91
พุทธพาณิชย : พระเครื่อง โดย นางสาวบุศรา สวางศรี วิทยานิพนธนี้เปนสวนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาประวัติศาสตรศิลปะ ภาควิชาประวัติศาสตรศิลปะ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร ปการศึกษา 2549 ลิขสิทธิ์ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร

พุทธพาณิ ชยพระเคร : ื่ อง...บ ณฑ ตว ทยาล ย มหาว ทยาล ยศ ลปากร อน ม ต ใศ กษาตามหล

  • Upload
    others

  • View
    7

  • Download
    0

Embed Size (px)

Citation preview

Page 1: พุทธพาณิ ชยพระเคร : ื่ อง...บ ณฑ ตว ทยาล ย มหาว ทยาล ยศ ลปากร อน ม ต ใศ กษาตามหล

พุทธพาณิชย : พระเครื่อง

โดย นางสาวบุศรา สวางศร ี

วิทยานิพนธนีเ้ปนสวนหนึง่ของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาประวัติศาสตรศิลปะ ภาควชิาประวตัิศาสตรศิลปะ

บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร ปการศึกษา 2549

ลิขสิทธ์ิของบณัฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร

Page 2: พุทธพาณิ ชยพระเคร : ื่ อง...บ ณฑ ตว ทยาล ย มหาว ทยาล ยศ ลปากร อน ม ต ใศ กษาตามหล

BUDDHISTIC COMMERCE : AMULET IMAGE

By

Budsara Sawangsri

A Thesis Submitted in Partial Fulfillment of the Requirements for the Degree MASTER OF ARTS

Department of Art History Graduate School

SILPAKORN UNIVERSITY 2006

Page 3: พุทธพาณิ ชยพระเคร : ื่ อง...บ ณฑ ตว ทยาล ย มหาว ทยาล ยศ ลปากร อน ม ต ใศ กษาตามหล

บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร อนุมัติใศึกษาตามหลักสูตรปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาประวัติศาสตรศิลปะหวิทยานิพนธเรื่อง “พุทธพาณิชย : พระเครื่อง” เสนอโดย นางสาวบุศรา สวางศรี เปนสวนหนึ่งของการ

…………………………………………….

(รองศาสตราจารย ดร.ศิริชัย ชินะตังกูร) คณบดบีัณฑิตวิทยาลยั วันที่.......... เดือน...................... พ.ศ. ............ ผูควบคุมวิทยานิพนธ ศาสตราจารย ดร. สันติ เล็กสุขุม

คณะกรรมการตรวจสอบวิทยานิพนธ ……………………………………… ประธานกรรมการ (รองศาสตราจารย ดร. ศักดิ์ชัย สายสิงห) ………… /…………./…………. ……………………………………… กรรมการ (ศาสตราจารย ดร.สันติ เล็กสุขุม) ………… /…………./…………. ……………………………………… กรรมการ (ศาสตราจารย ปรีชา ชางขวัญยืน) ………… /…………./………….

Page 4: พุทธพาณิ ชยพระเคร : ื่ อง...บ ณฑ ตว ทยาล ย มหาว ทยาล ยศ ลปากร อน ม ต ใศ กษาตามหล

45107213 : สาขาวิชาประวัติศาสตรศิลปะ คําสําคัญ : พุทธพาณิชย / พระเครื่อง บุศรา สวางศรี : พุทธพาณิชย : พระเครื่อง อาจารยผูควบคุมวิทยานิพนธ : ศ. ดร.สันติ เล็กสุขุม. 82 หนา. การวิจัยคร้ังนี้มีวัตถุประสงคเพื่อศึกษาที่มา พัฒนาการแนวคิดจากพระพิมพสูพระเครื่อง กระบวนการและปจจัยการเกิดพุทธพาณิชย ศึกษาชื่อพระเครื่องที่แสดงถึงแนวคิดและวัฒนธรรมเฉพาะกลุม รวมทั้งเพื่อเรียนรูการประยุกตใชพระพิมพหรือพระเครื่องเปนหลักฐานขอมูลทางประวัติศาสตรที่สะทอนสังคมในชวงเวลานั้น อันเกิดจากความสําคัญของพระเครื่องที่เขามามีสวนผูกพันกับวิถีชีวิตของคนไทย ขั้นตอนวิธีการดําเนินการศึกษา มีการเก็บขอมูลทั้งจากหลักฐานทางเอกสารอันประกอบดวย จารึก ตํานาน เอกสารอื่นๆ ที่เกี่ยวของเชนจดหมายเหตุ บันทึกตางๆ ศึกษาลักษณะพระพิมพพระเครื่องที่เปนที่นิยมในวงการพุทธพาณิชยจากงานเขียนที่ไดรับการยอมรับในกลุมนักสะสม รวมทั้งสังเกตการณการซื้อขายจากตลาดพระเครื่องและกลวิธีการโฆษณาเพื่อประชาสัมพันธพระเครื่อง โดยผลการวิจัยพบวา 1. แนวคิดความเชื่อเร่ืองพระเครื่องเกิดจากความศรัทธาในพระพุทธรูปอันเปนตัวแทนพระพุทธเจาเชื่อมโยงกับความเชื่อทางไสยศาสตรอันมาจากอาถรรพเวทในศาสนาพราหมณ ซ่ึงสามารถตอบรับการขาดความรูสึกเชื่อมั่น หรือไมมั่นคงทางความรูสึกของมนุษย 2. การโฆษณาประชาสัมพันธ การวางแผนทางการตลาด การจัดอันดับ และการบอกเลาประสบการณมีผลตอความนิยมพระเครื่อง สวนอายุสมัยและคุณคาทางประวัติศาสตรเปนสวนประกอบที่สําคัญ แตทั้งนี้ก็ขึ้นอยูกับความนิยมเฉพาะกลุม 3. พระพิมพในกรุสมัยโบราณ และพระเครื่องยุคแรกๆ สามารถสะทอนเรื่องราวทางความเชื่อ ประวัติศาสตร สังคม การเมือง และเศรษฐกิจในสมัยนั้นๆ ได ในขณะที่พระเครื่องยุคใหมสรางเพื่อระดมทุนและมีการจัดการเพื่อผลประโยชนทางธุรกิจโดยใชศรัทธาและความเชื่ออันเปนพื้นฐานของสังคมไทยเปนตัวแปรสําคัญที่ทําใหธุรกิจนี้ดําเนินไดในปจจุบันและตลอดไป

ภาควิชาประวตัิศาสตรศิลปะ บัณฑติวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร ปการศึกษา 2549 ลายมือช่ือนักศึกษา …………………………………………. ลายมือช่ืออาจารยผูควบคุมวทิยานิพนธ……………………………………..

Page 5: พุทธพาณิ ชยพระเคร : ื่ อง...บ ณฑ ตว ทยาล ย มหาว ทยาล ยศ ลปากร อน ม ต ใศ กษาตามหล

45107213 : MAJOR : ART HISTORY KEY WORD : BUDDHISTIC COMMERCE / AMULET IMAGE BUDSARA SWANGSRI : BUDDHISTIC COMMERCE : AMULET IMAGE. THESIS ADVISOR : PROF. SANTI LEKSUKUM, Ph.D. 82 pp. This research is aimed to study how the “votive tablet” concept was changed to the “amulet” concept, the factors resulting in the existence of Buddhist commerce and names of those amulets reflecting the belief and culture of each group. Also, the researcher tried to comprehend society in each period through the studies of amulets and votive tablets. To accomplish the study, the researcher analyzed literary evidence such as inscriptions, legends and chronicles. Moreover, the articles on amulets and votive tablets written by creditable writers were studied. The observation of amulet markets and their advertisements was carried out. The results of the research are as follows :

1. The presence of the “amulet” concept is related to the piety in Buddha images and the belief in the superstition developed from Atharvaveda of Brahmanism. The latter seems to have been spirit reassurance for people.

2. Advertisements, marketing, arrangement of famous and experiences of each people toward various kinds of amulets have a great impact on the popularity of amulets. Their age and historical values are also significant factors.

3. The votive tablets that were enshrined in crypts in the ancient time and amulets in the early period of their existence can portray the belief, history, politics and economics of their period. However, the amulets of the recent periods have been executed in order to support the business purpose. In order to maintain the amulet business, the latter has made use of Thai people’s piety and belief.

______________________________________________________________________________ Department of Art History Graduate School, Silpakorn University Academic Year 2006 Student’s signature…………………………….. Thesis Advisor’s signature…………………………………..

Page 6: พุทธพาณิ ชยพระเคร : ื่ อง...บ ณฑ ตว ทยาล ย มหาว ทยาล ยศ ลปากร อน ม ต ใศ กษาตามหล

กิตติกรรมประกาศ การศึกษาวิทยานิพนธฉบับนี้จะสําเร็จไมไดหากขาดหลายๆ ทาน ที่คอยใหความชวยเหลือ ดังตอไปนี้ ขอบพระคุณความรักของพอกับแมที่เขาใจ และใหการสงเสริมสนับสนุนลูกมาตลอด รวมทั้งเปนกําลังใจที่สําคัญที่สุดในการทํางานครั้งนี้ ขอบพระคุณศาสตราจารย ดร.สันติ เล็กสุขุม ที่เปดประเด็นหัวขอวิทยานิพนธ ทั้งยังรับเปนอาจารยที่ปรึกษาที่คอยใหความชวยเหลือมาโดยตลอด และไมไดเปนแตเพียง “ครู” คนแรกในการศึกษาประวัติศาสตรศิลปะ หากแตยังใหแนวคิดในการทํางาน และการดําเนินชีวิตกับผูวิจัยตลอดระยะเวลาที่เปนนักศึกษาศิลปากร ขอบพระคุณรองศาสตราจารย ดร.ศักดิ์ชัย สายสิงห ที่ใหความรูทางประวัติศาสตรศิลปะ และแนะนําขั้นตอนการดําเนินเรื่องตางๆ เกี่ยวกับการทําวิทยานิพนธ ขอบพระคุณ ศาสตราจารยปรีชา ชางขวัญยืน ที่กรุณาใหคําแนะนําเพื่อความสมบูรณของงานและสละเวลาในการเปนกรรมการสอบวิทยานิพนธ ขอบคุณ คุณรังสรรค สวางศรี ที่ใหขอมูลเกี่ยวกับพระเครื่อง การเสนอมุมมองทางความเชื่อของนักสะสมพระเครื่อง และชวยคัดเลือกภาพพระเครื่องที่ใชประกอบการศึกษาซึ่งมีความสําคัญมากสําหรับผูวิจัย ขอบคุณพี่ๆ เพื่อนๆ ทุกคนในรุนที่คอยถามไถถึงความคืบหนาของงาน และแนะนําขั้นตอนตางๆ ที่ทําใหการสงงานเปนไปอยางเรียบรอยไดแก คุณเดนดาว ศิลปานนท อาจารยดวงกมล บุญแกวสุข อาจารยศิริพจน เหลามานะเจริญ คุณภาวิดา จินประพัฒน คุณจตุพร วรวัชรพงศ คุณสมพจน สุขาบูลย คุณเจนจิรา เบญจพงศ และโดยเฉพาะอยางยิ่ง อาจารยอชิรัชญ ไชยพจนพานิชที่ชวยแปลบทคัดยอเปนภาษาอังกฤษ ขอบคุณ คุณพิพัฒน กระแจะจันทร ที่ใหการชวยเหลือในการไดมีโอกาสเขาฟงสัมมนาเกี่ยวกับพระเครื่องที่จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย และคุณภาณุพงศ ชงเชื้อ ที่รับฟง รวมทั้งใหคําแนะนําในการแกปญหาตางๆ ดวยความเปนหวง และเปนกําลังใจใหกับผูวิจัยมาโดยตลอด

Page 7: พุทธพาณิ ชยพระเคร : ื่ อง...บ ณฑ ตว ทยาล ย มหาว ทยาล ยศ ลปากร อน ม ต ใศ กษาตามหล

สารบัญ หนา บทคัดยอภาษาไทย ………………………………………………………………………………. ง บทคัดยอภาษาอังกฤษ ………………………………………………………………………….... จ กิตติกรรมประกาศ ………………………………………………………………………………. ฉ สารบัญภาพ ……………………………………………………………………………………... ญ บทที่ 1 บทนํา……………………………………………………………………………………. 1

ความเปนมาและความสําคัญของปญหา ……………………………………….. 1 สมมติฐานของการศึกษา ………………………………………………………. 3 ขอบเขตการศึกษา ……………………………………………………………... 3 ขั้นตอนการศกึษา …………………………………………………………….... 3 วิธีการศึกษา …………………………………………………………………… 4

2 พระพิมพและพระเครื่องสมัยตางๆ โดยสังเขป ………………………………………… 5 ความหมายของคําวา “พระพมิพ” กับ “พระเครื่อง” …………………………… 5 คติการสรางพระพิมพ …………………………………………………………. 6 วัสดุที่ใชในการสรางพระพิมพ ……………………………………………….. 13 รูปแบบของพระพิมพและพระเครื่องสมัยตางๆ โดยสังเขป ………………….. 18 พระพิมพสมัยทวาราวด ี……………………………………………... 18 พระพิมพสมัยศรีวิชัย ………………………………………………... 20 พระพิมพสมัยลพบุรี ……………………………………….………... 20 พระพิมพสมัยหริภุญไชย ……………………………………………. 26 พระพิมพสมัยเชียงแสน ……………………………………………... 29 พระพิมพสมัยสุโขทัย …………………………………………….…. 30 พระพิมพสมัยอยุธยา ………………………………………………... 34 พระพิมพสมัยรัตนโกสินทร ……………………………………….... 41

3 พัฒนาการแนวคิดจากพระพมิพมาสูพระเครื่องในบริบทของพุทธพาณชิย ……………49 หลักฐานดานลายลักษณอักษร ……………………………………………….. 49 ความหมายความสําคัญระหวางพระเครื่องรางของขลังกับพุทธพาณิชย ….….. 55

4 วิเคราะหช่ือพระเครื่องในมมุมองประวัตศิาสตรศิลปะ ……………………………….. 64

Page 8: พุทธพาณิ ชยพระเคร : ื่ อง...บ ณฑ ตว ทยาล ย มหาว ทยาล ยศ ลปากร อน ม ต ใศ กษาตามหล

บทที่ หนา ปจจัยการเรียกชื่อพระพิมพพระเครื่อง ………………………………………... 64 การเรียกชื่อพระเครื่องที่ผิดไปจากหลักประติมานวิทยา …………………….... 69

5 สรุป ……………………………………………………………………………………. 72 บรรณานุกรม ……………………………………………………………………………………. 74 ประวัติผูวจิัย …………………………………………………………………………………….. 82

Page 9: พุทธพาณิ ชยพระเคร : ื่ อง...บ ณฑ ตว ทยาล ย มหาว ทยาล ยศ ลปากร อน ม ต ใศ กษาตามหล

สารบัญภาพ ภาพที่ หนา

1 พระถํ้าเสือ กรุถํ้าเสือ สุพรรณบุรี ................................................................................. 19 2 พระรวงหลังรางปน กรุวดัมหาธาตุ สุโขทัย ................................................................ 21 3 พระรวงหลังลายผา กรุถํ้ามหาเถร ลพบุรี .................................................................... 22 4 พระหยูาน กรวุัดพระศรีรัตนมหาธาตุ ลพบุรี .............................................................. 23 5 พระยอดขนุพล กรุวัดไก ลพบุรี ............................................................................….. 24 6 พระนารายณทรงปน กรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ ลพบุรี .....................................……. 25 7 พระรอด กรุวดัมหาวนั ลําพนู .................................................................................... 26 8 พระคง กรุวดัพระคง ลําพูน ........................................................................................ 28 9 พระปรกโพธิ์เชียงแสน ............................................................................................... 29 10 พระซุมกอ กรวุัดพกิุล กําแพงเพชร ............................................................................ 30 11 พระเม็ดขนนุ กําแพงเพชร ..................................................................................…… 31 12 พระนางพญาเสนหจันทร กรุวัดตาเถรขึงหนัง สุโขทัย ......................................……. 32 13 พระกําแพงหารอย กําแพงเพชร .............................................................................…. 32 14 พระทามะปราง กรุวดัทามะปราง พิษณุโลก ..............................................…………. 33 15 พระผงสุพรรณ กรุวดัพระศรีรัตนมหาธาตุ สุพรรณบุรี ........................................….. 34 16 พระขุนแผนเคลือบ กรุวัดใหญชัยมงคล พระนครศรีอยุธยา ..................................…. 35 17 พระนางพญา กรุวัดนางพญา พิษณุโลก ..................................................................... 37 18 พระส่ีกร กรุวดัพลายชุมพล สุพรรณบุรี ..................................................................... 38 19 พระมอญแปลง กรุวัดพลายชุมพล สุพรรณบุรี ........................................................... 39 20 พระปรกชุมพล กรุวัดพลายชุมพล สุพรรณบุรี ........................................................... 39 21 พระประคํารอบ กรุวัดพลายชุมพล สุพรรณบุรี …...................................................... 40 22 พระมเหศวร กรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ สุพรรณบุรี .................................................. 40 23 พระโดดรม กรุวัดราชบูรณะ พระนครศรีอยุธยา ….................................................... 41 24 พระสมเด็จฯวดัระฆังฯ พิมพพระประธาน ................................................................. 42 25 เหรียญหลวงปูเอี่ยม วดัหนัง พิมพยันตส่ี .................................................................…43 26 เหรียญหลวงพอจง พิมพหนาใหญ พ.ศ. 2485 .............................................................45 27 เหรียญหลวงพอคูณ วัดบานไร นครราชสีมา รุนโดดตึก .............................………... 45 28 จตุคามรามเทพ รุน พ.ศ. 2530 ...............................……............................................. 46

Page 10: พุทธพาณิ ชยพระเคร : ื่ อง...บ ณฑ ตว ทยาล ย มหาว ทยาล ยศ ลปากร อน ม ต ใศ กษาตามหล

ภาพที ่ หนา 29 เด็กไทยในโรงเรียนคริสตัง บางกอก .....................................................................…. 54 30 รัชกาลที่ 5 ทรงแจกเหรียญเสมาแกราษฎรที่เมืองพิไชย .................................……… 55

Page 11: พุทธพาณิ ชยพระเคร : ื่ อง...บ ณฑ ตว ทยาล ย มหาว ทยาล ยศ ลปากร อน ม ต ใศ กษาตามหล

1

บทท่ี 1 บทนํา

ความเปนมาและความสําคัญของปญหา (Statements and significance of the problem) ทามกลางกระแสสังคมของปจจุบันที่เปนยุควิทยาศาสตรอันเต็มไปดวยความเจริญทางเทคโนโลยีหรือนวัตกรรมสมัยใหม แตในดานความเชื่อและความศรัทธากลับปฏิเสธไมไดเลยวาผูคนในสังคมยังมีความเชื่อเกี่ยวกับสิ่งศักดิ์สิทธิ์วาสามารถบันดาลใหเกิดสิริมงคลหรือความปลอดภัยในชีวิตได หนึ่งในนั้นคือพระเครื่องซึ่งเปนวัตถุมงคลขนาดเล็กสามารถพกพาได สรางดวยวัสดุหลายประเภททั้งดินเผา วาน ผงวิเศษรวมทั้งโลหะผสมตางๆ ทําเปนรูปพระพุทธเจาและพระเกจิอาจารยดวยเทคนิคหลายแบบเปนตนวา ปม หลอ ฉีด หรือกดพิมพจากแมพิมพ สําหรับเทคนิคแบบหลังนี้เปนเทคนิคโบราณที่สามารถผลิตพระไดเปนจํานวนมาก และเปนที่มาของชื่อ “พระพิมพ” กอนที่จะพัฒนาเปนพระเครื่องในสมัยปจจุบัน ตามความเขาใจในปจจุบันคําวา “พระเครื่อง” ดูจะใชในความหมายกวางกวาคําวา “พระพิมพ” เพราะพระเครื่องไมไดมีเฉพาะพระที่ผลิตจากแมพิมพเทานั้น แตจะหมายรวมถึงพระที่สรางดวยเทคนิคอ่ืนๆ เชน หลอ ปม ฉีด ฯลฯ รวมทั้งรูปพระเกจิหรือวัตถุมงคลชนิดอื่นดวย โดยสาเหตุที่พระพิมพกลายมาเปนพระเครื่องนั้น เขาใจวามาจากการนําเอาพระพิมพมาปนกับเครื่องรางของขลัง และเรียกรวมกันเปน “พระเครื่องรางของขลัง” กอนที่จะกรอนมาเหลือเพียง “พระเครื่อง”1 ดังนั้น หากพิจารณาในแงวัตถุพระพิมพกับพระเครื่องจึงนับเปนสิ่งเดียวกัน ในแวดวงวิชาการทางประวัติศาสตรศิลปะและโบราณคดีใชคําวา “พระพิมพ” มากกวา “พระเครื่อง” และเห็นวาพระพิมพเปนวัตถุขนาดเล็กจึงไมสะดวกแกการหาคาทางศิลปะและโบราณคดี2 นอกจากนี้ยังมีขอจํากัดในการศึกษาอีกสองประการคือ เปนงานที่สรางสรรคขึ้นมาจากแมพิมพที่สามารถถอดพิมพออกมาไดมากทําใหงายตอการทําเทียม หรือเส่ียงตอการกําหนดอายุ

1 สรพล โศภิตกุล, สุดยอดพระเครื่อง 1 (กรุงเทพฯ : สํานักพิมพบัวตอง, 2542), 11 ; ตรียัมปวาย

[นามแฝง], ปริอรรถาธิบายแหงพระเครื่องฯ เลม ๑ พระสมเด็จฯ (พระนคร : สํานักพิมพแพรพิทยา, 2508),18 – 19.

2 เปนขอคิดเห็นของศาสตราจารยหลวงบริบาลบุรีภัณฑ ดู ตรียัมปวาย [นามแฝง], “พระเครื่องทางโบราณคดี,” วารสารศิลปากร 6, 3 (2495) : 65 – 70.

Page 12: พุทธพาณิ ชยพระเคร : ื่ อง...บ ณฑ ตว ทยาล ย มหาว ทยาล ยศ ลปากร อน ม ต ใศ กษาตามหล

2

และถึงแมจะเปนโบราณวัตถุอยางแทจริงแตก็เคลื่อนยายได เปนผลใหการตีความจากหลักฐานเพื่อ “อานอดีต” มีขอจํากัดมากยิ่งขึ้น ดังนั้นพระพิมพจึงใชเปนหลักฐานไดเฉพาะที่พบจากการขุดคนหรือขุดแตงทางโบราณคดี ถาพบโดยทั่วๆ ไปมักไมนํามาใชในการศึกษามากนัก หากจําเปนตองกลาวถึงจะใหความสําคัญไดเฉพาะเรื่องรูปแบบเทานั้น อยางไรก็ตาม เราไมอาจปฏิเสธถึงความสําคัญของพระพิมพในฐานะหลักฐานทางประวัติศาสตรได เชน การพบพระพิมพในกรุพระปรางควัดราชบูรณะที่ไมปรากฏรูปแบบทางศิลปกรรมในสมัยอยุธยาตอนปลายเลย3 ซ่ึงเปนหนึ่งในหลายๆ เหตุผลที่สามารถใชคัดคานนักวิชาการบางทานที่กําหนดอายุปรางคประธานวัดราชบูรณะวาสรางสมัยอยุธยาตอนปลาย การศึกษาพระพิมพนอกจากจะศึกษาเรื่องรูปแบบเพื่อการกําหนดอายุแลว ส่ิงที่นาสนใจและยังไมไดรับการศึกษา คือ พัฒนาการของพระพิมพที่เกิดการแปรบทบาทในสังคมจากสิ่งที่สืบทอดพระพุทธศาสนาสูการเปนพระเครื่องซึ่งอยูในฐานะของสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่เชื่อกันวาสามารถดลบันดาลสิริมงคลหรืออานุภาพตางๆ ใหกับผูครอบครอง และในที่สุดไดเกิดเปนความนิยมที่เคลือบแฝงดวยเหตุผลนานัปการ ประกอบดวยความเชื่อ ความศรัทธาผสมผสานกับวัฒนธรรมบริโภคนิยม กลาวคือ พระเครื่องไดกลายเปนสินคาอยางหนึ่งที่ซ้ือขายกัน มีการโฆษณาในรูปแบบตางๆ ทั้งในหนังสือพิมพรายวัน นิตยสารพระเครื่อง เว็บไซตตางๆ รวมทั้งมีการสั่งจองทางธนาคารหรือไปรษณีย การดําเนินการอยางเปนธุรกิจนี้ทําใหเกิดคําวา “พุทธพาณิชย” ซ่ึงกลาวกันวาเปนธุรกิจซื้อขายที่มีเงินหมุนเวียนปละไมต่ํากวา 1,000 ลานบาท4 และโดยเฉพาะอยางยิ่งพระสมเด็จฯ บางพิมพสามารถใชเปนหลักค้ําประกันทรัพยสินที่มีมูลคาถึง 30 ลานบาท สําหรับการศึกษาครั้งนี้จะใชหลักฐานทางเอกสารที่นาเชื่อถืออันระบุถึงการสรางพระพิมพตลอดจนวัตถุประสงคในการสราง (คติการสราง) สมัยตางๆ รวมถึงการวิเคราะหช่ือเรียกพระพิมพแบบตางๆ ที่ใชเรียกกันในวงการพระเครื่องจนกลายเปนวัฒนธรรมทางภาษาเฉพาะกลุมเพื่อส่ือความเขาใจกันนั้นมาตรวจสอบเปรียบเทียบกับลักษณะทางประติมานวิทยา โดยเสนอแนวทางหรือมุมมองทางประวัติศาสตรศิลปะ ซ่ึงเราไมอาจปฏิเสธไดเลยวาพระพิมพหรือพระเครื่องเปนโบราณวัตถุที่เราควรเรียนรูและศึกษาเพิ่มเติมเพื่อหาคําอธิบายที่มากกวารูปแบบศิลปะ แตควรมีมุมมองเพิ่มในเรื่องบริบทของสังคมดวย ซ่ึงนับเปนสิ่งที่นาศึกษาอยูมิใชนอย

3 ดูภาพพระพิมพไดใน กรมศิลปากร, พระพุทธรูปและพระพิมพในกรุพระปรางควัดราชบูรณะ จ.พระนครศรีอยุธยา, (พระนคร : กรมศิลปากร, 2502).

4 วิษณุพงษ หิญชีระนันท, “พระเครื่องกับความเชื่อของสังคมไทย,” The Earth 2000 1, 8 (กุมภาพันธ 2537) : 40 – 46.

Page 13: พุทธพาณิ ชยพระเคร : ื่ อง...บ ณฑ ตว ทยาล ย มหาว ทยาล ยศ ลปากร อน ม ต ใศ กษาตามหล

3

ความมุงหมายและวัตถุประสงคของการศึกษา (Goal and Objective) 1. เพื่อศึกษาถึงที่มา พัฒนาการ แนวคิดจากพระพิมพสูพระเครื่อง ตลอดจนกระบวนการของพุทธพาณิชย 2. เพื่อศึกษาวัฒนธรรมภาษาคือการเรียกชื่อพระเครื่องในวงการพุทธพาณิชยแลวตรวจสอบกับลักษณะทางประติมานวิทยา (Iconography) เพื่อความเขาใจที่ชัดเจนยิ่งขึ้น 3. เพื่อเรียนรูการประยุกตใชพระพิมพหรือพระเครื่องเปนหลักฐานในการอธิบายขอมูลทางประวัติศาสตร สมมติฐานของการศึกษา (Hypothesis to be tested) 1. คําวา “พระพิมพ” เกากวาคําวา “พระเครื่อง” และการเกิดคําวา “พระเครื่อง” สะทอนความเชื่อของคนไทยในเรื่องสิ่งศักดิ์สิทธิ์ รวมทั้งเปนคําที่เกี่ยวโยงกับกระบวนการของพุทธพาณิชย อยางไรก็ตาม ในแงวัตถุสองคํานี้แสดงถึงส่ิงเดียวกัน 2. ความเชื่อเรื่องพุทธคุณในพระเครื่องนาจะมีมาแลวอยางนอยตั้งแตในสมัยอยุธยา และสะทอนภาพสังคมที่เกิดสงครามบอยครั้ง 3. การเรียกชื่อพระเครื่อง เชน พระหูยาน พระกําแพงเขยง พระขุนแผน ฯลฯ โดยมากมักเรียกจากลักษณะเดนหรือรูปทรง แหลงที่พบ รวมทั้งความเชื่อในเรื่องอานุภาพ ทําใหเกิดผลกระทบในการสรางความเขาใจระหวางทางวิชาการกับนักพระเครื่องเพราะผิดไปจากหลักประติมานวิทยา แตอยางไรก็ตาม ส่ิงนี้เปนการสะทอนใหเห็นถึงวัฒนธรรมการใชภาษาเฉพาะกลุมที่ส่ือเพื่อความเขาใจไดงายขึ้น ขอบเขตการศึกษา (Scope or delimitation of the study) เนนศึกษาเฉพาะพระพิมพที่พบในกรุหรือแหลงที่มีช่ือเสียง เชน กรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จ.สุพรรณบุรี กรุวัดนางพญา จ.พิษณุโลก เปนตน สวนพระเครื่องของพระเกจิอาจารยนั้นจะศึกษาเฉพาะแบบที่ไดรับความนิยม สวนวัตถุมงคลจะศึกษาเฉพาะที่ไดรับความนิยมสูงสุดขณะนี้ คือ จตุคามรามเทพ ขั้นตอนการศึกษา (Process of the study) 1. เก็บขอมูลทางเอกสารชั้นตน และเอกสารชั้นรองที่เกี่ยวของกับพระพิมพหรือพระเครื่อง 2. เก็บขอมูลจากภาคสนามโดยการสังเกตุการณและสอบถามขอมูลทางการตลาดจากนักเลนพระในสนามพระ (ตลาดพระ)

Page 14: พุทธพาณิ ชยพระเคร : ื่ อง...บ ณฑ ตว ทยาล ย มหาว ทยาล ยศ ลปากร อน ม ต ใศ กษาตามหล

5

บทท่ี 2

พระพิมพและพระเครือ่งสมัยตางๆ โดยสังเขป

โดยทั่วไปและในวงการพุทธพาณิชยเรียก “พระพิมพ” วา “พระเครื่อง” นับเปนอุทเทสิกเจดียประเภทหนึ่ง1 อยางไรก็ตาม คําท้ังสองคําน้ีมีความหมายที่สะทอนใหเห็นถึงลักษณะบางประการที่แตกตางกัน ดังจะกลาวถึงตอไปนี้

2.1 ความหมายของคําวา “พระพิมพ” กับ “พระเครื่อง” คําวา “พระพิมพ” หมายถึง พระพุทธรูปขนาดเล็กท่ีสรางขึ้นดวยวิธีการกดประทับดวย

แมพิมพ หรือถาเปนเนื้อโลหะจะใชโลหะละลายเทหลอเขากับแมพิมพ2 ในอินเดียเรียกวา “Saccha” “Sacchaya” หรือ “Sacchaha” ซึ่งเปนภาษาปรากฤต สวนในภาษาสันสกฤตเรียกวา “Sat – chaya” โดยทุกคํามีความหมายวา “รูปภาพที่สมบูรณ” (Perfect image) ขณะที่ธิเบตเรียกวา “Tsha – tsha” มีความหมายวา “ความสมบูรณที่เปนหนึ่ง” (The perfect one)3 ซึ่งคําวา “Tsha – tsha” น้ันเปนคําเลียนเสียงเวลาที่ดินเหนียวถูกกดอัดไปในแมพิมพระหวางกระบวนการสรางงาน4

1 สมเด็จฯ กรมพระยาดํารงราชานุภาพ, ตํานานพระพุทธเจดีย (กรุงเทพฯ : องคการคาของคุรุสภา, 2518), 10. 2 ตรียัมปวาย [นามแฝง], ปริอรรถาธิบายแหงพระเครื่องฯ เลม ๑ : พระสมเด็จ (กรุงเทพฯ : สํานักพิมพคลัง

วิทยา, 2520), 18 – 19. 3 M.L.Pattaratorn Chirapravati, “The Cult of votive tablets in Thailand (Sixth to thirteenth centuries)”

(Ph.D. dissertation, Cornell University, 1994), 1. 4 Giuseppe Tucci, Stupa : Art, Architectonics and Symbolism (New Delhi : Aditya Prakasan, 1988), 54.

Page 15: พุทธพาณิ ชยพระเคร : ื่ อง...บ ณฑ ตว ทยาล ย มหาว ทยาล ยศ ลปากร อน ม ต ใศ กษาตามหล

6

สวนคําวา “พระเครื่อง” หมายถึง พระพิมพที่ลงพระพุทธคุณ และอาคมเพื่อปองกันภัย ใชพกติดตัวหรือหอยแขวนคอ5 พระเครื่องมีท้ังรูปพระพุทธและรูปพระเกจิ (พระสงฆ) โดยพระกรุนั้นมักพบตามซากโบราณสถาน ในองคเจดีย สวนใหญไมปรากฏวาผูสรางเปนใครแตก็สามารถระบุอายุสมัยการสรางไดจากรูปแบบศิลปะที่ปรากฏ องคพระมักเปนพระพุทธรูปท่ีมีทั้งเนื้อดิน เนื้อชิน สําหรับพระเครื่องท่ีพระเกจิสราง จากหลักฐานพบวาเริ่มในสมัยรัตนโกสินทร สรางเพื่อแจกจายหรือบรรจุกรุไว ภายหลังมีการเปดกรุพระจึงแพรหลายออกมา มีทั้งทําเปนรูปพระพุทธรูปและรูปพระเกจินั้นๆ รวมทั้งสรางดวยวัสดุที่มีความหลากหลาย

คําวา “พระเครื่อง” กรอนมาจากคําวา “พระเครื่องรางของขลัง”6 ซึ่งสะทอนใหเห็นถึงแนวคิดในการสรางพระพิมพวามีความหมายไปในเรื่องของความศักดิ์สิทธิ์ ดังนั้นพระเครื่องจึงอาจนับเปนวัตถุมงคลไดอีกประเภทหนึ่ง แตเปนวัตถุมงคลที่แสดงรูปพระนั่นเอง และเชื่อกันวาคําวา “พระเครื่อง” เปนคําใหมที่ใชกันไมนาน เพราะในจารกึแผนลานทองที่พบในกรพุระปรางควัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จ.สุพรรณบุรี และจารึกแผนลานเงินของกรุวัดพระบรมธาตุนครชุม จ.กําแพงเพชร ยังใชคําวา “พระพิมพ” อยู อนึ่ง แนวคิดนี้จะกลาวตอไปในบทที่ 3

กอนจะกลาวถึงรูปแบบของพระพิมพในสมัยตางๆ จําเปนท่ีจะตองทําความเขาใจถึงคติการสรางอันเปนแนวความคิดท่ีเปนแรงบันดาลใจในการสรางพระพิมพเปนประการแรกกอน

2.2 คติการสรางพระพิมพ ศาสตราจารยอัลเฟรด ฟูเช (Alfred Foucher) นักปราชญทางพุทธศาสนาไดเปนผูอธิบาย

ถึงความรูทั่วไปเกี่ยวกับพระพิมพเปนทานแรก กลาววา พระพิมพถูกสรางขึ้นเพื่อเปนท่ีระลึกในการเดินทางมาแสวงบุญยังสังเวชนียสถาน 4 แหง คือ สถานที่ประสูติที่ลุมพินี สถานที่ตรัสรูที่

5 โชติ กัลยาณมิตร, พจนานุกรมสถาปตยกรรมและศิลปเกี่ยวเน่ือง (กรุงเทพฯ : การไฟฟาฝายผลิต

แหงประเทศไทย, 2518), 529 ; พรชัย ลิขิตธรรมโรจน, รายงานการวิจัยเรื่องพระเครื่องกับสังคมไทย : ศึกษาเฉพาะกรณีผลกระทบที่มีตอภาวะความเปนอยูทางสังคมของคนไทย (สงขลา : คณะวิทยาการจัดการมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร วิทยาเขตหาดใหญ, 2514), 6.

