88
มสธ มสธ มสธ มสธ มสธ มสธ มสธ มสธ มสธ มสธ 4-1 หน่วยที4 แนวคิดการพัฒนาเศรษฐกิจ รองศาสตราจารย์ ดร.อนุชา ภูริพันธุ์ภิญโญ ชื่อ รองศาสตราจารย์ ดร.อนุชา ภูริพันธุ์ภิญโญ วุฒิ M.Sc. (Economics), JON M. HUNTSMAN School of Business, Ph.D. (Economics) Oklahoma State University. U.S.A. ตำแหน่ง รองศาสตราจารย์ประจำสาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมธิราช หน่วยที่เขียน หน่วยที ่4

แนวคิดการพัฒนาเศรษฐกิจagri.stou.ac.th/UploadedFile/91721-4.pdf · เค้าโครงเนื้อหา ตอนที่4.1 การ

  • Upload
    others

  • View
    10

  • Download
    0

Embed Size (px)

Citation preview

Page 1: แนวคิดการพัฒนาเศรษฐกิจagri.stou.ac.th/UploadedFile/91721-4.pdf · เค้าโครงเนื้อหา ตอนที่4.1 การ

มสธ มสธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ

4-1แนวคิดการพัฒนาเศรษฐกิจ

หน่วย ที่ 4

แนวคิด การ พัฒนา เศรษฐกิจ

รอง ศาสตราจารย์ ดร.อนุชา ภูริ พันธุ์ ภิญโญ

ชื่อ รองศาสตราจารย์ดร.อนุชา ภูริพันธุ์ภิญโญ

วุฒิ M.Sc.(Economics),JONM.HUNTSMANSchoolofBusiness,

Ph.D.(Economics)OklahomaStateUniversity.U.S.A.

ตำแหน่ง รองศาสตราจารย์ประจำสาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์

มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมธิราช

หน่วย ที่ เขียน หน่วยที่4

Page 2: แนวคิดการพัฒนาเศรษฐกิจagri.stou.ac.th/UploadedFile/91721-4.pdf · เค้าโครงเนื้อหา ตอนที่4.1 การ

มสธ มสธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ

4-2 สังคมไทยกับการบริหารการส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร

หน่วย ที่ 4

แนวคิด การ พัฒนา เศรษฐกิจ

เค้าโครง เนื้อหาตอนที่4.1 การพัฒนาเศรษฐกิจ

4.1.1ความหมายและความสำคัญของการพัฒนาเศรษฐกิจ

4.1.2ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาเศรษฐกิจ

4.1.3ทฤษฎีการพัฒนาเศรษฐกิจ

ตอนที่4.2 การพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศไทย

4.2.1วิวัฒนาการของการพัฒนาเศรษฐกิจ

4.2.2แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

4.2.3บทบาทของภาครัฐและภาคเอกชนในการพัฒนาเศรษฐกิจ

ตอนที่4.3 การพัฒนาเศรษฐกิจของโลก

4.3.1การพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศพัฒนา

4.3.2การพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศกำลังพัฒนา

4.3.3แนวโน้มการพัฒนาเศรษฐกิจของโลก

แนวคิด1. การพัฒนาเศรษฐกิจคือความสามารถของประเทศในการที่จะสร้างหรือรักษาอัตราเติบโต

ทางเศรษฐกิจในรูปแบบการวัดผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการ

พัฒนาเศรษฐกิจสามารถแบ่งได้เป็น2ปัจจัยหลักได้แก่ปัจจัยทางเศรษฐกิจและปัจจัยที่

ไม่ใช่ทางเศรษฐกิจโดยปัจจัยทางเศรษฐกิจได้แก่ทรัพยากรมนุษย์ทรัพยากรธรรมชาติ

การสะสมทุน ผู้ประกอบการ และเทคโนโลยี ส่วนปัจจัยที่ไม่ใช่ทางเศรษฐกิจ ได้แก่

คา่นยิมและสถาบนัทางสงัคมระบบการเมอืงและการปกครองทฤษฎีการพฒันาเศรษฐกจิ

ไดแ้ก่ทฤษฎีของกลุม่คลาสสกิทฤษฎีของคารล์มาร์กซ์ทฤษฎีของกลุม่นีโอคลาสสกิทฤษฎี

ของชุมปีเตอร์ ทฤษฎีของเคนส์ ทฤษฎีของรอสโทว์ ทฤษฎีความจำเริญแบบสมดุลและ

ไม่สมดุลทฤษฎีการพัฒนาเศรษฐกิจระหว่างสาขาการผลิตทฤษฎีการพัฒนาที่เน้นความ

สำคัญด้านการค้าส่งออกทฤษฎีการพัฒนาเน้นความสำคัญด้านการทดแทนการนำเข้า

แนวคิดการพัฒนาแบบยั่งยืนและแนวคิดการพัฒนาแบบเศรษฐกิจพอเพียง

Page 3: แนวคิดการพัฒนาเศรษฐกิจagri.stou.ac.th/UploadedFile/91721-4.pdf · เค้าโครงเนื้อหา ตอนที่4.1 การ

มสธ มสธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ

4-3แนวคิดการพัฒนาเศรษฐกิจ

2. วิวัฒนาการของการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศไทย เริ่มจากการที่รัฐบาลออกพระราช-

บัญญัติสภาเศรษฐกิจพ.ศ.2493ทำให้มีแนวโน้มการพัฒนาเศรษฐกิจของไทยโดยผ่าน

แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเริ่มจากแผนพัฒนาฯฉบับที่1เมื่อพ.ศ.2504

ซึ่งเป็นการวางแผนจากส่วนกลางหรือจากบนลงล่าง เป็นแผนที่ได้รับแนวคิดด้านทฤษฎี

ความเจริญเติบโต

3. บทบาทของรัฐในการพัฒนาเศรษฐกิจ ได้แก่ การชี้นำ การส่งเสริมและช่วยเหลือ

ภาคเอกชนการจดัให้มีสนิคา้สาธารณะและโครงสรา้งขัน้พืน้ฐานการปรบัปรงุการกระจาย

รายได้การรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจและการชี้นำการพัฒนาประเทศ

4. การพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศพัฒนาเป็นการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศในระดับสูง

โดยให้สิทธิเสรีภาพแก่ประชาชนทุกคนให้มีอิสระเสรีภาพและมีสุขอนามัยที่ดี อาศัยใน

สภาพแวดล้อมที่ปลอดภัยส่วนประเทศกำลังพัฒนาเป็นการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ

ที่มีมาตรฐานการดำรงชีวิตปานกลางถึงต่ำและพื้นฐานอุตสาหกรรมยังไม่พัฒนาแนวโน้ม

การพัฒนาเศรษฐกิจของโลกสามารถแบ่งออกได้ในทวีปต่าง ๆ ได้แก่ อเมริกาและ

ยุโรปกลุ่มประเทศอเมริกาใต้ประเทศในทวีปแอฟริกาประเทศในกลุ่มอาหรับประเทศ

เศรษฐกิจหลักในเอเชียเป็นต้น

วัตถุประสงค์เมื่อศึกษาหน่วยที่4จบแล้วนักศึกษาสามารถ

1.อธิบายความหมายและความสำคัญของการพัฒนาเศรษฐกิจได้

2.บอกถึงแนวคิดทฤษฎีการพัฒนาเศรษฐกิจได้

3.อธิบายถึงการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศไทยได้

4.อธิบายถึงการพัฒนาเศรษฐกิจของโลกได้

Page 4: แนวคิดการพัฒนาเศรษฐกิจagri.stou.ac.th/UploadedFile/91721-4.pdf · เค้าโครงเนื้อหา ตอนที่4.1 การ

มสธ มสธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ

4-4 สังคมไทยกับการบริหารการส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร

ตอน ที่ 4.1

การ พัฒนา เศรษฐกิจ

โปรดอ่านแผนการสอนประจำตอนที่4.1แล้วจึงศึกษาเนื้อหาสาระพร้อมปฏิบัติกิจกรรมในแต่ละตอน

หัว เรื่องเรื่องที่4.1.1ความหมายและความสำคัญของการพัฒนาเศรษฐกิจ

เรื่องที่4.1.2ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาเศรษฐกิจ

เรื่องที่4.1.3ทฤษฎีการพัฒนาเศรษฐกิจ

แนวคิด1. การพัฒนาเศรษฐกิจเป็นความสามารถของประเทศในการที่จะสร้างหรือรักษาอัตราเติบโต

ทางเศรษฐกิจในรูปแบบการวัดผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศรวมกระทั่งถึงฐานะความ

เป็นอยู่ของประชาชนในประเทศที่ดีขึ้นคุณภาพชีวิตของประชาชนดีขึ้นตลอดทั้งคุณภาพ

ของทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมในประเทศดีขึ้น

2. ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาเศรษฐกิจสามารถแบ่งได้เป็น2ปัจจัยหลักได้แก่ปัจจัย

ทางเศรษฐกิจและปัจจัยที่ไม่ใช่ทางเศรษฐกิจ

3. ทฤษฎีวา่ดว้ยการพฒันาการเศรษฐกจิจากอดตีถงึปจัจบุนัประกอบไปดว้ยทฤษฎีสำคญัๆ

หลายทฤษฎีได้แก่ทฤษฎีคาร์ลมาร์กซ์ทฤษฎีของเคนส์ทฤษฎีของรอสโทว์

วัตถุประสงค์เมื่อศึกษาหน่วยที่4.1จบแล้วนักศึกษาสามารถ

1. อธิบายความหมายและความสำคัญของการพัฒนาเศรษฐกิจได้

2. อธิบายปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาเศรษฐกิจได้

3. อธิบายทฤษฎีการพัฒนาเศรษฐกิจได้

Page 5: แนวคิดการพัฒนาเศรษฐกิจagri.stou.ac.th/UploadedFile/91721-4.pdf · เค้าโครงเนื้อหา ตอนที่4.1 การ

มสธ มสธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ

4-5แนวคิดการพัฒนาเศรษฐกิจ

เรื่อง ที่ 4.1.1 ความ หมาย และ ความ สำคัญ ของ การ พัฒนา เศรษฐกิจ

ความ หมาย ของ การ พัฒนา เศรษฐกิจ การพัฒนาเศรษฐกิจตรงกับคำในภาษาอังกฤษคือ EconomicDevelopment เป็นกระบวนการ

ที่ทำให้ผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติที่แท้จริงต่อหัวของประชาชนในประเทศเพิ่มขึ้นในระยะยาวทั้งนี้การ

กระจายรายได้ของประชาชนในประเทศจะต้องไม่ด้อยหรือเลวลงไปกว่าเดิมนอกจากนี้การพัฒนาเศรษฐกิจ

ยังเป็นกระบวนการของการพัฒนาความเจริญเติบโตและการเปลี่ยนแปลงโดยมีจุดประสงค์มุ่งเน้นการเพิ่ม

มาตรฐานการครองชีพของประชาชนในประเทศนอกจากนี้ยังรวมไปถึงการเปลี่ยนแปลงในโครงสร้างของ

ระบบเศรษฐกิจ

ในสาขาวิชาเศรษฐศาสตร์พัฒนาการให้ความหมายของการพัฒนาเศรษฐกิจใน2ช่วงเวลากล่าวคือ

ในช่วงเวลาค.ศ. 1950ถึง 1960และในยุคหลังจากปีค.ศ. 1960มาถึงปัจจุบัน โดยในที่นี้ความหมายใน

ปีค.ศ.1950ถึง1960นักเศรษฐศาสตร์ เรียกว่า เป็นความหมายแบบดั้งเดิมและหลังปีค.ศ.1960เป็น

ความหมายสมัยใหม่

การพัฒนาเศรษฐกิจในความหมายแบบดั้งเดิมนั้น หมายถึง ความสามารถของประเทศในการที่

จะสร้างหรือรักษาอัตราการเติบโตของเศรษฐกิจในรูปแบบการวัดผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศ (Gross

Domestic Product:GDP) อันเป็นการวัดมูลค่าของผลผลิตทั้งประเทศที่ผลิตขึ้นในประเทศหนึ่งในรอบ

ระยะเวลา1ปีซึ่งมีอัตราการเติบโตอย่างน้อยร้อยละ5-7หรือการวัดผลิตภัณฑ์มวลรวมที่แท้จริงต่อหัวของ

ประชากร(RealGDPperHeadหรือGDP/Population) ทั้งนี้แนวคิดแบบดั้งเดิมนี้จะมุ่งเน้นการขยาย

ตัวของผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศเป็นประเด็นสำคัญนั่นคือ การขยายผลผลิตมวลรวมในประเทศ

มากกว่าอัตราการขยายตัวของประชากร เพื่อให้สัดส่วนผลิตภัณฑ์มวลรวมที่แท้จริงต่อหัวของประชากร

สูงขึ้นนั่นเอง โดยแนวคิดนี้มีความเชื่อว่า เมื่อใดก็ตาม สัดส่วนผลิตภัณฑ์มวลรวมที่แท้จริงต่อหัวของ

ประชากรสูงขึ้นจะทำให้การกินดีอยู่ดีเกิดขึ้นในระบบเศรษฐกิจจากแนวคิดนี้การพัฒนาเศรษฐกิจจะมุ่งเน้น

ไปยังการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างการผลิตจากการผลิตในภาคเกษตรให้ลดลง และขยายการผลิตไปยัง

ภาคอุตสาหกรรมหรือภาคอื่นๆที่ไม่ใช่ภาคเกษตร โดยเชื่อว่าการขยายการผลิตไปยังภาคอุตสาหกรรมจะ

ก่อให้เกิดการจ้างแรงงานที่เพิ่มมากขึ้นและมีมูลค่าการผลิตจากภาคอุตสาหกรรมมากกว่าภาคเกษตรทำให้

ผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศขยายตัวในที่สุดดังนั้นในความหมายของการพัฒนาเศรษฐกิจแบบดั้งเดิม

จึงเป็นการสร้างงานการสร้างรายได้และการกระจายรายได้เป็นประการสำคัญ

การพัฒนาเศรษฐกิจตามแนวคิดสมัยใหม่หลังยุคค.ศ.1960เริ่มต้นมาจากการที่นักเศรษฐศาสตร์

สังเกตว่า ในบางประเทศผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศเพิ่มขึ้นตามเป้าหมาย แต่ทำไมระดับการครองชีพ

ของประชาชนและมาตรฐานความเป็นอยู่ของประชาชนจึงไม่ดีขึ้น ดังนั้น จึงไม่ใช้เกณฑ์การวัดการพัฒนา

เศรษฐกิจโดยพิจารณาผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศเพียงอย่างเดียว แต่พิจารณาปัจจัยอื่นประกอบด้วย

Page 6: แนวคิดการพัฒนาเศรษฐกิจagri.stou.ac.th/UploadedFile/91721-4.pdf · เค้าโครงเนื้อหา ตอนที่4.1 การ

มสธ มสธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ

4-6 สังคมไทยกับการบริหารการส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร

เช่นการครองชีพความเหลื่อมล้ำในด้านรายได้และอัตราการว่างงาน นอกจากนี้ยังรวมไปถึงคุณภาพชีวิต

ที่ดีกว่าเดิมเช่นช่วงอายุขัยของประชากรที่ยืนยาวมากขึ้นและมีความสุขการมีสิทธิและเสรีภาพในการดำรง

ชีวิต การได้รับการศึกษาที่ดีและเท่าเทียมเสมอภาคในโอกาสทางการศึกษา การสาธารณสุข ความสะดวก

ของชุมชนสาธารณูปโภค รวมทั้งมีภาวะโภชนาการที่ดี ความหมายโดยรวมของการพัฒนาเศรษฐกิจ ตาม

แนวคิดสมัยใหม่หลังยุคค.ศ.1960นี้คือความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ(economicgrowth)พร้อมกับ

การเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นนั่นเอง

ความ สำคัญ ของ การ พัฒนา เศรษฐกิจเมื่อทราบถึงความหมายของการพัฒนาเศรษฐกิจแล้ว หากพิจารณาถึงความสำคัญของการพัฒนา

เศรษฐกิจจะสามารถอธิบายแยกเป็นประเด็นย่อยดังนี้

1. ช่วยปรับปรุงและยกระดับมาตรฐานการครองชีพของประชาชนในประเทศให้ดีขึ้น นัก

เศรษฐศาสตร์เชื่อว่าประชาชนในประเทศมีรายได้ที่สูงขึ้นมีกำลังในการจับจ่ายใช้สอยเครื่องอุปโภคบริโภค

และสาธารณูปโภคอื่นๆ ที่ตนเองต้องการมีสิ่งอำนวยความสะดวกในการดำรงชีวิตและในการใช้ชีวิตประจำ

วันรวมทั้งความเป็นอยู่ในเรื่องที่อยู่อาศัยยารักษาโรคอาหารการศึกษาสิทธิเสรีภาพด้านต่างๆทำให้เกิด

การยกระดับมาตรฐานการครองชีพจากการที่ประชาชนในประเทศมีรายได้ที่เพิ่มขึ้นนั่นเอง

2. เป็นหนทางทำให้ประเทศสามารถพึ่งพาตนเองได้ทั้งด้านเศรษฐกิจและการเมือง จะเห็นได้ว่า

ความมั่นคงทางเศรษฐกิจจะทำให้ประเทศมีเงินทุนอย่างเพียงพอ ในการนำไปเป็นงบประมาณรายจ่ายของ

ภาครัฐในเรื่องการศึกษาการสาธารณสุขสาธารณูปโภคถนนหนทางนอกจากนี้เมื่อประเทศมีความมั่นคง

ทางเศรษฐกิจแล้วประเทศสามารถพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตสินค้าเพื่อการส่งออกได้

3. ก่อให้เกิดความช่วยเหลือซึ่งกันและกันของประเทศต่าง ๆ เพื่อพัฒนาให้เศรษฐกิจโลกเจริญ

ก้าวหน้าและเติบโตยิ่งขึ้น จะเห็นได้จากปรากฏการณ์ที่ประเทศพัฒนาช่วยเหลือพัฒนาเศรษฐกิจประเทศ

ที่ด้อยพัฒนา เช่น ประเทศสหรัฐอเมริกาช่วยเหลือประเทศยากจนด้อยพัฒนาในทวีปอาฟริกา ในรูปแบบ

ความช่วยเหลือด้านเศรษฐกิจการสนับสนุนด้านการให้ทุนหรือให้ประเทศด้อยพัฒนากู้ยืมไปลงทุนในด้าน

สาธารณูปโภคการศึกษาโครงสร้างพื้นฐานรวมทั้งสาธารณสุขเงินทุนดังกล่าวมีทั้งรูปแบบการให้กู้ยืมหรือ

เงินให้เปล่า เพื่อนำไปลงทุนในการพัฒนาประเทศผลคือ ประเทศด้อยพัฒนาที่ได้รับความช่วยเหลือทาง

เศรษฐกิจจะก่อให้เกิดการพัฒนาเศรษฐกิจในประเทศมากยิ่งขึ้นส่งผลให้การพัฒนาเศรษฐกิจโลกโดยภาพ

รวมดีขึ้น

นอกจากประเทศสหรัฐอเมริกาจะให้ความช่วยเหลือประเทศในทวีปอาฟริกาแล้ว สหรัฐอเมริกา

ยังเคยให้ความช่วยเหลือประเทศไทยในอดีตในรูปแบบต่าง ๆ จากโครงการความช่วยเหลือของประเทศ

สหรัฐอเมริกา(USAIDที่เรียกแบบชาวบ้านทั่วไปว่ายู-เสดที่จริงแล้วต้องอ่านว่า US-AIDยูเอส-เอไอดี)

นั่นคือการช่วยเหลือจากรัฐบาลอเมริกา (USAID) ช่วยในการพัฒนาเศรษฐกิจไทยในด้านสาธารณูปโภค

ขั้นพื้นฐานสาธารณสุขการแพทย์ โภชนาการชุมชนรวมทั้งการศึกษา โดยการให้ทุนการศึกษาส่งนักเรียน

ขา้ราชการไปศกึษาวชิาการแขนงตา่งๆ ในมหาวทิยาลยัของประเทศสหรฐัอเมรกิาเมือ่นำความรู้กลบัมาพฒันา

Page 7: แนวคิดการพัฒนาเศรษฐกิจagri.stou.ac.th/UploadedFile/91721-4.pdf · เค้าโครงเนื้อหา ตอนที่4.1 การ

มสธ มสธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ

4-7แนวคิดการพัฒนาเศรษฐกิจ

ประเทศไทยนอกจากนี้สหรัฐอเมริกายังส่งผู้เชี่ยวชาญมาให้ความช่วยเหลือแก่ธนาคารแห่งประเทศไทย

การให้กู้ยืมเงินทุนดอกเบี้ยต่ำเพื่อนำไปลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน และสาธารณูปโภคในประเทศไทยหรือ

ในบางครั้งสหรัฐอเมริกายังให้ความช่วยเหลือประเทศไทยแบบเงินให้เปล่าในการสร้างสาธารณูปโภคและ

การคมนาคมขนส่ง เช่น การก่อสร้างถนนมิตรภาพในประเทศไทย เป็นต้น อย่างไรก็ตาม โครงการความ

ช่วยเหลือดังกล่าว เสร็จสิ้นไปแล้ว เนื่องจากประเทศไทยในปัจจุบันสามารถพึ่งพาตนเองได้แล้วในการ

พัฒนาเศรษฐกิจ

ประเทศพัฒนาและเจริญแล้วที่มีโครงการให้ความช่วยเหลือทางเศรษฐกิจแก่ประเทศด้อยพัฒนา

อื่น ๆคล้ายกับประเทศสหรัฐอเมริกา เช่นประเทศอังกฤษ เยอรมนี ฝรั่งเศส รวมถึงประเทศญี่ปุ่น ทำให้

การพัฒนาเศรษฐกิจโลกโดยรวมพัฒนาไปในทางดีขึ้น

เรื่อง ที่ 4.1.2 ปัจจัย ที่ เกี่ยวข้อง กับ การ พัฒนา เศรษฐกิจ

ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาเศรษฐกิจสามารถแบ่งได้เป็น2ประเภทดังนี้

1. ปัจจัยทางเศรษฐกิจหมายถึง ปัจจัยที่มีผลหรือมีพลังต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ โดยสามารถมี

ผลทำให้อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจเพิ่มขึ้นหรือลดลงได้จากสาเหตุของการเปลี่ยนแปลงปัจจัยเหล่านี้

อันได้แก่

1.1 ทรัพยากรมนุษย์(humancapital)หรือในภาษาของนักเศรษฐศาสตร์มักเรียกอีกชื่อหนึ่ง

ว่าทุนมนุษย์ทรัพยากรมนุษย์เป็นปัจจัยสำคัญปัจจัยหนึ่งในการพัฒนาเศรษฐกิจการพัฒนาเศรษฐกิจจะขึ้น

กับขนาดของประชากรหรือจำนวนประชากรในประเทศนั้นๆ เพราะถือว่าเป็นแรงงานในการพัฒนาประเทศ

นอกจากนี้ยังขึ้นอยู่กับคุณภาพและประสิทธิภาพของประชากรในประเทศทรัพยากรมนุษย์นับเป็นปัจจัยที่มี

คุณค่าในการพัฒนาเศรษฐกิจเนื่องจากเป็นแรงงานจะเห็นได้ว่าแม้ความก้าวหน้าในเทคโนโลยีได้ก้าวหน้าไป

มากเพียงใดก็ตามแต่งานบางอย่างบางประเภทจำเป็นต้องใช้แรงงานมนุษย์ ตัวอย่าง เครื่องจักรในโรงงาน

อุตสาหกรรมมีความจำเป็นที่จะต้องใช้มนุษย์เป็นผู้ควบคุมการทำงานของเครื่องจักร เครื่องจักรจะทำงาน

เองไม่ได้ เครื่องบินโดยสารต้องอาศัยมนุษย์เป็นนักบินโดยที่เครื่องบินไม่สามารถบินเองได้ถ้าไม่มีมนุษย์

ดังนั้นทรัพยากรมนุษย์จึงมีความจำเป็นต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ การปรับปรุงคุณภาพของประชากรมนุษย์

และเพิ่มพูนประสิทธิภาพและสมรรถนะของทรัพยากรมนุษย์จึงมีความจำเป็นเพื่อให้ทรัพยากรมนุษย์มี

คุณภาพดีขึ้น ซึ่งสามารถกระทำได้โดยการศึกษา การฝึกอบรมการฝึกฝน ในองค์ความรู้ และทักษะการ

ทำงานในด้านต่างๆ เพื่อให้เกิดความเชี่ยวชาญและความชำนาญในเรื่องฝีมือแรงงานนอกจากนี้ยังรวมไป

ถึงการให้การสนับสนุนส่งเสริมทางด้านสาธารณสุขสุขอนามัยความเป็นอยู่การครองชีพเพื่อให้ทรัพยากร

มนุษย์มีประสิทธิภาพมากขึ้น

Page 8: แนวคิดการพัฒนาเศรษฐกิจagri.stou.ac.th/UploadedFile/91721-4.pdf · เค้าโครงเนื้อหา ตอนที่4.1 การ

มสธ มสธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ

4-8 สังคมไทยกับการบริหารการส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร

1.2ทรัพยากรธรรมชาติ (natural resource) ในทางเศรษฐศาสตร์จะหมายรวมถึงทรัพยากร

ธรรมชาติทุกชนิดทั้งในดินใต้ดินใต้น้ำและบนชั้นบรรยากาศในโลกมนุษย์ยกตัวอย่างทรัพยากรน้ำมัน

ป่าไม้ แร่ธาตุถ่านหิน เงินดีบุกทองแดงทองคำอากาศแสงแดดลมและปริมาณลมน้ำน้ำพุร้อนแสง

อาทติย์ทรพัยากรในพืน้ทะเลและมหาสมทุรที่กลา่วมาทัง้หมดลว้นแลว้แต่เปน็ปจัจยัในการพฒันาเศรษฐกจิ

ทั้งสิ้น และยังมีทรัพยากรธรรมชาติอื่น ๆ อีกที่ไม่ได้กล่าวถึงในเรื่องนี้อีกมากมาย ในทางเศรษฐศาสตร์จะ

เห็นได้ว่า ทรัพยากรธรรมชาติจะมีคุณค่าก็ต่อเมื่อมนุษย์นำทรัพยากรธรรมชาตินั้น ๆมาใช้และก่อให้เกิด

ประโยชน์เชน่การขดุนำ้มนัขึน้มาใช้เปน็ตน้ทรัพยากรธรรมชาติในโลกนี้จงึมีทัง้นำมาใช้และยงัไม่ได้นำมาใช้

“ความอุดมสมบูรณ์”ของทรัพยากรธรรมชาติจะก่อให้เกิดการพัฒนาเศรษฐกิจได้อย่างรวดเร็วและเป็นไป

ในทางที่ดีประเทศที่ขาดแคลนทรัพยากรธรรมชาติจะก่อให้เกิดความยากลำบากในการพัฒนาเศรษฐกิจของ

ประเทศประเทศที่มีความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติมากจะนำทรัพยากรธรรมชาติเหล่านี้ไปใช้ใน

การพัฒนาประเทศและตอบสนองความต้องการในการผลิตสินค้าเพื่อใช้ในประเทศและส่งออกไปจำหน่ายใน

ต่างประเทศโดยนำทรัพยากรที่มีอยู่เหล่านั้นมาเป็นวัตถุดิบในอุตสาหกรรมสร้างงานสร้างรายได้และสร้าง

อาชีพแก่ประชาชนในประเทศทำให้ผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศเติบโตขึ้นได้อย่างรวดเร็ว

ทรัพยากรต่อการพัฒนาเศรษฐกิจนั้นในหลายครั้งจะเห็นได้ว่าประเทศบางประเทศในโลกที่

ขาดแคลนทรัพยากรหรือมีทรัพยากรอันจำกัดโดยธรรมชาติ แต่ประเทศเหล่านี้ก็สามารถพัฒนาเศรษฐกิจ

ของประเทศได้เช่นประเทศอิสราเอลญี่ปุ่นฮ่องกงและสิงคโปร์เป็นต้น

ประเทศอิสราเอลมีทรัพยากรธรรมชาติจำกัดเพราะพื้นที่ของประเทศตั้งอยู่ในดินแดน

ทะเลทรายดินส่วนใหญ่เป็นดินทรายไม่อุ้มน้ำ อากาศร้อน แสงแดดจัด ไม่มีทรัพยากรป่าไม้ น้ำมัน และ

แร่ธาตุใด ๆปริมาณฝนที่ตกโดยเฉลี่ยน้อยจึงแห้งแล้ง โดยพื้นฐานของอิสราเอลแล้วมีทรัพยากรที่ได้รับ

จากธรรมชาติคือ แสงแดดทราย และน้ำจืดปริมาณน้อย แต่อิสราเอลก็สามารถพัฒนาประเทศได้โดยนำ

เข้าวัตถุดิบที่เป็นทรัพยากรที่จำเป็นจากต่างประเทศและประยุกต์กับทรัพยากรที่ตนเองมีอย่างจำกัดมาใช้

ประโยชน์มากที่สุด เช่นการคิดค้นระบบชลประทานน้ำหยด (dripping irrigration system) เพื่อใช้เป็น

เครื่องมือในการให้น้ำทางการเกษตรในการปลูกพืช นอกจากนี้อิสราเอลยังคิดค้นระบบเครื่องผลิตกระแส

ไฟฟ้าจากแสงแดด(solarcell)รวมทั้งการกลั่นน้ำเสียกลับมาใช้ใหม่

ประเทศญี่ปุ่นมีภูมิศาสตร์เป็นเกาะจึงมีทรัพยากรธรรมชาติที่จำกัด มีการนำเข้าทรัพยากร

ธรรมชาติที่เป็นวัตถุดิบในอุตสาหกรรมจากต่างประเทศรวมทั้งสินค้าอาหารบางประเภทแต่ญี่ปุ่นก็สามารถ

พัฒนาเศรษฐกิจในประเทศของตนได้ในทำนองเดียวกันกับประเทศสิงคโปร์ที่มีทรัพยากรธรรมชาติที่จำกัด

แต่ก็สามารถพัฒนาเศรษฐกิจได้

ประเทศที่เจริญแล้วมีระบบการพัฒนาเศรษฐกิจในขั้นสูงและมีทรัพยากรอย่างอุดมสมบูรณ์

เป็นปัจจัยสนับสนุนการพัฒนาเศรษฐกิจในประเทศ เช่น ประเทศสหรัฐอเมริกา แคนาดา จีน อาเจนติน่า

บราซิลรวมทั้งประเทศไทย

1.3 การสะสมทุน (capital accumulation) ทุนในทางเศรษฐศาสตร์ไม่ใช่เงินทุน แต่ทุนทาง

เศรษฐศาสตร์หมายถึง เครื่องจักร เครื่องมือ อุปกรณ์ การผลิตในอุตสาหกรรมและโรงงานอุตสาหกรรม

Page 9: แนวคิดการพัฒนาเศรษฐกิจagri.stou.ac.th/UploadedFile/91721-4.pdf · เค้าโครงเนื้อหา ตอนที่4.1 การ

มสธ มสธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ

4-9แนวคิดการพัฒนาเศรษฐกิจ

ต่างๆกระบวนการที่ทำให้ทุนเหล่านี้มีปริมาณเพิ่มขึ้นเรียกว่าการสะสมทุนซึ่งมีความสำคัญต่อการพัฒนา

เศรษฐกิจเพราะเมื่อทุนมากขึ้นในประเทศประเทศก็สามารถผลิตสินค้าได้มากขึ้นทำให้ผลิตภัณฑ์มวลรวม

ในประเทศมากขึ้นหรือสุดท้ายแล้วก่อให้เกิดการเพิ่มขึ้นของGDPนั่นเองการที่ประเทศใดประเทศหนึ่งจะมี

ปัจจัยทุนหรือสินค้าทุนได้ระบบเศรษฐกิจหนึ่งหรือประเทศหนึ่งจะต้องมีการ“ออมทรัพย์”หรือ“เงินออม”

(national saving) และนำไปลงทุนในสินค้าทุน โดยส่วนใหญ่แล้วเมื่อประเทศมีเงินออมมากขึ้นก็จะนำ

ไปลงทุนในสินค้าทุนมากขึ้นก่อให้เกิดการผลิตสินค้ามากขึ้น ส่งออกไปขายยังตลาดต่างประเทศมากขึ้นมี

รายได้เข้าประเทศมากขึ้นGDPเพิ่มขึ้นก่อให้เกิดการพัฒนาเศรษฐกิจในประเทศจะเห็นได้ว่าที่มาของสินค้า

ทุนคือ“เงินออม”

ในสภาพความเป็นจริงแล้วประเทศกำลังพัฒนาส่วนใหญ่มักจะขาดเงินออมในประเทศหรือ

มีเงินออมบ้างแต่เป็นปริมาณน้อยด้วยเหตุผลที่ว่าประเทศมีรายได้ต่ำรายได้ส่วนใหญ่นำไปใช้ในการบริโภค

ในประเทศ(Y=C+S)นั่นคือนักเศรษฐศาสตร์ให้คำนิยามว่ารายได้ของประชาชน(Y)จะนำไปใช้2ทาง

ได้แก่การบริโภค(C)และเหลือจากการบริโภคคือการออม(S)ซึ่งเป็นทฤษฎีพื้นฐานพฤติกรรมผู้บริโภคใน

ประเทศประเทศจึงมีปริมาณเงินออมน้อยและนำไปลงทุนในสินค้าประเภททุนน้อยก่อให้เกิดการสะสมทุน

น้อยตามไปด้วยประเทศกำลังพัฒนาเหล่านี้จะระดมเงินออมจากต่างประเทศ ในการสะสมสินค้าประเภท

ทุนนั้นมาจากการลงทุนของนักลงทุนชาวต่างประเทศหรืออาจจะมาจากรูปแบบของเงินกู้ยืมและรูปแบบของ

ความชว่ยเหลอืแบบอืน่ๆการสะสมสนิคา้ประเภททนุจงึเปน็หนทางนำไปสู่การเพิม่ขึน้ของผลติภณัฑ์มวลรวม

ภายในประเทศทำให้ประเทศสามารถผลิตสินค้าและบริการออกสู่ตลาดมากยิ่งขึ้นประชาชนและผู้บริโภคใน

ประเทศมีสินค้าและบริการเพื่อใช้ในการอุปโภคบริโภคเพิ่มมากขึ้นการสะสมสินค้าทุนหรือลงทุนในสินค้าทุน

ยังก่อให้เกิดการจ้างแรงงานในประเทศเพิ่มขึ้นเนื่องจากการขยายขนาดการผลิตนั่นเอง จึงจำเป็นที่จะต้อง

ใช้แรงงานมากยิ่งขึ้นการสะสมทุนยังก่อให้เกิดการพัฒนาเทคโนโลยีนำไปสู่เทคโนโลยีที่ก้าวหน้ามากขึ้นก่อ

ให้เกิดความชำนาญเฉพาะอย่าง (specialization)ของแรงงานในประเทศการกระจายและการแบ่งงานกัน

ทำอย่างชัดเจนการขยายขนาดการผลิตจะก่อให้เกิดการประหยัดต่อขนาดการผลิต (economyof scale)

ทำให้ต้นทุนต่อหน่วยการผลิตลดลงนอกจากนี้แล้วผลที่ตามมาของการสะสมทุนจจะก่อให้เกิดความต้องการ

พื้นฐานในการจัดหาปัจจัยการผลิตที่เพิ่มขึ้นเช่นการขนส่งการพลังงานและการศึกษาเป็นต้น

1.4 ผู้ประกอบการ (entrepreneur) ในทางเศรษฐศาสตร์หมายถึงผู้ทำหน้าที่ในการรวบรวม

ปัจจัยการผลิตต่างๆนำมาใช้ในการผลิตและป็นผู้จัดการหน่วยธุรกิจในประเทศด้อยพัฒนาผู้ประกอบการ

มักขาดทักษะและประสิทธิภาพในการทำงาน ทำให้มีการใช้แรงงานมีประสิทธิภาพต่ำ เนื่องจากมีระบบ

การบริหารจัดการงานอย่างไม่มีประสิทธิภาพซึ่งเป็นอุปสรรคสำคัญต่อการพัฒนาเศรษฐกิจอย่างเห็นได้ชัด

นอกจากนี้แล้วในสภาพความเป็นจริงผู้ประกอบการจะต้องยอมรับกับภาวะความเสี่ยงจากการประกอบการ

และความไม่แนน่อนในการดำเนนิธรุกจิจะเหน็ได้วา่ในประเทศกำลงัพฒันาหรอืดอ้ยพฒันานัน้ผู้ประกอบการ

มักขาดความรู้และทักษะความชำนาญในช่องทางและโอกาสในการลงทุนทางธุรกิจตลาดสินค้ามีขนาดเล็ก

เมื่อเปรียบเทียบกับจำนวนประชากรกล่าวคือมีผู้ซื้อสินค้าจำนวนน้อยสินค้าเหลือหรือล้นตลาดขาดแคลน

เงินลงทุน ขาดแคลนแรงงานที่มีฝีมือ ขาดแคลนวัตถุดิบ จะเห็นได้ว่าผู้ประกอบการในประเทศด้อยพัฒนา

Page 10: แนวคิดการพัฒนาเศรษฐกิจagri.stou.ac.th/UploadedFile/91721-4.pdf · เค้าโครงเนื้อหา ตอนที่4.1 การ

มสธ มสธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ

4-10 สังคมไทยกับการบริหารการส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร

นั้นเมื่อใดก็ตามที่พวกเขามีเงินลงทุนเขาเหล่านั้นกลับไม่นำไปลงทุนในธุรกิจแต่กลับนำไปซื้อทองคำเพชร

และอสังหาริมทรัพย์เพื่อความมั่นคงของตนเองการกระทำของผู้ประกอบการดังกล่าวถือได้ว่าไม่ก่อให้เกิด

การลงทุนในระบบเศรษฐกิจ และไม่ก่อให้เกิดกิจกรรมในทางเศรษฐกิจที่จะสนับสนุนการพัฒนาเศรษฐกิจ

ต่อไป

นกัเศรษฐศาสตร์แขนงพฒันาการเศรษฐกจิชาวอเมรกินัผู้มชีือ่เสยีงนามวา่ชมุปีเตอร์(Schum-

peter) กล่าวว่าหน้าที่หนึ่งของผู้ประกอบการคือการนำนวัตกรรมมาใช้ในการประกอบธุรกิจ เขากล่าวว่า

ผู้ประกอบการเปน็บคุคลสำคญั(keyman)ที่มีความสำคญัตอ่กระบวนการพฒันาเศรษฐกจิในทกุๆประเทศ

ผู้ประกอบการนั้นเป็นบุคคลที่คิดค้นสิ่งใหม่ๆในการประกอบธุรกิจ

1.5 เทคโนโลยี (technology)การพัฒนาเทคโนโลยีที่ก้าวหน้าล้ำสมัยถือเป็นปัจจัยสำคัญ

ที่สุดในกระบวนการพัฒนาเศรษฐกิจ เพราะเทคโนโลยีที่ก้าวหน้าจะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงการผลิต การ

คิดค้นเทคโนโลยีใหม่ๆจนก่อให้เกิดนวัตกรรมหรือผลงานวิจัยใหม่ๆจะนำไปสู่การเพิ่มประสิทธิภาพของ

แรงงานทนุและปจัจยัอืน่ๆทำให้สามารถผลติสนิคา้และบรกิารมากขึน้เทคโนโลยียงัสามารถทำให้ลดตน้ทนุ

การผลติและเพิม่ผลผลติได้อกีดว้ยความกา้วหนา้ของเทคโนโลยีเปน็จดุกำเนดิให้แสวงหาทรพัยากรธรรมชาติ

ใหม่ ๆ เพื่อนำมาใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตและในอุตสาหกรรมความก้าวหน้าในเทคโนโลยีจึงเป็นปัจจัยที่

สำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจ

2. ปัจจัยที่ไม่ใช่ปัจจัยทางเศรษฐกิจเป็นปัจจัยที่มีผลต่อการพัฒนาเศรษฐกิจได้แก่

2.1 ค่านิยมและสถาบันทางสังคม เช่น ระบบครอบครัว และระบบความเชื่อในสิ่งของมีผล

ต่อการทำงานของคนในสังคม เช่น ความขยัน ความเกียจคร้าน การเลี่ยงไม่ทำงาน หนักไม่เอาเบาไม่สู้

หยิบโหย่ง รักสบาย ทำงานน้อย พักผ่อนมาก ๆ ค่านิยมเหล่านี้ล้วนแล้วแต่มีผลต่อประสิทธิภาพและ

คุณภาพของแรงงานในระบบเศรษฐกิจและส่งผลต่อกระบวนการพัฒนาเศรษฐกิจในที่สุด

ค่านิยมที่ส่งผลดีต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ เช่นความขยันซื่อสัตย์ซื่อตรง เที่ยงตรงยึดมั่น

ในสิ่งที่กระทำจงรักภักดีประหยัดการอดออมล้วนแล้วแต่มีผลต่อคุณภาพแรงงานและกระบวนการพัฒนา

เศรษฐกิจนอกจากนี้ยังมีค่านิยมในทางลบที่เลวทรามเป็นผลเสียต่อการพัฒนาเศรษฐกิจเช่นการคอรัปชั่น

การมัว่สมุการพนนัและอบายมขุตา่งๆดืม่สรุาพนนัฟตุบอลล์ซือ้หวยลว้นแลว้แต่เปน็ผลลบตอ่กระบวนการ

พัฒนาเศรษฐกิจ

2.2 ระบบการเมอืงการปกครองเปน็ปจัจยัที่มีความสำคญัปจัจยัหนึง่ตอ่การพฒันาเศรษฐกจิ

การที่ประเทศใดก็ตามมีระบบการเมือง การปกครอง และการบริหารงานแผ่นดินที่ไม่มีประสิทธิภาพ เป็น

อุปสรรคขัดขวางกระบวนการพัฒนาเศรษฐกิจด้วยเหตุนี้เองจึงต้องการระบบการเมือง การปกครอง และ

การบริหารราชการแผ่นดินที่มีประสิทธิภาพ

กล่าว โดย สรุป ปัจจัยที่มีผลต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศใดประเทศหนึ่งแบ่งเป็น2ประเภท

หลัก ๆ ได้แก่ ปัจจัยทางเศรษฐกิจ ประกอบด้วย ทรัพยากรมนุษย์ ทรัพยากรธรรมชาติ การสะสมทุน

ผู้ประกอบการ และเทคโนโลยี และปัจจัยที่ไม่ใช่ปัจจัยทางเศรษฐกิจ ประกอบด้วย ค่านิยมและสถาบัน

ทางสังคม รวมถึงระบบการเมืองการปกครอง ซึ่งปัจจัยหลักทั้ง 2 ประเภทที่ได้กล่าวมานี้ล้วนแล้วแต่มีผล

ต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ

Page 11: แนวคิดการพัฒนาเศรษฐกิจagri.stou.ac.th/UploadedFile/91721-4.pdf · เค้าโครงเนื้อหา ตอนที่4.1 การ

มสธ มสธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ

4-11แนวคิดการพัฒนาเศรษฐกิจ

เรื่อง ที่ 4.1.3 ทฤษฎี การ พัฒนา เศรษฐกิจ

ทฤษฎีและแนวคิดของการพัฒนาเศรษฐกิจมีมาตั้งแต่อดีตจนกระทั่งถึงปัจจุบัน ซึ่งในการศึกษา

ทฤษฎีการพัฒนาเศรษฐกิจนั้นแบ่งออกเป็นหลายกลุ่มหลายสำนักซึ่งมีแนวคิดแตกต่างกันออกไป

ในเรือ่งที่4.1.3นี้จะกลา่วถงึทฤษฎีการพฒันาเศรษฐกจิที่สำคญัๆ และเปน็ที่แพร่หลายในการศกึษา

การพัฒนาเศรษฐกิจนี้กล่าวถึง10ทฤษฎีอันได้แก่ทฤษฎีของกลุ่มคลาสสิกทฤษฎีของคาร์ลมาร์กซ์ทฤษฎี

ของกลุ่มนีโอคลาสสิก ทฤษฎีของชุมปีเตอร์ ทฤษฎีของเคนส์ ทฤษฎีการพัฒนาเศรษฐกิจตามขั้นตอนของ

รอสโทว์ทฤษฎีความจำเริญแบบสมดุลและไม่สมดุลทฤษฎีการพัฒนาเศรษฐกิจระหว่างสาขาการผลิตทฤษฎี

การพัฒนาเศรษฐกิจที่เน้นความสำคัญทางด้านการส่งออกและทฤษฎีการพัฒนาเศรษฐกิจที่เน้นความสำคัญ

ด้านการทดแทนการนำเข้า ซึ่งแต่ละทฤษฎีมีรายละเอียดและแนวความคิดที่แตกต่างกันออกไปนอกจากนี้

แล้วแนวคิดการพัฒนาเศรษฐกิจในปัจจุบันที่นำมาใช้ในการพัฒนาเศรษฐกิจที่แพร่หลายในปัจจุบันที่จะขอ

กล่าวถึงในที่นี้2แนวความคิดอันได้แก่แนวคิดการพัฒนาแบบยั่งยืนขององค์การสหประชาชาติและแนวคิด

การพัฒนาแบบเศรษฐกิจพอเพียงขององค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวของประเทศไทยซึ่งรายละเอียดจะ

ขอกล่าวดังต่อไปนี ้

1. ทฤษฎี ของ กลุ่ม คลาส สิกนักทฤษฎีกลุ่มคลาสสิก(ClassicalTheorists)จะใช้เพื่อหมายถึงกลุ่มนักเศรษฐศาสตร์ชาวอังกฤษ

ที่มีขอ้เขยีนในชว่งปลายครสิต์ศตวรรษที่18ถงึชว่งตน้ครสิต์ศตวรรษที่19ถงึแมว้า่จะมีจำนวนหลายคนแต่ที่

มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักกันโดยทั่วไปจะได้แก่สมิธ(AdamSmith)ริคาร์โด(DavidRicardo)มัลธัส(Thomas

Multhus)และมิลล์(JohnStuartMill)นักทฤษฎีแต่ละคนที่จัดอยู่ในกลุ่มนี้ถึงแม้ว่าจะมีความคิดเห็นใน

เรื่องความเจริญก้าวหน้าทางเศรษฐกิจที่แตกต่างกันไปบ้างก็ตาม แต่ถ้าจะสรุปถึงพื้นฐานของแนวคิดแล้ว

อาจกล่าวได้ว่ากลุ่มนี้มีความเชื่อในกฎของธรรมชาติ (natural law)และความมีเหตุผลของมนุษย์กลุ่มนี้

จึงเชื่อว่ากลไกทางเศรษฐกิจสามารถดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพภายใต้ระบบตลาดที่มีการแข่งขัน

อย่างสมบูรณ์ และมีรัฐบาลเข้าไปเกี่ยวข้องน้อยที่สุด กลุ่มนี้ชี้ให้เห็นว่า ผลผลิตและรายได้ของประเทศ

จะเกิดจากปัจจัยการผลิตประเภทที่ดิน แรงงานและทุนดังนั้น ความจำเริญทางเศรษฐกิจจึงขึ้นอยู่กับการ

เปลี่ยนแปลงในปัจจัยทั้งสามประเภทนี้ตลอดเวลาแต่โดยที่กลุ่มนี้มีความเห็นว่าที่ดินมีจำกัดประชากรขึ้น

อยู่กับค่าจ้างที่แท้จริงซึ่งอยู่ในระดับที่พอประทังชีวิตรอดนักคิดกลุ่มนี้จึงเห็นว่าทุนจะเป็นปัจจัยสำคัญที่ก่อ

ให้เกิดความจำเริญเติบโตและทุนจะเพิ่มขึ้นได้ด้วยการออมในขณะเดียวกันกลุ่มนี้มีความเห็นต่อไปอีกว่า

ผลผลิตที่ผลิตได้ในเวลาใดเวลาหนึ่ง จะมีการกระจายจ่ายปันสู่ผู้เป็นเจ้าของปัจจัยการผลิตทั้งสามดังกล่าว

ซึ่งแต่ละเจ้าของปัจจัยการผลิตมีอิสระในการที่จะใช้ผลผลิตหรือรายได้ในส่วนของตนไปเพื่อการบริโภคหรือ

การออมมากน้อยเพียงใดก็ได้ ด้วยเหตุนี้ ผลผลิตในช่วงต่อไป จะเพิ่มขึ้นหรือไม่เพียงใด จึงขึ้นอยู่กับการ

กระจายจ่ายปันและการออมว่าเป็นอย่างไร

Page 12: แนวคิดการพัฒนาเศรษฐกิจagri.stou.ac.th/UploadedFile/91721-4.pdf · เค้าโครงเนื้อหา ตอนที่4.1 การ

มสธ มสธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ

4-12 สังคมไทยกับการบริหารการส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร

ตามทรรศนะของกลุ่มนี้เมื่อที่ดินมีจำกัดและถ้ามีการผลิตเพิ่มขึ้นที่ดินที่มีคุณภาพต่ำลงจะนำมา

ใช้ ค่าเช่าจึงเกิดขึ้น โดยที่ดินแปลงสุดท้ายที่มีคุณภาพเลวที่สุดจะไม่ได้ค่าเช่า ส่วนที่ดินที่มีคุณภาพดีกว่า

จะได้รับค่าเช่าผลผลิตที่ผลิตได้หลังจากหักค่าเช่าไปแล้วจะกระจายจ่ายปันไปให้แรงงานและนายทุนโดย

แรงงานจะได้รับค่าจ้างในระดับคงที่ที่เพียงพอในทางตรงกันข้ามถ้าผลกำไรของนายทุนลดน้อยลงการออม

และการลงทุนก็จะพลอยลดน้อยลงตามไปด้วยซึ่งจะมีผลทำให้ระบบเศรษฐกิจมีแนวโน้มเข้าสู่ภาวะหยุดนิ่ง

(stagnation)ไม่มีความจำเริญทางเศรษฐกิจแต่ประการใด

จากที่กลา่วมาแลว้จงึพอสรปุได้วา่แนวคดิที่สำคญัของกลุม่นี้จะอยู่ที่ความจำเรญิทางเศรษฐกจิทัง้นี้

โดยให้ความสำคัญที่ปัจจัยทางด้านการออมและการลงทุนและถือว่าการกระจายรายได้ที่มีความแตกต่างกัน

จะเป็นสิ่งจำเป็นเพื่อก่อให้เกิดการออมและการลงทุนหรือกล่าวอีกนัยหนึ่ง ถ้ามีความพยายามจะลดความ

เหลื่อมล้ำในรายได้ก่อนการพัฒนาทางเศรษฐกิจจะเกิดขึ้นแล้ว จะเป็นผลเสียต่อความจำเริญทางเศรษฐกิจ

โดยทำให้ความจำเริญทางเศรษฐกิจเข้าสู่สภาวะหยุดนิ่งได้

2. ทฤษฎี ของ คาร์ล มาร์ กซ์แนวคิดเกี่ยวกับการพัฒนาเศรษฐกิจของมาร์กซ์(KarlMarx)มีความแตกต่างไปจากกลุ่มคลาสสิก

เป็นอันมากกล่าวคือในขณะที่กลุ่มคลาสสิกมีความเห็นว่าระบบตลาดและความมีเหตุผลของมนุษย์จะนำไป

สู่การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจแบบราบเรียบประสานประโยชน์ระหว่างฝ่ายต่างๆ ที่เกี่ยวข้องและสามารถ

ผลิตให้สอดคล้องกับความต้องการของมนุษย์อย่างมีดุลยภาพนั้นมาร์กซ์มีความเห็นว่าการเปลี่ยนแปลงทาง

เศรษฐกิจและสังคมจะเกิดจากความขัดแย้งระหว่างชนชั้น(classconflict)ทั้งนี้เพราะมาร์กซ์มีความเชื่อว่า

