14
ตุลาคม - ธันวาคม 2560 กรมอนามัย ส่งเสริมให้คนไทย สุขภาพดี 30 วิ บทคัดย่อ ปัจจัยด้านการยศาสตร์และผลกระทบต่อ สุขภาพ จากพฤติกรรมการใช้สมาร์ตโฟน ของนิสิตมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งใน กรุงเทพมหานคร การศึกษาพรรณนาแบบภาคตัดขวางครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้าน การยศาสตร์ พฤติกรรมการใช้สมาร์ตโฟนกับผลกระทบต่อสุขภาพ 3 ระบบคือ ระบบสายตา ระบบประสาทและ ระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ จ�านวนนิสิตตัวอย่าง 370 คน ค�านวณขนาดตัวอย่างได้จากสูตร Romald W M. ใช้วิธีสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามที่สร้างขึ้นเองโดยตรวจสอบคุณภาพความตรงของ เนื้อหาจากผู ้เชี่ยวชาญด้านอาชีวอนามัยและส่งเสริมสุขภาพ 3 ท่าน ทดสอบค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของ ครอนบาคเท่ากับ 0.854 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนาและทดสอบความสัมพันธ์ของตัวแปรด้วยสถิติ ไคว์สแคว์และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการศึกษาปัจจัยด้านการยศาสตร์พบว่า นิสิต (ร้อยละ 29.0) จะก้มล�าตัวลงมากกว่า 60 องศาและศีรษะท�ามุมเงย (ร้อยละ 24.9) มีพฤติกรรมการใช้สมาร์ตโฟน อยู่ในระดับพอใช้ (ร้อยละ 60.8) เมื่อทดสอบความสัมพันธ์พบว่า ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการใช้ สมาร์ตโฟนอย่างมีนัยส�าคัญทางสถิติ (p<0.05) ได้แก่ ชั้นปีท่ศึกษา ระยะเวลาและขนาดหน้าจอของ สมาร์ตโฟน ในส่วนผลกระทบต่อสุขภาพทั้ง 3 ระบบอยู่ในระดับปานกลาง พฤติกรรมการใช้สมาร์ตโฟน มีความสัมพันธ์กับอาการเฉียบพลันทางสุขภาพอย่างมีนัยส�าคัญทางสถิติ (p<0.05) ประกอบด้วย (1) อาการ ระบบสายตาได้แก่ ตาพร่ามัว ระคายเคืองตาคันตา น�้าตาไหล ตาแดงกว่าปกติ (2) อาการระบบประสาท ได้แก่ ปวดศีรษะ เวียนศีรษะ คลื่นไส้ ฉุนเฉียวง่าย นอนไม่หลับ อาเจียน เบื่ออาหาร (3) อาการระบบกระดูก และกล้ามเนื้อได้แก่ ปวดบริเวณคอ ข้อมือ/มือ หลังส่วนล่างและแขน ดังนั้นข้อแนะน�าในหน่วยงานการศึกษา ควรกระตุ้นเตือนสอดแทรกเนื้อหาผลกระทบต่อสุขภาพสอนในชั้นเรียน นอกจากนี้ควรมีนโยบายให้นิสิต ลดเวลาการใช้สมาร์ตโฟนและมหาวิทยาลัยควรก�าหนดเขตพื้นที่การใช้สมาร์ตโฟน รวมทั้งนิสิตควรมีท่าทาง การใช้ที่ถูกต้อง นั่งหลังตรง ศีรษะท�ามุมประมาณ 0-10 องศา ค�ำส�ำคัญ: พฤติกรรมใช้สมาร์ตโฟน, ผลต่อสุขภาพ, นิสิตมหาวิทยาลัย ฌำน ปัทมะ พลยง คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

ปัจจัยด้านการยศาสตร์และผล ...advisor.anamai.moph.go.th/download/Journal_health/2560/... · 2018-03-14 · 30. ตุลาคม

  • Upload
    others

  • View
    10

  • Download
    0

Embed Size (px)

Citation preview

Page 1: ปัจจัยด้านการยศาสตร์และผล ...advisor.anamai.moph.go.th/download/Journal_health/2560/... · 2018-03-14 · 30. ตุลาคม

ตุลาคม - ธันวาคม 2560 กรมอนามัย ส่งเสริมให้คนไทย สุุขภาพดี30

บ ท ว ิท ย า ก า ร

บทคัดย่อ

ปัจจัยด้านการยศาสตร์และผลกระทบต่อสุขภาพ จากพฤติกรรมการใช้สมาร์ตโฟน ของนิสิตมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร

การศึกษาพรรณนาแบบภาคตัดขวางครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านการยศาสตร์พฤติกรรมการใช้สมาร์ตโฟนกับผลกระทบต่อสุขภาพ3ระบบคือระบบสายตาระบบประสาทและ ระบบกระดูกและกล้ามเนื้อจ�านวนนิสิตตัวอย่าง370คนค�านวณขนาดตัวอย่างได้จากสูตรRomaldWM. ใช้วิธีสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นเก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามที่สร้างขึ้นเองโดยตรวจสอบคุณภาพความตรงของเนื้อหาจากผู้เชี่ยวชาญด้านอาชีวอนามัยและส่งเสริมสุขภาพ 3 ท่าน ทดสอบค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของ ครอนบาคเท่ากับ 0.854 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนาและทดสอบความสัมพันธ์ของตัวแปรด้วยสถิติไคว์สแคว์และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการศึกษาปัจจัยด้านการยศาสตร์พบว่า นิสิต (ร้อยละ29.0) จะก้มล�าตัวลงมากกว่า 60 องศาและศีรษะท�ามุมเงย (ร้อยละ 24.9) มีพฤติกรรมการใช้สมาร์ตโฟน อยู่ในระดับพอใช้(ร้อยละ60.8)เมื่อทดสอบความสัมพันธ์พบว่าปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการใช้สมาร์ตโฟนอย่างมีนัยส�าคัญทางสถิติ (p<0.05) ได้แก่ ชั้นปีที่ศึกษา ระยะเวลาและขนาดหน้าจอของ สมาร์ตโฟน ในส่วนผลกระทบต่อสุขภาพทั้ง 3 ระบบอยู่ในระดับปานกลาง พฤติกรรมการใช้สมาร์ตโฟน มีความสัมพันธ์กับอาการเฉียบพลันทางสุขภาพอย่างมีนัยส�าคัญทางสถิติ(p<0.05)ประกอบด้วย(1)อาการระบบสายตาได้แก่ ตาพร่ามัว ระคายเคืองตาคันตา น�้าตาไหล ตาแดงกว่าปกติ (2) อาการระบบประสาทได้แก่ปวดศีรษะเวียนศีรษะคลื่นไส้ฉุนเฉียวง่ายนอนไม่หลับอาเจียนเบื่ออาหาร(3)อาการระบบกระดูกและกล้ามเนื้อได้แก่ปวดบริเวณคอข้อมือ/มือหลังส่วนล่างและแขนดังนั้นข้อแนะน�าในหน่วยงานการศึกษาควรกระตุ้นเตือนสอดแทรกเนื้อหาผลกระทบต่อสุขภาพสอนในชั้นเรียน นอกจากนี้ควรมีนโยบายให้นิสิต ลดเวลาการใช้สมาร์ตโฟนและมหาวิทยาลัยควรก�าหนดเขตพื้นที่การใช้สมาร์ตโฟน รวมทั้งนิสิตควรมีท่าทางการใช้ที่ถูกต้องนั่งหลังตรงศีรษะท�ามุมประมาณ0-10องศาค�ำส�ำคัญ: พฤติกรรมใช้สมาร์ตโฟน,ผลต่อสุขภาพ,นิสิตมหาวิทยาลัย

ฌำน ปัทมะ พลยงคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

Page 2: ปัจจัยด้านการยศาสตร์และผล ...advisor.anamai.moph.go.th/download/Journal_health/2560/... · 2018-03-14 · 30. ตุลาคม

THAILAND JOURNAL OF HEALTH PROMOTION AND ENVIRONMENTAL HEALTH October - December 2017 31

Abstract The purpose of this cross-sectional decretive studywas to determine ergonomic factors, behaviorofthesmartphoneusersrelatedwithhealtheffectsin3systemsincludingeyesystem,nervoussystemandmuscleskeletalsystemamong370undergraduatestudents.ThesamplesizewascalculatedfromRomaldWM.andastratifiedrandomsamplingwasapplied.Datacollectionwas done by using questionnaires. The questionnaire was verified for validity content by 3 OccupationalhealthandhealthpromotionprofessionsandacoefficientreliabilityofCronbach’scoefficientalphawas0.854.Theywereanalyzedbyusingdescriptivestatisticsandchi-square,Pearson’scorrelationtestingtherelationshipbetweenvariables.Theresultsonergonomicfactorshowthatthepercentage(29.0%)ofthebackbentmorethan60degreesand(24.9%)headup.Thestudents hadmoderate level of smartphone using behavior (60.8%).The relationship analysisshowedthattherewasasignificant(p<0.05)factorsrelatedwithsmartphonebehaviorwasyearstudy,durationandscreensizeofsmartphone.Concerninghealtheffects,itwasfoundtobeinmoderatelevelforall3systems.Smartphonebehaviorwererelatedsignificant(p<0.05)withacutehealth effect inclusive (1) eye systems as; eye blurry, eye irritation, itching, watery eyes and conjunctivitisthanusual(2)nervoussystemas;headache,dizzy,squeamish,choleric,sleepless,vomitandlossofappetite(3)muscleskeletalsystemas;paininneck,elbow/hands,lowerbackandarms.Recommendationswere:teachingorganizationsshouldeducatestudentsinhealtheffectsfrom smartphone use in classroom. In addition, policy in reduction of smartphone use and limitationofsmartphoneusableareas inuniversityshouldbedefined.Including,studentshavecorrectposturebysitsstraightlyandheadanangleofabout0-10degrees.Keyword:smartphoneusingbehavior,healtheffects,undergraduatestudents

Ergonomic factor and health effects of the smartphone using behaviors

among undergraduate students in auniversity, Bangkok.

