62
ชชชชชชชชชชชช 6 ชชชช ชชชชชชชชชชชชชชชชชชชชช (2103 - 2109) ชชชชชช ชชชชชชชชชชชชชชชชชชช ชชชชชชชชชชชชชชชช - ชชช

sar.udontech.ac.thsar.udontech.ac.th/43/public/files/1521097408_1968816f... · Web viewนำใบงานต งแต ใบงานท 1 ไปจนถ งใบงานท

  • Upload
    others

  • View
    3

  • Download
    0

Embed Size (px)

Citation preview

388

ชุดการสอนที่ 6

วิชา งานระบบท่อส่งความเย็น (2103 - 2109)

เรื่อง การเขียนแผ่นคลี่ข้อต่อท่อสี่เหลี่ยม - กลม

โครงการสอน

วิชา งานระบบท่อส่งความเย็น (2103 - 2109)

หน่วยที่ 6 การเขียนแผ่นคลี่ข้อต่อท่อสี่เหลี่ยม - กลม

เรื่อง 1. วิธีการเขียนแผ่นคลี่ข้อต่อท่อสี่เหลี่ยม - กลม เยื้องศูนย์

2. วิธีการเขียนแผ่นคลี่ข้องอสี่เหลี่ยม - กลม

3. การประกอบชิ้นงานเป็นวงจรระบบท่อส่งความเย็น

ครั้งที่ 16 - 18

จำนวน 12 ชั่วโมง

จุดประสงค์การสอน

รายการสอน

1. บอกลักษณะของข้อต่อท่อและข้องอ สี่เหลี่ยม - กลม

ทั้ง 2 ชนิด ได้ถูกต้อง

2. เขียนแผ่นคลี่ข้อต่อท่อและข้องอ สี่เหลี่ยม - กลม

ทั้ง 2 ชนิด ได้ถูกต้อง

3. พับม้วนขึ้นรูปได้ถูกต้อง

4. พับขึ้นรูปตะเข็บ Groove Seam ได้ถูกต้อง

5. เข้าตะเข็บ Lap Seam ได้ถูกต้อง

6. ประกอบชิ้นงานได้ถูกต้องเรียบร้อยและถูกทิศทาง

7. มีคุณธรรม จริยธรรม และคุณลักษณะที่พึงประสงค์

1. ลักษณะของข้อต่อท่อสี่เหลี่ยม - กลม เยื้องศูนย์

2. ลักษณะของข้องอสี่เหลี่ยม - กลม

3. การเขียนแผ่นคลี่ข้อต่อท่อ และข้องอสี่เหลี่ยม - กลม ทั้ง 2 ชนิด

4. การพับม้วนขึ้นรูป

5. การตัดและพับตะเข็บ Groove Seam

6. การพับตะเข็บ Lap Seam

7. การบัดกรี

8.การประกอบชิ้นงานเป็นวงจรระบบท่อส่งความเย็น

วิธีการสอน บรรยาย/สาธิต/ถาม - ตอบ

สื่อการสอน

- ใบงาน

- สื่อแผ่นใส 6/1- 6/7

- ใบความรู้

- ตัวอย่างชิ้นงาน

การวัดผล/ประเมินผล

- แบบทดสอบก่อนเรียน/หลังเรียน

- แบบประเมินการปฏิบัติงานตามใบงานที่16-18

- แบบประเมินคุณธรรม จริยธรรม

และคุณลักษณะที่พึงประสงค์

เอกสารอ้างอิง

- กลุ่มวิชาชีพช่างประกอบผลิตภัณฑ์.ระบบท่อระบายอากาศ.:ศูนย์ฝึกอบรมและพัฒนาอาชีวศึกษา, 2530.

- นริศ ศรีเมฆ. เขียนแบบช่างเชื่อมโลหะ 2. :สำนักพิมพ์เอมพันธ์จำกัด, 2549.

- . งานระบบท่อระบายอากาศ. :สำนักพิมพ์เอมพันธ์จำกัด, 2550.

- วิทยาลัยเทคนิคอุดรธานี. เอกสารใบงานท่อระบายอากาศ.

- สมเกียรติ จงประสิทธิ์พร. การเขียนแบบท่อระบายอากาศ. กรุงเทพฯ : ขนิษฐ์การพิมพ์, 2524.

แผนการสอน

หน่วยที่ 6

ชื่อวิชา งานระบบท่อส่งความเย็น (2103 - 2109)

สอนครั้งที่ 16 - 18

ชื่อหน่วย การเขียนแผ่นคลี่ข้อต่อท่อสี่เหลี่ยม - กลม

4 ชั่วโมง/สัปดาห์

ชื่อเรื่อง การเขียนแผ่นคลี่ข้อต่อท่อสี่เหลี่ยม - กลม

สาระสำคัญ

ข้อต่อท่อสี่เหลี่ยม - กลม ลักษณะของท่อด้านหนึ่งจะกลมอีกด้านหนึ่งจะเป็นเหลี่ยม ข้อต่อท่อสี่เหลี่ยม - กลม เยื้องศูนย์ ปากท่อด้านที่เป็นวงกลมจะเยื้องศูนย์กันกับปากท่อด้านที่เป็นสี่เหลี่ยม ส่วนข้องอสี่เหลี่ยม - กลม ปากท่อทั้ง 2 จะทำมุมกันเป็นข้องอ 90º วิธีการเขียนแบบแผ่นคลี่ก็จะต้องหาเส้นยาวจริงเพื่อใช้สร้างแผ่นคลี่ เนื่องจากเส้นแต่ละเส้นของข้อต่อท่อยาวไม่เท่ากัน ส่วนวิธีการอย่างอื่นก็ทำเช่นเดียวกัน

เนื้อหา

1. วิธีการเขียนแผ่นคลี่ข้อต่อท่อสี่เหลี่ยม - กลม เยื้องศูนย์

2. วิธีการเขียนแผ่นคลี่ข้องอสี่เหลี่ยม - กลม

3. การประกอบชิ้นงานเป็นวงจรระบบท่อส่งความเย็น

จุดประสงค์ทั่วไป

เพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจสามารถเขียนแบบแผ่นคลี่ข้อต่อท่อสี่เหลี่ยม - กลม ทั้ง 2 ชนิดได้

จุดประสงค์เชิงพฤติกรรม ผู้เรียนสามารถ

1. อธิบายถึงหลักการและลักษณะของข้อต่อท่อสี่เหลี่ยม - กลมทั้ง 2 ชนิดได้

2. สามารถบอกวิธีการเขียนแผ่นคลี่ข้อต่อท่อสี่เหลี่ยม - กลมทั้ง 2 ชนิดได้

3. สามารถประกอบชิ้นงานเป็นวงจรระบบท่อส่งความเย็นได้

4. มีคุณธรรม จริยธรรม และคุณลักษณะที่พึงประสงค์

กิจกรรมการเรียนการสอน

1. ผู้เรียนทำแบบทดสอบก่อนเรียน2. ผู้สอนนำเข้าสู่บทเรียนโดยใช้คำถามนำคำอธิบายกับผู้เรียน ในเรื่องการเขียนแบบแผ่นคลี่ พร้อมทั้งสอดแทรกเรื่องคุณธรรมจริยธรรม และคุณลักษณะที่พึงประสงค์3. ผู้สอนให้เนื้อหาความรู้โดยใช้สื่อ ใบความรู้ประกอบการสอน แผ่นใส แผ่นภาพ และอธิบายเนื้อหาร่วมกับผู้เรียน เพื่อให้ได้สาระการเรียนรู้

