35
Photo by Nassaran MEMORY OF KANCHANABURI

MEMORY of KANCHANABURI

Embed Size (px)

DESCRIPTION

MEMORY of KANCHANABURI

Citation preview

Page 1: MEMORY of KANCHANABURI

Photo by Nassaran

MEMORY OFKANCHANABURI

Page 2: MEMORY of KANCHANABURI

บทนำ�

กาญจนบุรีคือดินแดนแห่งธรรมชาติ อันอุดมสมบูรณ์ด้วยผืนป่า พรรณไม้ โถงถ้ำา น้ำาตก และ

ประเพณีวัฒนธรรมอันหลากหลายของผู้คนหลากเชื้อชาติที่อาศัยอยู่ร่วมกันอย่างเอื้ออารี ทั้งไทย พม่า

มอญ ปากะญอ (กะเหรี่ยง) ฯลฯ ยิ่งไปกว่านั้น กาญจนบุรียังเต็มไปด้วยเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ โดย

เฉพาะเหตุการณ์ในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ซึ่งมีอนุสรณสถานหลายแห่งปรากฏให้เห็นเป็นหลักฐาน

เช่น สะพานข้ามแม่น้ำาแคว สุสานทหารสัมพันธมิตร พิพิธภัณฑ์ช่องเขาขาด ฯลฯด้วยความหลากหลาย

ของพื้นที่และเรื่องราวที่สั่งสมอยู่ในจังหวัดชายแดนตะวันตกแห่งนี้ กาญจนบุรีจึงเป็นจุดหมายปลายทาง

ที่เหมาะสำาหรับนักท่องเที่ยวทุกสไตล์ ทุกวัย และทุกฤดูกาล

หนังสือภาพเรื่์องธรรมชาติ แหล่งประวัติศาตร์ในจังหวัดกาญจนบุรีเล่มนี้ จะเป็นการนำาเสนอ

ในเชิงท่องเที่ยวทางธรรมชาติ และแหล่งประวัติศาสตร์ที่สำาคัญ ทั้งยังเป็นการประชาสัมพันธ์แหล่งท่อง

เที่ยวให้สำาหรับบุคคลที่รักและสนใจในเรื่องของการถ่ายภาพด้วย ผู้จัดทำาจึงหวังเป็นอย่างยิ่งว่าหนังสือ

เล่มนี้จะเป็นประโยชน์แก่บุคคลทุกเพศทุกวัยและหากมีข้อผิดพลาดประการใด ผู้จัดทำากราบขออภัยมา

ณ ที่นี้

นางสาวนัศรันทร์ ฉายแก้ว

ผู้จัดทำา

Page 3: MEMORY of KANCHANABURI

ส�รบัญ

สุส�นทห�รสัมพันธมิตร

หน้� 2

สะพ�นข้�มแม่น้ำ�แคว

หน้� 6

ท�งรถไฟส�ยมรณะ

หน้� 12

ช่องเข�ข�ดหน้� 18

น้ำ�ตกเอร�วัณ

หน้� 26ถ้ำ�ละว้�

หน้� 32

เหมืองปิล๊อก

หน้� 38

ด่�นเจดีย์ส�มองค์

หน้� 46

วัดวังก์วิเวก�ร�ม

หน้� 48

สะพ�นมอญ

หน้� 54

Page 4: MEMORY of KANCHANABURI

ก�รเดินท�งไปจังหวัดก�ญจนบุรี1. ท�งรถยนต์ เส้นทางที่ 1 ไปตามถนนเพชรเกษมหรือไปตามถนนบรมราชชนนี ผ่านนครชัยศรี นครปฐม

บ้านโป่ง ท่ามะกา ท่าม่วง ถึงจังหวัดกาญจนบุรี ระยะทาง 129 กม. ใช้เวลาประมาณหนึ่งชั่วโมงครึ่ง

2. ท�งรถโดยส�รประจำ�ท�ง รถโดยสารปรับอากาศ ออกจากสถานีขนส่งสายใต้ รถปรับอากาศชั้นหนึ่ง ออกทุก 15 นาที

ตั้งแต่เวลา 05.00-22.30 น. รถปรับอากาศชั้นสองออกทุก 20 นาที ตั้งแต่เวลา 05.10-20.30 น. ใช้

เวลาเดินทางประมาณ 2 ชั่วโมง สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 435-1200, 434-7192