การได้มาซึ่งความมั่งคั่งและอำนาจของคนกลุ่มหนึ่ง และความพยายามที่จะมีชีวิตอยู่รอดของอีกฝ่ายหนึ่ง

จะนำมาซึ่งการต่อสู้ในระหว่างชนชั้นของสังคมและทำให้สังคมเกิดการพัฒนาไปสู่ระดับที่สูงขึ้นโดยมาร์กซ์

แบ่งชั้นของความเจริญก้าวหน้าทางสังคมออกเป็น 5 ชั้น ได้แก่ ชั้นสังคมคอมมิวนิสต์โบราณ (primitive

communism)สังคมทาส(slaverysociety)สังคมศักดินา(feudalism)สังคมทุนนิยม(capitalism)และ

สังคมแบบสังคมนิยม(socialism)

ตามแนวคิดของมาร์กซ์ มนุษย์จะเป็นผู้ผลิตและมีผลิตภาพ (productive)ความสัมพันธ์ระหว่าง

มนุษย์หรือโครงสร้างทางสังคมจึงเป็นไปตามความสัมพันธ์ของการผลิต (relations of production) ที่มี

สองฝ่ายเป็นคู่กรณีเสมอเช่นความสัมพันธ์ระหว่างนายและทาสในสังคมทาสความสัมพันธ์ระหว่างเจ้าขุน

มูลนายและชนชั้นไพร่ในสังคมศักดินา และความสัมพันธ์ระหว่างนายทุนผู้เป็นเจ้าของปัจจัยการผลิต และ

แรงงานซึ่งเป็นผู้ขายแรงงานให้กับนายทุนในสังคมทุนนิยมความสัมพันธ์ระหว่างคู่กรณีดังกล่าวนี้ จะเป็น

ความสัมพันธ์ที่ฝ่ายหนึ่งได้เปรียบอีกฝ่ายหนึ่ง และเกิดการขูดรีดระหว่างกลุ่มหรือระหว่างชนชั้นขึ้น เช่น

สังคมทาสมีการขูดรีดแรงงานส่วนเกินโดยตรง สังคมศักดินามีการขูดรีดผลผลิตส่วนเกินในรูปส่วย และ

สังคมทุนนิยมก็มีการขูดรีดค่าส่วนเกิน(surplusvalue)ของแรงงานด้วยเหตุนี้มาร์กซ์จึงชี้ให้เห็นว่าความ

สัมพันธ์ทางการผลิตของมนุษย์จะเป็นความสัมพันธ์ที่มีการเอารัดเอาเปรียบและมีการขูดรีดของฝ่ายหนึ่งต่อ

อีกฝ่ายหนึ่งก่อให้เกิดปัญหาความขัดแย้งและความไม่เท่าเทียมกันในสังคมซึ่งจะมีผลนำไปสู่การต่อสู้และ

Page 13: แนวคิดการพัฒนาเศรษฐกิจagri.stou.ac.th/UploadedFile/91721-4.pdf · เค้าโครงเนื้อหา ตอนที่4.1 การ

มสธ มสธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ

4-13แนวคิดการพัฒนาเศรษฐกิจ

การทำลายล้างในระหว่างชนชั้นถึงขั้นที่ระบบสังคมเดิมถูกทำลายไปแล้วก่อรูปทางสังคมขึ้นใหม่ในระดับขั้น

ที่สูงขึ้นกว่าเดิมไปตามลำดับ

มาร์กซ์ให้ความสนใจในชั้นสังคมทุนนิยมและมีความเห็นว่ระบบนี้สามารถพัฒนาหรือขยายผลผลิต

และรายได้ไปสู่ในระดับที่สูงได้ในการขยายผลผลิตและรายได้นั้นถึงแม้ว่าจะขึ้นอยู่กับแรงงานที่ดินทุนและ

เทคโนโลยีก็ตามแต่มาร์กซ์ให้ความสำคัญไปที่การเปลี่ยนแปลงในเทคโนโลยีและแรงงานโดยกล่าวว่าความ

ก้าวหน้าทางเทคโนโลยีเสมือนเครื่องยนต์ที่ผลักดันให้ระบบนี้มีความเจริญก้าวหน้า ในขณะเดียวกันความ

ก้าวหน้าทางเทคโนโลยีจะขึ้นอยู่กับการลงทุน และส่วนหนึ่งของการลงทุนก็มาจากมูลค่าส่วนเกินที่นายทุน

ขูดรีดมาจากแรงงานตามความคิดของมาร์กซ์ระบบทุนนิยมจะไม่เข้าสู่สภาวะหยุดนิ่งหากแต่จะมีความเจริญ

ก้าวหน้าไปสู่ระดับที่สูงแล้วจึงแตกสลาย(breakdown)ทั้งนี้เพราะมาร์กซ์มีความเชื่อว่าเทคโนโลยีที่มีความ

ก้าวหน้ามาก จะเป็นเทคโนโลยีประเภทประหยัดแรงงาน (labor-saving technology) ดังนั้น ถ้ามีการใช้

เทคโนโลยีที่มีความก้าวหน้ามากขึ้นจะทำให้มีการว่างงานเป็นจำนวนมากและความทุกข์ยากของกรรมกรจะ

มีมากขึ้นเป็นเงาตามตัวซึ่งจะพัฒนาไปสู่ข้อขัดแย้งระหว่างชนชั้นและการทำลายล้างระบบทุนนิยมในที่สุด

จากที่กล่าวมาแล้วจะเห็นได้ว่า ระบบทุนนิยมในสายตาของมาร์กซ์จะเป็นเพียงขั้นตอนหนึ่งของ

ววิฒันาการทางสงัคมที่ทกุประเทศจะตอ้งผา่นเพือ่มุง่ไปสู่ระบบสงัคมนยิมการพฒันาทางเศรษฐกจิและสงัคม

ของประเทศจึงมีเพียงหนทางเลือกเพียงหนทางเดียวเปรียบเสมือนหนึ่งมีถนนเพียงสายเดียวที่เดินได้แต่ใน

สภาพความเป็นจริงแล้วการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศจะมีกระบวนการป้อนกลับ(feedback)

ของข้อมูลข่าวสารอยู่ภายในระบบซึ่งจะมีส่วนช่วยในการปรับปรุงแก้ไขปัญหาและการแสวงหาแนวทางการ

พัฒนาที่จะส่งเสริมคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ของคนส่วนใหญ่ให้ดียิ่ง ๆ ขึ้นไปภายใต้ระบบเศรษฐกิจและ

สังคมที่เป็นอยู่ได้เสมอตลอดเวลา

3. ทฤษฎี ของ กลุ่ม นี โอ คลาส สิกนักเศรษฐศาสตร์กลุ่มนีโอคลาสสิก(Neo-classicalTheorists)จะใช้เมื่อหมายถึงกลุ่มนักเศรษฐ-

ศาสตร์ที่มีผลงานและมีชื่อเสียงในราวค.ศ.1890-1920 เช่นจีวอนส์(StanleyJevans)มาร์แชล(Alfred

Marshall)แมนเจอร์(CarlManger)วอลรัส(LeonWalras)และวิคเซลล์(KnutWicksell)โดยพื้นฐาน

ของแนวคิดแล้วนักเศรษฐศาสตร์กลุ่มนี้จะให้ความสนใจไปที่เศรษฐศาสตร์จุลภาคและปัญหาเศรษฐกิจใน

ระยะสั้น ทั้งนี้เพราะในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19ประเทศในยุโรปตะวันตกมีอัตราความเจริญก้าวหน้า

ทางเศรษฐกิจอยู่ในระดับสูง ซึ่งเป็นผลมาจากความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีและมีการค้นพบทรัพยากร

นักเศรษฐศาสตร์ในยุคนั้นจึงมีความเชื่อว่าความเจริญทางเศรษฐกิจยังคงมีอยู่ในอัตราที่สูงต่อไปเรื่อย ๆ

เพราะการปรับปรุงเทคโนโลยีนอกจากนั้นค่าจ้างแท้จริงที่ปรากฏอยู่ก็สูงกว่าระดับพอประทังชีวิตอัตรากำไร

ก็อยู่ในเกณฑ์สูง และค่าเช่าก็ไม่ได้มีสัดส่วนที่สูงในรายได้ของชาติ ความกลัวเรื่องสภาวะหยุดนิ่งของความ

จำเริญทางเศรษฐกิจจึงไม่มีอีกต่อไปดังนั้นนักเศรษฐศาสตร์กลุ่มนี้จึงหันมาให้ความสนใจที่ปัญหาระยะสั้น

โดยเฉพาะเรื่องการกระจายรายได้ทฤษฎีราคาและมูลค่า

Page 14: แนวคิดการพัฒนาเศรษฐกิจagri.stou.ac.th/UploadedFile/91721-4.pdf · เค้าโครงเนื้อหา ตอนที่4.1 การ

มสธ มสธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ

4-14 สังคมไทยกับการบริหารการส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร

ถึงแม้ว่านักคิดกลุ่มนี้จะไม่ให้ความสนใจโดยตรงต่อปัญหาความจำเริญทางเศรษฐกิจในระยะยาว

ก็ตามแต่แนวคิดในบางเรื่องของกลุ่มนี้ก็มีประโยชน์ต่อการทำความเข้าใจในเรื่องของการพัฒนาเศรษฐกิจ

ได้เช่นกันโดยเฉพาะกลุ่มนี้เน้นให้ความสำคัญไปที่การจัดสรรทรัพยากรให้มีประสิทธิภาพภายใต้ระบบตลาด

ที่มีการแข่งขันสมบูรณ์การทดแทนกันได้ในระหว่างทุนและแรงงานในการผลิตบทบาทของอัตราดอกเบี้ยที่

มีต่อการออมและการลงทุนและการเน้นถึงความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยีว่าจะมีส่วนช่วยกระตุ้นให้เกิด

ความเจริญก้าวหน้าทางด้านการผลิตและรายได้ของชาติ

อย่างไรก็ดี แนวคิดของกลุ่มนี้ก็มีส่วนที่คล้ายคลึงและแตกต่างไปจากกลุ่มของคลาสสิก ส่วนที่

คล้ายคลึงกันได้แก่ทั้งสองกลุ่มต่างมองการพัฒนาเศรษฐกิจไปที่การพิ่มรายได้และผลผลิตและต่างก็มอง

กระบวนการพัฒนาทางเศรษฐกิจว่าเป็นกระบวนการแบบราบเรียบ(smoothprocess)ค่อยเป็นค่อยไปอย่าง

ต่อเนื่อง(gradualandcontinuous)และผลประโยชน์ของทุกฝ่ายสามารถประสานกันได้(harmonious)

นั่นคือผลประโยชน์ของการพัฒนาเศรษฐกิจจะตกแก่กลุ่มรายได้ต่างๆอย่างทั่วถึง

สำหรับข้อแตกต่างระหว่างแนวคิดของกลุ่มนี้และกลุ่มคลาสสิกจะได้แก่

3.1กลุ่มนี้ไม่เชื่อว่าการพัฒนาเศรษฐกิจจะเข้าสู่สภาวะหยุดนิ่งทั้งนี้เพราะความเจริญก้าวหน้าทาง

เทคโนโลยีจะมีส่วนช่วยให้เศรษฐกิจขยายตัวและต้นทุนการผลิตต่อหน่วยลดลงในขณะเดียวกันกลุ่มนี้ยัง

เชือ่อกีวา่การออมทรพัย์เปน็นสิยัของมนษุย์โดยทัว่ไปทำให้ประเทศสามารถทำการออมและลงทนุได้เพยีงพอ

ซึ่งจะทำให้การสะสมทุนและความเจริญก้าวหน้าทางเศรษฐกิจเป็นไปได้เสมอตลอดเวลา

3.2จุดเด่นที่ทำให้กลุ่มนี้มีความแตกต่างไปจากกลุ่มคลาสสิกอย่างเห็นได้ชัดคือกลุ่มนี้ให้ความ

สำคัญไปที่การทดแทนกันได้ในระหว่างทุนและแรงงานในกระบวนการผลิตทั้งนี้กลุ่มนี้มีความเชื่อว่าการใช้

ปัจจัยการผลิตไม่จำเป็นต้องอยู่ในสัดส่วนคงที่ตลอดไปผู้ผลิตสามารถใช้ทุนและแรงงานทดแทนกันได้ทั้งนี้

ขึ้นอยู่กับราคาและประสิทธิภาพของปัจจัยการผลิตทั้งสอง

3.3ถึงแม้กลุ่มนี้จะเห็นด้วยกับกลุ่มคลาสสิก การค้าอย่างเสรีที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของทฤษฎีความ

ได้เปรียบ เมื่อได้เปรียบเทียบแล้ว จะทำให้ประเทศที่ค้าขายกันทุกประเทศได้ผลประโยชน์จากการค้า การ

ขยายตลาดการเพิ่มการแบ่งงานกันทำตามความเชี่ยวชาญเฉพาะอย่างการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและ

การเพิ่มรายได้ของประเทศก็ตามแต่กลุ่มนี้มีความเห็นว่า ในบางกรณีนโยบายการให้ความคุ้มครองก็เป็น

สิ่งจำเป็นเช่นกันโดยเฉพาะในกรณีที่จะช่วยให้มีการก่อตั้งอุตสาหกรรมขึ้นใหม่ในประเทศ

4. ทฤษฎี ของ ชุม ปี เตอร์ชุมปีเตอร์(JosephSchumpeter)เขียนตำราเกี่ยวกับทฤษฎีการพัฒนาเศรษฐกิจ(TheTheoryof

EconomicDevelopment)เมือ่ค.ศ.1911ซึง่มีประเดน็สำคญัพอสรปุได้วา่การพฒันาเศรษฐกจิจะเปน็เพยีง

ส่วนหนึ่งของประวัติศาสตร์เศรษฐกิจดังนั้นเขาจึงเชื่อว่าการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจไม่สามารถจะอธิบาย

ได้ โดยอาศัยแต่เพียงสภาพการณ์ทางเศรษฐกิจในอดีตที่ผ่านมาเท่านั้น หากแต่จะต้องอธิบายในลักษณะที่

ระบบเศรษฐกจิมีการปรบัตวัเมือ่เกดิปรากฏการณ์ใหม่ๆ ขึน้ภายในระบบเศรษฐกจิซึง่โดยทัว่ไปปรากฏการณ์

ใหม่ ๆ นี้จะเกิดจากผู้ผลิตเป็นสำคัญด้วยเหตุนี้ การพัฒนาเศรษฐกิจจึงเป็นส่วนของการเปลี่ยนแปลงที่

Page 15: แนวคิดการพัฒนาเศรษฐกิจagri.stou.ac.th/UploadedFile/91721-4.pdf · เค้าโครงเนื้อหา ตอนที่4.1 การ

มสธ มสธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ

4-15แนวคิดการพัฒนาเศรษฐกิจ

แตกต่างไปจากสภาพดุลยภาพและการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวนี้จะเกิดขึ้นได้ก็โดยการเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับ

การมีความคิดใหม่ๆ(innovation)ขึ้นซึ่งอาจจะประกอบไปด้วย

1) การผลิตสินค้าใหม่หรือที่มีคุณภาพใหม่

2)การใช้วิธีการผลิตแบบใหม่ซึ่งรวมถึงการปรับปรุงการบรรจุหีบห่อใหม่

3)การเปิดตลาดสินค้าและบริการใหม่

4)การค้นพบทรัพยากรและแหล่งอุปทานของวัตถุดิบแหล่งใหม่และ

5)การจัดองค์การใหม่ของอุตสาหกรรม เพื่อให้มีอำนาจการผูกขาดหรือขจัดการผูกขาดเพื่อเพิ่ม

ประสิทธิภาพของการบริหารและการดำเนินการ

ดังนั้นสิ่งสำคัญของการพัฒนาเศรษฐกิจตามทรรศนะของชุมปีเตอร์จึงได้แก่ปริมาณของการมีสิ่ง

ใหม่ๆ (volumeofinnovations)การแพร่กระจายของสิ่งใหม่ๆ และการมีบริษัทใหม่ๆ เกิดขึ้นนอกจากนั้น

ชุมปีเตอร์ยังกล่าวอีกว่าสิ่งใหม่ๆดังกล่าวจะเกิดขึ้นได้จะต้องมีผู้ประกอบการผลิต(entrepreneurs)ซึ่ง

จะได้แก่ บุคคลที่มีความคิดใหม่ กล้าเสี่ยง และกล้าลงทุนผู้ประกอบการผลิตในสายตาของชุมปีเตอร์จึง

ไม่ใช่ผู้จัดการ(managers)หากแต่เป็นผู้มีความคิดใหม่(innovators)ซึ่งอาจเทียบได้กับผู้บริหารในวงการ

ธุรกิจในปัจจุบัน

เมื่อการพัฒนาเศรษฐกิจเกิดจากการผลิตใหม่ๆ โดยผู้ประกอบการผลิตจะเป็นผู้ตอบสนองต่อช่อง

โอกาสใหม่ๆ ที่เกิดขึ้นและโดยที่ช่องโอกาสใหม่ๆ นี้มีแนวโน้มว่าจะเกิดขึ้นเป็นระยะๆ คล้ายกับลูกคลื่นที่

ตามหลังการมีความคิดใหม่ๆดังนั้นจึงทำให้การพัฒนาเศรษฐกิจมีลักษณะที่ไม่ราบรื่นไม่ต่อเนื่องแต่เป็น

แบบวัฏจักรคล้ายกับวัฏจักรธุรกิจโดยการพัฒนาเศรษฐกิจจะเริ่มขึ้นเมื่อผู้ประกอบการผลิตเล็งเห็นถึงกำไร

ผู้ประกอบการผลิตก็จะเริ่มลงทุนและทำการผลิตสินค้าและบริการใหม่ๆ ออกสู่ตลาดและเมื่อมีกำไรสูงขึ้น

ผู้ประกอบการผลิตจะขยายการลงทุนใหม่ ๆ อีกต่อไป ถ้าเงินลงทุนมีไม่เพียงพอจะมีการขอกู้ยืมเงินจาก

ธนาคารซึ่งจะมีผลทำให้อุปทานของเงินเพิ่มขึ้นธุรกิจขยายตัวรสนิยมของผู้บริโภคเปลี่ยนแปลงไปโดยการ

ชักนำของผู้ผลิตตลาดจะขยายตัวธุรกิจและอุตสาหกรรมก็จะเจริญเติบโตขึ้นการพัฒนาเศรษฐกิจที่เกิดขึ้น

จึงเป็นผลสืบเนื่องมาจากความคิดริเริ่มและการดำเนินงานของผู้ประกอบการผลิตเป็นสำคัญ

นอกจากนั้นชุมปีเตอร์ยังมีความเห็นอีกว่ากระบวนการพัฒนาตามแนวที่กล่าวข้างต้นอาจจะสะดุด

หยุดลงแล้วเริ่มขึ้นใหม่ในระดับที่สูงยิ่งขึ้นไปเรื่อยๆ เพราะเมื่อธุรกิจและอุตสาหกรรมมีความเจริญเติบโต

ขึ้นอาจมีผลทำให้ธุรกิจขนาดเล็กไม่สามารถดำเนินการต่อไปได้หรือไม่ก็อาจถูกบริษัทใหญ่กลืนไปในขณะ

เดียวกัน ธุรกิจขนาดใหญ่ที่มีอยู่อาจจะมีขนาดที่ใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ จนทำให้มีขนาดที่ใหญ่เกินไปทำให้ไม่มี

ประสิทธิภาพและความคล่องตัวเท่าที่ควร แต่หลังจากที่มีการซบเซาแล้ว กระบวนการพัฒนาจะเริ่มต้นขึ้น

อีกดังนั้นด้วยความสามารถของผู้ประกอบการผลิตและการมีการผลิตใหม่ๆจะมีผลทำให้ระบบเศรษฐกิจ

เกิดการพัฒนาในระดับที่สูงขึ้นได้อีกวนเวียนเช่นนี้เรื่อยไป

Page 16: แนวคิดการพัฒนาเศรษฐกิจagri.stou.ac.th/UploadedFile/91721-4.pdf · เค้าโครงเนื้อหา ตอนที่4.1 การ

มสธ มสธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ

4-16 สังคมไทยกับการบริหารการส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร

5. ทฤษฎี ของ เคน ส์หลังจากชุมปีเตอร์แล้ว ไม่ปรากฏว่ามีนักเศรษฐศาสตร์ที่มีชื่อเสียงท่านใด ให้ความสนใจเกี่ยวกับ

ทฤษฎีและแนวคิดทางด้านการพัฒนาเศรษฐกิจทั้งนี้เพราะนักเศรษฐศาสตร์ส่วนมากในขณะนั้นต่างให้ความ

สนใจไปที่ทฤษฎีเศรษฐศาสตร์จุลภาคและมีความเชื่อในระบบเศรษฐกิจแบบเสรีนิยม (laissez-faire) แต่

ภายหลังจากที่เกิดเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ในทศวรรษที่1930แล้วนักเศรษฐศาสตร์ส่วนมากก็เริ่มตระหนัก

ถึงข้อจำกัดของกลไกตลาดและเล็งเห็นถึงความจำเป็นที่รัฐบาลจะต้องเข้ามาดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจ

ดังนั้นนับตั้งแต่ทศวรรษที่1930เป็นต้นมาลัทธิเศรษฐศาสตร์แบบเสรีนิยมก็ถึงจุดอวสานและเกิดทฤษฎี

และแนวคิดใหม่ขึ้นทั้งนี้โดยเคนส์ (J.M.Keynes) เป็นผู้เสนอทฤษฎีทั่วไปเกี่ยวกับการจ้างงานดอกเบี้ย

และการเงินซึ่งจัดพิมพ์ในค.ศ.1936ทฤษฎีของเคนส์ตามที่ปรากฏอยู่ในหนังสือดังกล่าวนับว่ามีอิทธิพล

ต่อแนวคิดในเรื่องของการพัฒนาเศรษฐกิจในระยะต่อมา โดยเฉพาะจะมีอิทธิพลต่อทฤษฎีและแนวคิดใน

การพัฒนาเศรษฐกิจในช่วงทศวรรษที่1950-1960

แนวคิดพื้นฐานของเคนส์จะประกอบด้วยรายจ่ายเพื่อการบริโภคทั้งหมด(C)การลงทุนของเอกชน

ทั้งหมด(I)รายจ่ายรวมของรัฐบาล(G)และรายได้ของชาติ(Y)ทั้งนี้โดยY=C+I+Gถ้ารายจ่ายทั้งสิ้น

หรือรายได้ของชาติอยู่ในระดับที่ไม่เพียงพอที่จะก่อให้เกิดการจ้างงานเต็มที่แล้วรัฐบาลก็ควรเข้ามากระตุ้น

รายจ่ายเพื่อการบริโภค โดยการลดภาษีหรือให้สินเชื่อแก่ผู้บริโภคในอัตราดอกเบี้ยต่ำ หรือมิเช่นนั้นก็ต้อง

พยายามส่งเสริมการลงทุนของเอกชนด้วยการลดอัตราดอกเบี้ย ลดภาษีธุรกิจและลดข้อจำกัดในการให้

สินเชื่อแต่ถ้ามาตรการต่างๆ ไม่ได้ผลก็ยังเหลือทางแก้สุดท้ายนั่นคือการเพิ่มรายจ่ายของภาครัฐบาลดังนั้น

ถ้าเกิดการว่างงานขึ้นรัฐบาลควรดำเนินนโยบายงบประมาณขาดดุลในทางตรงข้ามถ้าเกิดภาวะเงินเฟ้อขึ้น

รัฐบาลควรตัดทอนรายจ่ายของรัฐบาลลงแนวคิดพื้นฐานของเคนส์ดังกล่าวข้างต้นยังนำไปสู่การพัฒนาระบบ

บัญชีรายได้ของชาติอีกด้วย

ถึงแม้ว่า ทฤษฎีของเคนส์จะได้รับการพิสูจน์มาแล้วว่า นอกจากจะสามารถแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ

ตกต่ำครั้งใหญ่แล้วยังสามารถนำมาใช้ในเศรษฐกิจยามสงครามอย่างได้ผลโดยปราศจากเงินเฟ้ออีกด้วยแต่

ประเด็นปัญหายังคงมีอยู่ทั้งนี้เพราะทฤษฎีของเคนส์จะเน้นไปที่ความมีเสถียรภาพในระยะสั้นในขณะที่การ

พฒันาเศรษฐกจิจะเนน้ไปที่ความเจรญิกา้วหนา้ทางเศรษฐกจิที่สมำ่เสมอในระยะยาวดงันัน้นกัเศรษฐศาสตร์

การพัฒนาภายหลังเคนส์จึงหันมาสนใจในเรื่องของความเจริญก้าวหน้าทางเศรษฐกิจที่มีความสม่ำเสมอ

(steadygrowth)ด้วยเหตุนี้ ทฤษฎีว่าด้วยการพัฒนาเศรษฐกิจในช่วงทศวรรษที่ 1950 จึงเน้นไปที่ความ

จำเริญทางเศรษฐกิจที่สม่ำเสมอมีการว่าจ้างทำงานเต็มที่และความมีเสถียรภาพทางด้านราคา

6. ทฤษฎี การ พัฒนา เศรษฐกิจ ตาม ขั้น ตอน ของ รอส โทว์ ทฤษฎีนี้เป็นทฤษฎีที่ได้รับความสนใจกันมากในช่วงทศวรรษที่1960โดยรอสโทว์(W.W.Rostow)

เสนอแนะให้พัฒนาเศรษฐกิจไปตามขั้นตอนดังเช่นที่ประเทศพัฒนาเคยผ่านมาทั้งนี้เพราะเขามีความเชื่อว่า

ทกุประเทศในโลกนี้สามารถจดัให้อยู่ในขัน้ตอนใดขัน้ตอนหนึง่ใน5ขัน้ตอนที่เขากำหนดขึน้คอืขัน้สงัคมแบบ

ดั้งเดิม(traditionalsociety)ขั้นเตรียมการ(preconditionsfortake-off)ขั้นทะยานขึ้น(take-off)ขั้นไปสู่

ความเจริญเติบโตเต็มที่(drivetomaturity)และขั้นอุดมโภคา(theageofhighmassconsumption)

Page 17: แนวคิดการพัฒนาเศรษฐกิจagri.stou.ac.th/UploadedFile/91721-4.pdf · เค้าโครงเนื้อหา ตอนที่4.1 การ

มสธ มสธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ

4-17แนวคิดการพัฒนาเศรษฐกิจ

รอสโทว์ชี้ให้เห็นว่า ประเทศอังกฤษเป็นประเทศแรกที่อยู่ในขั้นทะยานขึ้นในระหว่าง ค.ศ. 1783-

1802ส่วนประเทศอื่นๆเช่นประเทศสหรัฐอเมริกาอยู่ในขั้นนี้ในช่วงค.ศ.1843-1860ประเทศญี่ปุ่นอยู่ใน

ช่วงค.ศ.1878-1900ประเทศอินเดียและประเทศจีนเข้าสู่ขั้นนี้นับตั้งแต่ค.ศ1950เป็นต้นมาแต่ประเทศ

สหรฐัอเมรกิาก็เปน็ประเทศแรกที่เขา้สู่ขัน้อุดมโภคาในระหวา่งค.ศ.1917-1924และประเทศในยโุรปตะวนัตก

และญี่ปุ่นเข้าสู่ขั้นนี้ นับตั้งแต่ ค.ศ. 1950 เป็นต้นมา สำหรับประเทศด้อยพัฒนานั้น ส่วนมากจะอยู่ใน

ขั้นสังคมแบบดั้งเดิมและขั้นเตรียมการดังนั้นจึงควรเจริญรอยตามแบบอย่างประเทศพัฒนา

ประเด็นสำคัญที่ทำให้ทฤษฎีนี้ได้รับความสนใจมากคือ แต่ละประเทศสามารถก้าวทะยานขึ้นไปสู่

ความเจริญก้าวหน้าทางเศรษฐกิจได้ในระยะเวลาประมาณสองทศวรรษหรือมากกว่าทั้งนี้โดยมีเงื่อนไขว่า

1) อัตราการลงทุนจะต้องเพิ่มสูงขึ้นจากประมาณร้อยละ 5 เป็นมากกว่าร้อยละ 10 ของรายได้

ประชาชาติ

2)มีอุตสาหกรรมใหม่ๆเกิดขึ้นเพื่อเป็นสาขานำ(leadingsector)ในการพัฒนาเศรษฐกิจ

3)มีการพัฒนาสถาบันทางสังคมและการเมือง

กลยุทธ์ที่สำคัญของการพัฒนาเศรษฐกิจตามแนวนี้จึงได้แก่การระดมเงินออมทั้งจากภายในและ

ภายนอกประเทศ เพื่อส่งเสริมให้เกิดการลงทุนในระดับที่เพียงพอที่จะเร่งรัดความจำเริญทางเศรษฐกิจ

ของประเทศให้สูงขึ้นส่วนเงินออมและเงินลงทุนควรจะมีมากน้อยเพียงใดจึงจะก่อให้เกิดความจำเริญทาง

เศรษฐกิจตามที่ต้องการนั้นสามารถอธิบายได้โดยอาศัยทฤษฎีความจำเริญเติบโตของฮาร์รอด-โดมาร์ดังที่

กล่าวมาแล้วสำหรับการเลือกกิจกรรมหรือสาขานำเพื่อการลงทุนนั้นทฤษฎีความจำเริญทางเศรษฐกิจแบบ

สมดุลและไม่สมดุลก็ให้แนวคิดไว้ดังรายละเอียดที่จะกล่าวถึงในหัวข้อต่อไป

7. ทฤษฎี ความ จำเริญ เติบโต แบบ สมดุล และ ไม่ สมดุล ในการพัฒนาเศรษฐกิจนั้น ถ้านักพัฒนาทราบว่าควรจะลงทุนในกิจกรรมหรืออุตสาหกรรมใด

แล้วย่อมจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อการวางแผนและการจัดสรรทรัพยากรในประเด็นนี้นักเศรษฐศาสตร์

การพัฒนาเสนอแนะทฤษฎีและแนวคิดเกี่ยวกับแบบแผนการพัฒนาแบบสมดุลและไม่สมดุลซึ่งสามารถนำ

มาใช้เป็นกลยุทธ์ในการพัฒนาเศรษฐกิจได้ดังนี้

7.1ทฤษฎีความจำเรญิเตบิโตแบบสมดลุทฤษฎีความจำเริญเติบโตแบบสมดุลจะมีอยู่3แบบด้วย

กันแต่ละแบบก็จะมีแนวคิดที่ต่อเนื่องสัมพันธ์กันดังนี้

แบบ แรกเป็นแบบที่เสนอโดยโรเซนสไตน์-โรแดน(P.N.Rosenstein-Rodan)ซึ่งถือว่าเป็นแบบที่

แคบที่สุดและมีสาระสำคัญพอสรุปได้ว่าเมื่อรายได้เฉลี่ยของประเทศด้อยพัฒนาอยู่ในระดับต่ำและอุปสงค์

มีน้อยไม่เพียงพอที่จะส่งเสริมการลงทุนดังนั้น ถ้าจะแก้ไขปัญหาตลาดแคบที่เกิดจากการมีอำนาจซื้อที่ไม่

เพียงพอจึงต้องตั้งโรงงานผลิตสินค้าบริโภคหลายๆโรงงานพร้อมกันเช่นตั้งโรงงานผลิตรองเท้าโรงสีข้าว

โรงงานผลิตแป้งมันโรงงานผลิตรถจักรยานและโรงงานผลิตขนมปัง เป็นต้นทั้งนี้ เพื่อช่วยให้คนมีงานทำ

และมีอำนาจซื้อที่มากเพียงพอถ้าตั้งโรงงานเพียงแห่งเดียว ถึงแม้ว่าจะใช้วิธีการผลิตที่มีประสิทธิภาพสูง

ก็ไม่อาจตั้งอยู่ได้นานเพราะตลาดมีไม่เพียงพอสำหรับผลผลิตที่ผลิตได้

Page 18: แนวคิดการพัฒนาเศรษฐกิจagri.stou.ac.th/UploadedFile/91721-4.pdf · เค้าโครงเนื้อหา ตอนที่4.1 การ

มสธ มสธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ

4-18 สังคมไทยกับการบริหารการส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร

การที่โรเซนสไตน์-โรแดน เสนอการพัฒนาเศรษฐกิจตามแนวนี้ ก็เพื่อแก้ไขปัญหาของประเทศใน

ยุโรปตะวันออกและตะวันตกเฉียงใต้ในขณะนั้น ซึ่งประเทศเหล่านี้เป็นประเทศที่ผลิตสินค้าการเกษตรเป็น

สินค้าออก และซื้อเครื่องจักรเครื่องมือในการผลิตมาจากต่างประเทศ และประเทศเหล่านี้ก็มีโครงสร้าง

พื้นฐานทางเศรษฐกิจ และมีทรัพยากรที่ใช้ในการลงทุนต่าง ๆ อยู่อย่างเพียงพอแล้วด้วยเหตุนี้ เพื่อที่จะ

กระตุ้นให้เกิดการพัฒนา จึงเน้นแต่เฉพาะการตั้งโรงงานอุตสาหกรรมเพื่อผลิตสินค้าบริโภคหลายๆ ชนิด

พร้อมกันเพื่อขยายขนาดของตลาดและเพิ่มอำนาจซื้อของประชาชน

แบบ ที่ สอง เป็นแบบที่รวมเอาโครงการลงทุนขั้นพื้นฐานทางเศรษฐกิจเข้าไว้และมีการตั้งโรงงาน

อุตสาหกรรมเพื่อผลิตสินค้าบริโภคหลายๆโรงงานตามแบบแรกทั้งนี้เพราะประเทศด้อยพัฒนาส่วนใหญ่

มักจะขาดแคลนโครงสร้างขั้นพื้นฐานทางเศรษฐกิจ ไม่ว่าจะเป็นการคมนาคมขนส่ง การพลังงาน ไฟฟ้า

น้ำประปา และแม้กระทั่งการศึกษาและสาธารณสุขดังนั้น กลยุทธ์ในการพัฒนาเศรษฐกิจตามแบบที่สอง

จึงผนวกรวมโครงสร้างขั้นพื้นฐานต่าง ๆดังกล่าวเข้าไว้ด้วย และมีผลทำให้อัตราส่วนของทุนต่อผลผลิตที่

ต้องการตามกลยุทธ์นี้สูงกว่าแบบแรก

แบบ ที่ สาม เป็นแบบของการลงทุนขนานใหญ่ (big push) คือ นอกจากจะมีการลงทุนด้าน

อุตสาหกรรมการบริโภค และโครงสร้างขั้นพื้นฐานทางเศรษฐกิจตามแบบที่สองแล้ว ยังรวมถึงการลงทุน

ทางด้านอุตสาหกรรมการผลิตสินค้าประเภททุนเข้าไว้ด้วย โดยทฤษฎีนี้มีความเชื่อว่า ถ้าจะให้การพัฒนา

ประเทศประสบความสำเร็จแล้วจะต้องมีการทุ่มเทการลงทุนอย่างขนานใหญ่ซึ่งไม่เพียงแต่จะช่วยให้ขนาด

ของตลาดมีการขยายตัวและได้ประโยชน์จากการประหยัดภายใน(internaleconomies)เท่านั้นแต่ยังก่อ

ให้เกิดการประหยัดภายนอก(externaleconomies)จากการตั้งโรงงานอุตสาหกรรมหลายๆประเภทที่มี

ความต่อเนื่องทางเทคนิคซึ่งกันและกันอีกด้วยการลงทุนผลิตสินค้าประเภททุนจึงเป็นส่วนสำคัญที่สุดของ

การพัฒนาตามแนวนี้

7.2 ทฤษฎีความจำเริญเติบโตแบบไม่สมดุล ทฤษฎีนี้เสนอโดยเฮิร์ซแมน (A.O.Hirschman)

ซึ่งมีความเห็นว่า ปัญหาสำคัญของประเทศด้อยพัฒนาคือการขาดแคลนความสามารถในการลงทุน (the

abilitytoinvest)ดังนั้นการที่จะเร่งรัดให้มีการลงทุนอย่างขนานใหญ่ในทุกๆ ด้านพร้อมกันย่อมเป็นไปไม่

ได้กลยุทธ์การพัฒนาที่ถูกต้องจึงอยู่ที่การใช้ความสามารถในการลงทุนอย่างประหยัดโดยพยายามเลือกสรร

การลงทุนในโครงการต่างๆ ที่เมื่อมีการจัดตั้งขึ้นแล้วจะชักนำให้เกิดการลงทุนในกิจการอื่นๆ ติดตามมาให้

มากที่สุดนั่นคือการเลือกการลงทุนในอุตสาหกรรมที่มีผลเชื่อมโยงไปข้างหน้า(forwardlinkageeffects)

หรือมีผลเชื่อมโยงไปข้างหลัง(backwardlinkageeffects)ที่มากที่สุด

อุตสาหกรรมที่มีผลเชื่อมโยงไปข้างหน้า ได้แก่ อุตสาหกรรมที่เมื่อเกิดขึ้นแล้วจะชักนำให้เกิด

อุตสาหกรรมต่างๆ ที่ใช้ผลผลิตของอุตสาหกรรมนั้นเป็นปัจจัยการผลิตเช่นถ้าส่งเสริมให้เกิดอุตสาหกรรม

ผลิตเหล็กกล้าขึ้นแล้วเหล็กกล้าที่ผลิตขึ้นมาได้จะชักนำให้เกิดอุตสาหกรรมอื่นๆ ที่ใช้เหล็กกล้าเป็นวัตถุดิบ

เกิดขึ้นได้ส่วนอุตสาหกรรมที่มีผลเชื่อมโยงไปข้างหลังได้แก่อุตสาหกรรมที่เมื่อเกิดขึ้นแล้วจะชักนำให้เกิด

อุตสาหกรรมอื่นๆ ซึ่งเป็นอุตสาหกรรมที่ผลิตปัจจัยการผลิตให้กับอุตสาหกรรมเริ่มแรกเช่นถ้ามีการส่งเสริม

ให้มีการตั้งโรงงานผลิตอาหารกระป๋องขึ้นโรงงานนี้ก็ต้องการปัจจัยการผลิตประเภทกระป๋องก็จะชักนำให้เกิด

อุตสาหกรรมผลิตกระป๋องขึ้นเป็นต้น

Page 19: แนวคิดการพัฒนาเศรษฐกิจagri.stou.ac.th/UploadedFile/91721-4.pdf · เค้าโครงเนื้อหา ตอนที่4.1 การ

มสธ มสธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ

4-19แนวคิดการพัฒนาเศรษฐกิจ

การส่งเสริมอุตสาหกรรมที่มีผลเชื่อมโยงดังกล่าวจึงก่อให้เกิดความไม่สมดุลในกิจกรรมการผลิต

ต่างๆขึ้นและความไม่สมดุลนี้เองที่จะกระตุ้นให้เกิดการขยายตัวทางเศรษฐกิจและการพัฒนาเศรษฐกิจ

ก็จะเกิดขึ้น

นอกจากความไม่สมดุลในระหว่างกิจกรรมการผลิตแล้วเฮิร์ซแมนยังชี้ให้เห็นถึงความไม่สมดุลใน

ระหว่างพื้นที่อันเป็นที่ตั้งของกิจกรรมต่างๆ อีกด้วยกล่าวคือเมื่ออุตสาหกรรมที่มีผลเชื่อมโยงนี้ไปตั้งดำเนิน

การอยู่ในพื้นที่ใดแล้วจะชักนำให้เกิดอุตสาหกรรมและกิจการต่างๆ มาตั้งดำเนินการอยู่ในบริเวณใกล้เคียง

กันซึ่งจะก่อให้เกิดความประหยัดภายนอกขึ้นจากการที่กิจกรรมต่างๆมาตั้งดำเนินการอยู่ภายในบริเวณ

ใกล้เคียงกันและจะมีผลทำให้พื้นที่นี้เป็นจุดศูนย์กลางของความจำเริญเติบโต (growingpoint)และเมื่อ

พื้นที่ใดพื้นที่หนึ่งเกิดความจำเริญเติบโตขึ้นก็จะส่งผลในทางแพร่กระจาย(trickling-downeffects)ไปสู่

บรเิวณโดยรอบโดยจดุศนูยก์ลางจะซือ้ผลผลติและจา้งแรงงานมาใช้ในการผลติและการขยายงานซึง่จะทำให้

พื้นที่โดยรอบหรือภาคอื่นๆ มีความจำเริญเติบโตตามไปด้วยตามทรรศนะของเฮิร์ซแมนความจำเริญเติบโต

ระหว่างภาคหรือระหว่างพื้นที่ส่วนต่าง ๆ ของประเทศ จะมีลักษณะของความจำเริญเติบโตแบบไม่สมดุล

เช่นกัน แนวคิดดังกล่าวนี้ นับว่าเป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญประการหนึ่งที่ทำให้เกิดทฤษฎีและแนวคิดเกี่ยวกับ

การพัฒนาภาคในระยะต่อมา

8. ทฤษฎี การ พัฒนา เศรษฐกิจ ระหว่าง สาขา การ ผลิต ทฤษฎีนี้มุ่งที่จะอธิบายถึงการพัฒนาเศรษฐกิจจากลักษณะโครงสร้างของประเทศด้อยพัฒนาเป็น

หลักโดยหลุยส์(ArthurLewis)เป็นนักเศรษฐศาสตร์คนแรกที่สังเกตพบว่าสภาพการณ์ในระยะเริ่มแรก

ของประเทศด้อยพัฒนาจะมีลักษณะบางอย่างที่คล้ายคลึงกับสภาพก่อนหน้าที่จะมีการปฏิวัติอุตสาหกรรมใน

ประเทศพัฒนานั่นคือการมีแรงงานมากดังนั้นเขาจึงเห็นว่าทฤษฎีที่จะมีประโยชน์ต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ

ของประเทศด้อยพัฒนาควรจะเป็นทฤษฎีที่สร้างขึ้นจากข้อสมมติต่างๆตามแนวของกลุ่มคลาสสิกมากกว่า

ของกลุ่มนีโอคลาสสิกจากข้อสังเกตดังกล่าวนี้เองจึงทำให้หลุยส์สร้างทฤษฎีการพัฒนาเศรษฐกิจที่มีอุปทาน

ของแรงงานไม่จำกัด(economicdevelopmentwithunlimitedsuppliesoflabor)ขึ้นมาซึ่งใช้ข้อสมมติ

ของกลุ่มคลาสสิกที่ว่า แรงงานสามารถจัดหามาได้ในปริมาณที่ไม่จำกัด ในระดับอัตราค่าจ้างที่แท้จริงคงที่

มากกว่าจะเป็นปัจจัยการผลิตที่หาได้ยากที่จะต้องมีการดึงมาจากการใช้ในการผลิตอื่นๆ

ในการอธิบายนั้น หลุยส์แบ่งระบบเศรษฐกิจของประเทศด้อยพัฒนาออกเป็นสองสาขา (dual

economy)ที่มีความแตกต่างกันนั่นคือ สาขาหนึ่งเป็นสาขาดั้งเดิม ซึ่งทำการผลิตทางการเกษตรเป็นส่วน

ใหญ่ลักษณะที่สำคัญของสาขานี้คือเป็นสาขาที่มีประสิทธิภาพการผลิตต่ำแรงงานมีเหลือเฟือและผลิตผล

หน่วยสุดท้ายของแรงงานมีค่าใกล้เคียงหรือเท่ากับศูนย์แรงงานจึงสามารถลดจำนวนลงได้โดยผลผลิตยัง

คงมีปริมาณคงเดิมส่วนอีกสาขาหนึ่งจะเป็นสาขาที่ทันสมัยซึ่งโดยทั่วไปจะเป็นการผลิตสินค้าอุตสาหกรรม

และการทำเหมืองแร่ โดยใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย มีการใช้ทุนมาก และประสิทธิภาพการผลิตสูง ดังนั้น

จุดเน้นของทฤษฎีนี้จึงอยู่ที่การเพิ่มการจ้างงานในสาขาที่ทันสมัย เพื่อดึงแรงงานส่วนเกินจากสาขาการผลิต

แบบดั้งเดิมเข้ามาทำงานแต่การที่จะให้การจ้างงานเพิ่มขึ้นได้ จะต้องมีการขยายการผลิตในสาขาที่ทันสมัย

Page 20: แนวคิดการพัฒนาเศรษฐกิจagri.stou.ac.th/UploadedFile/91721-4.pdf · เค้าโครงเนื้อหา ตอนที่4.1 การ

มสธ มสธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ

4-20 สังคมไทยกับการบริหารการส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร

และการผลิตในสาขาที่ทันสมัยจะเพิ่มขึ้นได้ก็ต้องมีการลงทุนเพิ่มขึ้น โดยการลงทุนเพิ่มขึ้นนี้จะเป็นไปได้ก็

ต่อเมื่อมีการช่วยเหลือสาขานี้ให้มีกำไรส่วนเกินจากค่าจ้างเพื่อให้มีการนำกำไรส่วนเกินนี้ไปลงทุนทั้งนี้โดย

หลุยส์สมมติว่า นายทุนจะนำกำไรทั้งหมดที่ได้รับไปลงทุน และกำหนดให้อัตราค่าจ้างในสาขาที่ทันสมัยสูง

กว่าระดับอัตราค่าจ้างในสาขาดั้งเดิมและด้วยอัตราค่าจ้างที่สูงกว่าจะทำให้สาขาที่ทันสมัยสามารถดึงแรงงาน

ส่วนเกินจากสาขาดั้งเดิมมาใช้จนหมด

ต่อมาเฟย์(Fei)และเรนิส(Ranis)ขยายแนวคิดของหลุยส์ออกไปโดยวิเคราะห์ให้เห็นว่าความ

เจริญเติบโตทั้งสองสาขานี้จะต้องสอดคล้องสมดุลกันตามทรรศนะของเฟย์และเรนิสความเจริญก้าวหน้า

ทางวิทยาการจะทำให้ผลิตภาพของแรงงานในสาขาเกษตรสูงขึ้นและสามารถที่จะปลดปล่อยแรงงานจากสาขา

การเกษตรไปสู่สาขาอุตสาหกรรมได้และในขณะเดียวกันก่อให้เกิดรายได้ที่เป็นส่วนเกินในสาขาการเกษตร

ซึ่งส่วนเกินนี้เมื่อรวมกับกำไรของผู้ประกอบการอุตสาหกรรมแล้ว จะช่วยเพิ่มปริมาณการลงทุนและความ

ตอ้งการแรงงานมากขึน้และเมือ่มีการลงทนุเพิม่ขึน้เทคนคิการผลติมีการเปลีย่นแปลงประสทิธภิาพการผลติ

ของทั้งสองสาขาจะเพิ่มขึ้นและนำไปสู่การเพิ่มผลผลิตและรายได้ตามจุดมุ่งหมายของการพัฒนาเศรษฐกิจ

ถ้าพิจารณาทางด้านการกระจายรายได้แล้วทฤษฎีนี้คาดคะเนไว้ว่าในระยะเริ่มแรกของการพัฒนา

นั้น ความไม่เท่าเทียมกันในรายได้จะเพิ่มขึ้น แต่จะลดน้อยลงในระยะต่อไปเมื่อเกิดการพัฒนาขึ้นแล้ว

เหตุผลสำคัญที่ทำให้การกระจายรายได้มีความไม่เท่าเทียมกันในระยะเริ่มแรกนั้น สืบเนื่องมาจากว่า สาขา

อุตสาหกรรมที่ทันสมัยจะมีการขยายตัวขึ้น และภายในกลุ่มแรงงานเอง จะมีความไม่เท่าเทียมกันในการ

กระจายรายได้ในระยะแรกๆเช่นกันทั้งนี้เพราะอัตราค่าจ้างแรงงานในสาขาอุตสาหกรรมที่ทันสมัยจะสูง

กว่าอัตราค่าจ้างแรงงานในสาขาการเกษตรแบบดั้งเดิมตามทรรศนะของหลุยส์ความไม่เท่าเทียมกันในการ

กระจายรายได้จะเป็นสิ่งที่จำเป็นและเป็นสาเหตุที่มาของความจำเริญทางเศรษฐกิจทั้งนี้เพราะเขามีความเห็น

ว่ากลุ่มผู้มีรายได้สูงเท่านั้นที่สามารถออมทรัพย์และเป็นผู้ลงทุนอย่างไรก็ดีแนวโน้มของความแตกต่างกัน

ในเรื่องการกระจายรายได้นี้ในที่สุดก็จะลดลงทั้งนี้เนื่องจากเมื่อการจ้างแรงงานส่วนเกินหมดแล้วแรงงาน

จะกลายเป็นปัจจัยการผลิตที่หาได้ยากดังนั้น เมื่อมีอุปสงค์แรงงานเพิ่มขึ้น ค่าจ้างที่แท้จริงของแรงงานจะ

ต้องสูงขึ้นด้วยและเมื่อระดับค่าจ้างสูงขึ้นความไม่เท่าเทียมกันในการกระจายรายได้จะลดน้อยลงและความ

ยากจนก็พลอยได้รับการแก้ไขไปด้วยในตัว

9. ทฤษฎี การ พัฒนา เศรษฐกิจ ที่ เน้น ความ สำคัญ ด้าน การ ค้า ส่ง ออก นอกจากจะมีทฤษฎีและแนวคดิเกีย่วกบัการพฒันาเศรษฐกจิดงัที่กลา่วมาแลว้ยงัมีนกัเศรษฐศาสตร์

อีกหลายท่านที่ได้เสนอทฤษฎีและแนวคิดเพิ่มเติมอีกว่าการส่งสินค้าออกไปจำหน่ายยังต่างประเทศสามารถ

ช่วยให้เกิดการพัฒนาเศรษฐกิจในประเทศด้อยพัฒนาได้เช่นกัน(export-ledgrowth)ทั้งนี้โดยสนับสนุน

แนวคิดของนักเศรษฐศาสตร์กลุ่มคลาสสิกที่เน้นถึงบทบาททางด้านการค้าระหว่างประเทศในการสร้างตลาด

สินค้าให้มีขนาดใหญ่ขึ้นช่วยให้มีการนำทรัพยากรภายในประเทศมาใช้อย่างเต็มที่ซึ่งจะมีผลทำให้การผลิต

และรายได้ของประเทศเพิ่มสูงขึ้นนอกจากนั้นการส่งสินค้าออกไปจำหน่ายยังต่างประเทศยังทำให้ได้เงินตรา

ต่างประเทศเพื่อนำไปซื้อสินค้าประเภททุนและวัตถุดิบที่จำเป็นต้องใช้ในการพัฒนาประเทศและการขยาย

ตัวของตลาดต่างประเทศยังมีส่วนช่วยกระตุ้นให้เกิดความเจริญก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีอีกด้วย

Page 21: แนวคิดการพัฒนาเศรษฐกิจagri.stou.ac.th/UploadedFile/91721-4.pdf · เค้าโครงเนื้อหา ตอนที่4.1 การ

มสธ มสธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ

4-21แนวคิดการพัฒนาเศรษฐกิจ

ในขณะเดียวกันมีนักเศรษฐศาสตร์หลายท่านที่ชี้ให้เห็นว่าการพัฒนาประเทศโดยการพึ่งสินค้าออก

อาจจะมีผลเสยีตอ่ประเทศดอ้ยพฒันาในระยะยาวเพราะจะทำให้เศรษฐกจิของประเทศได้รบัการครอบงำโดย

ประเทศคู่ค้าที่เป็นประเทศพัฒนาเมื่อประเทศด้อยพัฒนาต้องพึ่งพาเศรษฐกิจของประเทศพัฒนาเมื่อภาวะ

เศรษฐกิจของประเทศพัฒนาเกิดการเปลี่ยนแปลงไปย่อมจะมีผลกระทบต่อประเทศด้อยพัฒนาด้วยเช่นกัน

และเมื่อการขยายตัวของสินค้าส่งออกหดตัวลง เนื่องจากราคาสินค้าส่งออกตกต่ำหรือถูกกีดกันทางการค้า

