12

SE-ED...ส ปดาห แห งการรอคอยอย างใจจดใจจ อรอว นท ล กน อยจะล มตาด โลก ค ณแม หลายคน

  • Upload
    others

  • View
    6

  • Download
    0

Embed Size (px)

Citation preview

Page 1: SE-ED...ส ปดาห แห งการรอคอยอย างใจจดใจจ อรอว นท ล กน อยจะล มตาด โลก ค ณแม หลายคน
Page 2: SE-ED...ส ปดาห แห งการรอคอยอย างใจจดใจจ อรอว นท ล กน อยจะล มตาด โลก ค ณแม หลายคน

ISBN 978-974-04-6632-1 พิมพ์ครั้งที่ 1 มีนาคม 2551 จำนวนพิมพ ์3,000 เล่ม

ราคา 295 บาท

สงวนลิขสิทธิ์เรื่องและภาพโดย © บริษัท สำนักพิมพ์แสงแดด จำกัด ห้ามลอกเลียนหรือนำภาพไปใช้ไม่ว่าส่วนใดส่วนหนึ่งของหนังสือ นอกจากได้รับอนุญาต

คณะผู้จัดทำ

ประธานบริษัท ทวีทอง หงษ์วิวัฒน์ กรรมการผู้จัดการ นิดดา หงษ์วิวัฒน์ รองกรรมการผู้จัดการ จิรนันท์ ทับเนียม ผู้จัดการทั่วไป น่าน หงษ์วิวัฒน์ ผู้จัดการฝ่ายผลิต จิรนันท์ ทับเนียม ผู้จัดการฝ่ายการตลาด ปราณี พงษ์พันธ์

บรรณาธิการสำนักพิมพ์ น่าน หงษ์วิวัฒน์ บรรณาธิการอาหาร อบเชย อิ่มสบาย บรรณาธิการชุดหนังสือ นลิน คูอมรพัฒนะ

บรรณาธิการ นลิน คูอมรพัฒนะ ผู้ช่วยบรรณาธิการ บุปผา กิตติกุล กองบรรณาธิการ เยาวภา ขวัญดุษฎี, ศิริลักษณ์ รอตยันต์, ใหม่ หงษ์ทับ บรรณาธิการศิลป ์สามารถ สุดโต ผู้ช่วยบรรณาธิการศิลป ์พิณศักดิ์ แก้วใหญ่

ศิลปกรรม นฤมล ทองใบ ภาพประกอบ สุจินต์ บัวเพ็ญ ฝ่ายเตรียมภาพ ทองพูน มาลาศรี, อรุณลักษณ์ เผื่อนพินิจ, ประนอม กรองสี พิสูจน์อักษร วัลยา ทับทิมศรี, ฉลองกรุง แซ่อึ้ง ฝ่ายการตลาด บุญเจริญ หมื่นศรี,

ฉัตรชัย กางมันต์, อภิรักษ์ มีเป้า, นอง ภูสมศรี ฝ่ายการเงิน ชลธิชา อ่วมด้วง, วรรณี หอยโชติ, มลิวรรณ เจนจบ ประชาสัมพันธ ์โศภิษฐ์ อภิวันทนาพร หัวหน้าสายส่ง ชาญชัย พยอม ฝ่ายผลิต นภาการ ขำชัยภูมิ, ยุทธชัย พิมสาลี, กนกวรรณ สอนสุคนธ์

แยกส ีบริษัท สแกนอาร์ต จำกัด โทร. 0-2292-0279-81 พิมพ์ที ่บริษัท พรรณีการพิมพ์ โทร. 0-2803-2352 เจ้าของและจัดจำหน่ายโดย บริษัท สำนักพิมพ์แสงแดด จำกัด

320 ลาดพร้าว 94 (ทาวน์ อิน ทาวน์) แขวง/เขตวังทองหลาง กทม. 10310

สั่งซื้อหนังสือติดต่อฝ่ายการตลาด โทร. 0-2934-4413 ต่อ 101-107 แฟกซ์ 0-2538-1499, 0-2934-4415 e-mail : [email protected]

ติดต่อฝ่ายบรรณาธิการสำนักพิมพ ์โทร. 0-2934-4413 ต่อ 114-115 แฟกซ์ 0-2538-7576 e-mail : [email protected]

