14
การรักษาความมั่นคงของฐานทรัพยากร และการสร้างสมดุล ระหว่างการอนุรักษ์กับการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน นโยบายข้อ ๙ “...จะรักษาความมั่นคงของฐานทรัพยากรธรรมชาติ โดยสร้างสมดุลระหว่างการอนุรักษ์และการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน...”

นโยบายข้อ ๙ - soc.go.thนโยบายข อ ๙ 342 รายงานผลการดำาเน นงานของร ฐบาล พลเอก

  • Upload
    others

  • View
    3

  • Download
    0

Embed Size (px)

Citation preview

Page 1: นโยบายข้อ ๙ - soc.go.thนโยบายข อ ๙ 342 รายงานผลการดำาเน นงานของร ฐบาล พลเอก

การรักษาความมั่นคงของฐานทรัพยากร และการสร้างสมดุล

ระหว่างการอนุรักษ์กับการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน

นโยบายข้อ ๙

“...จะรักษาความมั่นคงของฐานทรัพยากรธรรมชาติโดยสร้างสมดุลระหว่างการอนุรักษ์และการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน...”

Page 2: นโยบายข้อ ๙ - soc.go.thนโยบายข อ ๙ 342 รายงานผลการดำาเน นงานของร ฐบาล พลเอก

นโยบายข้อ ๙

342 รายงานผลการดำาเนินงานของรัฐบาลพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีปีที่ ๒ (๑๒ กันยายน ๒๕๕๘-๑๒ กันยายน ๒๕๕๙)

นโยบายข้อ ๙

ในปัจจุบันมีการบุกรุกที่ดินของรัฐและตัดไม้ท�าลายป่ามากขึ้น ทรัพยากรธรรมชาต ิ

และความหลากหลายทางชวีภาพทีเ่คยอดุมสมบรูณ์ เช่น ป่าไม้ สตัว์ป่า พนัธุพ์ชื และแร่ธาต ุถกูท�าลาย

หรอืน�าไปใช้ประโยชน์ทางพาณชิย์โดยไม่ชอบด้วยกฎหมายเป็นอนัมาก ทัง้ปัญหาภาวะมลพษิโดยเฉพาะ

ขยะประเภทต่าง ๆ กร็นุแรงยิง่ขึน้ รฐับาลจงึมนีโยบายจะรกัษาความมัน่คงของฐานทรพัยากรธรรมชาติ

โดยสร้างสมดุลระหว่างการอนุรักษ์และการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืนดังนี้

๙.๑ ในระยะเฉพาะหน้า เร่งปกป้องและฟื้นฟูพื้นที่อนุรักษ์ ทรัพยากรป่าไม้ และสัตว์ป่า

โดยให้ความส�าคัญในการแก้ไขปัญหาการบุกรุกที่ดินของรัฐ จัดท�าแนวเขตที่ดินของรัฐให้ชัดเจน

เร่งรัดกระบวนการพิสูจน์สิทธิการถือครองที่ดินในเขตที่ดินของรัฐโดยน�าระบบสารสนเทศมาใช้

เพื่อการบริหารจัดการ ปรับปรุงกฎหมายให้ทันสมัยและสร้างบรรทัดฐานในการบังคับใช้กฎหมาย

อย่างมีประสิทธิภาพและเป็นธรรม โดยเฉพาะในพื้นที่ป่าต้นน�้าและพื้นที่อนุรักษ์ที่มีความส�าคัญ

เชิงนิเวศ ก�าหนดพื้นที่แนวกันชนและที่ราบเชิงเขาให้เป็นพื้นที่ยุทธศาสตร์การปลูกป่าเพื่อป้องกัน

ภัยพิบัติและป้องกันการบุกรุกป่า ขยายป่าชุมชน และส่งเสริมการปลูกไม้มีค่าทางเศรษฐกิจในพื้นที่

เอกชนเพื่อลดแรงกดดันในการตัดไม้จากป่าธรรมชาติ รวมทั้งผลักดันแนวทางการประเมินมูลค่า

ทางเศรษฐศาสตร์ของระบบนิเวศและการสร้างรายได้จากการอนุรักษ์ เช่น โครงการปลูกป่าเพื่อฟื้นฟู

ระบบนิเวศ โครงการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้แบบมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน เป็นต้น

๙.๒ ส่งเสริมการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์จากทรัพยากรชีวภาพและความหลากหลาย

ทางชีวภาพอย่างยั่งยืน ค�านึงถึงขีดจ�ากัดและศักยภาพในการฟื้นตัว สร้างโอกาสในการเข้าถึง

และแบ่งปันผลประโยชน์อันเกิดขึ้นจากการใช้ทรัพยากรพันธุกรรมอย่างยุติธรรมและเท่าเทียม

เพื่อสร้างความเป็นอยู่ที่ดีของประชาชน ความมั่นคงทางด้านอาหาร สุขอนามัย สนับสนุนวิถีชีวิต

ของชมุชน และการพฒันาเพือ่สร้างมลูค่าทางเศรษฐกจิ รวมทัง้ให้การคุม้ครองเพือ่ให้เกดิความปลอดภยั

ทางชีวภาพ

๙.๓ ในระยะต่อไป พัฒนาระบบบริหารจัดการที่ดิน และแก้ไขการบุกรุกที่ดินของรัฐ

โดยยึดแนวพระราชด�าริที่ให้ประชาชนสามารถอยู่ร่วมกับป่าได้ เช่น ก�าหนดเขตป่าชุมชนให้ชัดเจน

พืน้ทีใ่ดทีส่งวนหรอืกนัไว้เป็นพืน้ทีป่่าสมบรูณ์กใ็ช้มาตรการทางกฎหมายอย่างเคร่งครดั พืน้ทีใ่ดสมควร

ให้ประชาชนใช้ประโยชน์ได้ก็จะผ่อนผันให้ตามความจ�าเป็นโดยใช้มาตรการทางการบริหารจัดการ

มาตรการทางสังคมจิตวิทยา และการปลูกป่าทดแทนเข้าด�าเนินการ ทั้งจะให้เชื่อมโยงกับการส่งเสริม

การมอีาชพีและรายได้อืน่อนัเป็นบ่อเกดิของเศรษฐกจิชมุชนทีต่่อเนือ่งเพือ่ให้คนเหล่านัน้สามารถพึง่พา

การรักษาความมั่นคงของฐานทรัพยากร และการสร้างสมดุล

ระหว่างการอนุรักษ์กับการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน

Page 3: นโยบายข้อ ๙ - soc.go.thนโยบายข อ ๙ 342 รายงานผลการดำาเน นงานของร ฐบาล พลเอก

นโยบายข้อ ๙

343รายงานผลการดำาเนินงานของรัฐบาลพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี

ปีที่ ๒ (๑๒ กันยายน ๒๕๕๘-๑๒ กันยายน ๒๕๕๙)

ตนเองได้ตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงโดยที่ดินยังเป็นของรัฐ จะจัดท�าฐานข้อมูลเพื่อการบริหารจัดการ

จัดท�าทะเบียนผู้ถือครองที่ดินในที่ดินของรัฐ ปรับปรุงกลไกการบริหารจัดการที่ดินของรัฐและเอกชน

ให้มีเอกภาพเพื่อท�าหน้าที่ก�าหนดนโยบายด้านที่ดินในภาพรวม และปรับปรุงกลไกภาษีเพื่อกระจาย

การถือครองที่ดิน เร่งรัดการจัดสรรที่ดินให้แก่ผู้ยากไร้โดยไม่ต้องเป็นกรรมสิทธิ์ แต่รับรองสิทธิร่วม

ในการจัดการที่ดินของชุมชน ก�าหนดรูปแบบที่เหมาะสมของธนาคารที่ดินเพื่อให้เป็นกลไกในการน�า

ทรัพยากรที่ดินมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด

๙.๔ บริหารจัดการทรัพยากรน�้าของประเทศให้เป็นเอกภาพในทุกมิติ ทั้งเชิงปริมาณ

และคณุภาพ จดัให้มแีผนบรหิารจดัการทรพัยากรน�้าของประเทศและมกีระบวนการบรูณาการแผนงาน