6 ตรียัมปวาย [นามแฝง], ปริอรรถาธิบายแหงพระเครื่องฯ เลม ๑ : พระสมเด็จ, 18.

Page 16: พุทธพาณิ ชยพระเคร : ื่ อง...บ ณฑ ตว ทยาล ย มหาว ทยาล ยศ ลปากร อน ม ต ใศ กษาตามหล

7

พุทธคยา ปฐมเทศนาที่สารนาถ และปรินิพพานที่กุสินารา โดยเปนวัตถุที่ถูกพิมพประทับบนดินเหนียว ซึ่งเปนของหางาย และราคาไมแพง7

ดังนั้น คติการสรางพระพิมพในวาระแรกที่อินเดียในราวพุทธศตวรรษที่ 6 – 7 คือ สรางขึ้นเพื่อเปนท่ีระลึกน่ันเอง8 ตอมาไดเกิดแนวคิดจากลังกาที่เชื่อวาพระพุทธศาสนาจะดํารงอยูได 5,000 ป หลังจากนั้นจะคอยๆ เสื่อมลง ทําใหเกิดความนิยมโดยเฉพาะในสมัยทวาราวดีที่สรางพระพิมพ พรอมกับจารึกคาถาเยธัมมาฯ ซึ่งเปนหัวใจของพระอริยสัจ เพื่อเปนเครื่องเตือนใจใหผูพบเห็นบังเกิดความเลื่อมใส และกลับมานับถือพุทธศาสนาอีกครั้ง9 ท้ังนี้สืบเนื่องมาจากความสําคัญของคาถาบทนี้ กลาวคือ เปนบทธรรมที่พระอัสสชิหน่ึงในปญจวัคคียแสดงแกอุปติสสะปริพาชกแลวไดบรรลุพระโสดาปตติผล ตอมาอุปติสสะไดแสดงธรรมบทนี้แกโกลิตตะปริพาชกผูเปนเพื่อน ซึ่งสามารถบรรลุพระโสดาบันเชนเดียวกัน ภายหลังมาบวชในสํานักพระพุทธเจาไดสําเร็จเปนพระอรหันต อุปติสสะตอมาคือพระสารีบุตรอัครสาวกเบื้องขวา สวนโกลิตะคือพระโมคัลลานะอัครสาวกเบื้องซาย จะเห็นไดวาคาถาเยธัมมาฯ เปนเหตุใหพระพุทธเจาไดอัครสาวก 2 องค10 เปนขอธรรมที่พระอัครสาวกทั้งสองไดสดับแลวบังเกิดความเขาใจและบรรลุมรรคผลในทันที จึงเปนท่ียอมรับกันวาเปนบทธรรมอันวิเศษ (สัมฤทธิ์มนต) สําหรับจะเปลี่ยนแปลงการนับถือของบุคคลผูยังไมเคยสดับธรรมนี้มากอน และเปนคาถาที่นับ

7 L.A.Thomas and F.W.Thomas, The Beginning of Buddhist Art and Other Essays in Indian

and Central – Asian Archaeology (Delhi : Indological Book House, 1972), 11 ; ยอรช เซเดส, ตํานานอักษรไทย ตํานานพระพิมพ การขุดคนที่พงตึก และศิลปะไทยสมัยสุโขทัย (กรุงเทพฯ : องคการคาของคุรุสภา, 2526), 32.

8 ดูรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับพระพิมพในอินเดียไดที่ หมอมหลวงสุรสวัสดิ์ สุขสวัสดิ์, “การศึกษาพระพิมพภาคใตของประเทศไทย” (วิทยานิพนธหลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาโบราณคดีสมัยประวัติศาสตร ภาควิชาโบราณคดี บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร 2528), 12 – 25 ; กรมศิลปากร, รูปและสัญลักษณแหงพระศากยพุทธ (กรุงเทพฯ : อมรินทรพริ้นติ้งกรุพจํากัด, 2532), 13.

9 หมอมเจาสุภัทรดิศ ดิศกุล, ศิลปะในประเทศไทย (กรุงเทพฯ : โรงพิมพมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร, 2539), 8.

10 หลวงบริบาลบุรีภัณฑ, “เรื่องของพระพิมพ,” ใน เรื่องโบราณคดี (กรุงเทพฯ : บริษัทอมรินทรพริ้นติ้งกรุพจํากัด, 2531), 262 – 277.

Page 17: พุทธพาณิ ชยพระเคร : ื่ อง...บ ณฑ ตว ทยาล ย มหาว ทยาล ยศ ลปากร อน ม ต ใศ กษาตามหล

8

ถือรองมาจากองคสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจาทีเดียว11 ดังนั้น จึงนําคาถาเยธัมมาฯ นี้จารึกลงในพระพิมพดวยเหตุผลดังกลาวขางตน

อยางไรก็ตาม ในสมัยทวาราวดีที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือไมนิยมจารึกคาถาเยธัมมาฯ12 แตกลับพบจารึกหลังพระพิมพท่ีแสดงถึงการอุทิศบุญกุศลเพื่อบูชาผูมีพระคุณ รวมทั้งใหมีความสุขความเจริญ และไดมีโอกาสพบพระศรีอาริยมากกวาการสืบทอดศาสนา13 อน่ึง พระบาทสมเด็จพระจอมเกลาเจาอยูหัว รัชกาลที่ 4 ไดทรงพระราชทานวินิจฉัยเกี่ยวกับคาถาเยธัมมาฯ วาเปนพระอริยสัจ 4 ยอไว14 สวนความนิยมคาถาเยธัมมาฯ ในอินเดียมีระหวางพุทธศตวรรษท่ี 9 – 1315 ซึ่งมีอายุเวลาที่รวมสมัยกัน

นอกจากนี้ในสมัยทวาราวดียังอาจสรางพระพิมพในฐานะที่เปนรูปเคารพ หรืออาจเปนภาพเลาเรื่องที่ใชประดับศาสนสถานโดยแสดงภาพพุทธประวัติ หรือเหตุการณสาํคญัทีป่รากฏในคัมภีรอีกดวย

ตอมาในสมัยศรีวิชัยพบวาพระพิมพสวนมากนาจะทําขึ้นเพื่อปรมัตถประโยชนของผูตายมากกวาการสืบพระศาสนา16 เนื่องจากวัสดุท่ีใชเปนดินดิบอันแตกหักงาย ประกอบดวยอัฐิธาตุปนโขลกผสมกับดิน และในเมื่อไดทําฌาปนกิจในสรีระนั้นแลวจึงไมจําเปนตองเผาซ้ําอีก

11 George Coedes, “Siam Votive Tablets,” Translated by W.Agraham, Jss vol.20, pt.1 (1926) : 5. 12 M.L.Pattaratorn Chirapravati, Votive Tablets in Tahiland : Origin, Style and Uses (Singapore

: Oxford University Press, 1997), 26. 13 ดูจารึกไดใน จําปา เยื้องเจริญ, “คําอานและคําแปลอักษรตัวเขียนดานหลังพระพิมพดินเผากูสันถ

รัตน กิ่ง อ.นาดูน จ.มหาสารคาม อักษรปลลวะ ภาษามอญ,” ศิลปากร 23 ,6 (มกราคม 2523) : 63 – 66 ; ผาสุข อินทราวุธ, รายงานการขุดคนเมืองโบราณฟาแดดสงยาง อ.กมลาไสย จ.กาฬสินธุ (นครปฐม : สถาบันวิจัยและพัฒนามหาวิทยาลัยศิลปากร, 2544), 48.

14 นงคราญ ศรีชาย, โบราณคดีศรีวิชัย : มุมมองใหมการศึกษาวิเคราะหแหลงโบราณคดีรอบอาวบานดอน (นครศรีธรรมราช : โรงพิมพเม็ดทราย, 2543), 211.

15 ศักดิ์ชัย สายสิงห, ศิลปะทวาราวดี : วัฒนธรรมพุทธศาสนายุคแรกเริ่มในดินแดนไทย (กรุงเทพฯ : เมืองโบราณ, 2547), 78.

16 หมอมเจาสุภัทรดิศ ดิศกุล, ศิลปะในประเทศไทย ,15 ; สงวน รอดบุญ, ศิลปกรรมไทย (กรุงเทพฯ : โรงพิมพการศาสนา, 2529), 58.

Page 18: พุทธพาณิ ชยพระเคร : ื่ อง...บ ณฑ ตว ทยาล ย มหาว ทยาล ยศ ลปากร อน ม ต ใศ กษาตามหล

9

กลาวคือ พิมพแลวปลอยใหแหงเอง17 นิยมพิมพเปนรูปพระโพธิสัตวตามคติมหายานแบบตันตระท่ีมีศูนยกลางอยูท่ีเมืองนาลันทาทางตะวันออกเฉียงเหนือของอินเดีย และใหอิทธิพลกับชวาภาคกลางในชวงพุทธศตวรรษที่ 12 – 14 แลวแพรสูทางใตของประเทศไทย18 ดังนั้นจึงนาจะมีคติเพื่อเปนปจจัยใหผูตายซ่ึงอาจเปนพระเถระนั้นบรรลุภูมิโพธิสัตวในอนาคตกาล

อยางไรก็ตาม มีคาถาเยธัมมาฯ ปรากฏบนพระพิมพสมัยศรีวิชัยดวยเชนกัน แตเนื่องจากเปนดินดิบซึ่งแตกหักงายตามที่ไดกลาวในขางตน จึงเปนเหตุผลท่ีแสดงถึงการไมไดสรางตามคติการสืบพระศาสนา ดังนั้นจึงอาจเปนไปไดวาคงสรางในคติท่ีแสดงถึงขอธรรมอันเปนนัยสําคัญของคาถาบทนี้ที่กลาวถึงเหตุและการสิ้นเหตุ คือ การดับทุกข(นิพพาน) สัมพันธกับผูตายซึ่งอาจเปนพระเถระผูบรรลุภูมิธรรมนั่นเอง

นอกจากคาถาเยธัมมาฯ แลวในสมัยศรีวิชัยยังปรากฏคาถา “ขสมฯ” “ขสมน (ย) นิโรธ (มารเค) เย ว” แปลวา “ในทางแหงความดับ โดยนัย (แหงพระดํารัส) ของพระพุทธเจานั่นเอง” พบเปนจารึกในพระพิมพดินดิบหลายชิ้นที่โบราณสถานเมืองยะรัง จ.ปตตานี19 นับเปน

การบงชี้ไดวาคติการสรางพระพิมพ สมัยศรีวิชัยเพื่อปรมัตถแกผูตาย อนึ่ง การผสมอัฐิเถาลงไปในพระพิมพเปนสิ่งที่ปรากฏในประเทศอื่นเชนกันคือที่ธิเบต20 สวนในอินเดียนั้นพบเฉพาะรูปพิมพสถูปเล็กๆ เทานั้น21

17 สมเด็จฯ กรมพระยาดํารงราชานุภาพ, “เลาเรื่องเที่ยวเมืองพมา ตอนที่ 8,” สาสนสมเด็จ เลมท่ี 10

(พระนคร : องคการคาของคุรุสภา, 2504), 111, และจากการตรวจสอบทางวิทยาศาสตรพบวามีธาตุฟอสเฟตซึ่งอาจมาจากกระดูก ดู “บันทึกอธิบายเรื่องพระพิมพดินดิบที่ในพิพิธภัณฑสถานสําหรับพระนคร,” สาสนสมเด็จ เลม 2, 94 – 97.

18 ดูรายละเอียดไดใน ผาสุข อินทราวุธ, “รองรอยวัฒนธรรมอินเดียในเอเชียตะวันออกเฉียงใต,” ใน โบราณคดีและประวัติศาสตรในประเทศไทย (กรุงเทพฯ : บริษัทอมรินทรพริ้นติ้งแอนดพับลิชชิ่งจํากัด, 2545), 117 – 186.

19 กองแกว วีระประจักษ, “วิเคราะหจารึกเมืองยะรัง,” ศิลปากร 33,6 (มกราคม – กุมภาพันธ 2533) : 35 – 50.

20 หลวงบริบาลบุรีภัณฑ, “เรื่องของพระพิมพ,” ใน เร่ืองโบราณคดี, 270 ; สมเด็จฯ กรมพระยาดํารงราชานุภาพ, สาสนสมเด็จ เลม 3, 16 –17.

Page 19: พุทธพาณิ ชยพระเคร : ื่ อง...บ ณฑ ตว ทยาล ย มหาว ทยาล ยศ ลปากร อน ม ต ใศ กษาตามหล

10

ในสมัยลพบุรี จากลักษณะทางประติมานวิทยาที่ปรากฏพระพิมพสรางขึ้นตามคติมหายานนิกายวัชรยานหรือพุทธตันตระ ซึ่งเปนนิกายที่นิยมนับถือกันมากในไทยโดยเฉพาะภาคตะวันออกเฉียงเหนือชวงพุทธศตวรรษที่ 16 – 1822 โดยมักแสดงคติรัตนตรัยมหายานอันเปนตัวแทนของการเคารพบูชาเทพเจา 3 องคประกอบดวยพระพุทธเจา พระโพธิสัตวอวโลกิเตศวรและนางปรัชญาปารมิตาทั้งหมดเปนสัญลักษณของพระรัตนตรัย ดังปรากฏในจารึกภาษาสันสกฤตที่เขาปอมนาง (พนมบันทายนาง) เปนคํานมัสการพระอาทิพุทธ พระโลเกศวร และนางปรัชญาปารมิตา23 ซึ่งรูปท้ัง 3 มีแนวคิดที่อาจแสดงถึงความสมบูรณของปญญา24 อยางไรก็ตาม อาจเปนไดวาคติการสรางพระพิมพสมัยลพบุรียังคงเปนเพื่อการสืบพระศาสนาแมวาจะไมปรากฏคาถาเยธัมมาฯ แลวก็ตาม เนื่องจากพื้นที่สมัยลพบุรีแทท่ีจริงแลวเดิมเปนพ้ืนท่ีทางวัฒนธรรมทวาราวดีน่ันเอง ดังนั้นการนับถือศาสนาในสมัยน้ีจึงเปนการปนกันทั้งฝายเถรวาทซ่ึงสืบเนื่องมาจากทวาราวดี และฝายมหายานที่แพรมาจากเขมร25 สมัยหริภุญไชย จากตํานานที่กลาวถึงฤาษีวาสุเทพสรางเมืองหริภุญไชยโดยไดอัญเชิญพระนางจามเทวีมาจากละโว (ลพบุรี) เสด็จขึ้นมาครองมีนักปราชญราชบัณฑิตตามเสด็จมาดวย26 อาจสะทอนใหเห็นถึงวัฒนธรรมจากภาคกลางไดแพรหลายขึ้นมาสูภาคเหนือและคติการสรางพระพิมพยังคงเพื่อสืบพระศาสนา27

21 M.L.Pattaratorn Chirapravati, “The Cult of votive tablets in Thailand (Sixth to thirteenth centuries)”, 186.

22 กฤษฎา พิณศรี, “พระพิมพดินเผาพบที่บานศาลา จ.สุรินทร,” เมืองโบราณ 30, 2 (เมษายน– มิถุนายน 2547) : 108 – 110.

23 ยอรช เซเดส, ตํานานอักษรไทย ตํานานพระพิมพ การขุดคนท่ีพงตึก และศิลปะไทยสมัยสุโขทัย, แปลโดย หมอมเจาสุภัทรดิศ ดิศกุล (กรุงเทพฯ : โรงพิมพคุรุสภาลาดพราว, 2526), 45.

24 Hiram Woods Woodward, J.R., “Studies in the Art of Central Siam, 950 – 1350 A.D” (Ph.D. dissertation, Yale University, 1975), 32.

25 สมเด็จฯ กรมพระยาดํารงราชานุภาพ, ตํานานพระพุทธเจดีย, 131 – 132. 26 รัตนปญญาเถระ, “เรื่องสรางเมืองหริปุญชัย,” ใน ชินกาลมาลีปกรณ, แปลโดย แสง มนวิทูร

(กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2517), 89 – 91. 27 ดูรายละเอียดเกี่ยวกับพระพิมพสมัยหริภุญไชยไดที่ ณัฏฐภัทร จันทวิช, “วิเคราะหพระพิมพสกุล

ชางหริภุญไชยและคติการสราง,” ศิลปากร 33, 3 (กรกฎาคม – สิงหาคม 2532) : 10 – 28.

Page 20: พุทธพาณิ ชยพระเคร : ื่ อง...บ ณฑ ตว ทยาล ย มหาว ทยาล ยศ ลปากร อน ม ต ใศ กษาตามหล

11

สมัยลานนาและสุโขทัย โดยมากในวงการพุทธพาณิชยเรียกพระพิมพสมัยลานนาวา “พระเชียงแสน” และไมปรากฏจารึกคาถาเยธัมมาฯ ทั้ง 2 สมัย28 อยางไรก็ตาม ในป พ.ศ. 2530 ไดพบพระพิมพดินเผาที่มีจารึกคาถาเยธัมมาฯ ท่ีศรีสัชนาลัย จากการตรวจสอบถากําหนดอายุตามรูปอักษรพบวาเปนตัวเทวนาครีในพุทธศตวรรษที่ 14 สวนรูปแบบของพระพิมพคลายกับแบบพุกามราวพุททธศตวรรษที่ 16 – 17 แสดงถึงความสัมพันธกับเมืองดังกลาว แตเนื้อดินเผาเปนแบบเดียวกับที่ใชทําเครื่องสังคโลกศรีสัชนาลัยในสมัยสุโขทัย ซ่ึงมีอายุระหวางพุทธศตวรรษที่ 19 – 2029 แสดงใหเห็นวามีการนําแบบพิมพของพระพิมพรุนเกามากดพิมพขึ้นใหมในสมัยสุโขทัย และจากหลักฐานทางดานจารึกในสมัยสุโขทัยไดระบุอยางชัดเจนถึงแนวคิดในการสรางพระพิมพวาเพื่อประกอบบุญกุศล และเปนพุทธบูชา30 อนึ่ง ในสวนของหลักฐานทางเอกสารนี้จะกลาวถึงตอไปในบทที่ 3 สมัยอยุธยา นับเปนสมัยท่ีปรากฏหลักฐานทางดานพระพิมพเปนจํานวนมากและพบภายในกรุเจดียแทบทุกวัด สะทอนใหเห็นถึงความศรัทธาในพุทธศาสนา รวมท้ังการเปนราชอาณาจักรที่ยิ่งใหญถึง 417 ป เพียงพระพิมพที่พบในกรุพระปรางควัดราชบูรณะวัดเดียวคาดวามีพระพิมพประมาณแสนองค31 และจากจารึกหลังพระพิมพทําใหทราบวาสรางขึน้มาจากความเลื่อมใสในพุทธศาสนาจึงไดทําบุญดวยการสรางพระนี้ไว32 และยังมีคติการสรางเพื่อถวายเปนพระราชกุศลแดพระมหากษัตริย พระราชวงศใหบรรลุนิพพาน หรือไปเกิดในสวรรคช้ันดุสิต

28 สมเด็จฯ กรมพระยาดํารงราชานุภาพ, ตํานานพระพุทธเจดีย, 141. 29 จตุพร ศิริสัมพันธ, “จารึกพระพิมพดินเผาศรีสัชนาลัย,” ศิลปากร 40, 1 (มกราคม – กุมภาพันธ

2540) : 56 – 60. 30 ประสาร บุญประคอง, “คําอานศิลาจารึกอักษรและภาษาไทยวัดหินตั้ง จ.สุโขทัย,” ศิลปากร 8, 3

(กันยายน2507) : 83 – 87 ; กรมศิลปากร, “หลักที่ 107 ศิลาจารึกวัดบางสนุก จ.แพร,” ประชุมศิลาจารึกภาคที่ 4 (พระนคร : โรงพิมพสํานักทําเนียบนายกรัฐมนตรี, 2513), 133.

31 กฤษณ อินทโกศัย, “เปดกรุวัดราชบูรณะ จ.พระนครศรีอยุธยา,” พระพุทธรูปและพระพิมพในกรุพระปรางควัดราชบูรณะ จ.พระนครศรีอยุธยา (พระนคร : กรมศิลปากร, 2502), 14.

32 เรื่องเดียวกัน, 41 ; Alexander B.Grisswold, The Art of Thailand (New York : Indiana University, 1960), 187.

Page 21: พุทธพาณิ ชยพระเคร : ื่ อง...บ ณฑ ตว ทยาล ย มหาว ทยาล ยศ ลปากร อน ม ต ใศ กษาตามหล

12

รวมถึงการไดพบพระศรีอาริย33 อยางไรก็ตาม เนื่องจากสมัยอยุธยาเปนชวงท่ีเกิดศึกสงครามเกือบตลอดสมัยจึงมีบางทานเชื่อวานาจะเกิดแนวคิดการสรางพระพิมพในฐานะที่เปนพระเครื่อง34 สมัยรัตนโกสินทร ในชวงตนนาจะมีคติท่ีสืบทอดมาจากสมัยอยุธยา แมแต “พระสมเด็จวัดระฆัง” ซึ่งเปนพระพิมพที่ไดรับความนิยมสูงสุดในปจจุบัน และยอมรับกันวาเปน “จักรพรรดิแหงพระเครื่อง” สรางโดยสมเด็จพุฒาจารย (โต พรหมรังสี) หรือหลวงพอโต ก็เกิดจากความตั้งใจในการสรางเพื่อสืบพระศาสนาเปนสําคัญ35 หรือที่บรรจุในกรุวัดไชโย จ.อางทอง เพื่ออุทิศสวนกุศลใหโยมผูหญิง (โยมมารดา) โดยสรางใหครบ 84,000 องค เทากับจํานวนพระธรรมขันธ36 อยางไรก็ตาม บางทานมีความเชื่อวาทานสรางแลวนําออกแจกเวลาบิณฑบาตหรือใหกับผูที่ตองการ37 ตอมาดวยเทคโนโลยีของการทําเหรียญกษาปณ จึงไดมีการผลิตเหรียญที่ระลึกขึ้นและทําใหเกิดเหรียญพระพุทธรูปและพระสงฆมากมาย โดยเฉพาะในชวงสงครามโลกครั้งท่ี 2 ท่ีเหรียญไดทําหนาที่เปนพระเครื่องอยางสมบูรณ จากการสรางมีการลงยันตที่มีความหมายตางๆ จนกระทั่งในปจจุบันถือวาเปนยุคพระเครื่องอยางแทจริงโดยมีเรื่องของธุรกิจเขามาเกี่ยวของ มีการสรางพระเครื่องกันอยางมากมายเกือบทุกวัด หรือแมแตหนวยงานของรัฐ เอกชนดวยวัตถุประสงคที่แตกตางกันออกไป รวมทั้งปรากฏวามีพระเกจิอาจารยเกิดขึ้นเปนจํานวนมาก ย่ิงไปกวานั้นการสรางพระเครื่องในปจจุบันเปนการสรางในเชิงธุรกิจจนกลายเปนยุคพุทธพาณิชยซึ่งจะกลาวถึงตอไปในบทที่ 3

33 กรมศิลปากร, “ลานจารึกวัดมหาธาตุ จ.พระนครศรีอยุธยา,” ประชุมศิลาจารึกภาคท่ี 3 (พระนคร : โรงพิมพสํานักทําเนียบนายกรัฐมนตรี, 2508), 47.

34 The Fine Art Department, 700 Years of Thailand : Treasures from the Kingdom (Bangkok : Thaiwattanapanit, 1993), 85.

35 ยงยุทธ วิริยายุทธังกุร, สมเด็จพระพุฒาจารย (โต พรหมรังสี) ในทัศนะของคนรุนใหม (กรุงเทพฯ : สํานักพิมพธีรกิจจํากัด, 2534), 10 – 11.

36 ฉันทิชย กระแสสินธิ์, สมเด็จพระพุฒาจารย (โต) เลม 1 (พระนคร : องคการคาของคุรุสภา, 2507), 77.

37 พลอากาศโทนายแพทยสดับ ธีระบุตร, “พระสมเด็จฯ,” สดับ ธีระบุตร (กรุงเทพฯ : หางหุนสวนจํากัดสามิตการพิมพ, 2535. พิมพในงานศพ 8 พฤศจิกายน 2535), 156 และจาก ฉลอง สุนทรวาณิชย, “การสัมมนาเรื่องกําเนิดตลาดพระทศวรรษ 2490” จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย,วันที่ 13 มิ.ย. 2548”

Page 22: พุทธพาณิ ชยพระเคร : ื่ อง...บ ณฑ ตว ทยาล ย มหาว ทยาล ยศ ลปากร อน ม ต ใศ กษาตามหล

13

2.3 วัสดุที่ใชในการสรางพระพิมพ ดิน ดินเปนวัสดุประเภทแรกที่นํามาใชสรางพระพิมพเนื่องจากหาไดงายและราคาไมแพง38 จึงไดรับความนิยมแพรหลายสืบเนื่องมาถึงปจจุบัน อยางไรก็ตาม ไมปรากฏหลักฐานแนชัดวาในสมัยโบราณมีการเตรียมการคัดเลือกดินหรือสวนผสมดินเพื่อนํามาสรางพระพิมพเปนพิเศษ แตจากการสรางพระพิมพดินเผาในปจจุบันที่มีการคัดเลือกแหลงดินและสวนผสมจึงพอจะสันนิษฐานไดวาคงเปนกรรมวิธีท่ีสืบทอดมาตั้งแตสมัยโบราณ กลาวคือ นิยมใชดินจากสังเวชนียสถานทั้ง 4 แหงในอินเดีย ดินเหนียวบริสุทธิ์ใจกลางแมน้ํา เปนตน นําดินมาบดละเอียดผสมน้ําแลวกรองดวยผากรองเพื่อใหไดเนื้อดินที่ละเอียดแลวจึงผสมกับมวลสารตางๆ ที่เชื่อกันวาเปนมงคล เชน ดินหลักเมือง ดินเสาตะลุงผูกชางเผือกของพระมหากษัตริย ผงถานใบลาน ผงเกสรดอกบัว ผงวาน 108 เปนตน39 แลวจึงนําดินมากดพิมพ ซ่ึงแมพิมพมีทั้งท่ีทําจากดิน หินชนวน หินสบู ฯลฯ และนํามาเผาดวยถานท่ีไดมาจากไมมงคลนาม เชน ไมเกตุ ไมชัยพฤกษ ไมรัก และเมื่อเวลาดับไฟจะใชน้ําพระพุทธมนต หรือน้ําจากสระศักดิ์สิทธิ์เพ่ือเพิ่มความศักดิ์สิทธิ์อีกดวย จากการศึกษาพบวาลักษณะเนื้อดินของพระพิมพสวนใหญแตกตางกันตามพื้นท่ีและวิธีการสรางพระ เชน ดินทางภาคเหนือตั้งแตแถบจังหวัดกําแพงเพชรขึ้นไปมักเปนดินที่มีเนื้อละเอียดมาก และนาจะมีกรรมวิธีการกรองดินอยางดีกอนท่ีจะสรางพระ โดยท่ัวไปเชื่อกันวาเปนดินขุยปูนาตามทองนา40 มากรองตามกรรมวิธีขางตน ซึ่งเมื่อถึงขั้นตอนการเผาอันมีอุณหภูมิความรอนที่ตางกันก็จะมีผลใหพระเนื้อดินเผามีสีตางกัน เชน สีแดง สีเขียว สีดํา สีนวล เปนตน สวนดินทางภาคกลางเชนแถบอยุธยาและสุพรรณบุรี มักจะเปนดินเนื้อหยาบที่มีการปะปนเม็ดทรายในเนื้อพระอีกดวย

38 ยอรช เซเดส, ตํานานอักษรไทย ตํานานพระพิมพ การขุดคนท่ีพงตึก และศิลปะไทยสมัยสุโขทัย,

32. 39 อรรคเดช กฤษณะดิลก, ปทานุกรมพระเครื่องชุดเบญจภาคี (กรุงเทพฯ : โรงพิมพคุรุสภาลาดพราว,

2546), 80 และ 123. 40 ดินขุยปูนา คือ ดินที่ปูนาขุดมาจากใตพ้ืนดิน เนื้อดินมีลักษณะละเอียดดีกวาดินเหนียวธรรมดา.

Page 23: พุทธพาณิ ชยพระเคร : ื่ อง...บ ณฑ ตว ทยาล ย มหาว ทยาล ยศ ลปากร อน ม ต ใศ กษาตามหล

14

ผง เปนวัสดุที่นิยมสรางกันมากในสมัยรัตนโกสินทร เชื่อกันวาพระพิมพที่สรางจากผงองคแรกนาจะเปน “พระวัดพลับ” ท่ีสรางโดยพระอาจารยสุก วัดราชสิทธาราม ซึ่งตอมาคือสมเด็จพระสังฆราชองคที่ 4 ตรงกับสมัยรัชกาลที่ 2 41 แตบางทานเชื่อวาพระผงนาจะมีมาตั้งแตสมัยสุโขทัยแลว แตปรากฏเพียงกรุเดียวคือ กรุวัดทับขาวในเมืองสุโขทัย42 พระพิมพที่สรางจากเนื้อผงโดยมากมีราคาสูงอาจเนื่องมาจากกรรมวิธีการสรางที่กวาจะไดมวลสารนั้นคอนขางยาก มักเปนผงเกสรดอกไม 108 ชนิดผสมกับผงธูปเทียนบูชาพระรัตนตรัย43 ดินสอพอง ดินเหลือง ปูนขาวที่ทําจากเปลือกหอยเผา ใบลานที่ใชจารพระธรรมนํามาเผาเปนเถาถาน ผงรักทองที่ไดจากพระพุทธรูป แตโดยทั่วไปแลวมีความเชื่อวาผงที่มีความศักดิ์สิทธิ์คือ ผงวิเศษ 5 ประการ ประกอบดวย ผงปถมัง ผงอิทธิเจ (อิทธเจ) ผงมหาราช ผงพุทธคุณ และผงตรีนิสิงเห44 ขั้นตอนการสรางผงวิเศษ 5 ประการ คือ เริ่มสรางผงปถมังโดยการใชดินสอพองเขียนอักษรเลขยันตลงบนกระดานชนวนพรอมกับทองมนตคาถาที่มีกลาวไวในคัมภีรปถมังแลวลบผงที่ไดจากการเขียนเก็บไวเรียกวา ผงปถมัง นํามาประพรมน้ําพระพุทธมนตปนเปนแทงดินสอตากใหแหงแลวนํามาเขียนอักษรเลขยันตตามที่กําหนดไวในคัมภีรอิทธิเจ โดยทําเชนนี้ไปเรื่อยๆ ตามสูตรการสรางผงที่มีกลาวในคัมภีรนั้นๆ จนกระท่ังสุดทายจะไดผงตรีนิสิงเห รวมแลวไดผงวิเศษทั้ง 5 ซึ่งมีไมมากเนื่องจากเปนการนําผงเกามาเขียนซ้ํา ดังนั้น การสรางพระพิมพจํานวนมากจึงตองนําผงวิเศษเหลานี้ผสมปนกับวัสดุอ่ืน45 ตามแตอาจารยผูสรางแตโดยมากมักนําเนื้อดินมาผสม บางครั้งการสรางพระผงยังผสมอาหาร กลาวคือ ไมฉันอาหารทั้งวันแลวนําอาหารเทาจํานวนที่เคยฉันใน

41 เทพย สาริกบุตร, พุทธาภิเษกพิธี พิธีกรรมปลุกเสกพระเครื่องรางของขลัง (พระนคร : ศิลปบรรณา

คาร, 2509), 63. 42 ศักดิ์ศรี แยมนัดดา, “พระเคร่ือง,” สารานุกรมวัฒนธรรมไทย ภาคกลาง เลม 9 (กรุงเทพฯ : บริษัท

สยามเพรสแมเนจเมนทจํากัด, 2542), 3906. 43 ฉันทิชย กระแสสินธุ, พระเคร่ือง (พระนคร : กองการพิมพสํานักงานสลากกินแบงรัฐบาล, 2514),

8. 44 ดูคุณวิเศษของผงตางๆ ไดใน สดับ ธีระบุตร, 157 – 158. 45 ดูรายละเอียดการทําผงวิเศษและคาถาไดใน ฉันทิชย กระแสสินธ ุ , สมเด็จพระพุฒาจารย (โต) เลม

1, 164 – 165.

Page 24: พุทธพาณิ ชยพระเคร : ื่ อง...บ ณฑ ตว ทยาล ย มหาว ทยาล ยศ ลปากร อน ม ต ใศ กษาตามหล

15

วันนั้นๆ ถวายเปนพุทธบูชา เสร็จแลวนํามาตากใหแหง บดใหละเอียดผสมกับวัตถุอ่ืน เชน เกสรดอกไมแหง น้ําออย น้ํามันจันทน และน้ํามันตังอิ๊วคลุกใหเขากันนํามาทําเปนพระพิมพ46 ซึ่งนํ้ามันตังอิ๊วนั้นถือวามีความสําคัญในการประสานเนื้อพระใหเกาะติดกัน นอกจากนี้บางองคยังมีความพิเศษ คือ ใสเสนพระเจา (เสนผม) ขององคผูสรางดวย เชน พระสมเด็จจิตรลดา ที่พระบาทสมเด็จพระเจาอยูหัวฯ ทรงสรางในป 250947 พระเนื้อผงท่ียังไมไดลงกรุหรือยังไมผานการใชมักมีคราบนวลๆ จับท่ีผิวพระหรือตามซอกขององคพระ คราบนวลนี้เรียกวา “แปงโรยพิมพ” เพราะเมื่อกอนจะกดแมพิมพลงบนเนื้อวัสดุที่มีลักษณะหมาดๆ นั้น เนื้อวัสดุอาจติดแมพิมพทําใหถอดพิมพไมเรียบรอย จึงนําแปงละเอียดลงเสียกอนเพื่อใหงายในการถอดพิมพ ในกรณีท่ีพระพิมพดังกลาวถูกใชหรือผานมือคนจับมามากแปงโรยพิมพก็อาจจะหายไปได ชิน ชินเปนโลหะผสมที่มีสวนประกอบสําคัญ 2 อยางคือ ตะกั่วกับดีบุก และสวนประกอบยอยอ่ืนๆ เชน เงิน สังกะสี เหล็ก พลวง และปรอท ชินเปนวัสดุอีกประเภทที่นิยมในการสรางพระพิมพเนื่องจากมีความมันวาวสวยงาม ไมเปนสนิมงายและมีจุดหลอมเหลวต่ําทําใหสะดวกในการหลอพระ คําวา “ชิน” มาจากภาษามคธแปลวา “ผูชนะ” ซ่ึงหมายถึงพระพุทธเจา48 และมักนิยมสรางพระเครื่องสําหรับการศึกสงครามดวยเนื้อชินเชื่อกันวาเปนการถือเคลด็อยางหนึง่49 จากลักษณะของเนื้อและสนิมท่ีเกิดในเนื้อโลหะสามารถแบงประเภทของชินไดดังนี้ 1. ชินสังฆวานร (ชินกรอบ) หรือชินตะกั่ว มักมีความออนตัวเนื่องจากมีตะกั่วเปนสวนผสมหลัก ผสมกับดีบุก พลวง เงิน และปรอท คาดวาคงไมมีเหล็กผสมหรือมีแตเปอรเซนตต่ํามากจึงผุงายกวาชินทุกชนิด สีอันแทจริงเปนสีขาวปนสีน้ําเงินออนหรือปนเขียวออน สนิมที่

46 เทพย สาริกบุตร, พุทธาภิเษกพิธี พิธีกรรมปลุกเสกพระเครื่องรางของขลัง, 55. 47 ประชุม กาญจนวัฒน, พระเคร่ืองเรื่องของขลัง (กรุงเทพฯ : อักษรสัมพันธ, 2525), 6. 48 ตรียัมปวาย [นามแฝง], “พระเครื่องทางโบราณคดีตอนที่ 3 สนิมของพระเครื่องชนิดโลหะ (ตอ),”

ศิลปากร 6,10 (พ.ศ.2496) : 90 – 95. 49 สรพล โศภิตกุล, สุดยอดพระเคร่ือง ๑ (กรุงเทพฯ : สํานักพิมพบัวตอง, 2542), 16.