เมนูคุณแม่ตั้งครรภ ์

ตัวอย่าง

Page 3: SE-ED...ส ปดาห แห งการรอคอยอย างใจจดใจจ อรอว นท ล กน อยจะล มตาด โลก ค ณแม หลายคน

จากสำนักพิมพ ์ 40 สัปดาห์แห่งการรอคอยอย่างใจจดใจจ่อ รอวันที่ลูกน้อยจะลืมตาดูโลก คุณแม่หลายคน คิดว่าช่วงเวลาแห่งการเลี้ยงเจ้าตัวเล็กจะเริ่มต้นขึ้นก็หลังจากคลอด แท้ที่จริงแล้วคุณแม่สามารถดูแลลูกน้อยได้ตั้งแต่อยู่ในครรภ์ เริ่มตั้งแต่การเปิดเพลงเพราะๆให้ลูกฟัง การพูดคุย สัมผัสอย่างทะนุถนอมเพื่อสร้างสายสัมพันธ์จากแม่สู่ลูก นอกจากสื่อความรักผ่านเสียง และสัมผัสจะช่วยกระตุ้นการรับรู้ของเด็กแล้ว การเลือกกินอาหารที่เสริมโภชนาการให้ลูก ตั้งแต่อยู่ในครรภ์ ยังช่วยเสริมสร้างการเจริญเติบโตให้ลูกตั้งแต่แรกเริ่มอีกด้วย หนังสือ “เมนูคุณแม่ตั้งครรภ์” นี้ เป็นเล่มแรกในหนังสือชุด “Savvy Mommy Menu”

ที่ทีมงานสำนักพิมพ์แสงแดดตั้งใจให้เป็นคู่มือสำหรับคุณแม่ทั้งมือใหม่และ มือโปรที่ต้องการหาเมนูแสนอร่อย ที่นอกจากจะมีสารอาหาร

สำหรับลูกน้อยครบถ้วนแล้ว ยังมีรสชาติถูกปากถูกใจ คุณแม่ที่ ล้ วนอยู่ ในช่ ว ง เจริญอาหาร ทั้งเมนูส้มตำ เมี่ยง จานผัดจานปลา

หลากชนิด ต้มจืด ต้มยำ ขนมหวานชื่นใจ ที่จะช่วยบรรเทาอากา ร เป รี้ ย วป ากของ คุณแม่และบำรุงร่างกายคุณลูกได้เป็นอย่างดี

สำนักพิมพ์แสงแดด มีนาคม 2551

ตัวอย่าง

Page 4: SE-ED...ส ปดาห แห งการรอคอยอย างใจจดใจจ อรอว นท ล กน อยจะล มตาด โลก ค ณแม หลายคน

6 อาหารพลังสด raw cuisine

สารบัญ

ต้ม แกง ต้มยำปลาช่อนสายบัว 107 ต้มกะทิปลาข้าวสาร 109 แกงจืดเห็ดสามกษัตริย์ 111 แกงจืดตังโอ๋ 113 แกงเลียงปลาช่อน 115 แกงปลาดุกกระชาย 117 แกงส้มปลาทูน่ากระป๋อง 119 ซุปมิโสะปลาแซลมอน 121

อาหารจานเดียว ข้าวผัดปลาทูเสวย 123 ข้าวผัดขี้เมาโป๊ะแตก 125 ข้าวกะหรี่ไก่ผัดแห้ง 127 สปาเกตตีคะน้าปลาเค็ม 129 ก๋วยเตี๋ยวต้มยำน้ำข้น 131 ก๋วยเตี๋ยวเย็นตาโฟแห้ง 133 ราดหน้าเกี๊ยวกรอบ 135 ผัดไทยกุ้งสด 137

จากสำนักพิมพ์ 5 อาหารเพื่อสุขภาพขณะตั้งครรภ์ 8

ยำ พล่า ยำมะม่วงกุ้งฟู 59 พล่ากุ้งก้ามกราม 61 ลาบปลาช่อน 63 ลาบปลาตะเพียน 65 ส้มตำผลไม้กุ้งกรอบ 67 ส้มตำปลาหมึก 69 สลัดปูอัดไข่กุ้ง 71

เมี่ยง อาหารว่าง เมี่ยงปูกระทงกรอบ 73 เมี่ยงปลาแมคเคอเรลกระป๋อง 75 เมี่ยงปลาทู 77 ก๋วยเตี๋ยวไส้ปลา 79 เปาะเปี๊ยะสด 81 ถั่วสมุนไพร 83

