58
มสธ มสธ มสธ มสธ มสธ มสธ มสธ มสธ มสธ มสธ 5-1 หน่วยที5 การส่งเสริมการเกษตรในประเทศไทย อาจารย์สุรพล จารุพงศ์ ชื่อ อาจารย์สุรพล จารุพงศ์ วุฒิ วท.บ., วท.ม. (เกษตรศาสตร์) มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ตำแหน่ง รองอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร หน่วยที่เขียน หน่วยที ่5

การส่งเสริม การเกษตร ในประเทศไทยagri.stou.ac.th/UploadedFile/91720-5.pdf5.1.2 สถานการณ์การส่งเสริม

  • Upload
    others

  • View
    5

  • Download
    0

Embed Size (px)

Citation preview

Page 1: การส่งเสริม การเกษตร ในประเทศไทยagri.stou.ac.th/UploadedFile/91720-5.pdf5.1.2 สถานการณ์การส่งเสริม

มสธ มสธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ

5-1การส่งเสริมการเกษตรในประเทศไทย

หน่วย ที่ 5การ ส่ง เสริม การเกษตร ใน ประเทศไทย

อาจารย์ สุร พล จารุ พงศ์

ชื่อ อาจารย์สุรพลจารุพงศ์

วุฒิ วท.บ.,วท.ม.(เกษตรศาสตร์)มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

ตำแหน่ง รองอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร

หน่วย ที่ เขียน หน่วยที่5

Page 2: การส่งเสริม การเกษตร ในประเทศไทยagri.stou.ac.th/UploadedFile/91720-5.pdf5.1.2 สถานการณ์การส่งเสริม

มสธ มสธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ

5-2 การส่งเสริมการเกษตรเพื่อการพัฒนา

หน่วย ที่ 5

การ ส่ง เสริม การเกษตร ใน ประเทศไทย

เค้าโครง เนื้อหาตอนที่5.1 การเปลี่ยนแปลงการส่งเสริมการเกษตร

5.1.1สถานการณ์การส่งเสริมการเกษตรที่ผ่านมา

5.1.2สถานการณ์การส่งเสริมการเกษตรในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม

แห่งชาติฉบับที่10

5.1.3ทิศทางการส่งเสริมการเกษตรในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

ฉบับที่11

ตอนที่5.2 โครงสร้างและกลยุทธ์ในการส่งเสริมการเกษตร

5.2.1โครงสร้างระบบการส่งเสริมการเกษตร

5.2.2กลยุทธ์ในการบริหารงานส่งเสริมการเกษตร

ตอนที่5.3 แนวทางและกลไกในการส่งเสริมการเกษตร

5.3.1แนวทางการส่งเสริมการเกษตร

5.3.2กลไกในการส่งเสริมการเกษตร

แนวคิด1. การส่งเสริมการเกษตรมีการเปลี่ยนแปลงกระบวนทัศน์และพัฒนางานส่งเสริมการเกษตร

ให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ที่เกิดขึ้นแต่ละยุคสมัย จากการดำเนินงานที่

กำหนดโดยระดับบริหาร ปรับเปลี่ยนไปสู่ระบบการวางแผนจากล่างขึ้นบน และการ

ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของเกษตรกร ทิศทางการส่งเสริมการเกษตรยึดหลักปรัชญา

เศรษฐกิจพอเพียงการพัฒนาบนฐานความรู้ ข้อมูลสารสนเทศและเทคโนโลยีการสร้าง

เครือข่ายและการพัฒนาแบบองค์รวม

2. โครงสร้างระบบส่งเสริมการเกษตรประกอบด้วย2ระบบคือระบบปฏิบัติงานในพื้นที่

และระบบสนับสนุนการปฏิบัติงานในพื้นที่ ในขณะที่งานส่งเสริมการเกษตรจำเป็นต้องมี

กลยุทธ์ใหม่ๆ ให้ทันและสอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วของเศรษฐกิจ สังคม

และวัฒนธรรม ซึ่งส่งผลกระทบต่อเกษตรกร กลยุทธ์การบูรณาการการทำงานโดยใช้

กลไกของคณะทำงานซึ่งมีผู้แทนจากหน่วยงานต่างๆ เข้าร่วมและเชื่อมโยงกันทุกระดับ

การสร้างและพัฒนาเครือข่ายการผลิตการตลาดสินค้าเกษตรการส่งเสริมการเกษตรตาม

Page 3: การส่งเสริม การเกษตร ในประเทศไทยagri.stou.ac.th/UploadedFile/91720-5.pdf5.1.2 สถานการณ์การส่งเสริม

มสธ มสธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ

5-3การส่งเสริมการเกษตรในประเทศไทย

ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง การบริหารจัดการสินค้าเกษตรระบบการผลิตการตลาด

แบบข้อตกลงการเข้ามามีส่วนร่วมของชุมชนและการพัฒนาระบบข้อมูลและเทคโนโลยี

สารสนเทศเป็นกลยุทธ์ที่นำมาใช้

3. แนวทางและกลไกในการส่งเสริมการเกษตรในอนาคตต้องเปลี่ยนแปลงไปให้สอดคล้อง

กับสถานการณ์สังคมที่เปลี่ยนแปลงไป ซึ่งแนวทางส่งเสริมการเกษตรที่สามารถนำมา

ประยุกต์ใช้มี6แนวทางคือการพัฒนาการเกษตรแบบยั่งยืนการส่งเสริมการเกษตรแบบ

มีส่วนร่วม การส่งเสริมการเกษตรโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศการส่งเสริมการเกษตร

แบบบูรณาการการส่งเสริมการพัฒนาระบบฟาร์มและการส่งเสริมการเกษตรที่เน้นการ

ตลาดนำการผลติสว่นกลไกในการสง่เสรมิการเกษตรประกอบดว้ย4กลไกคอื(1)ศนูย์

บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบล (2) องค์กรเกษตรกร วิสาหกิจ

ชุมชนและเครือข่าย(3)เกษตรหมู่บ้านและอาสาสมัครเกษตรและ(4)SmartFarmer

เพื่อให้การส่งเสริมการเกษตรเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ

วัตถุประสงค์เมื่อศึกษาหน่วยที่5จบแล้วนักศึกษาสามารถ

1.อธิบายการเปลี่ยนแปลงการส่งเสริมการเกษตรแต่ละยุคสมัยได้

2.อธิบายกลยุทธ์ในการส่งเสริมการเกษตรได้

3.อธิบายแนวทางและกลไกในการขับเคลื่อนงานส่งเสริมการเกษตรได้

Page 4: การส่งเสริม การเกษตร ในประเทศไทยagri.stou.ac.th/UploadedFile/91720-5.pdf5.1.2 สถานการณ์การส่งเสริม

มสธ มสธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ

5-4 การส่งเสริมการเกษตรเพื่อการพัฒนา

ตอน ที่ 5.1

การ เปลี่ยนแปลง การ ส่ง เสริม การเกษตร

โปรดอ่านแผนการสอนประจำตอนที่5.1แล้วจึงศึกษาเนื้อหาสาระพร้อมปฏิบัติกิจกรรมในแต่ละตอน

หัว เรื่องเรื่องที่5.1.1สถานการณ์การส่งเสริมการเกษตรที่ผ่านมา

เรื่องที่5.1.2สถานการณ์การส่งเสริมการเกษตรในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม

แห่งชาติฉบับที่10

เรื่องที่5.1.3 ทิศทางการส่งเสริมการเกษตรในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

ฉบับที่11

แนวคิด1. การส่งเสริมการเกษตรมีการปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์และพัฒนางานส่งเสริมการเกษตร

ให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงต่างๆที่เกิดขึ้น ในระยะแรกมีการดำเนินงานส่งเสริม

การเกษตรตามแผนงานที่ได้กำหนดไว้แล้วในระดับบริหารและระยะต่อมาเน้นการพัฒนา

ตัวเกษตรกร โดยส่งเสริมการมีส่วนร่วมของเกษตรกรในการพัฒนาการเกษตร และ

ปรับปรุงระบบการวางแผนงานจากล่างขึ้นบน

2. การส่งเสริมการเกษตรในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่10ยึดหลัก

ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเป็นพื้นฐานในการดำเนินงานทุกระดับ เน้นการพัฒนาบน

ฐานความรู้การสร้างเครือข่ายและการบูรณาการการทำงานของทุกภาคส่วน

3. ทิศทางการส่งเสริมการเกษตรในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่11

เน้นการเตรียมความพร้อมของเกษตรกรและบุคลากรด้านการเกษตรให้สามารถปรับตัว

เพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงต่างๆ โดยดำเนินงานตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจ

พอเพียงการพัฒนาข้อมูลสารสนเทศและเทคโนโลยีและมุ่งการพัฒนาแบบองค์รวมเพื่อ

ความสมดุลและยั่งยืน

Page 5: การส่งเสริม การเกษตร ในประเทศไทยagri.stou.ac.th/UploadedFile/91720-5.pdf5.1.2 สถานการณ์การส่งเสริม

มสธ มสธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ

5-5การส่งเสริมการเกษตรในประเทศไทย

วัตถุประสงค์เมื่อศึกษาตอนที่5.1จบแล้วนักศึกษาสามารถ

1. อธิบายและวิเคราะห์การปรับเปลี่ยนการดำเนินงานส่งเสริมการเกษตรที่ผ่านมาจนถึงแผน

พัฒนาฯฉบับที่9ได้

2. อธิบายและวิเคราะห์การดำเนินงานส่งเสริมการเกษตรในช่วงแผนพัฒนาฯฉบับที่10ได้

3. อธิบายและวิเคราะห์ทิศทางในการดำเนินงานส่งเสริมการเกษตรได้

Page 6: การส่งเสริม การเกษตร ในประเทศไทยagri.stou.ac.th/UploadedFile/91720-5.pdf5.1.2 สถานการณ์การส่งเสริม

มสธ มสธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ

5-6 การส่งเสริมการเกษตรเพื่อการพัฒนา

เรื่อง ที่ 5.1.1 สถานการณ์ การ ส่ง เสริม การเกษตร ที่ ผ่าน มา

สถานการณ์ การ ส่ง เสริม การเกษตร ใน ภาพ รวมการส่งเสริมการเกษตรมีการพัฒนาเปลี่ยนแปลงไปตามเวลา ระบบการส่งเสริมการเกษตรที่มีอยู่

หลากหลายในแต่ละแห่งเป็นสิ่งสะท้อนให้เห็นถึงความหลากหลายของวัตถุประสงค์ของระบบที่อยู่ในสภาพ

แวดล้อมต่างกัน แต่บทบาทการส่งเสริมการเกษตรในการพัฒนาที่แท้จริง คือการส่งเสริมและกระตุ้นการ

เรียนรู้ที่จำเป็นเพื่อการเลี้ยงชีพตนเองและผู้อื่น

แนวทางปฏิบัติ(approach)การส่งเสริมการเกษตรในช่วงแรกเริ่มเป็นรูปแบบการถ่ายทอดความรู้

หรอืวทิยาการ(innovation)ที่มีการอำนวยการจากเบือ้งบนของโครงสรา้งการจดัการวา่ทศิทางการสง่เสรมินัน้

ควรมุง่สู่เรือ่งหรอืเปน็สาระใดเปน็การถา่ยทอดความรู้จากงานวจิยัเขา้สู่ชมุชนที่มีการกำหนดทศิทางไว้ชดัเจน

จากแผนชี้นำในระดับบริหาร (directiveapproach) ในระยะต่อมาแนวทางปฏิบัติการส่งเสริมการเกษตร

ได้เปลี่ยนจากการเน้นปัจจัยหรือทรัพยากรนำเข้าสู่ชุมชน เป็นการมุ่งสู่การมีส่วนร่วมของประชาชนในการ

พัฒนาเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้รับบริการหรือเกษตรกร(responsiveapproach)แต่การส่งเสริม

ตามแนวทางนี้ บทบาทของเกษตรกรเป็นเพียงผู้ระบุปัญหาและตั้งคำถาม โดยที่นักส่งเสริมการเกษตรเป็น

ผู้หาคำตอบและแนวทางแก้ไขปัญหาเกษตรกรยังต้องพึ่งพานักส่งเสริมการเกษตรทั้งยังทำให้แบบแผนการ

เรียนรู้และการแก้ปัญหาแบบดั้งเดิมที่ได้รับถ่ายทอดมาในชุมชนด้อยคุณค่าและกระจัดกระจายไปแนวทาง

ปฏิบัติการส่งเสริมการเกษตรจึงมีการเปลี่ยนแปลงโดยส่งเสริมการเรียนรู้ของชุมชนนักส่งเสริมการเกษตร

ลดบทบาทการเป็นผู้ชำนาญการและมุ่งทำงานร่วมกับชุมชนแบบปฏิสัมพันธ์ (interactive approach) ใน

ระยะยาวช่วยเกื้อกูลให้ชุมชนมีความเข้มแข็งในการสร้างองค์ความรู้โดยการตั้งคำถามวิเคราะห์ปัญหาและ

ทดสอบทางแก้ไขปัญหาของชุมชนด้วยตนเอง(วีรศักดิ์ปรกติม.ป.ป.:1-11)

การส่งเสริมการเกษตรในประเทศไทยที่ผ่านมามีการปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์และการพัฒนางาน

ส่งเสริมการเกษตรให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงต่างๆที่เกิดขึ้นในแต่ละยุคสมัยโดยยึดการปรับเปลี่ยน

และพัฒนาที่เป็นไปในทิศทางเดียวกับการพัฒนาการเกษตรภายใต้แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

การ เปลี่ยนแปลง การ ส่ง เสริม การเกษตร ใน ช่วง แผน พัฒนา เศรษฐกิจ และ สังคม แห่ง ชาติ ฉบับ ที่

1-9 (พ.ศ. 2504-2549) 1. ช่วง แผน พัฒนา เศรษฐกิจ และ สังคม แห่ง ชาติ ฉบับ ที่ 1 (พ.ศ. 2504-2509) เป็นช่วงก่อนจัด

ระบบงานส่งเสริมการเกษตรการดำเนินงานส่งเสริมการเกษตรมีเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรเป็นผู้ชี้นำและ

กำหนดแนวทางให้เกษตรกรปฏิบัติตามตามโครงการที่ได้วางแผนกำหนดไว้แล้วในระดับบริหาร(top-down

approach)

Page 7: การส่งเสริม การเกษตร ในประเทศไทยagri.stou.ac.th/UploadedFile/91720-5.pdf5.1.2 สถานการณ์การส่งเสริม

มสธ มสธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ

5-7การส่งเสริมการเกษตรในประเทศไทย

2. ชว่ง แผน พฒันา เศรษฐกจิ และ สงัคม แหง่ ชาต ิฉบบั ที ่2-3 (พ.ศ. 2510-2519)เปน็ชว่งของการพฒันา

ระบบงานส่งเสริมการเกษตรในระยะที่1มีการจัดตั้งกรมส่งเสริมการเกษตรเมื่อวันที่21ตุลาคมพ.ศ.2510

การดำเนินงานส่งเสริมการเกษตรใช้ระบบเยี่ยมเยียนให้คำแนะนำเน้นการส่งเสริมรายบุคคลและช่วยแก้ไข

ปัญหาแก่เกษตรกรเป็นส่วนใหญ่

3. ชว่ง แผน พฒันา เศรษฐกจิ และ สงัคม แหง่ ชาต ิฉบบั ที ่4-5 (พ.ศ. 2520-2529)เปน็ชว่งของการพฒันา

ระบบงานส่งเสริมการเกษตรในระยะที่2การดำเนินงานส่งเสริมการเกษตรใช้ระบบฝึกอบรมและเยี่ยมเยียน

(trainingandvisitingsystem)ครอบคลุมทุกจังหวัดทั่วประเทศแต่ลักษณะการดำเนินงานยังเป็นการ

บริหารงานแบบรวมศูนย์ การวางแผนงานโครงการถูกกำหนดจากส่วนกลางมิได้วางแผนการผลิตร่วมกับ

เกษตรกร

4. ชว่ง แผน พฒันา เศรษฐกจิ และ สงัคม แหง่ ชาต ิฉบบั ที ่6 (พ.ศ. 2530-2534)เป็นช่วงของการพัฒนา

ระบบงานส่งเสริมการเกษตรในระยะที่ 3 การดำเนินงานส่งเสริมการเกษตรยึดหลักการกระจายอำนาจจาก

ส่วนกลางไปสู่ภูมิภาค การปรับปรุงระบบการวางแผนจากข้างล่างขึ้นมาข้างบน (bottom-up approach)

พร้อมๆ กับการพัฒนากระบวนการกลุ่ม การปรับโครงสร้างการผลิตให้สอดคล้องกับเกษตรกร พื้นที่

ทรัพยากรที่มีอยู่และความต้องการของตลาด

5. ชว่ง แผน พฒันา เศรษฐกจิ และ สงัคม แหง่ ชาต ิฉบบั ที ่7 (พ.ศ. 2535-2539)เป็นช่วงของการพัฒนา

ระบบงานส่งเสริมการเกษตรในระยะที่ 4 การดำเนินงานส่งเสริมการเกษตรเน้นการจัดทำแผนการผลิตใน

ระดับไร่นาของเกษตรกร และปรับเปลี่ยนการปลูกพืชที่มีปัญหาในด้านราคาไปสู่การเกษตรอย่างอื่นที่ให้

ผลตอบแทนสงูกวา่เหมาะสมกบัศกัยภาพของพืน้ที่และภาวะตลาดซึง่เจา้หนา้ที่สง่เสรมิการเกษตรทำงานรว่ม

กับเกษตรกรในฐานะพี่เลี้ยง ให้ข่าวสารความรู้ ข้อมูลทางเลือกด้านต่างๆ เพื่อประกอบการตัดสินใจของ

เกษตรกร

6. ชว่ง แผน พฒันา เศรษฐกจิ และ สงัคม แหง่ ชาต ิฉบบั ที ่8 (พ.ศ. 2540-2544)การดำเนินงานส่งเสริม

การเกษตรเนน้การพฒันา4ดา้นคอืการพฒันาขดีความสามารถในการแขง่ขนัการอนรุกัษ์ทรพัยากรธรรมชาติ

และการพัฒนาอย่างยั่งยืน การพัฒนาเกษตรกรและองค์การเกษตรกร การพัฒนาการบริหารงานส่งเสริม

การเกษตร

ในช่วงนี้ ระบบส่งเสริมการเกษตรประกอบด้วย 4 ระบบหลัก คือ ระบบการปฏิบัติงานส่งเสริม

การเกษตรระดับอำเภอ ระบบการถ่ายทอดเทคโนโลยี ระบบการประสานงาน และระบบติดตามนิเทศและ

ประเมินผลรวมทั้งมีระบบสนับสนุนการปฏิบัติงานได้แก่การจัดการข้อมูลและเทคโนโลยีสารสนเทศการ

วางแผนพัฒนาการเกษตรโครงการและงบประมาณและการดำเนินงานเกี่ยวกับผู้นำและองค์กรเกษตรกร

7. ช่วง แผน พัฒนา เศรษฐกิจ และ สังคม แห่ง ชาติ ฉบับ ที่ 9 (2545-2549) การดำเนินงานส่งเสริม

การเกษตรแบ่งการทำงานออกเป็น2ส่วนคือ(1) การ ปฏบิตั ิงาน ใน พืน้ที ่(ระดบั ตำบล และ อำเภอ)โดยมีศูนย์

บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบลเป็นศูนย์กลางในการเข้ามาวางแผนกิจกรรมร่วมกับ

เกษตรกรในพื้นที่และกำหนดแผนพัฒนาโดยใช้กระบวนการมีส่วนร่วมการส่งเสริมอาชีพในตำบลโดยการ

พัฒนาวิสาหกิจชุมชน(communityenterprise)ทั้งนี้การพัฒนาเกษตรกรเน้นการสร้างกระบวนการเรียนรู้

Page 8: การส่งเสริม การเกษตร ในประเทศไทยagri.stou.ac.th/UploadedFile/91720-5.pdf5.1.2 สถานการณ์การส่งเสริม

มสธ มสธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ

5-8 การส่งเสริมการเกษตรเพื่อการพัฒนา

โดยการจัดการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมผ่านกิจกรรมและสื่อการเรียนรู้ที่เหมาะสมอย่างต่อเนื่องและเจ้าหน้าที่

ส่งเสริมการเกษตรทำหน้าที่เป็นผู้อำนวยความสะดวกแนะนำกระตุ้นประสานงานให้บริการและถ่ายทอด

ความรู้ทางวิชาการและติดตามประเมินผลการปฏิบัติงาน (2) การ สนับสนุน การ ปฏิบัติ งาน ใน พื้นที่ (ระดับ

จังหวัด และ ระดับ กรม) เน้นการเพิ่มประสิทธิภาพระบบการทำงานส่งเสริมการเกษตรโดยการจัดประชุม

และสัมมนาเชิงปฏิบัติการ การนิเทศงาน การติดตามประเมินผล รวมทั้งการวิจัยและพัฒนางานส่งเสริม

การเกษตร

เรื่อง ที่ 5.1.2 สถานการณ์ การ ส่ง เสริม การเกษตร ใน ช่วง แผน พัฒนา

เศรษฐกิจ และ สังคม แห่ง ชาติ ฉบับ ที่ 10

ในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่10(พ.ศ.2550-2554)มีสถานการณ์ต่างๆที่

สง่ผลกระทบตอ่ภาคการเกษตรและเกษตรกรไดแ้ก่การเปลีย่นแปลงของสภาพภมูิอากาศการเปดิเสรีทางการคา้

ความมั่นคงด้านอาหารทิศทางการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศและการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น

เป็นต้น การส่งเสริมการเกษตรจึงมุ่งเน้นการเตรียมความพร้อมของเกษตรกรและบุคลากรด้านการเกษตร

ให้สามารถปรับตัวเพื่อรับมือกับสถานการณ์ต่างๆที่เปลี่ยนแปลงไป และแสวงหาประโยชน์อย่างรู้เท่าทัน

โลกาภิวัตน์รวมทั้งสร้างภูมิคุ้มกันให้กับทุกภาคส่วนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

ในช่วงนี้ กระบวนการพัฒนาชนบทซึ่งเกี่ยวข้องกับภาคการเกษตร ได้มีการปรับเปลี่ยนโดยมีการ

กระจายอำนาจให้ท้องถิ่นมากขึ้น การส่งเสริมการเกษตรจึงเน้นการมีส่วนร่วมของภาคชุมชนและเกษตรกร

ให้เข้ามามีบทบาทในกระบวนการพัฒนา สร้างกระบวนการเรียนรู้ร่วมกัน เป็นการพัฒนาบนฐานความรู้

(knowledge-based)เพือ่ให้ประชาชนเกษตรกรได้รบับรกิารตรงตามความตอ้งการสะดวกรวดเรว็สามารถ

คิดวิเคราะห์ตัดสินใจในการกำหนดวิถีการดำรงชีวิตและสามารถพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน

นโยบายและแนวทางการดำเนินงานส่งเสริมการเกษตรถูกกำหนดให้สอดคล้องกับแนวทางพัฒนา

ที่กำหนดไว้ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่10ที่มุ่งเน้นการพัฒนาสู่สังคมอยู่เย็นเป็นสุข

ร่วมกัน(greenandhappinesssociety)ภายใต้แนวปฏิบัติของ“ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง”โดยการ

พัฒนายึดทางสายกลางอยู่บนพื้นฐานของความสมดุลพอดีและความพอประมาณอย่างมีเหตุผลทั้งนี้ เน้น

การพัฒนาตามยุทธศาสตร์5ด้านคือการพัฒนาคุณภาพคนและสังคมไทยสู่สังคมแห่งภูมิปัญญาและการ

เรียนรู้การสร้างความเข้มแข็งของชุมชนและสังคมเป็นฐานที่มั่นคงของประเทศการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจ

ให้สมดุลและยั่งยืนการพัฒนาบนฐานความหลากหลายทางชีวภาพและสร้างความมั่นคงของฐานทรัพยากร

และคุณภาพสิ่งแวดล้อมและการเสริมสร้างธรรมาภิบาลในการบริหารจัดการประเทศ

Page 9: การส่งเสริม การเกษตร ในประเทศไทยagri.stou.ac.th/UploadedFile/91720-5.pdf5.1.2 สถานการณ์การส่งเสริม

มสธ มสธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ

5-9การส่งเสริมการเกษตรในประเทศไทย

นโยบาย และ แนวทาง การ ดำเนิน งาน ส่ง เสริม การเกษตร มีสาระสำคัญดังนี้

1. นโยบาย และ แนวทาง การ ดำเนิน งาน ส่ง เสริม การเกษตร ปี 2551 เน้นการส่งเสริมและพัฒนา

คณุภาพชวีติของเกษตรกรโดยผา่นทางปรชัญาเศรษฐกจิพอเพยีงยดึตวัเกษตรกรเปน็ศนูยก์ลางในการพฒันา

ให้มีความสามารถในการพึ่งพาตนเองการปรับเปลี่ยนรูปแบบการทำงานจากการทำงานบนฐานของทรัพยากร

(resource-based) เป็นการทำงานบนฐานขององค์ความรู้ (nowledge-based) โดยใช้กระบวนการจัดการ

ความรู้ (KnowledgeManagement: KM) เป็นเครื่องมือในการทำงานของเจ้าหน้าที่ และใช้กระบวนการ

แลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันเป็นหลักในการถ่ายทอดองค์ความรู้สู่เกษตรกรการสร้างพันธมิตรในการทำงาน

โดยเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานในพื้นที่มีบทบาทหน้าที่เป็นผู้ประสานและอำนวยความสะดวกบูรณาการการทำงาน

กับภาคส่วนต่างๆผ่านกลไกของศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบล(ศบกต.) เน้น

การทำงานเป็นทีม โดยจัดทีมการทำงานเพื่อรับผิดชอบในลักษณะกลุ่มตำบลและมีเครือข่ายในการทำงาน

พื้นที่(กรมส่งเสริมการเกษตร2550:1-9)

2. นโยบาย และ แนวทาง การ ดำเนนิ งาน สง่ เสรมิ การเกษตร ป ี2552เน้นผลสำเร็จของงานเป็นสำคัญ

ภายใต้การใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในการดำเนินงานและการบริหารจัดการทุกระดับการพัฒนาองค์กรให้

มีขีดสมรรถนะสูงตามแนวทางของการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ(PublicSectorManage-

mentQualityAward: PMQA) โดยการจัดทำแผนยุทธศาสตร์องค์การแบบมีส่วนร่วม การบริหารงาน

แบบมุ่งผลสัมฤทธิ์ (Result-BasedManagement:RBM)ที่เน้นการเชื่อมโยงการบริหารเชิงกลยุทธ์การ

บริหารแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์และการบริหารงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงานตามยุทธศาสตร์การจัดการความรู้

(KM)การพัฒนาและประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการดำเนินงานส่งเสริมการเกษตรการ

ควบคุมภายในและการบริหารความเสี่ยงการพัฒนาบุคลากรให้เป็นผู้ปฏิบัติงานที่ทรงความรู้(knowledge

worker) โดยยึดหลักสมรรถนะ (competency) และการพัฒนาขีดความสามารถ (capability) และการ

ส่งเสริมคุณธรรมและจริยธรรมในการทำงาน(กรมส่งเสริมการเกษตร2551:1-29)

3. นโยบาย และ แนวทาง การ ดำเนิน งาน ส่ง เสริม การเกษตร ปี 2553 เน้นการส่งเสริมและสนับสนุน

ให้มีการดำเนินการตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงทั้งในระดับเกษตรกรและองค์การ การปรับ

กระบวนการทำงานให้มีประสิทธิภาพและยืดหยุ่น โดยให้ความสำคัญกับการพัฒนาเกษตรกรรุ่นใหม่

ยุวเกษตรกรองค์กรเกษตรกร วิสาหกิจชุมชนการดำเนินงานโครงการภายใต้แผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง

การส่งเสริมการเกษตรในจังหวัดชายแดนใต้ และการจัดตั้งสภาเกษตรกรแห่งชาติ เป็นต้นการพัฒนาและ

ใช้ประโยชน์ฐานข้อมูลการเกษตรได้แก่ฐานข้อมูลทะเบียนเกษตรกรและทะเบียนการปลูกพืชเศรษฐกิจใน

การดำเนินงานตามมาตรการต่างๆ ของรัฐ เช่น การประกันรายได้ให้แก่เกษตรกรการช่วยเหลือเกษตรกร

ผู้ประสบภัยธรรมชาติและการให้สวัสดิการต่างๆแก่เกษตรกร(กรมส่งเสริมการเกษตร2553:1-12)

4. นโยบาย และ แนวทาง การ ดำเนิน งาน ส่ง เสริม การเกษตร ปี 2554 ยึดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจ

พอเพียงเป็นพื้นฐานในการปฏิบัติงานทุกระดับเน้นการสร้างความเข้มแข็งให้กับเกษตรกรองค์กรเกษตรกร

และวิสาหกิจชุมชนให้มีความพร้อมที่จะพัฒนาตนเองให้มีความมั่นคงในอาชีพการเกษตรและมีเครือข่ายเพื่อ

Page 10: การส่งเสริม การเกษตร ในประเทศไทยagri.stou.ac.th/UploadedFile/91720-5.pdf5.1.2 สถานการณ์การส่งเสริม

มสธ มสธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ

5-10 การส่งเสริมการเกษตรเพื่อการพัฒนา

สร้างอำนาจในการต่อรองการพัฒนาอาสาสมัครเกษตรที่เป็นเกษตรหมู่บ้านการบริหารจัดการด้านการผลิต

สินค้าเกษตรและการป้องกันกำจัดศัตรูพืชการพัฒนาระบบข้อมูลและเทคโนโลยีสารสนเทศโดยเน้นการจัด

ทำข้อมูลเอกภาพที่มีการบูรณาการการทำงานได้อย่างเป็นระบบ(กรมส่งเสริมการเกษตร2554:5-12)

ระบบ ส่ง เสริม การเกษตร ใน ช่วง แผน พัฒนา เศรษฐกิจ และ สังคม แห่ง ชาติ ฉบับ ที่ 10 การส่งเสริมการเกษตรทั้งในมิติงานตามภารกิจและงานตามยุทธศาสตร์ ใช้เวทีตามระบบส่งเสริม

การเกษตรในการบูรณาการการทำงานตั้งแต่การวางแผนการดำเนินการการติดตามผลการดำเนินงานและ

ปัญหาอุปสรรคและใช้ศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบลเป็นกลไกในการบูรณาการ

ระหว่างเครือข่ายในพื้นที่รวมทั้งการบูรณาการการทำงานในมิติของโครงการและงานตามภารกิจใช้กลไกของ

คณะทำงานซึ่งมีผู้แทนจากหน่วยงานต่างๆเข้าร่วมและมีการเชื่อมโยงกันทุกระดับ

ระบบส่งเสริมการเกษตรประกอบด้วย2ระบบย่อย(กรมส่งเสริมการเกษตร2551:1-30)คือ

1. ระบบ การ ปฏิบัติ งาน ใน พื้นที่ ได้แก่ ระดับอำเภอตำบล ชุมชน และเกษตรกรเป้าหมาย โดย