Page 25: พุทธพาณิ ชยพระเคร : ื่ อง...บ ณฑ ตว ทยาล ย มหาว ทยาล ยศ ลปากร อน ม ต ใศ กษาตามหล

16

เกิดเปนสีดําหมนแกมเหลืองเล็กนอย หรือสนิมขาวปรอทเปนเงาวับ และตามพื้นผิวมักปรากฏรูพรุนขนาดปลายเข็มเล็กๆ50 2. ชินรัชตพร (ชินเงิน) มีเนื้อขาวดุจเงินยวงเปนประกาย สวนประกอบหลักคือดีบุก รองลงมาไดแกตะกั่วและสังกะสี สนิมที่ปรากฏจะดําเรียกวา สนิมตีนกา และสนิมเกล็ดกระดี่ เปนสนิมดําแกมเหลืองเปนเกล็ดละเอียดซึ่งผุกรอนรอนเปนชิ้นยากตอการรักษาเนื้อ วิธีรักษาไมใหสนิมลุกลามคือการทาน้ํามันจันทน 3. ชินอุทุมพร (ชินเขียว) เนื้อชินมีความแข็ง สวนประกอบหลักคือสังกะสี ตะกั่วและดีบุก สนิมท่ีเกิดเรียกวาสนิมไข มีสีขาวนวล หรืออาจคล้ําเล็กนอยคลายไขสัตว วาน โดยปรกติเช่ือวาวานเปนพืชศักดิ์สิทธิ์มีสรรพคุณในดานตางๆ ในตัวเองอยูแลวเปนตนวาใชรักษาโรค ปองกันอันตราย วานที่นํามาใชสรางพระพิมพมีหลายชนิด กลาวกันวามีจํานวนถึง 108 ชนิด51 เชน วานเสนหจันทน วานนางลอม วานสบูเลือด วานธรณีสาร ฯลฯ นําวานเหลานี้มาบดผสมรวมกับมวลสารตางๆ แลวอัดพิมพเปนองคพระ วานเปนวัสดุที่นิยมมากในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ คาดวาไดรับอิทธิพลจากพระวานจําปาศักดิ์ของประเทศลาว52 พระพิมพประเภทนี้เนื้อมักยุยงายเมื่อถูกความรอนเน้ือจะออนจนสามารถบิดงอเปนรูปทรงตางๆ ได สวนมากปรากฏเปนสีน้ําตาลแก สีเหลืองคล้ํา และสีน้ําตาลไหม53 ในบางครั้งมีการนําวานมาผสมรวมกับพระเนื้อดินและเนื้อผง โลหะ นอกจากชินแลวยังมีโลหะอ่ืนๆ อีกหลายชนิด เชน สําริด เงิน ทองคํา เหล็ก เปนตนนับเปนวัสดุที่มีความคงทน นอกจากนี้ยังนิยมสรางพระพิมพดวยโลหะผสมซึ่งมีดังนี้

50 ตรียัมปวาย [นามแฝง], “พระเครื่องทางโบราณคดี ตอนที่ 3ฯ” ศิลปากร 6,10 (พ.ศ.2496) : 90 - 95. 51 สรพล โศภิตกุล, สุดยอดพระเคร่ือง ๑, 15. 52 เทพชู ทับทอง, ชุมนุมสิ่งศักดิ์สิทธ์ิ (กรุงเทพฯ : กรุงสยามการพิมพ, 2520), 150 – 153. 53 ตรียัมปวาย [นามแฝง], “พระเครื่องทางโบราณคดีตอนที่ 4 สนิมของพระเครื่องฯ โบราณชนิด

อโลหะ,” ศิลปากร 6, 11 (พ.ศ.2496) : 101 – 107.

Page 26: พุทธพาณิ ชยพระเคร : ื่ อง...บ ณฑ ตว ทยาล ย มหาว ทยาล ยศ ลปากร อน ม ต ใศ กษาตามหล

17

1. นวโลหะ ประกอบดวย ชิน จาว เหล็ก บริสุทธิ์ ปรอท สังกะสี ทองแดง เงิน และทองคํา ทั้งหมดมีนํ้าหนักสัดสวนเปนบาท ถาตองการเพิ่มน้ําหนักสวนใดมาก เชน ทองคํามาก พระจะออกมาเปนเนื้อท่ีแกทองคําเปนตน54 2. สัตตโลหะ ประกอบดวย จาว เหล็ก ปรอท สังกะสี ทองแดง เงิน และทองคํา 3. ปญจโลหะ ประกอบดวย เหล็ก ปรอท ทองแดง เงิน และทองคํา สําหรับปญจโลหะนี้ปจจุบันไมนิยมกันแลว55 นอกจากนี้ยังมีการสรางดวยโลหะชนิดพิเศษที่เรียกวา เมฆพัด และเมฆสิทธิ์ 4. เมฆพัด เปนแรผสมที่เกิดจากการใชเนื้อเงินซัดเขาไปในตัวยาชนิดหน่ึง เม่ือนํามาหลอเปนองคพระเนื้อโลหะที่ไดจะมีสีนํ้าเงินเหลือบดําเปนมันแวววาวไมมีสนิมจับ56 5. เมฆสิทธิ์ เปนแรผสมคลายเมฆพัด แตมีสีเหลืองอมเขียวและสีฟาหมนๆ เหลือบเหลือง มีความมันวาวนอยกวาเนื้อเมฆพัด เกิดจากการใชผงตะไบทองแดงหมักผสมกับกํามะถันนํามาหลอม บางก็วานําปรอทมาอังกับธาตุทองแดง สําหรับการสรางพระดวยโลหะตามกรรมวิธีโบราณนั้นจะนําเอาโลหะมาลงเลขยนัตตามสูตรโดยการใชเหล็กแหลมจาร จากนั้นนําโลหะมารีดเปนแผนบางๆ ตามพิธีกรรม หรืออาจจะใสโลหะที่เชื่อวามีความศักดิ์สิทธิ์ผสมลงไปดวย เชน ตะกรุด หรือยอดเจดีย แลวจึงนํามาสรางพระตามกรรมวิธีดังนี้ แบบหลอ มี 2 วิธี คือ หลอแบบชนวนเบาหนึ่งมีพระหลายองค และหลอแบบเบาละองค ท้ัง 2 แบบเปนวิธีที่คอนขางยุงยาก สรางไดเปนจํานวนนอยทั้งยังใชเวลานาน จึงมักพบในพระเครื่องยุคเกาๆ เรียกวา “หลอโบราณ” การหลอแบบชนวนตองมีการสรางหุนเทียนกอน นําหุนเทียนมาติดเปนชอติดกับแกนชนวน แลวใชดินมูลโคพอกทับ เมื่อดินแหงดีแลวนําดินไปสุมความรอนไลขี้ผึ้งออกจะไดเบาดินแบบโบราณ จากนั้นนําโลหะมาหลอมละลายเทลงไปในเบาแมพิมพ ปลอย

54 ดูเพิ่มเติมเกี่ยวกับนวโลหะไดใน มอนต จันทนากร, ทําเนียบพระกริ่งพระชัยวัฒน (กรุงเทพฯ :

สํานักงานนครชาง, 2527), 21, 24 และ 57. 55 ดูรายละเอียดน้ําหนักของการผสมโลหะแตละประเภทไดใน พินัย ศักดิ์เสนีย, นามานุกรมพระ

เคร่ือง (พระนคร : สํานักพิมพผดุงศึกษา, 2502), 516 – 517. 56 พินัย ศักดิ์เสนีย, นามานุกรมพระเคร่ือง, 520.

Page 27: พุทธพาณิ ชยพระเคร : ื่ อง...บ ณฑ ตว ทยาล ย มหาว ทยาล ยศ ลปากร อน ม ต ใศ กษาตามหล

18

ใหโลหะแหงดีแลวจึงคอยทุบเบาดินออก จะไดพระเครื่องเนื้อโลหะติดกันเปนชอๆ กับชนวน ตัดพระเครื่องมาทําการตกแตงรายละเอียด สวนการหลอแบบเบาละองคนั้นมีการทําหุนเทียนเชนเดียวกัน แตการพอกดินมูลโคนั้น พอกเพียงเบาละองค แบบปม ปจจุบันนิยมมากเนื่องจากสรางไดรวดเร็วดวยเครื่องจักร แมพิมพมีท้ังดานหนาและดานหลัง มีความแข็งแรงเปนพิเศษ การปมเปนการนําโลหะมารีดเปนแผนใหเรียบแลวใชแมพิมพปมลงบนแผนโลหะ จากนั้นนําไปตัด หรืออาจตัดตอนปม แบบฉีด ทําโดยใชเครื่องฉีดโลหะหลอมละลายเขาไปในแมพิมพ เปนเทคโนโลยีที่เหมาะกับการสรางพระเครื่องที่มีลวดลายประดับมากมายเนื่องจากสามารถเก็บรายละเอียดไดดี มีความคมชัด จึงไดพระเครื่องที่มีความสวยงาม 2.4 รูปแบบของพระพิมพ และพระเครื่องสมัยตางๆ โดยสังเขป เนื่องจากมีการสรางพระพิมพตั้งแตแรกที่พระพุทธศาสนาเขามาในดินแดนไทยปจจุบัน และสรางเรื่อยมาอยางตอเนื่องเปนจํานวนมาก การศึกษาครั้งน้ีจึงจําเปนตองกลาวถึงแตเพียงสังเขปเฉพาะบางแบบที่ไดรับความนิยมในวงการนักสะสมทั้งในอดีตและปจจุบัน ซึ่งตัวอยางที่ใชในการศึกษาแตละพิมพยังมีความเกี่ยวของกับพุทธพาณิชยอันเปนประเด็นหลักในการศึกษาครั้งนี้ โดยจะกลาวเชื่อมโยงในบทตอๆ ไป พระพิมพสมัยทวาราวดี (พุทธศตวรรษที่ 11 –16) แมวาอารยธรรมทวาราวดีจะมีชวงระยะเวลาที่ยาวนาน และเกาแกทั้งยังแพรกระจายไปทุกภูมิภาคของไทย แตในวงการพุทธพาณิชยพระพิมพสมัยนี้กลับไมคอยไดรับความนยิมมากนัก เนื่องจากเชื่อวาเปนพระพิมพที่สรางขึ้นมาเพื่อสืบพระศาสนาเปนสําคัญ ไมไดผานพิธีกรรมการปลุกเสก และสวนมากมีขนาดใหญไมเหมาะกับการแขวนคอ นอกจาก “พระถ้ําเสือ” ท่ีพบใน จ.สุพรรณบุรีซึ่งเปนพระพิมพขนาดเล็กและเชื่อกันวาเปนพระที่มีประสบการณทางพุทธคุณมากมาย

Page 28: พุทธพาณิ ชยพระเคร : ื่ อง...บ ณฑ ตว ทยาล ย มหาว ทยาล ยศ ลปากร อน ม ต ใศ กษาตามหล

19

พระถ้ําเสือ (ภาพที่ 1)

ภาพที ่1 พระถ้ําเสือ

(ที่มา : www.thaprachan.com/shop [online], accessed 10 February 2007) พระถ้ําเสือพบครั้งแรกบนภูเขาคอกภายในถ้ําท่ีเรียกกันวาถ้ําเสือ แมตอมาจะพบพระ

พิมพแบบนี้ท่ีถ้ําแหงอ่ืนๆ ภายใน อ.อูทอง เปนตนวา วัดเขาพระ เขาวงพาทย เขานกจอด เขากุฎิ เขากําแพง เขาวง เขาดีสลัก วัดดอนพุทรา และวัดเขาหลวง (ราง) แตก็ยังคงเรียกวาพระถ้ําเสือ57 พระถ้ําเสือพบมากมายหลากหลายพิมพ แตสามารถแบงขนาดของพิมพได 5 ขนาด คือ พิมพใหญ กลาง เล็ก ตอ และจิ๋ว58 ทั้งหมดมีพุทธลักษณะรวมกันตามแบบพระพุทธรูปสมัยทวาราวดีคือ พระพักตรปาน พระนลาฏแคบ พระขนงตอเปนปกกา พระเนตรโปน พระโอษฐกวาง พระเศียรมีอุษณีษะเปนทรงกรวย พระอุระหนา และแสดงปางมารวิชัย พระพิมพอยูในรูปวงรีที่ดานหลังมีลักษณะนูนออกมา อน่ึง ไมปรากฏคราบกรุบนเนื้อผิวพระเนื่องจากพระถูกบรรจุในไห แตปรากฏคราบสีขาวคลายเกลือทําใหเช่ือกันวาเนื้อดินท่ีใชสรางพระคงเปนดินโปงซึ่งเปนดินเค็ม59 นอกจากนี้ยังมีความเชื่อกันวาดินโปงเปนดินศักดิ์สิทธิ์เนื่องจากเปนที่สิงสถิตยของผี แต

57 ชื่อพระพิมพเรียกตามสถานที่พบ อน่ึง เกี่ยวกับปจจัยการเรียกชื่อพระพิมพ พระเครื่อง จะกลาวถึง

ตอไปในบทที่ 4. 58 ดูภาพพระพิมพ การจําแนกพิมพทรง รวมทั้งประวัติการคนพบ และวิธีการตรวจสอบของจริงและ

ของทําเลียนแบบไดที่ มนัส โอภากุล, เปดกรุพระถ้ําเสือ : ของดีเมืองสุพรรณบุรี (กรุงเทพฯ : สํานักพิมพขาวสด, 2538).

59 มนัส โอภากุล, เปดกรุพระถ้ําเสือ : ของดีเมืองสุพรรณบุรี, 28.

Page 29: พุทธพาณิ ชยพระเคร : ื่ อง...บ ณฑ ตว ทยาล ย มหาว ทยาล ยศ ลปากร อน ม ต ใศ กษาตามหล

20

อยางไรก็ตาม หากพิจารณาในแงของเทคนิคทางชาง ดินโปงมีขอดีคือ เปนดินท่ีมีความละเอียดทําใหถอดพิมพงาย สําหรับพระถ้ําเสือที่พบอีกแหงที่นาสนใจคือท่ีวัดเขาหลวง (ราง) พบในตําแหนงที่แปลกและไมสามารถอธิบายแนวคิดได เนื่องจากพบองคพระฝงอยูในแผนอิฐขนาดใหญแบบทวาราวดี60 อน่ึง มีบางทานใหความเห็นวาพระถ้ําเสือสรางโดยพระอาจารยธรรมโชติสมัยอยุธยาตอนปลาย61 แตไมนาเปนไปไดเนื่องจากไมมีหลักฐานสนับสนุนท่ีนาเชื่อถือ เปนเพียงการเช่ือมโยงระหวางสถานที่กับบุคคล คือพระอาจารยธรรมโชติเปนภิกษุวัดเขานางบวช จ.สุพรรณบุรี เพียงเทานั้น และจากการตรวจสอบทางวิทยาศาสตรพบวาคราบฝุนสีนํ้าตาลที่ติดกับองคพระคือมูลคางคาวที่เกาะติดเนื้อพระนานนับพันป62 พระพิมพสมัยศรีวิชัย (พุทธศตวรรษท่ี 13 – 18) โดยทั่วไปพระพิมพสมัยนี้มักทํามาจากดินดิบและมีสวนผสมของอัฐิเถากระดูกซึ่งเก็บรักษายาก ดวยเหตุน้ีในวงการพุทธพาณิชยจึงไมนิยม ดังนั้น ในที่น้ีจึงไมขอกลาวถึง พระพิมพสมัยลพบุรี (พุทธศตวรรษท่ี 16 –18) พระพิมพสมัยลพบุรีเปนที่เสาะหาในหมูนักสะสมพระพิมพพระเครื่องมานานอันเนื่องมาจากความรูสึกเขมขลังในพุทธลักษณะและความเชื่อในพุทธคุณ มีท้ังทําดวยดินเผาและโลหะที่แสดงอิทธิพลเพียง 2 สมัยคือแบบนครวัดและแบบบายน63 ซึ่งปรากฏลักษณะพื้นเมืองบางประการปะปนอยู สวนแมพิมพน้ันมีหลักฐานวาทําจากสัมฤทธิ์64 พระพิมพสมัยนี้ท่ีนิยม คือ

60 เร่ืองเดียวกัน, หนา 32. 61 พินัย ศักดิ์เสนีย, นามานุกรมพระเคร่ือง (พระนคร : สํานักพิมพผดุงศึกษา, 2502), 258 – 259. 62 มนัส โอภากุล, พระฯเมืองสุพรรณ (สุพรรณบุรี : สุพรรณการพิมพ, 2543), 223. 63 M.L.Pattaratorn Chirapravati, Votive Tablets in Thailand : Origin, Style and Uses, 43. 64 หมอมเจาสุภัทรดิศ ดิศกุล, ศิลปะสมัยลพบุรี (กรุงเทพฯ : บริษัทอมรินทรพริ้นติ้งแอนดพับลิชชิ่ง

จํากัด, 2547), 65.

Page 30: พุทธพาณิ ชยพระเคร : ื่ อง...บ ณฑ ตว ทยาล ย มหาว ทยาล ยศ ลปากร อน ม ต ใศ กษาตามหล

21

1. พระรวงหลังรางปน (ภาพที่ 2)

ภาพที่ 2 พระรวงหลังรางปน

(ที่มา : www.thaprachan.com/shop [online], accessed 10 February 2007) พบในกรุพระปรางควัดพระศรีรัตนมหาธาตุเชลียงในป พ.ศ. 2499 นักสะสมพระเครื่อง

เรียกวา “กรุสวรรคโลก” และ “ยอดขุนศึกแหงเมืองเชลียง” คือ เปนจักรพรรดิแหงพระเนื้อชิน65 โดยจัดลําดับใหเปนหนึ่งในพระเครื่องชุดเบญจภาคีประเภทเนื้อชินหรือชุดยอดขุนพล ซึ่งประกอบดวยพระรวงหลังรางปน, พระหูยานลพบุรี, พระชินราชใบเสมา พิษณุโลก, พระมเหศวร สุพรรณบุรี และพระทากระดาน กาญจนบุรี พระรวงหลังรางปนมีทั้งที่สรางดวยชินตะกั่วที่ปรากฏสนิมแดงแกมมวงสลับไขขาว มักมี “เสนใยแมงมุม” ที่พ้ืนผิวของพระพิมพซึ่งเกิดจากการหดตัวของพระเมื่อถูกอากาศภายนอกกรุเจดีย นอกจากชินตะกั่วแลวยังมีชินเงินซึ่งพบนอยกวา สนิมของชินเงินทําใหพระมีสีดําท้ังองค สวนเนื้อดินเผาไมปรากฏ พุทธลักษณะของพระรวงหลังรางปนเปนรูปองคพระประทับยืนภายในซุมเรือนแกวท่ีทําเปนลายเสนบางๆ ที่พระเศียรประดับดวยกระบังและอุษณีษะเปนรูปกรวยแหลม พระพักตรเปนรูปสี่เหลี่ยม พระขนงตอเปนรูปปกกา พระเนตรและพระนาสิกใหญ ทรงจีวรหมคลุม ท่ีพระ

65 สรพล โศภิตกุล, สุดยอดพระเคร่ือง ๑, 202.

Page 31: พุทธพาณิ ชยพระเคร : ื่ อง...บ ณฑ ตว ทยาล ย มหาว ทยาล ยศ ลปากร อน ม ต ใศ กษาตามหล

22

นาภีมีขอบอันตรวาสกตรงกลางเปนรูปกลมใหญ บางพิมพเปนรูปสี่เหลี่ยมขาวหลามตัด ลักษณะการครองจีวรเทียบเคียงไดกับพระพุทธรูปทรงเครื่องแบบขอม66 พระหัตถขวายกข้ึนเสมอพระอุระหันฝาพระหัตถออกภายนอก สวนพระหัตถซายปลอยลงขางพระวรกายในลักษณะแบพระหัตถออกแบบประทานพร ชายจีวรปลอยตกลงมาทั้ง 2 ขาง ทรงประทับยืนบนแทนที่มีทั้งแบบฐานสูงและต่ําอันเปนขอแตกตางของพิมพท่ีมี 2 พิมพ โดยพิมพฐานสูงพระพักตรจะมีขนาดใหญกวา สวนพิมพฐานต่ําพระพักตรจะเรียวกวาเล็กนอย67 ดานหลังของพระพิมพมีรอยเสี้ยนไม สันนิษฐานวาใชไมสักกดดานหลังเพื่อใหพิมพดานหนาติดชัด รอยเส้ียนไมมีลักษณะนูนและกลมสลับเสนใหญตามธรรมชาติ ที่กึ่งกลางของดานหลังเปนรองยาวรูปครึ่งวงกลม

2. พระรวงหลังลายผา (ภาพที่ 3)

ภาพที่ 3 พระรวงหลังลายผา กรถุ้ํามหาเถร ลพบรุี

(ที่มา : www.thaprachan.com/shop [online], accessed 10 February 2007) พบในกรุพระปรางควัดพระศรีรัตนมหาธาตุ ลพบุรี กรุแตกราว พ.ศ.2450 โดยมากพระ

พิมพที่พบในกรุน้ีมักอยูในไหขอมเคลือบสีดํา68 นอกจากนี้ยังพบที่อ่ืนๆ ดวย เชน ที่กรุถ้ํามหาเถร ลพบุรี เปนพระเนื้อชินเงิน พุทธลักษณะเปนองคพระประทับยืนภายในซุมเรือนแกวปรากฏเปนลายเสนบางๆ พระพักตรเปนรูปสี่เหลี่ยมตามแบบพระพุทธรูปสมัยลพบุรี ทรงเทรดิทีก่ระบงัหนามีลวดลายเปนไรพระศก เสนพระศอปรากฏชัดเจน ครองจีวรหมคลุมพระหัตถขวายกขึ้นเสมอ

66 Woodward, Jr. Hiram W., The Sacred Sculpture of Thailand (Bangkok : River Books, 1999), fig.70,82 and 89.

67 สรพล โศภิตกุล, สุดยอดพระเคร่ือง ๑, 207. 68 เทพชู ทับทอง, พุทธานุสรณ พระเครื่องกรุ (พระนคร : หางหุนสวนจํากัดนนทชัย, 2513), 5.

Page 32: พุทธพาณิ ชยพระเคร : ื่ อง...บ ณฑ ตว ทยาล ย มหาว ทยาล ยศ ลปากร อน ม ต ใศ กษาตามหล

23

พระอุระ หันฝาพระหัตถออกภายนอก สวนพระหัตถซายปลอยลงขางพระวรกายแตแบพระหัตถออกภายนอกในลักษณะประทานพร รัดประคดมีหัวกลมและมีเม็ดไขปลาเรียงรายตลอดชายจีวรซึ่งมี 2 ช้ัน เบื้องลางเปนแทนเวาโคงรองรับพระบาท ดานหลังพระพิมพมีรอยกดคลายรอยผาหอทราย เพ่ือกดใหเนื้อพระติดกับแมพิมพ

3. พระหูยาน (ภาพที่ 4) พบหลายแหงแตที่นิยมตองพบที่ จ.ลพบุรีคือกรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ วัดปน วัดเจาะหู

วัดกําแพง วัดอินทรา พระหูยานแตละกรุมีความคลายคลึงกันแตมีรายละเอียดบางประการที่แตกตางกัน เชน แบบที่พบที่เพชรบุรีจะมีพระพักตรท่ีใหญกวาและมีชายสังฆาฏิส้ันกวาที่พบที่อ่ืนๆ69 แตโดยหลักคราวๆ สามารถแบงไดเปน 2 พิมพ คือ

ภาพที่ 4 พระหูยานพิมพบัวชั้นเดียว

(ที่มา : www.thaprachan.com/shop [online], accessed 10 February 2007) 3.1 พระหูยานพิมพบัว 2 ช้ัน

เปนพระเนื้อชินเงินแกตะกั่ว พิมพนี้หายากมากบางทานวาพบที่วัดปน70 แตบางทานวาพบที่วัดพระศรีรัตนมหาธาตุเทานั้น71 พุทธลักษณะเปนองคพระประทับนั่งขัดสมาธิราบแสดง

69 ประชุม กาญจนวัฒน, พระเครื่อง (กรุงเทพฯ : ศรีเมืองการพิมพ, 2516. พิมพในงานศพคุณแมสม

จีน กาญจนวัฒน พฤษภาคม 2516), 59. 70 ประชุม กาญจนวัฒน, พระเคร่ืองเลื่องชื่อ (กรุงเทพฯ : ศรีเมืองการพิมพ, 2516), 31.

Page 33: พุทธพาณิ ชยพระเคร : ื่ อง...บ ณฑ ตว ทยาล ย มหาว ทยาล ยศ ลปากร อน ม ต ใศ กษาตามหล

24

ปางมารวิชัยเหนือบัวหงายแบบบัวเล็บชาง จํานวน 5 กลีบ ปรากฏเกสรบัวเปนจุดไขปลา พระพักตรเปนรูปสี่เหลี่ยมแบบพระพุทธรูปสมัยลพบุรี พระนลาฏกวาง พระขนงโคงเปนรูปปกกา พระโอษฐแยม พระกรรณยาว ไรพระศกเปนขอบหนา พระเกศาเปนแนวแบบผมหวี พระรัศมีเปนตอมคลายฝาละมี ครองจีวรหมเฉียง สังฆาฏิตัดตรงยาวจรดพระนาภี และมีขอบอันตรวาสกหยักโคงรอบบั้นพระองค สวนดานหลังองคพระเปนแองเวาลงไปมีรอยลายผา (หลังลายผา) และแบบหลังตันที่ปรากฏลายผาเชนกัน 3.2 พระหูยานพิมพบัวช้ันเดียว (หนายักษ) เปนพระเนื้อชินเงินแกดีบุก พบจํานวนมากกวาพิมพแรก มีพุทธลักษณะที่คลายกัน แตกตางเพียงลักษณะพระพักตรที่เขมขึงกวา และบัวที่รองรับมีช้ันเดียว

3. พระยอดขุนพล (ภาพที่ 5)

ภาพที่ 5 พระยอดขุนพล วัดไก ลพบุรี

(ที่มา : www.rr10.com [online], accessed 10 February 2007) พบท่ีวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ ลพบุรีและที่มีช่ือเสียงมากคือที่วัดไก มีขนาดเทากับพระหูยาน แตชวงฐานมีความกวางกวาเล็กนอย พุทธลักษณะเปนพระพุทธเจาประทับนั่งขัดสมาธิราบแสดงปางมารวิชัยบนดอกบัว พระพักตร พระเนตรใหญ ครองจีวรหมเฉียง มีชายจีวรพาดผานขอพระกรซาย พระพุทธองคประทับในซุมคดโคงแบบขอม เปนพระพิมพท่ีพบมากทั้งที่ลพบุรีและสุพรรณบุรี โดยท้ัง 2 แหงมีความคลายคลึงกันมากแตกตางเพียงลักษณะของคราบกรุที่เชื่อกันวาพระพิมพที่สุพรรณบุรีจะปรากฏคราบสนิมแดงบนเนื้อชินมากกวาอันเกิดจากสถานที่บรรจุ

71 ภุชชงค จันทวิช, “พระหูยานหนายักษ – ยิ้มแหงกรุงละโว,” ศิลปวัฒนธรรม 12, 5 (มีนาคม 2534) : 60 – 63.

Page 34: พุทธพาณิ ชยพระเคร : ื่ อง...บ ณฑ ตว ทยาล ย มหาว ทยาล ยศ ลปากร อน ม ต ใศ กษาตามหล

25

และสภาพภูมิอากาศ นอกจากนี้ยังพบพระยอดขุนพลที่กรุทุงเศรษฐี วัดพระบรมธาตุ และวัดอาวาสนอย จ.กําแพงเพชร ซึ่งมีทั้งเนื้อดินและเนื้อชิน แตคงสรางภายหลังกวา พระยอดขุนพลกําแพงเพชรพระเศียรมีขนาดใหญกวา รวมทั้งเพ่ิมฐานบัวเปนบัว 2 ช้ัน นอกจากนี้ยังพบพระยอดขุนพลภายในกรุพระปรางควัดราชบูรณะอีกดวย แตพิมพมีลักษณะตื้นกวา และสรางสมัยอยุธยายุคตนอันแสดงถึงความนิยมอยางตอเนื่องในการสรางพระพิมพแบบดังกลาวนี้

4. พระนารายณทรงปน (ภาพท่ี 6)

ภาพที่ 6 พระนารายณทรงปน

(ที่มา : www.thaprachan.com/shop [online], accessed 10 February 2007) พบในกรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ ลพบุรี กลาวกันวาพระพิมพนี้เปนท่ีรูจักกันตั้งแตสมัย

รัชกาลที่ 5 แลว72 อันท่ีจริงพระพิมพนี้เปนพระพิมพรัตนตรัยมหายานไมใชพระนารายณ (ในประเด็นของการเรียกชื่อพระพิมพจะกลาวถึงในบทที่ 4) พบทั้งที่สรางดวยสําริดท่ีสวนมากเปนสีดําเมื่อขัดถูจะมีสีขาวขุนแบบที่เรียกวา “เนื้อกลับ” รวมทั้งเนื้อชินเงินที่มีสวนผสมของเงินกับปรอทเปนหลัก และเนื้อดินเผาพระพิมพแสดงพระพุทธรูปนาคปรกประทับกึ่งกลางดานขวาของพระองคคือพระโพธิสัตวอวโลกิเตศวร 4 กร ถือลูกประคํา คัมภีร ดอกบัวและน้ําอมฤต สวนดานซายเปนรูปนางปรัชญาปารมิตา ถือคัมภีรและดอกบัว ท้ังหมดประทับภายในซุมเรือนแกว73 นอกจากพบที่วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ ลพบุรีแลว แหลงใหญที่พบอีกแหงคือ จ.สุพรรณบุรี

72 สรพล โศภิตกุล, สุดยอดพระเคร่ือง ๑, 148 – 149. 73 อน่ึง รูป Triad ลักษณะนี้ไมเคยปรากฏในอินเดีย และปรากฏครั้งแรกสมัยกอนเมืองพระนคร แตผู

ประทับขางๆ พระพุทธเจาเปนพระเมตไตรยะกับพระโลเกศวร ดู M.L.Pattaratorn Chirapravati, Votive Tablets in Thailand : Origin, Style and Uses, 43.

Page 35: พุทธพาณิ ชยพระเคร : ื่ อง...บ ณฑ ตว ทยาล ย มหาว ทยาล ยศ ลปากร อน ม ต ใศ กษาตามหล

26

โดยเฉพาะบริเวณบานหนองแจง อ.ดอนเจดีย รวมทั้งภายในกรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ, วัดสําปะซิว และวัดชุมนุมสงฆเปนตน74 รวมทั้งในเมืองอ่ืนๆ ท่ีปรากฏศิลปกรรมแบบเขมรในประเทศไทย เชนท่ี อ.พิมาย จ.นครราชสีมา75 ปราสาทเมืองสิงห จ.กาญจนบุรีเปนตน การปรากฏพระพิมพดังกลาวนี้แสดงถึงความสัมพันธทางดานคติความเชื่อรวมทั้งรูปแบบศิลปกรรมระหวางกลุมเมืองเหลานี้76 พระพิมพแบบนี้ยังมีการถอดพิมพสรางใหมในสมัยอยุธยายุคตนดังท่ีพบในกรุพระปรางควัดราชบูรณะ จ.พระนครศรีอยุธยา77 พระพิมพสมัยหริภุญไชย (ราวพุทธศตวรรษที่ 17 – 19) พระพิมพสมัยนี้พบทางภาคเหนือในหลายแหลงแตแบบที่นิยม อยูที่จ. ลําพูน ที่มีช่ือเสียงมากคือ พระรอดและพระคง

1. พระรอด (ภาพท่ี 7)

ภาพที่ 7 พระรอด

(ที่มา : www.thaprachan.com/shop [online], accessed 10 February 2007)

74 มนัส โอภากุล, พระกรุเมืองสุพรรณ, (พระนคร : ศิลปาบรรณาคาร, 2512), รูป 10, 64 และ 73. 75 ชอง บวสเซอลีเย, ชําแหละประวัติศาสตรและโบราณคดีของกรมศิลปากร, แปลโดย หมอมเจาสุ

ภัทรดิศ ดิศกุล (กรุงเทพฯ : โรงพิมพพิฆเณศ, 2531), 63 ; จรรยา มาณะวิท, “ปราสาทหินพิมายพุทธสถานในลัทธิมหายาน,” ในอุทยานประวัติศาสตรพิมาย, (กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2532), 71.

76 ดูรายละเอียดเกี่ยวกับความสัมพันธดังกลาวไดใน วรรณวิภา สุเนตตา, “คติรัตนตรัยมหายานในศิลปะเขมรชวงพุทธศตวรรษที่ 18 ที่พบในภาคกลางของประเทศไทย,” ( วิทยานิพนธหลักสูตรปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาประวัติศาสตรศิลปะ ภาควิชาประวัติศาสตรศิลปะ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2546), 152 – 153.

77 มานิต วัลลิโภดม, “พระพิมพวัดราชบูรณะ,” พระพุทธรูปและพระพิมพในกรุพระปรางควัดราชบูรณะ จ.พระนครศรีอยุธยา, (พระนคร : กรมศิลปากร, 2502), รูป 84 – 85.

Page 36: พุทธพาณิ ชยพระเคร : ื่ อง...บ ณฑ ตว ทยาล ย มหาว ทยาล ยศ ลปากร อน ม ต ใศ กษาตามหล

27

เปนพระพิมพขนาดเล็กที่สุดในบรรดาพระพิมพหริภุญไชย คําวา “รอด” ภาษาเหนือแปลวา “เล็ก” พระรอดเปนพระสําคัญท่ีไดรับความนิยมสูงมากในหมูนักสะสมจนไดรับการจัดใหเปนหนึ่งในพระเครื่องชุดเบญจภาคีซึ่งประกอบดวย พระสมเด็จฯวัดระฆัง ของสมเด็จพระพุฒาจารย (โต พรหมรังสี), พระนางพญากรุวัดนางพญา พิษณุโลก, พระรอด ลําพูน, พระกําแพงซุมกอ กําแพงเพชร และพระผงสุพรรณกรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ สุพรรณบุรี ผูจัดพระชุดเบญจภาคี คือ ตรียัมปวาย หรือ ผจญ กิตติประวัติ78 พระรอดพบในกรุเจดียวัดมหาวันตั้งแต พ.ศ. 2435 พุทธลักษณะเปนพระพิมพแสดงปางมารวิชัยประทับนั่งขัดสมาธิเพชร พระพักตรมี 5 แบบ79 คือ รูปไข รูปส่ีเหลี่ยม รูปคลายบาตรคว่ํา รูปสามเหลี่ยม และรูปกลม ลักษณะโดยรวมแตละพิมพที่พระเศียรมีพระรัศมีรูปดอกบวัตมู ครองจีวรหมเฉียง ชายสังฆาฏิสั้นแสดงอิทธิพลศิลปะปาละ ที่แผนหลังมีลวดลายใบโพธิ์ประดับเปนรูปแฉกคลายรัศมีรอบองคพระ แสดงถึงภาพตอนตรัสรูใตตนโพธิ์ สวนฐานทําเปนเสนนูนขึ้นมา เชื่อกันวาพระรอดสรางในสมัยพระนางจามเทวี80 แตจากลักษณะทางศิลปกรรมที่แสดงอิทธิพลศิลปะปาละจึงนาจะสรางในสมัยพระเจาสรรพสิทธิที่ทรงบูรณะปฏิสังขรณวัดนี้ครั้งใหญในพุทธศตวรรษที่ 1781

78 วิวัฒน อุดมกัลยารักษ, เบญจภาคี ๒ (กรุงเทพฯ : องคการคาของคุรุสภา, 2542), 5 ; ศักดิ์ศรี แยม

นัดดา, “เบญจภาคี,” สารานุกรมวัฒนธรรมไทย ภาคกลาง เลม 8 (กรุงเทพฯ : บริษัทสยามเพรสแมเนจเมนทจํากัด, 2542), 3403.