จากประเทศพัฒนาอัตราความจำเริญทางเศรษฐกิจของประเทศก็จะลดลงด้วยนอกจากนั้น สินค้าส่งออก

ส่วนใหญ่ของประเทศด้อยพัฒนาจะเป็นสินค้าขั้นปฐมซึ่งราคามักจะอยู่คงที่หรือลดลงในขณะเดียวกันสินค้า

ที่ประเทศด้อยพัฒนาต้องการก็คือ สินค้าอุตสาหกรรมและสินค้าประเภททุน ซึ่งราคาจะเพิ่มขึ้นตลอดเวลา

ดังนั้นประเทศด้อยพัฒนามักจะเสียเปรียบในอัตราแลกเปลี่ยนทางการค้า(termsoftrade)อยู่เสมอ

10. ทฤษฎี การ พัฒนา ที่ เน้น ความ สำคัญ ด้าน การ ทดแทน การนำ เข้า แนวคิดเกี่ยวกับการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศด้อยพัฒนาอีกทรรศนะหนึ่งคือ ประเทศ

ด้อยพัฒนาควรเน้นส่งเสริมอุตสาหกรรมที่มีตลาดกว้างขวางอยู่แล้วในประเทศ โดยรัฐบาลใช้นโยบายตั้ง

กำแพงภาษีหรือกำหนดโควตาสินค้าประเภทเดียวกันที่นำเข้ามาจากต่างประเทศนักเศรษฐศาสตร์ที่สนับสนุน

ความคิดนี้ได้แก่เพรบบิช(Prebisch)เชนเนอรี(Chenery)และพาพานเดราว์(Papandreou)

อย่างไรก็ดีนโยบายการส่งเสริมอุตสาหกรรมเพื่อทดแทนการนำเข้านี้ได้รับการวิพากษ์วิจารณ์จาก

นักเศรษฐศาสตร์หลายท่านเช่นกันลิตเติล(Little)สกอตต์(Scott)ไซตอฟสกี้(Scitovsky)และบาลาสสา

(Balassa) โดยนักเศรษฐศาสตร์เหล่านี้ชี้ให้เห็นถึงข้อบกพร่องของนโยบายส่งเสริมอุตสาหกรรมที่ทดแทน

การนำเข้าหลายประการที่สำคัญได้แก่

1)ถึงแม้อุตสาหกรรมทดแทนการนำเข้าจะลดปริมาณการนำเข้าของสินค้าสำเร็จรูปได้ แต่ก็ต้อง

พึ่งพาสินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูปจากต่างประเทศอยู่ดีซึ่งมีผลทำให้นโยบายส่งเสริมอุตสาหกรรมทดแทน

การนำเข้าไม่ช่วยแก้ไขปัญหาเรื่องดุลการค้าและดุลการชำระเงินของประเทศด้อยพัฒนาได้อย่างแท้จริง

2)การตั้งกำแพงภาษีและโควตานำเข้าไม่เป็นการสนับสนุนให้มีการผลิตเพื่อส่งออกการไม่ขยาย

ตัวของตลาดสินค้าเพื่อส่งออกทำให้การผลิตไม่สามารถตักตวงประโยชน์จากการประหยัดของขนาดได้อย่าง

เต็มที่

แนวคิด การ พัฒนา เศรษฐกิจแนวคิดการพัฒนาเศรษฐกิจที่สำคัญที่จะกล่าวถึงในที่นี้ประกอบไปด้วย2แนวคิดที่สำคัญได้แก่

แนวคิดการพัฒนาแบบยั่งยืนขององค์การสหประชาชาติว่าด้วยสิ่งแวดล้อม (The United Nations

EnvironmentalProtection:UNEP)และแนวคิดการพัฒนาเศรษฐกิจพอเพียงขององค์พระบาทสมเด็จ-

พระเจ้าอยู่หัวของประเทศไทยซึ่งจะขอกล่าวถึงรายละเอียดดังต่อไปนี้

1. แนวคดิการพฒันาแบบยัง่ยนืในชว่งสองทศวรรษ(ค.ศ.1972-1992)ที่ผา่นมาระหวา่งการประชมุ

ขององค์การสหประชาชาติว่าด้วยสิ่งแวดล้อม(U.N.ConferenceontheEnvironment)ณกรุงสตอกโฮล์ม

Page 22: แนวคิดการพัฒนาเศรษฐกิจagri.stou.ac.th/UploadedFile/91721-4.pdf · เค้าโครงเนื้อหา ตอนที่4.1 การ

มสธ มสธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ

4-22 สังคมไทยกับการบริหารการส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร

และการจัดตั้งหน่วยงานในการป้องกันสิ่งแวดล้อมขององค์การสหประชาชาติคือ TheUnitedNations

Environmental Protection (UNEP) ใน ค.ศ. 1972 กับการประชุมขององค์การสหประชาชาติว่าด้วย

สิ่งแวดล้อมและการพัฒนาณกรุงริโอเดอจาเนโร(UnitedNationsConferenceonEnvironmentand

Development: UNCED) ในค.ศ. 1992มีความเห็นที่สอดคล้องกันในทางวิทยาศาสตร์ เกี่ยวกับความ

เสียหายด้านสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากกิจกรรมของมนุษย์และความเสียหายนี้ส่งผลกระทบต่อความยั่งยืนของ

การดำเนินกิจกรรมของมนุษย์

ความเห็นเกี่ยวกับความรุนแรงของปัญหานี้สะท้อนให้เห็นได้จากข้อเขียนของหลายหน่วยงานเช่น

รายงานของสภาธุรกิจเพื่อการพัฒนาแบบยั่งยืน(TheBusinessCouncilforSustainableDevelopment)

ที่เสนอต่อการประชุมสหประชาชาติชาติว่าด้วยสิ่งแวดล้อมและการพัฒนา(UNCED)ถึงความไม่ยั่งยืนของ

วิธีการในปัจจุบันที่ใช้ในการจัดการพลังงานการจัดการป่าไม้การทำการเกษตรการปกป้องพันธุ์พืชและพันธุ์

สัตว์การจัดการด้านการขยายตัวของเมืองและการผลิตสินค้าอุตสาหกรรมจากรายงานของบรันดท์แลนด์

(TheBrundtlandReport) ระบุถึงปัญหาสิ่งแวดล้อมในปัจจุบันว่าถึงระดับวิกฤติต่อการอยู่รอดของชีวิต

บนโลกของสถาบันทรัพยากรโลก (TheWorldResources Institute:WRI) ในการร่วมมือกับโครงการ

การพัฒนาและสิ่งแวดล้อมขององค์การสหประชาชาติ สรุปจากฐานข้อมูลสิ่งแวดล้อมที่ได้มีการรวบรวมไว้

ว่า โลกปัจจุบันมิได้มีทิศทางมุ่งไปสู่อนาคตที่ยั่งยืน แต่กลับมุ่งไปสู่ภัยพิบัติต่าง ๆที่จะเกิดกับมนุษย์และ

สิ่งแวดล้อม(WRI,1992:2)ธนาคารโลกพยากรณ์ว่าผลผลิตทางเศรษฐกิจของโลกจะเพิ่มขึ้น3.5เท่าภายใน

ค.ศ.2030และยอมรับว่าถ้ามลพิษและความเสื่อมโทรมทางสิ่งแวดล้อมเพิ่มขึ้นไปตามการเพิ่มของผลผลิต

ผลลัพธ์ที่จะเกิดคือความรุนแรงของปัญหามลพิษและความเสียหายต่อสิ่งแวดล้อม(WorldBank,1992:

9)แผนปฏิบัติการที่5ของประชาคมยุโรป(TheFifthActionProgramoftheEuropeanCommunity)

ยอมรับว่า รูปแบบต่าง ๆ ในปัจจุบันของกิจกรรมการพัฒนา ไม่ได้ทำให้เกิดความยั่งยืนทางสิ่งแวดล้อม

ดังที่เห็นได้จากความเสื่อมโทรมของสิ่งแวดล้อมของชุมชนที่เป็นไปอย่างช้าๆ แต่ต่อเนื่องจากมาตรการต่างๆ

ที่เกิดขึ้นในช่วงสองทศวรรษที่ผ่านมา

ในค.ศ.1993 ในรายงานประจำปีเกี่ยวกับสถานภาพของโลกสถาบันเฝ้าระวังโลก (TheWorld-

watchInstitute)กล่าวสรุปถึงความเสียหายของสิ่งแวดล้อมในปัจจุบันว่ามีผลปรากฏให้เห็นในการลดลง

ของประสิทธิภาพการผลิตของพื้นที่เกษตรป่าทุ่งหญ้าและประมงในการเพิ่มขึ้นของค่าใช้จ่ายในการกำจัด

แหล่งกากสารพิษค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลโรคมะเร็ง โรคภูมิแพ้ โรคหืดหอบและโรคทางเดินหายใจ

และในการขยายตัวของความหิวโหย แนวโน้มเหล่านี้มีความหมายว่า ถ้าไม่มีการเปลี่ยนวิถีเศรษฐกิจที่มุ่ง

ทำลายไปสู่เศรษฐกิจที่มีความยั่งยืนทางสิ่งแวดล้อมแล้วคนในรุ่นต่อไปจะต้องเผชิญกับปัญหาอันท่วมท้น

จากความเสื่อมโทรมทางสิ่งแวดล้อมและการล่มสลายทางสังคม ในขณะเดียวกัน ในค.ศ. 1992 สถาบัน

วิทยาศาสตร์ที่มีชื่อเสียงที่สุดของโลกสองแห่งร่วมกันประกาศคำเตือนว่าการบริโภคทรัพยากรอย่างไม่มีการ

จำกัดทั้งในด้านการผลิตและการใช้พลังงานสามารถนำไปสู่ผลทางภัยพิบัติสิ่งแวดล้อมโลกการเปลี่ยนแปลง

สิ่งแวดล้อมบางอย่างอาจทำให้เกิดความเสียหายที่เกินศักยภาพของโลกที่จะแก้ไขได้ อนาคตของโลกอยู่ที่

ความสมดุลของสิ่งแวดล้อม

Page 23: แนวคิดการพัฒนาเศรษฐกิจagri.stou.ac.th/UploadedFile/91721-4.pdf · เค้าโครงเนื้อหา ตอนที่4.1 การ

มสธ มสธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ

4-23แนวคิดการพัฒนาเศรษฐกิจ

สภาพปญัหาสิง่แวดลอ้มที่เกดิจากการพฒันาและกำลงักลายเปน็ขอ้จำกดัของการพฒันาของประเทศ

ต่างๆในโลกสรุปไว้ในตารางที่4.1

ตาราง ที่ 4.1 ปัญหา สิ่ง แวดล้อม และ สาเหตุ หลัก

ปัญหา (ระดับ) สาเหตุหลัก

มลพิษ (Pollution)

ผลกระทบเรือนกระจก/

การเปลี่ยนแปลงของอากาศ(ระดับโลก)

- การปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์(CO2)

ไนโตรเจนไดออกไซด์(NO2)

คลอโรฟลูโอคาร์บอน(chlorofluocarbons)(CFCs)

โอโซน(O3)(ระดับต่ำ)เป็นต้น

-การตัดไม้ทำลายป่า

การหมดสิ้นไปของโอโซน

(ระดับโลก)

-การปล่อยสารCFCs

ฝนกรด

(ระดับทวีป)

-การปล่อยซัลเฟอร์ไดออกไซด์(SO2)

-ไนโตรเจนไดออกไซด์(NO2),O3(ระดับต่ำ)

มลพิษจากสารพิษ

(ระดับทวีป)

-สารหนัก(heavymetals)

สารกัมมันตภาพรังสี(eutrophiersradiation)

ไฮโดรคาร์บอน(hybrocarbons)

คาร์บอนมอนอกไซด์(carbonmonoxide)

สารเคมีจากภาคเกษตร

การหมดสิ้นไปของทรัพยากรที่เกิดใหม่ได้

การสูญพันธุ์ของพืชและสัตว์

(ระดับโลก)

-การเปลี่ยนแปลงในการใช้ที่ดิน(เช่นการพัฒนา

การทำลายป่า)การเพิ่มประชากรการเก็บเกี่ยวที่ไม่ยั่งยืน

(เช่นการจับปลามากเกินไปการจับปลาในเขตหวงห้าม

หรือในน่านน้ำของประเทศอื่น)การเปลี่ยนแปลงของ

อุณหภูมิโลกการหมดสิ้นไปของโอโซน

ความเสื่อมโทรมของดิน/การสูญเสีย

ความสมบูรณ์ของดิน(ระดับภูมิภาคประเทศ)

- ปัญหาประชากรการเกษตรที่ไม่ยั่งยืนการขยายตัวเป็น

เมืองการพัฒนาการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิ

การหมดสิ้นไปของน้ำ(ระดับภูมิภาคประเทศ) - การใช้น้ำแบบไม่ยั่งยืนการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิ

Page 24: แนวคิดการพัฒนาเศรษฐกิจagri.stou.ac.th/UploadedFile/91721-4.pdf · เค้าโครงเนื้อหา ตอนที่4.1 การ

มสธ มสธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ

4-24 สังคมไทยกับการบริหารการส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร

ปัญหา (ระดับ) สาเหตุหลัก

การหมดสิ้นไปของทรัพยากรที่ใช้แล้วหมดสิ้นไป

การหมดสิ้นไปของทรัพยากรหลายชนิด

(ระดับโลกประเทศ)

-เชื้อเพลิงจากถ่านหินแร่ธาตุต่างๆ

ปัญหาสิ่งแวดล้อมอื่นๆ

ความหนาแน่น(congestion)

(ระดับประเทศ)

-การกำจัดของเสีย

-จราจร

ที่มา:Ekins,1994:28.

ดังนั้น ในช่วงสามทศวรรษที่ผ่านมา จึงมีการแสดงความคิดเห็นอย่างมากมายให้ประชาคมโลก

ตระหนักถึงความเสียหายของสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากการพัฒนา และเรียกร้องให้มีการพัฒนาแบบยั่งยืนโดย

องค์การในระดับโลก

ความหมายของการพัฒนาแบบยั่งยืน(sustainabledevelopment)รายงานของคณะกรรมการ

โลกว่าด้วยสิ่งแวดล้อมและการพัฒนา (WorldCommission onEnvironment andDevelopment:

WCED)หรือรู้จักกันในนามของรายงานของบรันดท์แลนด์ ให้คำจำกัดความเกี่ยวกับความหมายของการ

พัฒนาแบบยั่งยืนเป็นครั้งแรก และเป็นที่นิยมใช้ในการกล่าวอ้างอิงว่า การพัฒนาแบบยั่งยืน คือ “การ

พัฒนาเพื่อตอบสนองต่อความต้องการของคนในรุ่นปัจจุบัน โดยไม่ทำให้ความสามารถในการตอบสนอง

ต่อความต้องการของคนในรุ่นต่อไปต้องเสียไป”(“developmentthatmeetstheneedsofthepresent

without compromising the ability of future generations tomeet their own needs”) ตาม

คำจำกัดความของWCEDนี้ การพัฒนาแบบยั่งยืนจะเกี่ยวข้องกับความเท่าเทียมกันในหมู่คนรุ่นเดียวกัน

ในปัจจุบัน (intragenerational equity) และความเท่าเทียมกันของคนระหว่างรุ่นปัจจุบันและรุ่นต่อไป

(intergenerational equity) ความเท่าเทียมกันนี้เกี่ยวข้องกับความยุติธรรมในการกระจายความมั่งคั่ง

(รายได้)และการใช้ทรัพยากรตลอดจนการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม

อย่างไรก็ตามถึงแม้จะมีการให้คำจำกัดความโดยWCEDแต่มีการใช้การพัฒนาแบบยั่งยืน

ในความหมายที่แตกต่างกันไปยังไม่มีคำจำกัดความตายตัวแน่นอนเดวิดเพียร์ซ(Pearce,etal.,1989:

173-85) กล่าวถึงความหมายของการพัฒนาแบบยั่งยืนว่ามีมากมาย สำหรับ เอกินส์ (Ekins, 1994: 29)

พิจารณาว่าปัญหาของการให้คำจำกัดความของการพัฒนาแบบยั่งยืนอยู่ที่แนวคิดที่ผสมผสานกันอยู่สอง

แนวคิดด้วยกันคือการพัฒนา(development)และความยั่งยืน(sustainability)สิ่งที่เกี่ยวข้องกับแนวคิด

การพัฒนามีอยู่มากมายในกรณีนี้อาจจะพิจารณาอย่างกว้างๆว่าการพัฒนาคือกระบวนการที่มีผลต่อการ

เพิ่มสวัสดิการของกลุ่มที่เกี่ยวข้องหรือการพัฒนาคุณภาพชีวิตซึ่งแนวคิดนี้สอดคล้องกับความพยายามใน

ปัจจุบันของโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ(UNDP)ในการแสดงให้เห็นถึงระดับการพัฒนาโดยการรวม

ตาราง ที่ 4.1 (ต่อ)

Page 25: แนวคิดการพัฒนาเศรษฐกิจagri.stou.ac.th/UploadedFile/91721-4.pdf · เค้าโครงเนื้อหา ตอนที่4.1 การ

มสธ มสธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ

4-25แนวคิดการพัฒนาเศรษฐกิจ

ตัวเลขรายได้ประชาชาติต่อหัวกับข้อมูลสถิติที่เกี่ยวข้องกับตัวเลขการตายของทารกและอัตราการรู้หนังสือ

เข้าไปในดัชนีการพัฒนามนุษย์(HumanDevelopmentIndex:HDI)

อีบีบาร์เบียร์(E.B.Barbier)เสนอให้พิจารณาว่าการพัฒนาแบบยั่งยืนเป็นเรื่องของความ

สัมพันธ์ของระบบสามระบบด้วยกันได้แก่ระบบชีวภาพเศรษฐกิจและสังคม(biological,economicand

social systems)ดังนั้น เป้าหมายโดยทั่วไปของการพัฒนาเศรษฐกิจแบบยั่งยืนคือ การให้ได้เป้าหมายที่

ครอบคลุมทั้งสามระบบนี้ให้มากที่สุดโดยการพิจารณาจากทางเลือกต่างๆเนื่องจากเป้าหมายทั้งสามนี้มัก

จะไม่สามารถบรรลุได้ในเวลาเดียวกันความยากลำบากในการกำหนดทางเลือกแสดงให้เห็นว่ากระบวนการ

ที่ดีที่สุดในการทำให้ได้เป้าหมายมากที่สุดจะต้องผ่านกระบวนการทางการเมืองมากกว่ากระบวนการทาง

เศรษฐกิจดังจะเห็นได้จากแนวคิดเกี่ยวกับ“การรักษาสิ่งแวดล้อมต้องมาก่อน”(primaryenvironmental

care:PEC)ซึ่งมีความเกี่ยวข้องอย่างชัดเจนกับเป้าหมายทางด้านสิ่งแวดล้อมและเป็นที่ยอมรับกันทั่วไปใน

หมู่องค์กรพัฒนาในความพยายามที่จะนำแนวคิดการพัฒนาแบบยั่งยืนไปปฏิบัติ

เจฮอล์มเบอร์กและอาร์แซนบรูค (J.HolmbergandR.Sanbrook,1992:31-32) ให้

คำอธิบายเกี่ยวกับการพัฒนาแบบยั่งยืนโดยอาศัยแนวคิดจากPECดังกล่าวว่าการพัฒนาแบบยั่งยืนในส่วน

ของความหมายที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาคือการพัฒนาที่ประกอบไปด้วย

-เป้าหมายทางเศรษฐกิจ:การตอบสนองและความพึงพอใจด้านความจำเป็นพื้นฐาน

-เป้าหมายทางสิ่งแวดล้อม:การป้องกันและการนำไปใช้อย่างดีที่สุดด้านสิ่งแวดล้อม

-เป้าหมายทางสังคม:การให้อำนาจแก่กลุ่มคนและชุมชน

สำหรับความยั่งยืนประกอบไปด้วย3ด้านด้วยกันได้แก่

-ด้านสังคม:ความยั่งยืนในด้านขนบธรรมเนียมประเพณีความสัมพันธ์และสถาบัน

-ด้านเศรษฐกิจ:ความยั่งยืนในการจัดสรรและกระจายทรัพยากรที่ขาดแคลน

-ด้านนิเวศวิทยา:ความยั่งยืนในการให้จากสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรแก่ทั้งสองด้าน

ข้างต้น

ดังนั้นหากพิจารณาโดยรวมทั้งในส่วนของคำจำกัดความของWCEDและของHolmberg

และSanbrookแล้วการพัฒนาแบบยั่งยืนมีความหมายถึงการพัฒนาที่มีเป้าหมายทั้งในแง่ของความเจริญ

เติบโตทางเศรษฐกิจสังคมคุณภาพชีวิตและการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมสำหรับคนในยุคปัจจุบันและมีความ

ยั่งยืนไปถึงลูกหลานในอนาคตและในปัจจุบันแนวคิดการพัฒนาแบบยั่งยืนเกี่ยวข้องกับความหมายที่ได้

กล่าวสรุปไว้แล้วอย่างไรก็ตามในทางปฏิบัติตามแนวคิดนี้เป็นสิ่งที่เพิ่งเริ่มต้น โดยเฉพาะในประเทศกำลัง

พัฒนา

2. แนวคิดการพัฒนาแบบเศรษฐกิจพอเพียงขององค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

ปรัชญาการพัฒนาแบบ“เศรษฐกิจพอเพียง”

วิกฤติเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นในประเทศไทยในกลางปี พ.ศ. 2540 เป็นผลสืบเนื่องจากการเกิด

วิกฤติการณ์ทางการเงินและลุกลามกลายเป็นวิกฤติเศรษฐกิจไปยังประเทศต่างๆในเอเชียในกระแสของ

แนวคิดการฟื้นฟูเศรษฐกิจของประเทศไทยนั้น“เศรษฐกิจพอเพียง”เป็นสิ่งจุดประกายแห่งความหวังในการ

Page 26: แนวคิดการพัฒนาเศรษฐกิจagri.stou.ac.th/UploadedFile/91721-4.pdf · เค้าโครงเนื้อหา ตอนที่4.1 การ

มสธ มสธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ

4-26 สังคมไทยกับการบริหารการส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร

พัฒนาประเทศและมีการระดมความคิดเพื่อให้เกิดความเข้าใจแนวคิดนี้และนำไปเป็นแนวทางการจัดทำแผน

พัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่9(พ.ศ.2545-2549)โดยคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและ

สังคมแห่งชาติซึ่งร่วมกันจัดสัมมนาวิชาการเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงขึ้นเมื่อเดือนธันวาคม2542เนื้อหาสำคัญ

เกีย่วกบัเศรษฐกจิพอเพยีงจากการประมวลและกลัน่กรองจากพระราชดำรสัของพระบาทสมเดจ็พระเจา้อยูห่วั

เรื่องเศรษฐกิจพอเพียงซึ่งพระราชทานในโอกาสต่างๆรวมทั้งพระราชดำรัสอื่นๆที่เกี่ยวข้อง(สถาบันวิจัย

เพื่อการพัฒนาประเทศไทย2542)มีดังนี้

เศรษฐกจิพอเพยีง “เศรษฐกิจพอเพียง”เป็นปรัชญาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรง

มีพระราชดำรัสชี้แนะแนวทางการดำเนินชีวิตแก่พสกนิกรชาวไทยมาโดยตลอดเป็นเวลานานกว่า25ปีตั้งแต่

ก่อนเกิดวิกฤติการณ์ทางเศรษฐกิจและเมื่อภายหลังทรงเน้นย้ำแนวทางการแก้ไขเพื่อให้รอดพ้นและสามารถ

ดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคงและยั่งยืนภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์และความเปลี่ยนแปลงต่างๆ

ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเศรษฐกิจพอเพียงเป็นปรัชญาชี้ถึงแนวการดำรงอยู่และ

ปฏิบัติตนของประชาชนในทุกระดับตั้งแต่ระดับครอบครัวระดับชุมชนจนถึงระดับรัฐทั้งในการพัฒนาและ

บริหารประเทศให้ดำเนินไปในทางสายกลาง โดยเฉพาะการพัฒนาเศรษฐกิจเพื่อให้ก้าวหน้าทันต่อโลกยุค

โลกาภิวัตน์ความพอเพียงหมายถึงความพอประมาณความมีเหตุผลรวมถึงความจำเป็นที่จะต้องมีระบบ

ภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีพอสมควรต่อการมีผลกระทบใดๆอันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทั้งภายนอกและภายใน

ทั้งนี้จะต้องอาศัยความรอบรู้ความรอบคอบและความระมัดระวังอย่างยิ่งในการนำวิชาการต่างๆมาใช้ใน

การวางแผนและการดำเนินการทุกขั้นตอนและขณะเดียวกันจะต้องเสริมสร้างพื้นฐานจิตใจของคนในชาติ

โดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ของรัฐนักทฤษฎีและนักธุรกิจในทุกระดับให้มีสำนึกในคุณธรรมความซื่อสัตย์สุจริต

และให้มีความรอบรู้ที่เหมาะสมดำเนินชีวิตด้วยความอดทนความเพียรมีสติปัญญา และความรอบคอบ

เพื่อให้สมดุลและพร้อมต่อการรองรับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและกว้างขวางทั้งด้านวัตถุ สังคม

สิ่งแวดล้อมและวัฒนธรรมจากโลกภายนอกได้เป็นอย่างดี

ทฤษฎีใหม่ทฤษฎีใหม่เป็นวิธีปฏิบัติของเกษตรกรที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

พระราชทานแก่เกษตรกรรายย่อยในการแก้ปัญหาความยากจนโดยทรงแบ่งวิธีปฏิบัติออกเป็นสามขั้นตอน

จากขั้นตอนการปฏิบัติให้พึ่งตนเองได้มาสู่ขั้นตอนของการรวมตัวเป็นกลุ่มหรือสหกรณ์ของเกษตรกรและ

ขั้นที่สามเป็นการร่วมมือกับแหล่งการเงินและแหล่งพลังงานเพื่อการจัดตั้งโรงสีร้านสหกรณ์เพื่อขยายการ

ลงทุนและเพิ่มคุณภาพชีวิตของเกษตรกร

หลัง จาก ศึกษา เนื้อหา สาระ ตอน ที่ 4.1 แล้ว โป รด ปฏิบัติ กิจกรรม 4.1

ใน แนว การ ศึกษา หน่วย ที่ 4 ตอน ที่ 4.1

Page 27: แนวคิดการพัฒนาเศรษฐกิจagri.stou.ac.th/UploadedFile/91721-4.pdf · เค้าโครงเนื้อหา ตอนที่4.1 การ

มสธ มสธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ

4-27แนวคิดการพัฒนาเศรษฐกิจ

ตอน ที่ 4.2

การ พัฒนา เศรษฐกิจ ของ ประเทศไทย

โปรดอ่านแผนการสอนประจำตอนที่4.2แล้วจึงศึกษาเนื้อหาสาระพร้อมปฏิบัติกิจกรรมในแต่ละตอน

หัว เรื่องเรื่องที่4.2.1วิวัฒนาการของการพัฒนาเศรษฐกิจ

เรื่องที่4.2.2แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

เรื่องที่4.2.3บทบาทของภาครัฐและภาคเอกชนในการพัฒนาเศรษฐกิจ

แนวคิด1. วิวัฒนาการของการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศไทยมีจุดเริ่มต้นจากการที่รัฐบาลออก

พระราชบัญญัติสภาเศรษฐกิจพ.ศ.2493

2. การพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศไทยโดยผ่านแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

เริ่มจากแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 1 เมื่อปี พ.ศ. 2504 ซึ่งมี

การวางแผนจากสว่นกลางหรอืจากบนลงลา่ง(topdownplanning)โดยแผนพฒันาฉบบั

นี้ได้รับแนวคิดการจัดทำแผนจากทฤษฎีความเจริญเติบโต(GrowthTheory)

3. บทบาทของรัฐบาลในการพัฒนาเศรษฐกิจ ได้แก่ การชี้นำส่งเสริม และช่วยเหลือ

ภาคเอกชนการจัดให้มีสินค้าสาธารณะและโครงสร้างพื้นฐานการปรับปรุงการกระจาย

รายได้การรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจตลอดทั้งการชี้นำการพัฒนาประเทศ

วัตถุประสงค์เมื่อศึกษาตอนที่4.2จบแล้วนักศึกษาสามารถ

1. อธิบายวิวัฒนาการของการพัฒนาเศรษฐกิจได้

2. อธิบายแนวโน้มของการพัฒนาเศรษฐกิจได้

3. อธิบายบทบาทของภาครัฐและภาคเอกชนในการพัฒนาเศรษฐกิจได้

Page 28: แนวคิดการพัฒนาเศรษฐกิจagri.stou.ac.th/UploadedFile/91721-4.pdf · เค้าโครงเนื้อหา ตอนที่4.1 การ

มสธ มสธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ

4-28 สังคมไทยกับการบริหารการส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร

เรื่อง ที่ 4.2.1 วิวัฒนาการ ของ การ พัฒนา เศรษฐกิจ

วิวัฒนาการ ของ การ พัฒนา เศรษฐกิจ ของ ประเทศไทยวิวัฒนาการการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศไทยนั้นสามารถแบ่งออกได้3ช่วงดังต่อไปนี้

1. ชว่งปีพ.ศ.2493รฐับาลออกพระราชบญัญตัิสภาเศรษฐกจิการพฒันาเศรษฐกจิของประเทศไทย

เริ่มจากเมื่อสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2 ประเทศไทยประสบปัญหาเศรษฐกิจอย่างรุนแรง รัฐบาลในยุคนั้น

พยายามแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจให้ฟื้นฟูอย่างรวดเร็วโดยรัฐบาลออกพระราชบัญญัติสภาเศรษฐกิจพ.ศ.2493

ซึ่งมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2493 (ประกาศในราชกิจจานุเบกษาตอนที่ 10 เล่มที่ 67

วันที่14กุมภาพันธ์พ.ศ.2493)สาระสำคัญตามพระราชบัญญัติฉบับนี้กำหนดให้นายกรัฐมนตรีทำหน้าที่เป็น

ประธานกรรมการสภาเศรษฐกิจส่วนคณะกรรมการนั้นทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯแต่งตั้งจากผู้ทรงคุณวุฒิที่

มีความเชี่ยวชาญทางด้านเศรษฐกิจตามคำแนะนำของคณะรัฐมนตรีจำนวนไม่เกิน20คนตามมาตรา20ใน

พระราชบัญญัติฉบับนี้กำหนดบทบาทหน้าที่ของสภาเศรษฐกิจไว้สามประการดังนี้

1.1 ให้ความเห็นและคำแนะนำแก่รัฐบาลเพื่อประโยชน์แห่งความก้าวหน้าในทางเศรษฐกิจ

ของชาติ

1.2ชี้แจงให้รัฐบาลทราบถึงวิธีการอันเหมาะสมอย่างยิ่งที่จะนำมาใช้ผดุงส่งเสริมและทำความ

ก้าวหน้าทางเศรษฐกิจของชาติ ทั้งโดยอาศัยความรู้ความชำนาญทางเทคนิคผลแห่งการค้นคว้าหรือสำรวจ

และสถิติต่างๆตลอดจนผลแห่งการปฏิบัติอันได้ทำมาแล้ว

1.3ทำหน้าที่รวบรวมการสถิติพยากรณ์ทั่วราชอาณาจักร

จากการที่ประเทศไทยประสบปญัหาทางเศรษฐกจิอนัเปน็ผลพวงของสงครามโลกครัง้ที่2และรฐับาล

พยายามทำการฟื้นฟูเศรษฐกิจอย่างรวดเร็วทำให้ประเทศไทยใช้ทรัพยากรของชาติอย่างสิ้นเปลืองประกอบ

กับในช่วงเวลานั้นยังไม่เคยมีการสำรวจฐานะที่แท้จริงทางเศรษฐกิจของประเทศเพื่อใช้ในการวางแผนพัฒนา

ประเทศในระยะต่อไปซึ่งการพัฒนาประเทศในระยะเริ่มแรกมีความจำเป็นจะต้องใช้งบประมาณที่สูงในการ

ฟื้นฟูเศรษฐกิจดังนั้นจะอาศัยเงินลงทุนจากงบประมาณแผ่นดินอย่างเดียวคงไม่เพียงพอเนื่องจากรายได้ของ

ภาครัฐมีจำนวนจำกัดดังนั้นจึงมีความจำเป็นจะต้องอาศัยแหล่งเงินกู้จากต่างประเทศ โดยมีแหล่งเงินกู้ที่

สำคญัคอืธนาคารโลกการที่จะขอเงนิกู้จากธนาคารโลกจำเปน็จะตอ้งเขยีนโครงการเพือ่ให้แหลง่เงนิกู้พจิารณา

โครงการก่อนการอนุมัติเงินกู้ดังนั้นประเทศไทยขอความร่วมมือจากธนาคารโลกให้ส่งคณะผู้เชี่ยวชาญเข้ามา

สำรวจเศรษฐกิจของประเทศเพื่อเป็นฐานข้อมูลในการจัดทำโครงการเงินกู้ ในการนี้ธนาคารโลกร่วมกับ

เจ้าหน้าที่ของรัฐบาลไทยจัดตั้งคณะกรรมการสองชุดคือคณะกรรมการร่วมมือกับคณะสำรวจเศรษฐกิจของ

ธนาคารโลก(ก.ส.ธ.)และคณะกรรมการบรหิารก.ส.ธ.สำรวจสภาวะเศรษฐกจิของประเทศไทยเริม่ตัง้แต่เดอืน

กรกฎาคมพ.ศ.2500ถึงเดือนมิถุนายนพ.ศ.2501คณะสำรวจจัดทำรายงานชื่อโครงการพัฒนาของรัฐบาล

สำหรับประเทศไทย(APublicDevelopmentProgramforThailand)โดยเนื้อหาตอนหนึ่งของรายงาน

Page 29: แนวคิดการพัฒนาเศรษฐกิจagri.stou.ac.th/UploadedFile/91721-4.pdf · เค้าโครงเนื้อหา ตอนที่4.1 การ

มสธ มสธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ

4-29แนวคิดการพัฒนาเศรษฐกิจ

ฉบับนี้เสนอให้รัฐบาลจัดตั้งสถาบันการวางแผนเศรษฐกิจของประเทศไทยจากข้อเสนอดังกล่าวรัฐบาลและ

สภาเศรษฐกิจแห่งชาติมีความเห็นว่าควรจะต้องจัดตั้งหน่วยงานกลางในการวางแผนพัฒนาประเทศอย่าง

ถาวรดังนั้นรัฐบาลได้ประกาศพระราชบัญญัติสภาพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติพ.ศ.2502เมื่อวันที่4กรกฎาคม

2502จัดตั้งสภาพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติให้เป็นหน่วยงานที่ขึ้นตรงกับสำนักนายกรัฐมนตรีพร้อมทั้งยกเลิก

พระราชบัญญัติสภาเศรษฐกิจแห่งชาติพ.ศ.2493ต่อมาแก้ไขพระราชบัญญัติสภาพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติ

(ฉบับที่2)พ.ศ.2503และพระราชบัญญัติสภาพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติ(ฉบับที่3)พ.ศ.2509

องค์ ประกอบ ที่ สำคัญ ของ สภา พัฒนา เศรษฐกิจ แห่ง ชาติ ประกอบด้วยสามส่วนได้แก่

1)สภาพฒันาเศรษฐกจิแหง่ชาติประกอบดว้ยนายกรฐัมนตรีเปน็ประธานรองนายกรฐัมนตรี

เป็นรองประธานและกรรมการอื่นที่คณะรัฐมนตรีแต่งตั้ง โดยมีหน้าที่พิจารณาข้อเสนอต่าง ๆที่สำนักงาน

สภาพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติเสนอมา และเสนอความเห็นต่อนายกรัฐมนตรีในกิจการที่เกี่ยวกับพัฒนา

การเศรษฐกิจที่นายกรัฐมนตรีขอให้พิจารณา

2) คณะกรรมการบริหารสภาพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติประกอบด้วยเลขาธิการสภาพัฒนา

เศรษฐกิจแห่งชาติเป็นกรรมการบริหารโดยตำแหน่ง มีอำนาจหน้าที่ตามที่สภาพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติจะ

มอบหมายและกำกับการปฏิบัติงานของสำนักงานสภาพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติ

3) สำนกังานสภาพฒันาเศรษฐกจิแหง่ชาติมีฐานะเปน็กรมสงักดัสำนกันายกรฐัมนตรีมหีนา้ที่

ที่สำคัญคือ การจัดทำแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ การพิจารณาโครงการต่าง ๆ ของกระทรวง

ทบวงกรมรวมทั้งพิจารณางบลงทุนของรัฐวิสาหกิจและเรื่องอื่นๆที่คณะรัฐมนตรีมอบหมายให้พิจารณา

2. ชว่งปีพ.ศ.2515รฐับาลออกประกาศคณะปฏบิตัิต่อมาในปี2515รัฐบาลในช่วงนั้นออกประกาศ

คณะปฏิวัติฉบับที่216มีการปรับปรุงระเบียบบริหารราชการของประเทศโดยการโอนอำนาจหน้าที่ของสภา

พัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติไปเป็นสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ในการ

ปรับปรุงการบริหารราชการครั้งนี้เพื่อให้การดำเนินงานมีความรัดกุมและมีประสิทธิภาพมากขึ้น จึงรวมการ

พัฒนาสังคมเข้ามาให้ความสำคัญในการพัฒนาประเทศซึ่งจะทำให้การวางแผนพัฒนาสมบูรณ์มากขึ้นต่อมา

รัฐบาลประกาศยกเลิกพระราชบัญญัติสภาพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติพ.ศ. 2502แก้ไขเพิ่มเติมพ.ศ. 2503

และพ.ศ.2509และประกาศใช้พระราชบัญญัติพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติพ.ศ.2521ให้มีผล

บังคับใช้ตั้งแต่วันที่30สิงหาคมพ.ศ.2521จนถึงปัจจุบัน

3. ชว่งปีพ.ศ.2521ถงึปจัจบุนัรฐับาลออกพระราชบญัญตัิพฒันาการเศรษฐกจิและสงัคมแหง่ชาติ

จากพระราชบัญญัติพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติพ.ศ.2521มีการกำหนดให้มีองค์กรและกลไก

การทำงานสองระดบัคอืระดบัคณะกรรมการพฒันาการเศรษฐกจิและสงัคมแหง่ชาติและระดบัของสำนกังาน

คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ โดยคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคม

แหง่ชาติมีกรรมการจำนวน15คนประกอบดว้ยประธานกรรมการ1คนกรรมการที่มีความรู้และประสบการณ์

ทางด้านเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เลขาธิการคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน ผู้อำนวยการสำนัก

งบประมาณผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลังและผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทยคณะกรรมการ

ชุดนี้มีอำนาจหน้าที่ดังนี้

Page 30: แนวคิดการพัฒนาเศรษฐกิจagri.stou.ac.th/UploadedFile/91721-4.pdf · เค้าโครงเนื้อหา ตอนที่4.1 การ

มสธ มสธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ

4-30 สังคมไทยกับการบริหารการส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร

1) เสนอแนะให้ความเห็นเกี่ยวกับการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมต่อคณะรัฐมนตรี

2)พิจารณาแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติกับข้อเสนออื่น ๆ ของสำนักงาน

คณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติแล้วนำเสนอต่อคณะรัฐมนตรี

3)เสนอความเห็นต่อนายกรัฐมนตรีในกิจการเกี่ยวกับการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมที่

นายกรัฐมนตรีขอให้พิจารณา

4)จัดให้มีการประสานงานระหว่างสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคม

แห่งชาติกับส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจที่เกี่ยวข้องทั้งในด้านการจัดทำแผนงานโครงการพัฒนาและในด้าน

ปฏิบัติงานตามแผนเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ของการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ

บทบาท ของ หน่วย งาน วางแผน การ พัฒนา เศรษฐกิจบทบาทของหน่วยงานของรัฐตามพระราชบัญญัติพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติพ.ศ.2521

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติมีบทบาทหน้าที่ดังนี้

1. สำรวจศึกษา และวิเคราะห์ภาวะเศรษฐกิจและสังคม พร้อมทั้งรวบรวมข้อมูลในการจัดทำ

เครื่องชี้ภาวะเศรษฐกิจและสังคมตลอดจนระดับการพัฒนาประเทศ เพื่อเสนอแนะจุดหมายและนโยบาย

มาตรการแก่คณะรัฐมนตรีในการจัดทำข้อมูลเพื่อใช้ประโยชน์ในการวิเคราะห์เชิงนโยบายและให้คำปรึกษา

โดยเฉพาะความรู้ทางด้านเศรษฐกิจและสังคม เนื่องจากข้อมูลที่ถูกต้องทันสมัยและรวดเร็วจะนำไปสู่การ

ดำเนินการในการวางแผนการสร้างระบบข้อมูลเตือนภัยทางเศรษฐกิจและสังคม เช่น การสร้างและจัดทำ

ระบบข้อมูลหลักของประเทศทั้งระยะสั้นและระยะยาวประกอบด้วย ข้อมูลผลิตภัณฑ์ประชาชาติในระดับ

ประเทศและระดับจังหวัดข้อมูลผลิตภัณฑ์ประชาชาติรายไตรมาสข้อมูลตารางปัจจัยการผลิตและผลผลิต

ข้อมูลทางด้านเศรษฐกิจเงินทุนและข้อมูลทางด้านงบดุลของประเทศเป็นต้น

2. วางแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เพื่อใช้เป็นแนวทางการพัฒนาประเทศ ซึ่งการ

วางแผนพัฒนาเศรษฐกิจเริ่มขึ้นเป็นทางการตั้งแต่ปีพ.ศ.2504ซึ่งเป็นปีแรกที่มีการประกาศใช้แผนพัฒนาฯ

ฉบับที่1จนถึงปี2542มีการใช้แผนพัฒนาฯมาแล้ว8ฉบับการจัดทำแผนพัฒนาฯถือเป็นภารกิจหลักของ

หน่วยงานที่มีการวางแผนระดับชาติซึ่งเป็นแผนระยะปานกลาง (ระยะเวลา5ปี)ลักษณะของการวางแผน

ตั้งแต่แผนพัฒนาฯฉบับที่1-7มีลักษณะเป็นแผนชี้นำส่วนแผนพัฒนาฯฉบับที่8และ9มีการปรับเปลี่ยน

กระบวนการวางแผนให้ประชาชนมีส่วนร่วมมากขึ้นและให้เป็นแผนพัฒนาฯของประชาชนมากขึ้น

3. พิจารณาโครงการให้ได้ตามเป้าหมายของแผนพัฒนาฯซึ่งหมายถึงการพิจารณาโครงการลงทุน

เพื่อการพัฒนาประเทศที่มีวัตถุประสงค์และเป้าหมาย รวมทั้งกำหนดระยะเวลาในการดำเนินการที่ชัดเจน

การดำเนินการวิเคราะห์โครงการจะเริ่มจากการวิเคราะห์โครงการของแต่ละหน่วยงานของรัฐรวมทั้งโครงการ

ของรัฐวิสาหกิจด้วยโดยมีระยะเวลาไม่เกิน45วันหลังจากนั้นจะนำเสนอให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาอนุมัติ

โครงการการพิจารณาโครงการตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมงานหรือดำเนินการในกิจการ

ของรัฐพ.ศ.2535กำหนดให้โครงการที่มีมูลค่าตั้งแต่1,000ล้านบาทขึ้นไปจะต้องผ่านกระบวนการพิจารณา

จากกระทรวงและสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ(สศช.)ก่อนแล้วผ่านให้

Page 31: แนวคิดการพัฒนาเศรษฐกิจagri.stou.ac.th/UploadedFile/91721-4.pdf · เค้าโครงเนื้อหา ตอนที่4.1 การ

มสธ มสธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ

4-31แนวคิดการพัฒนาเศรษฐกิจ

กระทรวงการคลังเนื่องจากกระทรวงการคลังดูแลกฎหมายร่วมกับสศช.ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้สินทรัพย์ของ

รัฐหากเป็นโครงการใหม่การพิจารณาโครงการจะต้องผ่านการพิจารณาจากคณะรัฐมนตรี2ครั้ง โดยครั้ง

แรกเป็นการเสนอเพื่อขออนุมัติหลักการหากมีการร่วมลงทุนของเอกชนจะต้องตั้งกรรมการแล้วนำมาเสนอ

ให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาอีกครั้งในการเลือกผู้ลงทุน ถ้าเป็นโครงการที่มีมูลค่ามากกว่า 5,000 ล้านบาท

จะต้องจ้างที่ปรึกษาเพื่อศึกษาผลกระทบของสิ่งแวดล้อมซึ่งโครงการเหล่านี้จะต้องผ่านกระบวนการพิจารณา

ทางด้านสิ่งแวดล้อมแล้วนำเสนอสศช.และคณะรัฐมนตรีพิจารณาตามลำดับ

4. ประเมินผลในการพัฒนา เป็นบทบาทหน้าที่ที่มีความสำคัญในกระบวนการพัฒนาประเทศ

เนื่องจากการวางแผนพัฒนาถ้าไม่มีการประเมินผลก็ไม่สามารถที่จะทราบได้ว่าการพัฒนาที่ผ่านมาบรรลุ

ถึงวัตถุประสงค์หรือไม่ หรือมีปัญหาอุปสรรคอะไรบ้าง ซึ่งบทบาทหน้าที่ในการประเมินผลการพัฒนาจะทำ

การประเมินทั้งในระดับรายโครงการและภาพรวม

5. ปฏิบัติหน้าที่เฉพาะกิจตามนโยบายของรัฐบาล โดยมีหน้าที่ในคณะกรรมการรัฐมนตรีฝ่าย

เศรษฐกิจคณะกรรมการนโยบายสังคมแห่งชาติคณะกรรมการร่วมภาครัฐบาลและเอกชนคณะกรรมการ

กระจายความเจริญไปสู่ภูมิภาค การพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคตะวันออกการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเล

ภาคใต้เรื่องความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านคือลุ่มแม่น้ำโขง6ประเทศและสามเหลี่ยมเศรษฐกิจตอน

ใต้(มาเลเซียไทยอินโดนีเซีย)

กล่าว โดย สรุป ได้ว่าประเทศไทยมีการวางแผนพัฒนาเศรษฐกิจจากอดีตถึงปัจจุบันแบ่งออกได้

เป็น3ช่วงของการพัฒนา ได้แก่ 1)ช่วงปีพ.ศ.2493รัฐบาลออกพระราชบัญญัติสภาเศรษฐกิจ2)ช่วงปี

พ.ศ.2515รัฐบาลออกประกาศคณะปฏิวัติและ3)ช่วงปีพ.ศ.2521ถึงปัจจุบันรัฐบาลออกพระราชบัญญัติ

พัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ซึ่งในแต่ละช่วงมีเป้าหมายของการพัฒนาที่แตกต่างกันออกไป

ตามสภาพเศรษฐกิจและสังคมในแต่ละช่วงเวลา นอกจากนี้แล้วบทบาทของหน่วยงานวางแผนการพัฒนา

เศรษฐกิจมีด้วยกัน5ประการได้แก่1)สำรวจศึกษาและวิเคราะห์ภาวะเศรษฐกิจและสังคม2)วางแผน

พัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ3)พิจารณาโครงการให้ได้ตามเป้าหมายของแผนพัฒนาฯ4)ประเมินผล

ในการพัฒนาและ5)ปฏิบัติหน้าที่เฉพาะกิจตามนโยบายของรัฐบาล

Page 32: แนวคิดการพัฒนาเศรษฐกิจagri.stou.ac.th/UploadedFile/91721-4.pdf · เค้าโครงเนื้อหา ตอนที่4.1 การ

มสธ มสธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ

4-32 สังคมไทยกับการบริหารการส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร

เรื่อง ที่ 4.2.2 แผน พัฒนา เศรษฐกิจ และ สังคม แห่ง ชาติ

การพัฒนาเศรษฐกิจของไทยนั้น ประเทศไทยเริ่มมีการจัดทำแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม

แห่งชาติในประเทศมาตั้งแต่ปีพ.ศ2504และสะสมประสบการณ์วิวัฒนาการของแนวคิดและลักษณะของ

การวางแผนพัฒนาฯพอสรุปได้ดังนี้

1. แผนพฒันาเศรษฐกจิและสงัคมแหง่ชาติฉบบัที่1-2(พ.ศ.2504-2514)เป็นการวางแผนจากส่วน

กลางหรือจากบนสู่ล่าง (top-downplanning) เป็นแผนที่ได้รับแนวคิดทางด้านทฤษฎีความเจริญเติบโต

(GrowthTheory)ที่ให้ความสำคัญต่อการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจเพื่อนำมาสู่ความทันสมัย(moderniza-

tion)ซึ่งการเพิ่มอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจในอัตราที่สูงจะมีผลกระจายไปสู่คนและสังคมต่อไปดังนั้น

แนวคิดการพัฒนาจึงเน้นกลยุทธ์การวางแผนด้วยการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานของภาครัฐเป็นสำคัญ(project

orientedapproach)โดยอาศัยเทคนิคการวางแผนด้านการวิเคราะห์โครงการเป็นสำคัญซึ่งมีเครื่องมือใน

การวิเคราะห์โครงการที่สำคัญคือการวิเคราะห์ผลได้ผลเสียของโครงการ(benefitcostanalysis)ถึงแม้ว่า

แผนพัฒนาฯฉบับที่1จะประสบความสำเร็จในการปฏิบัติตามโครงการพัฒนาทางด้านโครงสร้างพื้นฐานแต่

ก็ยังมีปัญหาตามมาคือ การที่ไม่สามารถอธิบายได้ว่าแต่ละโครงการก่อให้เกิดผลต่อการพัฒนาในภาพรวม

เพียงใดดังนั้นเพื่อเป็นการแก้ไขข้อบกพร่องนี้ในช่วงแผนพัฒนาฯฉบับที่ 2 มีการนำแนวคิดการพัฒนา

รายสาขา (sectoral development planning)มาใช้ในการวางแผน เป็นการวิเคราะห์ปัญหาเศรษฐกิจใน

แต่ละสาขาการผลิตเช่นสาขาเกษตรกรรมอุตสาหกรรมบริการเป็นต้น

ผลการพฒันาในชว่งแผนพฒันาฯฉบบัที่1-2คอือตัราการขยายตวัทางเศรษฐกจิมีอตัราการขยายตวั

รอ้ยละ8ตอ่ปีในชว่งแผนพฒันาฯฉบบัที่1และรอ้ยละ7.5ตอ่ปีในชว่งแผนพฒันาฯฉบบัที่2ดลุการชำระเงนิ

ระหว่างประเทศมีฐานะเกินดุลโดยณสิ้นแผนพัฒนาฯฉบับที่1มีทุนสำรองเพิ่มขึ้นเป็น800ล้านดอลลาร์

สหรัฐจากการที่ประเทศไทยประสบผลของอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจในช่วงแผนพัฒนาฯฉบับที่1-2

ทำให้มีความจำเป็นจะต้องมีการผลิตกระแสไฟฟ้าเพิ่มขึ้นกว่าเท่าตัว มีการขยายความยาวของถนนเพิ่มขึ้น

ร้อยละ37มีเนื้อที่ชลประทานเพิ่มขึ้นจาก9.7ล้านไร่เป็น13.3ล้านไร่

2. แผนพฒันาเศรษฐกจิและสงัคมแหง่ชาติฉบบัที่3(พ.ศ.2515-2519)มีลักษณะเป็นแผนชี้นำมาก

ขึน้แต่ยงัคงเปน็การวางแผนจากบนสู่ลา่งในขณะที่แผนพฒันาฯฉบบัที่2ประสบผลสำเรจ็ในการขยายตวัทาง

เศรษฐกิจแต่มีปัญหาช่องว่างของการกระจายรายได้เกิดขึ้นเนื่องจากการพัฒนาที่เน้นโครงสร้างพื้นฐานขนาด

ใหญ่แต่การกระจายผลประโยชน์ยังคงจำกัดที่กลุ่มคนเพียงบางกลุ่มเช่นกลุ่มคนในเมืองมากกว่ากลุ่มคนใน

ชนบทดังนั้นการพัฒนาในช่วงแผนพัฒนาฯฉบับที่3เป็นแผนที่เน้นการรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจโดย

รักษาอัตราการขยายตัวของปริมาณเงินมากรักษาระดับราคาสินค้าจำเป็นต่อการครองชีพรักษาเสถียรภาพ

ทางการเงินระหว่างประเทศส่งเสริมการส่งออกและปรับปรุงโครงสร้างการนำเข้าเป็นการปรับปรุงโครงสร้าง

ทางเศรษฐกิจโดยการยกระดับการผลิต พร้อมทั้งปรับนโยบายเร่งรัดการส่งออกและทดแทนการนำเข้า

Page 33: แนวคิดการพัฒนาเศรษฐกิจagri.stou.ac.th/UploadedFile/91721-4.pdf · เค้าโครงเนื้อหา ตอนที่4.1 การ

มสธ มสธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ

4-33แนวคิดการพัฒนาเศรษฐกิจ

ปรับงบลงทุนโครงการก่อสร้างโดยการสนับสนุนการลงทุนเพื่อใช้ประโยชน์จากโครงการขั้นพื้นฐาน แผน

พัฒนาฯฉบับที่3เป็นแผนแรกที่ให้ความสำคัญกับการวางแผนด้านสังคมดังนั้นในแผนพัฒนาฯฉบับที่3

กำหนดแนวนโยบายให้ครอบคลุมถึงความเป็นธรรมทางสังคมและการกระจายรายได้ที่ไม่เท่าเทียมกัน

ผลการพัฒนาของแผนพัฒนาฯฉบับที่3คือการที่ระบบการเงินโลกเกิดภาวะผันผวนตั้งแต่ปีพ.ศ.