รถโดยสารธรรมดา ออกจากสถานีขนส่งสายใต้ทุก 15 นาที ตั้งแต่เวลา 04.00-20.00 น. ใช้เวลา

เดินทางประมาณ 2 ชั่วโมง สอบถามรายละเอียดได้ที่ โทร. 434-5557-8

3. ท�งรถไฟ ออกจากสถานีรถไฟบางกอกน้อย วันละ 2 เที่ยว เวลา 07.50 น. และ 13.45 น. แวะจอดที่สถานี

กาญจนบุรี สะพานข้ามแม่น้ำาแคว ท่ากิเลน สถานีน้ำาตก สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 411-

3102 วันเสาร์ อาทิตย์ และวันหยุดราชการ มีรถไฟเที่ยวพิเศษ นำาเที่ยวไปกลับภายในวันเดียว ราย

ละเอียดสอบถาม โทร. 223-7010, 223-7020, 225-6964

ME

MO

RY

OF

KA

NC

HA

NA

BU

RI

1MEMORY OF KANCHANABURI

Page 5: MEMORY of KANCHANABURI

2

สุส�นทห�รสัมพันธมิตร (ดอนรัก)

หรือ "สุสานทหารสหประชาชาติ" หรือที่ชาวจังหวัดกาญจนบุรีทั่วไป

เรียกว่า "ป่าช้าอังกฤษ" เป็นสุสานขนาดใหญ่บนพื้นที่ 17 ไร่ บรรจุศพเชลย

ศึกที่เสียชีวิตระหว่างการสร้างทางรถไฟสายมรณะถึง 6,982 หลุม โดย

เชลยศึก 300 คนเสียชีวิตด้วยอหิวาตกโรคและฝังไว้ที่ค่ายนิเกะ ประมาณ

15 กิโลเมตร ก่อนถึงด่านเจดีย์สามองค์)ส่วนที่เหลือได้จากหลุมฝังศพเชลย

ศึกตามค่ายต่างๆและยังมีสุสานช่องไก่ ซึ่งรัฐบาลไทยและฝ่ายสัมพันธมิตร

ได้ตกลงกันเมื่อวันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2497 เพื่อสร้างสุสานสองแห่งนี้ขึ้น

บรรยากาศในสุสานเงียบสงบและร่มรื่น พื้นที่ภายในได้รับการตกแต่งไว้

อย่างเป็นระเบียบสวยงาม เหนือหลุมฝังศพทุกหลุมมีแผ่นทองเหลืองจารึก

ชื่อ อายุ และประเทศของผู้เสียชีวิต บรรทัดสุดท้ายเป็นคำาไว้อาลัยที่โศก

เศร้า ทุกปีจะมีวันที่รำาลึกถึงผู้เสียชีวิตเฉพาะของคนชาติต่างๆ

3MEMORY OF KANCHANABURI MEMORY OF KANCHANABURI

Page 6: MEMORY of KANCHANABURI

4 5 MEMORY OF KANCHANABURI MEMORY OF KANCHANABURI

สถานที่แห่งนี้มีความเงียบสงบ ชวนให้รำาลึกถึงเหตุการณ์การสู้รบและผลลัพธ์ที่ตามมา สุสานแห่งนี้

“บรรจุศพทหารเชลยศึกถึง 6,982 หลุม”