1. ลักษณะของแผ่นคลี่

2. หลักการของการเขียนแผ่นคลี่

3. ภาพและเส้นที่ใช้ในการเขียนแบบแผ่นคลี่

4. ผู้สอนกับผู้เรียนร่วมกันอภิปราย สรุปเนื้อหาในบทเรียน ซักถามข้อสงสัย

5. ผู้เรียนทำแบบทดสอบหลังเรียน

6. ผู้เรียนทำแบบฝึกปฏิบัติตามใบงาน

สื่อการเรียนและแหล่งเรียนรู้

1. ใบความรู้เรื่องการเขียนแผ่นคลี่ข้อต่อท่อสี่เหลี่ยม-กลมทั้ง 2 ชนิด

2. เอกสารประกอบการสอนวิชางานระบบท่อส่งความเย็น (2103 - 2109)

3. สื่อแผ่นใสที่ 6/1 - 6/7

4. ชิ้นงานตัวอย่าง (Model)

ประเมินผล

1. ทดสอบก่อนเรียน/หลังเรียน

2. แบบประเมินผลงานเขียนแบบแผ่นคลี่

3. แบบประเมินการปฏิบัติงานตามใบงานที่ 16 - 18

4. แบบประเมินคุณธรรม จริยธรรม และคุณลักษณะที่พึงประสงค์

บันทึกผลหลังการจัดการเรียนรู้

………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………

………..………………..

(นายนิเวศน์ เดินสันเทียะ)

ผู้บันทึกการสอน

แบบทดสอบ ก่อนเรียน

หน่วยที่ 6 การเขียนแผ่นคลี่ข้อต่อท่อสี่เหลี่ยม - กลม

คำสั่ง จงตอบคำถามสั้น ๆ ตามหัวข้อต่อไปนี้

1. ท่อลมแบบกลม มีข้อดีอย่างไร

..............................................................................................

..............................................................................................

..............................................................................................

2. ท่อลมแบบกลม มีข้อเสียอย่างไร

..............................................................................................

..............................................................................................

..............................................................................................

3. การเขียนแผ่นคลี่ท่อทรงกระบอกนั้น ความกว้างของแผ่นคลี่สามารถหาได้จากส่วนใดของท่อ

..............................................................................................

..............................................................................................

..............................................................................................

4. การเขียนแผ่นคลี่ท่อตรงหรือท่องอทรงกระบอกนั้น ต้องทำการเขียนแผ่นคลี่ด้วยวิธีใด

..............................................................................................

..............................................................................................

..............................................................................................

5. ข้องอเยื้องศูนย์เปลี่ยนรูป เช่น ข้องอเปลี่ยนจากกลมเป็นสี่เหลี่ยม ต้องใช้วิธีการเขียนแผ่นคลี่แบบใด

..............................................................................................

..............................................................................................

..............................................................................................

ใบความรู้

หน่วยที่ 6

ชื่อวิชา งานระบบท่อส่งความเย็น (2103 - 2109)

สอนครั้งที่ 16 - 18

ชื่อหน่วย การเขียนแผ่นคลี่ข้อต่อท่อสี่เหลี่ยม - กลม

4 ชั่วโมง/สัปดาห์

ชื่อเรื่อง การเขียนแผ่นคลี่ข้อต่อท่อสี่เหลี่ยม - กลม

จุดประสงค์การเรียน

1. บอกลักษณะของข้อต่อท่อและข้องอ สี่เหลี่ยม - กลม ทั้ง 2 ชนิด ได้ถูกต้อง

2. เขียนแผ่นคลี่ข้อต่อท่อและข้องอ สี่เหลี่ยม - กลม ทั้ง 2 ชนิด ได้ถูกต้อง

3. พับม้วนขึ้นรูปได้ถูกต้อง

4. พับขึ้นรูปตะเข็บ Groove Seam ได้ถูกต้อง

5. เข้าตะเข็บ Lap Seam ได้ถูกต้อง

6. ประกอบชิ้นงานได้ถูกต้องเรียบร้อยและถูกทิศทาง

7. มีคุณธรรม จริยธรรม และคุณลักษณะที่พึงประสงค์

หัวข้อเรื่อง

1. วิธีการเขียนแผ่นคลี่ข้อต่อท่อสี่เหลี่ยม-กลม เยื้องศูนย์

2. วิธีการเขียนแผ่นคลี่ข้องอสี่เหลี่ยม-กลม

3. การประกอบชิ้นงานเป็นวงจรระบบท่อส่งความเย็น

เนื้อหา

1. วิธีการเขียนแผ่นคลี่ข้อต่อท่อสี่เหลี่ยม - กลม เยื้องศูนย์

รูป 6.1 แสดงภาพข้อต่อท่อสี่เหลี่ยม - กลม เยื้องศูนย์

ข้อต่อท่อสี่เหลี่ยม - กลม เยื้องศูนย์ ลักษณะของแผ่นคลี่ของท่อชนิดนี้แยกออกได้เป็น 2 ชิ้น คือ แผ่นคลี่ที่เป็นลำตัวของท่อสี่เหลี่ยม 1 ชิ้น แผ่นคลี่ที่เป็นวงกลม 1 ชิ้น วัสดุที่ใช้ทำท่อก็เป็นแผ่นเหล็กเคลือบสังกะสี ตะเข็บที่ใช้ประกอบท่อใช้ตะเข็บ Groove Seam และตะเข็บ Lap Seam

วิธีหาเส้นสูงจริง จากรูป 6.2 มีขั้นตอนดังนี้

1. ลากเส้นตรง DA ยาวพอประมาณ จากรูปด้านบนของภาพฉาย ในระดับเดียวกับเส้นตรง AD

2. จากจุด D และจุด A ลากเส้นตั้งฉากไปหาจุด Y และจุด E ยาว 100 มม. ตามลำดับ

3. วัดระยะเส้นต่างๆ จากรูปด้านบนของภาพฉาย คือเส้นD1,D2,D3,D4,D5,A5,A6,A7,A8,

A9 และระยะ X9 มาวัดออกจากจุด D และจุด A ดังรูป 6.2

4. โยงเส้นจากจุดต่างๆ ที่วัดไว้ไปยังจุด Y และจุด E จะได้เส้นสูงจริง

รูป 6.2 แสดงวิธีการหาเส้นสูงจริง

วิธีการเขียนแผ่นคลี่ข้อต่อท่อสี่เหลี่ยม - กลม เยื้องศูนย์ ด้านแผ่นปากท่อสี่เหลี่ยม จากรูป 6.3 มีขั้นตอนดังนี้

1. ลากเส้นตรง DC ยาว 100 มม.

