83
การพัฒนาทักษะการใช้คาคุณศัพท์ในการอธิบายคุณลักษณะ โดยใช้แบบฝึกทักษะของนักเรียนสาขางานอิเล็กทรอนิกส์ ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีท2 จานวน 32 คน วิทยาลัยการอาชีพฝาง ตาบลแม่สูน อาเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ โดย นางสาวอัจฉรา ทองปัน แผนกวิชา สามัญ วิทยาลัยการอาชีพฝาง สานักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ

การพัฒนาทักษะการใช้ค า ...fve.ac.th/car/2555/term1/012.pdf1. ช ดฝ กท กษะการใช ค าค ณศ พท ในการอธ

  • Upload
    others

  • View
    4

  • Download
    0

Embed Size (px)

Citation preview

  • การพัฒนาทักษะการใช้ค าคุณศัพท์ในการอธิบายคุณลักษณะ โดยใช้แบบฝึกทักษะของนักเรียนสาขางานอิเล็กทรอนิกส์ ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 2 จ านวน 32 คน

    วิทยาลัยการอาชีพฝาง ต าบลแม่สูน อ าเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่

    โดย

    นางสาวอัจฉรา ทองปัน แผนกวชิา สามัญ

    วิทยาลัยการอาชีพฝาง

    ส านักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ

  • กิตติกรรมประกาศ

    งานวิจัยในชั้นเรียนฉบับนี้ส าเร็จได้ด้วยดี เพราะได้รับความกรุณาในการให้ค าปรึกษาและค าแนะน าอย่างดียิ่งจากรองผู้อ านวยการฝ่ายวิชาการรองประยุทธ เวชสาร รองผู้อ านวยการฝ่ายบริหารทรัพยากร รองสมจิตร ธงห้อย ฝ่ายแผนงานฯ รองสถิต ปริปุณนากร รองฝ่ายพัฒนากิจการนักเรียน นักศึกษา รองนิโรจน์ แสงพงษ์ หัวหน้าแผนวิชาสามัญ นางสาวดารุวรรณ วงค์นิคม เจ้าหน้าที่งานวิชาการ เจ้าหน้าที่งานทะเบียน และเจ้าหน้าที่งานพัฒนานักเรียนฯ

    ขอกราบขอบพระคุณผู้อ านวยการวิทยาลัยการอาชีพฝาง นายสมพงศ์ ค่ายค า ที่ให้การสนับสนุนในการวิจัยครั้งนี้ ขอขอบพระคุณผู้เชี่ยวชาญ ที่ช่วยตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือการวิจัย พร้อมทั้งนักเรียนที่เป็นกลุ่มประชากร นักเรียนสาขางานอิเล็กทรอนิกส์ ชั้นปีที่ 2 ทุกคน ที่ให้ความร่วมมือเป็นอย่างดียิ่งในการวิจัยครั้งนี้ด้วย

    นางสาวอัจฉรา ทองปัน

  • ชื่อเรื่อง การพัฒนาทักษะการใช้ค าคุณศัพท์ในการอธิบายคุณลักษณะในภาษาอังกฤษ โดยใช้แบบฝึกทักษะของนักเรียนสาขางานอิเล็กทรอนิกส์ ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 3 จ านวน 32 คน วิทยาลัยการอาชีพฝาง ต าบลมาสูน อ าเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่

    ชื่อผู้วิจัย นางสาวอัจฉรา ทองปัน คุณวุฒิ ศศ.บ.ภาษาอังกฤษ ชื่อหน่วยงาน วิทยาลัยการอาชีพฝาง ต าบลแม่สูน อ าเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่

    ปีท่ีท าการวิจัย 2555

    บทคัดย่อ

    การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพ่ือพัฒนาทักษะการใช้ค าคุณศัพท์ในการอธิบายลักษณะของสิ่งของในภาษาอังกฤษ ของนักเรียนสาขางานอิเล็กทรอนิกส์ ชั้นปีที่ 2 จ านวน 32 คน ผู้ศึกษาด าเนินงานโดยเก็บรวบรวมข้อมูล โดยใช้กลุ่มประชากรเป็นนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ชั้นปีที่ 2

    สาขางานไฟฟ้าก าลัง ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2555 ของวิทยาลัยการอาชีพฝาง จังหวัดเชียงใหม่ เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ทางภาษา วิชา ภาษาอังกฤษเพ่ือการสื่อสารในงานอาชีพ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ การหาประสิทธิภาพ และทดสอบความแตกต่างของคะแนนเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ก่อนเรียนกับหลังเรียนแผนการจัดการเรียนรู้ โดยใช้ค่าคะแนนเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิเคราะห์ข้อมูลพบว่า ประสิทธิภาพของชุดฝึกทักษะการใช้ค าคุณศัพท์ มีค่าเท่ากับ 81.0714/ 88.9285 นั่นคือแผนการจัดการเรียนรู้ที่ใช้ชุดฝึกประกอบการจัดการเรียนรู้ ในรายวิชาภาษาอังกฤษช่างอุตสาหกรรม ที่สร้างขึ้นมีประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ 80/80 และผลการวิเคราะห์ข้อมูลพบว่า คะแนนเฉลี่ยทดสอบหลังเรียน มีค่าเท่ากับ 32.7500 เมื่อใช้ชุดฝึกประกอบการจัดกิจกรรมตามแผนการจัดการเรียนรู้ มีคะแนนเฉลี่ยสูงกว่าคะแนนเฉลี่ยทดสอบก่อนเรียน มีค่าเท่ากับ 15.4643

  • สารบัญ

    หน้า

    กิตติกรรมประกาศ ก

    บทคัดย่อภาษาไทย ข

    สารบัญ ค

    สารบัญตาราง จ

    บทที่ 1 บทน า 1

    ความเป็นมาและความส าคัญของปัญหา 1

    วัตถุประสงค์ของการวิจัย 2

    ประโยชน์ของการวิจัย 2

    ขอบเขตของการวิจัย 2

    นิยามศัพท์เฉพาะ 3

    บทที่ 2 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง 4

    เอกสารเกี่ยวกับแนวคิด ทฤษฏี เกี่ยวกับวิธีสอน 4

    บทที่ 3 วิธีด าเนินการวิจัย 67

    กลุ่มประชากร 67

    เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย 67

    รูปแบบการทดลอง 69

    สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล 69

    บทที่ 4 ผลการวิเคราะห์ข้อมูล 70

    การหาประสิทธิภาพของแบบทดสอบ 70

    การเปรียบเทียบความแตกต่างของคะแนนเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 71

  • การวิเคราะห์ความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ 73

    สารบัญ(ต่อ)

    หน้า

    บทที่ 5 สรุปผล อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ 74

    วัตถุประสงค์ของการวิจัย 74

    กลุ่มประชากร 74

    เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย 74

    ผลการวิเคราะห์ข้อมูล 75

    อภิปรายผลการวิจัยและข้อเสนอแนะ 75

    บรรณานุกรม ฉ

    ภาคผนวก

  • 1

    บทที่ 1

    บทน า

    ความเป็นมาและความส าคัญของปัญหา

    การจัดการศึกษาที่ดีและสามารถพัฒนาความรู้และทักษะของผู้เรียนให้มีการพัฒนาตนเองได้นั้น มีหลักการว่าผู้เรียนสามารถพัฒนาตนเองได้ และผู้เรียนมีความส าคัญทีสุด กระบวนการจัดการศึกษาต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตามธรรมชาติ และเต็มศักยภาพ ค านึกถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล การจัดการศึกษานอกจากจะมุ่งเน้นให้ผู้เรียนมีความรู้ความสามารถในเชิงวิชาการ การจัดการศึกษาต้องมุ่งเน้นให้ผู้เรียนเป็นผู้ที่มีความรู้ มีคุณธรรม และมีจริยธรรมอันดีงามอีกด้วย ซึ่งการพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียนนั้น ผู้เรียนจะต้องสามารถน าความรู้ที่ได้ไปปรับเปลี่ยน ประยุกต์ หรือปรับปรุงพัฒนาให้เข้ากับชีวิตประจ าวันของตนเองและสามารถอยู่ในสังคมได้อย่างเป็นสุข ดังค าที่ว่า เก่ง ดี และมีความสุข