ผัด ทอด ปลากะพงผัดมะเขือเทศ 85 ปลากะพงผัดเม็ดมะม่วงหิมพานต์ 87 เจี๋ยนปลากะพง 89 ปลาผัดเต้าซี่พริกหวาน 91 ปลาข้าวสารผัดซีอิ๊ว 93 ปลาอินทรีทอดน้ำปลา 95 ปลาแซลมอนซอสเนยกระเทียม 97 ตับทอดกระเทียมพริกไทย 99 ตับสะเต๊ะ 101 ปวยเล้งผัดกุ้ง 103 ไข่เจียวกุ้งดอกโสน 105

ตัวอย่าง

Page 5: SE-ED...ส ปดาห แห งการรอคอยอย างใจจดใจจ อรอว นท ล กน อยจะล มตาด โลก ค ณแม หลายคน

7สารบัญ

ของหวาน ลูกเดือยเปียก 151 บัวลอยน้ำขิง 153 ข้าวบาร์เลย์นมสด 155 น้ำแข็งไสใส่เม็ดแมงลัก 157 ขนมลูกงา 159

นึ่ง อื่นๆ ปลากะพงนึ่งกระเทียม 139 ไก่ย่างสมุนไพร 141 น้ำพริกปลาทู 143 สะเดาน้ำปลาหวานกุ้งย่าง 145 น้ำปลาหวานสดกับยอดสะเดาลนไฟ 147 น้ำพริกขี้กา 149

ตัวอย่าง

Page 6: SE-ED...ส ปดาห แห งการรอคอยอย างใจจดใจจ อรอว นท ล กน อยจะล มตาด โลก ค ณแม หลายคน

ขอแสดงความยินดีกับคุณแม่ตั้งครรภ์ทุกท่าน ท่านเป็นอีกคนหนึ่งที่ได้ประสบความสำเร็จในการทำให้ชีวิตครอบครัวมีความสมบูรณ์ครบถ้วนแล้ว เพราะมีพ่อ มีแม่ แล้วก็กำลังจะมีลูก!

จากความรักของพ่อและแม่ที่หลอมรวมกันจนได้ก่อกำเนิดชีวิตใหม่ขึ้นมา คุณพ่อคุณแม่ทุกคนย่อมจินตนาการไปต่างๆนานาว่าลูกของเราจะมีหน้าตาเป็นอย่างไรบ้าง จะหล่อเหมือนคุณพ่อหรือจะน่ารักเหมือนคุณแม่ จะฉลาด จะแข็งแรงเพียงใด น้ำหนักแรกเกิดของลูกจะหนักเท่าใด รวมทั้งตัวคุณแม่เองจะมีการเปลี่ยนแปลงมากน้อยแค่ไหน จะมีปัญหาอะไรเกิดขึ้นระหว่างตั้งครรภ์นี้หรือไม่

ความคาดหวัง ความกังวลใจเหล่านี้ย่อมเกิดขึ้นกับว่าที่คุณพ่อและว่าที่คุณแม่เกือบ ทุกคน แต่จะเกิดมากหรือน้อยเพียงใดขึ้นกับความรับรู้ที่หลั่งไหลเข้ามาจากแหล่งต่างๆ ไม่ว่า จะได้จากหนังสือ สื่อต่างๆ จากคุณพ่อคุณแม่ของตัวเอง จากคนแก่คนเฒ่า หรือจากเพื่อนๆ ซึ่งอาจจะถูกบ้างผิดบ้าง

ดังนั้น เพื่อให้การตั้งครรภ์ครั้งนี้ดำเนินไปอย่างมีความสุขมากที่สุด มีความกังวลใจน้อยที่สุด และให้กำเนิดลูกน้อยที่สมบูรณ์ที่สุด คุณแม่ตั้งครรภ์ทุกคนจึงควรจะได้รู้สิ่งต่างๆต่อไปนี้ เพื่อนำไปปรับใช้กับตัวเองตลอดการตั้งครรภ์ 40 สัปดาห์ (และยังสามารถให้คำแนะนำที่ถูกต้องกับผู้ตั้งครรภ์คนอื่นๆได้อีกด้วย)