2. ใช้จุด D และจุด C เป็นจุดศูนย์กลาง กางวงเวียนตามเส้นสูงจริง D1 เขียนส่วนโค้งตัดกันที่จุด 1

3. ใช้จุด D และจุด C เป็นจุดศูนย์กลาง กางวงเวียนตามเส้นสูงจริง D2 เขียนส่วนโค้งไว้

4. วัดระยะส่วนแบ่งเส้นรอบวงจาก 1 ไป 2 ในรูป 6.2 ด้านบน ตั้งวงเวียนที่จุด 1 เขียนส่วนโค้งตัดส่วนโค้งแรกที่จุด 2 และ 2´

5. ใช้จุด D และจุด C เป็นจุดศูนย์กลาง กางวงเวียนตามเส้นสูงจริง D3 เขียนส่วนโค้งไว้

6. วัดระยะส่วนแบ่งเส้นรอบวงจาก 2 ไป 3 ในรูป 6.2 ด้านบน ตั้งวงเวียนที่จุด 2 และ 2´ เขียนส่วนโค้งตัดส่วนโค้งแรกที่จุด 3 และ 3´

7. ใช้จุด D และจุด C เป็นจุดศูนย์กลาง กางวงเวียนตามเส้นสูงจริง D4 เขียนส่วนโค้งไว้

8. วัดระยะส่วนแบ่งเส้นรอบวงจาก 3 ไป 4 ในรูป 6.2 ด้านบน ตั้งวงเวียนที่จุด 3 และ 3´ เขียนส่วนโค้งตัดส่วนโค้งแรกที่จุด 4 และ 4´

9. ใช้จุด D และจุด C เป็นจุดศูนย์กลาง กางวงเวียนตามเส้นสูงจริง D5 เขียนส่วนโค้งไว้

10. วัดระยะส่วนแบ่งเส้นรอบวงจาก 4 ไป 5 ในรูป 6.2 ด้านบน ตั้งวงเวียนที่จุด 4 และ 4´ เขียนส่วนโค้งตัดส่วนโค้งแรกที่จุด 5 และ 5´

11. ใช้จุด 5 และจุด 5´ เป็นจุดศูนย์กลาง กางวงเวียนตามเส้นสูงจริง B5´ เขียนส่วนโค้งไว้

12. วัดระยะ DA และ CB จากรูป 6.2 ด้านบน ตั้งวงเวียนที่จุด D และ C เขียนส่วนโค้งตัดส่วนโค้งแรกที่จุด A และ B

13. ใช้จุด A และจุด B เป็นจุดศูนย์กลาง กางวงเวียนตามเส้นสูงจริง B6´ เขียนส่วนโค้งไว้

14. วัดระยะส่วนแบ่งเส้นรอบวงจาก 5´ ไป 6´ ในรูป 6.2 ด้านบน ตั้งวงเวียนที่จุด 5 และ 5´ เขียนส่วนโค้งตัดส่วนโค้งแรกที่จุด 6 และ 6´

15. ใช้จุด A และจุด B เป็นจุดศูนย์กลาง กางวงเวียนตามเส้นสูงจริง B7´ เขียนส่วนโค้งไว้

16. วัดระยะส่วนแบ่งเส้นรอบวงจาก 6´ ไป 7´ ในรูป 6.2 ด้านบน ตั้งวงเวียนที่จุด 6 และ 6´ เขียนส่วนโค้งตัดส่วนโค้งแรกที่จุด 7 และ 7´

17. ใช้จุด A และจุด B เป็นจุดศูนย์กลาง กางวงเวียนตามเส้นสูงจริง B8´ เขียนส่วนโค้งไว้

18. วัดระยะส่วนแบ่งเส้นรอบวงจาก 7´ ไป 8´ ในรูป 6.2 ด้านบน ตั้งวงเวียนที่จุด 7 และ 7´ เขียนส่วนโค้งตัดส่วนโค้งแรกที่จุด 8 และ 8´

19. ใช้จุด A และจุด B เป็นจุดศูนย์กลาง กางวงเวียนตามเส้นสูงจริง B9 เขียนส่วนโค้งไว้

20. วัดระยะส่วนแบ่งเส้นรอบวงจาก 8´ ไป 9 ในรูป 6.2 ด้านบน ตั้งวงเวียนที่จุด 8 และ 8´ เขียนส่วนโค้งตัดส่วนโค้งแรกที่จุด 9 และ 9´

21. ใช้จุด 9 และจุด 9´ เป็นจุดศูนย์กลาง กางวงเวียนตามเส้นสูงจริง X9 เขียนส่วนโค้งไว้

22. วัดระยะ AX และ BX จากรูป 6.2 ด้านบน ตั้งวงเวียนที่จุด A และ B เขียนส่วนโค้งตัดส่วนโค้งแรกที่จุด X และ X´ ก็จะได้แผ่นคลี่

23. เขียนส่วนโค้งของข้อต่อท่อจาก 9 ไปถึง 1 และจาก 1 ไปถึง 9´ ด้วยบรรทัดโค้ง

24. เผื่อระยะตะเข็บ Lap Seam 3 มม. ที่ส่วนโค้งของข้อต่อท่อ เพื่อบัดกรีกับแผ่นท่อกลม

25. เผื่อระยะการต่อท่อด้วยตะเข็บ Drive Clip หรือตะเข็บ Double Connection ที่ XA ,AD ,DC , CB , BX 25 มม. และวัดออกจากขอบชิ้นงาน ข้างละ 10 มม. บากมุม 30º

26. เผื่อระยะตะเข็บ Groove Seam ที่ 9X กว้าง 4 มม. 2 ช่อง และที่ 9´X´ กว้าง 4 มม.

รูป 6.3 แสดงวิธีการเขียนแผ่นคลี่ข้อต่อท่อสี่เหลี่ยม - กลม เยื้องศูนย์ ด้านแผ่นปากท่อสี่เหลี่ยม

วิธีการเขียนแผ่นคลี่ข้อต่อท่อสี่เหลี่ยม - กลม เยื้องศูนย์ ด้านแผ่นปากท่อกลม จากรูป 6.4 มีขั้นตอนดังนี้

1. ลากเส้นตรง AB ยาวเท่ากับเส้นรอบวงของวงกลม โดยมีเส้นผ่าศูนย์กลาง 75 มม.

ใช้สูตรหาเส้นรอบวงของวงกลม คือ = 3.14 75 = 235.50 มม.

2. จากจุด A และจุด B ลากเส้นตั้งฉากไปหาจุด D และจุด C ยาว 25 มม. ตามลำดับ

3. เผื่อระยะตะเข็บ Groove Seam ที่ AD กว้าง 4 มม. และที่ BC กว้าง 4 มม. 2 ช่อง และลดขนาดออกจากจุด A และจุด B เท่ากับ 4 มม.