Chan Pattama PolyongFacultyofScienceandTechnology,BansomdejchaoprayaUniversity

ปัจจัยด้านการยศาสตร์และผลกระทบต่อสุขภาพจากพฤติกรรมการใช้สมาร์ตโฟนของนิสิตมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร

Page 3: ปัจจัยด้านการยศาสตร์และผล ...advisor.anamai.moph.go.th/download/Journal_health/2560/... · 2018-03-14 · 30. ตุลาคม

ตุลาคม - ธันวาคม 2560 กรมอนามัย ส่งเสริมให้คนไทย สุุขภาพดี32

บ ท ว ิท ย า ก า ร

■ บทน�ำ สั ง ค ม ไ ท ย ใ น ป ั จ จุ บั น นี้ มี ก า รเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วทั้งด้านการเมืองเศรษฐกิจและเทคโนโลยีต ่างๆ ซึ่งมนุษย ์จะต้องมีการปรับตัวอยู่เสมอในการด�ารงชีวิตส่งผลให้มีการแสดงออกของพฤติกรรมทางสังคมในแต่ละช่วงอายุที่แตกต่างกันออกไปตามยุคสมัย ทั้งนี้ในปัจจุบันได้แบ่งสังคมออกเป็น5รุ่น(Generations)ในกลุ่มคนที่ถูกกล่าวถึงปัญหาในด้านพฤติกรรมทางสังคมมากคือ กลุ่มคนสมัยใหม่หรือเรียกอีกอย่างหนึ่ง ว่าGenerationsZเป็นช่วงอายุคนที่เกิดหลังจากปีพ.ศ.2538จะแสดงออกทางพฤติกรรมด้วยความเป็นตัวของตัวเอง มีความนิยมทางเทคโนโลยีสูง(1) ใช้การสื่อสารระหว่างคนผ่านทางข้อความในโปรแกรมโทรศัพท์มือถือและคอมพิวเตอร์(2) นอกจากนี้ Mária T.(3)

ได้ศึกษาพฤติกรรม วิถีชีวิตรวมถึงการบริโภคของวัยรุ่นGenerationsZ ในประเทศฮังการี พบว่า กลุ ่มคนสมัยใหม่นี้มีความรู ้สึกว ่า สามารถท�าสิ่งต่างๆ ผ่านเทคโนโลยีได้ ส่งผล ให้เกิดการใช้เทคโนโลยีแบบเคลื่อนที่และเครือข่ายอินเตอร์เน็ตกันมากขึ้น จากการส�ารวจในประเทศไทยของส�านักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ ปี2557(4)พบว่ามีผู้เข้าใช้เครือข่ายอินเตอร์เน็ตผ่านทางสมาร์ตโฟนมากที่สุด ร้อยละ 77.1ใช้งานเฉลี่ย 6.6 ชั่วโมงต่อวัน เมื่อพิจารณาถึงพื้นที่ และช ่วงวัยที่ ใช ้มากที่ สุดพบว ่ากรุงเทพมหานครใช้มากถึงร้อยละ 84 และประมาณ 1 ใน 3 (ร้อยละ 37.5) ใช้ในช่วงอายุ19-21ปี(5)ซึ่งเป็นช่วงวัยที่ศึกษาในระดับอดุมศกึษาและยงัพบข้อมลูว่านสิตินกัศกึษาใช้เวลากับโทรศัพท์และอุปกรณ์เคลื่อนที่ในการ เล่นเกมส์ โปรแกรมการสนทนา ค้นหาข้อมูล

และติดตามเรื่องราวข่าวสารเหตุการณ์ต่างๆตามล�าดับ(6) พฤติกรรมต่างๆ เหล่านี้ส่งผลถึงบุคลิกภาพภายนอกต้องก้มส่วนคอ เพ่งมองที่หน้าจอไม่สนใจกับสิ่งแวดล้อมรอบข้างจึงเป็นค�ากล่าวว่า “สังคมก้มหน้า” ศัพท์นิยมที ่คุ้นเคยในปัจจุบัน พฤติกรรมสังคมก้มหน้านอกจากจะส่งผลกับภาพลักษณ์ภายนอกแล้ว ยังส่งผล กระทบต่อสุขภาพได้ ซึ่งการก้มซ�้าซากและนานเกินปกติจะท�าให้เกิดอาการกับระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ การก้มไปข้างหน้าทุกๆ2เซนติเมตรจะท�าให้ไหล่ต้องแบกรับน�า้หนัก มากขึ้นส ่งผลให้มีอาการปวดบริเวณไหล่คอ เกิดการอักเสบของข้อต่อกระดูกสันหลัง ส่วนบน(7) นอกจากนั้น นริศ กิจนรงค์(8) ได้ศึกษาในระบบสายตาพบว่า ผู้ป่วยที่มีปัญหาเกี่ยวกับดวงตามากกว่าร้อยละ 80 มีสาเหตุมาจากรังสีเหนือม่วง (Ultraviolet; UV)ความยาวคลื่น400นาโนเมตรชนิดUV-Aและแสงสีฟ้าจากสมาร์ตโฟน (Smartphone)แท็บเล็ต (Tablet) ส่งผลให้เกิดความผิดปกติของสายตา มีอาการแสบตา ระคายเคืองตาน�้าตาไหลเพิ่มมากขึ้น ทั้งนี้โทรศัพท์มือถือยังมีคลื่นรังสีไมโครเวฟ หากสัมผัสปริมาณมากจะเสี่ยงต่อระบบประสาท ปวดศีรษะ คลื่นไส้นอนไม่หลับ(9) โดยเฉพาะศีรษะจะเป็นบริเวณที่ได้รับคลื่นและเกิดความร้อนขึ้นมากที่สุด(10)

ยุคสมัยของเทคโนโลยีแบบสมาร์ตโฟนเข้ามามีบทบาทอย่างมากในช่วง 2-3 ปีหลัง เห็นแนวโน้มของพฤติกรรมการเปิดรับข้อมูลข ่าวสารแบบไร ้สายผ ่านสมาร ์ตโฟนและแท็บเล็ตมากขึ้นเพราะสามารถเปิดรับได้ทุกที่ทุกเวลา(11)หากกลุ่มคนGenerationsZยังม ีพฤติกรรมการใช้ที่ไม่เหมาะสม ไม่ได้ค�านึงถึง ผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับสุขภาพ(9) การ

Page 4: ปัจจัยด้านการยศาสตร์และผล ...advisor.anamai.moph.go.th/download/Journal_health/2560/... · 2018-03-14 · 30. ตุลาคม

THAILAND JOURNAL OF HEALTH PROMOTION AND ENVIRONMENTAL HEALTH October - December 2017 33

สัมผัสระยะเวลายาวนานอาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพแบบเรื้อรังได้ ทั้งนี้ผู ้วิจัยจึงได้เห็นความส�าคัญโดยเลือกกลุ่มเป้าหมายเป็นนิสิตมหาวิทยาลัยขนาดใหญ่แห ่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร ซึ่งถือเป็นช่วงต้นของกลุ่มคนสมัยใหม่และกลุ่มช่วงอายุที่มีความเสี่ยงจากการใช้งานสมาร์ตโฟนมากที่สุด หากกลุ่มคนเหล่านี้ทราบถึงผลกระทบและมีการปรับพฤติกรรมการใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมจะเป็นแบบอย่างที่ดีของGenerations เดียวกันและรุ่นถัดไปที่ผ่านมามีงานวิจัยไม่มากนักที่กล่าวถึงผลกระทบทางสุขภาพ ส่วนใหญ่จะเป็นศาสตร์ทางด้านธุรกิจที่มีการศึกษาถึงปัจจัยที่จะส่งผลถึงยอดขายและก�าไร(12,13)ประกอบกับเทคโนโลยีสมาร์ตโฟนเพิ่งถูกน�ามาใช้ในระยะเวลาไม่นานดังนั้นจึงต้องมีการศึกษาเฝ้าระวังอย่างต่อเนื่องถึงผลกระทบต่อสุขภาพจากพฤติกรรมสังคมก้มหน้าในการใช้เทคโนโลยีหน้าจอสมาร์ตโฟน เพื่อน�าไปสู่กิจกรรมการรณรงค์เผยแพร่ผลกระทบต่อสุขภาพที่อาจจะเกิดเป็นภัยเงียบในอนาคตต่อไป