ให้ความสำคัญในการทำงานแบบมีส่วนร่วม มุ่งเน้นให้เกษตรกรรู้จักคิด วิเคราะห์ และกำหนดแนวทาง

การพัฒนาและการแก้ไขปัญหาในชุมชนด้วยตนเอง โดยมีศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร

ประจำตำบลเป็นกลไกหลักในการปฏิบัติงานในพื้นที่และเป็นศูนย์กลางในการประสานงานและเชื่อมโยง

ภาคีต่างๆโดยเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรในระดับตำบลทำหน้าที่เป็นเลขานุการศูนย์ฯและคณะกรรมการ

บริหารศูนย์ฯ อาสาสมัครเกษตร และกลุ่ม เครือข่าย เช่น วิสาหกิจชุมชน ร่วมสนับสนุนการดำเนินงาน

ส่งเสริมการเกษตรในระดับพื้นที่

2. ระบบ สนับสนุน การ ปฏิบัติ งานของเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรทุกระดับประกอบด้วย

2.1 การ เสรมิ สรา้ง ขดี ความ สามารถ ของ บคุลากรโดยมีเวทีตามระบบส่งเสริมการเกษตรการ

ฝึกอบรมเฉพาะกิจ การนิเทศงาน และการส่งเสริมการเรียนรู้ด้วยตนเองจากการปฏิบัติงานและการทำงาน

ร่วมกันเป็นทีม(teamlearningandworking)

2.2 การ สนับสนุน วิชาการ ด้าน ต่างๆ และ วิธี การ จัด กระบวนการ เรียน รู้

2.3 การ ใช้ เทคโนโลยี สารสนเทศ และ การ สื่อสาร ใน การ จัด ทำ ฐาน ข้อมูล กลางการจัดทำแผน

พัฒนาการเกษตรการดำเนินงานส่งเสริมการเกษตรคลังข้อมูลวิชาการด้านการเกษตรและการให้บริการ

ข้อมูลสารสนเทศ

2.4 การ ประชาสัมพันธ์ และ เผย แพร่ งาน ส่ง เสริม การเกษตร ผ่าน สื่อ ต่างๆ

2.5 การ ติดตาม และ ประเมิน ผล การ ดำเนิน งาน ตาม นโยบาย และ ตัว ชี้ วัด

Page 11: การส่งเสริม การเกษตร ในประเทศไทยagri.stou.ac.th/UploadedFile/91720-5.pdf5.1.2 สถานการณ์การส่งเสริม

มสธ มสธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ

5-11การส่งเสริมการเกษตรในประเทศไทย

เรื่อง ที่ 5.1.3 ทิศทาง การ ส่ง เสริม การเกษตร ใน ช่วง แผน พัฒนา

เศรษฐกิจ และ สังคม แห่ง ชาติ ฉบับ ที่ 11

ยุทธศาสตร์ การ พัฒนา ประเทศสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (2555) ได้กล่าวถึงทิศทางการ

พัฒนาประเทศ ในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 11 (2555-2559) โดยมีสาระสำคัญ

โดยสรุปว่าภายใต้กระแสการเปลี่ยนแปลงต่างๆทั้งการเปลี่ยนแปลงภายนอกประเทศและการเปลี่ยนแปลง

ภายในประเทศที่ส่งผลกระทบต่อทิศทางการพัฒนาประเทศในอนาคตรวมทั้งผลการพัฒนาที่ผ่านมาสะท้อน

ปัญหาเชิงโครงสร้างระบบเศรษฐกิจ สังคมสิ่งแวดล้อม และการบริหารจัดการประเทศที่ไม่เอื้ออำนวยต่อ

การพัฒนาที่ยั่งยืนในระยะยาวและมีความเสี่ยงที่อาจทำให้เกิดปัญหาที่รุนแรงขึ้นกรอบการพัฒนาประเทศ

ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่11จึงมีแนวคิดที่ต่อเนื่องจากแผนพัฒนาฯฉบับที่8-10

โดยยังยึดหลักการปฏิบัติตามปรัชญา ของ เศรษฐกิจ พอ เพียง ที่เน้นการพัฒนาแบบบูรณาการเป็นองค์รวม

ที่ยึดคนเป็นศูนย์กลางการพัฒนา เร่งสร้างภูมิคุ้มกันเพื่อป้องกันปัจจัยเสี่ยง และเสริมรากฐานประเทศด้าน

ต่างๆ ให้เข้มแข็งควบคู่ไปกับการพัฒนาคนและสังคมไทยให้มีคุณภาพมีโอกาสเข้าถึงทรัพยากรและได้รับ

ผลประโยชน์จากการพัฒนาอย่างเป็นธรรม สร้างโอกาสทางเศรษฐกิจด้วยความรู้บนพื้นฐานการผลิตและ

บริโภคที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมโดยได้กำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาที่สำคัญดังนี้

1. สร้าง ความ เป็น ธรรม ใน สังคม ให้ความสำคัญกับการสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจและสังคม

ให้ทุกคนในสังคมรวมถึงการจัดการบริการทางสังคมให้ทุกคนตามสิทธิขั้นพื้นฐานควบคู่ไปกับการสร้างขีด

ความสามารถในการจัดการความเสี่ยงและสร้างโอกาสในชีวิตการสร้างภูมิคุ้มกันระดับปัจเจกและสร้างการ

มีส่วนร่วมในการพัฒนาประเทศ

2. พัฒนา คน สู่ สังคม แห่ง การ เรียน รู้ ตลอด ชีวิต อย่าง ยั่งยืน โดยการพัฒนาคนด้วยกระบวนการ

เรยีนรู้ที่เสรมิสรา้งวฒันธรรมการเกือ้กลูพฒันาทกัษะให้คนมีการเรยีนรู้ตอ่เนือ่งตลอดชวีติตอ่ยอดสู่การสรา้ง

นวัตกรรมที่เกิดจากความคิดสร้างสรรค์ทั้งนี้จะส่งเสริมและสนับสนุนให้การเรียนรู้เป็นหน้าที่ของทุกคน

3. สร้าง ความ เข้ม แข็ง ภาค เกษตร ความ มั่นคง ของ อาหาร และ พลังงาน เน้นการพัฒนาทรัพยากร

ธรรมชาติที่เป็นฐานการผลิตภาคเกษตรให้ยั่งยืนโดยมุ่งรักษาป้องกันและคุ้มครองพื้นที่ที่มีศักยภาพทางการ

เกษตรสนับสนุนการผลิตที่สอดคล้องกับสภาพของพื้นที่และมุ่งสร้างความมั่นคงในอาชีพและรายได้ให้แก่

เกษตรกรด้วยการพัฒนาระบบการสร้างหลักประกันรายได้ของเกษตรกรให้มีความมั่นคงและลดความเสี่ยง

แก่เกษตรกรโดยการพัฒนาระบบประกันภัยพืชผลส่งเสริมระบบการทำการเกษตรแบบมีพันธะสัญญาส่วน

ความมั่นคงด้านอาหารและพลังงานส่งเสริมให้เกษตรกรทำการเกษตรด้วยระบบเกษตรกรรมยั่งยืนตามหลัก

Page 12: การส่งเสริม การเกษตร ในประเทศไทยagri.stou.ac.th/UploadedFile/91720-5.pdf5.1.2 สถานการณ์การส่งเสริม

มสธ มสธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ

5-12 การส่งเสริมการเกษตรเพื่อการพัฒนา

ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและเน้นการวิจัยพัฒนาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตพลังงานจากพืชพลังงาน

และมีระบบบริหารจัดการสินค้าเกษตรที่ใช้เป็นอาหารและพลังงาน

4. ปรบั โครงสรา้ง เศรษฐกจิ สู ่การ เตบิโต อยา่ง ม ีคณุภาพ และ ยัง่ยนืสร้างความเข้มแข็งให้กับวิสาหกิจ

ขนาดกลางและขนาดย่อมให้มีบทบาทในการพัฒนาเศรษฐกิจภายในประเทศให้เข้มแข็งและแข่งขันได้รวมถึง

การพัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีวิจัยและนวัตกรรมให้เป็นพลังขับเคลื่อนการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจ

ให้เติบโตอย่างมีคุณภาพและยั่งยืน เน้นการนำความคิดสร้างสรรค์ ภูมิปัญญาท้องถิ่น วิจัยและพัฒนาไป

ต่อยอดและประยุกต์ใช้ประโยชน์ทั้งในเชิงพาณิชย์ สังคมและชุมชนตลอดจนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทาง

วิทยาศาสตร์เทคโนโลยีวิจัยและนวัตกรรมให้ทั่วถึงและเพียงพอทั้งในเชิงปริมาณและคุณภาพ

5. สร้าง ความ เชื่อม โยง กับ ประเทศ ใน ภูมิภาค เพื่อ ความ มั่นคง ทาง เศรษฐกิจ และ สังคม พัฒนาฐาน

ลงทุนโดยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน เชื่อมโยงด้านการขนส่งและระบบโลจิสติกส์ รวมถึงการร่วม

เป็นภาคีสร้างความเป็นหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจมีส่วนร่วมอย่างสำคัญในการสร้างสังคมนานาชาติที่มีคุณภาพ

ชวีติและสรา้งความรว่มมอืที่ดีระหวา่งประเทศในการสนบัสนนุการเจรญิเตบิโตทางเศรษฐกจิอยา่งมีจรยิธรรม

และไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม

6. จัดการ ทรัพยากรธรรมชาติ และ สิ่ง แวดล้อม อย่าง ยั่งยืน มุ่งรักษาฟื้นฟูพื้นที่ป่าและเขตอนุรักษ์

และสร้างความมั่นคงของฐานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และการปรับโครงสร้างการผลิตของ

ประเทศไปสู่เศรษฐกิจคาร์บอนต่ำและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม รวมทั้งการพัฒนาองค์ความรู้เพื่อรองรับกับ

ความท้าทายจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

ยุทธศาสตร์ การ พัฒนาการ เกษตรสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (2554) ได้ระบุไว้ว่าการพัฒนาการเกษตรของประเทศในช่วงแผน

พฒันาเศรษฐกจิและสงัคมแหง่ชาติฉบบัที่11เปน็การสรา้งภมูคิุม้กนัในมติิตา่งๆที่ครอบคลมุดา้นการเกษตร

ภาพรวมทั้งหมดได้แก่การพัฒนาคุณภาพชีวิตเกษตรกรการพัฒนาขีดความสามารถในการผลิตการจัดการ

สินค้าเกษตรและความมั่นคงด้านอาหารและการพัฒนาทรัพยากรการเกษตรอย่างมีประสิทธิภาพสมดุลและ

ยั่งยืนโดยกำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาไว้ดังนี้

1. พัฒนา คุณภาพ ชีวิต เกษตรกร เพื่อให้เกษตรกรมีความสามารถพึ่งพาตนเองได้ มีภูมิคุ้มกัน

พร้อมรับความเสี่ยงด้านการผลิตการตลาดและมีการกระจายรายได้ทั่วถึงมีความสามารถในการผลิตและ

การตลาดก้าวสู่ผู้จัดการฟาร์มที่เป็นมืออาชีพ(SmartFarmer)พร้อมทั้งพัฒนาสร้างเกษตรกรรุ่นใหม่ให้

เข้าสู่ภาคเกษตรทดแทนรุ่นเดิม ส่งเสริมให้องค์กรเกษตรกรและสถาบันเกษตรกรมีการดำเนินงานอย่างมี

ประสทิธภิาพและยัง่ยนืพฒันาระบบประกนัความเสีย่งการเกษตรและผลกัดนัให้มีการพฒันาระบบสวสัดกิาร

ให้ครอบคลุมแรงงานด้านการเกษตร

2. พัฒนา ขีด ความ สามารถ ใน การ ผลิต การ จัดการ สินค้า เกษตร และ ความ มั่นคง อาหาร เพื่อสร้าง

ฐานการผลิตภาคการเกษตรให้เข้มแข็ง พัฒนาคุณภาพสินค้าเกษตรและอาหารให้มีความสามารถในการ

แข่งขันประชาชนมีความมั่นคงด้านอาหารและมีผลผลิตเพียงพอกับความต้องการด้านอาหารและพลังงาน

Page 13: การส่งเสริม การเกษตร ในประเทศไทยagri.stou.ac.th/UploadedFile/91720-5.pdf5.1.2 สถานการณ์การส่งเสริม

มสธ มสธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ

5-13การส่งเสริมการเกษตรในประเทศไทย

โดยการพัฒนาการผลิตและการสร้างมูลค่าเพิ่มเน้นลดต้นทุนการผลิตและพัฒนาคุณภาพมาตรฐานสินค้า

เกษตรกำหนดเขตเกษตรเศรษฐกจิ(Zoning)พฒันาและเพิม่ประสิทธภิาพระบบการบรหิารจดัการโลจิสติกส์

ของภาคเกษตรสง่เสรมิการผลติที่เปน็มติรกบัสิง่แวดลอ้ม(GreenProduct)เสรมิสรา้งการผลติสนิคา้เกษตร

ที่เป็นพืชอาหารและพลังงานให้เกิดความพร้อม และสร้างความเชื่อมโยงกับเศรษฐกิจภูมิภาคและระหว่าง

ประเทศรวมทัง้สง่เสรมิและพฒันางานวจิยัผลงานประดษิฐ์คดิคน้ดา้นวทิยาศาสตร์เทคโนโลยีและนวตักรรม

มาขยายผลสู่การพัฒนาภาคเกษตรให้สนองความต้องการของภาคการผลิต

3. พัฒนา ทรัพา กร การเกษตร อย่าง มี ประสิทธิภาพ สมดุล และ ยั่งยืน เพื่อสร้างและพัฒนาการใช้

ทรัพยากรการเกษตรและโครงสร้างพื้นฐานการเกษตรอย่างมีประสิทธิภาพฟื้นฟูทรัพยากรการเกษตรให้

มีความเหมาะสมต่อการผลิตทางการเกษตรอย่างยั่งยืน โดยการเร่งรัดการฟื้นฟูและปรับปรุงคุณภาพดินที่

เสื่อมโทรมวางระบบการใช้ที่ดินตามศักยภาพของที่ดินเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการน้ำเพื่อการเกษตร

ส่งเสริมและสนับสนุนให้เกษตรกรใช้ทรัพยากรการผลิตอย่างเหมาะสมและยั่งยืนสนับสนุนและผลักดันให้

เกษตรกรมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการทรัพยากรการเกษตรเตรียมความพร้อมรองรับผลกระทบจากการ

เปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ

ยุทธศาสตร์ การ ส่ง เสริม การเกษตรยุทธศาสตร์การส่งเสริมการเกษตรในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11

สอดคล้องกับทิศทางการพัฒนาประเทศ โดยเน้นในเรื่องการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตเพื่อเพิ่มขีดความ

สามารถในการแข่งขันของภาคเกษตรการพัฒนาเกษตรกรให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีมีความเข้มแข็งพึ่งพาตนเอง

ได้ และการบริหารจัดการและให้บริการที่ดีแก่เกษตรกรการส่งเสริมการเกษตรจึงมุ่งเน้นการดำเนินงานใน

ทิศทางที่สอดคล้องและรองรับการเปลี่ยนแปลงของสถานการณ์ด้านการเกษตรโดยมีประเด็นดังนี้

1. พัฒนาการ ผลิต และ บริหาร จัดการ สินค้า เกษตร เพื่อเพิ่มศักยภาพการผลิตเชิงพาณิชย์และ

อุตสาหกรรมและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของสินค้าเกษตรไทยซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการสนับสนุน

ให้ไทยก้าวสู่การเป็นครัวโลก

2. สง่ เสรมิ และ พฒันาการ บรหิาร จดัการ ศตัร ูพชืเพื่อลดความเสี่ยงจากการระบาดศัตรูพืชและเพิ่ม

ขีดความสามารถในการบริหารจัดการศัตรูพืชของชุมชน

3. ส่ง เสริม การ ใช้ ปัจจัย การ ผลิต และ การเกษตร กรรมเพื่อให้เกษตรกรสามารถผลิตจัดหาและใช้

ปัจจัยการผลิตอย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพเกษตรกรสามารถพึ่งตนเองด้านปัจจัยการผลิตและลดความ

เสี่ยงในการขาดแคลนปัจจัยในการผลิต

4. สง่ เสรมิ และ พฒันา เกษตรกร องคก์ร เกษตรกร และ วสิาหกจิ ชมุชนให้มีศักยภาพทั้งด้านการผลิต

และการบริหารจัดการ สามารถเชื่อมโยงเครือข่ายการทำงานร่วมกับกลุ่ม/องค์กรเกษตรกร/ชุมชน ทั้งใน

เชิงธุรกิจและคุณภาพชีวิต

Page 14: การส่งเสริม การเกษตร ในประเทศไทยagri.stou.ac.th/UploadedFile/91720-5.pdf5.1.2 สถานการณ์การส่งเสริม

มสธ มสธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ

5-14 การส่งเสริมการเกษตรเพื่อการพัฒนา

5. ส่ง เสริม ระบบ เกษตรกรรม ใน การ สร้าง ความ มั่นคง และ ยั่งยืน ของ ภาค เกษตร เพื่อให้เกิดความ

มั่นคงในการประกอบอาชีพการเกษตรควบคู่กับการฟื้นฟูอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติให้เป็นฐานการผลิต

ของภาคการเกษตรได้อย่างยั่งยืนรวมทั้งสามารถรองรับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ

6. การ วิจัย และ พัฒนา เทคโนโลยี ขั้น สูง ใน การ ผลิต สินค้า เกษตรเน้นการพัฒนาเทคโนโลยีชีวภาพ

การใช้เทคโนโลยีการสื่อสารและสารสนเทศในการสนับสนุนการดำเนินงานพัฒนาการเกษตรการอนุรักษ์และ

ส่งเสริมการใช้ทรัพย์สินทางปัญญาและภูมิปัญญาในการผลิตทางการเกษตร

7. การ เพิม่ ประสทิธภิาพ การ บรหิาร จดัการ ภาค รฐัเนน้การสง่เสรมิให้หนว่ยงานราชการสว่นทอ้งถิน่

และส่วนภูมิภาคมีบทบาทมากขึ้นและเป็นเจ้าภาพหลักในการส่งเสริมพัฒนาและให้บริการต่างๆในระดับ

พื้นที่รวมทั้งมีการบูรณาการงานพัฒนาการเกษตรร่วมกับสถาบันการศึกษาและหน่วยงานภาคเอกชน

แนวทาง การ ส่ง เสริม การเกษตร ใน ช่วง แผน พัฒนา เศรษฐกิจ และ สังคม แห่ง ชาติ ฉบับ ที่ 11 กรมส่งเสริมการเกษตร (2556) ได้กล่าวถึงแนวทางการส่งเสริมการเกษตรในช่วงแผนพัฒนา

เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่11(พ.ศ.2555-2559)ดังนี้

1. ดา้น การ สง่ เสรมิ หลกั ปรชัญา ของ เศรษฐกจิ พอ เพยีงเนน้การปรบัเปลีย่นความคดิและพฤตกิรรม

ของเกษตรกรทั้งในส่วนของการดำรงชีวิตและการประกอบอาชีพให้เป็นไปในแนวทางของหลักปรัชญาของ

เศรษฐกิจพอเพียงโดยยึดตัวเกษตรกรเป็นศูนย์กลางในการพัฒนา

2. ด้าน การ ส่ง เสริม การ ผลิตเน้นการเพิ่มประสิทธิภาพและลดต้นทุนการผลิตการพัฒนาคุณภาพ

และมาตรฐานสนิคา้เกษตรการเพิม่มลูคา่และสรา้งคณุคา่สนิคา้เกษตรการตอ่ยอดและประยกุต์ใช้ภมูปิญัญา

นวัตกรรมและเทคโนโลยีสมัยใหม่ การสร้างเครือข่ายการผลิต การจัดเขตการเกษตร (zoning) การรักษา

ความสมดุลของพืชอาหารและพืชพลังงาน

3. ดา้น การ สง่ เสรมิ การ ตลาดเน้นการพัฒนาการบริหารจัดการตลอดห่วงโซ่อุปทานและโลจิสติกส์

(logistic) การเตรียมรับกับกฎกติกาทางการค้าและการกีดกันทางการค้ารูปแบบต่างๆความต้องการของ

ตลาดและผู้บริโภคการสร้างตราสินค้าและการสร้างเอกลักษณ์ของสินค้าเกษตรการพัฒนาระบบการซื้อขาย

ผลผลิตทางการเกษตรแบบข้อตกลง(contractfarming)

4. ดา้น การ สง่ เสรมิ เกษตรกร และ องคก์ร เกษตรกรเน้นการเสริมสร้างให้เกษตรกรมีเกียรติศักดิ์ศรี

และรักในอาชีพเกษตรการพัฒนาผู้นำเกษตรกรการสร้างเกษตรกรรุ่นใหม่การดูแลเกษตรกรสูงอายุ การ

เสริมสร้างการมีส่วนร่วมการรวมกลุ่มและการสร้างเครือข่ายการเรียนรู้และการจัดการความรู้การส่งเสริม

ให้เกิดการใช้สารสนเทศและภูมิปัญญา

5. ด้าน การ ส่ง เสริม การ ใช้ ปัจจัย การ ผลิต และ ทรัพยากร การเกษตร เน้นการผลิตเชิงอนุรักษ์และ

เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมการลดการใช้สารเคมีการจัดระบบการปลูกพืชการเสริมสร้างขีดความสามารถของ

เกษตรกรและชุมชนในการพึ่งพาตนเองด้านปัจจัยการผลิตเช่นการใช้วัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรการผลิต

และพัฒนาพันธุ์พืชใช้เองการผลิตปุ๋ยและสารป้องกันกำจัดศัตรูพืช

Page 15: การส่งเสริม การเกษตร ในประเทศไทยagri.stou.ac.th/UploadedFile/91720-5.pdf5.1.2 สถานการณ์การส่งเสริม

มสธ มสธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ

5-15การส่งเสริมการเกษตรในประเทศไทย

6. ดา้น การ พฒันาการ ให ้บรกิาร และ การ บรหิาร งาน สง่ เสรมิ การเกษตร เน้นการให้บริการที่เข้าถึงได้

ถูกต้องครบถ้วนและทันเวลาตามความต้องการของเกษตรกรการพัฒนาและใช้ประโยชน์ระบบฐานข้อมูล

ด้านการเกษตรการพัฒนานวัตกรรมใหม่ๆในการส่งเสริมการเกษตรการเชื่อมโยงงานวิจัยกับงานส่งเสริม

การเกษตรการพัฒนาบุคลากรด้านการส่งเสริมการเกษตรการบูรณาการและสร้างเครือข่ายในการส่งเสริม

การเกษตรกับทุกภาคส่วนการใช้ประโยชน์จากความก้าวหน้าของเทคโนโลยีการสื่อสารและสารสนเทศรวม

ถึงการประชาสัมพันธ์

แนว โน้ม การ ทำงาน ส่ง เสริม การเกษตรวิธีการทำงานส่งเสริมการเกษตรในอนาคตที่มีความเจริญก้าวหน้าในด้านเทคโนโลยีและมีการ

เปลี่ยนแปลงที่รวดเร็ว ต้องใช้ข้อมูล และความรู้เป็นฐานในการตัดสินใจและการแข่งขัน การดำเนินงาน

ส่งเสริมการเกษตรต้องมีการพัฒนาให้เหมาะสม ซึ่งหากประมวลและวิเคราะห์แนวโน้มวิธีการส่งเสริม

การเกษตรในอนาคตจากพีรพรพร้อมเทพ(2553:6)และดิเรกฤกษ์หร่ายและจินดาขลิบทอง(2554:35-36)

ซึ่งได้กล่าวถึงแนวโน้มการปฏิบัติงานส่งเสริมการเกษตรในอนาคต และการเปลี่ยนแปลงการส่งเสริม

การเกษตรในยุคโลกาภิวัตน์สู่การส่งเสริมการเกษตรในยุคแห่งข้อมูลข่าวสารตามลำดับ สามารถสรุปได้

ดังนี้

1. เน้น การ สร้าง ปัญญา (Wisdom)ให้เกิดกับเกษตรกรโดยเกษตรกรสามารถเข้าถึงประยุกต์ใช้

และสร้างสรรค์ ข้อมูล ข่าวสารและความรู้ ได้ตามความต้องการและอย่างเหมาะสมทั้งนี้ กระบวนการการ

ส่งเสริมการเกษตรเริ่มจากการศึกษาเกษตรกรและชุมชนที่เกษตรกรอาศัยอยู่ผ่านกระบวนการคิดวิเคราะห์

เชิงระบบบนพื้นฐานของกรอบแนวคิดการพึ่งพาตนเองเพื่อทราบถึงปัญหาข้อจำกัดของเกษตรกรและชุมชน

รวมถึงความรู้ที่มีอยู่ในตัวเกษตรกรและชุมชน(tacitknowledge)หรือภูมิปัญญา(wisdom)เพื่อนำมาสู่

กระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และการปรับใช้

2. การ ทำงาน เน้น กระบวนการ มี ส่วน ร่วม และ กระบวนการ เรียน รู้ ในการพัฒนาเกษตรกรให้เป็น

เกษตรกรมืออาชีพ(smartfarmer)คือคิดเป็นทำเป็นแก้ปัญหาเป็นและรู้เท่าทันโลกโดยใช้นักส่งเสริม

การเกษตรมืออาชีพ(smartofficer)แนวทางการส่งเสริมนักส่งเสริมการเกษตรต้องพิจารณาให้สอดคล้อง

ตามแนวคิดการพึ่งพาตนเองเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนซึ่งนักส่งเสริมการเกษตรควรศึกษาร่วมกับเกษตรกร

เพื่อให้ได้นวัตกรรมที่เหมาะสมแก่การแก้ไขปัญหาหรือสร้างแนวทางการพัฒนาด้านการเกษตรที่เหมาะสม

และถ่ายทอดนวัตกรรมไปสู่เกษตรกรผ่านหลักการสื่อสารรวมทั้งประชาสัมพันธ์นวัตกรรมที่ได้แก่สาธารณะ

เพื่อให้มีการศึกษานวัตกรรมนั้นให้ก้าวหน้าและเหมาะสมยิ่งขึ้นต่อไป

3. นำ เทคโนโลยี สารสนเทศ มา ใช้ สนับสนุน งาน ส่ง เสริม การเกษตร เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด

แก่เกษตรกรทั้งในมิติของการวางแผนการส่งเสริมการเกษตรของนักส่งเสริมการเกษตรที่สะดวก รวดเร็ว

รวมทั้งการให้บริการที่ดีแก่เกษตรกรสามารถเข้าถึงข้อมูล ข่าวสาร และความรู้ได้ง่าย รวดเร็ว ทันเวลาใน

การใช้งาน

Page 16: การส่งเสริม การเกษตร ในประเทศไทยagri.stou.ac.th/UploadedFile/91720-5.pdf5.1.2 สถานการณ์การส่งเสริม

มสธ มสธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ

5-16 การส่งเสริมการเกษตรเพื่อการพัฒนา

4. พฒันา นกั สง่ เสรมิ การเกษตร ให้ ม ีความ สามารถ ใน การ คดิ เชงิ ระบบสามารถคิดพัฒนางานรวม

ถึงการประยุกต์ใช้เครื่องมือในการส่งเสริมการเกษตรเพื่อสร้างการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับเกษตรกรได้

กล่าวโดยสรุป งานส่งเสริมการเกษตรในยุคการสื่อสารไร้พรมแดน จึงมีบทบาทไม่เฉพาะแต่

การถ่ายทอดความรู้ นวัตกรรม เทคโนโลยี และประสบการณ์ แต่ยังเป็นการนำเสนอทางเลือกในการทำ

เกษตรกรรมส่งเสริมให้เกษตรกรพัฒนาวิธีการคิดให้พอเหมาะและพอเพียงกับความสามารถของครอบครัว

เกษตรกรทุนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่มีอยู่สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงในสภาวะแวดล้อม

โลกนโยบายประเทศและสากลตลอดทั้งการเปลี่ยนแปลงในพฤติกรรมของผู้บริโภคที่กำหนดแนวทางการ

ผลิตและบริการทางการเกษตร

หลัง จาก ศึกษา เนื้อหา สาระ ตอน ที่ 5.1 แล้ว โปรด ปฏิบัติ กิจกรรม 5.1

ใน แนว การ ศึกษา หน่วย ที่ 5 ตอน ที่ 5.1

Page 17: การส่งเสริม การเกษตร ในประเทศไทยagri.stou.ac.th/UploadedFile/91720-5.pdf5.1.2 สถานการณ์การส่งเสริม

มสธ มสธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ

5-17การส่งเสริมการเกษตรในประเทศไทย

ตอน ที่ 5.2

โครงสร้าง และ กลยุทธ์ ใน การ ส่ง เสริม การเกษตร

โปรดอ่านแผนการสอนประจำตอนที่5.2แล้วจึงศึกษาเนื้อหาสาระพร้อมปฏิบัติกิจกรรมในแต่ละตอน

หัว เรื่องเรื่องที่5.2.1โครงสร้างระบบการส่งเสริมการเกษตร

เรื่องที่5.2.2กลยุทธ์ในการบริหารงานส่งเสริมการเกษตร

แนวคิด1. โครงสร้างระบบส่งเสริมการเกษตรประกอบด้วย2ระบบคือระบบแรกเป็นระบบปฏิบัติ

งานในพื้นที่ซึ่งเป็นการปฏิบัติงานในพื้นที่ระดับอำเภอและระดับตำบลระบบที่สองเป็น

ระบบสนับสนุนการปฏิบัติงานในพื้นที่

2. งานสง่เสรมิการเกษตรจำเปน็ตอ้งมีกลยทุธ์ใหม่ๆ ให้ทนัและสอดคลอ้งกบัการเปลีย่นแปลง

ที่รวดเร็วของเศรษฐกิจ การค้าระหว่างประเทศ สังคมและวัฒนธรรมซึ่งส่งผลกระทบ

ต่อเกษตรกรกลยุทธ์การบูรณาการการทำงานโดยใช้กลไกของคณะทำงานซึ่งมีผู้แทนจาก

หน่วยงานต่างๆเข้าร่วมและเชื่อมโยงกันทุกระดับการสร้างและพัฒนาเครือข่ายการผลิต

การตลาดสินค้าเกษตร การส่งเสริมการเกษตรตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง การ

บริหารจัดการสินค้าเกษตรระบบการผลิตการตลาดแบบข้อตกลง การเข้ามามีส่วนร่วม

ของชุมชนและการพัฒนาระบบข้อมูลและเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นกลยุทธ์ที่นำมาใช้

วัตถุประสงค์เมื่อศึกษาตอนที่5.2จบแล้วนักศึกษาสามารถ

1. อธิบายและวิเคราะห์โครงสร้างระบบการส่งเสริมการเกษตรได้

2. อธิบายและวิเคราะห์กลยุทธ์ที่ใช้ในการบริหารงานส่งเสริมการเกษตรได้

Page 18: การส่งเสริม การเกษตร ในประเทศไทยagri.stou.ac.th/UploadedFile/91720-5.pdf5.1.2 สถานการณ์การส่งเสริม