    การจัดการเรียนการสอนทางด้านภาษาต่างประเทศ เป็นอีกรายวิชาหนึ่งที่มีความส าคัญเป็นอย่างยิ่งเนื่องจากปัจจุบันประเทศไทยของเรานั้นได้มีการติดต่อกับชาวต่างประเทศอย่างหลากหลาย เช่น ทางด้านเศรษฐกิจ การเมือง การท่องเที่ยวหรือแม้กระทั่งการศึกษา วิทยาลัยการอาชีพฝางได้เล็งเห็นถึงความส าคัญในด้านนี้จึงได้จัดให้มีการบรรจุรายวิชาภาษาอังกฤษ ให้ยู่ในแผนการเรียนของนักเรียน โดยจัดให้มีการเรียนการสอนในรายวิชาภาษาอังกฤษทุกภาการศึกษา ตลอดหลักสูตร 3 ปี กระบวนการจัดการเรียนการสอนของรายวิชาภาษาอังกฤษนั้น ต้องค านึงถึงการจัดให้มีการพัฒนากระบวนการเรียนและการพัฒนาทักษะต่างๆ ทั้งการฟัง การพูด การอ่าน และการเขียน ดังนั้นการพัฒนาความรู้ความสามารถของนักเรียนให้ดีนั้น การทราบถึงจุดด้อยแล้วน ามาพัฒนา เพ่ือให้เกิดกระบวนการเรียนรู้กับผู้เรียน และเน้นย้ าให้ผู้เรียนได้พัฒนาตนเองในด้านต่างๆให้เต็มตามความสามารถและมาท่ีสุด

    การบันทึกหลังการสอนถือเป็นการเก็บข้อมูลเพ่ือน ามาพัฒนาการเรียนการสอนให้ก่อประโยชน์กับผู้เรียนให้มากที่สุดอีกวิธีหนึ่ง จากการท าแผนการสอนและกิจกรรมการสอนพบว่า มีนักเรียนจ านวนหนึ่งไม่สามารถใช้ค าคุณศัพท์ในการอธิบายคุณลักษณะต่างๆ ของสิ่งของหรือบรรยายลักษณะของบุคคล สถานที่ได้ ก่อให้เกิดปัญหาในการฟังและการเขียนตามมา จากผลการสังเกตและพบปัญหาดังกล่าว เป็นประเด็นส าคัญส าหรับปัญหาที่ควรได้รับการแก้ไข ผู้วิจัยจึงได้ศึกษาทฤษฎีและออกแบบกระบวนการเรียนการสอนในหน่วยการเรียนตามแผนการจัดการเรียนรู้ใหม่ โดยใช้แบบฝึกทักษะการใช้ค าคุณศัพท์ในการอธิบายคุณลักษณะ เพ่ือให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตนเองได้ทั้งในและนอกห้องเรียน สร้างความมีวินัยในตนเองในการศึกษาเล่าเรียน

  • 2

    วัตถุประสงค์ของการวิจัย

    เพ่ือพัฒนาทักษะการใช้ค าคุณศัพท์ในการอธิบายลักษณะของสิ่งของในภาษาอังกฤษ ของนักเรียนสาขางานอิเล็กทรอนิกส์ ชั้นปีที่ 2 จ านวน 32 คน

    สมมติฐานการวิจัย

    1. ชุดฝึกทักษะการใช้ค าคุณศัพท์ในการอธิบายลักษณะของสิ่งของ มีประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์ 80/80

    2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชา ภาษาอังกฤษเพ่ือการสื่อสารในงานอาชีพ ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ชั้นปีที่ 2 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนด้วยแบบทดสอบ

    ประโยชน์ของการวิจัย

    1. ท าให้ได้ชุดฝึกทักษะการใช้ค าคุณศัพท์ในการอธิบายลักษณะของสิ่งของ วิชา ภาษาอังกฤษเพ่ือการสื่อสารในงานอาชีพ ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ชั้นปีที่ 2 ที่มีคุณภาพ

    2. เป็นแนวทางในการพัฒนาสื่อการเรียนแบบชุดฝึกทักษะและการน าชุดฝึกทักษะไปใช้ในการสอนที่ให้เกิดประสิทธิภาพสูงขึ้นต่อไป

    ขอบเขตของการวิจัย

    1. กลุ่มประชากร กลุ่มประชากรเป็นนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ชั้นปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2555 ของวิทยาลัยการอาชีพฝาง อ าเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ จ านวน 32 คน

    2. ตัวแปรศึกษา

    2.1 ตัวแปรต้น ได้แก่ การสอนโดยใช้ชุดฝึกทักษะการใช้ค าคุณศัพท์ในการอธิบายลักษณะของสิ่งของ

    2.2 ตัวแปรตาม ได้แก่ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาอังกฤษเพ่ือการสื่อสารในงานอาชีพ

    3. เนื้อหา ในการวิจัยครั้งนี้ ใช้เนื้อหาวิชาภาษาอังกฤษเพ่ือการสื่อสารในงานอาชีพ ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ

    4. ระยะเวลาที่ใช้ในการทดลอง ระยะเวลาในการทดลองด าเนินการในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2555 ใช้เวลาทดลอง 4 สัปดาห์ ๆ ละ 2 คาบ รวม 8 คาบ

  • 3

    นิยามศัพท์เฉพาะ

    1. ชุดฝึกทักษะ หมายถึง ชุดฝึกทักษะที่ให้นักเรียนปฏิบัติตามจุดประสงค์การเรียนรู้ เรื่องการใช้ค าคุณศัพท์ในการอธิบายลักษณะของสิ่งของ วิชา ภาษาอังกฤษเพ่ือการสื่อสารในงานอาชีพ ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น

    2. ประสิทธิภาพของชุดฝึก หมายถึง ความสามารถในการใช้ค าคุณศัพท์ในการอธิบายลักษณะของสิ่งของ วิชา ภาษาอังกฤษเพ่ือการสื่อสารในงานอาชีพ ในลักษณะของคะแนนที่ก าหนดสัดส่วนไว้ 80/80 ซึ่งมีความหมายดังนี้

    80 ตัวแรก หมายถึง คะแนนที่ได้จากการท าชุดฝึกทักษะระหว่างเรียนด้วยชุดฝึก ของนักเรียนทั้งหมด คิดเป็นร้อยละ 80 ของคะแนน

    80 ตัวหลัง หมายถึง คะแนนที่ได้จากการท าชุดฝึกทักษะหลังการเรียนด้วยชุดฝึก ของนักเรียนทั้งหมด คิดเป็นร้อยละ 80 ของคะแนน

    3. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชา ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารในงานอาชีพ หมายถึง คะแนนจากการท าแบบทดสอบทางภาษา วัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องการใช้ค าคุณศัพท์ในการอธิบายลักษณะของสิ่งของ วิชา ภาษาอังกฤษช่างอุตสาหกรรม ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น

  • 4

    บทที่ 2

    ทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

    1. เอกสารเกี่ยวกับแนวคิด ทฤษฏี เกี่ยวกับวิธีสอน นักจิตวิทยาการศึกษาได้พยายามศึกษาเรื่องการลืมนี้เป็นอย่างมาก และมีความเห็นแตกต่าง

    กันมาก ส่วนที่ผู้เชี่ยวชาญเห็นตรงกันและเป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปมีอยู่ 3 ประการ ดังนี้