Page 7: MEMORY of KANCHANABURI

6

สะพ�นข้�มแม่นำ�้แคว

สะพานข้ามแม่น้ำาแควเป็นสถานที่ทางประวัติศาสตร์ที่สำาคัญยิ่งแห่ง

หนึ่ง เป็นสะพานที่สำาคัญที่สุดของเส้นทางรถไฟสายมรณะ สร้างขึ้นสมัย

สงครามโลกครั้งที่ 2 โดยกองทัพญี่ปุ่นได้เกณฑ์เชลยศึกฝ่ายสัมพันธมิตร

ได้แก่ ทหารอังกฤษ อเมริกัน ออสเตรเลีย ฮอลันดา และนิวซีแลนด์

ประมาณ 61,700 คน สมทบด้วยกรรมกรชาวจีน ญวน ชวา มลายู ไทย

พม่า (เมียนมาร์) และ อินเดีย อีกจำานวนมาก มาก่อสร้างทางรถไฟสาย

ยุทธศาสตร์ เพื่อเป็นเส้นทางผ่านไปสู่ประเทศพม่า ซึ่งเส้นทางช่วงหนึ่งจะ

ต้องข้ามแม่น้ำาแควใหญ่ จึงต้องมีการสร้างสะพานขึ้น การสร้างสะพานและ

ทางรถไฟสายนี้ เต็มไปด้วยความยากลำาบาก ความทารุณของสงครามและ

โรคภัย ตลอดจนการขาดแคลนอาหาร ทำาให้เชลยศึกหลายหมื่นคนต้องเสีย

ชีวิตลง

สะพานข้ามแม่น้ำาแควใช้เวลาสร้างเพียง 1 เดือน โดยนำาเหล็กจาก

มลายูมาประกอบเป็นชิ้น ๆ ตอนกลางทำาเป็นสะพานเหล็ก 11 ช่วง หัวและ

โครงสะพานเป็นไม้ มีพิธีเปิดอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 25 ธันวาคม พ.ศ.

2486 ต่อมาในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2487 ได้ถูกทิ้งระเบิดหลายครั้งจน

สะพานหักท่อนกลาง ภายหลังสงครามสิ้นสุดลง รัฐบาลไทยได้ซ่อมแซม

ใหม่ด้วยเหล็กรูปเหลี่ยม เมื่อปี พ.ศ. 2489 จนสามารถใช้งานได้ ปัจจุบัน มี

การยกย่องให้เป็น สัญลักษณ์แห่งสันติภาพ

7 MEMORY OF KANCHANABURI MEMORY OF KANCHANABURI

Page 8: MEMORY of KANCHANABURI

8

“บริเวณกลางสะพานแม่น้ำาแคว”

เป็นจุดซึ่งนักท่องเที่ยวนิยมมาถ่ายรูปกันมาก

ด้านข้างสะพานมีชานยื่นออก

เพื่อให้นักท่องเที่ยวหลบเมื่อรถไฟจะวิ่งผ่าน

9 MEMORY OF KANCHANABURI MEMORY OF KANCHANABURI

Page 9: MEMORY of KANCHANABURI

10

ท่�เรือสะพ�นข้�มแม่น้ำ�แคว (ต้นโพธิ์)

มีเรือและแพทั้งหมดให้บริการนำาเที่ยวไปตามลำานำา้แควใหญ่และ แควน้อย

ราคาไม่แพง มี 2 แห่ง คือ

- หน้าหัวเมือง เรือและแพทั้งหมดจากบริเวณนี้ล่องไปตามลำาน้ำาแควน้อย

- สะพานแมน้ำาแคว จากจุดนี้นักท่องเที่ยวจะได้ล่องแม่น้ำาแควและแวะตาม

สถานที่ท่องเที่ยวริมน้ำาซึ้งอยู่ไม่ห่างจาก สะพานข้ามแม่น้ำา แควมาก นัก

11 MEMORY OF KANCHANABURI MEMORY OF KANCHANABURI

Page 10: MEMORY of KANCHANABURI

12

ท�งรถไฟส�ยมรณะ

ทางรถไฟสายนี้สร้างขึ้นในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 โดยใช้แรงงาน

เชลยศึกฝ่ายสัมพันธมิตรและกรรมกรชาวเอเชียที่กองทัพญี่ปุ่นเกณฑ์

มาสร้าง เพื่อใช้เป็นเส้นทางยุทธศาสตร์ผ่านประเทศพม่า ปัจจุบันเส้น

ทางนี้ไปสุดปลายทางที่บ้านท่าเสาหรือสถานีน้ำาตก ระยะทางจากสถานี

กาญจนบุรีถึงสถานีน้ำาตกเป็นระยะทางประมาณ 77 กิโลเมตร การรถไฟ

แห่งประเทศไทยเปิดเดินรถบนเส้นทางนี้ทุกวันและจัดรถไฟขบวนพิเศษ

สายกรุงเทพฯ - น้ำาตก ทุกวันเสาร์ อาทิตย์ และวันหยุดราชการ จุดที่นัก

ท่องเที่ยวให้ความสนใจมากคือช่วงสะพานข้ามแม่น้ำาแคว และช่วงโค้ง

มรณะหรือถ้ำากระแซ ซึ่งเป็นสะพานโค้งเลียบแม่น้ำาแควน้อยยาวประมาณ

400 เมตร

13 MEMORY OF KANCHANABURI MEMORY OF KANCHANABURI

Page 11: MEMORY of KANCHANABURI

ความสวยงามและความน่าทึ่ง

ที่คนสมัยก่อนสร้างทางไปได้ยังไง

รถไฟหนักเป็นร้อยๆตัน

แต่ทำาให้ผ่านได้บนท่อนซุงเล็กๆ

หลายๆ ท่อนเขาบอกไว้ว่า

“1 ชีวิต = 1”