4. เผื่อระยะขอบด้าน AB ออกไปอีกช่องละ 4 มม. 2 ช่อง เพื่อพับเป็นขอบให้แข็งแรง

รูป 6.4 แสดงวิธีการเขียนแผ่นคลี่ข้อต่อท่อสี่เหลี่ยม - กลม เยื้อง ศูนย์ ด้านแผ่นท่อกลม

2. วิธีการเขียนแผ่นคลี่ข้องอสี่เหลี่ยม - กลม

รูป 6.5 แสดงภาพข้องอสี่เหลี่ยม กับ แผ่นท่อกลม

ข้องอสี่เหลี่ยม - กลม ลักษณะของท่อมีปากด้านหนึ่งกลม และปากอีกด้านหนึ่งเป็นสี่เหลี่ยม ทำมุมกันเป็นข้องอ 90º วิธีเขียนแบบแผ่นคลี่จะต้องหาเส้นยาวจริงเช่นเดียวกับการเขียนแผ่นคลี่ข้อต่อท่อสี่เหลี่ยม - กลม เยื้องศูนย์

วิธีหาเส้นสูงจริง จากรูป 6.6 มีขั้นตอนดังนี้

ดูจากรูป 6.5 ด้านบน จะเห็นว่าข้องอนี้มีปากท่อสี่เหลี่ยมกว้าง 50 มม. ยาว 125 มม. และปากท่อกลมมีเส้นผ่าศูนย์กลาง 75 มม. ระยะที่ปากท่อสี่เหลี่ยมเอียงสูงขึ้นจากปากท่อกลมมีระยะสูง 40 มม. และเอียงไป 40 มม. เนื่องจากการงอเอียงไปเช่นนี้จะทำให้เส้นยาวจริง แต่ละเส้นยาวไม่เท่ากัน ถ้ามองดูรูป 6.5 ด้านบน จะเห็นว่าข้องอนี้ยังมีปากท่อสี่เหลี่ยมและปากท่อกลมอยู่ในเส้นศูนย์กลางเดียวกัน จะทำให้เส้นยาวจริงอยู่คนละข้างของเส้นศูนย์กลางนี้มีขนาดเท่ากัน ดังนั้นเราจึงหาเส้นยาวจริงเพียงด้านเดียวของข้องอโดยใช้เส้นจากรูป 6.5 ด้านข้างไปหาเส้นยาวจริง โดยการฉายภาพวงกลม

1. แบ่งส่วนโค้งของวงกลม ให้ได้ 12 ส่วน จากรูป 6.6 ด้านหน้า

2. ลากเส้นขนานไปตัดกับจุดของส่วนโค้งของวงกลมในรูป 6.6 ด้านข้าง

3. กางวงเวียนยาวเท่ากับ B1 ,B2 ,B3 ,B4 และ C1 ,C2´ ,C3´ ,C4´ จากรูป 6.6 ด้านข้าง มาเขียนส่วนโค้งตัดกับเส้นฉายส่วนแบ่งของวงกลมในรูป 6.6 ด้านหน้า ตามความสูงของปากท่อ ที่จุด B,C ก็จะได้เส้นยาวจริงเหล่านี้ไปใช้ในการเขียนแบบแผ่นคลี่

รูป 6.6 แสดงวิธีการหาเส้นสูงจริง

วิธีการเขียนแผ่นคลี่ข้องอสี่เหลี่ยม – กลม จากรูป 6.7 มีขั้นตอนดังนี้

1. ลากเส้นตรง CD ยาว 50 มม.

2. ใช้จุด C และจุด D เป็นจุดศูนย์กลาง กางวงเวียนตามเส้นสูงจริง C4´ เขียนส่วนโค้งตัดกันที่จุด4´

3. ใช้จุด C และจุด D เป็นจุดศูนย์กลาง กางวงเวียนตามเส้นสูงจริง C3´ เขียนส่วนโค้งไว้

4. วัดระยะส่วนแบ่งเส้นรอบวงจาก 4´ ไป 3´ ในรูป 6.6 ด้านบน ตั้งวงเวียนที่จุด 4´ เขียนส่วนโค้งตัดส่วนโค้งแรกที่จุด 3´ และ 5´

5. ใช้จุด C และจุด D เป็นจุดศูนย์กลาง กางวงเวียนตามเส้นสูงจริง C2´ เขียนส่วนโค้งไว้

6. วัดระยะส่วนแบ่งเส้นรอบวงจาก 3´ ไป 2´ ในรูป 6.6 ด้านบน ตั้งวงเวียนที่จุด 3´ และ 5´

เขียนส่วนโค้งตัดส่วนโค้งแรกที่จุด 2´ และ 6´

7. ใช้จุด C และจุด D เป็นจุดศูนย์กลาง กางวงเวียนตามเส้นสูงจริง C1 เขียนส่วนโค้งไว้

8. วัดระยะส่วนแบ่งเส้นรอบวงจาก 2´ ไป 1 ในรูป 6.6 ด้านบน ตั้งวงเวียนที่จุด 2´ และ 6´

เขียนส่วนโค้งตัดส่วนโค้งแรกที่จุด 1 และ 7

9. ใช้จุด 1 และจุด 7 เป็นจุดศูนย์กลาง กางวงเวียนตามเส้นสูงจริง B1 เขียนส่วนโค้งไว้

10.วัดระยะ CB และ DA จากรูป 6.6 ด้านหน้า ตั้งวงเวียนที่จุด C และ D เขียนส่วนโค้งตัดส่วนโค้งแรกที่จุด B และ A

11.ใช้จุด B และจุด A เป็นจุดศูนย์กลาง กางวงเวียนตามเส้นสูงจริง B2 เขียนส่วนโค้งไว้

12. วัดระยะส่วนแบ่งเส้นรอบวงจาก 1 ไป 2 ในรูป 6.6 ด้านบน ตั้งวงเวียนที่จุด 1 และ 7 เขียนส่วนโค้งตัดส่วนโค้งแรกที่จุด 2 และ 6

13. ใช้จุด B และจุด A เป็นจุดศูนย์กลาง กางวงเวียนตามเส้นสูงจริง B3 เขียนส่วนโค้งไว้

14. วัดระยะส่วนแบ่งเส้นรอบวงจาก 2 ไป 3 ในรูป 6.6 ด้านบน ตั้งวงเวียนที่จุด 2 และ 6 เขียนส่วนโค้งตัดส่วนโค้งแรกที่จุด 3 และ 5

15. ใช้จุด B และจุด A เป็นจุดศูนย์กลาง กางวงเวียนตามเส้นสูงจริง B4 เขียนส่วนโค้งไว้

16. วัดระยะส่วนแบ่งเส้นรอบวงจาก 3 ไป 4 ในรูป 6.6 ด้านบน ตั้งวงเวียนที่จุด 3 และ 5 เขียนส่วนโค้งตัดส่วนโค้งแรกที่จุด 4 และ 4´

17. ใช้จุด 4 และจุด 4´ เป็นจุดศูนย์กลาง กางวงเวียนตามเส้นสูงจริง X4 เขียนส่วนโค้งไว้