    1.1 ผู้เรียนจะเรียนรู้ได้ดีและจ าได้นาน เมื่อสิ่งที่ตนเรียนนั้นมีความหมายเป็นเรื่องเป็นราว ยกตัว อย่าง เช่น การเรียนศัพท์ทางภาษา ถ้าเรียนโดยการท่องจ าจากรายการศัพท์ที่เรียนมาทีละค า จะเรียนได้จ าได้แล้วมักจะลืมง่ายกว่าการเรียนศัพท์จากประโยค ข้อความที่ผูกอย่างมีความหมาย และเป็นเรื่องเป็นราว การเรียนไวยากรณ์ของภาษาก็เช่นกัน เรียนแล้วจะลืมยากถ้าเรียนโดยการติดต่อสนทนา หรือเรียนจากข้อความในหนังสือที่มีความหมายเป็นเรื่องเป็นราว แต่จะลืมได้ง่าย ถ้าเรียนไวยากรณ์โดยการท่องจ า

    หลักการนี้ได้น ามาใช้ในการจัดท าหลักสูตร เพ่ือให้ผู้เรียนได้เรียนสิ่งที่ผูกติดต่อกันอย่างมีความหมาย ซึ่งจะเป็นเครื่องช่วยให้การเรียนรู้นั้นเมื่อเกิดขึ้นแล้วยากท่ีจะลืมได้ ยกตัวอย่าง เช่น ถ้าวัตถุประสงค์ของการจัดหลักสูตรว่าต้องการให้ผู้เรียนสามารถเข้าใจโรคของเส้นประสาท หากครูจัดหลักสูตรให้ผู้เรียนได้เรียนแต่ละวิชาที่เก่ียวกับเส้นประสาทแยกกันเป็นตอน ๆ ไม่ติดต่อกัน เช่น เรียนกายวิภาคศาสตร์ของเส้นประสาทในภาคการศึกษาต้น เรียนสรีระวิทยาของเส้นประสาทในภาคการศึกษาปลาย เรียนพยาธิสภาพของเส้นประสาทในปีต่อไป และในปีถัดไปจึงจะเรียนโรคของเส้นประสาท ซึ่งเรียนโดยตรงจากผู้ป่วยหรือจากภาพผู้ป่วย การเรียนเช่นนี้ปราศจากความหมายต่อเนื่องกัน จะท าให้ผู้เรียนเรียนแล้วจ าอะไรไม่ได้ โรงเรียนแพทย์ที่ประสบปัญหานี้มักจะจัดท าหลักสูตรในปี 5 หรือปี 6 ให้มีการทบทวนวิชาเดิมหรือสอนใหม่ในวิชาเดิม ท าให้เสียเวลาเสียค่าใช้จ่ายเพ่ิมเติมขึ้นโดยไม่จ าเป็น และยังเป็นสาเหตุของการเรียนซ้ าซ้อน ท าให้เสียเวลาที่ใช้ไปในการเรียนหลักสูตรนั้นยืดยาวออกไป

    การแก้ปัญหานี้ควรแก้โดยจัดท าหลักสูตรให้วิชาต่าง ๆ ที่สอนกระจัดกระจายอยู่นั้นมาสอนต่อเนื่องกันภายในเวลาใกล้กัน ผู้เรียนจะมีโอกาสเรียนวิชาทุกอย่างที่เก่ียวกับเรื่องเส้นประสาทอย่างเข้าใจเรื่องได้โดยตลอด ท าให้เรียนแล้วไม่ใคร่ลืมและได้ผล

    1.2 ผู้เรียนจะจ าเรื่องที่เรียนได้ดี ถ้าผู้เรียนได้เรียนโดยไม่ใช้การท่องจ าหากแต่เรียนโดยใช้ความ คิดพิจารณาเรื่องราวอย่างลึกซึ้ง คิดค้นหาวิธีการแก้ปัญหาในเรื่องนั้น ๆ โดยผู้เรียนได้มีโอกาสพบปัญหานั้นด้วยตัวเอง การเรียนแบบนี้ผู้สอนควรจะผูกเรื่องที่จะสอนนั้นให้เป็นปัญหาหรือน าประสบการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นประจ า น ามาให้ผู้เรียนได้ขบคิดแก้ปัญหา อภิปรายกัน หรือไม่ก็ครูจัดเวลาให้ผู้เรียนได้ไปท างานหรือปฏิบัติการในสิ่งที่จะเรียนนั้นอย่างจริงจัง เช่น ท างานในห้องปฏิบัติการหรือในโรงงานหรือในโรงพยาบาลแล้วผู้เรียนน าปัญหาที่ประสบด้วยตนเองมาขบคิด แก้ไข จะท าให้สิ่งที่เรียนรู้ได้นั้นฝังติดตราอยู่ในความทรงจ านานแสนนาน

  • 5

    ในสถาบันอุดมศึกษา ครูมักจะกล่าวเสมอว่า วัตถุประสงค์ของการศึกษาระดับ อุดมศึกษา สิ่งหนึ่งคือความต้องการให้ผู้เรียนเกิดความคิดริเริ่มและสร้างสรรค์ แต่ในความเป็นจริงครูมักจะสอนโดยวิธีบอกกล่าวแก่ผู้เรียนว่า ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์คืออะไรผู้เรียนจะคิดริเริ่มได้อย่างไรบ้าง เป็นการบอกกล่าวให้จ าอย่างสามัญ ผู้เรียนเรียนแล้วหากไม่มีการปฏิบัติ ก็ได้แต่จ าแล้วก็ลืม เหมือนกับครูที่ต้องการให้ผู้เรียนประพฤติตัวดีไม่เป็นเด็กเกเรเกียจคร้าน แล้วบอกให้ผู้เรียนคัดถ้อยค า “ฉันต้องเป็นเด็กดี” ด้วยลายมือที่สวยงาม 50 เที่ยว การสอนเช่นนี้ไม่สามารถท าให้ผู้เรียนเป็นเด็กดีขึ้นมาได้ฉันใด การที่จะบอกให้ผู้เรียนคิดริเริ่มสร้างสรรค์โดยวิธีบอกกล่าวธรรมดา ก็ไม่สามารถท าให้ผู้เรียนเกิดความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ได้ฉันนั้น

    1.3 ผู้เรียนจะเรียนแล้วจ าได้แม่นย าและนาน เมื่อได้ทบทวนสิ่งที่เรียนนั้นบ่อยครั้ง แต่การทบ ทวนนั้นจะต้องเป็นการทบทวนที่เริ่มมาจากตัวผู้เรียน ครูอาจจะบอกผู้เรียนให้เป็นเด็กดีสัก 10 หน ก็ไม่สามารถท าให้ผู้เรียนเป็นเด็กดีได้เท่ากับผู้เรียนได้ประพฤติตนเป็นเด็กดีด้วยตนเองเพียง 1 หรือ 2 หน

    การเรียนการสอนที่กล่าวไว้ในข้อ 2 นั้น ถ้าจะให้การเรียนรู้ที่เกิดขึ้นแล้วได้นานครูควรจะจัดให้ได้พบประสบการณ์ดังกล่าวเช่นนั้นบ่อย ๆ ครั้ง ผู้เรียนมีโอกาสได้ฝึกฝนตนเองมากครั้ง ก็จะจ าจนติดเป็นนิสัย ก็จะท าให้ลืมยาก การเรียนรู้ที่เรียนแล้วทิ้งไว้นาน ไม่หมั่นฝึกฝนก็จะลืมได้ง่าย

    แนวคิด ทฤษฏี

    บลูม (Bloom) กล่าวว่า ผู้เรียนจะฝึกทักษะได้ต้องมีความพร้อมทางสมอง ร่างกาย อารมณ์ เพ่ือสนองตอบตามรูปแบบต่างๆ อย่างไม่ลังเลใจและอัตโนมัติ

    ฟุตส์ (Futts) กล่าวว่า ผู้เรียนจะฝึกทักษะจนถูกต้องไม่ผิดพลาดได้ ผู้เรียนต้อง น าปัญญา น าทักษะย่อยๆมาเชื่อมต่อกันจนครบทุกขั้นตอนและใช้เวลาท าได้อย่างรวดเร็ว