ไม้หมอนรางรถไฟ

ของเชลยศึกในยามสงคราม

14 15 MEMORY OF KANCHANABURI MEMORY OF KANCHANABURI

Page 12: MEMORY of KANCHANABURI

มุมมองที่มองจากบนรถไฟจะเห็นวิวข้างทาง “แม่น้ำาแควน้อย” อีกมุมหนึ่งที่สวยงามมาก“บรรยากาศยามเช้า” จะมีพระสงฆ์เดินผ่านทางรถไฟสายมรณะเส้นนี้เพื่อบิณฑบาตร

16 17 MEMORY OF KANCHANABURI MEMORY OF KANCHANABURI

Page 13: MEMORY of KANCHANABURI

ช่องเข�ข�ด

หรือ "ช่องไฟนรก" เป็นส่วนหนึ่งของเส้นทางรถไฟสายไทย-พม่า

(เส้นทางรถไฟสายมรณะ)ตลอดเส้นทางรถไฟสายไทย-พม่า (เส้นทางรถไฟ

สายมรณะ)มีหลายจุดที่มีเนินหิน ภูเขา หน้าผา หรือหุบเหว ขวางอยู่จึง

ต้องขุดให้เป็นช่องเพื่อที่รถไฟสามารถวิ่งผ่านไปได้ซึ่งที่ช่องเขาขาด หรือ

ช่องไฟนรก เป็นจุดที่ใหญ่ที่สุดบนเส้นทางนี้ การขุดเจาะช่องเขาขาดเริ่ม

ในเดือนเมษายนปีพ.ศ. 2486 ปรากฏว่างานล่าช้ากว่ากำาหนดจึงมีช่วงที่

เร่งงานซึ่งแรงงานแต่ละกะต้องทำางานถึง 18 ชั่วโมงโดยงานส่วนใหญ่ล้วน

ใช้แรงคนทั้งสิ้น เช่นการสกัดภูเขาด้วยมือ ซึ่งเป็นการทำางานที่ทารุณยิ่ง

เนื่องจากต้องปีนลงไปสกัดในช่องเขาซึ่งบางช่วงสูงถึง 11 เมตร จนแทบ

ไม่มีอากาศหายใจทั้งยังต้องทำางานท่ามกลางอากาศร้อนอบอ้าวในช่วง

เดือนมีนาคม ในภาวะขาดแคลนน้ำาและอาหาร เมื่อเจ็บป่วยแพทย์และ

อุปกรณ์ทางการแพทย์ก็ไม่เพียงพอต่อการพยาบาลต้องดูแลกันตามมีตาม

เกิด เชลยศึกและกรรมกรที่ช่องเขาขาดต้องทำางานตอนกลางคืนด้วยแสง

ไฟจากคบเพลิงและกองเพลิงทำาให้สะท้อนเห็นเงาของเชลยศึกและผู้คุม

วูบวาบบนผนังทำาให้ที่นี่ได้รับการขนานนามว่า "ช่องไฟนรก" หรือ Hell-

fire Pass ในภาษาอังกฤษ

18 19 MEMORY OF KANCHANABURI MEMORY OF KANCHANABURI

Page 14: MEMORY of KANCHANABURI

ในทุกวันที่ 25 เมษายนของทุกปี จะมีชาวต่างชาติ และคนไทยมากหน้า

หลายตา เดินทางมาร่วมพิธีวันรำาลึกถึงเชลยศึกออสเตรเลีย-นิวซีแลนด์ ซึ่งเรียกว่า

วัน ANSAC DAY ซึ่งอาจเป็นบรรดาญาติพี่น้อง ครอบครัว และรวมถึงอดีตเชลย

ศึกชาวออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และอีกหลายๆ ชาติ ที่รอดชีวิต ดอกไม้ แสงเทียน

และพวงมาลา เป็นสิ่งแสดงความเสียใจ และแสดงความรำาลึกนึกถึงการจากไป

ของผู้เป็นที่รัก ในเหตุการณ์ที่ตราตรึงของช่องเขาขาด ในครานั้น…

“ป้านอนุสรณ์ช่องเขาขาด”