2514(สิ้นแผนฯ2)โดยค่าเงินดอลลาร์สหรัฐตกต่ำประกอบกับเกิดปัญหาวิกฤติน้ำมันทำให้มีผลกระทบต่อ

เศรษฐกิจของไทยคืออาหารและวัตถุดิบต่างๆ มีระดับราคาสูงขึ้นราคาน้ำมันสูงขึ้นเกิดภาวะเงินเฟ้อสูงถึง

ร้อยละ 12 การที่ประเทศไทยเกิดภาวะเงินเฟ้อในอัตราที่สูง ประกอบกับเกิดภาวะเศรษฐกิจฝืดเคืองอย่าง

รวดเร็วมีผลทำให้อัตราการขยายตัวในการลงทุนทั้งภาครัฐและภาคเอกชนเกิดภาวะซบเซาการก่อสร้างหยุด

ชะงักโดยรัฐบาลใช้มาตรการทางการเงินการคลังในการแก้ไขปัญหาต่างๆ จนสามารถคลี่คลายได้ส่งผลทำให้

อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจมีอัตราการขยายตัวโดยเฉลี่ยร้อยละ7.1ต่อปี

3. แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่4 (พ.ศ.2520-2524) เป็นแผนที่ได้รับแนวคิด

ในการวางแผนโดยเน้นประเด็นปัญหา ซึ่งเป็นก้าวหนึ่งของแนวคิดการวางแผนที่นำการกำหนดปัญหาและ

ประเด็นการพัฒนาหลักๆ เข้าสู่กระบวนการพัฒนามีผลทำให้แนวคิดการวางแผนรายสาขาค่อยๆ ลดบทบาท

เนื่องจากประเด็นปัญหาที่เกิดขึ้นไม่สามารถแยกเป็นรายสาขาได้จึงเกิดแนวคิดในการวางแผนพัฒนาระหว่าง

สาขาร่วมกัน(inter-sectoraldevelopmentplanningapproach)ดังนั้นในแผนพัฒนาฯฉบับที่4ยังคง

เนน้การฟืน้ฟูเศรษฐกจิของประเทศโดยการขยายการผลติภาคเกษตรปรบัปรงุโครงสรา้งอตุสาหกรรมเพือ่การ

ส่งออกการกระจายรายได้ประกอบกับการรักษาดุลการชำระเงินการขาดดุลงบประมาณเนื่องจากในแผนนี้

ใช้แนวคดิการวางแผนพฒันาระหวา่งสาขากนัดงันัน้การพฒันานอกจากเนน้ทางดา้นเศรษฐกจิแลว้ยงัให้ความ

สำคัญต่อการบูรณะและปรับปรุงการบริหารทรัพยากรหลักของชาติ รวมทั้งการนำทรัพยากรธรรมชาติมาใช้

ประโยชน์ เนื่องจากปัญหาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมไม่ใช่ปัญหาเฉพาะสาขาใดสาขาหนึ่ง แต่เป็น

ปัญหาที่เชื่อมโยงกันในหลายสาขาเศรษฐกิจในแผนพัฒนาฯฉบับที่4มีการนำแนวคิดทางด้านสาธารณสุข

มูลฐานเข้ามาเพื่อให้บรรลุถึงเป้าหมายสุขภาพดีถ้วนหน้าในปี2543

ผลการพัฒนาของแผนพัฒนาฯฉบับที่ 4 คือ อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจเฉลี่ยร้อยละ 7.1

ต่อปี แต่โครงสร้างการผลิตเปลี่ยนโดยเน้นการผลิตภาคอุตสาหกรรม มีผลทำให้ระดับรายได้เฉลี่ยต่อ

หัวของประชากรในสาขาเกษตรกรรมต่ำกว่ารายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ และต่ำกว่าระดับรายได้เฉลี่ยในสาขา

อุตสาหกรรมถึง 5 เท่าตัว และต่ำกว่าสาขาบริการ 2 เท่าตัว จากการที่เกิดภาวะวิกฤติราคาน้ำมันครั้งที่ 2

ประกอบกับประเทศไทยมีความจำเป็นจะต้องพึ่งพาพลังงานจากต่างประเทศในอัตราร้อยละ 75 ของการใช้

พลังงานทั้งหมดส่งผลทำให้ประเทศไทยขาดดุลการค้าปีละ45,000ล้านบาทหรือร้อยละ7.6ของGDPและ

อัตราเงินเฟ้อยังคงมีอัตราที่สูงเฉลี่ยร้อยละ11.6ต่อปี

4. แผนพฒันาเศรษฐกจิและสงัคมแหง่ชาติฉบบัที่5(พ.ศ.2525-2529)เป็นแผนชี้นำที่เน้นการปรับ

โครงสร้างและฟื้นฟูฐานะการเงินการคลังครั้งสำคัญของประเทศ เนื่องจากผลการพัฒนาประเทศที่ผ่านมา

ตั้งแต่แผนพัฒนาฯฉบับที่1-4ประเทศประสบผลสำเร็จทางด้านอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจในระดับที่

น่าพอใจแต่จำนวนประชากรที่มีฐานะยากจนในปี2524มีอัตราสูงถึงร้อยละ20.6ของประชากรทั้งประเทศ

Page 34: แนวคิดการพัฒนาเศรษฐกิจagri.stou.ac.th/UploadedFile/91721-4.pdf · เค้าโครงเนื้อหา ตอนที่4.1 การ

มสธ มสธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ

4-34 สังคมไทยกับการบริหารการส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร

และพบว่าร้อยละ 93 ของประชากรที่ยากจนอาศัยอยู่ในเขตชนบทดังนั้นในแผนพัฒนาฯฉบับที่ 5 จึงมี

ความจำเป็นจะต้องปรับกลยุทธ์การพัฒนาใหม่โดยอาศัยกรอบแนวคิดการยึดพื้นที่เป็นหลัก (area-based

approach)และเปลีย่นจากการวางแผนแบบรายสาขาหรอืรายโครงการมาเปน็การจดัทำแผนงานและโครงการ

ซึ่งมีกิจกรรมเชื่อมโยงและส่งผลกระทบซึ่งกันและกันเพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการแปลงนโยบายและมาตรการ

สู่การปฏิบัติ โดยเฉพาะด้านการพัฒนาชนบทพื้นที่ชายฝั่งทะเลตะวันออก และการพัฒนาพื้นที่เศรษฐกิจ

ใหม่พร้อมทั้งเน้นการรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจการเงินโดยเร่งการระดมเงินออมมีการปรับโครงสร้าง

ทางเศรษฐกิจ เช่น การปรับโครงสร้างการเกษตร โครงสร้างอุตสาหกรรมเพื่อการส่งออกและการกระจาย

อุตสาหกรรมสู่ส่วนภูมิภาคมีการเน้นความสมดุลในการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจและสังคมในแผนนี้เป็นการ

เริ่มสนับสนุนการวางแผนจากล่างสู่บน(bottom-upplanning)รวมทั้งการปรับปรุงระบบการบริหารจัดการ

และทบทวนบทบาทของรัฐในการบริหารงานพัฒนา โดยการเน้นบทบาทและการระดมความร่วมมือจาก

ภาคเอกชน

ผลการพัฒนาของแผนพัฒนาฯฉบับที่5คือการที่ภาวะเศรษฐกิจและการเงินของโลกผันผวนค่อน

ข้างรุนแรง และภาวะเศรษฐกิจซบเซาติดต่อกันเป็นเวลานานประกอบกับประเทศอุตสาหกรรมเริ่มมีการใช้

นโยบายกีดกันทางการค้ามีผลทำให้รัฐบาลใช้มาตรการการเงินการคลังอย่างเข้มงวดมีการประกาศลดค่าเงิน

บาทในปีพ.ศ. 2527การที่ในช่วงปลายแผนนี้ราคาน้ำมันและอัตราดอกเบี้ยได้ลดลงจึงมีผลทำให้มีการฟื้นตัว

ทางเศรษฐกิจโดยที่อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจมีอัตราการขยายตัวเฉลี่ยร้อยละ4.4ต่อปีและดุลการค้า

และดุลบัญชีเดินสะพัดขาดดุลเฉลี่ยเพียง54พันล้านบาทและ34.9พันล้านบาทหรือร้อยละ5.6และร้อยละ

3.6ของGDPตามลำดับส่วนอัตราการออมมีอัตราที่ต่ำในขณะที่ประเทศมีความต้องการในการลงทุนดังนั้น

จึงมีความจำเป็นในการกู้เงินลงทุนจากต่างประเทศมากขึ้นส่งผลทำให้มีภาระหนี้ต่างประเทศเพิ่มมากขึ้น

5. แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 6 (พ.ศ. 2530-2534) เมื่อสิ้นสุดแผนพัฒนาฯ

ฉบับที่5กระบวนการวางแผนเริ่มมีการนำการวางแผนแบบแผนงาน(programmingapproach)มาใช้และ

มีการวางแผนจากล่างสู่บนมากขึ้นดังนั้นในแผนพัฒนาฯฉบับที่6ยังคงนำแนวคิดการวางแผนแบบแผนงาน

มาใช้อีกครั้งส่งผลทำให้การวางแผนรายสาขาลดความสำคัญลงในแผนพัฒนาฯฉบับนี้เน้นการขยายตัวทาง

เศรษฐกิจควบคู่กับการรักษาเสถียรภาพทางการเงินการคลังโดยเฉพาะการระดมเงินออมในประเทศมีการ

เน้นการใช้จ่ายภาครัฐให้มีประสิทธิภาพเน้นบทบาทของภาคเอกชนองค์กรประชาชนในท้องถิ่นในการพัฒนา

ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมมีการทบทวนบทบาทของรัฐในการพัฒนาประเทศ โดยปรับโครงสร้าง

การผลิตการตลาดของประเทศให้มีการกระจายมากขึ้นมีการพัฒนาเมืองและพื้นที่เฉพาะโดยการกระจาย

ความเจริญสู่ภูมิภาคมากขึ้น

ผลการพัฒนาของแผนพัฒนาฯฉบับที่ 6 คือ อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจเฉลี่ยร้อยละ 10.8

ต่อปี โครงสร้างทางเศรษฐกิจเป็นภาวะเศรษฐกิจเปิดมากขึ้น โดยมีสัดส่วนการค้าต่างประเทศสูงถึงร้อยละ

80ต่อGDPอัตราเงินเฟ้อณสิ้นแผน(พ.ศ.2534)มีอัตราร้อยละ5.7เมื่อเทียบกับร้อยละ2.5ในปีพ.ศ.

2530รายได้ต่อหัวของประชากรเพิ่มจาก21,000บาทต่อปีในพ.ศ.2529เป็น44,307บาทต่อปีในพ.ศ.

2534 แต่ปัญหาการกระจายรายได้ของประชากรมีมากขึ้น ช่องว่างการออมกับการลงทุนมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น

และมีปัญหาความเสื่อมโทรมของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมมากขึ้น

Page 35: แนวคิดการพัฒนาเศรษฐกิจagri.stou.ac.th/UploadedFile/91721-4.pdf · เค้าโครงเนื้อหา ตอนที่4.1 การ

มสธ มสธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ

4-35แนวคิดการพัฒนาเศรษฐกิจ

6. แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 7 (พ.ศ. 2535-2539) เป็นระยะที่สถานการณ์

ด้านการเมืองเริ่มเข้าสู่ยุคประชาธิปไตยผู้กำหนดนโยบายมาจากการเลือกตั้งมากขึ้นกระแสโลกเริ่มเปลี่ยน

เข้าสู่ยุคโลกาภิวัตน์ทำให้แนวคิดการวางแผนเริ่มเห็นความจำเป็นในการกำหนดแนวความคิด“การพัฒนา

แบบยั่งยืน”จึงมีการกำหนดวัตถุประสงค์หลักของการพัฒนาที่เน้นการสร้างความสมดุลสามด้านได้แก่

6.1 การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่องและมีเสถียรภาพโดยการดำเนินนโยบายการ

เงินการคลังการพัฒนาตลาดทุนการพัฒนาการเกษตรโดยการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและปรับโครงสร้าง

การผลิต การพัฒนาอุตสาหกรรมการค้า และการลงทุนเน้นการสร้างโอกาสในการแข่งขันกับต่างประเทศ

รวมถึงมีการพัฒนาและการนำวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีที่เหมาะสมมาใช้

6.2 การกระจายรายได้และกระจายความเจริญไปสู่ภูมิภาคและชนบท โดยใช้มาตรการทาง

ดา้นภาษีและรายจา่ยของรฐับาลพรอ้มทัง้มีการกระจายอำนาจทางการคลงัสู่จงัหวดัและทอ้งถิน่มีการกระจาย

การถือครองทรัพย์สินด้วยการเร่งรัดการปฏิรูปที่ดินการออกเอกสารสิทธิ์ที่ดินสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยมีการ

ปรับโครงสร้างการผลิตด้านเกษตรกรรมอุตสาหกรรมสู่ภูมิภาคมากขึ้น มีการพัฒนาเมืองศูนย์กลางความ

เจริญในภูมิภาคเพื่อเป็นฐานทางด้านเศรษฐกิจและการจ้างงาน

6.3 การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์คุณภาพชีวิตและสิ่งแวดล้อมโดยเน้นการพัฒนาทรัพยากร

มนุษย์ทางด้านการศึกษา สาธารณสุข การพัฒนาจิตใจ วัฒนธรรมและสังคม มีการพัฒนาคุณภาพ

สิ่งแวดล้อมควบคู่ไปกับการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมพร้อมทั้งมีการปรับปรุงระบบการบริหารจัดการ

ทางด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

ในการพัฒนาเพื่อให้เกิดความสมดุลทั้งสามด้านจำเป็นจะต้องมีการปรับปรุงและพัฒนากฎระเบียบ

ของภาครัฐบาล โดยมีการปรับปรุงกฎหมายการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ โดยการลดบทบาทของภาครัฐและ

ส่งเสริมบทบาทของภาคเอกชนการพัฒนาระบบราชการให้มีขนาดเล็กกะทัดรัดแต่มีคุณภาพจากการพัฒนา

ในช่วงแผนพัฒนาฯฉบับที่ 7มีผลดังนี้ อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจยังคงมีอัตราการขยายตัวที่สูงโดย

เฉลี่ยร้อยละ7.8ต่อปีรายได้ต่อหัวเพิ่มขึ้นจาก49,410บาทต่อปีในปี2535เป็น76,804บาทต่อปีในปี2539

มีช่องว่างของรายได้ระหว่างภูมิภาคมากขึ้น โดยที่รายได้ต่อหัวของประชากรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

มีระดับรายได้ต่ำกว่าระดับรายได้ของประชากรในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลถึง12เท่าการพัฒนา

ที่มุ่งเน้นการแข่งขันตามกระแสโลกาภิวัตน์มีผลทำให้สังคมไทยมีความเป็นวัตถุนิยมมากขึ้น มีปัญหา

ย่อหย่อนในศีลธรรมการขาดระเบียบวินัยการเอารัดเอาเปรียบวิถีชีวิตและค่านิยมดั้งเดิมโดยเฉพาะสถาบัน

ครอบครวัชมุชนวฒันธรรมทอ้งถิน่เริม่จางหายไปสว่นชมุชนเมอืงเกดิความแออดัสภาวะแวดลอ้มเสือ่มโทรม

ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสื่อมโทรม โดยพื้นที่ป่าไม้ถูกทำลายปีละ 1 ล้านไร่ ที่ดินมีการชะล้าง

พังทลาย รวมถึงคุณภาพอากาศฝุ่นละออง เสื่อมมากขึ้น ซึ่งจากผลการพัฒนาในระยะดังกล่าว สรุปได้ว่า

“เศรษฐกิจดีสังคมมีปัญหาการพัฒนาไม่ยั่งยืน”

7. แผนพฒันาเศรษฐกจิและสงัคมแหง่ชาติฉบบัที่8(พ.ศ.2540-2544)สืบเนื่องจากผลการพัฒนา

ในอดีตประเทศไทยประสบผลสำเร็จในการพัฒนาเศรษฐกิจแต่มีปัญหาสังคมตามมาประกอบกับปัญหาทาง

ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมมีการเสื่อมโทรมมากขึ้นดังนั้นกระบวนการพัฒนาในแผนพัฒนาฯ

Page 36: แนวคิดการพัฒนาเศรษฐกิจagri.stou.ac.th/UploadedFile/91721-4.pdf · เค้าโครงเนื้อหา ตอนที่4.1 การ

มสธ มสธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ

4-36 สังคมไทยกับการบริหารการส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร

ฉบับที่ 8 เปลี่ยนกระบวนทัศน์การพัฒนาใหม่ โดยเน้นให้คนเป็นศูนย์กลางของการพัฒนา โดยการพัฒนา

เศรษฐกิจเป็นเพียงเครื่องมือหนึ่งในการพัฒนาคนและเสริมสร้างศักยภาพของคนและสภาพแวดล้อมทาง

สังคมเพื่อความอยู่ดีมีสุขของประชาชนตลอดจนการดูแลผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับคนและสังคม โดยการ

วางแผนที่ใช้กระบวนการระดมความคิดเห็นจากประชาชนที่มีสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจ

และสังคมแห่งชาติทำหน้าที่ในการประสานร่วมกับคณะกรรมการประสานงานองค์กรพัฒนาเอกชน (กป.

อพช.)และผู้ทรงคุณวุฒิทางด้านสังคมโดยใช้เทคนิคในการระดมความคิดพลังสร้างสรรค์(Appreciation–

Influence–Control:AIC) ซึ่งเป็นการวางแผนที่ให้ประชาชนเป็นผู้กำหนดแทนที่รัฐจะเป็นผู้กำหนดแบบ

ดั้งเดิม เป็นความสัมพันธ์รัฐกับประชาชนและมีแนวคิดการวิเคราะห์ปัญหาแบบองค์รวม (holistic) และ

การวางแผนแบบผสมผสาน(integration)นอกจากมีการเปลี่ยนแปลงในกระบวนการการวางแผนแล้วยังมี

การเปลี่ยนแปลงในวิธีแผนปฏิบัติการและแผนงบประมาณโดยใช้หลักการประสานพื้นที่ ภารกิจและการมี

ส่วนร่วมของประชาชน(Area-Function-Participation:AFP)เพื่อลดปัญหาความซ้ำซ้อนในการวางแผน

อีกทั้งเป็นการมุ่งเน้นการรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจมากกว่าการขยายตัวทางเศรษฐกิจในระดับสูงเช่นใน

อดีตการเปลี่ยนแปลงในกระบวนการพัฒนาดังกล่าวแล้วจะเห็นว่าแผนพัฒนาฯฉบับนี้เปลี่ยนแผนชี้ทิศทาง

การพัฒนาในอนาคตซึ่งเป็นการพัฒนาแบบองค์รวม รวมถึงการสร้างดัชนีชี้วัดในการติดตามประเมินผล

5ระดับได้แก่ดัชนีชี้วัดผลกระทบขั้นสุดท้ายของการพัฒนาดัชนีชี้วัดประสิทธิผลของการพัฒนาเฉพาะดัชนี

ชี้วัดประสิทธิผลของยุทธศาสตร์การพัฒนา ดัชนีชี้วัดประสิทธิผลขององค์กรที่ดำเนินงานพัฒนา และ

สถานการณ์ที่เป็นจริงในด้านต่างๆ สิ่งที่มีความสำคัญในแผนพัฒนาฉบับนี้มีการกำหนดแนวทางสู่การปฏิบัติ

โดยกำหนดให้หน่วยงานหลักในการวางแผนระดับชาติมีการปรับบทบาทและกลไกดำเนินงาน ซึ่งประกอบ

ด้วย5หน่วยงานหลักได้แก่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเป็นหน่วยงาน

ทางด้านการจัดทำแผน สำนักงบประมาณเป็นหน่วยงานวางแผนทางด้านงบประมาณแผ่นดิน สำนักงาน

คณะกรรมการข้าราชการพลเรือนเป็นหน่วยงานวางแผนทางด้านกำลังคน สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน

เป็นหน่วยงานทำหน้าที่ในการตรวจสอบและสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเป็นหน่วยงานที่ทำหน้าที่ใน

การดูแลทางด้านกฎหมาย

ผลการพัฒนาในช่วงสองปีแรกของแผนพัฒนาฯฉบับที่ 8 เนื่องจากในปลายปี พ.ศ. 2540 เกิด

วิกฤติการณ์ทางการเงินที่ส่งผลกระทบต่อเสถียรภาพทางเศรษฐกิจของประเทศอันนำไปสู่การขอรับความ

ช่วยเหลือทางวิชาการและการเงินจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ และรับจะปฏิบัติตามแผนพื้นฟู

เศรษฐกิจที่ตกลงร่วมกันนอกจากนี้วิกฤติเศรษฐกิจดังกล่าวส่งผลกระทบต่อการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์

และแนวทางการพัฒนาตามแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8 คณะรัฐมนตรีจึงมีมติ เมื่อวันที่ 19 สิงหาคม 2540

มอบหมายให้สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติพัฒนาแผนพัฒนาฯฉบับที่8

ให้สอดคล้องกับเป้าหมายทางด้านมหภาคที่ได้ตกลงกับกองทุนการเงินระหว่างประเทศแต่ยังคงยึดปรัชญา

และยุทธศาสตร์ของแผนพัฒนาฯฉบับที่ 8 แต่มีการปรับเป้าหมายบางเรื่องให้สอดคล้องกับเงื่อนไขและ

สถานการณ์ที่เปลี่ยนไปโดยเสนอให้มีการเร่งรัดแนวทางที่มีการชี้นำไว้แล้วในแผนพัฒนาฯฉบับที่8รวมทั้ง

เพิ่มเติมแนวทางใหม่ๆเพื่อแก้ปัญหาวิกฤติเศรษฐกิจและบรรเทาผลกระทบที่มีต่อคนพร้อมทั้งปูพื้นฐานการ

ฟื้นฟูและพัฒนาประเทศในระยะต่อไป

Page 37: แนวคิดการพัฒนาเศรษฐกิจagri.stou.ac.th/UploadedFile/91721-4.pdf · เค้าโครงเนื้อหา ตอนที่4.1 การ

มสธ มสธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ

4-37แนวคิดการพัฒนาเศรษฐกิจ

8. แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่9(พ.ศ.2545-2549)จากการเปลี่ยนแปลงทาง

เศรษฐกิจและสังคมอย่างรวดเร็วจึงมีความจำเป็นจะต้องมีการปรับกระบวนการวางแผนพัฒนาประเทศสู่การ

พัฒนาซึ่งการพัฒนาที่ยั่งยืนจำเป็นจะต้องใช้ประโยชน์จากทรัพยากรมนุษย์อย่างเต็มที่การที่จะใช้ทรัพยากร

อย่างมีประสิทธิภาพจึงมีความจำเป็นจะต้องมีการปรับปรุงคุณภาพชีวิตของมนุษย์ไปพร้อมๆกับการปรับ

โครงสร้างทางเศรษฐกิจและสังคม ซึ่งการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เพื่อไปสู่การผลิตสินค้าและบริการที่มี

คุณภาพให้สามารถแข่งขันในตลาดโลกได้ และเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีที่ทันสมัยทั้งทาง

ด้านการอุตสาหกรรมและบริการการวางแผนพัฒนาประเทศจะต้องมีการระดมความมีส่วนร่วมขององค์กร

ต่างๆ แนวทางการวางแผนพัฒนาประเทศจะเป็นแผนการพัฒนาที่กำหนดบทบาทหน้าที่(roleplans)ซึ่งเป็น

กรอบแนวทางการพัฒนาในช่วงแผนพัฒนาฯฉบับที่9เป็นกรอบแนวทางการพัฒนาที่มาจากการระดมความ

คิดของประชาชนในระดับจังหวัดและระดับอนุภาคทั่วประเทศซึ่งการพัฒนาประเทศจะต้องคำนึงถึงความ

สอดคลอ้งกบักระแสการเปลีย่นแปลงตา่งๆ ทัง้ภายในและภายนอกที่จะมีผลตอ่การกำหนดทศิทางการพฒันา

ดังนั้นจึงเป็นการมุ่งรักษาสมดุลระหว่างการเป็นสังคมที่เปิดสู่โลกภายนอกและการรักษาเอกลักษณ์ดั้งเดิม

ที่ดีงามของสังคมไทยกรอบแนวทางการพัฒนามีประเด็นที่สำคัญดังนี้

8.1 จุดมุ่งหมายหลักของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 ควรเป็นแผนยุทธศาสตร์กว้าง ๆ ที่ชี้นำ

การพัฒนาประเทศในระยะ20–30ปีดังนั้นจำเป็นต้องมุ่งเน้นการพัฒนาที่ยั่งยืนและความอยู่ดีมีสุขของคน

ไทย โดยให้ความสำคัญกับการพัฒนาแบบองค์รวมที่ยึดคนเป็นศูนย์กลางของการพัฒนามีการพัฒนาทุก

มิติ (comprehensive planning) และมีการเชื่อมโยงสัมพันธ์กันอย่างมีดุลยภาพทุกด้านทั้งการพัฒนา

เศรษฐกิจสังคมการเมืองและสิ่งแวดล้อม

8.2 แนวคดิปรชัญาหลกัของแผนพฒันาฯฉบบัที่9โดยยดึหลกัการพฒันาแบบองค์รวมที่ยดึ

คนเป็นศูนย์กลางของการพัฒนาอันต่อเนื่องจากแผนพัฒนาฯฉบับที่8และมีการยึดหลักปรัชญาเศรษฐกิจ

พอเพียงเป็นแนวคิดพื้นฐานการพัฒนาด้านต่างๆหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเป็นการดำเนินการในทาง

สายกลางที่อยู่บนพื้นฐานความพอดีเน้นการพึ่งตนเองขณะเดียวกันให้ก้าวทันโลกในยุคโลกาภิวัตน์ความ

พอเพียงที่เน้นการผลิตและบริโภคอยู่บนความพอประมาณและมีเหตุผล

8.3 สงัคมไทยที่พงึปรารถนาในอนาคตเพือ่ให้สอดคลอ้งกบักระแสการเปลีย่นแปลงทัง้ภายใน

และภายนอกประเทศ จึงมีความจำเป็นจะต้องมีการจัดระเบียบเศรษฐกิจและสังคมของประเทศให้พร้อม

รองรับสถานการณ์ในอนาคตโดยมุ่งเน้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลงและสร้างคุณค่าที่ดีในสังคมไทยเพื่อพัฒนา

สู่สังคมที่เข้มแข็งและมีดุลยภาพในสามด้านดังนี้

1) สังคมคุณภาพที่ยึดหลักความสมดุลพอดีและพึ่งตนเองได้โดยสร้างคนดีคนเก่ง

ที่มีความรบัผดิชอบพรอ้มดว้ยคณุธรรมครอบครวัอบอุน่ชมุชนเขม้แขง็เมอืงนา่อยู่การพฒันามีความสมดลุ

กับทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเศรษฐกิจมีเสถียรภาพเข้มแข็งและแข่งขันได้มีการกระจายรายได้

อย่างเป็นธรรมมีระบบการเมืองการปกครองที่ดีโปร่งใสตรวจสอบได้

2) สังคมแห่งภูมิปัญญาและการเรียนรู้ที่จะต้องสร้างโอกาสและพัฒนากระบวนการ

เรียนรู้ให้คนไทยทุกคนคิดเป็นทำเป็น เรียนรู้ที่จะพัฒนาตนเองให้ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง เสริมสร้างฐานทาง

Page 38: แนวคิดการพัฒนาเศรษฐกิจagri.stou.ac.th/UploadedFile/91721-4.pdf · เค้าโครงเนื้อหา ตอนที่4.1 การ

มสธ มสธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ

4-38 สังคมไทยกับการบริหารการส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร

วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีควบคู่ไปกับการรักษาภูมิปัญญาท้องถิ่น ตลอดจนมีการพัฒนาระบบการเข้าถึง

ข้อมูลข่าวสารและวิทยาการสมัยใหม่

3) สงัคมสมานฉนัท์และเอือ้อาทรตอ่กนัที่มีการดำรงไว้ซึง่คณุคา่เอกลกัษณ์วฒันธรรม

ไทยที่เกื้อกูลและพึ่งพากันรักษาไว้ซึ่งสถาบันครอบครัวพัฒนาเครือข่ายชุมชนเข้มแข็งมีการสร้างจิตสำนึก

ใหม่ ทัศนคติ ค่านิยมของสังคมที่คำนึงประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าส่วนตัว ตลอดจนมีการดูแลช่วยเหลือ

ผู้ด้อยโอกาสและคนยากจนในสังคมเพื่อสร้างความเป็นธรรมในสังคม

ดังนั้นการวางแผนพัฒนาระดับชาติในอนาคตเป็นการพัฒนาที่ยึดหลักการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์

เป็นศูนย์กลางซึ่งเป็นแนวทางเดียวกับระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยที่ให้ความสำคัญต่อการพัฒนา

ประชาชนเพื่อประชาชนโดยประชาชนดังนั้นยุทธศาสตร์การพัฒนาควรที่จะต้องปรับระบบสภาพแวดล้อมให้

เอื้ออำนวยต่อการพัฒนาคนในอนาคตดังนั้นจึงมีการปรับเปลี่ยนกลไกการบริหารภาครัฐจากการสั่งการและ

การควบคุม(commandandcontrol)เป็นการประสานให้ความร่วมมือ(collaboration)และเป็นผู้อำนวย

ความสะดวก(facilitator)

9. แผนพฒันาเศรษฐกจิและสงัคมแหง่ชาติฉบบัที่10(พ.ศ.2550-2554)ในระยะของแผนพัฒนาฯ

ฉบับนี้ประเทศไทยยังคงต้องเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญในหลายบริบททั้งที่เป็นโอกาสและข้อจำกัด

ต่อการพัฒนาประเทศ จึงต้องมีการเตรียมความพร้อมของคนและระบบให้สามารถปรับตัวพร้อมรับการ

เปลี่ยนแปลงในอนาคตและแสวงหาประโยชน์อย่างรู้เท่าทันโลกาภิวัตน์และสร้างภูมิคุ้มกันให้กับทุกภาคส่วน

ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

ในช่วงแผนพัฒนาฯฉบับที่ 10นั้น ประเทศไทยยังต้องเผชิญกับบริบทการเปลี่ยนแปลงของโลก

ในหลายด้านที่สำคัญ ซึ่งมีผลกระทบทั้งที่เป็นโอกาสและข้อจำกัดต่อการพัฒนาประเทศเป็นอย่างมาก ซึ่ง

แนวโน้มของบริบทการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญมี5บริบทดังนี้

1) การรวมตัวของกลุ่มเศรษฐกิจและการเปลี่ยนแปลงในตลาดการเงินของโลก ทำให้การ

เคลื่อนย้ายเงินทุน สินค้า และบริการ รวมทั้งคนในระหว่างประเทศมีความคล่องตัวมากขึ้น ประกอบกับ

การก่อตัวของศตวรรษแห่งเอเชียที่มีจีนและอินเดียเป็นตัวจักรสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจโลกส่งผล

ให้ประเทศไทยต้องดำเนินนโยบายการค้าในเชิงรุก ทั้งการหาตลาดเพิ่มและการผลักดันให้ผู้ผลิตในประเทศ

ปรับตัวให้สามารถแข่งขันได้บนฐานความรู้ ฐานทรัพยากรธรรมชาติและความเป็นไทย นอกจากนั้นปัญหา

ความไม่สมดุลทางเศรษฐกิจของโลกที่สะสมมานานและการขยายตัวของกองทุนประกันความเสี่ยงจะสร้าง

ความผันผวนต่อระบบการเงินของโลก จึงมีความจำเป็นต้องยกระดับการกำกับดูแลการเคลื่อนย้ายเงินทุน

ระหว่างประเทศและการเตรียมความพร้อมต่อการผันผวนของค่าเงินและอัตราดอกเบี้ยในตลาดโลก

2) การเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีอย่างก้าวกระโดด ความก้าวหน้าอย่างรวดเร็วของ

เทคโนโลยีสารสนเทศ เทคโนโลยีชีวภาพ เทคโนโลยีวัสดุ และนาโนเทคโนโลยี สร้างความเปลี่ยนแปลงทั้ง

ดา้นเศรษฐกจิและสงัคมทัง้ในดา้นโอกาสและภยัคกุคามจงึจำเปน็ตอ้งเตรียมพรอ้มให้ทนัตอ่การเปลีย่นแปลง

ของเทคโนโลยีดังกล่าวในอนาคต โดยจะต้องมีการบริหารจัดการองค์ความรู้อย่างเป็นระบบทั้งการพัฒนา

หรือสร้างองค์ความรู้ รวมถึงการประยุกต์เทคโนโลยีที่เหมาะสมมาผสมผสานร่วมกับจุดแข็งในสังคมไทย

Page 39: แนวคิดการพัฒนาเศรษฐกิจagri.stou.ac.th/UploadedFile/91721-4.pdf · เค้าโครงเนื้อหา ตอนที่4.1 การ

มสธ มสธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ

4-39แนวคิดการพัฒนาเศรษฐกิจ

อาทิสร้างความเชื่อมโยงเทคโนโลยีกับวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อสร้างคุณค่าเพิ่มให้กับสินค้าและ

บริการมีการบริหารจัดการลิขสิทธิ์และสิทธิบัตรและการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาอย่างมีประสิทธิภาพ

รวมทั้งแบ่งปันผลประโยชน์ที่เป็นธรรมกับชุมชน

3) การเปลี่ยนแปลงด้านสังคม ปัจจุบันประเทศที่พัฒนาแล้วหลายประเทศกำลังเข้าสู่สังคม

ผู้สูงอายุ ซึ่งเป็นทั้งโอกาสและภัยคุกคามต่อประเทศไทย โดยด้านหนึ่งประเทศไทยจะมีโอกาสมากขึ้นใน

การขยายตลาดสินค้าเพื่อสุขภาพและการให้บริการด้านอาหารสุขภาพภูมิปัญญาท้องถิ่นและแพทย์พื้นบ้าน

สถานที่ท่องเที่ยวและการพักผ่อนระยะยาวของผู้สูงอายุ จึงนับเป็นโอกาสในการพัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่น

ของไทยและนำมาสร้างมูลค่าเพิ่มซึ่งจะเป็นสินทรัพย์ทางปัญญาที่สร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจได้แต่ในอีกด้าน

ก็จะเป็นภัยคุกคามในเรื่องการเคลื่อนย้ายแรงงานที่มีฝีมือและทักษะไปสู่ประเทศที่มีผลตอบแทนสูงกว่า

ขณะเดียวกัน การแพร่ขยายของข้อมูลข่าวสารที่ไร้พรมแดนทำให้การดูแลและป้องกันเด็กและวัยรุ่นจาก

คา่นยิมที่ไม่พงึประสงค์เปน็ไปอยา่งลำบากมากขึน้ตลอดจนปญัหาการกอ่การรา้ยการระบาดของโรคพนัธุกรรม

ใหม่ๆและการค้ายาเสพติดในหลากหลายรูปแบบ

4) การเคลื่อนย้ายของคนอย่างเสรีความก้าวหน้าของเทคโนโลยีการขนส่งและกระแส

โลกาภิวตัน์สง่ผลให้มีการเดนิทางทัง้เพือ่การทอ่งเทีย่วและการทำธรุกจิในที่ตา่งๆทัว่โลกมากขึน้รวมทัง้สงัคม

และเศรษฐกิจฐานความรู้ ทำให้ประเทศต่าง ๆตระหนักถึงความสำคัญของบุคลากรที่มีองค์ความรู้สูงต่อ

ขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศในขณะที่กฎระเบียบที่เกี่ยวกับการรวมตัวของกลุ่มเศรษฐกิจ

มุ่งสู่การส่งเสริมให้มีการเคลื่อนย้ายแรงงานและผู้ประกอบการเพื่อไปทำงานในต่างประเทศได้สะดวกขึ้น

ดงันัน้ประเทศไทยจงึตอ้งคำนงึถงึมาตรการทัง้ดา้นการสง่เสรมิคนไปทำงานตา่งประเทศการดงึดดูคนตา่งชาติ

เข้ามาทำงานในประเทศและมาตรการรองรับผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น โดยเฉพาะปัญหาที่จะมีผลกระทบต่อ

ความมั่นคงของคนในเชิงสุขภาพและความปลอดภัยในชีวิตทรัพย์สิน

5) การเปลี่ยนแปลงด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จำนวนประชากรในโลกที่มาก

ขึ้นสร้างแรงกดดันต่อทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของโลกให้เสื่อมโทรมลงส่งผลกระทบต่อความ

แปรปรวนของสภาพภูมิอากาศและการเกิดภัยธรรมชาติบ่อยครั้งขึ้นรวมทั้งการเกิดการระบาดและแพร่เชื้อ

โรคที่มีรหัสพันธุกรรมใหม่ๆเป็นเหตุให้เกิดเป็นข้อตกลงระหว่างประเทศและสนธิสัญญาเพื่อให้มีการดูแล

ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมโลกในประเด็นต่างๆร่วมกันอาทิอนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลาย

ทางชีวภาพอนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศซึ่งชนิดพันธุ์สัตว์ป่าและพืชป่าที่ใกล้จะสูญพันธุ์ เป็นต้น

นอกจากนั้น การกีดกันทางการค้าที่เชื่อมโยงกับประเด็นด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมก็มีมาก

ขึ้นประเทศไทยจึงต้องยกระดับมาตรฐานการจัดการสิ่งแวดล้อมให้ดีขึ้นกว่าเดิม โดยปกป้องฐานทรัพยากร

เพื่อรักษาความสมดุลยั่งยืนของระบบนิเวศ ด้วยการพัฒนาระบบบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติให้มี

ประสิทธิภาพสูงสุดภายใต้กระบวนการมีส่วนร่วม และปรับรูปแบบการผลิตสินค้าและบริการที่เป็นมิตรกับ

สิ่งแวดล้อมมากขึ้น ขณะเดียวกันต้องเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานและพัฒนาพลังงานทางเลือก เพื่อ

รองรับความต้องการใช้พลังงานในประเทศ

Page 40: แนวคิดการพัฒนาเศรษฐกิจagri.stou.ac.th/UploadedFile/91721-4.pdf · เค้าโครงเนื้อหา ตอนที่4.1 การ

มสธ มสธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ

4-40 สังคมไทยกับการบริหารการส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร

ประเทศไทยอยู่ในกลุ่มประเทศที่มีการพัฒนาคนระดับกลางและมีแนวโน้มการพัฒนาคนเพิ่มขึ้น

อย่างต่อเนื่องโดยค่าดัชนีการพัฒนาคนของประเทศไทยในปี2548เท่ากับ0.778อยู่ในลำดับ73จาก177

ประเทศซึ่งสูงกว่าจีนและเวียดนามแต่ต่ำกว่าญี่ปุ่นเกาหลีและสิงคโปร์สำหรับการพัฒนาคุณภาพคนด้าน

การศึกษาขยายตัวเชิงปริมาณอย่างรวดเร็ว โดยจำนวนปีการศึกษาเฉลี่ยของคนไทยเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

เป็น8.5ปีในปี2548และมีคนไทยที่คิดเป็นทำเป็นร้อยละ60ของประชากรส่วนการขยายโอกาสการเรียนรู้

ตลอดชีวิตมีมากขึ้น แต่ความสามารถในการเรียนรู้โดยเชื่อมโยงนำความรู้ไปปรับใช้ของคนไทยยังอยู่ใน

ระดับต่ำ คุณภาพการศึกษายังไม่เพียงพอในการปรับตัวเท่าทันการเปลี่ยนแปลงและเข้าสู่สังคมเศรษฐกิจ

ฐานความรู้จึงเป็นประเด็นที่ต้องเร่งให้ความสำคัญระยะต่อไปแม้การศึกษาของแรงงานไทยที่จบการศึกษา

สูงกว่าระดับประถมศึกษาเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ39.8ในปี2548แต่ประสิทธิภาพการผลิตของแรงงานไทยยังต่ำ

เมื่อเทียบกับประเทศมาเลเซียเกาหลีสิงคโปร์ไต้หวันและญี่ปุ่นตลอดทั้งกำลังคนระดับกลางและระดับสูง

ยังขาดแคลนทั้งปริมาณและคุณภาพและยังมีการลงทุนด้านวิจัยและพัฒนาเพียงร้อยละ0.26ต่อผลิตภัณฑ์

มวลรวมในประเทศต่ำกว่าค่าเฉลี่ยถึง7เท่าตลอดจนการนำองค์ความรู้ไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ยังอยู่

ในระดับต่ำจึงเป็นจุดอ่อนของไทยในการสร้างองค์ความรู้นวัตกรรมรวมทั้งการวิจัยเพื่อพัฒนาประเทศและ

เป็นจุดฉุดรั้งการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันต่างประเทศ

ขณะเดียวกันคนไทยกำลังประสบปัญหาวิกฤติค่านิยมที่เป็นผลกระทบจากการเลื่อนไหลทาง

วัฒนธรรมต่างชาติเข้าสู่ประเทศทั้งทางสื่อสารมวลชนและเทคโนโลยีสารสนเทศ โดยขาดการคัดกรองและ

เลอืกรบัวฒันธรรมที่ดีงามทำให้คณุธรรมและจรยิธรรมของคนไทยลดลงโดยเฉพาะเดก็และเยาวชนเนือ่งจาก

วถิีชวีติที่เปลีย่นไปทำให้สถาบนัครอบครวัสถาบนัการศกึษาและสถาบนัศาสนามีบทบาทในการอบรมเลีย้งด ู

ให้ความรู้ ปลูกฝังศีลธรรมให้มีคุณภาพและจริยธรรมลดน้อยลง นำไปสู่ค่านิยมและพฤติกรรมที่เน้น

วัตถุนิยมและบริโภคนิยมเพิ่มมากขึ้น ในด้านสุขภาวะคนไทยได้รับหลักประกันสุขภาพอย่างทั่วถึงร้อยละ

96.3 ในปี 2548 การเจ็บป่วยโดยรวมลดลงเหลือ 1,798.1 ต่อประชากรพันคนในปี 2547 อย่างไรก็ตาม

คนไทยยังเผชิญกับการเจ็บป่วยด้วยโรคที่ป้องกันได้ที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง รวมทั้งโรคอุบัติใหม่หรือ

โรคระบาดซ้ำที่เป็นผลกระทบจากกระแสโลกาภิวัตน์ ส่วนหลักประกันทางสังคมยังไม่ครอบคลุมแรงงาน

นอกระบบและกลุ่มผู้ด้อยโอกาสอย่างทั่วถึง และคนไทยต้องเผชิญกับความเสี่ยงในด้านความปลอดภัยใน

ชีวิตและทรัพย์สินสูงขึ้น

ในช่วงแผนพัฒนาฯฉบับที่ 10นั้น เศรษฐกิจของประเทศไทยมีการเติบโตอย่างต่อเนื่องในอัตรา

เฉลี่ยร้อยละ5.7ต่อปีในช่วงปีพ.ศ.2545-2548และจัดอยู่ในกลุ่มประเทศที่มีรายได้ปานกลางโดยมีขนาด

ทางเศรษฐกิจใหญ่เป็นลำดับที่ 20 จากจำนวน 192ประเทศในโลก โดยยังคงมีบทบาททางการค้าระหว่าง

ประเทศ และรักษาส่วนแบ่งการตลาดไว้ได้ในขณะที่การแข่งขันเพิ่มสูงขึ้น ตลอดทั้งการพัฒนาเศรษฐกิจ

ฐานความรู้ของประเทศไทยปรับตัวดีขึ้น ขณะที่โครงสร้างการผลิตมีจุดแข็งที่มีฐานการผลิตที่หลากหลาย

ช่วยลดความเสี่ยงจากภาวะผันผวนของวัฏจักรเศรษฐกิจและสามารถสร้างความเชื่อมโยงระหว่างภาคการ

ผลิตเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มได้มากขึ้น อย่างไรก็ตามเศรษฐกิจไทยมีจุดอ่อนในเชิงโครงสร้างที่ต้องพึ่งพิงการ

นำเข้าวัตถุดิบชิ้นส่วนพลังงานเงินทุนและเทคโนโลยีในสัดส่วนที่สูงโดยผลิตภาพการผลิตยังต่ำการผลิต

Page 41: แนวคิดการพัฒนาเศรษฐกิจagri.stou.ac.th/UploadedFile/91721-4.pdf · เค้าโครงเนื้อหา ตอนที่4.1 การ

มสธ มสธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ

4-41แนวคิดการพัฒนาเศรษฐกิจ

อาศัยฐานทรัพยากรมากกว่าองค์ความรู้มีการใช้ทรัพยากรเพื่อการผลิตและบริโภคอย่างสิ้นเปลืองทำให้เกิด

ปัญหาสภาพแวดล้อมและผลกระทบในด้านสังคมตามมาโดยไม่ได้มีการสร้างภูมิคุ้มกันอย่างเหมาะสมส่วน

โครงสร้างพื้นฐานด้านขนส่งและโลจิสติกส์ยังขาดประสิทธิภาพและการเชื่อมโยงที่เป็นระบบทำให้มีต้นทุนสูง

ถึงร้อยละ16ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศอีกทั้งภาคขนส่งยังมีสัดส่วนการใช้พลังงานเชิงพาณิชย์สูงถึง

ร้อยละ38นอกจากนี้โครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและสื่อสารและน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภค

ยงัไม่กระจายไปสู่พืน้ที่ชนบทอยา่งเพยีงพอและทัว่ถงึสว่นโครงสรา้งพืน้ฐานดา้นวทิยาศาสตร์เทคโนโลยีและ

นวัตกรรมของไทยต่างอยู่ในระดับต่ำและตกเป็นรองประเทศเพื่อนบ้านที่เป็นคู่แข่งทางการค้า

อย่างไรก็ดีประเทศไทยมีจุดแข็งอยู่ที่การมีเสถียรภาพเศรษฐกิจในระดับที่ดีจากการดำเนินนโยบาย

เพื่อฟื้นฟูเสถียรภาพเศรษฐกิจของประเทศภายหลังวิกฤติเศรษฐกิจ ทำให้เสถียรภาพทางเศรษฐกิจของ

ประเทศในปัจจุบันอยู่ในเกณฑ์ดีโดยณสิ้นปี2548อัตราการว่างงานเฉลี่ยร้อยละ2และทุนสำรองเงินตรา

ระหว่างประเทศอยู่ในระดับ 52.1พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งนับว่าเป็นระดับที่มีความเพียงพอในการเป็น

ภูมิคุ้มกันความเสี่ยงจากภายนอกอย่างไรก็ตามราคาน้ำมันที่เพิ่มสูงขึ้นมากตั้งแต่ปลายปีพ.ศ. 2547และ

ต่อเนื่องจนถึงปัจจุบันส่งผลให้ดุลการค้าดุลบัญชีเดินสะพัดขาดดุลเพิ่มขึ้นสะท้อนถึงปัญหาความอ่อนแอ

ในเชิงโครงสร้างที่พึ่งพิงภายนอกมากเกินไปรวมทั้งประเทศไทยยังมีฐานะการออมที่ต่ำกว่าการลงทุนจึงต้อง

พึ่งพิงเงินทุนจากต่างประเทศทำให้ประเทศมีความเสี่ยงจากการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดและจากการเคลื่อน

ย้ายเงินทุนระหว่างประเทศจึงมีความจำเป็นต้องพัฒนาระบบภูมิคุ้มกันทางเศรษฐกิจภายใต้เงื่อนไขบริบท

โลกที่มีการเคลื่อนย้ายอย่างเสรีของคนองค์ความรู้เทคโนโลยีเงินทุนสินค้าและบริการ

สำหรับการพัฒนาเพื่อเสริมสร้างความเป็นธรรมทางเศรษฐกิจและการแก้ไขปัญหาความยากจนมี

ส่วนช่วยให้ความยากจนลดลงตามลำดับและการกระจายรายได้ปรับตัวดีขึ้นอย่างช้าๆ ในปี2547มีจำนวน

ประชาชนที่ยังอยู่ภายใต้เส้นความยากจนซึ่งเป็นระดับรายได้ 1,242บาทต่อเดือนอยู่จำนวน 7.34 ล้านคน

คิดเป็นร้อยละ11.3ของประชากรทั้งประเทศสำหรับการกระจายรายได้ปรับตัวดีขึ้นอย่างช้าๆโดยค่าดัชนี

จีนี่(Ginicoefficient)ของประเทศไทยเท่ากับ0.499ลดลงต่อเนื่องจาก0.525ในปี2543และ0.501ใน

ปี2545แต่อย่างไรก็ตามการแก้ปัญหาการกระจายรายได้ต้องได้รับลำดับความสำคัญเนื่องจากเมื่อเปรียบ

เทียบกับประเทศอื่นๆแล้วการกระจายรายได้ในประเทศไทยยังมีความเท่าเทียมน้อยกว่าหลายประเทศ

10. แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่11(พ.ศ.2555-2559)การพัฒนาในระยะแผน

พัฒนาฯฉบับที่ 11 ประเทศไทยจะต้องเผชิญกับกระแสการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญทั้งภายนอกและภายใน

ประเทศที่ปรับเปลี่ยนเร็วและซับซ้อนมากยิ่งขึ้น เป็นทั้งโอกาสและความเสี่ยงต่อการพัฒนาประเทศ โดย

เฉพาะข้อผูกพันที่จะเป็นประชาคมอาเซียนในปี 2558 จึงจำเป็นต้องนำภูมิคุ้มกันที่มีอยู่ พร้อมทั้งเร่งสร้าง

ภูมิคุ้มกันในประเทศให้เข้มแข็งขึ้นมาใช้ในการเตรียมความพร้อมให้แก่คนสังคมและระบบเศรษฐกิจของ

ประเทศให้สามารถปรับตัวรองรับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงได้อย่างเหมาะสมสามารถพัฒนาประเทศ