    ดี เฮคโค (John p’ de Cecco) กล่าวว่า การเรียนแบบฝึกทักษะ ประกอบด้วยเงื่อนไขคือ

    1. ความต่อเนื่อง 2. การฝึก 3. การรู้จักผลของการฝึก

    เบอณ์นาร์ด (Bernard) กล่าวถึง การน ากฎการฝึกมาใช้จะสอนให้ผู้เรียนเกิดความเข้าใจอย่างแจ่มชัด ซึ่งอาจต้องหมายถึงการเน้นผู้เรียนให้ลงมือปฏิบัติ ขณะเรียนและน าสิ่งที่ได้เรียนรู้มาใช้ในการท ากิจกรรมต่างๆ ก็จะท าให้ผู้เรียนเกิดความเข้าใจ ตระหนักถึงส่วนส าคัญและการน าไปใช้บ่อยๆก็จะท าให้ผู้เรียนเกิดความมั่นคงแน่นเฟ้นในสิ่งที่เรียน ความรู้ก็จะคงทน

    ครอสและปารีส

  • 6

    การสอนอ่านตามแนวทฤษฎีอภิปัญญาของครอสและปารีส (นิลวรรณ สิทธิอาพา 2539:32;อ้างถึงใน Cross and Paris.1988:131-132) ซึ่งประกอบด้วย ความรู้เกี่ยวกับปัญยา อันได้แก่ การรู้ถึงลักษณะและสภาพ การรู้จักกระบวนการ การรู้จักเงื่อนไข และองค์ประกอบบริหารตนเอง อันได้แก่ การประเมินผล การวางแผน การก าหนดเกณฑ์

    2. เอกสารเกี่ยวกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาการสนทนาภาษาอังกฤษ 2.1 การเรียนรู้

    ความหมาย "การเรียนรู"้

    ทุกวันเราท ากิจกรรมต่าง ๆ มากมายเช่น เราขับรถไปซื้อของได้ เราใช้คอมพิวเตอร์เป็นเราไปเล่นกีฬา เราเดินทางมามหาวิทยาลัย และเข้าฟังการบรรยายถูกห้อง เดินไปโรงอาหารโดยไม่ต้องคิด อ่านหนังสือได้ อย่างสบาย ฯลฯ นักศึกษาเคยสงสัยหรือไม่ว่า อะไรเป็นตัวการที่ผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงจากการที่เราท าบางสิ่งบางอย่างไม่ได้ มาเป็นท าได้ อย่างเช่นเมื่อก่อนเราขับรถไม่เป็น แต่ปัจจุบันขับเป็น หรือเมื่อก่อนเราว่ายน้ า ไม่เป็นแต่ปัจจุบันว่ายเป็น ค าถามลักษณะนี้นักศึกษาสามารถหาค าตอบได้ในหัวข้อ "การเรียนรู้"

    การเรียนรู้ ตามความหมายทางจิตวิทยา หมายถึง การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของบุคคลอย่างค่อนข้างถาวร อันเป็นผลมาจากการฝึกฝนหรือการมีประสบการณ์ จากความหมายดังกล่าว พฤติกรรมของบุคคลที่เกิดจากการ เรียนรู้จะต้องมีลักษณะส าคัญ ดังนี้

    1. พฤติกรรมที่เปลี่ยนไปจะต้องเปลี่ยนไปอย่างค่อนข้างถาวร จึงจะถือว่าเกิดการเรียนรู้ขึ้น หากเป็นการ เปลี่ยนแปลงชั่วคราวก็ยังไม่ถือว่าเป็นการเรียนรู้ เช่น นักศึกษาพยายามเรียนรู้การออกเสียงภาษาต่างประเทศ บางค า หากนักศึกษาออกเสียงได้ถูกต้องเพียงครั้งหนึ่ง แต่ไม่สามารถออกเสียงซ้ าให้ถูกต้องได้อีก ก็ไม่นับว่า นักศึกษาเกิดการเรียนรู้การออกเสียงภาษาต่างประเทศ ดังนั้นจะถือว่านักศึกษาเกิดการเรียนรู้ก็ต่อเมื่อออก เสียงค า ดังกล่าวได้ถูกต้องหลายครั้งซึ่งก็คือเกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่ค่อนข้างถาวรนั่นเอง

    อย่างไรก็ดียังมีพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมแต่เปลี่ยนแปลงชั่วคราวอัน เนื่องมาจากการที ่ร่างกายได้รับสารเคมี ยาบางชนิด หรือเกิดจากความเหนื่อยล้า เจ็บป่วยลักษณะดังกล่าวไม่ถือว่าพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปนั้นเกิดจากการเรียนรู้

    2. พฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไปจะต้องเกิดจากการฝึกฝน หรือเคยมีประสบการณ์นั้น ๆ มาก่อน เช่น ความ สามารถในการใช้คอมพิวเตอร์ ต้องได้รับการฝึกฝน และถ้าสามารถใช้เป็นแสดงว่าเกิดการเรียนรู้ หรือความ สามารถในการขับรถ ซึ่งไม่มีใครขับรถเป็นมาแต่ก าเนิดต้องได้รับการฝึกฝน หรือมีประสบการณ์ จึงจะขับรถเป็น ในประเด็นนี้มีพฤติกรรมบางอย่างที่เกิดขึ้นโดยที่เราไม่ต้องฝึกฝนหรือมีประสบการณ์ ได้แก่ พฤติกรรมที่เกิดข้ึนจากกระบวนการเจริญเติบโต หรือการมีวุฒิภาวะ และพฤติกรรมที่เกิดจากแนวโน้มการ

  • 7

    ตอบสนองของเผ่าพันธุ์ (โบเวอร์ และอัลการ์ด 1987, อ้างถึงใน ธีระพร อุวรรณโน,2532:285) ขอยกตัวอย่างแต่ละด้านดังนี้

    ในด้านกระบวนการเจริญเติบโต หรือการมีวุฒิภาวะ ได้แก่ การที่เด็ก 2 ขวบสามารถเดินได้เอง ขณะที่ เด็ก 6 เดือน ไม่สามารถเดินได้ฉะนั้นการเดินจึงไม่จัดเป็นการเรียนรู้แต่เกิดเพราะมีวุฒิภาวะ เป็นต้น ส่วนใน ด้านแนวโน้มการตอบสนองของเผ่าพันธุ์โบเวอร์ และฮิลการ์ด ใช้ในความหมาย ที่หมายถึงปฏิกิริยาสะท้อน (Reflex) เชน่ กระพริบตาเมื่อฝุ่นเข้าตา ชักมือหนีเมื่อโดนของร้อน พฤติกรรมเหล่านี้ไม่ได้เกิดจากการเรียนรู้ แต่เป็นพฤติกรรมที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติของเผ่าพันธุ์มนุษย์

    ทฤษฎีการเรียนรู้

    ทฤษฎีการเรียนรู้ทางจิตวิทยาอาจแบ่งเป็น 2 กลุ่มใหญ่ ๆ คือ

    1. ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพฤติกรรมนิยม (Behavioral Theory)

    ทฤษฎีในกลุ่มนี้ อธิบายว่า การเรียนรู้ในสิ่งต่างๆ เป็นการสร้างความสัมพันธ์หรือเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้า กับการตอบสนอง ทฤษฎีที่ส าคัญในกลุ่มนี้ได้แก่ ทฤษฎีการเรียนรู้วางเงื่อนไขแบบคลาสสิก หรือแบบสิ่งเร้าและ ทฤษฎีการเรียนรู้การวางเงื่อนไขแบบการกระท า

    2. ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มปัญญานิยม (Cognitive theory)