และงบประมาณร่วมกันของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้การจัดท�าแผนงาน โครงการ ไม่เกิด

ความซ�้าซ้อน มีความเชื่อมโยงกันอย่างเป็นระบบ และสอดคล้องกับทิศทางและนโยบายการบริหาร

จัดการทรัพยากรน�า้ โดยจัดตั้งหรือก�าหนดกลไกในการบริหารจัดการน�า้พร้อมทั้งมีการน�าเทคโนโลยี

ที่มีประสิทธิภาพสูงมาใช้ในระบบของการบริหารจัดการน�้าและการเตือนภัย

๙.๕ เร่งรัดการควบคุมมลพิษทั้งทางอากาศ ขยะ และน�้าเสีย ที่เกิดจากการผลิตและบริโภค

เพือ่สร้างคณุภาพสิง่แวดล้อมทีด่ใีห้แก่ประชาชน โดยให้ความส�าคญัในการเร่งรดัแก้ไขปัญหาการจดัการขยะ

เป็นล�าดับแรก ส่งเสริมให้เกิดกลไกการคัดแยกขยะเพื่อน�ากลับมาใช้ใหม่ให้มากที่สุด เร่งก�าจัด

ขยะมูลฝอยตกค้างสะสมในสถานที่ก�าจัดขยะในพื้นที่วิกฤต ซึ่งจะใช้ที่ดินของรัฐเป็นหลัก ในพื้นที่ใด

ที่สามารถจัดการขยะมูลฝอยโดยการแปรรูปเป ็นพลังงานก็จะสนับสนุนให ้ด� า เนินการ

ส่วนขยะอุตสาหกรรมนั้น จะวางระเบียบมาตรการการบริหารจัดการเป็นพิเศษ โดยก�าหนดให้ทิ้งใน

บ่อขยะอุตสาหกรรมที่สร้างขึ้นอย่างถูกต้องตามมาตรฐานและให้แยกเป็นสัดส่วนจากบ่อขยะชุมชน

ส�าหรบัขยะของเสยีอนัตราย ขยะอเิลก็ทรอนกิส์ และขยะตดิเชือ้ จะพฒันาระบบก�ากบัตดิตามตรวจสอบ

และเฝ้าระวังไม่ให้มีการลักลอบทิ้ง รวมทั้งจัดการสารเคมี โดยลดความเสี่ยงและอันตรายที่เกิดจาก

การรั่วไหล และการเกิดอุบัติเหตุ ให้ความส�าคัญในการจัดการอย่างครบวงจร และใช้มาตรการ

ทางกฎหมายและการบังคับใช้กฎหมายอย่างเด็ดขาด

ในระดับพื้นที่ จะเร่งแก้ไขปัญหาในพื้นที่มาบตาพุดซึ่งเป็นฐานอุตสาหกรรมหลักของประเทศ

อย่างต่อเนือ่ง ครอบคลมุทกุมติ ิทัง้การลดและขจดัมลพษิ การฟ้ืนฟทูรพัยากรธรรมชาตแิละสิง่แวดล้อม

การดูแลคุณภาพชีวิตประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากอุตสาหกรรม รวมทั้งการพัฒนาปรับปรุง

ขีดความสามารถโครงสร้างพื้นฐาน และการพัฒนาสู่เมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ

Page 4: นโยบายข้อ ๙ - soc.go.thนโยบายข อ ๙ 342 รายงานผลการดำาเน นงานของร ฐบาล พลเอก

นโยบายข้อ ๙

344 รายงานผลการดำาเนินงานของรัฐบาลพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีปีที่ ๒ (๑๒ กันยายน ๒๕๕๘-๑๒ กันยายน ๒๕๕๙)

๑. การเร่งปกป้องและฟ้ืนฟพูืน้ทีอ่นรุกัษ์ทรพัยากรป่าไม้และสตัว์ป่า โดยให้ความส�าคญั

ในการแก้ไขปัญหาการบุกรุกที่ดินของรัฐ จัดท�าแนวเขตที่ดินของรัฐให้ชัดเจน และก�าหนดเป้าหมายในการรักษา

พืน้ทีป่่าไม้ทีม่อียู ่๑๐๒.๔ ล้านไร่ อย่างมปีระสทิธภิาพและยัง่ยนื รวมทัง้เพิม่พืน้ทีป่่าไม้ โดยมกีารด�าเนนิการ ดงันี้

๑.๑ การปรับปรุงแผนที่แนวเขตที่ดิน

ของรัฐแบบบูรณาการ มาตราส่วน ๑:๔,๐๐๐

(One Map) เนื่องจากเกิดปัญหาการทับซ้อนกัน

ของแนวเขตที่ดินของรัฐเป็นจ�านวนมาก และเพื่อให้

แนวเขตที่ดินของหน่วยงานรัฐมีความถูกต้อง เป็นไป

ตามกฎหมาย และมกีารใช้แผนทีก่ลางเป็นมาตราส่วน

เดียวกัน รัฐบาลจึงได้ก�าหนดแนวทางการปรับปรุง

แผนที่แนวเขตที่ดินของรัฐแบบบูรณาการ มาตราส่วน

๑:๔,๐๐๐ (One Map) เพื่อเพิ่มความสะดวก

ในการตรวจสอบแนวเขตทีด่นิ โดยได้ก�าหนดหลกัเกณฑ์

การปรบัปรงุแผนทีแ่นวเขตทีด่นิของรฐัแบบบรูณาการ

รวม ๑๓ หลักเกณฑ์ ดังนี้

๑.๑.๑ กรณีป่าสงวนแห่งชาติทับซ้อนกับป่าไม้ถาวร

๑.๑.๒ กรณีป่าสงวนแห่งชาติทับซ้อนกับอุทยานแห่งชาติหรือเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า

๑.๑.๓ กรณีป่าสงวนแห่งชาติ ป่าคุ้มครอง และพื้นที่ในความรับผิดชอบของกรมป่าไม้นอกเขต

ป่าสงวนแห่งชาติที่มีแนวเขตชัดเจน ทับซ้อนกับเขตห้ามล่าสัตว์ป่า

๑.๑.๔ กรณป่ีาสงวนแห่งชาต ิอทุยานแห่งชาต ิเขตรกัษาพนัธุส์ตัว์ป่า เขตห้ามล่าสตัว์ป่า ทบัซ้อน

กับป่าชายเลนตามมติคณะรัฐมนตรี

๑.๑.๕ กรณีป่าสงวนแห่งชาติทับซ้อนกับเขตปฏิรูปที่ดิน (ส.ป.ก.)

๑.๑.๖ กรณอีทุยานแห่งชาต ิเขตรกัษาพนัธุส์ตัว์ป่า เขตห้ามล่าสตัว์ป่าทีท่บัซ้อนกบัเขตปฏริปูทีด่นิ

๑.๑.๗ กรณีป่าสงวนแห่งชาติ ป่าคุ้มครอง และพื้นที่ในความรับผิดชอบของกรมป่าไม้นอกเขต

ป่าสงวนแห่งชาติที่มีแนวเขตชัดเจน อุทยานแห่งชาติ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า และเขตห้ามล่าสัตว์ป่า ทับซ้อนกับ

นิคมสร้างตนเองหรือนิคมสหกรณ์

๑.๑.๘ กรณีนิคมสร้างตนเองหรือนิคมสหกรณ์ทับซ้อนกับเขตปฏิรูปที่ดิน และนิคมสร้างตนเอง

หรือนิคมสหกรณ์ที่ยังไม่มีกฎหมายก�าหนดพื้นที่

๑.๑.๙ กรณีป่าสงวนแห่งชาติ ป่าคุ ้มครอง และพื้นที่ในความรับผิดชอบของกรมป่าไม้

นอกเขตป่าสงวนแห่งชาติที่มีแนวเขตชัดเจน อุทยานแห่งชาติ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า และเขตห้ามล่าสัตว์ป่า

