Transcript
Page 1: แหลงโบราณคดีภูเขาทอง - Fine Arts Departmentเทคน คท ใช#ตกแตงผ วภาชนะโดยการกล งล#อท

แหล่งโบราณคดีภูเขาทอง

แหล่งโบราณคดีภูเขาทอง ต้ังอยู่ท่ีตําบลกําพวน อําเภอสุขสําราญ อยู่ทางตอนใต้ของจังหวัดระนอง เป็นศูนย์กลางของ “กลุ่มแหล่งโบราณคดีภูเขาทอง” ประกอบไปด้วย ภูเขาทอง บ้านบางกล้วยนอก เขากล้วย (บางคลัก) และไร่ใน ท่ีกล่าวเช่นนั้นเนื่องจากพบหลักฐานทางโบราณคดีหนาแน่นกว่าบริเวณอ่ืน โดยเฉพาะเครื่องประดับทองคํา อันเป็นท่ีมาของชื่อภูเขาทอง ในพ้ืนท่ีแถบนี้พบลูกปัดท้ังแก้วและหินจํานวนมาก และมีหลักฐานมากพอท่ีจะกล่าวได้ว่า เป็นแหล่งผลิตลูกปัด (Bead making site) ท่ีสําคัญอีกแห่งหนึ่งของประเทศไทยเช่นเดียวกัน “ควนลูกปัด” จังหวัดกระบ่ี เนื่องจากพบก้อนแก้ว หิน วัตถุดิบในการทําลูกปัดเป็นจํานวนมาก ซ่ึงมีเทคนิคการผลิตเฉพาะ โดยการดึงยืดแก้วสีเดียวเป็นท่อยาวๆ แล้วนํามาตัดสั้นๆ ให้เป็นเม็ดลูกปัด จากนั้นนําไปผ่านความร้อนอีกครั้ ง เ พ่ือลบคมแก้ว ท่ี ถูกตัดให้หายไป การผลิตด้วยวิธีนี้ ทํ าให้ ไ ด้ลูกปัดสี เ ดียวในหนึ่ ง เ ม็ด (Monochrome beads) เช่น สีเหลือง สีน้ําเงิน สีดํา สีเขียว เป็นต้น นอกจากนี้ยังพบลูกปัดแก้วท่ีหลอมรวมติดกันเป็นก้อนและลูกปัดหินท่ียังทําไม่เสร็จเป็นจํานวนมาก ลูกปัดแก้วท่ีพบส่วนใหญ่เป็นลูกปัดสีเดียวท่ีเรียกว่า “ลูกปัดอินโดแปซิฟิค” ส่วนลูกปัดหินพบหินคาร์เนเลียน หินอาเกต เป็นส่วนใหญ่

ในพ้ืนท่ีกลุ่มแหล่งโบราณคดีนี้ พบจี้สิงโต (Lion pendant) ครึ่งตัวอยู่ในท่าหมอบแกะสลักจากคริสตัล (Rock crystal) จัดเป็นเครื่องรางประเภทหนึ่งซ่ึงเป็นสัญลักษณ์ของอํานาจและความยิ่งใหญ่ รวมท้ังพบสัญลักษณ์มงคลอ่ืนๆ อีก ได้แก่ สังข์ ศรีวัตสะ สวัสติกะ และท่ีสําคัญคือ ไตรรัตนะ ท่ีทําเป็นลูกปัดจากหินคาร์เนเลี่ยน

นอกจากนี้ยังพบโบราณวัตถุหลายอย่างท่ีบอกได้อย่างชัดเจนว่ามาจากดินแดนภายนอก ได้แก่ จี้หรือหัวแหวนทําจากแผ่นหินคาร์เนเลียนสลักเป็นรูปสัตว์ เช่น ไก่ ม้า คนข่ีม้า รวมถึงรูปบุคคลแบบโรมัน โบราณวัตถุชนิดนี้พบตามเมืองท่าโบราณ ท้ังในโลกตะวันตกและตะวันออกท่ีมีการติดต่อค้าขายกับอาณาจักรโรมัน และพบแพร่หลายอยู่ตามเมืองท่าโบราณของอินเดียท่ีมีการติดต่อค้าขายและมีการต้ังถ่ินฐานของชาวโรมันช่วงพุทธศตวรรษท่ี 6-7

หลักฐานสําคัญท่ีแสดงถึงการเป็นสถานีการค้าได้อย่างชัดเจนคือ ภาชนะดินเผาท่ีนําเข้ามาจากอินเดียซ่ึงมีเทคนิคการผลิต เนื้อดิน และรูปทรงแตกต่างจากภาชนะดินเผาพ้ืนเมืองอย่างชัดเจน มีการเขียนด้วยภาษาทมิฬ ตัวอักษรแบบ Tamil-Brahmi อายุประมาณคริสต์ศตวรรษท่ี 2 มีตัวอักษร 3 ตัว อ่านว่า “Tu Ra O..” อาจมาจากคําว่า “Turavon” ซ่ึงหมายถึง พระ และอีกชิ้นเขียนด้วยตัวอักษร Brahmi อ่านว่า “pu aa” อายุประมาณคริสต์ศตวรรษท่ี 4

ภาชนะดินเผาท่ีสําคัญเป็นพิเศษ คือ ภาชนะดินเผารูเลทเท็ดแวร์ (Rouletted Ware) ซ่ึงพบครั้งแรกเป็นจํานวนมากในดินแดนแถบชายฝั่งทะเลอันดามัน มีรายงานว่าพบท่ีอินเดียและศรีลังกามากถึง 50 แหล่ง มีอายุประมาณ 2,000-2,200 ปีมาแล้ว ภาชนะดินเผาประเภทนี้เรียกตาม