79 ดูรายละเอียดเกี่ยวกับการแบงพระพักตร เกตุมาลา ไรพระศก พระกรรณ เสนชายจีวร ฐานและพิมพทรงไดใน ตรียัมปวาย [นามแฝง], ปริอรรถาธิบายแหงพระเคร่ืองฯ เลม ๓ พระรอด และพระเคร่ืองฯ สกุลลําพูน (พระนคร : สํานักพิมพคลังวิทยา, 2503), 172 – 244.

80 พินัย ศักดิ์เสนีย, นามานุกรมพระเครื่อง, 482. 81 อัศวี ศรจิตติ, “พระพิมพสมัยลําพูน” (วิทยานิพนธปริญญาศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาโบราณคดี

คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2511), 24 และดูคําวิจารณของหมอมเจาสุภัทรดิศ ดิศกุลที่วิทยานิพนธฉบับดังกลาวไดวา อิทธิพลศิลปะปาละนาจะผานทางศิลปะทวาราวดีหรือพุกาม อน่ึง มีความเห็นที่แตกตางวาพระรอดสรางสมัยสุดทายคือราวพุทธศตวรรษที่ 19 ดู ศรีศักร วัลลิโภดม, ลานนาประเทศ (กรุงเทพฯ : บริษัทพิฆเณศพริ้นติ้งเซ็นเตอรจํากัด, 2545), 57.

Page 37: พุทธพาณิ ชยพระเคร : ื่ อง...บ ณฑ ตว ทยาล ย มหาว ทยาล ยศ ลปากร อน ม ต ใศ กษาตามหล

28

พระรอดเปนพระพิมพเนื้อดินเผามี 5 สี คือดํา เทาแก เขียว แดง เหลือง และขาว ขึ้นอยูกับสวนผสมในวัสดุท่ีมากนอยแตกตางกัน เชน ผงใบลาน วานเกสรดอกไม เปนตน82

2. พระคง (ภาพที่ 8)

ภาพที่ 8 พระคง

(ที่มา : www.thaprachan.com/shop [online], accessed 10 February 2007) มีช่ือเสียงและพบจํานวนมากที่วัดพระคง พุทธลักษณะเปนพระประทับนั่งขดัสมาธเิพชร

แสดงปางมารวิชัยบนฐานบัวคว่ํา – บัวหงายและฐานเขียง ท่ีพื้นหลังมีรูปกิ่งโพธิ์และเสนคูขนานลากตรงขึ้นไปแลวโคงจรดพระอังสาทั้งสอง พระพักตรกลมปอมคอนขางโต ไมปรากฏเสนพระศก รายละเอียดของพระพักตรมักไมชัดเจน แตมีพระกรรณหนา ลําพระองคคอนขางอวบอวนสะดือเปนเม็ดกลม ครองจีวรหมคลุม พระกรซายวางตั้งเปนมุมฉาก เนื้อดินของพระคงคอนขางละเอียดมี 5 สีเชนเดียวกับพระรอด และคงสรางในสมัยเดียวกัน83 อยางไรก็ตาม มีบางทานเชื่อวาพระคงนาจะมีอายุถึงราวพุทธศตวรรษที่ 13 – 14 เนื่องจากรูปแบบของพระพิมพแสดงถึงอิทธิพลศิลปะคุปตะและปาละ84 ขณะที่บางทานกําหนดอายุราวพุทธศตวรรษที่ 16 และเชื่อวาการรับอิทธิพลศิลปะปาละอาจเขามายังอาณาจักรหริภุญไชยโดยตรง หรือเปนการติดตอผานพมาในสมัยพระเจาอนิรุทธ เนื่องจากพมาในชวงพุทธ

82 เมฆพัด [นามแฝง], ตําราดูพระเครื่องพระสมเด็จ (พระนคร : สํานักพิมพพิทยาคาร, 2513), 186 –

188. 83 อัศวี ศรจิตติ, “พระพิมพสมัยลําพูน”, 30. 84 ณัฏฐภัทร จันทวิช, “วิเคราะหพระพิมพสกุลชางหริภุญไชยและคติการสราง,” ศิลปากร 33, 3

(กรกฎาคม – สิงหาคม 2532) : 4 – 27.

Page 38: พุทธพาณิ ชยพระเคร : ื่ อง...บ ณฑ ตว ทยาล ย มหาว ทยาล ยศ ลปากร อน ม ต ใศ กษาตามหล

29

ศตวรรษที่ 16 นิยมการทําพระพุทธรูปปางนี้85 พระคงนับเปนพระพิมพท่ีพบเปนจํานวนมากที่สุดแทบทุกกรุตรงขามกับพระรอดที่พบเปนจํานวนนอยที่สุด86 พระพิมพสมัยเชียงแสน (ราวพุทธศตวรรษที่ 19 – 20) แบบที่นิยมในสมัยนี้มีเพียงพระปรกโพธิ์เชียงแสน พระปรกโพธิ์เชียงแสน (ภาพที่ 9)

ภาพที่ 9 พระปรกโพธิ์เชียงแสน

(ที่มา : www.youamulet.com [online], accessed 10 February 2007) เปนพระเนื้อชินตะกั่วสนิมแดงพบในกรุหลายแหงที่เมืองเชียงแสน พุทธลักษณะเปน

พระพุทธรูปประทับนั่งขัดสมาธิราบแสดงปางมารวิชัยบนฐานบัวคว่ํา – บัวหงาย ที่มีเสนแบงกั้นกึ่งกลาง ประทับภายใตตนโพธิ์ที่กึ่งกลางปรากฏพระรัศมียาวเปนเปลวเพลิง พระพักตรกลมแบบพระพุทธรูปเชียงแสน พระขนงโกง พระเนตรเรียว พระหนุเปนปม พระอุระนูน ครองจีวรหมเฉียง ชายสังฆาฏิยาวจรดพระนาภี ชายจีวรพาดผานขอพระกรซาย พระพิมพไดถูกตัดตามรูปทรงของพระพิมพ สําหรับอายุการสรางนาจะเปนราวพุทธศตวรรษที่ 20 ซึ่งเปนชวงเวลาที่ไดรับ

85 ผาสุข อิทราวุธ, รายงานการวิจัยเร่ืองการศึกษารองรอยอารยธรรมโบราณจากหลักฐานโบราณคดี

ในเขต จ.ลําพูน กอนพุทธศตวรรษที่ 19 (กรุงเทพฯ : ภาควิชาโบราณคดี คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2536), 90.

86 ทรงชัย เจตะบุตร, พระเครื่องเมืองเหนือ 15 จังหวัด (เชียงใหม : ชางเผือกการพิมพ, 2503), 55 และ 70.

Page 39: พุทธพาณิ ชยพระเคร : ื่ อง...บ ณฑ ตว ทยาล ย มหาว ทยาล ยศ ลปากร อน ม ต ใศ กษาตามหล

30

อิทธิพลจากศิลปะสุโขทัย สังเกตจากการประทับนั่งขัดสมาธิราบ มีชายสังฆาฏิยาว และการทําพระรัศมีเปนรูปเปลวเพลิง87 พระพิมพสมัยสุโขทัย (พุทธศตวรรษที่ 19 – 20) พระพิมพสมัยสุโขทัยท่ีนิยมคือ พระพิมพที่พบในเมืองกําแพงเพชร โดยเฉพาะอยางยิ่งกรุทุงเศรษฐี ปจจุบันอยูใน ต.นครชุม ประกอบดวยวัดพระบรมธาตุ วัดซุมกอ วัดพิกุล วัดหนองลังกา เปนตน พระพิมพมีทั้งเนื้อดิน ชิน วาน ซึ่งเนื้อดูออนนุมเรียกกันวา “เนื้อทุง” หรือ “เนื้อเกสร” สวนที่เมืองสุโขทัยเองนั้นพบพระพิมพเปนจํานวนมากมายนับเปนพันๆ กรุ เชนเดียวกับที่พิษณุโลก พระพิมพที่พบในเมืองสําคัญสมัยสุโขทัยท้ัง 3 แหงท่ีนิยม คือ

1. พระซุมกอ (ภาพที่ 10)

ภาพที่ 10 พระซุมกอ

(ที่มา : www.komchadluek.net [online], accessed 10 February 2007) พบมากที่วัดซุมกอ วัดพระบรมธาตุ และหลายแหงในกําแพงเพชร เปนพระพิมพที่ไดรับ

ความนิยมมากและไดรับการจัดใหเปนหนึ่งในพระชุดเบญจภาคี พบทั้งเนื้อชิน และเนื้อดินผสมวานแตแบบหลังนิยมมากกวา เทาท่ีปรากฏมีสีแดง เหลือง น้ําตาล เขียวและดํา พุทธลักษณะเปนพระพุทธเจาประทับนั่งขัดสมาธิราบแสดงปางสมาธิบนฐานบัวแบบบัวเล็บชาง 5 กลีบ พระพักตรคอนขางกวาง ลําพระองคหนา ครองจีวรหมเฉียง สังฆาฏิยาวจรดพระนาภี เบ้ืองหลังมี

87 กําหนดอายุโดยเปรียบเทียบกับพระพุทธรูป ดูแนวทางการศึกษาใน สันติ เล็กสุขุม, ศิลปะ

ภาคเหนือ : หริภุญไชย – ลานนา (กรุงเทพฯ : สํานักพิมพเมืองโบราณ, 2538), 210 – 211.

Page 40: พุทธพาณิ ชยพระเคร : ื่ อง...บ ณฑ ตว ทยาล ย มหาว ทยาล ยศ ลปากร อน ม ต ใศ กษาตามหล

31

ประภามณฑลลอมรอบพระเศียร ถัดไปเปนเสนแฉกพระรัศมีซึ่งบางพิมพไมมี (เรียกวาแบบไมมีซุมกนก) ดานขางพระองคถูกตกแตงใหเสมอกัน ยกเวนพิมพเล็ก (พิมพขนมเปยะ) จะไมมีการตกแตง สวนดานหลังมักถูกปาดเปนรอยกาบหมาก หรือปาดใหเรียบ พระซุมกอในชวงแรกมี 3 พิมพคือ พิมพใหญมีทั้งแบบซุมกนกและแบบไมมีซุมกนก ซึ่งแบบหลังนี้จะมีเฉพาะสีดําเทานั้น พิมพกลาง และพิมพเล็กแบบที่เรียกวา พิมพขนมเปยะ88 ครั้งหลังมีผูพบพระซุมกอพิมพจิ๋วท่ีกรุวัดพระนอน89 แตพบนอยมากบางทานไมยอมรับวาพระซุมกอมีพิมพน้ี

2. พระกําแพงเม็ดขนุนหรือพระกําแพงเขยง (ภาพท่ี 11)

ภาพที่ 11 พระกําแพงเม็ดขนุน

(ที่มา : www.soonphra.com [online], accessed 10 February 2007) พบที่วัดพระบรมธาตุ วัดพิกุล วัดอาวาสนอย กําแพงเพชร ความสําคัญของพระพิมพนี้

คือเคยไดรับการจัดอันดับใหเปนหนึ่งในพระเบญจภาคีในยุคแรกๆ แตเนื่องจากหายากมาก และเวลาคลองคอรวมกับพระแบบอื่นๆ ดูไมสมดุลจึงเปลี่ยนเปนพระซุมกอแทน90 พุทธลักษณะเปนพระพุทธรูปอิริยาบถลีลายางกาวพระบาทซาย สวนพระบาทขวาเขยงสนเทา พระกรซายยกเสมอพระอุระแสดงอภัยมุทรา สวนพระกรขวาปลอยทอดยาวไปตามพระวรกาย ครองจีวรหมเฉียง พระพักตรไมชัดเจน แตมีเคาโครงรูปไข รอบๆ พระองคปรากฏลายเสนบางๆ เปนกรอบซุม ดานหลังพระพิมพคอนขางนูน ผิวมักไมคอยเรียบท้ังยังตัดขอบพระไมเรียบรอย พระกําแพงเม็ดขนุนพบทั้งเนื้อดินและเนื้อชิน แตนิยมเนื้อดินมากกวา มีทั้งสีเหลือง แดง เขียว และดํา

88 ประชุม กาญจนวัฒน, พระเคร่ืองเรื่องของขลัง, 33. 89 ศักดิ์ศรี แยมนัดดา, สารานุกรมวัฒนธรรมไทย ภาคกลาง เลม 9, 3891. 90 สรพล โศภิตกุล, สุดยอดพระเคร่ือง ๑, 114.

Page 41: พุทธพาณิ ชยพระเคร : ื่ อง...บ ณฑ ตว ทยาล ย มหาว ทยาล ยศ ลปากร อน ม ต ใศ กษาตามหล

32

3. พระนางพญาเสนหจันทร (ภาพที่ 12)

ภาพที่ 12 พระนางพญาเสนหจันทร

(ที่มา : www.uamulet.com [online], accessed 10 February 2007) เปนพระพิมพรูปสามเหลี่ยมหนาจั่วเนื้อดินเผา พบในกรุวัดตาเถรขึงหนังในคราวบูรณะ

โบราณสถานป พ.ศ. 2502 ซึ่งเลากันวาเมื่อเปดกรุมาปรากฏวาภายในกรุมีกลิ่นหอมจําพวกกระแจะจันทน คาดวาคงประพรมกอนปดกรุและทําใหพระทุกองคมีกลิ่นหอมติดอยู พุทธลักษณะเปนพระพุทธรปูประทับนั่งแสดงปางมารวิชัยบนฐานเขียงเตี้ยๆ พระพักตรคอนขางปอม พระรัศมีเปนเปลวเพลิง ลําพระองคคอนขางอวบ ครองจีวรหมเฉียง สังฆาฏิยาวจรดพระนาภีที่ทําเปนรอยบุม ท่ีบั้นพระองคมีขอบสบงเปนลายเสนบางๆ สําหรับวัสดุน้ันบางทานวาเปนเนื้อดินผสมวานกับผงเกสรหอมซึ่งมีกรวดปนอยูมากมีผลทําใหพระหักงาย บางองคมีคราบฝาขาวนวลจับอยูตามซอกองคพระ บางองคมีคราบรักน้ําเกลี้ยงกับชาดทาทับไว สวนดานหลังมีรอยน้ิวมือประทับอยู สีขององคพระมีสีเหลือง แดง และเขียวอมดําเทานั้น91

4. พระกําแพงหารอย (ภาพที่ 13)

ภาพที่ 13 พระกําแพงหารอย

(ที่มา : www.siamamulet.net [online], accessed 10 February 2007)

91 ประชุม กาญจนวัฒน, พระเคร่ืองเรื่องของขลัง, 202.

Page 42: พุทธพาณิ ชยพระเคร : ื่ อง...บ ณฑ ตว ทยาล ย มหาว ทยาล ยศ ลปากร อน ม ต ใศ กษาตามหล

33

พบมากที่กําแพงเพชร เปนตนวาวัดพระบรมธาตุ วัดกะโลทัย วัดอาวาสนอย92 ลักษณะเปนพระพิมพแผงขนาดใหญมี 2 หนา แสดงภาพพระพุทธเจาขนาดเล็กประทับน่ังปางมารวิชัย ดานละ 251 องค จากลักษณะประติมานวิทยานาจะแสดงตอนมหาปาฏิหาริย พระพิมพสรางดวยชินตะกั่วจึงปรากฏสนิมแดง รวมทั้งมักมีคราบกรุจับเปนฝาขาว นอกจากที่กําแพงเพชรแลวยังพบที่อยุธยาดวยแตคราบกรุที่จับผิวพระมักมีลักษณะคล้ํากวา93 สวนใหญพระกําแพงหารอยมักถูกทําใหเล็กลงดวยการตัดแบงเปนองคๆ เพื่อขายไดจํานวนมากกวา และสามารถหอยคอได 5. พระทามะปรางเงี้ยวทิ้งปน (ภาพที่ 14)

ภาพที่ 14 พระทามะปราง

(ที่มา : www.thaprachan.com/shop [online], accessed 10 February 2007) พบภายในกรุวัดทามะปราง จ.พิษณุโลก ลักษณะเปนพระพิมพรูปสามเหลี่ยมที่ตัดตาม

เคาโครงรูปพระ แตรูปตัวอยางตัดพิมพไมเรียบรอย มีเนื้อดินเกิน พระพุทธองคประทับน่ังขัดสมาธิราบแสดงปางมารวิชัย พระพักตรเรียวยาวคลายผลมะตูม พระรัศมียาวรูปเปลวเพลิง ครองจีวรหมเฉียง สังฆาฏิยาวเกือบจรดพระนาภีซึ่งมีรอยบุม ชายจีวรปรากฏที่ขอพระกรซาย สวนท่ีขอพระบาทมีขอบสบง ประทับบนฐานบัว พระทามะปรางมี 2 เนื้อคือเนื้อดินผสมผง และเนื้อชินเงิน แบบเนื้อดินผสมผงพบทั้งเนื้อละเอียดและเนื้อคอนขางหยาบ ที่ดานขางมักมีรอยเสนตอกตัดพิมพ ดานหลังองคพระมีรอยนิ้วมือ สวนพระเนื้อชินเงินมีขนาดใหญกวาเล็กนอย ดานหลังองคพระมีทั้งแบบหลังตัน และบางองคหลังเวาลงไปเปนลายผา94 พระเนื้อชินเงิน

92 พรหมศักดิ์ เจิมสวัสดิ์, ยอดพระเคร่ืองสกุลกําแพงเพชร (กรุงเทพฯ : การุณยการพิมพ, ม.ป.ป.), 48. 93 อางแลว. 94 พรหมศักดิ์ เจิมสวัสดิ์, ยอดพระเคร่ืองสกุลพิษณุโลก (กรุงเทพฯ : สุนทรการพิมพ, ม.ป.ป.), 28.

Page 43: พุทธพาณิ ชยพระเคร : ื่ อง...บ ณฑ ตว ทยาล ย มหาว ทยาล ยศ ลปากร อน ม ต ใศ กษาตามหล

34

สวนมากจะถูกสนิมขุมกินจนขาดความสมบูรณ จากพุทธลักษณะโดยเฉพาะพระพักตรนาจะเปนพระพิมพที่สรางในสมัยพญาลิไท (พระมหาธรรมราชาที่ 1) พระพิมพสมัยอยุธยา (พุทธศตวรรษท่ี 20 – 23) พระพิมพสมัยอยุธยาพบเปนจํานวนมากภายในกรุวัดตางๆ ไมเฉพาะแตเพียงที่อยุธยา แตที่มีช่ือเสียงยังมีท่ีสุพรรณบุรี และพิษณุโลก พระพิมพท่ีเปนที่รูจักและนิยม ไดแก

1. พระผงสุพรรณ (ภาพที่ 15)

ภาพที่ 15 พระผงสุพรรณ

(ที่มา : มนัส โอภากุล, พระผงสุพรรณ, ก) บางทานเรียกพระนางสุพรรณ หรือพระเกสรสุพรรณเปนพระพิมพที่โดดเดนที่สุดในกรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ สุพรรณบุรี กลาวคือไดรับการจัดใหอยูในทําเนียบพระเครื่องชุดเบญจภาคี ซ่ึงถือวาเปนพระเครื่องระดับแถวหนา ถูกนําออกมาจากกรุราวป พ.ศ. 2456 รวมทั้งเปนพระพิมพที่พระยาสุนทรสงคราม (อ้ี กรรณสูต) ผูวาราชการเมืองสุพรรณบุรี ทูลเกลาฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกลาเจาอยูหัว รัชกาลที่ 6 เปนจํานวนหลายรอยองคในคราวเสด็จฯ สักการะพระเจดียยุทธหัตถีดอนเจดีย และไดพระราชทานแกเสือปา ลูกเสือ ทหาร และตํารวจที่ตามเสด็จฯ ครั้งนั้นโดยท่ัวกัน95 เลากันวาบรรดาขาราชการชั้นผูใหญจะไดรับพระราชทานแจกพระเนื้อชินซึ่งมีจํานวนนอย เชนพระมเหศวร พระกําแพงลีลา ฯลฯ สวนพวกเสือปา ขาราชการช้ันผูนอยจะไดรับพระราชทานแจกพระผงสุพรรณซึ่งเปนเนื้อผงผสมเนื้อดินและมีจํานวน

95 ศักดิ์ศรี แยมนัดดา, สารานุกรมวัฒนธรรมไทย ภาคกลาง เลม 9, 4076.

Page 44: พุทธพาณิ ชยพระเคร : ื่ อง...บ ณฑ ตว ทยาล ย มหาว ทยาล ยศ ลปากร อน ม ต ใศ กษาตามหล

35

มากกวา96 (แตปจจุบันกลายเปนวาพระผงสุพรรณราคาสูงกวามาก) พุทธลักษณะแสดงปางมารวิชัยประทับนั่งบนฐานชั้นเดียว ในองคที่มีรายละเอียดของพระพักตรจะปรากฏพระเนตรโต สันพระนาสิกเปนเสนตรงชัดเจน พระกรรณใหญ พระรัศมีเปนกรวยแหลม พระอุระหนาใหญ บั้นพระองคเล็กมากจนมีบางทานใหความเห็นวาเปนพระพุทธเจาปางบําเพ็ญทุกรกริยา97 แตไมนาเปนไปไดเนื่องจากไมใชตอนท่ีนิยมทําเปนพระพิมพ พระผงสุพรรณไมปรากฏการทําเสนซุมลวดลายใดๆ องคพระถูกตัดกรอบเปนรูปสามเหลี่ยม บางองคปลายยอดบนถูกตัดออกทําใหเปนรูปหาเหลี่ยม ดานหลังมีลายน้ิวหัวแมมือที่กดหนักไปทางดานบน เชื่อกันวาเปนรอยนิ้วมือของผูสรางคือพระมหาเถระปยะทัสสศรีสาริบุตรตามที่ปรากฏนามในจารึกลานทอง98 สําหรับการกําหนดอายุมีบางทานเชื่อวาสรางในสมัยสมเด็จพระนเรศวรฯ เพื่อเปนอนุสรณในคราวที่ทรงไดรับชัยชนะจากสงครามยุทธหัตถี99 แตไมปรากฏหลักฐานในการสนับสนุนการกําหนดอายุนี้และไมนาเปนไปไดหากพิจารณาจากพุทธลักษณะที่เปนแบบอูทองหรืออยุธยายุคตน พระผงสุพรรณมี 3 พิมพตามความแตกตางของพระพักตร ไดแก พิมพหนาแก หนากลางและหนาหนุม

2. พระขุนแผนเคลือบ (ภาพที่ 16)

ภาพที่ 16 พระขุนแผนเคลือบ วัดใหญชัยมงคล

(ที่มา : www.rr10.com [online], accessed 10 February 2007)

96 ศุภชัย ศรีแพทย, พระชุดเบญจภาคี (กรุงเทพฯ : สํานักพิมพรพีบรรณ, 2529), 72. 97 อรรคเดช กฤษณะดิลก, ปทานุกรมพระเครื่องชุดเบญจภาคี (กรุงเทพฯ : โรงพิมพคุรุสภาลาดพราว,

2546), 124. 98 สรพล โศภิตกุล, สุดยอดพระเคร่ือง ๑, 59. 99 ป.หวลวิไล [นามแฝง], ตําราดูลักษณะพระเครื่อง (พระนคร : สํานักพิมพผานฟาพิทยา, 2506), 45.

Page 45: พุทธพาณิ ชยพระเคร : ื่ อง...บ ณฑ ตว ทยาล ย มหาว ทยาล ยศ ลปากร อน ม ต ใศ กษาตามหล

36

แบบที่มีชื่อเสียงพบที่วัดใหญชัยมงคล จ.พระนครศรีอยุธยา นอกจากนี้ยังพบท่ีวัดเชิงทา จ.นนทบุรี ซึ่งคงนํามาจากอยุธยา100 สรางดวยดินผสมผงและปูน ดินท่ีนํามาสรางคาดวาคงคัดพิเศษเนื่องจากมีสีไมเหลืองคล้ําเหมือนพระดินทั้งหลาย หรืออาจจะถอดพิมพโดยไมไดผานการเผา แตกดพิมพแลวตากแหงจากนั้นจึงเคลือบน้ํายาไวอีกชั้นหนึ่ง นํ้ายาที่เคลือบหากเปนที่วัดใหญชัยมงคลมักเปนสีเหลืองอมน้ําตาลไหม ขณะที่กรุวัดเชิงทาน้ํายาเคลือบคอนขางบางสีเขียวออนอมน้ําตาลเคลือบเฉพาะดานหนาและขอบ และหากเปนของทําเลียนแบบน้ํายามักเปนสีเหลืองเขมชั้นน้ํายาเคลือบหนา101 ลักษณะพระพิมพเปนพระพุทธเจาประทับนั่งขัดสมาธิราบแสดงปางมารวิชัยภายในซุมเรือนแกว พระพักตรรูปไข พระขนงโกง พระเนตรโต พระกรรณยาวจรดพระพาหา พระรัศมียาวจรดซุม ครองจีวรหมเฉียง ปลายสังฆาฏิคลายรูปหางปลายาวจรดพระนาภี พระเพลากวางมีขอบสบง 2 เสนที่พระชานุ (เขา) และขอพระบาท พระขุนแผนเคลือบมี 2 พิมพคือพิมพใหญกับพิมพเล็ก พระขุนแผนยังมีอีกแหงท่ีมีช่ือเสียงคือพระขุนแผนกรุวัดบานกราง จ.สุพรรณบุรีโดยเฉพาะพิมพหาเหลี่ยมอกใหญอันมีลักษณะคลายคลึงกับพระขุนแผนกรุวัดใหญชัยมงคลที่สุด ความแตกตางที่เห็นชัดเจนมีเพียงความละเอียดของเนื้อพระกลาวคือ พระขุนแผนกรุวัดบานกรางมีเนื้อหยาบกวา102 และไมเคลือบน้ํายา พระขุนแผนทั้งสองกรุเชื่อวาเปนพระพิมพที่สรางในสมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราชหลังจากเหตุการณสําคัญทางประวัติศาสตรคือการกระทํายุทธหัตถีกับพระมหาอุปราชที่หนองสาหราย จ.สุพรรณบุรี โดยมีเหตุผลสนับสนุนทั้งจากหลักฐานทางเอกสารที่ระบุถึงเสนทางการเดินทัพ สิ่งแวดลอมสถานที่ และรูปแบบทางศิลปะ103

100 ประชุม กาญจนวัฒน, พระเคร่ือง, (กรุงเทพฯ : ศรีเมืองการพิมพ, 2516), 101. 101 อางแลว, 106 ; พระยาสุนทรพิพิธ (เชย), อิทธิปาฏิหาริยพระเครื่องรางของขลัง (พระนคร : ศิล

ปาบรรณาคาร, 2515), 170 – 171. 102 คเณศรพร [นามแฝง], พระขุนแผนกรุวัดบานกราง จ.สุพรรณบุรี (กรุงเทพฯ : สํานักพิมพคเณศร

พร, 2547), 13. 103 ดูรายละเอียดไดใน มนัส โอภากุล, “วินิจฉัยพระเครื่องตระกูลวัดบานกราง : ใครสราง?,” เมือง

โบราณ 21, 1- 4 (มกราคม – ธันวาคม 2538) : 343 – 350.

Page 46: พุทธพาณิ ชยพระเคร : ื่ อง...บ ณฑ ตว ทยาล ย มหาว ทยาล ยศ ลปากร อน ม ต ใศ กษาตามหล

37

3. พระนางพญา (ภาพที่ 17)

ภาพที่ 17 พระนางพญาพิมพสังฆาฏิ

(ที่มา : www.thaprachan.com/shop [online], accessed 10 February 2007) เปนพระที่ไดรับการจัดอันดับใหเปนหนึ่งในพระชุดเบญจภาคี สวนมากพบในซาก

ปรักหักพังท่ีจมดินบริเวณดานหนาวัดนางพญาและวัดอ่ืนๆ ในพิษณุโลกแตพบเปนจํานวนนอยกวาที่วัดนางพญา เปนพระเนื้อดินเผา เนื้อผงใบลานเผา และเนื้อผงหิน ประกอบดวย 8 พิมพคือ พิมพใหญเขาโคง พิมพใหญเขาตรง พิมพสังฆาฏิ พิมพอกแฟบ พิมพอกตั้ง พิมพพิเศษอกนูน พิมพพิเศษแขนออนแบบสุโขทัย และพิมพพิเศษแขนออนแบบอยุธยา104 โดยแตละพิมพมีลักษณะที่พิเศษแตกตางกันบางประการแตพุทธลักษณะโดยรวมของพระนางพญาเปนพระพิมพตัดกรอบรูปสามเหลี่ยมประทับนั่งขัดสมาธิราบแสดงปางมารวิชัย พระพักตรรูปไขแตพระหนุปานเล็กนอย ไมปรากฏรายละเอียดตางๆ พระกรรณเปนแนวเสนที่เรียวคมจรดพระพาหา ไรพระศกเรียวไปตามกรอบพระพักตร พระรัศมีเรียวตรง ครองจีวรหมเฉียงที่มีชายสังฆาฏิยาวจรดพระนาภี สวนดานหลังพระพิมพปรากฏรอยนิ้วมือซึ่งมักพบเปนสวนฐานของนิ้วหัวแมมือ จากพุทธลักษณะทําใหเชื่อวาพระนางพญานาจะสรางในสมัยอยุธยาตอนกลางโดยพระวิสุทธิกษัตริยพระชายาพระมหาธรรมราชาในชวงเวลาที่ทรงครองหัวเมืองฝายเหนือและพิษณุโลก105 อยางไรก็ตาม

104 ดูการจําแนกพิมพไดใน ตรียัมปวาย [นามแฝง], ปริอรรถาธิบายแหงพระเครื่องฯ เลมท่ี 2 : พระ

นางพญาและพระเครื่องฯ สําคัญเมืองพิษณุโลก (พระนคร : สํานักพิมพแพรพิทยา, 2508), 146 – 293 อนึ่ง บางทานจัดมาตรฐานพระพิมพพระนางพญาได 7 พิมพ ดู วิวัฒน อุดมกัลยารักษ, เบญจภาคี ๒, 15.

105 ตรียัมปวาย [นามแฝง], ปริอรรถาธิบายแหงพระเครื่องฯ เลมท่ี 2 : พระนางพญาและพระเครื่องฯ สําคัญเมืองพิษณุโลก, 145.

Page 47: พุทธพาณิ ชยพระเคร : ื่ อง...บ ณฑ ตว ทยาล ย มหาว ทยาล ยศ ลปากร อน ม ต ใศ กษาตามหล

38

บางทานเชื่อวาเปนพระพิมพสมัยเชียงแสน106 ในขณะที่บางทานกําหนดอายุใหเปนพระพิมพสมัยสุโขทัย107 4. พระชุดกิมตึ๋ง พบท่ีวัดพลายชุมพล จ.สุพรรณบุรี แตกกรุครั้งแรกราว พ.ศ. 2449 ในชวงแรกๆ เรียกกันวา “พระตับพลายชุมพล” ตามสถานที่พบ แตเหตุการเปลี่ยนชื่อพระพิมพจะกลาวตอไปในบทที่ 4 พระชุดกิมตึ๋งเปนพระที่ไดรับความนิยมในอดีตเปนอยางมาก นับเปนตัวอยางของการสะสมพระพิมพในยุคแรกๆ เปนพระเนื้อดินคอนขางหยาบ พิมพตื้นไมคอยมีรายละเอียดชัดเจน ทั้งยังกดพิมพไมคอยเรียบรอย ซึ่งอาจเปนผลใหความนิยมลดลงในปจจุบัน ประกอบกับไมคอยมีหมุนเวียนในตลาดพระ พระชุดกิมตึ๋งประกอบดวยพระพิมพดินเผา 4 พิมพ คือ

4.1 พระสี่กร (ภาพที่ 18)

ภาพที่ 18 พระสี่กร

(ที่มา : www.thaprachan.com/shop [online], accessed 10 February 2007) เปนพระพิมพรูปสามเหลี่ยมทรงชะลูด ไมปรากฏรายละเอียดที่ชัดเจนแตแสดงภาพ

พระพุทธเจาประทับนั่งแสดงปางมารวิชัยภายในซุมบนฐานที่คลายดอกบัวมีกาน สวนพื้นหลังมีรองรอยคลายพระกรเพิ่มอีกขางละหนึ่ง ซึ่งอันที่จริงอาจเปนพระรัศมี พระสี่กรเปนพระเนื้อดินเผาสีแดงมีคราบกรสุีเทาเกาะบางแหงตามซอกพระพาหาและบริเวณสวนลึกขององคพระ

106 ป. หวลวิไล [นามแฝง], ตําราดูลักษณะพระเครื่อง (พระนคร : สํานักพิมพผานฟาพิทยา, 2506),

10. 107 M.L Pattaratorn Chirapravati, Votive Tablets in Thailand : Origin, Styles and Uses, 16.

Page 48: พุทธพาณิ ชยพระเคร : ื่ อง...บ ณฑ ตว ทยาล ย มหาว ทยาล ยศ ลปากร อน ม ต ใศ กษาตามหล

39

4.2 พระมอญแปลง (ภาพที่ 19)

ภาพที่ 19 พระมอญแปลง

(ที่มา : www.thaprachan.com/shop [online], accessed 10 February 2007) พระพิมพเปนรูปไขเกือบกลม แสดงภาพพุทธเจานั่งแสดงปางมารวิชัยภายในซุม พระ

พักตรและลําพระองคคอนขางใหญ ท่ีดานหลังพระพิมพมีรอยนิ้วมือ

4.3 พระปรกชุมพล (ภาพที่ 20)

ภาพที่ 20 พระปรกชุมพล

(ที่มา : www.thaprachan.com/shop [online], accessed 10 February 2007) เปนพระพิมพรูปไขคอนขางหนาเนื้อดินเผาคอนขางละเอียดผิวมันแสดงภาพ

พระพุทธเจานาคปรกปางสมาธิ ดานหลังพระคอนขางนูน

Page 49: พุทธพาณิ ชยพระเคร : ื่ อง...บ ณฑ ตว ทยาล ย มหาว ทยาล ยศ ลปากร อน ม ต ใศ กษาตามหล

40

4.4 พระประคํารอบ (ภาพที่ 21)

ภาพที่ 21 พระประคํารอบ

(ที่มา : www.thaprachan.com/shop [online], accessed 10 February 2007) เปนพระพิมพรูปคอนขางกลม เนื้อดินคอนขางหยาบกวาทุกองค พระพุทธเจาประทับนั่ง

แสดงปางมารวิชัยภายในซุมที่มีเม็ดลูกประคําประดับอยูโดยรอบเหนือฐานบัวคว่ํา – บัวหงาย 5. พระมเหศวร (ภาพที่ 22)

ภาพที่ 22 พระมเหศวร

(ที่มา : www.thaprachan.com/shop [online], accessed 10 February 2007) พบภายในกรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จ.สุพรรณบุรี และที่วัดมเหยงค ต.ทาระหัด ในเขต

อําเภอเมือง จ.สุพรรณบุรี เปนพระเนื้อชินเงินและสังฆวานร ไดรับการจัดใหเปนพระชุดยอดขุนพลหรือเบญจภาคีเนื้อชิน พระมเหศวรมีรูปรางเปนตัวไอ (I) แสดงภาพพระพุทธเจาประทับน่ังขัดสมาธิราบแสดงปางมารวิชัย พระพักตรใหญ ครองจีวรหมเฉียงชายสังฆาฏิปลายตัดยาวจรดพระนาภีประทับบนฐานเขียงเตี้ยๆ เบื้องหลังพระเศียรปรากฏพระรัศมีเปนเสนแนวนอน 3

Page 50: พุทธพาณิ ชยพระเคร : ื่ อง...บ ณฑ ตว ทยาล ย มหาว ทยาล ยศ ลปากร อน ม ต ใศ กษาตามหล

41

ขีด เม่ือพลิกไปดานหลังจะปรากฏรูปพระพุทธเจาเชนเดียวกันในลักษณะหัวกลับจากทางดานหนา พระมเหศวรนี้บางทานกําหนดอายุแตกตางไปเปนพระพิมพสมัยสุโขทัย108

6. พระโดดรม (ภาพที่ 23)

ภาพที่ 23 พระโดดรม

(ที่มา : www.thaprachan.com/shop [online], accessed 10 February 2007) แมวาพระโดดรมจะไมใชพระที่นิยมในตลาดพระ แตก็เปนตัวอยางหนึ่งที่สะทอนถึง

ความเชื่อสําคัญในวงการพระเครื่องที่จะกลาวตอไปในบทที่ 4 พระโดดรมพบภายในกรุพระปรางควัดราชบูรณะ จ.พระนครศรีอยุธยา เปนพระเนื้อชินรูปพระพุทธเจาประทับน่ังแสดงปางมารวิชัยบนฐานบัวคว่ํา – บัวหงาย พระพุทธองคประทับอยูภายใตซุมและตนโพธิ์ พระพักตรคอนขางกลม พระรัศมีรูปกรวยแหลม ทรงครองจีวรหมเฉียงที่มีชายสังฆาฏิยาวจรดพระนาภี พระพิมพสมัยรัตนโกสินทร (พุทธศตวรรษท่ี 24 – ปจจุบัน) พระพิมพในระยะแรกๆ ยังคงสรางแลวบรรจุลงในกรุเชนเดียวกับสมัยอยุธยา แตตอมาราวรัชกาลที่ 4 ไดเกิดเทคโนโลยีการผลิตเหรียญกษาปนซึ่งมีท้ังเหรียญเงินตราและเหรียญที่ระลึกตางๆ เชื่อวาการผลิตเหรียญนาจะมีผลตอการสรางเหรียญพระเครื่อง แตในตอนนั้นสรางขึ้นมาเพื่อเปนที่ระลึกในการฌาปนกิจพระสงฆนามวาพระชลโธปมคุณมุนี (พุฒ ปุณณกเถร) เจาอาวาสวัดบางทราย จ.ชลบุรี สรางโดยสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย (เจริญ ญาณวรเถร) วัดเทพศิรินทราวาสเมื่อครั้งเปนพระเทพกวี ในป พ.ศ. 2450 เรียกกันวา “เหรียญตาย”109 นอกจากนี้เหรียญตายที่มีช่ืออีกเหรียญที่เคยเขาใจกันวานาจะเปนเหรียญพระเครื่องเหรียญแรกคือเหรียญพระพุทธ

108 พินัย ศักดิ์เสนีย, นามานุกรมพระเครื่อง, 401. 109 สรพล โศภิตกุล, สุดยอดเหรียญพระเครื่องกระบวน ๒ (กรุงเทพฯ : สํานักพิมพมติชน, 2544), 14.

