4
แหล่งโบราณคดีภูเขาทอง แหล่งโบราณคดีภูเขาทอง ตั้งอยู่ที่ตําบลกําพวน อําเภอสุขสําราญ อยู่ทางตอนใต้ของจังหวัด ระนอง เป็นศูนย์กลางของ “กลุ่มแหล่งโบราณคดีภูเขาทอง” ประกอบไปด้วย ภูเขาทอง บ้านบาง กล้วยนอก เขากล้วย (บางคลัก) และไร่ใน ที่กล่าวเช่นนั้นเนื่องจากพบหลักฐานทางโบราณคดี หนาแน่นกว่าบริเวณอื่น โดยเฉพาะเครื่องประดับทองคํา อันเป็นที่มาของชื่อภูเขาทอง ในพื้นที่แถบนีพบลูกปัดท้งแก้วและหินจํานวนมาก และมีหลักฐานมากพอที่จะกล่าวได้ว่า เป็นแหล่งผลิตลูกปัด (Bead making site) ที่สําคัญอีกแห่งหนึ่งของประเทศไทยเช่นเดียวกัน “ควนลูกปัด” จังหวัดกระบีเนื่องจากพบก้อนแก้ว หิน วัตถุดิบในการทําลูกปัดเป็นจํานวนมาก ซึ่งมีเทคนิคการผลิตเฉพาะ โดย การดึงยืดแก้วสีเดียวเป็นท่อยาวๆ แล้วนํามาตัดสั้นๆ ให้เป็นเม็ดลูกปัด จากน้นนําไปผ่านความร้อนอีก ครั้งเพื่อลบคมแก้วที่ถูกตัดให้หายไป การผลิตด้วยวิธีนี้ทําให้ได้ลูกปัดสีเดียวในหนึ่งเม็ด (Monochrome beads) เช่น สีเหลือง สีน้ําเงิน สีดํา สีเขียว เป็นต้น นอกจากนี้ยังพบลูกปัดแก้วทีหลอมรวมติดกันเป็นก้อนและลูกปัดหินที่ยังทําไม่เสร็จเป็นจํานวนมาก ลูกปัดแก้วที่พบส่วนใหญ่เป็น ลูกปัดสีเดียวที่เรียกว่า “ลูกปัดอินโดแปซิฟิค” ส่วนลูกปัดหินพบหินคาร์เนเลียน หินอาเกต เป็นส่วน ใหญ่ ในพื้นที่กลุ่มแหล่งโบราณคดีนี้ พบจี้สิงโต (Lion pendant) ครึ่งตัวอยู่ในท่าหมอบแกะสลัก จากคริสตัล (Rock crystal) จัดเป็นเครื่องรางประเภทหนึ่งซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของอํานาจและความ ยิ่งใหญ่ รวมทั้งพบสัญลักษณ์มงคลอื่นๆ อีก ได้แก่ สังข์ ศรีวัตสะ สวัสติกะ และที่สําคัญคือ ไตรรัตนะ ที่ทําเป็นลูกปัดจากหินคาร์เนเลี่ยน นอกจากนี้ยังพบโบราณวัตถุหลายอย่างที่บอกได้อย่างชัดเจนว่ามาจากดินแดนภายนอก ได้แก่ จี้หรือหัวแหวนทําจากแผ่นหินคาร์เนเลียนสลักเป็นรูปสัตว์ เช่น ไก่ ม้า คนขี่ม้า รวมถึงรูปบุคคล แบบโรมัน โบราณวัตถุชนิดนี้พบตามเมืองท่าโบราณ ทั้งในโลกตะวันตกและตะวันออกที่มีการติดต่อ ค้าขายกับอาณาจักรโรมัน และพบแพร่หลายอยู่ตามเมืองท่าโบราณของอินเดียที่มีการติดต่อค้าขาย และมีการตั้งถิ่นฐานของชาวโรมันช่วงพุทธศตวรรษที่ 6-7 หลักฐานสําคัญที่แสดงถึงการเป็นสถานีการค้าได้อย่างชัดเจนคือ ภาชนะดินเผาที่นําเข้ามา จากอินเดียซึ่งมีเทคนิคการผลิต เนื้อดิน และรูปทรงแตกต่างจากภาชนะดินเผาพื้นเมืองอย่างชัดเจน มี การเขียนด้วยภาษาทมิฬ ตัวอักษรแบบ Tamil-Brahmi อายุประมาณคริสต์ศตวรรษที่ 2 มีตัวอักษร 3 ตัว อ่านว่า “Tu Ra O..” อาจมาจากคําว่า “Turavon” ซึ่งหมายถึง พระ และอีกชิ้นเขียนด้วย ตัวอักษร Brahmi อ่านว่า “pu aa” อายุประมาณคริสต์ศตวรรษที่ 4 ภาชนะดินเผาที่สําคัญเป็นพิเศษ คือ ภาชนะดินเผารูเลทเท็ดแวร์ (Rouletted Ware) ซึ่งพบ ครั้งแรกเป็นจํานวนมากในดินแดนแถบชายฝั่งทะเลอันดามัน มีรายงานว่าพบที่อินเดียและศรีลังกา มากถึง 50 แหล่ง มีอายุประมาณ 2,000-2,200 ปีมาแล้ว ภาชนะดินเผาประเภทน้เรียกตาม