ให้ก้าวหน้าต่อไปเพื่อประโยชน์สุขที่ยั่งยืนของสังคมไทยตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

ในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 วิกฤติเศรษฐกิจและการเงินของโลกที่

ผ่านมาส่งผลให้เกิดการปรับเปลี่ยนกฎระเบียบในการบริหารจัดการเศรษฐกิจโลกทั้งด้านการค้าการลงทุน

Page 42: แนวคิดการพัฒนาเศรษฐกิจagri.stou.ac.th/UploadedFile/91721-4.pdf · เค้าโครงเนื้อหา ตอนที่4.1 การ

มสธ มสธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ

4-42 สังคมไทยกับการบริหารการส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร

การเงิน สิ่งแวดล้อม และสังคม เพื่อการจัดระเบียบใหม่ที่สำคัญของโลกครอบคลุมถึงกฎ ระเบียบด้าน

การค้าและการลงทุนที่เน้นสร้างความโปร่งใสและแก้ปัญหาโลกร้อนมากขึ้น การคุ้มครองทรัพย์สินทาง

ปัญญาความร่วมมือระหว่างประเทศและการกำกับดูแลด้านการเงินที่เข้มงวดมากขึ้นพันธกรณีและข้อตกลง

เกีย่วกบัการเปลีย่นแปลงสภาพภมูิอากาศมาตรการทางการคา้ที่เกีย่วขอ้งกบัการแกไ้ขปญัหาโลกรอ้นและกฎ

ระเบียบด้านสังคมมีบทบาทสำคัญมากขึ้นโดยเฉพาะด้านสิทธิมนุษยชนที่ให้ความสำคัญกับการส่งเสริมให้

เกิดความเคารพและรักษาศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของทุกคนอย่างเท่าเทียมกันกฎกติกาใหม่เหล่านี้จะเป็น

เครื่องมือในการต่อรองทางการค้าที่ผลักดันผู้ประกอบการไทยให้จำเป็นต้องยกระดับการผลิตให้ได้มาตรฐาน

ที่กำหนดเพื่อสามารถแข่งขันได้ข้อตกลงระหว่างประเทศด้านสิ่งแวดล้อมสิทธิมนุษยชนและธรรมาภิบาลจะ

เป็นแรงกดดันให้ต้องปรับกระบวนการผลิตที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อมมากขึ้นให้ความสำคัญกับการแสดงความ

รับผิดชอบต่อสังคมและการสร้างความเป็นธรรมในการแข่งขันให้สูงขึ้น

โดยเฉพาะกลุ่มประเทศอุตสาหกรรมใหม่อาทิฮ่องกง เกาหลีสิงคโปร์ ไต้หวันและกลุ่มประเทศ

อาเซียนที่มีแนวโน้มเป็นศูนย์กลางการผลิตสินค้าอุตสาหกรรมโลกขณะที่นโยบายการเปิดประเทศของจีน

รัสเซียพลวัตการขยายตัวของบราซิลและอินเดีย และการเพิ่มขึ้นของชนชั้นกลางในภูมิภาคเอเชีย จะเพิ่ม

กำลังซื้อในตลาดโลกนอกจากนี้การรวมกลุ่มเศรษฐกิจที่สำคัญต่อประเทศไทยในช่วงแผนพัฒนาฯฉบับที่

11 ได้แก่การรวมกลุ่มในภูมิภาคเอเชียภายใต้กรอบการค้าเสรีของอาเซียนกับจีนญี่ปุ่นและอินเดียและ

การเป็นประชาคมอาเซียนในปี2558รวมทั้งกรอบความร่วมมืออื่นๆ อาทิกรอบความร่วมมือเอเชีย-แปซิฟิก

จะมีผลกระทบต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของไทยซึ่งต้องมีการเตรียมความพร้อมในหลายด้านโดย

เฉพาะการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และการพัฒนากลไกต่างๆ

นอกจากนี้แล้วในช่วงแผนพัฒนาฯฉบับที่ 11ประชากรสูงอายุในโลกจะเพิ่มขึ้นอีก 81.9ล้านคน

และการเป็นสังคมผู้สูงอายุของประเทศสำคัญๆ ในโลกมีผลกระทบต่อการเคลื่อนย้ายกำลังคนข้ามประเทศ

เกิดความหลากหลายทางวัฒนธรรม ขณะที่โครงสร้างการผลิตเปลี่ยนจากการใช้แรงงานเข้มข้นเป็นการใช้

องค์ความรู้และเทคโนโลยีมากขึ้นทำให้การพัฒนาคนมุ่งสร้างให้มีความรู้ทักษะและความชำนาญควบคู่ไป

กับการพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อใช้ทดแทนกำลังแรงงานที่ขาดแคลนขณะเดียวกันประเทศที่เข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ

จะมีรายจ่ายด้านสุขภาพเพิ่มขึ้นทำให้งบประมาณสำหรับการลงทุนพัฒนาด้านอื่นๆลดลง

การ เปลี่ยนแปลง ภายใน ของ ประเทศไทย ใน ช่วง แผน พัฒนาฯ ฉบับ ที่ 11 สามารถสรุปเป็นประเด็น

ได้ดังนี้

1) การเปลี่ยนแปลงสภาวะด้านเศรษฐกิจ อัตราการขยายตัวและเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ

ของประเทศไทยอยู่ในเกณฑ์ดี ภาคอุตสาหกรรมเป็นภาคการผลิตที่มีบทบาทสูง ภาคเกษตรเป็นแหล่ง

สร้างรายได้หลักของประชาชนส่วนใหญ่ในประเทศและเป็นฐานในการสร้างมูลค่าเพิ่มของภาคอุตสาหกรรม

ภาคบริการมีบทบาทสำคัญในการสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่เศรษฐกิจ ขณะที่การเชื่อมโยงเศรษฐกิจในประเทศ

กับต่างประเทศทำให้เกิดกิจกรรมทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศโดยเฉพาะด้านการค้าและการลงทุนสำหรับ

การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศยังคงมีบทบาทสำคัญต่อการขยายตัวของระบบเศรษฐกิจไทย แต่ภาวะ

เศรษฐกิจโลกที่ตกต่ำและขีดความสามารถในการแข่งขันลดลงทำให้บทบาทของการลงทุนในการขับเคลื่อน

Page 43: แนวคิดการพัฒนาเศรษฐกิจagri.stou.ac.th/UploadedFile/91721-4.pdf · เค้าโครงเนื้อหา ตอนที่4.1 การ

มสธ มสธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ

4-43แนวคิดการพัฒนาเศรษฐกิจ

เศรษฐกิจมีแนวโน้มลดลง อย่างไรก็ตาม ระบบเศรษฐกิจของไทยมีความอ่อนแอด้านปัจจัยสนับสนุนใน

ส่วนของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี คุณภาพการบริการของโครงสร้างพื้นฐานกฎหมายกฎและระเบียบ

ทางเศรษฐกิจที่ไม่เอื้อต่อการจัดระบบการแข่งขันที่เป็นธรรมและเหมาะสมกับสถานการณ์การเปลี่ยนแปลง

ทางเศรษฐกิจ

2) การเปลี่ยนแปลงสภาวะด้านสังคมประเทศไทยก้าวสู่สังคมผู้สูงอายุจากการมีโครงสร้าง

ประชากรวัยสูงอายุเพิ่มขึ้น วัยเด็กและวัยแรงงานลดลงคนไทยได้รับการพัฒนาศักยภาพทุกช่วงวัย แต่มี

ปัญหาคุณภาพการศึกษาและระดับสติปัญญาของเด็กพฤติกรรมเสี่ยงต่อสุขภาพและผลิตภาพแรงงานต่ำ

ประชาชนได้รับการคุ้มครองทางสังคมเพิ่มขึ้นและมีการจัดสวัสดิการทางสังคมในหลายรูปแบบ แต่กลุ่ม

ผู้ด้อยโอกาสยังไม่สามารถเข้าถึงบริการทางสังคมได้อย่างทั่วถึงความเหลื่อมล้ำทางรายได้ของประชากรและ

โอกาสการเขา้ถงึทรพัยากรเปน็ปญัหาการพฒันาประเทศสงัคมไทยเผชญิวกิฤติความเสือ่มถอยดา้นคณุธรรม

และจริยธรรมและมีการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมที่หลากหลาย รวมถึงเผชิญปัญหาการแพร่ระบาดของ

ยาเสพติดและการเพิ่มขึ้นของการพนันโดยเฉพาะในกลุ่มเด็กและเยาวชนแต่คนไทยตื่นตัวทางการเมืองและ

ให้ความสำคัญกับความรับผิดชอบต่อสังคมและธรรมาภิบาลมากขึ้น

3) การเปลีย่นแปลงสภาวะดา้นทรพัยากรธรรมชาติและสิง่แวดลอ้มทุนทรัพยากรธรรมชาติ

เสือ่มโทรมการเปลีย่นแปลงสภาพภมูิอากาศสง่ผลซำ้เตมิให้ปญัหาทรพัยากรธรรมชาติและสิง่แวดลอ้มรนุแรง

กระทบต่อผลผลิตภาคเกษตรและความยากจนการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมยัง

ไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร ขณะที่มีความขัดแย้งทางนโยบายในการบูรณาการการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมกับ

การพัฒนาเศรษฐกิจอย่างไรก็ตามประเทศไทยยังมีความมั่นคงด้านอาหารแม้จะต้องเผชิญกับความท้าทาย

จากการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศและความต้องการพืชพลังงาน

4) การเปลีย่นแปลงสภาวะดา้นการบรหิารจดัการการพฒันาประเทศประชาชนมีความตื่นตัว

ทางการเมืองสูงขึ้นแต่ความขัดแย้งทางการเมืองความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ยังคงอยู่และส่งผล

ต่อเศรษฐกิจการดำรงชีวิตของประชาชนและความเชื่อมั่นของนานาประเทศรวมทั้งความสงบสุขของสังคม

ไทย ขณะที่ประสิทธิภาพภาครัฐมีการเปลี่ยนแปลงในภาพรวมที่ดีขึ้น แต่ขีดความสามารถในการป้องกัน

การทุจริตต้องปรับปรุงการกระจายอำนาจประสบความสำเร็จในเรื่องการเพิ่มรายได้ให้องค์กรปกครองส่วน

ท้องถิ่น แต่มีความล่าช้าในการถ่ายโอนภารกิจและมีความไม่ชัดเจนในการแบ่งบทบาทหน้าที่กับราชการ

ส่วนกลางขณะเดียวกันการคอรัปชั่นยังคงเป็นปัญหาสำคัญของไทยและเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาประเทศ

นอกจากนี้แล้วโครงสร้างประชากรในประเทศไทยที่มีวัยสูงอายุเพิ่มขึ้นขณะที่ประชากรวัยเด็กและ

วัยแรงงานลดลงประเทศไทยจะเป็นสังคมผู้สูงอายุอย่างสมบูรณ์ในปี2568ขณะที่สัดส่วนประชากรวัยเด็ก

และวัยแรงงานลดลงอย่างต่อเนื่องในช่วงแผนพัฒนาฯฉบับที่ 11 อาจกระทบต่อความต้องการแรงงานใน

ระบบเศรษฐกิจในอนาคตการแข่งขันเพื่อแย่งชิงแรงงานจะมีมากขึ้นโดยเฉพาะแรงงานคุณภาพภาครัฐและ

ครัวเรือนจะมีภาระค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นในการดูแลและพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในด้านต่างๆส่งผลต่อ

ภาระงบประมาณของภาครัฐ และค่าใช้จ่ายของครัวเรือนในการดูแลสุขภาพอนามัย และการจัดสวัสดิการ

ทางสังคม

Page 44: แนวคิดการพัฒนาเศรษฐกิจagri.stou.ac.th/UploadedFile/91721-4.pdf · เค้าโครงเนื้อหา ตอนที่4.1 การ

มสธ มสธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ

4-44 สังคมไทยกับการบริหารการส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร

กล่าวได้ว่าการเปลี่ยนแปลงสังคมไทยที่จะต้องเผชิญคือ ค่านิยมที่ดีงามเสื่อมถอยและประเพณี

ดั้งเดิมถูกบิดเบือน เนื่องด้วยการเปลี่ยนแปลงภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์ ส่งผลให้สังคมไทยมีความเป็น

วัตถุนิยม ให้ความสำคัญกับศีลธรรมและวัฒนธรรมที่ดีงามลดลง ทั้งการดำรงชีวิตประจำวัน การใช้ชีวิต

และความสัมพันธ์กับผู้อื่นมุ่งหารายได้เพื่อสนองความต้องการบริโภคการช่วยเหลือเกื้อกูลกันลดลงความ

มีน้ำใจไมตรีน้อยลงแก่งแย่งเอารัดเอาเปรียบกันขาดความสามัคคีไม่เคารพสิทธิผู้อื่นและขาดการยึดถือ

ประโยชน์ส่วนรวม

นอกจากนี้แล้วฐานทรัพยากรธรรมชาติและสภาพแวดล้อมของประเทศมีแนวโน้มเสื่อมโทรม

รุนแรงจากการเปลี่ยนแปลงทั้งในด้านกายภาพการใช้ประโยชน์การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศส่งผลให้

สถานการณ์และแนวโน้มความเสื่อมโทรมของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมทวีความรุนแรงโดยเฉพาะ

น้ำท่วมภัยแล้งการใช้ทรัพยากรอย่างสิ้นเปลืองไม่คุ้มค่าและปริมาณของเสียที่เพิ่มขึ้นนำไปสู่ความเสี่ยง

ต่อการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ รวมไปถึงการกัดเซาะชายฝั่งอย่างต่อเนื่อง ขณะที่ภัยพิบัติจะ

เกิดขึ้นบ่อยครั้งกระทบต่อฐานการผลิตภาคเกษตรความมั่นคงด้านอาหารพลังงานสุขภาวะและคุณภาพ

ชีวิตของประชาชน

ทิศทาง การ พัฒนา ประเทศ ใน ช่วง แผนพัฒนาฯ ฉบับ ที่ 11

การพัฒนาประเทศในระยะแผนพัฒนาฯฉบับที่11ตระหนักถึงสถานการณ์และความเสี่ยงซึ่งเกิด

ขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงในระดับโลกและภายในประเทศ โดยเฉพาะภาวะผันผวนด้านเศรษฐกิจพลังงาน

และภูมิอากาศที่เป็นไปอย่างรวดเร็วและส่งผลกระทบอย่างชัดเจนต่อประเทศไทยทั้งเชิงบวกและลบดังนั้น

ทิศทางการบริหารจัดการประเทศภายใต้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว

จึงเป็นการใช้จุดแข็งและศักยภาพที่มีอยู่ให้เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาประเทศเพื่อสร้างความเข้มแข็งและ

รักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจของประเทศโดยให้ความสำคัญกับการพัฒนาเศรษฐกิจภายในประเทศที่เน้น

การเสริมสร้างความเข้มแข็งของฐานการผลิตภาคเกษตร และการประกอบการของวิสาหกิจขนาดกลางและ

ขนาดยอ่มขณะเดยีวกนัจำเปน็ตอ้งปรบัตวัในการเชือ่มโยงกบัระบบเศรษฐกจิโลกและภมูภิาคซึง่ประเทศไทย

มีพันธกรณีภายใต้กรอบความร่วมมือต่าง ๆ เพื่อสามารถใช้โอกาสที่เกิดขึ้นและเพิ่มภูมิคุ้มกันของทุนที่มี

อยู่ในสังคมไทยได้อย่างเหมาะสมพร้อมก้าวสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในปี 2558 ขณะเดียวกันจำเป็น

ต้องสร้างความพร้อมสำหรับเชื่อมโยงด้านกายภาพทั้งโครงสร้างพื้นฐานและระบบโลจิสติกส์ ควบคู่กับการ

ยกระดับคุณภาพคนการเสริมสร้างองค์ความรู้การพัฒนาวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีนวัตกรรมและความคิด

สร้างสรรค์ให้เป็นพลังขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมไทยการกำหนดทิศทางการพัฒนาประเทศ

ในระยะแผนพัฒนาฯฉบับที่ 11 จึงเป็นการสร้างภูมิคุ้มกันในมิติต่าง ๆ เพื่อให้การพัฒนาประเทศสู่ความ

สมดุลและยั่งยืนโดยนำทุนของประเทศที่มีศักยภาพมาใช้ประโยชน์อย่างบูรณาการและเกื้อกูลกันพร้อมทั้ง

เสริมสร้างให้แข็งแกร่งเพื่อเป็นรากฐานการพัฒนาประเทศที่สำคัญได้แก่การเสริมสร้างทุนสังคม(ทุนมนุษย์

ทนุสงัคมทนุทางวฒันธรรม)ให้ความสำคญักบัการพฒันาคนและสงัคมไทยสู่สงัคมคณุภาพมุง่สรา้งภมูคิุม้กนั

ตั้งแต่ระดับปัจเจกครอบครัว และชุมชนสามารถจัดการความเสี่ยง และปรับตัวเข้ากับการเปลี่ยนแปลง

มีโอกาสเข้าถึงทรัพยากรและได้รับประโยชน์จากการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมอย่างเป็นธรรมสำหรับการ

เสริมสร้างทุนเศรษฐกิจ(ทุนกายภาพทุนทางการเงิน)มุ่งพัฒนาเศรษฐกิจภายในประเทศให้เข้มแข็งโดยใช้

Page 45: แนวคิดการพัฒนาเศรษฐกิจagri.stou.ac.th/UploadedFile/91721-4.pdf · เค้าโครงเนื้อหา ตอนที่4.1 การ

มสธ มสธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ

4-45แนวคิดการพัฒนาเศรษฐกิจ

ภูมิปัญญา วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และความคิดสร้างสรรค์ ให้ความสำคัญกับการปรับโครงสร้างการ

ค้าและการลงทุนให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดภายในประเทศและต่างประเทศการผลิตที่เป็น

มิตรต่อสิ่งแวดล้อมและมีการเชื่อมโยงกับประเทศในภูมิภาคต่างๆบนพื้นฐานการพึ่งพาซึ่งกันและกันใน

ส่วนการเสริมสร้างทุนทางทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ให้ความสำคัญกับการสร้างความมั่นคงด้าน

อาหาร การบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่เป็นฐานการผลิตภาคเกษตรมุ่งสู่การเป็น

เศรษฐกิจและสังคมคาร์บอนต่ำและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมการเตรียมความพร้อมรองรับการเปลี่ยนแปลง

ภมูิอากาศและภยัพบิตัิทางธรรมชาติรวมทัง้การสรา้งภมูคิุม้กนัดา้นการคา้จากเงือ่นไขดา้นสิง่แวดลอ้มควบคู่

ไปกับการเพิ่มบทบาทไทยในเวทีประชาคม ขณะเดียวกันจำเป็นต้องมีการบริหารจัดการประเทศเพื่อสร้าง

ความเป็นธรรมในสังคม ให้ความสำคัญกับการพัฒนาระบบราชการและข้าราชการโดยยึดหลักธรรมาภิบาล

เพิ่มประสิทธิภาพการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นพัฒนาระบบและกลไกการป้องกัน

และปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบอย่างมีส่วนร่วม ส่งเสริมให้ประชาชนทุกระดับมีโอกาสเข้าถึง

กระบวนการยุติธรรมอย่างเท่าเทียมและสร้างความเป็นธรรมในการเข้าถึงทรัพยากรควบคู่ไปกับปลูกจิต

สำนึกค่านิยมประชาธิปไตยและธรรมาภิบาลแก่ประชาชนทุกกลุ่ม

ยุทธศาสตร์ การ พัฒนา คน สู่ สังคม แห่ง การ เรียน รู้ ตลอด ชีวิต อย่าง ยั่งยืน ใน แผน พัฒนา ฉบับ ที่ 11 ให้

ความสำคัญกับประเด็นดังต่อไปนี้

1. การปรับโครงสร้างและการกระจายตัวประชากรให้เหมาะสม เป็นการส่งเสริมคู่สมรสที่มีความ

พร้อมให้มีบุตรเพิ่มขึ้น และรักษาระดับอัตราเจริญพันธุ์ไม่ให้ต่ำกว่าระดับที่เป็นอยู่ปัจจุบัน สนับสนุน

การกระจายตัวและส่งเสริมการตั้งถิ่นฐานของประชากรให้เหมาะสมสอดคล้องกับศักยภาพ โอกาสและ

ทรัพยากรธรรมชาติของพื้นที่

2. การพัฒนาคุณภาพคนไทยให้มีภูมิคุ้มกันต่อการเปลี่ยนแปลงมุ่งพัฒนาคุณภาพคนไทยทุกช่วง

วัยสอดแทรกการพัฒนาคนด้วยกระบวนการเรียนรู้ที่เสริมสร้างวัฒนธรรมการเกื้อกูลพัฒนาทักษะให้คนมี

การเรียนรู้ต่อเนื่องตลอดชีวิต ต่อยอดสู่การสร้างนวัตกรรมที่เกิดจากการฝึกฝนเป็นความคิดสร้างสรรค์

ปลูกฝังการพร้อมรับฟังความคิดเห็นจากผู้อื่นและจิตใจที่มีคุณธรรมซื่อสัตย์มีระเบียบวินัยพัฒนาคนด้วย

การเรียนรู้ในศาสตร์วิทยาการให้สามารถประกอบอาชีพได้อย่างหลากหลายสอดคล้องกับแนวโน้มการจ้าง

งานและเตรียมความพร้อมสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนสร้างจิตสำนึกให้คนไทยมีความรับผิดชอบต่อสังคม

เคารพกฎหมายหลักสิทธิมนุษยชน สร้างค่านิยมการผลิตและบริโภคที่รับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม เรียนรู้

การรองรับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดจากสภาพภูมิอากาศและภัยพิบัติ

3. การส่งเสริมการลดปัจจัยเสี่ยงด้านสุขภาพอย่างเป็นองค์รวมโดยสร้างเสริมสุขภาวะคนไทยให้มี

ความสมบูรณ์แข็งแรงทั้งร่างกายและจิตใจพัฒนาความรู้และทักษะในการดูแลสุขภาพของตนเองครอบครัว

ชุมชนสร้างการมีส่วนร่วมในการพัฒนานโยบายสาธารณะที่เอื้อต่อสุขภาพควบคู่กับการพัฒนาระบบบริการ

สาธารณสุขให้มีคุณภาพพร้อมทั้งการส่งเสริมการแพทย์ทางเลือกการพัฒนาระบบฐานข้อมูลสุขภาพของ

ประเทศ การพัฒนาบุคลากรด้านสาธารณสุขให้เหมาะสมทั้งการผลิตและการกระจายบุคลากร ตลอดจน

การใช้มาตรการการเงินการคลังเพื่อสุขภาพที่มีประสิทธิภาพและยั่งยืน

Page 46: แนวคิดการพัฒนาเศรษฐกิจagri.stou.ac.th/UploadedFile/91721-4.pdf · เค้าโครงเนื้อหา ตอนที่4.1 การ

มสธ มสธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ

4-46 สังคมไทยกับการบริหารการส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร

4. การส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตมุ่งสร้างกระแสสังคมให้การเรียนรู้เป็นหน้าที่ของคนไทยทุก

คนมีนิสัยใฝ่รู้รักการอ่านตั้งแต่วัยเด็กและส่งเสริมการเรียนรู้ร่วมกันของคนต่างวัยควบคู่กับการส่งเสริม

ให้องค์กรกลุ่มบุคคลชุมชนประชาชนและสื่อทุกประเภทเป็นแหล่งเรียนรู้อย่างสร้างสรรค์สื่อสารด้วยภาษา

ที่เข้าใจง่ายรวมถึงส่งเสริมการศึกษาทางเลือกที่สอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียนและสร้างสังคมแห่ง

การเรียนรู้ที่มีคุณภาพและสนับสนุนปัจจัยที่ก่อให้เกิดการเรียนรู้ตลอดชีวิต

5. การเสริมสร้างความเข้มแข็งของสถาบันทางสังคม เป็นการเสริมสร้างความเข้มแข็งและพัฒนา

บทบาทของสถาบันหลักทางสังคมให้เอื้อต่อการพัฒนาคนสร้างค่านิยมให้คนไทยภูมิใจในวัฒนธรรมไทย

และยอมรับความแตกต่างของความหลากหลายทางวัฒนธรรมที่ลดปัญหาความขัดแย้งทางความคิด และ

สร้างความเป็นเอกภาพในสังคมสร้างเครือข่ายความร่วมมือทางวัฒนธรรมร่วมกับประชาคมโลกโดยเฉพาะ

ประชาคมอาเซียนให้เกิดการไหลเวียนทางวัฒนธรรมในรูปแบบการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ส่งเสริมความเข้าใจ

ระหว่างประชาชนในการเรียนรู้ประวัติศาสตร์วัฒนธรรมและการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ข้อมูลข่าวสาร

ยุทธศาสตร์ ความ เข้ม แข็ง ภาค เกษตร ใน แผน พัฒนาฯ ฉบับ ที่ 11ให้ความสำคัญกับความมั่นคงของ

อาหารและพลังงานโดยในแผนพัฒนาฯฉบับที่11นั้นมีสาระสำคัญดังนี้

1. การพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติที่เป็นฐานการผลิตภาคเกษตรให้เข้มแข็งและยั่งยืน มุ่งรักษา

ป้องกันและคุ้มครองพื้นที่ที่มีศักยภาพทางการเกษตรสนับสนุนให้เกษตรกรรายย่อยมีที่ดินเป็นของตนเอง

หรือมีสิทธิทำกินในที่ดิน ใช้มาตรการทางภาษีเพื่อบังคับหรือจูงใจให้บุคคลผู้ถือครองที่ดินทำประโยชน์ใน

พื้นที่ดังกล่าวมากขึ้น สนับสนุนการกระจายการถือครองที่ดินอย่างเท่าเทียมและเป็นธรรม เร่งรัดการจัดให้

มีองค์กรและระบบบริหารจัดการที่ดินให้เป็นรูปธรรมโดยเร็วพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติที่เป็นฐานการผลิต

ภาคการเกษตรฟื้นฟูและส่งเสริมค่านิยม วัฒนธรรมที่ดี และวิถีชีวิตทางการเกษตรที่ให้ความสำคัญกับ

การพัฒนาระบบเกษตรกรรมยั่งยืน

2. การเพิ่มประสิทธิภาพและศักยภาพการผลิตภาคเกษตร ภาครัฐให้ความสำคัญกับการวิจัย

และพัฒนาอย่างต่อเนื่อง สนับสนุนการวิจัยและพัฒนาของภาคเอกชนสนับสนุนการผลิตทางการเกษตรที่

สอดคล้องกับสภาพพื้นที่ ควบคุมและกำกับดูแลให้มีการนำเข้าและใช้สารเคมีทางการเกษตรที่ได้มาตรฐาน

ปรับปรุงบริการขั้นพื้นฐานเพื่อการผลิตให้ทั่วถึงส่งเสริมการผลิตที่คงไว้ซึ่งความหลากหลายของพันธุ์พืชและ

สตัว์ที่เหมาะสมกบัสภาพภมูิอากาศและสิง่แวดลอ้มของประเทศพฒันาและเสรมิสรา้งองค์ความรู้วทิยาศาสตร์

และเทคโนโลยีต่าง ๆที่เหมาะสมทางการเกษตร รวมทั้งสนับสนุนการใช้เทคโนโลยีการผลิตที่เป็นมิตรต่อ

สิ่งแวดล้อมให้แก่เกษตรกรอย่างต่อเนื่องและทั่วถึง

3. การสร้างมูลค่าเพิ่มผลผลิตทางการเกษตรตลอดห่วงโซ่การผลิตสนับสนุนการผลิตและบริการ

ของชุมชนในการสร้างมูลค่าเพิ่มสินค้าเกษตรอาหารและพลังงานส่งเสริมสถาบันการศึกษาในพื้นที่ให้ร่วม

ศึกษาวิจัยกับภาคเอกชนสนับสนุนเกษตรกรและผู้ประกอบการนำองค์ความรู้นวัตกรรมและเทคโนโลยีการ

ผลิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมบนฐานความคิดริเริ่มสร้างสรรค์มาใช้ในการสร้างมูลค่าเพิ่มสินค้าผลิตภัณฑ์

เกษตรและอาหารยกระดับคุณภาพมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารมาตรฐานระบบการผลิตสินค้าเกษตร

ให้เทียบเท่าระดับสากล ส่งเสริมระบบตลาดกลางสินค้าเกษตรและตลาดซื้อขายสินค้าเกษตรล่วงหน้า

Page 47: แนวคิดการพัฒนาเศรษฐกิจagri.stou.ac.th/UploadedFile/91721-4.pdf · เค้าโครงเนื้อหา ตอนที่4.1 การ

มสธ มสธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ

4-47แนวคิดการพัฒนาเศรษฐกิจ

ส่งเสริมภาคเอกชนและองค์กรชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารจัดการระบบสินค้าเกษตรและอาหารร่วม

กับสถาบันเกษตรกรเพิ่มประสิทธิภาพระบบการบริหารจัดการโลจิสติกส์ของภาคเกษตร

4. การสร้างความมั่นคงในอาชีพและรายได้ให้แก่เกษตรกรมุ่งพัฒนาระบบการสร้างหลักประกัน

รายได้ของเกษตรกรให้มีความมั่นคงและครอบคลุมเกษตรกรทั้งหมด พัฒนาระบบประกันภัยพืชผล

การเกษตรส่งเสริมระบบการทำการเกษตรแบบมีพันธะสัญญาที่เป็นธรรมแก่ทุกฝ่ายยกระดับคุณภาพชีวิต

และความเป็นอยู่ของเกษตรกรสร้างแรงจูงใจให้เยาวชนเกษตรกรรุ่นใหม่และแรงงานที่มีคุณภาพเข้าสู่อาชีพ

เกษตรกรรมพฒันาสถาบนัเกษตรกรและวสิาหกจิชมุชนให้เปน็กลไกสนบัสนนุการพึง่พาตนเองของเกษตรกร

เสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับเกษตรกรรายย่อยที่ได้รับผลกระทบจากการนำเข้าสินค้าเกษตรและอาหารที่มี

ต้นทุนต่ำที่เป็นผลมาจากข้อตกลงการเปิดการค้าเสรี

5. การสร้างความมั่นคงด้านอาหารและพัฒนาพลังงานชีวภาพในระดับครัวเรือนและชุมชน โดย

สง่เสรมิให้เกษตรกรปลกูตน้ไม้และปลกูปา่โดยชมุชนและเพือ่ชมุชนเพิม่ขึน้สง่เสรมิให้เกษตรกรทำการเกษตร

ด้วยระบบเกษตรยั่งยืนตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงสนับสนุนให้มีการจัดการและเผยแพร่องค์ความรู้

และการพัฒนาด้านอาหารศึกษาทุกรูปแบบอย่างต่อเนื่องและทั่วถึง รวมทั้งส่งเสริมพฤติกรรมการบริโภค

ที่เหมาะสมของบุคคลและชุมชนสนับสนุนการสร้างเครือข่ายการผลิตและการบริโภคที่เกื้อกูลกันในระดับ

ชุมชนที่อยู่บริเวณใกล้เคียงกัน ส่งเสริมการนำวัตถุดิบทางการเกษตรที่ผลิตได้ในชุมชนและที่เหลือใช้จาก

การเกษตรมาผลิตเป็นพลังงานทดแทนในชุมชนรวมทั้งส่งเสริมและพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานในพื้นที่ให้เป็น

เครื่องมือในการสร้างความเข้มแข็งด้านอาหารให้กับเกษตรกรและชุมชนอย่างเป็นระบบ

6. การสร้างความมั่นคงด้านพลังงานชีวภาพเพื่อสนับสนุนการพัฒนาประเทศและความเข้มแข็ง

ภาคเกษตร ด้วยการส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตพลังงานจากพืชพลังงาน

จัดให้มีระบบการบริหารจัดการสินค้าเกษตรที่ใช้เป็นทั้งอาหารและพลังงาน เพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและ

การใช้พลังงานชีวภาพที่เกี่ยวเนื่องกับภาคการผลิตและบริการ จัดให้มีกลไกกำกับดูแลโครงสร้างราคาของ

พลังงานชีวภาพและปลูกจิตสำนึกในการใช้พลังงานชีวภาพอย่างมีประสิทธิภาพและคุ้มค่า

7. การปรับระบบบริหารจัดการภาครัฐเพื่อเสริมสร้างความมั่นคงด้านอาหารและพลังงาน โดย

สนับสนุนบทบาทของเกษตรกร เครือข่ายปราชญ์ชาวบ้านภาคเอกชนและชุมชนให้เข้ามามีส่วนร่วมในการ

กำหนดทิศทางและวางแผนการผลิตทางการเกษตรปรับกระบวนการทำงานของหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง

ให้มีการร่วมมือและบูรณาการการทำงานอย่างจริงจังทั้งในส่วนกลางและระดับพื้นที่พัฒนาระบบฐานข้อมูล

สารสนเทศด้านอาหารและพลังงานตั้งแต่การผลิตการตลาดไปจนถึงการบริโภคพัฒนากฎหมายที่เกี่ยวข้อง

กบัการพฒันาดา้นการเกษตรสง่เสรมิความรว่มมอืระหวา่งประเทศทัง้ในระดบัพหภุาคีและทวภิาคีโดยเฉพาะ

ประชาคมอาเซียนที่ก่อให้เกิดความมั่นคงด้านอาหารและพลังงาน

Page 48: แนวคิดการพัฒนาเศรษฐกิจagri.stou.ac.th/UploadedFile/91721-4.pdf · เค้าโครงเนื้อหา ตอนที่4.1 การ

มสธ มสธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ

4-48 สังคมไทยกับการบริหารการส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร

ตาราง ที่ 4.2 สรุป แผน พัฒนา เศรษฐกิจ และ สังคม แห่ง ชาติ ฉบับ ที่ 1-11

แผน ระยะเวลา (พ.ศ.) จุดมุ่งหมายสำคัญ

ฉบับที่1 2504-2509(6ปี) -การลงทุนขั้นพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งการชลประทานไฟฟ้า

ฉบับที่2 2510-2514 -การลงทุนขั้นพื้นฐานต่อเนื่องจากแผนฯ1

-ขยายขอบเขตการลงทุนให้ครอบคลุมไปถึงรัฐวิสาหกิจและรายการ

ส่วนท้องถิ่น

-การพัฒนาชนบท

ฉบับที่3 2515-2519 -เร่งรัดการส่งออกและสนับสนุนอุตสาหกรรมทดแทนการนำเข้า

-เพิ่มกลยุทธ์ด้านสังคมโดยเฉพาะการลดอัตราการเกิดของประชากร

-มุ่งเน้นการกระจายรายได้ที่เป็นรูปธรรมมากขึ้น

-การพัฒนาความมั่นคงทางการเมือง(การเตรียมพร้อมทางเศรษฐกิจ)

ฉบับที่4 2520-2524 -การฟื้นฟูฐานะเศรษฐกิจของชาติ

-การรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ

-การบริหารทรัพยากรธรรมชาติและสำรวจแหล่งพลังงานภายในประเทศ

ฉบับที่5 2525-2529 -การพัฒนาแนวรุกโดยยึดพื้นที่เป็นหลักพัฒนาชายฝั่งทะเลตะวันออก

กรุงเทพมหานครและปริมณฑล

-การรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ

-ส่งเสริมอุตสาหกรรมส่งออกให้เอกชนเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนา

-การแก้ปัญหาความยากจนในชนบทโดยกำหนดพื้นที่เป้าหมายที่ชัดเจน

ฉบับที่6 2530-2534 -ปรับโครงสร้างเศรษฐกิจ

-ดำเนินนโยบายการเงินการคลังที่รัดกุม

-ระดมเงินออมภายในประเทศเพื่อลงทุนในโครงสร้างบริการพื้นฐาน

-ปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตของอุตสาหกรรมส่งออกที่ใช้แรงงานสูง

ฉบับที่7 2535-2539 -รักษาอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่องและมีเสถียรภาพ

-แก้ปัญหาการกระจายรายได้

-การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์คุณภาพชีวิตสิ่งแวดล้อมและทรัพยากร

ธรรมชาติ

ฉบับที่8 2540-2544 -เสริมสร้างศักยภาพของคน

-พัฒนาสภาพแวดล้อมของสังคมและเสริมสร้างความเข้มแข็งของ

ครอบครัวและชุมชน

-พัฒนาเศรษฐกิจให้เจริญเติบโตอย่างมีเสถียรภาพมั่นคงและสมดุล

Page 49: แนวคิดการพัฒนาเศรษฐกิจagri.stou.ac.th/UploadedFile/91721-4.pdf · เค้าโครงเนื้อหา ตอนที่4.1 การ

มสธ มสธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ

4-49แนวคิดการพัฒนาเศรษฐกิจ

แผน ระยะเวลา (พ.ศ.) จุดมุ่งหมายสำคัญ

-ใช้ประโยชน์และดูแลรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้มี

ความสมบูรณ์

-ปรับระบบบริหารจัดการ

ฉบับที่9 2545-2549 -อัญเชิญแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงตามพระราชดำรัสของพระบาท-

สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมาเป็นปรัชญาในการพัฒนาและบริหารประเทศ

-การพัฒนาแบบบูรณาการโดยเน้นคนเป็นศูนย์กลางในการพัฒนาโดย

ยึดหลักทางสายกลาง

-ให้ความสำคัญกับการพัฒนาที่สมดุลทั้งด้านตัวคน สังคม เศรษฐกิจ

และสิ่งแวดล้อม เพื่อนำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนและความอยู่ดีมีสุขของ

คนไทย

ฉบับที่10 2550-2554 -การเตรียมความพร้อมของคนและระบบให้มีภูมิคุ้มกันพร้อมรับการ

เปลี่ยนแปลงและผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้น ยังคงอัญเชิญปรัชญา

เศรษฐกิจพอเพียงมาเป็นแนวทางในการปฏิบัติ เน้นคนเป็นศูนย์กลาง

ในการพัฒนา

-ให้ความสำคัญกับพลังสังคมจากทุกภาคส่วนให้มีส่วนร่วมดำเนินการ

ในทุกขั้นตอนของแผนพัฒนาฯ

- สร้างเครือข่ายการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การพัฒนาสู่การปฏิบัติรวมทั้ง

การติดตามตรวจสอบผลการดำเนินงานตามแผนอย่างต่อเนื่อง

ฉบับที่11 2555-2558 - การพัฒนาประเทศที่เน้นให้ประเทศมีความมั่นคงเป็นธรรมและมี

ภูมิคุ้มกันต่อการเปลี่ยนแปลง

-การพัฒนาฐานการผลิตและบริการ การสร้างความเป็นธรรมและลด

ความเหลือ่มลำ้ทางเศรษฐกจิสงัคมและสรา้งภมูคิุม้กนัจากวกิฤตกิารณ์

-เนน้การพฒันาเพือ่ใหท้รพัยากรและสิง่แวดลอ้มอดุมสมบรูณอ์ยา่งยัง่ยนื

คนไทยอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข และพร้อมเผชิญกับการเปลี่ยนแปลง

ได้อย่างเป็นสุข

-มีเป้าหมายหลักให้เศรษฐกิจมีความเข้มแข็งสมดุล ความสามารถใน

การแขง่ขนัทีส่งูขึน้มหีลกัประกนัสงัคมทีท่ัว่ถงึสงัคมไทยมคีวามสขุอยา่ง

มีธรรมาภิบาล

ตาราง ที่ 4.2 (ต่อ)

Page 50: แนวคิดการพัฒนาเศรษฐกิจagri.stou.ac.th/UploadedFile/91721-4.pdf · เค้าโครงเนื้อหา ตอนที่4.1 การ

มสธ มสธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ

4-50 สังคมไทยกับการบริหารการส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร

แผน ระยะเวลา (พ.ศ.) จุดมุ่งหมายสำคัญ

-การสร้างฐานการผลิตให้เข้มแข็ง สมดุล อย่างสร้างสรรค์ การสร้าง

สภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวยต่อการผลิตการค้า การลงทุน การพัฒนา

คุณภาพคน ทั้งความรู้คู่คุณธรรม สังคมมั่นคงเป็นธรรม มีพลังและ

เอื้ออาทร เน้นการผลิตและการบริโภคที่ เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

มีความมั่นคงของพลังงานและอาหาร และเพิ่มขีดความสามารถใน

การแข่งขันของประเทศ

ที่มา:สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ,2555.

ข้อ จำกัด ใน การ พัฒนา เศรษฐกิจ ของ ประเทศไทยการพัฒนาในระยะเวลา50ปีที่ผ่านมาตั้งแต่ปีพ.ศ.2504–ปัจจุบันประเทศไทยประสบผลสำเร็จ

ในการพัฒนาเศรษฐกิจโดยส่วนรวมแต่การพัฒนาที่ผ่านมาประเทศไทยก็ยังประสบถึงข้อจำกัดและอุปสรรค

ดังนี้

1. โครงสร้างการผลิต สืบเนื่องจากประเทศไทยเป็นประเทศเกษตรกรรมหลังจากมีแผนพัฒนา

เศรษฐกจิและสงัคมแหง่ชาติรวม8ฉบบัประเทศไทยเปลีย่นโครงสรา้งการผลติจากที่เนน้ทางดา้นเกษตรกรรม

เป็นการพัฒนาที่เน้นทางด้านอุตสาหกรรม โดยสาขาเกษตรกรรมยังคงพึ่งพาสินค้าหลัก โดยเฉพาะรายได้

จากภาคเกษตรกรรมส่วนใหญ่เป็นรายได้จากพืชผลสูงถึงร้อยละ 60.7 ของรายได้ทั้งหมด เป็นรายได้ที่มา

จากพืชเศรษฐกิจหลักเพียง6ชนิดเท่านั้นคือข้าวมันสำปะหลังอ้อยข้าวโพดปาล์มและยางพาราการที่

สาขาเกษตรกรรมยังคงพึ่งสินค้าเพียง6ชนิดทำให้เกิดความเสี่ยงในด้านการผลิตการตลาดทำให้ไม่สามารถ

บรรลุถึงเป้าหมายได้ ส่วนสาขาอุตสาหกรรมยังคงกระจุกตัวเฉพาะอุตสาหกรรมหลัก อุตสาหกรรมอาหาร

เครื่องดื่มสิ่งทอเครื่องนุ่งห่มปิโตรเลียมเครื่องจักรกลและอิเล็กทรอนิกส์ทำให้การสินค้าเหล่านี้มีตลาด

จำกัด ถ้ามีการดำเนินนโยบายกีดกันทางการค้าจากประเทศคู่ค้าทำให้ประเทศสามารถที่จะส่งออกไปได้

และการที่ประเทศไทยปรับเปลี่ยนนโยบายเน้นการส่งออกในอุตสาหกรรม โดยเฉพาะอุตสาหกรรมรถยนต์

อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้า เป็นต้นอุตสาหกรรมเหล่านี้เป็นอุตสาหกรรมการ

ผลิตขนาดใหญ่ มีการใช้เงินลงทุนสูง ประกอบกับเป็นอุตสาหกรรมต้องใช้เครื่องจักรเครื่องมือที่ทันสมัย

แต่ประเทศไทยไม่สามารถที่จะระดมเงินทุนจากภายในประเทศในจำนวนมากได้ และไม่สามารถที่จะผลิต

เครื่องจักรเครื่องมือที่ทันสมัยได้ จึงมีความจำเป็นจะต้องมีการลงทุนจากต่างประเทศ โดยเฉพาะในปี

พ.ศ.2542จำนวนเงินทุนไหลเข้าสุทธิจากต่างประเทศโดยเฉพาะประเทศญี่ปุ่นสหรัฐอเมริกาจำนวนสูงถึง

837.8 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และ 726.1 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ตามลำดับ และมีการนำเข้าเครื่องจักรเครื่องมือ

รวมทั้งวัตถุดิบในการผลิตจากต่างประเทศ โดยในปี พ.ศ. 2542 มีมูลค่าการนำเข้าสินค้าที่สำคัญจำพวก

เครื่องใช้ทางการแพทย์มีมูลค่าสูงถึง32,003ล้านดอลลาร์สหรัฐหรือประมาณ1.22ล้านล้านบาทซึ่งเป็น

ตาราง ที่ 4.2 (ต่อ)

Page 51: แนวคิดการพัฒนาเศรษฐกิจagri.stou.ac.th/UploadedFile/91721-4.pdf · เค้าโครงเนื้อหา ตอนที่4.1 การ

มสธ มสธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ

4-51แนวคิดการพัฒนาเศรษฐกิจ

การสูญเสียเงินตราต่างประเทศในอัตราที่สูง การที่โครงสร้างการผลิตเป็นลักษณะการผลิตที่ไม่ได้คำนึงถึง

ความได้เปรียบเชิงเปรียบเทียบที่จะนำไปสู่การแข่งขันกับตลาดต่างประเทศ

2. ด้านทรัพยากรมนุษย์ เนื่องจากกำลังแรงงานส่วนใหญ่เป็นแรงงานที่มีการศึกษาระดับประถม

ศึกษา โดยในปี พ.ศ. 2542 แรงงานที่จบการศึกษาเพียงชั้นประถมศึกษาสูงถึงร้อยละ 69.8 ของแรงงาน

ทั้งหมดส่วนแรงงานที่จบการศึกษาระดับมหาวิทยาลัยมีเพียงร้อยละ7.4ของจำนวนแรงงานทั้งหมดเท่านั้น

การที่แรงงานส่วนใหญ่มีระดับการศึกษาต่ำมีผลต่อระดับรายได้ที่มีอัตราค่าจ้างที่ต่ำ ประกอบกับแนวโน้ม

การพัฒนาภาคอุตสาหกรรมเป็นการพัฒนาไปสู่อุตสาหกรรมที่มีการใช้เครื่องจักรเครื่องมือที่ทันสมัยที่ใช้

เทคโนโลยีขั้นสูงแต่แรงงานที่ทำงานในโรงงานอุตสาหกรรมไม่สามารถใช้ประโยชน์จากเครื่องจักรเครื่องมือ

ได้อย่างเต็มที่คือแรงงานจะทำหน้าที่เฉพาะการควบคุมการผลิตเท่านั้นแต่เมื่อเกิดปัญหาขัดข้องทางเทคนิค

จำเป็นจะต้องใช้ช่างเทคนิคจากต่างประเทศเข้ามาซ่อมแซมและโอกาสในการพัฒนาคิดค้นสิ่งประดิษฐ์ใหม่ๆ

มีน้อยประกอบกับในปัจจุบันนี้แนวโน้มอัตราค่าจ้างขั้นต่ำของแรงงานมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเมื่อเปรียบเทียบ

กับประเทศจีน อินโดนีเซีย อินเดีย ทำให้การลงทุนจากต่างประเทศเริ่มเปลี่ยนฐานการลงทุนสู่ประเทศที่มี

ค่าจ้างต่ำกว่า

3. ดา้นทรพัยากรธรรมชาติและสิง่แวดลอ้มเนือ่งจากการพฒันาที่ผา่นมาเปน็การพฒันาที่เนน้อตัรา

การขยายตัวทางเศรษฐกิจ ดังนั้นการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างฟุ่มเฟือยมีผลทำให้เกิดความเสื่อมโทรม

ของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมโดยเฉพาะทรัพยากรที่ดินเพื่อการเกษตรกรรมที่มีปัญหาเป็นสภาพ

ดินเปรี้ยวดินเค็มและความอุดมสมบูรณ์ของดินยังถูกทำลายจากการชะล้างพังทลายประกอบกับการผลิต

ในอุตสาหกรรมที่ก่อให้เกิดมลภาวะหรือของเสียจากกระบวนการผลิตประกอบกับในปัจจุบันประเทศคู่ค้า

ตั้งเงื่อนไขทางด้านสิ่งแวดล้อมซึ่งทำให้ปริมาณการส่งออกของไทยมีจำนวนลดลง

4. ระบบสถาบันกฎกติกาจากข้อตกลงขององค์การการค้าโลก (WTO)กำหนดให้เปิดตลาดการ

ค้าเสรี แต่กลุ่มประเทศที่พัฒนาแล้วใช้มาตรการใหม่ ๆ ในการกีดกันทางการค้า โดยเฉพาะมาตรการทาง

ด้านสิ่งแวดล้อมการใช้แรงงานเด็ก สิทธิมนุษยชนการเก็บภาษีต่อต้านการทุ่มตลาด ในปัจจุบันประเทศที่

พัฒนาแล้วกำหนดนโยบายที่ไม่อนุญาตให้มีการนำเข้าสินค้าที่มีการดัดแปลงทางพันธุกรรม (Genetically

ModifiedOrganisms:GMO)และมีการกำหนดในเรื่องการปิดฉลาก เรื่องการใช้อวนลอยในการจับปลา

ทูนาและปลาปากแหลมมาเป็นประเด็นทางด้านสิ่งแวดล้อม

Page 52: แนวคิดการพัฒนาเศรษฐกิจagri.stou.ac.th/UploadedFile/91721-4.pdf · เค้าโครงเนื้อหา ตอนที่4.1 การ

มสธ มสธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ

4-52 สังคมไทยกับการบริหารการส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร

เรื่อง ที่ 4.2.3 บทบาท ของ ภาครัฐ และภาค เอกชน ใน การ พัฒนา

เศรษฐกิจ

ในเรื่องที่4.2.3นี้จะกล่าวถึงภาคส่วนที่มีบทบาทต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศไทย2ภาคส่วน

ได้แก่ ภาครัฐซึ่งถือได้ว่ามีบทบาทโดยตรงต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ อีกภาคส่วนหนึ่ง คือภาค

เอกชนซึ่งสามารถกล่าวได้ว่ามีบทบาทในการพัฒนาเศรษฐกิจโดยการมีส่วนร่วมในการพัฒนาเศรษฐกิจใน

รูปแบบคณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชนเพื่อแก้ปัญหาทางเศรษฐกิจ (กรอ.) ซึ่งรายละเอียดสามารถ

อธิบายได้ดังนี้

บทบาท ของ รัฐบาล ใน การ พัฒนา เศรษฐกิจมีดังนี้1. การชี้นำส่งเสริมและช่วยเหลือภาคเอกชนเพื่อชักนำให้ภาคเอกชนลงทุนในกิจกรรมสาขาและ

พื้นที่ที่ต้องการ ซึ่งจะมีผลทำให้จุดมุ่งหมายของการพัฒนาเศรษฐกิจบรรลุผล ในการนี้รัฐบาลสามารถให้

ความช่วยเหลือแก่ภาคเอกชนโดยผ่านมาตรการต่างๆ เช่นการจัดให้มีข้อมูลข่าวสารด้านทิศทางและแนวทาง

การพัฒนาเศรษฐกิจ การส่งเสริมและการให้สิทธิประโยชน์แก่กิจกรรมที่มีผลต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ การ

ปรับปรุงและส่งเสริมระบบตลาดและสภาพการแข่งขันเสรีการปรับปรุงแก้ไขระเบียบข้อบังคับและกฎหมาย

ที่เป็นอุปสรรคต่อการลงทุนและการขยายตัวของภาคเอกชน การให้ความช่วยเหลือทางด้านการเงินและ

สินเชื่อตลอดจนการให้ความช่วยเหลือทางด้านเทคนิคและวิชาการต่างๆเป็นต้น

2. การจัดให้มีสินค้าสาธารณะและโครงการขั้นพื้นฐานต่างๆ ทั้งทางด้านเศรษฐกิจและสังคมเช่น

การคมนาคมขนส่งไฟฟ้าน้ำประปาโทรศัพท์สนามบินท่าเรือการศึกษาและสาธารณสุขเป็นต้น

3. การปรับปรุงการกระจายรายได้ทั้งในระหว่างกลุ่มอาชีพและในระหว่างพื้นที่ต่าง ๆ ภายใน

ประเทศ เพื่อให้การกระจายรายได้มีความเสมอภาคกันมากยิ่งขึ้น ด้วยการใช้เครื่องมือทางด้านภาษีอากร