■ วัตถุประสงค์กำรศึกษำ เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านการยศาสตร์ พฤติกรรมการใช้สมาร์ต โฟนกับผลกระทบต ่ อสุ ขภาพของนิ สิ ตมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร

■ วิธีกำรศึกษำ 1. รูปแบบกำรศึกษำ การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบภาคตัดขวาง (Cross-sectionalstudy) 2. กลุ่มตัวอย่ำงกลุ่มตัวอย่างเป็นนิสิตมหาวิทยาลัยของรัฐบาลแห่งหนึ่งในเขตธนบุรีกรุงเทพมหานคร ก�าหนดขนาดตัวอย่างโดย

ใช้ตารางสูตรของ RomaldWM.(14) ค่าความเชื่อมั่น95%ส�าหรับประชากรมากกว่า10,000 คน ได้กลุ่มตัวอย่างจ�านวน 370 คนจากนั้นใช้วิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้น (Stratifiedsampling)ตามคณะและชั้นปีที่ศึกษาซึ่งกลุ่มตัวอย่างดังกล่าวเป็นผู้ที่ผ่านเกณฑ์การคัดเข้าจากการวิจัยครั้งนี้คือเป็นนิสิตที่ศึกษาในภาคเรียนปกติที่2/2557และยินดีเข้าร่วมการวิจัย 3. กำรพิทักษ์สิทธิ์กลุ่มตัวอยำ่ง ก่อนเริ่มเก็บข้อมูล ผู ้วิจัยและผู ้ช่วยวิจัยแนะน�า ตัวเอง ชี้แจงวัตถุประสงค์ การรวบรวมข้อมูลพร ้อมทั้ งชี้แจงให ้ทราบถึงสิทธิ์ของกลุ ่มตัวอย่างในการตอบรับหรือปฏิเสธการเข้าร่วม วิจัยในครั้งนี้ โดยไม่มีผลต่อกระบวนการเรียน การสอนใดๆ ข ้อมูลที่ ได ้จะน�าเสนอเป ็น ภาพรวมเท่านั้น 4. เครื่ อ งมือและกำรตรวจสอบ คุณภำพของเครื่องมือ เครื่องมือที่ใช้ในการ เก็บรวบรวมแบ่งออกเป็น3ส่วนคือ1)แบบ สอบถาม ได้จากการทบทวนวรรณกรรมและสร้างขึ้นเอง ประกอบด้วยข้อมูลทั่วไปพฤติกรรมการใช้สมาร์ตโฟนและผลกระทบต่อสุขภาพ2)แบบประเมินท่าทางองศาของการ ก้มตัวและการเงยศีรษะในขณะใช้สมาร์ตโฟนประยุกต์จากแบบมาตรฐาน Rapid UpperLimp Assessment (RULA) โดยเลือกประเมินท่าทางที่ เป ็นจุดเสี่ยงต่อการบาดเจ็บมากที่สุด แบ่งระดับความเสี่ยง 4 ระดับได้แก่ พฤติกรรมการก้มหรือเงยส่วนคอคือการก้ม 0-10º 10-20º >20º และมุมเงยมีค่า คะแนนความเสี่ยงเท่ากับ +1 +2 +3 และ +4ตามล�าดับ ในส่วนพฤติกรรมการก้มล�าตัว จะแบ่งเป็น 4 ระดับเช่นกันตั้งแต่นั่งตรง0º 1-20º 20-60º และ >60º มีค่าคะแนนความเสี่ยงเท ่ากับ +1 +2 +3 และ +4

ปัจจัยด้านการยศาสตร์และผลกระทบต่อสุขภาพจากพฤติกรรมการใช้สมาร์ตโฟนของนิสิตมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร

Page 5: ปัจจัยด้านการยศาสตร์และผล ...advisor.anamai.moph.go.th/download/Journal_health/2560/... · 2018-03-14 · 30. ตุลาคม

ตุลาคม - ธันวาคม 2560 กรมอนามัย ส่งเสริมให้คนไทย สุุขภาพดี34

บ ท ว ิท ย า ก า ร

ตามล�าดับ และ 3) อาการระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ ประยุกต์จากแบบมาตรฐานของนอร์ดิก (Nordic musculoskeletal ques-tionnaire)แบ่งแผนภาพร่างกายช่วงบนล�าตัว ออกเป็น7อวัยวะได้แก่คอไหล่หลังส่วนบนข้อมือ/มือ หลังส่วนล่าง แขน และศอก แบ่งระดับการเจ็บปวดออกเป็น5ระดับ(Osgoodscale) ตั้งแต่ไม่มีอาการปวดจนถึงมีอาการปวดมากให้ค่าคะแนน +1 +2 +3 +4 และ+5 ตามล�าดับ ทั้งนี้แบบสอบถามได้ผ่านการ ตรวจสอบความตรง (Val id i ty) โดยผู ้เชี่ยวชาญทางด้านอาชีวอนามัยและด้าน ส่งเสริมสุขภาพจ�านวน3คนโดยพิจารณาจากค่าIndexofItem-objectiveCongruence มากกว ่ า 0 . 5 ในทุกข ้ อ หลั งจากนั้ น น�าไปทดลองใช้(Tryout)ในนิสิตที่ไม่ใช่กลุ่มตัวอย่างแต่เป็นนิสิตที่มีลักษณะทางประชากรใกล ้ เคียงกัน 30 คน และน�ามาทดสอบ ความเที่ยง(Reliability)ของเครื่องมือด้วยวิธ ีหาค ่ าสั มประสิทธิ์ ความเชื่ อมั่ นแอลฟา ครอนบาค (Cronbach’s alpha) ได้ค่าความเที่ยงเท่ากับ0.854 5. กำรให้ค่ำคะแนน พฤติกรรมการใช้สมาร์ตโฟนจ�านวน 25 ข้อ มีระดับการปฏิบัติเป็นมาตราส่วนประมาณค่า4ระดับตามแบบลิคเคิร์ทเกณฑ์การให้ค่าคะแนนคือ ไม่เคยให้ 1 คะแนนนานๆครั้งให้ 2 คะแนนบ่อยครั้งให้ 3 คะแนน และประจ�าให้ 4 คะแนนการแปลผลคะแนนใช้การก�าหนดช่วงระดับ 3ระดับโดยใช้วิธีอันตรภาคชั้นของบลูมดังนี้คะแนนมากกว่าหรือเท่ากับร้อยละ 80 (80-100 คะแนน) พฤติกรรมอยู่ในระดับปรับปรุง(ใช้สมาร์ตโฟนมาก) คะแนนระหว่างร้อยละ50-79 (50-79 คะแนน) พฤติกรรมอยู ่ในระดับพอใช้ และคะแนนน้อยกว่าร้อยละ 50

(25-49คะแนน)พฤติกรรมอยู่ในระดับดี (ใช้สมาร์ตโฟนน้อย) การก้มศีรษะและก้มล�าตัวตามองศาจ�านวน8ข้อมีระดับการปฏิบัติเป็นมาตราส่วนประมาณค่า 4 ระดับตามแบบลิคเคิร์ทเกณฑ์การให้ค่าคะแนนการก้มศีรษะและก้มล�าตัวคือไม่เคยให้ 1คะแนนนานๆครั้งให้2คะแนนบ่อยครั้งให้3คะแนนและประจ�าให้4คะแนนการแปลผลคะแนนใช้การก�าหนดช่วงระดับ 3ระดับโดยใช้วิธีอันตรภาคชั้นของเบสท์ดังนี้ค่าเฉลี่ยคะแนนเท่ากับ3.01-4.00อยู่ในระดับปรับปรุง ค่าเฉลี่ยคะแนนเท่ากับ 2.01–3.00อยู่ในระดับพอใช้ และค่าเฉลี่ยคะแนนเท่ากับ1.00–2.00อยู่ในระดับดี อาการทางสุขภาพประกอบด้วย3ระบบ ระบบสายตา ระบบประสาท ระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ มี 21 อาการ ซึ่งระดับอาการเป็นมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับตามแบบลิคเคิร์ทเกณฑ์การให้ค่าคะแนนคือไม่เคยให้1คะแนนไม่แน่นอนให้2คะแนนนานๆครั้งให้3คะแนนบ่อยครั้งให้4คะแนนและเป็นประจ�าให้5คะแนนการแปลผลคะแนนใช้การก�าหนดช่วงระดับ 3 ระดับโดยใช้วิธีอันตรภาคชั้นของเบสท์ ดังนี้ ค่าเฉลี่ยคะแนนเท่ากับ 1.00- 2.33 อาการอยู่ในระดับดี (มีอาการเกิดน้อย)ค่าเฉลี่ยคะแนนเท่ากับ 2.34-3.66 อาการอยู่ในระดับปานกลาง และค่าเฉลี่ยคะแนนเท่ากับ3.67-5.00 อาการอยู่ในระดับไม่ดี (มีอาการเกิดมาก) 6. กำรวิเครำะห์ข้อมูลวิเคราะห์ข้อมูล ไม่ต่อเนื่องโดยการแจกแจงความถี่ หาจ�านวนและร้อยละในตัวแปรเพศชั้นปีที่ศึกษาส�าหรับข้อมูลต่อเนื่องวิเคราะห์ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานในตัวแปร อายุ รายรับต่อเดือน คะแนนพฤติกรรมการใช้สมาร์ตโฟน การก้ม