ทับซ้อนกับที่ราชพัสดุ

“One Map ปรับปรุงแผนที่

แนวเขตที่ดินของรัฐแบบบูรณาการ

มาตราส่วน ๑:๔,๐๐๐ เพื่อให้

แนวเขตที่ดินของรัฐมีความถูกต้อง

ตรงตามกฎหมาย ใช้แผนที่กลาง

มาตราส่วนเดียวกัน”

Page 5: นโยบายข้อ ๙ - soc.go.thนโยบายข อ ๙ 342 รายงานผลการดำาเน นงานของร ฐบาล พลเอก

นโยบายข้อ ๙

345รายงานผลการดำาเนินงานของรัฐบาลพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี

ปีที่ ๒ (๑๒ กันยายน ๒๕๕๘-๑๒ กันยายน ๒๕๕๙)

๑.๑.๑๐ กรณีป่าสงวนแห่งชาติ ป่าคุ ้มครอง และพื้นที่ในความรับผิดชอบของกรมป่าไม้

นอกเขตป่าสงวนแห่งชาติที่มีแนวเขตชัดเจน อุทยานแห่งชาติ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า และเขตห้ามล่าสัตว์ป่า

ทับซ้อนกับที่สาธารณประโยชน์ที่มีการออกหนังสือส�าคัญส�าหรับที่หลวง (น.ส.ล.) ไว้แล้ว

๑.๑.๑๑ กรณแีนวเขตทีด่นิของรฐัทีม่กีารก�าหนดโดยใช้แนวธรรมชาตหิรอืแนวเขตตามสิง่ก่อสร้าง

๑.๑.๑๒ กรณีที่หน่วยงานของรัฐไม่สามารถหาข้อยุติตามหลักเกณฑ์ที่ก�าหนดไว้ได้

๑.๑.๑๓ ให้คณะอนกุรรมการระดบัจงัหวดัรวบรวมข้อมลูระวางแผนทีข่องกรมทีด่นิทีม่กีารรบัรอง

แนวเขตป่าสงวนแห่งชาติ ป่าไม้ถาวร ป่าชายเลน อุทยานแห่งชาติ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า เขตห้ามล่าสัตว์ป่า

ไว้เป็นข้อมูลเบื้องต้นส�าหรับใช้ในการด�าเนินการภายหลัง ให้คณะท�างานการแก้ไขปัญหาการทับซ้อนของพื้นที่

ป่าไม้และเขตปฏิรูปที่ดินระหว่างกระทรวงเกษตรและสหกรณ์กับกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

รวบรวมข้อมูลผลการด�าเนินงานที่ได้ข้อยุติจากคณะท�างานฯ ส่งให้คณะกรรมการปรับปรุงแผนที่แนวเขตที่ดิน

ของรัฐแบบบูรณาการมาตราส่วน ๑:๔,๐๐๐ (One Map) เพื่อประกอบการพิจารณาต่อไป

ทั้งนี้ จากการด�าเนินการที่ผ่านมา มีผลการด�าเนินงาน ดังนี้

- จัดฝึกอบรมหลักสูตร “เทคนิคการปรับปรุงแผนที่แนวเขตที่ดินของรัฐแบบบูรณาการ”

ให้แก่เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติระดับจังหวัด ๗๗ จังหวัด จ�านวน ๔ รุ่น

- ชี้แจงสร้างความเข้าใจ โดยลงพื้นที่ให้ค�าปรึกษาแก่คณะอนุกรรมการระดับจังหวัดและระดับ

ภาค ๔ ภาค

- จัดท�าคู่มือเทคนิคให้แก่เจ้าหน้าที่ระดับจังหวัดเพื่อใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติงาน

- จัดตั้งศูนย์ประสานงานการปฏิบัติงานคณะอนุกรรมการเทคนิคการปรับปรุงแผนที่แนวเขต

ที่ดินของรัฐแบบบูรณาการ มาตราส่วน ๑:๔,๐๐๐ (One Map) ณ ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

- จัดพิธีเป ิดโครงการการปรับปรุง

แผนที่แนวเขตที่ดินของรัฐแบบบูรณาการ มาตราส่วน

๑:๔,๐๐๐ (One Map) เพื่อให้แนวเขตที่ดินของรัฐ

มีความถูกต้อง ตรงตามกฎหมาย ใช้แผนที่กลาง

มาตราส่วนเดียวกัน เมื่อวันที่ ๒๑ มกราคม ๒๕๕๙

ณ ตกึสนัตไิมตร ีท�าเนยีบรฐับาล โดยม ีพลเอก ประยทุธ์

จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานในพิธี

- ลงพื้นที่สนับสนุนการด�าเนินงาน

ด้านเทคนิคของคณะอนุกรรมการระดับจังหวัดและกรุงเทพมหานคร และรวบรวมปัญหาที่เกิดขึ้น ๔ ภาค

- อยู่ระหว่างการพิจารณาแนวทางการด�าเนินงานด้านกฎหมายเพื่อน�าไปสู่การแก้ไขปรับปรุง

กฎหมายให้สอดคล้องและเป็นไปตามเส้นแนวเขตทีด่นิของรฐัแบบบรูณาการ มาตราส่วน ๑:๔,๐๐๐ (One Map)

Page 6: นโยบายข้อ ๙ - soc.go.thนโยบายข อ ๙ 342 รายงานผลการดำาเน นงานของร ฐบาล พลเอก

นโยบายข้อ ๙

346 รายงานผลการดำาเนินงานของรัฐบาลพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีปีที่ ๒ (๑๒ กันยายน ๒๕๕๘-๑๒ กันยายน ๒๕๕๙)

๑.๒ การแก้ไขปัญหาทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง

การบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝ ั ่ งประสบป ัญหาจากความแปรผัน

อย่างต่อเนื่องทั้งจากธรรมชาติและการกระท�าของมนุษย์ โดยการแก้ไขปัญหาเป็นลักษณะการแยกส่วน

เนื่องจากเกี่ยวข้องกับหลายหน่วยงาน รวมถึงกลไกการจัดการยังไม่มีความเป็นเอกภาพ ขาดการบูรณาการ

และการมีส่วนร่วมของประชาชนและชุมชนในท้องถิ่น ประกอบกับมีการบุกรุกหรือเปลี่ยนแปลงสภาพพื้นที ่

เพื่อใช้ประโยชน์จากทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งเป็นจ�านวนมาก ท�าให้ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง

เปลีย่นแปลงและเสือ่มโทรม รวมทัง้กฎหมายทีใ่ช้บงัคบัทีผ่่านมายงัไม่ครอบคลมุการคุม้ครองทรพัยากรทางทะเล

และชายฝั ่งในบางพื้นที่ นอกจากนี้ ปัญหาการกัดเซาะชายฝั ่งมีอัตราการกัดเซาะรุนแรงเฉลี่ยมากกว่า

๕ เมตรต่อปี โดยบริเวณอ่าวไทยตอนบนตั้งแต่ปากแม่น�้าบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา จนถึงปากแม่น�้าท่าจีน

จงัหวดัสมทุรสาคร เป็นพืน้ทีท่ีม่คีวามอ่อนไหวและมกีารกดัเซาะขัน้รนุแรงมากทีส่ดุ ดงันัน้ จงึได้มกีารขบัเคลือ่น

การบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งในเรื่องส�าคัญ ดังนี้

๑.๒.๑ ดำาเนนิการป้องกนัการกดัเซาะ

ชายฝั่งโดยวิธีปักไม้ไผ่ชะลอความรุนแรงของคลื่น

เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนในพื้นที่

ที่เป็นหาดเลนและหาดทรายปนเลน ซึ่งประสบปัญหา

การกดัเซาะระดบัวกิฤต ๒ แห่ง ระยะทางรวม ๖ กโิลเมตร

ได้แก่ ต�าบลปากแม่น�้าแหลมสิงห์ อ�าเภอแหลมสิงห ์

จังหวัดจันทบุรี ระยะทาง ๒ กิโลเมตร และต�าบล

แหลมฟ้าผ่า อ�าเภอพระสมทุรเจดย์ี จงัหวดัสมทุรปราการ

ระยะทาง ๔ กิโลเมตร พร้อมทั้งอยู่ระหว่างด�าเนินการ

ส่วนขยายในพื้นที่และต�าบลแหลมฟ้าผ่า ระยะทาง

๕ กิโลเมตร

๑.๒.๒ จัดทำามาตรการเพื่อเตรียมรับมือและบรรเทาผลกระทบจากปรากฏการณ์ปะการัง

ฟอกขาว ประกอบด้วย มาตรการเร่งด่วน ห้ามด�าเนินกิจกรรมในแนวเขตปะการัง ได้แก่ ทอดสมอเรือ ทิ้งขยะ