แหลงโบราณคดีภูเขาทอง - Fine Arts Departmentเทคน คท ใช#ตกแตงผ วภาชนะโดยการกล งล#อท

  • Upload
    others

  • View
    8

  • Download
    1

Embed Size (px)

Citation preview

Page 1: แหลงโบราณคดีภูเขาทอง - Fine Arts Departmentเทคน คท ใช#ตกแตงผ วภาชนะโดยการกล งล#อท

แหล่งโบราณคดีภูเขาทอง

แหล่งโบราณคดีภูเขาทอง ต้ังอยู่ท่ีตําบลกําพวน อําเภอสุขสําราญ อยู่ทางตอนใต้ของจังหวัดระนอง เป็นศูนย์กลางของ “กลุ่มแหล่งโบราณคดีภูเขาทอง” ประกอบไปด้วย ภูเขาทอง บ้านบางกล้วยนอก เขากล้วย (บางคลัก) และไร่ใน ท่ีกล่าวเช่นนั้นเนื่องจากพบหลักฐานทางโบราณคดีหนาแน่นกว่าบริเวณอ่ืน โดยเฉพาะเครื่องประดับทองคํา อันเป็นท่ีมาของชื่อภูเขาทอง ในพ้ืนท่ีแถบนี้พบลูกปัดท้ังแก้วและหินจํานวนมาก และมีหลักฐานมากพอท่ีจะกล่าวได้ว่า เป็นแหล่งผลิตลูกปัด (Bead making site) ท่ีสําคัญอีกแห่งหนึ่งของประเทศไทยเช่นเดียวกัน “ควนลูกปัด” จังหวัดกระบ่ี เนื่องจากพบก้อนแก้ว หิน วัตถุดิบในการทําลูกปัดเป็นจํานวนมาก ซ่ึงมีเทคนิคการผลิตเฉพาะ โดยการดึงยืดแก้วสีเดียวเป็นท่อยาวๆ แล้วนํามาตัดสั้นๆ ให้เป็นเม็ดลูกปัด จากนั้นนําไปผ่านความร้อนอีกครั้ ง เ พ่ือลบคมแก้ว ท่ี ถูกตัดให้หายไป การผลิตด้วยวิธีนี้ ทํ าให้ ไ ด้ลูกปัดสี เ ดียวในหนึ่ ง เ ม็ด (Monochrome beads) เช่น สีเหลือง สีน้ําเงิน สีดํา สีเขียว เป็นต้น นอกจากนี้ยังพบลูกปัดแก้วท่ีหลอมรวมติดกันเป็นก้อนและลูกปัดหินท่ียังทําไม่เสร็จเป็นจํานวนมาก ลูกปัดแก้วท่ีพบส่วนใหญ่เป็นลูกปัดสีเดียวท่ีเรียกว่า “ลูกปัดอินโดแปซิฟิค” ส่วนลูกปัดหินพบหินคาร์เนเลียน หินอาเกต เป็นส่วนใหญ่

