Transcript
Page 1: จาก “พิมพ์เขียวการศึกษาเทศบาลนครภูเก็ต” สู่ “แผนพัฒนา ...apps.qlf.or.th/member/UploadedFiles/prefix-16052559-113500-6Jr11q.pdf ·

เมื่อวันที่25-27เมษายน2559ที่โรงแรมภูเก็ตเมอร์ลินจ.ภูเก็ต

เทศบาลนครภูเก็ตร่วมกับสำนักงานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และ

คุณภาพเยาวชน (สสค.) และธนาคารโลก จัดการประชุมเชิงปฏิบัติ

การเพื่อออกแบบพิมพ์เขียวการศึกษาเทศบาลนครภูเก็ต (Phuket

City’s Education Blueprint Design Lab) โดยมีประชาชนในพื้นที่

ตัวแทนจากภาครัฐและเอกชนเข้าร่วมมากกว่า150คน วัตถุประสงค์

เพื่อนำข้อมูลด้านการศึกษาในสถานศึกษาของโรงเรียนและหน่วย

จัดการศึกษาในสังกัดเทศบาลนครภูเก็ตมากำหนดแผนพัฒนาการ

ศึกษาของเทศบาลในอีก4ปีข้างหน้า(2560-2563)

กิจกรรมในวันแรกเป็นการนำเสนอข้อมูลสถานการณ์การศึกษา

ของโรงเรียนในสังกัดเทศบาลนครภูเก็ตทั้ง 7 แห่งว่าสถานการณ์

ปัจจุบันเป็นอย่างไร มีความโดดเด่นหรือต้องยกระดับด้านใดบ้าง

ก่อนที ่จะช่วยกัน “ฝัน” ถึงอนาคตว่าจากสถานการณ์ปัจจุบัน

การศึกษาของเทศบาลนครภูเก็ตในอีก 4 ปีข้างหน้าจะเปลี่ยนแปลง

ไปในทางที่ดีขึ้นอย่างไร ใครต้องมีส่วนช่วยอย่างไรบ้างซึ่ง “ใคร”ที่

ว่านี้หมายรวมทุกคนในเทศบาลนครภูเก็ตไม่เฉพาะครูและผู้บริหาร

โรงเรียนเท่านั ้น กิจกรรมในวันที ่สองเป็นการช่วยกันคิดต่อถึง

ยุทธศาสตร์และแผนกิจกรรมว่าจะทำให้ “ฝัน” นั้นป็นจริงได้อย่างไร

กิจกรรมวันสุดท้ายจึงเป็นการนำเสนอร่างแผนงานและ “ให้

ข้อสังเกต” โดยผู้ทรงคุณวุฒิซึ ่งได้รับเกียรติจาก ศ.นพ.วิจารณ์

พานิช นายบัณฑูร ทองตัน ประธานสภาการศึกษาจังหวัดภูเก็ต

และนายสมหมาย ปาริจฉัตต์ รองประธาน บมจ.มติชน จากนั้น

จึงเป็นการปรับปรุงแผนขั้นสุดท้ายก่อนส่งมอบให้สำนักวิชาการและ

จาก “พิมพ์เขียวการศึกษาเทศบาลนครภูเก็ต” สู่ “แผนพัฒนาการศึกษาจังหวัดภูเก็ต” พัฒนะพงษ์ สุขมะดัน

