

รูปที่ 3-8 ระบบประสาทอัตโนมัติ

ที่มา : Roediger.1989 : 50

ตาราง 2 แสดงถึงการตอบสนองของอวัยวะที่ถูกกระตุ้นโดยซิมพาเตติคและพาราซิมพาเตติด

ที่มา : สงคราม เชาวน์ศิลป์. 2535 : 52

อวัยวะ

การตอบสนองเนื่องจาก

ซิมพาเตติค

การตอบสนองเนื่องจาก

พาราซิมพาเตติค

หัวใจ

เต้นเร็วขึ้น

เต้นช้าลง

เส้นโลหิต

ตีบ

มีอิทธิพลน้อย

หลอดลม

ขยายขึ้น

ตีบลง

รูม่านตา

ขยายขึ้น

หรี่ลง

ขนที่ผิวหนัง

ขนตั้งชัน

มีอิทธิพลน้อย

ต่อมเหงื่อ

ขับเหงื่อ

มีอิทธิพลน้อย

ต่อมน้ำตา

หลั่งน้ำตา

หลั่งน้ำตา

ต่อมน้ำลาย

น้ำลายเหนียวถูกขับออกมา

น้ำลายใสถูกขับออกมา

ตับ

ปล่อยน้ำตาลสู่เลือด

ไม่มีอิทธิพล

กระเพาะอาหาร

ไม่หลั่งน้ำย่อยหรือไม่บีบตัว

หลั่งน้ำย่อยบีบตัว

ลำใส้เล็ก

หักห้ามการทำงาน

เร่งการทำงาน

ทวารหนัก

หักห้ามการขับถ่าย

ปล่อยอุจาระ

กระเพาะปัสสาวะ

หักห้ามการขับถ่าย

ปล่อยปัสสาวะ

อวัยวะเพศ(ชาย)

หลั่งน้ำกาม

ทรงตัวแข็งขึ้น

ต่อมหมวกไต

ขับฮอร์โมน

ไม่มีอิทธิพล

1. Case Study เป็นการศึกษาในลักษณะรายบุคคลโดยเลือกผู้ที่ได้รับอุบัติเหตุที่

กระทบกระเทือนสมองมาศึกษาเพื่อดูว่ามีพฤติกรรมอะไรที่เปลี่ยนแปลงไปบ้าง เช่น กรณีชายคนหนึ่งได้รับอุบัติเหตุจากการฟันดาบ ถูกปลายดาบแทงเข้าไปในรูจมูกทางด้านขวา ทะลุเข้าไปในสมองบริเวณ Thalamus ทำให้เขาสูญเสียภาวะรู้สำนึก (consciousness) ชั่วคราวและเป็นอัมพาตชั่วคราว ต่อมาอีก 20 ปีเขาสามารถพูดสนทนาได้ตามปกติ แต่ก็ยังมีอีกหลายอย่างที่ยังบกพร่อง เช่น เขามักจะลืมในสิ่งที่เขาทำ เขาจำคนที่มาเยี่ยมไม่ได้ เขาลืมว่าอาหารเก็บไว้ในตู้เย็นเลยต้องออกไปรับประทานอาหารนอกบ้าน เขาลืมที่จะรับการบำบัดรักษา จะเห็นว่าสมองของเขาที่ได้รับการกระทบกระเทือนนั้น มีผลกระทบต่อสิ่งต่าง ๆ ทั้งหมดในชีวิตของเขา

2. Lesion Production คือการทำลายบางส่วนของสมอง มักจะทำในห้องปฏิบัติการ

โดยทดลองกับสัตว์เพื่อที่จะเป็นเครื่องยืนยันข้อสงสัยเกี่ยวกับหน้าที่ของสมองบริเวณที่ถูกทำลายนั้น โดยสังเกตดูจากพฤติกรรมที่เปลี่ยนไป