และปล่อยมลพิษ ขุดลอกร่องน�้า กิจกรรมที่ก่อให้เกิดตะกอน จับสัตว์น�้า ให้อาหารปลา เดินเหยียบย�่าปะการัง

และเกบ็หรอืท�าลายปะการงั ยกเว้นเพือ่การศกึษาวจิยั

และมาตรการต่อเนื่อง ก�าหนดมาตรการเพื่อส่งเสริม

การฟื้นตัวของแนวปะการัง และก�าหนดมาตรการ

การใช้ประโยชน์แนวปะการัง ควบคุมเฝ้าระวัง ฟื้นฟ ู

แนวปะการัง และสนับสนุนงานวิจัยเพื่อการบริหาร

จดัการแนวปะการงั ทัง้นี ้มาตรการเร่งด่วนได้ประกาศใช้แล้ว

ในแนวเขตประการัง ๘ แห่ง โดยอาศัยอ�านาจ

ตามพระราชบัญญัติส ่งเสริมการบริหารจัดการ

ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง พ.ศ. ๒๕๕๘

“ปักไม้ไผ่ชะลอความรุนแรงของคลื่น

เพื่อป้องกันการกัดเซาะชายฝั่ง

ในพื้นที่ที่ประสบปัญหาระดับวิกฤต

๒ แห่ง”

Page 7: นโยบายข้อ ๙ - soc.go.thนโยบายข อ ๙ 342 รายงานผลการดำาเน นงานของร ฐบาล พลเอก

นโยบายข้อ ๙

347รายงานผลการดำาเนินงานของรัฐบาลพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี

ปีที่ ๒ (๑๒ กันยายน ๒๕๕๘-๑๒ กันยายน ๒๕๕๙)

๑.๒.๓ จัดทำาร่างพระราชกฤษฎีกากำาหนดให้สัตว์ป่าบางชนิดเป็นสัตว์ป่าสงวน พ.ศ. ....

โดยก�าหนดให้สัตว์ทะเลหายาก จ�านวน ๔ ชนิด เป็นสัตว์ป่าสงวน ได้แก่ ปลาฉลามวาฬ (Rhincodon typus)

วาฬบรูด้า (Balaenoptera edeni) วาฬโอมูระ (Balaenoptera omurai) และเต่ามะเฟือง (Dermochelys

coriacea) ทัง้นี ้เป็นไปตามพนัธกรณทีีต้่องปฏบิตัติามอนสุญัญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศซึง่ชนดิพนัธุส์ตัว์ป่า

และพืชป่าที่ใกล้สูญพันธุ์ (Convention on International Tread in Endangered Species of Wild

Fauna and Flora: CITES) ที่ประเทศไทยเป็นสมาชิก ซึ่งก�าหนดให้ประเทศสมาชิกต้องมีมาตรการในการสงวน

และคุม้ครองสตัว์ป่าอย่างเหมาะสม รวมทัง้จดัท�าร่างกฎกระทรวงก�าหนดให้สตัว์ป่าบางชนดิเป็นสตัว์ป่าคุม้ครอง

(ฉบบัที ่..) พ.ศ. .... เพือ่ให้สตัว์ทะเลหายาก ๑๒ ชนดิ เป็นสตัว์ป่าคุม้ครองตามพระราชบญัญตัสิงวนและคุม้ครอง

สตัว์ป่าแห่งชาต ิพ.ศ. ๒๕๓๕ ซึง่ขณะนีร่้างพระราชกฤษฎกีาก�าหนดให้สตัว์ป่าบางชนดิเป็นสตัว์ป่าสงวน พ.ศ. ....

และร่างกฎกระทรวงก�าหนดให้สัตว์ป่าบางชนิดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... อยู่ระหว่างการพิจารณา

ของส�านักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา

๑.๓ การพลกิฟ้ืนผนืป่า สูก่ารพฒันาทีย่ัง่ยนื การบกุรกุท�าลายทรพัยากรป่าไม้ของประเทศเป็นปัญหา

ทีส่ะสมมานานและพืน้ทีป่่าไม้มแีนวโน้มทีจ่ะลดลงอย่างต่อเนือ่ง จนเกดิผลกระทบตามมาอย่างมาก เช่น ภยัแล้ง

น�้าป่าไหลหลาก สัตว์ป่าสูญพันธุ์ ด้วยเหตุนี้รัฐบาลจึงได้มีนโยบาย “พลิกฟื้นผืนป่า สู่การพัฒนาที่ยั่งยืน”

เพื่อแก้ไขปัญหาการบุกรุกท�าลายพื้นที่ป่าไม้ รักษาพื้นที่ป่าไม้ที่อุดมสมบูรณ์ รวมทั้งเพิ่มพื้นที่ป่าไม้ โดยมี

ผลการด�าเนินการ ดังนี้ ๑) สร้างความรู้ความเข้าใจให้ทุกฝ่ายมีส่วนร่วมตามแนวทางประชารัฐ มีการอบรมแล้ว

๑,๓๔๙ รุ ่น (แห่ง) ๒) แก้ไขปัญหาแนวเขตที่ดิน

ของรฐัแบบบรูณาการ (One Map) อยูร่ะหว่างตรวจสอบ

กรรมสิทธิ์การครอบครองพื้นที่ทั้งหมด ๓) คุ้มครอง

พื้นที่ป่าไม้โดยการบังคับใช้กฎหมาย ได้พื้นที่คืน

จ�านวน ๙๖,๓๙๘.๗๘ ไร่ ๔) คุม้ครองพืน้ทีป่่าไม้สมบรูณ์

จ�านวน ๑๐๒.๔ ล้านไร่ ๕) จัดหาที่ดินแก่ผู้ยากไร้แล้ว

จ�านวน ๓๑๑,๒๘๔ ไร่ ๖) ฟื้นฟูสภาพป่า จ�านวน

๘๑,๖๐๖.๓๑ ไร่ ๗) ส่งเสริมปลูกป่าเศรษฐกิจ

จ�านวน ๕๑,๓๓๐ ไร่ และ ๘) แจกจ่ายกล้าไม้จ�านวน

๓๔ ล้านกล้า

ทั้งนี้ เพื่อให้การด�าเนินงานเป็นไปอย่างต่อเนื่อง จึงได้จัดท�าแผนการด�าเนินการ ระยะ ๒๐ ปี

(พ.ศ. ๒๕๖๐-๒๕๗๙) โดยมีแนวทางและเป้าหมายการด�าเนินงานดังนี้ ๑) สร้างความรู้ความเข้าใจให้ทุกฝ่าย

มส่ีวนร่วมตามแนวทางประชารฐั จ�านวน ๒๔,๙๐๗ รุน่ (แห่ง) ๒) แก้ไขปัญหาแนวเขตทีด่นิของรฐัแบบบรูณาการ

(One Map) โดยมแีผนทีม่าตราส่วน ๑:๔,๐๐๐ ทีใ่ช้เป็นมาตรฐานเดยีวกนั ๓) คุม้ครองพืน้ทีป่่าไม้โดยการบงัคบัใช้

กฎหมาย จ�านวน ๒.๙๒๔ ล้านไร่ ๔) คุ้มครองพื้นที่ป่าไม้สมบูรณ์ จ�านวน ๑๐๒.๔ ล้านไร่ พื้นที่ป่าไม้ที่ฟื้นฟู