18. วัดระยะ BX และ AX จากรูป 6.6 ด้านหน้า ตั้งวงเวียนที่จุด B และ A เขียนส่วนโค้งตัดส่วนโค้งแรกที่จุด X และ X´ ก็จะได้แผ่นคลี่

19. เขียนส่วนโค้งของข้อต่อท่อจาก 4 ไปถึง 1 และจาก 1 ไปถึง 7 จาก 7 ไปถึง 4´ ด้วยบรรทัดโค้ง

20. เผื่อระยะตะเข็บ Lap Seam 3 มม. ที่ส่วนโค้งของข้อต่อท่อ เพื่อบัดกรีกับแผ่นท่อกลม

21. เผื่อระยะการต่อท่อด้วยตะเข็บ Drive Clip หรือตะเข็บ Double Connection ที่ BX ,BC ,CD , DA, AX 25 มม. และวัดออกจากขอบชิ้นงาน ข้างละ 10 มม. บากมุม 30º

22. เผื่อระยะตะเข็บ Groove Seam ที่ 4X กว้าง 4 มม. และที่ 4´X´ กว้าง 4 มม. 2 ช่อง

รูป 6.7 แสดงวิธีการเขียนแผ่นคลี่ข้องอสี่เหลี่ยม กับ แผ่นท่อกลม

วิธีการเขียนแผ่นคลี่ข้องอสี่เหลี่ยม – กลม ด้านแผ่นปากท่อกลม จากรูป 6.8 มีขั้นตอนดังนี้

1. ลากเส้นตรง AB ยาวเท่ากับเส้นรอบวงของวงกลม โดยมีเส้นผ่าศูนย์กลาง 75 มม.

ใช้สูตรหาเส้นรอบวงของวงกลม คือ = 3.14 75 = 235.50 มม.

2. จากจุด A และจุด B ลากเส้นตั้งฉากไปหาจุด D และจุด C ยาว 25 มม. ตามลำดับ

3. เผื่อระยะตะเข็บ Groove Seam ที่ AD กว้าง 4 มม. และที่ BC กว้าง 4 มม. 2 ช่อง และลดขนาดออกจากจุด A และจุด B เท่ากับ 4 มม.

4. เผื่อระยะขอบด้าน AB ออกไปอีกช่องละ 4 มม. 2 ช่อง เพื่อพับเป็นขอบให้แข็งแรง

รูป 6.8 แสดงวิธีการเขียนแผ่นคลี่ข้องอสี่เหลี่ยม กับ แผ่นท่อกลม ด้านแผ่นท่อกลม

3. การประกอบชิ้นงานเป็นวงจรระบบท่อส่งความเย็น

นำใบงานตั้งแต่ใบงานที่ 1 ไปจนถึงใบงานที่ 17 นำมาประกอบตามรูป 6.9 โดยการใช้ตะเข็บ Drive Clip , Slip S - Clip , Government Clip ต่อท่อเข้าด้วยกัน

(ตะเข็บเกี่ยวรูปตัวซี)

(ตะเข็บเกี่ยวรูปตัวเอส)

( 21 มม. ปีกท่อส่งลม(ก)(ข)25 มม.ตรงสำหรับเจาะยึด หรือ หมุดโลหะสำหรับตอกยึด)

(2832562510)

รูป 6.9 แสดงลักษณะของตะเข็บต่างๆ ที่ใช้ในงานต่อท่อส่งความเย็นเข้าด้วยกัน

(๑๔๑๕๑๑๘๙๕๑๖๑๗๑๓๑๒๑๐ ๒ ๓ ๗ ๖ ๔)

รูป 6.10 แสดงลักษณะของระบบท่อส่งความเย็นที่ประกอบเข้าด้วยกัน

แบบทดสอบ หลังเรียน

หน่วยที่ 6 การเขียนแผ่นคลี่ข้อต่อท่อสี่เหลี่ยม - กลม

คำสั่ง จงตอบคำถามสั้น ๆ ตามหัวข้อต่อไปนี้

1. ข้องอเยื้องศูนย์เปลี่ยนรูป เช่น ข้องอเปลี่ยนจากกลมเป็นสี่เหลี่ยม ต้องใช้วิธีการเขียนแผ่นคลี่แบบใด

............................................................................................

............................................................................................

............................................................................................

2. การเขียนแผ่นคลี่ท่อตรงหรือท่องอทรงกระบอกนั้น ต้องทำการเขียนแผ่นคลี่ด้วยวิธีใด

............................................................................................

............................................................................................

............................................................................................

3. การเขียนแผ่นคลี่ท่อทรงกระบอกนั้น ความกว้างของแผ่นคลี่สามารถหาได้จากส่วนใดของท่อ

............................................................................................

............................................................................................

............................................................................................

4. ท่อลมแบบกลม มีข้อเสียอย่างไร

............................................................................................

............................................................................................

............................................................................................

5. ท่อลมแบบกลม มีข้อดีอย่างไร

............................................................................................

............................................................................................

............................................................................................

เฉลยแบบทดสอบ ก่อนเรียน/หลังเรียน

หน่วยที่ 6 การเขียนแผ่นคลี่ข้อต่อท่อสี่เหลี่ยม - กลม

ก่อนเรียน

1. มีขนาดเล็ก ทำให้ประหยัดเนื้อที่ และมีความแข็งแรงดี

2. ออกแบบยาก ทำงานยาก และเสียค่าใช้จ่ายสูงในการทำ

3. จากส่วนแบ่งของวงกลม ซึ่งเป็นภาพด้านบนของท่อทรงกระบอก

4. วิธีการใช้เส้นขนานเป็นตัวช่วยในการเขียนแบบ

5. วิธีการใช้เส้นสามเหลี่ยมเป็นตัวช่วยในการเขียนแบบ

หลังเรียน

1. วิธีการใช้เส้นสามเหลี่ยมเป็นตัวช่วยในการเขียนแบบ

2. วิธีการใช้เส้นขนานเป็นตัวช่วยในการเขียนแบบ

3. จากส่วนแบ่งของวงกลม ซึ่งเป็นภาพด้านบนของท่อทรงกระบอก

4. ออกแบบยาก ทำงานยาก และเสียค่าใช้จ่ายสูงในการทำ

5. มีขนาดเล็ก ทำให้ประหยัดเนื้อที่ และมีความแข็งแรงดี

ใบงานที่ 16

หน่วยที่ 6

ชื่อวิชา งานระบบท่อส่งความเย็น (2103 - 2109)

สอนครั้งที่ 16 - 18

ชื่อหน่วย การเขียนแผ่นคลี่ข้อต่อท่อสี่เหลี่ยม - กลม

4 ชั่วโมง/สัปดาห์

ชื่อเรื่อง การเขียนแผ่นคลี่ข้อต่อท่อสี่เหลี่ยม - กลม เยื้องศูนย์

จุดประสงค์การเรียนการสอน

รายการสอน

จุดประสงค์เชิงพฤติกรรม

1. ปฏิบัติงานเขียนแผ่นคลี่การเขียนแผ่นคลี่ข้อต่อท่อสี่เหลี่ยม - กลม เยื้องศูนย์ ได้ถูกต้อง