Page 6: ปัจจัยด้านการยศาสตร์และผล ...advisor.anamai.moph.go.th/download/Journal_health/2560/... · 2018-03-14 · 30. ตุลาคม

THAILAND JOURNAL OF HEALTH PROMOTION AND ENVIRONMENTAL HEALTH October - December 2017 35

ปัจจัยด้านการยศาสตร์และผลกระทบต่อสุขภาพจากพฤติกรรมการใช้สมาร์ตโฟนของนิสิตมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร

ศีรษะและล�าตัว อาการทางสุขภาพ ทดสอบความสัมพันธ์ของแต่ละปัจจัยโดยใช้ Chi-square ส�าหรับข้อมูลไม่ต่อเนื่อง และทดสอบPearson’sCorrelationส�าหรับข้อมูลต่อเนื่อง

■ ผลกำรศึกษำ 1. ลักษณะข้อมูลทำงประชำกร จากการศึกษากลุ ่มตัวอย่างพบว่าประมาณ2ใน3(ร้อยละ62.2)เป็นนิสิตเพศหญิง อายุเฉลี่ยเท่ากับ 20.96±1.56ปี ศึกษาในระดับชั้นปีที่ 3 (ร้อยละ 44.6) มีรายรับต่อเดือนเท่ากับ8,402.43±4,045.18บาทส่วนใหญ่(ร้อยละ84.9)ได้รายรับมาจากพ่อแม่ 2. พฤติกรรมกำรใช้สมำร์ตโฟนหรืออุปกรณ์สื่อสำรเคลื่อนที่ จากการศึกษาพบว่าส่วนใหญ่(ร้อยละ 60.8) มีระดับพฤติกรรมการใช้สมาร์ตโฟนอยู่ในระดับพอใช้ รองลงมาประมาณ 1 ใน 4(ร้อยละ 25.4) อยู่ในระดับดี คะแนนเฉลี่ย

พฤติกรรมการใช้สมาร์ตโฟนเท่ากับ 62.23 ±14.63คะแนน(ตารางที่1) เมื่ อพิ จ ารณาพฤติกรรมการ ใช ้ สมาร์ตโฟนรายด้านพบว่า นิสิตใช้เวลาเล่นสมาร์ตโฟนมากกว่า 3 ชั่วโมงต่อวัน (ร้อยละ 86.4) แยกเป็นรายชั่วโมงพบการใช้ 3-4ชั่วโมงมากที่สุด (ร้อยละ 27.3) รองลงมาคือ5-6และ7-8ชั่วโมง(ร้อยละ23.5และ22.4 ตามล�าดับ) นอกจากนั้นยังพบนิสิตที่ใช้มากกว่า8ชั่วโมงต่อวัน(ร้อยละ13.2)ช่วงเวลา ที่ใช้มากที่สุดคือ20.01-22.00นาฬิกา(ร้อยละ 24.6)รองลงมาคือเล่นในช่วงเช้า10.01-12.00และ08.01-10.00นาฬิกาตามล�าดับ ในส่วน วัตถุประสงค ์ของการใช ้งานสมาร ์ตโฟน 3 อันดับแรกประกอบด้วย ติดตามสื่อเฟสบุ๊ค สนทนาโปรแกรมไลน์ และเล่นเกมส์ ร้อยละ 32.632.0และ17.8ตามล�าดับโดยส่วนใหญ่ (ร้อยละ 68.2) ใช้หน้าจอของสมาร์ตโฟน ขนาดปกติ

ตำรำงที่ 1 ระดับกำรใช้สมำร์ตโฟนหรืออุปกรณ์สื่อสำรเคลื่อนที่ของนิสิต

ระดับกำรใช้สมำร์ตโฟน เกณฑ์กำรใช้สมำร์ตโฟน คะแนน จ�ำนวน ร้อยละ

ดี ใช้น้อยกว่าร้อยละ50 25-49 94 25.4

พอใช้ ใช้ร้อยละ50-79 50-79 225 60.8

ปรับปรุง ใช้มากกว่า/เท่ากับร้อยละ80 80-100 51 13.8

χ ±S.D.เท่ากับ62.23±14.63

3. ท่ำทำงกำรใช้สมำร์ตโฟน จากการประยุกต ์ใช ้แบบประเมินRULA ระบุพฤติกรรมการก้มในขณะที่ใช ้สมาร์ตโฟนซึ่งการประเมินด้วยRULAได้แบ่ง องศาของการก้มล�าตัวออกเป็น4ระดับได้แก่ตั้งตรง0-20,20-60และมากกว่า60และการก้มศีรษะแบ่งออก4ระดับได้แก่0-10,10-20,

มากกว่า20และมุมเงยพบว่านิสิตจะมีคะแนนการก้มศีรษะอยู่ในระดับพอใช้ (คะแนนเฉลี่ยอยู ่ระหว่าง 2.34-3.66 คะแนน) และเมื่อพิจารณาแต่ละองศาพบว่าในการปฏิบัติที่ดีคือการนั่งตัวตรงต�าแหน่ง 0 องศา นิสิตจะมีการ ปฏิบัตินานๆครั้งมากที่สุด(ร้อยละ32.8)และการก้มศีรษะช่วง0-10องศาจะพบการปฏิบัติ

Page 7: ปัจจัยด้านการยศาสตร์และผล ...advisor.anamai.moph.go.th/download/Journal_health/2560/... · 2018-03-14 · 30. ตุลาคม

ตุลาคม - ธันวาคม 2560 กรมอนามัย ส่งเสริมให้คนไทย สุุขภาพดี36

บ ท ว ิท ย า ก า ร

นานๆครั้ง (ร้อยละ 35.9) ในส่วนการปฏิบัติที่มีความเสี่ยงจะพบการก้มล�าตัวมากกว่า 60องศาเป็นประจ�า(ร้อยละ29.0)และองศาของ

ศีรษะจะเป็นมุมเงยเป็นประจ�า (ร้อยละ 24.9)(ภาพที่1)

ภำพที่ 1 กำรก้มศีรษะและก้มล�ำตัวในกำรใช้สมำร์ตโฟน

4. ป ั จ จั ย ที่ มี ค ว ำ ม สั ม พั น ธ ์ กั บพฤติกรรมกำรใช้สมำร์ตโฟนของนิสิต จากการศึกษาพบว่า ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการใช้สมาร์ตโฟนของนิสิตอย่างมีนัยส�าคัญทางสถิติ(p<0.05)ได้แก่ปัจจัยส่วนบุคคลคือชั้นปี(p<0.001;95%CI=0.191-0.349)และปัจจัยด้านใช้งานคือระยะเวลาที่ใช้ (p=0.003 ; 95%CI=0.215–0.366)ช่วงเวลาที่ใช้(p=0.030;95%CI=0.143–0.306)และขนาดหน้าจอของสมาร์ตโฟน(p=0.047;95%CI=0.124–0.301)ส่วนปัจจัยด้านเพศไม่มีความสัมพันธ์กับการใช้สมาร์ตโฟน(ตารางที่2) 5. ควำมสัมพันธ์ระหว่ำงพฤติกรรมกำรใช้สมำร์ตโฟนกับผลกระทบต่ออำกำรทำงระบบสำยตำ ระบบประสำท และระบบกระดูกและกลำ้มเนื้อ จากการศึกษาพบว่าพฤติกรรมการเล่น สมาร์ตโฟนมีความสัมพันธ์กับอาการทาง

สุขภาพอย่างมีนัยส�าคัญทางสถิติ (p<0.05)ได้แก่ 1) อาการระบบสายตา ตาพร่ามัว/มองไม่ชัดแสบตาน�้าตาไหลระคายเคืองตาคันตา ตาแดงกว่าปกติ 2) อาการระบบประสาทปวดศีรษะ เวียนศีรษะ คลื่นไส้ ฉุนเฉียวง่ายนอนไม่หลับอาเจียน เบื่ออาหารซึมเศร้า3)อาการทางระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ อาการปวดบริเวณคอ ข้อมือ/มือ หลังส่วนล่าง แขน(ตารางที่3)