Page 51: พุทธพาณิ ชยพระเคร : ื่ อง...บ ณฑ ตว ทยาล ย มหาว ทยาล ยศ ลปากร อน ม ต ใศ กษาตามหล

42

วิริยากร (จิตร ฉันโน) หรือเหรียญวัดสัตตนารถปริวัตร จ.ราชบุรี สรางในป พ.ศ. 2458 เพื่อเปนที่ระลึกในการฌาปนกิจ110 และนับตั้งแตน้ันมาการผลิตพระจึงไมไดจํากัดเทคนิคเฉพาะการพิมพหรือหลอเทานั้น เพราะการทําเหรียญโดยเฉพาะการปมดวยเครื่องจักรทําใหสามารถสรางพระไดเปนจํานวนมาก จนอาจกลาวไดวาสมัยรัตนโกสินทรมีการสรางพระเครื่องเปนจํานวนมากที่สุด สําหรับพระเครื่องท่ีนิยมเลนหากันมีตัวอยางดังนี้

1. พระสมเด็จวัดระฆงั (ภาพที่ 24)

ภาพที่ 24 พระสมเด็จวัดระฆัง

(ที่มา : www.thaprachan.com/shop [online], accessed 10 February 2007) พระสมเด็จวัดระฆังเปนพระพิมพที่ไดรับความนิยมมากที่สุดในปจจุบัน กลาวไดวาการ

มีพระสมเด็จฯในครอบครองถือวาเปนจุดสูงสุดของเซียนพระ เนื่องจากพระสมเด็จฯไดช่ือวาเปน “จักรพรรดิ์แหงพระเครื่อง” สรางโดยสมเด็จพระพุฒาจารย (โต พรหมรังสี) วัดระฆังโฆษิตาราม ราวป พ.ศ. 2408 และไดสรางเรื่อยมาจนถึงป พ.ศ. 2415111 เปนพระพิมพรูปสีเ่หลีย่มผนืผา เชื่อวาองคพระและฐานจําลองแบบโดยยอสวนมาจากพระประธานภายในพระอุโบสถวัดระฆังโฆษิตาราม112 แตตัดพระอัครสาวกซาย – ขวาออก พุทธลักษณะเปนพระพุทธเจาประทับน่ังแสดงปางสมาธิบนฐาน 3 ช้ันดูโดดเดน พระพักตรกลม พระรัศมีเปนเสนตรงยาวจรดซุมเรือนแกวครอบองคพระที่ออกแบบมาอยางเรียบงายไมปรากฏรายละเอียดตางๆ ท่ีดานหลังองคพระปรากฏรอยกระดานและบางองคเปนรอยกาบหมากซึ่งเกิดจากขั้นตอนการกดแมพิมพ เชื่อกันวา

110 สรพล โศภิตกุล, สุดยอดเหรียญพระเครื่อง (กรุงเทพฯ : สํานักพิมพมติชน, 2540), 10 – 11. 111 ฉันทิชย กระแสสินธุ, สมเด็จพระพุฒาจารย (โต) เลม ๑, 77. 112 วิวัฒน อุดมกัลยารักษ, เบญจภาคี๑, 27.

Page 52: พุทธพาณิ ชยพระเคร : ื่ อง...บ ณฑ ตว ทยาล ย มหาว ทยาล ยศ ลปากร อน ม ต ใศ กษาตามหล

43

หลวงวิจารณเจียรนัยชางทองหลวงประจําราชสํานักรัชกาลท่ี 4 เปนผูแกะพิมพพระถวาย สวนเนื้อพระนั้นมีสวนผสมหลักคือปูนเปลือกหอยที่ไดจากการนําเปลือกหอยมาเผาผสมกับผงวิเศษท้ัง 5 ประการ ดินจากลานทุงเศรษฐี จ.กําแพงเพชร รวมทั้งพระพิมพเกาเมืองกําแพงเพชรที่แตกหัก113 สวนตัวประสานหรือตัวยึดเกาะพระเปนน้ํามันตังอิ๊ว น้ําออย น้ําผึ้ง กลวยน้ําวาและเยื่อกระดาษที่ไดจากการนําเอากระดาษฟางหรือกระดาษสามาแชนํ้าจนกระทั่งกระดาษละลายจึงนํามากรองเพื่อนําเยื่อกระดาษมาผสมแลวบดตําลงไป กลาวกันวาเยื่อกระดาษนี้ทําใหเนื้อพระสมเด็จฯ มีความหนึกนุมไมแหงกระดาง แลวปลุกเสกดวยพระคาถาชินบัญชร114

พระสมเด็จฯ สรางแบบคอยเปนคอยไปไมไดสรางเพียงครั้งเดียวทําใหพระแตละพิมพมีเนื้อหาตลอดจนมวลสารตางกันท้ังความละเอียดของเนื้อและสีสันเมื่อสรางแตละพิมพในแตละคราวเสร็จทานจะนําไปแจกญาติโยมท่ีมาใสบาตร พระสมเด็จฯ ที่รูจักเปนท่ีนิยมและเลนหาเปนมาตรฐานมี 4 พิมพ ไดแก พิมพใหญ (พิมพพระประธาน), พิมพทรงเจดีย, พิมพฐานแซมและพิมพเกศบัวตูม

2. เหรียญหลวงปูเอ่ียม วัดหนังราชวรวิหาร (ภาพท่ี 25)

ภาพที่ 25 เหรียญยันตสี่หลวงปูเอี่ยม วัดหนัง

(ที่มา : www.thaprachan.com/shop [online], accessed 10 February 2007)

113 เกรียงศักดิ์ จารุพนานนท, “สองผานแวนขยายพระสมเด็จวัดระฆังพบเห็นมวลสารอะไร?,” มหา

โพธิ์ 17, 339, (15 – 30 มิถุนายน 2539) : 2. 114 www.salatham.com/prayer/shinban.htm [online]. Accessed 9 January 2007.

Page 53: พุทธพาณิ ชยพระเคร : ื่ อง...บ ณฑ ตว ทยาล ย มหาว ทยาล ยศ ลปากร อน ม ต ใศ กษาตามหล

44

หลวงปูเอ่ียม หรือพระภาวนาโกศลเถระเปนพระสงฆที่รัชกาลที่ 5 ทรงนับถือมากดังที่ทรงเสด็จฯ ไปนมัสการหลวงปูกอนเสด็จฯ ประพาสยุโรปในป พ.ศ. 2440115 วัตถุมงคลของทานมีหลายอยางทั้ง พระปดตา พระชัยวัฒน ตะกรุด หมากทุย แตที่มีช่ือเสียงท่ีสุด คือเหรียญยันตสี่ ที่สรางใน พ.ศ. 2467 นับเปนหนึ่งในชุดเบญจภาคีเหรียญท่ีประกอบดวย เหรียญหลวงพอกลั่น วัดพระญาติ จ.พระนครศรีอยุธยา, เหรียญหลวงพอคง วัดบางกะพอม จ.สมุทรสงคราม, เหรียญหลวงพอฉุย วัดคงคาราม จ.เพชรบุรี, และเหรียญที่หายากที่สุดคือเหรียญหลวงพอไข วัดบพิตรพิมุขที่สรางเพียง 500 เหรียญนักเลนจึงมักจะแทนดวยเหรียญหลวงปูศุข วัดปากคลองมะขามเฒา จ.ชัยนาท หรือไมก็เหรียญหลวงพอพุม วัดบางโคล สําหรับเหรียญยันตส่ีของหลวงปูเอี่ยมเปนเหรียญปมประกอบดวยเนื้อทองคํา(ทองทึบ), เนื้อเงินและเนื้อทองแดง นอกจากนี้ยังมีแบบพิเศษคือเหรียญพ้ืนเงิน องคพระเปนทองคําหรือนากดุนสูง และเหรียญทองคําลงยาราชาวดีองคพระดุนสูงแบงพิมพไดเปนพิมพสามจุดและสี่จุด ลักษณะเปนเหรียญรูปเสมาทางดานหนาแสดงรูปหลวงปูครองจีวรหมเฉียงนั่งขัดสมาธิราบบนอาสนะที่เปนโตะขาสิงหช้ันเดียว เหนือศีรษะเปนตัวอักษรขอมอานวา “พุทโธ” ที่ใตอาสนะอานวา “ภาวนาโกศลเถร” อันเปนนามของทาน สวนทางดานขางตามแนวคอดของเสมาอานวา “วัน๖เดือน๑๑” และ “ปมะโรงจัตวาศก” หมายถึงวันเดือนปท่ีสรางเหรียญ มีการตกแตงดวยลายกนกที่ขางแขนและใตอาสนะ สําหรับดานหลังยันตนะปถมังประกอบดวยตัวนะปถมังอันเปนหัวใจของยันตส่ีนี้อยูตอนกลางของยันต และหัวใจพระพุทธเจาหาพระองคโดยที่มุมยันตลง “นะโมพุทธา” สวน “ยะ” อยูกลางยันตกับตัว “นะ” ที่เหนือยันตส่ีเปนหัวใจพระรัตนตรัยคือ “มะอุอะ” และอุณาโลม สวนท่ีดานใตยันตสี่เปนหัวใจธาตุสี่ “นะมะพะทะ”116 และท่ีดานคอดของเสมาเปน “พ.ศ.๒๔๖๗” คั่นกลางดวยลายคลายกลีบบัวปลายแหลม ที่ปลายขอบเหรียญทั้งดานหนาดานหลังตกแตงดวยลายกนก สําหรับวัตถุประสงคการสรางเหรียญครั้งนี้มีหลักฐานชัดเจนวาเพื่อตองการมอบเปนสิ่งตอบแทนแกผูมาทําบุญปฏิสังขรณศาลาการเปรียญของวัดในคราวนั้น117

115 ดูรายละเอียดไดใน ตรียัมปวาย [นามแฝง], หลวงพอวัดหนังและอิทธิวัตถุ (พระนคร : โรงพิมพ

อักษรสัมพันธ, 2514), 111- 120 116 ดูวิธีการลงยันต ความหมายของยันตไดใน พระราชครูวามเทพมุนี, คัมภีรยันต๑๐๘ (กรุงเทพฯ :

โรงพิมพลูก ส.ธรรมภักดี, 2521), 10. 117 ตรียัมปวาย [นามแฝง], หลวงพอวัดหนังและอิทธิวัตถุ, 227.

Page 54: พุทธพาณิ ชยพระเคร : ื่ อง...บ ณฑ ตว ทยาล ย มหาว ทยาล ยศ ลปากร อน ม ต ใศ กษาตามหล

45

3. เหรียญหลวงพอจง วัดหนาตางนอก จ. พระนครศรีอยุธยา พิมพนิยมหนาใหญ ปพ.ศ. 2485 (ภาพที่ 26)

ภาพที่ 26 เหรียญหลวงพอจง วัดหนาตางนอก

(ที่มา : www.thaprachan.com/shop [online], accessed 10 February 2007) หลวงพอจงเปนพระเกจิที่มีช่ือเสียงมากในชวงสงครามอินโดจีนตอกับสงครามโลกครั้ง

ท่ี 2 อยูในกลุมเกจิอันเลื่องชื่อสมัยนั้นคือ “จาด จง คง อ๋ี” หรือ “จาด จง คง เดิม” การท่ีทานเปนพระใจดีประกอบกับวัตถุมงคล เชน ตะกรุด เสื้อยันตแดงราชสีหมีพุทธคุณเปนที่กลาวขานในชวงเวลานั้นจึงมีชาวบานสรางพระเครื่องและวัตถุมงคลมากมายมาใหทานปลุกเสก (คลายๆ หลวงพอคูณในสมัยน้ี) แตท่ีจะกลาวในที่นี้คือ เหรียญปมรูปเหมือนป พ.ศ. 2485 พิมพนิยมหนาใหญ เปนเหรียญทรงเสมาแบบมีหูในตัว ดานหนาของเหรียญเปนรูปหลวงพอนั่งสมาธิและน่ังทามารวิชัยปราศจากอาสนะรองรับ มีตัวอักษรขอม โดยรอบรูปเหมือนวา “นะโมพุทธายะ” อันเปนหัวใจพระพุทธเจาหาพระองค ขอบเหรียญมีลายกนก ลายชอดอกไมอยูรอบๆ เหรียญ ดานหลัง ตรงกลางเปนยันตสี่เหลี่ยมจัตุรัสรองรับสี่เหลี่ยมขนมเปยกปูน เรียกกันวา “ยันตสี่ทิศสี่มุม” ดานบนเขียนวา “ที่ระลึก” และดานลางวา “หลวงพอจง ๒๔๘๕” เหรียญนี้แบงเปน พิมพน่ังทามารวิชัยเนื้อทองแดง และพิมพนั่งสมาธิเนื้อทองแดงและเนื้อเงินลงยา

4. เหรียญหลวงพอคูณ วดับานไร จ.นครราชสีมา (ภาพที่ 27)

ภาพที่ 27 เหรียญหลวงพอคูณ รุนโดดตึก

(ที่มา : www.thaprachan.com/shop [online], accessed 10 February 2007)

Page 55: พุทธพาณิ ชยพระเคร : ื่ อง...บ ณฑ ตว ทยาล ย มหาว ทยาล ยศ ลปากร อน ม ต ใศ กษาตามหล

46

หลวงพอคูณ ปริสุทโธ เปนพระเกจิอาจารยท่ีมีช่ือเสียงท่ีสุดในปจจุบัน และกลาวไดวาทานไดสรางพระเครื่องออกมามากมายหลายรุนจนไมสามารถทราบไดวามีท้ังหมดเทาไร แตเหรียญที่ทําใหทานมีช่ือเสียงจนเปนที่รูจักของคนทั้งประเทศคือเหรียญที่สรางในป พ.ศ. 2530 เพ่ือเปนที่ระลึกในงานเปดปายสํานักงานสหกรณดานขุนทด เรียกกันวา “รุนสหกรณดานขุนทด” แตปจจุบันเรียกกันวา “รุนโดดตึก” (รายละเอียดของที่มาชื่อเหรียญจะกลาวตอไปในบทที่ 4) ลักษณะเหรียญโดยมากของหลวงพอคูณจะแสดงรูปทานที่ดานหนา สวนดานหลังมักลงยันตที่กลางเหรียญและดานขางเปนขอความบอกรุนวาสรางในโอกาสใด

5. จตุคามรามเทพ (ภาพที่ 28)

ภาพที่ 28 จตุคามรามเทพ รุน พ.ศ. 2530

(ที่มา : www.thaprachan.com/shop [online], accessed 10 February 2007) วัตถุมงคลทาวจตุคามรามเทพเริ่มปรากฏเปนที่รูจักใน พ.ศ. 2528 และนับวาเปนวัตถุ

มงคลใหมที่มีกระแสแรงมากที่สุดในตอนนี้ เช่ือกันวาเปนพระโพธิสัตวหรือเทพที่รักษาเมืองนครศรีธรรมราช ตามตํานานกลาววาในอดีตเปนกษัตริยสมัยศรีวิชัยนามวา จันทรภาณุ และอางกันวาในอีกชาติหนึ่งคือพญาศรีธรรมโศกราช118โดยแรกเริ่มนั้นสถิตยอยูที่บานประตูทางขึ้นพระบรมธาตุ ในป พ.ศ. 2530 ไดมีการตั้งดวงเมืองขึ้นมาใหมและสรางศาลหลักเมืองของจังหวดัจงึไดอัญเชิญไปสถิตยที่ศาลหลักเมืองตั้งแตนั้น วัตถุมงคลจตุคามรามเทพสรางออกมาหลายรุนหลายแบบแตในท่ีนี้จะกลาวถึงเฉพาะรุนแรก (พ.ศ.2530) เรียกวาผงสุริยัน – จันทรา โดยสัมพันธกับนาม “จันทรภาณุ” ซึ่งมาจากความเชื่อวาองคจตุคามรามเทพมีความงามอันมีเสนหดุจพระจันทรและมีเดชานุภาพประดุจพระอาทิตย อยางไรก็ตามบางแหงอางวามาจากตํานานเรื่องเจาชายราม

118 www.jatukarm.com.[online]. Accessed 9 January 2007.

Page 56: พุทธพาณิ ชยพระเคร : ื่ อง...บ ณฑ ตว ทยาล ย มหาว ทยาล ยศ ลปากร อน ม ต ใศ กษาตามหล

47

เทพผูมีพระบิดานามวาพระสุริยเทพและพระมารดานามวาพระนางจันทรา ทรงเชี่ยวชาญวิชาจตุคามศาสตรอันเปนเวทมนตรที่วาดวยการบังคับธรรมชาติ เชน หามคลื่นลม ทําใหฝนตก ฝนแลง พระอาทิตยทรงกลด เพื่อบันดาลความโชคดี โชครายใหเกิดขึ้นได เปนตนโดยสัญลักษณอันเปนเครื่องหมายของจตุคามศาสตรคือ รูปราหูอมจันร119 ลักษณะผงสุริยัน – จันทราเปนพิมพรูปวงกลมแบนขนาดเสนผานศูนยกลางประมาณ 2 น้ิว และ 1.5 น้ิว เนื้อผงประกอบดวยมวลสารที่เชื่อวาเปนมงคลไดแก ผงไมตะเคียนทองหลักเมือง ดินสังเวชนียสถานทั้งสี่ ดินเจ็ดปาชา ขาวสุกเจ็ดนา ผงกะลาตาเดียว วานมงคลรอยแปด น้ําศักดิ์สิทธิ์สี่บอ ผงอิทธิเจ แรเจ็ดเหมือง เกสรดอกไมรอยแปด น้ําผึ้งหลวง อับเพชร น้ํามันจันทน เงิน ทอง และนาก ดานหนาแสดงรูปพระโพธิสัตว 4 กรแทนองคจตุคามรามเทพ ลอมรอบดวยลายลูกประคําที่มีรูป 12 นักษตัรอันหมายถงึเมืองบริวารของพระเจาจันทรภาณุทั้ง 12 เมือง120 ถัดมาเปนลายกงจักรและรูปราหูอมจันทรลอมรอบ 8 ทิศ สวนดานหลังเปนยันตนะสะบัดหาง และ “นะมะพะทะ” สลับกันไปมา นาสังเกตวาเปนอักษรขอมกลับดานซึ่งเรียกกันวา “ยันตกลับ” จตุคามรามเทพรุนแรกนี้ประธานในการจัดสรางคือ พลตํารวจตรีขุนพันธรักษราชเดช และอางกันวาการประกอบพิธกีรรมจะผานจากการประทับรางทรงขององคจตุคามรามเทพ คือ นายอะผอง สกุลอมร มีการปลุกเสกโดยพระเกจิสํานักเขาออ จ.พัทลุงและพระเกจิเมืองนครศรีธรรมราชหลายรูปท่ีสําคัญคือมีพิธีบวงสรวงที่แปลกไปจากการปลุกเสกพระเครื่องที่อ่ืนคือมีการปลุกเสกที่ยอดเขาหลวงและปลุกเสกกลางทะเลหางจากฝง จ.นครศรีธรรมราชประมาณ 20 กิโลเมตรเพื่อเพ่ิมความขลัง ซึ่งนับเปนการสรางกระแสความนิยมอีกวิธีหน่ึง และกลาวกันวาวัตถุมงคลรุนนี้ทําเพียงครั้งเดียวไมมีการทําเพิ่มภายหลังเมื่อสรางเสร็จแลวทุบทําลายแมพิมพแลวฝงดินที่ฐานรากหลักเมือง

จตุคามรามเทพสรางออกมาหลายรุนและทํากันหลายวัดนับเปนปรากฏการณทางพุทธพาณิชยท่ีอาจกลาวไดวาประสบความสําเร็จในดานการวางแผนทางการตลาดเนื่องจากสวนมากแลวพระเครื่องหรือวัตถุมงคลยุคใหมมักมีความนิยมในชวงเวลาระยะสั้น แตจตุคามรามเทพกลับมีกระแสแรงเพิ่มขึ้นจึงเปนสิ่งท่ีนาจับตามองตอไป

119 เขมณัฏฐ หลอศรีศุภชัย, เปดตํานานจตุคามรามเทพเทวราชโพธิสัตว (กรุงเทพฯ : หางหุนสวน

จํากัดสํานักบานครู, 2550), 25. 120 เรื่องเดียวกัน, 29.

Page 57: พุทธพาณิ ชยพระเคร : ื่ อง...บ ณฑ ตว ทยาล ย มหาว ทยาล ยศ ลปากร อน ม ต ใศ กษาตามหล

48

ทั้งหมดนี้เปนตัวอยางของพระพิมพและพระเครื่องรางของขลังในสมัยตางๆ ที่มีความนิยมเลนหากันในวงการพุทธพาณิชย

Page 58: พุทธพาณิ ชยพระเคร : ื่ อง...บ ณฑ ตว ทยาล ย มหาว ทยาล ยศ ลปากร อน ม ต ใศ กษาตามหล

49

บทท่ี 3 พัฒนาการแนวคดิจากพระพิมพมาสูพระเครือ่งในบริบทของพุทธพาณิชย

ในบทนี้จะศึกษาถึงที่มาและการเปลี่ยนแปลงจากพระพิมพมาสูการนับถือพระเครื่องในฐานะเปน “ของขลัง” โดยอางอิงจากหลักฐานลายลักษณอักษร เชน จารึก ตํานานตางๆ ตลอดจนหลักฐานอื่นๆ ที่เกี่ยวของเพื่อใหเห็นถึงพัฒนาการแนวคิดจนกระทั่งเขาสูความเปนพุทธพาณิชย 3.1 หลักฐานดานลายลักษณอักษร จากประเด็นคติการสรางพระพิมพที่กลาวมาแลวในบทที่ 2 จะเห็นไดวาในชวงแรกๆ คือสมัยทวาราวดีมีการพบจารึกคาถาเยธัมมาฯ การกลาวถึงอริยสัจ 4 และปฏิจจสมุปบาท1 อาจทําใหเราเห็นภาพรวมการนับถือศาสนาที่เนนการปฏิบัติเพื่อการหลุดพนหรือทําใหเกิดปญญา การสรางพระพิมพจึงเปนเจตนาบริสุทธิ์คือเพ่ือสืบทอดศาสนาในฐานะที่เปนสิ่งเชื่อมโยงหรือสัญลักษณของพระพุทธเจาผูคนพบและสั่งสอนธรรมอันประเสริฐ ดังนั้น ในวงการพระเครื่องจึงไมนิยมเลนหาพระเครื่องสมัยทวาราวดีเพราะเชื่อวาเปนพระที่ไมผานการปลุกเสกและขนาดท่ีคอนขางใหญไมเหมาะกับการแขวนบูชากับตัว สมัยลพบุรีเปนชวงท่ีขอมเขามามีบทบาทในดินแดนไทย ปรากฏความเชื่อของศาสนาพราหมณและพุทธศาสนาแบบมหายานปะปนกัน จากจารึกหลายแหงท่ีมีการสาปแชงแบบพราหมณ2 จึงนาจะมีความเชื่อของอํานาจไสยเวทจากคัมภีรอาถรรพเวทในสมัยน้ี และเปนไปไดที่มีความเชื่อวารูปพระพุทธเจาหรือพระโพธิสัตวมีฐานะเปนส่ิงศักดิ์สิทธิ์ พรอมกับยังเปนสิ่ง

1 จารึกประเทศไทยเลม ๑ อักษรปลลวะ หลังปลลวะ พุทธศตวรรษที่ 12 - 14 (กรุงเทพฯ : กรม

ศิลปากร, 2529), 65 – 67, 98, 109 – 111, 120 – 121 ; ประชุมศิลาจารึกภาคที่ ๒ จารึกทวาราวดี ศรีวิชัย ละโว (พระนคร : โรงพิมพศิวพร, 2504), 46 – 52.

2 จารึกในประเทศไทยเลม ๓ อักษรขอม พุทธศตวรรษท่ี 15 – 16 (กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2529), 63 ; จารึกในประเทศไทยเลม ๔ อักษรขอม พุทธศตวรรษที่ 17 – 18 (กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2529), 99.

Page 59: พุทธพาณิ ชยพระเคร : ื่ อง...บ ณฑ ตว ทยาล ย มหาว ทยาล ยศ ลปากร อน ม ต ใศ กษาตามหล

50

สืบทอดพระพุทธศาสนา ซึ่งความเขมขลังของศิลปะรวมทั้งการเขามาของลัทธิตันตระซ่ึงนิยมเวทมนตรคาถาทําใหในวงการพระเครื่องเช่ือกันวาในสมัยลพบุรีคงเริ่มมีพิธีการปลุกเสกพระพิมพเปนพระเครื่องแลว3 โดยการลง “นะมะพะทะ” ซึ่งเปนธาตุท้ังส่ีที่เมื่อรวมกันแลวจะประกอบเปนรูปและมีชีวิต ซึ่งคลายกับการ “เบิกพระเนตร” แตไมปรากฏหลักฐานทางจารึกวาพระพิมพเปนของขลังแตอยางใด สมัยสุโขทัยมีหลักฐานชัดเจนจากศิลาจารึกวัดบางสนุก จ.แพร ซึ่งมีลักษณะตัวอักษรไทยสมัยสุโขทัยแบบเดียวกับศิลาจารึกของพอขุนรามคําแหงระบุวาใน พ.ศ. 1882 ไดมีการ “พิมพพระ” ดวยเหียก(ดีบุก) และดิน เพ่ือบําเพ็ญกุศล เปนพุทธบูชาโดยเจาเมืองตรอกสลอบพรอมดวย “ลูกเจาลูกขุนมูลนายไพรไทย ตลอดทั้งชาวแมชาวเจาทั้งหลาย”4 เชนเดียวกับจารึกวัดหินตั้งที่เมืองเกาสุโขทัย กลาววา “พิมพพระ” เพื่อประกอบบุญ เปนพุทธบูชารวมกับการสรางศาสนวัตถุอ่ืนๆ อยางไรก็ตาม สมัยสุโขทัยนี้นาจะมีความเชื่อในพระพุทธคุณของพระรัตนตรัยวาสามารถดลบันดาลใหศัตรูพินาศ และขจัดอันตรายได ดังคําบูชาพระรัตนตรัยที่ศิลาจารึกวัดตาเถรขึงหนัง5 และในสมัยพระมหาธรรมราชาลิไทนาจะมีความเชื่อที่มุงเนนเกี่ยวกับปาฏิหาริยและความอัศจรรยของพระพุทธเจาตามแนวคิดในคัมภีรบาลีที่แตงในลังกาไดแก คัมภีรช้ันอรรถกถา ฎีกา และปกรณพิเศษที่สัมพันธกับปญญาสชาดกซึ่งแตงในลานนา6 คัมภีรดังกลาวยังสนับสนุนความเชื่อเรื่องพุทธกาล 5000 ป และความหวังไปเกิดในพุทธภูมิใหมั่นคงยิ่งขึ้น สมัยอยุธยาจากจารึกลานเงินซ่ึงพบในเจดียวัดสองคบ จ.ชัยนาท ระบุวาในป พ.ศ.1916 (ตรงกับรัชกาลสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 1 แหงกรุงศรีอยุธยา) พอย่ีตัดผะและแมสรอยสรางเจดียบรรจุสิ่งของตางๆ และ “พระดีบุก” “พระพิมพ” เพื่อเปนอานิสงสใหไดไปเกิดในศาสนา

3 ตรียัมปวาย [นามแฝง],ปริอรรถาธิบายแหงพระเครื่องฯ เลม ๑ : พระสมเด็จ (กรุงเทพฯ :

สํานักพิมพคลังวิทยา, 2520), 27. 4 ประชุมศิลาจารึกภาคที่ ๔ (พระนคร : โรงพิมพสํานักนายกรัฐมนตรี, 2513), 133 – 136. 5 ประชุมศิลาจารึกภาคที่ ๓ (พระนคร : โรงพิมพสํานักนายกรัฐมนตรี, 2508), 71. 6 สุภาพรรณ ณ บางชาง, วิวัฒนาการเขียนภาษาบาลีในประเทศไทย : ประเภทวิเคราะหธรรมใน

พระสุตตันตปฎก (รายงานการวิจัยคณะอักษรศาสตร จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย, 2529), 67 – 68 และดูปาฏิหาริยพระธาตุในจารึกวัดศรีชุม จารึกสมัยสุโขทัย (กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2527), 76.

Page 60: พุทธพาณิ ชยพระเคร : ื่ อง...บ ณฑ ตว ทยาล ย มหาว ทยาล ยศ ลปากร อน ม ต ใศ กษาตามหล

51

ของพระศรีอาริย7 และจารึกลานเงินวัดมหาธาตุ จ.พระนครศรีอยุธยา กลาวถึงขุนศรีรัตนากร “หลอพิมพพระ” เปนจํานวน 76,152 องค เพื่ออุทิศถวายแดสมเด็จพระรามาธิบดี สมเด็จพระศรีราชาธิราช รวมทั้งพระญาติวงศใหไดบรรลุนิพพาน สวนตัวขุนศรีรัตนากรขอใหไดไปเกิดในสวรรคช้ันดุสิต และไดมาเกิดในยุคพระศรีอาริยเพื่อบรรลุนิพพาน8 และจารกึของสิรนินัท ทีพ่บในกรุเดียวกันระบุวาสราง “พระพุทธรูปดีบุก” หมื่นกวาองคเพ่ือเปนอานิสงสใหไดเปนพระพุทธเจาในอนาคต9 จากหลักฐานจารึกที่กลาวมาทําใหทราบวาการสรางพระพิมพในสมัยอยุธยาสรางเพื่อเปนพุทธบูชา เปนการประกอบบุญกุศล (บุญกิริยาวัตถุ) และไมไดระบุวาพระพิมพเปนของขลังหรือ “พระเครื่อง” แตอยางใด อยางไรก็ตาม มีจารึกลานเงินท่ีกลาวอางกันวาสมเด็จพระพุฒาจารย (โต) ทานไดไปพบที่มาท่ีวัดเสด็จ จ.กําแพงเพชร เมื่อคราวขึ้นไปเยี่ยมญาติในเมืองน้ัน เปนจารึกที่มีเนื้อความกลาวถึงพระเจดียบรรจุพระบรมธาตุอยูริมแมนํ้าปงฝงตะวันตก จึงไดเสาะหากันตามจารึกนั้นพบพระเจดียสามองคชํารุดมาก พญาตะกาไดสรางใหมเปนองคเดยีว โดยขณะกําลังรื้อพระเจดียเกาไดพบลานเงินจารึกอักษรขอมอันเปนตํานานสรางพระพิมพและวิธีบูชา ซ่ึงนายชิตมหาดเล็กหลานพระยาประธานนคโรทัยไดคัดถวายรัชกาลที่ 510 เนื้อหาของจารึกโดยรวมเปนอยางเดียวกับลานทองที่พบที่วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ สุพรรณบุรี ที่กลาวถึงเมืองพิษณุโลก กําแพงเพชร พิชัยสงคราม พิจิตร และสุพรรณวามีพระฤาษีสรางพระพิมพถวายพระยาศรีธรรมาโศกราช แลวบอกวิธีประสิทธิ์คือมนตเสกคาถานวหรคุณเพื่ออาราธนาพระไปใชในการตางๆ เชน ใชปองกันศาสตราวุธในการสงคราม ใชในการคาขาย ฯลฯ ซึ่งในจารึกเรียกวา “พระพิมพ, พระเกสร, พระวาน และพระปรอท”11 แตในจารึกลานทองวัดพระศรีรัตนม

7 ประชุมศิลาจารึกภาคที่ ๓, 58 – 59. 8 ประชุมศิลาจารึกภาคที่ ๓, 47 – 49. 9 อางแลว, 56. 10 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกลาเจาอยูหัว, เสด็จประพาสตน ร.ศ.๑๒๕ (กรุงเทพฯ : บริษัท

อมรินทรพริ้นติ้งแอนดพับลิชชิ่งจํากัดมหาชน, 2547), 283. 11 ประชุมจดหมายเหตุสมัยอยุธยา ภาค ๑ (พระนคร : โรงพิมพสํานักทําเนียบนายกรัฐมนตรี,

2510), 77 – 78.