จ�านวน ๙.๑ ล้านไร่ รวมจ�านวน ๑๑๑.๕ ล้านไร่ ๕) จดัหาทีด่นิแก่ผูย้ากไร้ จ�านวน ๒.๓๕ ล้านไร่ ๖) ฟ้ืนฟสูภาพป่า

จ�านวน ๕.๒๓๖๕๕ ล้านไร่ ๗) ส่งเสริมการปลูกป่าเศรษฐกิจ จ�านวน ๓.๙๐๔๙๓ ล้านไร่ และ ๘) แจกจ่ายกล้าไม ้

จ�านวน ๔,๗๒๕.๘๕ ล้านกล้า

Page 8: นโยบายข้อ ๙ - soc.go.thนโยบายข อ ๙ 342 รายงานผลการดำาเน นงานของร ฐบาล พลเอก

นโยบายข้อ ๙

348 รายงานผลการดำาเนินงานของรัฐบาลพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีปีที่ ๒ (๑๒ กันยายน ๒๕๕๘-๑๒ กันยายน ๒๕๕๙)

๑.๔ การปรับปรุงระบบการบริหารจัดการ

อุทยานแห่งชาติ

ประเทศไทยมีอุทยานแห่งชาติจ�านวน

ทั้งสิ้น ๑๕๐ แห่ง (ประกาศจัดตั้งตามกฎหมายแล้ว

๑๒๘ แห่ง และอยู่ระหว่างเตรียมประกาศจัดตั้งอีก

๒๒ แห่ง) ในจ�านวนนี้เป็นอุทยานแห่งชาติทางบก

๑๒๔ แห่ง และอุทยานแห่งชาติทางทะเล ๒๖ แห่ง

ซึ่งการส่งเสริมการท่องเที่ยวในพื้นที่อุทยานแห่งชาต ิ

ที่ผ ่านมายังไม่มีกรอบทิศทางที่ชัดเจนและได้ส ่ง

ผลกระทบต่อระบบการบรหิารจดัการของอทุยานแห่งชาติ

เป ็นอย่างมาก ดังนั้น เพื่อให ้ระบบการบริหารจัดการอุทยานแห่งชาติเป ็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ

และเป็นทีย่อมรบัในระดบันานาชาต ิจงึได้จดัท�าแนวทางการจดัการอทุยานแห่งชาตเิพือ่การอนรุกัษ์และใช้ประโยชน์

ร่วมกันได้อย่างยั่งยืน โดยมีการปรับปรุงโครงสร้าง บุคลากร และพัฒนาการบริหารจัดการ ๓ ด้าน ดังนี้

๑) ด้านการจัดการ วิชาการ และการปรับปรุงโครงสร้างส�านักอุทยานแห่งชาติ ๒) ด้านการจัดการการท่องเที่ยว

โดยก�าหนดขีดความสามารถในการรองรับด้านนันทนาการของอุทยานแห่งชาติ เช่น พัฒนาระบบจองบ้านพัก

และบริการอุทยานแห่งชาติผ่านระบบออนไลน์ทางอินเทอร์เน็ต และ ๓) ด้านการป้องกันและปราบปราม

โดยการเสริมสร้างประสิทธิภาพและเทคนิคการลาดตระเวน (SMART PATROL) ในอุทยานแห่งชาติ

นอกจากนี้ การเติบโตในการท ่องเที่ ยวทางทะเลที่มีแนวโน ้มสู งขึ้นอย ่างต ่อเนื่อง

ได้ส่งผลกระทบต่อทรัพยากรธรรมชาติ เช่น แนวปะการัง ระบบนิเวศทางทะเล รวมทั้งความสมบูรณ์

และความหลากหลายทางชีวภาพ จึงได้มีการอนุรักษ์และจัดการอย่างมีมาตรฐาน โดยด�าเนินการในพื้นที่

น�าร่องในอุทยานแห่งชาตินพรัตน์ธารา-หมู่เกาะพีพี หรือ “พีพีโมเดล” เพื่อจัดระเบียบการท่องเที่ยว จัดระบบ

การจัดเก็บรายได้ ฟื ้นฟูทรัพยากร โดยสร้างความร่วมมือกับทุกภาคส่วนในพื้นที่ ซึ่งผลการด�าเนินงาน

ประสบผลส�าเรจ็เป็นอย่างด ีทรพัยากรธรรมชาตไิด้รบัการคุม้ครองและฟ้ืนฟ ูสร้างความปลอดภยัแก่นกัท่องเทีย่ว

สร้างภาพลักษณ์ที่ดีต่อการท่องเที่ยว และสร้างความเชื่อมั่นให้ผู้ประกอบการ ประชาชน และองค์กรต่าง ๆ

ทั้งนี้ ได้ก�าหนดให้ขยายผลการด�าเนินการในอุทยานแห่งชาติที่มีศักยภาพ ได้แก่ อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลัน

อุทยานแห่งชาติอ่าวพังงา และอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์

“จัดระเบียบการท่องเที่ยว

ทางทะเล และจัดท�าแนวทาง

บริหารจัดการเพื่อพัฒนา

อุทยานแห่งชาติในระยะ ๒๐ ปี”

Page 9: นโยบายข้อ ๙ - soc.go.thนโยบายข อ ๙ 342 รายงานผลการดำาเน นงานของร ฐบาล พลเอก

นโยบายข้อ ๙

349รายงานผลการดำาเนินงานของรัฐบาลพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี

ปีที่ ๒ (๑๒ กันยายน ๒๕๕๘-๑๒ กันยายน ๒๕๕๙)

ทั้งนี้ เพื่อให้การพัฒนาอุทยานแห่งชาติเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ สามารถรองรับ ดึงดูด

และสร้างความประทับใจแก่นักท่องเที่ยวได้ จึงได้จัดท�าแนวทางการบริหารจัดการอุทยานแห่งชาติ ๒๐ ปี

(ปี ๒๕๖๐-๒๕๗๙) โดยก�าหนดแนวทางด�าเนินการดังนี้ ๑) ศึกษาวิจัยความหลากหลายทางชีวภาพที่โดดเด่น

๒) จัดเกรดอุทยานแห่งชาติ ๓) ยกระดับคุณภาพอุทยานแห่งชาติ และ ๔) ปรับปรุงการบริหารจัดการ

พร้อมทั้งจัดท�าแผนแม่บทอุทยานแห่งชาติแบบบูรณาการ พ.ศ. ๒๕๕๙–๒๕๖๓ เพื่อให้การบริหารจัดการ

อุทยานแห่งชาติมีประสิทธิภาพตามมาตรฐาน และเพื่อเป็นกรอบการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวให้สู่มาตรฐานสากล

การด�าเนินการเรื่องการเร่งปกป้องและฟื ้นฟูพื้นที่อนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้และสัตว์ป่ายังรวมถึง

เรื่องของการหยุดยั้งการบุกรุกท�าลายทรัพยากรป่าไม้ (แผนปฏิบัติการและมาตรการป้องกันและปราบปราม

การลกัลอบบกุรกุพืน้ทีป่่า และการทวงคนืพืน้ทีป่่าไม้ทีถ่กูบกุรกุปลกูยางพารา) การจดัการป่าต้นน�้าเสือ่มสภาพ

บนพื้นที่สูงชัน (เขาหัวโล้น) และการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการดูแลรักษาทรัพยากรป่าไม้

รายละเอียดผลการด�าเนินการในเรื่องนี้ปรากฏอยู่ในการแก้ไขปัญหาเร่งด่วนที่ส�าคัญของประเทศ ข้อ ๔

การป้องกันแก้ไขปัญหาการบุกรุกพื้นที่ป่าไม้

๒. การอนุรักษ์และใช้ประโยชน์จากทรัพยากรชีวภาพและความหลากหลาย

ทางชีวภาพอย่างยั่งยืน

๒.๑ การจัดการให้เกิดผลผลิตสัตว์นำ้าในแหล่งนำ้าธรรมชาติ โดยผลิตและปล่อยพันธุ ์สัตว์น�้า