3. Brain Stimulation คือการศึกษาการทำงานของสมองโดยอาศัยกระแสไฟฟ้า

กระตุ้นบริเวณสมองที่ต้องการศึกษา

4. Brain Recording คือการวัดคลื่นสมองโดยใช้วิธีที่เรียกว่า EEG

(Electroencephalography) โดยนำแท่งตัวนำไฟฟ้าไปแตะที่หนังศีรษะ คลื่นสมองในลักษณะของกระแสไฟฟ้าจะวิ่งมายังแท่งตัวนำไฟฟ้า แล้วถูกบันทึกลงในกระดาษในลักษณะกราฟแสดงการทำงานของคลื่นสมอง วิธีนี้เป็นทางหนึ่งที่ช่วยในการวินิจฉัยอาการเจ็บป่วยทางสมอง

5. Imaging Techniques เป็นเทคนิคที่ใช้คอมพิวเตอร์เข้ามาช่วยสร้างภาพเกี่ยวกับ

สมอง เทคนิคนี้มีคุณค่ามากในการช่วยวินิจฉัยสมองที่ได้รับความกระทบกระเทือนหรือได้รับบาดแผล วิธีการที่รู้จักกันดีที่ใช้เทคนิคนี้มี 3 วิธี คือ CT Scan, PET Scan และ MRI

CT Scan ย่อมาจาก Computed Tomography เป็นการถ่ายภาพ X-ray ใน

หลาย ๆ มุม ตั้งแต่ส่วนบนลงมาสู่ส่วนล่างของสมอง ภาพแรกเป็นลักษณะ สไลด์หรือภาพถ่ายตัดขวาง ภาพที่สองเป็นภาพถ่ายในแนวตรงกันข้าม หลังจากนั้นอาศัยเทคนิคทางคอมพิวเตอร์รวมภาพทั้งสองเข้าด้วยกัน ได้ภาพ 2 มิติเป็นภาพตัดขวางของสมองที่ถูกสร้างขึ้นบนจอ สามารถเห็นได้ทุกระดับและทุกมุมตามต้องการ ภาพถ่ายสมองที่ได้จึงมีความชัดเจนเหมือนจริง

PET Scan ย่อมาจาก Positron Emission Tomography คือการฉีดสารกำมันภาพรังสีเพียงเล็กน้อยเข้าไปในเส้นเลือด หลังจากนั้นสารกำมันภาพรังสีจะถูกนำเข้าไปยังสมองไปสะสมเป็นการชั่วคราวบริเวณสมองขณะที่กำลังทำหน้าที่อยู่ เมื่อฉาย X-ray ไปที่สมองจะเห็นเป็นสีสว่าง ซึ่งเป็นบริเวณที่สารกำมันภาพรังสีสะสมบริเวณที่สมองทำงานอยู่

MRI ย่อมาจาก Magnetic Resonance Imaging บันทึกภาพโดยใช้สนามแม่เหล็กความเข้มสูง แต่ไม่อันตรายผ่านศรีษะคนไข้อะตอมของไฮโดรเจนในโมเลกุลของน้ำจะเรียงตัวกันเป็นระเบียบ เมื่อปล่อยคลื่นวิทยุเข้าไปรบกวนอะตอมเหล่านี้มันจะเรรวนไม่เป็นระเบียบ พอหยุดคลื่นอะตอมจะกลับมาเรียนตัวอีก การเปลี่ยนแปลงนี้ อะตอมจะปล่อยคลื่นสัญญาณที่เป็นเอกลักษณ์ออกมา สัญญาณนี้ถูกป้อนเข้าเครื่องคอมพิวเตอร์แปลงเป็นภาพตัดขวางของสมองบนจอ เป็นเทคนิคที่มีประโยชน์มากในการตรวจรักษาผู้ป่วยที่สมองได้รับการฟกช้ำ