2. ประกอบชิ้นงานได้ถูกต้องเรียบร้อยและถูกทิศทาง

- ปฏิบัติงานเขียนแผ่นคลี่ข้อต่อท่อ

สี่เหลี่ยม - กลม เยื้องศูนย์

คำสั่ง จากภาพชิ้นงานที่กำหนดให้ จงเขียนแบบแผ่นคลี่ชิ้นงาน ข้อต่อท่อ สี่เหลี่ยม - กลม เยื้องศูนย์ พร้อมทั้งเผื่อตะเข็บให้ถูกต้อง ด้วยวิธีการเขียนแผ่นคลี่ มาตราส่วน 1 : 1

เครื่องมือและอุปกรณ์

1. เหล็กอาบสังกะสีเบอร์ 30

2. บรรทัดเหล็ก ฉาก วงเวียนเหล็ก เหล็กขีด

3. กรรไกรตัดตรง ตัดโค้ง ซ้าย ขวา

4. ค้อนเคาะตะเข็บ

5. ค้อนพับตะเข็บ

6. หัวแร้งบัดกรี ตะกั่วบัดกรี น้ำกรดบัดกรี ยางสน

1. ชุดแท่นขึ้นรูป Stake

2. เครื่องตัดตรง Squaring Shear

3. เครื่องพับ Bar folder

4. เครื่องพับ Box and Pan Brake

5. เครื่องม้วน Slip Roll Forming Machine

การประเมินผล

1. สังเกตขั้นตอนการปฏิบัติงาน

2. ตรวจผลการปฏิบัติงาน

ใบงานที่ 17

หน่วยที่ 6

ชื่อวิชา งานระบบท่อส่งความเย็น (2103 - 2109)

สอนครั้งที่ 16 - 18

ชื่อหน่วย การเขียนแผ่นคลี่ข้อต่อท่อสี่เหลี่ยม - กลม

4 ชั่วโมง/สัปดาห์

ชื่อเรื่อง การเขียนแผ่นคลี่ข้องอสี่เหลี่ยม - กลม

จุดประสงค์การเรียนการสอน

รายการสอน

จุดประสงค์เชิงพฤติกรรม

1. ปฏิบัติงานเขียนแผ่นคลี่การเขียนแผ่นคลี่ข้องอสี่เหลี่ยม - กลมได้ถูกต้อง

2. ประกอบชิ้นงานได้ถูกต้องเรียบร้อยและถูกทิศทาง

- ปฏิบัติงานเขียนแผ่นคลี่ข้องอสี่เหลี่ยม - กลม

คำสั่ง จากภาพชิ้นงานที่กำหนดให้ จงเขียนแบบแผ่นคลี่ชิ้นงาน ข้องอสี่เหลี่ยม กับ แผ่นท่อกลมพร้อมทั้งเผื่อตะเข็บให้ถูกต้อง ด้วยวิธีการเขียนแผ่นคลี่ มาตราส่วน 1 : 1

เครื่องมือและอุปกรณ์

1. เหล็กอาบสังกะสีเบอร์ 30

2. บรรทัดเหล็ก ฉาก วงเวียนเหล็ก เหล็กขีด

3. กรรไกรตัดตรง ตัดโค้ง ซ้าย ขวา

4. ค้อนเคาะตะเข็บ

5. ค้อนพับตะเข็บ

6. หัวแร้งบัดกรี ตะกั่วบัดกรี น้ำกรดบัดกรี ยางสน

1. ชุดแท่นขึ้นรูป Stake

2. เครื่องตัดตรง Squaring Shear

3. เครื่องพับ Bar folder

4. เครื่องพับ Box and Pan Brake

5. เครื่องม้วน Slip Roll Forming Machine

การประเมินผล

1. สังเกตขั้นตอนการปฏิบัติงาน

2. ตรวจผลการปฏิบัติงาน

ลำดับขั้นตอนการปฏิบัติงาน (ใบงานที่ 16 - 17)

1. วางแผนการทำงาน จัดเตรียมเครื่องมือและอุปกรณ์ที่จะใช้ตามที่กำหนดไว้

2. นำแบบแผ่นคลี่ ด้านแผ่น ข้องอสี่เหลี่ยม - กลม Net Pattern และแบบแผ่นคลี่ ด้านแผ่น ท่อ

กลม ของข้องอสี่เหลี่ยม - กลมที่เขียนเสร็จและผ่านการตรวจแล้ว มาทาบลงบนแผ่นสังกะสีที่เตรียมไว้

3. ใช้เหล็กถ่ายแบบตอกเบา ๆ ลงบนจุดต่าง ๆ บนกระดาษเขียนแบบซึ่งจะเกิดรอยบนแผ่นสังกะสี

4. ขีดเส้นต่อโยงจุดต่างๆ ด้วยเหล็กขีดและบรรทัดเหล็ก ที่เกิดขึ้นบนแผ่นสังกะสีให้เป็นรูป

แผ่นคลี่เหมือนกับรูปแผ่นคลี่บนกระดาษเขียนแบบ

5. นำชิ้นงานที่ได้จากข้อ 4 มาตัดให้เป็นรูปแผ่นคลี่ตามแบบ

6. เคาะขึ้นรูปชิ้นงานด้วยค้อน หรือนำไปพับขึ้นรูปด้วยชุดแท่นขึ้นรูป แล้วนำไปม้วนด้วยเครื่องม้วน

7. นำชิ้นงานไปพับตะเข็บ Groove Seam เพื่อเกี่ยวลำตัวท่อให้ติดกัน ตามแบบของ ข้องอ

สี่เหลี่ยม - กลม แล้วนำท่อไปประกอบกับแผ่น ท่อกลม โดยใช้ตะเข็บแบบ Lap Seam เพื่อบัดกรี

8. ใช้ค้อนเคาะตะเข็บแต่งตะเข็บที่ประกอบเข้าด้วยกันให้เรียบร้อย

9. เคาะตกแต่งอีกครั้ง และตรวจสอบความเรียบร้อย พร้อมทั้งทำความสะอาดชิ้นงานด้วยผ้า

10. ส่งครูตรวจ

12. ทำความสะอาดบริเวณที่ปฏิบัติงาน ตลอดจนเครื่องมือเครื่องจักรที่ใช้ในการปฏิบัติงาน

ใบงานที่ 18

หน่วยที่ 6

ชื่อวิชา งานระบบท่อส่งความเย็น (2103 - 2109)

สอนครั้งที่ 16 - 18

ชื่อหน่วย การเขียนแผ่นคลี่ข้อต่อท่อสี่เหลี่ยม - กลม

4 ชั่วโมง/สัปดาห์

ชื่อเรื่อง การประกอบชิ้นงานเป็นวงจรระบบท่อส่งความเย็น

จุดประสงค์การเรียนการสอน

รายการสอน

จุดประสงค์เชิงพฤติกรรม

1. ปฏิบัติงานประกอบชิ้นงานเป็นวงจรระบบท่อส่งความเย็น 2. ประกอบชิ้นงานได้ถูกต้องเรียบร้อยและถูกทิศทาง