    ทฤษฎีในกลุ่มนี้อธิบายว่า การเรียนรู้เป็นผลของกระบวนการคิด ความเข้าใจ การรับรู้สิ่งเร้าที่มากระตุ้น ผสมผสานกับประสบการณ์ในอดีตที่ผ่านมาของบุคคล ท าให้เกิดการเรียนรู้ขึ้น ซึ่งการผสมผสานระหว่าง ประสบการณ์ท่ีได้รับในปัจจุบันกับประสบการณ์ในอดีต จ าเป็นต้องอาศัยกระบวนการทางปัญญาเข้ามามีอิทธิพลในการเรียนรู้ด้วย ทฤษฎีกลุ่มนี้จึงเน้นกระบวนการทางปัญญา (Cognitive Process) มากกว่า การวางเงื่อนไข เพ่ือให้เกิดพฤติกรรม ทฤษฎีการเรียนรู้ในกลุ่มนี้ ได้แก่ ทฤษฎีการเรียนรู้ปัญญาทางสังคม การเรียนรู้แบบการหยั่งรู้ เป็นต้น

    ตัวอย่างทฤษฎีการเรียนรู้ที่ส าคัญ

    1. ทฤษฎีการเรียนรู้การวางเงื่อนไขแบบคลาสสิก (Classical Conditioning Theory) หรือ แบบสิ่งเร้า

    ผู้ค้นพบการเรียนรู้ลักษณะนี้คือ อีวาน พาฟลอฟ (Ivan Pavlov, 1849–1936) นักสรีรวิทยาชาวรัสเซียที่มีชื่อเสียงมาก พาฟลอฟสนใจศึกษาเกี่ยวกับระบบย่อยอาหาร โดยได้ท าการ-ทดลองกับสุนัข ระหว่างที่ท าการทดลอง พาฟลอฟสังเกตเห็นปรากฏการณ์บางอย่างคือ ในบางครั้งสุนัขน้ าลายไหลโดยที่ยังไม่ได้รับอาหารเพียงแค่เห็น ผู้ทดลองที่เคยเป็นผู้ให้อาหารเดินเข้ามาในห้องนั้น สุนัขก็น้ าลายไหลแล้ว จาก

  • 8

    ปรากฏการณ์ดังกล่าวจุดประกาย ให้พาฟลอฟคิดรูปแบบการทดลองเพ่ือหาสาเหตุให้ได้ว่า เพราะอะไรสุนัขจึงน้ าลายไหลทั้งๆที่ยังไม่ได้รับอาหาร พาฟลอฟเริ่มการทดลองโดยเจาะต่อมน้ าลายของสุนัขและต่อสายรับน้ าลายไหลออกสู่ขวดแก้วส าหรับวัดปริมาณน้ าลายจากนั้นพาฟลอฟก็เริ่มการทดลองโดยก่อนที่จะให้อาหารแก่สุนัขจะต้องสั่นกระดิ่งก่อน (สั่นกระดิ่งแล้วทิ้งไว้ประมาณ .25 –.50 วินาที) แล้วตามด้วยอาหาร (ผงเนื้อ) ท าอย่างนี้อยู่ 7–8 วัน จากนั้นให้เฉพาะแต่เสียงกระดิ่ง สุนัขก็ตอบสนองคือน้ าลายไหลปรากฏการณ์เช่นนี้เรียกว่าพฤติกรรมสุนัขถูกวางเงื่อนไขหรือเรียกว่าสุนัขเกิดการเรียนรู้การวางเงื่อนไขแบบคลาสสิก

    2. ทฤษฎีปัญญาทางสังคม (Social Cognitive theory)

    แนวคิดพื้นฐาน

    1. แบนดูรามีทัศนะว่า พฤติกรรม (behavior หรือ B) ของมนุษย์มีปฏิสัมพันธ์กับปัจจัยหลักอีก2 ปัจจัยคือ 1) ปัจจัยทางปัญญาและปัจจัยส่วนบุคคลอ่ืน ๆ (Personal Factor หรือ P) 2) อิทธิพลของสภาพ แวดล้อม (Environmental Influences หรือ E)

    2. แบนดูราได้ให้ความแตกต่างระหว่างการเรียนรู้ (Learning) กับการกระท า(Performance)ซึ่งส าคัญมาก เพราะคนเราอาจจะเรียนรู้อะไรหลายอย่างแต่ไม่จ าเป็นต้องแสดงออกทุกอย่าง เช่นเราอาจจะเรียนรู้วิธีการ ทุจริตในการสอบว่าต้องท าอย่างไรบ้าง แต่ถึงเวลาสอบจริงเราอาจจะไม่ทุจริตก็ได้ หรือเราเรียนรู้ว่าการพูดจาและแสดงกริยาอ่อนหวาน กับพ่อ แม่เป็นสิ่งดีแต่เราอาจจะไม่เคยท ากริยาดังกล่าวเลยก็ได้

    3.แบนดูราเชื่อว่าการเรียนรู้ของมนุษย์ส่วนมากเป็นการเรียนรู้โดยการสังเกต

    (Observational Learning) หรือการเลียนแบบจากตัวแบบ (Modeling) ส าหรับตัวแบบไม่จ าเป็นต้องเป็นตัวแบบที่มีชีวิตเท่านั้น แต่อาจจะ เป็นตัวแบบสัญลักษณ์ เช่น ตัวแบบที่เห็นในโทรทัศน์ ภาพยนตร์ เกมส์คอมพิวเตอร์ หรืออาจจะเป็นรูปภาพ การ์ตูน หนังสือ นอกจากนี้ ค าบอกเล่าด้วยค าพูดหรือข้อมูลที่เขียนเป็นลายลักษณ์-อักษรก็เป็นตัวแบบได้

    3. กระบวนการเรียนรู้โดยการสังเกต

    การเรียนรู้โดยการสังเกต หรือการเลียนแบบประกอบไปด้วย 4 กระบวนการ คือ กระบวนการใส่ใจ กระบวนการเก็บจ า กระบวนการกระท าและกระบวนการจูงใจ

    1. กระบวนการใส่ใจ (Antinational processes)

  • 9

    เป็นกระบวนการที่มนุษย์ใส่ใจและสนใจรับรู้พฤติกรรมของตัวแบบ การเรียนรู้โดยการสังเกต จะเกิดข้ึนได้มากก็ต่อเมื่อบุคคลใส่ใจต่อพฤติกรรมของตัวแบบ แต่การจะใส่ใจได้มากน้อยเพียงไรขึ้น อยู่กับปัจจัยหลัก 2 ปัจจัยคือ ปัจจัยเกี่ยวกับตัวแบบ และปัจจัยเกี่ยวกับผู้สังเกต

    ปัจจัยเกี่ยวกับตัวแบบได้แก่

    ความเด่นชัด ตัวแบบที่มีความเด่นชัดย่อมดึงดูดให้คนสนใจได้มากกว่าตัวแบบที่ไม่เด่น ความซับซ้อนของเหตุการณ์ เหตุการณ์ท่ีเกี่ยวข้องกับตัวแบบถ้ามีความซับซ้อนมากจะท าให้ผู้สังเกตมีความใส่ใจน้อยกว่าเหตุการณ์ท่ีมีความซับซ้อนน้อย

    จ านวนตัวแบบ พฤติกรรมหนึ่ง ๆ หากมีตัวแบบแสดงหลายคนก็เรียกความสนใจใส่ใจจากผู้สังเกตได้มากหรือการมีตัวแบบที่หลากหลายก็เรียกความสนใจจากผู้สังเกตได้มากเช่นกัน

    คุณค่าในการใช้ประโยชน์ ตัวแบบที่แสดงพฤติกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อผู้สังเกตจะได้รับความสนใจมากกว่าตัวแบบที่เป็นไปในทางตรงข้าม เช่น ผู้ที่สนใจการท าอาหารก็จะให้ความใส่ใจเป็นพิเศษกับรายการโทรทัศน์ที่สอนการท าอาหารเป็นต้น ความรู้สึกชอบ/ไม่ชอบ ถ้าผู้สังเกตมีความรู้สึกชอบตัวแบบอยู่แล้ว ผู้สังเกตก็จะให้การใส่ใจกับพฤติกรรมของตัวแบบมากกว่ากรณีท่ีผู้สังเกตไม่ชอบตัวแบบนั้นเลย ฉะนั้น การโฆษณาสินค้าผ่านสื่อโทรทัศน์ จึงมักใช้ตัวแบบที่เป็นชื่นชอบของประชาชนมาเป็นตัวแบบเพ่ือกชวนให้ประชาชนใช้สินค้าที่โฆษณา โดยคาดหวังให้ประชาชนใส่ใจกับการโฆษณาของตน