ในพ้ืนท่ีกลุ่มแหล่งโบราณคดีนี้ พบจี้สิงโต (Lion pendant) ครึ่งตัวอยู่ในท่าหมอบแกะสลักจากคริสตัล (Rock crystal) จัดเป็นเครื่องรางประเภทหนึ่งซ่ึงเป็นสัญลักษณ์ของอํานาจและความยิ่งใหญ่ รวมท้ังพบสัญลักษณ์มงคลอ่ืนๆ อีก ได้แก่ สังข์ ศรีวัตสะ สวัสติกะ และท่ีสําคัญคือ ไตรรัตนะ ท่ีทําเป็นลูกปัดจากหินคาร์เนเลี่ยน

นอกจากนี้ยังพบโบราณวัตถุหลายอย่างท่ีบอกได้อย่างชัดเจนว่ามาจากดินแดนภายนอก ได้แก่ จี้หรือหัวแหวนทําจากแผ่นหินคาร์เนเลียนสลักเป็นรูปสัตว์ เช่น ไก่ ม้า คนข่ีม้า รวมถึงรูปบุคคลแบบโรมัน โบราณวัตถุชนิดนี้พบตามเมืองท่าโบราณ ท้ังในโลกตะวันตกและตะวันออกท่ีมีการติดต่อค้าขายกับอาณาจักรโรมัน และพบแพร่หลายอยู่ตามเมืองท่าโบราณของอินเดียท่ีมีการติดต่อค้าขายและมีการต้ังถ่ินฐานของชาวโรมันช่วงพุทธศตวรรษท่ี 6-7

หลักฐานสําคัญท่ีแสดงถึงการเป็นสถานีการค้าได้อย่างชัดเจนคือ ภาชนะดินเผาท่ีนําเข้ามาจากอินเดียซ่ึงมีเทคนิคการผลิต เนื้อดิน และรูปทรงแตกต่างจากภาชนะดินเผาพ้ืนเมืองอย่างชัดเจน มีการเขียนด้วยภาษาทมิฬ ตัวอักษรแบบ Tamil-Brahmi อายุประมาณคริสต์ศตวรรษท่ี 2 มีตัวอักษร 3 ตัว อ่านว่า “Tu Ra O..” อาจมาจากคําว่า “Turavon” ซ่ึงหมายถึง พระ และอีกชิ้นเขียนด้วยตัวอักษร Brahmi อ่านว่า “pu aa” อายุประมาณคริสต์ศตวรรษท่ี 4

ภาชนะดินเผาท่ีสําคัญเป็นพิเศษ คือ ภาชนะดินเผารูเลทเท็ดแวร์ (Rouletted Ware) ซ่ึงพบครั้งแรกเป็นจํานวนมากในดินแดนแถบชายฝั่งทะเลอันดามัน มีรายงานว่าพบท่ีอินเดียและศรีลังกามากถึง 50 แหล่ง มีอายุประมาณ 2,000-2,200 ปีมาแล้ว ภาชนะดินเผาประเภทนี้เรียกตาม

Page 2: แหลงโบราณคดีภูเขาทอง - Fine Arts Departmentเทคน คท ใช#ตกแตงผ วภาชนะโดยการกล งล#อท

เทคนิคท่ีใช้ตกแต่งผิวภาชนะโดยการกลิ้งล้อท่ีเป็นฟันเฟืองลงบนผิวภาชนะท่ียังไม่แห้ง ทําให้เกิดรอยกดลึกอย่างเป็นระเบียบบนผิวภาชนะ เนื้อดินละเอียดสีเทา ข้ึนรูปด้วยแป้นหมุนเร็ว ส่วนมากทาน้ําดินสีดําท้ังด้านใน และด้านนอก มีการขัดผิวจนข้ึนเงา แม้จะยังไม่มีข้อสรุปท่ีเป็นแหล่งผลิตท่ีแน่ชัดนักแต่เชื่อว่าผลิตท่ี Tamil Nadu ในประเทศอินเดีย