■ อภิปรำยผล จ า ก ก า ร ทบท วน ว ร รณก ร ร ม ใ นประเทศไทยยังไม ่พบการศึกษาเกี่ยวกับ ผลกระทบต่อสุขภาพในระบบหลักๆ ของ ร่างกายจากการใช้สมาร์ตโฟน ซึ่งเป็นวัตถุ นิยมที่ใช้กันแพร่หลายมากในปัจจุบันส่วนใหญ ่แล้วด้านผลกระทบต่อสุขภาพจะเป็นการให้ข้อมูลสัมภาษณ์จากผู้เชี่ยวชาญผ่านสื่อสารมวลชนต่างๆ หรืองานวิจัยที่ตีพิมพ์เผยแพร่

Page 8: ปัจจัยด้านการยศาสตร์และผล ...advisor.anamai.moph.go.th/download/Journal_health/2560/... · 2018-03-14 · 30. ตุลาคม

THAILAND JOURNAL OF HEALTH PROMOTION AND ENVIRONMENTAL HEALTH October - December 2017 37

ตำรำงที่ 2 ปัจจัยที่มีควำมสัมพันธ์กับพฤติกรรมกำรใช้สมำร์ตโฟนของนิสิต

เพศ ชาย 31(22.1) 90(64.3) 19(13.6) 1.398 0.497 0.449-0.551 หญิง 63(27.4) 135(58.7) 32(13.9)

ชั้นปีที่ศึกษำ 1 25(32.9) 47(61.8) 4(5.3) 26.340 <0.001* 0.191–0.349 2 27(33.8) 48(60.0) 5(6.3) 3 31(18.8) 96(58.2) 38(23.0) 4 11(22.4) 34(69.4) 4(8.2)ระยะเวลำที่ใช้ (ชั่วโมง/วัน) น้อยกว่า1 4(57.1) 3(42.9) 0(0.0) 26.884 0.003* 0.215–0.366 1-2 15(34.9) 19(44.2) 9(20.9) 3-4 32(31.7) 50(49.5) 9(20.9) 5-6 21(24.1) 58(66.7) 8(9.2) 7-8 17(20.5) 55(66.3) 11(13.3) มากกว่า8 5(10.2) 40(81.6) 4(8.2)

ช่วงเวลำที่ใช้ 00.01-06.00น. 23(24.0) 52(54.2) 21(21.9) 13.994 0.030* 0.143-0.306 06.01-12.00น. 24(33.8) 42(59.2) 5(7.0) 12.01-18.00น. 36(22.4) 103(64.0) 22(13.7) 18.01-24.00น. 1(10.0) 9(90.0) 0(0.0)

ขนำดหนำ้จอของสมำร์ตโฟน ใหญ่มาก 2(10.0) 13(65.0) 5(25.0) 11.794 0.047* 0.124-0.301 ใหญ่ 12(21.8) 31(56.4) 12(21.8) ปกติ 62(25.1) 154(62.3) 31(12.6) เล็ก 15(37.5) 23(57.5) 2(5.0)*

*p<0.05

ปัจจัยด้านการยศาสตร์และผลกระทบต่อสุขภาพจากพฤติกรรมการใช้สมาร์ตโฟนของนิสิตมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร

ปัจจัย

ระดับพฤติกรรมกำรใช้สมำร์ตโฟน χ2 p-value 95%CI

ดี พอใช ้ ปรับปรุง Lower-Upper

จะเป็นศาสตร์ด้านธุรกิจมุ ่งหวังในยอดขายและเน้นผลิตสมาร์ตโฟนให้ตอบสนองกับความพึงพอใจของผู ้ใช้งานมากกว่า ดังนั้น ผู้วิจัยได้เห็นจุดแตกต่างขององค์ความรู้ (Gapof knowledge) ที่จะเกิดขึ้น จึงได้ศึกษา

ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านการยศาสตร์พฤติกรรมการใช้สมาร์ตโฟนกับผลกระทบ ต่อสุขภาพของนิสิตมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร โดยใช้เครื่องมือที่เป็น แบบสอบถามสร ้ างขึ้ นจากการทบทวน

Page 9: ปัจจัยด้านการยศาสตร์และผล ...advisor.anamai.moph.go.th/download/Journal_health/2560/... · 2018-03-14 · 30. ตุลาคม

ตุลาคม - ธันวาคม 2560 กรมอนามัย ส่งเสริมให้คนไทย สุุขภาพดี38

บ ท ว ิท ย า ก า ร

ระบบสำยตำ ตาพร่ามัวมองไม่ชัด 3.04±1.28 ปานกลาง 0.404 <0.001*

แสบตา 2.96±1.09 ปานกลาง 0.110 <0.001*

น�้าตาไหล 2.96±1.23 ปานกลาง 0.293 <0.001*

ระคายเคืองตา 2.91±1.08 ปานกลาง 0.319 <0.001*

คันตา 2.87±1.10 ปานกลาง 0.304 <0.001*

ตาแดงกว่าปกติ 2.85±1.35 ปานกลาง 0.495 <0.001*

โดยรวมระบบสายตา 2.93±0.94 ปานกลาง

ระบบประสำท ปวดศีรษะ 2.99±1.19 ปานกลาง 0.286 <0.001*

เวียนศีรษะ 2.97±1.23 ปานกลาง 0.348 <0.001*

คลื่นไส้ 2.87±1.47 ปานกลาง 0.452 <0.001*

ฉุนเฉียวง่าย 2.87±1.49 ปานกลาง 0.523 0.007*

นอนไม่หลับ 2.86±1.36 ปานกลาง 0.358 <0.001*

อาเจียน 2.81±1.60 ปานกลาง 0.459 <0.001*

เบื่ออาหาร 2.80±1.47 ปานกลาง 0.434 <0.001*

ซึมเศร้า 2.74±1.57 ปานกลาง 0.493 <0.001*

โดยรวมระบบประสาท 2.85±1.17 ปานกลาง

ระบบกระดูกและกล้ำมเนื้อ คอ 3.08±1.14 ปานกลาง 0.140 0.007*

ไหล่ 2.77±1.10 ปานกลาง 0.044 0.402

หลังส่วนบน 2.49±1.14 ปานกลาง 0.026 0.619

ข้อมือ/มือ 2.28±1.18 น้อย 0.123 0.018*

หลังส่วนล่าง 2.22±1.21 น้อย 0.152 0.003*

แขน 2.12±1.11 น้อย 0.178 0.001*

ศอก 1.89±1.08 น้อย 0.030 0.559

โดยรวมระบบกระดูกกล้ามเนื้อ 2.46±0.79 ปานกลาง

*p<0.05

ระดับ ควำมสัมพันธ์ระหวำ่งพฤติกรรมกำร คะแนนอำกำรทำงสุขภำพ χ±S.D. ผลกระทบ ใช้สมำร์ตโฟนกับอำกำรทำงสุขภำพ r p-value

ตำรำงที่ 3 ควำมสัมพันธ์ระหว่ำงพฤติกรรมกำรใช้สมำร์ตโฟนกับอำกำรทำงสุขภำพ

Page 10: ปัจจัยด้านการยศาสตร์และผล ...advisor.anamai.moph.go.th/download/Journal_health/2560/... · 2018-03-14 · 30. ตุลาคม

THAILAND JOURNAL OF HEALTH PROMOTION AND ENVIRONMENTAL HEALTH October - December 2017 39

ปัจจัยด้านการยศาสตร์และผลกระทบต่อสุขภาพจากพฤติกรรมการใช้สมาร์ตโฟนของนิสิตมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร

วรรณกรรมซึ่งผ่านการตรวจสอบความตรง และความเที่ยงจากผู ้ เชี่ยวชาญ รวมถึง ประยุกต ์มาจากแบบสอบถามที่ ใช ้ เป ็นมาตรฐานสากล จากการศึกษาได้สรุปผลครอบคลุมวัตถุประสงค์และอภิปรายผลดังนี้ ด้านพฤติกรรมการใช้สมาร์ตโฟนพบว่าอยู่ในระดับพอใช้สอดคล้องกับการศึกษาเรื่องพฤติกรรมการใช้สมาร์ตโฟนของวัยรุ ่นไทยพบว่า มีคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการใช้อยู่ใน ระดับปานกลาง (ค่าเฉลี่ย 3.10 คะแนน)(15) เมื่อพิจารณาพฤติกรรมการใช้สมาร์ตโฟนรายด้านพบว่า นิสิตใช้เวลาเล่นสมาร์ตโฟนมากกว่า3ชั่วโมงต่อวันร้อยละ86.4แยกเป็น รายชั่วโมงพบการใช้ 3-4 ชั่วโมงมากที่สุดร้อยละ27.3ซึ่งมีความสอดคล้องกับการศึกษาในนักศึกษามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์(16) พบว่า นักศึกษาใช้เวลาการเล่นโปรแกรมสนทนาออนไลน์ระยะเวลา 3-4 ชั่วโมงต่อวันร้อยละ29.4แต่จะมีความแตกต่างกันในระยะเวลามากกว่า 6 ชั่วโมง การศึกษาครั้งนี้พบร้อยละ35.6แต่นักศึกษามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์พบร้อยละ 8.6 จะเห็นได้ว่านิสิต ในกรุงเทพมหานครจะมีภาวะเสี่ยงและติด การเล่นโทรศัพท์สมาร์ตโฟนมากกว่านิสิตในต่างจังหวัด นอกจากนั้นยังพบนิสิตที่มีความเสี่ยงมากที่สุดโดยมีระยะเวลาในการเล่นมากกว่า8 ชั่วโมงต่อวัน ร้อยละ 13.2 ช่วงเวลาที่ใช้มากที่สุดคือ 20.01-22.00 น. ร้อยละ 24.6ทั้งนี้พฤติกรรมการเล่นที่ยาวนานนั้นจะท�าให้เกิดความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลลดลงไปด้วยโดยมีการศึกษาของ พิชญ์ เพชรค�า(15) พบว่า พฤติกรรมการใช้โทรศัพท์สมาร์ตโฟนของ วัยรุ่นไทยที่มีผลกระทบด้านลบต่อตนเองและสังคม มีการพูดคุยปากต่อปากลดน้อยลงด้วย