ลูกน้อยในครรภ์เติบโตอย่างไร

จุดเริ่มต้นของชีวิตนับจากวันที่มีการปฏิสนธิจนกระทั่งคลอดออกมาเป็นทารกน้อยนั้น ถ้าเทียบกับเวลาทั้งหมดของชีวิตก็นับว่าเป็นเวลาเพียงน้อยนิด เพราะเป็นช่วงเวลาเพียงเก้าเดือนกว่าเท่านั้นที่อยู่ในครรภ์ของแม่ แต่ก็เป็นช่วงเวลาที่น่าตื่นตาตื่นใจในพัฒนาการของชีวิตของเรา

ช่วงเวลาเก้าเดือนแรกของชีวิตนี้เป็นความลึกลับซับซ้อนน่าฉงนสงสัยยิ่งนัก มนุษย์พยายามหาทางคลี่คลายความสงสัยนี้มาตั้งแต่ครั้งอดีต จวบจนกระทั่งเทคโนโลยีในด้านต่างๆเจริญก้าวหน้ามากขึ้นเป็นลำดับ ปมปริศนาต่างๆจึงได้รับการขานไข เกิดความรู้กระจ่างแจ้ง

ชีวิตใหม่

1

ตัวอย่าง

Page 7: SE-ED...ส ปดาห แห งการรอคอยอย างใจจดใจจ อรอว นท ล กน อยจะล มตาด โลก ค ณแม หลายคน

10 เมนูคุณแม่ตั้งครรภ์

มากมาย เราจึงได้รู้ว่าแต่ละวันที่ผ่านไปลูกน้อยในครรภ์แม่มีการเปลี่ยนแปลงที่น่าสนใจ อยู่ตลอดเวลา

วันที่ 1 แห่งชีวิต ชีวิตใหม่เริ่มต้นขึ้นเมื่อมีการปฏิสนธิ เมื่อตัวอสุจิหนึ่งตัวสามารถเจาะเข้าไปในไข่ได้สำเร็จ สารพันธุกรรม 23 โครโมโซมจากพ่อที่มาพร้อมกับตัวอสุจิจะจับคู่กับ 23 โครโมโซมจากแม่ที่อยู่ ในไข่ใบนั้นทันที ก่อให้เกิดชีวิตใหม่ที่มีสารพันธุกรรมครบ 46 โครโมโซม โครโมโซมเหล่านี้แหละที่เป็นตัวนำลักษณะเฉพาะต่างๆของพ่อและแม่มาผสม ผสาน ก่อเกิดเป็นตัวลูกที่มีสีผม สีของนัยน์ตา หน้าตา ผิวพรรณ ความสูง แตกต่างกันไป ในแต่ละคน เซลล์ไข่ที่ได้รับการปฏิสนธิแล้วนี้ จะเริ่มมีการแบ่งตัวจากหนึ่งเซลล์เป็นสองเซลล์ในวันที่ 2 ของชีวิต

วันที่ 3-5 เซลล์แบ่งตัวเพิ่มขึ้นตลอดเวลาจาก 2 เป็น 4 เป็น 8 ไปเรื่อยๆ ขณะเดียวกัน ก็เริ่มเคลื่อนตัวมาตามท่อนำไข่เข้ามาที่ โพรงมดลูก ซึ่งตอนนี้เยื่อบุโพรงมดลูกก็พร้อม รองรับแล้ว ในวันที่ 6-9 เป็นวันที่กลุ่มเซลล์ที่กำลังแบ่งตัวเพิ่มขึ้นนี้ฝังตัวเข้าไปที่เยื่อบุโพรง มดลูกเพื่อที่จะนำอาหารจากแม่มาเลี้ยงตัวเอง

วันที่ 10-14 กลุ่มเซลล์เริ่มเป็นรูปเป็นร่างของตัวอ่อน รกเริ่มส่งสารเคมีและฮอร์โมน ของการตั้งครรภ์ออกมาทำงาน ทำให้เยื่อบุโพรงไม่หลุดลอกออกมาเป็นเลือดประจำเดือน แม่เริ่มรู้สึกว่าประจำเดือนไม่มา เมื่อตรวจการตั้งครรภ์ก็จะเริ่มให้ผลเป็นบวก

วันที่ 15-20 ตัวอ่อนเริ่มมีการพัฒนาของสมอง ไขสันหลัง และระบบประสาท วันที่ 21-22 หัวใจเริ่มเป็นรูปร่าง และเริ่มบีบตัวเต้นเป็นจังหวะเพื่อสูบฉีดส่งเม็ดเลือด