แผนบรรจุเข้าไว้ในแผนของเทศบาลเพื่อจัดทำแผนงบประมาณต่อไป

จุดเริ่มต้นของการจัดทำ Blueprint ดังกล่าวเริ่มจากคณะผู้วิจัย

มหาวิทยาลัยนเรศวรและ สสค. ศึกษาวิธีการจัดทำ School Report

Card ของประเทศสหรัฐอเมริกาซึ่งมีการเปรียบเทียบผลการดำเนิน

งานของแต่ละโรงเรียนกับเขตพื้นที่และประเทศ และวิธีการเปรียบ

เทียบผลการดำเนินงานของโรงเรียนในปีปัจจุบันเปรียบเทียบกับปี

ที่ผ่านมาของประเทศบราซิลซึ่งนับเป็นประเทศที่มีการพัฒนาด้าน

การศึกษาแบบก้าวกระโดดด้วยการใช้ข้อมูลสารสนเทศวางแผนการ

ศึกษาในระยะยาวจากนั้นคณะวิจัยจึงนำแนวทางดังกล่าวมาพัฒนา

เป็น“ชุดข้อมูล”และ“ระบบหลักประกันโอกาสทางการศึกษา”ให้

เป็นระบบข้อมูลที่มีการทำงานในระดับห้องเรียนที่มีการจัดเก็บข้อมูล

อย่างต่อเนื่อง เป็นเครื่องมือจัดการศึกษาของครูและผู้บริหารสถาน

ศึกษา โดยทำงานร่วมกับเทศบาลนครภูเก็ตและโรงเรียนในสังกัด

เทศบาลทั้ง 7 แห่งตลอดปีการศึกษา 2558 ความพยายามทำงาน

ร่วมกันในวันนั้นกลายมาเป็นข้อมูลตั้งต้นของ “การมีส่วนร่วม” ใน

การออกแบบพิมพ์เขียวการศึกษาเทศบาลนครภูเก็ตในระยะ 4 ปี ที่

ไม่ได้เป็นการทำแผนที่เกิดจากการ “ฝัน” ลอยๆ ดังนั้นการจัดทำ

พิมพ์เขียวด้านการศึกษาของเทศบาลนครภูเก็ตในครั้งนี้จึงถือเป็น

จุดเร่ิมต้นท่ีดีในการผลักดัน“การวางแผนพัฒนาการศึกษาบนพ้ืนฐาน

ของข้อมูล” หรือ Evidence-based Educational Planning สำหรับ

ประเทศไทยในอนาคต

ในช่วงท้ายของงานมีการทำพิธีลงนามความร่วมมือระหว่าง

โรงเรียนในสังกัดเทศบาลนครภูเก็ตเพื่อร่วมเปิดข้อมูลสารสนเทศ

จั ง ห วั ด ป ฏิ รู ป ก า ร เ รี ย น รู้

เด่นในฉบับ.. • ข้อมูลสำหรับการจัดทำพิมพ์เขียวการศึก

ษา

เทศบาลนครภูเก็ต

• มุมมองสื่อกับการจัดทำพิมพ์เขียวการศึกษาภูเก็ต

• ติดตามความเคลื่อนไหวของจังหวัดปฏิรูปการเรียนรู้ที่

ABENetwork’sCorner

ฉบับที่

อ่านต่อหน้า4

วันที่ 16 พฤษภาคม 2559 22

Page 2: จาก “พิมพ์เขียวการศึกษาเทศบาลนครภูเก็ต” สู่ “แผนพัฒนา ...apps.qlf.or.th/member/UploadedFiles/prefix-16052559-113500-6Jr11q.pdf ·

2

ระบบหลักประกันโอกาสทางการศึกษาที ่ใช ้ในการจัดทำ

พิมพ์เขียวทางการศึกษาของเทศบาลนครภูเก็ต (Phuket Education

BlueprintWorkshop)เป็นระบบที่สนับสนุนการจัดเก็บข้อมูลการเรียน

การสอนในห้องเรียน ข้อมูลงานวิชาการ ข้อมูลทะเบียนนักเรียน

งบประมาณ และข้อมูลบุคลากร ซึ่งข้อมูลเหล่านี้ถูกนำมาวิเคราะห์

จัดทำตัวชี้วัดด้านการศึกษา 3 ด้านในรายงานการดำเนินงานของ

โรงเรียน ได้แก่ (1) ตัวชี้วัดด้านโอกาส ได้แก่ จำนวนนักเรียน

ลงทะเบียนต่อประชากรในเขตพื้นที่ จำนวนนักเรียนพิการ จำนวน

นักเรียนยากจน(2)ตัวชี้วัดด้านคุณภาพ ได้แก่ร้อยละการเข้าเรียน

ของนักเรียนร้อยละนักเรียนที่ติด0/ร./มส.ผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษา

ใน 8 กลุ่มสาระ ผลการทดสอบ O-NET นักเรียนที่มีผลการเรียน

ต่ำกว่า 2.00 หรือติดวิทยาทัณฑ์ นักเรียนที่เกรดเฉลี่ยมากกว่า 3.00

และ (3)ตัวชี้วัดด้านประสิทธิภาพ ได้แก่ อัตราส่วนครูต่อนักเรียน

สัดส่วนค่าใช้จ่ายในการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนเทียบกับงบประมาณ

ของโรงเรียน ซึ่งข้อมูลตัวชี้วัดเหล่านี้ถูกนำมาใช้ในการตั้งเป้าหมาย

ในการพัฒนาโรงเรียน อาทิ อัตราการเข้าเรียนของนักเรียนต้อง

ไม่ต่ำกว่า 99% คุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนทุกคน

มากกว่า90%ขึ้นไป

ในระหว่างการจัดเตรียมข้อมูลเพื ่อออกแบบพิมพ์เขียวด้าน

การศึกษาของเทศบาลนครภูเก็ตนั้น คณะวิจัยพบว่าข้อมูลบางด้าน

ในระบบนั้นเมื่อรวบรวมมาจัดทำเอกสารประกอบการทำแผนการ

ศึกษามีความไม่ถูกต้องอาทิข้อมูลบุคลากรและข้อมูลงบประมาณ

พัฒนาคน... พัฒนางาน

ดร.วรลักษณ์ คงเด่นฟ้า

ข้อมูลสำหรับการจัดทำพิมพ์เขียว การศึกษาเทศบาลนครภูเก็ต

ทั ้งนี ้เนื ่องจากการดำเนินงานของโครงการที ่ผ่านมานั ้นมีการใช้

ประโยชน์จากระบบเพียงข้อมูลการเรียนการสอนเท่านั้น เช่น การ

ส่งต่อข้อมูลการจัดการการเรียนการสอนระหว่างครูวิชาการและ

ครูผู้สอน การจัดทำสมุดพกนักเรียนเพื่อให้แก่นักเรียนและผู้ปกครอง

ซึ่งการใช้ประโยชน์ข้อมูลเหล่านี้จากระบบจะช่วยให้เกิดการตรวจ

สอบความถูกต้องของข้อมูลโดยภาคีต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง อาทิ ครูใน

ฝ่ายต่างๆ นักเรียน และผู้ปกครอง แต่ข้อมูลบุคลากรและข้อมูล

งบประมาณนั้นยังไม่มีการนำไปใช้ประโยชน์ทำให้ไม่มีการตรวจสอบ

ความถูกต้องมาก่อน ดังนั้น ข้อมูลที่จัดเก็บในระบบฐานข้อมูลต่างๆ

นั้นจะมีความถูกต้องได้ก็ต่อเมื่อมีผู้นำข้อมูลไปใช้ประโยชน์ ซึ่งจะ

ทำให้ผู้นำเข้าข้อมูลมีความระมัดระวังมากยิ่งขึ้น

ในการทำ MOU ประกอบการจัดทำพิมพ์เขียวของเทศบาลนคร

ภูเก็ตผู้บริหารสถานศึกษาหลายท่านให้ความเห็นว่าข้อมูลตัวชี้วัด

เรื่อง ผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษา นั้นไม่สามารถนำมาเปรียบเทียบ

ระหว่างโรงเรียนได้ เนื่องจากมาตรฐานการให้คะแนนและการตัด

เกรดของครูแต่ละโรงเรียนนั้นต่างกัน ซึ่งการขาดมาตรฐานกลาง

ดังกล่าวส่งผลให้ตัวชี้วัดที่มีพื้นฐานอยู่บนเรื่องของผลสัมฤทธิ์ทางการ

ศึกษาอาทินักเรียนที่มีผลการเรียนต่ำกว่า2.00หรือติดวิทยาทัณฑ์

นักเรียนที่เกรดเฉลี่ยมากกว่า 3.00 ร้อยละนักเรียนที่ติด 0/ร./มส.