Page 61: พุทธพาณิ ชยพระเคร : ื่ อง...บ ณฑ ตว ทยาล ย มหาว ทยาล ยศ ลปากร อน ม ต ใศ กษาตามหล

52

หาธาตุ สุพรรณบุรีกลาวถึงประธานในการสรางคือพระมหาเถรปยะทัสสะสีสารีบุตรและนอกจากเกสรกับวานแลวยังใชแรสังฆวานรเปนวัสดุอีกดวย12 จากจารึกนี้อาจเปนหลักฐานเกาที่สุดที่ระบุถึงหนาที่อยางหนึ่งของพระพิมพนอกเหนือไปจากการเปนส่ิงสืบทอดพระพุทธศาสนาหรือเปนพุทธบูชาคือเปนวัตถุที่สามารถดลบันดาลใหเกิดอานุภาพตางๆ ได อยางไรก็ตาม ไมปรากฏหลักฐานวามีการอาราธนาพระพิมพติดตัวดวยวิธีการใด ไมเหมือนวัตถุมงคลประเภทอื่นเชนตะกรุด หรือผายันต และนักวิชาการบางทานมีความเห็นวาคนสมัยกอนไมนาหอยพระติดตัวเนื่องจากรูปพระพุทธเจาเปนของสูงไมควรอยูกับคนหรือไวในบานเพราะอาจทําใหเปนอัปมงคล แตควรไวในวัดเทานั้น13 แมวาจะยังไมอาจสรุปไดวาพระพิมพมีบทบาทเปนพระเครื่องในสมัยอยุธยาหรือไม แตดวยอยุธยามีความสัมพันธกับวัฒนธรรมขอมมาตั้งแตตนประกอบกับการสงครามและความผันผวนทางการเมืองท่ีเกิดขึ้นบอยครั้ง ทําใหมีความเชื่อเกี่ยวกับไสยศาสตรและวิทยาคมเชน ในสมัยสมเด็จพระนเรศวร ไดมีการนําพระพุทธรูปที่มีความหมายแหงชัยชนะ (พระชัย) ติดไปกับกองทัพดวยเพื่อเปนสิริมงคลและเปนกําลังใจ14 หรือหลักฐานที่ลาลูแบรบันทึกวาในสมัยสมเด็จพระนารายณน้ันออกพระเพทราชาเปนขุนนางผูใหญท่ีราษฎรลือกันวาเปนคนคงกระพนัชาตรียิงไมออกฟนไมเขา15 นอกจากนี้ยังมีพระยาสีหราชเดโชที่เปนแมทัพไปรบที่เชียงใหมแลวสามารถกลั้นใจหายตัวใหพวกเชียงใหม(ลาว)เห็นดาบกับไดยินเสียงควบมาแตไมเห็นตัวจนทัพเชียงใหมแตกหนีไมเปนขบวน16 และเรื่องของสมเด็จพระพุทธโฆษาจารยท่ีฟอรบังบันทึกไวหลังจากไปเยี่ยมทานวาเปนอาจารยของพระเพทราชาซึ่งมีช่ือเสียงวาเปนผูวิเศษ

12 มนัส โอภากุล, พระผงสุพรรณ (สุพรรณบุรี : มนัสการพิมพ, 2530), 30 – 31. 13 ศรีศักร วัลลิโภดม, พระเคร่ืองในเมืองสยาม (กรุงเทพฯ : สํานักพิมพมติชน, 2537), 17. 14 สุภาพรรณ ณ บางชาง, ขนบธรรมเนียมประเพณี : ความเช่ือและแนวการปฏิบัติในสมัยสุโขทัย

ถึงสมัยอยุธยาตอนกลาง (กรุงเทพฯ : สถาบันไทยศึกษา จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย, 2535), 114. 15 เดอ วีเซ, เร่ืองโกษาปานไปฝรั่งเศส, แปลโดย ฮีแลร, ฟ. (พระนคร : โรงพิมพอักษรสมัย, 2514),

336. 16 คําใหการชาวกรุงเกา (พระนคร : โรงพิมพเจริญธรรม, 2515), 121.

Page 62: พุทธพาณิ ชยพระเคร : ื่ อง...บ ณฑ ตว ทยาล ย มหาว ทยาล ยศ ลปากร อน ม ต ใศ กษาตามหล

53

ชํานาญเลขยันตมนตคาถาตางๆ ทําใหมีคนนับถือเปนอันมาก17 ทั้งหมดนี้อาจเปนส่ิงที่สะทอนถึงความเชื่อในอานุภาพของพระพุทธคุณในสมัยน้ันไดเปนอยางดี ในสมัยรัตนโกสินทร จากวรรณคดีเรื่องขุนชางขุนแผนที่แตงขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 2 โดยกวีหลายทาน18 อาจสะทอนความเชื่อท่ีมีในสังคมไทยไดดีเรื่องหนึ่ง ซึ่งไดมีการกลาววาขุนชางใชพระปรอทขอดไวกับดายมงคลและอมพระภควัมบดี (พระปดตา) ไวในปาก19 จึงนาจะเปนหลักฐานเกี่ยวกับการใชพระในฐานะที่เปนพระเครื่อง กลาวคือมีการแขวนหรือพกพาพระเครื่องติดตัวควบคูไปกับการใชเครื่องรางที่มีมาแตเดิมดังที่บาทหลวงปาลเลกัวซ ฌอง แบปติสตที่เดินทางเขามาในไทยสมัยรัชกาลที่ 4 ไดบันทึกวาคนไทยเชื่อวามีวิธีทําใหอยูยงคงกระพันไดโดยนําปรอทมาทําเปนกอนกลมพกติดตัว บางคนใชลูกประคําที่ทําจากไมมงคล บางคนใชโลหะที่เชื่อวามีสรรพคุณตางๆ20 และกลาวกันวาสมเด็จพระปนเกลาเจาอยูหัวทรงสรางแมพิมพพระพิมพสมเด็จ เรียกวา “พิมพจุฑามณี” ซึ่งสมเด็จพระพุฒาจารย (โต พรหมรังสี) สรางมวลสารเนื้อพระพิมพถวาย แลวพระราชทานพระบรมวงศานุวงศ รวมทั้งขาราชการผูใหญในวังหนา21

ตอมาในราวตอนตนรัชกาลที่ 5 นาจะมีการสะสมพระเครื่องกันแลวโดยเฉพาะพระกริ่งเขมรซ่ึงสมเด็จพระเจาบรมวงศเธอ กรมพระยาดํารงราชานุภาพขณะเมื่อยังทรงพระเยาวและทรงบวชเณรในป พ.ศ. 2418 ไดทรงบันทึกวามีการสะสมและเลนหาพระพุทธรูปกับรูปพระควัมเปนเครื่องราง ในสวนพระองคเองนั้นมีพระกริ่งเขมรท่ีไดจากคุณตา คือพระยาอัพภัน

17 “จดหมายเหตุฟอรบัง” ประชุมพงศาวดารภาคที่ ๘๐ (พระนคร : โรงพิมพพระจันทร, 2509),

188. 18 อุทัย ไชยานนท, วรรณกรรมกรุงรัตนโกสินทร รัชกาลท่ี ๑-๒-๓ (กรุงเทพฯ : บริษัทสํานักพิมพ

น้ําฝนจํากัด, 2546), 94. 19 ประจักษ ประภาพิทยากร, ประเพณีและไสยเวทวิทยาในขุนชางขุนแผน, (กรุงเทพฯ : องคการคา

ของคุรุสภา, 2525), 151. 20 ปาลเลกัวซ ฌอง แบปติสต, เลาเรื่องกรุงสยาม, แปลโดย สันต ท.โกมลบุตร (กรุงเทพฯ :

กาวหนาการพิมพ, 2520), 500. 21 เทิดพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระปนเกลาเจาอยูหัว (กรุงเทพฯ : กรมแพทยทหารเรือ, 2547),

54 อางจาก อําพัน ตัณฑวรรธนะ, หนังสือท่ีระลึกวันตรงกับเสด็จสวรรคตในพระบาทสมเด็จพระปนเกลาเจาอยูหัว ๗มกราคม ๒๕๓๔ (ม.ป.ท., ม.ป.ป.), 13.

Page 63: พุทธพาณิ ชยพระเคร : ื่ อง...บ ณฑ ตว ทยาล ย มหาว ทยาล ยศ ลปากร อน ม ต ใศ กษาตามหล

54

ตริกามาตย (ดิศ โรจนดิศ) ซึ่งสมเด็จพระมหาสมณเจา กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ พระอุปชฌายไดตรัสขอดูเพื่อเปรียบเทียบกับองคที่มี รวมทั้งตรัสบอกใหทรงเขาใจถึงการดูพระกริ่งแทกับของทําปลอม22 แสดงใหเห็นวาในสมัยนั้นมีการเลนหาสะสมและนิยมกันถึงขนาดมีการทําปลอมแลว ซึ่งอาจเปนไดวาการใชพระเครื่องอาจมีมาตั้งแตสมัยรัชกาลท่ี 4 แลว โดยอาจจะเปนทํานองเดียวกับเด็กไทยคริสตังแขวนไมกางเขนดังหลักฐานภาพพิมพไมจากรูปถายแผนเงินของอา จูรแดญ ในพ.ศ. 2397 ตรงกับสมัยรัชกาลที่ 4 (ภาพท่ี 29)

ภาพที่ 29 รูปหมูเด็กไทยในโรงเรียนคริสตัง บางกอก (ที่มา : พิพัฒน พงศรพีพร, สมุดภาพรัชกาลท่ี ๔, 30)

ราว พ.ศ. 2437 ไดเกิดเหตุการณ ร.ศ.112 กลาวกันวาไดมีการลักลอบนําพระพิมพออกจากกรุหลายแหงโดยเฉพาะพระกรุบางขุนพรหม23 และมีการซื้อขายกันเนื่องจากคนตองการพระเครื่องคุมครองตนจากเหตุการณไทยพิพาทกับฝรั่งเศส อนึ่ง ในคราวที่รัชกาลที่ 5 เสด็จมณฑลฝายเหนือ ร.ศ.120 (พ.ศ. 2445) ก็ปรากฏวาราษฎรตางตองการเหรียญเสมาพระราชทานเพื่อใหบุตรหลานไดแขวนคุมครองตัวเปนจํานวนมาก24 ซ่ึงเหรียญดังกลาวทําเปนรูปเสมาประทับตราจุลมงกุฎกับอักษรพระนาม เชนเดียวกับการเสด็จประพาสตนใน ร.ศ.125 (พ.ศ.2450) ที่เหรียญเสมาเปนที่ตองการอยางมาก (ภาพท่ี 30) นอกจากนี้ ยังทรงบันทึกถึงจารึกลานเงินตํานานพระพิมพที่กลาวในขางตน รวมทั้งความศรัทธาของประชาชนที่มีตอพระพิมพกําแพงเพชรวามีอานุภาพตางๆ จึงทําใหชาวเมืองตางเตรียมถวายพระพิมพเปนจํานวนมากแก

22 สมเด็จฯ กรมพระยาดํารงราชานุภาพ, ความทรงจํา (กรุงเทพฯ : สํานักพิมพมติชน, 2546), 186 –

187. 23 สงการ ศรีพนม, พระสมเด็จบางขุนพรหมองคแชมป (กรุงเทพฯ : สํานักพิมพคเณศพร, 2546), 3. 24 พระราชหัตถเลขาคราวเสด็จมณฑลฝายเหนือในรัชกาลท่ี ๕ (พระนคร : โรงพิมพกรม

สรรพสามิต, 2508), 6 – 7.

Page 64: พุทธพาณิ ชยพระเคร : ื่ อง...บ ณฑ ตว ทยาล ย มหาว ทยาล ยศ ลปากร อน ม ต ใศ กษาตามหล

55

พระองค25 และดวยความนิยมในพระพิมพเมืองกําแพงเพชรอันสืบเนื่องมาจากตํานานนี้เองทําใหพระพิมพกลายเปนของมีราคา สงผลใหมีการลักลอบขุดกรุอันเปนการทําลายโบราณสถานมากมายในสมัยนั้น26 และทั้งหมดนี้เปนหลักฐานทางเอกสารที่เกี่ยวของกับพระพิมพและการเริ่มนําพระพิมพมาเปน “พระเครื่องรางของขลัง”

ภาพที่ 30 รัชกาลที่ 5 ทรงแจกเหรียญเสมาแกราษฎรที่เมืองพิไชย

(ที่มา : พระราชหัตถเลขาคราวเสด็จมณฑลฝายเหนือในรัชกาลที่ ๕, 51) 3.2 ความหมายความสําคัญระหวางพระเครื่องรางของขลังกับพุทธพาณิชย คําวา “พุทธพาณิชย” มีความหมายถึงการนําเรื่องของพุทธศาสนาเขามามีสวนในเชิงธุรกิจ แตในที่นี้จะขอกลาวถึงเฉพาะพระเครื่องรางของขลัง ซ่ึงจุดกําเนิดพระเครื่องฯ น้ันจากที่กลาวมาในขางตนนาจะเริ่มตนจากการที่มนุษยตองการความรูสึกมั่นคงปลอดภัยในชีวิตจึงแสวงหาสิ่งศักดิ์สิทธิ์มาเปนที่พ่ึงทางใจ27 ซึ่งคนไทยก็นับถือศรัทธาในพระพุทธรูปอยูแลวประกอบกับมีความเชื่อเรื่องโชคลางไสยศาสตรมาตั้งแตอดีต จึงทําใหพระพิมพกลายเปนพระเครื่อง

จากการศึกษาพบวาความนิยมในพระเครื่องสืบเนื่องจากการทําเปนรูปพระพุทธเจาที่มีขนาดสะดวกในการพกพาและเชื่อวามีพุทธคุณตางๆ โดยความนิยมในพุทธคุณของพระเครื่อง

25 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกลาเจาอยูหัว, เสด็จประพาสตน ร.ศ.๑๒๕, 288. 26 พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกลาเจาอยูหัว, เร่ืองเที่ยวเมืองพระรวง, (พระนคร : โรงพิมพธนาคาร

ออมสิน, 2496), 24 และ 26. 27 สนิท สมัครการ, ความเชื่อและศาสนาในสังคมไทยวิเคราะหเชิงสังคม – มานุษยวิทยา (กรุงเทพฯ

: สํานักพิมพโอเดียนสโตร, 2539), 13 ; ศรีศักร วัลลิโภดม, พระเครื่องในเมืองสยาม, 14.

Page 65: พุทธพาณิ ชยพระเคร : ื่ อง...บ ณฑ ตว ทยาล ย มหาว ทยาล ยศ ลปากร อน ม ต ใศ กษาตามหล

56

ตั้งแตอดีตจนถึงปจจุบันมีความแตกตางกัน นับเปนประเด็นท่ีสะทอนสังคมในชวงเวลานั้นไดอยางหนึ่ง กลาวคือ ในระยะแรกที่มีหลักฐานชัดเจนที่สุดคือสมัยรัชกาลที่ 4 จนถึงชวงสงครามโลกครั้งที่ 2 และหลังจากนั้นเล็กนอย ประเภทของพระเครื่องที่ไดรับความนิยมสูงสุดคือ “แคลวคลาดคงกระพัน” เปนตนวา ถาพระกรุตองเปนพระรวงรางปน พระหูยานลพบุรี ฯลฯ สวนพระเกจิมักจะเปนพระภาวนาโกศลเถระหลวงปูเอ่ียมแหงวัดหนังราชวรวิหาร (พ.ศ. 2375 – 2469) ซึ่งช่ือของทานไดเริ่มปรากฏนับตั้งแตเหตุการณ ร.ศ.112 (พ.ศ. 2437) ดังที่ไดกลาวมาแลวในบทที่ 2 ครั้นเกิดสงครามอินโดจีนและสงครามโลกครั้งท่ี 2 ผูคนหวาดกลัวภัยสงครามตางแสวงหาที่ยึดเหนี่ยวจิตใจ พบวาชวงเวลานั้นพระเกจิที่มีช่ือเสียงโดดเดนมี 5 รูปคือ หลวงพอจาด วัดบางกระเบา จ.ปราจีนบุรี (พ.ศ. 2415 – 2499), หลวงพอจง วัดหนาตางนอก จ.พระนครศรีอยุธยา (พ.ศ. 2415 – 2508), หลวงพอคง วัดบางกระพอม จ.สมุทรสงคราม (พ.ศ. 2408 – 2486), หลวงพออ๋ี วัดสัตหีบ จ.ชลบุรี (พ.ศ.2408 – 2489) และหลวงพอเดิม วัดหนองโพ จ.นครสวรรค (พ.ศ. 2403 - 2494) โดยเรียกกันติดปากในกลุมผูสะสมทําเนียบเหรียญวา “จาด – จง – คง – อ๋ี” หรือ “จาด – จง – คง – เดิม” เม่ือสงครามโลกสิ้นสุดลงสภาพสังคมยังไมฟนตัวจากภาวะสงครามทําใหเกิดโจรผูรายชุกชุมเรียกกันวา “ยุคเสือ”28 โดยเฉพาะ “เสือมเหศวร” ที่นําพระเนื้อชินแบบหนึ่งท่ีพบในกรุพระปรางควัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จ.สุพรรณบุรี ใชเปนพระเครื่องประจําตัวและเลาลือกันวามีพุทธคุณทําใหเสือมเหศวรรอดพนจากการตอสูปะทะกับเจาหนาที่หลายครั้งสงผลใหพระพิมพแบบดังกลาวไดรับการขนานนามวา “พระมเหศวร” และอาจเปนที่มาของการเรียกผูสะสมพระเครื่องวา “นักเลงพระ” ก็เปนได มาถึงสมัยปจจุบันความเสี่ยงของคนยุคนี้เปนเรื่องภาวะความไมมั่นคงทางเศรษฐกิจ ดังนั้นพระเครื่องที่นิยมจึงเปนประเภทให “โชคลาภ เงินทอง ความรุงเรือง” และ “เมตตามหานิยม” เปนหลัก ตัวอยางความเชื่อในพุทธคุณของพระประเภทนี้ถาเปนพระเกาไดแก พระกลุมเบญจภาคี หรืออาจบูชาเฉพาะพระเครื่องท่ีเชื่อวามีความเปนมงคลจากที่มาและชื่อของพระเครื่อง เชน ไมนิยมพระเครื่องท่ีพบในกรุเมืองพระนครศรีอยุธยาเพราะถือวาเปนพระกรุงแตก

28 ฉลอง สุนทรวาณิชย, คําบรรยายจากการสัมมนาเรื่อง “กําเนิดตลาดพระเครื่องทศวรรษ 2490” จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย, 13 มิ.ย.48. (อัดสําเนา) และดูการวิเคราะหสภาพสังคมจากเหตุการณสงครามโลกครั้งที่ 2 ไดใน Chalong Soontravanich, Small Arms, Romance and Violence in Post WWII Thai Society, Draft, 14

Page 66: พุทธพาณิ ชยพระเคร : ื่ อง...บ ณฑ ตว ทยาล ย มหาว ทยาล ยศ ลปากร อน ม ต ใศ กษาตามหล

57

หากสะสมอาจมีผลตอฐานะความมั่นคงของผูมีไวในครอบครอง จึงหันมาใหความสนใจกับพระที่พบทาง จ.สุโขทัย หรือ สุพรรณบุรีเนื่องจากมีช่ือสัมพันธกับความสุข ความรุงเรือง ความมั่งค่ังแทน29 การบูชาพระในแตละประเภทจึงเปนเรื่องของความเชื่อสวนตัวเปนหลัก30 สําหรับจุดเริ่มตนของวงการพระเครื่องนั้นจากการศึกษาทําใหเช่ือวาในระยะแรกการสะสมพระอาจเกิดจากความชื่นชมในศิลปะและศรัทธาในพุทธคุณโดยอาจจะยังไมมีการเชาบูชา(ซื้อขาย)กัน แตเปนเพียงการนําพระเครื่องที่ตนมีซ้ําแบบหรือไมชอบแลวและถูกใจของเพ่ือนมากกวามา “ตีพระกัน” (แลกเปลี่ยนกัน) ซึ่งพระที่นํามาแลกตองมีความเหมาะสมกันท้ังในเรื่องของความนิยม คุณคา หรืออาจไมมีเงื่อนไขอะไรเลยนอกจากความพอใจของทั้งสองฝาย การเลนพระลักษณะนี้จึงเปนเพียงงานอดิเรกมากกวาที่จะเปนอาชีพหรือธุรกิจอยางที่เห็นในปจจุบัน ซึ่งอาจเปนไดวาเมื่อมีพระมากพอสมควรประกอบกับเปนท่ีตองการของผูคนที่สนใจจึงหันมาทําเปนธุรกิจ ท้ังยังเปนธุรกิจที่ไมเสียภาษีอากรอีกดวย อยางไรก็ตาม หากลงทุนเชาซื้อพระมาโดยเปนการเก็งกําไรท่ีผิดพลาดไมเปนไปตามตลาดตองการก็ทําใหขาดทุนไดเชนกัน ทั้งนี้ จากการสํารวจและสังเกตการณพบวา การซื้อขายพระนั้นหากมีผูมา “ปลอยพระ” (ขายพระ)ใน “สนามพระ” (ตลาดซื้อขายพระ) ถาผูรับเชาหรือ “เซียน” ตองการรับเชา มักจะถามราคาจากอีกฝายแลวตอรองราคากันจนไดราคาในระดับที่พอใจทั้งสองฝาย ซึ่งหากผูที่ปลอยพระไดศึกษาราคาจากตลาดมากอนก็จะไมเสียเปรียบ และหากพระเครื่องที่นํามาปลอยเปนพระปลอม ผูรับเชามักจะบอกปดวายังไมชอบใจหรือมักจะบอกใหลองไปถามแผงอื่นๆ ตอไป และบางครั้งหากเจาของแผงพระไมแนใจในพระเครื่ององคนั้นก็จะสงพระไปยังแผงอื่นท่ีเปน “สายตรง” (ผูที่ชํานาญพระประเภทนั้นๆ) ชวยพิจารณาปองกันการ “ถูกทุบ” (ถูกหลอกใหซื้อขายพระปลอมในราคาสูง) สําหรบัราคาของพระเครื่องน้ันมาจากความนิยมที่แตกตางกันโดยสามารถจําแนกไดวาเหตุที่ทําใหเกิดความนิยมและมีราคาดีนาจะมาจากปจจัยท่ีเชื่อมโยงกันดังนี้

29 สุนันทา เอ้ืออําพน, “พระเครื่อง…มหิทธานุภาพแหงสังคมไทย,” ผาสุก 20, 116 (2540) : 13 – 17.

30 ธรรม ทีปกร [นามแฝง], “ทําไมตองแขวนพระ,” นิตยสารสนามพระ 62 (เมษายน 2532) : 22 – 23 ; นิธิ เอียวศรีวงศ, ยุคสมัยไมเชื่ออยาลบหลู (กรุงเทพฯ : บริษัทอมรินทรพริ้นติ้งแอนดพับลิชชิ่งจํากัดมหาชน, 2541), 44- 46.

Page 67: พุทธพาณิ ชยพระเคร : ื่ อง...บ ณฑ ตว ทยาล ย มหาว ทยาล ยศ ลปากร อน ม ต ใศ กษาตามหล

58

1. ศิลปะของพระ ความงามของพระพิจารณาที่ความสวยสมบูรณไมสึก องคพระยังคงปรากฏรายละเอียดชัดเจนสภาพเดิม แบบที่เรียกกันวา “หูตากระพริบ”

2. อายุสมัยการสราง การบูชาพระเกายอมดีกวาพระใหมที่อาศัยแรงโฆษณาใหเกิดกระแสอยูพักหนึ่งแลวเงียบหายไป

3. ขนาดของพระ พบวาพระที่มีขนาดใหญไมเหมาะกับการพกพามักราคาไมสูงแมวาจะมีความเกาก็ตาม เชน พระพิมพสมัยทวาราวดีที่มีขนาดใหญรวมท้ังยังมีปจจัยอ่ืนอีกคือเชื่อวาไมมีการปลุกเสกเพราะสรางมาเพื่อสืบพระศาสนา อยางไรก็ตามกรณีนี้มีขอยกเวนสําหรับ “พระกําแพงศอก” กรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จ.สุพรรณบุรีที่มีขนาดประมาณหนึ่งศอกแตราคาอยูในหลักแสนบาท

4. พระสงฆผูสรางผูปลุกเสกมีเกียรติคุณไดรับการยอมรับในวัตรปฏิบัติเปนที่เคารพนับถือศรัทธาของคนทั่วไป ที่เห็นชัดเจนคือ พระสมเด็จวัดระฆังที่สรางโดยสมเด็จพระพุฒาจารย (โต พรหมรังสี) จากอัตชีวประวัติของทานพบวาทานมีวัตรปฏิบัติที่เรียบงายสมกับการเปนสมณะ และเปนที่เคารพศรัทธาของพระมหากษัตริยสมัยท่ีทานยังมีชีวิตอยูคือรัชกาลท่ี 2 – 4 นับเปนหนึ่งในหลายๆ ปจจัยที่ทําใหพระสมเด็จฯ เปนพระท่ีไดรับความนิยมสูงสุด31

5. พิธีกรรมการสรางที่ เชื่อกันวาถูกตองตามตําราโบราณและกระทําในสถานที่ศักดิ์สิทธิ์32

6. มวลสารวัสดุหรือเนื้อหาที่นํามาสรางตองผานกระบวนการทางสูตรเชน เนื้อผงตองเปนไปตามสูตรมูลกัจจายนที่มีการลงอักษรแลวลบสลับกันไป รวมทั้งผงปถมัง อิทธิเจ ตรีนิสิงเห อิติปโส ฯลฯ หรืออาจเปนวัสดุท่ีเช่ือวาเปนมงคลมีความศักดิ์สิทธิ์ในตัว33

31 พนัทธนิตา นิลวงศ, “ปจจัยที่มีอิทธิพลตอความนิยมของผูสะสมพระพิมพตอพระพิมพสมเด็จฯ

วัดระฆังในปจจุบัน” (สารนิพนธหลักสูตรปริญญาศิลปศาสตรบัณฑิต ภาควิชามานุษยวิทยา คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร, ปการศึกษา 2535), 29.

32 ดูรายละเอียดเกี่ยวกับพิธีกรรมการปลุกเสกรวมทั้งพิธีการหลอพระไดใน Jeyaraja Tambiah Stanley, The Buddhist saints of the forest and the cult of Amulets : A Study in Charisma, Hagiography Sectarianism and millennial Buddhism, (New York : Cambridge University Press, 1984), 243 – 249.

33 ดูกรรมวิธีการทําผงตามสูตรไดใน เทพย สาริกบุตร, พุทธาภิเษกพิธี พิธีกรรมปลุกเสกพระเคร่ืองรางของขลัง (พระนคร : ศิลปาบรรณาคาร, 2509), 64 – 77.

Page 68: พุทธพาณิ ชยพระเคร : ื่ อง...บ ณฑ ตว ทยาล ย มหาว ทยาล ยศ ลปากร อน ม ต ใศ กษาตามหล

59

7. ความเชื่อและการเลาขานในพุทธคุณ เรียกกันวา “มีประสบการณ” 8. การประชาสัมพันธในเชิงโฆษณาชวนเชื่อเพื่อหวังผลทางการตลาดซึ่งนับวามี

อิทธิพลมากในปจจุบัน การโฆษณาประชาสัมพันธนี้มักเปนพระเครื่องที่สรางขึ้นมาใหมโดยกลุมนายทุน (นักสรางพระเปนอาชีพ) ไดนําสื่อมวลชนท้ังหนังสือพิมพ นิตยสารพระเครื่อง ปายโฆษณา ฯลฯ เขามามีบทบาทเพื่อใหเกิดความเชื่อความศรัทธาและสั่งซื้อ ทั้งนี้การโฆษณาดังกลาวมักอางถึงความศักดิ์สิทธิ์ของมวลสาร อภินิหารขณะทําพิธี ความถูกตองตามตําราโบราณ และความเชี่ยวชาญในวิทยาคมของพระเกจิแตละรูปท่ีทําการปลุกเสก เปนตน อาจกลาวไดวาเปนการนําแนวคิดทางการตลาด การโฆษณาประชาสัมพันธและการจัดการเขามาใชในการดําเนินงานอยางเปนระบบโดยใช “ศรัทธา” เปนตัวหลักมีกลไกราคาเปนตัวแปรสําคัญที่ทําใหคนหันมาสนใจในธุรกิจการซื้อขายพระเครื่อง ดังตัวเลขที่ศูนยวิจัยกสิกรไทยไดรายงานวามีเงินสะพัดในตลาดพระประมาณสองหมื่นลานบาทตั้งแตป พ.ศ.2547 และเติบโตไมนอยกวาปละ 10 – 20% โดยเฉพาะพระยอดนิยมมีราคาเพิ่มขึ้นปละ 40% ทีเดียว34 นอกจากนี้การท่ีพระเครื่องไดเขามาเปนธุรกิจหรือพุทธพาณิชยทําใหเชื่อวาศูนยพระเครื่องบางแหงไดทําการกักตุนพระเครื่องใหมบางแบบเพื่อหวังเก็งกําไรแลวใชวิธีโฆษณาในลักษณะหลอกลวงโดยการเขียนจดหมายวาเปนผูใชพระเครื่องรุนที่มีในศูนยพระเครื่องนี้แลวมีประสบการณ เชน ประสบอุบัติเหตุแลวรอดปลอดภัย ถูกยิงไมเขา35 หรือถูกรางวัลสลากกินแบงรัฐบาล ฯลฯ แลวสงมาลงหนังสือโฆษณาเพื่อสรางสถานการณ เปนตน ซึ่งโดยมากแลวผูที่อยูในวงการพระเครื่องมานานมักจะไมใหความสนใจกับพระเครื่องที่โฆษณาประเภทนี้มากนัก อีกวิธีหน่ึงในการ “ปนราคาพระ” ที่พบบอยและมักไดผลสําหรับพระเครื่องใหมคือ จะมีการรวมตัวของเหลาเซียนพระเพื่อใหเกิดความเขมแข็งมีกําลังซ้ือ ทําการกวานซื้อเก็บสะสมพระใหมท่ีราคายังไมสูงนักไวในครอบครองเปนจํานวนมาก จนทําใหขาดตลาด แลวกลุมเซียนดังกลาวจะจัดทําหนังสือเกี่ยวกับพระนั้นหรือผลักดันพระเขาสูการประกวดพระเครือ่ง ซึง่มกีาร

34 หนังสือพิมพโลกวันนี้รายวัน, 6 (24), 1495 (6113), วันอังคารที่ 19 เมษายน 2548, 1 และ 6A. 35 สามารถพบเห็นไดทั่วไปในนิตยสารพระเครื่องและดูการวิเคราะหไดใน Marlane Guelden,

“Amulets save lives,” Thailand : Into the Spirit World (Singapore : Magenta Lithographic Consultants, 1953), 131 – 132.

Page 69: พุทธพาณิ ชยพระเคร : ื่ อง...บ ณฑ ตว ทยาล ย มหาว ทยาล ยศ ลปากร อน ม ต ใศ กษาตามหล

60

จัดเดือนละหลายครั้ง จากนั้นจะบอกประสบการณพุทธคุณในลักษณะปากตอปาก หรอืเผยแพรทางสื่อโฆษณาประชาสัมพันธ แลวตั้งราคาไวสูงตามกลไกของราคาที่ในตลาดหาไดยากแตวาพระกําลังไดรับความนิยม ซึ่งหากมีผูสนใจโดยเฉพาะอยางยิ่งบุคคลนั้นเปนผูมีทุนสูงก็จะทําใหราคาพระยิ่งสูงข้ึนไปอีก ตัวอยางปรากฏการณในวงการพุทธพาณิชยท่ีมีกระแสความนิยมมากขึ้นๆ ในตอนนี้ที่เห็นไดชัดเจนคือ จตุคามรามเทพที่มีตนตํารับจากนครศรีธรรมราช เขาพิธีปลุกเสกหมูโดยพระเกจิหลายรูป สําหรับองคท่ีสวยสมบูรณและหากเปนรุนที่นิยมโดยเฉพาะรุนแรกป พ.ศ. 2530 ตอนออกมาใหมๆ ราคาองคละ 49 บาท แตขณะนี้ราคาอยูในหลักลาน (แตมีขาววาผูใชประสบอุบัติเหตุถึงชีวิต)

จตุคามรามเทพยังมีการวางแผนทางการตลาดที่ดีเขาถึงคนหลายกลุม หลายระดับคือมีใหเลือกหลายรุนหลายแบบหลายราคาตามความตองการและกําลังซื้อของผูใช โดยมีการโฆษณาตามสื่อตางๆ ทั้งยังมีศูนยจําหนายโดยเฉพาะ จตุคามรามเทพทําใหเกิดความตื่นตัวในวงการพุทธพาณิชยดวยพิธีกรรมการปลุกเสกที่แปลกใหมอยางไมเคยปรากฏมากอน ภายใตแนวคิด “ปลุกเสกบนฟาถึงใตทะเลเพิ่มความขลัง” คือมีการปลุกเสกบนเครื่องบินและภายในเรือดําน้ําของบริษัทนําเที่ยวแหงหนึ่งที่แหลมบาลีฮาย พัทยา36 นอกจากนี้ยังสรางกระแสความศักดิ์สิทธิ์ของพิธีกรรมดวยการอางวาขณะทําพิธีไดเกิดปรากฏการณพระอาทิตยทรงกลด พรอมกับการการโหมโฆษณาวาผูศรัทธาสามารถขอพรอะไรก็ไดทุกอยางที่ไมผิดศีลธรรม รวมท้ัง การอางผานรางทรงวา “ตราบใดที่น้ําทะเลยังไมแหงเหือด มึงมีกูไวไมจน” สงผลใหจตุคามรามเทพมีกระแสความนิยมอยางตอเนื่องและเพิ่มขึ้นอยางหาไดยากสําหรับการสรางพระเครื่องหรือวัตถุมงคลรุนใหมท่ีสวนใหญดังตามกระแสชั่วระยะหนึ่งแลวราคาจะตกลงไมนิยมเลนหากันอีก สะทอนไดจากศูนยพระเครื่องหลายแหงและเว็บไซตซื้อขายพระเกือบทุกแหงตองมีจตุคามรามเทพใหเชาบูชารวมอยูดวยเพื่อรองรับความตองการทางการตลาด ความนิยมที่มากนี้เองยังทําใหวัดหลายแหงหันมาสรางจตุคามรามเทพ แมแตวัดพุทไธสวรรย อยุธยา ซ่ึงมีพระปรุหนังอันเลื่องลือมาแตอดีตยังหันมาตั้งศาลาองคจตุคามรามเทพและออกวัตถุมงคลตามกระแส

ในขณะเดียวกันยังมีอีกหลายปจจัยที่ทําใหพระเครื่องบางประเภทดังและเปนท่ีตองการมากขึ้นนอกจากที่กลาวมา เปนตนวา การตอกโคดพระทุกองค การจํากัดจํานวนการสรางใน

36 www.patayadailynews.com/thai/showneews. [online]. Accessed 9 January 2007.

Page 70: พุทธพาณิ ชยพระเคร : ื่ อง...บ ณฑ ตว ทยาล ย มหาว ทยาล ยศ ลปากร อน ม ต ใศ กษาตามหล

61

กรณีที่เปนพระใหมซึ่งเปนไปไดยากเพราะพบวาหลายครั้งโรงงานไดลักลอบทําเพิ่มเองจากแมพิมพที่มีอยูแลวนําออกจําหนายเอง หรือในกรณีท่ีเปนพระกรุเกาแบบที่มีราคาแพงนั้นสวนหนึ่งเพราะพบเปนจํานวนนอย อนึ่ง หากยิ่งเปนพิมพยอดนิยมแลวราคาจะยิ่งสูงกวาพิมพอื่นๆ ท้ังที่เปนพระประเภทเดียวกันและพบแหลงเดียวกัน

เหตุการณหนึ่งท่ีสะทอนถึงการทําธุรกิจพุทธพาณิชยในดานลบไดเปนอยางดี คือในป พ.ศ.2538 ไดมีผูสรางกระแสดวยการปลอยขาววาหลวงพอคูณ ปริสุทโธ พระเกจิที่มีช่ือเสียงมากที่สุดในยุคนี้มรณภาพเพื่อปนราคาพระเครื่องที่ตนเองทําปลอมขึ้นมาจําหนาย จนกระท่ังฝายหลวงพอและสานุศิษยตองออกมาแถลงขาว37 ซึ่งหากศึกษาประวัติหลวงพอคูณจะพบวาทานเปนพระสงฆที่มีวัตรปฏิบัติเรียบงายสมกับสมณเพศ แมวาความมีช่ือเสียงของทานจะนํามาซึ่งลาภสักการะตางๆ แตทั้งหมดก็ไดนํากลับไปสรางสาธารณประโยชนมากมายดังที่ทราบกันท่ัวไป และเปนผลใหคนมีความศรัทธามากขึ้น พรอมกับชองทางในการประกอบธุรกิจของคนบางกลุมที่กลาวแอบอางถึงชื่อหลวงพอคูณ อน่ึง ไดเคยมีผูสอบถามถึงจํานวนพระเครื่องแตละรุนรวมท้ังชื่อพระเครื่องรุนตางๆ ทานก็ไมทราบ38 ไมวาจะเปนรุน “กูใหมึงรวย” “กรูกัมงึ” “คณูแสนพันลาน” ฯลฯ หนาที่ของทานเปนเพียงปลุกเสกหรืออธิษฐานจิต แตผูจัดสรางมักตั้งชื่อรุนใหคนรูสึกสนใจ และสรางพระเครื่องเปนจํานวนมากเพื่อกินเปอรเซนตทําใหเกิดความวุนวายเพราะมีผลประโยชนมหาศาล และทําใหทานหยุดสรางวัตถุมงคล “เพื่อยุติความไมรูจักพอของคน”39 นอกจากนี้หลวงพอคูณยังกลาววาหากไมทําดีพระก็ชวยอะไรไมได ทานสรางพระเพื่อเปนเครื่องเตือนใจใหละช่ัว ทําแตความดี40

สําหรับขั้นตอนการจัดสรางพระเครื่องนั้นจากการศึกษาพบวามีขั้นตอนอยางคราวๆ ที่แสดงถึงระบบการจัดการที่ดีคือ เริ่มจากการจัดตั้งคณะทํางานขึ้นมาแลวกําหนดวัตถุประสงคการสราง จากนั้นจึงทําพิธีขอจัดสราง การออกแบบพระเครื่อง จัดเตรียมแมพิมพ การเลือก

37 ไพฑูรย ธัญญา, เทพเจาแหงดานขุนทด (กรุงเทพฯ : บริษัทเนชั่นมัลติมีเดียกรุปจํากัดมหาชน,

2546), 124. 38 เร่ืองเดิม, 118. 39 ทีมขาวพระเครื่องคม ชัด ลึก, “คูณพันลาน” “เทพเจาดานขุนทด ของขลังไมขลังอยูที่พลังแหง

ความดี,” เกจิพระดัง (กรุงเทพฯ : บริษัทเนชั่นมัลติมีเดียกรุปจํากัดมหาชน, 2546), 72. 40 เร่ืองเดิม, 77.