Page 2: แหลงโบราณคดีภูเขาทอง - Fine Arts Departmentเทคน คท ใช#ตกแตงผ วภาชนะโดยการกล งล#อท

เทคนิคท่ีใช้ตกแต่งผิวภาชนะโดยการกลิ้งล้อท่ีเป็นฟันเฟืองลงบนผิวภาชนะท่ียังไม่แห้ง ทําให้เกิดรอยกดลึกอย่างเป็นระเบียบบนผิวภาชนะ เนื้อดินละเอียดสีเทา ข้ึนรูปด้วยแป้นหมุนเร็ว ส่วนมากทาน้ําดินสีดําท้ังด้านใน และด้านนอก มีการขัดผิวจนข้ึนเงา แม้จะยังไม่มีข้อสรุปท่ีเป็นแหล่งผลิตท่ีแน่ชัดนักแต่เชื่อว่าผลิตท่ี Tamil Nadu ในประเทศอินเดีย

จากหลักฐานทางโบราณคดีต่างๆ ท่ีพบสามารถกล่าวได้ว่าแหล่งโบราณคดีภูเขาทองมีการติดต่อกับดินแดนโพ้นทะเล ท่ีมีการเดินเรือเข้ามาติดต่อค้าขายแลกเปลี่ยนสินค้ากับสินค้าพ้ืนเมืองในแถบนี้ ได้แก่ เครื่องเทศ ของป่า อาจรวมไปถึงดีบุกซ่ึงเป็นโลหะท่ีมีอยู่มากมายในแถบชายฝั่งทะเล อันดามัน เป็นแห่งผลิตลูกปัดท่ีสําคัญท่ีพบอีกแห่งหนึ่งของประเทศไทย สําหรับอายุสมัยของแหล่งโบราณคดีแห่งนี้น่าจะมีการอยู่อาศัยมาอย่างต่อเนื่องยาวนาน เนื่องจากมีการขุดค้นทางโบราณคดี ในชั้นดินบนๆ พบเครื่องถ้วยเปอร์เซียหรือบาสราแวร์ (Basra Ware) ซ่ึงเป็นภาชนะดินเผาจากตะวันออกกลางมีอายุประมาณพุทธศตวรรษท่ี 13-14 ดังนั้นในเบ้ืองต้นแหล่งโบราณคดีแห่งนี้จึงมีอายุประมาณ 1,200-2,000 ปีมาแล้ว

เอกสารอ้างอิง เรไร นัยวัฒน์. รายงานเบ้ืองต้นแหล่งโบราณคดีภูเขาทอง พ.ศ.๒๕๔๘. ภูเก็ต: สํานักศิลปากรท่ี ๑๕ ภูเก็ต, ๒๕๔๘.

Page 3: แหลงโบราณคดีภูเขาทอง - Fine Arts Departmentเทคน คท ใช#ตกแตงผ วภาชนะโดยการกล งล#อท

ภาพท่ี ๑ แหล่งโบราณคดีภูเขาทอง ตําบลกําพวน อําเภอสุขสําราญ จังหวัดระนอง

ภาพท่ี ๒ บรรยากาศการขุดค้นท่ีแหล่งโบราณคดีภูเขาทอง ตําบลกําพวน อําเภอสุขสําราญ จังหวัดระนอง

Page 4: แหลงโบราณคดีภูเขาทอง - Fine Arts Departmentเทคน คท ใช#ตกแตงผ วภาชนะโดยการกล งล#อท

ภาพท่ี ๓ เศษเครื่องประดับทองคํา พบท่ีแหล่งโบราณคดีภูเขาทอง คําว่า ภูเขาทองก็มีท่ีมาจากการพบหลักฐานประเภทนี้หนาแน่นกว่าบริเวณอ่ืน

ภาพท่ี ๔ ลูกปัดแก้ว และก้อนแก้ววัตถุดิบ ท่ีพบจากการขุดค้นแหล่งโบราณคดีภูเขาทอง บ่งบอกว่าท่ีนี่อาจเป็นแหล่งผลิตลูกปัดแก้วท่ีสําคัญอีกแห่งหนี่งในดินแดนแถบนี้

ภาพท่ี ๕ ภาชนะดินเผามีรอยจารึก พบท่ีแหล่งโบราณคดีภูเขาทอง เขียนด้วยอักษร Tamil-Brahmi โดยใช้ภาษาทมิฬ อ่านว่า “tu ra o…” ซ่ึงอาจจะมาจากคําว่า “turavon” หมายถึง “พระ”

ภาพท่ี ๖ ภาชนะดินเผารูเลทเท็ดแวร์ (Rouletted Ware) เป็นภาชนะนําเข้ามาจากอินเดีย เป็นหลักฐานแสดงให้เห็นความสัมพันธ์ทางการค้าระหว่างอินเดีย และชุมชนบริเวณชายฝั่งทะเลอันดามัน

ภาพท่ี ๗ เครื่องถ้วยเปอร์ เ ซียหรือบาสราแวร์ (Basra Ware) เป็นภาชนะดินเผาจากตะวันออกกลางมีอายุประมาณพุทธศตวรรษท่ี 13-14 พบท่ีแหล่งโบราณคดีภูเขาทอง

ภาพท่ี ๘ เศษแก้วแบบโรมัน แสดงให้เห็นถึงอาณาเขตของเครือข่ายเส้นทางการค้าท่ีไปไกลถึงดินแดนโรมัน


Recommended