ในส่วนวัตถุประสงค์ที่นิสิตให้เหตุผลของการใช้งานสมาร์ตโฟน 3 อันดับแรกประกอบด้วยติดตามสื่อเฟสบุ๊คสนทนาโปรแกรมไลน์และเล่นเกมส์ ร้อยละ 32.6 32.0 และ 17.8 ตามล�าดับ สอดคล้องกับเจตสฤษฏิ์ สังขพันธ์และคณะ(16) ศึกษาในนักศึกษามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์พบนักศึกษาติดตามสื่อเฟสบุ ๊คมากที่สุด รองลงมาคือสนทนาออนไลน์และพิชญ์ เพชรค�า(15) ศึกษาพบผลกระทบด้านลบจากการใช้สมาร์ตโฟนมากที่สุดคือการติดเกมส์ คะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 4.04 นอกจากนี้ปรัชญา หินศีรสุวรรณ(17) พบว่านักศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ใช้โทรศัพท์สมาร์ตโฟนใช้งานเครือข่ายสังคมออนไลน์ในรูปแบบชีวิต 6 รูปแบบ ซึ่งนิสิตจะใช้รูปแบบที่มุ่งเน้นตนเองและครอบครัวรองลงมาด้านงานอดิเรกและการพักผ่อน จะเห็นได้ว่าการเข้าถึงใน รูปแบบที่มุ่งเน้นด้านสุขภาพยังไม่ได้รับความสนใจมากนักในการใช้งาน ส่งผลให้นิสิตในมหาวิทยาลัยยังสืบค้นและรู้เท่าทันผลกระทบทางสุขภาพจากการใช้สื่อสมาร์ตโฟนได้น้อยลงตามไปด้วย จากการประยุกต ์ ใช ้แบบประเมินมาตรฐาน RULA ศึกษาท่าทางการก้มศีรษะและล�าตัวในแต่ละช่วงขององศาพบว่าทั้งหมดทุกช่วงองศาจะมีคะแนนเฉลี่ยอยู่ในระดับพอใช้ โดยท่าทางที่มีความเสี่ยงมากที่สุดคือการก้มล�าตัวมากกว่า 60 องศาเป็นประจ�าพบมากถึงร้อยละ 29.0 ซึ่งพบมากกว่ากลุ่มที่ท�างานในท่านั่งเป็นประจ�า ทั้งนี้สุนิสา ชายเกลี้ยง(18) ได้ประเมินท่าทางการนั่งในกลุ่มท�างานมีการนั่งก้มไปด้านหน้ามากกว่า60 องศาพบร้อยละ 17.5 และเมื่อพิจารณาถึงส่วนคอและศีรษะพบว่ามุมศีรษะของนิสิตจะท�ามุมเงยเป็นประจ�า ร้อยละ 24.9 โดยผู้วิจัย

Page 11: ปัจจัยด้านการยศาสตร์และผล ...advisor.anamai.moph.go.th/download/Journal_health/2560/... · 2018-03-14 · 30. ตุลาคม

ตุลาคม - ธันวาคม 2560 กรมอนามัย ส่งเสริมให้คนไทย สุุขภาพดี40

บ ท ว ิท ย า ก า ร

ได้สังเกตท่านั่งในการเล่นสมาร์ตโฟนพบว่านิสิตจะนั่งตามระเบียงหน้าห้องหรือสถานที่ใต้อาคารเรียนของมหาวิทยาลัย โดยจะก้มตัวลงเพื่อให้ข้อศอกวางไว้บนต้นขาและยกสมาร์ตโฟนขึ้นเสมอกับใบหน้าตนเอง จากนั้นจะยกส่วนคอท�ามุมเงยขึ้นท�าให้สามารถมองหน้าจอได้ชัดเจนและเล่นได้สะดวกมากขึ้น ลักษณะนี้ถือว่าเป็นท่าทางที่ผิดหลักธรรมชาติของมนุษย์ ตามหลักการยศาสตร์ต้องให้กระดูก สันหลังและส่วนคออยู่ในแนวตรง ไม่ควรนั่งหรือยืนก้มไปด้านหน้า จากการศึกษาของFishmanD.(7)พบว่าการก้มไปข้างหน้าทุกๆ2เซนติเมตรจะท�าให้ไหล่ต้องแบกรับน�้าหนักมากขึ้นส่งผลให้มีอาการปวดบริเวณไหล่และคอได้ ทั้งนี้มีการศึกษาของสุนิสา ชายเกลี้ยงและคณะ(18) พบว่าในกลุ่มนั่งท�างานและก้มตัวไปด้านหน้าจะมีอาการผิดปกติของระบบกระดูกและกล้ามเนื้อบริเวณกระดูกสันหลังและระยางค์ส่วนบนร้อยละ83.7และปวดคอมากที่สุดร้อยละ31.2ซึ่งมีความสอดคล้องกับการศึกษาครั้งนี้ที่พบว่านิสิตมีค่าเฉลี่ยอาการปวดที่คอมากกว่าอาการผิดปกติส่วนอื่นๆ ในการศึกษาความสัมพันธ์พบว่า มีหลายปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการใช้สมาร์ตโฟนของนิสิตอย่างมีนัยส�าคัญทางสถิติ(p<0.05)ได้แก่1)ปัจจัยส่วนบุคคลคือชั้นปีสอดคล้องกับพิชญ์เพชรค�า(15)ระดับการศึกษาที่แตกต่างกันจะมีผลกระทบด้านลบ ที่ได ้รับจากพฤติกรรมการใช ้สมาร ์ตโฟน แตกต่างกันไปด้วย และ 2) ปัจจัยด้านใช้งาน คือ ระยะเวลาที่ใช้ ช่วงเวลาที่ใช้และขนาด หน้าจอของสมาร์ตโฟน สอดคล้องกับปรัชญา หินศีรสุวรรณ(17) ศึกษาพฤติกรรรมการใช้งาน เ ค รื อ ข ่ า ยสั ง คมออน ไลน ์ ใ นนั ก ศึ กษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่พบว่า นักศึกษาจะมี

ช่วงเวลาที่ใช้มากเวลา 19.00-24.00 น. ในการศึกษาครั้งนี้เช ่นกันนิสิตใช้มากในช่วง20.00–22.00 น. และการศึกษาครั้งนี้พบอีกประเด็นหนึ่งว่าถ้ายิ่งเพิ่มขนาดหน้าจอของสมาร์ตโฟนมากขึ้นนิสิตจะมีพฤติกรรมการใช้เพิ่มมากขึ้นด้วย อนุมานได้ว่านิสิตเกิดความสะดวกและมองเห็นฟังก์ชั่นการใช้ได้ชัดเจนจะเป็นแรงจูงใจในการเล่นได้มากตามไปด้วย นอกจากนี้ พฤติกรรมการเล่นสมาร์ตโฟนมีความสัมพันธ์กับอาการทางสุขภาพอย่างมีนัยส�าคัญทางสถิติ(p<0.05)กับอาการระบบสายตา ตาพร่ามัว/มองไม่ชัด แสบตา น�้าตาไหล ระคายเคืองตา คันตา ตาแดงกว่าปกติ สอดคล้องกับการศึกษาหลายการศึกษา(19,20) ซึ่งโทรศัพท์มือถือแบบสมาร์ตโฟนมีแสงสว่างเหมือนจอคอมพิวเตอร์เช่นกันหากใช้ติดต่อกันนานเกิน 2 ชั่วโมง ในหน้าจอมีความสว่างมากเกินไปและต้องใช้สายตาเพ่งมองระยะใกล้ที่จอตลอดเวลา จะส่งผลให้เกิดการล้าตามากกว่าปกติ การกระพริบของหน้าจอมีผลท�าให้ตาแห้ง ระคายเคืองง่าย และในงานวิจัยครั้งนี้ได้พบว่านิสิตส่วนใหญ่ (ร้อยละ84.6) ใช้งานมากกว่า3ชั่วโมงต่อวันจึงเป็นไปได้ที่จะส่งผลให้เกิดผลกระทบตั้งแต่ระคายเคืองตาและเพิ่มความรุนแรงมากขึ้นจนถึงการอักเสบของตา คันตาและตาแดงมากกว่าปกติทั้งนี้มีการศึกษาในผู ้ป่วย 1 รายที่มีอาการเข้าได้กับ Computer vision syndrome(CVS) พบว่าผู้มีอาการปวดเพ่งตาเวลาใช้งานโทรศัพท์มือถือสมาร์ตโฟนในระดับปานกลาง มีผลกระทบมองเห็นภาพระยะใกล้และไกลไม่ชัด ตาปรับความชัดของภาพลดลงดวงตาล้าน�้าตาไหล(20)