นำออกซิเจนไปยังส่วนต่างๆของตัวอ่อน วันที่ 23-28 กระดูกสันหลัง กล้ามเนื้อ ตุ่มแขน ขา ตา และหู เริ่มพัฒนาขึ้นมา ขนาด

ของตัวอ่อนในวันที่ 28 ของชีวิต วัดจากหัวถึงก้นยาวประมาณ 4 มิลลิเมตร วันที่ 30 ครบ 1 เดือนของชีวิตเกิดใหม่ ขณะนี้ตัวอ่อนเติบใหญ่อย่างรวดเร็ว มีขนาด

โตเป็นหนึ่งหมื่นเท่าเมื่อเทียบกับขนาด ณ วันแรกที่ไข่มีการปฏิสนธิเกิดขึ้นมา การทำงาน ของหัวใจสามารถสูบฉีดเลือดให้ไหลเวียนไปได้ปริมาณมากขึ้น รกมีความสมบูรณ์มากขึ้น โดยสามารถแบ่งแยกระบบไหลเวียนของเลือดระหว่างแม่กับตัวอ่อนออกจากกัน และยอมให้ แต่เพียงออกซิเจนและอาหารเท่านั้นที่ผ่านจากแม่ถึงลูกได้

วันที่ 31-35 แผ่นมือเริ่มพัฒนาขึ้นและแยกเป็นนิ้วทั้งห้า สีของนัยน์ตาเข้มขึ้น ตุ่มขา เริ่มชัดเจนขึ้น ตัวอ่อนยาว 8 มิลลิเมตรในวันที่ 35

วันที่ 36-42 ขณะนี้ตัวอ่อนจะมีศีรษะใหญ่กว่าลำตัว คลื่นไฟฟ้าในสมองสามารถตรวจพบและบันทึกได้ด้วย สมองเริ่มสั่งงานควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อและอวัยวะต่างๆ ตับจะ ทำหน้าที่ในการผลิตเม็ดเลือดทั้งหมด หูเริ่มปรากฏขึ้นมา ณ วันนี้ คือครบ 2 เดือนที่คุณแม่ รู้ว่าประจำเดือนไม่มา รู้ว่าตั้งครรภ์แน่นอนแล้วล่ะครับ

ตัวอย่าง

Page 8: SE-ED...ส ปดาห แห งการรอคอยอย างใจจดใจจ อรอว นท ล กน อยจะล มตาด โลก ค ณแม หลายคน

อาหารเพื่อสุขภาพขณะตั้งครรภ์

สัปดาห์ที่ 7 (วันที่ 43-49 นั่นเอง) ตัวอ่อนเริ่มมี การเคลื่อนไหวได้เองแล้ว ฟัน เหงือก และกราม เริ่มพัฒนาขึ้นมา เปลือกตาสร้างขึ้นมาและปิดลูกนัยน์ตาไว้ จะลืมตาอีกครั้งตอนเดือนที่ 7 ลักษณะภายนอกของเพศเริ่มต้นขึ้น แต่ยังไม่แยกชายหญิง ลำตัวเริ่มเหยียดตรง ขณะนี้วัดจากหัวถึงก้นได้ 18 มิลลิเมตร

สัปดาห์ที่ 8 (วันที่ 50-56) แขนยาวขึ้น มีการงอข้อศอกได้ นิ้วแยกกันชัดเจน กระเพาะเริ่มมีการหลั่งน้ำย่อย ไตเริ่มทำงาน สมองสั่งงานไปยังกล้ามเนื้อทั้ง 40 มัดให้ทำงานประสานกันในการเคลื่อนไหว เมื่อตัวอ่อนมีอายุถึงวันที่ 56 นี้ อวัยวะต่างๆของร่างกายถูกสร้าง ขึ้นมาจนครบสมบูรณ์ เพียงแต่ยังมีขนาดเล็กๆอยู่ ความยาวของตัวอ่อน 3 เซนติเมตรแล้ว เป็นการสิ้นสุดระยะที่เป็น “ตัวอ่อน” และดำเนินเข้าสู่ระยะที่เราเรียกว่า “ทารก”

สัปดาห์ที่ 9 ทารกเริ่มกำมือได้ มีลายนิ้วมือปรากฏอย่างเลือนราง ทารกยาวขึ้นเป็น 5 เซนติเมตร น้ำหนัก 8 กรัม

