5
054 December 2009-January 2010, Vol.36 No.208 www.tpa.or.th/publisher/pro_tech.php Technology Bio การบำบัดน้ำเสียจากอาคารบ ้านเรือน (domestic sewage) โดยใช้เทคนิค ชีวภาพ แบบเติมอากาศ (aerobic) ทำให้น ้ำใสสะอาดเกือบเป็นน้ำธรรมชาติ ระบายลงแหล่งน้ำสาธารณะได และใช้ในการเกษตรกรรมได้อย่าง ปลอดภัยและมีการดำเนินงานใน ลักษณะดังกล่าวนี้แล ้วหลายประเทศ น้ำเสีย คือ น้ำที่คนใช้แล้ว และ ต้องการจะระบายทิ้งไป เช่น น้ำอาบ น้ำ- หล่อเย็น น้ำล้างในครัวเรือน ตลอดจนน้ำล้าง ปฏิกูลจากส้วม แต่เดิมมีข้อกำหนดระบุให้ ระบายน้ำปฏิกูลลงบ่อเกรอะ-บ่อซึม โดย หมายจะระบายปฏิกูลซึมลงในดิน ส่วน น้ำเสียส่วนอื่น ๆ ให้ระบายลงรางระบายน้ำ สาธารณะ เมื่อชุมชนที่อยู่อาศัยในเมืองมีความหนาแน่นมากขึ้น สิ่งแวดล้อมธรรมชาติ คือ แหล่งน้ำและดิน ซึ่งถูกใช้เป็นแหล่งกำจัด น้ำเสียมาโดยตลอด จึงต้องรับภาระหนักจนเกินกำลัง และเสียสมดุลตามธรรมชาติ ทำให้เกิดการเน่าเหม็นผิดสุขลักษณะ ข้อบัญญัติควบคุมการระบายน้ำทิ้ง เพื่อควบคุมน้ำโสโครกและน้ำเสียสถาน- ประกอบการ และอาคารประเภทต่าง ๆ อันได้แก่ สถานที่ราชการ อาคารชุด โรงแรม สถานพยาบาล สถานบริการ ตลาด บ้านจัดสรร ศูนย์การค้า สถานศึกษา หอพัก และ แพปลา จะต้องมีระบบบำบัดน้ำเสียตั้งแต่ปี 2537 อาคารและสถานประกอบการทั้ง เก่าและใหม่ตามข้อกำหนด ซึ่งตั้งอยู่ในเขตมหานคร น่าจะต้องมีระบบบำบัดน้ำเสีย แล้วทั้งสิ้น การดำเนินงานตามแนวทางที่ทำแล้วโดยทั่วไปนั้น(1)(2) เป็นการระบายน้ำเสีย รวมกันไปบำบัดที่ศูนย์รวม ระบบจะมีส่วนประกอบใหญ่อยู่ 2 ตอน คือ 1. การระบาย (transportation by sewerage) 2. การบำบัดให้ถูกสุขลักษณะ (treatment) ดร.เกษมสันติ์ สุวรรณรัต นายกสมาคมวิศวกรรมสิ่งแวดล้อมแห่งประเทศไทย New Water เทคโนโลยีบำบัดน้ำเสีย ถังบำบัดขนาดเล็กสำหรับหนึ่งครอบครัว

Technology Bio ดร.เกษมสันติ์ สุวรรณรัต ...เทคน คเก ยวก บอ ตราการไหลของน ำ ซ งเป

  • Upload
    others

  • View
    4

  • Download
    0

Embed Size (px)

Citation preview

Page 1: Technology Bio ดร.เกษมสันติ์ สุวรรณรัต ...เทคน คเก ยวก บอ ตราการไหลของน ำ ซ งเป

054 ● December 2009-January 2010, Vol.36 No.208 www.tpa.or.th/publisher/pro_tech.php

Technology

Bio

การบำบัดน้ำเสียจากอาคารบ้านเรือน

(domestic sewage) โดยใช้เทคนิค

ชีวภาพ แบบเติมอากาศ (aerobic)