อีกทั้งพฤติกรรมการใช้สมาร์ตโฟนมีความสัมพันธ์กับอาการระบบประสาท ปวด

Page 12: ปัจจัยด้านการยศาสตร์และผล ...advisor.anamai.moph.go.th/download/Journal_health/2560/... · 2018-03-14 · 30. ตุลาคม

THAILAND JOURNAL OF HEALTH PROMOTION AND ENVIRONMENTAL HEALTH October - December 2017 41

ปัจจัยด้านการยศาสตร์และผลกระทบต่อสุขภาพจากพฤติกรรมการใช้สมาร์ตโฟนของนิสิตมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร

ศีรษะ เวียนศีรษะคลื่นไส้ ฉุนเฉียวง่ายนอนไม่หลับ อาเจียน เบื่ออาหาร ซึมเศร้า ทั้งนี้สมาคมโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม(10) ได้กล่าวว่าศีรษะจะเป็นบริเวณที่ได้รับคลื่นและเกิดความร้อนขึ้นมากที่สุด ดังนั้นเมื่อเกิดผลกระทบในระยะเฉียบพลันส่วนของศีรษะจึงเกิดอาการปวดและเวียนศีรษะได้ง่ายกว่าอาการอื่นๆ นอกจากการเพ่งมองหน้าจอจะเกิดผลกระทบต่อระบบประสาทแล้วยังพบว่าคลื่นที่ใช้รับ-ส่งสัญญาณยังมีผลกระทบได้เช่นกันสอดคล้องกับการศึกษาของจุติพร สุดศิริ(9) ได้ศึกษาเชิงทบทวนวรรณกรรม(Document research)พบว่าบุคคลที่อาศัยใกล้เสาส่งสัญญาณน้อยกว่า10เมตรจะมีความสัมพันธ์กับการเกิดอาการที่พบบ่อย ได้แก่ ฉุนเฉียวง่ายปวดหัวเบื่ออาหารนอนไม่หลับได้เช่นกัน ซึ่งข้อควรระวังที่วาสนา ฬาวิน และคณะ(20) ได้ให้ค�าแนะน�าป้องกันอาการปวดศีรษะของผู้ใช้ควรเลือกRefreshrateที่75เฮิรตซ์จะช่วยลดอาการกระตุกหรือสั่นของจอภาพในมือถือแบบสมาร์ตโฟนและจะช่วยลดผลกระทบต่อสุขภาพได้ ในอีกส ่วนหนึ่ งพฤติกรรมการเล ่น สมาร์ตโฟนมีความสัมพันธ์กับอาการทางระบบกระดูกและกล้ามเนื้ออาการปวดบริเวณคอข้อศอก/มือหลังส่วนล่างแขนสอดคล้องกับการศึกษาของวาสนา ฬาวินและคณะ(20) พบว่าร่างกายของผู้ป่วยCVSจะมีความรู้สึก ไม่สบายในขณะใช้งานโทรศัพท์ มีอาการปวดบริเวณคอ ไหล่ซ้ายขวา แขนและมือ ในการ ศึกษานี้ยังพบนิสิตที่ เล ่นสมาร ์ตโฟนด้วยการก้มล�าตัวมากกกว่า 60 องศาถึงร้อยละ 29.0 จึงเป็นไปได้ที่จะเกิดอาการปวดหลังส่วนล่างได้ ซึ่งสุนิสา ชายเกลี้ยงและคณะ(18) ได้ศึกษาในกลุ่มท�างานที่ใช้ท่านั่งเป็นประจ�า

พบว ่ามีอาการปวดหลังส ่วนล ่างร ้อยละ28.7 เช่นกัน ทั้งนี้อาจเนื่องจากการบาดเจ็บที่คอ ไหล่ หลังส่วนบนและล่างเป็นผล มาจากท่าทางในการใช้สมาร์ตโฟนมีการจ�ากัดการเคลื่อนที่ เกร็งเป็นเวลานานซึ่งมีผลต่อประสาทและกล้ามเนื้อส่วนบน รวมทั้งต้องนั่ง ในท่าเดียวร่วมกับโน้มตัวมาด้านหน้าและก้มหรือเงยศีรษะเพื่อใช้สายตาในการเพ่งมอง หน้าจอท�าให ้ เกิดอาการปวดคอและไหล่(myofascial pain syndrome) ลักษณะดังกล่าวท�าให้กล้ามเนื้อมีการออกแรงแบบหดตัวอยู ่กับที่ แรงดันในกล้ามเนื้อจะเพิ่มสูงขึ้น หลอดเลือดและเส้นประสาทภายในกล้ามเนื้อจะถูกกด เลือดไปเลี้ยงกล้ามเนื้อ ลดลงท�าให้เกิดอาการเจ็บ ปวดเมื่อย(21) ถ้ายังใช้สมาร์ตโฟนเป็นเวลานานต่อไปอาจจะเกิดการอักเสบของกล้ามเนื้อ เส้นเอ็นและข้อต่อมีอาการปวดบวมและมีเนื้อเยื่อพังผืดเกิดขึ้นได้(22) จากการศึกษาครั้งนี้ได้ข้อสรุปคือ นิสิตในมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานครส่วนใหญ่มีคะแนนพฤติกรรมการใช้สมาร์ตโฟนมากเกินกว่าร้อยละ 50 และมีท่าทางการ นั่งใช้สมาร์ตโฟนที่ไม่เหมาะสมโดยจะก้มล�าตัว มากกว่า60องศาและส่วนคอท�ามุมเงยส�าหรับผลกระทบต่อสุขภาพจากการใช้สมาร์ตโฟน จะเห็นความสัมพันธ์อย่างมีนัยส�าคัญทางสถิติกับ3ระบบของร่างกายจ�านวน18อาการได้แก่ตาพร่ามัว แสบตา น�้าตาไหล ระคายเคืองตาคันตาตาแดงกว่าปกติปวดศีรษะเวียนศีรษะคลื่นไส้ ฉุนเฉียวง่าย นอนไม่หลับ อาเจียนเบื่ออาหาร ซึมเศร้า มีอาการปวดบริเวณคอ มือ หลังส่วนล่าง และแขน จะเห็นได้ว่า ผลกระทบที่เกิดขึ้นจะแสดงในระยะเฉียบพลัน ในหลายอวัยวะ ดังนั้นข ้อเสนอแนะเพื่อ

Page 13: ปัจจัยด้านการยศาสตร์และผล ...advisor.anamai.moph.go.th/download/Journal_health/2560/... · 2018-03-14 · 30. ตุลาคม

ตุลาคม - ธันวาคม 2560 กรมอนามัย ส่งเสริมให้คนไทย สุุขภาพดี42

บ ท ว ิท ย า ก า ร

เอกสำรอำ้งอิง

1. อจัฉราไชยปูถมัภ์.เอกสารประกอบการสมัมนาเชงิปฏบิตักิารเรือ่งการพฒันาศกัยภาพอาจารย์ทีป่รกึษาก้าวทนัเดก็ ยุคใหม่;วันที่16ธันวาคม2557;ณมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา.กรุงเทพมหานคร;25572. มนัสนันท์ หัตถศักดิ์. การสร้างความรู้ความเข้าใจกระบวนการเรียนการสอน. คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์;25573. Törőcsik M, Szűcs K, Kehl D. How generations think: research on Generation Z. ActaUniversitatis Sapientiae,Communicatio2014;1:23–454. ส�านักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน). รายงานผลการส�ารวจพฤติกรรมผู้ใช้อินเตอร์เน็ตใน ประเทศไทยปี2557.กระทวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร;25575. ภานวุฒัน์กองราช.การศกึษาพฤตกิรรมการใช้เครอืข่ายสงัคมออนไลน์ของวยัรุน่ในประเทศไทย:กรณศีกึษาFacebook. (วทิยานพินธ์วทิยาศาสตรมหาบณัฑติสาขาการบรกิารเทคโนโลย)ี.วทิยาลยันวตักรรม.ปทมุธาน:ีมหาวทิยาลยั ธรรมศาสตร์;25546. เสาวภาประพนัธ์วงศ์และสนุษิาขนันุย้.การพฒันาห้องสมดุในยคุสงัคมก้มหน้า.สรปุรายงานการประชมุใหญ่ประจ�าปี 2556และการประชุมวิชาการ;วันที่19-21มีนาคม2557;ณโรงแรมแอมบาสซาเดอร์.กรุงเทพมหานคร; 25577. FishmanD.TextNeck:Stats&Facts.TheTextNeck™Institute.[internet].[cited2014Jan21].Available from:http://text-neck.com/custom_content/c_119459_text_neckstats__facts.