สัปดาห์ที่ 10 ใบหน้าของทารกเริ่มเหมือนเด็กน้อยมากขึ้น ทารกสามารถชำเลืองตา กลืนน้ำคร่ำเข้าไปในท้อง และย่นหน้าผากได้ ขนาดของมดลูกของแม่โตขึ้นเป็นสองเท่าของขนาดปกติ ทารกยาว 6 เซนติเมตร และหนัก 14 กรัม

สัปดาห์ที่ 11 ทารกปัสสาวะแล้ว การทำงานของกล้ามเนื้อมัดต่างๆประสานงานกันดีมากขึ้น ขยับแขนขาเป็นระยะ แต่แม่ยังไม่รู้สึกหรอกครับ เพราะตัวยังเล็กอยู่

สัปดาห์ที่ 12 ทารกมีช่วงที่หลับและตื่น ตื่นขึ้นมาทีไรก็จะดิ้นไปมาเป็นการออกกำลังของกล้ามเนื้อ ทารกหันศีรษะ งอนิ้วเท้า ปากอ้าและหุบ กำหมัดก็เป็น ทารกจะสูดหายใจเอาน้ำคร่ำเข้าไปในปอดเพื่อช่วยพัฒนาระบบการหายใจต่อไป ความยาวของทารก 8.5 เซนติเมตร น้ำหนักได้ 45 กรัม

สัปดาห์ที่ 13 เส้นผมอ่อนๆเริ่มเกิดขึ้นที่ศีรษะ อวัยวะเพศเริ่มเด่นชัดว่าเป็นชายหรือหญิง

ชีวิตใหม่ 11 11อาหารเพื่อสุขภาพขณะตั้งครรภ์

ตัวอย่าง

Page 9: SE-ED...ส ปดาห แห งการรอคอยอย างใจจดใจจ อรอว นท ล กน อยจะล มตาด โลก ค ณแม หลายคน

12 เมนูคุณแม่ตั้งครรภ์

เดือนที่ 4 เมื่อย่างเข้าเดือนนี้ คุณแม่ เ ริ่ ม จ ะท้ อ ง โ ย้ ใ ห้ เ ห็ นแล้ ว ประสาทหูของทารกเริ่มทำงาน ทารกจะได้ยินเสียงพูดและเสียงการเต้นของหัวใจของคุณแม่ รวมทั้งรับรู้เสียงจากโลกภายนอกด้วย ความยาวของทารกประมาณ 14 เซนติเมตร น้ำหนักประมาณ 200 กรัม

เดือนที่ 5 ขณะนี้ทารกเติบโตมา ถึงครึ่งทางแล้ว ความยาวของทารก 19 เซนติเมตร น้ำหนัก 460 กรัม คุณแม่จะเริ่มรู้สึกถึงการเคลื่อนไหวของทารกในครรภ์ ถ้ามีเสียงจากภายนอกดังๆ ทารกน้อยจะตกใจและแสดงการดิ้นให้แม่รู้สึกได้

เดือนที่ 6 ต่อมไขมันและต่อมเหงื่อเริ่มทำงาน ผิวหนังที่บอบบางของลูกน้อยจะได้รับการปกป้องด้วยไข

สีขาวชนิดพิเศษ ในประเทศที่การแพทย์เจริญก้าวหน้ามากๆ สามารถดูแลทารกให้รอดได้ ถ้าทารกเกิดการคลอดก่อนกำหนดในช่วงเวลานี้ ตอนนี้ทารกมีความยาว 21 เซนติเมตร น้ำหนัก 630 กรัม

เดือนที่ 7 ประสาททั้ง 4 คือ การมองเห็น การได้ยิน การรับรู้รส และการสัมผัส ของทารกเริ่มทำงานดีขึ้น ทารกจะจดจำเสียงของคุณแม่ได้ คุยกับลูกบ่อยๆนะครับ ทารกยาวถึง 25 เซนติเมตรแล้ว และหนักประมาณ 1,000 กรัม

เดือนที่ 8 ผิวหนังของทารกหนาขึ้น เพราะมีไขมันมาสะสมมากขึ้นเพื่อเป็นฉนวนคอยปกป้องอุณหภูมิของทารกให้มีอุณหภูมิร่างกายคงที่ และเป็นที่สะสมอาหารด้วย ในเดือนที่ 8 นี้ระบบภูมิคุ้มกันโรคพัฒนาขึ้นมาก และทารกยาว 30 เซนติเมตร หนัก 2,100 กรัม