มสธ มสธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ

5-18 การส่งเสริมการเกษตรเพื่อการพัฒนา

เรื่อง ที่ 5.2.1 โครงสร้าง ระบบ การ ส่ง เสริม การเกษตร

กรอบ โครงสร้าง ระบบ ส่ง เสริม การเกษตรกรมสง่เสรมิการเกษตรได้ใช้ระบบการสง่เสรมิการเกษตรซึง่ประกอบดว้ย2ระบบยอ่ยคอืระบบการ

ปฏบิตัิงานในพืน้ที่และระบบสนบัสนนุการปฏบิตัิงานระบบปฏบิตัิงานในพืน้ที่เกีย่วขอ้งกบักระบวนการปฏบิตัิ

งานส่งเสริมการเกษตรกับเกษตรกรของเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรที่เป็นตัวจักรสำคัญในการขับเคลื่อน

งานต่างๆในพื้นที่เป็น ระบบ ที่ จัด ทำ ขึ้น ให้ มี ความ ยืดหยุ่น และ อิสระ กับ เจ้า หน้าที่ ส่ง เสริม การเกษตร สามารถ

ประยุกต์ ปรับ ใช้ ใน การ ปฏิบัติ งาน ภาย ใต้ สภาพ แวดล้อม ใน แต่ละ พื้นที่ โดย มุ่ง เน้น ผล สำเร็จ ของ งาน ตาม

หลัก การ ของ การ บริหาร มุ่ง ผล สัมฤทธิ์ (Result Based Management: RBM) เป็น สำคัญส่วนระบบสนับสนุน

การปฏิบัติงานมีเป้าหมายหลักในการสนับสนุนให้เจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรสามารถปฏิบัติงานได้บรรลุ

เปา้หมายโดยครอบคลมุกระบวนการในการเสรมิสรา้งขดีความสามารถของบคุลากรการสนบัสนนุทางวชิาการ

เทคโนโลยีสารสนเทศการประชาสัมพันธ์และการติดตามประเมินผลซึ่งจะได้กล่าวในรายละเอียดต่อไป

1. ระบบ การ ปฏบิตั ิงาน ใน พืน้ที ่เน้นหนักการปฏิบัติงานในพื้นที่ระดับอำเภอตำบลไปจนถึงชุมชน

และเกษตรกรเป้าหมาย โดยระบบการปฏิบัติงานในพื้นที่เป็นระบบที่ใช้ศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยี

การเกษตรประจำตำบลเปน็กลไกขบัเคลือ่นการทำงานสง่เสรมิการเกษตรและการพฒันากระบวนการ ทำงาน

ของ เจา้ หนา้ที ่โดยการสร้างทีมงานของสำนักงานเกษตรอำเภอให้มีความเข้มแข็งและใช้ข้อมูลสารสนเทศและ

องค์ความรู้เป็นเครื่องมือไปผลักดันสนับสนุนประสานและเชื่อมโยงคณะ กรรมการ บริหาร ศูนย์ บริการ และ

ถ่ายทอด เทคโนโลยี การเกษตร ประจำ ตำบล ให้ บริหาร จัดการภารกิจหลักของศูนย์ฯ ใน4ด้านคือ (1)การ

ประสานอาสาสมัครเกษตรและกลุ่มเครือข่ายเพื่อจัดทำหรือปรับปรุงขอ้มลู การเกษตร และ ขอ้มลู สถานการณ ์

ใน ตำบลให้เป็นปัจจุบันใช้งานได้จริงสามารถนำไป(2)จัดทำหรือปรับปรุงแผน พฒันาการ เกษตร ระดบั ตำบล

ที่ผา่นเวทีประชาคมระดบัหมูบ่า้นแลว้นำเสนอเวทีประชาคมระดบัตำบลเพือ่เขา้สู่ชอ่งทางการจดัทำแผนสามปี

ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หรือแหล่งงบประมาณต่างๆ ในพื้นที่ (3) การจัดการ เรียน รู้ สำหรับกลุ่ม/

เครือข่ายในพื้นที่เช่นการถ่ายทอดความรู้การฝึกอบรมดูงานให้คำแนะนำหรือการจัดกระบวนการเรียนรู้

รูปแบบอื่นๆ เพื่อให้เกษตรกรรวมกลุ่มกันเรียนรู้ และพัฒนาอาชีพ หรือการแก้ไขปัญหาการเกษตร

(4)นอกจากนี้เจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรร่วมกับคณะกรรมการบริหารศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยี

ประจำตำบล และอาสาสมัครเกษตรยังเป็นทีมงานในการจัดการ บริการ ซึ่งหมายถึง การให้บริการทางการ

เกษตร ที่ครอบคลุมทั้งการให้บริการณ ที่ทำการศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำ

ตำบลและการให้บริการคลินิกเกษตรเคลื่อนที่แบบประหยัดซึ่งภารกิจหลักทั้ง4เรื่องของศูนย์บริการและ

ถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบลจะมีการเชื่อมโยงและขับเคลื่อนการดำเนินงานอย่างต่อเนื่องตาม

สถานการณ์ปัญหาและความต้องการของเกษตรกรเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อกลุ่มเครือ ข่ายเช่นอาสา

สมัครเกษตรวิสาหกิจชุมชนกลุ่มอาชีพกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรกลุ่มยุวเกษตรกรปราชญ์ชาวบ้านซึ่งกลุ่ม

Page 19: การส่งเสริม การเกษตร ในประเทศไทยagri.stou.ac.th/UploadedFile/91720-5.pdf5.1.2 สถานการณ์การส่งเสริม

มสธ มสธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ

5-19การส่งเสริมการเกษตรในประเทศไทย

หรอืเครอืขา่ยนี้เปน็ทัง้เครอืขา่ยการทำงานและกลุม่เปา้หมายของงานสง่เสรมิการเกษตรทัง้นี้สามารถแยกการ

ปฏิบัติงานในพื้นที่ออกเป็น2ระดับคือการปฏิบัติงานในระดับอำเภอและการปฏิบัติงานในระดับตำบล

1.1 การ ปฏบิตั ิงาน ใน ระดบั อำเภอ เน้นการทำงานในภาพรวมของสำนักงานเกษตรอำเภอโดย

มีการจัดโครงสร้างระบบงานและกลไกการทำงานของสำนักงานเกษตรอำเภอให้เอื้อต่อการปฏิบัติงานให้มาก

ที่สุดมี เกษตร อำเภอ ซึ่ง เป็น ผู้ มี บทบาท สำคัญ ใน การนำ ประสาน และ เชื่อม โยงเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตร

ในสำนักงานเกษตรอำเภอทุกคน และหน่วยงานภาคีอื่นๆที่เกี่ยวข้องให้เกิดการปฏิบัติงานร่วมกัน โดยได้

กำหนดแนวทางการ ดำเนิน งานของสำนักงานเกษตรอำเภอดังนี้

1.1.1 วเิคราะห์และจดัทำขอ้มลูในภาพรวมของสำนกังานเกษตรอำเภอทัง้ขอ้มลูพืน้ฐาน

การเกษตร ข้อมูลที่เกี่ยวข้องเพื่อให้ทราบและเข้าใจสถานการณ์ในพื้นที่ที่รับผิดชอบในมิติต่างๆ และใช้

ประโยชน์ในการกำหนดประเด็นและวางแผนพัฒนาแก้ไขปัญหาให้ตรงกับความต้องการของเกษตรกรกลุ่ม

เป้าหมายมีความเหมาะสมกับชุมชนโดยข้อมูลต้องมีความเป็นปัจจุบันอยู่เสมอ

1.1.2 กำหนดเป้าหมายร่วมการพัฒนาในภาพรวมของอำเภอในระยะสั้น (รายไตรมาส

รายปี) ตามความพร้อมของข้อมูลและทีมงานและเป้าหมายร่วมระยะยาว โดยการมีส่วนร่วมของเจ้าหน้าที่

ส่งเสริมการเกษตรทุกคนตามสถานการณ์และศักยภาพของพื้นที่ที่ระบุไว้ในข้อ1และประสานงานในการ

นำเสนอเป้าหมายสู่การปฏิบัติกับเกษตรกร/ชุมชนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและภาคีการพัฒนาอื่นๆ

1.1.3 จดัทำแผนปฏบิตัิงานรายเดอืนรายปีของสำนกังานเกษตรอำเภอเพื่อตอบสนอง

เป้าหมายการพัฒนาร่วมที่ได้กำหนด โดยจำแนกกลุ่มบุคคลและพื้นที่เป้าหมายเป็นรายตำบลที่ชัดเจนและ

บูรณาการงาน/โครงการ และงบประมาณที่ได้รับการสนับสนุนจากส่วนต่างๆ ไว้ในแผนและใช้แผนปฏิบัติ

งานในการจัดทีมปฏิบัติงานในพื้นที่ตามความเหมาะสมเพื่อการเรียนรู้และทำงานร่วมกันเป็นทีม

1.1.4มอบหมายให้มีผูร้บัผดิชอบ(เจา้ภาพ)ในงานหลกัๆที่เปน็ภาพรวมของสำนกังาน

เกษตรอำเภอเช่นงานข้าวพืชไร่งานข้อมูลงานวิสาหกิจชุมชนเป็นต้นซึ่งผู้รับผิดชอบต้องรวบรวมวิเคราะห์

ข้อมูลที่เกี่ยวข้องศึกษาเรียนรู้งานในเรื่องนั้นๆและพร้อมที่จะนำเสนอหรือใช้ประโยชน์ได้ทุกเวลา

1.1.5 ดำเนนิการตามแผนโดยใช้กลไกของศนูย์บรกิารและถา่ยทอดเทคโนโลยีการเกษตร

ประจำตำบลและกลุม่เครอืขา่ยการทำงานในระดบัพืน้ที่ซึง่เจา้หนา้ที่สง่เสรมิการเกษตรตอ้งเรยีนรู้และพฒันา

ตนเองจากการปฏิบัติงานและมีเวทีในการเรียนรู้ร่วมกันในระดับอำเภออย่างสม่ำเสมอ

1.1.6 ติดตามประเมินผลจัดทำรายงานและประชาสัมพันธ์เผยแพร่ผลงานส่งเสริม

การเกษตร

1.2 การ ปฏบิตั ิงาน ใน ระดบั ตำบลการปฏิบัติงานส่งเสริมการเกษตรระดับตำบลใช้กลไกศูนย์

บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบลในการขับเคลื่อนโดยเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรต้อง

สนับสนุนและทำงานร่วมกับคณะกรรมการบริหารศูนย์ฯ

1.2.1การจดัทำขอ้มลูการเกษตรการทำงานสง่เสรมิการเกษตรเปน็การทำงานที่เกีย่วขอ้ง

ทั้งในระดับครัวเรือนเกษตรกร ระดับกลุ่ม ระดับตำบล และระดับเหนือขึ้นไป การทำงานในพื้นที่มีความ

จำเป็นจะต้องให้กลุ่มมีข้อมูลเป็นของตนเองตำบลมีข้อมูลเป็นของตนเองซึ่งหมายถึงเริ่มต้นด้วยการค้นหา

Page 20: การส่งเสริม การเกษตร ในประเทศไทยagri.stou.ac.th/UploadedFile/91720-5.pdf5.1.2 สถานการณ์การส่งเสริม

มสธ มสธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ

5-20 การส่งเสริมการเกษตรเพื่อการพัฒนา

ชนิดหรือประเภทของข้อมูลที่มีความจำเป็นต้องรู้และใช้ เพื่อให้แต่ละระดับได้มีการนำข้อมูลมาวิเคราะห์

สังเคราะห์ และใช้ประโยชน์ในการจัดการและการพัฒนา ตลอดจนการใช้ข้อมูลเพื่อเป็นสื่อกลางในการ

เชื่อมโยงหรือบูรณาการร่วมกับเครือข่ายที่เกี่ยวข้องหรือพันธมิตรที่จะให้การสนับสนุนหรือใช้ข้อมูลสำหรับ

ในการตัดสินใจของหน่วยงานเหนือขึ้นไปในการวางแผนและการพัฒนาซึ่งประกอบด้วย

1) ข้อมูล กลุ่ม การจัดทำข้อมูลกลุ่ม และทบทวนข้อมูลทุกปี เพื่อให้ข้อมูลเป็น

ปัจจุบันอยู่เสมอ

2) ขอ้มลู ระดบั ตำบลเปน็ขอ้มลูประจำตำบลขอ้มลูขา่วสารองค์ความรู้และขอ้มลู

ที่เกี่ยวข้องในทุกด้าน เพื่อนำมาใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานข้อมูลปัญหาความเร่งด่วนและข้อมูลที่จำเป็นของพื้นที่

ในการวิเคราะห์จุดแข็งจุดอ่อนโอกาสและอุปสรรคอันนำไปสู่การจัดทำเป้าหมายและแผนพัฒนาการเกษตร

ระดับตำบลที่จำเป็นสำหรับการปฏิบัติงานในตำบล

3) ขอ้มลู ของ เจา้ หนา้ที ่ระดบั ตำบลเปน็ขอ้มลูทีม่าจากขอ้มลูกลุม่และขอ้มลูระดบั

ตำบลที่รวบรวม/จดัเกบ็วเิคราะห์ประมวลผลและเรยีบเรยีงเปน็ฐานขอ้มลูในการปฏบิตัิงานเชน่ขอ้มลูพืน้ฐาน

4ด้าน(เศรษฐกิจสังคมชีวภาพและกายภาพ)ข้อมูลการผลิตข้อมูลทะเบียนเกษตรกรอื่นๆดังนั้นการจัด

ทำขอ้มลูกลุม่ขอ้มลูตำบลและขอ้มลูเจา้หนา้ที่มาจากการประสานงานการจดัทำขอ้มลูรว่มกบัองคก์รปกครอง

ส่วนท้องถิ่น กลุ่มและเครือข่าย โดยมีการวิเคราะห์ข้อมูลกับคณะกรรมการบริหารศูนย์บริการและถ่ายทอด

เทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบลองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกลุ่มและเครือข่ายสำหรับการนำข้อมูลไปใช้

ในการจัดทำแผนพัฒนาการเกษตรระดับตำบลการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์และสนับสนุนการใช้ประโยชน์แก่

เกษตรกรและบคุคลทัว่ไปโดยนำเทคโนโลยีคอมพวิเตอร์และอืน่ๆมาใช้เปน็เครือ่งมอืได้สะดวกถกูตอ้งและ

รวดเร็ว

1.2.2การจัดทำแผนพัฒนาการเกษตรระดับตำบล การพัฒนาการเกษตรของเจ้าหน้าที่

ส่งเสริมการเกษตรในระดับพื้นที่ มีความเกี่ยวพันและเชื่อมโยงกับเกษตรกรกลุ่มเกษตรกร ซึ่งถือว่าเป็น

ผู้ที่ได้รับการพัฒนาและรับบริการการเกษตรจากหน่วยงานและองค์กรภาครัฐ องค์กรเอกชนและอื่นๆถ้า

หากไม่มีแผนการพัฒนาในระดับต่างๆก็จะทำให้การพัฒนาของหน่วยงานที่ทำหน้าที่ในการพัฒนาขั้นต้นหรือ

ขั้นพื้นฐานดำเนินการได้ไม่ตรงกับความต้องการหรือเกิดความซ้ำซ้อน ซึ่งไม่เป็นผลดีกับเกษตรกรดังนั้น

งานส่งเสริมการเกษตรจึงมีความจำเป็นที่จะต้องมีแผนพัฒนาการเกษตรระดับตำบล เพื่อใช้เป็นเครื่องมือ

สำหรับบ่งบอกว่า เกษตรกรหรือกลุ่มเกษตรกรหรือชุมชนเกษตรกรมีความจำเป็นหรือต้องการพัฒนาการ

เกษตรไปในทิศทางใดประกอบด้วย

1) การ จัด ทำ แผนก ลุ่ม ในลักษณะของแผนปี ที่มาจากการวิเคราะห์ข้อมูลและ

ศักยภาพของกลุ่ม/เครือข่ายแล้วนำมากำหนดเป้าหมายการพัฒนาและกำหนดเป็นแผนปฏิบัติงานกลุ่ม

2) การ จัด ทำ แผน พัฒนาการ เกษตร ประจำ ตำบลเป็นความร่วมมือของหน่วยงาน

องค์การภาครัฐและภาคีอื่นๆที่ร่วมกันปฏิบัติงานร่วมกันอาทิการนำข้อมูลความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มและแผนปฏิบัติงานกลุ่มมาเป็นแนวทางในการจัดเวทีระดับต่างๆเพื่อสนับสนุนการเกษตรระดับตำบล

Page 21: การส่งเสริม การเกษตร ในประเทศไทยagri.stou.ac.th/UploadedFile/91720-5.pdf5.1.2 สถานการณ์การส่งเสริม

มสธ มสธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ

5-21การส่งเสริมการเกษตรในประเทศไทย

3) การ จดั ทำ แผน ปฏบิตั ิงาน ของ เจา้ หนา้ที ่และ หนว่ย งานเพือ่จดัทำแผนสนบัสนนุ

ตามเป้าหมายของกลุ่ม และศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบล โดยมีการจัดทำเป็น

แผนรายปีของหนว่ยงานแผนรายทมีของกลุม่ตำบลและแผนรายบคุคลทัง้นี้เพือ่ให้แผนดงักลา่วของเจา้หนา้ที่

สามารถเชือ่มโยงและบรูณาการการทำงานรว่มกบัเครอืขา่ยและพนัธมติรโดยใช้แผนเปน็เครือ่งมอืในการปฏบิตัิ

งานดังนั้นแผนกลุ่มจะต้องเป็นส่วนหนึ่งของแผนพัฒนาการเกษตรประจำตำบลส่วนแผนการปฏิบัติงานของ

เจา้หนา้ที่และหนว่ยงานจะตอ้งสอดคลอ้งสามารถสนบัสนนุแผนกลุม่และแผนพฒันาการเกษตรประจำตำบล

1.2.3การจดัการเรยีนรู้และการถา่ยทอดเทคโนโลยีการเกษตรการจดักระบวนการเรยีนรู้

เป็นภารกิจของเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรที่จะกระตุ้นให้คณะกรรมการบริหารศูนย์บริการและถ่ายทอด

เทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบลองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการจัดกิจกรรมหรือขั้นตอนให้เกษตรกร

รับรู้และเรียนรู้ความรู้ข่าวสารหรือข้อมูลที่จำเป็น เพื่อการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมในการทำการเกษตรไปสู่

ทิศทางที่ดีขึ้นโดยมีแนวทางการดำเนินงานการจัดการเรียนรู้และถ่ายทอดเทคโนโลยีที่มาจากความต้องการ

ของเกษตรกรกำหนดกลุ่มเป้าหมายวัตถุประสงค์ในการพัฒนากลุ่มกำหนดประเด็นการเรียนรู้และเนื้อหา

ตามวัตถุประสงค์จัดทำแผนการเรียนรู้ของกลุ่มกำหนดรูปแบบ/วิธีการ/เครื่องมือเพื่อใช้ในการเรียนรู้โดย

เนน้เกษตรกรเปน็ศนูยก์ลางในการเรยีนรู้ใช้รปูแบบการเรยีนรู้ตามความเหมาะสมกบักลุม่เปา้หมายและความ

ต้องการเช่นกระบวนการโรงเรียนเกษตรกรฝึกอบรม/ทัศนศึกษาดูงานแปลงเรียนรู้/จุดถ่ายทอด/จุดสาธิต

การวิจัยท้องถิ่นการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม(PAR)เป็นต้น

1.2.4 การให้บริการทางการเกษตร การให้บริการทางการเกษตรเป็นพันธกิจสำคัญ

ประการหนึ่งของกรมส่งเสริมการเกษตร ซึ่งเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรต้องเอื้ออำนวยให้ศูนย์บริการและ

ถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบลมีระบบการให้บริการในพื้นที่อย่างมีประสิทธิภาพมีแนวทางการ

ดำเนินงานสามารถทำได้ใน2แนวทางคือ

1) การ ให ้บรกิาร ณ ทีท่ำการ ศนูย ์บรกิาร และ ถา่ยทอด เทคโนโลย ีการเกษตร ประจำ

ตำบลโดยรับเรื่องการขอรับบริการทางการเกษตรของเกษตรกรเช่นการตรวจวิเคราะห์ดิน/น้ำ/สารตกค้างใน

ผลผลติ/ศตัรูพชือืน่ๆแลว้แก้ปญัหาที่ดำเนนิการได้หรอืสง่ตอ่หนว่ยงานที่รบัผดิชอบตดิตามผลและแจง้ผลการ

ดำเนินงานให้เกษตรกรทราบรวมทั้งการประชาสัมพันธ์เผยแพร่และแจกจ่ายเอกสารข้อมูลข่าวสารความรู้

ที่ตรงกับความต้องการของเกษตรกรและให้บริการการจัดอบรมถ่ายทอดความรู้

2) การ ให้ บริการ คลินิก เกษตร เคลื่อนที่ แบบ ประหยัด โดยใช้สถานที่ที่มีอยู่แล้ว

เช่นศาลาวัดโรงเรียนฯลฯเพื่อรวบรวมและแก้ไขปัญหาในตำบลรวมทั้งใช้เป็นข้อมูลสำหรับวางแผนการจัด

คลินิกเกษตรเคลื่อนที่เพื่อเทิดพระเกียรติในระดับจังหวัด

1.2.5การส่งเสริมกลุ่ม/เครือข่าย กรมส่งเสริมการเกษตรมีภารกิจในการส่งเสริมกลุ่ม

และเครือข่าย เพื่อเป็นกลไกในการขับเคลื่อนการพัฒนาการเกษตรไปสู่ครอบครัวของเกษตรกร โดยการ

สนับสนุนให้กลุ่มมีการดำเนินงานที่เข้มแข็งสามารถพึ่งพาตนเองได้ มีการเชื่อมโยงการทำงานร่วมกันใน

ลักษณะเครือข่ายแลกเปลี่ยนเรียนรู้และเครือข่ายกิจกรรม รวมทั้งมีการประสาน/เชื่อมโยงกับศูนย์บริการ

และถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบล และหน่วยงานส่งเสริมการเกษตรทั้งนี้ โดยมีอาสาสมัคร

Page 22: การส่งเสริม การเกษตร ในประเทศไทยagri.stou.ac.th/UploadedFile/91720-5.pdf5.1.2 สถานการณ์การส่งเสริม

มสธ มสธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ

5-22 การส่งเสริมการเกษตรเพื่อการพัฒนา

เกษตรทำหน้าที่ประสานงานการขับเคลื่อนกิจกรรมของกลุ่มและเครือข่ายในชุมชนซึ่งมีแนวทางการดำเนิน

งานคือ

1)การบรหิารจดัการองคก์รของกลุม่/เครอืขา่ยโดยการทบทวนวเิคราะห์ศกัยภาพ

การบริหารจัดการของคณะกรรมการ/แกนนำกำหนด/ปรับปรุงเป้าหมายและจัดทำแผนบริหารกลุ่มกำหนด

โครงสร้าง/บทบาทของคณะกรรมการให้สอดคล้องกับเป้าหมายและแผนบริหารกลุ่ม จัดระบบการประสาน

งานติดต่อสื่อสารและวินัยกลุ่ม (ระเบียบและข้อบังคับที่จำเป็น)ติดตามการดำเนินงานและประเมินผลเพื่อ

ปรับปรุงกิจการของกลุ่มอย่างต่อเนื่อง

2)การจัดทำและเผยแพร่ข้อมูลของกลุ่ม/เครือข่ายประกอบด้วยขั้นตอนการจัด

ทำขอ้มลูโดยการวางแผนจดัเกบ็ขอ้มลูดำเนนิการจดัเกบ็ขอ้มลูวเิคราะห์ผลและสรปุขอ้มลูกลุม่จดัทำทะเบยีน

สมาชิกและทะเบียนกลุ่ม นำเสนอข้อมูลกลุ่มต่อคณะกรรมการบริหารศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยี

การเกษตรประจำตำบลเพื่อเชื่อมโยงเป็นส่วนหนึ่งในระบบข้อมูลทางการเกษตรของศูนย์บริการและถ่ายทอด

เทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบล รวมทั้งประชาสัมพันธ์เผยแพร่ข้อมูลกลุ่มแก่หน่วยงานภาคีทั้งภาครัฐและ

เอกชนตลอดจนผู้สนใจทั่วไปโดยผ่านช่องทางต่างๆ เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในการวางแผนและพัฒนากลุ่ม/

เครือข่าย

3)การวิเคราะห์ศักยภาพและจัดทำแผนกลุ่ม/เครือข่ายโดยการรวบรวมข้อมูล

ทะเบียนกลุ่ม/เครือข่ายและข้อมูลที่เกี่ยวข้องศึกษา และวิเคราะห์ข้อมูลกลุ่ม/เครือข่ายศักยภาพกำหนด

เป้าหมายการพัฒนาจัดทำแผนกลุ่ม/เครือข่ายและแผนปฏิบัติงานนำเสนอแผนกลุ่มในเวทีประชาคมระดับ

หมู่บ้าน/ตำบลและนำเสนอต่อคณะกรรมการบริหารศูนย์บริการ และถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำ

ตำบลเพือ่เชือ่มโยงให้แผนกลุม่ฯเปน็สว่นหนึง่ในแผนพฒันาการเกษตรของชมุชนตลอดจนเพือ่แบง่ภารกจิของ

คณะกรรมการบรหิารศนูย์บรกิารและถา่ยทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบลในการตดิตามและสนบัสนนุ

แผนกลุ่ม

4)การปฏิบัติงานตามแผน โดยการจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้สำหรับกิจกรรม

เรยีนรู้และการตดิตามประสานงานสนบัสนนุการดำเนนิกจิกรรมอืน่ๆตามแผนกลุม่ฯตลอดจนชว่ยประสาน

อาสาสมัครเกษตรและหน่วยงานภาคี

5)การสรปุและประเมนิผลการดำเนนิงานในแตล่ะกจิกรรมของสมาชกิรายบคุคล

และภาพรวมของกลุ่มโดยประเมินทั้งด้านของผลผลิตมูลค่าหรือมูลค่าเพิ่มโดยเปรียบเทียบกับเป้าหมายที่

กลุม่กำหนดไว้พรอ้มวเิคราะห์ปญัหาอปุสรรคขอ้เสนอแนวทางการพฒันาสรปุองค์ความรู้การปฏบิตัิที่ดี(Best

Practices) เพื่อขยายผลและนำเสนอผลการประเมินต่อคณะกรรมการการบริหารศูนย์บริการและถ่ายทอด

เทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบล

จากที่กล่าวมาข้างต้นสรุปได้ว่าระบบปฏิบัติงานในพื้นที่ ประกอบด้วย 1) การปฏิบัติงานในระดับ

อำเภอซึ่งมีแนวทางการดำเนินงานโดยการวิเคราะห์และจัดทำข้อมูลในภาพรวมของสำนักงานเกษตรอำเภอ

กำหนดเป้าหมายร่วมการพัฒนาในภาพรวมของอำเภอในระยะสั้น (รายไตรมาส รายปี) จัดทำแผนปฏิบัติ

งานรายเดือนรายปีของสำนักงานเกษตรอำเภอมอบหมายให้มีผู้รับผิดชอบ(เจ้าภาพ)ในงานหลักๆที่เป็น

Page 23: การส่งเสริม การเกษตร ในประเทศไทยagri.stou.ac.th/UploadedFile/91720-5.pdf5.1.2 สถานการณ์การส่งเสริม

มสธ มสธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ

5-23การส่งเสริมการเกษตรในประเทศไทย

ภาพรวมของสำนักงานเกษตรอำเภอดำเนินการตามแผนโดยใช้กลไกของศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยี

การเกษตรประจำตำบลและกลุ่มเครือข่ายติดตามประเมินผล จัดทำรายงานและประชาสัมพันธ์เผยแพร่

ผลงานส่งเสริมการเกษตร และ 2) การปฏิบัติงานในระดับตำบลประกอบด้วยการจัดทำข้อมูลการเกษตร

การจัดทำแผนพัฒนาการเกษตรระดับตำบลการจัดการเรียนรู้/การถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรการให้

บริการทางการเกษตรการส่งเสริมกลุ่ม/เครือข่าย

2. ระบบ สนบัสนนุ การ ปฏบิตั ิงาน ใน พืน้ที ่ เปน็การสนบัสนนุการทำงานของสำนกังานเกษตรอำเภอ

ให้สามารถดำเนินงานส่งเสริมการเกษตรให้สามารถบรรลุเป้าหมายตามพันธกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพและ

ประสิทธิผล

กรมส่งเสริมการเกษตร (2554: 33-36) ระบุถึงระบบสนับสนุนการปฏิบัติงานประกอบด้วย 5

องค์ประกอบคือ การเสริมสร้างขีดความสามารถของบุคลากรในการปฏิบัติงานการสนับสนุนทางวิชาการ

เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารการประชาสัมพันธ์การติดตามและประเมินผลรายละเอียดดังนี้

2.1 การ เสริม สร้าง ขีด ความ สามารถ ของ บุคลากร ใน การ ปฏิบัติ งาน ประกอบด้วยการเรียนรู้

ผ่านเวทีตามระบบส่งเสริมการเกษตรการฝึกอบรมเฉพาะกิจ การส่งเสริมการเรียนรู้ด้วยตนเอง และการ

นิเทศงานโดยมีแนวทางการดำเนินงานคือ

2.1.1 เวทีตามระบบส่งเสริมการเกษตร

1) เวท ีสมัมนา เชงิ ปฏบิตั ิการ ตาม ระบบ สง่ เสรมิ การเกษตรเพือ่เปน็เวทีให้เจา้หนา้ที่

ส่งเสริมการเกษตรได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ผลการปฏิบัติงานผลงานทางวิชาการรวมทั้งการกำหนดแนวทางการ

ดำเนินงานส่งเสริมการเกษตรเพื่อให้บรรลุเป้าหมายของหน่วยงานประกอบด้วย

-การสัมมนาเชิงปฏิบัติการระดับประเทศ (NationalWorkshop:NW)

จัดโดยส่วนกลางอย่างน้อยปีละ1ครั้ง

-การสัมมนาเชิงปฏิบัติการระดับเขต (RegionalWorkshop: RW) จัด

โดยสำนักส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรเขตอย่างน้อยปีละ3ครั้ง

-การสัมมนาเชิงปฏิบัติการระดับจังหวัด (ProvincialWorkshop:PW)

จัดโดยสำนักงานเกษตรจังหวัดอย่างน้อยปีละ1ครั้ง

-การสัมมนาเชิงปฏิบัติการระดับอำเภอ(DistrictWorkshop:DW)จัด

โดยสำนักงานเกษตรอำเภออย่างน้อย2เดือน/ครั้งครั้งละ1วัน

2) เวท ีประชมุ เพือ่ การ บรหิารเพือ่สรา้งความเขา้ใจและรว่มกนัแกไ้ขปญัหาในการ

ปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพประกอบด้วย

-การประชุมผู้บริหารกรมส่งเสริมการเกษตรอย่างน้อยเดือนละ1ครั้ง

-การประชุมสำนัก/กอง/เขต/ศูนย์ทุกเดือน

-การประชุมเกษตรจังหวัดและหัวหน้าส่วนราชการระดับเขตทุก3เดือน

-การประชุมสำนักงานเกษตรจังหวัดประจำเดือน(ProvincialMeeting:

PM)เดือนละ1ครั้ง

Page 24: การส่งเสริม การเกษตร ในประเทศไทยagri.stou.ac.th/UploadedFile/91720-5.pdf5.1.2 สถานการณ์การส่งเสริม

มสธ มสธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ

5-24 การส่งเสริมการเกษตรเพื่อการพัฒนา

-การประชุมเกษตรอำเภอประจำเดือน(MonthlyMeeting:MM)เดือน

ละ1ครั้งในสัปดาห์ที่4

-การประชุมเจ้าหน้าที่สำนักงานเกษตรอำเภอประจำสัปดาห์ (Weekly

Meeting:WM)ทุกสัปดาห์สัปดาห์ละ1วัน

2.1.2 การฝึกอบรมเฉพาะกิจเป็นการจัดอบรมหลักสูตรต่างๆด้านบริหารจัดการด้าน

วิชาการ เพื่อให้เจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรนำไปใช้ส่งเสริมเกษตรกรในพื้นที่ต่อไป เช่น หลักสูตรอบรม

ที่ปรึกษาการผลิตพืชตามระบบคุณภาพ

2.1.3 การส่งเสริมการเรียนรู้ด้วยตนเอง เพื่อให้เจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรสามารถ

เรียนรู้ด้วยตนเองตามบทบาทภารกิจจากช่องทางต่างๆเช่นคลังความรู้ของกรมส่งเสริมการเกษตร(DOAE

K-center),E-learning,internet,webblog(เรื่องเล่า)การเรียนรู้ด้วยตนเองจากการทำงาน(onthejob

training)และการสอนงาน(coaching)เป็นต้น

2.1.4 การนเิทศงานเป็นการเสริมสร้างขวัญกำลังใจให้เจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรด้วย

การให้ผู้รับการนิเทศได้มีส่วนร่วมในการวิเคราะห์สถานการณ์ปัญหากำหนดเป้าหมายและร่วมตัดสินใจใน

การปรับปรุงแก้ไขการปฏิบัติงานให้บรรลุเป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพ

2.2 การ สนับสนุน ทาง วิชาการ เป็นการสนับสนุนข้อมูลความรู้ด้านวิชาการเกษตรส่งเสริม

การเกษตร การบริหารจัดการ และวิชาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องให้ได้รับความรู้ไปปฏิบัติงานอย่างสอดคล้องกับ

บทบาทหน้าที่

2.3 เทคโนโลยี สารสนเทศ และ การ สื่อสารเป็นการนำเทคโนโลยีการสื่อสารเข้ามาช่วยในการ

บริหารจัดการฐานข้อมูลต่างๆ เพื่อให้เกิดความสะดวก รวดเร็ว ถูกต้องทันสมัยและเชื่อถือได้ สามารถใช้

เป็นแหล่งข้อมูลข่าวสารและคลังความรู้ในการสนับสนุนการดำเนินงานส่งเสริมการเกษตร

2.4 การ ประชาสัมพันธ์ เพื่อส่งผ่านข้อมูลข่าวสารต่างๆ ถึงเกษตรกรและบุคคลเป้าหมาย

อย่างมีประสิทธิภาพ โดยกำหนดกรอบและแผนการเผยแพร่ และดำเนินการผ่านสื่อที่เหมาะสม รวมทั้ง

เพิ่มขีดความสามารถของบุคลากรและพัฒนาเครือข่ายการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์

2.5 การ ตดิตาม และ ประเมนิ ผลเพื่อให้ทราบความก้าวหน้าและปัญหาอุปสรรคในการดำเนิน

งานตามกระบวนงานในพื้นที่ โดยกำหนดตัวชี้วัดกลาง มีการติดตามประเมินผลทุกระดับอย่างสม่ำเสมอ

ทุกฝ่ายมีส่วนร่วมและใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมืออย่างเหมาะสม

จากที่กล่าวมาข้างต้นสรุปได้ว่าระบบสนับสนุนการปฏิบัติงานในพื้นที่ประกอบด้วย5ระบบคือการ

เสริมสร้างขีดความสามารถของบุคลากรในการปฏิบัติงานการสนับสนุนทางวิชาการ เทคโนโลยีสารสนเทศ

และการสื่อสารการประชาสัมพันธ์การติดตามและประเมินผล

Page 25: การส่งเสริม การเกษตร ในประเทศไทยagri.stou.ac.th/UploadedFile/91720-5.pdf5.1.2 สถานการณ์การส่งเสริม

มสธ มสธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ

5-25การส่งเสริมการเกษตรในประเทศไทย

เรื่อง ที่ 5.2.2 กลยุทธ์ ใน การ บริหาร งาน ส่ง เสริม การเกษตร

ที่มา ของ กลยุทธ์ ใน การ บริหาร งาน ส่ง เสริม การเกษตรประโชคชุมพล (2536:14)กล่าวว่ากลยุทธ์หมายถึงแผนงานรวมซึ่งเชื่อมโยงข้อได้เปรียบเชิง

กลยุทธ์ในด้านต่างๆขององค์กรเข้าเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันเพื่อทำให้องค์กรอยู่รอดได้ภายใต้ความผันผวน

ของสภาพแวดล้อมต่างๆกลยุทธ์จะถูกกำหนดขึ้นและนำมาใช้เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ภายใต้ขอบเขตของ

ความสามารถที่มีอยู่ขององค์กรนั้นๆกลยุทธ์ไม่ใช่วิธีการธรรมดาสมชัยศรีสุทธิสาคร(2547:1)ได้ให้ความ

เห็นว่า กลยุทธ์ ต้องมีการใช้ความคิดเป็นพิเศษ เพื่อเลือกวิธีการที่ดีที่สุดในสถานการณ์ที่เหมาะสม และ

สามารถแปรเปลี่ยนสถานการณ์ทุกประเภทให้กลับกลายเป็นประโยชน์แก่หน่วยงาน ไม่ว่าขณะนั้นองค์กร

จะอยู่ในสถานการณ์ใดไม่ว่าจะเป็นช่วงได้เปรียบหรือเสียเปรียบก็ตาม

ในการทำงานสง่เสรมิการเกษตรนกัสง่เสรมิการเกษตรตอ้งพบกบัการเปลีย่นแปลงและสิง่ใหม่ตลอด

เวลา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในปัจจุบันที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว และมีความเกี่ยวพันกันทั่วโลกอย่าง

หลีกเลี่ยงไม่ได้ มีสถานการณ์หลายอย่างที่ส่งผลกระทบต่อภาคการเกษตรและเกษตรกร ได้แก่ การ

เปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ (ClimateChange)การเปิดเสรีทางการค้า (FreeTrade)ความมั่นคง

ทางด้านอาหาร(FoodSecurity)ทิศทางการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศการกระจายอำนาจไปสู่

ท้องถิ่นรวมถึงสภาวะความจำกัดของทรัพยากรการผลิตไม่ว่าจะเป็นแรงงานที่ดินและทรัพยากรธรรมชาติ

อื่นๆเป็นต้นภาคการเกษตรซึ่งเป็นสาขาการผลิตหลักของประเทศต้องมีการปรับตัวงานส่งเสริมการเกษตร

จึงต้องมีการเตรียมพร้อมให้แก่เกษตรกรให้สามารถรับมือกับสถานการณ์ต่างๆได้และจำเป็นต้องมีกลยุทธ์

ใหม่ๆในการบริหารงานส่งเสริมการเกษตรที่สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมวัฒนธรรมการเมือง

เศรษฐกิจและการค้าระหว่างประเทศที่ผันแปรอย่างรวดเร็วประกอบกับภาครัฐได้มีการปฏิรูประบบราชการ

ตั้งแต่พ.ศ.2545ภายใต้วิสัยทัศน์“พัฒนาระบบราชการไทยให้มีความเป็นเลิศสามารถรองรับกับการพัฒนา

ประเทศในยคุโลกาภิวตัน”์มุง่เนน้ปรบัปรงุสว่นราชการทัง้ระบบงานคนและงบประมาณให้ทนัสมยัประชาชน

มีส่วนร่วมบุคลากรมีขีดความสามารถรวมทั้งปรับระบบการเงินและวัฒนธรรมองค์กร

การบริหารงานส่งเสริมการเกษตรได้ปรับเปลี่ยนไปตามการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นข้างต้นในปัจจุบัน

การบริหารงานส่งเสริมการเกษตรยึดกลยุทธ์ รูปแบบการบริหารงานบุคลากรและงบประมาณ ในลักษณะ

ดังนี้

1. ปรับเปลี่ยนการทำงานของหน่วยงานกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ในลักษณะบูรณาการ

2. ให้เกษตรกรและชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมยึดหลักการมีส่วนร่วมของเกษตรกรสถาบันเกษตรกร

และชุมชนเพื่อพัฒนาขีดความสามารถของชุมชนด้านการเกษตร

Page 26: การส่งเสริม การเกษตร ในประเทศไทยagri.stou.ac.th/UploadedFile/91720-5.pdf5.1.2 สถานการณ์การส่งเสริม

มสธ มสธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ

5-26 การส่งเสริมการเกษตรเพื่อการพัฒนา

3. วางระบบการบริหารงานโดยมุ่งผลสัมฤทธิ์ (Result BasedManagement) จัดทำเครื่องวัด

ผลสัมฤทธิ์ของงานของเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรและเกษตรกร เป็นการวัดผลงาน (output) ผลลัพธ์

(outcome)และผลสัมฤทธิ์(result)

4. สนับสนุนการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น

5. การบริการในภาครัฐที่มีการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร/ให้ความรู้การเกษตรผ่านสื่อที่เป็น

อิเล็กทรอนิกส์มากขึ้น

6. ยึดหลักทางสายกลางมีความพอเพียงและเลี้ยงตนเองได้เพื่อให้การพัฒนาเป็นไปอย่างสมดุล

กลยุทธ์ บาง ประการ ใน การ บริหาร งาน ส่ง เสริม การเกษตรในที่นี้จะกล่าวถึง กลยุทธ์บางประการที่ใช้บริหารงานส่งเสริมการเกษตรทั้งด้านการผลิตและการ

จัดการสินค้าเกษตรด้านการเสริมสร้างความเข้มแข็งของเกษตรกรครอบครัวเกษตรกร องค์กรเกษตรกร

วิสาหกิจชุมชนและชุมชนเกษตรกรด้านการขับเคลื่อนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในภาคการเกษตร

และด้านการให้บริการทางการเกษตรและช่วยเหลือเกษตรกรดังนี้

1. กลยทุธ ์กา รบ ูรณา การ การ ทำงาน โดย ใช ้กลไก ของ คณะ ทำงาน ซึง่ ม ีผู ้แทน จาก หนว่ย งาน ตา่งๆ เขา้

รว่ม และ ม ีการ เชือ่ม โยง กนั ทกุ ระดบันำมาใช้ในการแก้ไขปัญหาที่มีลักษณะหลายหน่วยงานดำเนินการจำเป็น

ต้องประสานทิศทางและวิธีการดำเนินงานตั้งแต่ระดับนโยบายถึงระดับพื้นที่เพื่อแก้ไขปัญหาทั้งระบบและ

ก่อให้เกิดความเป็นเอกภาพลดความซ้ำซ้อนกลยุทธ์นี้เป็นการบริหารจัดการที่มีผู้รับผิดชอบอย่างชัดเจน

และสามารถดำเนินงานได้อย่างครบวงจรและต่อเนื่อง มีแนวทางการบริหารจัดการที่เหมาะสมแก่เวลาทัน

ต่อสถานการณ์และรัฐให้การสนับสนุนอย่างจริงจังด้านงบประมาณแผนการดำเนินงานกรอบเวลาและการ

ติดตามผล

ตัวอย่างการดำเนินงานตามกลยุทธ์นี้ได้แก่การนำมาใช้ในยุทธศาสตร์สินค้าเกษตรเพื่อการบริหาร

และจัดการสินค้าเช่นกรณีการแก้ไขปัญหาผลไม้เศรษฐกิจสำคัญ6ชนิดได้แก่ทุเรียนลำไยมังคุดเงาะ

มะม่วง และลองกองที่เกษตรกรประสบปัญหาราคาตกต่ำทุกปี การแก้ไขปัญหาแบบเดิมมุ่งเน้นการแก้ไข

ปัญหาระยะสั้นในช่วงฤดูกาลเก็บเกี่ยวผลไม้ หน่วยงานเกี่ยวข้องมีหลายหน่วยงาน เข้าดำเนินการอย่างไม่

สอดรับกันทำให้รัฐต้องสูญเสียงบประมาณจำนวนมากในการแทรกแซงราคาซึ่งไม่สามารถแก้ปัญหาได้อย่าง

มีประสิทธิภาพและยั่งยืนการบูรณาการการทำงานโดยการสร้างกลไกขับเคลื่อนในรูปคณะกรรมการพัฒนา

และบริหารจัดการผลไม้ขึ้นเพื่อจัดการปัญหาผลไม้ทั้งระบบให้มีประสิทธิภาพทั้งการผลิตการแปรรูปการ

ตลาดภายในและตลาดต่างประเทศ รวมถึงด้านโลจิสติกส์ คณะกรรมการพัฒนาและบริหารจัดการผลไม้

ตั้งขึ้นตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัฒนาและบริหารจัดการผลไม้พ.ศ.2550และฉบับที่3

พ.ศ.2553ประกอบดว้ยหนว่ยงานของรฐั16หนว่ยงานทัง้ดา้นเกษตรพาณชิย์การคลงัคมนาคมอตุสาหกรรม

และธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ ผู้ประกอบการ และสถาบันเกษตรกรมีหน้าที่พิจารณาแนวทาง

การพัฒนาและบริหารจัดการผลไม้ทั้งระบบเพื่อเสนอต่อคณะรัฐมนตรีและสนับสนุนให้หน่วยงานของรัฐ

ผู้ประกอบการและสถาบันเกษตรกรร่วมมือดำเนินการให้มีเอกภาพและเป็นไปในทิศทางเดียวกันนอกจาก

Page 27: การส่งเสริม การเกษตร ในประเทศไทยagri.stou.ac.th/UploadedFile/91720-5.pdf5.1.2 สถานการณ์การส่งเสริม

มสธ มสธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ

5-27การส่งเสริมการเกษตรในประเทศไทย

นี้ยังมีการดำเนินการในสินค้าเกษตรอื่นได้แก่กล้วยไม้โดยอยู่ในรูปของคณะกรรมการกล้วยไม้แห่งชาติซึ่ง

มีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เป็นประธานเช่นเดียวกัน

กลยุทธ์บูรณาการการทำงานในมิติของโครงการและงานตามภารกิจโดยใช้กลไกของคณะทำงานเป็น

วิธีการแก้ไขปัญหาในระดับชาติจากการดำเนินงานที่ผ่านมาพบว่าปัจจัยของความสำเร็จได้แก่การมีหน่วย

งานเจ้าภาพรับผิดชอบที่ชัดเจนมีระบบข้อมูลการประเมินสถานการณ์ผลผลิตล่วงหน้าสามารถวางแผนได้

ถูกต้องและมีการเชื่อมโยงการดำเนินงานเข้ากับระดับจังหวัด และก่อให้เกิดเครือข่ายในการทำงานทั้งการ

แก้ไขปัญหาและการพัฒนา อย่างไรก็ตามยังมีปัญหาอุปสรรคในการขับเคลื่อน เป็นต้นว่าโครงสร้างของ

คณะกรรมการฯส่วนใหญ่เป็นหน่วยงานภาครัฐขาดภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ

2. กลยทุธ ์การ สรา้ง และ พฒันา เครอื ขา่ย การ ผลติ การ ตลาด สนิคา้ เกษตรเครอืขา่ยการผลติการตลาด

สินค้าเกษตรหรือเครือข่ายธุรกิจหรือclusterตามความหมายของMichaelE.Porterคือกลุ่มธุรกิจและ

สถาบันที่เกี่ยวข้องสนับสนุนต่างๆตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ มารวมตัวกันอยู่ในพื้นที่ใกล้เคียงกัน มีความ

เกื้อหนุน เชื่อมโยงกันโดยมีปัจจัยร่วมกันและเสริมซึ่งกันและกันการรวมกลุ่มเป็นclusterนั้นมีเป้าหมาย

สำคัญคือเพื่อยกระดับความสามารถในการแข่งขันหรือผลิตภาพของธุรกิจที่เกี่ยวข้องในclusterทั้งหมด

หัวใจของ clusterคือ การสร้างความร่วมมือบนพื้นฐานของการแข่งขันกัน โดยผู้ที่เกี่ยวข้องต้องกำหนด

ทิศทาง เป้าหมายและกลยุทธ์การพัฒนาร่วมรวมทั้งมีการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร ความรู้ ตลอดจน

ทรัพยากรต่างๆระหว่างกันเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพโดยรวมของclusterนั้น

แนวคิดการสร้างและพัฒนาเครือข่ายการผลิตการตลาดสินค้าเกษตรนำมาเป็นกลยุทธ์หนึ่งในการ

บรหิารงานสง่เสรมิการเกษตรเพือ่สรา้งความเขม้แขง็ให้แก่กลุม่เกษตรกรองคก์รเกษตรกรและวสิาหกจิชมุชน

ซึ่งจะสามารถพัฒนาความรู้ความสามารถของเกษตรกรพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการผลิตและควบคุม

คุณภาพการผลิตเสริมสมรรถนะและเพิ่มศักยภาพการแข่งขันให้กับสินค้าการสร้างและพัฒนาเครือข่ายการ

ผลิตการตลาดสินค้าเกษตรยังเป็นกลยุทธ์ที่เหมาะกับการบริหารจัดการด้านคุณภาพสินค้าเกษตรเนื่องจาก

จะสามารถควบคุมคุณภาพวัตถุดิบได้ตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ เครือข่ายการผลิตการตลาดสินค้าเกษตร

ส่งเสริมให้สมาชิกเข้าถึงวัตถุดิบได้ง่ายสามารถลดต้นทุนกลุ่มเกิดความร่วมมือและสร้างให้เกิดนวัตกรรม

ใหม่ๆการพัฒนาเครือข่ายจะประสบความสำเร็จภาคธุรกิจเอกชนซึ่งเป็นผู้ผลิตผู้ขายสินค้า/บริการ และ

เป็นผู้แข่งขันโดยตรงจะต้องเห็นประโยชน์จากการร่วมมือกันและมุ่งมั่นผลักดันการพัฒนาเครือข่ายอย่าง

จริงจังบทบาทของภาคเอกชนเช่นร่วมยกระดับคุณภาพสินค้าโดยกำหนดมาตรฐานสินค้าเชื่อมโยงกันเพื่อ

เพิ่มประสิทธิภาพของValueChainโดยปรับปรุงการบริหารระบบSupplyChainandLogisticsเป็นต้น

ภาครัฐหรือหน่วยงานส่งเสริมมีบทบาทสำคัญในการประสานเชื่อมโยงและสนับสนุนการพัฒนาความสามารถ

ในการแข่งขันของเครือข่ายกลยุทธ์การสร้างและพัฒนาเครือข่ายการผลิตการตลาดสินค้าเกษตรดำเนินการ

ในสินค้าเกษตรหลายชนิดเช่นเครือข่ายการผลิตการตลาดกล้วยไม้จังหวัดราชบุรี(ดูภาพที่5.1)เครือข่าย

การผลิตการตลาดมะม่วงจังหวัดฉะเชิงเทราและเครือข่ายการผลิตการตลาดผักปลอดสารพิษภาคตะวันตก

เป็นต้น

Page 28: การส่งเสริม การเกษตร ในประเทศไทยagri.stou.ac.th/UploadedFile/91720-5.pdf5.1.2 สถานการณ์การส่งเสริม

มสธ มสธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ

5-28 การส่งเสริมการเกษตรเพื่อการพัฒนา

การสร้างและพัฒนาเครือข่ายการผลิตการตลาดของสินค้าเกษตรส่งผลต่อความเข้มแข็งของ

เกษตรกรการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีการลดต้นทุนการผลิตและการตลาดการพัฒนาและ

ควบคุมคุณภาพซึ่งเครือข่ายกล้วยไม้จ.ราชบุรี ได้สรุปผลไว้ว่า เครือข่ายการผลิตการตลาดกล้วยไม้ช่วย

ให้ภาคธุรกิจได้ผลผลิตกล้วยไม้ที่มีจำนวนดอกบานต่อช่อสูงตามคุณภาพที่ภาคธุรกิจต้องการงานวิจัยและ

ส่งเสริมสามารถดำเนินการร่วมกับเกษตรกรและภาคธุรกิจ เกิดการเรียนรู้ร่วมกันและการยอมรับจาก

เกษตรกรอย่างรวดเร็วและนำไปใช้ได้ สามารถแก้ปัญหาการใช้ปุ๋ยแคลเซียมเพื่อเพิ่มความแข็งแรงแก้ไข

ปญัหาชอ่ดอกรว่งได้การเชือ่มโยงสถาบนัการศกึษาในการสรา้งบคุลากรใหม่สามารถเรยีนรู้ได้จากทัง้ชาวสวน

และนักธุรกิจนอกจากนี้ยังได้รับประโยชน์จากข้อมูลข่าวสารซึ่งจะเชื่อมโยงเครือข่ายกับหน่วยงานเทคโนโลยี

สื่อสารเพื่อพัฒนาระบบต่อไปอย่างไรก็ตามมีปัจจัยที่เป็นอุปสรรคต่อclusterได้แก่การที่ภาครัฐเป็นผู้จัด

ตั้งไม่ได้เกิดจากความต้องการของภาคธุรกิจหรือภาครัฐไม่ให้ความสนับสนุนด้านนโยบายหรือกฎระเบียบ

หรือภาคธุรกิจเห็นแก่ประโยชน์ตนตลอดจนปัญหาการทำงานของทุกหน่วยไม่ประสานกัน

• กรมศุลกากร

• กรมเจรจาการค้า/กรมส่งเสริมการส่งออก

• สนง.จัดการประชุมและนิทรรศการนานาชาติ

• ททท.

นักปรับปรุงพันธุ์กล้วยไม้

ห้องปฏิบัติการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ

ผู้ขายวัสดุ/อุปกรณ์การปลูก

กล้วยไม้และปุ๋ยยา

ผู้รับเหมาสร้างโรงเรือน

KeyBusinesses

ผู้ปลูกกล้วยไม้

ผู้ส่งออกกล้วยไม้

การบรรจุหีบห่อ

โลจิสติกส์

สายการบิน

สถาบันการเงิน

บริษัทนิทรรศการและแสดงสินค้า

• ม.เกษตรฯ(กำแพงแสน)

• วษ.ท.ราชบุรีเพชรบุรีฉะเชิงเทราชลบุรีและกาญจนบุรี

• สนง.คณะกรรมการพัฒนาการวิจัยการเกษตร(สวก.)

• สนง.สนับสนุนการวิจัย(สกว.)

• ชมรมเครือข่ายวิสาหกิจกล้วยไม้คุณภาพ

• กลุ่มกล้วยไม้ราชบุรี

• สมาคมผู้ประกอบการสวนกล้วยไม้

• สมาคมผู้ส่งออกกล้วยไม้ไทย

• สมาคมพฤกษชาติแห่งประเทศไทย

• กรมส่งเสริมการเกษตร

• กรมวิชาการเกษตร

• สนง.เกษตรจังหวัดราชบุรี

• ผู้ว่าราชการจังหวัดราชบุรี

หน่วยงานภาครัฐ

• สนง.คณะกรรมการอาชีวศึกษา

• สนง.คณะกรรมการพัฒนาการ

เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

ภาพ ที่ 5.1 เครือ ข่าย การ ผลิต การ ตลาด กล้วยไม้ จังหวัด ราชบุรีที่มา: กรมส่งเสริมการส่งออก2554

3. กลยุทธ์ การ ส่ง เสริม การเกษตร ตาม ปรัชญา ของ เศรษฐกิจ พอ เพียง สำนักงานคณะกรรมการ

เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ได้อัญเชิญพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเกี่ยวกับปรัชญา

เศรษฐกิจพอเพียงมาเป็นปรัชญานำทางในการพัฒนาและบริหารประเทศ ในแผนพัฒนาฉบับที่ 9 ซึ่งได้

Page 29: การส่งเสริม การเกษตร ในประเทศไทยagri.stou.ac.th/UploadedFile/91720-5.pdf5.1.2 สถานการณ์การส่งเสริม

มสธ มสธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ

5-29การส่งเสริมการเกษตรในประเทศไทย

ประมวลและสรุปความหมายว่า “เศรษฐกิจพอเพียง” หมายความถึง แนวการดำรงอยู่และปฏิบัติตนของ

ประชาชนในทุกระดับตั้งแต่ระดับครอบครัวชุมชนจนถึงระดับรัฐทั้งในการพัฒนาบริหารประเทศให้ดำเนิน

ไปในสายกลางโดยเฉพาะการพัฒนาเศรษฐกิจเพื่อให้ก้าวทันต่อโลกยุคโลกาภิวัตน์ความพอเพียงหมายถึง

ความพอประมาณความมีเหตุผลรวมถึงความจำเป็นที่จะต้องมีระบบภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีต่อการมีผลกระทบ

ใดๆอันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทั้งภายนอกและภายในทั้งด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมด้าน

เทคโนโลยี และด้านเศรษฐกิจ ซึ่งสามารถทำให้บุคคลดำรงชีวิตอยู่ได้ตามอัตภาพและตามความเหมาะสม

ด้วยตนเอง

เศรษฐกิจพอเพียง (self-sufficient economy) เป็นระบบเศรษฐกิจที่เน้นการรวมกลุ่มในระดับ

ชุมชนซึ่งแตกต่างจากเศรษฐศาสตร์แบบโลกาภิวัตน์(globalcapitalization)ที่เน้นการค้าการลงทุนและ

การบริการระหว่างประเทศอย่างเสรีซึ่งเป็นเศรษฐศาสตร์กระแสหลัก และแตกต่างจากเศรษฐศาสตร์แบบ

ตะวันออก(localanduniqueeconomy)ซึ่งประยุกต์ปรัชญาตะวันออกโดยเฉพาะเข้ากับระบบเศรษฐกิจ

ของตน เช่น จีนญี่ปุ่น สิงคโปร์ โดยที่รัฐและภาคธุรกิจเข้มแข็งหลอมรวมกันมุ่งมั่นในการพัฒนาปรัชญา

ของเศรษฐกิจพอเพียงเป็นเครื่องมือสำคัญในการลดความยากจนและเสริมสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจ

กลยุทธ์การส่งเสริมการเกษตรตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ใช้แนวทางการผลิตพืชแบบผสมผสาน

(integratedfarming)มาส่งเสริมการผลิตพืชและ/หรือเลี้ยงสัตว์เป็นกิจกรรมร่วมอย่างหลากหลายต่อเนื่อง

และเกื้อกูลกันให้มีความพอดีด้านเศรษฐกิจคือสามารถเพิ่มรายได้ลดรายจ่ายมีความพอดีด้านเทคโนโลยี

คือใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมพัฒนาจากภูมิปัญญาอย่างชาญฉลาดสอดคล้องกับสภาพแวดล้อมและที่สำคัญ

ตอ้งสามารถพึง่พาตนเองได้เกือ้กลูชมุชนและมีกระบวนการเรยีนรู้ที่มีรากฐานแขง็แรงในลกัษณะนำทำนำพา

(learningby doing) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้จัดทำโครงการศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงชุมชน

ควบคู่ไปกับโครงการศูนย์ปราชญ์ชาวบ้าน โดยนำกลยุทธ์การส่งเสริมการเกษตรตามปรัชญาของเศรษฐกิจ

พอเพียงมาใช้ซึ่งปัจจุบันมีเกษตรกรจำนวนมากที่ประสบความสำเร็จ ได้รับการยกย่องและเป็นตัวอย่าง

เผยแพร่ให้แก่เกษตรกรอื่นๆ ก่อให้เกิดการพัฒนาตามศักยภาพและความต้องการของพื้นที่ ใช้ทรัพยากร

ในชุมชนกระบวนการส่งเสริมการเกษตรได้บูรณาการความรู้จากเจ้าหน้าที่ภูมิปัญญาชาวบ้านและสามารถ

เข้าถึงเกษตรกรที่ยากจน

4. กลยุทธ์ การ บริหาร จัดการ สินค้า เกษตร ระบบ การ ผลิต การ ตลาด แบบ ข้อ ตกลง ระบบการผลิต

การตลาดแบบข้อตกลงคือระบบการเกษตรที่มีการตกลงล่วงหน้าระหว่างฝ่ายเกษตรกรกับคู่สัญญาซึ่งมัก

เป็นภาคเอกชนที่สัญญาว่าจะซื้อผลผลิตการเกษตรคืนจากเกษตรกรในราคาปริมาณหรือคุณภาพที่ได้ตกลง

กันไว้ตั้งแต่ต้นซึ่งจะเปลี่ยนแปลงได้ก็ต่อเมื่อครบกำหนดสัญญาระบบการผลิตการตลาดแบบข้อตกลงจะ

ประสบความสำเร็จด้วยการร่วมมือกันทั้งสองฝ่ายโดยมีหน่วยงานรัฐเป็นตัวกลางสนับสนุน วัตถุดิบต้นน้ำ

จะเข้าสู่กระบวนการผลิตอย่างสม่ำเสมอไม่ขาดแคลนมีคุณภาพที่ต้องการและจำนวนแน่นอนเกษตรกรมี

ความมั่นใจในอาชีพลดความผันผวนของราคาผลผลิตและสินค้าเกษตรสามารถแข่งขันได้

4.1 ผู้ ผลิตคือเกษตรกรผู้ผลิตเป็นรายบุคคลหรือกลุ่มผู้ผลิต

4.2 ผู้รับ ซื้อคือโรงงานแปรรูปและผู้ส่งออกหรือตัวแทน

Page 30: การส่งเสริม การเกษตร ในประเทศไทยagri.stou.ac.th/UploadedFile/91720-5.pdf5.1.2 สถานการณ์การส่งเสริม

มสธ มสธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ

5-30 การส่งเสริมการเกษตรเพื่อการพัฒนา

4.3 ราย ละเอียด ของ ข้อ ตกลง เช่นพันธุ์ เงื่อนไขในการผลิตคุณภาพของผลผลิตปริมาณ

ราคาช่วงเวลาการส่งมอบสถานที่ส่งมอบการตรวจสอบคุณภาพณจุดส่งมอบการชำระเงินและข้อกำหนด

อื่นๆซึ่งแตกต่างกันตามชนิดของสินค้าและคู่สัญญา

4.4 รูป แบบ ข้อ ตกลง ล่วง หน้า

รูปแบบที่1มีการทำสัญญาข้อตกลงเป็นลายลักษณ์อักษรระหว่างผู้ผลิตกับผู้รับซื้อ

รูปแบบที่2ตกลงด้วยวาจาโดยไม่มีลายลักษณ์อักษรในกรณีนี้ผู้ซื้อ/ผู้รับซื้ออาจเคย

ทำสัญญาเป็นลายลักษณ์อักษรกันมาก่อนติดต่อซื้อขายกันจนเกิดความไว้วางใจต่อกันหรือผู้ซื้อ/ผู้ขายได้

รับคำแนะนำ/ประสานงานจากผู้ที่ได้รับความเชื่อถือจากทั้งสองฝ่าย

กรมสง่เสรมิการเกษตรได้นำระบบตลาดขอ้ตกลงมาเปน็กลยทุธ์การสง่เสรมิและบรหิารจดัการ

การตลาดสนิคา้เกษตรที่มีการสง่ออกตา่งประเทศซึง่ตอ้งการวตัถดุบิที่มีคณุภาพและปรมิาณที่แนน่อนไดแ้ก่

การส่งเสริมการผลิตหน่อไม้ฝรั่งโดยมีบริษัทธานียามาสยามจำกัดเป็นผู้รับซื้อและทำสัญญาซื้อขายกับกลุ่ม

เกษตรกร4จังหวัดได้แก่นครปฐมราชบุรีกาญจนบุรีและสุพรรณบุรีมีเกษตรกรเข้าร่วมประมาณ5,000

ราย19กลุ่มการบริหารจัดการการผลิตการตลาดสินค้าเกษตรระบบตลาดข้อตกลงทำให้เกษตรกรมีตลาด

แนน่อนสามารถจำหนา่ยผลผลติได้ในราคาที่สอดคลอ้งกบัคณุภาพผู้สง่ออกได้รบัสนิคา้สง่มอบตามคณุภาพ

ปริมาณและระยะเวลาที่กำหนดโรงงานแปรรูปได้รับวัตถุดิบที่มีคุณภาพป้อนโรงงานอย่างสม่ำเสมอ

5. กลยทุธ ์ของ การ ม ีสว่น รว่ม ของ ชมุชนการมีส่วนร่วมของประชาชนเป็นกระบวนการซึ่งประชาชน

หรือผู้มีส่วนได้เสียได้มีโอกาสแสดงทัศนะแลกเปลี่ยนข้อมูลและความคิดเห็นเพื่อแสวงหาทางเลือกและการ

ตัดสินใจต่างๆที่เหมาะสมและเป็นที่ยอมรับร่วมกันทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องจึงควรเข้าร่วมในกระบวนการนี้ตั้งแต่

เริ่มจนกระทั่งถึงการติดตามและประเมินผลเพื่อให้เกิดความเข้าใจการรับรู้เรียนรู้และการปรับเปลี่ยนร่วม

กันซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อทุกฝ่ายตั้งแต่ทศวรรษที่ผ่านมางานส่งเสริมการเกษตรได้ปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์

มาสู่การมีส่วนร่วมของชุมชนมากยิ่งขึ้นการส่งเสริมการเกษตรได้ให้เกษตรกรและชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมใน

การพัฒนาการเกษตรเป็นอย่างมากสอดคล้องไปกับการที่รัฐกระจายอำนาจไปสู่ท้องถิ่นโดยกลยุทธ์ที่สำคัญ

คือศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบลซึ่งจัดตั้งขึ้นภายใต้โครงการศูนย์บริการและ

ถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรชุมชนตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 21พฤศจิกายน 2543 และตามมติ

คณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 10กุมภาพันธ์2547ได้สั่งการให้ทุกอำเภอถ่ายโอนภารกิจให้องค์กรปกครองส่วน

ท้องถิ่น (อปท.) ศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบลเป็นหนึ่งในภารกิจที่องค์กร

ปกครองส่วนท้องถิ่นได้รับการถ่ายโอนจากกรมส่งเสริมการเกษตรเพื่อให้องค์การบริหารส่วนท้องถิ่นสถาบัน

เกษตรกร และชุมชนมีส่วนร่วมในการพัฒนาการเกษตรในรูปของ “ศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร

ประจำตำบล”(ศบกต.)ดังนี้

5.1ส่งเสริมชุมชนให้มีส่วนร่วมในการพัฒนาด้านการเกษตรของชุมชนและมีบทบาทหลักใน

การบริหารจัดการศบกต.