การปฏิรูปที่ดิน และการใช้จ่ายเงินของรัฐบาลเพื่อช่วยเหลือกลุ่มชนที่ยากจนทั้งในเมืองและในชนบท เช่น

การพัฒนาชนบทยากจนเป็นต้น

4. การรกัษาเสถยีรภาพทางเศรษฐกจิโดยป้องกันมิให้เกิดปัญหาเงินเฟ้อเงินฝืดปัญหาการว่างงาน

และปัญหาการขาดดุลการค้าและดุลการชำระเงินระหว่างประเทศด้วยการใช้เครื่องมือทางการเงินและการ

คลัง

5. การชี้นำการพัฒนาประเทศเพื่อปรับปรุงคุณภาพชีวิตของประชาชนให้ดีขึ้น

6. การติดต่อและปรับปรุงความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจกับต่างประเทศ ทั้งนี้เนื่องจากในปัจจุบัน

การค้าการเงินและการลงทุนระหว่างประเทศพัฒนาไปสู่ความสลับซับซ้อนและเกี่ยวพันกับประเทศต่างๆ

เป็นอันมาก และการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจของต่างประเทศมีผลกระทบต่อความจำเริญเติบโตและ

Page 53: แนวคิดการพัฒนาเศรษฐกิจagri.stou.ac.th/UploadedFile/91721-4.pdf · เค้าโครงเนื้อหา ตอนที่4.1 การ

มสธ มสธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ

4-53แนวคิดการพัฒนาเศรษฐกิจ

การขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศด้วย ดังนั้นหน้าที่ที่สำคัญอีกประการหนึ่งของรัฐบาลในปัจจุบัน

ซึ่งได้แก่ การติดตามความเคลื่อนไหวทางเศรษฐกิจของประเทศต่าง ๆ อย่างใกล้ชิด การติดต่อสัมพันธ์ใน

เรื่องการค้า การเงินและการลงทุนกับต่างประเทศและการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจกับมิตรประเทศ เพื่อผล

ประโยชน์ทางเศรษฐกิจของประเทศ

เพื่อให้การปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวข้างต้นเป็นไปด้วยความเรียบร้อยและมีประสิทธิภาพรัฐบาลต้องมี

ภารกิจหรืองานที่ต้องดำเนินการภารกิจดังกล่าวสามารถแบ่งออกได้เป็น3กลุ่มภารกิจหลักดังนี้

1) การวางแผนพัฒนาประเทศ โดยทั่วไปภารกิจนี้จะประกอบด้วยการกำหนดวัตถุประสงค์

จุดหมาย เป้าหมายนโยบาย และแนวทางการดำเนินงานเพื่อการพัฒนา ในการนี้รัฐบาลอาจจะจัดทำแผน

ระยะยาวระยะปานกลางและแผนปฏิบัติการประจำปีเพื่อใช้เป็นกรอบและแนวทางในการพัฒนาการจัดทำ

แผนจะต้องเป็นไปอย่างมีเหตุมีผลและถูกต้องตามหลักวิชาการโดยก่อนที่จะตัดสินใจในเรื่องอะไรจะต้องมี

การศึกษาวิเคราะห์ให้ละเอียดทุกแง่ทุกมุมและมีการพิจารณาถึงทางเลือกต่างๆเท่าที่มีเสียก่อนแล้วจึงค่อย

ตัดสินใจว่าจะเลือกทางเลือกใดที่มีความเป็นไปได้มากที่สุดภายใต้สภาพการณ์และจุดมุ่งหมายที่ต้องการ

2) การบริหารและการนำแผนไปสู่การปฏิบัติหรือกล่าวอีกนัยหนึ่งคือ การปฏิบัติตามแผน

พัฒนา ซึ่งได้แก่ การนำนโยบายมาตรการ แผนงาน และโครงการที่บรรจุอยู่ในแผนไปสู่การปฏิบัติและ

ดำเนินการในการนี้รัฐบาลสามารถปฏิบัติตามแผนได้โดยผ่านวงราชการและอำนาจหน้าที่ที่มีอยู่ดังนี้

ก.โดยผ่านหน่วยงานต่าง ๆ ของรัฐบาล ซึ่งจะมีทั้งหน่วยงานส่วนกลาง อันได้แก่

กระทรวงทบวงกรมหน่วยงานส่วนภูมิภาคอันได้แก่จังหวัดและอำเภอหน่วยงานส่วนท้องถิ่นอันได้แก่

องค์การบริหารส่วนจังหวัดเทศบาลสุขาภิบาลและสภาตำบล

ข.โดยผ่านทางเครื่องมือด้านนโยบายของรัฐบาลเช่นนโยบายด้านรายจ่ายการลงทุน

ภาษีอากรอัตราดอกเบี้ยการควบคุมอัตราแลกเปลี่ยนการให้กู้ยืมเงินการซื้อลดตั๋วเงินการกำหนดราคา

ค่าจ้างและโควตาเป็นต้น

ค.โดยผ่านทางอำนาจหน้าที่ที่มีอยู่อย่างชอบธรรม ด้วยการให้สัมปทาน การออก

ใบอนุญาตและการออกกฎระเบียบข้อบังคับต่างๆทั้งเพื่อการส่งเสริมและการควบคุม

ง. โดยผ่านทางบริษัทของรัฐบาล รัฐวิสาหกิจ การร่วมทุนกับเอกชนทั้งภายในและ

ภายนอกประเทศ

จ. โดยผ่านการจัดตั้งธนาคารเพื่อการพัฒนาของรัฐบาลเพื่อให้เงินกู้ระยะยาวและคำ

แนะนำปรกึษาแก่ผู้ลงทนุเอกชนเชน่ธนาคารเพือ่การเกษตรและสหกรณ์การเกษตรธนาคารอาคารสงเคราะห์

และสถาบันเงินทุนสำหรับธุรกิจขนาดย่อมเป็นต้น

3) การติดตามประเมินผลการพัฒนา เมื่อมีการนำแผนไปปฏิบัติและดำเนินการแล้ว ต้องมี

การติดตามตรวจสอบและรายงานความก้าวหน้าของการดำเนินงาน และรับทราบถึงปัญหาในทางปฏิบัติ

ต่างๆเพื่อสามารถดำเนินการแก้ไขได้อย่างทันท่วงทีในการประเมินผลนั้นควรมีการประเมินผลทั้งในขณะ

ที่มีการดำเนินงานและหลังจากการดำเนินงานเสร็จสิ้นแล้วทั้งนี้เพื่อทดสอบถึงประสิทธิภาพและประสิทธิผล

ในการบรรลุตามจุดมุ่งหมายที่กำหนดไว้รวมตลอดถึงการวิเคราะห์ถึงผลกระทบต่างๆที่อาจจะเกิดขึ้นโดย

Page 54: แนวคิดการพัฒนาเศรษฐกิจagri.stou.ac.th/UploadedFile/91721-4.pdf · เค้าโครงเนื้อหา ตอนที่4.1 การ

มสธ มสธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ

4-54 สังคมไทยกับการบริหารการส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร

ไม่ได้ตั้งใจอีกด้วยนอกจากนั้นการประเมินผลยังอาจนำไปสู่การปรับปรุงแก้ไขการพัฒนาประเทศให้ได้ผล

ดียิ่ง ๆ ขึ้นในแผนฉบับต่อ ๆ ไปได้อีก เช่น ในทศวรรษที่ 1950 และ 1960หลายประเทศใช้กลยุทธ์เพื่อ

การพัฒนาด้วยการเน้นไปที่การพัฒนาอุตสาหกรรมหนักให้เป็นสาขานำหรือพาหะของการพัฒนาประเทศ

กลยุทธ์ดังกล่าวนับว่ามีเหตุมีผลดีในขณะนั้น แต่หลังจากที่มีการปฏิบัติและปรากฏผลขึ้นแล้ว จึงตระหนัก

ว่าเกิดความผิดพลาดในการพัฒนาขึ้นเพราะผลจากความพยายามที่จะพัฒนาตามแนวทางดังกล่าว หาได้

แผ่ขยายไปสู่สาขาอื่น ๆ ตามที่คาดคิดไว้ไม่ ในขณะเดียวกันไม่ได้ช่วยปรับปรุงการกระจายรายได้และ

การว่าจ้างทำงาน ความรู้เหล่านี้เกิดขึ้นหลังจากที่มีการปฏิบัติและประเมินผลกันแล้ว และเมื่อทราบแล้ว

สามารถนำไปปรับปรุงแก้ไขทิศทางและแนวทางการพัฒนาต่อๆไปได้

บทบาท ของ ภาค เอกชน ใน การ พัฒนา เศรษฐกิจ มีดังนี้สำหรับบทบาทของภาคเอกชนในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศนั้น ภาคเอกชนจะมีบทบาทใน

คณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชนเพื่อแก้ปัญหาทางเศรษฐกิจ (กรอ.) ทั้งนี้ การจัดตั้งคณะกรรมการ

ดังกล่าวจะมีวัตถุประสงค์ดังนี้

วตัถปุระสงค ์ตั้งขึ้นตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่30มิถุนายน2524โดยมีนายกรัฐมนตรีขณะนั้น

คือพลเอกเปรมติณสูลานนท์เป็นประธานซึ่งการจัดตั้งคณะกรรมการกรอ.นี้แสดงให้เห็นถึงการยอมรับ

บทบาทของภาคเอกชนในการมีส่วนร่วมพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศมากยิ่งขึ้นการยอมรับบทบาทของภาค

เอกชนนี้มีปรากฏขึ้นเป็นครั้งแรกตั้งแต่แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมฯฉบับที่2และ3เป็นต้นมาแต่จะ

มาปรากฏเป็นรูปธรรมขึ้นเมื่อช่วงปลายแผนพัฒนาฯฉบับที่4ต่อกับช่วงเริ่มต้นของแผนพัฒนาฯฉบับที่5

กรอ.จะเปน็รปูแบบคณะกรรมการรว่ม(jointcommittee)โดยบคุคลผู้เปน็ตวัแทนจากภาครฐัจะมา

จากผู้ที่มีความรับผิดชอบสูงในงานด้านเศรษฐกิจเช่นรัฐมนตรีเศรษฐกิจและข้าราชการระดับสูงที่เกี่ยวข้อง

กับภาคเศรษฐกิจ ส่วนภาคเอกชนมาจากตัวแทนผู้นำสถาบันภาคเอกชน ที่สำคัญ ได้แก่ หอการค้าไทย

สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยสภาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยและสมาคมธนาคารไทย

ปัจจัยหลักที่ผลักดันให้เกิดกรอ.คือปัจจัยทางด้านเศรษฐกิจกล่าวคือในช่วงปีพ.ศ.2522–2524ทั่วโลก

เผชิญกับภาวะเศรษฐกิจที่ตกต่ำ เนื่องจากเกิดวิกฤติการณ์น้ำมันครั้งที่ 2 เป็นผลให้เศรษฐกิจของประเทศ

ไทยชลอตัวลง และเกิดปัญหาภาวะเงินเฟ้อ อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ต่างประเทศถีบตัวสูงอย่างรวดเร็ว ปัญหา

การขาดดุลการค้า ดุลการชำระเงิน และวิกฤติการณ์เงินคงคลังซึ่งเป็นปัญหาหลักสำคัญ เป็นเหตุให้รัฐบาล

ต้องลดบทบาทของตนเองลง และสนับสนุนให้ภาคเอกชนมีบทบาทในการพัฒนาเศรษฐกิจมากขึ้น ปัญหา

ต่าง ๆ เหล่านี้ส่งผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจและการประกอบธุรกิจของเอกชนมากตลอดจนปัญหาการ

กำกับและการควบคุมธุรกิจของรัฐเช่นกฎระเบียบของรัฐไม่เอื้ออำนวยต่อการประกอบธุรกิจของภาคเอกชน

ดังนั้นภาคเอกชนเองซึ่งมีการรวมกลุ่มกันอยู่แล้วจึงร่วมกันผลักดันให้เกิดกรอ.ขึ้นทั้งนี้จุดประสงค์ของ

การจัดตั้งกรอ.ได้แก่การมีระบบการปรึกษาหารือระหว่างภาครัฐและเอกชนในการกำหนดแนวทางการแก้ไข

ปัญหาเศรษฐกิจและการนำนโยบายการประสานความร่วมมือระหว่างภาครัฐและภาคเอกชนไปสู่การปฏิบัติ

ทัง้ในระดบักลางและภมูภิาคควบคู่ไปกบัการชว่ยพฒันาสถาบนัเอกชนให้มีความเขม้แขง็รวมทัง้การเผยแพร่

Page 55: แนวคิดการพัฒนาเศรษฐกิจagri.stou.ac.th/UploadedFile/91721-4.pdf · เค้าโครงเนื้อหา ตอนที่4.1 การ

มสธ มสธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ

4-55แนวคิดการพัฒนาเศรษฐกิจ

ความรู้ความเข้าใจในประโยชน์ที่ส่วนรวมจะได้รับจากการร่วมมือกัน ทั้งนี้ กรอ. จะเป็นองค์กรที่มีหน้าที่

ในการเสนอแนะนโยบายแนวทางแก้ไขปัญหาอุปสรรคทางเศรษฐกิจ มิใช่เป็นองค์กรที่มีอำนาจตัดสินใจ

เชิงนโยบายและสั่งการโดยตรงฯพณฯพลเอกเปรมติณสูลานนท์ประธานองคมนตรีและรัฐบุรุษในฐานะ

นายกรัฐมนตรีในขณะนั้นเป็นผู้ริเริ่มและผลักดันจนทำให้เกิดคณะกรรมการกรอ.ขึ้นมากล่าวมอบหมาย

นโยบายของรัฐบาลในการประชุมกรอ.ครั้งแรกซึ่งฯพณฯเป็นประธานเมื่อเดือนสิงหาคมพ.ศ.2524ความ

ว่า “การจัดตั้ง กรอ. ขึ้นมานั้น เป็นการย้ำเจตนาของรัฐบาลที่จะช่วยแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจกับภาคเอกชน

อย่างใกล้ชิดหากมีปัญหาข้อขัดข้องประการใดก็มาร่วมมือปรึกษาหารือกันนอกจากนี้รัฐบาลมีนโยบายจะ

พฒันาสถาบนัเอกชนให้เปน็องค์กรที่รัฐบาลจะพึ่งพาได้จะต้องเปน็สถาบนัที่รับผิดชอบต่อสังคมเปน็ที่เชือ่ถือ

ต่อส่วนรวม ร่วมมือขจัดผู้ปฏิบัติมิชอบและผู้ที่เอาเปรียบต่อส่วนรวมโดยไม่เป็นธรรม ในระยะเริ่มต้น

ฯพณฯนายกรัฐมนตรีเน้นการสร้างบรรยากาศของความร่วมมือ โดยการสร้างศรัทธาและความเชื่อถือให้

เกิดขึ้นระหว่างคณะผู้นำฝ่ายรัฐบาลและผู้นำของสถาบันภาคเอกชนภาครัฐมุ่งเน้นการพัฒนาความเข้มแข็ง

ของสถาบันภาคเอกชนให้มีขีดความสามารถสูงขึ้น และสามารถเป็นผู้แทนของภาคธุรกิจเอกชนในวงกว้าง

กฎเกณฑ์กติกาในการทำงานร่วมกันมีการกำหนดให้ชัดเจน โปร่งใส และเป็นไปเพื่อประโยชน์ของส่วนรวม

มิใช่กลุ่มบุคคลหรือธุรกิจกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง

ตลอดระยะเวลาเกือบ20ปีซึ่งฯพณฯประธานองคมนตรีและรัฐบุรุษพลเอกเปรมติณสูลานนท์

ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีให้ความสำคัญสูงสุดกับการพัฒนากระบวนการ กรอ. โดยจะเห็นได้ว่า มีการ

จัดประชุมคณะกรรมการ กรอ. ทุกเดือน ตลอดระยะเวลาดังกล่าว ยกเว้นช่วงที่ต้องเดินทางไปราชการ

ต่างประเทศการที่ภาครัฐและภาคเอกชนมีโอกาสมาหารือร่วมกันโดยตรงทำให้ปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นนั้นได้

รับการนำไปพิจารณาแก้ไขได้อย่างตรงจุด รวดเร็ว ทันสถานการณ์และมีประสิทธิภาพมากขึ้น ประกอบกับ

การที่ผู้นำภาครัฐบาลให้ความสำคัญสูงสุดกับกระบวนการกรอ.ทำให้ระบบความร่วมมือระหว่างภาครัฐบาล

และภาคเอกชนเป็นไปอย่างต่อเนื่องและมีผลงานที่เป็นรูปธรรม

หลัง จาก ศึกษา เนื้อหา สาระ ตอน ที่ 4.2 แล้ว โป รด ปฏิบัติ กิจกรรม 4.2

ใน แนว การ ศึกษา หน่วย ที่ 4 ตอน ที่ 4.2

Page 56: แนวคิดการพัฒนาเศรษฐกิจagri.stou.ac.th/UploadedFile/91721-4.pdf · เค้าโครงเนื้อหา ตอนที่4.1 การ

มสธ มสธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ

4-56 สังคมไทยกับการบริหารการส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร

ตอน ที่ 4.3

การ พัฒนา เศรษฐกิจ ของ โลก

โปรดอ่านแผนการสอนประจำตอนที่4.3แล้วจึงศึกษาเนื้อหาสาระพร้อมปฏิบัติกิจกรรมในแต่ละตอน

หัว เรื่องเรื่องที่4.3.1การพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศพัฒนา

เรื่องที่4.3.2การพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศกำลังพัฒนา

เรื่องที่4.3.3แนวโน้มการพัฒนาเศรษฐกิจของโลก

แนวคิด1. การพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศพัฒนาเป็นการพัฒนาเศรษฐกิจในระดับสูงนอกจากนั้น

ประเทศพัฒนายังให้สิทธิเสรีภาพแก่ประชาชนทุกคนให้มีอิสระเสรีและมีสุขอนามัย

ดี อาศัยอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัย เช่น ประเทศญี่ปุ่น แคนาดา สหรัฐอเมริกา

ออสเตรเลียนิวซีแลนด์และประเทศส่วนใหญ่ในยุโรป

2. การพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศกำลังพัฒนา เป็นการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศที่มี

มาตรฐานการดำรงชีวิตปานกลางถึงต่ำและพื้นฐานอุตสาหกรรมยังไม่พัฒนา

3. แนวโน้มการพัฒนาเศรษฐกิจของโลกสามารถแบ่งแนวโน้มการพัฒนาเศรษฐกิจในทวีป

ต่างๆ ได้แก่อเมริกาและยุโรปกลุ่มประเทศอเมริกาใต้ประเทศในทวีปแอฟริกาประเทศ

ในกลุ่มอาหรับและรวมไปถึงประเทศเศรษฐกิจหลักในเอเชีย

วัตถุประสงค์เมื่อศึกษาตอนที่4.3จบแล้วนักศึกษาสามารถ

1. อธิบายการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศพัฒนาได้

2. อธิบายการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศกำลังพัฒนาได้

3. อธิบายแนวโน้มการพัฒนาเศรษฐกิจของโลกได้

Page 57: แนวคิดการพัฒนาเศรษฐกิจagri.stou.ac.th/UploadedFile/91721-4.pdf · เค้าโครงเนื้อหา ตอนที่4.1 การ

มสธ มสธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ

4-57แนวคิดการพัฒนาเศรษฐกิจ

เรื่อง ที่ 4.3.1 การ พัฒนา เศรษฐกิจ ของ ประเทศ พัฒนา

ประเทศ พัฒนา หมายถึงประเทศที่มีการพัฒนาในระดับที่สูงเมื่อวัดตามมาตรฐานบางประการแต่

การจะยึดมาตรฐานใดเป็นหลัก หรือการจัดกลุ่มให้ประเทศใดอยู่ในกลุ่มพัฒนาแล้วนั้นยังคงเป็นประเด็น

ที่ถกเถียงกันอยู่ โดยทั่วไปมาตรวัดทางเศรษฐกิจมักเป็นที่ยอมรับ เช่น การใช้รายได้ต่อหัวเป็นหลัก และ

ให้ประเทศที่มีผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศต่อหัวสูงอยู่ในกลุ่มพัฒนา ในระยะหลังมีการใช้ดัชนีการ

พัฒนามนุษย์ซึ่งเป็นการรวมมาตรวัดทางเศรษฐกิจกับมาตรวัดอื่นๆเช่นดัชนีอายุขัยและการศึกษาเพื่อ

เป็นตัววัดการพัฒนาของประเทศต่างๆมากขึ้นจึงมีการจัดกลุ่มประเทศที่มีค่าดัชนีการพัฒนามนุษย์สูงอยู่

ในกลุ่มประเทศพัฒนา

นายโคฟีอันนันอดีตเลขาธิการสหประชาชาติให้คำจำกัดความประเทศพัฒนาว่า“ประเทศพัฒนา

คือประเทศที่ให้สิทธิเสรีภาพแก่ประชาชนทุกคนมีอิสระเสรีและมีสุขอนามัยดี อาศัยอยู่ในสภาพแวดล้อม

ที่ปลอดภัย”นอกจากนี้ยังมีองค์กรอื่นๆให้คำจำกัดความสำหรับความหมายของประเทศกำลังพัฒนาและ

ประเทศพัฒนาดังต่อไปนี้ “การจัดกลุ่มหรือกำหนดกลุ่มประเทศพัฒนาและกำลังพัฒนานั้นเพื่อประโยชน์ใน

ทางสถิติและไม่จำเป็นที่จะมาใช้ในการตัดสินใจสถานะของประเทศหรือขอบเขตในกระบวนการพัฒนา”

สหประชาชาติให้ความเห็นดังนี้

“จากตัวอย่างที่เห็นได้ทั่วไปคือประเทศญี่ปุ่นในเอเชียแคนาดาและสหรัฐอเมริกาในอเมริกาเหนือ

ออสเตรเลยีและนวิซแีลนด์ในโอเชยีเนยีและประเทศสว่นใหญ่ในยโุรปกลุม่ประเทศเหลา่นี้ได้รบัการพจิารณา

ให้เป็นประเทศพัฒนา ส่วนในเชิงสถิติทางการค้า สหภาพศุลกากรแอฟริกาใต้ได้รับการจัดให้อยู่ในกลุ่ม

ประเทศพัฒนาและประเทศอิสราเอลก็อยู่ในกลุ่มประเทศพัฒนาส่วนในยุโรปกลุ่มประเทศที่กำเนิดขึ้นจาก

ประเทศยูโกสลาเวียเก่าถือว่าเป็นประเทศกำลังพัฒนาประเทศในกลุ่มของยุโรปตะวันออกและกลุ่มที่เป็น

ประเทศเครือรัฐเอกราชในยุโรปไม่เรียกรวมอยู่ในกลุ่มใดๆของประเทศพัฒนาหรือกำลังพัฒนา

ในศตวรรษที่21กลุ่มประเทศในเอเชียได้รับการขนานนามว่าสี่เสือเอเชียได้แก่ฮ่องกง สิงคโปร์

เกาหลีใต้และไต้หวัน รวมทั้งประเทศไซปรัส มอลตา สาธารณรัฐเช็ค เอสโตเนีย อิสราเอล โปแลนด์

ยูโกสโลวาเกียและสโลวาเนียเหล่านี้ได้รับการจัดให้อยู่ในกลุ่มประเทศพัฒนา”

อีกนัยหนึ่งจากการจัดกลุ่มของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ(InternationalMonetaryFund:

IMF)เมื่อเดือนเมษายนค.ศ.2004กลุ่มประเทศทั้งหมดในยุโรปตะวันออกรวมทั้งยุโรปกลางและสหภาพ

โซเวียตในอดีตกลุ่มประเทศที่อยู่ในเอเชียตอนกลาง(คาซัคสถานอุซเบกิสสถานคีร์กีซสถานทาจิกีสสถาน

และเติร์กเมนิสสถาน) และมองโกเลีย ไม่รวมให้อยู่ในทั้งสองประเภทคือประเทศพัฒนาและกำลังพัฒนา

แต่จะได้รับการจัดให้อยู่ประเภทของ“ประเทศในช่วงเปลี่ยนผ่าน”อย่างไรก็ตามในรายงานระหว่างประเทศ

กลุ่มประเทศเหล่านี้คือประเทศ“กำลังพัฒนา”นั่นเอง

Page 58: แนวคิดการพัฒนาเศรษฐกิจagri.stou.ac.th/UploadedFile/91721-4.pdf · เค้าโครงเนื้อหา ตอนที่4.1 การ

มสธ มสธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ

4-58 สังคมไทยกับการบริหารการส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร

ส่วนธนาคารโลกจัดกลุ่มประเทศออกเป็นสี่กลุ่มกลุ่มที่ได้รับการจัดใหม่ในเดือนกรกฎาคมของทุก

ปีตามหลักเศรษฐกิจแบ่งออกเป็นกลุ่มช่วงของรายได้ตามGNIซึ่งค่าGNIย่อมาจากภาษาอังกฤษว่าGross

National Incomeหรือรายได้ประชาชาติทั้งหมดการวัดค่าGNIต่อประชากรเป็นดัชนีชี้วัดการจัดกลุ่ม

การพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศคำจำกัดความของธนาคารโลกต่อประชากรมีดังต่อไปนี้

• กลุ่มประเทศที่จัดอยู่ในกลุ่มรายได้ต่ำค่าGNIต่อประชากรจะอยู่ที่US$975หรือน้อยกว่า

• กลุ่มประเทศที่จัดอยู่ในกลุ่มรายได้ปานกลางค่าGNIต่อประชากรจะอยู่ระหว่างUS$976ถึง

US$3,855

• กลุ่มประเทศที่จัดอยู่ในกลุ่มรายได้เหนือกว่าปานกลาง ค่า GNI ต่อประชากรจะอยู่ระหว่าง

US$3,856ถึงUS$11,905

• กลุ่มประเทศที่ จัดอยู่ ในกลุ่มระดับรายได้สูง ค่า GNI ต่อประชากรจะต้องมีมากกว่า

US$11,906

สำหรับกรณีศึกษาการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศพัฒนานั้นขอนำเสนอกรณีศึกษาของ3ประเทศ

ดังนี้ ประเทศสหรัฐอเมริกาประเทศสหภาพโซเวียตรุสเซียและประเทศในทวีปเอเชียที่น่าศึกษาและน่าสนใจ

คือประเทศเกาหลีใต้ซึ่งขอกล่าวถึงรายละเอียดดังนี้

1. กรณี ศึกษา การ พัฒนา เศรษฐกิจ ของ ประเทศ สหรัฐอเมริกา ประเทศสหรัฐอเมริกาพัฒนามาจากประเทศอาณานิคมจนเป็นประเทศมหาอำนาจทางเศรษฐกิจ

ภายใต้ระบบทุนนิยมเริ่มเปลี่ยนจากประเทศเกษตรกรรมมาเป็นอุตสาหกรรมก่อนสมัยสงครามโลกครั้งที่1

และเป็นผู้นำทางอุตสาหกรรมเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน

อเมริกาในสมัยเป็นอาณานิคมต้องดำเนินการทางเศรษฐกิจเพื่อผลประโยชน์ของเมืองแม่ดำเนินการ

เกษตรกรรมและอุตสาหกรรมเพื่อเป็นแหล่งวัตถุดิบ และเป็นตลาดสินค้าอุตสาหกรรมของเมืองแม่ หลัง

สงครามกลางเมืองเป็นช่วงที่อัตราความเจริญทางเศรษฐกิจเป็นไปอย่างรวดเร็วทั้งด้านเกษตรกรรมและ

อตุสาหกรรมตอ่มามีปญัหาดา้นแรงงานและการรวมตวักนัทางธรุกจิจนทำให้เกดิสหภาพแรงงานและกฎหมาย

ต่อต้านการผูกขาดขึ้นหลังสงครามโลกครั้งที่1ในปลายค.ศ.1929เกิดภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งยิ่งใหญ่

รัฐบาลใช้นโยบายการดำเนินการแบบใหม่เพื่อแก้ปัญหาเศรษฐกิจหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ซึ่งทำให้เกิด

ปัญหาทางเศรษฐกิจน้อยกว่าสงครามโลกครั้งที่ 1 เนื่องจากมีการเตรียมการที่ดีกว่า นอกจากนี้อเมริกา

ยังให้เงินช่วยเหลือแก่ต่างประเทศเป็นจำนวนมากภายใต้โครงการมาร์แชลและหน่วยงานต่างๆ ขององค์การ

สหประชาชาติ

สภาพ เศรษฐกิจ สมัย อาณานิคม จนถึง สมัย สงครามกลางเมือง ประเทศ สหรัฐอเมริกา

ลักษณะทั่วไปทางการเกษตรในสมัยอาณานิคม ส่วนมากเป็นการผลิตเพื่อเลี้ยงตัวเอง โดยใช้

เครื่องมือที่นำมาจากยุโรปและความรู้ที่ได้จากอินเดียนแดงในการปลูกข้าวข้าวโพดยาสูบถั่วและแตงโม

มีการผลิตเพื่อการค้าบ้างสำหรับรัฐทางใต้มีการปลูกข้าวและยาสูบ

Page 59: แนวคิดการพัฒนาเศรษฐกิจagri.stou.ac.th/UploadedFile/91721-4.pdf · เค้าโครงเนื้อหา ตอนที่4.1 การ

มสธ มสธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ

4-59แนวคิดการพัฒนาเศรษฐกิจ

ข้อแตกต่างระหว่างการค้าต่างประเทศของอาณานิคมตอนใต้กับอาณานิคมนิวอิงแลนด์คือทางใต้

ดำเนินการซื้อขายแลกเปลี่ยนกับอังกฤษส่วนนิวอิงแลนด์นั้นดำเนินการค้าขายกับหลายประเทศในทวีปยุโรป

นอกจากนี้แล้วมลรัฐทางตอนใต้และอาณานิคมอื่นๆดำเนินการทางด้านการขนส่งสินค้าอีกด้วย

หลกั การ สำคญั ของ พระ ราช บญัญตั ิตา่ง ๆ เปน็ กฎหมาย ที ่องักฤษ เรยีก เกบ็ ภาษ ีจาก อาณานคิม อเมรกิา

มีดังนี้

• พ.ร.บ.น้ำตาล-เก็บภาษีเพิ่มขึ้นจากน้ำตาลผ้าลินินไวน์และอื่นๆ

• พ.ร.บ.แสตมป์-เก็บจากเอกสารต่างๆที่ตีพิมพ์

• พ.ร.บ.เทาน์เซนด์-เก็บภาษีขาเข้าจากแก้วสีกระดาษและชา

สาเหตุที่ทำให้เกิดสงครามกลางเมืองหรือความขัดแย้งระหว่างฝ่ายเหนือและฝ่ายใต้คือความรู้สึก

เป็นชาติ และเหตุผลทางเศรษฐกิจคือ การเอาเปรียบจากประเทศอังกฤษผลของสงครามกลางเมืองทำให้

ระบบทาสถูกทำลายไปเกิดเงินเฟ้อและมีการพัฒนาอุตสาหกรรมและเกษตรกรรมขนานใหญ่

สภาพ เศรษฐกิจ หลัง สงครามกลางเมือง จนถึง สมัย สงครามโลก ครั้ง ที่ 1

พัฒนาการของเกษตรกรรมและอุตสาหกรรมของอเมริการะหว่างหลังสงครามกลางเมืองจนถึง

สงครามโลกครั้งที่1มีการใช้เทคโนโลยีและสิ่งประดิษฐ์ทางวิทยาศาสตร์เข้ามาประยุกต์ในเกษตรกรรมและ

อุตสาหกรรมอเมริกาในช่วงนี้เปลี่ยนจากชาติเกษตรกรรมมาเป็นอุตสาหกรรมสำหรับเกษตรกรรมมีปัญหา

เรื่องราคาสินค้าเกษตรตกต่ำและควบคุมการผลิตสินค้าได้ยากจึงมีความเคลื่อนไหวเป็นองค์การต่างๆ เพื่อ

เรียกร้องทางเศรษฐกิจการรวมกลุ่มของธุรกิจมีผลดีคือทำให้มีประสิทธิภาพสูงสุดในการบริหารต้นทุนต่อ

หน่วยต่ำลดการแข่งขันลงได้และสามารถให้เงินอุดหนุนวิจัยผลิตภัณฑ์ใหม่ส่วนผลเสียได้แก่การผูกขาด

อาจทำให้ราคาสูงขึ้น เกิดการแข่งขันที่ไม่ยุติธรรมบริษัทใหญ่ทำลายบริษัทเล็ก การเก็งกำไรโดยการปั่น

หุ้นความเคลื่อนไหวของกรรมกรในสมัยสงครามโลกครั้งที่1มีการรวมตัวกันเรียกร้องเรื่องค่าจ้างแรงงาน

ชั่วโมงการทำงานสวัสดิการและสภาพการทำงานตัวอย่างสหภาพแรงงานแห่งชาติอัศวินแรงงานสหพันธ์

แรงงานอเมริกัน

เศรษฐกิจ สมัย หลัง สงครามโลก ครั้ง ที่ 1 จนถึง ทศวรรษ 1980

สาเหตุของภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ เพราะรายได้เกษตรกรต่ำลง การลงทุนน้อยลง ความ

ต้องการสินค้าและบริการมีน้อยลงนโยบายนิวดีนเป็นนโยบายที่รัฐบาลเข้าไปมีบทบาทในทางเศรษฐกิจมาก

ขึ้นทั้งในด้านการเกษตรกรรมการอุตสาหกรรมการเงินและการธนาคารการสร้างงานการประกันสังคมหลัง

สงครามโลกครั้งที่1เกิดภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งยิ่งใหญ่เนื่องจากเกิดปัญหาในการปรับตัวของเศรษฐกิจ

ภายหลังสงครามโลกครั้งที่2เกิดภาวะเงินเฟ้อแต่ไม่รุนแรงนัก

2. กรณี ศึกษา การ พัฒนา เศรษฐกิจ ของ ประเทศ สหภาพ โซเวียต รุส เซีย ประเทศสหภาพโซเวียตรุสเซียพัฒนามาจากประเทศเกษตรกรรมในระบบศักดินาค่อนข้างล้าหลัง

ต่อมาเปลี่ยนเป็นระบบสังคมนิยมภายใต้เศรษฐกิจแบบวางแผนจากส่วนกลาง จนถึงการล่มสลายไปในปี

ค.ศ.1991

Page 60: แนวคิดการพัฒนาเศรษฐกิจagri.stou.ac.th/UploadedFile/91721-4.pdf · เค้าโครงเนื้อหา ตอนที่4.1 การ

มสธ มสธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ

4-60 สังคมไทยกับการบริหารการส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร

สภาพเศรษฐกิจในสมัยแรกเริ่มส่วนใหญ่เป็นเกษตรกรรมซึ่งการผลิตค่อนข้างล้าหลังและการจัด

ระบบเศรษฐกิจเป็นรัฐทรราชย์ตะวันออกมีซาร์เป็นเจ้าของที่ดินทั้งหมดในรัสเซียทำให้ชาวนาเป็นไพร่ของ

รัฐแต่ในทางปฏิบัติชุมชนชาวนาจะเป็นผู้ครอบครองที่ดินและแบ่งปันให้ชาวนาไปใช้ประโยชน์

ในค.ศ.1861มีการประกาศเลิกทาสในประเทศพัฒนาด้านอุตสาหกรรมทำให้เกิดชนชั้นนายทุน

และชนชั้นแรงงาน ในขณะเดียวกันความคิดเสรีนิยมเริ่มแพร่หลายในหมู่ประชาชนภายหลังสงครามโลก

ครั้งที่1เกิดภาวะเศรษฐกิจตกต่ำและเงินเฟ้อทำให้ชนชั้นชาวนาและกรรมกรอดอยากก่อการจลาจลเนืองๆ

ในที่สุดมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบบทุนนิยมเป็นสังคมนิยมในค.ศ.1917

ภายหลังการปฏิวัติบอลเชวิคปลายค.ศ. 1917 รัฐบาลโซเวียตโดยพรรคบอลเชวิคเป็นพรรคที่มี

เสียงข้างมากซึ่งมีเลนินเป็นผู้นำมีมาตรการดำเนินนโยบายทางเศรษฐกิจที่สำคัญ2ประการได้แก่นโยบาย

สงครามคอมมิวนิสต์และนโยบายเศรษฐกิจใหม่

นโยบายสงครามคอมมิวนิสต์ เป็นนโยบายที่ยกเลิกกรรมสิทธิ์ต่าง ๆ ของเอกชนส่วนใหญ่มาเป็น

ของรัฐและบังคับนำผลิตผลส่วนเกินทางการเกษตรจากชาวนามาเป็นของรัฐและแบ่งผลิตผลอุตสาหกรรม

ของรัฐไปให้แก่ชาวนายกเลิกระบบเงินตราหันไปใช้วิธีปันส่วนจากรัฐบาลส่วนนโยบายเศรษฐกิจใหม่ เป็น

นโยบายที่ยอมรับการดำเนินงานของระบบตลาดเข้ามาประยุกต์กับระบบสังคมนิยมหันมาใช้ระบบเงินตรา

และยินยอมให้เอกชนมีโอกาสเป็นเจ้าของโรงงานขนาดเล็ก

สหภาพโซเวียตรุสเซียเริ่มมีแผนพัฒนาเศรษฐกิจแบบเป็นทางการมาตั้งแต่ค.ศ.1928โดยมีแผน

5ปีในฉบับที่1ถึงฉบับที่6แผนฉบับที่7มีระยะเวลา7ปีและต่อมามีแผน5ปีจนถึงฉบับที่11ซึ่งมีระยะ

เวลาตั้งแต่ค.ศ.1981-1985

แผนพัฒนาเศรษฐกิจ 5 ปี ฉบับแรกๆ เน้นความสำคัญของอุตสาหกรรมหนักเพื่อปูทางสำหรับ

การพัฒนาอุตสาหกรรม แผนฉบับหลัง ๆ เน้นถึงอุตสาหกรรมประเภทอุปโภคและบริโภคมากขึ้นเพื่อ

ยกระดับฐานะความเป็นอยู่ของประชาชน ในค.ศ. 1985มีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางเศรษฐกิจใหม่

ในยุคของกอร์บาชอฟเรียกว่าการปฏิรูปเปเรสตรอยกาต่อมาในค.ศ. 1991มีการประกาศยกเลิกสหภาพ

โซเวียตอย่างเป็นทางการและเริ่มต้นเครือจักรภพรัฐอิสระภายใต้การนำของเยลด์ซิน โดยมีการปฏิรูปไปสู่

ระบบเศรษฐกิจแบบตลาด

สภาพ เศรษฐกิจ ทั่วไป ก่อน การ ปฏิวัติ

ลักษณะของการเกษตรกรรมของรุสเซียก่อนการปฏิวัติ ใช้ระบบนาแบบยุโรปตะวันตก และการ

เพาะปลูกใช้วิธีการล้าหลังไม่มีเทคโนโลยีใหม่ๆหลักการของพรรคการเมืองที่นิยมในความคิดของมาร์กซ์

คือพรรคสังคมนิยมประชาธิปไตยมีความเห็นว่าการเปลี่ยนแปลงในระบบทุนนิยมมาเป็นสังคมนิยมนั้น

จะต้องมีการปฏิวัติระบบนายทุนโดยชนชั้นกรรมาชีพแต่ต่อมาแยกออกเป็นเมนเชวิคและบอลเชวิค

การ เปลี่ยน ผ่าน สู่ ระบบ สังคมนิยม

นโยบายสงครามคอมมิวนิสต์ เน้นการบังคับนำผลิตผลจากชาวนา ในขณะที่นโยบายเศรษฐกิจ

ใหม่ยอมให้มีระบบตลาดและหันไปใช้วิธีเก็บภาษีจากผลิตผลแทนเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นเมื่อมีการใช้นโยบาย

เศรษฐกิจใหม่ทำให้เศรษฐกิจดีขึ้น แต่ทำให้ราคาผลิตผลเกษตรกรรมลดลง ในขณะที่ราคาผลิตผล

อุตสาหกรรมสูงขึ้นและท้ายที่สุดนำไปสู่วิกฤติการณ์กรรไกร

Page 61: แนวคิดการพัฒนาเศรษฐกิจagri.stou.ac.th/UploadedFile/91721-4.pdf · เค้าโครงเนื้อหา ตอนที่4.1 การ

มสธ มสธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ

4-61แนวคิดการพัฒนาเศรษฐกิจ

เศรษฐกิจ ภาย ใต้ การ วางแผน

การใช้ระบบนารวมในสหภาพโซเวียต เป็นการจัดระบบเกษตรกรรมเพื่อให้มีประสิทธิภาพในการ

ผลิตสูงขึ้นใช้เครื่องมือเครื่องจักรในการผลิตมากขึ้นโดยการรวมนาให้เป็นที่ดินผืนใหญ่ซึ่งแแบ่งออกเป็น

2ประเภทได้แก่นารวมและนารัฐนารวมคือการรวมนาเล็กๆ เข้าด้วยกันในรูปสหกรณ์ส่วนนารัฐคือนาที่

รัฐเป็นเจ้าของและดำเนินงานโดยตรงการบุกเบิกที่ดินที่ไม่เคยนำมาใช้ในการเพาะปลูกมีขึ้นในสมัยครุสชอฟ

เพื่อการเพิ่มผลิตผลทางการเกษตรแต่ไม่ได้ผลมากนักเพราะที่ดินแห้งแล้งขาดการชลประทานไม่เหมาะแก่

การเพาะปลูกจึงได้ผลิตผลที่ตกต่ำ

หลกัการของลิเบอร์มานใช้ระบบคำนวณเงนิโบนสัตามกำไรแทนความรวดเรว็ในการสง่มอบการผลติ

และการใช้หลักกำไรวัดประสิทธิภาพในการประกอบการการดำเนินงานตามแผนเศรษฐกิจต่างๆที่ประสบ

ความสำเร็จสูงที่สุดในการพัฒนาอุตสาหกรรมคือแผนเศรษฐกิจ5ปีฉบับที่2

3. กรณี ศึกษา การ พัฒนา เศรษฐกิจ ของ ประเทศ สาธารณรัฐ เกาหลีประเทศสาธารณรัฐเกาหลี(RepublicofKorea)หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่าเกาหลีใต้(SouthKorea)

ในภาษาเกาหลีเรียกชื่อประเทศเกาหลีว่าแดฮันมินกุกสำหรับการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศเกาหลีใต้เป็น

ตวัอยา่งที่ดีของการพฒันาเศรษฐกจิของประเทศพฒันาในภมูภิาคเอเชยีทัง้นี้การพฒันาเศรษฐกจิของประเทศ

เกาหลีใต้นั้นสามารถแบ่งออกเป็นยุคต่างๆ3ยุคด้วยกันได้แก่

ยุคที่1รัฐนำราษฎร์หนุน(ค.ศ.1962-1987)

ยุคที่2ราษฎร์นำรัฐหนุน(ค.ศ.1988–2002)

ยุคปัจจุบัน การสร้างความเสมอภาคทางสังคม (ค.ศ. 2003–ปัจจุบัน) ในแต่ละยุคของการพัฒนา

เศรษฐกิจนั้นสามารถอธิบายรายละเอียดได้ดังนี้

ยุค ที่ 1 รัฐ นำ-ราษฎร์ หนุน

สภาพสังคมสาธารณรัฐเกาหลีภายหลังสงครามเกาหลี(ค.ศ.1950–1953)เต็มไปด้วยความยากจน

รัฐบาลในสมัยนั้นจึงพยายามทุกทางที่จะให้ประชาชนมีกินมีใช้ในแต่ละวัน ด้วยการส่งเสริมให้ประชาชน

เพาะปลูกผลิตอาหาร และนำอาหารที่ได้รับการช่วยเหลือของนานาประเทศมาแจกจ่ายให้แก่คนยากไร้ เมื่อ

ความต้องการขั้นพื้นฐานได้รับการบำบัดรัฐบาลจึงสนับสนุนให้ผู้ประกอบการที่ยังหลงเหลืออยู่ผลิตสินค้า

อุปโภคบริโภคให้เพียงพอกับความต้องการของคนในชาติ อีกทั้งยังเรียกร้องให้นายทุนชาวอเมริกันเข้ามา

ผลิตสินค้าในเกาหลีแทนที่จะต้องนำเข้าจากต่างประเทศเมื่อเวลาผ่านไปหลายปีสภาพการณ์ทางเศรษฐกิจ

เริ่มกลับฟื้นตัวขึ้นมาเรื่อยๆ จนกระทั่งสหรัฐอเมริกาเห็นว่าเกาหลีใต้สามารถช่วยเหลือตัวเองได้บ้างแล้วจึง

ตัดทอนปริมาณและมูลค่าการช่วยเหลือแบบให้เปล่าลง

อย่างไรก็ตาม สถานการณ์ทางด้านเศรษฐกิจและสังคมของเกาหลีก็ยังอยู่ในสภาพย่ำแย่ เช่น

อัตราความเจริญทางเศรษฐกิจต่ำกว่าอัตราการขยายตัวของพลเมือง อัตราการออมภายในมีเพียงร้อยละ 3

เงินช่วยเหลือจากสหรัฐอเมริกา383ล้านดอลลาร์สหรัฐนั้นคิดเป็นจำนวนถึงร้อยละ14ของมูลค่าผลิตภัณฑ์

มวลรวมประชาชาติในปีค.ศ.1957ซึง่เงนิจำนวนดงักลา่วจะถกูตดัทอนลงราว60-100ลา้นดอลลารส์หรฐัตอ่ป ี

Page 62: แนวคิดการพัฒนาเศรษฐกิจagri.stou.ac.th/UploadedFile/91721-4.pdf · เค้าโครงเนื้อหา ตอนที่4.1 การ

มสธ มสธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ

4-62 สังคมไทยกับการบริหารการส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร

เป็นต้นเมื่อคณะปฏิวัติยึดอำนาจในตอนเช้าตรู่ของวันที่16พฤษภาคมค.ศ.1961หัวหน้าทางการทหารหรือ

เรียกว่ารัฐบาลรักษาการทหาร(ค.ศ.1961-1962)คือนายพลปักจุงฮีจึงประกาศนโยบายที่จะเข้ามาแก้ไข

ปัญหาทางด้านเศรษฐกิจอย่างจริงจัง แต่เป็นการเน้นการผลิตสินค้าประเภทอุตสาหกรรมเพื่อการส่งออก

หรือที่เรียกนโยบายหลักของการพัฒนาเศรษฐกิจนี้ว่า“นโยบายการมองออกไปสู่ภายนอก”(outward-looking

policy)นั่นเอง เหตุผลเบื้องหลังของการประกาศนโยบายมองออกไปสู่ภายนอกแทนการพัฒนาตามยุทธวิธี

การผลิตเพื่อทดแทนการนำเข้าและไม่ยึดการพัฒนาเกษตรกรรมซึ่งเป็นพื้นฐานทางเศรษฐกิจของเกาหลีมา

ตั้งแต่ครั้งโบราณกาลเพราะในปริบทของเกาหลีนั้นมีจุดด้อยได้แก่

(1) พื้นที่ของประเทศมีขนาดเล็กโดยมีพื้นที่ทั้งหมดราวหนึ่งในห้าของเนื้อที่ประเทศไทยแต่

มีจำนวนพลเมืองมากส่วนพื้นที่ที่สามารถทำเกษตรกรรมได้มีเพียงร้อยละ20ของพื้นที่ทั้งหมดเท่านั้นทำให้

ไม่สามารถพัฒนาประเทศโดยยึดการเกษตรกรรมเป็นหลักได้

(2) การลดจำนวนเงินช่วยเหลือจากต่างประเทศลงไปทำให้เกาหลีใต้จำเป็นต้องหาเงินตรา

เพื่อซื้อสินค้าจากต่างประเทศทั้งที่เป็นอาหารสินค้าอุปโภคบริโภคและอื่นๆจึงจำเป็นที่จะต้องยึดนโยบาย

การผลิตเพื่อการส่งออก ข้อจำกัดที่กล่าวถึงนี้เป็นสิ่งที่รัฐบาลเกาหลีใต้ในยุคนั้นต้องตระหนักถึงผลกระทบ

หากต้องวางแผนพัฒนาประเทศในระยะยาว ในขณะเดียวกัน รัฐบาลส่งคนไปดูงานและศึกษาความเป็นไป

ได้ยังประเทศอุตสาหกรรมในยุโรป ซึ่งประเทศเหล่านี้มีขนาดไม่ใหญ่โตนัก แต่เคยเป็นชาติมหาอำนาจทาง

เศรษฐกิจมาแล้วทั้งสิ้น นอกจากนี้ตัวอย่างของญี่ปุ่นก็ได้รับการศึกษาอย่างละเอียดจากกลุ่มนักวิชาการ

เกาหลีเพื่อพิจารณารูปแบบการกำหนดนโยบายและการดำเนินงานเพื่อการพัฒนานับตั้งแต่อดีตผลจากการ

ศึกษาตัวอย่างดังกล่าวแล้วนำมาผสมผสานกับข้อจำกัดที่เกาหลีมีอยู่ทำให้ผู้นำประเทศ(คือนายพลปักจุงฮี

ดำรงตำแหน่งเป็นประธานาธิบดีในยุคสาธารณรัฐที่สามและยุคสาธารณรัฐที่4(ระหว่างปีค.ศ.1962-1979)

เลือกการพัฒนาที่จะทำให้เกาหลีกลายเป็นสังคมอุตสาหกรรมอนึ่งการเลือกแนวทางการพัฒนาตามแนวนี้

สหรัฐอเมริกามีอิทธิพลสำคัญต่อการตัดสินใจของผู้นำเกาหลีใต้เป็นอย่างมาก

ยุค ที่ 2 ราษฎร์ นำ-รัฐ หนุน

ในยุคที่ 2 ของการพัฒนาเศรษฐกิจนั้น ภาวะทางการเมืองมีส่วนเกื้อหนุนสำคัญที่จะยังผลให้การ

พัฒนาบรรลุเป้าหมายได้เร็วหรือช้า เพราะการเมืองเป็นตัวชี้นำให้รัฐทุ่มเททรัพยากรและหล่อหลอมจิตใจ

ของคนทั้งชาติให้ก้าวไปสู่จุดหมายเดียวกันกรณีของเกาหลีเป็นตัวอย่างที่แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่าความ

สำเร็จในการพัฒนาเศรษฐกิจเป็นผลมาจากการรวบอำนาจทางการเมืองไว้กับคนกลุ่มหนึ่งภายใต้การนำของ

พรรคการเมืองของรัฐบาล และผู้นำทางการเมืองต่างใช้อำนาจของตนผลักดันให้เกิดการพัฒนา แทนที่จะ

เบียดบังทรัพย์สินของแผ่นดินไปเป็นของตนดังเช่นผู้นำเผด็จการของประเทศด้อยพัฒนาอื่นๆในแง่ผลดี

นั้นอาจจำแนกได้หลายประเด็นดังนี้

(1) การรวบอำนาจทำให้ผู้นำสามารถกำหนดเป้าหมายของการพัฒนาไปในทิศทางหนึ่งได้

ประเด็นนี้มีความสำคัญมากในระยะเริ่มต้นและขั้นต่อเนื่องก่อนที่อุตสาหกรรมของประเทศจะอยู่ในภาวะที่

มั่นคงหรือเจริญเติบโตเต็มที่ทั้งนี้เพราะหากมีการเปลี่ยนแปลงเป้าหมายของการพัฒนาบ่อยๆตามแนวคิด

ของแต่ละกลุ่มแล้วจะทำให้การดำเนินงานตามเป้าหมายหลักต้องหยุดชะงักลงและจะทำให้มีการเริ่มต้นใหม่

Page 63: แนวคิดการพัฒนาเศรษฐกิจagri.stou.ac.th/UploadedFile/91721-4.pdf · เค้าโครงเนื้อหา ตอนที่4.1 การ