ทำให้น้ำใสสะอาดเกือบเป็นน้ำธรรมชาติ

ระบายลงแหล่งน้ำสาธารณะได้

และใช้ ในการเกษตรกรรมได้อย่าง

ปลอดภัยและมีการดำเนินงานใน

ลักษณะดังกล่าวนี้แล้วหลายประเทศ

น้ำเสีย คือ น้ำที่คนใช้แล้ว และ

ต้องการจะระบายทิ้งไป เช่น น้ำอาบ น้ำ-

หล่อเย็น น้ำล้างในครัวเรือน ตลอดจนน้ำล้าง

ปฏิกูลจากส้วม แต่เดิมมีข้อกำหนดระบุให้

ระบายน้ำปฏิกูลลงบ่อเกรอะ-บ่อซึม โดย

หมายจะระบายปฏิกูลซึมลงในดิน ส่วน

น้ำเสียส่วนอื่น ๆ ให้ระบายลงรางระบายน้ำ

สาธารณะ

เมื่อชุมชนที่อยู่อาศัยในเมืองมีความหนาแน่นมากขึ้น สิ่งแวดล้อมธรรมชาติ คือ แหล่งน้ำและดิน ซึ่งถูกใช้เป็นแหล่งกำจัด

น้ำเสียมาโดยตลอด จึงต้องรับภาระหนักจนเกินกำลัง และเสียสมดุลตามธรรมชาติ ทำให้เกิดการเน่าเหม็นผิดสุขลักษณะ

ข้อบัญญัติควบคุมการระบายน้ำทิ้ง เพื่อควบคุมน้ำโสโครกและน้ำเสียสถาน-

ประกอบการ และอาคารประเภทต่าง ๆ อันได้แก่ สถานที่ราชการ อาคารชุด โรงแรม

สถานพยาบาล สถานบริการ ตลาด บ้านจัดสรร ศูนย์การค้า สถานศึกษา หอพัก และ

แพปลา จะต้องมีระบบบำบัดน้ำเสียตั้งแต่ปี 2537 อาคารและสถานประกอบการทั้ง

เก่าและใหม่ตามข้อกำหนด ซึ่งตั้งอยู่ในเขตมหานคร น่าจะต้องมีระบบบำบัดน้ำเสีย

แล้วทั้งสิ้น

การดำเนินงานตามแนวทางที่ทำแล้วโดยทั่วไปนั้น(1)(2) เป็นการระบายน้ำเสีย

รวมกันไปบำบัดที่ศูนย์รวม ระบบจะมีส่วนประกอบใหญ่อยู่ 2 ตอน คือ

1. การระบาย (transportation by sewerage)

2. การบำบัดให้ถูกสุขลักษณะ (treatment)

ดร.เกษมสันติ์ สุวรรณรัต

นายกสมาคมวิศวกรรมสิ่งแวดล้อมแห่งประเทศไทย

New Water

เทคโนโลยีบำบัดน้ำเสีย

ถังบำบัดขนาดเล็กสำหรับหนึ่งครอบครัว ▲

Page 2: Technology Bio ดร.เกษมสันติ์ สุวรรณรัต ...เทคน คเก ยวก บอ ตราการไหลของน ำ ซ งเป

December 2009-January 2010, Vol.36 No.208 ● 055www.tpa.or.th/publisher/pro_tech.php

ทั้งนี้พิจารณาจากราคาจะเห็นได้ว่า มูลค่าของการ

ระบายนั้น คิดเป็น 82 เปอร์เซ็นต์ ของราคารวม ส่วนการบำบัด

มีราคาเพียง 18 เปอร์เซ็นต์ของราคารวม การพิจารณาออกแบบ

ระบบระบายให้ประหยัด จึงทำให้ระบบระบายมีความสำคัญ

ทางการเงินต่อโครงการยิ่งกว่าระบบบำบัดเสียอีก มีคำกล่าวที่

ถามว่า “ทำไมจึงต้องพาน้ำเสียไปเที่ยวเสียไกลก่อนจะบำบัด” ซึ่ง

ไม่ใช่สิ่งจำเป็น ขนาดที่เหมาะขึ้นอยู่กับปริมาณที่ต้องระบาย และ

บำบัดนั้นขึ้นอยู่กับระยะทาง และความหนาแน่นของประชากร

เป็นสำคัญ

จากประสบการณ์ของประเทศตะวันตก ได้จัดสร้างระบบ

ระบาย และระบบบำบัดน้ำเสียมานานแล้วนั้น มีรายงานที่น่า

สนใจหลายฉบับ ซึ่งวิจารณ์การวางแผนการออกแบบระบบ

ระบายน้ำโสโครก จากชุมชนมารวมกันบำบัดว่า ราคาต่อหน่วย

ประชากรนั้น มิได้คงที่เท่าเทียมกันเสมอไปเพราะ

1. ถ้าประชากรมากขึ้นระยะท่อต่อประชากรจะสั้นลง

2. เมื่อประชากรมากขึ้น ขนาดท่อจะใหญ่ขึ้น ทำให้ราคา

ท่อระบายแต่ละเมตรกลับสูงขึ้น

ดังนั้นจะมีขนาดระบบหนึ่งที่เป็นความพอเหมาะระหว่าง

ความประหยัดที่ได้จากข้อ 1) กับความสิ้นเปลืองอันเนื่องมา

จากข้อ 2)