5.2สร้างกระบวนการเรียนรู้แก่ชุมชนโดยจัดเวทีชุมชนแบบมีส่วนร่วมอย่างต่อเนื่องเพื่อให้

ชุมชนคิดเป็นทำเป็นและแก้ไขปัญหาเองได้สร้างจิตสำนึกในการพัฒนาแบบพึ่งพาตนเองประเมินศักยภาพ

ชุมชนเรียนรู้ภายนอกชุมชน(ศึกษาชุมชนต้นแบบ)และกำหนดแผนพัฒนาการเกษตร

Page 31: การส่งเสริม การเกษตร ในประเทศไทยagri.stou.ac.th/UploadedFile/91720-5.pdf5.1.2 สถานการณ์การส่งเสริม

มสธ มสธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ

5-31การส่งเสริมการเกษตรในประเทศไทย

5.3ดำเนินกิจกรรมตามแผนชุมชนโดยการพัฒนากลุ่ม/เครือข่ายในระดับตำบลมาขับเคลื่อน

กิจกรรมเพื่อให้เกิดการเรียนรู้และบริหารจัดการกิจกรรมของชุมชนด้วยตนเองอันจะนำไปสู่ความเข้มแข็ง

ของชุมชนและพึ่งตนเองได้

6. กลยุทธ์ การ พัฒนา ระบบ ข้อมูล และ เทคโนโลยี สารสนเทศ ใน การ ดำเนิน งาน ส่ง เสริม การเกษตร

การส่งเสริมการเกษตรในยุคของเทคโนโลยีสารสนเทศเจ้าหน้าที่ส่งเสริมจำเป็นต้องมีความรู้ด้านเทคโนโลยี

สารสนเทศเพื่อสามารถสื่อสารทางอิเล็กทรอนิกส์ได้ทุกที่ทุกเวลาทุกสถานการณ์สามารถให้ข้อมูลสนับสนุน

ลูกค้าทั้งภาครัฐเอกชนเกษตรกรและประชาชนทั่วไปในด้านเทคโนโลยีการผลิตการจัดการผลผลิตการ

ตลาดการดำเนินธุรกิจการดำเนินงานตามนโยบายรัฐและการแก้ไขปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้นกับเกษตรกรการ

บริหารจัดการระบบข้อมูลและพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศจึงเป็นกลยุทธ์สำคัญประการหนึ่งในการ

บริหารงานส่งเสริมการเกษตรปัจจุบันซึ่งจำเป็นต้องมีการพัฒนาให้มีอุปกรณ์ที่จำเป็นแก่หน่วยงานย่อยพื้นที่

เพื่อสามารถสื่อสารได้ทุกเรื่องทุกที่ทุกเวลาจัดทำระบบการใช้งานโปรแกรมต่างๆที่เกี่ยวข้องกับฐานข้อมูล

ที่จำเป็นให้ครบถ้วนพัฒนาบุคลากรส่งเสริมการเกษตรให้มีความสามารถทางเทคโนโลยีสารสนเทศและให้มี

ฐานข้อมูลที่ครอบคลุมครบถ้วนแม่นยำทันเวลานอกจากนี้ระบบการวิเคราะห์ต้องมีการพัฒนาให้สามารถใช้

ประโยชน์สูงสุดในการวางแผนกำหนดยุทธศาสตร์กำหนดกลยุทธ์การดำเนินการได้ในระยะเวลาที่รวดเร็ว

กลยุทธ์การพัฒนาระบบข้อมูลและเทคโนโลยีสารสนเทศในการดำเนินงานส่งเสริมการเกษตรมีการ

ดำเนินการที่สำคัญดังนี้

6.1 การ จัด เก็บ ข้อมูล ภาว การณ์ ผลิต พืช ราย เดือน ระดับ หมู่บ้าน (รม.) โดยการสนับสนุนและ

ร่วมมือซึ่งกันและกันระหว่างกรมส่งเสริมการเกษตรกับสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรในการประสานงาน

วิเคราะห์และจัดทำข้อมูลเพื่อให้ได้ข้อมูลภาวการณ์ผลิตพืชเศรษฐกิจที่เป็นเอกภาพ สามารถนำมาใช้ใน

แผนงานและโครงการต่างๆ

6.2 พัฒนา ระบบ ฐาน ข้อมูล สารสนเทศ เจ้า หน้าที่ เพื่อ ให้ เกิด ความ คล่อง ตัว ใน การ ปฏิบัติ งาน

โดยปรับปรุงระบบสารสนเทศการบริหารจัดการองค์กร ระบบศูนย์บริการองค์ความรู้การเกษตร รวมทั้ง

การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศสนับสนุนการดำเนินงานส่งเสริมการเกษตร เช่น การจัดทำแผนที่เขต

เหมาะสมการปลูกกาแฟพันธุ์อาราบิกา จังหวัดแม่ฮ่องสอนบริการระบบตรวจสอบข้อมูลชุดดินออนไลน์

เป็นต้น

6.3 ระบบ ฐาน ข้อมูล ทะเบียน เกษตรกร เป็นระบบที่ใช้จัดเก็บข้อมูลเกษตรกรรายครัวเรือน

ทั่วประเทศประกอบด้วยข้อมูลทั่วไปของผู้ขึ้นทะเบียนเกษตรกรข้อมูลการประกอบการเกษตรข้อมูลการ

ประกอบอาชพีและทีม่าของรายได้ในครวัเรอืนขอ้มลูสมาชกิในครวัเรอืนและการเปน็สมาชกิองคก์รขอ้มลูการ

ถือครองที่ดินข้อมูลทำกิจกรรมทางการเกษตรและข้อมูลการปลูกพืชเศรษฐกิจซึ่งเป็นระบบฐานข้อมูลกลาง

ของกรมส่งเสริมการเกษตรมีระบบเครือข่ายเชื่อมโยงกับสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร สำนักงานเกษตร

จังหวัดสำนักงานเกษตรอำเภอมีการตรวจสอบความถูกต้องข้อมูลให้ตรงกันกับฐานข้อมูลทะเบียนราษฎร์

ของกรมการปกครอง จากการขึ้นทะเบียนเกษตรกรพบว่า มีเกษตรกรมาขึ้นทะเบียนรวมทั้งสิ้น 7.2 ล้าน

ครัวเรือน (ข้อมูลปี 2555) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์นำข้อมูลจากทะเบียนเกษตรกรไปใช้ประกอบการ

Page 32: การส่งเสริม การเกษตร ในประเทศไทยagri.stou.ac.th/UploadedFile/91720-5.pdf5.1.2 สถานการณ์การส่งเสริม

มสธ มสธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ

5-32 การส่งเสริมการเกษตรเพื่อการพัฒนา

ดำเนินการโครงการตามนโยบายสำคัญของรัฐคือโครงการประกันรายได้พืชเศรษฐกิจ3ชนิด(ข้าวข้าวโพด

และมันสำปะหลัง)โครงการรับจำนำพืชผลทางการเกษตรระบบฐานข้อมูลทะเบียนเกษตรกรเป็นเครื่องมือที่

เป็นประโยชน์ต่อภาครัฐในการบริหารงานส่งเสริมการเกษตรคือ

1)ใช้เป็นฐานข้อมูลในการกำหนดนโยบายแผนงานและการจัดการด้านการผลิตการ

ส่งเสริมและสนับสนุนการใช้ปัจจัยการผลิตการตลาดและราคาสินค้าเกษตร

2)เป็นฐานข้อมูลในการจัดทำบัญชีผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งสภาเกษตรกรแห่งชาติ

3)ใช้เป็นหลักฐานสำคัญ เป็นข้อมูลอ้างอิงทางการเกษตรของภาครัฐในการตรวจสอบ

ข้อเท็จจริง ใช้เป็นหลักฐานสำคัญของภาครัฐในการส่งเสริมและให้ความช่วยเหลือเกษตรกร เช่น ในการ

เข้าร่วมโครงการประกันรายได้พืชเศรษฐกิจ3ชนิด(ข้าวข้าวโพดและมันสำปะหลัง)

4)สามารถใช้ฐานข้อมูลมาจำแนกเกษตรกรเป็นกลุ่มเป้าหมายในการดำเนินมาตรการ

ต่างๆได้อย่างถูกต้องชัดเจนรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ

5)การใช้ฐานขอ้มลูตามโครงการที่มีขอ้มลูทนัสมยัเปน็ปจัจบุนัจะทำให้การวางแผนของ

ภาครัฐมีความถูกต้องและเหมาะสมอันเป็นผลให้ปัญหาเรื่องความแปรปรวนของราคาสินค้าเกษตรน้อยลง

ขณะเดียวกันด้านที่เป็นประโยชน์ต่อเกษตรกรซึ่งมาขึ้นทะเบียนโดยสมัครใจ จะได้รับความ

สะดวกในการรับบริการจากภาครัฐ ใช้อ้างอิงเพื่อขอรับสิทธิประโยชน์จากสวัสดิการและบริการของภาครัฐ

อันจะพึงมีต่อไปเช่นความช่วยเหลือหลังประสพภัยธรรมชาติเป็นต้น

6.4 โครงการ พัฒนา เทคโนโลยี สารสนเทศ กล้วยไม้ เป็นการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้

เป็นกลยุทธ์ในการบริหารโครงการส่งเสริมการเกษตรด้วยการใช้เทคโนโลยีและระบบสารสนเทศที่ทันสมัย

เพื่อพัฒนาระบบเครือข่ายผู้ปลูกกล้วยไม้ให้สนองตอบตรงตามความต้องการของผู้ใช้ เข้าถึงได้ง่าย โดยมี

เป้าหมายให้เกิดระบบเทคโนโลยีสารสนเทศในเครือข่ายข้อมูลกล้วยไม้(orchidnet)3ระบบได้แก่

1)ระบบแผนที่ความรู้(ontology)และระบบสืบค้นอัจฉริยะกล้วยไม้

2)ระบบท่องเที่ยวกล้วยไม้นครปฐม(localbasesystem)

3)ระบบการวินิจฉัยโรคกล้วยไม้(expertsystem)

ซึ่งจะตอบสนองต่อแผนพัฒนาองค์กรในยุทธศาสตร์การแข่งขันกล้วยไม้ไทยในตลาด

โลกพ.ศ.2554-2559

โดยสรุป กลยุทธ์ในการบริหารงานส่งเสริมการเกษตร จำเป็นต้องสอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลง

ทางสังคมวัฒนธรรมการเมืองเศรษฐกิจและการค้าระหว่างประเทศที่ปัจจุบันเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วการ

ส่งเสริมการเกษตรจึงจำเป็นต้องมีกลยุทธ์ใหม่ๆมาใช้ในการบริหารทั้งงานคนงบประมาณกลยุทธ์สำคัญที่

ดำเนนิการปจัจบุนัไดแ้ก่กลยทุธ์บรูณาการการทำงานในมติิของโครงการและงานตามภารกจิโดยใช้กลไกของ

คณะทำงานซึง่มีผู้แทนจากหนว่ยงานตา่งๆเขา้รว่มและมีการเชือ่มโยงกนัทกุระดบักลยทุธ์การสรา้งและพฒันา

เครือข่าย (cluster) การผลิตการตลาดสินค้าเกษตรกลยุทธ์การส่งเสริมการเกษตรตามปรัชญาเศรษฐกิจ

พอเพยีงกลยทุธ์ของการมีสว่นรว่มของชมุชนกลยทุธ์บรหิารจดัการการผลติการตลาดสนิคา้เกษตรระบบตลาด

Page 33: การส่งเสริม การเกษตร ในประเทศไทยagri.stou.ac.th/UploadedFile/91720-5.pdf5.1.2 สถานการณ์การส่งเสริม

มสธ มสธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ

5-33การส่งเสริมการเกษตรในประเทศไทย

ข้อตกลง(ระบบการทำการเกษตรแบบมีพันธะสัญญา)และกลยุทธ์ของการพัฒนาระบบข้อมูลและเทคโนโลยี

สารสนเทศในการดำเนินงานส่งเสริมการเกษตรซึ่งล้วนนำมาปรับใช้เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ในการส่งเสริม

การผลิตทางการเกษตรให้เกษตรกรมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นอย่างยั่งยืน

หลัง จาก ศึกษา เนื้อหา สาระ ตอน ที่ 5.2 แล้ว โปรด ปฏิบัติ กิจกรรม 5.2

ใน แนว การ ศึกษา หน่วย ที่ 5 ตอน ที่ 5.2

Page 34: การส่งเสริม การเกษตร ในประเทศไทยagri.stou.ac.th/UploadedFile/91720-5.pdf5.1.2 สถานการณ์การส่งเสริม

มสธ มสธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ

5-34 การส่งเสริมการเกษตรเพื่อการพัฒนา

ตอน ที่ 5.3

แนวทาง และ กลไก ใน การ ส่ง เสริม การเกษตร

โปรดอ่านแผนการสอนประจำตอนที่5.3แล้วจึงศึกษาเนื้อหาสาระพร้อมปฏิบัติกิจกรรมในแต่ละตอน

หัว เรื่องเรื่องที่5.3.1แนวทางการส่งเสริมการเกษตร

เรื่องที่5.3.2กลไกในการส่งเสริมการเกษตร

แนวคิด1. แนวทางการสง่เสรมิการเกษตรในอนาคตตอ้งเปลีย่นแปลงไปให้สอดคลอ้งกบัสถานการณ์

ที่เปลี่ยนแปลงไปทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ซึ่งแนวทางการส่งเสริม

การเกษตรที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้ในอนาคตที่นำมากล่าวในที่นี้มีจำนวน6แนวทาง

คือการพัฒนาการเกษตรแบบยั่งยืนการส่งเสริมการเกษตรแบบมีส่วนร่วมการส่งเสริม

การเกษตรโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศการสง่เสรมิการเกษตรแบบบรูณาการการสง่เสรมิ

การพัฒนาระบบฟาร์มและการส่งเสริมการเกษตรที่เน้นการตลาดนำการผลิต

2. กลไกในการบริหารงานส่งเสริมการเกษตร ใช้ศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยี

การเกษตรประจำตำบล เป็นเครื่องมือสำคัญในการปฏิบัติงานต่างๆ ในพื้นที่ ประสาน

เชื่อมโยงกับอาสาสมัครเกษตรและเกษตรหมู่บ้านองค์กรเกษตรกรวิสาหกิจชุมชนและ

เครือข่ายรวมทั้งSmartFarmerเพื่อให้การดำเนินงานส่งเสริมการเกษตรเป็นไปอย่างมี

ประสิทธิภาพ

วัตถุประสงค์เมื่อศึกษาตอนที่5.3จบแล้วนักศึกษาสามารถ

1. อธิบายและวิเคราะห์แนวทางการส่งเสริมการเกษตรได้

2. อธิบายและวิเคราะห์กลไกในการส่งเสริมการเกษตรได้

Page 35: การส่งเสริม การเกษตร ในประเทศไทยagri.stou.ac.th/UploadedFile/91720-5.pdf5.1.2 สถานการณ์การส่งเสริม

มสธ มสธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ

5-35การส่งเสริมการเกษตรในประเทศไทย

เรื่อง ที่ 5.3.1 แนวทาง การ ส่ง เสริม การเกษตร

กรมส่งเสริมการเกษตรเป็นหน่วยงานหลักของประเทศในการส่งเสริมการแกษตรมีบทบาทโดยตรง

ในการส่งเสริมและพัฒนาครอบครัวและสถาบันเกษตรกรให้เข้มแข็ง พึ่งพาตนเองได้ สามารถดำเนินการ

แข่งขันในการผลิตทางการเกษตรได้อย่างเป็นธรรมและยั่งยืนแนวโน้มสถานการณ์ภาคการเกษตรในอนาคต

ประชากรในภาคเกษตรมีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่องการแข่งขันทางการตลาดสินค้าเกษตรจะมีการแข่งขัน

สูงขึ้นเนื่องจากมาตรการกีดกันทางการค้าดังนั้นแนวทางส่งเสริมการเกษตรในอนาคตจึงต้องเปลี่ยนแปลง

ไปให้สอดคล้องกับสถานการณ์การเกษตรที่เปลี่ยนแปลงไป

สุกัญญาอธิปอนันต์สำราญสาราบรรณ์และปริญญารัตน์ภูศิริ(2556:2-45-2-49)ระบุว่าแนวทาง

การส่งเสริมการเกษตรในอนาคตต้องเปลี่ยนแปลงไปให้สอดคล้องกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปทั้งในด้าน

เศรษฐกิจสังคมและสิ่งแวดล้อมการส่งเสริมการเกษตรที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้ในอนาคตที่นำมากล่าว

ในที่นี้มีจำนวน6แนวทางคือ1)การพัฒนาการเกษตรแบบยั่งยืน2)การส่งเสริมการเกษตรแบบมีส่วนร่วม

3)การสง่เสรมิการเกษตรโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ4)การสง่เสรมิการเกษตรแบบบรูณาการ5)การสง่เสรมิ

การพัฒนาระบบฟาร์มและ6)การส่งเสริมการเกษตรที่เน้นการตลาดนำการผลิตโดยมีรายละเอียดดังนี้

1. การ พฒันาการ เกษตร แบบ ยัง่ยนืการพฒันาการเกษตรแบบยัง่ยนืเปน็ระบบการจดัการทรพัยากร

การผลิตทางการเกษตรที่หลากหลายสอดคล้องกับมิติวัฒนธรรม วิถีชีวิต ได้ผลผลิตที่พอเพียง เพื่อสนอง

ความจำเป็นของมนุษย์ที่มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาทั้งในระดับครัวเรือนชุมชนและประเทศโดยสามารถ

อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติไว้ให้คนรุ่นหลังโดยมีปัจจัยในการดำเนินงานเกษตรยั่งยืน4ด้านดังนี้

• ระบบ นิเวศ เกษตร เป็นการทำเกษตรที่สอดคล้องกับทรัพยากรธรรมชาติและระบบ

นิเวศวิทยา

• ภาวะ เศรษฐกจิระบบการเกษตรที่เลือกใช้ให้ผลดีคุ้มค่าการลงทุนขณะเดียวกันไม่ทำลาย

สิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ

• ปัจจัย ทาง สังคม เกษตร ระบบการเกษตรที่ส่งเสริมควรสอดคล้องกับวัฒนธรรมประเพณี

ศาสนาระดับการศึกษาความจำเป็นในชีวิตสวัสดิภาพและความมั่นคงของครอบครัวเกษตรกร

• เทคนิค และ วิชาการ เทคโนโลยีและระบบการผลิตทางการเกษตรที่นำมาใช้ควรพัฒนา

ต่อยอดมาจากภูมิปัญญาท้องถิ่น โดยใช้ทรัพยากรในท้องถิ่นให้มากที่สุด และชุมชนสามารถบริหารจัดการ

เองได้ นอกจากนั้นการใช้เทคนิคและวิชาการนั้นต้องไม่ก่อให้เกิดผลเสียต่อสิ่งแวดล้อม รวมทั้งทรัพยากร

ธรรมชาติอื่นๆเช่นการใช้ยาฆ่าแมลงที่ไม่เหมาะสมไม่ถูกวิธีทำให้เป็นพิษต่อผู้ใช้ผู้บริโภคและสิ่งแวดล้อม

รูปแบบการพัฒนาการเกษตรแบบยั่งยืนในประเทศไทยมี5รูปแบบคือ

1.1 เกษตร ทฤษฎี ใหม่ (New Theory Agriculture) เน้นการจัดการทรัพยากรน้ำในไร่นาให้

เพียงพอเพื่อผลิตพืชอาหารโดยเฉพาะข้าวเพื่อบริโภคในครัวเรือนรวมทั้งจัดสรรพื้นที่สำหรับเพาะปลูกและ

Page 36: การส่งเสริม การเกษตร ในประเทศไทยagri.stou.ac.th/UploadedFile/91720-5.pdf5.1.2 สถานการณ์การส่งเสริม

มสธ มสธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ

5-36 การส่งเสริมการเกษตรเพื่อการพัฒนา

เลี้ยงสัตว์ เพื่อลดค่าใช้จ่ายในครัวเรือน และเป็นรายได้เสริม จนกระทั่งพัฒนาถึงขั้นที่เกษตรกรสามารถ

พึ่งตนเองได้ จุดเด่นของเกษตรทฤษฎีใหม่คือ เป็นรูปแบบการเกษตรในพื้นที่ขนาดเล็ก (10-15 ไร่)มีการ

ปลกูขา้วเพือ่ความมัน่คงดา้นอาหารภายในครวัเรอืนมีกจิกรรมทางการเกษตรที่หลากหลายเพือ่ประโยชน์ทาง

เศรษฐกิจระดับครัวเรือนเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ในดินและสร้างความสมดุลของระบบนิเวศ

1.2 เกษตร ผสม ผสาน (Integrated Farming)เน้นกิจกรรมการผลิตมากกว่าสองกิจกรรมขึ้นไป

ในเวลาเดียวกันและกิจกรรมเหล่านี้เกื้อกูลซึ่งกันและกันได้อย่างมีประสิทธิภาพทำให้ต้นทุนการผลิตลดลง

เช่นการปลูกพืชควบคู่กับการเลี้ยงสัตว์การปลูกพืชหลายระดับเป็นการใช้ทรัพยากรธรรมชาติเช่นดินน้ำ

แสงแดด ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ในขณะเดียวกันลดการทำลายสิ่งแวดล้อม หลักการสำคัญของเกษตร

ผสมผสานคือลดความเสี่ยงลดค่าใช้จ่ายในไร่นาลงมีรายได้สุทธิเพิ่มขึ้นมีรายได้สม่ำเสมอลดการว่างงาน

ตามฤดูกาลลดการอพยพแรงงานและลดการพึ่งพิงปัจจัยภายนอก

1.3 เกษตร อนิทรยี ์(Organic Farming)เน้นหลักการผลิตที่ไม่ใช้สารเคมีทั้งปุ๋ยเคมีสารกำจัด

ศัตรูพืช และสารเร่งการเจริญเติบโตทุกชนิดควบคุมและกำจัดศัตรูพืชโดยชีววิธี เช่น สารสกัดจากสะเดา

ตะไคร้หอม การใช้แมลงศัตรูธรรมชาติ เป็นต้น การเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ในดินด้วยปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก

จุลินทรีย์และสร้างความปลอดภัยของอาหารเพื่อให้ผู้บริโภคได้บริโภคอาหารที่ปลอดภัยเกษตรอินทรีย์จะ

เน้นการใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นที่เกิดจากการสั่งสมประสบการณ์ ผสมผสานกับวิทยาการสมัยใหม่แบบพึ่งพา

ธรรมชาติเพื่อแก้ปัญหาและนำมาสู่ความยั่งยืนทางการเกษตรปัจจุบันผู้บริโภคเริ่มสนใจอาหารสุขภาพมาก

ขึ้นเกษตรอินทรีย์เป็นแนวทางหนึ่งที่เป็นทางเลือกของผู้บริโภค

1.4 เกษตร ธรรมชาติ (Natural Farming) ระบบเกษตรกรรมที่สร้างผลผลิตพืช และสัตว์ให้

สอดคล้องกับนิเวศของพื้นที่ โดยหลีกเลี่ยงการรบกวนธรรมชาติให้มากที่สุดโดยการไม่ไถพรวนไม่ใช้สาร

เคมีไม่ใช้ปุ๋ยเคมีและไม่กำจัดวัชพืชแต่มีการคลุมดินและใช้ปุ๋ยพืชสดได้ปล่อยให้ธรรมชาติควบคุมกันเอง

และก่อให้เกิดสมดุลทางธรรมชาติได้ในที่สุดจุดเด่นของเกษตรธรรมชาติคือเป็นการฟื้นฟูความสมดุลของ

ระบบนิเวศและลดการพึ่งพาปัจจัยภายนอก

1.5 วน เกษตร (Agroforestry) เน้นหนักการมีต้นไม้ใหญ่ และพืชเศรษฐกิจหลายระดับที่

เหมาะสมกับแต่ละพื้นที่ เพื่อการใช้ประโยชน์ป่าไม้ของพืชหรือสัตว์ชนิดต่างๆ ที่เกื้อกูลกัน จุดเด่นของ

วนเกษตรคือเป็นการคงอยู่ร่วมกันของป่าและการเกษตรรวมทั้งเพิ่มความหลากหลายทางชีวภาพ

สรปุได้วา่เกษตรกรรมยัง่ยนืคอืรปูแบบและวธิีการทำการเกษตรที่เนน้การผสมผสานและการเกือ้กลู

กันระหว่างสิ่งมีชีวิตและกิจกรรมการผลิตต่างๆในแปลงเกษตรโดยให้มีสภาพคล้ายคลึงกับธรรมชาติมาก

ที่สุด และพยายามลดการนำเข้าปัจจัยการผลิตจากภายนอกให้เหลือน้อยที่สุด โดยเฉพาะอย่างยิ่งสารเคมี

การเกษตรทุกประเภท

2. การ ส่ง เสริม การเกษตร แบบ มี ส่วน ร่วมการส่งเสริมรูปแบบนี้มีลักษณะสำคัญดังนี้

• ชุมชน เข้า มา มี ส่วน ร่วม ทุก ขั้น ตอน ตั้งแต่ร่วมวิเคราะห์สถานการณ์ ร่วมตัดสินใจ ร่วม

วางแผนดำเนินการร่วมลงมือทำร่วมค้นหาความต้องการฝึกอบรมรวมถึงร่วมรับผลประโยชน์

• การ เพิม่ ศกัยภาพ/เสรมิ พลงั ของ ชมุชนผลจากกระบวนการมีสว่นรว่มเปน็การเพิม่ศกัยภาพ/

เสริมพลังของชุมชนโดยการมีส่วนร่วมของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องและร่วมลงมือทำเพื่อพัฒนาชุมชนของตนเอง

Page 37: การส่งเสริม การเกษตร ในประเทศไทยagri.stou.ac.th/UploadedFile/91720-5.pdf5.1.2 สถานการณ์การส่งเสริม

มสธ มสธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ

5-37การส่งเสริมการเกษตรในประเทศไทย

• การ แลก เปลีย่น เรยีน รู ้การดำเนินการแบบมีส่วนร่วมจะส่งผลให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้

ระหว่างเกษตรกรการสร้างแรงบันดาลใจแก่กันและกันในการดำเนินงานในชุมชนให้ประสบความสำเร็จได้

• การ สร้าง เครือ ข่ายเกษตรกรที่ร่วมมือกันทำกิจกรรมกลุ่มสามารถพัฒนาเป็นองค์กรและ

มีเครือข่ายสนับสนุนให้เกิดความเข้มแข็งและการดำเนินกิจกรรมที่กว้างขวางต่อไปได้

เนื้อหาในตอนนี้ จะยกตัวอย่างรูปแบบการส่งเสริมแบบมีส่วนร่วมบางรูปแบบที่กรมส่งเสริม

การเกษตรปฏิบัติดำเนินการดังนี้

2.1 การ ประเมิน และ วางแผน แบบ มี ส่วน ร่วม (Participatory Assessment and Planning:

PAP) เป็นกระบวนการพื้นฐานจากแนวทางการพัฒนาชุมชนในท้องถิ่น เป็นกระบวนการจัดทำแผนโดยให้