ไม่สามารถเปรียบเทียบกันระหว่างโรงเรียนได้ ผู้บริหารสถานศึกษา

จึงเสนอแนะให้มีการจัดสอบด้วยข้อสอบกลางต่อไป แต่ที่น่าสังเกต

คือข้อมูลผลสัมฤทธิ์ที่แต่ละโรงเรียนประเมินกันเองนี้เป็นส่วนหนึ่งของ

เกณฑ์การศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษาของประเทศไทย ซึ่งข้อเสนอ

เหล่านี ้นับเป็นข้อมูลความรู ้ที ่จะนำมาพัฒนาระบบสารสนเทศนี้

ต่อไป

Page 3: จาก “พิมพ์เขียวการศึกษาเทศบาลนครภูเก็ต” สู่ “แผนพัฒนา ...apps.qlf.or.th/member/UploadedFiles/prefix-16052559-113500-6Jr11q.pdf ·

เทศบาลนครภูเก็ตเดินหน้าจัดทำพิมพ์เขียว

การศึกษานครภูเก็ตที่แรกของประเทศ ชี้วางแผน

บนฐานข้อมูล ป้องกันการมโน นักวิชาการ

เวิร์ลด แบงค์ยก “เวียดนาม” ใช้ระบบสารสนเทศ

ไต่ระดับพีซาสู่ลำดับ 17 ขณะเด็กประถมไทย

ร้อยละ 56 ขาดครูเฉลี่ยไม่ถึง 1 คน/ห้อง เพราะ

ขาดระบบจัดการข้อมูล พร้อมลงนามความร่วมมือ

โรงเรียนเทศบาลนครภูเก็ตเปิดข้อมูลแก้ปัญหา

ความเหลื่อมล้ำ

พาดหัวข่าวข้างต้นคงพอได้เห็นกันบ้างแล้วตามหน้า

ข่าว“การจัดทำพิมพ์เขียวการศึกษาของเทศบาลนครภูเก็ต”ซึ่ง

ร่วมกับสสค.และธนาคารโลก เมื่อวันที่ 25-27 เมษายน2559

ณ โรงแรมภูเก็ตเมอร์ลิน จังหวัดภูเก็ต เนื้อข่าวคงขอให้ติดตาม

อ่านตามหน้าหนังสือพิมพ์ต่างๆ แต่ที ่อยากนำมาฝากกันใน

คอลัมน์นี ้ เป็นอีกหนึ ่งบรรยากาศของสื ่อมวลชนที ่สะท้อน

ความเห็นในการทำพิมพ์เขียวการศึกษาของเทศบาลนครภูเก็ต

ซึ่งนายสมหมาย ปาริจฉัตต์ รองประธาน

กรรมการ บมจ.มติชน ให้ข ้อคิดเห็นที ่

น่าสนใจไว้3ประเด็นคือ(1)กระบวนการ

จัดทำพิมพ์เขียว (2) สาระของพิมพ์เขียว

และ (3) การขับเคลื่อนพิมพ์เขียวที่จะจัด

ลำดับความสำคัญอย่างไรที ่เป็นการคิดใหญ่

ทำย่อยแต่ลึก

“ประเด็นแรกกระบวนการทำพิมพ์เขียวใช้กระบวนการ

ส่วนร่วมใช้แนวทางการจัดการศึกษาเชิงพื้นที่ให้เด็กเยาวชน

ได้มาร่วมแสดงออก เป็นการทำงานแนวราบในขณะที่วัฒนธรรม

แนวดิ่งดำรงอยู่ จังหวัดเชียงใหม่ใช้เวลา 2 ปีในการจัดทำแผน

แต่ภูเก็ตใช้วิธีเรียนลัด ในกระบวนการจัดทำพิมพ์เขียวนายก

เทศมนตรีและรองนายกเทศมนตรีอยู ่ร่วมตลอด ร่วมทำงาน

พร้อมผู้บริหารโรงเรียน เป็นสิ่งที่น่าชื่นชม

ประเด็นสองสาระเนื้อหาเริ่มต้นจากข้อมูลที่เป็นความจริง

ซึ่งถือว่าถูกต้องที่คลี่ข้อมูลทั้งระดับบุคคล โรงเรียน เทศบาล