จากการสำรวจค่าก่อสร้างระบบระบายและระบบบำบัด

น้ำเสียในสหพันธรัฐเยอรมันนีพบว่า ขนาดของระบบที่เหมาะ

อยู่ที่จำนวนคนประมาณ 40,000 คน หรือถ้าเทียบประมาณ

ความหนาแน่นราว 400 คนต่อ 1 เฮกแตร์ (1 เฮกแตร์ เท่ากับ

0.01 ตารางกิโลเมตร) หรือประมาณประชากร 40,000 คน ต่อ

พื้นที่ 1 ตารางกิโลเมตร ระบบระบายน้ำโสโครกจะมีราคาต่ำ

สุดราว 1,750 มาร์คเยอรมันนีต่อคน แต่ถ้าระบบระบายมีขนาด

เดี่ยว ๆ ใหญ่ขึ้น ถึงสัก 2-3 แสนคนแล้ว ราคาต่อคนจะพุ่งขึ้น

สูงขึ้นอย่างชัดเจน คือราว 2,500 มาร์ค ต่อคน

ข้อสังเกตดังกล่าวนี้ ดูจะเป็นของใหม่สำหรับวงการวิศว-

กรรมสุขาภิบาลไทย คือ ไม่ได้ทดลองตัดแยกออกเป็นส่วน ๆ

และไม่ได้หาขนาดที่เหมาะสมของระบบ แต่ได้สรุปจากขั้นตอน

โดยตัดสินใจแต่ต้นมือว่า ระบบระบายน้ำเสียเป็นสิ่งจำเป็น

และออกแบบระบายน้ำเสียทั้งหมดไปรวมกัน ณ ที่ดินแห่งหนึ่ง

ที่จุด ๆ เดียว แล้วผ่านโรงบำบัดก่อนปล่อยให้ไหลลงแม่น้ำ ทั้งที่

แม่น้ำก็ไหลตามกันมาทางเดียวกันกับท่อน้ำโสโครกใหญ่ และ

ไหลผ่านย่านชุมชน หากจะสร้างโรงบำบัดกระจายไปเป็นหลาย

แห่งริมแม่น้ำ ก็น่าจะประหยัดท่อใหญ่ ๆ ได้

ข้อเสียอีกอย่างหนึ่งของการก่อสร้างระบบระบายและ

ระบบบำบัดขนาดใหญ่ ก็คือ จะต้องลงทุนเป็นโครงการทีเดียว

จำนวนมาก มิฉะนั้นจะได้องค์ประกอบไม่ครบทำให้เกิดความ

สูญเสียที่เรียกว่า “เงินจม” และในบางครั้งโครงการจะมีราคา

สูงจนงบประมาณไม่พอ ทำให้การดำเนินการวางแผนก่อสร้าง

ต้องหยุดชะงักลง

ราคาต่อหัวประชากรของระบบบำบัดนั้น โดยทั่วไปแล้ว

จะมีแนวโน้มที่จะลดลง แต่การเลือกระบบบำบัดให้มีขนาด

ใหญ่ขึ้นแล้ว เงินงบประมาณจะสูงขึ้นมาก นอกจากนี้แล้ว

ระบบขนาดใหญ่ที่สร้างลงไปแต่ละครั้ง จะทำให้เกิดการสูญเสีย

เนื่องจากความไม่พอดีระหว่างจำนวนประชากร กับขนาดของ

ระบบบำบัดด้วย เห็นได้ว่าระบบที่เหมาะสมควรจะมีขนาดเล็ก

เพื่อให้การกระโดดขั้นมีระยะต่ำลง ความสูญเสียเพราะขนาด

ระบบก็จะน้อยลงด้วย

ตัวอย่างความสัมพันธ์ของราคานี้ นำมาจากสถิติในต่าง