- ปฏิบัติงานประกอบชิ้นงานเป็นวงจรระบบท่อส่งความเย็น

คำสั่ง จากภาพชิ้นงานที่กำหนดให้ จงประกอบชิ้นงานเป็นวงจรระบบท่อส่งความเย็น ให้ครบทุกแบบ

ตามใบงานที่ได้จัดทำ มาตราส่วน 1 : 1

(๑๔๑๕๑๑๘๙๕๑๖๑๗๑๓๑๒๑๐ ๒ ๓ ๗ ๖ ๔)

เครื่องมือและอุปกรณ์

1. เหล็กอาบสังกะสีเบอร์ 30

2. บรรทัดเหล็ก ฉาก วงเวียนเหล็ก เหล็กขีด

3. กรรไกรตัดตรง ตัดโค้ง ซ้าย ขวา

4. ค้อนไม้ ค้อนพลาสติก

5. ไขควงปากแบน

1. ชุดแท่นขึ้นรูป Stake

2. เครื่องตัดตรง Squaring Shear

3. เครื่องพับ Bar folder

4. เครื่องพับ Box and Pan Brake

การประเมินผล

1. สังเกตขั้นตอนการปฏิบัติงาน

2. ตรวจผลการปฏิบัติงาน

ขั้นตอนการประกอบชิ้นงาน (ใบงานที่ 18)

การประกอบชิ้นงาน

การประกอบชิ้นงาน

ชิ้นงานที่ประกอบแล้วเสร็จ

แบบการประเมินผลงานเขียนแบบแผ่นคลี่

หน่วยที่ 6 การเขียนแผ่นคลี่ข้อต่อท่อสี่เหลี่ยม – กลม ใช้กับใบงานที่ 16, 17, 18

วิชา งานระบบท่อส่งความเย็น

(2103 - 2109)

ชั้น..................... กลุ่ม.....................

การวางภาพ

การเขียนบอกขนาด

การเขียนเผื่อตะเข็บ

ความถูกต้องขนาดภาพแผ่นคลี่

ความสะอาดของแบบแผ่นคลี่

รวม

ผลการประเมิน

ผ่าน

ไม่ผ่าน

ที่

ชื่อ – สกุล

4

4

4

4

4

20

หมายเหตุ ถ้าคะแนนต่ำกว่า 10 คะแนน ต้องนำไปปรับปรุงแก้ไข

เกณฑ์การประเมินผลงานเขียนแบบแผ่นคลี่

รายการประเมินผล

ระดับคุณภาพ

ดีมาก(4)

ดี(3)

พอใช้(2)

ปรับปรุง(1)

1.การวางภาพ

วางภาพได้เหมาะสมดีมาก

วางภาพได้เหมาะสมดี

วางภาพได้เหมาะสมพอใช้

การวางภาพ

ต้องปรับปรุง

2.การเขียนบอกขนาด

เขียนบอกขนาดได้ถูกต้องดีมาก

เขียนบอกขนาดได้ถูกต้องดี

เขียนบอกขนาดได้เหมาะสมพอใช้

เขียนบอกขนาด

ต้องปรับปรุง

3.การเขียนเผื่อตะเข็บ

เขียนเผื่อตะเข็บได้ถูกต้องดีมาก

เขียนเผื่อตะเข็บได้ถูกต้องดี

เขียนเผื่อตะเข็บได้เหมาะสมพอใช้

เขียนเผื่อตะเข็บ

ต้องปรับปรุง

4.ความถูกต้องของแบบแผ่นคลี่

แบบแผ่นคลี่

ถูกต้องดีมาก

แบบแผ่นคลี่ถูกต้องดี

แบบแผ่นคลี่ถูกต้องพอใช้

แบบแผ่นคลี่

ต้องปรับปรุง

5.ความสะอาดของแบบแผ่นคลี่

แบบแผ่นคลี่

สะอาดดีมาก

แบบแผ่นคลี่สะอาดดี

แบบแผ่นคลี่สะอาดพอใช้

แบบแผ่นคลี่

ต้องปรับปรุงความสะอาด

แบบการประเมินผลชิ้นงาน

หน่วยที่ 6 การเขียนแผ่นคลี่ข้อต่อท่อสี่เหลี่ยม – กลม ใช้กับใบงานที่ 16, 17, 18

วิชา งานระบบท่อส่งความเย็น

(2103 - 2109)

ชั้น..................... กลุ่ม.....................

การตัดชิ้นงาน

การพับ-ขึ้นรูปชิ้นงาน

การประกอบชิ้นงาน

ความสะอาดของชิ้นงาน

รวม

ผลการประเมิน

ผ่าน

ไม่ผ่าน

ที่

ชื่อ - สกุล

4

4

4

4

16

หมายเหตุ ถ้าคะแนนต่ำกว่า 8 คะแนน ต้องนำไปปรับปรุงแก้ไข

เกณฑ์การประเมินผลชิ้นงาน

รายการประเมินผล

ระดับคุณภาพ

ดีมาก(4)

ดี(3)

พอใช้(2)

ปรับปรุง(1)

1.การตัดชิ้นงาน

ตัดได้ตรงเรียบถูกต้องตามขนาด

ที่กำหนด

ตัดได้ตรงเรียบ

ไม่ถูกต้องตามขนาดที่กำหนด

ตัดได้ตรงไม่เรียบ

ไม่ถูกต้องตามขนาดที่กำหนด

ตัดไม่ตรงไม่เรียบ

ไม่ถูกต้องตามขนาด

ที่กำหนด

2.การขึ้นรูปชิ้นงาน

พับได้ตรงตามเส้นทุกด้านได้มุมคมสวยงามดีมาก

พับได้ตรงตามเส้นทุกด้านได้มุมสวยงามดี

พับได้ตรงตามเส้นเป็นบางด้านได้มุมสวยงามพอใช้

พับได้ตรงตามเส้น

เป็นบางด้านแต่พับไม่ได้มุมคมและไม่สวยงาม

3.การประกอบชิ้นงาน

ประกอบชิ้นงานได้เหมาะสมดีมาก

ประกอบชิ้นงานได้เหมาะสมดี

ประกอบชิ้นงานได้เหมาะสมพอใช้

ประกอบชิ้นงาน

ต้องปรับปรุง

4.ความสะอาดของชิ้นงาน

ชิ้นงาน

สะอาดดีมาก

ชิ้นงาน

สะอาดดี

ชิ้นงาน

สะอาดพอใช้

ชิ้นงาน

ต้องปรับปรุงความสะอาด

การประเมินผลด้านคุณธรรม จริยธรรม และคุณลักษณะที่พึงประสงค์

หน่วยที่ 6 การเขียนแผ่นคลี่ข้อต่อท่อสี่เหลี่ยม - กลม

วิชา งานระบบท่อส่งความเย็น

(2103 - 2109)

ชั้น..................... กลุ่ม.....................