ลงในแหล่งน�้าธรรมชาติแล้วกว่า ๑,๗๐๕.๕๖ ล้านตัว ได้แก่ สัตว์น�้าจืด เช่น กุ้งก้ามกราม ปลา และสัตว์น�้าอื่น ๆ

สัตว์น�้าชายฝั่ง เช่น กุ้งทะเล ปู หอย สัตว์น�้าปรับปรุงพันธุ์ เช่น กุ้งก้ามกราม กุ้งทะเล ปลาตะเพียนขาว

๒.๒ การจัดทำาแผนแม่บทบูรณาการจัดการความหลากหลายทางชีวภาพ พ.ศ. ๒๕๕๘-๒๕๖๔

เนื่องจากความหลากหลายทางชีวภาพสนับสนุนและสร้างความเข้มแข็งให้แก่บทบาทหน้าที่ของระบบนิเวศ

และบริการของระบบนิเวศที่จ�าเป็นต่อความเป็นอยู่ที่ดีของมนุษย์ ความมั่นคงทางด้านอาหาร สุขอนามัย

สนับสนุนวิถีชุมชน และการพัฒนาเศรษฐกิจ รวมทั้งขจัดความยากจน รัฐบาลจึงได้ตระหนักถึงปัญหา

การสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ และจัดท�าแผนแม่บทบูรณาการจัดการความหลากหลายทางชีวภาพ

พ.ศ. ๒๕๕๘-๒๕๖๔ ขึ้น ซึ่งเป็นแผนหลักที่ใช้ในการก�าหนดทิศทางและกรอบการด�าเนินงานบริหารจัดการ

ความหลากหลายทางชีวภาพของหน่วยงานและภาคส่วนที่เกี่ยวข้องของประเทศ โดยได้ผนวกแผนปฏิบัติการ

จัดการความหลากหลายทางชีวภาพ พ.ศ. ๒๕๕๘-๒๕๕๙ ที่จะใช้ขับเคลื่อนการด�าเนินการตามแผนแม่บทฯ

เพื่อให้บรรลุเป้าหมายระดับชาติที่ก�าหนดไว้ในช่วงแรกในปี ๒๕๕๙ ไว้ด้วยแล้ว โดยขณะนี้อยู่ระหว่างจัดท�า

ร่างแผนปฏิบัติการจัดการความหลากหลายทางชีวภาพ พ.ศ. ๒๕๖๐-๒๕๖๔

Page 10: นโยบายข้อ ๙ - soc.go.thนโยบายข อ ๙ 342 รายงานผลการดำาเน นงานของร ฐบาล พลเอก

นโยบายข้อ ๙

350 รายงานผลการดำาเนินงานของรัฐบาลพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีปีที่ ๒ (๑๒ กันยายน ๒๕๕๘-๑๒ กันยายน ๒๕๕๙)

๓. การพัฒนาระบบบริหารจัดการที่ดินและแก้ไขปัญหาการบุกรุกที่ดินของรัฐ

โดยยึดแนวพระราชด�าริที่ให้ประชาชนสามารถอยู่ร่วมกับป่าได ้

มีการด�าเนินการออกหนังสืออนุญาตให้เข้าท�าประโยชน์ในเขตนิคมสร้างตนเอง (น.ค.๓) โดยได้ออก เอกสารสิทธิ์ น.ค.๓ ให้แก่สมาชิกนิคมสร้างตนเอง รวมทั้งสิ้น ๑,๒๑๖ ราย รวม ๑,๕๒๐ แปลง การด�าเนินการเรื่องการพัฒนาระบบบริหารจัดการที่ดินและแก้ไขปัญหาการบุกรุกที่ดินของรัฐ โดยยึดแนวพระราชด�าริที่ ให ้ประชาชนสามารถ อยู่ร่วมกับป่าได้ยังรวมถึงเรื่องของการบริหารจัดการที่ดิน รายละเอียดผลการด�าเนินการในเรื่องนี้ปรากฏอยู่ในนโยบายข้อ ๓ การลดความเหลื่อมล�้าของสังคม และการสร้างโอกาสการเข้าถึงบริการของรัฐ ข้อ ๗ การแก้ไขปัญหาการไร้ที่ดินท�ากินของเกษตรกรและการรุกล�้าเขตป่าสงวนแห่งชาติ

๔. การบริหารจัดการทรัพยากรน�้ าของประเทศให ้ เป ็นเอกภาพในทุกมิต ิ

ทั้งเชิงปริมาณและคุณภาพ

การด�าเนินการเรื่องการบริหารจัดการทรัพยากรน�้าของประเทศให้เป็นเอกภาพในทุกมิติทั้งเชิงปริมาณและคุณภาพ ประกอบไปด้วย การบริหารจัดการน�้าตามแผนยุทธศาสตร์การบริหารจัดการทรัพยากรน�้า (พ.ศ. ๒๕๕๘-๒๕๖๙) การแก้ไขปัญหาภยัแล้ง การอนรุกัษ์ฟ้ืนฟแูหล่งน�า้ การบรหิารจดัการน�า้ตามแผนการพฒันา แหล่งน�า้บาดาล และการบรหิารจดัการน�้าให้เกษตรกรในพืน้ทีช่ลประทาน รายละเอยีดผลการด�าเนนิการในเรือ่งนี้ ปรากฏอยูใ่นการแก้ไขปัญหาเร่งด่วนทีส่�าคญัของประเทศ ข้อ ๓ การแก้ไขปัญหาภยัแล้งและการบรหิารจดัการน�า้

๕. การเร่งรัดการควบคุมมลพิษทั้งทางอากาศ ขยะ และน�้าเสีย ที่เกิดจากการผลิต

และบริโภค เพื่อสร้างคุณภาพสิ่งแวดล้อมที่ดีให้แก่ประชาชน

๕.๑ การยกระดับความสามารถในการแข่งขันด้านอุตสาหกรรมเพื่อการผลิตที่ เป ็นมิตร กับสิ่งแวดล้อม โดยมีโครงการและการด�าเนินการที่ส�าคัญ ดังนี้ ๕.๑.๑ โครงการอุตสาหกรรมทั่วไทย ร่วมใจจัดการขยะอุตสาหกรรม เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชเนื่องในโอกาสทรงเจริญพระชนมพรรษา ๘๘ พรรษา และสร้างความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องในการจัดการขยะอุตสาหกรรมให้แก่สถานประกอบการ รวมทั้งเพื่อให้มีมาตรการด้านกฎหมายที่มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น เพื่อจะได้น�ากากอุตสาหกรรมเข้าสู่ระบบมากขึ้น ๕.๑.๒ โ ค ร งก า ร เร ่ ง รั ด ก า รนำ า กากอตุสาหกรรมเข้าสูร่ะบบ ได้จดัท�าแผนแม่บทระยะ ๕ ปี (พ.ศ. ๒๕๕๘-๒๕๖๒) เพื่อแก้ไขปัญหาการลักลอบทิ้งกากอุตสาหกรรม ปัจจุบันสามารถน�ากากเข้าสู ่ ระบบแล้วประมาณ ๒๗.๗๒ ล้านตัน แบ่งเป็น ของเสียอันตราย ๑.๗๖ ล ้านตัน และของเสีย ไม่อันตราย ๒๕.๙๖ ล้านตัน จัดการกากอุตสาหกรรมที่เป็นของเสียอันตรายแล้ว ๑.๑๑ ล้านตัน

“ออกหนังสืออนุญาตให้เข้าท�า

ประโยชน์ในเขตนิคมสร้างตนเอง

๑,๒๑๖ ราย”

Page 11: นโยบายข้อ ๙ - soc.go.thนโยบายข อ ๙ 342 รายงานผลการดำาเน นงานของร ฐบาล พลเอก

นโยบายข้อ ๙

351รายงานผลการดำาเนินงานของรัฐบาลพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี

ปีที่ ๒ (๑๒ กันยายน ๒๕๕๘-๑๒ กันยายน ๒๕๕๙)