ลดอาการทางสุขภาพ คือ 1) ข้อเสนอแนะส�าหรับการปฏิบัติ นิสิตควรจ�ากัดระยะเวลาเวลาการใช้สมาร์ตโฟน เลือกสมาร์ตโฟนที่มีขนาดหน้าจอปกติ เพราะจากการศึกษาจะพบว่าขนาดหน้าจอมีความสัมพันธ์กับการใช้ สมาร์ตโฟน ควรจัดท่านั่งที่ถูกต้องให้เคยชินเป็นนิสัยนั่งให้ล�าตัวตรงการก้มไปข้างหน้าจะเพิ่มโอกาสความเสี่ยงต่อภาระการท�างานของระบบกระดูกและกล้ามเนื้อส่วนหลัง ในส่วน ศี รษะควรท�ามุมประมาณ 0-10 องศา 2) ข ้อเสนอแนะหน ่วยงานการศึกษาที่เกี่ยวข้องควรกระตุ้นเตือนสอดแทรกเนื้อหาสอนในชั้นเรียน และควรรณรงค์ถึงผลกระทบต่อสุขภาพให้นิสิตได้มีความรู้เพิ่มขึ้นรวมถึงก�าหนดข้อตกลงการจ�ากัดการใช้สมาร์ตโฟน3) ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายสนับสนุนการจัดพื้นที่ใช้สมาร์ตโฟนในสถานศึกษาให้เหมาะสมเพื่อกระตุ ้นให้ลดการใช้สมารต์โฟนและเป็นการสร้างจิตสาธารณะต่อส่วนรวม เพราะ

จากการสังเกตนิสิตที่ใช้สมาร์ตโฟนจะใช้ในพื้นที่ที่ต้องใช้ประโยชน์ร่วมกัน เช่นห้องสมุดหน้าชั้นระเบียงทางเดิน หรือโต๊ะเก้าอี้ส�าหรับอ่านหนังสือสาธารณะ เป็นต้น โดยไม่สนใจ สิ่งแวดล้อมรอบข้าง อย ่างไรก็ตามการศึกษาครั้ งนี้ยั งม ีข้อจ�ากัดของการศึกษาถึงผลกระทบในระยะเฉียบพลัน ทั้งนี้ผู ้วิจัยได ้ใช ้การสอบถามส�ารวจโดยให้เลือกตอบด้วยตนเองในบางครั้งผู้ตอบอาจจะเกิดอคติ(Bias)กับการใช้จึงอาจเกิดความคลาดเคลื่อนของการตอบได้ ในครั้งถัดไปควรมีการน�าผลทางสุขภาพของสถานพยาบาลในสถานศึกษา และควรใช้เครื่องมือวิทยาศาสตร์มาพิจารณาร่วมด้วย อีกทั้งการศึกษาครั้งต่อไปควรคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างในหลากหลายขนาดสถานศึกษาในช่วงวัยเรียนเดียวกัน เพื่อจะเป็นการอ้างอิงและน�าไปใช้ประโยชน์ได้กว้างมากยิ่งขึ้น

Page 14: ปัจจัยด้านการยศาสตร์และผล ...advisor.anamai.moph.go.th/download/Journal_health/2560/... · 2018-03-14 · 30. ตุลาคม

THAILAND JOURNAL OF HEALTH PROMOTION AND ENVIRONMENTAL HEALTH October - December 2017 43

ปัจจัยด้านการยศาสตร์และผลกระทบต่อสุขภาพจากพฤติกรรมการใช้สมาร์ตโฟนของนิสิตมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร

H E A L T H

8. นริศกิจนรงค์.อยากเห็นคนไทยสุขภาพตาดี.หนังสือพิมพ์โพสต์ทูเดย์.[อินเตอร์เน็ต].[เข้าถึงเมื่อ15ตุลาคม2557]. เข้าถึงได้จาก:http://www.posttoday.com/ent/celeb/3225749. จุติพรสุดศิริ.ผลกระทบของคลื่นโทรศัพท์ต่อสุขภาพมนุษย์.สงขลานครินทร์2554;29(4):183-9310.สมาคมโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม.Healtheffectofextremely lowelectromagnetic field (ELF-EMF).[อินเตอร์เน็ต].[เข้าถึงเมื่อ12ตุลาคม2558].เข้าถึงได้จาก:http://www.anamai.moph.go.th/ occmed/indexarticle_elf_emf.htm11.วงหทัยตันชีวะวงศ์.ปัจจัยที่มีผลต่อการใช้สมาร์ตโฟนและแท็บเล็ต.คณะวารสารและสื่อสารมวลชน.มหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์;255512.ธมนวรรณกญัญาหตัถ์และศรณัยพงศ์เทีย่งธรรม.ความพงึพอใจของผูบ้รโิภคในเขตกรงุเทพมหานครทีม่ต่ีอประโยชน์ ของสมาร์ตโฟน.รายงานการประชุมวิชาการมหาวิทยาลัยกรุงเทพ;2554.หน้า327-3913.ปรัตถกร เป้รอด.ปัจจัยของส่วนประสมทางการตลาดในการตัดสินใจซื้อโทรศัพท์มือถือSmartphoneของผู้บริโภค ในเขตเทศบาลเมอืงจงัหวดัพษิณโุลก.(บรหิารธรุกจิมหาบณัฑติสาขาวชิาการบรหิารธรุกจิ).คณะบรหิารธรุกจิ เศรษฐศาสตร์และการสื่อสาร.พิษณุโลก:มหาวิทยาลัยนเรศวร;255514.RomaldWM.Illustratededition:Marktingresearch;1984.p.13115.พชิญ์เพชรค�า.พฤตกิรรมการใช้โทรศพัท์สมาร์ตโฟนของวยัรุน่ไทยทีม่ผีลกระทบด้านลบต่อตนเองและสงัคม.บทความ วิชาการหลักสูตรนิเทศศาสตรมหาบัณฑิต:มหาวิทยาลัยศรีปทุม;2557.หน้า1-1016. เจตน์สฤษฏิ์สังขพันธ์เก็ตถวาบุญปราการและชุติมาหวังเบ็ญหมัด.ผลกระทบการใช้โปรแกรมสนทนาออนไลน ์ ในการด�าเนินชีวิตของนักศึกษามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.การประชุมหาดใหญ่วิชาการครั้งที่4วันที่10 พฤษภาคม2556;2556หน้า168-7817.ปรัชญา หินศรีสุวรรณ. รูปแบบการด�าเนินชีวิตและพฤติกรรมการใช้งานเครือข่ายสังคมออนไลน์ของนักศึกษา มหาวทิยาลยัเชยีงใหม่.(วทิยาศาสตรมหาบณัฑติสาขาเทคโนโลยสีารสนเทศและการจดัการ).บณัฑติวทิยาลยั. เชียงใหม่:มหาวิทยาลัยเชียงใหม่;255518.สนุสิาชายเกลีย้งและธญัญาวฒัน์หอมสมบตั.ิการประเมนิความเสีย่งทางการยศาสตร์การท�างานโดยมาตรฐานRULA ในกลุ่มแรงงานท�าไม้กวาดร่มสุข.ศรีนครินทร์เวชศาสตร์2554;26(1):35-4019.สินี กิตติขนม์วรกุล. พฤติกรรมการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ของนักเรียนในจังหวัดสงขลา. การประชุมวิชาการ ระดบัชาตธิรุกจิและเศรษฐศาสตร์ครัง้ที่2;วนัที่16กรกฎาคม2558;คณะบรหิารธรุกจิมหาวทิยาลยัหาดใหญ่. สงขลา;255820.วาสนาฬาวิน,สสิธรเทพตระการพรและสันทณีเครือขอน.คอมพิวเตอร์วิชั่นซินโดรม:กรณีศึกษาในเด็ก1ราย. ธรรมศาสตร์เวชศาสตร์2558;15(1):136-4221.ฐิติชญาฉลาดล้นและพิมพ์ลดาอนันต์สิริเกษม.การบาดเจ็บทางระบบโครงสร้างและกล้ามเนื้อที่เกี่ยวเนื่องจากการ ท�างานและพฤติกรรมการท�างานที่ไม่ปลอดภัยของพนักงานศูนย์บริการให้ข้อมูล.วารสารพยาบาลกระทรวง สาธารณสุข2557;23:44-5922.VitullKG,AroraS,GuptaM.Computer-relatedIllnessesandfacebooksyndrome:Whataretheyand Howdowetacklethem?[internet].[cited2014Jan25].Availablefrom:http://www.apimalwa.com/ PublicForum/chap152%20computer%20illnesses.pdf.