เกิดการสื ่อสารสาธารณะ ทำให้การประชาสัมพันธ์ถูกต้อง

เกิดการจัดการข้อมูลข่าวสารที่ถูกต้อง จุดเน้นของวิสัยทัศน์

พิมพ์เขียวที ่เริ ่มด้วยความดี เด็กดีมีคุณธรรม เป็นตัวนำที ่

สอดคล้องกับวิกฤติของสังคม วิสัยทัศน์ที ่ทำขึ ้นครบถ้วน

มุมมองสื่อกับการจัดทำพิมพ์เขียวการศึกษาภูเก็ต

3

กนกวรรณ กลินณศักดิ์ นักวิชาการสื่อสาร สสค.

รณรงค์สื่อสาร จังหวัดปฏิรูปการเรียนรู้

กว้างขวางเกิดจากการมีส่วนร่วม ทุกกลุ่มให้น้ำหนักไปที่ครูซึ่ง

ตนเชื่อมั่นว่าเป็นคานงัดสำคัญ ถ้าเรามีฐานข้อมูลครู เด็กที่

ชัดเจนจะทำให้งานมีความสำเร็จได้ มาตรการที ่อยากเห็น

คือกระบวนการที่จะนำมาปลุกจิตวิญญาณความเป็นครูจะทำ

อย่างไร เป็นกระบวนการที ่ช ัดเจน เปลี ่ยนครูอำนาจเป็น

ครูอำนวยเราจะมีกระบวนการอย่างไรเปลี่ยนพฤติกรรมครูให้

เป็นแบบนี้ ให้พื้นที่แห่งความกลัวเป็นพื้นที่แห่งความรัก มีการ

พูดถึงวิชาโครงงานเป็นเครื่องมือ หวังยิ่งว่ากระบวนการนี้จะ

เป็นการพัฒนาครูและสร้างการเรียนรู้เด็กได้เป็นอย่างดี เป็นไป

ได้ไหมกระบวนการเพาะพันธุ์ปัญญาจะนำมาใช้กับครูโรงเรียน

เทศบาลทั้งหมด หรือครูสอนคิด หรือ model พัฒนาครูอื่นๆ ให้

ครูมีคุณธรรมจริยธรรม

ประเด็นที่สามกระบวนการขับเคลื่อน การสร้างเครือข่ายอยู่

ในระดับน่าภูมิใจ ฐานข้อมูลภูมิปัญญาชาวบ้านถ้ามีควรเติม

เข้าไป มีเวทีแสดงผลงานระยะ 1 ปีให้เห็นว่ามีความก้าวหน้า

เพียงใด หลักสูตรท้องถิ่น สถานศึกษาที่บูรณาการทุกกลุ่มสาระ

หวังว่าภูเก็ตจะเป็นสิงคโปร์ให้ได้ ด้วยขนาดพื้นที ่พอๆ กัน

แต่อาจจะลำบากสักหน่อยเพราะฐานงบประมาณและรายได้

จังหวัดถูกสูบเข้าส่วนกลางเกือบทั้งหมด”

ทั้งหมดนี้เป็นมุมมองของสื่อมวลชนอาวุโสที่คลุกคลีอยู่ใน

วงการศึกษาไทยมานับสิบปีร่วมสะท้อนการทำงานการศึกษา

ของเทศบาลนครภูเก็ตได้อย่างน่าสนใจ ส่วนผลลัพธ์ที่ได้เรียนรู้

อย่างน้อยก็คือ กระบวนการสร้างความเชื่อมั่นให้โรงเรียนใน

สังกัดเทศบาลนครภูเก็ตว่า การสื่อสารสาธารณะที่ถูกต้องจะ

สร้างการมีส่วนร่วมให้คนภูเก็ตเข้ามาช่วยลูกหลานได้อย่าง

โปร่งใส โดยเฉพาะการเปิดเผยข้อมูลสารสนเทศนั้น จะสร้าง

จริยธรรมให้ครูคืนสู่การยอมรับของสังคมได้อย่างเต็มภาคภูมิ

Page 4: จาก “พิมพ์เขียวการศึกษาเทศบาลนครภูเก็ต” สู่ “แผนพัฒนา ...apps.qlf.or.th/member/UploadedFiles/prefix-16052559-113500-6Jr11q.pdf ·