ประเทศ ตัวราคานั้นไม่อาจนำมาใช้ประมาณการก่อสร้างใน

ประเทศไทยได้ เพราะตัววัสดุและค่าแรงในประเทศไทยต่ำกว่า

แต่แนวโน้ม (trend) นั้น ควรจะเหมือนกัน เนื่องจากข้อมูลทาง

เทคนิคเกี่ยวกับอัตราการไหลของน้ำ ซึ่งเป็นตัวบังคับขนาดท่อ

และปฏิกิริยาชีวเคมีของระบบบำบัด ซึ่งเป็นตัวบังคับขนาดของ

ถังและเครื่องประกอบเหมือนกัน ไม่ว่าจะประเทศในยุโรป หรือ

อเมริกา หรือประเทศไทย

จากการศึกษาในประเทศไทยเมื่อปี 2517 (5) พบว่า ค่า

ก่อสร้างระบบบำบัดน้ำโสโครกจะมีลักษณะค่อนข้างคงตัว (low

marginal increase) เมื่อขนาดโรงบำบัดเกิน 1,500 คนไปแล้ว

ดังนั้นระบบบำบัดแต่ละระบบจึงไม่ควรใหญ่กว่า 40,000 คน

และไม่ควรจะมีขนาดเล็กกว่า 1,500 คน

การระบายน้ำเสียให้ไหลไปนั้น จำเป็นต้องใช้แนวลาด

ลง ท่อ 100 มิลลิเมตร ลาด 1:100 ท่อ 1000 มิลลิเมตร ลาด

1:1000 ทำให้ต้องขุดดินฝังท่อ หรือเจาะอุโมงค์ดิ่งลึกลงไป

ใต้ดินเรื่อย ๆ พอไปถึงโรงบำบัดก็จะต้องใช้พลังงานไฟฟ้า หรือ

เครื่องยนต์สูบน้ำเสียกลับขึ้นมาอีก ทำให้ค่าใช้จ่ายสูงขึ้นมาก

เช่น โรงบำบัดน้ำเสียขนาด 1 ล้านคน มีปลายท่อน้ำเสียอยู่ลึก

ลงไปถึง 20 เมตร จะต้องเสียค่าใช้จ่ายสูบน้ำเสียขึ้นมาอีก 4

เท่าของค่าใช้จ่ายการบำบัด คือ ทำให้ค่าบำบัดสูงขึ้นเป็น 5 เท่า

ของค่าใช้จ่ายการบำบัดแท้ ๆ (9)

การใช้ Community Plant รวมขั้นตอนสำเร็จรูป (pac-

kage plant) มาบำบัดน้ำเสียจากชุมชนขนาดเล็ก เช่น หมู่บ้าน

จัดสรร มีมานานหลายปีแล้ว (6)(7)(8) วิธีการที่เลือกใช้ ส่วน

ใหญ่จะใช้ระบบไม่เติมอากาศ (anaerobic) บำบัดน้ำเสียจาก

บ้านเรือนย่อย ๆ ชั้นหนึ่งก่อน เนื่องจากน้ำเสียจากบ้านเรือนมี

ค่าการดูดกลืนออกซิเจน BOD ต่ำไม่เกิน 200 มิลลิกรัมต่อลิตร

น้ำทิ้งหลังบำบัดจากระบบ Anaerobic มีค่าการดูดกลืนออก-

ซิเจน BOD ประมาณ 90 มิลลิกรัมต่อลิตร จากนั้นจึงรวบรวม

Page 3: Technology Bio ดร.เกษมสันติ์ สุวรรณรัต ...เทคน คเก ยวก บอ ตราการไหลของน ำ ซ งเป

056 ● December 2009-January 2010, Vol.36 No.208 www.tpa.or.th/publisher/pro_tech.php