ความมีวินัย

ความซื่อสัตย์

ความรับผิดชอบ

ความสนใจใฝ่รู้

การประหยัด

รวม

ผลการประเมิน

ผ่าน

ไม่ผ่าน

ที่

ชื่อ - สกุล

4

4

4

4

4

20

หมายเหตุ ถ้าคะแนนต่ำกว่า 10 คะแนน ควรเรียกนักศึกษามาอบรมตักเตือน เพื่อให้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมใหม่ในทางที่ดีขึ้น

เกณฑ์ให้คะแนนคุณธรรม จริยธรรม และคุณลักษณะที่พึงประสงค์

คุณธรรม จริยธรรม

และคุณลักษณะที่พึงประสงค์

พฤติกรรมบ่งชี้

1. ความมีวินัย

1.1 ปฏิบัติตามกฎระเบียบ ข้อบังคับ ข้อตกลงต่าง ๆ ของวิทยาลัยฯได้แก่ การแต่งกายถูกต้องตามระเบียบ ข้อบังคับ การตรงต่อเวลา รักษาสาธารณสมบัติสิ่งแวดล้อม

1.2 ประพฤติตนถูกต้องตามศีลธรรมอันดีงาม

1.3 เข้าร่วมกิจกรรมตามที่กำหนด

2. ความซื่อสัตย์

2.1 มีความซื่อสัตย์ต่อตนเองและผู้อื่น

2.2 ไม่ลักขโมยสมบัติผู้อื่น

2.3 พูดความจริง

2.4 ไม่นำผลงานของคนอื่นมาแอบอ้างเป็นของตนเอง

2.5 ไม่ทุจริตในการสอบ

3. ความรับผิดชอบ

3.1 มีความรับผิดชอบต่อตนเองและผู้อื่น

3.2 ปฏิบัติงานที่มอบหมายเสร็จตามกำหนด

3.3 ปฏิบัติงานด้วยความตั้งใจ

3.4 มีความเพียรพยายามในการเรียนและการปฏิบัติงาน

3.5 รักษาทรัพย์สินของส่วนรวม

3.6 ยอมรับผลการกระทำของตน

4. ความสนใจใฝ่รู้

4.1 ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง

4.2 ซักถามปัญหาข้อสงสัย

4.3 แสวงหาความรู้และประสบการณ์ใหม่

4.4 สนใจติดตามข่าวสารปัจจุบัน

4.5 มีความกระตือรือร้นสนใจใฝ่รู้

5. การประหยัด

5.1 ใช้วัสดุถูกต้องและเหมาะสมกับงาน

5.2 ปิดไฟ - ปิดพัดลมทุกครั้งเมื่อเลิกใช้

5.3 ใช้วัสดุอย่างประหยัดและคุ้มค่า

วิชา งานระบบท่อส่งความเย็น

2103 - 2109

สื่อแผ่นใสประกอบการสอน

หน่วยที่ 6 การเขียนแผ่นคลี่ข้อต่อท่อสี่เหลี่ยม - กลม

แผ่นใสที่

6 / 1

ลักษณะของข้อต่อท่อสี่เหลี่ยม - กลม เยื้องศูนย์

วิชา งานระบบท่อส่งความเย็น

2103 - 2109

สื่อแผ่นใสประกอบการสอน

หน่วยที่ 6 การเขียนแผ่นคลี่ข้อต่อท่อสี่เหลี่ยม-กลม

แผ่นใสที่

6 / 2

วิธีการเขียนแผ่นคลี่ข้อต่อท่อสี่เหลี่ยม - กลม เยื้องศูนย์

ด้านแผ่นปากท่อสี่เหลี่ยม

วิธีการเขียนแผ่นคลี่ข้อต่อท่อสี่เหลี่ยม - กลม เยื้อง ศูนย์

ด้านแผ่นท่อกลม

วิชา งานระบบท่อส่งความเย็น

2103 - 2109

สื่อแผ่นใสประกอบการสอน

หน่วยที่ 6 การเขียนแผ่นคลี่ข้อต่อท่อสี่เหลี่ยม - กลม

แผ่นใสที่

6 / 3

ลักษณะของข้องอสี่เหลี่ยม - กลม

วิชา งานระบบท่อส่งความเย็น

2103 - 2109

สื่อแผ่นใสประกอบการสอน

หน่วยที่ 6 การเขียนแผ่นคลี่ข้อต่อท่อสี่เหลี่ยม-กลม

แผ่นใสที่

6 / 4

วิธีการเขียนแผ่นคลี่ข้องอสี่เหลี่ยม - กลม

ด้านแผ่นปากท่อสี่เหลี่ยม

วิธีการเขียนแผ่นคลี่ข้องอสี่เหลี่ยม - กลม

ด้านแผ่นท่อกลม

วิชา งานระบบท่อส่งความเย็น

2103 - 2109

สื่อแผ่นใสประกอบการสอน

หน่วยที่ 6 การเขียนแผ่นคลี่ข้อต่อท่อสี่เหลี่ยม - กลม

แผ่นใสที่

6 / 5

ลักษณะของตะเข็บต่าง ๆ ที่ใช้ในงานต่อท่อส่งความเย็นเข้าด้วยกัน

วิชา งานระบบท่อส่งความเย็น

2103 - 2109

สื่อแผ่นใสประกอบการสอน

หน่วยที่ 6 การเขียนแผ่นคลี่ข้อต่อท่อสี่เหลี่ยม - กลม

แผ่นใสที่

6 / 6

ลักษณะของตะเข็บต่าง ๆ ที่ใช้ในงานต่อท่อส่งความเย็นเข้าด้วยกัน

( 21 มม. ปีกท่อส่งลม(ก)(ข)25 มม.ตรงสำหรับเจาะยึด หรือ หมุดโลหะสำหรับตอกยึด)

วิชา งานระบบท่อส่งความเย็น

2103 - 2109

สื่อแผ่นใสประกอบการสอน

หน่วยที่ 6 การเขียนแผ่นคลี่ข้อต่อท่อสี่เหลี่ยม - กลม

แผ่นใสที่

6 / 7

ลักษณะของระบบท่อส่งความเย็นที่ประกอบเข้าด้วยกัน

เอกสารอ้างอิง

กลุ่มวิชาชีพช่างประกอบผลิตภัณฑ์. ระบบท่อระบายอากาศ. : ศูนย์ฝึกอบรมและพัฒนาอาชีวศึกษา,

2530.

ชัยสวัสดิ์ เทียนวิบูลย์. การทำความเย็นและปรับอากาศ. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ ก.วิวรรธน์,2523.

นริศ ศรีเมฆ. เขียนแบบช่างเชื่อมโลหะ 2. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์เอมพันธ์จำกัด,2549.

. งานระบบท่อระบายอากาศ. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์เอมพันธ์จำกัด,2550.

วิทยาลัยเทคนิคอุดรธานี. เอกสารใบงานท่อระบายอากาศ.

สมเกียรติ จงประสิทธิ์พร. การเขียนแบบท่อระบายอากาศ. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ :

ขนิษฐ์การพิมพ์, 2524.

The Engineering Toolbox. http://www.engineeringtoolbox.com/ventilation-systems-t_37.html, 2550.