    ปัจจัยเกี่ยวกับผู้สังเกต ความสามารถในการรับรู้ รวมถึงความสามารถในการเห็น การได้ยิน การอ่าน การรู้รส การรู้ กลิ่น และการสัมผัส ผู้สังเกตที่มีความสามารถในการรับรู้สูงก็มีโอกาสใส่ใจกับตัวแบบได้มากกว่าผู้สังเกตที่มีความสามารถในการรับรู้ต่ า ระดับความตื่นตัว การวิจัยทางจิตวิทยาพบว่าบุคคลที่มีความตื่นตัวระดับปานกลางมีโอกาสจะ ใส่ใจกับพฤติกรรมของตัวแบบได้มากกว่าบุคคลที่มีความตื่นตัวต่ า เช่น ก าลังง่วงนอน หรือมี ความตื่นตัวสูง เช่น ก าลังตกใจหรือดีใจอย่างมาก ความชอบ/รสนิยมที่มีมาก่อน ผู้สังเกตมักมีความชอบสังเกตตัวแบบบางชนิดมากกว่าตัวแบบบางชนิดอยู่ก่อนแล้ว ดังนั้นตัวแบบที่สอดคล้องกับความชอบของผู้สังเกตก็ท าให้ผู้สังเกตใส่ใจ กับตัวแบบได้มาก เช่น เด็กเล็กชอบดูการ์ตูนมาก ตัวการ์ตูนก็มีโอกาสเป็นตัวแบบให้กับเด็ก ได้มาก ส่วนวัยรุ่นมักชอบตัวแบบที่เป็นนักร้อง นักแสดงยอดนิยมเป็นต้น

    2. กระบวนการเก็บจ า (Retention processes)

  • 10

    เป็นขั้นที่ผู้สังเกตบันทึกสิ่งที่ตนสังเกตจากตัวแบบไปเก็บไว้ในความจ าระยะยาว ซึ่งอาจจะ เก็บจ าในรูปของภาพ หรือค าพูดก็ได้ แบนดูราพบว่า ผู้สังเกตที่สามารถอธิบายพฤติกรรมของตัวแบบ ออกมาเป็นค าพูด หรือสามารถมีภาพของสิ่งที่ตนสังเกตไว้ในใจจะเป็นผู้ที่สามารถจดจ าสิ่งที่เรียนรู้โดย การสังเกตได้ดีกว่าผู้ที่เพียงแต่ดูเฉย ๆ หรือท างานอ่ืนในขณะที่ดูตัวแบบไปด้วย สรุปแล้วผู้สังเกตที่สามารถระลึกถึงสิ่งที่สังเกตเป็นภาพพจน์ในใจ (Visual Imagery) และสามารถเข้ารหัสด้วยค าพูด หรือถ้อยค า (Verbal Coding) จะเป็นผู้ที่สามารถแสดงพฤติกรรมเลียนแบบจากตัวแบบได้แม้ว่าเวลาจะผ่านไปนาน และนอกจากนี้ถ้าผู้สังเกตมีโอกาสที่จะได้เห็นตัวแบบแสดงสิ่งที่จะต้องเรียนรู้ซ้ าก็จะเป็น การช่วยความจ าให้ดียิ่งขึ้น

    3. กระบวนการกระท า (Production processes)

    เป็นกระบวนการที่ผู้สังเกตเอาสิ่งที่เก็บจ ามาแปลงเป็นการกระท า ปัจจัยที่ส าคัญของกระบวนการนี้คือ ความพร้อมทางด้านร่างกายและทักษะที่จ าเป็นจะต้องใช้ในการเลียนแบบของผู้สังเกต ถ้าผู้สังเกตไม่มีความพร้อมก็ไม่สามารถท่ีจะแสดงพฤติกรรมเลียนแบบได้แบนดูรา กล่าวว่า การเรียนรู้โดยการสังเกตหรือการเลียนแบบไม่ใช่เป็นพฤติกรรมที่ลอกแบบอย่างตรงไปตรงมา การเรียนรู้โดยการสังเกตมีปัจจัยในเรื่อง กระบวนการทางปัญญา (Cognitive Process) และความพร้อมทางด้านร่างกายของผู้สังเกต ฉะนั้นในขั้นกระบวนการกระท า หรือขั้นของการแสดงพฤติกรรมเหมือนตัวแบบของแต่ละบุคคลจึงต่างกันไป ผู้สังเกตบางคนอาจจะท าได้ดีกว่าตัวแบบหรือบางคนก็สามารถเลียนแบบ ได้เหมือนมาก ในขณะที่บางคนก็อาจจะท าได้ไม่เหมือนกับตัวแบบเพียงแต่คล้ายคลึงเท่านั้น หรือบางคนอาจจะไม่สามารถแสดงพฤติกรรมเหมือนตัวแบบเลยก็ได้

    4. กระบวนการจูงใจ (Motivation process)

    ตามที่ได้กล่าวไว้ในหัวข้อแนวคิดพ้ืนฐานข้อที่ 2 คือ แบนดูราแยกความแตกต่างระหว่าง การเรียนรู้ (Learning ) ออกจาก การกระท า (Performance) นั่นคือ เราไม่จ าเป็นต้องแสดงพฤติกรรม ทุกอย่างที่ได้เรียนรู้ออกมา เราจะท าหรือไม่ท าพฤติกรรมนั้น ๆ ก็ขึ้นอยู่กับว่าเรามีแรงจูงใจมากน้อย แค่ไหน เช่น เราอาจจะเรียนรู้วิธีการเต้นแอโรบิค จากโทรทัศน์ แต่เราก็ไม่ยอมเต้นอาจจะเป็น เพราะขี้เกียจ ฯลฯ แต่อยู่มาวันหนึ่ง เราไปเจอเพ่ือนเก่าซึ่งทักว่าเราอ้วนมากน่าเกลียด ค าประณาม ของเพ่ือนสามารถจูงใจให้เราลุกขึ้นมาเต้นแอโรบิค จนลดความอ้วนส าเร็จ เป็นต้น

    5. การเรียนรู้โดยการหยั่งรู้ (Insight Learning)

    นักจิตวิทยาที่สนใจเรื่องการเรียนรู้โดยการหยั่งรู้ และท าการทดลองไว้คือ โคท์เลอร์ (Kohler, 1925)โคท์เลอร์ ได้ทดลองกับลิงชื่อ "สุลต่าน" โดยขังสุลต่านไว้ในกรง และเมื่อสุลต่านเกิดความหิว เพราะถึง เวลาอาหาร โคท์เลอร์ ได้วางผลไม้ไว้นอกกรงในระยะที่สุลต่านไม่สามารถเอ้ือมถึงได้ด้วยมือเปล่าพร้อม กับวางท่อน

  • 11

    ไม้ซึ่งมีขนาด ต่างกัน สั้นบ้างยาวบ้าง (ดังรูปที่ 5) ท่อนสั้นอยู่ใกล้กรงแต่ท่อนยาวอยู่ห่างออกไป สุลต่านคว้าไม้ท่อนสั้นได้ แต่ไม่สามารถเข่ียผลไม้ได้ สุลต่านวางไม้ท่อนสั้นลงและวิ่งไปมาอยู่สักครู่ ทันใดนั้น"สุลต่าน" ก็จับไม้ท่อนสั้นเขี่ยไม้ท่อนยาวมาใกล้ตัว และหยิบไม้ท่อนยาวเขี่ยผลไม้มากินได้ พฤติกรรมของสุลต่านไม่มีการลองผิดลองถูกเลย โคท์เลอร์จึงได้ สรุปว่า สุลต่านมีการหยั่งรู้ (Insight) ในการแก้ปัญหาคือมองเห็นความสัมพันธ์ของไม้ท่อนสั้นและท่อนยาวและ ผลไม้ได้