เกษตรกรเป็นศูนย์กลางการตัดสินใจและให้ผู้เกี่ยวข้องทุกภาคส่วนเข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการจัดทำ

แผนประกอบด้วยเกษตรกรจำนวน30-40รายที่เป็นตัวแทนของชุมชนทุกเพศทุกวัยและทุกฐานะอย่าง

เทา่เทยีมกนัรวมทัง้ผู้มีสว่นได้สว่นเสยีอืน่ๆเชน่องคก์รบรหิารดา้นการสง่เสรมิองคก์รพฒันาเอกชนเปน็ตน้

เพื่อให้ได้ข้อมูลที่หลากหลายนำไปสู่ข้อตกลงที่ยอมรับกันได้ทุกฝ่ายคนส่วนใหญ่รู้สึกเป็นเจ้าของและต้อง

ปฏิบัติตามแผนที่ได้จากกระบวนการนี้เป็นแผนที่เข้าใจง่ายไม่ซับซ้อนต้องอยู่บนพื้นฐานการพึ่งตนเองเป็น

อันดับแรกโดยอาศัยทรัพยากรในท้องถิ่นภูมิปัญญาชาวบ้านบุคลากรในพื้นที่และเพื่อให้เกิดประโยชน์กับ

คนส่วนใหญ่ในชุมชนแนวทางการทำแผนแบบมีส่วนร่วม(PAP)ประกอบด้วย1)การวิเคราะห์สถานการณ์

2) การวิเคราะห์ปัญหา ความเป็นไปได้ในการแก้ปัญหา 3) การวิเคราะห์ความเป็นไปได้ในการตัดสินใจ

แก้ปัญหา และ 4) การวิเคราะห์ศักยภาพในอนาคต เมื่อมีเหตุการณ์เปลี่ยนแปลงไปหรือมีความผิดปกติ

เกิดขึ้น

การดำเนินงานตามกระบวนการวางแผนชุมชนแบบมีส่วนร่วมเพื่อสร้างการเรียนรู้แก่ชุมชนมี

การจดัเวทีการเรยีนรู้ระดบัตำบลและหมูบ่า้นเพือ่ให้ชมุชนมีการแลกเปลีย่นประสบการณ์รวมทัง้การให้ความรู้

และสร้างแนวคิดในการพัฒนาแบบพึ่งพาตนเองไปพร้อมๆกับการพัฒนาผู้นำชุมชนขั้นตอนการดำเนินงาน

ที่สำคัญในการจัดเวทีการเรียนรู้ของชุมชนไว้คือ1)การเตรียมความพร้อมของชุมชนและการศึกษาทบทวน

อดีตของชุมชน 2) การค้นหาและประเมินศักยภาพของชุมชน 3) การศึกษาดูงานในชุมชนต้นแบบ 4) การ

พัฒนาแผนงาน/โครงการและ5)การนำแผนสู่การปฏิบัติ

2.2 โรงเรียน เกษตรกร (Farmer Field School: FFS) เป็นการ ส่ง เสริม แบบ มี ส่วน ร่วม ที่ ใช้

เทคนิค การเรียนรู้จากการทดลองลงมือทำด้วยตนเอง กิจกรรมการฝึกอบรม และเรียนรู้ตลอดฤดูกาล

เพาะปลูก โดยมีการฝึกอบรมและเรียนรู้ร่วมในแปลงปลูกพืชทุกระยะพัฒนาการของพืช รวมทั้งการปฏิบัติ

การจัดการที่เกี่ยวข้องทั้งหมดกระบวนการฝึกอบรมจะใช้วิธีการมีส่วนร่วมโดยให้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลางและ

อาศัยกระบวนการเรียนรู้จากการปฏิบัติจริง

การเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมตามกระบวนการโรงเรียนเกษตรกรสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้กับ

กิจกรรมการปลูกพืชทุกชนิด รวมทั้งกิจกรรมการเลี้ยงสัตว์ โดยหลักการสำคัญคือ เกษตรกรหรือผู้เรียน

จำเป็นต้องร่วมเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดฤดูกาลผลิต ซึ่งประโยชน์ของการเรียนรู้ตามกระบวนการจะช่วย

ให้เกษตรกรสามารถตัดสินใจได้ด้วยตนเองโดยมีแนวทางการดำเนินการดังนี้

Page 38: การส่งเสริม การเกษตร ในประเทศไทยagri.stou.ac.th/UploadedFile/91720-5.pdf5.1.2 สถานการณ์การส่งเสริม

มสธ มสธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ

5-38 การส่งเสริมการเกษตรเพื่อการพัฒนา

• รวมกลุ่มเกษตรกรที่มีกิจกรรมเดียวกันกลุ่มละประมาณ20-30คน

• เกษตรกรที่ร่วมกิจกรรมจะต้องมีความสมัครใจ

• จัดกิจกรรมเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง ตามระยะการเจริญเติบโตของพืชตลอดฤดูกาลผลิต

(จำนวนครั้งขึ้นอยู่กับชนิดพืช)

• ประเด็นในการเรียนรู้ต้องสอดคล้องกับปัญหาและความต้องการของเกษตรกร

• สถานที่สำหรับเรียนรู้ควรจะอยู่ใกล้กับแปลงปลูกพืชมากที่สุด

• จัดให้เกษตรกรได้มีการศึกษาทดลองพิสูจน์ทราบเพื่อให้เกิดความเชื่อมั่น

• เกษตรกรจะเรยีนรู้ดว้ยการคน้พบดว้ยตนเองโดยเจา้หนา้ที่สง่เสรมิการเกษตรเปน็วทิยากร

พี่เลี้ยง(Facilitator)ในกิจกรรมเรียน

2.3 การ วิจัย เชิง ปฏิบัติ การ แบบ มี ส่วน ร่วม (Participatory Action Research: PAR) เป็นการ

ดำเนินงานระหว่างภาครัฐ เกษตรกร/ชุมชนและภาคีเครือข่ายเพื่อพัฒนางานในชุมชน โดยการมีส่วนร่วม

ของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องทั้งเกษตรกรนักส่งเสริมและภาคีเครือข่ายเพื่อพัฒนาแก้ไขปัญหาที่ตรงจุดตรงกับ

ความต้องการของเกษตรกรด้วยการผสมผสานระหว่างการมีส่วนร่วมปฏิบัติการ และการแสวงหาความรู้

ร่วมกันในระหว่างผู้เกี่ยวข้องด้วยการร่วมคิดร่วมวางแผนร่วมดำเนินการร่วมประเมินผลและร่วมรับผลที่

เกิดจากการดำเนินงานจากนั้นสรุปบทเรียนร่วมกันเป็นกระบวนการที่ทำให้เกษตรกรพึ่งพาตนเองได้มากขึ้น

หลักการสำคัญของการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมมีดังนี้

• กระตุน้จติสำนกึในชมุชนให้ตระหนกัในความเปน็สมาชกิของชมุชนและเปน็สว่นหนึง่

ของกระบวนการการพัฒนาในทุกมิติทั้งทางสังคมเศรษฐกิจการเมืองและวัฒนธรรม

• การมีส่วนร่วม สมาชิกชุมชนเป็นผู้ร่วมกำหนดปัญหาของชุมชนและหาทางแก้ไข

ปัญหา รวมทั้งเป็นผู้ตัดสินใจ และยืนยันเจตนารมณ์ที่จะแก้ไขปัญหาเหล่านั้น ยอมรับหรือความเห็นพ้อง

ร่วมกันโดยเฉพาะจากฝ่ายสมาชิกในชุมชนองค์กรชุมชน

• เนน้วธิีการเรยีนรู้จากประสบการณ์โดยอาศยัการมีสว่นรว่มจากทกุฝา่ยที่เกีย่วขอ้งกบั

กิจกรรมวิจัยตั้งแต่เริ่มต้นดำเนินกิจกรรมเพื่อการแก้ปัญหาและพัฒนาการติดตามผลจนถึงขั้นประเมินผล

• การสร้างกระบวนการเรียนรู้ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายร่วมใช้กระบวนการPARเพื่อทำให้

เกิดกระบวนการเรียนรู้ทำให้เกิดการพัฒนาขีดความสามารถในการวิเคราะห์และจัดการแก้ปัญหาของกลุ่ม

เกษตรกร/ชุมชนให้ประสบความสำเร็จอย่างยั่งยืน

3. รูป แบบ การ ส่ง เสริม การเกษตร โดย ใช้ เทคโนโลยี สารสนเทศ เทคโนโลยีสารสนเทศมีประโยชน์

ต่อนักส่งเสริมการเกษตรและเกษตรกรเป็นอย่างมาก ช่วยให้การศึกษาค้นคว้าหาข้อมูลข่าวสารเป็นไปได้

ง่าย และสะดวกรวดเร็ว เช่น การจัดทำศูนย์ข้อมูลในตำบล หรือหมู่บ้านเพื่อให้เกษตรกรสามารถสืบค้น

ข้อมูลได้ง่ายในเวลาที่ต้องการรวมทั้งสามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการให้บริการอย่างมีประสิทธิภาพ

ประสิทธิผล และประหยัดค่าใช้จ่าย เช่น การเรียนรู้ผ่าน e-Learning เป็นการจัดทำหลักสูตรส่งเสริม

การเกษตรสำหรับนักส่งเสริมการเกษตร เพื่อเรียนรู้หลักการส่งเสริมการเกษตรที่สามารถนำไปใช้ในการ

ส่งเสริมการเกษตรในพื้นที่เป็นต้น

Page 39: การส่งเสริม การเกษตร ในประเทศไทยagri.stou.ac.th/UploadedFile/91720-5.pdf5.1.2 สถานการณ์การส่งเสริม

มสธ มสธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ

5-39การส่งเสริมการเกษตรในประเทศไทย

4. การ ส่ง เสริม การเกษตร แบบ บูรณาการมีลักษณะสำคัญดังนี้

• การ พัฒนา แบบ องค์ รวม วิธีการนี้เป็นการนำศาสตร์ของสาขาต่างๆ ที่มีความสัมพันธ์

เกี่ยวข้องกันมาผสมผสานเข้าด้วยกัน มีความหลากหลายและสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้จริง และเกิด

ประโยชน์สูงสุดในการส่งเสริมการเกษตรการพัฒนาที่มีประสิทธิภาพมากกว่าการพัฒนาโดยใช้ศาสตร์เพียง

ด้านเดียวในปัจจุบันปัญหามีความสลับซับซ้อนมากขึ้นดังนั้นการแก้ไขปัญหาจึงต้องอาศัยศาสตร์จากหลาย

สาขาจึงจะประสบความสำเร็จ

• การ ให้ บริการ เบ็ดเสร็จ ณ จุด เดียว สิ่งสำคัญในการส่งเสริมรูปแบบนี้ คือ การสร้างทีมนัก

วิชาการจากหลากหลายสาขาเพื่อให้บริการแก่เกษตรกรในหมู่บ้านแบบเบ็ดเสร็จณจุดเดียวเช่น

-คลินิกเกษตรเคลื่อนที่ เป็นการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการเกษตรมาให้บริการ

การเกษตรในหมู่บ้านกิจกรรมหลักด้านคลินิกได้แก่การให้คำปรึกษาตรวจวิเคราะห์และวินิจฉัยให้บริการ

ด้านคลินิกพืชวินิจฉัยโรคแมลงสัตว์ศัตรูพืชวัชพืชการขาดธาตุอาหารพืชคลินิกดินวิเคราะห์และตรวจ

สอบดินและปุ๋ยคลินิกสัตว์ป้องกันโรคควบคุมบำบัดโรคสัตว์ ฉีดวัคซีนคลินิกประมง โรคสัตว์น้ำ เพาะ

เลี้ยงสัตว์น้ำ นอกจากนี้มีกิจกรรมเสริมความรู้ เช่น การจัดนิทรรศการที่เป็นความต้องการของเกษตรกร

หรือเป็นเทคโนโลยีที่เกษตรกรควรรู้ได้แก่คลินิกบัญชีการจัดทำบัญชีฟาร์มคลินิกชลประทานการบริหาร

จัดการน้ำคลินิกสหกรณ์การดำเนินงานด้านสหกรณ์เป็นต้น

-ศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร (ศบกต.) กรมส่งเสริมการเกษตรได้

จัดตั้งศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร (ศบกต.) เพื่อบูรณาการหน่วยงานที่เกี่ยวข้องด้าน

การเกษตรเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาศักยภาพของเกษตรกรโดยศบกต. เป็นจุดบริการครบวงจรทุกๆ

ด้านของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ซึ่งคณะกรรมการบริหารประกอบด้วยตัวแทนของชุมชนที่มีอาชีพด้าน

การเกษตรเข้ามาร่วมเป็นคณะกรรมการเพื่อมีส่วนร่วมในการพัฒนาตนเองและสิ่งสำคัญคือนักส่งเสริมทำ

หนา้ที่ถา่ยทอดความรู้ชีแ้นะสง่เสรมิสนบัสนนุการดำเนนิงานของศบกต.เพือ่ให้เปน็กลไกพฒันาการเกษตร

ของชุมชนได้อย่างแท้จริง

5. การ ส่ง เสริม การ พัฒนา ระบบ ฟาร์มมีลักษณะสำคัญคือ

• ความ รว่ม มอื ระหวา่ง ผู ้เกีย่วขอ้งคอืนกัสง่เสรมิการเกษตรเกษตรกรและนกัวจิยัรว่มมอืทำ

วิจัยและพัฒนาต่อยอดภูมิปัญญาท้องถิ่นกับเทคโนโลยีสมัยใหม่เพื่อพัฒนาระบบฟาร์มให้เหมาะสมกับสภาพ

ท้องถิ่น

• เทคโนโลยี ที่ เหมาะ สม กับ เกษตรกร ราย ย่อยเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของเกษตรกร

• นัก ส่ง เสริม ควร เป็น นัก ประสาน งาน โดยสามารถประสานงานกับผู้เกี่ยวข้องทั้งนักวิจัย

ภาครฐัหนว่ยงานในทอ้งถิน่และภาคเอกชนในการสนบัสนนุการบรหิารจดัการฟารม์ของเกษตรกรให้ประสบ

ผลสำเร็จโดยเป็นผู้มีความรอบรู้ในเรื่องการพัฒนาเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยวระบบบัญชีฟาร์มการแปรรูป

เพื่อเพิ่มมูลค่าสินค้าเกษตรและการตลาด

6. การ สง่ เสรมิ การเกษตร ที ่เนน้ การ ตลาด นำ การ ผลติโดยการผลติตามความตอ้งการของตลาดเนน้

การผลิตและเสริมสร้างนวัตกรรมตามที่ตลาดต้องการ ส่วนใหญ่ดำเนินการร่วมกับภาคเอกชนหรือเอกชน

สนับสนุนมีลักษณะสำคัญดังนี้

Page 40: การส่งเสริม การเกษตร ในประเทศไทยagri.stou.ac.th/UploadedFile/91720-5.pdf5.1.2 สถานการณ์การส่งเสริม

มสธ มสธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ

5-40 การส่งเสริมการเกษตรเพื่อการพัฒนา

• เน้น ข้อมูล ข่าวสาร การ ตลาด เนื่องจากพฤติกรรมการบริโภคที่เปลี่ยนแปลงไปตามระบบ

เศรษฐกิจโลกทำให้เกิดตลาดใหม่ๆ สำหรับผลผลิต/ผลิตภัณฑ์ใหม่ๆที่มีมูลค่า ดังนั้น เกษตรกรที่เป็นผู้

ผลิตต้องมีความรู้และข้อมูลข่าวสารด้านการตลาดสามารถรู้เท่าทันความเปลี่ยนแปลงมีความพร้อมในการ

แข่งขันในอนาคตเพื่อสามารถพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้ตอบสนองความต้องการของลูกค้าโดยเกษตรกรคิดค้น

เองไม่ต้องรอการวิจัย

• เน้น การ รวม กลุ่ม และ/หรือ ขยาย ตัว จน เกิด เป็น เครือ ข่าย ผู้ ผลิต เพื่อประสานงานสนับสนุน

กันในการส่งสินค้าไปจำหน่ายโดยเกษตรกรแต่ละรายจะพิจารณาถึงทุนที่ตนเองมี(ที่ดินแรงงานแหล่งน้ำ

ฯลฯ)และความสามารถในการเข้าถึงตลาดตลอดจนพิจารณาถึงเทคโนโลยีที่เหมาะสมและสอดคล้องกับการ

ลงทุน

• เน้น การ จัดการ ตลอด ห่วง โซ่ อุปทาน ซึ่งเป็นการประสานเชื่อมโยงกระบวนการผลิตที่

ครอบคลุมจากผู้จัดส่งวัตถุดิบ การผลิต การตลาดการกระจายสินค้า การแปรรูปไปสู่ผู้บริโภคขั้นสุดท้าย

ซึ่งมีการนำเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาช่วยในการบริหารจัดการข้อมูลเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด

• เนน้ การ พฒันา นกั สง่ เสรมิ การเกษตรการส่งเสริมไม่ได้เกี่ยวข้องเฉพาะกับการผลิตแต่ต้อง

คำนึงถึงการตลาดด้วยทั้งตลาดในชุมชนตลาดภายนอกชุมชนตลาดระดับประเทศหรือต่างประเทศดังนั้น

นักส่งเสริมจึงจำเป็นต้องได้รับการอบรมเพิ่มเติมในด้านการจัดการฟาร์มการตลาดการผลิตพืช/ผลิตภัณฑ์

ที่มีราคาสูงกองทุนชุมชนและธุรกิจเกษตร

ปัจจัยที่นำไปสู่ความสำเร็จในการส่งเสริมที่เน้นตลาดนำการผลิตมีดังนี้

- สนบัสนนุ การ รวม กลุม่ดว้ยการสง่เสรมิให้เกษตรกรในแตล่ะชมุชนที่มีทรพัยากรและความ

สนใจในเรื่องเดียวกันรวมตัวกันเป็นกลุ่มผู้ผลิตเช่นวิสาหกิจชุมชน

- สนบัสนนุ เรือ่ง การ ตลาดด้วยการสนับสนุนกลุ่มผู้ผลิต/วิสาหกิจชุมชนให้เข้าถึงตลาดหรือ

มีข้อมูลการตลาดที่เกี่ยวข้องกับพืชผลหรือผลิตภัณฑ์ที่ชุมชนมีศักยภาพในการผลิต

- สนับสนุน ปัจจัย การ ผลิต และ ความ รู้ ที่ จำเป็น ใน การ เพิ่ม มูลค่า สินค้าสนับสนุนกลุ่มผู้ผลิต/

วิสาหกิจชุมชนให้เข้าถึงปัจจัยการผลิตเช่นเมล็ดพันธุ์ดีการได้รับการฝึกอบรมเรื่องการผลิตและการบริหาร

จัดการที่จำเป็นในการสร้างผลผลิต/ผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าสูงและตรงกับความต้องการของตลาด

- สนบัสนนุ การ ยก ระดบั คณุภาพ สนิคา้ ด้วยการส่งเสริมให้ผลิตภัณฑ์/ผลิตผลต้องได้รับการ

รับรองคุณภาพ

จากที่กล่าวมาจะเห็นได้ว่าแนวทางการส่งเสริมการเกษตรในอนาคตมีแนวทางหลักๆ6วิธีคือการ

พัฒนาการเกษตรแบบยั่งยืนการส่งเสริมการเกษตรแบบมีส่วนร่วมการส่งเสริมการเกษตรโดยใช้เทคโนโลยี

สารสนเทศการส่งเสริมการเกษตรแบบบูรณาการหรือองค์รวมการส่งเสริมการพัฒนาระบบฟาร์มและการ

ส่งเสริมการเกษตรที่เน้นการตลาดนำการผลิต ซึ่งแนวทางการส่งเสริมที่กล่าวมาเน้นสร้างการเรียนรู้เพื่อให้

เกษตรกรพัฒนาขีดความสามารถของตนเองในการคิดวิเคราะห์สรุปด้วยตนเองซึ่งจะนำไปสู่ความสามารถ

ในการพึ่งพาตนเองได้ในระยะยาวและต้องเป็นการส่งเสริมการเกษตรในเชิงบูรณาการเกิดความร่วมมือใน

การทำงานของทุกหน่วยงานและให้เกษตรกรเข้ามามีส่วนร่วมในงานส่งเสริมการเกษตรอย่างแท้จริง

Page 41: การส่งเสริม การเกษตร ในประเทศไทยagri.stou.ac.th/UploadedFile/91720-5.pdf5.1.2 สถานการณ์การส่งเสริม

มสธ มสธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ

5-41การส่งเสริมการเกษตรในประเทศไทย

เรื่อง ที่ 5.3.2 กลไก ใน การ ส่ง เสริม การเกษตร

การดำเนินงานส่งเสริมการเกษตรของกรมส่งเสริมการเกษตรเน้นการให้เกษตรกรและชุมชนเข้ามา

มีส่วนร่วมในการพัฒนาทั้งในลักษณะของปัจเจกและกลุ่มเพื่อการเพิ่มขีดความสามารถของเกษตรกรและ

ชุมชนในการพัฒนาอาชีพของตนเอง เนื้อหาในตอนนี้จะกล่าวถึงกลไกที่กรมส่งเสริมการเกษตรใช้อยู่ ซึ่ง

สามารถสรุปได้รูปแบบโดยมีรายละเอียดดังนี้

ศูนย์ บริการ และ ถ่ายทอด เทคโนโลยี การเกษตร ประจำ ตำบล (ศ บกต.)ศบกต.เป็นศูนย์กลางในการประสานงานถ่ายทอดความรู้ด้านการเกษตรสาขาต่างๆในระดับตำบล

สู่เกษตรกรซึ่งมีพัฒนาการมาโดยลำดับดังนี้

1. การ จัด ตั้ง ศูนย์ เกษตร ประจำ ตำบลพ.ศ. 2530-2532กรมส่งเสริมการเกษตรมีนโยบายให้ทุก

ตำบลจัดตั้งศูนย์การเกษตรประจำตำบลให้ครบทุกตำบลเพื่อเป็นศูนย์กลางในการติดต่อประสานงานระหว่าง

เจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรประจำตำบลกับเกษตรกรและเจ้าหน้าที่หน่วยงานอื่นๆซึ่งเป็นการอำนวยความ

สะดวกให้แก่เกษตรกรในการเผยแพร่ข่าวสารการเกษตรประจำตำบล

2. การ เปลี่ยนแปลง ศูนย์ บริการ และ ถ่ายทอด เทคโนโลยี การเกษตร ประจำ ตำบล พ.ศ. 2543

กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มีนโยบายที่จะดำเนินการตามแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐธรรมนูญที่บัญญัติ

ภายใต้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพ.ศ. 2540ที่กำหนดให้รัฐจะต้องกระจายอำนาจให้แก่ท้องถิ่น

พึ่งตนเองและตัดสินใจในกิจการท้องถิ่นได้เอง ส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการบำรุง รักษาและใช้ประโยชน์

จากทรัพยากรธรรมชาติ และส่งเสริมการรวมตัวของเกษตรกร เพื่อวางแผนทางการเกษตร และรักษาผล

ประโยชน์ร่วมกันจึงได้จัดตั้งศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบลโดยมีแนวทางการ

ดำเนินงานดังนี้

2.1 วัตถุประสงค์ การ จัด ตั้ง ศ บกต.เพื่อ

2.1.1ปรับเปลี่ยนกระบวนการในการพัฒนาการเกษตรให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

เกษตรกร กลุ่มเกษตรกร สหกรณ์และสถาบันเกษตรกรมีโอกาสและมีส่วนร่วมในการพัฒนาการเกษตร

และสอดคล้องกับความต้องการของชุมชน โดยเจ้าหน้าที่จะให้การสนับสนุนด้านการบริหารและถ่ายทอด

เทคโนโลยีทางวิชาการปรับเปลี่ยนกระบวนการทำงานของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ในระดับท้องถิ่นเพื่อ

ให้มีการบริการทางด้านการพัฒนาการเกษตรที่มีการผสมผสานและสามารถให้บริการแก่เกษตรกรที่จุดเดียว

(one-stopservice)โดยให้มีการให้บริการจากทุกหน่วยงานผ่านศบกต.

2.1.2เพิ่มศักยภาพของชุมชนในการวางแผนและพัฒนาตนเองในด้านการพัฒนาการ

เกษตร

Page 42: การส่งเสริม การเกษตร ในประเทศไทยagri.stou.ac.th/UploadedFile/91720-5.pdf5.1.2 สถานการณ์การส่งเสริม

มสธ มสธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ

5-42 การส่งเสริมการเกษตรเพื่อการพัฒนา

3. การ ดำเนิน งาน ของ ศูนย์ ถ่ายทอด เทคโนโลยี การเกษตร ประจำ ตำบล ตั้งแต่ พ.ศ. 2552 เป็น

ศูนย์กลางในการประสานงานถ่ายทอดความรู้ด้านการเกษตรในสาขาต่างๆ ในระดับตำบลสู่เกษตรกร ซึ่ง

ได้ดำเนินการตามนโยบายกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในพ.ศ.2552ที่เน้นการบริหารงานในรูปแบบการ

บูรณาการโดยมีแนวทางการดำเนินงานดังนี้

3.1 วัตถุประสงค์ เพื่อเป็นศูนย์กลางความร่วมมือระหว่างเจ้าหน้าที่ของรัฐ องค์กรปกครอง

ส่วนท้องถิ่นและเกษตรกรในการดำเนินงานถ่ายทอดและขยายผลของเทคโนโลยีการเกษตรอย่างเป็นระบบ

และมีประสทิธภิาพโดยมีเปา้หมายตัง้ให้ครบทกุตำบลที่มีการประกอบอาชพีการเกษตรภายในเดอืนกนัยายน

พ.ศ.2542

3.2 องค ์ประกอบ ของ ศนูย ์ถา่ยทอด เทคโนโลย ีการเกษตร ประจำ ตำบลมี2ส่วนได้แก่ส่วนที่

เป็นสำนักงานและส่วนที่เป็นจุดถ่ายทอดเทคโนโลยีหรือจุดสาธิต โดยมีวิทยากรเกษตรกร (เกษตรกรที่เป็น

เจ้าของจุดถ่ายทอดเทคโนโลยี) ทำหน้าที่เป็นผู้ถ่ายทอดความรู้ ลักษณะของจุดสาธิตมี 2 ประเภท ได้แก่

ประเภทที่ประสบผลสำเร็จในอาชีพของตนเองและประเภทที่จัดทำขึ้นใหม่ตามศักยภาพของพื้นที่และความ

ต้องการของเกษตรกร

3.3 การ บริหาร ศูนย์ ถ่ายทอด เทคโนโลยี การเกษตร ประจำ ตำบล โดยคณะทำงานศักยภาพ

ชุมชนด้านการเกษตรระดับตำบลรับผิดชอบและบริหารจัดการองค์ประกอบของคณะทำงานประกอบด้วย

เกษตรอำเภอ เป็นประธานอบต.กรรมการหมู่บ้านกรรมการกลุ่มเกษตรกรแกนนำกลุ่มอาชีพกรรมการ

สหกรณ์เป็นคณะทำงานและผู้อำนวยการศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบล(เกษตรตำบลใน

พื้นที่) เป็นเลขานุการทั้งนี้ ผู้อำนวยศูนย์ถ่ายทอดฯมีหน้าที่ในการประสานงานและจัดการด้านการเกษตร

ภายในตำบลจัดการเกี่ยวกับระบบการถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรรายงานสถานการณ์ต่างๆที่เกี่ยวข้อง

การเกษตร ฯลฯทั้งนี้ให้ปฏิบัติงานที่ศูนย์ถ่ายทอดอย่างน้อยสัปดาห์ละ 2 วัน โดยกำหนดวันปฏิบัติงาน

และแผนปฏิบัติงานที่ชัดเจนเหมือนกันทั้งจังหวัด ผลการดำเนินงานมีการจัดตั้งศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยี

การเกษตรประจำตำบลทั้งสิ้น 7,125ศูนย์ โดยดำเนินการในลักษณะศูนย์นำร่องระดับประเทศภาคละ 1

ศูนย์รวม6ศูนย์ศูนย์นำร่องระดับจังหวัดจังหวัดละ1ศูนย์จำนวน76ศูนย์ดำเนินการโดยกรมส่งเสริม

การเกษตร

4. การ ปรับ เปลี่ยน คณะ กรรมการ บริหาร ศ บกต. ได้มีการปรับเปลี่ยนบทบาทหน้าที่ของเจ้าหน้าที่

และโครงสร้างคณะกรรมการศบกต.หลายครั้งซึ่งครั้งสุดท้ายในพ.ศ.2551กำหนดให้มีองค์ประกอบของ

คณะกรรมการบริหารศบกต.ไม่น้อยกว่า16คนประกอบด้วยผู้นำชุมชนที่เป็นกรรมการบริหารศบกต.