มสธ มสธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ

4-63แนวคิดการพัฒนาเศรษฐกิจ

กันอีกแม้ว่าแนวคิดแต่ละกลุ่มนั้นต่างก็มีเหตุมีผลด้วยกันทั้งสิ้นแต่การที่จะทำให้บรรลุเป้าหมายของคนทุก

กลุม่ในเวลาเดยีวกนัดว้ยทรพัยากรที่มีอยู่อยา่งจำกดันัน้คงเปน็ไปได้ยากฉะนัน้จงึจำเปน็ตอ้งเลอืกเปา้หมาย

หนึ่งแล้วทุ่มเททรัพยากรทุกอย่างเพื่อดำเนินการพัฒนาให้เกิดผลสัมฤทธิ์โดยเร็วในกรณีนี้การปกครองแบบ

เผด็จการในรูปของประชาธิปไตยจึงเป็นหนทางหนึ่งที่ก่อให้เกิดผลดีในการเลือกเป้าหมายและยุทธวิธีการ

พัฒนา

(2) ก่อให้เกิดการสะสมทุนขึ้นในประเทศเพื่อใช้ในการขยายธุรกิจอุตสาหกรรม เพราะการ

รวบอำนาจมีผลทำให้นักธุรกิจสามารถลดต้นทุนการผลิตด้วยการจ่ายค่าแรงต่ำ ผลกำไรที่เกิดขึ้นนำไปใช้

ในการลงทุนต่อไปอย่างไรก็ตามในกรณีนี้ก่อให้เกิดการกระจุกตัวของทรัพย์สินในมือของกลุ่มธุรกิจขนาด

ใหญ่หรือที่เรียกกันในภาษาเกาหลีว่าแชโบล์ (chaebol)หากรัฐบาลไม่ระมัดระวังแล้วคนกลุ่มนี้อาจก่อให้

เกิดปัญหาทางการเมืองต่อไปประเทศเกาหลีใต้ตระหนักถึงความจริงข้อนี้ตั้งแต่ทศวรรษที่ 1970 และออก

กฎหมายหลายฉบับเพื่อป้องกันการกระจุกตัวของกลุ่มนายทุนผลที่ได้รับเป็นที่น่าพอใจระดับหนึ่ง

(3) การรวบอำนาจทำให้ผู้นำประเทศสามารถบังคับกลไกของรัฐให้ตอบสนองเพื่อให้บรรลุ

เป้าหมายของการพัฒนาได้โดยง่ายโดยเฉพาะอย่างยิ่งการปรับปรุงระบบบริหารงานของรัฐศักราชแห่งการ

เข้มงวดและควบคุมกิจกรรมทางการเมือง ซึ่งดำเนินมานานตั้งแต่ปี ค.ศ. 1962-1986ผ่านพ้นไปพร้อมๆ

กับฐานะทางเศรษฐกิจที่พัฒนามาถึงจุดที่แข็งแกร่งและการอุตสาหกรรมที่บรรลุขั้น“วุฒิภาวะ”(maturity

stage)หรอืเจรญิเทา่เทยีมอารยประเทศในขณะเดยีวกนัมวลชนเกาหลีได้รบัการศกึษาโดยทัว่ถงึกนัรวมทัง้

มีทักษะและความรู้เพียงพอเพื่อเข้าสู่สังคมอุตสาหกรรมประชาธิปไตยดังนั้นจุดเปลี่ยนผ่านทางการเมืองจึง

เกิดขึ้นในปีค.ศ.1987เมื่อนักการเมืองฝ่ายค้านนักศึกษาและประชาชนยื่นเจตจำนงอย่างแรงกล้าที่จะเข้า

ร่วมในกระบวนการทางการเมืองอย่างเต็มตัวผู้นำทางการเมืองฝ่ายรัฐบาลคนใหม่คือนายพลโรห์เตวู(ต่อมา

ดำรงตำแหน่งเป็นประธานาธิบดีในระหว่างปีค.ศ.1988–1992)ตอบสนองความต้องการของพรรคฝ่ายค้าน

และประชาชนโดยยอมให้มีการเปลี่ยนแปลงรัฐธรรมนูญตามข้อเสนอของพรรคฝ่ายค้านกล่าวคือให้มีการ

เลือกตั้งประธานาธิบดีโดยตรงจากประชาชนการกระทำดังกล่าวนับเป็นครั้งแรกที่ฝ่ายรัฐบาล “ยอมตาม”

พลังเรียกร้องของฝ่ายค้าน โดยสันติแทนการประกาศกฎอัยการศึกหรือรัฐประหารดังที่เคยเป็นมาในอดีต

ซึ่งก่อให้เกิดการปฏิรูปทางการเมืองการยอมตามของฝ่ายรัฐบาลยังผลให้มีการปรับเปลี่ยนรัฐธรรมนูญเพื่อ

ให้มีการเลือกตั้งผู้นำประเทศโดยตรง จากผู้มีสิทธิ์ออกเสียงเลือกตั้งอย่างรีบเร่ง ก่อนที่นายพลชุนดูฮวาน

จะหมดวาระการดำรงตำแหน่งลงในวันที่25กุมภาพันธ์ค.ศ.1988ดังนั้นคณะกรรมการแก้ไขรัฐธรรมนูญ

จึงได้รับการแต่งตั้งและร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่จนเสร็จสมบูรณ์ภายในระยะเวลา1เดือนต่อมารัฐสภาผ่าน

ร่างกฎหมายดังกล่าวในวันที่ 12ตุลาคมค.ศ. 1987 และประชาชนรับรองกฎหมายใหม่ด้วยคะแนนเสียง

ประชามติอย่างท่วมท้นในวันที่ 27 เดือนเดียวกัน รัฐบาลจึงประกาศใช้ฐธรรมนูญฉบับนี้ในวันที่ 30 ของ

เดือนเดียวกันนั้นเอง กล่าวโดยสรุปนโยบายสำคัญในยุคที่สองนี้คือ การลดบทบาทโดยตรงของรัฐในการ

เข้าแทรกแซงการพัฒนาเศรษฐกิจโดยปล่อยให้เป็นไปตามกลไกของตลาดมากยิ่งขึ้น

Page 64: แนวคิดการพัฒนาเศรษฐกิจagri.stou.ac.th/UploadedFile/91721-4.pdf · เค้าโครงเนื้อหา ตอนที่4.1 การ

มสธ มสธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ

4-64 สังคมไทยกับการบริหารการส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร

ยุค ที่ 3 หรือ ยุค ปัจจุบัน การ สร้าง ความ เสมอ ภาค ทาง สังคม

ในช่วงปลายทศวรรษ1990เกาหลีใต้ประสบความสำเร็จในการพัฒนาประเทศสูงสุดจนมีการกล่าว

ขวัญกันว่าเป็น “มหัศจรรย์ในผลงานของมนุษย์บนฝั่งแม่น้ำฮั่น” (Man-mademiracle on theHanRiver)

กลา่วคอืกรงุโซลได้รบัเกยีรติให้เปน็เจา้ภาพจดัการแขง่ขนักฬีาเอเชยีนเกมส์ในปีค.ศ.1986และกฬีาโอลมิปคิ

ฤดูร้อนในปี ค.ศ. 1988ประเทศมีขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับที่ 11 ของโลกประชากรมีรายได้ต่อหัว

10,560 ดอลลาร์สหรัฐต่อคนต่อปี ขนาดและปริมาณการลงทุนจากกลุ่มบริษัทภายในและต่างประเทศเพิ่ม

สูงขึ้นอย่างรวดเร็วเกาหลีใต้เข้าเป็นสมาชิกองค์การความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา(OECD)หรือ

องค์กรของกลุ่มประเทศร่ำรวยซึ่งเป็นดัชนีที่ชี้ให้เห็นถึงความสำเร็จในการพัฒนาประเทศในช่วงสามสิบปีที่

ผ่านมา ยังผลให้คนเกาหลีต่างดีใจและมีความเชื่อมั่นในความสามารถสูงที่สุดอย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน

สิ่งเหล่านี้เองนำไปสู่การใช้จ่ายในชีวิตประจำวันอย่างฟุ่มเฟือยและลดความขยันขันแข็งในการทำงานลงหรือ

ที่เรียกว่า“โรคเกาหลี”อีกทั้งมีการลงทุนในธุรกิจอุตสาหกรรมที่ไม่ระมัดระวังและไตร่ตรองอย่างรอบคอบ

จนทำให้เกดิวกิฤติเศรษฐกจิจนรฐับาลตอ้งไปขอกู้เงนิจากกองทนุการเงนิระหวา่งประเทศในเดอืนพฤศจกิายน

ค.ศ.1997เป็นจำนวนเงินถึง57พันล้านดอลลาร์สหรัฐซึ่งถือเป็นประเทศที่สามในทวีปเอเชียที่เกิดปัญหา

ต่อจากประเทศไทยและอินโดนีเซียในปีเดียวกัน

“โรคเกาหลี”เปน็คำที่ประธานาธบิดีคมิยงัแซม(ดำรงตำแหนง่ระหวา่งปีค.ศ.1993–1997)ใช้อธบิาย

สภาพสังคมเกาหลีในช่วงทศวรรษ1990ที่เขาขึ้นดำรงตำแหน่งเป็นประมุขของประเทศอาการของโรคนี้คือ

การสูญเสียความขยันหมั่นเพียรในการทำงานและค่านิยมที่ดีค่อยๆ เสื่อมหายไปเพราะความอยุติธรรมการ

คอรัปชั่นความเกียจคร้านการไร้เหตุผลความเฉื่อยชาการทะเลาะเบาะแว้งและการเห็นแก่ประโยชน์ส่วน

ตัวเป็นหลักทำให้ความเชื่อมั่นในตัวเองค่อยๆหายไปและกลับไปยอมรับความพ่ายแพ้ประธานาธิบดีคิม

ประกาศนโยบายในการปฏิรูปสังคมเพื่อเยียวยารักษาโรคเกาหลีได้แก่การให้ความสำคัญต่อชาติบ้านเมือง

เพื่อสร้างจิตสำนึกถึงเป้าหมายของชาติในการทำให้ประเทศก้าวหน้าทางเศรษฐกิจและสังคมเฉกเช่นประเทศ

ชั้นนำของโลกแต่ความพยายามดังกล่าวไม่ค่อยเป็นผล วิกฤติเศรษฐกิจครั้งร้ายแรงที่สุดในประวัติศาสตร์

ยุคใหม่ของเกาหลีใต้เป็นผลมาจากปัจจัยหลักอีกปัจจัยหนึ่ง นั่นคือ แชโบล์ หรือกลุ่มธุรกิจขนาดใหญ่ คน

เกาหลีส่วนใหญ่ต่างเชื่อว่า ปัญหาวิกฤติดังกล่าวเป็นเพราะแชโบล์ไม่ได้ใช้ความคิดและการปฏิบัติการอย่าง

รอบคอบในการลงทุนและไม่สนใจต่อการบริหารที่เน้นประสิทธิภาพ อีกทั้งดำเนินธุรกิจผิดพลาดมากมาย

จนต้องกู้ยืมเงินจำนวนมหาศาลจากสถาบันการเงินทั้งในและต่างประเทศ

แชโบล์ขยายกิจการในธุรกิจต่างๆหลายสาขาโดยไม่คำนึงว่ากิจการนั้นจะนำผลกำไรมาให้หรือไม่

มีการเปรียบเทียบการขยายตัวแบบนี้ว่าเป็นเสมือนปลาหมึกที่พยายามทำธุรกิจในกิจการทุกสาขา โดยใช้

เงินกู้เป็นหลักในการสร้างธุรกิจใหม่ๆอนึ่งโครงสร้างของแชโบล์ผูกพันระหว่างบริษัทแม่กับบริษัทลูกอย่าง

แน่นแฟ้นหากบริษัทลูกเกิดปัญหาก็จะให้บริษัทอื่นในกลุ่มเข้าไปซื้อผลผลิตและให้การสนับสนุนทางด้าน

การเงินหรือถ่ายเทบุคลากรออกไปนอกจากนี้แชโบล์มีการบริหารงานแบบครอบครัวมีการถ่ายทอดกิจการ

ไปยังลูกชายของเจ้าของทำให้เกิดความไม่คล่องตัวและเป็นการบริหารงานที่ไม่มีประสิทธิภาพเมื่อเกิดวิกฤติ

ของเศรษฐกิจขึ้นความภาคภูมิใจในความสำเร็จในด้านการพัฒนาสะดุดหยุดลงโดยทันทีความอับอายและ

ความเสียใจเข้ามาแทนที่และความโกรธแค้นบังเกิดขึ้นในหัวใจของคนเกาหลีทั่วไปที่มองเห็นสังคมของตน

Page 65: แนวคิดการพัฒนาเศรษฐกิจagri.stou.ac.th/UploadedFile/91721-4.pdf · เค้าโครงเนื้อหา ตอนที่4.1 การ

มสธ มสธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ

4-65แนวคิดการพัฒนาเศรษฐกิจ

มีคนกลุ่มเล็กๆมาทำลายทั้งที่เป็นนักการเมืองข้าราชการชั้นผู้ใหญ่เจ้าของธุรกิจอุตสาหกรรมขนาดกลาง

และขนาดใหญ่ซึ่งนำพาชาติไปสู่กาลวิบัติ

อย่างไรก็ตามประธานาธิบดีคิมเดจุง(ดำรงตำแหน่งระหว่างปีค.ศ.1998–2002)เข้ามากอบกู้ภาวะ

เศรษฐกิจจนได้รับความสำเร็จ สามารถคืนเงินกู้ให้กองทุนการเงินระหว่างประเทศจนหมดสิ้นภายใน 18

เดือนภายหลังเข้ารับตำแหน่งเป็นผู้นำประเทศ เป้าหมายของนายคิม เดจุงมี 5ประการ ได้แก่ผลักดันให้

ประเทศเป็นประชาธิปไตยและยึดมั่นในสิทธิมนุษยชน ขจัดอคติระหว่างภูมิภาคและพัฒนาประเทศให้เกิด

ความเท่าเทียมกัน เสริมสร้างสังคมเศรษฐกิจที่มีรากฐานแห่งความรู้ สร้างความมั่นคงในชีวิตแก่ผู้มีรายได้

ปานกลางและรายได้น้อยและสานต่อความสัมพันธ์กับเกาหลีเหนือเพื่อนำดินแดนบนคาบสมุทรเกาหลีไปสู่

ยุคสันติภาพและความมั่นคง

นอกจากนี้นายคมิยงัประกาศให้เกาหลใีต้เปน็ศนูยก์ลางดา้นการคา้และวฒันธรรมของภมูภิาคเอเชยี

ตะวันออกภายใต้ชื่อว่าDynamicKorea:BusinessandCulturalHubofNortheastAsiaและพัฒนา

บริเวณโดยรอบของเมืองอินชอนให้เป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษและเป็นแหล่งเงินทุนที่ทันสมัยที่สุด (special

economiczone)จะเห็นได้ว่าเป้าหมายของการพัฒนาเริ่มเปลี่ยนไปโดยมีการเพิ่มมิติการกระจายรายได้

และสันติภาพบนคาบสมุทรควบคู่ไปกับความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจเป้าหมายนี้เน้นอย่างเด่นชัดมากขึ้น

เมื่อนายโรห์มูเฮียนได้รับเลือกให้เป็นประธานาธิบดีและประกาศนโยบายในวันเข้ารับตำแหน่งเมื่อวันที่25

กุมภาพันธ์ค.ศ.2003ว่ารัฐบาลของเขาจะปรับปรุงคุณภาพชีวิตและการมีส่วนร่วมในสวัสดิการสังคมและ

การกระจายอำนาจทางการเมืองและพัฒนาประเทศให้เท่าเทียมกันอันเป็นนโยบายที่เพิ่มเติมจากการสานต่อ

การพัฒนาเศรษฐกิจต่อจากนโยบายของประธานาธิบดีคนก่อน

นายโรห์ย้ำถึง“การขจัดการแบ่งแยกการยึดถือกลุ่มและช่องว่างระหว่างคนรวยกับคนจน”(Discri-

mination, parochialism and the gap between the haves and have-nots) ซึ่งถือว่าเป็นนโยบายใหม่ที่

รัฐบาลของเกาหลีใต้ประกาศอย่างชัดเจนและพยายามดำเนินการให้เกิดผล อันเป็นการตอบสนองความ

ประสงค์ของผู้เลือกตั้งที่สนับสนุนตัวเขาซึ่งส่วนใหญ่เป็นคนหนุ่มสาว คนงาน กรรมกรและผู้ด้อยโอกาส

ทางสังคมที่เล็งเห็นว่า ในอดีตที่ผ่านมา คนกลุ่มเล็ก ๆ ผูกขาดสังคมเกาหลีในขณะที่คนส่วนใหญ่ได้รับ

การกีดกันไม่ให้มีส่วนร่วมทางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคมอย่างเท่าเทียมกัน จึงถือได้ว่า นโยบายนี้เป็น

มิติใหม่ของการพัฒนาประเทศสาธารณรัฐเกาหลีโดยแท้ นโยบายพัฒนาสังคมได้รับการริเริ่มสร้างขึ้นทันที

ภายหลังที่นายโรห์เป็นประธานาธบิดีตอ่มาในปีค.ศ.2004รฐับาลเน้นการปรับปรงุระบบสวัสดิการสงัคมดว้ย

การทุ่มงบประมาณถึง12หมื่นล้านวอน(10.1พันล้านดอลลาร์สหรัฐ)หรือเพิ่มกว่าร้อยละ9ของงบส่วนนี้

ในงบประมาณของปีก่อนนับเป็นวงเงินสูงที่สุดเมื่อเทียบกับงบของรัฐบาลใด ๆ ก่อนนี้ โครงการสำคัญที่

เน้นได้แก่การสร้างงานใหม่การให้เงินอุดหนุนเพื่อการยังชีพแก่คนยากไร้การให้บริการรักษาพยาบาลฟรี

การสรา้งทีพ่กัและศนูย์ฝกึอาชพีแก่คนชราการตัง้ศนูย์รบัเลีย้งเดก็340แหง่ทัว่ประเทศแก่ลกูของสตรีที่ทำงาน

เต็มเวลา ส่วนปี ค.ศ. 2005 รัฐบาลย้ำถึงนโยบายการลดความแตกต่างของฐานะทางเศรษฐกิจระหว่าง

กลุ่มคนรวยกับกลุ่มคนจนลง และกำหนดงบประมาณมากกว่า 10 หมื่นล้านวอนในโครงการช่วยเหลือใน

โครงการยกเลิกหนี้สินให้แก่คนจนการสร้างงานใหม่สี่หมื่นตำแหน่งและการสนับสนุนธุรกิจขนาดเล็กและ

ขนาดกลางจำนวนสามหมื่นแห่งเป็นต้น

Page 66: แนวคิดการพัฒนาเศรษฐกิจagri.stou.ac.th/UploadedFile/91721-4.pdf · เค้าโครงเนื้อหา ตอนที่4.1 การ

มสธ มสธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ

4-66 สังคมไทยกับการบริหารการส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร

เกาหลีใต้ กับ การ พัฒนา อุตสาหกรรม ใน ประเทศ

การพัฒนาอุตสาหกรรมเป็นแนวทางหนึ่งในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศเกาหลีใต้ จาก

อุตสาหกรรมที่ใช้แรงงานมาสู่อุตสาหกรรมหนักเพื่อการส่งออกรัฐบาลเกาหลีใต้เน้นการพัฒนาอุตสาหกรรม

เพื่อการส่งออกด้วยการให้ความช่วยเหลือและสนับสนุนทุกวิถีทางตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจฉบับที่1(ค.ศ.

1961–1966) ในขณะเดียวกันขยายอุตสาหกรรมทดแทนการนำเข้าที่สำคัญซึ่งได้แก่อุตสาหกรรมการผลิต

ถา่นหนิซิเมนต์ปุย๋เหลก็กลา้และโรงกลัน่นำ้มนัเปน็ตน้ในแผนพฒันาฉบบัที่2(ค.ศ.1967–1971)รฐับาลเนน้

การขยายฐานของโครงสรา้งอตุสาหกรรมสง่ออกให้ใหญ่ยิง่ขึน้เพือ่เพิม่ศกัยภาพการแขง่ขนัสนิคา้อตุสาหกรรม

ในตลาดโลกด้วยการเร่งระดมเงินทุนและการลงทุนจากต่างประเทศ รัฐบาลเกาหลีใต้ปรับใช้แนวความคิด

ของนักทฤษฎีความทันสมัยตั้งแต่แรกเริ่มในการพัฒนาประเทศแล้วดังจะเห็นได้ว่า เนื้อหาของแผนพัฒนา

ฉบับที่1ย้ำถึงบทบาทของรัฐที่จะเข้าไปทำหน้าที่กำหนดมาตรการจูงใจเพื่อขยายการส่งออก

อนึ่งปัจจัยสำคัญที่ทำให้บทบาทของรัฐสามารถดำเนินการให้บรรลุผลตามเป้าหมายคือเจตนารมณ์

ของผู้นำประเทศและกลุ่มนักธุรกิจที่เห็นพ้องต้องกันกับนโยบายส่งเสริมการส่งออกในสินค้าประเภท

อุตสาหกรรมเพื่อความเจริญก้าวหน้าของประเทศ อย่างไรก็ตาม จะขอกล่าวในที่นี้ว่า มาตรการส่งเสริม

การส่งออกในระยะแรกเริ่มจะมีลักษณะเป็นแบบลองผิดลองถูกและมีการเพิ่มมาตรการชนิดต่างๆมากขึ้น

เรื่อยๆ แต่ในบางขณะก็ยกเลิกมาตรการบางอย่างที่ใช้ไม่ได้ผลทั้งนี้เพื่อต้องการย้ำว่าสูตรสำเร็จของนโยบาย

ดา้นนี้ไม่เปน็สิง่ที่แนน่อนตายตวัมกัจะแปรเปลีย่นไปตามสถานการณ์ของตลาดและการเมอืงของโลกอยู่เสมอ

รัฐบาลเกาหลีใต้มีบทบาทสำคัญในการแทรกแซงการดำเนินงานตามนโยบายส่งเสริมการส่งออกทั้งในส่วนที่

กำหนดมาตรการจูงใจให้การช่วยเหลือและสนับสนุนรวมทั้งตั้งสถาบันเพื่อทำหน้าที่ในด้านนี้โดยตรงตั้งแต่

ต้นทศวรรษที่1960เรื่อยมา

ต่อมาแผนพัฒนาประเทศฉบับที่ 3 (ค.ศ. 1972–1976) เน้นการพัฒนาอุตสาหกรรมหนักและ

เคมีภัณฑ์ ทั้งนี้เพราะเล็งเห็นว่า การแข่งขันราคาสินค้าอุตสาหกรรมที่ใช้แรงงานมากจะเกิดขึ้นอย่างรุนแรง

กับสินค้าประเภทเดียวกันจากประเทศกำลังพัฒนาทั่วโลกที่เร่งรัดการพัฒนาอุตสาหกรรมประเภทนี้ ทำให้

รัฐบาลเกาหลีใต้หันไปพัฒนาการผลิตสินค้าประเภททุนเช่นเรือเดินสมุทรเครื่องจักรรถยนต์และรถบรรทุก

ตู้เย็นเครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆและเคมีภัณฑ์เป็นต้นเมื่อรัฐบาลกำหนดกลยุทธ์ในการพัฒนาไว้แบบนี้บริษัท

เอกชนจึงขานรับและทุ่มเทการลงทุนเพื่อผลิตสินค้าดังกล่าวโดยได้รับการสนับสนุนทุกทางจากภาคราชการ

อตุสาหกรรมไอทีและเทคโนโลยีระดบัสงูนบัตัง้แต่ตน้ทศวรรษ1990กลุม่บรษิทัซมัซงุและแอลจีซึง่

เปน็ผูน้ำในการผลติสนิคา้ประเภทอเิลก็ทรอนกิส์เรง่พฒันาการผลติสนิคา้ประเภทคอมพวิเตอร์และเครือ่งมอื

สือ่สารคมนาคมในขณะเดยีวกนับรษิทัขนาดกลางและขนาดใหญ่อืน่ๆ ตา่งเรง่ลงทนุในอตุสาหกรรมประเภท

นี้ ทำให้มีการพัฒนาสินค้าประเภทแผงไอซี (integrated circuit) เซมิ-คอนดัคเตอร์ (semi-conductor)

และอุปกรณ์ด้านเทคโนโลยีการสื่อสาร (information technology) ของเกาหลีใต้ เจริญก้าวหน้าไปอย่าง

รวดเร็วนับตั้งแต่ปีค.ศ.1997 เป็นต้นมาสินค้าที่ได้กล่าวถึงข้างต้นกลายเป็นตัวจักรสำคัญในวงการธุรกิจ

อุตสาหกรรมของเกาหลีใต้ โดยมีอัตราความเจริญเติบโตมากถึงร้อยละ 18.8ต่อปี ในปีค.ศ. 1997มูลค่า

การส่งออกสินค้าประเภทไอทีและผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวเนื่องกันมีราว31.3พันล้านดอลลาร์สหรัฐและเพิ่มเป็น

Page 67: แนวคิดการพัฒนาเศรษฐกิจagri.stou.ac.th/UploadedFile/91721-4.pdf · เค้าโครงเนื้อหา ตอนที่4.1 การ

มสธ มสธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ

4-67แนวคิดการพัฒนาเศรษฐกิจ

51.761.1และ74.7พันล้านดอลลาร์สหรัฐในปีค.ศ.2001ปี2002และปี2003ตามลำดับทำให้สัดส่วน

ของสินค้าประเภทนี้มีมากกว่าร้อยละ 34 ของสินค้าส่งออกของประเทศทั้งหมดและยังผลให้เกาหลีใต้ได้

เปรียบดุลการค้ากับต่างประเทศเป็นจำนวนมาก

ประธานาธิบดีคิมเดจุง(ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีระหว่างค.ศ.1998–2002)ประกาศแผนพัฒนา

อุตสาหกรรมประเภทนี้ในปีค.ศ.2000ว่ารัฐบาลลงทุนก่อสร้างปัจจัยพื้นฐานของอุตสาหกรรมไอทีรณรงค์

ให้ครูและนักเรียนมีเครื่องคอมพิวเตอร์ใช้ในทุกห้องเรียน ข้าราชการทั้งพลเรือนและทหารต้องมีความรู้ใน

ด้านคอมพิวเตอร์สนับสนุนการเรียนรู้แบบe-learningและพัฒนาonlinegamesและcyberspaceใน

ยุคปัจจุบันรัฐบาลเกาหลีย้ำให้ใต้เป็นสังคมที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีชั้นสูง

บทบาท ของ รัฐบาล เกาหลีใต้ ใน การ ส่ง เสริม อุตสาหกรรม และ การ ส่ง ออก

บทบาทในการส่งเสริมอุตสาหกรรมและการส่งออกของรัฐบาลเกาหลีใต้ในทศวรรษที่1960เป็นไป

ในรูปของการจูงใจโดยการกำหนดสิทธิพิเศษทางภาษีอากรและระบบสิทธิพิเศษทางเงินกู้ชนิดต่างๆให้แก่

อุตสาหกรรมการส่งออกในการให้สิทธิพิเศษทางภาษีอากรนั้นมีมาตรการจูงใจประกอบไปด้วย

(1) การยกเว้นไม่เก็บค่าธรรมเนียมศุลกากรสินค้าวัตถุดิบที่นำเข้าและสินค้ากึ่งสำเร็จรูป

รวมทั้งสินค้าประเภททุนที่จะใช้ในการผลิตเพื่อการส่งออก

(2) การยกเว้นไม่เก็บภาษีทางอ้อมในวัตถุดิบกึ่งสำเร็จรูปและรายได้จากการส่งออก

(3) การให้ส่วนลดภาษีทางตรงในรายได้ที่ได้รับจากกิจกรรมส่งออก

(4) มีการตั้งกองทุนด้วยเงินที่เก็บมาจากภาษีเพื่อใช้ในการพัฒนาตลาดใหม่ในต่างประเทศ

และใช้ในการทดแทนการสูญเสียที่เกิดขึ้นจากการส่งออก

(5)การให้เงินทดแทนในค่าเสื่อมของทรัพย์สินถาวรที่ใช้ในการผลิตเพื่อการส่งออก

โดยตรง

ส่วนมาตรการจูงใจในระบบสิทธิพิเศษทางเงินกู้ได้แก่การให้สินเชื่อระยะสั้นและระยะยาวเพื่อซื้อ

สินค้าประเภทวัตถุดิบและการลงทุนนอกจากนี้ยังมีการยกเว้นภาษีการนำเข้าวัตถุดิบประเภทใช้สิ้นเปลือง

เช่น น้ำมันเชื้อเพลิง เป็นต้น อนึ่ง รัฐบาลประกาศใช้นโยบายปรับอัตราการแลกเปลี่ยนเงินตราเพื่อให้

สอดคล้องกับสถานการณ์ทางการค้าและเศรษฐกิจอยู่เสมอ รวมทั้งตั้งสถาบันเพื่อดำเนินการสนับสนุนการ

ส่งออกในหลายหน่วยงานซึ่งรัฐบาลสนับสนุนการส่งออกดังนี้

(1) การพัฒนาปัจจัยพื้นฐาน(infrastructuredevelopment)การลงทุนสร้างปัจจัยพื้นฐาน

เช่นท่าเรือท่าอากาศยานโทรศัพท์ ถนนหนทางและสิ่งปลูกสร้างอื่นๆในเขตเมืองและนิคมอุตสาหกรรม

ของประเทศสาธารณรัฐเกาหลี เป็นองค์ประกอบสำคัญที่ผลักดันให้ผู้ประกอบการและบริษัทอุตสาหกรรม

ตัดสินใจริเริ่มและขยายธุรกิจให้เจริญเติบโตอย่างรวดเร็วรัฐบาลให้ความสนใจและทุ่มการลงทุนสร้างปัจจัย

พื้นฐานนี้อย่างต่อเนื่องเพื่อรองรับกับการขยายตัวของธุรกิจอุตสาหกรรมของประเทศ

(2) การก่อตั้งบริษัทการค้าทั่วไป (general tradingcompanies) เนื่องจากอัตราส่วนการ

ส่งออกต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติของเกาหลีใต้ เพิ่มจากร้อยละ 5 ในปี ค.ศ. 1965มาเป็นร้อยละ

24.8 ในปี ค.ศ. 1975หรือคิดเป็นอัตราการเพิ่มถึงร้อยละ 40ต่อปีในช่วงเวลาดังกล่าว ในขณะเดียวกัน

Page 68: แนวคิดการพัฒนาเศรษฐกิจagri.stou.ac.th/UploadedFile/91721-4.pdf · เค้าโครงเนื้อหา ตอนที่4.1 การ

มสธ มสธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ

4-68 สังคมไทยกับการบริหารการส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร

การนำสินค้าเข้าก็เพิ่มขึ้นในอัตราร้อยละ30ต่อปีกล่าวคือการนำเข้าคิดเป็นสัดส่วนต่อผลิตภัณฑ์มวลรวม

ประชาชาติจากร้อยละ13.2 ในปีค.ศ. 1965มาเป็นร้อยละ35.5 ในปีค.ศ. 1975ทำให้รัฐบาลเล็งเห็นถึง

ความจำเป็นที่จะจัดตั้งบริษัทการค้าทั่วไปเพื่อทำหน้าที่เฉพาะทางด้านการนำเข้าและส่งออกเพื่อให้สอดคล้อง

กับการขยายตัวทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็วของประเทศ

นอกจากนี้ แนวความคิดดังกล่าวยังเป็นผลมาจากการผันผวนของภาวะเศรษฐกิจโลก เช่น

การขึ้นราคาน้ำมันอย่างฉับพลันในปีค.ศ.1973–1974และลัทธิกีดกันทางการค้าประกอบกับประธานาธิบดี

ปัก จุงฮี ตั้งเป้าหมายภายหลังที่ได้รับเลือกเป็นผู้นำประเทศในปี ค.ศ. 1972 ว่า ในช่วงปลายทศวรรษ

ที่ 1970 เกาหลีใต้จะต้องส่งสินค้าออกมีมูลค่าเพิ่มขึ้นเป็น 10พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ดังนั้น ด้วยเหตุผล

ดังกล่าวข้างต้น รัฐบาลจึงมอบหมายให้กระทรวงการค้าและอุตสาหกรรมริเริ่มและให้การสนับสนุน

จัดตั้งบริษัทการค้าทั่วไปขึ้นในปี ค.ศ. 1975 ตามแบบของประเทศญี่ปุ่นและไต้หวันซึ่งได้รับความ

สำเร็จมาแล้ว รัฐบาลให้สิทธิพิเศษและช่วยเหลือทางด้านเงินทุนด้วยอัตราดอกเบี้ยต่ำมากแก่บริษัท

การค้าทั่วไปเพื่อให้สามารถขยายจำนวนและมูลค่าที่ส่งออกและนำเข้าเพิ่มมากขึ้น นอกจากนี้รัฐบาลยังจัด

งาน “วันส่งออก” โดยมอบเกียรติยศสูงสุดแห่งชาติให้แก่บริษัทการค้าที่สามารถขายสินค้ามีมูลค่าสูงสุด

ผลที่ได้รับคือ ในปี ค.ศ. 1980 บริษัทประเภทนี้สามารถส่งสินค้าออกเป็นอัตราร้อยละ 43.6 ของสินค้า

สง่ออกทัง้หมดและนำเขา้รอ้ยละ7.4(ในภาษาเศรษฐศาสตร์เรยีกวา่การได้เปรยีบดลุการคา้กลา่วคอืสดัสว่น

และมูลค่าการส่งออกมากกว่าการนำเข้า)

(3) การจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรม (industrial estates) รัฐบาลช่วยเหลือในการจัดตั้งนิคม

อุตสาหกรรม รวมทั้งนิคมการผลิตเพื่อการส่งออกโดยเฉพาะ และให้การบริการต่าง ๆ ที่จำเป็นในการ

ประกอบธุรกิจอุตสาหกรรมโดยคิดค่าบริการในอัตราต่ำเป็นพิเศษอนึ่งนิคมอุตสาหกรรมนี้เป็นแหล่งให้ชาว

ต่างประเทศเข้าไปลงทุนด้วยนิคมอุตสาหกรรมส่วนใหญ่ตั้งขึ้นในระหว่างปีค.ศ.1969–1970โดยที่รัฐบาล

ออกกฎหมายพิเศษให้นิคมต่างๆสามารถทำกระบวนการพิธีศุลกากรและเอกสารสำคัญณนิคมนั้นๆอัน

เป็นการให้ความสะดวกแก่ธุรกิจอุตสาหกรรมในการส่งออกผลการดำเนินงานตามนโยบายส่งเสริมการส่ง

ออกในช่วงทศวรรษที่ 1960และ1970 ได้รับความสำเร็จเป็นที่น่าพอใจมากนั่นคือมูลค่าการส่งออกเพิ่ม

ขึ้นอย่างรวดเร็วคือจาก54.8ล้านดอลลาร์สหรัฐในปีค.ศ.1962มาเป็น10.7พันล้านดอลลาร์ในปีค.ศ.

1970และ175พันล้านดอลลาร์ในปีค.ศ.1980(คิดเป็นร้อยละ2.4 11.7และ31.0ของมวลรวมประชาชาติ

ในช่วงปีเดียวกัน)ตามลำดับ

อย่างไรก็ตามผลเสียที่เกิดขึ้นตามมามีหลายประการโดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเกิดวิกฤติการณ์

ทางเศรษฐกิจของโลกในช่วงปีค.ศ.1979–1981ซึ่งผลผลิตตกต่ำมากทำให้อัตราความเจริญก้าวหน้าทาง

เศรษฐกิจติดลบถึงร้อยละ5.2 อันเป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ของสาธารณรัฐเกาหลี

นับตั้งแต่เริ่มพัฒนาเศรษฐกิจเป็นต้นมาอัตราเงินเฟ้อมีถึงร้อยละ32และดุลการชำระเงินขาดดุลเป็นจำนวน

มากนักเศรษฐศาสตร์อธิบายถึงวิกฤติการณ์ทางเศรษฐกิจครั้งนั้นว่ามีสาเหตุมาจากปัจจัยหลายประการซึ่ง

ไม่จำกัดเฉพาะแต่ความวุ่นวายทางการเมืองภายหลังอสัญกรรมของประธานาธิบดีปักจุงฮีในปีค.ศ.1979

เท่านั้นปัจจัยอื่นๆที่นำความหายนะมาสู่ภาวะเศรษฐกิจในช่วงนั้นได้แก่การที่รัฐบาลเข้าไปมีบทบาทเกิน

Page 69: แนวคิดการพัฒนาเศรษฐกิจagri.stou.ac.th/UploadedFile/91721-4.pdf · เค้าโครงเนื้อหา ตอนที่4.1 การ

มสธ มสธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ

4-69แนวคิดการพัฒนาเศรษฐกิจ

ขอบเขตต่อการพัฒนาหรืออาจเรียกว่าการพัฒนาด้วยการนำของรัฐเป็นระยะเวลานานถึงสองทศวรรษซึ่ง

ย้ำการเกื้อหนุนภาคอุตสาหกรรมมากกว่าภาคเกษตรกรรม เน้นการพัฒนาเมืองมากกว่าชนบท ให้การช่วย

เหลือบริษัทใหญ่ ๆ มากกว่าบริษัทเล็ก และเน้นหนักอุตสาหกรรมเพื่อการส่งออกมากกว่าอุตสาหกรรมที่

ผลิตสินค้าเพื่อบริโภคภายในประเทศนอกจากนี้ยังก่อให้เกิดความไม่เท่าเทียมกันในโครงสร้างการปกป้อง

อุตสาหกรรมภายในของประเทศทำให้เกิดความล้าหลังในอุตสาหกรรมขนาดเล็กและขนาดกลางและทำให้

ตลาดภายในไม่เป็นไปตามธรรมชาติ เป็นต้น อนึ่ง การเร่งการพัฒนาโดยเฉพาะอย่างยิ่งอุตสาหกรรมหนัก

และเคมีภัณฑ์จำเป็นต้องใช้เงินลงทุนสูงมากแต่สถานการณ์เศรษฐกิจของโลกกลับผันแปรไปอย่างรวดเร็ว

เช่นการขึ้นราคาน้ำมันดิบอย่างรวดเร็วหลายครั้งภาวะเศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลกภายหลังการขึ้นราคาน้ำมันทั้ง

2ครั้งทำให้สินค้าเกาหลีที่ส่งออกไม่เป็นไปตามที่คาดหมายเกาหลีจึงจำเป็นต้องกู้ยืมเงินจากต่างประเทศเข้า

มาอัดฉีดให้เศรษฐกิจของประเทศสามารถดำเนินอยู่ต่อไปได้ทำให้หนี้ต่างประเทศเพิ่มขึ้นจาก16.8พันล้าน

ดอลลาร์สหรัฐในปี ค.ศ. 1978 เป็น 43พันล้านดอลลาร์สหรัฐในปี ค.ศ. 1984 และประเทศนี้กลายเป็น

ลูกหนี้อันดับที่สี่ของโลก

ประการสดุทา้ยการที่รฐับาลเขา้แทรกแซงดว้ยการปอ้งกนัและใหก้ารอดุหนนุการสง่ออกทำให้

บริษัทใหญ่ซื้อกิจการบริษัทที่ตั้งขึ้นใหม่ มีการกว้านซื้อที่ดินเพื่อการเก็งกำไร และบริษัทใหญ่ ๆ ก็เพิกเฉย

ไม่สนใจในการพัฒนาเทคโนโลยีหรือการวิจัยพัฒนา (research anddevelopment) ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญ

ต่อการขยายตัวด้านการส่งออกอย่างแท้จริง ดังนั้น การปรับปรุงแก้ไขโครงสร้างทางเศรษฐกิจอย่างรีบเร่ง

มีการกระทำกันเพื่อให้เหมาะสมกับทศวรรษใหม่ในระหว่างปีค.ศ.1980–1990 ช่วงต่อมาในสหัสวรรษใหม่

ภาคเอกชนเป็นตัวจักรสำคัญในการพัฒนาตามระบบเศรษฐกิจเสรีที่กลไกตลาดมีบทบาทสำคัญในการดำเนิน

ธุรกิจอุตสาหกรรมในขณะที่รัฐบาลทำหน้าที่กำหนดกรอบกว้างๆ

อุตสาหกรรม วัฒนธรรม กับ การ ส่ง เสริม สินค้า เกาหลี ใน ตลาด โลก

รัฐบาลเกาหลีใต้เล็งเห็นความจำเป็นที่จะส่งเสริมการเผยแพร่วัฒนธรรมเกาหลีไปสู่ประชากร

ทั่วโลกเพื่อหวังผลให้ผู้คนรู้จักประเทศเกาหลีอันก่อให้เกิดประโยชน์ดังนี้

(1) การซื้อสินค้าเกาหลีที่ส่งออกไปขายยังต่างประเทศและ

(2) ชักชวนนักท่องเที่ยวเดินทางเข้ามายังเกาหลีจำนวนมากยิ่งขึ้น

นอกจากนี้ รัฐบาลเกาหลียังประสงค์ที่จะให้เกาหลีเป็นข่าวในสื่อมวลชนทั่วโลกอยู่อย่าง

ต่อเนื่อง จึงส่งเสริมให้บรรจุเนื้อหาสาระเกี่ยวกับประเทศเกาหลีในหลักสูตรชั้นประถมศึกษาจนถึงขั้น

อุดมศึกษาของประเทศต่าง ๆทั้งนี้เพื่อเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับสังคมเกาหลีให้เป็นที่รู้จักแพร่หลาย

อีกหนทางหนึ่ง ท่ามกลางสภาวะวิกฤติทางเศรษฐกิจในตอนปลายทศวรรษที่ 1990 รัฐบาลเกาหลีใต้เร่ง

ส่งเสริมให้ขยายอุตสาหกรรมทางวัฒนธรรม (cultural industry) ให้มีความแข็งแกร่ง นายปัก ไจวอน

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรมและการท่องเที่ยวของรัฐบาลนายคิมเดจุง(ค.ศ.1998–2002)ประกาศ

นโยบายเสริมสร้างปัจจัยพื้นฐานทางวัฒนธรรมนับตั้งแต่ปี ค.ศ. 2000 เป็นต้นไป เช่น เร่งก่อสร้างศูนย์

วัฒนธรรมและศิลปะขนาดใหญ่(agiantculturalandartcomplex)ที่เขตโซคกวานทางทิศตะวันออก

เฉียงเหนือของกรุงโซลบนที่ดินส่วนหนึ่งของมหาวิทยาลัยโซลแห่งชาติส่วนทางตอนใต้ของกรุงโซลนั้นมีการ

Page 70: แนวคิดการพัฒนาเศรษฐกิจagri.stou.ac.th/UploadedFile/91721-4.pdf · เค้าโครงเนื้อหา ตอนที่4.1 การ

มสธ มสธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ

4-70 สังคมไทยกับการบริหารการส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร

ขยายศูนย์ศิลปะแห่งกรุงโซล(SeoulArtsCenter)และศูนย์ศิลปะการแสดงพื้นเมืองแห่งชาติ(National

Center for KoreanTraditional PerformingArts) อีกทั้งมีแผนในการปรับปรุงเส้นทางคมนาคมเพื่อ

ให้ผู้คนที่อาศัยอยู่ทางตอนเหนือของกรุงโซลสามารถเดินทางไปยังศูนย์ต่าง ๆ ได้อย่างสะดวกนอกจากนี้

รัฐบาลปรับปรุงศูนย์วัฒนธรรมกษัตริย์เซจอง(SejongCulturalCenter)และโรงละครแห่งชาติ(National

TheaterofKorea)ที่ตัง้อยู่ใจกลางของกรงุโซลให้ทนัสมยัขึน้อกีดว้ย รวมทัง้สง่เสรมิปรบัปรงุและขยายศนูย์

วัฒนธรรมที่ตั้งอยู่นอกกรุงโซลจำนวน 30 แห่งทั่วประเทศเพื่อให้เกาหลีเป็น “เมืองวัฒนธรรม” (Cultural

District)ของภูมิภาคเอเชียตะวันออกไกล

กระทรวงวัฒนธรรมและการท่องเที่ยวทุ่มเงินกว่า50พันล้านวอนเพื่อทำภาพยนตร์สารคดี

ซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์ สิ่งตีพิมพ์ ดนตรีและข้อมูลที่เกี่ยวกับเกาหลีเพื่อส่งไปเผยแพร่ยังประเทศต่าง ๆ

ทั่วโลกอนึ่งกระทรวงฯจัดให้ปีค.ศ.2001เป็นปีแห่งการท่องเที่ยวเกาหลี(VisitKoreaYear2001)โดยมี

การจัดงานทั่วประเทศเช่นเทศกาลการเล่นสกีและหิมะเทศกาลทางทะเลที่เกาะเชจูเทศกาลการซื้อของและ

แฟชั่นนานาชาติเทศกาลกีฬาเทกวนโดเทศกาลภาพยนตร์เทศกาลโสมเทศกาลดนตรีเทศกาลอาหารและ

เทศกาลระบำหน้ากากแห่งเมืองอันดงอย่างต่อเนื่องตลอดทั้งปีและสร้างกระแสวัฒนธรรมเกาหลี(Korean

wave) หรืออีกชื่อหนึ่งว่าK-Pop(อ่านว่าเคป๊อป)มาจากคำภาษาอังกฤษว่าKoreanPopularนั้นเองโดย

เป็นกลยุทธ์เพื่อส่งออกสินค้าไปขายทั่วโลกเช่นสินค้าแฟชั่นเครื่องสำอางภาพยนตร์เกาหลีแว่นตาคอน

เทคเลนซ์บิ๊กอายขนมจากเกาหลีหรือแม้กระทั่งการทำศัลยกรรมความงามแบบเกาหลีหรือแนวเกาหลีซึ่งมี

ลักษณะเฉพาะรวมถึงโสมเกาหลีจนเกาหลีได้ชื่อว่าเป็นเมืองโสมทำให้โสมจากเกาหลีได้รับความนิยมจาก

ผู้บริโภคในตลาดโลกมากกว่าโสมจากที่อื่นๆด้อยเหตุผลดังกล่าวข้างต้น

ประการสุดท้าย รัฐบาลพยายามส่งเสริมการท่องเที่ยวด้วยการชักชวนคนต่างชาติเข้ามาท่องเที่ยว

ในเกาหลีเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เพราะรายได้จากอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวจะช่วยให้ประเทศมีอัตราความเจริญ

เติบโตทางเศรษฐกิจสูงขึ้นอีกทั้งเป็นการเผยแพร่สินค้าของเกาหลีสู่ตลาดโลกด้วย

การ พัฒนา ประเทศ เกาหลีใต้ ใน ศตวรรษ ที่ 21

ในศตวรรษที่21ระบบเศรษฐกิจโลกซึ่งกลายเป็นระบบเศรษฐกิจที่มีรากฐานความรู้ความสามารถ

ทางด้านปัญญาเป็นเหล่งสำคัญในการเพิ่มพูนผลผลิตที่มีมูลค่าเพิ่มสูงและจะก่อให้เกิดการกระจายรายได้ที่

เป็นธรรมรัฐบาลเกาหลีใต้กำหนดให้สังคมของตนเป็นสังคมแห่งความรู้(knowledge-basedsociety)โดย

เน้นอุตสาหกรรมหลักดังนี้

1) ความรู้พื้นฐาน ได้แก่ อิเล็กทรอนิกส์ (electronics) และสิ่งแวดล้อมและพลังงาน

(environmentandenergy)ในสว่นของอเิลก็ทรอนกิส์นัน้ประกอบดว้ย LSI(largesystemintegration)

ซึง่รวมหนา้ที่หลายๆอยา่งเขา้ดว้ยกนัไว้ในหนว่ยความจำหนว่ยเดยีว(semi-conductorchip)อตุสาหกรรม

ผลิตเครื่องมือต่างๆ(manufacturingequipments)และจอภาพทั้งหลาย(flatpaneldisplays)ในส่วน

ของสิ่งแวดล้อมและพลังงานประกอบด้วยการนำกลับมาใช้ใหม่(recycle)การกำจัดของเสีย(disposalof

waste)พลังงานพลังงานแสงอาทิตย์และอุปกรณ์ชนิดใหม่ๆ

Page 71: แนวคิดการพัฒนาเศรษฐกิจagri.stou.ac.th/UploadedFile/91721-4.pdf · เค้าโครงเนื้อหา ตอนที่4.1 การ

มสธ มสธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ

4-71แนวคิดการพัฒนาเศรษฐกิจ

2) การใช้ความรู้หลาย ๆ ด้านมาผสมกัน ได้แก่ ข้อมูลสื่อสาร (information and

telecommunications)และอุตสาหกรรมในส่วนของข้อมูลสื่อสารประกอบด้วยinternet,e-commerce,

contents,wired andwireless, telecommunications, telecommunication service industry,

multifunctionalmobile telephone service ในส่วนของอุตสาหกรรม ประกอบด้วย fiber optic

communication,informationequipment,opticalprecisionequipmentและopticalequipments

นอกจากนี้ ยังมีส่วนที่เกี่ยวข้องกับมนุษย์ ซึ่งประกอบด้วยarticle intelligence,หุ่นยนต์ (robots) และ

voicerecognitionequipment

3) ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับสังคมได้แก่เครื่องมือทางการแพทย์และชีวอุตสาหกรรมในส่วน

ของเครื่องมือทางการแพทย์ ประกอบด้วย visual diagnosis equipment,medical equipment for

household use ในส่วนของชีวอุตสาหกรรมประกอบด้วย genetically engineered food, genetic

diagnoses,medical information service รัฐบาลเกาหลีใต้ส่งเสริมให้เกิดอุตสาหกรรมดังกล่าว

นับตั้งแต่ต้นทศวรรษที่1990ยังผลให้อุตสาหกรรมซอฟต์แวร์เจริญเติบโตอย่างรวดเร็วในขณะที่มีจำนวน

ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในเกาหลีใต้มีกว่า 5.2 ล้านคนหรือเป็นอันดับที่เจ็ดของโลก อย่างไรก็ตาม อุตสาหกรรม

ดังกล่าวยังคงเป็นรองสหรัฐอเมริกาและญี่ปุ่นอยู่ อนึ่งรัฐบาลสร้างศูนย์อุตสาหกรรมขึ้นให้มีลักษณะคล้าย

กับ SiliconValley ของสหรัฐอเมริกาเพื่อนำเกาหลีให้เป็นชาติที่มีเทคโนโลยีการสื่อสารขนาดใหญ่หนึ่งใน

สิบของโลกปัจจุบันศูนย์อุตสาหกรรมเทคโนโลยีของเกาหลีมีชื่อว่าTeharanValley

Page 72: แนวคิดการพัฒนาเศรษฐกิจagri.stou.ac.th/UploadedFile/91721-4.pdf · เค้าโครงเนื้อหา ตอนที่4.1 การ

มสธ มสธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ

4-72 สังคมไทยกับการบริหารการส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร

เรื่อง ที่ 4.3.2 การ พัฒนา เศรษฐกิจ ของ ประเทศ กำลัง พัฒนา

ประเทศกำลังพัฒนา เป็นคำที่ใช้เรียกประเทศที่มีมาตรฐานการดำรงชีวิตปานกลาง-ต่ำ พื้นฐาน

อุตสาหกรรมยังไม่พัฒนาและมีดัชนีการพัฒนามนุษย์(HumanDevelopmentIndex:HDI)อยู่ในระดับ

ปานกลาง-ต่ำคำนี้มีแนวโน้มที่จะใช้แทนที่คำอื่นๆที่เคยใช้ก่อนหน้านี้ซึ่งรวมถึงคำว่า“โลกที่สาม”ซึ่งเกิด

ขึ้นในยุคสงครามเย็นเนื่องจากไม่มีคำจำกัดความใดๆ มากำหนดคำว่าประเทศพัฒนาอาจเป็นไปได้ว่าระดับ