Technology

Bio

น้ำทิ้งจากบ้านแต่ละหลังมาบำบัดที่ระบบส่วนกลางของหมู่บ้าน

ในระบบ Aerobic ให้มีค่า การดูดกลืนออกซิเจน BOD เหลือ

ประมาณ 20 มิลลิกรัมต่อลิตร ก่อนระบายออกภายนอกสู่แหล่ง

น้ำสาธารณะ

ในกรณีที่หมู่บ้านมีที่ดินเหลือมากพอ ระบบส่วนกลางที่

เลือกมักเป็น บ่อผึ่ง (oxidation pond) แบบโครงการศึกษาวิจัย

และพัฒนาสิ่งแวดล้อมแหลมผักเบี้ย (10) หรือสระเติมอากาศ

(aerated lagoon) แต่ก็มีชุมชนบางประเภท เช่น โรงแรม โรง-

พยาบาล ห้องชุดพักอาศัย หรือ คอนโดมิเนียม ที่ตั้งอยู่ในย่าน

ธุรกิจซึ่งที่ดินมีราคาแพง นิยมเลือกใช้ระบบบำบัดที่มีประสิทธิภาพ

สูง เช่น ระบบตะกอนเร่ง หรือ ระบบเลี้ยงตะกอน (activated

sludge) เนื่องจากต้องการเนื้อที่ก่อสร้างระบบน้อย ในขณะที่

วิศวกรสุขาภิบาลสามารถออกแบบให้บำบัดน้ำเสีย ที่มีการดูดกลืน

ออกซิเจน BOD ได้สูงในระดับตั้งแต่ 200-1000 มิลลิกรัมต่อ

ลิตรขึ้นไป โดยที่น้ำทิ้งมีคุณภาพระดับสูง เหลือการดูดกลืนออก-

ซิเจน BOD ขาออกต่ำกว่า 20 มิลลิกรัมต่อลิตร

การทำงานของระบบเลี้ยงตะกอนจุลินทรีย์

Activated Sludge

เมื่อ S0 เป็นสารละลาย การดูดกลืนออกซิเจน BOD ใน

น้ำเสีย ส่วนใหญ่เป็นสารประกอบธาตุคาร์บอน เช่น คาร์โบไฮเดรต

(CH2O)

Se เป็นสารละลาย การดูดกลืนออกซิเจน BOD ที่เหลือ

อยู่ในน้ำทิ้ง

X0 เป็นตะกอนที่แขวนลอยอยู่ในน้ำเสียเข้าระบบ

Xv เป็นตะกอนที่แขวนลอยอยู่ในระบบ

Xe เป็นละอองจุลินทรีย์ที่ระบายออกไปกับน้ำทิ้ง

∆X เป็นจุลินทรีย์ที่เจริญเติบโตขึ้น และจมตัวอยู่ก้นถัง

ตกตะกอน

∆X- Xn เป็นตะกอนจุลินทรีย์ที่สูบกลับเข้ามาในระบบ

(return sludge)

Xn เป็นตะกอนจุลินทรีย์ส่วนเกินที่ระบายออกทิ้ง (exce

ละอองขุ่น SS sludge)

เมื่อสารอินทรีย์ไหลเข้าสู่ระบบ ดังสมการ

CH2O + O2 + Bacteria enzyme ➞ CO2 + H2O + C5H7NO2P

(คาร์โบไฮเดรต)+ (ออกซิเจน) ➞ (คาร์บอนไดออกไซด์) + (น้ำ) +

(new bacteria cells)

● Xv เป็นตะกอนที่แขวนลอยอยู่ในระบบ

● ออกซิเจน (O2) ได้มาจากเครื่องเติมอากาศ

สารอินทรีย์ในน้ำเสียจะถูกจุลชีพที่เลี้ยงไว้ในถังเติม

อากาศย่อยสลาย ประมาณครึ่งหนึ่งของสารอินทรีย์เข้าระบบ

จะถูกสังเคราะห์เป็นเซลล์ใหม่ (ละอองขุ่น suspended solids)

ส่วนที่เหลือจะถูกใช้เป็นพลังงานในขบวนการ Metabolism หลัง

เกิดปฏิกิริยาจะกลายเป็นคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) ระเหยออก

ไป ส่วนน้ำ (H2O) คงอยู่ในระบบ และเซลล์จุลชีพที่แยกได้จาก

การตกตะกอนส่วนหนึ่งจะถูกสูบย้อนกลับ (return sludge) เข้า

มาที่ถังเติมอากาศ อีกส่วนหนึ่งที่เกินกว่าความต้องการจะถูก

▲ ระบบสำเร็จรูปแบบเลี้ยงตะกอนจุลินทรีย์

▲ ระบบการบำบัด Aerobic แบบเลี้ยงตะกอนจุลินทรีย์

ส่วนเติมอากาศ ส่วน ตกตะกอน

น้ำเสียจากห้องน้ำ ห้องส้วม ครัว ซักล้าง

เข้าถังบำบัด AMC-350 น้ำทิ้งลงรางระบายน้ำ

สาธารณะหรือ ใช้ประโยชน์อื่น

(reuse)