เป็นประธานผู้แทนอปท.1คนผู้แทนสถาบันและกลุ่มอาชีพการเกษตรในตำบลไม่เกิน2คนอาสาสมัคร

เกษตรที่มีอยู่ในตำบลไม่เกิน2คนผู้แทนหมู่บ้านๆละ1คนเป็นกรรมการเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตร

รับผิดชอบตำบลเป็นเลขานุการโดยตำแหน่งและพนักงานส่วนท้องถิ่นของอปท.เป็นผู้ช่วยเลขานุการโดย

ตำแหน่งในปัจจุบัน(พ.ศ.2553)มีศบกต.ทั้งสิ้น7,107ศบกต.(จากจำนวน7,255ตำบลใน75จังหวัด

และ50แขวงในเขตกรุงเทพฯ)จากตำบลและแขวงที่มีทั้งหมดทั่วประเทศ7,305ตำบล/แขวงซึ่งยังมีตำบล

ที่ยังตั้งไม่ครบจำนวน198ตำบล

Page 43: การส่งเสริม การเกษตร ในประเทศไทยagri.stou.ac.th/UploadedFile/91720-5.pdf5.1.2 สถานการณ์การส่งเสริม

มสธ มสธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ

5-43การส่งเสริมการเกษตรในประเทศไทย

องค์กร เกษตรกร วิสาหกิจ ชุมชน และ เครือ ข่าย1. องค์กร เกษตรกร หมายถึง กลุ่มของเกษตรกรที่รวมตัวกันเพื่อแก้ไขปัญหาที่เป็นข้อจำกัดของ

เกษตรกรรายย่อยหรือเพื่อพัฒนาสภาพการประกอบอาชีพและชีวิตความเป็นอยู่ของสมาชิกในกลุ่ม โดยมี

โครงสร้างการดำเนินงานและระเบียบข้อบังคับที่ชัดเจน

1.1 ความ สำคัญ ของ องค์กร เกษตรกร องค์กรเกษตรกรเป็นกลไกสำคัญในการพัฒนาการ

เกษตรเพราะเป็นการพัฒนาคนพัฒนางานไปพร้อมๆกันและทำให้เกิดประโยชน์ในด้านต่างๆดังต่อไปนี้

1)เพิ่มโอกาสด้านการเรียนรู้ เพราะกระบวนการกลุ่มจะช่วยให้เกษตรกรมีโอกาส

แลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกันรู้จักระบบการทำงานร่วมกันเป็นหมู่คณะสามารถแก้ไขปัญหาวางแผนการ

จัดการและกำหนดแนวทางการพัฒนาร่วมกันนอกจากนั้นการรับการถ่ายทอดเทคโนโลยีในรูปแบบกลุ่มจะ

เป็นไปได้รวดเร็วกว่าการถ่ายทอดเป็นรายบุคคล

2)เพิ่มโอกาสด้านการผลิต เพราะเกษตรกรที่รวมตัวกันเป็นกลุ่มสามารถช่วยเหลือ

ซึ่งกันและกันในกระบวนการผลิตและการจัดการผลผลิต เช่น การผลิตส่งตลาดในจำนวนและคุณภาพที่

ตลาดต้องการการแปรรูปผลผลิตเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มในกรณีผลผลิตล้นตลาดหรือผลผลิตตกต่ำเพิ่มโอกาส

ทางการตลาดและเพิ่มอำนาจต่อรองทางเศรษฐกิจทั้งการซื้อปัจจัยการผลิตและการขายผลผลิตรวมถึงการ

ปกป้องผลประโยชน์ของมวลหมู่สมาชิก

3)เพิม่โอกาสดา้นการบรกิารเป็นการอำนวยความสะดวกให้กับสมาชิกเช่นการจัดหา

สิ่งจำเป็นสำหรับการอุปโภคบริโภคตลอดจนปัจจัยการผลิตต่างๆมาบริการให้แก่สมาชิกในราคายุติธรรม

1.2 ประเภท ของ องค์กร เกษตรกรองค์กรเกษตรกรแบ่งได้เป็น2ลักษณะประเภทคือแบ่ง

ตามลักษณะประเภทการรับรองของกฎหมายและแบ่งตามลักษณะประเภทของระดับการพัฒนา

-ประเภทขององค์กรเกษตรกรตามการรับรองของกฎหมายได้แก่

1) องคก์ร เกษตรกร ที ่เปน็ นติบิคุคลหมายถงึองคก์รเกษตรกรที่จดทะเบยีนอยา่ง

เป็นทางการภายใต้กฎหมายที่กำหนดให้กลุ่มที่มาจดทะเบียนมีสถานะเป็นนิติบุคคลซึ่งจะต้องมีการติดตาม

ประเมินและตรวจสอบตามกฎระเบียบของกฎหมายนั้นๆมี3ประเภทย่อยๆได้แก่

(1) สมาคม (Association) จดทะเบียนตามประมวลกฎหมายแพ่งและ

พาณิชย์เป็นองค์กรที่ไม่แสวงหากำไรจัดตั้งขึ้นในหมู่คนที่มีความต้องการและสนใจในเรื่องเดียวกันสมาคม

จึงมีได้หลากหลายเช่นสมาคมชาวไร่อ้อยสมาคมชาวสวนยางสมาคมพืชสวนเป็นต้น

(2) กลุ่มเกษตรกร(AgriculturalGroups)จัดตั้งตามพระราชกฤษฎีกา

ว่าด้วยกลุ่มเกษตรกรพ.ศ.2547มี6ประเภทย่อยๆได้แก่กลุ่มเกษตรกรทำนากลุ่มเกษตรกรทำไร่กลุ่ม

เกษตรกรทำสวนกลุ่มเกษตรกรทำประมงกลุ่มเกษตรกรเลี้ยงสัตว์และกลุ่มเกษตรกรอื่นๆ

(3) สหกรณ์การเกษตร (Agricultural Co-operatives) จัดตั้งตาม

พระราชบัญญัติสหกรณ์พ.ศ.2542

ปัจจุบัน กลุ่มเกษตรกรและสหกรณ์การเกษตร อยู่ภายใต้การดูแลของกรมส่งเสริม

สหกรณ์กระทรวงเกษตรและสหกรณ์

Page 44: การส่งเสริม การเกษตร ในประเทศไทยagri.stou.ac.th/UploadedFile/91720-5.pdf5.1.2 สถานการณ์การส่งเสริม

มสธ มสธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ

5-44 การส่งเสริมการเกษตรเพื่อการพัฒนา

2) องค์กร เกษตรกร ที่ ไม่ เป็น นิติบุคคล การรวมตัวกันของเกษตรกรเป็นองค์กร

เกษตรกรที่ไม่เป็นนิติบุคคลมีทั้งการรวมตัวกันอย่างเป็นทางการและการรวมตัวกันอย่างไม่เป็นทางการ

(1) องค์กรเกษตรกรที่รวมตัวกันอย่างเป็นทางการ อาจเกิดขึ้นเองโดย

ธรรมชาติหรอืเกดิจากการสง่เสรมิของหนว่ยงานหรอืองคก์ารที่เกีย่วขอ้งและมีการจดทะเบยีนกบัทางราชการ

มีโครงสร้างการดำเนินงานและระเบียบข้อบังคับที่ชัดเจนแต่ไม่มีกฎหมายรองรับเช่นกลุ่มแม่บ้านเกษตรกร

กลุ่มอาชีพการเกษตรกลุ่มยุวเกษตรกรซึ่งเกิดขึ้นโดยการส่งเสริมของกรมส่งเสริมการเกษตร

(2)องค์กรเกษตรกรที่รวมตัวกันอย่างไม่เป็นทางการอาจเกิดขึ้นเองโดย

ธรรมชาติ หรือเกิดจากการส่งเสริมของหน่วยงานหรือองค์การที่เกี่ยวข้องแต่ไม่มีการจดทะเบียนกับทาง

ราชการมีข้อตกลงร่วมกันอย่างไม่เป็นทางการและดำเนินกิจกรรมร่วมกันเป็นครั้งคราว เช่น กลุ่มจัดการ

ทรัพยากรดินกลุ่มจัดการทรัพยากรน้ำฯลฯ

-ประเภทขององค์กรเกษตรกรตามระดับการพัฒนาได้แก่

1) องค์กร เกษตรกร ระดับ พื้น ฐานหมายถึงองค์กรเกษตรกรที่มีเป้าหมายการทำ

กิจกรรมระดับพื้นฐานที่จำเป็นต่อการดำเนินชีวิตเน้นการกินการใช้ในกลุ่มเพื่อลดรายจ่ายเพิ่มรายได้และ

ให้กลุ่มมีความเข้มแข็งพึ่งตนเองได้

2) องค์กร เกษตรกร ระดับ ก้าวหน้าหมายถึงองค์กรเกษตรกรที่มีศักยภาพในการ

ทำกจิกรรมในระดบัที่สงูขึน้ใช้เทคโนโลยีที่ทนัสมยัสามารถพฒันาสู่การแขง่ขนัทางการคา้เพือ่ตอบสนองตลาด

ในวงกว้าง

1.3 องค ์ประกอบ ของ องคก์ร เกษตรกรองคก์รเกษตรกรซึง่เกดิจากการรวมตวัหรอืจดัตัง้อยา่ง

เป็นทางการจะมีองค์ประกอบและโครงสร้างที่ชัดเจนได้แก่

1)เป้าหมายและวัตถุประสงค์ขององค์กรเช่น

- กลุ่ม แม่ บ้าน เกษตรกร มีวัตถุประสงค์เพื่อ รวมตัวกันประกอบกิจการเพื่อเพิ่ม

มูลค่าผลผลิตทางการเกษตรโดยอาจใช้กระบวนการแปรรูป

- กลุ่ม ยุว เกษตรกร มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ในการประกอบอาชีพ

เกษตรกรรมการฝึกการทำงานเป็นกลุ่มให้กับเยาวชน

2)สมาชิกซึ่งมักจะกำหนดคุณสมบัติเฉพาะตามประเภทขององค์กรเช่น

- กลุ่ม แม่ บ้าน เกษตรกร ประกอบด้วยสมาชิกที่เป็นสตรีในภาคเกษตรซึ่งอยู่ใน

พื้นที่เดียวกันมารวมกลุ่มเพื่อมาทำกิจกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับการเกษตร

- กลุ่ม ยุว เกษตรกรประกอบด้วยสมาชิกที่เป็นเยาวชนชาย-หญิงที่มีอายุระหว่าง

10–25ปีมีความสนใจรวมกลุ่มกันเพื่อฝึกปฏิบัติทางด้านการเกษตรและเคหกิจเกษตร

3)คณะกรรมการกลุ่ม ซึ่งคัดเลือกจากสมาชิก โดยทั่วไปประกอบด้วยประธาน รอง

ประธานเลขานุการเหรัญญิกประชาสัมพันธ์และกรรมการอื่นๆ

หากเป็นองค์กรเกษตรกรที่เป็นนิติบุคคล จะมีกรรมการอื่นเพิ่มขึ้น เช่น ผู้จัดการผู้

ตรวจสอบกิจการเจ้าหน้าที่ผู้ควบคุมนายทะเบียนฯลฯ

Page 45: การส่งเสริม การเกษตร ในประเทศไทยagri.stou.ac.th/UploadedFile/91720-5.pdf5.1.2 สถานการณ์การส่งเสริม

มสธ มสธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ

5-45การส่งเสริมการเกษตรในประเทศไทย

4)กิจกรรมที่กลุ่มดำเนินการ ซึ่งส่วนใหญ่จะครอบคลุมทั้งกิจกรรมด้านการเกษตร

กิจกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับการเกษตรเช่นการแปรรูปผลผลิตทางการเกษตรกิจกรรมด้านสังคมเป็นต้น

5)กฎระเบียบหรือข้อบังคับของกลุ่ม

2. วิสาหกิจ ชุมชนหมายถึงการประกอบการหรือกิจการของชุมชนที่สมาชิกในชุมชนเป็นเจ้าของ

และร่วมกันดำเนินการ ด้วยการใช้ความรู้ ภูมิปัญญาท้องถิ่น เทคโนโลยีที่เหมาะสม และความคิดริเริ่ม

สรา้งสรรค์จดัการทนุตา่งๆที่มีอยู่ในชมุชนเพือ่ผลติสนิค้าหรอืบรกิารตอบสนองการพึง่ตนเองและสรา้งรายได้

ให้กับครอบครัวชุมชนและระหว่างชุมชนตามแนวทางของเศรษฐกิจพอเพียงโดยกลุ่มคนหรือคณะบุคคล

ที่ดำเนินการอาจเป็นนิติบุคคลหรือไม่เป็นนิติบุคคลก็ได้

2.1 ความ สำคัญ ของ วิสาหกิจ ชุมชน วิสาหกิจชุมชนเป็นเครื่องมือแก้ปัญหาและพัฒนา

เศรษฐกิจและสังคมตั้งแต่ระดับครอบครัวชุมชนระหว่างชุมชนจนถึงระดับประเทศดังนี้

1)เป็นกลไกขับเคลื่อนเศรษฐกิจชุมชนเนื่องจากวิสาหกิจชุมชนเป็นภาคการผลิตและ

การสร้างรายได้ของระบบเศรษฐกิจชุมชนกิจกรรมวิสาหกิจชุมชนที่มีความหลากหลายจะทำให้ชุมชนมีกิน

มีใช้มีรายได้พึ่งตนเองได้ทำให้เศรษฐกิจชุมชนมีความเข้มแข็ง

2)เป็นเครื่องมือในการพัฒนาคนควบคู่กับการพัฒนากิจการเพราะวิสาหกิจชุมชนเน้น

กระบวนการเรียนรู้และการทำกิจกรรมบนฐานความรู้ซึ่งจะนำไปสู่ความสำเร็จในการดำเนินกิจการ

3)เป็นทางเลือกใหม่ที่ช่วยให้คนในชุมชนเกิดการเรียนรู้และมีความเชื่อมั่นที่จะ

สร้างสรรค์ผลผลิตเพื่อการบริโภคอุปโภคจากทุนที่มีอยู่ในชุมชนสามารถจัดการชีวิตความเป็นอยู่และพึ่ง

ตนเองได้

4)เป็นหน่วยสร้างงานและสร้างรายได้ในชุมชนก่อให้เกิดการจ้างงานในท้องถิ่นและ

ลดปัญหาการเคลื่อนย้ายแรงงานสู่ชุมชนเมืองหรือภาคอุตสาหกรรม

5)เป็นตัวกลางสำคัญที่ทำให้คนในชุมชนได้ทำงานร่วมกัน

6)เป็นตัวอย่างของการผลิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและการฟื้นฟูระบบนิเวศโดย

รวม

2.2 ลักษณะ สำคัญ ของ วิสาหกิจ ชุมชน คนในชุมชนเป็นเจ้าของและผู้ดำเนินการ ดำเนิน

การแบบมีส่วนร่วม โดยใช้ทุนความรู้แรงงานและวัตถุดิบในชุมชนเป็นหลักมีภูมิปัญญาท้องถิ่นเป็นฐาน

และต่อยอดด้วยภูมิปัญญาสากล เพื่อประยุกต์ให้เข้าสมัย แต่ยังคงมีเอกลักษณ์ท้องถิ่น ใช้ความคิดริเริ่ม

สร้างสรรค์สร้างมูลค่าเพิ่ม(Valueadded)จากผลผลิตและทรัพยากรชุมชนกิจกรรมที่ดำเนินการมีความ

หลากหลายเชื่อมโยงเกื้อกูลกันมีการบริหารจัดการอย่างเป็นระบบทั้งด้านการผลิตการตลาดการบริหาร

บุคคลและการเงินมีกระบวนการเรียนรู้เป็นหัวใจดำเนินการบนฐานความรู้และมีการพึ่งตนเองเป็นเป้าหมาย

2.3 ประเภท ของ วิสาหกิจ ชุมชน วิสาหกิจชุมชนแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ ตามกิจกรรมที่

ดำเนินการและตามระดับการพัฒนาดังนี้

Page 46: การส่งเสริม การเกษตร ในประเทศไทยagri.stou.ac.th/UploadedFile/91720-5.pdf5.1.2 สถานการณ์การส่งเสริม

มสธ มสธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ

5-46 การส่งเสริมการเกษตรเพื่อการพัฒนา

1)แบ่งตามกิจกรรมที่ดำเนินการประกอบด้วย

-การแปรรูปหรือการพัฒนาผลิตภัณฑ์จากผลผลิตของชุมชนซึ่งเป็นกิจกรรมที่

ต่อเนื่องจากการผลิตทางการเกษตรที่เป็นอาชีพหลัก เพื่อการพึ่งตนเอง และเพิ่มมูลค่าของผลผลิตทางการ

เกษตรเชน่การแปรรปูขา้วในกลุม่คนที่มีอาชพีทำนาหรอืกลุม่คนที่เปน็เครอืขา่ยกบัชาวนาการทำผลไม้แปรรปู

ในกลุ่มคนที่เป็นชาวสวนผลไม้เป็นต้น

-การพฒันาผลติภณัฑ์เพือ่สรา้งมลูคา่เพิม่จากทรพัยากรและภมูปิญัญาของชมุชน

เช่นยาสมุนไพรหัตถกรรมพื้นบ้านผ้าไหมลายพื้นเมืองผ้าย้อมสีธรรมชาติเป็นต้น

-การพฒันาผลติภณัฑ์ทดแทนการซือ้จากภายนอกเพือ่ลดรายจา่ยและตอบสนอง

การพึ่งตนเองของชุมชน เช่นปุ๋ยอินทรีย์ เครื่องมือเครื่องใช้ทางการเกษตรสบู่ แชมพูน้ำยาล้างจานน้ำดื่ม

เป็นต้น

-การพัฒนาระบบการตลาดการบริการและสวัสดิการชุมชนเพื่อให้ชุมชนมีชีวิต

ความเป็นอยู่ที่สะดวกสบายขึ้น เช่น ร้านค้าชุมชนท่องเที่ยวเชิงเกษตร โฮมสเตย์ ออมทรัพย์ ศูนย์สุขภาพ

พื้นฐานบริการซ่อมเครื่องจักรกลเป็นต้น

2)แบ่งตามระดับการพัฒนาประกอบด้วย

- วิสาหกิจ ชุมชน พื้น ฐาน เป็นกิจการขั้นต้น ทำเพื่อบริโภคหรือใช้ประโยชน์ใน

ครอบครัวและชุมชน

- วสิาหกจิ ชมุชน กา้วหนา้เปน็กจิการที่พฒันาตอ่เนือ่งจากระดบัพืน้ฐานโดยดำเนนิ

การอย่างเป็นระบบใช้ทุนและเทคโนโลยีตอบสนองชุมชนเครือข่ายและตลาดในระดับที่กว้างขึ้น

3. เครอื ขา่ย (Network)หมายถงึรปูแบบของความสมัพนัธ์หรอืความเชือ่มโยงกนัระหวา่งกลุม่หรอื

องค์กรหรือชุมชนเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ช่วยเหลือพึ่งพาซึ่งกันและกันและเสริมสร้างพลังในการพัฒนาหรือ

แก้ไขปัญหาร่วมกันโดยแต่ละกลุ่มที่เชื่อมโยงกันจะมีความเป็นอิสระต่อกัน

3.1 ความ สำคญั ของ เครอื ขา่ยเครือข่ายเป็นกลไกประสานผลประโยชน์และช่วยเหลือเกื้อกูล

กันของคนกลุ่มคนและองค์กรต่างๆที่อยู่ร่วมกันในสังคม เนื่องจากเครือข่ายมีบทบาทสำคัญดังนี้ เป็น

ช่องทางที่สำคัญในการสร้างกระบวนการเรียนรู้ และการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ซึ่งกันและกัน เป็นแหล่ง

รวบรวมเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารและรับการสนับสนุนจากภาคส่วนต่างๆเป็นเวทีของการปฏิบัติงานร่วมกัน

ระหว่างองค์กรที่รวมกันเป็นเครือข่ายและทำให้เกิดการเสริมพลังในการทำกิจกรรมต่างๆเป็นการเสริมสร้าง

จุดแข็งให้กับองค์กรที่รวมกันเป็นเครือข่าย

3.2 ประเภท ของ เครือ ข่ายเครือข่ายแบ่งได้หลายลักษณะดังนี้

1)เครือข่ายแบ่งตามลักษณะความสัมพันธ์มี2ประเภทได้แก่

(1) เครือ ข่าย แบบ แนว นอน (Horizontal Network) เป็นเครือข่ายที่เกิดจาก

บคุคลกลุม่คนหรอืองคก์รที่อยู่ในระดบัเดยีวกนัมีอาชพีเดยีวกนัหรอืมีความสนใจรว่มกนัมาประสานสมัพนัธ์

เชื่อมโยงกันเป็นเครือข่ายเช่นเครือข่ายเกษตรกรเครือข่ายนักวิจัยเครือข่ายวิสาหกิจชุมชนเป็นต้น

Page 47: การส่งเสริม การเกษตร ในประเทศไทยagri.stou.ac.th/UploadedFile/91720-5.pdf5.1.2 สถานการณ์การส่งเสริม

มสธ มสธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ

5-47การส่งเสริมการเกษตรในประเทศไทย

(2) เครือ ข่าย แบบ แนว ตั้ง (Vertical Network)เป็นเครือข่ายที่เกิดขึ้นในลักษณะ

ความสมัพนัธ์ระหวา่งหนว่ยงานของรฐักบัชาวบา้นองคก์รพฒันากบัชาวบา้นหรอืนายจา้งกบัลกูจา้งเพือ่ให้เกดิ

ความเข้าใจและความร่วมมือกัน

2)เครือข่ายแบ่งตามขอบเขตของชุมชนหรือพื้นที่มี2ประเภทได้แก่

(1) เครอื ขา่ย ภายใน ชมุชนเปน็การจดัความสมัพนัธ์ภายในชมุชนของกลุม่กจิกรรม

ที่ทำเรื่องประเภทเดียวกันมาร่วมมือกันเช่นพัฒนาความรู้พัฒนาผลิตภัณฑ์พัฒนาทักษะให้แก่สมาชิก

(2) เครือ ข่าย ภายนอก ชุมชนเป็นการรวมตัวกันของกลุ่มที่ทำกิจกรรมคนละอย่าง

มาร่วมมือกันเพื่อหนุนเสริมซึ่งกันและกัน

3)เครือข่ายแบ่งตามลักษณะเชิงพื้นที่และเชิงประเด็นกิจกรรมมี3แบบได้แก่

(1) เครือ ข่าย ระดับ หมู่บ้าน เป็นการสร้างเครือข่ายของกลุ่มกิจกรรมต่างๆที่มีอยู่

ในหมู่บ้านเพื่อความสะดวกในการประสานงานและการจัดสรรทรัพยากรในพื้นที่

(2) เครือ ข่าย ระดับ ตำบล เป็นการเชื่อมโยงเครือข่ายกลุ่มที่ทำกิจกรรมเหมือนกัน

ระหว่างหมู่บ้านเข้าด้วยกันเพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และสร้างอำนาจต่อรองทางด้านการตลาด

(3) เครือ ข่าย ระดับ อำเภอ และ จังหวัด เป็นการเชื่อมโยงกลุ่มกิจกรรมทั้งระดับ

อำเภอและจังหวัดได้แลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์ และร่วมหาแนวทางแก้ไขปัญหาเพื่อช่วยเหลือซึ่งกัน

และกัน

3.3 องค ์ประกอบ ของ เครอื ขา่ยในการเกิดขึ้นของเครือข่ายจะต้องประกอบด้วยองค์ประกอบ

ที่สำคัญดังนี้

1)สมาชิกของเครือข่าย คือหน่วยที่มาปฏิสัมพันธ์กัน เช่น วิสาหกิจชุมชนผลิตปุ๋ย

อินทรีย์บ้านดอกรักมาเชื่อมโยงเป็นเครือข่ายวิสาหกิจชุมชนเกษตรอินทรีย์กับวิสาหกิจชุมชนทำสวนผักบ้าน

ดอกบวบในกรณีนี้วิสาหกิจชุมชนผลิตปุ๋ยอินทรีย์บ้านดอกรักและวิสาหกิจชุมชนทำสวนผักบ้านดอกบวบ

ถือว่าเป็นสมาชิกของเครือข่ายเกษตรอินทรีย์

2)จดุมุง่หมายรว่มการรวมตวัเปน็เครือขา่ยจะตอ้งมีจดุมุง่หมายรว่มกนัเช่นเครือขา่ย

วิสาหกิจชุมชนเกษตรอินทรีย์มีจุดมุ่งหมายร่วมกันคือลดการใช้สารเคมีในการผลิตทางการเกษตร

3)การปฏิบัติหน้าที่อย่างมีจิตสำนึกต่อส่วนรวมเพื่อยึดโยงความเป็นเครือข่ายเอาไว้

4)การมีส่วนร่วมในกิจกรรม เพื่อเป็นปัจจัยหนุนเสริมในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และ

การเสริมสร้างพลังของเครือข่าย

5)ระบบความสัมพันธ์และการสื่อสารกระบวนการสื่อสาร2ทางจะทำให้สมาชิกของ

เครือข่ายได้แลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารซึ่งกันและกัน

6)ระบบความเท่าเทียมกัน สมาชิกของเครือข่ายต้องยึดหลักความเท่าเทียมกัน ไม่ใช่

ลักษณะนายจ้างกับลูกจ้างแต่เป็นพันธมิตรที่เท่าเทียมกัน

7)การแบ่งปันผลประโยชน์ที่เกิดจากการทำงานร่วมกัน

Page 48: การส่งเสริม การเกษตร ในประเทศไทยagri.stou.ac.th/UploadedFile/91720-5.pdf5.1.2 สถานการณ์การส่งเสริม

มสธ มสธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ

5-48 การส่งเสริมการเกษตรเพื่อการพัฒนา

ทั้งนี้องค์กรเกษตรกรวิสาหกิจชุมชนและเครือข่ายมีความสำคัญคือทำให้คนในชุมชนเกิดการแลก

เปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกันช่วยแก้ปัญหาด้านการผลิตและด้านการตลาดเกิดการสร้างงานและสร้างรายได้

ในชุมชน

เกษตร หมู่บ้าน อาสา สมัคร เกษตร และ อาสา สมัคร เกษตร หมู่บ้านเนื่องจากเกษตรกรมีจำนวนมากและการพัฒนาการเกษตรมีขอบเขตที่กว้างขวางครอบคลุมหลาย

สาขาแต่บคุลากรของกรมสง่เสรมิการเกษตรมีนอ้ยกรมสง่เสรมิการเกษตรจงึได้รเิริม่แกไ้ขปญัหาโดยคดัเลอืก

เกษตรกรที่มีความรู้ความสามารถในการทำการเกษตร เป็นที่ยอมรับของเกษตรกรในหมู่บ้านและสมัครใจ

ที่จะช่วยเหลือทางราชการมาทำหน้าที่เป็นผู้ช่วยของเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรโดยเริ่มดำเนินการครั้งแรก

ในพ.ศ. 2518ภายใต้โครงการพัฒนาการเกษตรในเขตชลประทาน ซึ่งเรียกเกษตรกรดังกล่าวว่า “หัวหน้า

เกษตรกร (farmersforeman/localfarmers’leader)”และขยายผลทัว่ประเทศภายใต้โครงการปรบัปรงุระบบ

ส่งเสริมการเกษตรซึ่งเรียกเกษตรกรดังกล่าวว่า“เกษตรกรผู้นำ(contactfarmer)”และต่อมาหน่วยงาน

ต่างๆในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เกือบทุกหน่วยงานได้นำแนวคิดดังกล่าวไปปรับใช้โดยคัดเลือก

เกษตรกรเพื่อทำหน้าที่ช่วยเหลืองานโดยใช้ชื่อที่แตกต่างกันไปเช่นหมอดินอาสาครูบัญชีอาสาฯลฯทำให้

งานอาสาสมัครเกษตรมีความหลากหลายและขาดเอกภาพกระทรวงเกษตรและสหกรณ์จึงออกระเบียบว่า

ด้วยการบริหารงานอาสาสมัครเกษตรและอาสาสมัครยุวเกษตรกรพ.ศ.2548 เพื่อปรับปรุงงานอาสาสมัคร

เกษตรให้เกิดเอกภาพและมีประสิทธิภาพโดยให้เกษตรกรผู้นำเป็นอาสาสมัครเกษตรสาขาหนึ่งด้วยแต่การ

ดำเนินงานตามระเบียบดังกล่าว เป็นการบริหารงานโดยส่วนราชการเป็นหลักทำให้สิทธิประโยชน์ของอาสา

สมัครขาดความชัดเจนกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ซึ่งการแก้ไขระเบียบดังกล่าว เป็นระเบียบว่าด้วยการ

บริหารงานอาสาสมัครเกษตรพ.ศ.2551โดยกำหนดสิทธิประโยชน์ให้แก่อาสาสมัครเกษตรและกำหนดให้

มี1)คณะกรรมการอาสาสมัครเกษตรทำหน้าที่ในการบริหารงานอาสาสมัครเกษตร2)คณะกรรมการบริหาร

งานอาสาสมัครของส่วนราชการตั้งแต่ระดับหมู่บ้านจนถึงระดับประเทศทำงานควบคู่กันแต่ในเวลาต่อมา

บุคลากรของกรมส่งเสริมการเกษตรมีการเกษียณอายุและเกษียณอายุก่อนกำหนดเป็นจำนวนมากซึ่งส่งผล

ให้มีบุคลากรไม่เพียงพอต่อการส่งเสริมการเกษตรประกอบกับเกษตรกรผู้นำที่มีอยู่ไม่ครอบคลุมทุกหมู่บ้าน

ในพ.ศ2552กรมส่งเสริมการเกษตรจึงคัดเลือกเกษตรกรในแต่ละหมู่บ้านหมู่บ้านละ1คนเพื่อทำหน้าที่

เป็นผู้ช่วยเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรแทนเกษตรกรผู้นำโดยเรียกว่า“เกษตรหมู่บ้าน”เกษตรหมู่บ้านและ

อาสาสมัครเกษตรมีบทบาทและหน้าที่ดังนี้

1. เกษตร หมู่บ้าน (กษม.) คือผู้นำเกษตรกรในหมู่บ้าน/ชุมชนที่สมัครใจทำงาน เพื่อส่วนรวมให้

กับหมู่บ้าน/ชุมชนโดยได้รับเลือกตามกระบวนการสรรหาของกรมส่งเสริมการเกษตรผ่านเจ้าหน้าที่ส่งเสริม

การเกษตรประจำตำบล/เกษตรอำเภอและเกษตรจังหวัด

บทบาท หน้าที่ ของ เกษตร หมู่บ้าน

1.1ร่วมวางแผนและกำหนดแนวทางการพัฒนาการเกษตรของหมู่บ้านเพื่อผลักดันเป็นแผน

พัฒนาหมู่บ้านโดยปฏิบัติงานร่วมกับเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรประจำตำบล(เกษตรตำบล)และเจ้าหน้าที่

จากหน่วยงานอื่นๆที่เกี่ยวข้องช่วยกันทำกิจกรรมในการพัฒนาการเกษตรในหมู่บ้าน

Page 49: การส่งเสริม การเกษตร ในประเทศไทยagri.stou.ac.th/UploadedFile/91720-5.pdf5.1.2 สถานการณ์การส่งเสริม

มสธ มสธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ

5-49การส่งเสริมการเกษตรในประเทศไทย

1.2ชักชวนและกระตุ้นให้เกษตรกรหรือกลุ่มบุคคลที่มีส่วนเกี่ยวข้องร่วมกันทำงานตามแผน

งานที่กำหนด

1.3แลกเปลี่ยนข้อคิดเห็น ข่าวสารและความรู้กับเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรประจำตำบล

เป็นประจำ

1.4ช่วยกระจาย ข่าวสาร ความรู้และข้อมูลที่จำเป็นของทางราชการที่ได้รับจากเจ้าหน้าที่

ส่งเสริมการเกษตรประจำตำบลไปยังเกษตรกรรายอื่นๆและกระตุ้นให้เกษตรกรรายอื่นๆนำไปปฏิบัติ

1.5ร่วมมือกับเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรประจำตำบล ในการสนับสนุนการดำเนินงาน

ส่งเสริมการเกษตรภายในหมู่บ้าน

1.6ช่วยแก้ไขปัญหาด้านการเกษตรหรือด้านอื่นๆที่สามารถช่วยแก้ไขได้ หากไม่สามารถ

แก้ไขได้ต้องแจ้งเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรประจำตำบลทราบเพื่อประสานงานหาทางแก้ไขต่อไป

2. อาสา สมคัร เกษตร (อกษ.)คือเกษตรกรหรือบุคคลที่ได้รับเลือกหรือสมัครใจเข้าเป็นอาสาสมัคร

ภายใต้หลักเกณฑ์วิธีการ และเงื่อนไข ที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์กำหนดเพื่อเป็นเครือข่ายในการ

ช่วยเหลือการปฏิบัติงานของหน่วยงานต่างๆรวมทั้งงานของชุมชนซึ่งเกี่ยวข้องกับการเกษตรหรือสหกรณ์ซึ่ง

ในระดับพื้นที่หากจำแนกอาสาสมัครเกษตรตามภารกิจการช่วยเหลือหน่วยงานต่างๆสามารถแยกได้เป็น13