ของคำว่าพัฒนาจะมีความแตกต่างอย่างเห็นได้ชัดมากกว่าคำว่ากำลังพัฒนาด้วยสำหรับบางประเทศที่เรียก

ว่าเป็นประเทศกำลังพัฒนาพบว่ามีค่าเฉลี่ยของมาตรฐานการดำรงชีวิตอยู่ในระดับสูงเช่นกันส่วนประเทศที่

มีสภาพเศรษฐกิจที่จัดอยู่ในระดับก้าวหน้ามากกว่าประเทศที่กำลังพัฒนาแต่ยังไม่จัดอยู่ในกลุ่มของประเทศ

พัฒนาจะจัดให้อยู่กลุ่มที่ใช้คำจำกัดความว่าประเทศอุตสาหกรรมใหม่

ความ เจริญ เติบโต ของ เศรษฐกิจ ทุนนิยม โลก หลัง สงครามโลก ครั้ง ที่ 2 ที่ มี ผล ต่อ การ พัฒนา

เศรษฐกิจ ของ ประเทศกำลัง พัฒนา ปัจจัยที่มีผลต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่2คือการกีดกันทางการค้า

อยู่ในระดับที่ต่ำมีการลดต้นทุนค่าใช้จ่ายในการขนส่งสินค้าและมีการสร้างถนนหนทางต่างๆมากมาย

วิกฤติการณ์ ทาง เศรษฐกิจ ของ ประเทศ กำลัง พัฒนา หลัง ทศวรรษ 1960 หลงัทศวรรษ1960ประเทศกำลงัพฒันามีการเปลีย่นแปลงโครงสรา้งทางเศรษฐกจิเปน็อตุสาหกรรม

มากขึ้น วิกฤติการณ์เศรษฐกิจหลังทศวรรษ 1970 ที่สำคัญได้แก่ ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ และผลกระทบ

อันเนื่องมาจากวิกฤติการณ์น้ำมัน

วิกฤติการณ์เศรษฐกิจโลกหลังทศวรรษ 1970มีผลกระทบต่อเศรษฐกิจของประเทศกำลังพัฒนา

3ด้านด้วยกันได้แก่ความไม่เท่าเทียมกันในรายได้มีมากขึ้นปัญหาการว่างงานและการเคลื่อนย้ายแรงงาน

และปัญหาภาระหนี้สินต่างประเทศ

กรณี ศึกษา การ พัฒนา เศรษฐกิจ ของ ประเทศ กำลัง พัฒนากรณีศึกษาการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศกำลังพัฒนา 3 ประเทศ ได้แก่ กัมพูชา สาธารณรัฐ

ประชาธิปไตยประชาชนลาวและแอฟริกาซึ่งอธิบายได้ดังนี้

1. การพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศกัมพูชา

1.1 ภาพรวมด้านเศรษฐกิจของประเทศกัมพูชาในปีพ.ศ.2552กัมพูชามีอัตราการขยายตัว

ทางเศรษฐกิจ(GDPgrowth)ร้อยละ1.5ซึ่งมีสาเหตุจากภัยแล้งและอุทกภัยส่งผลกระทบต่อผลผลิตด้าน

Page 73: แนวคิดการพัฒนาเศรษฐกิจagri.stou.ac.th/UploadedFile/91721-4.pdf · เค้าโครงเนื้อหา ตอนที่4.1 การ

มสธ มสธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ

4-73แนวคิดการพัฒนาเศรษฐกิจ

การเกษตร ซึ่งเป็นรายได้หลักของประชากรร้อยละ 70 ของประเทศ รวมถึงการส่งออกที่ลดลงของเสื้อผ้า

สำเร็จรูปสิ่งทอรองเท้าเพราะได้รับผลกระทบจากการชะลอตัวทางเศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกาและสหภาพ

ยุโรปซึ่งเป็นตลาดส่งออกหลักของกัมพูชา รวมทั้งการที่สหรัฐอเมริกายกเลิกการใช้มาตรการ safeguard

ต่อสินค้าเสื้อผ้าสำเร็จรูปจากจีนนอกจากนี้ปัญหาวิกฤติเศรษฐกิจและการเงินโลกส่งผลให้การพัฒนาด้าน

อสังหาริมทรัพย์ชะลอตัวลง และบางโครงการถอนการลงทุน ราคาที่ดินและอสังหาริมทรัพย์ที่ซบเซาส่งผล

ให้อำนาจซื้อของประชาชนลดลงอย่างไรก็ตามในปีพ.ศ.2553คาดว่าอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจของ

กัมพูชาน่าจะอยู่ที่ร้อยละ 3.5 เนื่องจากมีปัจจัยบวกจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกทำให้การส่งออกของ

กัมพูชามีแนวโน้มดีขึ้น ที่สำคัญคือกัมพูชาเริ่มให้การสนับสนุนการลงทุนภาคสาธารณะมากขึ้นเพื่อรองรับ

เศรษฐกิจที่จะฟื้นตัวภายในอนาคตอาทิการสร้างถนนโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์โรงไฟฟ้าถ่านหินสร้าง

ทา่อากาศยานการบรหิารจดัการระบบรถไฟเปน็ตน้ทัง้นี้กมัพชูามีผลติภณัฑ์มวลรวมภายในประเทศ(GDP)

11.2พันล้านดอลลาร์สหรัฐรายได้เฉลี่ยต่อคนต่อปีประมาณ635ดอลลาร์สหรัฐโดยรายได้หลักของกัมพูชา

มาจากภาคเกษตรกรรมร้อยละ32.5ได้แก่การกสิกรรมการประมงปศุสัตว์และป่าไม้ซึ่งสินค้าเกษตรที่

ส่งออกได้แก่ข้าวผลิตภัณฑ์ปลาและยางพารารองลงมาได้แก่ข้าวโพดถั่วเหลืองสัตว์มีชีวิตผลไม้และ

ปลา เป็นต้นภาคอุตสาหกรรม ร้อยละ 22.4 ซึ่งสินค้าอุตสาหกรรมส่งออก ได้แก่ เสื้อผ้าและเครื่องนุ่งห่ม

รองเท้า และภาคบริการร้อยละ 45.1 รายได้ที่สำคัญของภาคบริการ ได้แก่ รายได้จากนักท่องเที่ยว และ

อุตสาหกรรมท่องเที่ยวและบริการ

อนึ่งสกุลเงินของกัมพูชาคือ เงินเรียล (Riel)การแลกเปลี่ยนเงินตราระหว่างประเทศใช้เงิน

ดอลลาร์สหรฐัหมนุเวยีนในตลาดมากกวา่เงนิเรียลซึง่เปน็เงนิพืน้เมอืงการแลกเปลีย่นเงนิตราระหวา่งประเทศ

ค่อนข้างเสรี โดยสามารถดำเนินการได้อย่างอิสระผ่านระบบธนาคารและตัวแทนการแลกเปลี่ยนที่ได้รับ

อนุญาตอย่างเป็นทางการ ทั้งนี้ อัตราแลกเปลี่ยนระหว่างเงินเรียลกัมพูชาและเงินดอลลาร์สหรัฐ มีอัตรา

ค่อนข้างคงที่กล่าวคืออยู่ในระดับประมาณ4,000เรียลต่อ1ดอลลาร์สหรัฐ

1.2 โครงสรา้งพืน้ฐานทางการเงนิ ในชว่งครสิต์ทศวรรษ1990ประเทศกมัพชูาเริม่เขา้สู่ระบบ

เศรษฐกิจแบบตลาด(market-orientedeconomy)มีการเปิดตลาดการค้าการลงทุนในประเทศและระหว่าง

ประเทศโดยมีสิ่งบ่งชี้ที่สำคัญคือการเข้าเป็นสมาชิกอาเซียน(ASEAN)ในปีค.ศ.1999(พ.ศ.2542)และเข้า

เป็นสมาชิกองค์การการค้าโลก(WTO)ในปี2004(พ.ศ.2547)ทำให้กัมพูชาต้องปฏิรูปประเทศในหลายๆ

ดา้นโดยเฉพาะอยา่งยิง่การออกกฎระเบยีบที่เกีย่วขอ้งกบัการคา้การลงทนุสำหรบัภาคการเงนิการธนาคารใน

กมัพชูาเริม่เปดิดำเนนิการในชว่งครสิต์ทศวรรษที่1990สว่นการพฒันาตลาดทนุเดมิรฐับาลกมัพชูาวางแผน

เปิดทำการซื้อขายหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์ ประมาณปี ค.ศ. 2008 (พ.ศ. 2551) แต่ก็ต้องเลื่อนออก

ไปอย่างไม่มีกำหนด เนื่องจากมีความเสี่ยงเกี่ยวกับปัญหาเศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลกในช่วงปลายปี ค.ศ. 2008

เป็นต้นมาอย่างไรก็ดีแม้ว่าในปัจจุบันการให้บริการทางการเงินของธนาคารต่างๆจะมีการให้บริการทางการ

เงินรูปแบบใหม่ๆอาทิตู้ATMบัตรเครดิตและการทำธุรกรรมทางอินเทอร์เน็ตแต่ว่าสัดส่วนการใช้บริการ

ทางการเงินต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศเบื้องต้น(GDP)อยู่ในสัดส่วนที่ค่อนข้างต่ำโดยในปีพ.ศ.

2550สัดส่วนการให้สินเชื่อของสถาบันการเงิน เท่ากับร้อยละ18.3ต่อGDPและสัดส่วนเงินฝากในระบบ

Page 74: แนวคิดการพัฒนาเศรษฐกิจagri.stou.ac.th/UploadedFile/91721-4.pdf · เค้าโครงเนื้อหา ตอนที่4.1 การ

มสธ มสธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ

4-74 สังคมไทยกับการบริหารการส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร

สถาบันการเงินเท่ากับร้อยละ26.8ต่อGDPโดยนับตั้งแต่ปีพ.ศ.2546-2550จำนวนผู้ฝากเงินเพิ่มขึ้นโดย

เฉลี่ยกว่าร้อยละ215ขณะที่ผู้ขอสินเชื่อธนาคารเพิ่มขึ้นโดยเฉลี่ยร้อยละ60โดยอัตราการเพิ่มขึ้นของผู้ฝาก

เงินเติบโตมากกว่าผู้ขอสินเชื่อประมาณ3.5เท่าในแง่ของความมั่นคงของระบบธนาคารถือว่าอยู่ในเกณฑ์

ดีพิจารณาจากอัตราส่วนทางการเงินที่สำคัญกล่าวคือมีอัตราผลตอบแทนจากสินทรัพย์ทั้งหมด(Return

onAsset:ROA)โดยเฉลี่ยเท่ากับร้อยละ2และมีอัตราส่วนผลตอบแทนผู้ถือหุ้น(ReturnsonEquity:

ROE)เท่ากับร้อยละ11

2. การพัฒนาเศรษฐกิจของสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว(สปป.ลาว)เศรษฐกิจลาวไม่

ได้รับผลกระทบจากวิกฤติทางการเงินของโลกในปีพ.ศ.2551มากนักเพราะได้รับอานิสงส์จากราคาสินค้า

โภคภัณฑ์สูงกว่าราคาที่คาดการณ์ไว้ และการขยายตัวของรายจ่ายภาครัฐอย่างมาก ซึ่งเป็นปัจจัยในการ

กระตุ้นเศรษฐกิจได้เป็นอย่างดี ผลกระทบของวิกฤติทางการเงินต่อเศรษฐกิจลาวเป็นไปในรูปของรายได้

ส่งออกสินค้าโภคภัณฑ์ที่ลดลง เงินลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศที่ลดลงและรายได้จากการส่งออกสินค้า

ที่ไม่ใช่โภคภัณฑ์ลดลงโดยเฉพาะสินค้าเกษตรผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ(GDP)ที่แท้จริงคาดว่า

จะมีอัตราเพิ่มลดลงเหลือร้อยละ7.6 ในปี 2552อันเป็นผลจากวิกฤติการเงินโลกอัตราเติบโตที่โดดเด่นนี้

(นับว่าสูงเป็นอันดับสองในภูมิภาคเอเชียตะวันออกรองจากจีน)เป็นจริงได้ด้วยสาเหตุดังนี้

ประการแรก เศรษฐกิจลาวค่อนข้างปิดการเปิดรับผลกระทบจากการค้าต่างประเทศอยู่ใน

วงจำกัดจึงได้รับความเสียหายจากวิกฤติการเงินในครั้งนี้น้อย

ประการที่สอง เศรษฐกิจลาวได้รับประโยชน์จากความต้องการสินค้าส่งออกอย่างต่อเนื่อง

(ความต้องการสินแร่จากจีน เสื้อผ้าจากยุโรปและพลังงานไฟฟ้าจากไทย)ความต้องการบริการท่องเที่ยวที่

เพิ่มขึ้นและราคาพลังงานน้ำมันนำเข้าที่ลดลง

ประการที่สาม รัฐบาลเพิ่มการใช้จ่ายก้อนใหญ่เพื่อเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจ ทำให้อัตรา

การเติบโตทางเศรษฐกิจคงอยู่ในระดับสูงโดยค่าใช้จ่ายภาครัฐไปทดแทนการลงทุนของต่างชาติที่ลดลง

มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจทางการคลังนี้ มีทั้งที่เป็นเงินงบประมาณ (ค่าจ้างและการลงทุน

ภายในประเทศ) และการใช้จ่ายนอกงบประมาณโดยอ้อม ในโครงการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานในระดับ

ท้องถิ่นที่ให้การจัดหาเงินกู้โดยธนาคารแห่งชาติลาว อัตราการเติบโตของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ

(GDP)เกดิจากการขยายตวัในหมวดทรพัยากรอยา่งสำคญัผลผลติภาคเหมอืงแร่(สว่นใหญ่จากทองแดงและ

ทองคำ)มีส่วนทำให้ผลผลิตรวมเติบโตในอัตราร้อยละ2.5ในปีพ.ศ.2552 ภาคอุตสาหกรรมการผลิตและ

ภาคการเกษตรแตล่ะภาคมีสว่นทำให้อตัราการเตบิโตของผลผลติรวมเพิม่ขึน้ในปรมิาณรอ้ยละ1ภาคบรกิาร

มีส่วนในอัตราการเติบโตส่วนที่เหลือ

จากการคาดการณ์ว่าเศรษฐกิจโลกจะฟื้นตัวอัตราการเติบโตของผลผลิตมวลรวมในประเทศ

(GDP)ของสปป.ลาวจะดีขึ้นในระยะปานกลางแม้ว่าการฟื้นตัวจะขึ้นอยู่กับการเปลี่ยนแปลงของราคาสินค้า

โภคภณัฑ์ในตลาดโลก(โดยเฉพาะราคาโลหะและสนิคา้เกษตร)เปน็ที่คาดวา่เศรษฐกจิลาวจะได้รบัประโยชน์

จากการฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยวการดำเนินโครงการพลังน้ำขนาดใหญ่ที่กำลังก่อสร้างและที่วางแผนไว้

รวมถึงอุปสงค์ที่เพิ่มขึ้นของประเทศเพื่อนบ้าน (โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ประเทศไทย จีน และเวียดนาม) และ

Page 75: แนวคิดการพัฒนาเศรษฐกิจagri.stou.ac.th/UploadedFile/91721-4.pdf · เค้าโครงเนื้อหา ตอนที่4.1 การ

มสธ มสธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ

4-75แนวคิดการพัฒนาเศรษฐกิจ

สหภาพยุโรป ราคาสินค้าโดยรวมเริ่มขยับตัวสูงขึ้น หลังจากที่ลดลงพอสมควรในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา

ในปี 2552 อัตราเงินเฟ้อทั่วไปอยู่ที่ ร้อยละ 1.5 ในเดือนพฤศจิกายน 2552 เทียบกับเดือนเดียวกันของ

ปีก่อนหลังจากที่อยู่ในระดับต่ำกว่า0เล็กน้อยมาหลายเดือนเป็นผลเนื่องมาจากราคาอาหารและพลังงานที่

ฟื้นตัวขณะเดียวกันอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานไม่รวมอาหารและพลังงาน เพิ่มขึ้นทีละน้อยจากร้อยละ0.4 ใน

เดอืนมถินุายนเปน็รอ้ยละ1.1ในเดอืนกนัยายนและรอ้ยละ2.4ในเดอืนพฤศจกิายนอตัราเงนิเฟอ้โดยเฉลีย่

คาดว่าจะลดลงจากร้อยละ7.6ในปี2551เหลือต่ำกว่าร้อยละ1ในปี2552โดยอัตรานี้จะค่อยๆเพิ่มขึ้น

ในระยะปานกลางเมื่อราคาน้ำมันและอาหารเพิ่มขึ้นแรงกดดันจากภาวะวิกฤติทางการเงินโลกร่วมกับพันธะ

การเป็นเจ้าภาพกิจกรรมนานาชาติหลายครั้งทำให้ภาครัฐต้องเพิ่มการใช้จ่ายอย่างมากในปี 2552 ดังนั้น

คาดว่าการขาดดุลงบประมาณจะเพิ่มขึ้นอย่างมากจากร้อยละ 1.8 ในปี 2551 เป็นร้อยละ 6.8 ในปี 2552

รายจ่ายของรัฐบาลเพิ่มขึ้นอย่างมากทั้งในส่วนของสินค้าทุนและค่าจ้างแรงงาน (การขึ้นเงินเดือนข้าราชการ

และค่าตอบแทนได้ผ่านสภาแห่งชาติลาวก่อนเกิดวิกฤติ)นอกจากเงินงบประมาณมีการเพิ่มของการใช้จ่าย

เงินนอกงบประมาณที่เป็นภาครัฐโดยได้รับสินเชื่อจากธนาคารแห่งชาติลาวเพื่อก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานใน

ระดับท้องถิ่นและกิจกรรมสำคัญสองรายการคือการจัดการแข่งกีฬาซีเกมส์และการฉลองครบรอบ450ปี

นครเวียงจันทร์

อย่างไรก็ดีธนาคารแห่งชาติลาวประกาศการทยอยยุติการให้กู้โดยตรงแก่โครงการสาธารณะ

ภายในสิ้นปี2552ซึ่งเป็นการให้ความสำคัญต่อความกังวลว่าหนี้สาธารณะจะเพิ่มขึ้นในอนาคตรายได้ของ

รัฐคาดว่าจะต่ำกว่าเป้าที่ตั้งไว้ ร้อยละ 8 และจะลดลงเล็กน้อย ไปอยู่ที่ร้อยละ 13.8 ของผลผลิตมวลรวม

ในประเทศ(GDP)ในปี2552ทั้งนี้เป็นเพราะการลดลงของรายได้จากทรัพยากรและรายได้อื่นที่ไม่ใช่ภาษี

(โดยเฉพาะเงินปันผลจากรัฐวิสาหกิจ)แม้ว่าสปป.ลาวจะประสบความสำเร็จในการลดหนี้ต่างประเทศและ

หนี้สาธารณะแต่ก็ยังเผชิญกับความเสี่ยงต่อการชำระหนี้ เนื่องจากมูลค่าหนี้อยู่ในระดับสูง กระนั้นก็ตาม

การชำระหนี้สาธารณะยังอยู่ในระดับที่สามารถจัดการได้ เนื่องจากหนี้ส่วนใหญ่เสียดอกเบี้ยในอัตรา

ลดหย่อน แต่ก็คาดว่าจะเพิ่มขึ้นในระยะปานกลางเนื่องจากความจำเป็นต้องหาเงินทุนเพื่อเข้าถือหุ้นใน

โครงการลงทุนขนาดใหญ่หลายโครงการ

มูลค่าการค้าต่างประเทศของลาวลดลงพอสมควรอันเป็นผลจากวิกฤติการเงินโลกที่ทำให้ราคา

สินค้าโภคภัณฑ์และอุปสงค์โดยรวมลดลง มูลค่าการส่งออกสินค้าโภคภัณฑ์ลดลงร้อยละ 7.2 เมื่อเทียบ

กับปีก่อนขณะที่มูลค่าการนำเข้าลดลงร้อยละ9.6ในช่วงเดียวกันเนื่องจากราคาสินค้าทุนและพลังงานลด

ลงดังนั้นการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดจึงลดลงเหลือร้อยละ 7.9 ของจีดีพี ในปี 2552 จากร้อยละ 12.5 ใน

ปี 2551การเกินดุลทุนเคลื่อนย้ายลดลงเกือบครึ่งหนึ่งในปี 2552 เนื่องจากการลดลงอย่างเห็นได้ชัดของ

เงินลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศการที่เงินทุนต่างประเทศไหลเข้าลดลงพร้อมกับการใช้นโยบายการเงิน

ขยายตัวทำให้ทุนสำรองระหว่างประเทศลดลงการที่ธนาคารแห่งชาติลาวให้กู้โดยตรงการแทรกแซงตลาด

เพื่อกำหนดค่าเงินกีบ และเงินลงทุนจากต่างประเทศที่ลดลง ทำให้ทุนสำรองระหว่างประเทศลดลงเกือบ

ร้อยละ 16 เทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน มาอยู่ที่ 583 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในเดือนมิถุนายน 2552

ทุนสำรองระดับนี้สามารถสนับสนุนการนำเข้าได้4.9เดือนแม้ว่าระดับทุนสำรองจะลดลงแต่ก็อยู่ในสภาพ

Page 76: แนวคิดการพัฒนาเศรษฐกิจagri.stou.ac.th/UploadedFile/91721-4.pdf · เค้าโครงเนื้อหา ตอนที่4.1 การ

มสธ มสธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ

4-76 สังคมไทยกับการบริหารการส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร

ที่ค่อนข้างมั่นคงตลอดช่วงสามปีที่ผ่านมา เนื่องจากมูลค่าการนำเข้าลดลงตามไปด้วยค่าเงินกีบเพิ่มขึ้นเล็ก

น้อยประมาณร้อยละ0.5เมื่อเทียบกับเงินดอลลาร์สหรัฐแต่อ่อนค่าลงร้อยละ3.1เมื่อเทียบกันเงินบาทใน

ช่วงหกเดือน(มิถุนายน-พฤศจิกายน2552)

สินเชื่อเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วสินเชื่อเพิ่มขึ้นร้อยละ98ต่อปีซึ่งร้อยละ30มาจากการให้กู้โดยตรง

ของธนาคารแหง่ชาติลาวให้กบัรฐับาลทอ้งถิน่ในโครงการกอ่สรา้งโครงสรา้งพืน้ฐานการเพิม่อยา่งรวดเรว็ของ

สินเชื่อเช่นนี้นับเป็นความพยายามของภาครัฐที่ต้องการจะกระตุ้นเศรษฐกิจในสภาวะวิกฤติทางการเงินโลก

ซึ่งไม่สามารถดำรงอยู่ได้ในระยะปานกลางแม้ว่าความเสี่ยงต่อเสถียรภาพทางเศรษฐกิจมหภาคจะลดลงไป

บ้างจากการที่ฐานของการเพิ่มยังอยู่ในระดับต่ำ(คืออยู่ที่ร้อยละ12ของจีดีพีณสิ้นปี2551)

รัฐบาลตระหนักดีในความเสี่ยงนี้และมุ่งมั่นที่จะควบคุมระดับสินเชื่อให้ขยายตัวในระดับที่เหมาะ

สมในระยะยาว การปฏิรูปกฎระเบียบก้าวหน้าพอสมควร รัฐบาลประกาศเจตนารมณ์ที่จะยึดแนวทางการ

พัฒนาเศรษฐกิจมหภาคแบบยั่งยืน และการทยอยยุติโครงการภาครัฐนอกงบประมาณการปฏิรูปการคลัง

ของประเทศจะครอบคลุมถึงการรวมศูนย์การจัดระเบียบการคลังศุลกากรและภาษีในระดับท้องถิ่นการ

รวมบัญชีงบประมาณของท้องถิ่นเข้ากับของส่วนกลางอยู่ในระหว่างการดำเนินการพร้อมไปกับการปรับปรุง

และประกาศใช้กฎหมายกฤษฎีกาต่างๆรวมถึงกฎหมายภาษีมูลค่าเพิ่มกฎหมายภาษีเงินได้และประกาศ

ฝ่ายบริหารเรื่องสินแร่และค่าภาคหลวงตลอดจนการบริหารราชการพลเรือน รัฐบาลดำเนินการยกเลิกการ

ยกเว้นภาษีนำเข้าสำหรับยานยนต์ให้ความเห็นชอบในประกาศฉบับใหม่ว่าด้วยการให้ใบอนุญาตนำเข้าและ

ส่งออกในกฎหมายว่าด้วยสินแร่และกฎหมายใหม่ว่าด้วยการส่งเสริมการลงทุนอย่างไรก็ตามการประกาศ

ใช้และการบังคับใช้กฎหมายระเบียบเหล่านี้ยังค้างอยู่

3. การพัฒนาเศรษฐกิจของทวีปแอฟริกา

3.1สภาพทั่วไปของทวีปแอฟริกาทวีปแอฟริกาเป็นทวีปที่มีขนาดใหญ่และมีประชากรมาก

เป็นอันดับสองรองจากทวีปเอเชียพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบสูงประกอบด้วยประเทศกำลังพัฒนาและพัฒนา

น้อยที่สุด รวม 53ประเทศ ในปี พ.ศ. 2547มีประชากรรวม 873.74 ล้านคนคิดเป็นร้อยละ 13.5 ของ

ประชากรโลกประเทศที่มีประชากรมากที่สุดคือไนจีเรีย (137.3 ล้านคน) เอธิโอเปีย (67.9 ล้านคน) และ

คองโก (58.3 ล้านคน) อัตราการรู้หนังสือของผู้ที่มีอายุ 15 ปีขึ้นไปในทวีปแอฟริกาโดยเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ

66.2มีความหลากหลายทั้งในเรื่องชนชาติภาษาวัฒนธรรมและระบบการปกครองปัจจุบันมี22ประเทศที่

มีการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอีกทั้งมีปัญหาคอรัปชั่นในหลายประเทศโดยประเทศที่ผลการสำรวจ

พบว่ามีการคอรัปชั่นสูงสุดได้แก่ไนจีเรียรองลงมาคือชาดและโกตดิวัวร์ส่วนประเทศที่มีการคอรัปชั่น

น้อยที่สุดได้แก่บอตสวานาตูนีเซียและแอฟริกาใต้ทวีปแอฟริกาเป็นทวีปที่อุดมไปด้วยทรัพยากรธรรมชาติ

ต่างๆมากมายเช่นน้ำมัน(ร้อยละ8.9ของโลก)ก๊าซธรรมชาติ(ร้อยละ7.8ของโลก)แร่ธาตุต่างๆเช่น

เพชร ทองพลอยต่าง ๆ ทองแดง เหล็ก ยูเรเนี่ยม เป็นต้น รวมถึงสินค้าประมงและผลไม้เขตร้อน โดย

ประเทศที่ครอบครองบ่อน้ำมันและเป็นผู้ผลิตน้ำมันรายใหญ่ของโลกได้แก่ แอลจีเรีย และลิเบีย อย่างไร

ก็ตามประเทศในแอฟริกายังมีการแปรรูปวัตถุดิบที่ตนเองมีอยู่เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มน้อยมาก จึงเป็นเพียง

แหล่งวัตถุดิบให้แก่ประเทศอื่นๆ

Page 77: แนวคิดการพัฒนาเศรษฐกิจagri.stou.ac.th/UploadedFile/91721-4.pdf · เค้าโครงเนื้อหา ตอนที่4.1 การ

มสธ มสธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ

4-77แนวคิดการพัฒนาเศรษฐกิจ

3.2สภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจGDP ของทวีปแอฟริกามีขนาดเล็กมาก เพียงร้อยละ 1.6

ของGDP โลกแต่เศรษฐกิจมีการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง กองทุนการเงินระหว่างประเทศประมาณการการ

ขยายตัวทางเศรษฐกิจของทวีปแอฟริกาในปี2548และ2549ที่ร้อยละ5และ5.4ตามลำดับรายได้เฉลี่ย

ต่อหัวของประชากรในทวีปแอฟริกาในปี2546โดยเฉลี่ยเท่ากับ815เหรียญสหรัฐฯโดยประเทศที่มีรายได้

ต่อหัวสูงสุดได้แก่เซเชลล์มอริเชียสและกาบอง(7,0503,900และ3,120 ดอลลาร์สหรัฐตามลำดับ)ส่วน

ประเทศที่มีรายได้ต่อหัวต่ำสุดได้แก่คองโกบุรุนดีและเอธิโอเปีย(90100และ100ดอลลาร์สหรัฐตาม

ลำดับ) โครงสร้างเศรษฐกิจของทวีปแอฟริกาประกอบด้วย ภาคเกษตรร้อยละ 22.6 ภาคอุตสาหกรรม

ร้อยละ 24.6ภาคบริการร้อยละ 38.7 และเป็นรายจ่ายภาครัฐร้อยละ 14.12 โดยมีแรงงานส่วนใหญ่หรือ

ร้อยละ55.3อยู่ในภาคเกษตรส่วนภาคอุตสาหกรรมและบริการมีสัดส่วนแรงงานร้อยละ18.4และ26.2

ตามลำดับ ภูมิภาคที่มีการพัฒนามากที่สุดจะอยู่ทางตอนเหนือของทวีป เนื่องจากมีพรมแดนติดต่อกับ

ตอนล่างของยุโรปและเอเชีย(ตะวันออกกลาง)

ด้านอัตราเงินเฟ้อ ในช่วงปี 2533-2542 อัตราเงินเฟ้อเฉลี่ยของทวีปแอฟริกามีค่าสูงถึง

ร้อยละ23.3ต่อปีอย่างไรก็ตามเศรษฐกิจแอฟริกาเริ่มมีเสถียรภาพมากขึ้นดังจะเห็นได้จากอัตราเงินเฟ้อ

เฉลี่ยระหว่างปีพ.ศ.2543-2546ที่ลดลงเหลือร้อยละ11.5หลังจากที่ประเทศในทวีปแอฟริกาทยอยได้รับ

เอกราชจากประเทศเจ้าอาณานิคมกิจกรรมต่างๆทางด้านเศรษฐกิจขยายตัวมากขึ้นมีการเปิดความสัมพันธ์

ทั้งกับประเทศภายในและภายนอกทวีปเพื่อขยายการค้าการลงทุนและการพัฒนาโดยการรวมกลุ่มภายใน

ทวปีที่สำคญัไดแ้ก่(1)FrancZone(FZ)ซึง่เปน็การรวมกลุม่ทางเศรษฐกจิของประเทศที่เคยเปน็อาณานคิม

ของฝรั่งเศสโดยใช้เงินฟรังค์ของฝรั่งเศสเป็นสื่อกลางประกอบด้วย16ประเทศ(2)AfricanUnion(AU)

ประกอบด้วยทุกประเทศในทวีปแอฟริกาส่วนการรวมกลุ่มนอกทวีปที่สำคัญได้แก่การเป็นสมาชิกกองทุน

การเงินระหว่างประเทศ(IMF)องค์การการค้าโลก(WTO)การประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการค้าและการ

พัฒนา(UNCTAD)และองค์การพัฒนาอุตสาหกรรมแห่งสหประชาชาติ(UNIDO)

กลา่ว โดย สรปุ จากกรณีศกึษาทัง้3ประเทศกำลงัพฒันาที่กลา่วมาเมือ่เปรยีบเทยีบกบัประเทศพฒันา

จะมีมูลค่าผลิตภัณฑ์ประชาชาติต่อหัวของประเทศน้อยกว่าประเทศที่พัฒนาแล้วนอกจากนี้เมื่อพิจารณาถึง

การพึ่งพาตนเองแล้วประเทศกำลังพัฒนามีการพึ่งพาตนเองน้อยกว่าประเทศพัฒนานั้นหมายถึงว่าประเทศ

กำลังพัฒนายังมีความจำเป็นในการพึ่งพาต่างประเทศเช่นการลงทุนเทคโนโลยีความรู้ความชำนาญเฉพาะ

ด้านรวมทั้งการศึกษาและสาธารณสุขด้วยเมื่อประเทศเหล่านี้มีการพัฒนาเศรษฐกิจที่ดีขึ้นจะลดการพึ่งพา

ต่างชาติและสามารถพึ่งพาตนเองได้ในที่สุด

Page 78: แนวคิดการพัฒนาเศรษฐกิจagri.stou.ac.th/UploadedFile/91721-4.pdf · เค้าโครงเนื้อหา ตอนที่4.1 การ

มสธ มสธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ

4-78 สังคมไทยกับการบริหารการส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร

เรื่อง ที่ 4.3.3 แนว โน้ม การ พัฒนา เศรษฐกิจ ของ โลก

แนวโน้มการพัฒนาเศรษฐกิจของโลกคือทิศทางการดำเนินชีวิตความเป็นอยู่ของผู้คนในสังคมโลก

ตลอดทั้งการดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจในโลกมนุษย์ ทั้งนี้โดยมีนักอนาคตวิทยาชื่อ อัลวิน ทอฟเลอร์

(AlvinTofler)ตั้งข้อสังเกตเปรียบเทียบดังคลื่นทะเลซึ่งมีอยู่ด้วยกัน3ระลอกคลื่น(wave)คลื่นลูกแรก

เรียกว่า เศรษฐกิจการเกษตรแบบชนบทเป็นหลัก (สังคมเกษตร) ซึ่งมนุษย์ผลิตปัจจัย 4 จากคลื่นลูกนี้

(ปัจจัย4ได้แก่อาหารเครื่องนุ่งห่มยารักษาโรคและที่อยู่อาศัย)เมื่อมีความเป็นบ้านเมืองและสังคมแล้ว

คลื่นลูกที่2ถัดมาคือเศรษฐกิจอุตสาหกรรมและพาณิชยกรรม(การผลิตและการตลาด)ทำให้มนุษย์ผลิต

สินค้าเหลือกินเหลือใช้เป็นแรงจูงใจให้เกิดการค้าขายไปทั่วโลกส่วนคลื่นลูกที่3ประมาณหลังสงครามโลก

ครั้งที่2พัฒนามาเป็นการบริการและเศรษฐกิจสร้างสรรค์อาศัยเทคโนโลยีและการบริหารสิ่งแวดล้อมเพื่อ

ให้เกิดการเจริญเติบโตอย่างยั่งยืน

เศรษฐกิจ โลก และ ทิศทาง ใน ทวีป ต่าง ๆ ที่ สำคัญสามารถแบ่งออกได้เป็น5กลุ่มหลักดังนี้

1. อเมริกาและยุโรป เคยเป็นหัวรถจักรทางเศรษฐกิจโลก จนกระทั่งเกิดวิกฤติแฮมเบเกอร์ใน

อเมริกาส่วนในทวีปยุโรปเองก็มีปัญหา เช่นประเทศแถบเมดิเตอร์เรเนียน เช่นกรีซอิตาลีและสเปนซึ่ง

ผู้คนมีนิสัยสบายๆทั้งรัฐบาลและพลเมืองของเขาทำให้เกิดการก่อหนี้ในภาครัฐจนรายได้ไม่เพียงพอที่จะ

สามารถส่งดอกเบี้ยได้ กลายเป็นเหตุการณ์ก่อจลาจลวุ่นวาย ใกล้ล้มละลายในระดับต่าง ๆ และเนื่องจาก

ประเทศยุโรปที่สำคัญรวมตัวกันเป็นประชาคมและใช้เงินตราร่วมกัน(เงินสกุลยูโร)จึงมีทิศทางว่าจะฉุดดึง

ให้ซบเซาทั้งทวีปตามสหรัฐอเมริกาไปด้วย

Page 79: แนวคิดการพัฒนาเศรษฐกิจagri.stou.ac.th/UploadedFile/91721-4.pdf · เค้าโครงเนื้อหา ตอนที่4.1 การ

มสธ มสธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ

4-79แนวคิดการพัฒนาเศรษฐกิจ

ภาพ ที่ 4.1 กลุ่ม ทวีป อเมริกา

Page 80: แนวคิดการพัฒนาเศรษฐกิจagri.stou.ac.th/UploadedFile/91721-4.pdf · เค้าโครงเนื้อหา ตอนที่4.1 การ

มสธ มสธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ

4-80 สังคมไทยกับการบริหารการส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร

2. กลุม่ประเทศอเมรกิาใต้มีประเทศผูน้ำเศรษฐกจิคอืประเทศบราซลิซึง่มีพืน้ที่ขนาดใหญ่สามารถ

ผลิตพืชผลที่เป็นอาหารและพลังงานเลี้ยงชาวโลก(โดยเฉพาะเมล็ดกาแฟ)ได้บ้างเมื่อรวมทั้งอาเจนติน่าและ

เมก็ซโิกก็จะมีพลงัขบัเคลือ่นเศรษฐกจิที่ดีแต่ก็พอเพยีงชว่ยตวัเองได้เทา่นัน้จากการที่เคยเปน็เศรษฐกจิซบเซา

อยู่หลายทศวรรษ

ภาพ ที่ 4.2 กลุ่ม ประเทศ อเมริกาใต้

Page 81: แนวคิดการพัฒนาเศรษฐกิจagri.stou.ac.th/UploadedFile/91721-4.pdf · เค้าโครงเนื้อหา ตอนที่4.1 การ

มสธ มสธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ

4-81แนวคิดการพัฒนาเศรษฐกิจ

3. ประเทศในแอฟรกิาทัว่โลกเริม่ให้ความสนใจเพราะยงัมีวตัถดุบิและทีด่นิมหาศาลเปน็ที่ตอ้งการ

ของตลาดโลกและประเทศผู้ผลิตรายใหญ่ มีลูกค้าเก่าคือแถบยุโรป ส่วนลูกค้าใหม่ที่สำคัญคือ จีน จึงมี

แนวโน้มว่าจะมีทิศทางการพัฒนาเศรษฐกิจที่สดใสด้านวัตถุดิบแร่ธาตุและที่ดินถ้าสามารถบริหารจัดการ

การคอรัปชั่นและการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ระหว่างเผ่าต่างๆได้ลงตัว

ภาพ ที่ 4.3 กลุ่ม ประเทศ ใน ทวีป แอฟริกา

Page 82: แนวคิดการพัฒนาเศรษฐกิจagri.stou.ac.th/UploadedFile/91721-4.pdf · เค้าโครงเนื้อหา ตอนที่4.1 การ

มสธ มสธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ

4-82 สังคมไทยกับการบริหารการส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร

4. ประเทศในกลุ่มอาหรับในแถบตะวันออกกลางและแอฟริกาเหนือมีปรากฏการณ์ทางการเมือง

ที่มีทิศทางการพัฒนาที่อาจนำมาสู่การพัฒนาเศรษฐกิจได้ เรียกปรากฏการณ์นี้ว่า “ฤดูใบไม้ผลิ” (Arab

Spring)นั่นคือมีการตื่นตัวเรียกร้องประชาธิปไตยของประชาชนจากผู้นำที่เป็นเผด็จการมีพฤติกรรมกดขี่

และคอรัปชั่นทำให้ประเทศในกลุ่มอาหรับเป็นประชาธิปไตยมีรัฐบาลปกครองทำให้ลดการกดขี่ลงในหลาย

ประเทศและนำประเทศเข้าสู่การขับเคลื่อนด้านการพัฒนาเศรษฐกิจโลกด้านพลังงานซึ่งก็คือน้ำมันนั่นเอง

ภาพ ที่ 4.4 ประเทศ ใน กลุ่ม อาหรับ

Page 83: แนวคิดการพัฒนาเศรษฐกิจagri.stou.ac.th/UploadedFile/91721-4.pdf · เค้าโครงเนื้อหา ตอนที่4.1 การ

มสธ มสธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ

4-83แนวคิดการพัฒนาเศรษฐกิจ

5. ประเทศเศรษฐกิจหลักในเอเชีย ขณะนี้คาดหวังว่าจะเป็นหัวรถจักรทางเศรษฐกิจใหม่ ในการ

กระตุ้นการเติบโตของเศรษฐกิจโลก มี 4 กลุ่มหลัก ได้แก่ จีน อินเดีย รัสเซีย และประชาคมเศรษฐกิจ

อาเซียน

ภาพ ที่ 4.5 ประเทศ ใน เอเชีย

แนว โน้ม การ พัฒนา เศรษฐกิจ โลกในอนาคตการพัฒนาเศรษฐกิจโลกมีแนวโน้มที่ให้ความสำคัญกับ 4 กลุ่มประเทศหลักในอเมริกา

ทวีปยุโรปเอเชียและอเมริกาใต้สามารถอธิบายได้4กลุ่มหลักดังนี้

1. กลุ่มประเทศBRICเป็นตัวย่อของประเทศเศรษฐกิจพัฒนาที่มีศักยภาพในการพัฒนาเศรษฐกิจ

มากได้แก่BrazilRussiaIndiaและChinaซึ่งจะเห็นได้ว่า3ใน4ประเทศนั้นอยู่ในเอเชียมีพลเมือง

และปริมาณพื้นที่รวมกันมากพอที่จะฉุดเศรษฐกิจโลกที่ซบเซาให้มีแนวโน้มตื่นตัวขึ้นได้อย่างสำคัญโดย

นักเศรษฐศาสตร์ชั้นนำกำหนดให้รัสเซียเป็นผู้นำด้านการผลิตพลังงานและเทคโนโลยีทางเลือกอินเดียเป็น

ผู้นำการผลิตด้านบริการผ่านระบบโทรคมนาคมและเทคโนโลยีซอฟแวร์ ส่วนจีนเป็นผู้นำการผลิตสินค้า

บริโภคและอุปโภค รวมทั้งครุภัณฑ์สำคัญของโลกในระดับครัวเรือน แต่ก็มีปัญหาอยู่บ้างคือ รัสเซียอาจมี

ปัญหาที่กำลังเปลี่ยนผู้นำและรัฐบาลตลอดทั้งบทบาทการเป็นประเทศสมาชิกในองค์การการค้าโลก(World

TradeOrganization:WTO)อันจะกระทบต่อนโยบายเศรษฐกิจโลกด้วยส่วนอินเดียมีปัญหาความยากจน

ภายในและสมรรถภาพราชการและจนีมีปญัหาเรือ่งตลาดสง่ออกซบเซามีระบบเศรษฐกจิที่แพงเกนิไปสำหรบั

พลเมืองส่วนใหญ่ของตน

Page 84: แนวคิดการพัฒนาเศรษฐกิจagri.stou.ac.th/UploadedFile/91721-4.pdf · เค้าโครงเนื้อหา ตอนที่4.1 การ

มสธ มสธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ

4-84 สังคมไทยกับการบริหารการส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร

ภาพ ที่ 4.6 กลุ่ม ประเทศ BRIC

2. ASEANPlusประมาณปีพ.ศ.2558ประเทศอาเซียนจะกลายเป็นเศรษฐกิจที่สำคัญไม่น้อย

กว่าBRICมีการผนวกประเทศนอกกลุ่มสำคัญเช่นออสเตรเลียและเอเชียอื่นๆ (จีนญี่ปุ่นเกาหลี)จนเป็นที่

คาดหวังได้ว่าจะเป็นกลุ่มประเทศเศรษฐกิจที่มีบทบาทสำคัญของประชาคมเศรษฐกิจโลกร่วมกับBRICได้

ภาพ ที่ 4.7 กลุ่ม ประเทศ ASEAN Plus

3. ทวีปเอเชียใต้ประกอบด้วยประเทศขนาดใหญ่และมีศักยภาพไม่น้อยนอกจากอินเดียแล้วยังม ี

อัฟกานิสถานซึ่งเป็นประเทศที่มีทรัพยากรธรรมชาติและแร่ธาตุที่หายากนอกจากนี้แล้วประเทศปากีสถาน

ยังเป็นประเทศที่มีความชำนาญในด้านเทคโนโลยีนิวเคลียร์ และประเทศบังกลาเทศมีศักยภาพทางด้าน

การบริหารภาคประชาสังคมประเทศเหล่านี้มีสินทรัพย์จำนวนมากและจำนวนพลเมืองของประเทศเหล่านี้

มีคุณภาพและพื้นฐานการศึกษาที่ดีจนสามารถกล่าวได้ว่ากลุ่มประเทศเหล่านี้อาจกลายเป็นตลาดเสรีขนาด

ใหญ่ทดแทนตลาดส่งออกเดิมของไทยได้

4. กลุ่มประเทศเสือแห่งเอเชีย(OldTigers)อันได้แก่ญี่ปุ่นเกาหลีใต้ไต้หวันและฮ่องกงเป็น

ตัวแบบของประเทศที่มีความสำเร็จในการพัฒนาอย่างรวดเร็วและมีวินัยย่านเอเชียคุณสมบัติที่โดดเด่นของ

พลเมืองของประเทศกลุ่มนี้ คือ ใฝ่รู้ ขยันทำงานอย่างมีวินัย เก็บหอมรอมริบด้วยความประหยัดพอเพียง

Page 85: แนวคิดการพัฒนาเศรษฐกิจagri.stou.ac.th/UploadedFile/91721-4.pdf · เค้าโครงเนื้อหา ตอนที่4.1 การ

มสธ มสธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ

4-85แนวคิดการพัฒนาเศรษฐกิจ

และรักพวกพ้องและครอบครัว เป็นค่านิยมที่ฝรั่งเรียกว่า confucianismซึ่งเป็นอิทธิพลมาจากลัทธิขงจื้อ

นั่นเองเมื่อบุคคลเหล่านี้สามารถดำเนินธุรกิจของตนเองจนสามารถตั้งตัวได้จะพัฒนาเป็นเจ้าของธุรกิจอย่าง

รวดเร็วและนำหน้าใครยกตัวอย่างคือประเทศสิงคโปร์

ภาพ ที่ 4.8 กลุ่ม ประเทศ เสือ แห่ง เอเชีย

หลัง จาก ศึกษา เนื้อหา สาระ ตอน ที่ 4.3 แล้ว โปรด ปฏิบัติ กิจกรรม 4.3

ใน แนว การ ศึกษา หน่วย ที่ 4 ตอน ที่ 4.3

Page 86: แนวคิดการพัฒนาเศรษฐกิจagri.stou.ac.th/UploadedFile/91721-4.pdf · เค้าโครงเนื้อหา ตอนที่4.1 การ

มสธ มสธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ

4-86 สังคมไทยกับการบริหารการส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร

บรรณานุกรม

ดารารัตน์ อานันทนะสุรวงค์. (2543). “หน่วยที่ 2 ทฤษฎีการพัฒนาเศรษฐกิจ I.” ในประมวลสาระชุดวิชา

เศรษฐศาสตร์การพัฒนา.บัณฑิตศึกษา.สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์.มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

(2543). “หน่วยที่ 3 ทฤษฎีการพัฒนาเศรษฐกิจ II.” ในประมวลสาระชุดวิชาเศรษฐศาสตร์การพัฒนา.

บัณฑิตศึกษาสาขาวิชาเศรษฐศาสตร์.มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ดำรงค์ ฐานดี. (2548). “หน่วยที่ 9 ยุทธศาสตร์การพัฒนาของสาธารณรัฐเกาหลี.” ใน ประมวลสาระชุดวิชา

กระบวนการพัฒนาและทางเลือกสาธารณะ.บัณฑิตวิทยาลัย. สาขาวิชารัฐศาสตร์. มหาวิทยาลัยสุโขทัย

ธรรมาธิราช.กรุงเทพมหานคร:สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ประสิทธิ์ตงยิ่งศิริ.(2529).“หน่วยที่1หลักและแนวคิดเกี่ยวกับการพัฒนาเศรษฐกิจ.”ในเอกสารการสอนชุดวิชา

ทฤษฎีและนโยบายการพัฒนาเศรษฐกิจ.สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์.มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

(2529).“หน่วยที่3บทบาทของรัฐในการพัฒนาเศรษฐกิจ”ในเอกสารการสอนชุดวิชาทฤษฎีและนโยบาย

การพัฒนาเศรษฐกิจ.สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์.มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช.(2541).พระราชดำรัสพระราชทานเมื่อวันที่4ธันวาคม2540คู่มือ

การดำเนินชีวิตสำหรับประชาชนปี 2541 และทฤษฎีใหม่.จัดพิมพ์โดยสำนักงานจัดการทรัพย์สินส่วน

พระองค์. สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์. บริษัทมงคลชัยพัฒนา บริษัทบางจากปิโตรเลี่ยม

จำกัด(มหาชน).

วรวุฒิหิรัญรักษ์ (2529). “หน่วยที่2ปัจจัยที่มีอิธิพลต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ.”ใน เอกสารการสอนชุดวิชาทฤษฎี

และนโยบายการพัฒนาเศรษฐกิจ.สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์.มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ศิริพร สัจจานันท์. (2543). “หน่วยที่ 1 แนวคิดเกี่ยวกับเศรษฐศาสตร์การพัฒนา.” ในประมวลสาระชุดวิชา

เศรษฐศาสตร์การพัฒนา.บัณฑิตศึกษา.สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์.มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

สาธารณรัฐเกาหลี. ชื่อประเทศเกาหลีอย่างเป็นทางการ. วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี. ค้นคืนวันที่ 22 ธันวาคม 2555.

จากwww.wikipedia.com

สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาแห่งประเทศไทย.(2542).ตัวชี้วัดธรรมาภิบาล.

สำนกังานคณะกรรมการพฒันาการเศรษฐกจิและสงัคมแหง่ชาต.ิสำนกันายกรฐัมนตร.ี(2535).แผนพฒันาเศรษฐกจิ

และสังคมแห่งชาติฉบับที่7.

(2540). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่8.

(2545). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่9.

(2550). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่10.

(2555). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่11.

อาคมเติมพิทยาไพสิฐและวิโรจน์นรารักษ์.(2543).“หน่วยที่12บทบาทของรัฐและการวางแผนพัฒนาเศรษฐกิจ.”

ในประมวลสาระชุดวิชาเศรษฐศาสตร์การพัฒนา.บัณฑิตศึกษา. สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์. มหาวิทยาลัย

สุโขทัยธรรมาธิราช.

Page 87: แนวคิดการพัฒนาเศรษฐกิจagri.stou.ac.th/UploadedFile/91721-4.pdf · เค้าโครงเนื้อหา ตอนที่4.1 การ

มสธ มสธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ

4-87แนวคิดการพัฒนาเศรษฐกิจ

อนชุาภรูิพนัธุ์ภญิโญ.(2551).“หนว่ยที่13เศรษฐกจิการเกษตร.”ในประมวลสาระชดุวชิาการเกษตรเพือ่การจดัการ

ทรัพยากร.บัณฑิตศึกษา.สาขาวิชาส่งเสริมการเกษตรและสหกรณ์.มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

(2553). “หน่วยที่2แนวคิดการพัฒนาเศรษฐกิจกับการสหกรณ์.”ในเอกสารการสอนชุดวิชาสหกรณ์กับ

การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม.สาขาวิชาส่งเสริมการเกษตรและสหกรณ์.มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

(2554).“หน่วยที่12นโยบายราคาของรัฐ.”ใน เอกสารการสอนชุดวิชาเศรษฐศาสตร์เพื่อการบริหารธุรกิจ

สหกรณ์.สาขาวิชาส่งเสริมการเกษตรและสหกรณ์.มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

CommissionoftheEuropeanCommittee.(1992).TowardSustainability:AEuropeanCommunity

Programme of Policy and Action in Relation to the Environment and Sustainable

Development.Volume1.ProposalforaResolutionoftheCouncilofEuropeanCommunity,

Brusels.

Ekins,P(1994).TheEnvironmentSustainabilityofEconomicsProcesses:AFrameworkforAnalysis.

InternationalSocietyforEcologicalEconomics.IslandPress.

Hirschman,AlbertO. (1958).The Strategy of EconomicDevelopment. NewHaven, CT: Yale

UniversityPress.

Page 88: แนวคิดการพัฒนาเศรษฐกิจagri.stou.ac.th/UploadedFile/91721-4.pdf · เค้าโครงเนื้อหา ตอนที่4.1 การ