Page 71: พุทธพาณิ ชยพระเคร : ื่ อง...บ ณฑ ตว ทยาล ย มหาว ทยาล ยศ ลปากร อน ม ต ใศ กษาตามหล

62

ประเภทแมพิมพ คัดสรรจัดเตรียมวัสดุที่ใชสรางพระอันไดแกวัสดุมวลสารมงคลตางๆ วัตถุประสานเนื้อพระ การผสมผสานวัสดุเหลานั้น การพิมพพระ การนําพระเครื่องเขาสูพิธีพุทธาภิเษก การวางแผนทางการตลาดโดยโฆษณาตามสื่อตางๆ อยางเต็มรูปแบบเพื่อใหเกิดกระแสและจําหนายพระเครื่อง (เปดใหเชาบูชา)

ทั้งนี้ จากการศึกษาพบวาเหตุผลที่เชาพระเครื่องมีดังตอไปนี้ 1. สวนใหญเชาพระเพราะเชื่อในพุทธคุณพระเครื่องนั้นๆ มีทั้งเชื่อตามคําบอกเลา และ

“มีประสบการณตรง” ซ่ึงเปนความเชื่อสวนบุคคล โดยอาจแบงไดเปนสองกลุม คือกลุมแรกเช่ือวาพระเครื่องราคาแพงจะมีพุทธคุณดีกวาพระราคาถูก และกลุมที่สองไมสนใจเรื่องราคาพระแตมั่นใจจากประสบการณตรงที่ตนไดรับ จึงเชาพระเครื่องแบบนั้นๆ อีก

2. เชาเพราะชื่นชมในความงามทางศิลปะของพระเครื่อง โดยมากไมคํานึงถึงพุทธคุณและราคา แตเปนเพราะมีใจรักในศิลปะนั้นๆ จึงเชาเก็บสะสมไวในฐานะที่เปนโบราณวัตถุอันสามารถบอกประวัติความเปนมาไดวาสรางในสมัยใด ผูสรางอยูในฐานะระดับใด ถายิ่งมีคราบกรุที่แสดงถึงความเกาของพระก็จะยิ่งดูนาชื่นชมมากขึ้น เชื่อวาคราบความเกานี้นาจะเกิดจากเนื้อพระทําปฏิกิริยากับสภาวะของอากาศ ดังนั้นจึงตองเกิดจากเนื้อในพระเมื่อใชแวนขยายสองจะเห็นความกลมกลืนกันระหวางคราบกับผิวพระ ซึ่งจะตางจากความตั้งใจใชสารเคมีทําใหดูเกา อนึ่ง หากไมใชพระกรุ กลุมนี้มักจะเชาพระเครื่องของพระเกจิยุคเกาท่ีตนชื่นชมในเอกลักษณของงานชาง ท้ังยังเห็นวาพระเครื่องเหลานี้สรางโดยไมไดหวังผลประโยชนทางการคาอีกดวยแตสรางดวยเจตนาบริสุทธิ์

3. เชาเพื่อการเก็งกําไรขายพระเครื่องนั้นตอไป นับเปนเหตุผลเพ่ือการพาณิชยจึงนาจะมีสวนที่ทําใหเกิดแผงหรือศูนยพระเครื่องขึ้นมากมายในปจจุบัน ดังนั้นจึงตองเปนผูที่ตองติดตามความเคลื่อนไหวของวงการพระเครื่องตลอดเวลา ทั้งยังตองคาดการณวาควรสะสมพระอะไรที่เวลานี้ราคาไมแพงแตในอนาคตนาจะมีคานิยมสูงขึ้น กลุมนี้จึงมักเปนผูที่มีเงินหมุนเวียนพอสมควร และถาสะสมตามกระแสหรือตามแรงโฆษณามากไปโดยเฉพาะพระเครื่องยุคใหมก็มักจะลมเหลว อนึ่ง กลุมที่เชาเพื่อเก็งกําไรอาจไมไดนับถือหรือชอบพระเครื่ององคน้ันๆ แตสนใจเพียงวาหากเชาสะสมแลวจะมีกําไร บางคนถึงขนาดไมสนใจวาจะเปนพระเก ขอแคใหปลอยพระแลวไมขาดทุนก็พอ

Page 72: พุทธพาณิ ชยพระเคร : ื่ อง...บ ณฑ ตว ทยาล ย มหาว ทยาล ยศ ลปากร อน ม ต ใศ กษาตามหล

63

4. เชาเพราะมีมุมมองวาเปนเครื่องประดับ พบมากในพระเครื่องรุนใหมที่ทําขึ้นมาดวยเทคโนโลยีสูงมีการออกแบบใหมีความสวยงามเปนหลัก เชนทําออกมาในรูปแบบของจิวเวลลี่ อาจเปนจี้เล็กๆ ที่เหมาะกับผูหญิง หรืออาจเลี่ยมทองลายสวยๆ พรอมกับสรอยที่สวยงามเขากัน

จากที่กลาวมาทั้งหมดจะเห็นไดวาพระพิมพในสมัยโบราณสรางดวยศรัทธาอันมีเจตนาบริสุทธิ์ สวนพระเครื่องในยุคแรกๆ สรางเพื่อตอบสนองความรูสึกเชื่อมั่นทางจิตใจดวยความศรัทธาในพระพุทธคุณและวัตรปฏิบัติแหงพระเกจิรูปนั้นๆ ขณะที่การสรางพระเครื่องหรือวัตถุมงคลรุนใหมใชรากฐานความศรัทธาเดิมในสังคมเปนทางสูธุรกิจที่แนนอนวาเมื่อเปนพุทธพาณิชยแลวก็ยอมมีเรื่องของผลประโยชนและกําไรเขามาเกี่ยวของจนละเลยความสําคัญของสาระแหงความเปนพุทธศาสนา

Page 73: พุทธพาณิ ชยพระเคร : ื่ อง...บ ณฑ ตว ทยาล ย มหาว ทยาล ยศ ลปากร อน ม ต ใศ กษาตามหล

64

บทที่ 4 วิเคราะหชือ่พระเครือ่งในมมุมองประวัตศิาสตรศิลปะ

ในทางประวัติศาสตรศิลปะเรียก “พระเครื่อง” วา “พระพิมพ” นับเปนคําเรียกที่สื่อถึงเทคนิคงานชางในสมัยโบราณ อันที่จริงแลวทั้งพระเครื่องและพระพิมพตางก็เปนวัตถุอยางเดียวกัน แตคําวา “พระเครื่อง” ดูจะมีความหมายที่กวางกวาทั้งในเรื่องของวัสดุ เทคนิค ที่มีมากมายและเปนไปตามยุคสมัย รวมท้ังความเชื่อท่ีแฝงในตัววาเปนสิ่งท่ีผานพิธีกรรมการปลุกเสกเปน ดังความหมายที่กลาวไวแลวในบทที่ 2 และเนื่องจากมีพระแบบตางๆ มากมายที่เลนหากันจึงเกิดการตั้งชื่อพระพิมพตางๆ ขึ้นมาเพื่อส่ือความหมายความเขาใจซ่ึงกันและกันในหมูนักสะสม ในบทที่ 4 นี้เปนตัวอยางชื่อพระที่มีช่ือเสียงเปนท่ีนิยมและรูจักกันท่ัวไป 4.1 ปจจัยการเรียกชื่อพระพิมพพระเครื่อง พระพิมพในสมัยโบราณไมวาจะพบภายในกรุเจดีย ภายในพระประธานโบสถ วิหาร ฯลฯ เหลานี้ลวนไมมีการเรียกชื่อในอดีต ปรากฏแตเรียกวา “พิมพพระ” บาง “พระพิมพ” บาง ในจารึกตางๆ ดังท่ีกลาวไวในบทที่ 3 การตั้งชื่อพระลวนเกิดขึ้นในสมัยหลังๆ ที่พบพระในกรุตางๆ แลวเริ่มมีการสะสมกัน โดยเปนไปเพื่อความสะดวกในการสื่อความหมายภายในกลุม ซึ่งการเรียกชื่อมักจะมีปจจัยตางๆ ท่ีเปนที่ยอมรับกันดังตอไปนี้ 4.1.1 เรียกตามสถานที่พบ การเรียกตามสถานที่พบมักเปนเหตุผลหลัก สวนมากมักพบเปนครั้งแรกหรือเปนพระที่พบเพียงแบบเดียวหรือเปนแบบที่พบมากที่สุดในสถานที่แหงนั้น และหากมีรายละเอียดเล็กนอยท่ีแตกตางกันในแตละพิมพจึงจัดแบงเปนพิมพตางๆ ตัวอยางพระที่เรียกตามสถานทีพ่บ เชน พระถ้ําเสือพบภายในถ้ําเสือ จ.สุพรรณบุรี โดยชื่อถ้ํามาจากการที่ชาวบานมักเจอเสือนอนอยูในถ้ํานี้ พระทามะปรางกรุเงี้ยวทิ้งปนพบที่วัดทามะปราง จ.พิษณุโลก พระนางพญาพบที่วัดนางพญา จ.พิษณุโลก ฯลฯ นอกจากนี้ ช่ือสถานที่พบยังใชระบุตอทายชื่อพระเพื่อบอกใหทราบวาพบภายในกรุใด เชน พระขุนแผนกรุวัดพระรูป และพระขุนแผนวัดบานกราง เปนตน

Page 74: พุทธพาณิ ชยพระเคร : ื่ อง...บ ณฑ ตว ทยาล ย มหาว ทยาล ยศ ลปากร อน ม ต ใศ กษาตามหล

65

4.1.2 เรียกตามลักษณะเดน เปนการนําจุดเดนที่เห็นชัดเจนในพระมาใชเรียก เปนตนวาพระแบบหนึ่งมีพระกรรณยาวมาจนติดกับพระอังสาจึงเรียกวา พระหูยาน สวนพระท่ีประทับน่ังภายใตตนโพธิ์เรียก พระปรกโพธิ์ และเรียกพระที่อยูในอิริยาบถลีลาวาพระกําแพงเขยง กําแพง คือ กําแพงเพชรซึ่งเปนจังหวัดที่พบพระแบบนี้เปนแหงแรกท้ังยังมีจํานวนมากและมีช่ือเสียงเปนที่นิยม แตถาพบแหงอ่ืนมักจะระบุช่ือแหลงที่พบในตอนทายเพื่อความชัดเจน เชน ท่ีสุพรรณบุรี จะเรียกวา พระกําแพงเขยงสุพรรณ สวนที่เมืองสรรค จ.ชัยนาท เรียก พระกําแพงสรรค สวนพระรวงหลงัรางปนน้ัน เรียกวาพระรวงเพราะเขาใจวากษัตริยสุโขทัยคือพระรวงเปนผูสรางและที่ดานหลังตรงกึ่งกลางปรากฏเปนรองยาวรูปครึ่งวงกลมคลายรางปน จึงเรียกวา พระรวงหลังรางปน 4.1.3 เรียกตามรูปทรง เปนการเรียกที่ดูวาพระมีรูปทรงคลายสิ่งไหน เชน พระกําแพงเพชรแบบหนึ่งคลายกลีบบัว เรียก พระกําแพงกลีบบัว สวนแบบที่คลายเม็ดขนุน เรียก พระกําแพงเม็ดขนุน สําหรับพระกําแพงซุมกอนั้นบางทานวาเรียกซุมกอเพราะรูปทรงและลวดลายภายในคลายตัว “ก” ในขณะที่บางทานเชื่อวาพระซุมกอเดิมเรียกวา “ซุมกอ” คือลักษณะซุมคลายการกออิฐเปนรูปโคง แตเรียกเพ้ียนจนกลายเปนซุมกอในที่สุด1 นอกจากนี้ยังมีพระอีกแบบหนึ่งคือพระที่มีรูปทรงสามเหลี่ยม โดยท่ัวไปมักเรียกวา พระนางพญา ซึ่งมีท่ีมาจากการพบครั้งแรกที่วัดนางพญา จ.พิษณุโลกและเนื่องจากเปนพระที่ไดรับความนิยมจนไดรับการจัดอันดับใหเปนหนึ่งในพระชุดเบญจภาคี การเรียก “พระนางพญา” ผูสะสมมักจะหมายถึงพระนางพญาที่พบท่ีพิษณุโลกเทานั้น สวนพระรูปทรงสามเหลี่ยมกรุอ่ืนแมจะเรียกวาพระนางพญาเชนกันแตจะตองระบุที่มาของพระนั้นๆ เชน พระนางพญาวัดสุดสวาท พิษณุโลก พระนางพญาพิจิตร เปนตน2 4.1.4 เรียกตามวัสดุที่ใชในการสราง ตัวอยางที่เห็นไดชัดเจนคือพระผงสุพรรณ คําวา “ผง” นี้ตามความเขาใจของนักสะสมรุนเกาคือเขาใจวาพระผงสุพรรณเปนพระที่ผสมผงเกสรดอกไมนานาพันธุ ดังที่รัชกาลที่ 6 ทรง

1 ธชา จุลินทร, พระพุทธชินราช : สุดยอดพระเคร่ืองแหงอินโดจีน (กรุงเทพฯ : บริษัทคอมมาดีไซน

แอนดพริ้นทจํากัด, 2537), 376. 2 ศักดิ์ศรี แยมนัดดา, “พระนางพญา,” สารานุกรมวัฒนธรรมไทย ภาคกลาง เลม 9, (กรุงเทพฯ :

บริษัทสยามเพรสแมเนจเมนท จํากัด, 2542), 4011.

Page 75: พุทธพาณิ ชยพระเคร : ื่ อง...บ ณฑ ตว ทยาล ย มหาว ทยาล ยศ ลปากร อน ม ต ใศ กษาตามหล

66

เรียกวา “พระเกสรสุพรรณ”3 โดยแตเดิมเขาใจกันวาเปนดินผสมผงไมไดเผาไฟ แตปจจุบันเชื่อกันวาเปนพระดินเผาผสมวานและเกสรดอกไม108 4.1.5 เรียกตามจํานวนพระ โดยมากมักเปนพระแผงจึงมีจุดเดนท่ีมีพระหลายองคภายในหนึ่งชิ้น เชน พระกําแพงหารอยเปนพระพิมพแผงสรางดวยเนื้อชินซึ่งมีพระ 2 ดานรวม 502 องค หรือพระสิบชาติเปนพระพิมพดินเผารูปสามเหลี่ยมแสดงภาพพระพุทธเจา 10 พระองคซอนกัน 3 ช้ันๆ ละ 3 องคและบนสุดอีก 1 องคเปนพระท่ีพบมากในกรุวัดกะชาย และวัดเชิงทา จ.พระนครศรีอยุธยา โดยมากพระแผงมักถูกตัดเปนองคๆ เพ่ือสะดวกในการซื้อขายและสามารถแบงขายไดมากกวา 4.1.6 เรียกตามความเชื่อในพระพุทธคุณ พระพุทธคุณ หมายถึง คุณวิเศษอันเปนอานุภาพของพระเครื่อง เรื่องพระพุทธคุณจึงนับเปนประเด็นหลักในวงการพระเครื่องดังที่กลาวไวในบทที่ 3 เพราะการซื้อขายแลกเปลี่ยนลวนมีเหตุปจจัยแรกมาจากความเชื่อความศรัทธาในพุทธคุณของพระเครื่องและเหตุผลหลักของการเปนนักสะสมพระเครื่องสวนใหญแลวก็คือความเชื่อในพุทธคุณนั่นเอง นับเปนความเชื่อสวนบุคคลที่ตางก็อางวามีประสบการณดวยตนเอง พุทธคุณสามารถแบงออกไดเปน 3 ประเภท4 คือ 1. พุทธคุณทางเมตตามหานิยมรวมทั้งโชคลาภ เชื่อกันวาทําใหคนทั่วไปนิยมรักใคร มีโชคลาภ ประกอบกิจการร่ํารวยรุงเรือง ความสําเร็จในกิจการงาน และความราบรื่นในชีวิต 2. พุทธคุณทางอยูยงคงกระพัน หรือคงกระพันชาตรี เชน ถูกปนยิงแตไมเขาคือไมมีเลือดหรือหนังเหนียวหรือมหาอุดปนยิงไมออก มีดฟนแทงไมเขา และพลังอํานาจตางๆ 3. พุทธคุณทางแคลวคลาด เชื่อกันวาทําใหรอดพนจากอันตรายตางๆ เชน ปนยิงออกแตไมโดน หรือมีเหตุไมใหเจออันตรายนั้นทั้งๆ ที่กําลังจะเขาไปในที่แหงนั้น ความศักดิ์สิทธิ์ของพุทธคุณเหลานี้เชื่อวาเกิดจากพระสงฆผูสรางผูประกอบพิธีพุทธาภิเษกเปนพระที่มีวัตรปฏิบัติดีทรงคุณอันประเสริฐ ซึ่งมีขั้นตอนคือจะมีการโยงสายสิญจนจาก

3 ศักดิ์ศรี แยมนัดดา, “พระผงสุพรรณ” เลมเดิม, 4075. 4 สนิท สมัครการ, ความเชื่อและศาสนาในสังคมไทยวิเคราะหเชิงสังคม – มานุษยวิทยา (กรุงเทพฯ :

สํานักพิมพโอเดียนสโตร, 2539), 59 ; หลวงวิจิตรวาทการ, พุทธานุภาพ (พระนคร : สํานักงาน ส.ธรรมภักดี, 2504), 94 – 101.

Page 76: พุทธพาณิ ชยพระเคร : ื่ อง...บ ณฑ ตว ทยาล ย มหาว ทยาล ยศ ลปากร อน ม ต ใศ กษาตามหล

67

องคพระพุทธรูปประธานโดยพันเวียนขวาไปสูกองพระเครื่องและสงตอไปยังพระสงฆผูปลุกเสกที่อาจนั่งสมาธิหรืออาจบริกรรมคาถาตอหนาพระเครื่องดังกลาว เรียกกันวา “นั่งปรก” เพื่อเปนการถายทอดอํานาจพระพุทธคุณจากพระพุทธรูปและถายทอดอํานาจจิตจากพระสงฆไปสูพระเครื่อง หากปลุกเสกหมูมักนิยมพระเกจิจํานวน 108 รูป โดยมีพระเกจิอาจารยท่ีทรงคุณที่สุด 8 ทานนั่งประจําทิศทั้งแปด5 พระเครื่องท่ีมีช่ือตามพุทธคุณที่เดนๆ คือ พระคง มีช่ือเดิมเรียกกันวา พระอยูคง6 อันหมายถึง พุทธคุณยิงไมออก ฟนไมเขา พระนางพญาเสนหจันทรพบในกรุวัดตาเถรขึงหนัง สุโขทัย ตอนออกจากกรุราวป พ.ศ. 2502 เรียกกันวาพระวัดตาเถรขึงหนัง ปรากฏวาไมเปนที่นิยมแตพอเปลี่ยนมาเรียกวาพระนางพญาเสนหจันทรเนื่องจากตอนเปดกรุมีกลิ่นหอมจําพวกกระแจะจันทนอยูภายในประกอบกับเชื่อวามีพุทธคุณทางเมตตามหานิยมจึงกลายเปนพระที่มีความนิยมขึ้นมา พระทามะปรางเงี้ยวทิ้งปน พิษณุโลก คําวา “เง้ียวทิ้งปน” มีที่มาจากเหตุการณสมัยรัชกาลที่ 5 เงี้ยวเปนกบฏ ทางไทยไดสงทหารไปปราบ เลากันวาขณะเดินทางผานที่แหงหนึ่งพบพระแตกกรุจึงนํามาใชในสงครามครั้งนี้ ปรากฏวาเง้ียวไมสามารถยิงทหารไทยใหตายไดจนกระท้ังตองทิ้งปนหนี และแพไทยในที่สุด7 พระขุนแผน เปนพระประทับนั่งภายในซุมเรือนแกวเชื่อกันวามีพุทธคุณทางเมตตามหานิยมโดยใชช่ือขุนแผนซึ่งเปนชื่อตัวละครเอกในวรรณคดีท่ีมีความเจาชู พระขุนแผนที่มีช่ือเสียงคือพระขุนแผนเคลือบวัดใหญชัยมงคล อยุธยา และวัดบานกราง แตตนกําเนิดพระขุนแผนอยูที่กรุวัดพระรูป สุพรรณบุรี พระโดดรม เปนพระพิมพที่พบในกรุพระปรางควัดราชบูรณะ อยุธยา พิมพหนึ่งที่เลาลือกันวามีทหารอากาศนายหนึ่งกระโดดรมลงมาแลวปรากฏวารมไมกางแตกลับลงมาสูพ้ืนดินไดโดยไมไดรับบาดเจ็บแตอยางใดจึงเปนที่มาของการเรียกพระพิมพนี้

5 ดูรายละเอียดไดใน เทพย สาริกบุตร, พุทธาภิเษกพิธี พิธีกรรมปลุกเสกพระเครื่องรางของขลัง (พระ

นคร : ศิลปาบรรณาคาร, 2509), 183 – 207 และดูการลงยันตใน นิรันตร แดงวิจิตร, ของดีท่ีหาไดยาก (พระนคร : โรงพิมพอักษรสัมพันธ, 2509), 10

6 ยอรช เซเดส, ตํานานพระพิมพ (กรุงเทพฯ : องคการคาของคุรุสภา, 2526), 48. 7 บุญเสริม ศรีภิรมย, พระพุทธรูปและพระพิมพยอดนิยม (กรุงเทพฯ : เนติกุลการพิมพ, 2532), 24.

Page 77: พุทธพาณิ ชยพระเคร : ื่ อง...บ ณฑ ตว ทยาล ย มหาว ทยาล ยศ ลปากร อน ม ต ใศ กษาตามหล

68

เหรียญหลวงพอคูณรุนเคเดอร อันที่จริงแลวตอนออกใหมๆ เรียกกันวารุนสหกรณหรือรุนขอเพิ่มทรัพย แตตอมาในป พ.ศ. 2530 เกิดเหตุเพลิงไหมที่โรงงานผลิตตุกตาบริษัทเคเดอรจํากัดที่พุทธมณฑลสาย 4 แลว น.ส.ไพรัตน จีมขุนทด พนักงานบริษัทดังกลาวซึ่งแขวนเหรียญรุนน้ีกระโดดหนีไฟลงมาจากชั้น 4 แลวไมไดรับบาดเจ็บรอดตายราวปาฏิหาริย8 สงผลใหช่ือของหลวงพอคูณโดงดังไปทั่วประเทศและเหรียญนี้เปนท่ีเสาะหากันทําใหหายากมากและราคาสูงขึ้นรวมท้ังชื่อเรียกรุนเปลี่ยนไปจากเดิมเมื่อแรกสราง เปนรุนเคเดอรหรือรุนโดดตึก 4.1.7 เรียกตามชื่อผูสรางหรือรูปของพระและพระเกจิน้ันๆ เรียกตามชื่อผูสราง เชน พระสมเด็จฯวัดระฆัง สมเด็จในที่นี้ หมายถึง สมเด็จพุฒาจารย (โต พรหมรังสี) และพระเครื่องสวนใหญในสมัยปจจุบัน เชน พระหลวงปูเอี่ยม พระหลวงพอคูณ วัตถุมงคลจตุคามรามเทพ ฯลฯ โดยมักมีช่ือรุนตางๆ กลาวตอทายเพ่ือบอกใหทราบวาสรางในคราวใด หรือมีอาณุภาพพุทธคุณอยางไร9 ทําใหเกิดกระแสซึ่งมีผลทําใหเกิดความนิยมได เชนเหรียญหลวงพอคูณ รุนเศรษฐีมหามงคล รุนเมตตาบารมี หรือวัตถุมงคลจตุคามรามเทพรุนมหาเศรษฐีพันลาน รุนโคตรมหาเศรษฐี รุนโคตรรวย รุนรวยลนฟา รุนราชาทรัพย รุนขอไดดังใจหวัง เปนตน 4.1.8 เรียกตามชื่อผูใช เชน พระพิมพแบบหนึ่งเรียกกันวา “พระสวน” ตามลักษณะพระที่เปนรูปพระพุทธเจาท้ังสองดานแตพระเศียรสวนทางกัน ตอมาเลาลือกันวาขุนโจรของสุพรรณบุรี คือ เสือมเหศวรใชพระพิมพนี้แลวทําใหคงกระพันชาตรี คนจึงเรียกพระสวนวาพระมเหศวรนับจากนั้น10 4.1.9 เรียกตามสิ่งที่นิยมในสมัยนั้น เชน พระชุดกิมตึ๋ง เดิมเรียกตามสถานที่พบวา พระตับวัดพลายชุมพล แตเหตุท่ีเปลี่ยนมาเรียกพระชุดนี้วา พระกิมตึ๋งนั้น คาดวามาจากการที่ในสมัยรัชกาลที่ 4 และรัชกาลที่ 5 นิยมการสะสมเครื่องโตะและเครื่องลายครามจีน มีการนําเครื่องเคลือบลายครามมาจัดเปนโตะหมูบูชา

8 มโนมัย มโนภาพ, “ตลาดพระเครื่อง ศรัทธา หรือธุรกิจ?,” เนชั่นสุดสัปดาห (18 – 24 มิถุนายน

2536) : 45 – 47. 9 เปนการเรียกที่มีเหตุผลทับซอนกับการ “เรียกตามความเชื่อในพระพุทธคุณ”. 10 ราม วัชรประดิษฐ, “พระมเหศวรกรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ สุพรรณบุรี,” สยามรัฐสัปดาหวิจารณ

52, 10 (29 กรกฎาคม – 4 สิงหาคม 2548) : 54 – 55.

Page 78: พุทธพาณิ ชยพระเคร : ื่ อง...บ ณฑ ตว ทยาล ย มหาว ทยาล ยศ ลปากร อน ม ต ใศ กษาตามหล

69

เปนชุดๆ แลวประกวดประชันกัน ซึ่งปรากฏวาเครื่องลายครามของหางพระยาโชฎึกราชเศรษฐี (พุก) มีความงามที่สุด พระยาโชฎึกราชเศรษฐีไดทูลขอใหกรมขุนราชสีหวิกรมประทานชื่อโตะหมูบูชาชุดนี้ กรมขุนราชสีหวิกรมจึงทรงตั้งชื่อวา “ชุดกิมตึ๋ง” แปลวา พระราชบัลลังกทองคํา11 และอีกประเด็นหนึ่งคือช่ือน้ีมาจากชื่อชุดถวยชาของหางพระยาโชฎึกราชเศรษฐี (พุก) ยี่หอ “กิมตึ๋งฮกกี่” แปลวา เครื่องหมายของอันวิเศษอยางเต็มท่ี12 การสะสมและเลนหาถวยปนเหลานี้เปนที่นิยมมากโดยเฉพาะในสมัยรัชกาลที่ 5 โดยชุดหน่ึงมีถวยขนาดเล็กจํานวน 4 ใบ ซึ่งพระตับพลายชุมพลก็เปนที่นิยมในสมัยนั้นและมี 4 องคเชนกัน ประกอบกับความหมายของชื่ออันเปนมงคล จึงเชื่อกันวาชื่อของพระชุดนี้มาจากชื่อชุดถวยชานั่นเอง 4.2 การเรียกพระเครื่องที่ผิดไปจากหลกัประติมานวิทยา จากที่กลาวมาจะเห็นไดวาการตั้งชื่อพระพิมพน้ันมีหลักใหญๆ อยูที่พระคลายสิ่งใดหรือมีลักษณะอยางไรก็เรียกตามนั้นเพ่ือใหรูและเขาใจกันอยางงายๆ ในหมูนักสะสม ทั้งนี้ ไมไดเกี่ยวของกับหลักประติมานวิทยาใดๆ จึงมีพระพิมพหลายแบบที่เรียกผิดไป ที่เห็นไดชัดเจนและเปนตัวอยางในการศึกษาคือ พระนารายณทรงปน คําวา “ปน” ในสมัยโบราณมีความหมายวา ธนูหรืออาวุธ เหตุที่เรียกพระนารายณทรงปนเพราะเห็นรูปที่ประทับยืนทางขวาของพระนาคปรกเปนพระสี่กร จึงเรียกกันวาพระนารายณ ซ่ึงอันท่ีจริงแลวคือพระโพธิสัตวอวโลกิเตศวร 4 กร สองพระหัตถบนถือลูกประคํากับคัมภีร สองพระหัตถลางถือดอกบัวกับน้ําอมฤต เปนพระพิมพที่สรางตามคติพระรัตนตรัยมหายานโดยเฉพาะพุทธตันตระที่นับถือพระพุทธรูปนาคปรกในฐานะพระอาทิพุทธผู เปนพระพุทธเจาสูงสุดอันถือกําเนิดดวยพระองค เอง รวมท้ังใหกําเนิดพระพุทธเจาองคอ่ืนๆ และสรรพสิ่งตางๆในจักรวาล สวนรูปทางซายของพระอาทิพุทธเปนรูปนางปรัชญาปารมิตาสัญลักษณแหงความเฉลียวฉลาด ถือดอกบัวและคัมภีรปรัชญาปารมิตาสตูร13

11 กฤษฎา พิณศรี, “พระชุดกิมตึ๋ง,” เมืองโบราณ 32, 2 (เมษายน – มิถุนายน 2549) : 120 – 121. 12 สมเด็จกรมพระยาดํารงราชานุภาพ, ตํานานเรื่องเคร่ืองโตะและถวยปน (พระนคร : โรงพิมพกรม

สารบรรณทหารอากาศ, 2510), 91. 13 หมอมเจาสุภัทรดิศ ดิศกุล, ศิลปะในประเทศไทย (กรุงเทพฯ : โรงพิมพมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร,

2539), 57 และ 66.

Page 79: พุทธพาณิ ชยพระเคร : ื่ อง...บ ณฑ ตว ทยาล ย มหาว ทยาล ยศ ลปากร อน ม ต ใศ กษาตามหล

70

พระพิมพรูปพระรัตนตรัยมหายานนี้อาจมีแนวคิดที่แสดงถึงความสมบูรณแหงปญญา14 ที่ทําใหหลุดพนจากสังสารวัฏ

สวนพระกําแพงเขยง อากัปกิริยา “เขยง” ที่จริงแลวเปนอิริยาบถลีลาที่อาจมาจากพุทธประวัติตอนเสด็จลงมาจากสวรรคช้ันดาวดึงสโดยไมมีสัญลักษณอ่ืนเปนตนวารูปเทวดามาประกอบ เนื่องจากเปนพระพิมพช้ินเล็กๆ จึงแสดงเฉพาะองคพระพุทธเจากับอิริยาบถที่สื่อถึงเหตุการณดังกลาวเทานั้น15 สําหรับพระเครื่องรางของขลังรุนใหมนั้น มีรูปแบบแปลกๆ มากมาย แตท่ีไดรับความนิยมท่ีสุดในขณะนี้คือ วัตถุมงคลจตุคามรามเทพซึ่งเมื่อศึกษาแลวจะพบวาเปนการสรางเรื่องราวท่ีพยายามเชื่อมโยงกับตัวบุคคลในประวัติศาสตรคือพระเจาจันทรภาณุแหงอาณาจักรศรีวิชัยกับความเปนพระโพธิสัตวเพราะลักษณะเดนของพระโพธิสัตวคือเชื่อวามีความเมตตาและคุมครองผูท่ีนับถือ อยางไรก็ตามโดยรูปของจตุคามรามเทพที่ปรากฏกลับนําลักษณะของพระนารายณกับพระศิวะเขามาผสม กลาวคือสรางมาในรูปส่ีกร สองพระหัตถบนถือจักรอาวุธของพระนารายณกับตรีศูลซึ่งเปนอาวุธของพระศิวะ16 สวนรูปราหูอมจันทรนั้นนาจะเกี่ยวของกับการแกเคล็ดและสะเดาะเคราะห เนื่องจากมีตํานานกลาววาพระราหูเปนเทพเจาหรือดวงดาวแหงความโชคราย เคราะหกรรมและการสูญเสีย17 ดังท่ีเชื่อวาหากดาวนพเคราะหราหูโคจรมาถึงอายุตนก็จะประสบเคราะหจึงตองมีการบูชาพระราหูเพื่อเสริมดวงชะตาใหโชคดีและพนเคราะหนั้น18 นับเปนความพยายามผสมผสานจุดเดนของความเชื่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์ตางๆ อันสะทอนสังคมไทยในปจจุบันอยางชัดเจนวาขาดความเชื่อมั่นในศักยภาพของตนเองและตองการสิ่งยึดเหนี่ยวหรือที่พึ่งทางจิตใจ

14 Hiram Woods Woodward, J.R., “Studies in the Art of Central Siam, 950 – 1350 A.D.” (Ph.D.

dissertation, Yale University, 1975), 32. 15 ดูพุทธประวัติตอนนี้ไดใน สมเด็จฯ กรมพระยาปรมานุชิตชิโนรส, พระปฐมสมโพธิกถา

(กรุงเทพฯ : โรงพิมพธรรมบรรณาคาร, 2519), 350. 16 ดูรายละเอียดเกี่ยวกับอาวุธของเทพเจาไดใน ผาสุข อินทราวุธ, รูปเคารพในศาสนาฮินดู (นครปฐม

: มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2524), 4 – 5. 17 สมบัติ พลายนอย, “พระราหู,” สารานุกรมวัฒนธรรมไทย ภาคกลาง เลม 9 (2542) : 4191 – 4194. 18 เกียรติวิชช ตรีภูมิฐาน, “อยาลบหลูราหูอมอาทิตย,” สยามอารยะ 3, 35 (มกราคม 2539) : 59 ; เทพย

สาริกบุตร, “ราหูอสุรินทรเล็งลัคน,” โหราศาสตรวรรณคดี (พระนคร : อุตสาหกรรมการพิมพ, 2509), 131 – 136.