เดือนที่ 9 เมื่อทารกเจริญเติบโตมาจนถึงปลายเดือนนี้ ก็พร้อมจะคลอดออกมาดูโลกภายนอกได้แล้ว ถ้านับอายุของทารกจากวันที่มีการปฏิสนธิ ทารกจะมีอายุ 38 สัปดาห์ แต่ถ้านับจากวันแรกของประจำเดือนครั้งสุดท้ายของคุณแม่ ทารกก็จะมีอายุได้ 40 สัปดาห์หรือ 280 วัน ณ วันที่คลอด ทารกปกติจะมีน้ำหนักประมาณ 3,000 กรัม และความยาวได้ 36 เซนติเมตรขึ้นไป

ตัวอย่าง

Page 10: SE-ED...ส ปดาห แห งการรอคอยอย างใจจดใจจ อรอว นท ล กน อยจะล มตาด โลก ค ณแม หลายคน

การเปลี่ยนแปลงของร่างกาย

คุณแม่ในช่วงตั้งครรภ์

เมื่อคุณแม่รู้ตัวว่ามีการตั้ งครรภ์ เกิดขึ้น อารมณ์ความรู้สึกนึกคิดย่อมบอกกับ ตัวเองว่า ณ บัดนี้ชีวิตของเราได้เปลี่ยนแปลงไปแล้ว เรากำลังจะเป็นแม่ เพราะมีชีวิตอีกชีวิตหนึ่งฝากไว้ในตัวเรา และกำลังเจริญเติบโตโดยมีเลือดเนื้อของเราเป็นสิ่งหล่อเลี้ยงอยู่ทุกวินาที ร่างกายของเราจึงต้องเปลี่ยนแปลงไปด้วยเพื่อรองรับงานอันยิ่งใหญ่นี้

มดลูก

มดลูกเป็นอวัยวะที่มหัศจรรย์มาก เพราะช่วงตั้งครรภ์จะมีการขยายขนาดของกล้ามเนื้อมดลูกจนโตขึ้นถึง 1,000 เท่า เมื่อเทียบกับช่วงปกติที่คุณยังไม่ได้ตั้งครรภ์ ทั้งนี้เพราะลูกน้อยจะต้องใช้มดลูกนี้เป็นบ้านที่คอยคุ้มครองปกป้องภยันตรายต่างๆจนกว่าจะถึงวันคลอด ตัวมดลูกที่โตขึ้นจะมีการหดรัดตัวได้ ถ้าคุณแม่เอามือไปวางที่เหนือมดลูก คุณอาจรู้สึกถึงอาการกล้ามเนื้อหดเกร็งและกล้ามเนื้อคลายตัว ถ้าเป็นช่วงก่อน 7 เดือนมักไม่รู้สึกเจ็บ และมักจะเป็นนานๆครั้ง แต่พอใกล้ระยะครบกำหนดคลอด มักจะเริ่มรู้สึกหน่วงๆและถี่ขึ้น จนกระทั่งถึงวันคลอดจริงๆ มดลูกจะหดรัดตัวจนรู้สึกเจ็บ เราจึงเรียกว่า การเจ็บครรภ์คลอด มดลูกจะหดรัดตัวถี่ขึ้นและแรงขึ้น เพื่อผลักดันเด็กทารกให้เคลื่อนออกมาทางช่องคลอด เมื่อทารกคลอดออกมาแล้ว มดลูกก็จะหดรัดตัวเองไปเรื่อยๆ จนขนาดมดลูกกลับมามีขนาดเท่าเดิมอีกครั้ง เราเรียกว่า มดลูกเข้าอู่

ช่องคลอด

เมื่อคุณตั้งครรภ์ ช่องคลอดจะบวมและหนาขึ้น เพราะในเวลานี้เลือดได้มาหล่อ เลี้ยงบริเวณช่องคลอดมากขึ้น ผนังช่องคลอดจะเรียบขึ้น และจะขับของเหลวเป็นมูกออก มาด้วยเพื่อเตรียมให้เด็กคลอดได้ง่ายขึ้น คุณจึงรู้สึกเหมือนมีตกขาวหรือความชื้นแฉะ มากกว่าปกติ