    จากการทดลองของโคท์เลอร์ โคท์เลอร์ได้ข้อสรุปเกี่ยวกับการเรียนรู้โดยการหยั่งรู้ ไว้ดังนี้ 1. แนวทางการเรียนรู้ในการแก้ปัญหาของผู้เรียนมักจะเกิดขึ้นทันทีทันใดจึงเรียกว่า Insight 2. การที่จะมีความสามารถเรียนรู้แก้ปัญหาอย่างทันทีทันใดได้นั้นผู้เรียนจะต้องมีประสบการณ์ในการแก้ปัญหาท านองเดียวกันมาก่อนเพราะจะช่วยท าให้มองเห็นช่องทางในการแก้ปัญหาแบบใหม่ได้ 3. นอกเหนือจากประสบการณ์เดิมแล้วผู้เรียนจะต้องมีความสามารถในการมองเห็นความสัมพันธ์ ต่างๆ เพราะการที่มีความสามารถมองเห็นความสัมพันธ์ของสิ่งต่าง ๆ นี้เองจะมีส่วนช่วยให้ผู้เรียนมีการเรียนรู้ในการแก้ปัญหาได้อย่างถูกต้องความสามารถดังกล่าวนี้จ าเป็นอย่างยิ่งที่ผู้เรียนจะต้องมีระดับสติปัญญา ดีพอสมควรจึงสามารถแก้ปัญหาโดยการหยั่งรู้ได้

    หลักการและวิธีสอนตามแนวความคิดของนักจิตวิทยากลุ่มพฤติกรรมนิยม

    1.ความเชื่อพื้นฐาน การเรียนรู้สามารถสร้างความสัมพันธ์เชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้าและการตอบสนองแล้วได้รับแรงเสริมตามที่ต้องการ ซึ่งจะท าให้ผู้เรียนแสดงพฤติกรรมนั้นบ่อยยิ่งขึ้น หัวใจส าคัญของการเรียนรู้คือจะต้องมีสิ่งเร้าที่เป็นตัวกระตุ้นให้อินทรีย์แสดงพฤติกรรมตอบสนองต่อสิ่งเร้านั้น หรือได้รับสิ่งที่ต้องการก็จะท าให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ขึ้น

    2.หลักการและวิธีสอน แนวความคิดของสกินเนอร์ (Skinner) ซึ่งเป็นเจ้าของทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบลงมือปฏิบัติ การเรียนรู้ที่ผู้เรียนจะสัมฤทธิ์ผลได้ก็ต่อเมื่อได้ลงมือปฏิบัติด้วยตนเองภายใต้เงื่อนไขที่ก าหนด วัตถุประสงค์เพ่ือต้องการให้ผู้เรียนมีพัฒนาการในการเรียนรู้ทีละขึ้นต่อเนื่องกันไปจนถึงผลสุดท้าย

    ก. แบ่งเนื้อหาออกเป็นส่วนย่อย ซึ่งแต่ละเฟรมจะประกอบด้วยเนื้อหาส าคัญ, ค าถาม, ค าตอบ ข. เรียงล าดับเนื้อหาจากง่ายไปยาก และให้เน้อหามีความสัมพันธ์กัน ค. เนื้อหาต้องจัดให้เหมาะสมกับความสามารถของผู้เรียนคือ ให้ผู้เรียน ส่วนใหญ่ 90 % ตอบค าถามนั้นได้ ง .ผู้เรียนจะต้องตอบค าถามทุกข้อโดยไม่มีการข้ามข้ันตอน จ. ผลของค าตอบที่ได้จะเป็นแรงเสริมทางบวกให้ผู้เรียนมีความสนใจเรียนมากยิ่งขึ้น .

  • 12

    3.การเสริมแรง นักจิตวิทยาพฤติกรรมนิยมให้ความส าคัญกับการเสริมแรงเพ่ือให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพแรงเสริมที่ส าคัญสามารถน ามาใช้ประโยชน์ในเรื่องการเรียนการสอน คือ

    ก. แรงเสริมที่เป็นนามธรรม เช่น ค าชม, ความสนใจ, การยอมรับ, การยกย่อง ข. แรงเสริมที่เป็นรูปธรรม เช่น รางวัล, ดาว, เบี้ย ค. แรงเสริมที่ให้ผู้เรียนท ากิจกรรมที่จนเองชอบหรือต้องการ ง. การให้ข้อมูลย้อนกลับ

    4. การปรับพฤติกรรม (Behavior Modification)

    เป็นเทคนิคส าคัญท่ีนักการศึกษาน าแนวความคิดของนักจิตวิทยาพฤติกรรมนิยมมาใช้ประโยชน์ในด้านการเรียนการสอน เพ่ือให้เกิดประสิทธิภาพ หลักการที่ส าคัญของการปรับพฤติกรรมคือ ให้การเสริมแรงกับพฤติกรรมที่พึงปรารถนาและเมินเฉยต่อพฤติกรรมที่ไม่ถึงปรารถนา ทั้งนี้เพราะถ้าใช้การเสริมแรงได้อย่างเหมาะสมจะเป็นตัววางแนวทางและควบคุม พฤติกรรมของผู้เรียนให้ไปสู่เป้าหมายที่ต้องการได้ครูผู้สอนจะต้องใช้หลักการเสริมแรงได้อย่างเหมาะสมเพ่ือน าไปสู่การเรียนรู้ในขึ้นตอนต่อไป จนถึงพฤติกรรมสุดท้ายที่ต้องการ การศึกษาวิจัยกันว่าค าชมที่มีประสิทธิภาพ (Effective praise) และค าชมที่ไม่มีประสิทธิภาพ (Ineffective praise) มีลักษณะแตกต่างกันอย่างไร ผู้ที่ท าการศึกษาในเรื่องนี้คือ โบรฟี (Brophy) ได้อธิบายลักษณะความแตกต่าง ดังตัวอย่าง ค าชมที่มีประสิทธิภาพ ต้องมีลักษณะดังนี้ คือมีความสม่ าเสมอ มีความชัดเจน มีกฎเกณฑ์ที่แน่นอน เป็นต้น ค าชมที่ไม่มีประสิทธิภาพ มีลักษณะดังนี้ คือ ชมอย่างไม่สม่ าเสมอ ความชัดเจน ไม่ได้บอกถึงสาเหตุที่ชม เป็นต้น

    5.การสังเกตและเลียนแบบ นักการศึกษาได้น าแนวความคิดของบันดูร่า (Bandura) ซึ่งเป็นเจ้าของทฤษฎีการเรียนรู้ทางสังคมมาใช้ประโยชน์อย่างมาก การสังเกตและการเลียนแบบเป็นวิธีการที่ครูผู้สอนแทบทุกคนใช้กันมาก

    หลักการสอนและวิธีสอนตามทัศนะของนักจิตวิทยาปัญญานิยม

    นักจิตวิทยาปัญญานิยมที่ได้ท าการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับการเรียนการสอนมีหลายท่าน แต่ในบทนี้จะขอกล่าวถึงหลักการสอนโดยการค้นพบของบรูนเนอร์ หลักการสอนการเรียนรู้อย่างมีความหมายของอ๊อสซุเบ็ล การอสนความคิดรวบยอดของอ๊อสซุเบ็ล คล๊อสไมเออร์ และเฟรเยอร์และการใช้ทฤษฏี Information Processing มาประยุกต์ในการเรียนการสอน เพ่ือช่วยนักเรียนให้มีการเรียนรู้อย่างประสิทธิภาพ