๕.๑.๓ โครงการแก ้ ไขปรับปรุ ง

และส่งเสรมิอตุสาหกรรมพลาสตกิรไีซเคลิเพือ่จดัการ

สภาพแวดล้อมพร้อมก้าวเข้าสู่อุตสาหกรรมสีเขียว

อย่างยั่งยืน มีวัตถุประสงค์เพื่อก�าหนดแนวทาง

การบริหารการผลิตและการใช้ผลิตภัณฑ์พลาสติก

ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและมีประสิทธิภาพ รวมทั้ง

สร ้างความตระหนักในการจัดการขยะพลาสติก

อย่างเหมาะสม ปัจจุบันได้ด�าเนินการศึกษาวิเคราะห์

ข ้อมูลการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมตลอด

วัฏจักรชีวิต (Life Cycle Assessment) ของผลิตภัณฑ์พลาสติกที่รีไซเคิลและไม่รีไซเคิล รวบรวมข้อมูล

การบรหิารจดัการผลติภณัฑ์พลาสตกิ ด้านการผลติ การบรโิภค และการน�ากลบัมาใช้ใหม่ และจดักจิกรรมต่าง ๆ

เพื่อสนับสนุนการแยกขยะเพื่อน�ากลับมาใช้ประโยชน์ใหม่หรือน�าไปแปรสภาพเพื่อน�ากลับมาใช้ใหม่

๕.๑.๔ โครงการเมืองอุตสาหกรรม

เชิงนิเวศ เพื่อก�าหนดรูปแบบการพัฒนาตัวอย่าง

เมืองอุตสาหกรรมเชิงนิ เวศตามเป ้าหมายของ

กรอบยทุธศาสตร์ประเทศ และจดัท�าแผนแม่บทการพฒันา

ยกระดับนิคมอุตสาหกรรมสู ่ เมืองอุตสาหกรรม

เชิงนิเวศของนิคมอุตสาหกรรม ๑๑ แห่ง ใน ๘ จังหวัด

รวมทั้งประเมินผลการเป็นเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ

ระดับ Eco Champion ในนิคมอุตสาหกรรม

ในพื้นที่เป้าหมาย ทั้งนี้ มีนิคมอุตสาหกรรม ๘ แห่ง

ได้รับการรับรองเป็นเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศระดับ

Eco Champion แล้ว

๕.๑.๕ ส ่ ง เ สริ มและผลั กดั น ให ้

อุตสาหกรรมเหมืองแร่และอุตสาหกรรมพื้นฐาน

มุ ่งสู ่มาตรฐานเหมืองแร่สีเขียว โดยการเชิญชวน

ให้ผู้ประกอบการน�าเกณฑ์มาตรฐานความรับผิดชอบต่อสังคม (CSR-DPIM) ไปประยุกต์ใช้ในสถานประกอบการ

ซึ่งมีผู้ประกอบการรายใหม่ที่ผ่านเกณฑ์การประเมิน จ�านวน ๑๑ ราย และผู้ประกอบการรายเดิมที่ผ่านเกณฑ์

การประเมิน จ�านวน ๙ ราย

๕.๒ การแก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศ

๕.๒.๑ แก ้ ไขป ัญหาหมอกควัน

ปี ๒๕๕๙ มีผลการด�าเนินการ ดังนี้

(๑) จัดท�าแผนปฏิบัติการ

ป้องกันและแก้ไขปัญหาไฟป่า การเผาในที่ โล ่ง

และหมอกควันภาคเหนือ ปี ๒๕๕๙ ซึ่งประกอบด้วย

๓ มาตรการ ได้แก่ มาตรการเตรยีมการ มาตรการรบัมอื

(ระยะก่อนวิกฤตและระยะวิกฤต) และมาตรการฟื้นฟู

และสร้างความยั่งยืน

“จัดท�าแผนแม่บทการพัฒนา

ยกระดับนิคมอุตสาหกรรมสู่

เมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ

มีนิคมอุตสาหกรรม ๘ แห่ง ได้รับ

การรับรองเป็นเมืองอุตสาหกรรม

เชิงนิเวศระดับ Eco Champion”

Page 12: นโยบายข้อ ๙ - soc.go.thนโยบายข อ ๙ 342 รายงานผลการดำาเน นงานของร ฐบาล พลเอก

นโยบายข้อ ๙

352 รายงานผลการดำาเนินงานของรัฐบาลพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีปีที่ ๒ (๑๒ กันยายน ๒๕๕๘-๑๒ กันยายน ๒๕๕๙)

(๒) เตรียมการจัดท�า Road Map ความร่วมมืออาเซียนเพื่อควบคุมมลพิษหมอกควัน

ข้ามพรมแดนอย่างเป็นรูปธรรม มีเป้าหมาย แนวทางปฏิบัติ และกรอบระยะเวลาที่ชัดเจน โดยได้ยกร่าง

Road Map อาเซยีนปลอดหมอกควนั (ASEAN Haze Free Road Map) เพือ่เป็นกรอบการด�าเนนิงานของอาเซยีน

ในการแก้ไขปัญหามลพิษหมอกควันข้ามแดน และส่งให้หน่วยงานทั้งในและต่างประเทศพิจารณาเสนอ

ความเห็นแล้ว

(๓) ก�าหนดมาตรการรบัมอืในช่วงก่อนวกิฤต โดยให้หน่วยงานทีเ่กีย่วข้องเน้นการปฏบิตัิ

ในพื้นที่จริง รณรงค์สร้างจิตส�านึก ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมให้ลดและงดการเผา เน้นการป้องกันก่อนเกิดไฟ

หากเกิดไฟให้รีบดับก่อนลุกลาม ถ้าไม่ได้ผลให้บังคับใช้กฎหมาย

(๔) จดักจิกรรมรณรงค์ประชาสมัพนัธ์เพือ่ป้องกนัและแก้ไขปัญหาไฟป่าและหมอกควนั

ณ อ�าเภอปาย จังหวัดแม่ฮ่องสอน เมื่อวันที่ ๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๙

(๕) จัดตั้งศูนย์อ�านวยการป้องกันและแก้ไขปัญหาไฟป่าและหมอกควันภาคเหนือ

และศูนย์ติดตามสถานการณ์ (War Room) เพื่อติดตามสถานการณ์และรายงานการปฏิบัติงาน

(๖) จัดตั้งหน่วยปฏิบัติการฝนหลวงในพื้นที่ภาคเหนือ ๒ หน่วย คือ หน่วยปฏิบัติการ

ฝนหลวงจังหวัดเชียงใหม่และหน่วยปฏิบัติการฝนหลวงจังหวัดพิษณุโลก โดยขึ้นบินปฏิบัติการฝนหลวง

จ�านวน ๖๕ เที่ยวบิน มีปริมาณการใช้สารฝนหลวง ๑๘.๙ ตัน

(๗) จัดประชุมเชิงปฏิบัติการสรุปผลการปฏิบัติงานป้องกันและแก้ไขปัญหาหมอกควัน

ภาคเหนือ ปี ๒๕๕๙ และถอดบทเรียน (After Action Review: AAR) เพื่อวิเคราะห์การด�าเนินการแก้ไขปัญหา

หมอกควันในพื้นที่ภาคเหนือ และก�าหนดแผนงานให้สอดคล้องในปี ๒๕๖๐ เมื่อวันที่ ๒๗ มิถุนายน ๒๕๕๙

ณ จังหวัดเชียงราย พร้อมทั้งจัดท�าแผนปฏิบัติการป้องกันและแก้ไขปัญหาหมอกควันภาคเหนือ ปี ๒๕๖๐

ซึ่งจะมีก�าหนดแล้วเสร็จในเดือนพฤศจิกายน ๒๕๕๙ นอกจากนี้ จะมีการจัดประชุมทวิภาคีระดับรัฐมนตรี

ระหว่าง ไทย-เมียนมา ไทย-ลาว และ ไทย-กัมพูชา เพื่อหารือร่วมกันในการแก้ไขปัญหาหมอกควันข้ามแดน