2

ตัวอย่าง

Page 11: SE-ED...ส ปดาห แห งการรอคอยอย างใจจดใจจ อรอว นท ล กน อยจะล มตาด โลก ค ณแม หลายคน

14 เมนูคุณแม่ตั้งครรภ์

เต้านม

เมื่อมีการตั้งครรภ์ เต้านมจะขยายใหญ่ขึ้น เพราะมีเลือดมาเลี้ยงมากขึ้น มีท่อและต่อมน้ำนมเพิ่มจำนวนขึ้น คุณอาจเห็นเส้นเลือดชัดเจนขึ้นคล้ายกับเส้นใยแมงมุมที่ เต้านม หัวนม และฐานรอบหัวนม รวมทั้งจุดเล็กๆรอบหัวนมอาจจะตั้งขึ้นและเปลี่ยนสีคล้ำขึ้น เต้านมจะมีความกระชับและนุ่มมากขึ้น คุณอาจจะรู้สึกเจ็บเสียว หรือคัดที่หน้าอก จึงต้องการ ขนาดของเสื้อชั้นในที่ ใหญ่กว่าปกติประมาณ 2 เบอร์ บางคนอาจมีการไหลของน้ำนม ในขณะตั้งครรภ์ เราเรียกว่า หัวน้ำนม ไม่ต้องไปบีบไล่น้ำนมหรือทำอะไร เพียงรักษา ความสะอาดและรอจนถึงวันคลอด

ระบบเลือด

ปริมาณเลือดในร่างกายจะเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะช่วงท้ายของการตั้งครรภ์ โดยอาจมากขึ้นถึงร้อยละ 45 มดลูกเป็นอวัยวะที่ต้องการเลือดเพิ่มมากที่สุด ร่างกายของคุณจะผลิต เซลล์เม็ดเลือดได้มากขึ้น เพื่อรองรับช่วงคลอดบุตร เพราะอาจจะมีการเสียเลือดอย่างมากได้

ระบบไหลเวียนเลือดและหัวใจ

หัวใจของคุณต้องทำงานหนักมากขึ้น เพื่อผลักดันเลือดและของเหลวต่างๆที่มีเพิ่ม มากขึ้นให้ไปเลี้ยงส่วนต่างๆของร่างกายอย่างทั่วถึง การทำงานที่หนักขึ้นนี้จึงทำให้หัวใจ ขยายใหญ่ขึ้น และเต้นเร็วกว่าภาวะปกติ 10-15 ครั้งต่อนาที ทำให้คุณรู้สึกเหนื่อยง่ายกว่าปกติ

ระบบทางเดินหายใจ

ปอดของคุณจะทำงานหนักมากกว่าปกติเช่นกัน เพื่อให้เลือดได้นำออกซิเจนที่มากพอ ไปเลี้ยงเซลล์ต่างๆของร่างกาย ในขณะตั้งครรภ์จึงควรออกกำลังกายเบาๆอย่างสม่ำเสมอ และสูดอากาศที่บริสุทธิ์ หลีกเลี่ยงควันบุหรี่หรือควันพิษทั้งหลาย

ระบบทางเดินอาหาร

ทั้งกระเพาะอาหารและลำไส้มีการบีบรูดน้อยลง การดูดซึมอาหารก็ช้าลง ซึ่งเป็น ผลจากฮอร์โมนของการตั้งครรภ์ ทำให้มีอาการท้องอืด แน่นท้อง และท้องผูก ได้ง่าย

ระบบขับถ่ายปัสสาวะ

ช่วงตั้งครรภ์ไตจะทำหน้าที่กรองเลือดและขับถ่ายของเสียมากขึ้นและดีขึ้นกว่าภาวะ ปกติ หลอดไตขยายตัวและมีการบีบรูดน้อยลงทำให้มีปัสสาวะคั่งได้ กระเพาะปัสสาวะมัก จะถูกมดลูกกดทั้งระยะแรกของการตั้งครรภ์และในระยะใกล้คลอด ทำให้ปัสสาวะบ่อยขึ้น กว่าปกติ อย่างไรก็ตามห้ามอั้นปัสสาวะ เพราะจะเป็นเหตุชวนให้เกิดการอักเสบได้ง่าย

ตัวอย่าง

Page 12: SE-ED...ส ปดาห แห งการรอคอยอย างใจจดใจจ อรอว นท ล กน อยจะล มตาด โลก ค ณแม หลายคน