    หลักการสอนโดยวิธีการค้นพบของบรูนเนอร์ ก่อนที่จะกล่าวถึงหลักการสอนให้ผู้เรียนเรียนรู้โดยการค้นพบ (Discovery Approach) ของศาสตราจารย์ เจโรม บรูนเนอร์ จะขอกล่าวถึงทฤษฏีการเรียนรู้ของนักจิตวิทยาการศึกษาชาวอเมริกน ซึ่งเป็นบิดาของการเรียนรู้โดยการค้นพบ คือ ศาสตราจารย์ จอห์นดิวอ้ื (John Dewey) ท่านเป็นบิดาของ Progressive Educationในสหรัฐอเมริกาซึ่งนิยมกันแพร่หลายระหว่างปี 1940-1960 ดิวอ้ีถือว่าการเรียนรู้จะเกิดขึ้นได้ก็

  • 13

    ต่อเมื่อผู้เรียนลงมือกระท าเอง ซึ่งมีประโยคที่มีชื่อเสียงเป็นภาษาอังกฤษว่า "Learning by Doing" ดิวอ้ี ถือว่าประสบการณ์มีความส าคัญมาและถือว่าวิธีสอนควรจะใช้วิธี การแก้ปัญหา 4 ขั้น ดังต่อไปนี้

    1.มีประสบการณ์ด้วยตนเองว่าตนก าลังเผชิญกับปัญหาที่จะต้องแก้ 2.พยายามหาทางที่จะทราบให้แน่นอนว่าปัญหาที่ตนก าลังเผชิยอยู่คืออะไร 3.คิดตั้งสมมติฐานหาทางแก้ปัญหา 4. พิสูจน์ว่าสมมติฐานที่คิดตั้งขึ้นถูกหรือไม่ โดยการใช้การสังเกตและเก็บข้อมูล

    บรูนเนอร์ได้เสนอแนะหลักการสอนวิธีการค้นพบดังต่อไปนี้ 1. ผู้เรียนมีแรงจูงใจภายใน และมีความอยากรู้อยากเห็นค้นพบสิ่งที่อยู่รอบ ๆ ตนด้วยตนเอง บรูนเนอร์กล่าวว่า ความสัมพันธ์ระหว่างครูและนักเรียนก็มีอิทธิพลต่อแรงจูงใจและความเต็มใจที่จะเรียนรู้ของนักเรียน

    2. โครงสร้างของบทเรียน การจัดบทเรียนจะต้องให้เหมาะสมกับวัยของเด็ก และธรรมชาติของบทเรียนแต่ละหน่วย ถ้ามีปรากฏว่านักเรียนขาดความรู้พ้ืนฐานที่ควรจะมี ครูควรแนะน าให้นักเรียนเรียนรู้ความรู้พื้นฐานก่อนที่จะเริ่มหน่วยเรียนใหม่

    3. การจัดล าดับความยากง่าย บรูนเนอร์เสนอแนะให้ครูค านึงถึงพัฒนาการทางสติปัญญาของผู้เรียน และวิธีการที่ผู้เรียนใช้เป็นเครื่องมือในการมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม คือ Enactive, Icoic และSymbolic

    4. แรงเสริมด้วยตนเอง บรูนเนอร์ถือว่าแรงเสริมด้วยตนเองมีความหมายต่อผู้เรียนมากกว่าแรงเสริมภายนอก แต่ไม่ควร จะเน้นแต่การท าถูกถือว่าการท าผิดก็เป็นส่วนหนึ่งของการเรียนรู้ ควรจะสอนให้นักเรียนตั้งความคาดหวังที่เป็นจริงได้ และเหมาะสมกับความสามารถของตน

    นอกจากหลักการสอนดังกล่าว บรูนเนอร์ ยังได้แนะกลวิธีการสอนด้วยการค้นพบดังต่อไปนี้ 1.ในการสอนด้วยการค้นพบครูควรจะชี้ให้นักเรียนเห็นความแตกต่าง 2.ครูควรจะส่งเสริมให้นักเรียนใช้สมมติฐานหรือคิดตามสิ่งที่จะเรียนรู้ 3.ส่งเสริมให้นักเรียนมีส่วนร่วม หรือมีประสบการณ์ด้วยตนเองให้ทุกคนมีสิทธิ์และความรับผิดชอบในฐานะท่ีเป็นผู้น าและสมาชิกของสังคมประชาธิปไตย

    หลักการสอนและวิธีสอนการเรียนรู้อย่างมีความหมายของอ๊อสซุเบ็ล ทฤษฎี ของศาสตราจารย์อ๊อสซุเบ็ลเป็นทฤษฏีที่ว่าด้วยการเรียนรู้อย่างมีความหมาย หลักการสอนและวิธีสอนของอ๊อสซุเบ็ลเป็นการสอนที่มีครูเป็นศูนย์กลาง คือครูเป็นผู้สอนและให้นักเรียนเป็นผู้รับ อ๊อสซุเบ็ลและผู้ร่วมงานได้ท าการวิจัยเกี่ยวกับการเรียนรู้อย่างมีความหมาย และได้ค้นคิดหลักการสอนและวิธีที่จะท าให้เกิดการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ อ๊อสซุเบ็ลถือว่าการเรียนรู้โดยการรับอย่างมีความหมาย มีความส าคัญมากกว่าการเรียนรู้โดยการค้นพบ ส าหรับผู้เรียนที่อยู่ในชั้นประถมปลายและชั้นมัธยม ตลอดจนมหาวิทยาลัย

  • 14

    การเรียนรู้โดยการรับอย่างมีความหมาย เป็นการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพมากกว่าและอ๊อสซุเบ็ลได้เสนอแนะวิธีการสอนการเรียนรู้อย่างมีความหมายไว้ดังต่อไปนี้

    1. ก่อนที่จะสอนวิชาอะไรก็ตาม ครูจะต้องพยายามหาวิธีรวบรวมเรียบเรียงสิ่งที่ต้องการจะให้นักเรียนเรียนรู้ไว้อย่างเป็นระเบียบแบบแผนเพ่ือเตรียมผู้เรียนให้เข้ากับขุมปัญญาที่มีอยู่โครงสร้างสติปัญญาที่มีอยู่แล้วนอกจากนี้ จะช่วยผู้เรียนให้ย้อนหลังระลึกสิ่งที่เคยรียนแล้วและเก่ียวข้องกับสิ่งที่เรียนใหม่อ๊อสซุเบ็ลเรียนขั้นนี้ว่า Advance Organizers

    2. บอกให้นักเรียนทราบถึงวัตถุประสงค์ของบทเรียน หรือบอกสิ่งที่ต้องการให้นักเรียนรู้พร้อมกับบอกนักเรียนถึงค าจ ากัดความของความคิดรวบยอดที่ส าคัญ

    3. แบ่งบทเรียนออกเป็นขั้น ๆ เพื่อให้ผู้เรียนเข้าใจได้ เมื่อสอนจบแต่ละขั้นควรถามนักเรียนเพ่ือจะได้แน่ใจว่าผู้เรียน เรียนรู้ด้วยความเข้าใจก่อนที่จะเพ่ิมสินขั้นต่อไป

    4. ชี้ให้ผู้เรียนเห็นความแตกต่าง และความคล้ายคลึงของสิ่งที่เรียนใหม่กับความรู้เดิมที่มีอยู่แล้ว เพ่ือจะได้ช่วยให้จ าได้นาน

    5. เมื่อสอนได้แต่ละหน่วยบทเรียนจบ ผู้สอนควรจะสรุปและทบทวนตั้งแต่ต้นพร้อมกับเน้นใจความส าคัญของสิ่งที่เรียนรู้ใหม่ เพ่ือช่วยให้ผู้เรียนรวบรวมหรือเชื่อมโยงความรู้ใหม่ให้เข้ากับความรู้เดิม หรือขุมปัญญาที่มีอยู่แล้ว

    6. ให้การบ้านหรือแบบฝึกหัด เพ่ือผู้เรียนจะได้มีโอกาสทบทวนความรู้ที่เรียนให