▲ รูปตัดถังบำบัดน้ำเสีย AMC-350

Page 4: Technology Bio ดร.เกษมสันติ์ สุวรรณรัต ...เทคน คเก ยวก บอ ตราการไหลของน ำ ซ งเป

December 2009-January 2010, Vol.36 No.208 ● 057www.tpa.or.th/publisher/pro_tech.php

ระบายออกจากระบบฯ เป็นระยะ เพื่อควบคุมความสมดุลของ

ปริมาณจุลชีพในระบบ

ประสิทธิภาพของระบบเลี้ยงตะกอนสูงมาก มีประสิทธิภาพ

การกำจัดของเสียให้หมดไปได้ ประสิทธิภาพการลด การดูดกลืน

ออกซิเจน BOD หรือความสกปรกของน้ำเสีย (% removal) 90

เปอร์เซ็นต์ ขึ้นไป

ระบบ On-Site ที่ติดตั้งเป็นระบบเลี้ยงตะกอน (activated

sludge) สำหรับชุมชนขนาดเล็กที่มีโครงสร้างถังผลิตจากไฟ-

เบอร์กลาส จะใช้งบประมาณลงทุนราว 1,000-1,500 บาทต่อ

คน แต่ละถังหนึ่งจะสามารถรองรับน้ำเสียจากประชากร 500-

3,000 คน หรือบำบัดน้ำเสียได้ 100-600 ลูกบาศก์เมตรต่อวัน

โดยเสียค่าไฟฟ้าในการเดินระบบ เฉลี่ย 0.7 บาทต่อคนต่อวัน

(ที่ 3.50 บาทต่อหน่วย)