20 21 MEMORY OF KANCHANABURI MEMORY OF KANCHANABURI

Page 15: MEMORY of KANCHANABURI

พิพิธภัณฑ์ช่องเข�ข�ด

ช่องเขาขาดพิพิธภัณฑ์สถานแห่งความทรงจำา เป็นสถานที่จัดแสดง

มินิเธียเตอร์ และรวบรวมข้อมูลภาพถ่าย ข้าวของเครื่องใช้ระหว่างการ

สร้างทางรถไฟสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 โดยรัฐบาลออสเตรเลียได้จัดตั้ง

พิพิธภัณฑ์ขึ้น พิพิธภัณฑ์นี้จัดไว้อย่างเป็นระเบียบสวยงาม ภายในบริเวณมี

เส้นทางเดินศึกษาธรรมชาติไปยังช่องเขาขาด ซึ่งเป็นสวนหนึ่งของทางรถไฟ

สายมรณะ ที่เชลยศึกในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ตัดเจาะภูเขาหินด้วยมือ

ปราศจากเครื่องมืออันทันสมัยให้เป็นช่อง สำาหรับสร้างทางรถไฟ

ปัจจุบันยังมีร่องรอยของทางรถไฟปรากฏอยู่ มีเส้นทาง เดินตามรอยราง

รถไฟ ที่ตักช่องเขา เป็นทางรถไฟ ที่สมัยสงครามโลก ญี่ปุ่น เอาเฉฉลยศึก

ตัดทางรถไฟเส้นนี้ ไปพม่า..เดินไปเรื่อยๆ ก็จะมีจุดที่ไวอาลัย

MEMORY OF KANCHANABURI MEMORY OF KANCHANABURI22 23

Page 16: MEMORY of KANCHANABURI

“ห้องแสดงภาพ” หุ่นจำาลองการขุดรางรถไฟ และเครื่องมือที่ใช้ขุดรางรถไฟ

24 25 MEMORY OF KANCHANABURI MEMORY OF KANCHANABURI

Page 17: MEMORY of KANCHANABURI

อุทย�นแห่งช�ติน้ำ�ตกเอร�วัณ

ตั้งอยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติเอราวัณ ตำาบลท่ากระดาน อำาเภอ

ศรีสวัสดิ์ จังหวัดกาญจนบุรี อยู่ห่างจากที่ทำาการอุทยานประมาณ 500

เมตร มีความสูงจากระดับน้ำาทะเลตั้งแต่ 100 - 400 เมตร แบ่งเป็นชั้น

ต่างๆ 7 ชั้น มีระยะทางจากชั้นล่างสุดขึ้นไปชั้นบนสุด 1500 เมตร ลำาน้ำา

เมื่อตกลงมาแล้วจะไหลลงแม่น้ำาแควใหญ่บริเวณที่ทำาการอุทยาน เดิม

น้ำาตกนี้ชาวบ้านเรียกว่า น้ำาตกสะด่องม่องลาย อันเป็นชื่อลำาห้วยม่องลาย

ที่เป็นต้นน้ำา โดยบริเวณน้ำาตกจะมีน้ำาตลอดปีแต่จะมีน้ำาน้อยในช่วงฤดูแล้ง

ราวเดือนธันวาคมถึงเมษายน

26 27 MEMORY OF KANCHANABURI MEMORY OF KANCHANABURI

Page 18: MEMORY of KANCHANABURI

น้ำาตกเอราวัณ มีทั้งหมด 7 ชั้น ความสวยของแต่ละชั้นงดงามไปคนละแบบ “ทุกชั้นน้ำาใส ไหลเย็น”

28 29 MEMORY OF KANCHANABURI MEMORY OF KANCHANABURI

Page 19: MEMORY of KANCHANABURI

ลักษณะน้ำาตกชั้นที่ 7 ของที่นี่

มีลักษณะคล้ายหัวช้างเอราวัณ 3 เศียร

จึงกลายเป็นที่มาของชื่อ น้ำาตกเอราวัณ

ซึ่งเป็นที่รู้จักของคนทั่วไปเป็นอย่างดี

“ คุณคือผู้พิชิต ”

3130 MEMORY OF KANCHANABURI MEMORY OF KANCHANABURI

Page 20: MEMORY of KANCHANABURI

ถำ�้ละว้�

เป็นถ้ำาแรกๆ ที่ถูกค้นพบของกาญจนบุรีโดยนายผิน ดอกเข็ม เมื่อ

ราวๆ ปีพ.ศ. 2496 หรือเมื่อเกือบ 60 ปีมาแล้ว แถมตอนค้นพบยังพบ

พร้อมกับโครงกระดูกมนุษย์โบราณอีกด้วย จึงทำาให้สันนิษฐานได้ว่าที่

แห่งนี้อาจจะเคยเป็นที่อยู่อาศัยของมนุษย์ในยุค ก่อนประวัติศาสตร์ก็เป็น

ได้ นอกจากนี้ด้วยที่ตั้งของถ้ำาละว้าที่อยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติไทรโยคซึ่ง

ห่าง จากอำาเภอเมืองไม่มากนัก การเดินทางมาท่องเที่ยวถ้ำาละว้าจึงถือว่า

สะดวกมากพอควรเลยทีเดียว

3332 MEMORY OF KANCHANABURI MEMORY OF KANCHANABURI

Page 21: MEMORY of KANCHANABURI

MEMORY OF KANCHANABURI

MEMORY OF KANCHANABURI

บริเวณส่วนด้านหน้าภายในถ้ำาละว้า มีหินงอกหินย้อย และ ”พระพุทธรูป” ที่เคารพนับถือ ผนังถำา้บางส่วนมองเห็นการเปลี่ยนแปลงเป็นชั้นๆชัดเจน และ “หินงอกหินย้อย” ที่เรียงรายชิดกันอย่างหนาแน่น

34 35

Page 22: MEMORY of KANCHANABURI

MEMORY OF KANCHANABURI

MEMORY OF KANCHANABURI

“ป้ายคำาแนะนำา” การเตรียมตัวเพื่อเข้าถ้ำาไว้ให้อ่าน โดยถ้ำาจะแบ่งเป็นห้องๆ มีทั้งหมด ๕ ห้อง

36 37

Page 23: MEMORY of KANCHANABURI

เหมืองปิล็อก

ย้อนอดีต ปิล๊อกไปเมื่อหลาย 10 ปีก่อน มีผู้พบเห็นชาวพม่าเข้ามา

ลักลอบขุดแร่ในพื้นที่ตำาบลปิล๊อกไปขายให้ ทหารอังกฤษ คำาเล่าลือนี้ทำาให้

กรมทรัพยากรธรณีสมัยนั้นนำาคณะนายช่างมาสำารวจก็ถึงกับตะลึง เมื่อพบ

ว่าพื้นที่แถบนี้ี่มีแร่ดีบุกและวุลแฟรมอยู่มากมายรองลงมาและมักอยู่ปะปน

กัน คือ แร่ทังสะเตน และยังมีสายแร่ทองคำา ปะปนอยู่กับ สายแร่ดีบุกต่อมา

ปี พ.ศ. 2483 องค์การเหมืองแร่ กรมโลหะกิจ ได้เปิด“เหมืองปิล๊อก”ขึ้น

เป็น แห่งแรกที่บ้านอีต่อง ต.ปิล๊อก จากการเปิดเหมืองในครั้งนั้นได้เกิดการ

ปะทะกันระหว่างตำารวจกับกรรมกรพม่า เพราะฝ่ายไทยห้ามกรรมกรพม่า

นำาแร่ ไปขายให้อังกฤษ แต่กรรมกรพม่าฝ่าฝืน จึงเกิดการปะทะกันทำาให้มี

ผู้บาด เจ็บและล้มตายจำานวนมาก ในอดีตชาวบ้านเรียกว่า "เหมืองผีหลอก"