สมัครสมาชิก สสค. ดาวน์โหลดไฟล์จดหมายข่าว “สานปัญญา” ได้ที่ www.QLF.or.th

ติดตามข่าวสาร สสค. ที่ Quality Learning Foundation QLFThailand

แจ้งเปลี่ยนที่อยู่สมาชิก/สอบถาม โทร. 02-6191811

ต่อจาก หน้า 1

ABE Network’s Corner

สุราษฏร์ธานี: 26 เม.ย. 59 สุราษฎร์ธานี ได้ดำเนินการประชุมขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การ

ศึกษาเชิงพื้นที่ จังหวัดสุราษฎร์ธานี พ.ศ. 2559-2563 โดยนายวงศศิริ พรหมชนะ ผู้ว่า

ราชการจังหวัดสุราษฎร์ธานี ร่วมกับนายทนงศักดิ์ ทวีทอง นายกองค์การบริหารส่วน

จังหวัดสุราษฎร์ธานี และผู้ที่เกี่ยวข้องเพื่อให้ข้อเสนอแนะร่างแผนยุทธศาสตร์การศึกษาฯ

และบูรณาการยุทธศาสตร์การศึกษาจ.สุราษฎร์ธานีกับการยุทธศาสตร์การศึกษาเชิงพื้นที่

จ.สุราษฎร์ธานี ไปพร้อมกันกับการขับเคลื่อนสมัชชาการศึกษาจังหวัดสุราษฎร์ธานี ซึ ่ง

ปัจจุบันมีสมาชิกร่วม300คน

ตราด:2-3พ.ค.59ตราดจัดประชุม“แนวทางพัฒนากำลังคนเพื่อรองรับการพัฒนาเขต

เศรษฐกิจพิเศษและการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน” โดยได้รับเกียรติจากดร.กฤษณพงศ์

กีรติกร รองประธานกรรมการ สสค. ลงพื ้นที ่ เร ียนรู ้ก ับดร.ประธาน สุรกิจบวร

รองผู้ว่าราชการจังหวัดตราด และภาคประชาสังคมตราด อาทิ ประธานสภาหอการค้า

ประธานสภาอุตสาหกรรมนายกอบต.พร้อมแลกเปลี่ยนทัศนะการจัดการศึกษาเพื่อสัมมาชีพ

กับนายไพฑูรย์ พราหมณ์เกสร รองผู้ว่าราชการจังหวัดเกาะกง ประเทศกัมพูชาด้วย

สุรินทร์:4พ.ค.59นายอรรถพร สิงหวิชัย ผู้ว่าราชการจังหวัดสุรินทร์ พร้อมนายวินัย

ตรงจิตพิทักษ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดสุรินทร์ จัดประชุมคณะกรรมการการจัดการ

ศึกษาเชิงพื้นที่จังหวัดสุรินทร์ โดยนายไกรศักดิ์ วรทัต ปลัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด

สุรินทร์ ในฐานะเลขานุการ คกก. ได้นำเสนอแผนยุทธศาสตร์ที่เกิดจากการระดมความคิดเห็นจากเวทีสมัชชาการศึกษาตำบล และ

เวทีสมัชชาการศึกษาจังหวัดสุรินทร์เพื่อนำสู่การจัดทำแผนการพัฒนาการศึกษาจังหวัดระหว่างวันที่10-12พ.ค.59

ทางการศึกษาแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำในเด็กเยาวชนภูเก็ตเป็น

