17

images-se-ed.com...ไอน สไตน ทฤษฎ น จำแนกเน อหาออกเป นสองส วน ส วนแรกเร ยกว า “ทฤษฎ

  • Upload
    others

  • View
    9

  • Download
    0

Embed Size (px)

Citation preview

Page 1: images-se-ed.com...ไอน สไตน ทฤษฎ น จำแนกเน อหาออกเป นสองส วน ส วนแรกเร ยกว า “ทฤษฎ
Page 2: images-se-ed.com...ไอน สไตน ทฤษฎ น จำแนกเน อหาออกเป นสองส วน ส วนแรกเร ยกว า “ทฤษฎ

2 สมการความว่าง

โดย : รศ.ดร.วัชระ งามจิตรเจริญ

ISBN : 978-616-526-082-4

พิมพ์ครั้งที่ 1 : กรกฎาคม 2554

พิมพ์ครั้งที่ 2 : กันยายน 2554

บรรณาธิการอำนวยการ สนธิญาณ ชื่นฤทัยในธรรม รองบรรณาธิการอำนวยการ โกศล

โพธิ์สุวรรณ ผู้ช่วยบรรณาธิการอำนวยการ เอกชัย ชัยเชิดชูกิจ พิพัทธ์ ชนะสงคราม

ที่ปรึกษา ภิรมย์ศักดิ์ สาสุนีย์ เวทิน ชาติกุล ฉัตรชัย ภู่โคกหวาย บรรณาธิการบริหาร

ศักดิ์ศรี บุญรังศรี บรรณาธิการ ณัฐวุฒิ แจ๊ดสูงเนิน กองบรรณาธิการ สุวิชา สุชีวคุปต์

ไญยิกา เมืองจำนงค์ อาทิตย์ เกรียงทองกุล ผู้อำนวยการฝ่ายผลิต อนิรุทธ์ สุวคันธกุล

ปก บุลากร ปาอนันต์ รูปเล่ม พนม ลอสี พิมพ์ที่ เอ.พี.กราฟฟิคดีไซน์และการพิมพ์

โทร. ๐-๒๒๔๓-๙๐๔๐

พิมพ์และจัดจำหน่ายโดย สำนักพิมพ์กรีน ปัญญาญาณ

ในเครือกลุ่มบริษัทที มัลติมีเดีย 50/33 ม.5 ถ.ประชาราษฎร์สาย 1 ต.ตลาดขวัญ อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000

โทร. 0-2525-4242 # 209-210 แฟกซ์ : 0-2525-4764 www.gppbook.com, E-mail : [email protected],

[email protected]

สมการความว่าง

ตัวอย่าง

Page 3: images-se-ed.com...ไอน สไตน ทฤษฎ น จำแนกเน อหาออกเป นสองส วน ส วนแรกเร ยกว า “ทฤษฎ

3วัชระ งามจิตรเจริญ

หนังสือเล่มนี้ปรับปรุงจากงานวิจัยเรื่อง “พระพุทธศาสนากับ

ฟิสิกส์ใหม่” (Buddhism and Modern Physics) ซึ่งได้รับทุนโครงการ

วิจัยกองทุนวิจัยมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ผู้เขียนจึงขอกราบขอบพระคุณ

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ผู้ให้ทุนสนับสนุนการวิจัยครั้งนี้เป็นอย่างสูง

งานเขียนเรื่องนี้เกิดขึ้นจากการที่ผู้เขียนได้รับเชิญให้เป็นอาจารย์

พิเศษบรรยายวิชาพระพุทธศาสนากับวิทยาศาสตร์ที่คณะพุทธศาสตร์

มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย และต่อมาได้สอนวิชาพุทธศาสนา

กับโลกวิทยาศาสตร์ในโครงการปริญญาโทสาขาวิชาพระพุทธศาสนาที่

คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ซึ่งทำให้ผู้เขียนได้รู้ว่า ความ

จริงของโลกในวิทยาศาสตร์สมัยใหม่โดยเฉพาะฟิสิกส์ใหม่มีความ

คล้ายคลึงกันกับความจริงของโลกในพระพุทธศาสนาอย่างน่าอัศจรรย์

อีกทั้งได้พบว่า การนำความรู้ทางวิทยาศาสตร์มาอธิบายเทียบเคียงกับ

คำสอนของพระพุทธศาสนาจะช่วยให้ผู้ที่มีความรู้ทางวิทยาศาสตร์เข้าใจ

คำสอนของพระพุทธศาสนามากขึ้น และทำให้คำสอนของพระพุทธศาสนา

น่าสนใจยิ่งขึ้น จึงได้ทำวิจัยเรื่องฟิสิกส์ใหม่โดยเฉพาะทฤษฎีสัมพัทธภาพ

และทฤษฎีควอนตัม เพื่อให้ได้ความรู้ที่ชัดเจนและสมบูรณ์มากเท่าที่จะ

ทำได้เกี่ยวกับความจริงของโลกในฟิสิกส์ใหม่ที่มีความคล้ายคลึงกับความ

คำนำผู้เขียน

ตัวอย่าง

Page 4: images-se-ed.com...ไอน สไตน ทฤษฎ น จำแนกเน อหาออกเป นสองส วน ส วนแรกเร ยกว า “ทฤษฎ

4 สมการความว่าง

จริงของโลกในคำสอนของพระพุทธศาสนา โดยนำมาเปรียบเทียบและ

สนับสนุนกันเพื่อให้ผู้อ่านเข้าใจความจริงทั้งของฟิสิกส์ใหม่และพระพุทธศาสนา

ไปพร้อมกัน

อย่างไรก็ตาม เนื่องจากผู้เขียนมีความรู้ทางวิทยาศาสตร์ค่อนข้าง

จำกัด จึงพยายามรวบรวมข้อมูลให้มากที่สุดเท่าที่จะหาได้ โดยเฉพาะใน

ส่วนที่เป็นบทสรุปทางวิทยาศาสตร์ที่ผู้อ่านซึ่งไม่มีความรู้ทางวิทยาศาสตร์

พอจะอ่านเข้าใจได้ มาศึกษาและเรียบเรียงเพื่อให้ผู้อ่านสามารถอ่านได้รู้

เรื่องและได้รับความรู้เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์สมัยใหม่โดยเฉพาะทฤษฎี

สัมพัทธภาพและทฤษฎีควอนตัมมากเท่าที่จะทำได้

ดังนั้น งานเขียนเล่มนี้จึงไม่ได้ลงรายละเอียดทางวิทยาศาสตร์โดย

เฉพาะสมการทางคณิตศาสตร์ และยังอาจมีข้อบกพร่องอยู่ ซึ่งผู้เขียนยินดี

น้อมรับคำชี้แนะจากผู้อ่านเพื่อจะได้ปรับปรุงในโอกาสต่อไป

ท้ายนี้ ผู้เขียนขอขอบคุณ สำนักพิมพ์ กรีน-ปัญญาญาณ จำกัด ที่

เห็นคุณค่าของงานเขียนชิ้นนี้ และได้กรุณามอบโอกาสให้หนังสือเล่มนี้ได้

รับการเผยแพร่ ซึ่งผู้เขียนหวังว่าจะเกิดประโยชน์แก่ผู้อ่านไม่มากก็น้อย

รศ.ดร.วัชระ งามจิตรเจริญ

27 มิถุนายน 2554

ตัวอย่าง

Page 5: images-se-ed.com...ไอน สไตน ทฤษฎ น จำแนกเน อหาออกเป นสองส วน ส วนแรกเร ยกว า “ทฤษฎ

5วัชระ งามจิตรเจริญ

“สมการความว่าง” เล่มนี้เป็นหนังสือที่ปรับปรุงมาจากงานวิจัย

เรื่อง “พระพุทธศาสนากับฟิสิกส์ใหม่” (Buddhism and Modern

Physics) ของรองศาสตราจารย์ ดร.วัชระ งามจิตรเจริญ อาจารย์ประจำ

ภาควิชาปรัชญา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ซึ่งงานวิจัย

ชิ้นนี้ได้รับทุนสนับสนุนจากโครงการวิจัยกองทุนวิจัยมหาวิทยาลัย

ธรรมศาสตร์ พ.ศ. 2554

แก่นของหนังสือเล่มนี้คือการสำรวจและวิเคราะห์ระบบความรู้ใน

วิชาฟิสิกส์ใหม่และระบบคำสอนของศาสนาพุทธเพื่อตอบคำถามหลักๆ 3

ประการ คือ (1) อะไรคือความจริงเกี่ยวกับธรรมชาติที่วิชาฟิสิกส์ใหม่

เสนอ (2) อะไรคือความจริงเกี่ยวกับธรรมชาติที่ศาสนาพุทธเสนอ และ

(3) อะไรคือความเหมือนและความต่างระหว่างความจริงในวิชาฟิสิกส์ใหม่

กับความจริงในศาสนาพุทธ

ผลจากความพยายามของท่านอาจารย์วัชระเพื่อตอบคำถาม 3

ประการนี้ ทำให้เราพบว่า มีทฤษฎีในวิชาฟิสิกส์ใหม่อยู่สองทฤษฎีที่

บรรยายภาพความจริงของธรรมชาติเอาไว้อย่างสอดคล้องกับภาพความ

คำนำสำนักพิมพ์

ตัวอย่าง

Page 6: images-se-ed.com...ไอน สไตน ทฤษฎ น จำแนกเน อหาออกเป นสองส วน ส วนแรกเร ยกว า “ทฤษฎ

6 สมการความว่าง

จริงที่ศาสนาพุทธบรรยาย

ทฤษฎีแรกชื่อ “ทฤษฎีสัมพัทธภาพ” ซึ่งเป็นผลงานค้นคว้าของ

ไอน์สไตน์ ทฤษฎีนี้จำแนกเนื้อหาออกเป็นสองส่วน ส่วนแรกเรียกว่า

“ทฤษฎีสัมพัทธภาพพิเศษ” ซึ่งมีเนื้อหาหลักๆ ว่าด้วยเรื่องของ “เวลา” กับ

“กฎความสมมูลระหว่างมวลกับพลังงาน” ส่วนที่สองเรียกว่า “ทฤษฎี

สัมพัทธภาพทั่วไป” ซึ่งมีเนื้อหาหลักๆ ว่าด้วยเรื่องของ “อวกาศ”

อีกทฤษฎีหนึ่งชื่อ “ทฤษฎีควอนตัม” ซึ่งเป็นเรื่องของการศึกษา

ค้นคว้าองค์ประกอบของสสารในระดับอะตอมและอนุภาคที่เล็กกว่า

อะตอม

ข้อเท็จจริงที่ถูกค้นพบโดยทฤษฎีทั้งสองนี้ทำให้วงการวิทยาศาสตร์

ก่อนหน้านั้น (หมายถึง “ฟิสิกส์เดิม” หรือ “ฟิสิกส์คลาสสิก”) เกิดความสั่น

สะเทือน เนื่องจากโลกทัศน์ใหม่ที่เปลี่ยนแปลงไปนี้ไม่สามารถเข้าใจได้

ด้วยภาษาและกรอบความคิดแบบเดิมๆ ที่นักวิทยาศาสตร์ในยุคนั้นใช้ใน

การมองโลก

จากปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นนี้ทำให้นักศาสนาและนักวิทยาศาสตร์

จำนวนหนึ่งนึกถึงศาสนาพุทธ เพราะเห็นว่า ศาสนาพุทธมีหลักธรรม

จำนวนหนึ่ง (เช่น ไตรลักษณ์ ปฏิจจสมุปบาท และสุญญตา) ที่สามารถนำ

มาช่วยส่องให้เกิดความเข้าใจเกี่ยวกับข้อเท็จจริงที่วิชาฟิสิกส์ใหม่ค้นพบ

ได้เป็นอย่างดี (และในทางกลับกัน ข้อเท็จจริงที่วิชาฟิสิกส์ใหม่ค้นพบก็

สามารถนำมาสนับสนุนหลักธรรมของพุทธศาสนาได้ด้วยเช่นกัน)

ตัวอย่าง

Page 7: images-se-ed.com...ไอน สไตน ทฤษฎ น จำแนกเน อหาออกเป นสองส วน ส วนแรกเร ยกว า “ทฤษฎ

7วัชระ งามจิตรเจริญ

ผลจากการระดมความสนใจไปยังภูมิปัญญาของศาสนาพุทธทำให้

คนเหล่านั้นพบว่า ศาสนาพุทธมีคำอยู่คำหนึ่งที่ใช้สำหรับนิยามความจริง

สูงสุดของธรรมชาติ คือคำว่า “ความว่าง” (emptiness)

ความพิลึกพิลั่นของจักรวาลที่วิชาฟิสิกส์ใหม่ค้นพบสามารถอธิบาย

ด้วย “ความว่าง” อันเป็นคำนิยามที่สั้นและกระชับที่สุดได้อย่างไร คำตอบ

มีอยู่ในหนังสือเล่มนี้แล้ว

และขอขอบพระคุณ รองศาสตราจารย์ ดร. วัชระ งามจิตรเจริญ ที่

ได้ให้ความไว้วางใจสำนักพิมพ์ในการจัดพิมพ์หนังสือ “สมการความว่าง”

ครั้งนี้

สำนักพิมพ์กรีน ปัญญาญาณ

ตัวอย่าง

Page 8: images-se-ed.com...ไอน สไตน ทฤษฎ น จำแนกเน อหาออกเป นสองส วน ส วนแรกเร ยกว า “ทฤษฎ

8 สมการความว่าง

1. บทนำ 11

2. ความจริงของโลกในฟิสิกส์ใหม่ 17 1. ทฤษฎีสัมพัทธภาพ (Theory of Relativity) 18

1.1 ความเป็นมาของทฤษฎีสัมพัทธภาพ 19

1.2 ทฤษฎีสัมพัทธภาพพิเศษ (Special Theory of Relativity) 29

1.2.1 หลักการพื้นฐาน (postulate) 30

1.2.2 ความจริงของโลกในทฤษฎีสัมพัทธภาพพิเศษ 39

1.3 ทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไป (General Theory of Relativity) 62

1.3.1 หลักการของความสมมูล 63

1.3.2 ความจริงของโลกในทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไป 67

2. ทฤษฎีควอนตัม (Quantum Theory) 69

2.1 แนวคิดเรื่องอะตอมและอนุภาค 69

2.2 ความเป็นมาของทฤษฎีควอนตัม 78

2.3 การตีความทฤษฎีควอนตัม 83

2.4 ความจริงของโลกในทฤษฎีควอนตัม 86

3. ความจริงของโลกในคำสอนของพระพุทธศาสนา 121 1. ความหมายและประเภทของความจริงและสิ่งมีจริง 122

2. ความจริงของโลกในคำสอนของพระพุทธศาสนา 133

2.1 องค์ประกอบของโลก 133

สารบัญ

ตัวอย่าง

Page 9: images-se-ed.com...ไอน สไตน ทฤษฎ น จำแนกเน อหาออกเป นสองส วน ส วนแรกเร ยกว า “ทฤษฎ

9วัชระ งามจิตรเจริญ

2.2 แนวคิดเรื่องปรมาณู 139

2.3 แนวคิดเรื่องอวกาศและเวลา 141

2.4 ความเปลี่ยนแปลง 167

2.5 ความว่างและความไม่มีตัวตน 173

2.6 ความเป็นสิ่งสัมพัทธ์และภาวะองค์รวม 182

2.7 จิตกำหนดความจริงเชิงวัตถุวิสัย 185

2.8 ความจริงแท้อยู่เหนือภาษาและตรรกวิทยา 189

2.9 อิทธิปาฏิหาริย์และโลกเหนือประสบการณ์ 195

4. การเปรียบเทียบและการสนับสนุนกันของความจริง ในฟิสิกส์ใหม่กับพระพุทธศาสนา 199 1. การเปรียบเทียบความจริงในทฤษฎีสัมพัทธภาพ

กับความจริงในพระพุทธศาสนา 202

2. การเปรียบเทียบความจริงในทฤษฎีควอนตัม

กับความจริงในพระพุทธศาสนา 211

3. การสนับสนุนกันของความจริงในทฤษฎีสัมพัทธภาพ

กับความจริงในพระพุทธศาสนา 252

4. การสนับสนุนกันของความจริงในทฤษฎีควอนตัม

กับความจริงในพระพุทธศาสนา 256

5. บทสรุปและข้อเสนอแนะ 273 1. บทสรุป 273

2. ข้อเสนอแนะ 275

ตัวอย่าง

Page 10: images-se-ed.com...ไอน สไตน ทฤษฎ น จำแนกเน อหาออกเป นสองส วน ส วนแรกเร ยกว า “ทฤษฎ

10 สมการความว่าง

ตัวอย่าง

Page 11: images-se-ed.com...ไอน สไตน ทฤษฎ น จำแนกเน อหาออกเป นสองส วน ส วนแรกเร ยกว า “ทฤษฎ

1 11วัชระ งามจิตรเจริญ

วิทยาศาสตร์เป็นการศึกษาหาความจริงหรือความรู้ที่ได้

รับการยอมรับอย่างกว้างขวาง ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ถูกจัด

เป็นความรู้ที่เป็นแบบฉบับ (paradigm knowledge) เป็นความ

รู้ที่ได้รับความเชื่อถือมากที่สุด จนมีการอ้างอิงเอาความจริงหรือ

ความรู้ทางวิทยาศาสตร์มาสนับสนุนความจริงของศาสนา

พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาหนึ่งที่มีการนำเอาความจริงทาง

วิทยาศาสตร์มาสนับสนุนความจริงหรือคำสอนของพระพุทธ

ศาสนา เพราะมีความคล้ายคลึงกันระหว่างคำสอนหรือความ

จริงบางอย่างของพระพุทธศาสนากับความจริงของวิทยาศาสตร์

จนมีผู้นิยมกล่าวว่า “พระพุทธศาสนาเป็นวิทยาศาสตร์”

บทนำ

ตัวอย่าง

Page 12: images-se-ed.com...ไอน สไตน ทฤษฎ น จำแนกเน อหาออกเป นสองส วน ส วนแรกเร ยกว า “ทฤษฎ

12 สมการความว่าง

อย่างไรก็ตาม เมื่อความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ทำให้เกิดฟิสิกส์

ใหม่หรือฟิสิกส์สมัยใหม่ (modern physics) ซึ่งมีทฤษฎีสำคัญอยู่ 2

ทฤษฎี คือ ทฤษฎีสัมพัทธภาพ (Theory of Relativity) ของอัลเบิร์ต

ไอน์สไตน์ (Albert Einstein) และทฤษฎีควอนตัม (Quantum Theory)

หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “ควอนตัมฟิสิกส์” (Quantum Physics) ซึ่งมี

แม็กซ์ พลังค์ (Max Plunck) เป็นผู้ให้กำเนิด ที่เสนอความจริงของโลก

ธรรมชาติที่ต่างไปจากโลกทัศน์เดิมในฟิสิกส์คลาสสิกหรือฟิสิกส์แบบเดิม

(classical physics) และเป็นความจริงที่ขัดกับความเชื่อดั้งเดิมของชาว

ตะวันตก ทำให้นักวิทยาศาสตร์และนักวิชาการอย่างเช่น ฟริตจอฟ คาปร้า

(Fritjof Capra) พยายามนำแนวคิดตะวันออกโดยเฉพาะพระพุทธศาสนา

ศาสนาฮินดู และปรัชญาเต๋า มาช่วยอธิบายความจริงในฟิสิกส์ใหม่เหล่านี้

ทั้งนี้เป็นเพราะคำสอนหรือแนวคิดตะวันออกโดยเฉพาะพระพุทธศาสนามี

ส่วนคล้ายคลึงและสามารถนำมาช่วยอธิบายความจริงหรือแนวคิดใน

ทฤษฎีของฟิสิกส์ใหม่ได้ ดังจะเห็นได้จากงานเขียนของคาปร้าคือ “เต๋า

แห่งฟิสิกส์” (The Tao of Physics) และ “จุดเปลี่ยนแห่งศตวรรษ” (The

Turning Point)

ความจริงในทฤษฎีสัมพัทธภาพและทฤษฎีควอนตัมมีความแตก

ต่างและขัดแย้งกับแนวคิดของฟิสิกส์คลาสสิกและความเชื่อของคนทั่วไป

เป็นอย่างมาก จนยากต่อการทำความเข้าใจและการยอมรับ เช่น ใน

ทฤษฎีสัมพัทธภาพพิเศษ (Special Theory of Relativity) เวลาจะยิ่งช้าลง

ถ้าความเร็วเพิ่มมากขึ้น คนที่อยู่ในยานพาหนะที่มีความเร็วใกล้แสงจะแก่

ช้ากว่าคนที่อยู่บนโลก ส่วนในทฤษฎีควอนตัม สสารและพลังงานกลาย

ตัวอย่าง

Page 13: images-se-ed.com...ไอน สไตน ทฤษฎ น จำแนกเน อหาออกเป นสองส วน ส วนแรกเร ยกว า “ทฤษฎ

13วัชระ งามจิตรเจริญ

เป็นความจริงเดียวกัน สองสิ่งที่มีลักษณะตรงข้ามกันคืออนุภาคที่มี

ลักษณะแข็งตันและพลังงานที่มีลักษณะเป็นคลื่นสามารถเปลี่ยนกลับกัน

ไปมาได้ และอนุภาคที่เล็กกว่าอะตอมอย่างอิเล็กตรอนสามารถปรากฏตัว

ใน 2 สถานที่ในเวลาเดียวกันได้ ความพิสดารของความจริงในทฤษฎี

ควอนตัมมีมากจนนักวิทยาศาสตร์เองก็มีความเห็นหรือการตีความที่ต่างกัน

ดังที่คาปร้าเขียนไว้ในหนังสือ “จุดเปลี่ยนแห่งศตวรรษ” ว่า

จากการสำรวจเกี่ยวกับอะตอมและอนุภาคที่เล็กกว่าอะตอม

ได้นำนักวิทยาศาสตร์มาสัมผัสกับความเป็นจริงที่แปลกประหลาด

และคาดไม่ถึง ซึ่งทำให้รากฐานของโลกทัศน์แบบดั้งเดิมนั้นแตก

สลาย และบังคับให้พวกเขาต้องคิดด้วยวิธีใหม่อย่างสิ้นเชิง ... นัก

ฟิสิกส์เหล่านี้ต้องใช้เวลานานมากกว่าที่จะยอมรับความจริงที่ว่า

สภาพอันผกผันขัดแย้งในตัวเองที่เขาเผชิญนั้นคือลักษณะที่เป็น

แก่นแท้ของวิชาฟิสิกส์เกี่ยวกับอะตอม และความผกผันนี้จะเกิดขึ้น

เมื่อเขาพยายามอธิบายปรากฏการณ์ของอะตอมด้วยความคิด

ฟิสิกส์แบบเดิม เมื่อสถานการณ์เช่นนี้เป็นที่รับรู้กัน นักฟิสิกส์ก็เริ่ม

เรียนรู้ที่จะถามคำถามที่ถูกต้องและหลีกเลี่ยงความขัดแย้ง ... ใน

ที่สุด พวกเขาก็ค้นพบสูตรทางคณิตศาสตร์ที่เที่ยงตรงและแน่นอน

ของทฤษฎีนี้ ... แม้ว่าสูตรทางคณิตศาสตร์ของทฤษฎีควอนตัมจะ

เสร็จสมบูรณ์แล้ว แต่กรอบโครงทางความคิดของทฤษฎีนี้ก็ไม่ใช่สิ่ง

ที่จะรับกันได้ง่ายๆ เลยทีเดียว เพราะมันได้ทำลายทัศนะเดิมเกี่ยว

กับความเป็นจริงของนักฟิสิกส์ลงอย่างสิ้นเชิง ฟิสิกส์แนวใหม่

จำเป็นต้องอาศัยการเปลี่ยนแปลงอย่างลึกซึ้งในความคิดเกี่ยวกับ

ตัวอย่าง

Page 14: images-se-ed.com...ไอน สไตน ทฤษฎ น จำแนกเน อหาออกเป นสองส วน ส วนแรกเร ยกว า “ทฤษฎ

14 สมการความว่าง

อวกาศ กาล สสาร วัตถุ และหลักแห่งเหตุและผล และเนื่องจาก

ความคิดเหล่านี้เป็นพื้นฐานของเราในการรับรู้โลก การเปลี่ยนแปลง

จึงสร้างความตระหนกตกใจให้เกิดขึ้นอย่างใหญ่หลวง

(คาปร้า 2544, 84-86)

จากความแปลกประหลาดและความขัดแย้งดังกล่าว คาปร้า

พยายามชี้ให้เห็นว่า ความจริงที่ผกผันเหล่านี้มีความคล้ายคลึงกับแนวคิด

ตะวันออกที่มีพระพุทธศาสนารวมอยู่ด้วย เช่น ความขัดแย้งของคุณสมบัติ

ความเป็นอนุภาคกับความเป็นคลื่นเป็นความจริงที่อยู่เหนือภาษาและ

ตรรกวิทยา คล้ายกับความจริงในพระพุทธศาสนานิกายเซนที่ใช้ “โกอาน”

หรือปริศนาธรรม ในการสอนให้เราเข้าใจความจริงเช่นนั้น งานของคาปร้า

มองได้ว่าเป็นการพยายามใช้คำสอนของพระพุทธศาสนามาช่วยอธิบาย

หรือสนับสนุนความจริงของฟิสิกส์ใหม่

มาถึงปัจจุบันนี้ แม้จะมีงานเขียนที่นำเอาฟิสิกส์ใหม่และพระพุทธ

ศาสนามาเทียบเคียงกันออกมาอยู่บ้าง แต่เนื้อหาในส่วนนี้ยังค่อนข้างน้อย

อีกทั้งข้อมูลเกี่ยวกับความจริงในทฤษฎีสัมพัทธภาพและทฤษฎีควอนตัมที่

น่าสนใจและสามารถนำมาเปรียบเทียบกับคำสอนของพระพุทธศาสนาก็

ค่อนข้างกระจัดกระจายในงานเขียนต่างๆ และเข้าใจค่อนข้างยาก การ

รวบรวมและเรียบเรียงข้อมูลเหล่านั้นให้สมบูรณ์ขึ้นและง่ายต่อการ

ทำความเข้าใจมากขึ้น แล้วนำมาเทียบเคียงกับคำสอนของพระพุทธ

ศาสนาเพื่อเปรียบเทียบ รวมทั้งสนับสนุนหรือช่วยอธิบายกันและกัน จึงมี

ประโยชน์ทั้งแก่วงวิชาการทางด้านวิทยาศาสตร์และพระพุทธศาสนา

ตัวอย่าง

Page 15: images-se-ed.com...ไอน สไตน ทฤษฎ น จำแนกเน อหาออกเป นสองส วน ส วนแรกเร ยกว า “ทฤษฎ

15วัชระ งามจิตรเจริญ

นอกจากนั้น นักวิชาการบางคนยังมีความเห็นต่างออกไปในเรื่อง

การนำแนวคิดตะวันออกอย่างพระพุทธศาสนามาช่วยอธิบายความจริงใน

ฟิสิกส์ใหม่ ปีเตอร์ อี. ฮอดสัน (Peter E. Hodgson) เห็นว่าแนวคิดตะวันออก

อย่างที่คาปร้าพูดถึงนั้นเป็นเรื่องซ้ำซากและพื้นๆ ไม่สำคัญ คลุมเครือ ไร้

ประโยชน์ หรือไม่ก็อาจผิดในความหมายที่ว่า ถ้ายึดถือแนวคิดตะวันออก

เหล่านั้นจะทำให้เกิดอุปสรรคต่อการพัฒนาวิทยาศาสตร์สมัยใหม่ สิ่งที่

อ้างกันว่ามีคุณค่าในแนวคิดเหล่านั้นก็พบเช่นกันในแนวคิดของนักรหัสยะ

(mystics) ตะวันตก ซึ่งมีรากฐานทางความคิดที่ใช้วิธีการแสวงหาความรู้ที่

มีเหตุผลและเป็นภววิสัย (objective) ที่นำไปสู่การพัฒนาวิทยาศาสตร์

สมัยใหม่อย่างแท้จริง

ฮอดสันดูเหมือนจะเห็นว่า แนวคิดตะวันออกที่ไม่ใช้คำพูด คำ

อธิบาย และไม่ใช้วิธีการทางเชาว์ปัญญาหรือตรรกะ แต่ใช้ประสบการณ์

ในการเข้าถึงความเป็นเอกภาพของสรรพสิ่ง ไม่สนับสนุนวิทยาศาสตร์สมัย

ใหม่ และแนวคิดเหล่านี้ก็พบในตะวันตก อย่างที่อไควนัส (Aquinas) พูด

ในบั้นปลายชีวิตว่า สิ่งที่เขาเขียนเป็นเพียงสิ่งไร้ค่า แต่ความคิดนี้เกิดขึ้น

หลังจากสิ้นสุดการใช้เหตุผล ไม่ใช่เกิดโดยการปฏิเสธตรรกวิทยาอย่าง

แนวคิดตะวันออก (Hodgson 2005, 210-211) ทัศนะของฮอดสันค่อน

ข้างจะเป็นการสรุปง่ายเกินไป (oversimplification) เพราะแนวคิดตะวันออก

เมื่อมองดูในรายละเอียดยังมีความต่างกับแนวคิดตะวันตกและมีคุณค่า

ต่อวิทยาศาสตร์ไม่มากก็น้อย ซึ่งจะต้องศึกษากันต่อไป

ตัวอย่าง

Page 16: images-se-ed.com...ไอน สไตน ทฤษฎ น จำแนกเน อหาออกเป นสองส วน ส วนแรกเร ยกว า “ทฤษฎ

16 สมการความว่าง

ในทางตรงกันข้าม ระวี ภาวิไล นักดาราศาสตร์และนักวิชาการทาง

พระพุทธศาสนาผู้มีชื่อเสียงท่านหนึ่งของไทย กลับเห็นว่าความรู้ของ

พระพุทธศาสนาเป็นของจริง ความรู้ทางวิทยาศาสตร์เป็นแค่สมมติ

บัญญัติซึ่งไม่สามารถนำมาเทียบกับปรมัตถธรรมอย่างรูปและจิตได้

เพราะบัญญัติธรรมอย่างสสารและพลังงานเป็นสิ่งต่างประเภทจาก

ปรมัตถธรรม (ระวี ภาวิไล 2548, 263-264)

จากที่กล่าวมา จึงเป็นสิ่งที่น่าศึกษาวิจัยว่า ความจริงในฟิสิกส์ใหม่

โดยเฉพาะทฤษฎีสัมพัทธภาพและทฤษฎีควอนตัมมีความเหมือนและ

ความแตกต่างอย่างไรบ้างกับความจริงตามคำสอนของพระพุทธศาสนา

อีกทั้งสามารถนำมาเปรียบเทียบและช่วยสนับสนุนหรือช่วยอธิบายความ

จริงของกันและกันได้หรือไม่ อย่างไร ซึ่งการวิจัยครั้งนี้จะทำให้ได้ความรู้

ทั้งทางด้านวิทยาศาสตร์และพระพุทธศาสนาเกี่ยวกับความเป็นจริงของ

โลกธรรมชาติ และเกิดองค์ความรู้เชิงบูรณาการแบบหนึ่งที่มาจากการ

ผสมผสานความรู้ของฟิสิกส์ใหม่กับคำสอนของพระพุทธศาสนา

ตัวอย่าง

Page 17: images-se-ed.com...ไอน สไตน ทฤษฎ น จำแนกเน อหาออกเป นสองส วน ส วนแรกเร ยกว า “ทฤษฎ