ต่อมาเพี้ยนเป็น "ปิล๊อก" ซึ่งกลายเป็นชื่อ เหมืองแร่และตำาบลในเวลาต่อมา

หลังจากนั้นก็ได้มีเหมืองแร่อื่นๆทยอยเปิดตามกันมาอีกมากมายทั้ง เหมือง

เล็ก เหมืองใหญ่ ราว 50-60 เหมือง โดยผู้คนพากันเรียกบรรดาเหมือง

ทั้งหลายในพื้นที่แถบนี้แบบเหมารวมว่า “เหมืองปิล๊อก” ดินแดนแห่งนี้

เปรียบเสมือนขุมทรัพย์ของ บรรดานายเมืองทั้งหลายที่ต่างหลั่งไหลเข้ามา

ผู้แสวง โชคมีทั้งคนไทย พม่า และที่มาจากแถบอินเดีย เหมืองแร่จึง สร้าง

ความเจริญรุ่งเรืองให้แก่ชุมชนโดยรอบเป็นอย่างมากเนื่อง

MEMORY OF KANCHANABURI

MEMORY OF KANCHANABURI

38 39

Page 24: MEMORY of KANCHANABURI

บ้�นอีต่อง หมู่บ้านของชายไทยเชื่อสานพม่า เป็นหมู่บ้านเล็กๆที่ยังคง

มีวิถีชีวิตอันงดงาม จากหมู่บ้านมีจุดชมวิวที่สามารถมองเห็นเขาช้าง

เผือกซึ่งเป็นยอดเขา ที่สูงที่สุด ของ อ. ทองผาภูมิ มีนักนักท่องเที่ยว

ที่รักการเดินป่าและผจญภัยขึ้นไปพิชิตความสวยงาม และ ยิ่งใหญ่

ของที่นี่กันแทบทุกปี

MEMORY OF KANCHANABURI

MEMORY OF KANCHANABURI

40 41

Page 25: MEMORY of KANCHANABURI

เป็นจุดชมทิวทัศน์ที่อยู่บนยอดเขาสูง

มีกระแสลมพัดผ่านตลอดเวลา

“อากาศบริสุทธิ์และเย็นสบาย”

จากการสำารวจ

ได้พบว่า จุดชมทิวทัศน์แห่งนี้มีความ

สวยงามมาก เมื่อเราไปอยู่บนจุดนี้แล้วเรา

”สามารถมองเห็นทิวทัศน์ต่าง ๆ

ได้รอบตัว “

MEMORY OF KANCHANABURI

MEMORY OF KANCHANABURI

42 43

Page 26: MEMORY of KANCHANABURI

วัดเหมืองปิล็อกถ้ามองจากด้านหน้าพระพุทธรูปขึ้นไปจะเห็น “เจดีย์เรียงกันอย่างสวยงาม” วัดเหมืองปิล็อกถ้ามองจากด้านหลังพระพุทธรูปจะเห็น “วิวทิวทัศน์บริเวณรอบๆวัด”

MEMORY OF KANCHANABURI

MEMORY OF KANCHANABURI

4544

Page 27: MEMORY of KANCHANABURI

พระเจดีย์ส�มองค์

พระเจดีย์สามองค์นี้เดิมเรียกว่า หินสามกอง เป็นที่สักการะของคน

ไทย โดยทั่วไปก่อนเดินทางออกจากเขตแดนไทยเข้าสู่เขตแดนพม่า ต่อมา

ในปี พ.ศ. 2472 พระศรีสุวรรณคีรี เจ้าเมืองสังขละบุรีได้เป็นผู้นำาชาวบ้าน

ก่อสร้างเจดีย์ขนาดเล็กสามองค์ดังที่เห็นในปัจจุบัน นอกจากนี้ด่านเจดีย์

สามองค์ยังเป็นช่องทางเดินทัพที่สำาคัญของไทยและพม่าในอดีต บริเวณ

ด่านเจดีย์สามองค์ มีร้านขายสินค้าจากประเทศพม่า นักท่องเที่ยวสามารถ

ข้ามชายแดนเข้าไปชมตลาดพญาตองซู ซึ่งเป็นตลาดชายแดน ที่มีการ

จำาหน่ายสินค้าของพม่า

MEMORY OF KANCHANABURI

MEMORY OF KANCHANABURI

46 47

Page 28: MEMORY of KANCHANABURI

วัดวังก์วิเวก�ร�ม

หรือ วัดหลวงพ่ออุตตมะ วัดวังก์วิเวการาม ก่อสร้างด้วยศิลปะแบบ

พม่า มีพระพุทธรูปหินอ่อน และ งาช้างแมมมอธ มีเจดีย์พุทธคยาจำาลอง

สร้างจำาลองแบบจาก เจดีย์พุทธคยา ประเทศอินเดีย โดยเริ่มก่อสร้าง พ.ศ.