Page 80: พุทธพาณิ ชยพระเคร : ื่ อง...บ ณฑ ตว ทยาล ย มหาว ทยาล ยศ ลปากร อน ม ต ใศ กษาตามหล

71

จากท่ีกลาวมาจะเห็นไดวาชื่อพระพิมพพระเครื่องรางของขลังเปนสิ่งที่สะทอนถึงความเชื่อ แนวคิดตลอดจนลักษณะของพระเครื่องฯ น้ันๆ และพบวาหากมีชื่อเรียกที่ระบุถึงความหมายทางพุทธคุณโดยเฉพาะชื่อรุนแปลกๆ ก็จะยิ่งทําใหคนหันมาใหความสนใจ และตัดสินใจเชาบูชาในที่สุด

Page 81: พุทธพาณิ ชยพระเคร : ื่ อง...บ ณฑ ตว ทยาล ย มหาว ทยาล ยศ ลปากร อน ม ต ใศ กษาตามหล

72

บทที่ 5 สรุป

จากการศึกษาพบวาพระพิมพในกรุสมัยโบราณสรางขึ้นมาดวยเจตนาอันบริสุทธิ์โดยมีพ้ืนฐานของการสืบพระศาสนาเปนสําคัญ สวนพระเครื่องในยุคแรกๆ โดยเฉพาะพระเกจิมักสรางเพื่อคุมครองปองกันภัย ซึ่งเปนการตอบรับความศรัทธาทั้งในพระพุทธรูปและในพระเกจิรูปน้ันๆ ทั้งพระพิมพสมัยโบราณและพระเครื่องในยุคแรกๆ สามารถสะทอนถึงลักษณะทางพุทธศิลป ความเชื่อ ประวัติศาสตรในสมัยตางๆ ได สอดคลองกับการสะสมพระเครื่องในยุคแรกๆ ท่ีนักสะสมเริ่มตนจากความรูสึกศรัทธาในรูปพระนั้นๆ ตลอดจนเห็น ‘คุณคา’ ทางประวัติศาสตรมากกวา ‘มูลคา’ ทางการคาดังเชนปจจุบันที่อยูในกระแสของพุทธพาณิชย หากเราสังเกตวารสารสิ่งพิมพท่ีเกี่ยวของกับพระเครื่องในชวงเวลาตางๆ จะพบความแตกตางอันสะทอนใหเห็นถึงมุมมอง การใหความสําคัญตอเรื่องใดไดเปนอยางดี กลาวคือ ในยุคแรกๆ ของการสะสมนั้น วารสารพระเครื่องทุกฉบับจะเสนอถึงอายุสมัยจากพุทธศิลปของพระพิมพพระเครื่อง ประวัติความเปนมาสําหรับองคที่มีที่มาคอนขางแนนอน การจําแนกพิมพ (คลายกับการจัดกลุมพระพิมพในประวัติศาสตรศิลปะ) การวิเคราะหเนื้อหาคือมวลสารวัสดุ และพุทธคุณซึ่งเปนเรื่องของความศรัทธาสวนบุคคล ตางจากวารสารปจจุบันที่มีการตีราคาและโหมโฆษณาชักจูงใหเกิดกระแสเพื่อการคาแตเพียงประการเดียว พุทธพาณิชยจึงนับเปนปรากฏการณทางสังคมอยางหนึ่งท่ีแสดงถึงการเปลี่ยนแปลงแนวคิดของพุทธศาสนาอันสืบเนื่องมาจากการขยายตัวอยางรวดเร็วของวงการพระเครื่องจนเขาสูธุรกิจอยางเต็มรูปแบบ ดังจะเห็นไดจากปจจุบันพระสงฆที่มีช่ือเสียงในฐานะที่เปน “พระเกจิอาจารย” หนวยงานหรือสถาบันตางๆ และนักธรุกิจพระเครื่อง (นายทุน) ไดสรางพระเครือ่งออกมามากมาย การเกิดชมรมหรือศูนยพระเครื่องตางๆ ภายในหางสรรพสินคารวมทั้งแผงลอยริมถนน บนทางเทา ตลอดจนมีการโฆษณาพระเครื่องเพ่ือเชาบูชา (จําหนาย) ทั้งแผนพับในรานสะดวกซื้อ การส่ังซื้อทางไปรษณีย ทางอินเตอรเนต หรือแมกระทั่งในหนังสือพิมพรายวันที่บางฉบับมีพื้นที่มากกวาการเสนอขาวการศึกษา สิ่งเหลานี้สะทอนใหเห็นถึงความเปลี่ยนแปลงทางสังคมจากในอดีต “พระเครื่อง” คือ “พระพิมพ” ที่สรางขึ้นมาเพื่อสืบพระศาสนาหรือมี

Page 82: พุทธพาณิ ชยพระเคร : ื่ อง...บ ณฑ ตว ทยาล ย มหาว ทยาล ยศ ลปากร อน ม ต ใศ กษาตามหล

73

เจตนาเพื่ออุทิศบุญกุศล แตในปจจุบันกลับเปนวัตถุอันเปนสินคาท่ีสามารถแลกเปลี่ยนเปนเงินไดโดยอาศัย “ศรัทธา” ทั้งนี้มักมีการกลาวถึงพุทธคุณ (สรรพคุณ) ตางๆ เปนจุดขาย เชื่อมโยงกับความพิเศษของมวลสาร (วัสดุที่ใชสราง) การตั้งชื่อรุนใหมีความนาสนใจหรือส่ือความหมายถึงอาณุภาพทางพุทธคุณโดยเฉพาะชื่อท่ีมีความหมายเกี่ยวของกับโชคลาภเงินทอง รวมท้ังอางถึงความเขมขลังของพิธีกรรมการสรางเพื่อเปนการเพิ่มอภินิหารและความศักดิ์สิทธิ์ในการจูงใจใหเชาบูชาในที่สุด อนึ่ง การดําเนินธุรกิจเกี่ยวกับพระเครื่องนี้หากมองในอีกมุมหน่ึงถือวาเปนการระดมทุนเพื่อสรางสาธารณกุศล เชน โรงเรียน โรงพยาบาล วัด ฯลฯ แมแตสวนราชการก็นิยมจัดสรางพระเครื่องและพิธีพุทธาภิเษกเพื่อหารายได แตอยางไรก็ตาม ไมอาจปฏิเสธไดวาปรากฏการณพุทธพาณิชยโดยเฉพาะการโฆษณาเพื่อซ้ือขายพระเครื่องราวกับเปนสินคาที่มุงเนนอภินิหารเพื่อใหคนตัดสินใจเชาซื้อไดสงผลกระทบทางสังคมท่ีทําใหเกิดการเบี่ยงเบนหลักธรรมพุทธศาสนาและทัศนคติความเชื่อของพุทธศาสนิกชนที่มีตอพระสงฆและพระเครือ่งเปลี่ยนแปลงไป เพราะปจจุบันพระเครื่องไมไดมีฐานะเพียงท่ีระลึกถึงพระพุทธเจา เปนที่ยึดเหนี่ยวจิตใจเตือนสติใหทําแตความดี หรือเปนสิ่งท่ีสะทอนถึงความเชื่อ ความศรัทธาและศิลปะ หากแตยังเปน “สินคา” ในตลาดที่มีวงเงินสะพัดถึงราวปละสองหมื่นลานบาท เปนวัตถุเสริมบารมีแกผูครอบครอง และเชื่อกันวาเปนหนึ่งในธุรกิจท่ีเกี่ยวของกับการฟอกเงิน ทั้งหมดนี้นับเปนประเด็นที่ผูมีสวนเกี่ยวของในวงการศาสนาควรพิจารณาเพื่อหาแนวทางในการแกไขปญหาอันเปนผลจากพุทธพาณิชย โดยอาจจัดระเบียบการสรางพระเครื่องใหอยูในขอบเขตที่เหมาะสมตอไป

Page 83: พุทธพาณิ ชยพระเคร : ื่ อง...บ ณฑ ตว ทยาล ย มหาว ทยาล ยศ ลปากร อน ม ต ใศ กษาตามหล

74

บรรณานุกรม ภาษาไทย กองแกว วีระประจักษ. “วิเคราะหจารึกเมืองยะรัง.” ศิลปากร 33,6 (มกราคม – กุมภาพันธ 2533) :

35 – 50. กรมศิลปากร. พระพุทธรูปและพระพิมพในกรุพระปรางควัดราชบูรณะ จ.พระนครศรีอยุธยา. พระ

นคร : กรมศิลปากร, 2502. _______. รูปและสัญลักษณแหงพระศากยพุทธ. กรุงเทพฯ : อมรินทรพร้ินติ้งกรุพจํากัด, 2532. กฤษฎา พิณศรี. “พระพิมพดินเผาพบที่บานศาลา จ.สุรินทร.” เมืองโบราณ 30, 2 (เมษายน–

มิถุนายน 2547) : 108 – 110. _______. “พระชุดกิมตึ๋ง” เมืองโบราณ 32, 2 (เมษายน – มิถุนายน 2549) : 120 – 121. เกียรติวิชช ตรีภูมิฐาน. “อยาลบหลูราหูอมอาทิตย.” สยามอารยะ 3, 35 (มกราคม 2539) : 59. เกรียงศักดิ์ จารุพนานนท. “สองผานแวนขยายพระสมเด็จวัดระฆังพบเห็นมวลสารอะไร?.” มหา

โพธิ์ 17, 339 (15 – 30 มิถุนายน 2539) : 2. เขมณัฏฐ หลอศรีศุภชัย. เปดตํานานจตุคามรามเทพเทวราชโพธิสัตว. กรุงเทพฯ : หางหุนสวนจํากัด

สํานักบานครู, 2550. คเณศรพร [นามแฝง]. พระขุนแผนกรุวัดบานกราง จ.สุพรรณบุรี. กรุงเทพฯ : สํานักพิมพคเณศรพร,

2547. คําใหการชาวกรุงเกา.พระนคร : โรงพิมพเจริญธรรม, 2515. จตุพร ศิริสัมพันธ. “จารึกพระพิมพดินเผาศรีสัชนาลัย.” ศิลปากร 40, 1 (มกราคม – กุมภาพันธ

2540) : 56 – 60. จารึกประเทศไทยเลม ๑ อักษรปลลวะ หลังปลลวะ พุทธศตวรรษที่ 12 – 14. กรุงเทพฯ : กรม

ศิลปากร, 2529. จารึกในประเทศไทยเลม ๓ อักษรขอม พุทธศตวรรษที่ 15 – 16. กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2529. จารึกในประเทศไทยเลม ๔ อักษรขอม พุทธศตวรรษที่ 17 – 18. กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2529. จารึกสมัยสุโขทัย. กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2527. จรรยา มาณะวิท. “ปราสาทหินพิมายพุทธสถานในลัทธิมหายาน.” ใน อุทยานประวัติศาสตรพิมาย,

65 – 75. กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2532. จุลจอมเกลาเจาอยูหัว, พระบาทสมเด็จพระ. พระราชหัตถเลขาคราวเสด็จมณฑลฝายเหนือใน

รัชกาลที่ ๕. พระนคร : โรงพิมพกรมสรรพสามิต, 2508.

Page 84: พุทธพาณิ ชยพระเคร : ื่ อง...บ ณฑ ตว ทยาล ย มหาว ทยาล ยศ ลปากร อน ม ต ใศ กษาตามหล

75

จุลจอมเกลาเจาอยูหัว, พระบาทสมเด็จพระ. เสด็จประพาสตน ร.ศ.๑๒๕. กรุงเทพฯ : บริษัทอมรินทรพร้ินติ้งแอนดพับลิชช่ิงจํากัด (มหาชน), 2547.

จําปา เยื้องเจริญ. “คําอานและคําแปลอักษรตัวเขียนดานหลังพระพิมพดินเผากูสันถรัตน กิ่ง อ.นาดูน จ.มหาสารคาม อักษรปลลวะ ภาษามอญ.” ศิลปากร 23 ,6 (มกราคม 2523) : 63 – 66.

ฉลอง สุนทราวาณิชย. “กําเนิดตลาดพระเครื่องทศวรรษ 2490.” การสัมมนาเรื่องพระเครื่องที่จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย, 13 มิถุนายน 2548. (อัดสําเนา)

ฉันทิชย กระแสสินธุ. พระเครื่อง. พระนคร : กองการพิมพสํานักงานสลากกินแบงรัฐบาล, 2514. _______. สมเด็จพระพุฒาจารย (โต) เลม 1. พระนคร : องคการคาของคุรุสภา, 2507. โชติ กัลยาณมิตร. พจนานุกรมสถาปตยกรรมและศิลปเก่ียวเนื่อง. กรุงเทพฯ : การไฟฟาฝายผลิต

แหงประเทศไทย, 2518. เซเดส, ยอรช. ตํานานอักษรไทย ตํานานพระพิมพ การขุดคนท่ีพงตึก และศิลปะไทยสมัยสุโขทัย.

แปลโดย หมอมเจาสุภัทรดิศ ดิศกุล. กรุงเทพฯ : องคการคาของคุรุสภา, 2526. ณัฏฐภัทร จันทวิช. “วิเคราะหพระพิมพสกุลชางหริภุญไชยและคติการสราง.” ศิลปากร 33, 3

(กรกฎาคม – สิงหาคม 2532) : 10 – 28. ดํารงราชานุภาพ, สมเด็จฯ กรมพระยา. ความทรงจํา. กรุงเทพฯ : สํานักพิมพมติชน, 2546. _______. ตํานานพระพุทธเจดีย. กรุงเทพฯ : องคการคาของคุรุสภา, 2518. _______. สาสนสมเด็จ เลมท่ี 2. พระนคร : องคการคาของคุรุสภา, 2504. _______. สาสนสมเด็จ เลมท่ี 3. พระนคร : องคการคาของคุรุสภา, 2504. _______. สาสนสมเด็จ เลมท่ี 10. พระนคร : องคการคาของคุรุสภา, 2504. _______. ตํานานเรื่องเคร่ืองโตะและถวยปน พระนคร : โรงพิมพกรมสารบรรณทหารอากาศ, 2510. ตรียัมปวาย [นามแฝง]. ปริอรรถาธิบายแหงพระเครื่องฯ เลม ๑ : พระสมเด็จ. กรุงเทพฯ :

สํานักพิมพคลังวิทยา, 2520. _______. ปริอรรถาธิบายแหงพระเครื่องฯ เลมท่ี ๒ : พระนางพญาและพระเครื่องฯ สําคัญเมือง

พิษณุโลก. พระนคร : สํานักพิมพแพรพิทยา, 2508. _______. ปริอรรถาธิบายแหงพระเครื่องฯ เลม ๓ พระรอด และพระเครื่องฯ สกุลลําพูน . พระนคร

: สํานักพิมพคลังวิทยา, 2503. _______. หลวงพอวัดหนังและอิทธิวัตถุ. พระนคร : โรงพิมพอักษรสัมพันธ, 2514. _______. “พระเครื่องทางโบราณคดี.” ศิลปากร 6, 3, (2495) : 65 – 70. _______. “พระเครื่องทางโบราณคดีตอนที่ 3 สนิมของพระเครื่องชนิดโลหะ (ตอ).” ศิลปากร 6,10

(พ.ศ.2496) : 90 – 95.

Page 85: พุทธพาณิ ชยพระเคร : ื่ อง...บ ณฑ ตว ทยาล ย มหาว ทยาล ยศ ลปากร อน ม ต ใศ กษาตามหล

76

ตรียัมปวาย [นามแฝง]. “พระเครื่องทางโบราณคดีตอนที่ 4 สนิมของพระเครื่องฯ โบราณชนิดอโลหะ.” ศิลปากร 6, 11 (พ.ศ.2496) : 101 – 107.

ทีมขาวพระเครื่องคม ชัด ลึก. “คูณพันลาน” “เทพเจาดานขุนทด ของขลังไมขลังอยูที่พลังแหงความดี.” เกจิพระดัง. กรุงเทพฯ : บริษัทเนชั่นมัลติมีเดียกรุปจํากัดมหาชน, 2546.

เทพย สาริกบุตร. พุทธาภิเษกพิธี พิธีกรรมปลุกเสกพระเครื่องรางของขลัง. พระนคร : ศิลปาบรรณาคาร, 2509.

_______. “ราหูอสุรินทรเล็งลัคน.” โหราศาสตรวรรณคดี. พระนคร : อุตสาหกรรมการพิมพ, 2509. เทพชู ทับทอง. ชุมนุมสิ่งศักดิ์สิทธ์ิ. กรุงเทพฯ : กรุงสยามการพิมพ, 2520. _______. พุทธานุสรณ พระเครื่องกรุ. พระนคร : หางหุนสวนจํากัดนนทชัย, 2513. เทิดพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระปนเกลาเจาอยูหัว. กรุงเทพฯ : กรมแพทยทหารเรือ, 2547. ทรงชัย เจตะบุตร. พระเครื่องเมืองเหนือ 15 จังหวัด. เชียงใหม : ชางเผือกการพิมพ, 2503. ธชา จุลินทร. พระพุทธชินราช : สุดยอดพระเครื่องแหงอินโดจีน. กรุงเทพฯ : บริษัทคอมมาดีไซน

แอนดพร้ินทจํากัด, 2537. ธรรม ทีปกร [นามแฝง]. “ทําไมตองแขวนพระ.” นิตยสารสนามพระ 62 (เมษายน 2532) : 22 – 23. นิธิ เอียวศรีวงศ. ยุคสมัยไมเชื่ออยาลบหลู. กรุงเทพฯ : บริษัทอมรินทรพร้ินติ้งแอนดพับลิชช่ิงจํากัด

มหาชน, 2541. นิรันตร แดงวิจิตร. ของดีท่ีหาไดยาก. พระนคร : โรงพิมพอักษรสัมพันธ, 2509. นงคราญ ศรีชาย. โบราณคดีศรีวิชัย : มุมมองใหมการศึกษาวิเคราะหแหลงโบราณคดีรอบอาวบาน

ดอน. นครศรีธรรมราช : โรงพิมพเม็ดทราย, 2543. บุญเสริม ศรีภิรมย. พระพุทธรูปและพระพิมพยอดนิยม. กรุงเทพฯ : เนติกุลการพิมพ, 2532. บริบาลบุรีภัณฑ, หลวง. “เร่ืองของพระพิมพ.” ใน เร่ืองโบราณคดี, 259 – 277. กรุงเทพฯ : บริษัท

อมรินทรพร้ินติ้งกรุพจํากัด, 2531. บวสเซอลีเย, ชอง. ชําแหละประวัติศาสตรและโบราณคดีของกรมศิลปากร. แปลโดย ศาสตราจารย

หมอมเจาสุภัทรดิศ ดิศกุล. กรุงเทพฯ : โรงพิมพพิฆเณศ, 2531. ปรมานุชิตชิโนรส, สมเด็จฯ กรมพระยา. พระปฐมสมโพธิกถา. กรุงเทพฯ : โรงพิมพธรรมบรรณา

คาร, 2519. ประจักษ ประภาพิทยากร. ประเพณีและไสยเวทวิทยาในขุนชางขุนแผน. กรุงเทพฯ : องคการคาของ

คุรุสภา, 2525. ประชุม กาญจนวัฒน. พระเครื่องเรื่องของขลัง. กรุงเทพฯ : อักษรสัมพันธ, 2525. _______. พระเครื่อง. กรุงเทพฯ : ศรีเมืองเมืองการพิมพ, 2516.

Page 86: พุทธพาณิ ชยพระเคร : ื่ อง...บ ณฑ ตว ทยาล ย มหาว ทยาล ยศ ลปากร อน ม ต ใศ กษาตามหล

77

ประชุม กาญจนวัฒน. พระเครื่องเลื่องชื่อ. กรุงเทพฯ : ศรีเมืองการพิมพ, 2516. ประชุมจดหมายเหตุสมัยอยุธยา ภาค ๑. พระนคร : โรงพิมพสํานักทําเนียบนายกรัฐมนตรี, 2510. ประชุมพงศาวดารภาคที่ ๘๐. พระนคร : โรงพิมพพระจันทร, 2509. ประชุมศิลาจารึกภาคท่ี ๒ จารึกทวาราวดี ศรีวิชัย ละโว. พระนคร : โรงพิมพศิวพร, 2504. ประชุมศิลาจารึกภาคท่ี ๓. พระนคร : โรงพิมพสํานักนายกรัฐมนตรี, 2508. ประชุมศิลาจารึกภาคท่ี ๔. พระนคร : โรงพิมพสํานักนายกรัฐมนตรี, 2513. ประสาร บุญประคอง. “คําอานศิลาจารึกอักษรและภาษาไทยวัดหินตั้ง จ.สุโขทัย.” ศิลปากร 8, 3

(กันยายน2507) : 83 – 87, ปาลเลกัวซ ฌอง แบปติสต. เลาเรื่องกรุงสยาม. แปลโดย สันต ท.โกมลบุตร. กรุงเทพฯ : กาวหนา

การพิมพ, 2520. ป.หวลวิไล [นามแฝง]. ตําราดูลักษณะพระเครื่อง. พระนคร : สํานักพิมพผานฟาพิทยา, 2506. ผาสุข อินทราวุธ. รายงานการขุดคนเมืองโบราณฟาแดดสงยาง อ.กมลาไสย จ.กาฬสินธุ. นครปฐม :

สถาบันวิจัยและพัฒนามหาวิทยาลัยศิลปากร, 2544. _______. รายงานการวิจัยเร่ืองการศึกษารองรอยอารยธรรมโบราณจากหลักฐานโบราณคดีในเขต

จ.ลําพูน กอนพุทธศตวรรษที่ 19. กรุงเทพฯ : ภาควิชาโบราณคดี คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2536.

_______. “รองรอยวัฒนธรรมอินเดียในเอเชียตะวันออกเฉียงใต.” ใน โบราณคดีและประวัติศาสตรในประเทศไทย, 117 – 186. กรุงเทพฯ : บริษัทอมรินทรพร้ินติ้งแอนดพับลิชช่ิงจํากัด, 2545.

_______. รูปเคารพในศาสนาฮินดู. นครปฐม : มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2524. พนัทธนิตา นิลวงศ. “ปจจัยที่มีอิทธิพลตอความนิยมของผูสะสมพระพิมพตอพระพิมพสมเด็จฯ วัด

ระฆังในปจจุบัน.” สารนิพนธปริญญาบัณฑิต ภาควิชามานุษยวิทยา คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2535.

พินัย ศักดิ์เสนีย. นามานุกรมพระเครื่อง. พระนคร : สํานักพิมพผดุงศึกษา, 2502. พิพัฒน พงศรพีพร. สมุดภาพรัชกาลที่ ๔. กรุงเทพฯ : ไพศาลการพิมพ, 2547. พรหมศักดิ์ เจิมสวัสดิ์. ยอดพระเครื่องสกุลกําแพงเพชร. กรุงเทพฯ : การุณยการพิมพ, ม.ป.ป. _______. ยอดพระเครื่องสกุลพิษณุโลก.กรุงเทพฯ : สุนทรการพิมพ, ม.ป.ป. พรชัย ลิขิตธรรมโรจน. รายงานการวิจัยเร่ืองพระเครื่องกับสังคมไทย : ศึกษาเฉพาะกรณี

ผลกระทบท่ีมีตอภาวะความเปนอยูทางสังคมของคนไทย. สงขลา : คณะวิทยาการจัดการมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร วิทยาเขตหาดใหญ, 2514.

Page 87: พุทธพาณิ ชยพระเคร : ื่ อง...บ ณฑ ตว ทยาล ย มหาว ทยาล ยศ ลปากร อน ม ต ใศ กษาตามหล

78

ไพฑูรย ธัญญา. เทพเจาแหงดานขุนทด. กรุงเทพฯ : บริษัทเนชั่นมัลติมีเดียกรุปจํากัดมหาชน, 2546. ภุชชงค จันทวิช. “พระหูยานหนายักษ – ยิ้มแหงกรุงละโว.” ศิลปวัฒนธรรม 12, 5 (มีนาคม 2534) :

60 – 63. มนัส โอภากุล. เปดกรุพระถ้ําเสือ : ของดีเมืองสุพรรณบุรี. กรุงเทพฯ : สํานักพิมพขาวสด, 2538. _______. พระกรุเมืองสุพรรณ. พระนคร : ศิลปาบรรณาคาร, 2512. _______. พระฯเมืองสุพรรณ. สุพรรณบุรี : สุพรรณการพิมพ, 2543. _______. พระผงสุพรรณ. สุพรรณบุรี : มนัสการพิมพ, 2530. _______. “วินิจฉัยพระเครื่องตระกูลวัดบานกราง : ใครสราง?.” เมืองโบราณ 21, 1- 4 (มกราคม –

ธันวาคม 2538) : 343 – 350. มโนมัย มโนภาพ. “ตลาดพระเครื่อง ศรัทธา หรือธุรกิจ?.” เนชั่นสุดสัปดาห (18 – 24 มิ.ย.36) : 45 –

47. เมฆพัด [นามแฝง]. ตําราดูพระเครื่องพระสมเด็จ. พระนคร : สํานักพิมพพิทยาคาร, 2513. มงกุฏเกลาเจาอยูหัว, พระบาทสมเด็จพระ. เร่ืองเท่ียวเมืองพระรวง. พระนคร : โรงพิมพธนาคาร

ออมสิน, 2496. มอนต จันทนากร. ทําเนียบพระกริ่งพระชัยวัฒน. กรุงเทพฯ : สํานักงานนครชาง, 2527. ยงยุทธ วิริยายุทธังกุร. สมเด็จพระพุฒาจารย (โต พรหมรังสี) ในทัศนะของคนรุนใหม. กรุงเทพฯ :

สํานักพิมพธีรกิจจํากัด, 2534. รัตนปญญาเถระ. “เร่ืองสรางเมืองหริปุญชัย.” ชินกาลมาลีปกรณ. แปลโดย แสง มนวิทูร. กรุงเทพฯ

: กรมศิลปากร, 2517. ราม วัชรประดิษฐ. “พระมเหศวรกรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ สุพรรณบุรี.” สยามรัฐสัปดาหวิจารณ

52, 10 (29 กรกฎาคม – 4 สิงหาคม) : 54 – 55. โลกวันนี้รายวัน. 6 (24), 1495 (6113), วันอังคารที่ 19 เมษายน 2548, 1 และ 6A. วามเทพมุนี, พระราชครู. คัมภีรยันต๑๐๘. กรุงเทพฯ : โรงพิมพลูก ส.ธรรมภักดี, 2521. วรรณวิภา สุเนตตา. “คติรัตนตรัยมหายานในศิลปะเขมรชวงพุทธศตวรรษที่ 18 ที่พบในภาคกลาง

ของประเทศไทย.” วิทยานิพนธหลักสูตรปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาประวัติศาสตรศิลปะ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2546.

วิษณุพงษ หิญชีระนันท. “พระเครื่องกับความเชื่อของสังคมไทย.” The Earth 2000 1, 8, (กุมภาพันธ 2537) : 40 – 46.

วิจิตรวาทการ, หลวง. พุทธานุภาพ. พระนคร : สํานักงาน ส.ธรรมภักดี, 2504. วิวัฒน อุดมกัลยารักษ. เบญจภาคี ๒. กรุงเทพฯ : องคการคาของคุรุสภา, 2542.

Page 88: พุทธพาณิ ชยพระเคร : ื่ อง...บ ณฑ ตว ทยาล ย มหาว ทยาล ยศ ลปากร อน ม ต ใศ กษาตามหล

79

ศักดิ์ชัย สายสิงห. ศิลปะทวาราวดี : วัฒนธรรมพุทธศาสนายุคแรกเริ่มในดินแดนไทย. กรุงเทพฯ : เมืองโบราณ, 2547.

ศักดิ์ศรี แยมนัดดา. “เบญจภาคี.” สารานุกรมวัฒนธรรมไทย ภาคกลาง เลม 8. กรุงเทพฯ : บริษัทสยามเพรสแมเนจเมนทจํากัด, 2542.

_______. สารานุกรมวัฒนธรรมไทย ภาคกลาง เลม 9. กรุงเทพฯ : บริษัทสยามเพรสแมเนจเมนท จํากัด, 2542.

ศรีศักร วัลลิโภดม. พระเครื่องในเมืองสยาม. กรุงเทพฯ : สํานักพิมพมติชน, 2537. _______. ลานนาประเทศ. กรุงเทพฯ : บริษัทพิฆเณศพริ้นติ้งเซ็นเตอรจํากัด, 2545. ศุภชัย ศรีแพทย. พระชุดเบญจภาคี. กรุงเทพฯ : สํานักพิมพรพีบรรณ, 2529. สงวน รอดบุญ. ศิลปกรรมไทย. กรุงเทพฯ : โรงพิมพการศาสนา, 2529. สดับ ธีระบุตร, พลอากาศโทนายแพทย. “พระสมเด็จฯ.” สดับ ธีระบุตร. กรุงเทพฯ : หางหุนสวน

จํากัดสามิตการพิมพ, 2535. (พิมพในงานศพ 8 พฤศจิกายน 2535). สนิท สมัครการ. ความเชื่อและศาสนาในสังคมไทยวิเคราะหเชิงสังคม – มานุษยวิทยา. กรุงเทพฯ :

สํานักพิมพโอเดียนสโตร, 2539. สันติ เล็กสุขุม. ศิลปะภาคเหนือ : หริภุญไชย – ลานนา. กรุงเทพฯ : สํานักพมิพเมืองโบราณ, 2538. สุนันทา เอื้ออําพน. “พระเครื่อง…มหิทธานุภาพแหงสังคมไทย.” ผาสุก 20, 116 (2540) : 13 – 17. สุภัทรดิศ ดิศกุล, หมอมเจา. ศิลปะในประเทศไทย. กรุงเทพฯ : โรงพิมพมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร,

2539. _______. ศิลปะสมัยลพบุรี. กรุงเทพฯ : บริษัทอมรินทรพร้ินติ้งแอนดพับลิชช่ิงจํากัด, 2547. สุภาพรรณ ณ บางชาง. ขนบธรรมเนียมประเพณี : ความเชื่อและแนวการปฏิบัติในสมัยสุโขทัยถึง

สมัยอยุธยาตอนกลาง. กรุงเทพฯ : สถาบันไทยศึกษา จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย, 2535. _______. วิวัฒนาการเขียนภาษาบาลีในประเทศไทย : ประเภทวิเคราะหธรรมในพระสุตตันตปฎก.

รายงานการวิจัยคณะอักษรศาสตร จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย, 2529. สุรสวัสดิ์ สุขสวัสดิ์, หมอมหลวง. “การศึกษาพระพิมพภาคใตของประเทศไทย.” วิทยานิพนธ

ปริญญามหาบัณฑิต สาขาโบราณคดีสมัยประวัติศาสตร บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2528.

สุนทรพิพิธ (เชย), พระยา. อิทธิปาฏิหาริยพระเครื่องรางของขลัง. พระนคร : ศิลปาบรรณาคาร, 2515.

สงการ ศรีพนม. พระสมเด็จบางขุนพรหมองคแชมป. กรุงเทพฯ : สํานักพิมพคเณศพร, 2546.

Page 89: พุทธพาณิ ชยพระเคร : ื่ อง...บ ณฑ ตว ทยาล ย มหาว ทยาล ยศ ลปากร อน ม ต ใศ กษาตามหล

80

สมบัติ พลายนอย. “พระราหู.” สารานุกรมวัฒนธรรมไทย ภาคกลาง เลม 9. กรุงเทพฯ : บริษัทสยามเพรสแมเนจเมนท จํากัด, 2542.

สรพล โศภิตกุล. สุดยอดพระเครื่อง ๑. กรุงเทพฯ : สํานักพิมพบัวตอง, 2542. _______. สุดยอดเหรียญพระเครื่อง. กรุงเทพฯ : สํานักพิมพมติชน, 2540. _______. สุดยอดเหรียญพระเครื่องกระบวน ๒. กรุงเทพฯ : สํานักพิมพมติชน, 2544. อัศวี ศรจิตติ. “พระพิมพสมัยลําพูน.” วิทยานิพนธปริญญาศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาโบราณคดี คณะ

โบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2511. อรรคเดช กฤษณะดิลก. ปทานุกรมพระเครื่องชุดเบญจภาคี.กรุงเทพฯ : โรงพิมพคุรุสภาลาดพราว,

2546. อุทัย ไชยานนท. วรรณกรรมกรุงรัตนโกสินทร รัชกาลท่ี ๑-๒-๓. กรุงเทพฯ : บริษัทสํานักพิมพ

น้ําฝนจํากัด, 2546. อําพัน ตัณฑวรรธนะ. หนังสือท่ีระลึกวันตรงกับเสด็จสวรรคตในพระบาทสมเด็จพระปนเกลา

เจาอยูหัว. ม.ป.ท., ม.ป.ป. ฮีแลร, ฟ.(แปล). เดอ วีเซ(เรียบเรียง). เร่ืองโกษาปานไปฝรั่งเศส. พระนคร : โรงพิมพอักษรสมัย,

2514. ภาษาตางประเทศ Coedes, George. “Siam Votive Tablets.” Translated by W.Agraham, Jss vol.20, pt.1 (1926) : 5. Giuseppe Tucci. Stupa : Art, Architectonics and Symbolism. New Delhi : Aditya Prakasan,

1988. Grisswold, Alexander, B. The Art of Thailand. New York : Indiana University, 1960. Guelden, Marlane. “Amulets save lives.” Thailand : Into the Spirit World. Singapore : Magenta

Lithographic Consultants, 1953. Thomas, L.A.and Thomas, F.W. The Beginning of Buddhist Art and Other Essays in Indian

and Central – Asian Archaeology. Delhi : Indological Book House, 1972. Pattaratorn Chirapravati, M.L. “The Cult of votive tablets in Thailand (Sixth to thirteenth

centuries).” Ph.D. Dissertation Cornell University ,Vol. 1, 1994. _______. Votive Tablets in Tahiland : Origin, Style and Uses. Singapore : Oxford University

Press, 1997.

Page 90: พุทธพาณิ ชยพระเคร : ื่ อง...บ ณฑ ตว ทยาล ย มหาว ทยาล ยศ ลปากร อน ม ต ใศ กษาตามหล

81

Stanley, Jeyaraja Tambiah. The Buddhist saints of the forest and the cult of Amulets : A Study in Charisma, Hagiography Sectarianism and millennial Buddhism. New York : Cambridge University Press, 1984.

Soontravanich, Chalong. Small Arms, Romance and Violence in Post WWII Thai Society. Draft.

The Fine Art Department. 700 Years of Thailand : Treasures from the Kingdom. Bangkok : Thaiwattanapanit, 1993.

Woodward, Jr. Hiram W. “Studies in the Art of Central Siam, 950 – 1350 A.D.” Ph.D. Dissertation Yale University, 1975.

_______. The Sacred Sculpture of Thailand. Bangkok : River Books, 1999. เว็บไซต www.jatukarm.com [online]. Accessed 9 January 2007. www.komchadluek.net [online]. Accessed 10 February 2007. www.patayadailynews.com/thai/showneews [online]. Accessed 9 January 2007. www.rr10.com [online]. Accessed 10 February 2007. www.salatham.com/prayer/shinban.htm [online]. Accessed 9 January 2007. www.siamamulet.net [online]. Accessed 10 February 2007. www.soonphra.com [online]. Accessed 10 February 2007. www.thaprachan.com/shop [online]. Accessed 10 February 2007. www.uamulet.com [online]. Accessed 10 February 2007. www.youamulet.com [online]. Accessed 10 February 2007.

Page 91: พุทธพาณิ ชยพระเคร : ื่ อง...บ ณฑ ตว ทยาล ย มหาว ทยาล ยศ ลปากร อน ม ต ใศ กษาตามหล

82

ประวัติผูวิจัย

ช่ือ – สกุล นางสาวบุศรา สวางศรี เกิด 30 มกราคม 2524 ที่อยู 814 ซ.จรัญสนิทวงศ 44 บางยี่ขัน บางพลัด กรุงเทพฯ 10700 โทรศัพท 0-89-886-2161 ประวัติการศึกษา พ.ศ. 2535 ประถมศึกษา โรงเรียนศิริมงคลศึกษา พ.ศ. 2540 มัธยมศึกษา โรงเรียนสายปญญา ในพระบรมราชินูปถัมภ

พ.ศ. 2544 ปริญญาศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาประวัติศาสตรศิลปะ คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร

พ.ศ. 2545 ศึกษาตอระดับปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาประวัติศาสตรศิลปะ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร