27
บทความวิจัย การกระจายและแบบรูปเชิงพื้นที่ของโรงแรมอัจฉริยะ DISTRIBUTION AND SPATIAL PATTERNS OF INTELLIGENT HOTEL นายกฤษณะ ยิ้มสอาด นายธณัฐพล มีสมบูรณ์ นายปภาวิชญ์ มหามาตย์ นางสาวยุวดี ถือธรรม ภาควิชาภูมิศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ .. ๒๕๖๑

บทความวิจัยgeo.soc.ku.ac.th/box/document/216/.pdf · 2019-03-02 · วิเคราะห์ข้อมูลด้วยระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์

  • Upload
    others

  • View
    10

  • Download
    0

Embed Size (px)

Citation preview

Page 1: บทความวิจัยgeo.soc.ku.ac.th/box/document/216/.pdf · 2019-03-02 · วิเคราะห์ข้อมูลด้วยระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์

บทความวิจัย

การกระจายและแบบรูปเชิงพื้นที่ของโรงแรมอัจฉริยะ DISTRIBUTION AND SPATIAL PATTERNS OF

INTELLIGENT HOTEL

นายกฤษณะ ยิ้มสอาด

นายธณัฐพล มีสมบูรณ์

นายปภาวิชญ ์ มหามาตย์

นางสาวยุวดี ถือธรรม

ภาควิชาภูมิศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ พ.ศ. ๒๕๖๑

Page 2: บทความวิจัยgeo.soc.ku.ac.th/box/document/216/.pdf · 2019-03-02 · วิเคราะห์ข้อมูลด้วยระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์

บทความวิจัย

เรื่อง

การกระจายและแบบรูปเชิงพ้ืนที่ของโรงแรมอัจฉริยะ

Distribution and Spatial Patterns of Intelligent Hotel

โดย

นายกฤษณะ ยิ้มสอาด นายธณัฐพล มีสมบูรณ์

นายปภาวิชญ์ มหามาตย์ นางสาวยุวดี ถือธรรม

เสนอ

ภาควิชาภูมิศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เพ่ือความสมบูรณ์แห่งปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต (ภูมิศาสตร์)

พ.ศ. 2561

Page 3: บทความวิจัยgeo.soc.ku.ac.th/box/document/216/.pdf · 2019-03-02 · วิเคราะห์ข้อมูลด้วยระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์

(1)

สารบัญ

หน้า

สารบัญตาราง (2)

สารบัญภาพ (3) บทคัดย่อ 1 บทน า 2 ที่มาและความส าคัญของปัญหา 3 วัตถุประสงค์ของโครงการวิจัย 3 ค าถามการวิจัย 3 ประโยชน์ของการวิจัย 3 ขอบเขตของโครงการวิจัย 3 การตรวจเอกสาร 5

ทฤษฎีและแนวคิดท่ีเกี่ยวข้อง 5 วิจัยที่เกี่ยวข้อง 6 กรอบแนวคิดในการวิจัย 6

วิธีการวิจัย 7 วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล 8

วิธีการวิเคราะห์ข้อมูล 8 ขั้นตอนการวิจัย 9 ผลการวิจัย 1 2

การกระจายและแบบรูปเชิงพ้ืนที่ของโรงแรมอัจฉริยะใน อ าเภอเกาะช้าง จังหวัดตราด 12 การกระจายและแบบรูปเชิงพ้ืนที่ของโรงแรมอัจฉริยะใน

อ าเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ 15 สรุปผลภาพรวมของชุดโครงการวิจัย 19

บทสรุป วิจารณ์ และข้อเสนอแนะ 19 บทสรุปและวิจารณ์ 19 ข้อเสนอแนะ 20

ค าขอบคุณ 21 เอกสารอ้างอิง 21

Page 4: บทความวิจัยgeo.soc.ku.ac.th/box/document/216/.pdf · 2019-03-02 · วิเคราะห์ข้อมูลด้วยระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์

(2)

สารบัญตาราง

ตารางที่ หน้า

1 เกณฑ์และคะแนนความสะดวกในการเข้าถึงโรงแรมอัจฉริยะ 9 2 จ านวนโรงแรมและค่าดัชนีการกระจายของอ าเภอเกาะช้าง จังหวัดตราด 13 3 จ านวนโรงแรมและค่าดัชนีการกระจายของอ าเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ 17

Page 5: บทความวิจัยgeo.soc.ku.ac.th/box/document/216/.pdf · 2019-03-02 · วิเคราะห์ข้อมูลด้วยระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์

(3)

สารบัญภาพ

ภาพที่ หน้า

1 ขอบเขตพ้ืนที่ศึกษา 4 2 กรอบแนวคิดในการวิจัย (the research conceptual framework) 7 3 ขั้นตอนการวิจัย 11 4 โรงแรมอัจฉริยะทั้งหมดในอ าเภอเกาะช้าง จังหวัดตราด 12 5 แผนภูมิความสะดวกในการเข้าถึงโรงแรมอัจฉริยะในอ าเภอเกาะช้าง จังหวัดตราด 14 6 แผนภูมิท าเลของโรงแรมอัจฉริยะในอ าเภอเกาะช้าง จังหวัดตราด 15 7 โรงแรมอัจฉริยะทั้งหมดในอ าเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ 16 8 แผนภูมิความสะดวกในการเข้าถึงโรงแรมอัจฉริยะใน อ าเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ 18 9 แผนภูมิท าเลของโรงแรมอัจฉริยะในอ าเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ 18

Page 6: บทความวิจัยgeo.soc.ku.ac.th/box/document/216/.pdf · 2019-03-02 · วิเคราะห์ข้อมูลด้วยระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์

1

การกระจายและแบบรูปเชิงพื้นที่ของโรงแรมอัจฉริยะ Distribution and Spatial Patterns of Intelligent Hotel

กฤษณะ ยิ้มสอาด 5710800121 ธณัฐพล มีสมบูรณ์ 5710802875

ปภาวิชญ์ มหามาตย์ 5710802905 ยุวดี ถือธรรม 5710802964

_________________________________________________________________________

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพ่ือวิเคราะห์การกระจายเชิงพ้ืนที่ของโรงแรมที่ใช้แอปพลิ เคชัน ต่างๆ และเพ่ือวิเคราะห์แบบรูปเชิงพ้ืนที่ของโรงแรมอัจฉริยะ วิธีการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ มีการรวบรวมข้อมูล ด้วยวิธีการขอความอนุเคราะห์ข้อมูลจากหน่วยงาน การสืบค้นจากอินเทอร์เน็ตและส ารวจภาคสนามโดยตรง การวิเคราะห์ข้อมูลการกระจายเชิงพ้ืนที่ใช้วิธีการจัดท าฐานข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ เทคนิค Nearest-Neighbor Analysis ส าหรับการวิเคราะห์แบบรูปใช้เกณฑ์ชี้วัดด้านการติดถนนและประเภทถนน เกณฑ์ชี้วัดความใกล้-ไกลสถานที่ร่วมกับสถิติพรรณนา ผลการวิจัยแบ่งออกเป็น 2 ส่วน แยกตามพ้ืนที่ศึกษา ดังนี้

ผลการวิเคราะห์การกระจายและแบบรูปเชิงพ้ืนที่ของโรงแรมอัจฉริยะในอ าเภอเกาะช้าง จังหวัดตราด พบว่า การกระจายเชิงพ้ืนที่ของโรงแรมอัจฉริยะทั้งหมด 287 แห่ง มีการกระจายแบบเกาะกลุ่มตามแนวเส้นถนนและชายหาด แบบรูปเชิงพ้ืนที่ของโรงแรมอัจฉริยะ คือ โรงแรมรีสอร์ต ระดับ 3 ดาวขนาดเล็ก การเข้าถึงมักอยู่ติดกับถนนเส้นหลักหรือเส้นรองถัดไป โดยถนนส่วนใหญ่เป็นถนนสองช่องจราจร (ไป-กลับ) สวนกันได้ ส่วนใหญ่มีระยะห่างจากที่ตั้งด้านการท่องเที่ยวภายในรัศมี 1 กิโลเมตร

ผลการวิเคราะห์การกระจายและแบบรูปเชิงพ้ืนที่ของโรงแรมอัจฉริยะในอ าเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ พบว่า การกระจายเชิงพ้ืนที่ของโรงแรมอัจฉริยะทั้งหมด 1 ,745 แห่ง มีการกระจายแบบเกาะกลุ่มในย่านเมืองเก่า (เขตคูเมืองและบริเวณโดยรอบ) และบริเวณโดยรอบมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ แบบรูปเชิงพ้ืนที่ของโรงแรมอัจฉริยะ คือ โรงแรมซึ่งจัดห้องพักและอาหารเช้า ระดับ 1 ดาวขนาดเล็ก การเข้าถึงมักเป็นถนนในซอยมากกว่าเส้นหลักหรือเส้นรองถัดไป ถนนส่วนใหญ่เป็นถนนสองช่องจราจร (ไป-กลับ) สวนกันได้ ส่วนใหญ่มีระยะห่างจากที่ตั้งด้านสาธารณสุข ด้านความปลอดภัย ด้านนันทนาการและด้านการท่องเที่ยวภายในรัศมี 1 กิโลเมตร

จากการวิจัยดังกล่าว จึงมีข้อเสนอแนะให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องด้านการท่องเที่ยวและโรงแรม ควรท าการอัปเดตข้อมูลโรงแรมที่เข้าร่วมกับ OTAs ที่มีในปัจจุบัน เพ่ือสามารถจัดท านโยบายในการท างานให้สอดคล้องกับความก้าวหน้าของเทคโนโลยีในปัจจุบันได้อย่างเหมาะสม พร้อมทั้งสามารถส่งเสริมการท่องเที่ยว เศรษฐกิจ และเป็นการปรับตัวด้วยเทคโนโลยีตามนโยบายไทยแลนด์ 4.0

ค าส าคัญ: การกระจายเชิงพ้ืนที่, แบบรูปเชิงพ้ืนที่, โรงแรมอัจฉริยะ

Page 7: บทความวิจัยgeo.soc.ku.ac.th/box/document/216/.pdf · 2019-03-02 · วิเคราะห์ข้อมูลด้วยระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์

2

บทน า

ที่มาและความส าคัญของปัญหา องค์การการท่องเที่ยวโลกแห่งสหประชาชาติ (UNWTO) สรุปสถานการณ์ท่องเที่ยวโลกไว้ว่า

ปี 2533 มีผู้เดินทางท่องเที่ยวทั่วโลก 435 ล้านคน และปี 2557 เพ่ิมเป็น 1,133 ล้านคน นั่นคือ โดยเฉลี่ยการท่องเที่ยวของโลกในช่วง 24 ปีที่ผ่านมา มีอัตรานักท่องเที่ยวเพ่ิมขึ้นประมาณ 29 ล้านคนต่อปี และคาดการณ์ว่า ปี 2573 จะมีนักท่องเที่ยวระหว่างประเทศไม่น้อยกว่า 1.8 พันล้านคน (นิศศา ศิลปเสรฐ, 2560 อ้างถึง UNWTO, 2015) ท าให้การท่องเที่ยวเป็นอุตสาหกรรมบริการที่มีผลต่อเศรษฐกิจของชาติ เป็นส่วนส าคัญท่ีเกื้อหนุนภาคเศรษฐกิจอื่นๆ ทีเ่กี่ยวข้องทั้งทางตรงและทางอ้อม

อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว อย่างธุรกิจโรงแรมนั้นมีการเติบโตอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้แนวโน้มการแข่งขันด้านการท่องเที่ยวในกระแสโลกาภิวัตน์ทวีความรุนแรงมากขึ้น หลายประเทศลงทุนด้านการท่องเที่ยว โดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการช่วงชิงตลาดการท่องเที่ยว ระบบอิเล็กทรอนิกส์ ความรู้และสารสนเทศ กลายเป็นเครื่องมือส าคัญในการสร้างความแตกต่างและสร้างคุณค่าของสินค้า โดยนักท่องเที่ยวรุ่นใหม่มีแนวโน้มใช้ข้อมูลท่องเที่ยวผ่านอินเทอร์เน็ตเพ่ือท าการสืบค้นและเปรียบเทียบราคามากขึ้น คาดการณ์ว่าประชากรโลกมากกว่า 1.5 พันล้านคนท่องอยู่บนโลกอินเทอร์เน็ตและเกือบ 600 ล้านคนผันตัวเองเป็นสมาชิก Online อินเทอร์เน็ตจึงกลายเป็นช่องทางใ ห ม่ ใ น ก า ร แ พ ร่ ก ร ะ จ า ย ข่ า ว ส า ร แ ล ะมี อิ ท ธิ พ ล ต่ อ ก า ร ตั ด สิ น ใ จ ข อ ง นั ก ท่ อ ง เ ที่ ย ว (คณะกรรมการนโยบายการท่องเที่ยวแห่งชาติ, 2554: 7)

สถานที่ท่องเที่ยวของไทยมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักทั่วโลก ท าให้ธุรกิจท่องเที่ยวของไทยเติบโตเร็วมาก ช่วงเวลา 55 ปี (2503-2557) มีนักท่องเที่ยวเพ่ิมขึ้นถึง 305 เท่า ธุรกิจที่เกี่ยวกับการท่องเที่ยวอย่างโรงแรมจึงได้รับอานิสงส์ด้วย แต่ธุรกิจโรงแรมในไทยยังประสบปัญหาหลายอย่าง อาทิ การตลาดเชิงรับ ใช้โฆษณาแบบปากต่อปาก กิจการสร้างมานานไม่ทันสมัย การเปิดโรงแรมใหม่และแข่งขันด้านราคา ช่วง Low Season มีนักท่องเที่ยวน้อย (สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น, 2553: 9) หลายโรงแรมมีท าเลที่ตั้งดี อยู่ในตัวเมือง อยู่ริมทางหลวงหรือเข้าถึงได้ง่าย กลายเป็นที่นิยมของลูกค้า ทว่าธุรกิจโรงแรมที่อยู่ในท าเลที่ตั้งไม่ดี เข้าถึงได้ยาก จึงต้องคิดหาทางออก โดยความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยีสารสนเทศที่พัฒนามากข้ึน ท าให้มีการพัฒนาคิดค้นสิ่งต่างๆ เพ่ือความสะดวกสบาย รวมถึงการประยุกต์ใช้ในโรงแรมซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของระบบโรงแรมอัจฉริยะ (Intelligent Hotel ; I-Hotel) คือ การจองโรงแรมออนไลน์ผ่านแอปพลิเคชัน ผู้ประกอบการหลายคนมองเห็นถึงความส าคัญของเทคโนโลยีในการเพ่ิมกลยุทธ์ตนเอง เพราะลดปัญหาด้านต้นทุนประชาสัมพันธ์และช่วยส่งเสริมการจองห้องพักมากยิ่งข้ึนผ่านแอปพลิเคชั่น ทั้งยังลดช่องว่างปัญหาและบอกจุดเด่นที่พักบอกลูกค้าได้ผ่านแอปพลิเคชัน ซึ่งระบบการจัดการจ าหน่ายห้องพักผ่านแอปพลิเคชั่น เจ้าของโรงแรมไม่ได้เป็นเจ้าของระบบแต่เป็นผู้ใช้บริการเว็บไซต์จองห้องพักในโรงแรม โดยมีการแบ่งผลประโยชน์ร่วมกัน เช่น Agoda, Expedia, Booking.com, Hotel.com, traveloka ฯ นอกจากจะช่วยเพ่ิมยอดขายและก าไรให้แล้ว ยังสามารถขายได้ตลอดเวลา และลูกค้าสามารถตรวจสอบสถานะได้ง่าย ทั้งจ านวนห้องว่าง ราคาและการยืนยันโดยไม่ต้องโทรหรือเดินทางไปหาโรงแรมเอง

จากที่กล่าวข้างต้น สถานการณ์ท่องเที่ยวโดยเฉพาะธุรกิจโรงแรมที่มีการแข่งขันสูงมากในปัจจุบัน ท าให้ผู้ประกอบการต้องมีการใช้กลยุทธ์ต่างๆ เช่น แอปพลิเคชั่นการจองโรงแรม เพ่ือท าลาย

Page 8: บทความวิจัยgeo.soc.ku.ac.th/box/document/216/.pdf · 2019-03-02 · วิเคราะห์ข้อมูลด้วยระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์

3

ข้อจ ากัดของโรงแรมที่มีลักษณะทางด้านภูมิศาสตร์ที่เข้าถึงยากให้สามารถเข้าถึงง่ายมากขึ้น ดังนั้น การรู้แบบรูปการกระจายเชิงพ้ืนที่ของโรงแรมอัจฉริยะในปัจจุบัน จึงมีความน่าสนใจในแง่การอัปเดตข้อมูลโรงแรมอัจฉริยะ (I-Hotel) และการกระจายของโรงแรมที่มีการใช้งานแอปพลิเคชัน หน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถใช้เป็นองค์ความรู้เพ่ือการวิจัยและพัฒนาท้องที่และผู้ประกอบการเองสามารถน าไปปรับปรุง พัฒนาโรงแรมของตนเองและเพ่ิมกลยุทธ์ในการจัดการโรงแรมได้อย่างมีประสิทธิภาพได้มากขึ้น

วัตถุประสงค์ของโครงการวิจัย

1. เพ่ือวิเคราะห์การกระจายเชิงพ้ืนที่ของโรงแรมที่ใช้แอปพลิเคชันต่างๆ 2. เพ่ือวิเคราะห์แบบรูปเชิงพ้ืนที่ของโรงแรมอัจฉริยะ

ค าถามการวิจัย

1. การกระจายเชิงพ้ืนที่ของโรงแรมที่ใช้แอปพลิเคชันต่างๆ เป็นอย่างไร 1.1 ที่ตั้งของโรงแรมอัจฉริยะอยู่ที่ไหน 1.2 โรงแรมอัจฉริยะจ าแนกตามแอปพลิเคชั่นต่างๆ มีรูปแบบการกระจายเชิงพ้ืนที่ใน

ลักษณะใด 1.3 โรงแรมอัจฉริยะจ าแนกตามประเภทของโรงแรมมีรูปแบบการกระจายเชิงพ้ืนที่ใน

ลักษณะใด 2. แบบรูปเชิงพ้ืนที่ของโรงแรมอัจฉริยะ (I-Hotel) เป็นอย่างไร

2.1 ความสะดวกในการเข้าถึงโรงแรมอัจฉริยะเป็นอย่างไร 2.2 ที่ตั้งสัมพัทธ์หรือท าเลของโรงแรมอัจฉริยะเป็นอย่างไร 2.3 แบบรูปของโรงแรมอัจฉริยะจ าแนกตามประเภทของโรงแรมมีลักษณะเป็นอย่างไร

ประโยชน์ของการวิจัย

1. หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สมาคมโรงแรมไทย กรมการปกครอง ฯ สามารถใช้ผลการวิจัยเป็นข้อมูลเบื้องต้นในการอัปเดตข้อมูลโรงแรมอัจฉริยะ ( I-Hotel) การกระจายของโรงแรมท่ีมีการใช้งานแอปพลิเคชันต่างๆ ในการจองโรงแรม และสามารถใช้เป็นข้อมูลเบื้องต้นในการพัฒนาการเข้าถึงของโรงแรม และยังสามารถใช้เป็นองค์ความรู้เพ่ือการวิจัยในด้านการพัฒนาเชิงพ้ืนที่ในระดับท้องถิ่นต่อไป 2. ผู้ประกอบการธุรกิจโรงแรมสามารถน าไปปรับปรุง พัฒนาโรงแรมของตนเองและเพ่ิมกลยุทธ์ในการจัดการโรงแรมได้อย่างมีประสิทธิภาพ ขอบเขตของโครงการวิจัย ในการด าเนินการวิจัย ได้ก าหนดขอบเขตการวิจัยใน 4 ลักษณะ คือ ขอบเขตเชิงพ้ืนที่ ขอบเขตเชิงเนื้อหา ขอบเขตเชิงระยะเวลา และขอบเขตด้านประชากร โดยมีรายละเอียดดังนี้

Page 9: บทความวิจัยgeo.soc.ku.ac.th/box/document/216/.pdf · 2019-03-02 · วิเคราะห์ข้อมูลด้วยระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์

4

1. ขอบเขตเชิงพื้นที่ พ้ืนที่ศึกษาครอบคลุมพ้ืนที่อ าเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ และอ าเภอเกาะช้าง จังหวัดตราด ซึ่งพ้ืนที่อ าเภอเกาะช้างได้ศึกษาเฉพาะเกาะช้างที่ใหญ่ที่สุดเท่านั้น ดังภาพที่ 1

(ก) พ้ืนที่อ าเภอเกาะช้าง จังหวัดตราด (ข) พ้ืนที่อ าเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่

ภาพที่ 1 ขอบเขตพ้ืนที่ศึกษา 2. ขอบเขตเชิงเนื้อหา ครอบคลุม 2 ประเด็นหลัก ได้แก่ ประเด็นแรกเป็นการวิเคราะห์การกระจายเชิงพ้ืนที่ของโรงแรมที่ใช้แอปพลิเคชันต่างๆ ส่วนประเด็นที่สองเป็นการวิเคราะห์แบบรูปเชิงพ้ืนที่ของโรงแรมอัจฉริยะ 3. ขอบเขตเชิงระยะเวลา ระยะเวลาของการวิจัยแบ่งเป็น 2 ช่วง คือ 1. วิเคราะห์แบบรูปการกระจายตัวเชิงพ้ืนที่ของโรงแรมอัจฉริยะในปีปัจจุบัน คือ ปี 2560 การสืบค้นรายชื่อโรงแรม อ าเภอเกาะช้างในเดือนพฤศจิกายน และอ าเภอเมืองเชียงใหม่เดือนธันวาคมปี 2560 2. การลงส ารวจภาคสนามโดยตรง คือ เดือนธันวาคม ปี 2560 4. ขอบเขตด้านประชากร ประชากรที่เป็นเป้าหมายในการวิจัย ได้แก่ โรงแรมอัจฉริยะ เน้นเฉพาะโรงแรมที่มีการเข้าร่วมกับแอปพลิเคชันจองโรงแรม ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งจากองค์ประกอบทั้งหมดของโรงแรมอัจฉริยะ ในด้านระบบการจัดการห้องพักผ่านช่องทางการจัดจ าหน่ายออนไลน์ โดยเลือกโรงแรมที่เข้าร่วมแอปพลิเคชันจองที่พักท่ีนิยมที่สุด 5 อันดับ ได้แก่ Agoda, Booking.com, Expedia, Hotel.com และ Traveloka

Page 10: บทความวิจัยgeo.soc.ku.ac.th/box/document/216/.pdf · 2019-03-02 · วิเคราะห์ข้อมูลด้วยระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์

5

การตรวจเอกสาร

ในการก าหนดกรอบแนวคิดส าหรับด าเนินการวิจัย คณะผู้วิจัยได้ตรวจเอกสารในส่วนที่เป็นทฤษฎีและแนวคิดและงานวิจัยที่เก่ียวข้องกับประเด็นของงานวิจัย สามารถสรุปได้ดังนี้

ทฤษฎีและแนวคิดที่เกี่ยวข้อง 1. การกระจายเชิงพื้นที่

การกระจายตัวเชิงพ้ืนที่ หมายถึง จ านวนประชากรที่กระจายกันอยู่ในเขตพ้ืนที่ต่างๆ ณ เวลาใด เวลาหนึ่ง โดยพิจารณาจากขนาดประชากรและขนาดพ้ืนที่ (สุคนธ์ ประสิทธิ์วัฒนเสรี, ม.ป.ป.)

ปรากฏการณ์ของการกระจาย หมายถึง ต าแหน่ง สถานที่ หรือการจัดเรียงตัวบนระวางที่ นักภูมิศาสตร์จ าแนกการกระจายโดยใช้ 3 ปัจจัย โดยศึกษาจาก ความหนาแน่น (Density) การกระจุกตัว (Concentration) และแบบรูป (Pattern) ถ้าสิ่งที่พบอยู่ใกล้ชิดกัน จะเรียกว่ากระจุกตัว (Concentrated) ถ้าอยู่ห่างกันจะเรียกว่ากระจายตัว (Dispersed) (Bergman and Renwick, 2003)

พันธ์ทิพย์ จงโกรย (2556: 8-11 อ้างถึง Cadwallader, 1996 และ Yeates, 1968) ได้สรุปการกระจายเชิงพ้ืนที่ (Spatial distribution) ประกอบขึ้นจากลักษณะรูปร่างทางเรขาคณิต 4 ลักษณะ คือ จุด แนวเส้นหรือโครงข่าย พ้ืนที่หรือพ้ืนผิว และการแบ่งเขตพ้ืนที่ ลักษณะการกระจายเชิงพ้ืนที่ดังกล่าว โดยค่าดัชนี R ที่ค านวณได้จะอยู่ระหว่าง 0 ถึง 2.149 ค่ายิ่งสูงมากเท่าใด แสดงว่าแหล่งตั้งถิ่นฐานนั้น มีการกระจายตัวของอาคารบ้านเรือนมากเท่านั้น หากค่า R ใกล้ 0 แสดงว่ามีแบบรูปการกระจายเชิงพ้ืนที่แบบรวมกลุ่มหรือแบบรวมศูนย์ หากมีค่า R ใกล้ 1 ถือเป็นแบบสุ่ม หากมีค่า R ใกล้กับ 2.149 เป็นแบบกระจาย

ส าหรับงานวิจัยนี้การกระจายเชิงพ้ืนที่ หมายถึง ปรากฏการณ์ทางพ้ืนที่ ณ ช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง มีหลายองค์ประกอบร่วม เช่น สภาพทางภูมิศาสตร์ โครงสร้างพ้ืนที่ ขนาดของพ้ืนที่ศึกษา ขนาดประชากร โดยค่าดัชนี (Nearest Neighbor Ratio ; NNR) หากมีค่าใกล้เคียง 0 มีการกระจายแบบเกาะกลุ่ม ค่าเท่ากับ 0 เกาะกลุ่มอย่างสมบูรณ์ มีค่าใกล้เคียงหรือเท่ากับ 1 มีการกระจายแบบสุ่ม มีค่าใกล้เคียง 2.149 มีการกระจายแบบสม่ าเสมอ และมีค่าเท่ากับ 2.149 มีการกระจายแบบหกเหลี่ยมด้านเท่า 2. แบบรูปเชิงพื้นที่

แบบรูป (Pattern) คือ การจัดเรียงตัวทางเรขาคณิตของสรรพสิ่งบนพ้ืนที่ (Felimann, et al., 2013)

ในการศึกษาวิจัยสาขาภูมิศาสตร์หรือศาสตร์เชิงพ้ืนที่ แนวคิดหลักที่นักภูมิศาสตร์ให้ความส าคัญ คือ แนวคิดเกี่ยวกับที่ตั้ง ทิศทาง และระยะทาง ที่เป็นสิ่งที่ช่วยในการท าความเข้าใจถึงความเชื่อมโยงหรือปฏิสัมพันธ์ระหว่างพ้ืนที่ต่างๆ ของโลก การจัดเรียงตัวของสรรพสิ่งบนพ้ืนโลกที่มีความสัมพันธ์กันท าให้เกิดเป็นรูปแบบของการกระจายตัวเชิงพ้ืนที่ หรือ Pattern of spatial distribution (Getis, Getis and Fellmann 2008: 12-14 อ้างใน พันธ์ทิพย์ จงโกรย และ ชนมณี ทองใบ, 2556)

แบบรูปเชิงพ้ืนที่ เป็นลักษณะในเชิงรูปร่างของการจัดเรียงตัวของสรรพสิ่งบนระวางที่ที่มีความเฉพาะตัวของสภาพกายภาพ (พันธ์ทิพย์ จงโกรย, 2557)

Page 11: บทความวิจัยgeo.soc.ku.ac.th/box/document/216/.pdf · 2019-03-02 · วิเคราะห์ข้อมูลด้วยระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์

6

ส าหรับงานวิจัยนี้ แบบรูปเชิงพ้ืนที่ หมายถึง เป็นปรากฏการณ์ของสรรพสิ่งที่มีความเฉพาะตัว มีการจัดเรียงตัวตามสภาพทางกายภาพของพ้ืนที่นั้นๆ 3. โรงแรมอัจฉริยะ

โรงแรมอัจฉริยะ คือ โรงแรมที่มีระบบ Automation เต็มระบบทั้ง Hardware และ Software ที่ย่อสเกลลงมาท าให้สามารถควบคุมหรือจัดการระบบต่างๆ ผ่านสมาร์ตโฟนได้ (Lifesmart, 2017)

ส าหรับงานวิจัยนี้ โรงแรมอัจฉริยะ คือ โรงแรมที่เข้าร่วมกับ OTAs หรือ ผู้ใช้บริการจ าหน่ายห้องพักออนไลน์ ซึ่งเป็นคนกลางในการประชาสัมพันธ์กับนักท่องเที่ยวทั่วโลก โดยใช้แอปพลิเคชันในการบอกรายละเอียดโรงแรม ที่ตั้งโรงแรม การจองโรงแรม รวมถึงการช าระเงินออนไลน์

งานวิจัยท่ีเกี่ยวข้อง กษิดเ์ดช เนตรทิพย์ (2558) ศึกษาเรื่อง “การกระจายตัวเชิงพ้ืนที่ของหอพักนิสิต และปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเข้าพักอาศัย: กรณีศึกษา มหาวิทยาลัยนเรศวร” โดยใช้เครื่องมือในโปรแกรม ArcGIS ช่วยในการวิเคราะห์ค่าใกล้เคียงของละแวกบ้าน (Nearest Neighbor Analysis) ผลการศึกษาพบว่า การวิเคราะห์ค่าใกล้เคียงของละแวกบ้าน ปรากฏว่าลักษณะการกระจายตัวของหอพักมีการกระจายแบบเป็นกลุ่มก้อนหรือการกระจายแบบกระจุกอยู่ในพื้นท่ีศึกษาโดยจะกระจุกเป็นกลุ่ม ๆ ย่อย บริเวณที่อยู่อาศัยหนาแน่นมากและที่อยู่อาศัยหนาแน่นปานกลาง ส่วนการวิเคราะห์หาพ้ืนที่ขอบเขตการให้บริการโดยใช้การท าแนวกันชน คือ ซึ่งท าการศึกษาในระยะ 1,000 เมตรจากมหาวิทยาลัย พบว่า หอพักท่ีอยู่ในระยะ 0-500 เมตรจะมีหอพักเป็นจ านวนมากเนื่องจากใกล้มหาวิทยาลัย ส่วน 500 เมตรออกไปหอพักเริ่มมีปริมาณลดลง รวมถึงการตั้งใกล้กับร้านสะดวกซ้ือก็เป็นกรณีเดียวกัน แต่ร้านสะดวกซื้อจะหาในระยะ 200 เมตร พบหอพักมากที่สุดในระยะ 50 เมตร จะมีที่แตกต่างจากแบบอ่ืน คือ หอพักท่ีตั้งใกล้สถานบันเทิง จากการวิเคราะห์พบว่ายิ่งใกล้สถานบันเทิงเท่าไรหอพักจะลดจ านวนลง อภิวัฒน รัตนวราหะ และ สฤษดิ์ ติยะวงศสุวรรณ (2556) ศึกษาเรื่อง “การกระจายตัวเชิงพ้ืนที่ของบริษัทสรางสรรคในกรุงเทพมหานคร: กรณีศึกษาบริษัทโฆษณา ออกแบบสถาปตยกรรม และบริการซอฟทแวร์” ผลการศึกษาพบว่า ธุรกิจซอฟต์แวรมีการกระจุกตัวมากที่สุด รองลงมาเป็นธุรกิจโฆษณาและออกแบบสถาปัตยกรรมตามล าดับ รูปแบบการกระจุกกระจายตัวของที่ตั้ งของบริษัทในธุรกิจทั้งสามสาขามีการเปลี่ยนแปลง จากที่แต่เดิมไดกระจุกตัวในพ้ืนที่ชั้นในของกรุงเทพมหานคร ภายหลังไดย้ายมากระจุกตัวอยู่ย่านแขวงคลองตันและแขวงคลองเตยเหนือตามแนวถนนสุขุมวิท กลุ่มบริษัทที่กระจุกตัวมักจะเป็นบริษัทที่มีขนาดเล็ก สวนบริษัทที่มีขนาดใหญ่จะไม่กระจุกตัวอยู่ในพ้ืนที่หลักท่ีมีการกระจุกตัวของธุรกิจสาขานั้นๆ กรอบแนวคิดในการวิจัย

งานวิจัยนี้ มีกรอบแนวคิดที่แสดงถึงความสัมพันธ์ระหว่างประเด็นหลักของการวิจัย โดยโรงแรมอัจฉริยะสามารถแยกตามแอปพลิเคชันประกอบไปด้วย Agoda, Booking.com, Expedia, Hotel.com และ Traveloka ประเภทโรงแรมต่างๆ ซึ่งแบ่งออกเป็นตามระดับการให้บริการ ตามเป้าหมายการตลาดและตามจ านวนห้อง และพิจารณาจากที่ตั้งส่งผลให้เกิดการกระจายเชิงพ้ืนที่ของโรงแรมอัจฉริยะ นอกจากนั้น ประเภทของโรงแรมต่างๆ ความสะดวกในการเข้าถึงและที่ตั้งสัมพัทธ์

Page 12: บทความวิจัยgeo.soc.ku.ac.th/box/document/216/.pdf · 2019-03-02 · วิเคราะห์ข้อมูลด้วยระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์

7

หรือท าเล ยังให้เกิดแบบรูปเชิงพ้ืนที่ต่าง ๆ หรือปรากฏการณ์บนพ้ืนผิวโลกได้ ตามกรอบแนวคิดของการวิจัยนี้ ดังภาพที่ 2

ภาพที่ 2 กรอบแนวคิดในการวิจัย (the research conceptual framework)

วิธีการวิจัย

งานวิจัยเรื่องนี้อยู่ในประเภทแนวคิดทางภูมิศาสตร์ วิธีการวิจัยเป็นวิธีการเชิงคุณภาพ การรวบรวมข้อมูลประกอบไปด้วย ข้อมูลปฐมภูมิ ข้อมูลทุติยภูมิ และภาคสนามโดยวิธีแบบสังเกต ก าหนดไว้ดังนี้

ที่ตั้ง

การกระจายและแบบรูปเชิงพ้ืนทีข่องโรงแรมอัจฉริยะ

โรงแรมอัจฉริยะ

ความสะดวกในการเข้าถึง

ที่ตั้งสัมพัทธ์หรือท าเล ของโรงแรมอัจฉริยะ

ประเภทของโรงแรม Application

- Traveloka - Agoda - Booking.com - Expedia - Hotel.com

- แบ่งตามระดับการให้บริการ - แบ่งตามเป้าหมายการตลาด - แบ่งตามจ านวนห้อง

แบบรูปเชิงพื้นที่ของ โรงแรมอัจฉริยะ

การกระจายเชิงพื้นที่ ของโรงแรมอัจฉริยะ

Page 13: บทความวิจัยgeo.soc.ku.ac.th/box/document/216/.pdf · 2019-03-02 · วิเคราะห์ข้อมูลด้วยระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์

8

1. วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล 1.1 ขอความอนุเคราะห์จากหน่วยงาน ข้อมูลเพื่อใช้ตอบวัตถุประสงค์ของการวิจัยที่ได้รับการอนุเคราะห์จากหน่วยงาน ได้แก่ ข้อมูลสาธารณูปโภค สาธารณูปการ โครงสร้างพ้ืนฐาน สถานที่ท่องเที่ยวและขอบเขตพ้ืนที่ต่างๆ จากส านักงานโยธาธิการและผังเมือง จังหวัดเชียงใหม่และจังหวัดตราด ข้อมูลรายชื่อและรายละเอียดของโรงแรมที่จดทะเบียนตามกฎหมายจากศาลากลางจังหวัดเชียงใหม่และจังหวัดตราด ข้อมูลโรงแรมและรายละเอียดโรงแรมจากการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) (ส านักงานใหญ่) ททท.ส านักงานเชียงใหม่ และ ททท.ส านักงานตราด 1.2 การสืบค้นจากอินเทอร์เน็ต ข้อมูลเพ่ือใช้ตอบวัตถุประสงค์ของการวิจัยที่ได้จากการสืบค้นทางอินเทอร์เน็ต ได้แก่ ข้อมูลรายชื่อและรายละเอียดของโรงแรมท่ีเข้าร่วมแอปพลิเคชันต่างๆ ได้แก่ Agoda, Expedia, Traveloka, Booking.com และ Hotel.com 1.3 การส ารวจภาคสนามโดยตรง ข้อมูลเ พ่ือใช้ตอบวัตถุประสงค์ของการวิจัยซึ่ งได้จากการส ารวจภาคสนามโดยตรง ประกอบด้วย ข้อมูลที่ตั้งโรงแรมในระบบพิกัด UTM ซึ่งใช้เครื่อง GPS และข้อมูลประเภทถนนและข้อมูลการติดถนนได้จากวิธีการสังเกตแล้วบันทึกลงแบบรวบรวมข้อมูลภาคสนาม 2. วิธีการวิเคราะห์ข้อมูล 2.1 การวิเคราะห์การกระจายเชิงพื้นที่ของโรงแรมที่ใช้แอปพลิเคชันต่าง ๆ แบบรูปการกระจายเชิงพ้ืนที่ของโรงแรมที่ใช้แอปพลิเคชัน วิเคราะห์จากที่ตั้งด้วยเทคนิค Nearest Neighbor Analysis ของโปรแกรม GIS โดยพิจารณาจากหลายตัวแปร ได้แก่ ระดับการให้บริการ ประกอบด้วยโรงแรมกลุ่ม 1-5 ดาว เป้าหมายการตลาด ประกอบด้วย 1) โรงแรมเพ่ือการพาณิชย์ 2) โรงแรมสนามบิน 3) โรงแรมห้องชุด 4) โรงแรมแขกพักประจ า 5) โรงแรมรีสอร์ต 6) โรงแรมซึ่งจัดห้องพักและอาหารเช้า 7) โรงแรมคอนโดมิเนียม 8) โรงแรมบ่อนการพนัน 9) ศูนย์ประชุม และจ านวนห้อง ประกอบด้วย โรงแรมขนาดเล็ก ขนาดไม่เกิน 30 ห้อง โรงแรมขนาดกลาง ขนาด 30-100 ห้องและโรงแรมขนาดใหญ่ ขนาดมากกว่า 100 ห้อง น าเข้าข้อมูลลง GIS แล้วแสดงผลด้วยแผนที่ 2.2 การวิเคราะห์แบบรูปเชิงพ้ืนที่ของโรงแรมอัจฉริยะ

แบบรูปเชิงพ้ืนที่ของโรงแรมอัจฉริยะที่มีลักษณะคล้ายคลึงกัน โดยพิจารณาจากหลายตัวแปรได้แก่

2.2.1 ความสะดวกในการเข้าถึงโรงแรงอัจฉริยะ ประกอบด้วยการติดถนนและประเภทถนนโดยให้ระดับคะแนน ดังตารางที่ 1

2.2.2 ที่ตั้งสัมพัทธ์หรือท าเล ประกอบด้วยสถานที่ต่างๆ ของสาธารณูปโภค สาธารณูปการ แบ่งได้ดังนี้ ด้านการให้บริการ ด้านสาธารณสุข ด้านนันทนาการ ด้านความปลอดภัย ด้านการท่องเที่ยวและด้านการขนส่ง

Page 14: บทความวิจัยgeo.soc.ku.ac.th/box/document/216/.pdf · 2019-03-02 · วิเคราะห์ข้อมูลด้วยระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์

9

2.2.3 ประเภทของโรงแรม แบ่งตามระดับการให้บริการ เป้าหมายการตลาด และจ านวนห้อง การวิเคราะห์แบบรูปเชิงพ้ืนที่โดยใช้ข้อมูลจากความอนุเคราะห์ของหน่วยงานและการส ารวจ

ภาคสนามตามข้อ 2.1.1-2.3.3 ร่วมกันในการวิเคราะห์แบบรูปของโรงแรมอัจฉริยะที่มีลักษณะร่วมกัน โดยจะพิจารณารายข้อ พร้อมจัดท าแผนที่แสดงผลจากการหาแบบรูปเชิงพ้ืนที่ของโรงแรมอัจฉริยะด้วยโปรแกรม Arcmap 10.4 และใช้วิธีการทางสถิติเชิงพรรณนา หาค่าความถี่และค่าร้อยละ แสดงแบบรูปของโรงแรมอัจฉริยะประเภทต่างๆ ด้วยแผนภูมิและแผนที่

ตารางท่ี 1 เกณฑ์และคะแนนความสะดวกในการเข้าถึงโรงแรงอัจฉริยะ

เกณฑ์ ประเภทถนนและพาหนะที่เข้าสู่โรงแรม การติดถนน 1 ไม่มีถนนเข้าถึงโรงแรมโดยตรง ต้องเดินเท้า

มากกว่า 1,500 เมตร หรือ เส้นทางจักรยาน เข้าซอยจากซอยย่อยหรือ ถนนส่วนบุคคล

2 ถนนลูกรัง หรือถนนดิน หรือถนนคอนกรีต 1 ช่องจราจร รถสวนกันไม่ได้

เข้าซอยย่อยจากซอยหลัก

3 ถนนคอนกรีตหรือลาดยาง 1 ช่องจราจร ไม่มีไหล่ทาง รถวิ่งสวนกันได้ พาหนะทุกชนิดเข้าถึงได้ยกเว้นรถบัสขนาดใหญ่

เข้าซอยหลักจากถนนสายทั่วไป

4 ถนนคอนกรีตหรือลาดยาง 2 ช่องจราจร พาหนะทุกชนิดเข้าถึงได้

ถนนสายหลักท่ัวไปหรือเข้าซอยจากถนนสายหลักส าคัญ

5 ถนนคอนกรีตหรือลาดยาง 3 ช่องจราจรขึ้นไป พาหนะ ทุกชนิดเข้าถึงได้

ถนนใหญ่สายหลักส าคัญ

ขั้นตอนการวิจัย

งานวิจัยเรื่องนี้ แบ่งขั้นตอนการท างานออกเป็น 4 ขั้นตอน ประกอบไปด้วย ขั้นตอนการตรวจเอกสารและออกแบบโครงการวิจัย การออกแบบแบบเก็บข้อมูล การเก็บรวบรวมข้อมูล การน าเข้าและวิเคราะห์ข้อมูล การสรุปการวิจัย การเขียนและแก้ไข และการน าเสนอและเผยแพร่ผลการวิจัย แต่ละข้ันตอนมีการด าเนินงาน ดังนี้ 1. การตรวจเอกสารและออกแบบโครงการวิจัย

การตรวจเอกสารเป็นการสืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับประเภทของโรงแรม การกระจายเชิงพ้ืนที่ แบบรูปเชิงพ้ืนที่ และโรงแรมอัจฉริยะ เพ่ือศึกษาองค์ประกอบของการกระจายเชิงพ้ืนที่ ค่าดัชนีของการกระจาย รูปแบบของการกระจาย แบบรูปเชิงพ้ืนที่และโรงแรมอัจฉริยะว่ามีลักษณะอย่างไร รวมไปถึงการตรวจเอกสารที่เก่ียวข้องกับงานวิจัย

การออกแบบโครงการวิจัยเป็นการวางแผนเพ่ือให้ได้ค าตอบตามวัตถุประสงค์ โดยการน าข้อมูลโรงแรมอัจฉริยะในพ้ืนที่ศึกษา มาวิเคราะห์การกระจายและแบบรูปเชิงพ้ืนที่

Page 15: บทความวิจัยgeo.soc.ku.ac.th/box/document/216/.pdf · 2019-03-02 · วิเคราะห์ข้อมูลด้วยระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์

10

การออกแบบแบบเก็บข้อมูลที่ใช้ในการส ารวจภาคสนามโดยตรง โดยเก็บข้อมูลชื่อโรงแรม ต าแหน่งที่ตั้ง ประเภทของโรงแรม จ านวนห้อง การติดถนน ประเภทถนนและพาหนะที่เข้าสู่โรงแรม 2. การเก็บรวบรวมข้อมูล การน าเข้า และวิเคราะห์ข้อมูล

การรวบรวม ค้นคว้าเอกสาร งานวิจัยที่เกี่ยวข้องเป็นข้อมูลทุติยภูมิ ยกเว้นข้อมูลรายชื่อ ที่อยู่โรงแรมเป็นข้อมูลปฐมภูมิ ซึ่งใช้วิธีการส ารวจภาคสนามโดยตรง ท าการสังเกตแล้วบันทึกลงแบบรวบรวมข้อมูลภาคสนาม โดยใช้เครื่อง GPS แบบพกพาในการเก็บต าแหน่งของโรงแรม และโทรศัพท์มือถือในการถ่ายภาพ เป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล เพ่ือให้ได้ข้อมูลประเภทปฐมภูมิ โดยข้อมูลที่ได้จากการส ารวจคือ ประเภทโรงแรม ค่าพิกัด จ านวนห้อง การติดถนน และประเภทถนนและพาหนะที่เข้าสู่โรงแรม

การน าเข้าข้อมูล น าค่าพิกัดและข้อมูลอรรถาธิบายของต าแหน่งที่ได้ลงในโปรแกรม ArcMap10.4 เพ่ือท าการวิเคราะห์การกระจายและแบบรูปเชิงพ้ืนที่ในเขตพ้ืนที่การศึกษา

การวิเคราะห์ข้อมูลตามวัตถุประสงค์ ซึ่งการวิเคราะห์การกระจายเชิงพ้ืนที่ของโรงแรมที่ใช้แอปพลิเคชันต่างๆ โดยการน าเข้าข้อมูลจากการส ารวจภาคสนาม ได้แก่ ประเภทของโรงแรม แอปพลิเคชัน และข้อมูลที่ใช้ในการวิเคราะห์แบบรูปเชิงพ้ืนที่ของโรงแรมอัจฉริยะ ได้แก่ ประเภทโรงแรม ท าเลของโรงแรมอัจฉริยะ และความสะดวกในการเข้าถึง

3. การสรุปผลการวิจัย

สรุปผลการวิจัยจากข้อเท็จจริงทั้งหมดที่มีอยู่ตามข้อมูลและผลการวิจัย เพ่ือให้ทราบถึงผลของการกระจายเชิงพ้ืนที่ของโรงแรมท่ีใช้แอปพลิเคชันต่างๆ และผลการวิเคราะห์แบบรูปเชิงพ้ืนที่ของโรงแรมอัจฉริยะ โดยน าเสนอผลการวิจัยด้วยแผนที่ต าแหน่งที่ตั้งของโรงแรมอัจฉริยะ แผนภูมิแท่งของความสะดวกในการเข้าถึงและท าเลที่ตั้ง พร้อมค าอธิบาย

4. การเขียน แก้ไข การน าเสนอ และเผยแพร่ผลการวิจัย

การเขียนบทความวิจัย ประกอบด้วย บทคัดย่อ ส่วนเนื้อหา และเอกสารอ้างอิง การน าเสนอและเผยแพร่บทความเป็นขั้นตอนสุดท้ายในการท าบทความ วิธีการน าเสนอและเผยแพร่บทความแบ่งเป็น 2 ระดับ ได้แก่ การน าเสนอและเผยแพร่ภายใน และการน าเสนอและเผยแพร่ภายนอก

Page 16: บทความวิจัยgeo.soc.ku.ac.th/box/document/216/.pdf · 2019-03-02 · วิเคราะห์ข้อมูลด้วยระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์

11

การเขียนรายงานและท ารูปเล่ม

การสรุปการกระจายและแบบรูปเชิงพื้นที่ของโรงแรมอัจฉริยะ

การกระจายเชิงพ้ืนท่ีของโรงแรมอจัฉริยะ แบบรูปเชิงพ้ืนท่ีของโรงแรมอัจฉรยิะ

การวิเคราะห์ด้วย Nearest – Neighborhood Analysis - การวิเคราะห์ทาง GIS - การวิเคราะห์ด้วยสถิตเิชิงพรรณนา

ข้อมูลรายชื่อและที่อยู่ของโรงแรมอัจฉริยะจาก 5 แอปพลิเคชัน

พิกัดที่ตั้งโรงแรม ท าเลที่ตั้งโรงแรมอัจฉรยิะ ความสะดวกในการเข้าถึง

ข้อมูลถนน

ข้อมูลสถานท่ีตา่งๆในพ้ืนท่ีศึกษา - ด้านการให้บริการ - ด้านอนามัย - ด้านสันทนาการ - ด้านความปลอดภยั - ด้านการท่องเที่ยว - ด้านศูนย์กลางขนส่ง

ข้อมูลประเภทโรงแรม - ตามจ านวนห้องพัก - ตามเป้าหมายด้าน

การตลาด - ตามระดับการใช้

บริการ

การส ารวจภาคสนามโดยตรง

การจัดท าฐานข้อมลู

ประเภทของโรงแรมอัจฉริยะในพื้นที ่

การเก็บรวบรวมและน าเข้าข้อมลู

การวางแผนการวิจยั

การสืบค้นข้อมลูทางอินเทอร์เนต็

การก าหนดกรอบแนวคิดในการวจิัย

การตรวจเอกสาร

การขอความอนุเคราะห์ข้อมลูจากหน่วยงาน

ภาพที่ 3 ขั้นตอนการวิจัย

ขั้นตอนท่ี 1

ขั้นตอนท่ี 2

ขั้นตอนท่ี 3

ขั้นตอนท่ี 4

Page 17: บทความวิจัยgeo.soc.ku.ac.th/box/document/216/.pdf · 2019-03-02 · วิเคราะห์ข้อมูลด้วยระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์

12

ผลการวิจัย

โครงการวิจัยการกระจายและแบบรูปเชิงพ้ืนที่ของโรงแรมอัจฉริยะ ( I-Hotel) ชุดนี้ ประกอบด้วยโครงการวิจัยย่อย 2 โครงการ คือ โครงการพ้ืนที่อ าเภอเกาะช้าง จังหวัดตราด และพ้ืนที่อ าเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ การน าเสนอผลการวิจัย ประกอบด้วย 4 ส่วน คือส่วนเนื้อหา ส่วนแผนที่ ส่วนแผนภูมิแท่ง และส่วนตาราง

1. การกระจายและแบบรูปเชิงพื้นที่ของโรงแรมอัจฉริยะในอ าเภอเกาะช้าง จังหวัดตราด

อ าเภอเกาะช้าง จังหวัดตราด ประกอบไปด้วยโรงแรมอัจฉริยะทั้งหมด 287 แห่ง เกาะช้างนั้นมีลักษณะภูมิประเทศตรงกลางเป็นภูเขาสลับซับซ้อน ล้อมรอบด้วยชายหาดและทะเลที่สวยงาม เป็นแหล่งดึงดูดให้นักท่องเที่ยวเข้ามาเที่ยวในเกาะช้างเป็นจ านวนมาก ผลการวิเคราะห์การกระจายและแบบรูปเชิงพ้ืนที่ของโรงแรมอัจฉริยะในอ าเภอเกาะช้าง จังหวัดตราด ดังนี้ 1.1 การกระจายเชิงพื้นที่ของโรงแรมที่ใช้แอปพลิเคชันต่างๆ ในอ าเภอเกาะช้าง จังหวัดตราด

ภาพที่ 4 โรงแรมอัจฉริยะทั้งหมดของอ าเภอเกาะช้าง จังหวัดตราด

Page 18: บทความวิจัยgeo.soc.ku.ac.th/box/document/216/.pdf · 2019-03-02 · วิเคราะห์ข้อมูลด้วยระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์

13

1) จากภาพที่ 4 พบว่า การกระจายเชิงพ้ืนที่ในภาพรวม โรงแรมอัจฉริยะมีทั้งหมด 287 แห่ง มีการกระจายเชิงพ้ืนที่แบบเกาะกลุ่ม (Nearest Neighbor = 0.277 ดังตารางที่ 2) ตามแนวเส้นถนนและชายหาด เนื่องจากบริเวณกลางเกาะเป็นเขตป่าของอุทยานแห่งชาติเกาะช้างที่ไม่อนุญาตให้มีการก่อสร้างสิ่งปลูกสร้าง

2) การกระจายเชิงพ้ืนที่จ าแนกตามแอปพลิเคชั่นและจ านวนแอปพลิเคชั่นที่โรงแรมใช้บริการ พบว่า มีโรงแรมเข้าร่วมแอปพลิเคชั่นของ Booking.com มากที่สุด จ านวน 240 แห่ง รองลงมาคือ Agoda 199 แห่ง Expedia 176 แห่ง Traveloka 122 แห่ง และ Hotel.com 119 แห่ง การกระจายเชิงพ้ืนที่จ าแนกตามแอปพลิเคชั่นมีการกระจายแบบเกาะกลุ่มตามแนวถนนริมชายหาดทางด้านตะวันตกทุกแอปพลิเคชั่น ดังตารางที่ 2 และการกระจายเชิงพ้ืนที่ของโรงแรมพิจารณาจากจ านวนแอปพลิเคชั่นที่ใช้บริการทุกแบบมีกระจายแบบเกาะกลุ่มเช่นกัน ดังภาพที่ 4 และ ตารางที่ 2 ตารางท่ี 2 จ านวนโรงแรมและค่าดัชนีการกระจายของอ าเภอเกาะช้าง จังหวัดตราด

อ าเภอเกาะช้าง จ านวนโรงแรม ค่าดัชน ี ความหมาย

โรงแรมอัจฉริยะทั้งหมด 287 0.277 กระจายแบบเกาะกลุ่ม Booking.com 240 0.298 กระจายแบบเกาะกลุ่ม Agoda 199 0.306 กระจายแบบเกาะกลุ่ม Traveloka 122 0.367 กระจายแบบเกาะกลุ่ม Expedia 176 0.334 กระจายแบบเกาะกลุ่ม Hotel.com 119 0.437 กระจายแบบเกาะกลุ่ม เข้าร่วม 1 แอปพลิเคชัน 64 0.357 กระจายแบบเกาะกลุ่ม เข้าร่วม 2 แอปพลิเคชัน 67 0.407 กระจายแบบเกาะกลุ่ม เข้าร่วม 3 แอปพลิเคชัน 39 0.493 กระจายแบบเกาะกลุ่ม เข้าร่วม 4 แอปพลิเคชัน 44 0.609 กระจายแบบเกาะกลุ่ม เข้าร่วม 5 แอปพลิเคชัน 73 0.561 กระจายแบบเกาะกลุ่ม ระดับการใช้บริการ 1 ดาว 65 0.438 กระจายแบบเกาะกลุ่ม ระดับการใช้บริการ 2 ดาว 29 0.505 กระจายแบบเกาะกลุ่ม ระดับการใช้บริการ 3 ดาว 124 0.360 กระจายแบบเกาะกลุ่ม ระดับการใช้บริการ 4 ดาว 56 0.540 กระจายแบบเกาะกลุ่ม ระดับการใช้บริการ 5 ดาว 13 0.977 กระจายแบบสุ่ม โรงแรมขนาดเล็ก 151 0.324 กระจายแบบเกาะกลุ่ม โรงแรมขนาดกลาง 57 0.462 กระจายแบบเกาะกลุ่ม โรงแรมขนาดใหญ่ 13 1.255 กระจายแบบสุ่ม โรงแรมเพื่อการพาณิชย ์ 34 0.543 กระจายแบบเกาะกลุ่ม โรงแรมแขกพักประจ า 44 0.394 กระจายแบบเกาะกลุ่ม โรงแรมรีสอร์ต 125 0.334 กระจายแบบเกาะกลุ่ม โรงแรมซึ่งจดัห้องพักและอาหารเช้า 83 0.411 กระจายแบบเกาะกลุ่ม โรงแรมคอนโดมเินียม 1 - -

Page 19: บทความวิจัยgeo.soc.ku.ac.th/box/document/216/.pdf · 2019-03-02 · วิเคราะห์ข้อมูลด้วยระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์

14

3) การกระจายเชิงพ้ืนที่ตามประเภทของโรงแรม การกระจายเชิงพ้ืนที่จ าแนกตามประเภทของโรงแรม คือ แบ่งตามจ านวนห้องพัก โรงแรมที่มีจ านวนห้องน้อยกว่า 100 ห้องจะมีการกระจายแบบเกาะกลุ่ม ในขณะที่โรงแรมที่มีจ านวนมากกว่า 100 ห้องขึ้นไปมีการกระจายแบบสุ่ม กรณีแบ่งตามเป้าหมายการตลาดทุกประเภทมีการกระจายแบบเกาะกลุ่มทั้งหมด ส่วนกรณีแบ่งตามระดับการให้บริการ ประเภท 1 – 4 ดาวมีการกระจายแบบเกาะกลุ่ม ส่วนประเภท 5 ดาวมีการการกระจายแบบสุ่ม ดังตารางที่ 2 1.2 แบบรูปเชิงพ้ืนที่ของโรงแรมอัจฉริยะในอ าเภอเกาะช้าง จังหวัดตราด

1) ความสะดวกในการเข้าถึงของโรงแรมอัจฉริยะ จากการให้คะแนนความสะดวกในการเข้าถึงของโรงแรมอัจฉริยะ พบว่า ประเภทการติดถนนสายหลักทั่วไปหรือเข้าซอยจากถนนสายหลักส าคัญมากที่สุด และประเภทถนนคอนกรีตหรือลาดยาง 1 ช่องจราจร ไม่มีไหล่ทาง รถวิ่งสวนกันได้ พาหนะทุกชนิดเข้าถึงได้ยกเว้นรถบัสขนาดใหญ่มากท่ีสุด ดังภาพที่ 5

ภาพที่ 5 แผนภูมิความสะดวกในการเข้าถึงของโรงแรมอัจฉริยะในอ าเภอเกาะช้าง จังหวัดตราด หมายเหตุ เกณฑ์คะแนน 1 – 5 สามารถอ่านความหมายได้จากตารางที่ 1 หน้า 9

2) ท าเลของโรงแรมอัจฉริยะ จากการพิจารณาระยะห่างจากท าเลด้านต่างๆ กับโรงแรมอัจฉริยะ พบว่า โรงแรมอัจฉริยะมีระยะห่างจากที่ตั้งด้านการท่องเที่ยวภายในรัศมี 1 กิโลเมตรมากที่สุด มีระยะห่างจากที่ตั้งด้านสาธารณสุขภายในรัศมี 1 – 2.5 กิโลเมตรมากที่สุด ระยะห่างจากที่ตั้งด้านขนส่งและด้านบริการประชาชนภายในรัศมี 2.5 – 4 กิโลเมตรมากที่สุด และระยะห่างจากด้านความปลอดภัยมากกว่ารัศมี 5 กิโลเมตรมากที่สุด (เกาะช้างไม่ปรากฏท าเลด้านนันทนาการจึงไม่ได้พิจารณาด้านนี้) ดังภาพที่ 6

3) แบบรูปของโรงแรมอัจฉริยะจ าแนกตามประเภทของโรงแรม ส าหรับแบบรูปเชิงพ้ืนที่ของโรงแรมอัจฉริยะในอ าเภอเกาะช้าง จังหวัดตราด ส่วนใหญ่เป็นโรงแรมรีสอร์ต ระดับ 3 ดาว ขนาดเล็กอยู่ทางทิศตะวันตกของเกาะ

Page 20: บทความวิจัยgeo.soc.ku.ac.th/box/document/216/.pdf · 2019-03-02 · วิเคราะห์ข้อมูลด้วยระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์

15

ภาพที่ 6 แผนภูมิท าเลของโรงแรมอัจฉริยะในอ าเภอเกาะช้าง จังหวัดตราด 2. การกระจายและแบบรูปเชิงพื้นที่ของโรงแรมอัจฉริยะในอ าเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่

อ าเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ ประกอบไปด้วยโรงแรมอัจฉริยะทั้งหมด 1,745 แห่ง อ าเภอเมืองเชียงใหม่มีลักษณะภูมิประเทศเป็นภูเขาทางด้านตะวันตก ตอนกลางและตะวันออกเป็นที่ราบและมีแม่น้ าปิงไหลผ่าน อีกทั้งมีประวัติศาสตร์ความเป็นมาที่ยาวนาน มีแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมจ านวนมาก เป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยวที่ส าคัญของภาคเหนือและประเทศไทย 2.1 การกระจายเชิงพื้นที่ของโรงแรมที่ใช้แอปพลิเคชันต่างๆ ในอ าเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่

1) การกระจายเชิงพ้ืนที่ในภาพรวม พบว่า โรงแรมอัจฉริยะมีทั้งหมด 1,745 แห่ง มีการกระจายเชิงพ้ืนที่แบบเกาะกลุ่ม (Nearest Neighbor = 0.432 ดังตารางที่ 2) บริเวณย่านเมืองเก่า (เขตคูเมือง) และบริเวณโดยรอบมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ดังภาพที่ 7

2) การกระจายเชิงพ้ืนที่จ าแนกตามแอปพลิเคชั่นและจ านวนแอปพลิเคชั่นที่โรงแรมใช้บริการ พบว่ามีโรงแรมเข้าร่วมแอปพลิเคชั่นของ Expedia มากที่สุด จ านวน 1,322 แห่ง รองลงมาคือ Agoda 1,101 แห่ง Booking.com 926 แห่ง Hotel.com 747 แห่ง และ Traveloka 738 แห่ง ทุกแอปพลิเคชั่นมีการกระจายแบบเกาะกลุ่มในย่านเมืองเก่าและบริ เวณโดยรอบมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ดังตารางที่ 3 การกระจายเชิงพ้ืนที่ของโรงแรมพิจารณาจากจ านวนแอปพลิเคชั่นที่ใช้บริการทุกแบบมีกระจายแบบเกาะกลุ่มเช่นกัน ดังภาพที่ 7 และ ตารางที่ 3

Page 21: บทความวิจัยgeo.soc.ku.ac.th/box/document/216/.pdf · 2019-03-02 · วิเคราะห์ข้อมูลด้วยระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์

16

ภาพที่ 7 โรงแรมอัจฉริยะทั้งหมดของอ าเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่

3) การกระจายเชิงพ้ืนที่ตามประเภทของโรงแรม การกระจายเชิงพ้ืนที่จ าแนกตามประเภทของโรงแรม คือ แบ่งตามจ านวนห้องพัก โรงแรมที่มีจ านวนห้องน้อยกว่า 100 ห้องจะมีการกระจายแบบเกาะกลุ่ม ในขณะที่โรงแรมที่มีจ านวนมากกว่า 100 ห้องขึ้นไปมีการกระจายแบบสุ่ม กรณีแบ่งตามเป้าหมายการตลาดทุกประเภทมีการกระจายแบบสุ่ม ยกเว้นประเภทแขกพักประจ าและประเภทซึ่งจัดห้องพักและอาหารเช้าเป็นการกระจายแบบเกาะกลุ่ม กรณแีบ่งตามระดับการให้บริการ ระดับ 1, 2 และ 3 ดาวมีการกระจายแบบเกาะกลุ่มและระดับ 4 และ 5 ดาวมีการกระจายแบบสุ่ม ดังตารางที่ 3

Page 22: บทความวิจัยgeo.soc.ku.ac.th/box/document/216/.pdf · 2019-03-02 · วิเคราะห์ข้อมูลด้วยระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์

17

ตารางท่ี 3 จ านวนโรงแรมและค่าดัชนีการกระจายของอ าเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่

อ าเภอเมืองเชียงใหม่ จ านวนโรงแรม ค่าดัชน ี ความหมาย

โรงแรมอัจฉริยะทั้งหมด 1,745 0.432 กระจายแบบเกาะกลุ่ม Booking.com 926 0.531 กระจายแบบเกาะกลุ่ม Agoda 1,101 0.504 กระจายแบบเกาะกลุ่ม Traveloka 738 0.530 กระจายแบบเกาะกลุ่ม Expedia 1,322 0.433 กระจายแบบเกาะกลุ่ม Hotel.com 747 0.499 กระจายแบบเกาะกลุ่ม เข้าร่วม 1 แอปพลิเคชัน 450 0.545 กระจายแบบเกาะกลุ่ม เข้าร่วม 2 แอปพลิเคชัน 422 0.610 กระจายแบบเกาะกลุ่ม เข้าร่วม 3 แอปพลิเคชัน 263 0.646 กระจายแบบเกาะกลุ่ม เข้าร่วม 4 แอปพลิเคชัน 299 0.614 กระจายแบบเกาะกลุ่ม เข้าร่วม 5 แอปพลิเคชัน 311 0.627 กระจายแบบเกาะกลุ่ม ระดับการใช้บริการ 1 ดาว 363 0.524 กระจายแบบเกาะกลุ่ม ระดับการใช้บริการ 2 ดาว 569 0.517 กระจายแบบเกาะกลุ่ม ระดับการใช้บริการ 3 ดาว 603 0.526 กระจายแบบเกาะกลุ่ม ระดับการใช้บริการ 4 ดาว 182 0.760 กระจายแบบสุ่ม ระดับการใช้บริการ 5 ดาว 28 0.984 กระจายแบบสุ่ม โรงแรมขนาดเล็ก 1,124 0.459 กระจายแบบเกาะกลุ่ม โรงแรมขนาดกลาง 298 0.571 กระจายแบบเกาะกลุ่ม โรงแรมขนาดใหญ่ 73 0.746 กระจายแบบเกาะกลุ่ม โรงแรมเพื่อการพาณิชย ์ 184 0.769 กระจายแบบเกาะกลุ่ม โรงแรมห้องชุด 197 0.761 กระจายแบบสุ่ม โรงแรมแขกพักประจ า 418 0.575 กระจายแบบเกาะกลุ่ม โรงแรมรีสอร์ต 65 0.904 กระจายแบบสุ่ม โรงแรมซึ่งจดัห้องพักและอาหารเช้า 845 0.446 กระจายแบบเกาะกลุ่ม โรงแรมคอนโดมเินียม 36 0.842 กระจายแบบสุ่ม

2.2 แบบรูปเชิงพ้ืนที่ของโรงแรมอัจฉริยะในอ าเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่

1) ความสะดวกในการเข้าถึงของโรงแรมอัจฉริยะ จากการให้คะแนนความสะดวกในการเข้าถึงของโรงแรมอัจฉริยะ พบว่า การติดถนนประเภทเข้าซอยหลักจากถนนสายทั่วไปมากที่สุด และประเภทถนนคอนกรีตหรือลาดยาง 1 ช่องจราจร ไม่มีไหล่ทาง รถวิ่งสวนกันได้ พาหนะทุกชนิดเข้าถึงได้ยกเว้นรถบัสขนาดใหญ่มากที่สุด ดังภาพที่ 8

Page 23: บทความวิจัยgeo.soc.ku.ac.th/box/document/216/.pdf · 2019-03-02 · วิเคราะห์ข้อมูลด้วยระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์

18

ภาพที่ 8 แผนภูมิความสะดวกในการเข้าถึงของโรงแรมอัจฉริยะในอ าเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่

หมายเหต ุ เกณฑ์คะแนน 1 – 5 สามารถอ่านความหมายได้จากตารางที่ 1 หน้า 9

2) ท าเลของโรงแรมอัจฉริยะ จากการพิจารณาระยะห่างจากท าเลด้านต่างๆ กับโรงแรมอัจฉริยะ พบว่า โรงแรมอัจฉริยะมีระยะห่างจากที่ตั้งด้านสาธารณสุข ด้านความปลอดภัย ด้านนันทนาการและด้านการท่องเที่ยวภายในรัศมี 1 กิโลเมตรมากที่สุด และมีระยะห่างจากที่ตั้งด้านขนส่งและด้านบริการประชาชนภายในรัศมี 1 – 2.5 กิโลเมตรมากที่สุด ดังภาพที่ 9

ภาพที่ 9 แผนภูมิท าเลของโรงแรมอัจฉริยะในอ าเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่

Page 24: บทความวิจัยgeo.soc.ku.ac.th/box/document/216/.pdf · 2019-03-02 · วิเคราะห์ข้อมูลด้วยระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์

19

3) แบบรูปของโรงแรมอัจฉริยะจ าแนกตามประเภทของโรงแรม แบบรูปเชิงพ้ืนที่ของโรงแรมอัจฉริยะใน อ าเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ ส่วนใหญ่เป็นโรงแรมซึ่งจัดห้องพักและอาหารเช้า ระดับการให้บริการ 1 ดาว ขนาดเล็กอยู่บริเวณย่านเมืองเก่าและบริเวณโดยรอบมหาวิทยาลัยเชียงใหม่

3. สรุปผลภาพรวมของชุดโครงการวิจัย

โครงการวิจัยการกระจายและแบบรูปเชิงพ้ืนที่ของโรงแรมอัจฉริยะ ( I-Hotel) ชุดนี้ สรุปภาพรวมตามวัตถุประสงค์ได้ดังนี้ 3.1 การกระจายเชิงพื้นที่ของโรงแรมอัจฉริยะ

โรงแรมอัจฉริยะทั้งสองพ้ืนที่มักเกาะกลุ่มตามแนวเส้นถนนและสถานที่ที่เป็นจุดสนใจของพ้ืนที่ เช่น หาดทรายฝั่งตะวันตกของเกาะช้าง หรือ อ าเภอเมืองเชียงใหม่บริเวณย่านเมืองเก่าและบริเวณโดยรอบมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ส่วนใหญ่มีการกระจายแบบเกาะกลุ่ม ยกเว้นโรงแรมประเภท 5 ดาวและมีจ านวนห้องมากกว่า 100 ห้องจะมีการกระจายแบบสุ่ม ส่วนประเภทโรงแรมด้านระดับการให้บริการ 3 ดาวมีจ านวนมากที่สุด ประเภทจ านวนห้องมีห้องให้บริการน้อยกว่า 30 ห้องมากท่ีสุด 3.2 แบบรูปเชิงพ้ืนที่ของโรงแรมอัจฉริยะ

ด้านความสะดวกของโรงแรมอัจฉริยะทั้งสองพ้ืนที่ การเข้าถึงมักอยู่ติดกับถนนประเภทสองช่องจราจร (ไป-กลับ) สวนกันได้มากที่สุด และท าเลที่ตั้งโดยรอบภายในรัศมี 1 กิโลเมตรจากโรงแรมอัจฉริยะทั้งสองพ้ืนที่มักเป็นแหล่งท่องเที่ยว

บทสรุป วิจารณ์ และข้อเสนอแนะ บทสรุปและวิจารณ์ 1. การกระจายเชิงพื้นที่ของโรงแรมอัจฉริยะในพื้นที่อ าเภอเกาะช้าง จังหวัดตราด และอ าเภอ

เมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ เมื่อพิจารณาผลการวิเคราะห์การกระจายเชิงพ้ืนที่ของโรงแรมที่ใช้แอปพลิเคชันต่างๆ พบว่าส่วนมากมักมีการกระจายแบบเกาะกลุ่มตามแนวเส้นถนนและสถานที่ที่เป็นจุดสนใจของพ้ืนที่ เช่น หาดทรายฝั่งตะวันตกของเกาะช้าง หรือ อ าเภอเมืองเชียงใหม่บริเวณย่านเมืองเก่าและบริเวณโดยรอบมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ทั้งนี้ ทั้ง 2 พ้ืนที่ต่างมีลักษณะทางภูมิประเทศอย่างหนึ่งที่เหมือนกัน คือ มีพ้ืนที่ที่เป็นเขตภูเขาของอุทยานแห่งชาติ ส่งผลให้การค านวณค่าการกระจายปรากฏว่ามีการกระจุกตัวในบริเวณเดิมตลอด ส าหรับการพิจารณาการกระจายเชิงพ้ืนที่ของโรงแรมอัจฉริยะโดยจ าแนกด้วยแอปพลิเคชั่นในแบบรายแอปพลิเคชั่นและตามจ านวนแอปพลิเคชั่นที่โรงแรมเข้าร่วมทั้งสองพ้ืนที่พบว่า มีการกระจายเชิงพ้ืนที่แบบเกาะกลุ่มท้ังหมด และส าหรับการพิจารณาการกระจายเชิงพ้ืนที่ของโรงแรมอัจฉริยะโดยแบ่งตามประเภทโรงแรม พบว่า ส่วนใหญ่จะเป็นการกระจายเชิงพ้ืนที่แบบเกาะกลุ่ม ยกเว้นโรงแรมประเภทการให้บริการระดับ 5 ดาวและประเภทมีจ านวนห้องมากกว่า 100 ห้องจะมีการกระจายแบบสุ่ม เนื่องจากโรงแรมประเภทนี้มักตั้งกระจัดกระจายตามสถานที่ส าคัญและมีจ านวนน้อยกว่าประเภทอ่ืน จึงท าให้ค านวณค่าการกระจายเชิงพ้ืนที่ได้เข้าใกล้ 1 หรือเป็นแบบสุ่มนั่นเอง

Page 25: บทความวิจัยgeo.soc.ku.ac.th/box/document/216/.pdf · 2019-03-02 · วิเคราะห์ข้อมูลด้วยระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์

20

2. แบบรูปเชิงพื้นที่ของโรงแรมอัจฉริยะในพื้นที่อ าเภอเกาะช้าง จังหวัดตราด และอ าเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่

เมื่อพิจารณาผลการวิเคราะห์ด้านความสะดวกในการเข้าถึงของโรงแรมอัจฉริยะ พบว่าโรงแรมมักมีที่ตั้งอยู่ติดกับถนนประเภทสองช่องจราจร (ไป-กลับ) สวนกันได้มากที่สุด ด้านท าเลของโรงแรมอัจฉริยะจากการพิจารณาระยะห่างจากท าเลด้านต่างๆกับโรงแรมอัจฉริยะ พบว่า โรงแรมอัจฉริยะมีระยะห่างจากที่ตั้งด้านการท่องเที่ยวภายในรัศมี 1 กิโลเมตรมากที่สุด เนื่องจากระยะห่างจากแหล่งท่องเที่ยวมีผลต่อการตัดสินใจเข้าพักโรงแรมของนักท่องเที่ยว โรงแรมจ านวนมากจึงมักอยู่ไม่ห่างจากสถานที่ท่องเที่ยวนัก ส าหรับแบบรูปเชิงพ้ืนที่ของโรงแรมอัจฉริยะในอ าเภอเกาะช้าง จังหวัดตราด คือ เป็นโรงแรมรีสอร์ต ระดับ 3 ดาวขนาดเล็กอยู่ทางทิศตะวันตกของเกาะส่วนแบบรูปเชิงพ้ืนที่ของโรงแรมอัจฉริยะใน อ าเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ คือ เป็นโรงแรมซึ่งจัดห้องพักและอาหาร เช้ า ระดับ 1 ดาวขนาด เล็ กอยู่ บ ริ เ วณย่ าน เมื อ ง เก่ าและบริ เ วณโดยรอบมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ สังเกตได้ว่าทั้งสองพ้ืนที่ โรงแรมมักเป็นโรงแรมขนาดเล็กอยู่ในบริเวณใกล้เคียงกันและมีจ านวนมากที่สุด จึงท าให้ได้ลักษณะแบบรูปเป็นโรงแรมที่มีขนาดเล็กเป็นหลัก ข้อเสนอแนะ 1. ข้อเสนอแนะจากผลการวิจัยครั้งนี้

จากผลการวิจัยการกระจายและแบบรูปเชิงพ้ืนที่ของโรงแรมอัจฉริยะ (I-Hotel) มีหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สมาคมโรงแรมไทย กรมการปกครอง ควรท าการอัปเดตข้อมูลโรงแรมที่เข้าร่วมกับOTAs ที่มีในปัจจุบัน เพ่ือสามารถจัดท านโยบายในการท างานให้สอดคล้องกับความก้าวหน้าของเทคโนโลยีในปัจจุบันได้อย่างเหมาะสมพร้อมทั้งสามารถส่งเสริมการท่องเที่ยว เศรษฐกิจและเป็นการปรับตัวด้วยเทคโนโลยีตามนโยบายไทยแลนด์ 4.0 นอกจากนี้ยังสามารถใช้เป็นองค์ความรู้เพ่ือการวิจัยในด้านการพัฒนาเชิงพ้ืนที่ในระดับท้องถิ่นต่อไป ผู้ประกอบการธุรกิจโรงแรมสามารถน าไปปรับปรุง โดยใช้เป็นตัวเลือกหนึ่งในพัฒนาโรงแรมของตนเองเพ่ือแก้ปัญหาการเข้าถึงที่ล าบากของโรงแรมและเพ่ิมกลยุทธ์ในจัดการโรงแรมในด้านการเพ่ิมช่องทางประชาสัมพันธ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ 2. ข้อเสนอแนะส าหรับการวิจัยครั้งต่อไป

เสนอแนะให้มีการศึกษาแอปพลิชันจองโรงแรมอ่ืนๆ เพ่ิมเติม เพราะจากการลงพ้ืนที่ท าให้พบว่า หลายๆ โรงแรมได้มีการใช้แอปพลิเคชั่นในการจองโรงแรมต่างจากที่ก าหนดไว้ในงานนี้ เช่น Airbnb, Ctrip, Hostelworld ซ่ึงแต่ละ OTAs ต่างก็มีกลุ่มลูกค้าที่ต่างกัน ผลที่ได้จากการศึกษาก็อาจแตกต่างกันได้ ควรเพ่ิมปัจจัยในการศึกษาเพ่ิมเติม เช่น ด้านราคา ความพึงพอใจของลูกค้า เพ่ือให้ได้ผลลัพธ์ออกมาชัดเจนมากยิ่งขึ้น และเสนอแนะการวิจัยในเชิงเวลาเพ่ือได้ทราบว่า เกิดการเปลี่ยนแปลงของโรงแรมอัจฉริยะในพ้ืนที่นั้นมาอย่างไรบ้างจากอดีตถึงปัจจุบัน และแนวโน้มของโรงแรมอัจฉริยะในอนาคตจะเป็นเช่นไร

Page 26: บทความวิจัยgeo.soc.ku.ac.th/box/document/216/.pdf · 2019-03-02 · วิเคราะห์ข้อมูลด้วยระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์

21

ค าขอบคุณ

งานวิจัยนี้ ได้รับการสนับสนุนทุนอุดหนุนวิจัยจากภาควิชาภูมิศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ในการส ารวจภาคสนาม จึงขอขอบคุณภาควิชาภูมิศาสตร์เป็นอย่างสูง และนอกเหนือจากนั้น ขอขอบคุณ รองศาสตราจารย์ ดร.สิริกร กาญจนสุนทร อาจารย์ที่ปรึกษาปัญหาพิเศษ รองศาสตราจารย์ ดร.พันธ์ทิพย์ จงโกรย อาจารย์ประจ าวิชาปัญหาพิเศษและอาจารย์ประจ าภาควิชาภูมิศาสตร์ทุกท่าน ส าหรับค าแนะน าที่เป็นประโยชน์ส าหรับการท างานวิจัยทุกขั้นตอนในปัญหาพิเศษครั้งนี้ และหน่วยงาน ได้แก่ ส านักงานโยธาธิการและผังเมือง จังหวัดเชียงใหม่และจังหวัดตราด ศูนย์ราชการจังหวัดเชียงใหม่และจังหวัดตราด การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) (ส านักงานใหญ่) ททท.ส านักงานเชียงใหม่ และ ททท.ส านักงานตราดในการอนุเคราะห์ข้อมูล ในการท างานวิจัยประกอบการท าปัญหาพิเศษในครั้งนี้

เอกสารอ้างอิง

กษิด์เดช เนตรทิพย์. 2558. การกระจายตัวเชิงพื้นที่ของหอพักนิสิต และปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเข้าพักอาศัย: กรณีศึกษา มหาวิทยาลัยนเรศวร. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาภูมิศาสตร์, มหาวิทยาลัยนเรศวร.

คณะกรรมการนโยบายการท่องเที่ยวแห่งชาติ. 2554. แผนพัฒนาการการท่องเที่ยวแห่งชาติ พ.ศ.

2555 – 2559 (Online). http://mots.go.th/ewt_dl_link.php?nid=4147., 7 กันยายน 2560.

นิศศา ศิลปเสรฐ. 2560. อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว. พิมพ์ครั้งที่7. กรุงเทพฯ: ส านักพิมพ์แห่ง

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. พันธ์ทิพย์ จงโกรย. 2556. ภูมิศาสตร์การตั้งถิ่นฐาน. ภาควิชาภูมิศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์

มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. _____________. 2557. เอกสารประกอบการสอนรายวิชาภูมิศาสตร์มนุษย์. ภาควิชาภูมิศาสตร์

คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. พันธ์ทิพย์ จงโกรย และ ชนมณี ทองใบ. 2556. รูปแบบการกระจายเชิงพื้นที่ของพื้นที่เมืองใน

ประเทศไทย. รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

Page 27: บทความวิจัยgeo.soc.ku.ac.th/box/document/216/.pdf · 2019-03-02 · วิเคราะห์ข้อมูลด้วยระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์

22

สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น. 2553. บทวิเคราะห์ธุรกิจโรงแรมและรีสอร์ท ปี 2553 (Online). http://engine.bnkbarcobd.com/sme/upload/mod_downloadบทวิเคราะห์ธุรกิจ-โรงแรมและรีสอร์ท%20ปี%202553.pdf., 7 กันยายน 2560.

สุคนธ์ ประสิทธิ์วัฒนเสร.ี ม.ป.ป. การกระจายของประชากร (Distribution of Population)

(Online). www.sukon.cmustat.com/STAT208343/chap6_343.pdf., 14 กันยายน 2560.

อภิวัฒน รัตนวราหะ และ สฤษดิ์ ติยะวงศ์สุวรรณ. 2556. “การกระจายตัวเชิงพ้ืนที่ของบริษัทสราง

สรรคในกรุงเทพมหานคร: กรณีศึกษาบริษัทโฆษณา ออกแบบสถาปตยกรรม และบริการซอฟทแวร์.” วารสารวิชาการ คณะสถาปตยกรรมศาสตร จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย (62): 209-224.

Lifesmart. 2017. “ระบบโรงแรมอัจฉริยะ.” LifeSmart. (Online).

https://www.lifesmartthailand.com/content/13032., September 13, 2017. Bergman, E. F. and Renwick, W. H. 2003. Introduction to Geography: people,

places, and environment. 2nd ed. New Jersey: Pearson Education. Felimann, J. D. et al. 2013. Human Geography: Landscapes of Human Activities.

12th ed. New York: McGraw Hill.