2518 แล้วเสร็จเมื่อ พ.ศ. 2529 สะพานมอญ เป็นสะพานไม้ที่ยาวที่สุดใน

ประเทศไทย ยาวประมาณ 900 เมตร

เมื่อ พ.ศ. 2527 การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยได้ก่อสร้างเขื่อน

เขาแหลม หรือ เขื่อนวชิราลงกรณ์ ซึ่งเมื่อกักเก็บน้ำาแล้ว น้ำาในเขื่อนเขา

แหลมจะท่วมตัวอำาเภอเก่ารวมทั้งบริเวณหมู่บ้านชาวมอญทั้งหมด ทางวัด

จึงได้ย้ายมาอยู่บนเนินเขาในที่ปัจจุบัน

MEMORY OF KANCHANABURI

MEMORY OF KANCHANABURI

4948

Page 29: MEMORY of KANCHANABURI

MEMORY OF KANCHANABURI

MEMORY OF KANCHANABURI

“รอยพระพุทธบาทจำาลอง”

ซึ่งประชาชนนิยมมาเสี่ยงตั้งเหรียญ

เห็นเหรียญหลายอันมีทั้งตั้งอยู่

และล้มลงไปแล้ว

50 51

Page 30: MEMORY of KANCHANABURI

วัดใต้น้ำ�

หรือ วัดวังก์วิเวการามเก่า โบราณสถานสำาคัญที่จัด

เป็น Unzeen ของอำาเภอสังขละบุรี ซึ่งเป็นอีกหนึ่งไฮไลน์

ของการมาเยือนสังขละเลยก็ว่าได้ ยิ่งถ้ามาในช่วงเดือน

มีนาคม - เมษายน โดยประมาณ ระดับน้ำาในเขื่อนวิชราลง

กรณ์จะลดลง ทำาให้สามารถขึ้นไปเดินชมโบสถ์ภายในวัดได้

MEMORY OF KANCHANABURI

MEMORY OF KANCHANABURI

องค์จำาลองเจดีย์พุทธคยา

5352

Page 31: MEMORY of KANCHANABURI

สะพ�นอุตตม�นุสรณ์

หรือที่นิยมเรียกกันว่า สะพานมอญ หรือ สะพานไม้มอญ เป็น

สะพานไม้ที่ยาวที่สุดในประเทศไทยมีความยาว 850 เมตร และเป็น

สะพานไม้ที่ยาวเป็นอันดับ 2 ของโลกรองจากสะพานไม้อูเบ็ง ในประเทศ

พม่า เป็นสะพานที่ข้ามแม่น้ำาซองกาเรีย ที่ตำาบลหนองลู อำาเภอสังขละบุรี

จังหวัดกาญจนบุรี

สะพานนี้สร้างขึ้นโดยดำาริของ หลวงพ่ออุตตมะ เจ้าอาวาสวัดวังก์วิ

เวการาม ในปี พ.ศ. 2529 จนถึง พ.ศ. 2530 โดยใช้แรงงานของชาวมอญ

เป็นสะพานไม้ที่ใช้สัญจรไปมาของชาวมอญและชาวไทยท่ีอาศัยอยู่บริเวณ

นี้ ปัจจุบันเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงแห่งหนึ่งของจังหวัดกาญจนบุรี

ในวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2556 เวลา 18.30 น. สะพานอุตตมา

นุสรณ์ได้พังทลายขาดเป็น 2 ท่อนในช่วงกลางสะพาน ความยาวประมาณ

30 เมตร เนื่องจากเกิดเหตุฝนตกหนักติดต่อกันนานถึง 3 วัน ทำาให้เกิด

น้ำาป่าไหลเชี่ยวกรากจากทุ่งใหญ่นเรศวร พัดขยะตอไม้ลงสูแม่น้ำาซองกาเลีย

ปะทะกับเสาสะพานทำาให้เกิดขาดกลาง และเสียหายเพิ่มเป็น 70 เมตร ใน

เที่ยงของวันต่อมา

MEMORY OF KANCHANABURI

MEMORY OF KANCHANABURI

54 55

Page 32: MEMORY of KANCHANABURI

MEMORY OF KANCHANABURI

MEMORY OF KANCHANABURI

ถึงแม้จะเป็นช่วงเวลาที่ “สะพานมอญขาด” แต่ก็ไม่อาจลบเลือนเสน่ห์ของสังขละบุรีลงไปได้เลย

56 57

Page 33: MEMORY of KANCHANABURI

“ย�มเช้�” จะมีพระสงฆ์เดินข้ามฝั่งมาบิณฑบาตร สะพานลูกบวบที่สร้างโดยใช้ไม่ไผ่สำาหรับเดินไปมาชั่วคราวระหว่างรอสะพานมอญบูรณะ “สัญจร”

MEMORY OF KANCHAN58ABURI

MEMORY OF KANCHANABURI

58 59

Page 34: MEMORY of KANCHANABURI
Page 35: MEMORY of KANCHANABURI

Photo Book Design “The Nature and History site in Kanchanaburi.”