การได้รับบาดเจ็บที่สมอง (Brain injury) คือการที่สมองได้รับบาดเจ็บ เช่น จากอุบัติเหตุ จากการเล่นกีฬา และจากการที่ทำให้สมองได้รับการกระทบกระเทือน อุบัติเหตุที่ทำให้สมองได้รับบาดเจ็บที่พบมาก คือ การถูกตีที่สมอง ถ้ารุนแรงมากอาจทำให้ผู้ถูกตีเสียชีวิต ถ้าไม่เสียชีวิตก็อาจเป็นอัมพาต สูญเสียความจำหรือการมองเห็น ขึ้นอยู่ว่าสมองส่วนไหนได้รับความกระทบกระเทือน

โรคพาร์คินสัน (Parkinson Disease) โรคนี้สันนิษฐานว่าเกิดจากหลายสาเหตุด้วยกัน เช่น อาจเกิดจากเซลล์ประสาทบริเวณก้านสมองและเรติคิวลาฟอร์เมชั่นถูกทำลายหรือเป็นโรค หรืออาจเกิดจาก การกินอาหารอาหารมากเกินไปหรือน้อยเกินไป หรือสารบางชนิดที่สะสมในสมอง เช่น ยาฆ่าแมลงจำพวก ดีดีที สารโลหะหนักจำพวกอลูมิเนียม ผู้ป่วยจะมีอาการสั่นของกล้ามเนื้อ พฤติกรรมการเคลื่อนไหวไม่เป็นระเบียบ มีความยากลำบากในการเดิน

ตัวอย่างของผู้ที่เป็นโรคนี้ ได้แก่ นักมวยชื่อดัง โมฮาหมัด อาลี แชมป์โลกรุ่น เฮฟวี่เวทที่เป็นที่รู้จักกันดี ในปี ค.ศ. 1992 มีรายงานวิจัยว่าการฉีดสารโดพามีน (Dopamine) ที่ได้จากทารกที่แท้งออกมาให้ผู้ป่วย 13 คน ฉีดเข้าสมองโดยตรง ผลคือผู้ป่วย 10 ใน 13 คน อาการดีขึ้น แต่ต้องรอดูความก้าวหน้าต่อไป (จิราภา เต็งไตรรัตน์. 2542 : 73)

โรคอัลไซเมอร์ (Alzheimer’s Disease) หรือโรคสมองเสื่อมที่เราได้ยินกับบ่อย ๆ โรคนี้จะทำให้เกิดความเสื่อมถอยทั้งในด้านความคิดและอารมณ์ การเสื่อมถอยจะค่อย ๆ เพิ่มมากขึ้นเมื่อเวลาผ่านไป ในสหรัฐอเมริกาพบว่า 10% ของผู้ที่มีอายุมากกว่า 65 ปี ป่วยเป็นโรคนี้ ในปัจจุบันมีผู้ป่วยเป็นโรคนี้ประมาณ 4 ล้านคนในสหรัฐอเมริกา คาดว่าในปี ค.ศ. 2040 จะมีผู้ป่วยเพิ่มขึ้นเป็น 14 ล้านคน อาการที่เด่นชัดของผู้ป่วยโรคนี้คือ

1. ความจำลดลง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเหตุการณ์ที่เพิ่งทำเสร็จสิ้นลง

2. ทักษะทางภาษาเสื่อมลง เช่น ไม่สามารถหาชื่อที่เหมาะสมของวัตถุสิ่งของธรรมดาได้

3. ความสามารถในการกะระยะลดลง

4. การตอบสนองในงานที่ต้องใช้ความคิดช้าลง

5. มีปัญหาทางอารมณ์ทั้งอารมณ์ซึมเศร้าและฉุนเฉียว มีอาการผิดปกติอื่น ๆ อีก เช่น ประสาทหลอน

คนที่เป็นโรคนี้จะมีสมองส่วนกลางและส่วนหลังเล็กกว่าคนปกติ เนื่องจากเซลล์

ประสาทลดลงอย่างรวดเร็วปัจจุบันยังไม่มีวิธีรักษาได้

คำถามท้ายบท

1. ให้วาดภาพระบบประสาท (neuron) ว่าประกอบด้วยอะไรบ้าง

2. ให้เขียนโครงสร้างของระบบประสาท (nervous system) โดยจัดเป็นแผนภาพ (diagram) ตามชื่อที่กำหนดให้ดังนี้ autonomic division, central nervous system, sympathetic system, brain, peripheral nervous system, spinal cord, somatic division, parasympathetic system และเขียนให้ nervous system อยู่บนสุดของ diagram

3. สมมุติว่านักวิทยาศาสตร์ทางสมองต้องการรู้กระบวนการของสมองเกี่ยวกับการกระตุ้นทางการฟังเสียง จากรายการศึกษาเกี่ยวกับวิธีวิจัยเกี่ยวกับสมองในบทเรียนที่กล่าวมาลองเดาซิว่าวิธีไหนจะสามารถให้ข้อมูลเกี่ยวกับการได้ยินเสียงได้

4. ให้เขียนภาพ diagram ของสมองซึ่งประกอบด้วย forebrain, midbrain และ hindbrain และใช้ปากกาต่างสีกันเขียนอธิบายสั้น ๆ เกี่ยวกับหน้าที่ของสมองแต่ละส่วน พยายามสังเกตว่าโครงสร้างส่วนไหนที่ทำหน้าที่เหมือนกันและดูภาพรวมว่าสมองแต่ละส่วนทำหน้าที่แตกต่างกันอย่างไร

5. ให้อธิบายลักษณะโดยทั่วไปของผู้ป่วยที่เป็นโรคอัลไซเมอร์ว่ามีลักษณะอย่างไร

6. จงอธิบายว่ากล้ามเนื้อมีกี่ชนิด และแต่ละชนิดเป็นส่วนประกอบที่สำคัญส่วนใดของร่างกาย?

7. จงอธิบายว่าที่ตั้งสำคัญของต่อมไร้ท่ออยู่บริเวณใดของร่างกายและต่อมเหล่านี้ผลิตฮอร์โมนอะไรและฮอร์โมนเหล่านี้มีความสำคัญอย่างไร?

8. จงอธิบายว่าระบบประสาทของมนุษย์มีกี่ระบบ แต่ละระบบมีบทบาทหน้าที่สำคัญอย่างไรบ้าง?

9. จงอธิบายว่าความผิดปกติทางสมองมีกี่ประเภทและแต่ละประเภทมีสเหตุจากอะไร?

10. สมองส่วนใดที่มีอิทธิพลต่อการพัฒนาความคิดและสติปัญญาของมนุษย์?

เอกสารอ้างอิง

1. จิราภา เต็งไตรรัตน์. (2542) จิตวิทยาทั่วไป. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรม

ศาสตร์.

2. ไพบูลย์ เทวรักษ์. (2537) จิตวิทยาศึกษาพฤติกรรมภายนอกและภายใน. กรุงเทพฯ :

เอส.ดี.เพรส.

3. สงคราม เชาวน์ศิลป์.(2535) จิตวิทยาทั่วไป. เชียงใหม่ : มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

4. Bernstein. D. A. (1999) Essentials of Psychology. Boston : Houghton Mifflin

Company.

5. Halonen. J. S. and Santrock. J. W. (1996) Psychology. (2nded.) Boston : The

McGraw-Hill Companies,Inc.

6. Matlin. M. W. (1995) Psychology. (2nded.) : Holt Rinehart and Winston, Inc.

พื้นฐานชีวภาพของพฤติกรรม

� EMBED Photoshop.Image.5 \s ���

3.1 เซลล์ประสาท (neuron)

� EMBED Photoshop.Image.5 \s ���

� EMBED Photoshop.Image.5 \s ���

� EMBED Photoshop.Image.5 \s ���

� EMBED Photoshop.Image.5 \s ���

วิธีการศึกษาสมองมนุษย์

ความผิดปกติเกี่ยวกับสมอง (Brain disorders)

_1074875424.psd
_1074876607.psd
_1075469959.psd
_1074875840.psd
_1074866168.psd

Recommended