จากหลักฐานทางโบราณคดีต่างๆ ท่ีพบสามารถกล่าวได้ว่าแหล่งโบราณคดีภูเขาทองมีการติดต่อกับดินแดนโพ้นทะเล ท่ีมีการเดินเรือเข้ามาติดต่อค้าขายแลกเปลี่ยนสินค้ากับสินค้าพ้ืนเมืองในแถบนี้ ได้แก่ เครื่องเทศ ของป่า อาจรวมไปถึงดีบุกซ่ึงเป็นโลหะท่ีมีอยู่มากมายในแถบชายฝั่งทะเล อันดามัน เป็นแห่งผลิตลูกปัดท่ีสําคัญท่ีพบอีกแห่งหนึ่งของประเทศไทย สําหรับอายุสมัยของแหล่งโบราณคดีแห่งนี้น่าจะมีการอยู่อาศัยมาอย่างต่อเนื่องยาวนาน เนื่องจากมีการขุดค้นทางโบราณคดี ในชั้นดินบนๆ พบเครื่องถ้วยเปอร์เซียหรือบาสราแวร์ (Basra Ware) ซ่ึงเป็นภาชนะดินเผาจากตะวันออกกลางมีอายุประมาณพุทธศตวรรษท่ี 13-14 ดังนั้นในเบ้ืองต้นแหล่งโบราณคดีแห่งนี้จึงมีอายุประมาณ 1,200-2,000 ปีมาแล้ว

เอกสารอ้างอิง เรไร นัยวัฒน์. รายงานเบ้ืองต้นแหล่งโบราณคดีภูเขาทอง พ.ศ.๒๕๔๘. ภูเก็ต: สํานักศิลปากรท่ี ๑๕ ภูเก็ต, ๒๕๔๘.

Page 3: แหลงโบราณคดีภูเขาทอง - Fine Arts Departmentเทคน คท ใช#ตกแตงผ วภาชนะโดยการกล งล#อท

ภาพท่ี ๑ แหล่งโบราณคดีภูเขาทอง ตําบลกําพวน อําเภอสุขสําราญ จังหวัดระนอง

ภาพท่ี ๒ บรรยากาศการขุดค้นท่ีแหล่งโบราณคดีภูเขาทอง ตําบลกําพวน อําเภอสุขสําราญ จังหวัดระนอง

Page 4: แหลงโบราณคดีภูเขาทอง - Fine Arts Departmentเทคน คท ใช#ตกแตงผ วภาชนะโดยการกล งล#อท

ภาพท่ี ๓ เศษเครื่องประดับทองคํา พบท่ีแหล่งโบราณคดีภูเขาทอง คําว่า ภูเขาทองก็มีท่ีมาจากการพบหลักฐานประเภทนี้หนาแน่นกว่าบริเวณอ่ืน

ภาพท่ี ๔ ลูกปัดแก้ว และก้อนแก้ววัตถุดิบ ท่ีพบจากการขุดค้นแหล่งโบราณคดีภูเขาทอง บ่งบอกว่าท่ีนี่อาจเป็นแหล่งผลิตลูกปัดแก้วท่ีสําคัญอีกแห่งหนี่งในดินแดนแถบนี้

ภาพท่ี ๕ ภาชนะดินเผามีรอยจารึก พบท่ีแหล่งโบราณคดีภูเขาทอง เขียนด้วยอักษร Tamil-Brahmi โดยใช้ภาษาทมิฬ อ่านว่า “tu ra o…” ซ่ึงอาจจะมาจากคําว่า “turavon” หมายถึง “พระ”

ภาพท่ี ๖ ภาชนะดินเผารูเลทเท็ดแวร์ (Rouletted Ware) เป็นภาชนะนําเข้ามาจากอินเดีย เป็นหลักฐานแสดงให้เห็นความสัมพันธ์ทางการค้าระหว่างอินเดีย และชุมชนบริเวณชายฝั่งทะเลอันดามัน

ภาพท่ี ๗ เครื่องถ้วยเปอร์ เ ซียหรือบาสราแวร์ (Basra Ware) เป็นภาชนะดินเผาจากตะวันออกกลางมีอายุประมาณพุทธศตวรรษท่ี 13-14 พบท่ีแหล่งโบราณคดีภูเขาทอง

ภาพท่ี ๘ เศษแก้วแบบโรมัน แสดงให้เห็นถึงอาณาเขตของเครือข่ายเส้นทางการค้าท่ีไปไกลถึงดินแดนโรมัน