รูปแบบของถังสำเร็จรูป ได้รวมส่วนของถังเติมอากาศ

และถังตกตะกอนเข้าไว้ในใบเดียวกัน จึงประหยัดเนื้อที่ และใช้

พื้นที่ติดตั้งไม่เกิน 40 ตารางเมตร สามารถติดตั้งได้ทั้งบนดิน

และใต้ดิน เช่น ที่วชิราวุธวิทยาลัย หลังจากติดตั้งแล้วเริ่มเดิน

ระบบประมาณ 3 เดือน พบว่าลักษณะน้ำในสระและคลอง ซึ่ง

แต่เดิมมีสีคล้ำ บางช่วงมีสีดำและมีกลิ่นเหม็นกลับใสขึ้น และ

มีสีเขียวธรรมชาติ ผลพลอยได้ของโครงการคือ มีลูกปลาเพิ่ม

มากขึ้น เห็นจุลชีพบางส่วนที่หลุดลอยออกไปกับน้ำใสกลายเป็น

อาหารอย่างดีของปลา บางช่วงเวลาจะเกิดไรแดงขึ้นตามธรรม-

ชาติ ซึ่งเป็นอาหารปลาเช่นเดียวกัน จึงเท่ากับว่าเป็นโครงการ

อนุรักษ์ทรัพยากรน้ำ ทัศนียภาพ และพันธุ์ปลาไปพร้อมกัน

การลงทุน

ท่อระบายน้ำเสียจะต้องลาดลงต่ำเสมอ อย่างน้อยก็

หนึ่งเมตรทุกหนึ่งกิโลเมตร หากเลือกใช้ระบบบำบัดขนาดเล็ก

ท่อระบายระยะสั้นมาช่วยบำบัดน้ำเสียก่อนปล่อยลงคลองเรา

สามารถหลีกเลี่ยงการต้องทำบ่อสูบส่งน้ำเสียเข้ามาบำบัดใน

ระบบ

ท่อรวบรวมระยะสั้นจำนวนคนใช้น้อยไม่ต้องการขนาด

ท่อใหญ่โต และไม่ต้องต่อท่อในระยะทางไกลหลายสิบกิโลเมตร

เมืองส่วนมากมีแนวโน้มไหลระบายลงมาที่คลองอยู่แล้ว เพียง

ทำบ่อรวบรวมน้ำเสียริมคลองสำหรับคลองที่มีระยะทางยาว

ประมาณ 2-3 กิโลเมตร ตั้งบ่อสูบรวบน้ำเสียมาที่ระบบบำบัดที่

เดียวก็พอ

บ่อรวบรวมน้ำเสียริมคลอง ซึ่งตั้งอยู่แนวริมคลองจะดัก

น้ำเสียไม่ให้ลงสู่คลองได้โดยตรง น้ำที่เน่าเสียอยู่ในขณะนี้ก็จะ

เริ่มสะอาดขึ้นตามธรรมชาติได้

การลงทุนบำบัดน้ำเสียก่อนปล่อยลงคลองนี้ คำนวณ

ประชากรจำนวน 33,600 คน เมื่อทดลองออกแบบโดยใช้ระบบ

สำเร็จรูป ผลลัพธ์ก็คือ

1. ค่าก่อสร้างและอุปกรณ์ 56 ล้านบาท

2. ค่าไฟฟ้า 6.43 ล้านบาทต่อปี

3. ค่าดูแล 0.192 ล้านบาทต่อปี

4. ค่าวิเคราะห์ 5 จุดต่อครั้งต่อเดือน 0.102 ล้านบาท

ต่อปี

ลักษณะน้ำใสที่ระบายออก

การดูดกลืนออกซิเจน BOD5 = 20 มิลลิกรัมต่อลิตร

ละอองขุ่น SS = 30 มิลลิกรัมต่อลิตร

คิดเป็นค่าการลงทุนและค่าดำเนินการ ต่อประชากร

33,600 คน

ค่าการลงทุน (1) = 1,667 บาทต่อคน

ค่าเดินระบบ (2+3+4) = 200 บาทต่อคนต่อปี

โครงการบำบัดน้ำเสียชุมชนแบบเศรษฐกิจพอเพียง

ขนาดเล็กที่ง่ายและราคาถูก แต่มีประสิทธิภาพที่ได้ดำเนินการ

ไปแล้วจึงเป็นแนวทางที่ดี มีความเป็นไปได้ และเป็นทางออก

สำหรับบริเวณชุมชนที่ยังไม่มีระบบบำบัดน้ำเสีย หรือชุมชนที่

อยู่นอกเขตระบบศูนย์กลาง

การบำบัดน้ำเสียจากอาคารบ้านเรือน (domestic sewage)

โดยใช้เทคนิคชีวภาพแบบเติมอากาศ (aerobic) ทำให้น้ำใส

สะอาดเกือบเป็นน้ำธรรมชาติ ระบายลงแหล่งน้ำสาธารณะได้

และใช้ในการเกษตรกรรมได้อย่างปลอดภัย(10) มีการดำเนิน

งานในลักษณะดังกล่าวนี้แล้วหลายประเทศ ในประเทศไทย

ก็ได้มีการยืนยันเรื่องนี้โดยคณะของ รศ.ดร.เสนีย์ กาญจนวงศ์ ที่

มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยการศึกษาต่อเนื่อง ตั้งแต่ พ.ศ.2540

ถึง 2545 สรุปว่า เกษตรกรไม่กังวลใจ พ่อค้าผู้รับซื้อผลผลิตก็

ยอมรับ ส่วนผู้บริโภคนั้นยอมรับกรณีที่ใช้ปลูกพืช ▲ ตัวกรองน้ำผ่านระดับโมเลกุล (nanofilter)

Page 5: Technology Bio ดร.เกษมสันติ์ สุวรรณรัต ...เทคน คเก ยวก บอ ตราการไหลของน ำ ซ งเป

058 ● December 2009-January 2010, Vol.36 No.208 www.tpa.or.th/publisher/pro_tech.php

Technology

Bio

ในส่วนนี้ถ้าจะมองดูประเทศสิงคโปร์ใกล้บ้านเราที่ไม่ได้

ยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียง แต่น่าสนใจก็คือ เขาขาดแคลนน้ำ

มาก จนต้องลงทุนเอาน้ำเสียจากอาคารบ้านเรือนไปทำน้ำดื่ม

เรียกว่า “New Water” เทคโนโลยีของ New Water มีหลาย

ขั้นตอน แต่ทุกขั้นตอนก็มีคนทำได้ในเมืองไทย กล่าวคือ

1. บำบัดน้ำเสียจากการดูดกลืนออกซิเจน BOD 200

มิลลิกรัมต่อลิตร เป็นการดูดกลืนออกซิเจน BOD 10 มิลลิกรัม

ต่อลิตร โดยใช้ระบบเลี้ยงตะกอน (10 บาทต่อลูกบาศก์เมตร)