ครั้งแรก โดยมีเป้าหมายร่วมใน 2 ระดับ 1) เป้าหมายระหว่าง

โรงเรียนในสังกัดเทศบาลนครภูเก็ต ซึ่งจะมีตัวชี้วัดตามพิมพ์เขียว

การศึกษาเทศบาลนครภูเก็ต และ 2) เป้าหมายเฉพาะของแต่ละ

โรงเรียน อาทิ อัตราการเข้าเรียน เพื่อใช้เป็นข้อตกลงในการจัดการ

ศึกษาเทศบาลนครภูเก็ตของสำนักการศึกษาในปี2560-2563

นางสาวสมใจ สุวรรณศุภพนา นายกเทศมนตรีนครภูเก็ต

ซึ่งอยู่ร่วมกระบวนการทำแผนตลอดทั้ง 3 วันกล่าวสรุปแนวทาง

ความร่วมมือการพัฒนาการศึกษาของเทศบาลนครภูเก็ตใน 3 ด้าน

ได้แก่ 1) ผู้เรียน เน้นสร้างคุณลักษณะพึงประสงค์เป็นคนดี เก่ง

อยู ่ในพื ้นที ่ได้อย่างมีความสุข แข่งขันกับนานาชาติได้ 2) ครู

และบุคลากรการศึกษา เน้นพัฒนาคุณภาพชีวิตครู เพิ ่มโอกาส

ในการเรียนรู้และสิ่งแวดล้อมที่ดีในการสอนและ3)ระบบการศึกษา

เทศบาลนครภูเก็ต เน้นเพิ่มโอกาสเด็กเยาวชนที่ขาดโอกาสให้ได้รับ

การศึกษา เพิ่มคุณภาพและประสิทธิภาพในการศึกษา ผ่านระบบ

สารสนเทศด้านการศึกษาที ่สนับสนุนการวางแผนและติดตาม

การจัดการศึกษาในโรงเรียนเทศบาล ควบคู่กับการสร้างเครือข่าย

ความร่วมมือของภาคประชาสังคม

“ที่ผ่านมาเทศบาลนครภูเก็ตได้ร่วมมือกับมหาวิทยาลัยนเรศวร

และสสค.ในการจัดทำระบบข้อมูลสารสนเทศทางการศึกษา เพื่อเป็น

กลไกสนับสนุนการวางแผนของเทศบาลที่จะช่วยเอ็กซเรย์เด็กเป็น

รายบุคคล ลดเวลาการทำงานของครูด้านงานเอกสารและเพิ ่ม

ประสิทธิภาพในการทำงาน ระบบฐานข้อมูลเหล่านี้จะถูกสนับสนุน

ข้อมูลพื้นฐานและสถานการณ์เพื่อร่วมออกแบบพิมพ์เขียวการศึกษา

นครภูเก็ตร่วมกัน”

นายบัณฑูร ทองตัน ประธานสภาการศึกษาจังหวัดภูเก็ต

กล่าวในตอนท้ายถึงการทำงานร่วมกันของสภาการศึกษาฯ กับ

เทศบาลนครภูเก็ตว่ามีการทำงานร่วมกันด้วยดีเสมอมาและแนวทาง

ของเทศบาลนครภูเก็ตในวันนี้จะมีการนำไปขยายผลกับโรงเรียนอื่น

ในจังหวัดภูเก็ตรวมถึงแผนพัฒนาการศึกษาจังหวัดที่สภาการศึกษา

กำลังดำเนินการเพื่อสนับสนุน กศจ.และผู้ว่าราชการจังหวัดอยู่ใน

ขณะนี้

“ผลงานการทำ Blueprint ของเทศบาลนครภูเก็ตจะขยายไปสู่

โรงเรียนอื ่นในจังหวัดภูเก็ต โดยเฉพาะระบบข้อมูลสารสนเทศ

ที่เทศบาลทำงานจริงจังเห็นผลเป็นรูปธรรม จากความสำเร็จนี้ สภา

การศึกษาจังหวัดภูเก็ตสามารถพัฒนาขยายผลต่อไปได้โดยเฉพาะ

การทำแผนพัฒนาการศึกษาจังหวัด ซึ ่งล่าสุด ผู ้ว ่าจะตั ้งสภา

การศึกษาเป็นหน่วยสนับสนุน กศจ. เพราะเห็นเราทำงานตั้งแต่ต้น

เราจึงเดินหน้างานได้เลย”


Recommended