สาขาตามภารกิจของหน่วยงานเช่นปศุสัตว์อาสาหมอดินครูบัญชีอาสาเป็นต้นแต่หากสรุปบทบาทหน้าที่

ของอกษ.สามารถสรุปได้ดังนี้

2.1เข้าร่วมเป็นคณะกรรมการศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบล

จำนวน1-4คนจาก15คน

2.2สนับสนุนการจัดทำข้อมูลการเกษตรระดับตำบล

2.3ร่วมจัดทำแผนพัฒนาการเกษตรระดับตำบล

2.4สนับสนุนการจัดการเรียนรู้และถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร

2.5สนับสนุนการให้บริการทางการเกษตรของศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร

ประจำตำบลเช่นการวิเคราะห์ดิน/นำ/สารตกค้างในผลผลิตการเกษตรเป็นต้น

2.6สนับสนุนการรวมกลุ่มและเครือข่ายของเกษตรกรในศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยี

การเกษตรประจำตำบลสวัสดิการและสิทธิประโยชน์

3. อาสา สมคัร เกษตร หมูบ่า้น (อกม.)ในพ.ศ.2554ได้มีประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เรื่อง

อาสาสมัครเกษตรหมู่บ้านโดยให้เลือกกันเองระหว่างอาสาสมัครเกษตรทุกประเภทที่มีในหมู่บ้านหมู่บ้านละ

1คน เพื่อทำหน้าที่ประสาน เชื่อมโยงการดำเนินงานของอาสาสมัครเกษตรสาขาต่างๆ รวมทั้งองค์กรและ

หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในหมู่บ้าน อาสาสมัครเกษตรหมู่บ้านเป็นตัวแทนของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์

ประจำหมู่บ้าน และเป็นเครือข่ายการบริหารงานด้านการเกษตรในหมู่บ้านประสานงานด้านการพัฒนาการ

เกษตรระหว่างอาสาสมัครเกษตรในหมู่บ้านกับอาสาสมัครเกษตรตำบลและเจ้าหน้าที่ของกระทรวงเกษตร

และสหกรณ์ ประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสาร เผยแพร่ความรู้ การบริการทางด้านการเกษตร รวบรวมปัญหา

ความต้องการและข้อเสนอแนะทางด้านการเกษตรจากเกษตรกรไปสู่หน่วยงานต่างๆที่เกี่ยวข้อง

Page 50: การส่งเสริม การเกษตร ในประเทศไทยagri.stou.ac.th/UploadedFile/91720-5.pdf5.1.2 สถานการณ์การส่งเสริม

มสธ มสธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ

5-50 การส่งเสริมการเกษตรเพื่อการพัฒนา

Smart Farmerการดำเนินงานด้านSmartFarmerเป็นนโยบายของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ที่มีความมุ่งหวัง

ใหก้ารพฒันาเกษตรกรเกดิผลเปน็รปูธรรมและให้มีการบูรณาการการทำงานรว่มกนัของสว่นราชการในสงักดั

กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ทั้งส่วนกลาง และส่วนภูมิภาค รวมทั้งภาคีเครือข่ายจากภายนอก เพื่อพัฒนา

และส่งเสริมอาชีพด้านการเกษตรในการพัฒนาเกษตรกรให้เป็นSmartFarmerโดยกรมส่งเสริมการเกษตร

(2556:1-19)ได้กล่าวถึงSmartFarmerมีรายละเอียดดังนี้

1. ความ หมาย และ คณุสมบตัิ ของ Smart Farmer คือเกษตรกรที่มีความรู้ในเรื่องที่ทำอยู่มีข้อมูล

ประกอบการตัดสินใจมีความตระหนักถึงคุณภาพสินค้าและความปลอดภัยของผู้บริโภคมีความรับผิดชอบ

ต่อสิ่งแวดล้อม/สังคมมีความภูมิใจในความเป็นเกษตรกร

SmartFarmerได้มาจากการสำรวจคัดเลือกเกษตรกรที่มีคุณสมบัติและตัวชี้วัดตรงตามที่กำหนด

เช่นอาสาสมัครเกษตรปราชญ์ชาวบ้านเกษตรกรดีเด่นสาขาต่างๆ

2. คุณสมบัติ ของ Smart Farmerมีคุณสมบัติพื้นฐานดังนี้

2.1 ราย ได้ มีรายได้ไม่ต่ำกว่า180,000บาท/ครัวเรือน/ปี

2.2 ม ีความ รู ้ใน เรือ่ง ที ่ทำ อยู ่สามารถเปน็วทิยากรถา่ยทอดเทคโนโลยีหรอืให้คำแนะนำปรกึษา

ให้กับผู้อื่นได้สามารถเป็นเกษตรกรต้นแบบหรือจุดเรียนรู้ให้กับผู้อื่น

2.3 มี ข้อมูล ประกอบ การ ตัดสิน ใจ

-สามารถเข้าถึงแหล่งข้อมูล ทั้งจากเจ้าหน้าที่และผ่านทางระบบสารสนเทศและการ

สื่อสารอื่นๆเช่นinternet,mobilephoneเป็นต้น

-มีการบันทึกข้อมูลและใช้ข้อมูลมาประกอบการวิเคราะห์วางแผน บริหารจัดการ

ผลผลิตให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาด

-มีการนำข้อมูลมาใช้ในการแก้ไขปัญหาและพัฒนาอาชีพของตนเองได้

2.4 มี การ บริหาร จัดการ ผลผลิต และ การ ตลาด

-มีความสามารถในการบริหารจัดการปัจจัยการผลิตแรงงานและทุนฯลฯ

-มีความสามารถในการเชื่อมโยงการผลิตและการตลาดเพื่อให้ขายผลผลิตได้

-มีการจัดการของเหลือจากการผลิตที่มีประสิทธิภาพ(zerowastemanagement)

2.5 มี ความ ตระหนัก ถึง คุณภาพ สินค้า และ ความ ปลอดภัย ของ ผู้ บริโภค

-มีความรู้หรือได้รับการอบรมเกี่ยวกับมาตรฐานGAPGMP เกษตรอินทรีย์ หรือ

มาตรฐานอื่นๆ

-มีกระบวนการผลิตที่สอดคล้องกับมาตรฐานGAPGMPหรือเกษตรอินทรีย์หรือ

มาตรฐานอื่นๆ

2.6 มี ความ รับ ผิด ชอบ ต่อ สิ่ง แวดล้อม/สังคม

-มีกระบวนการผลิตที่ไม่ก่อให้เกิดมลภาวะและไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม (green

economy)

- มีกิจกรรม

Page 51: การส่งเสริม การเกษตร ในประเทศไทยagri.stou.ac.th/UploadedFile/91720-5.pdf5.1.2 สถานการณ์การส่งเสริม

มสธ มสธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ

5-51การส่งเสริมการเกษตรในประเทศไทย

2.7 มี ความ ภูมิใจ ใน ความ เป็น เกษตรกร

-มีความมุ่งมั่นในการประกอบอาชีพการเกษตร

-รักและหวงแหนพื้นที่และอาชีพทางการเกษตรไว้ให้รุ่นต่อไป

-มีความสุขและพึงพอใจในการประกอบอาชีพการเกษตร

3. แนวทาง การ ขับ เคลื่อน เกษตรกร เป้า หมาย เป็น Smart Farmer

3.1 ตั้ง คณะ กรรมการ/คณะ ทำงาน เป็น กลไก ขับ เคลื่อน Smart Farmer สู่ การ ปฏิบัติ ซึ่งการ

พัฒนาSmartFarmerเป็นกระบวนการในการเปลี่ยนแปลงโดยยึดเกษตรกรเป็นศูนย์กลางดำเนินการโดย

ทีมงานการเปลี่ยนแปลงใน3ระดับที่ต้องทำงานเชิงบูรณาการและสร้างภาคีเครือข่ายในทุกระดับดังนี้

1)คณะกรรมการระดับกระทรวง

2)คณะทำงานระดับส่วนราชการในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์

3)คณะทำงานระดับจังหวัดประกอบด้วยภาครัฐจังหวัดประชาชนภาคเอกชนและ

ผู้แทนเกษตรกร

3.2 สื่อสาร และ สร้าง ความ เข้าใจ กับ หน่วย งาน ใน สังกัด กระทรวง เกษตร และ สหกรณ์

1)การสื่อสารผ่านช่องทางต่างๆ เช่น การประชุมชี้แจง การจัดทำคู่มือการดำเนินงาน

โครงการและเผยแพร่ผ่านเว็บไซต์

2)การสร้างความเข้าใจหลักการสำคัญ คือ เกษตรกรเป็นศูนย์กลางในการพัฒนา

สามารถคัดกรองจำแนกชั้น กลุ่มของเกษตรกรที่จะพัฒนาได้ มีฐานข้อมูลเกษตรกรครบถ้วนและเป็นการ

พัฒนาเกษตรกรที่เป็นเป้าหมายในการดำเนินงานตามภารกิจหรือโครงการส่งเสริมการเกษตรเดิมไม่จำเป็น

ต้องเริ่มโครงการใหม่

3.3 คัด กรอง เกษตรกร เป้า หมาย เพื่อ พัฒนา เป็น Smart Farmer

1)เกษตรกรเป้าหมายคือเกษตรกรที่มีอาชีพหลักในด้านการประกอบการเกษตรสาขา

ต่างๆซึ่งอาจเป็นเครือข่ายประเภทต่างๆของส่วนราชการในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์

2)หลักการคัดกรอง(selective)

-สำรวจและรวบรวมขอ้มลูบคุคลที่มีอาชพีเปน็เกษตรกรและประกอบการเกษตร

สาขาต่างๆ

-ประเมินคุณสมบัติและตัวชี้วัดตามเกณฑ์และวิธีประเมินที่กำหนด

-จัดชั้นเกษตรกรตามผลการประเมินเพื่อเป็นฐานข้อมูลในการวางแผนการ

พัฒนา

-จัดทำฐานข้อมูลเกษตรกรเป้าหมายที่ผ่านการคัดกรอง

3)การแบ่งกลุ่มเกษตรกรเพื่อพัฒนาเป็นSmartFarmer

-เกษตรกรเป้าหมายที่มีคุณสมบัติของ Smart Farmerครบแล้ว (Existing

SmartFarmer)ซึง่จะได้มาจากการสำรวจคดัเลอืกเกษตรกรที่มีคณุสมบตัิและตวัชี้วดัตรงตามที่กำหนดเชน่

อาสาสมัครเกษตรปราชญ์ชาวบ้านเกษตรกรดีเด่นสาขาต่างๆเกษตรกรทั่วไปที่ได้รับการพัฒนามาแล้วจาก

Page 52: การส่งเสริม การเกษตร ในประเทศไทยagri.stou.ac.th/UploadedFile/91720-5.pdf5.1.2 สถานการณ์การส่งเสริม

มสธ มสธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ

5-52 การส่งเสริมการเกษตรเพื่อการพัฒนา

หน่วยงานต่างๆ เกษตรกรกลุ่มนี้จะได้รับการพัฒนาแบบต่อยอดและอาจทำหน้าที่ช่วยเหลือส่งเสริมในการ

พัฒนาแก่เกษตรกรอื่นๆ

-เกษตรกรเป้าหมายที่จะพัฒนาเป็นSmartFarmerซึ่งอาจจะเป็นอาสาสมัคร

เกษตรเกษตรกรทัว่ไปยวุเกษตรกรเกษตรกรรุน่ใหม่ที่เปน็เปา้หมายในการดำเนนิงานตามโครงการ/กจิกรรม

ของแต่ละหน่วยงานซึ่งมีความพร้อมที่จะได้รับการพัฒนาเป็นSmartFarmerโดยมีการจัดทำเป็นฐานข้อมูล

และกำหนดเปน็เปา้หมายในการสง่เสรมิพฒันาตามความตอ้งการและความจำเปน็พืน้ฐานของเกษตรกรแตล่ะ

ราย

4)กำหนดให้มีเกษตรกรSmartFarmerต้นแบบจำแนกตามชนิดสินค้าที่สำคัญ ใน

เบื้องต้น 10ด้าน ได้แก่ ข้าวปาล์มน้ำมัน ยางพารา ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ มันสำปะหลัง อ้อยโรงงานประมง

ปศุสัตว์ เกษตรผสมผสานและYoungSmartFarmer ในจังหวัดที่มีพื้นที่ zoningการผลิตสินค้านั้นๆ

โดยส่วนราชการในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ที่เกี่ยวข้องสำรวจเกษตรกรที่เป็นกลุ่มเป้าหมายของ

หน่วยงานตามคุณสมบัติและตัวชี้วัดที่กำหนดเพื่อค้นหาเกษตรกรที่เป็นตัวอย่างเกษตรกรปราดเปรื่อง

5)ประกาศเกียรติคุณSmartFarmerต้นแบบตามสาขาอาชีพและพื้นที่เฉพาะเพื่อ

เป็นการสร้างเป้าหมายตัวอย่างให้กับเกษตรกรอื่นๆที่จะพัฒนาเป็น Smart Farmer ต่อไป และเป็นการ

เชิดชูเกษตรกรที่มีความมุ่งมั่นจนสามารถพัฒนาตนเองเป็นSmartFarmerได้

6)การถอดบทเรียนและองค์ความรู้จากเกษตรกรต้นแบบ โดยการนำบทเรียนจาก

เกษตรกรต้นแบบมาจัดทำเป็นชุดความรู้ตามแนวทางที่กำหนดเพื่อนำไปขยายผลสู่การพัฒนาเกษตรกรราย

อื่นต่อไป

7)จัดทำแผนพัฒนาการเกษตรในระดับจังหวัด โดยให้หน่วยงานในระดับจังหวัดร่วม

กันบูรณาการการจัดทำแผนของทุกหน่วยงานโดยให้มีการกำหนดเกษตรกรเป้าหมายร่วมกันโดยการพัฒนา

ให้เกษตรกรเปน็SmartFarmerควบคู่กบัการพฒันาสนิคา้เกษตร(commodity)และการจดัzoningพืน้ที่

การเกษตรของจังหวัด

8)สร้างเครือข่ายภาคีจากทุกภาคส่วน โดยประสานความร่วมมือจากสถาบันการเงิน

สถาบนัการศกึษาหนว่ยงานภาคการตลาดตา่งๆในการสง่เสรมิและสนบัสนนุทรพัยากรดา้นตา่งๆเพือ่พฒันา

SmartFarmerให้มีความพร้อมหลากหลายทั้งทางวิชาการเงินทุนและการตลาดโดยมีการทำงานร่วมกัน

ในรูปแบบของคณะกรรมการคณะทำงานและข้อตกลงความร่วมมือ(MOU)

9)การพฒันาเกษตรกรSmartFarmerที่สำคญัคอืความสามารถในการคดิวเิคราะห์

ใช้ข้อมูลและแก้ปัญหาเป็นและมีข้อกำหนดอื่นๆตามคุณสมบัติและตัวชี้วัดของSmartFarmer

10)การสง่เสรมิและพฒันาเกษตรกรเปา้หมายเปน็SmartFarmerจะมีการดำเนนิการ

ตามวิธีการผลิตที่เหมาะสมของเกษตรกรรายนั้นๆเช่นการทำการเกษตรแบบเศรษฐกิจพอเพียงการเกษตร

เชิงพาณิชย์ContractFarmingไร่นาสวนผสมหรืออื่นๆ

11)จัดทำระบบติดตามและประเมินผลการพัฒนา Smart Farmer โดยการกำหนด

ระบบการติดตามตรวจสอบรายงานผลและประเมินผลในเชิงผลผลิตและผลลัพธ์ของการพัฒนาเกษตรกร

เป้าหมายโดยมีเป้าหมายการพัฒนาSmartFarmerจะต้องมีรายได้ไม่ต่ำกว่าปีละ180,000บาท

Page 53: การส่งเสริม การเกษตร ในประเทศไทยagri.stou.ac.th/UploadedFile/91720-5.pdf5.1.2 สถานการณ์การส่งเสริม

มสธ มสธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ

5-53การส่งเสริมการเกษตรในประเทศไทย

จากที่กล่าวมาข้างต้นสรุปได้ว่า กลไกในงานส่งเสริมการเกษตรประกอบด้วย 4 กลไกคือศูนย์

บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบลองค์กรเกษตรกรวิสาหกิจชุมชนและเครือข่ายเกษตร

หมู่บ้านและอาสาสมัครเกษตรรวมถึงSmartFarmer

หลัง จาก ศึกษา เนื้อหา สาระ ตอน ที่ 5.3 แล้ว โปรด ปฏิบัติ กิจกรรม 5.3

ใน แนว การ ศึกษา หน่วย ที่ 5 ตอน ที่ 5.3

Page 54: การส่งเสริม การเกษตร ในประเทศไทยagri.stou.ac.th/UploadedFile/91720-5.pdf5.1.2 สถานการณ์การส่งเสริม

มสธ มสธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ

5-54 การส่งเสริมการเกษตรเพื่อการพัฒนา

บรรณานุกรม

กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (2556)คู่มือ แนวทาง การ ขับ เคลื่อน นโยบาย Smart Farmer และ Smart Officer

ตอน ที่ 1 กรอบ แนวทาง การ ดำเนิน งาน ใน ระยะ เริ่ม ต้นคณะกรรมการขับเคลื่อนนโยบายSmartFarmer

และSmartOfficer

(2551)“ปรับ ระบบ ส่ง เสริม การเกษตร”จากwww.moac.info.net6พฤศจิกายน

(2554)แผน พัฒนาการ เกษตร ใน ช่วง แผน พัฒนา เศรษฐกิจ และ สังคม แห่ง ชาติ ฉบับ ที่ 11 (พ.ศ. 2555-

2559)

กรมส่งเสริมการเกษตร(2540)แผน พัฒนา ส่ง เสริม การเกษตร พ.ศ. 2540-2544(อัดสำเนา)

(2551) ระบบ ส่ง เสริม การเกษตร: ระบบ การ ปฏิบัติ งาน ใน พื้นที่ ฝ่ายโรงพิมพ์ สำนักพัฒนาและถ่ายทอด

เทคโนโลยี

(2552) รายงาน ประจำ ปี กรม ส่ง เสริม การเกษตร 2552 ฝ่ายโรงพิมพ์ สำนักพัฒนาการถ่ายทอด

เทคโนโลยี

(2550)นโยบาย และ แนวทาง การ ดำเนิน งาน ส่ง เสริม การเกษตร ปีงบประมาณ พ.ศ. 2550 ฝ่ายโรงพิมพ์

สำนักพัฒนาการถ่ายทอดเทคโนโลยี

(2551)นโยบาย และ แนวทาง ดำเนิน งาน ส่ง เสริม การเกษตร ปีงบประมาณ พ.ศ. 2551 ฝ่ายโรงพิมพ์

สำนักพัฒนาการถ่ายทอดเทคโนโลยี

(2553)นโยบาย และ แนวทาง การ ดำเนิน งาน ส่ง เสริม การเกษตร ปีงบประมาณ พ.ศ. 2553 ฝ่ายโรงพิมพ์

สำนักพัฒนาการถ่ายทอดเทคโนโลยี

(2554)นโยบาย และ แนวทาง การ ดำเนิน งาน ส่ง เสริม การเกษตร ปีงบประมาณ พ.ศ. 2554 ฝ่ายโรงพิมพ์

สำนักพัฒนาการถ่ายทอดเทคโนโลยี

(2556)แผน ยุทธศาสตร์ กรม ส่ง เสริม การเกษตร พ.ศ. 2556-2559

(2554)พัฒนาการ งาน ส่ง เสริม การเกษตร ของ ประเทศไทย หจก.ธรรกมลการพิมพ์

(ม.ป.ป.)เอกสาร แนะนำ กรม ส่ง เสริม การเกษตรฝ่ายโรงพิมพ์สำนักพัฒนาและถ่ายทอดเทคโนโลยี

(2554) “ระบบฐานข้อมูลทะเบียนเกษตรกร โครงการปรับปรุงระบบฐานข้อมูลทะเบียนเกษตรกร” จาก

http://www.survey.doae.go.th

กรมส่งเสริมการส่งออกการ ประชุม คณะ ผู้ แทน การ ค้า จาก ประเทศ สหรัฐอเมริกา เดิน ทาง มา เยือน ไทย เพื่อ จัดสัมมนา

ใน หัวข้อ เรื่อง “The Way to Access to US. Market through Agents” และ เจรจา การ ค้า กับผู้ ผลิต

และ ผู้ ส่ง ออก สินค้า ผัก ผล ไม้ ดอกไม้ และ กล้วยไม้ 22 เมษายน 2551(สำเนา)

คณะกรรมการพัฒนาและบริหารจัดการผลไม้ แนวทาง การ ป้องกัน และ แก้ไข ปัญหา ผล ไม้ ทั้ง ระบบ ปี 2554

(สำเนา)

คณะทรัพยากรธรรมชาติมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์(ม.ป.ป.)“เส้นทางการพัฒนางานส่งเสริมการเกษตรไทยใน

อนาคต”อ้างจากhttp://natres.psu.ac.th

Page 55: การส่งเสริม การเกษตร ในประเทศไทยagri.stou.ac.th/UploadedFile/91720-5.pdf5.1.2 สถานการณ์การส่งเสริม

มสธ มสธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ

5-55การส่งเสริมการเกษตรในประเทศไทย

ชูเกียรติ รักซ้อน (2532)หลัก การ ส่ง เสริม การเกษตร หลักการส่งเสริมการเกษตรทั่วไป บรรณาธิการ โดย ชัชรี

นฤทุมโรงพิมพ์ศูนย์ส่งเสริมและฝึกอบรมการเกษตรแห่งชาติกำแพงแสนนครปฐม

ดิเรกฤกษ์หร่ายและจินดาขลิบทอง (2554)“การบริหารแผนกลยุทธ์ในยุคโลกาภิวัตน์”หน่วยที่ 7การวางแผน

บริหารการส่งเสริมการเกษตรใน เอกสาร การ สอน ชุด วิชา หลัก การ บริหาร การ ส่ง เสริม การเกษตรหน่วยที่

1-7สาขาวิชาส่งเสริมการเกษตรและสหกรณ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

ประโชคชุมพล(2536)การ บริหาร เชิงกล ยุทธ์ และ นโยบาย ธุรกิจสำนักพิมพ์ผู้จัดการกรุงเทพมหานคร

พรทิพย์ ศรีแสงจันทร์ (2546)การ ส่ง เสริม การเกษตร ใน ยุค เทคโนโลยี สารสนเทศ สำนักส่งเสริมและพัฒนาการ

เกษตรเขตที่2จังหวัดราชบุรี

พรีพรพรอ้มเทพ“ทศิทางการสง่เสรมิการเกษตรในอนาคต” เอกสาร ประกอบ การ บรรยาย ใน การ สมัมนา เชงิ ปฏบิตั ิการ

สำนัก ส่ง เสริม และ พัฒนาการ เกษตร เขต ที่ 2 จังหวัด ราชบุรี วันที่ 27 กันยายน 2553ณ ห้องประชุม

สำนักส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรเขตที่2อำเภอบ้านโป่งจังหวัดราชบุรี

ยุกติสาริกะภูติและบำเพ็ญเขียวหวาน(2543)“กระบวนทัศน์ในการพัฒนางานส่งเสริมการเกษตร”ในประมวล

สาระ ชุด วิชาการ ส่ง เสริม การเกษตร เพื่อ การ พัฒนา91711หน่วยที่11-15สาขาวิชาส่งเสริมการเกษตรและ

สหกรณ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช2543

วัลลภพรหมทอง(2541)หลัก และ วิธี การ ส่ง เสริม การเกษตรกรุงเทพมหานครสำนักพิมพ์ฟิสิกส์เซ็นเตอร์

วิจิตรอาวะกุล(2535)หลัก การ ส่ง เสริม การเกษตรกรุงเทพมหานครบริษัทโรงพิมพ์ไทยวัฒนาพานิชจำกัด

วิชัยโชควิวัฒน์“ปาฐกถาพิเศษจากภูมิปัญญาสู่อุตสาหกรรมยุคเศรษฐกิจพอเพียง” เอกสาร ประกอบ การ สัมมนา

วิชาการ สมุนไพร และ การ แพทย์ แผน ไทย 2-3 กรกฎาคม 2552 กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการ

แพทย์ทางเลือก

วีรศักดิ์ปรกติ (ม.ป.ป.)“การ ส่ง เสริม การเกษตร รุ่น ที่ สาม เพื่อ การ พัฒนา ชนบท” วารสาร วิจัย และ ส่ง เสริม วิชาการ

เกษตรปีที่22ฉบับที่1หน้า1-11อ้างจากhttp://www.file.mju.ac.th/open.aspx

ศูนย์นวัตกรรมเทคโนโลยีหลังเก็บเกี่ยว“กษ.ดันส่งออกหน่อไม้ฝรั่งหนุนเอกชนทำContractFarmingเกษตรกร

หลังปี'52ทำยอดทะลุ 500ล” แนวหน้าจากhttp://www.naewna.com/news.asp?ID=222756, 9

สิงหาคม2553

ศูนย์สารสนเทศการเกษตร“การขึ้นทะเบียนเกษตรกร” วารสาร เศรษฐกิจ การเกษตรปีที่56ฉบับที่645สิงหาคม

2553

สมชัยศรีสุทธิยากร (2547)“การวางแผนกลยุทธ์”สถาบันทรัพยากรมนุษย์จากwww.tu.ac.th/org/ofrector/

person/train/plans.ppt

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (2552) โครงการ ศึกษา แนวทาง การ ผลัก ดัน และ

ขับ เคลื่อน การ ปรับ โครงสร้าง ภาค เกษตร และ อุตสาหกรรม เกษตร เพื่อ สร้าง มูลค่ากรุงเทพมหานครบริษัท

ปัญญาคอนซัลแตนทจำกัด

“สรุปสาระสำคัญแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 9 (พ.ศ. 2545-2549)” จาก http://

www.nsdb.go.th

“สรุปสาระสำคัญแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10 (พ.ศ. 2550-2554)” จาก http://

www.nsdb.go.th

Page 56: การส่งเสริม การเกษตร ในประเทศไทยagri.stou.ac.th/UploadedFile/91720-5.pdf5.1.2 สถานการณ์การส่งเสริม

มสธ มสธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ

5-56 การส่งเสริมการเกษตรเพื่อการพัฒนา

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ“สรุปสาระสำคัญ(ร่าง)แผนพัฒนาเศรษฐกิจและ

สังคมแห่งชาติฉบับที่11(พ.ศ.2555-2559)”จากhttp://www.nsdb.go.th

(2554)“สรุปสาระสำคัญแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่11พ.ศ.2555-2559”

สำนักงานเลขานุการของคณะกรรมการพัฒนาและบริหารจัดการผลไม้ กรมส่งเสริมการเกษตร โครงสร้าง คณะ

กรรมการ พัฒนา และ บริหาร จัดการ ผล ไม้ ตาม ระเบียบ สำนัก นายก รัฐมนตรี ว่า ด้วย การ พัฒนา และ บริหาร

จัดการ ผล ไม้ พ.ศ. 2550(สำเนา)

สำนักส่งเสริมและจัดการสินค้าเกษตร (2554) “โครงการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศกล้วยไม้” (สำเนา)

สำนักงานเกษตรจังหวัดปัตตานี ระบบส่งเสริมการเกษตร จาก http://www.pattani.doae.go.th/

pages/2%20left%20page/10.extension%20sys.htm

สินพันธุ์พินิจ (2545)การ เปลี่ยนแปลง ของ สังคม กับ การ ส่ง เสริม การเกษตร กรุงเทพมหานคร ธเนศวรพริ้นติ้ง

(1999)จำกัด

สุกัญญาอธิปอนันต์ สำราญสาราบรรณ์ และปริญญารัตน์ ภูศิริ (2556)“งานส่งเสริมการเกษตรภายใต้ภาวะการ

เปลีย่นแปลง”ในเอกสาร การ สอน ชดุ วชิาการ เปน็ ผูน้ำ มนษุยสมัพนัธ ์และ จติวทิยา สำหรบั เกษตรกรหนว่ย

ที่2มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมธิราช

สุรพลเศรษฐบุตร(ม.ป.ป.)“พัฒนาการ ของ ระบบ ส่ง เสริม การเกษตร”บทที่4การส่งเสริมการเกษตรในประเทศไทย

กระบวนวิชา 352721 การส่งเสริมการเกษตรกับการพัฒนาชนบท จาก http://web.agri.cmu.ac.th

องค์การบริหารส่วนตำบลสลักได (2553) “ศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบล” จาก http://www.

salakdai.go.th.20มกราคม2553

อาคมเตมิพทิยาไพสฐิและธานนิทร์ผะเอม“แผนพฒันาเศรษฐกจิและสงัคมแหง่ชาติฉบบัที่1-11”เอกสารประกอบ

การบรรยายหลักสูตรนักบริหารระดับสูงกระทรวงอุตสาหกรรมรุ่นที่10วันศุกร์ที่7สิงหาคม2552เวลา

09.00-12.00น.ณ โรงแรมรอยัลปริ้นเซสหลานหลวงกรุงเทพมหานครอ้างจากhttp://www.nsdb.

go.th

เอกชัยโอเจริญ“ต้นแบบระบบส่งเสริมการเกษตรแบบมีส่วนร่วม”สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัยจากhttp://

www.trf.or.th/research/abstract.asp?PROJECTID=RDG4520034

เอกชัยโอเจริญและธุวนันท์พานิชโยทัย(2540)พัฒนาการ ระบบ ส่ง เสริม การเกษตร ของ ประเทศไทยโรงพิมพ์กอง

เกษตรสัมพันธ์

Axinn,G.H.(2525).GuideonAlternativeExtensionApproachs.Rome:F.A.O.1988อ้างในปัญจพล

บุญชูการส่งเสริมการเกษตรโดยการวิจัยระบบการทำฟาร์มคณะทรัพยากรธรรมชาติมหาวิทยาลัยสงขลา

นครินทร์(อัดสำเนา)

Bender,RalphE.,RobertW.McCormick,RalphJ.Woodin,ClarenceJ.Cunningham,andWillard

H.Wolf.(1972).Adult Education in Agriculture.Ohio:CharlesE.MerillPublishing.

FloresG.Thomas,BuenoB.Pedro,andLapastoraD.Rafael.(1983). Handbook for Extension Work.

Laguna:PhilippinesSEARCA.

Page 57: การส่งเสริม การเกษตร ในประเทศไทยagri.stou.ac.th/UploadedFile/91720-5.pdf5.1.2 สถานการณ์การส่งเสริม

มสธ มสธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ

5-57การส่งเสริมการเกษตรในประเทศไทย

Martinez,VincenteA. (1987).The Change Agent and His Tasks. An Introduction to Extension

Delivery Systems. ed. by JaimeB.Valera,VincenteA.Martinez andRamiro F. Plopin.

Manila:IslandPublishingHouse,Inc.

OakleyP.(1981).The concept of Extension(Seminarpaper).

OakleyP.andC.Garforth.(1985).Guide to Extension Training.Rome:F.A.O.,UN.

Page 58: การส่งเสริม การเกษตร ในประเทศไทยagri.stou.ac.th/UploadedFile/91720-5.pdf5.1.2 สถานการณ์การส่งเสริม