๕.๒.๒ แก้ไขปัญหามลพษิทางอากาศ

(๑) จัดท�าแผนปฏิบัติการ

ในการก�ากับดูแล ติดตาม ควบคุม เพื่อมิให้องค์การ

ขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) ปล่อยรถโดยสาร

และรถร่วมบริการของเอกชนออกวิ่งโดยปล่อยควันด�า

เกินมาตรฐาน โดย ขสมก. ได้หยุดเดินรถโดยสาร

ที่มีสภาพเก่าทรุดโทรม ไม่ปลอดภัย และปล่อยควันด�า

เกินมาตรฐาน รวมทั้งสิ้น ๒๓๒ คัน ขณะนี้อยู่ระหว่าง

การขอปลดระวางรถโดยสาร

(๒) จัดท�ามาตรการลดและควบคุมฝุ่นละอองจากแหล่งก�าเนิดหลักของฝุ่นละออง

ในพื้นที่เขตควบคุมมลพิษ ต�าบลหน้าพระลาน อ�าเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสระบุรี และจัดท�ามาตรการ

ติดตามประเมินผลการปฏิบัติงานดังกล่าว นอกจากนี้ อยู่ระหว่างยกร่างแผนปฏิบัติการเพื่อลดและขจัดมลพิษ

ในเขตควบคุมมลพิษ ต�าบลหน้าพระลานฯ พ.ศ. ๒๕๖๐-๒๕๖๔

(๓) ก�าหนดมาตรการควบคุมและติดตามการด�าเนินงานและแก้ไขปัญหาสารอินทรีย์

ระเหยง่ายในพื้นที่เขตควบคุมมลพิษมาบตาพุด จังหวัดระยอง อย่างต่อเนื่อง

Page 13: นโยบายข้อ ๙ - soc.go.thนโยบายข อ ๙ 342 รายงานผลการดำาเน นงานของร ฐบาล พลเอก

นโยบายข้อ ๙

353รายงานผลการดำาเนินงานของรัฐบาลพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี

ปีที่ ๒ (๑๒ กันยายน ๒๕๕๘-๑๒ กันยายน ๒๕๕๙)

๕.๓ การแก้ไขปัญหามลพิษทางนำ้า

๕.๓.๑ จัดท�ายุทธศาสตร์การจัดการคุณภาพน�้าประเทศไทย โดยอยู ่ระหว่างการจัดท�า

ร่างยุทธศาสตร์ฯ และจัดท�า Road Map

๕.๓.๒ แก้ไขปัญหาน�้าเสียชุมชน มีการด�าเนินการ ดังนี้

(๑) ส่งเสริมให้มีระบบบ�าบัด

น�้าเสียรวม ซึ่งปัจจุบันมีจ�านวนรวมทั้งสิ้น ๑๐๑ แห่ง

เป็นระบบทีก่่อสร้างแล้วเสรจ็ ๙๖ แห่ง อยูร่ะหว่างก่อสร้าง

๔ แห่ง และชะลอโครงการ ๑ แห่ง (จงัหวดัสมทุรปราการ)

ซึง่ระบบบ�าบดัน�า้เสยีดงักล่าวมคีวามสามารถในการรองรบั

น�้าเสียประมาณ ๓.๒ ล้านลูกบาศก์เมตรต่อวัน

คิดเป็นร้อยละ ๓๓.๖๘ ของปริมาณน�้าเสียทั้งหมด

๙.๕ ล้านลูกบาศก์เมตรต่อวัน

(๒) ก�าหนดให้มีการจัดเก็บ

ค่าบริการบ�าบัดน�้าเสีย

(๓) ยกร่างแผนแม่บทการบริหารจัดการน�้าเสียชุมชนของประเทศ โดยปัจจุบัน

อยู่ระหว่างเตรียมการจัดประชุมเพื่อรับฟังความคิดเห็นจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

๕.๓.๓ จัดการน�้าเสีย ณ แหล่งก�าเนิด มีการด�าเนินการ ดังนี้

(๑) ก�าหนดมาตรฐานและประเภทของแหล่งก�าเนดิมลพษิทีจ่ะต้องถกูควบคมุการระบาย

น�้าทิ้ง ๑๐ ประเภท ได้แก่ อาคารบางประเภทและบางขนาด (อาคารชุด โรงแรม โรงพยาบาล สถาบันการศึกษา

ส�านักงาน ห้างสรรพสินค้า ตลาด ร้านอาหาร หอพัก และสถานบริการ) ที่ดินจัดสรร สถานีบริการน�้ามันเชื้อเพลิง

โรงงานอุตสาหกรรมและนิคมอุตสาหกรรม ฟาร์มสุกร ท่าเทียบเรือประมง สะพานปลาและกิจการแพปลา

บ่อเพาะเลีย้งสตัว์น�า้ชายฝ่ัง บ่อเพาะเลีย้งสตัว์น�า้กร่อย บ่อเพาะเลีย้งสตัว์น�า้จดื และระบบบ�าบดัน�า้เสยีรวมชมุชน

(๒) บังคับใช้กฎหมายกับแหล่งก�าเนิดมลพิษที่ถูกควบคุม

(๓) ก�าหนดมาตรการและเกณฑ์การปฏิบัติที่เกี่ยวข้องกับการจัดการมลพิษทางน�้า

(๔) เสริมสร้างศักยภาพให้แก่ผู ้ประกอบการและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

ในการจัดการน�้าเสียให้เป็นไปตามมาตรฐานที่ก�าหนด

๕.๓.๔ แก้ไขปัญหาน�า้เสยีอตุสาหกรรม

อยู ่ระหว่างการจัดท�ากรอบแนวทางการอนุญาต

ระบายมลพิษ การจัดท�า Road Map การผลักดันภาษ ี

มลพิษทางน�้า การปรับปรุงแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้อง

กับแหล่งก�าเนิดมลพิษประเภทโรงงานอุตสาหกรรม

และการจัดท�าร่างมาตรฐานควบคุมการระบายน�้าทิ้ง

จากโรงงานอุตสาหกรรมเกี่ยวกับการผลิตน�้าจืด

จากน�้าทะเล

Page 14: นโยบายข้อ ๙ - soc.go.thนโยบายข อ ๙ 342 รายงานผลการดำาเน นงานของร ฐบาล พลเอก

นโยบายข้อ ๙

354 รายงานผลการดำาเนินงานของรัฐบาลพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีปีที่ ๒ (๑๒ กันยายน ๒๕๕๘-๑๒ กันยายน ๒๕๕๙)

๕.๓.๕ แก้ไขปัญหาน�้าเสียเกษตรกรรม อยู่ระหว่างการปรับปรุงร่างหลักเกณฑ์การจัดการ

ฟาร์มสุกรที่ดีและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

๕.๓.๖ แก้ไขปัญหาคุณภาพน�้าในพื้นที่ลุ่มน�้าวิกฤตหรือพื้นที่เสี่ยง

(๑) อยู่ระหว่างการปรับปรุงร่างแผนปฏิบัติการป้องกัน แก้ไข และฟื้นฟูพื้นที่ลุ่มน�้า

ท่าจีนและพื้นที่ลุ่มน�้าเจ้าพระยา

(๒) อยู่ระหว่างเตรียมการจัดท�าแผนปฏิบัติการเพื่อการป้องกันและแก้ไขอันตราย

อันเกิดจากการแพร่กระจายของมลพิษทางน�้าจากกิจกรรมเหมืองแร่

การด�าเนินการเรื่องเร่งรัดการควบคุมมลพิษทั้งทางอากาศ ขยะ และน�า้เสีย ที่เกิดจากการผลิต

และบริโภค เพื่อสร้างคุณภาพสิ่งแวดล้อมที่ดีให้แก่ประชาชน ยังรวมถึงเรื่องการจัดการขยะมูลฝอย

และของเสียอันตราย รายละเอียดผลการด�าเนินการในเรื่องนี้ปรากฏอยู่ในการแก้ไขปัญหาเร่งด่วนที่ส�าคัญ

ของประเทศ ข้อ ๕ การจัดการขยะมูลฝอยและของเสียอันตราย