2. บำบัดน้ำทิ้งจาก 1. ด้วยระบบกรองตรง RO (re-

verse osmosis) เพื่อให้น้ำจืดสนิท (20 บาทต่อลูกบาศก์เมตร)

3. บำบัดน้ำทิ้งด้วยการกรองผ่านระดับโมเลกุล (nano-

filter) เพื่อให้น้ำปราศจากเชื้อจุลินทรีย์และไวรัส (10 บาทต่อ

ลูกบาศก์เมตร)

4. ฆ่าเชื้อโรคซ้ำ เพื่อความแน่ใจโดยใช้แสง UV (ultra

violet) (1 บาทต่อลูกบาศก์เมตร) รวมการลงทุนทั้ง 4 ขั้นแล้ว

จะได้น้ำสะอาดดื่มได้ที่เรียกว่า “New Water” เป็นน้ำดื่มที่บรรจุ

ขวดขายด้วยต้นทุน 1+2+3+4+5 คือ 10+20+10+1 เป็น 41

บาทต่อลูกบาศก์เมตร คือ 41 สตางค์ต่อลิตร ค่าขวด 2.49

สตางค์ ต้นทุนขวดละ 3 บาท สามารถขายออกตลาดได้ขวดละ

5 บาท

การบำบัดน้ำเสียในประเทศไทยขณะนี้ เราบำบัดแล้ว

ปล่อยทิ้งลงแม่น้ำลำคลองเสียค่าดำเนินการประมาณ 5 บาทต่อ

ลูกบาศก์เมตร หรือ 5 สตางค์ต่อลิตร ประชาชนก็ไม่ค่อยให้

ความร่วมมือ เราอาจจะลงทุนต่อยอดทำเป็นน้ำดื่มเสียเลย โดย

จะมีราคาทุนเพียงขวดละ 3 บาทเท่านั้น

เอกสารอ้างอิง

1. CDM (1968) “Master Plan” Sewerage Drainage and

Flood Protection Systems, Bangkok and Thonburi Bangkok

Municipality, Vol.1, 1968.

2. SUWANARAT, K. (เกษมสันติ์ สุวรรณรัต) (1975) “คลองใน

เขตกรุงเทพมหานคร กับปัญหาน้ำโสโครก”, เอกสารกรมอนามัย, 2518.

3. ZWINTZ, K. (1974) “Infrastrukturkosten in Abhangig-

keit von der Raumstruktur ”, Year book of the National Economic

and Statistical Education, 1974, p.190, W. Germany.

4. KEHR & MOHLE (1970) Siedhurgwasserswirtschaft

Handworterbuch der Raumplanung und Raumordnung, Gebruder

Janecke, Haunover, p. 2934.

5. HONG-CHIE, L (1973) “Planing for Water Supply,

Liquid and Solid and Solid Waste Handling in Asian Town”, Master’s

Thesis 592, AIT, 1973.

6. SUWARNARAT, K. , RATASUK & SERMPOL (1974) “Cost

of Sewage Treatment for Housing Estates in Thailand” Southeast

Asian Low-cost Housing Study, Thailand, Country Monograph.

Presented to the Low-cost Housing Conference in Penning April,

p.15-19, 1974.

7. SUWANARAT, K. (1978) “Am Immediate Means of

Urban Water Pollution Control in Developing Countries ” Int. Conf.

In W.P.C. at AIT, Bangkok, Thailand, February, p. 421-433 .

8. เกษมสันติ์ สุวรรณรัต (1998) “การจัดการมลพิษทางน้ำ”,

ศูนย์วิจัยและฝึกอบรมด้านสิ่งแวดล้อม กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี

และสิ่งแวดล้อม, 2541.

9. “โครงการศูนย์กำจัดน้ำเสีย กรุงเทพมหานคร” สำนักระบายน้ำ

กรุงเทพมหานคร และองค์การร่วมมือระหว่างประเทศของญี่ปุ่น (JICA)

(1985)

10. โครงการศึกษาวิจัยและพัฒนาสิ่งแวดล้อมแหลมผักเบี้ย อัน

เนื่องมาจากพระราชดำริ เอกสาร ประกอบ ประชุมวิชาการ ที่โรงแรม

รามาการ์เดนส์ วันที่ 5-6 กันยายน 2545.

▲ น้ำดื่มทำจากน้ำเสีย