18
ระน โรงเยน สาต ลเญคณะกษาศาสต มหาทยายรพา ภาษาไทย ระบนประถมกษา

ภาษาไทย · 2018. 1. 15. · บท ๒ สระ สระ สระ อ เคlองหมายnใwแทนเ›ยงnเปzงออกมา (เ›ยงnเปzงออกมาจากคอ

  • Upload
    others

  • View
    5

  • Download
    0

Embed Size (px)

Citation preview

Page 1: ภาษาไทย · 2018. 1. 15. · บท ๒ สระ สระ สระ อ เคlองหมายnใwแทนเ›ยงnเปzงออกมา (เ›ยงnเปzงออกมาจากคอ

ระพิน ชูชื่น โรงเรียน สาธิต “พิบูลบำเพ็ญ”

คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา

ภาษาไทยระดับชั้นประถมศึกษา

Page 2: ภาษาไทย · 2018. 1. 15. · บท ๒ สระ สระ สระ อ เคlองหมายnใwแทนเ›ยงnเปzงออกมา (เ›ยงnเปzงออกมาจากคอ

บทที่ ๒ สระ...

สระ

รูปสระ

เสียงสระ

การลดรูป เปลี่ยนรูปสระ

แบบฝึกหัด

การอ้างอิง

- เ-ะ

Page 3: ภาษาไทย · 2018. 1. 15. · บท ๒ สระ สระ สระ อ เคlองหมายnใwแทนเ›ยงnเปzงออกมา (เ›ยงnเปzงออกมาจากคอ

บทที่ ๒ สระ

เด็ก ๆ รู้หรือไม่ว่า...

สระคืออะไร?

Page 4: ภาษาไทย · 2018. 1. 15. · บท ๒ สระ สระ สระ อ เคlองหมายnใwแทนเ›ยงnเปzงออกมา (เ›ยงnเปzงออกมาจากคอ

บทที่ ๒ สระ

สระ

สระ คือ เครื่องหมายที่ใช้แทนเสียงที่เปล่งออกมา (เสียงที่เปล่งออกมาจากลำคอ โดยตรง

เช่น อา อือ เออ) ตามหลักภาษาถือว่าพยัญชนะจำเป็นต้องอาศัยสระจึงจะออกเสียงได้ ถ้าพยัญชนะไม่อาศัยเสียงสระก็ออกเสียงไม่ได้๑ สระในภาษาไทย แบ่งเป็น ๒ ประเภท คือ

รูปสระ เสียงสระ

Page 5: ภาษาไทย · 2018. 1. 15. · บท ๒ สระ สระ สระ อ เคlองหมายnใwแทนเ›ยงnเปzงออกมา (เ›ยงnเปzงออกมาจากคอ

บทที่ ๒ สระ

รูปสระ

รูปสระ ชื่อเรียกเ-ะ สระ เอะเ- สระ เอเ-็ สระ เอ กับไม้ไต่คู้แ-ะ สระ แอะแ- สระ แอแ-็ สระ แอ กับไม้ไต่คู้โ-ะ สระ โอะโ- สระ โอเ-าะ สระ เอาะ-อ สระ ออ-็อ สระ ออ กับไม้ไต่คู้เ-อะ สระ เออะ

รูปสระ ชื่อเรียก-็ ไม้ไต่คู้-ะ สระ อะ-ั ไม้หันอากาศ-า สระ อา

-ำ สระ อำ-ิ สระ อิ-ี สระ อี-ึ สระ อึ-ื สระ อือ-ือ สระ อือ-ออ-ุ สระ อุ-ู สระ อู

รูปสระ ชื่อเรียกเ-อ สระ เออเ-ิ สระ เออ

เ-ียะ สระ เอียะเ-ีย สระ เอียเ-ือะ สระ เอือะเ-ือ สระ เอือ-ัวะ สระ อัวะ-ัว สระ อัว-ว ตัว วอใ- สระ ใอไม้ม้วนไ- สระ ไอไม้มลายเ-า สระ เอา

จากหนังสือบรรทัดฐานภาษาไทย เล่ม ๑ (กรมวิชาการ : ๒๕๔๕) พิจารณาจากรูปสระที่ปรากฏในการใช้ในคำ ประโยค หรือ ข้อความ จึงทำให้มีรูปสระที่ใช้แทนเสียง มีจำนวน ๓๖ รูป ได้แก่

Page 6: ภาษาไทย · 2018. 1. 15. · บท ๒ สระ สระ สระ อ เคlองหมายnใwแทนเ›ยงnเปzงออกมา (เ›ยงnเปzงออกมาจากคอ

บทที่ ๒ สระ

เสียงสระ

สระ ๓๖ รูปนี้ เมื่อนำไปประสมกันเข้า จะเกิดเป็นเสียงสระต่าง ๆ ถึง ๒๑ เสียง จำแนกออกเป็น สระเสียงสั้น (รัสสระ) และสระเสียงยาว (ทีฆสระ) ดังนี้

รัสสระ ทีฆสระ

สระเดี่ยว ๑๘ เสียง

อะ อา

สระเดี่ยว ๑๘ เสียง

อิ อี

สระเดี่ยว ๑๘ เสียง

อึ อื

สระเดี่ยว ๑๘ เสียง

อุ อู

สระเดี่ยว ๑๘ เสียง เอะ เอสระเดี่ยว ๑๘ เสียง

แอะ แอ

สระเดี่ยว ๑๘ เสียง

โอะ โอ

สระเดี่ยว ๑๘ เสียง

เอาะ ออ

สระเดี่ยว ๑๘ เสียง

เออะ เออ

สระประสม ๓ เสียง

เอีย (อี + อา)

สระประสม ๓ เสียง เอือ (อื + อา)สระประสม ๓ เสียง

อัว (อู + อา)

Page 7: ภาษาไทย · 2018. 1. 15. · บท ๒ สระ สระ สระ อ เคlองหมายnใwแทนเ›ยงnเปzงออกมา (เ›ยงnเปzงออกมาจากคอ

บทที่ ๒ สระ

เสียงสระ

คือ สระที่เปล่งเสียงโดยอวัยวะที่ใช้ออกเสียงอยู่ในตำแหน่งมากกว่า ๑ ตำแหน่ง หน่วยเสียงสระประสมในภาษาไทยมี ๓ หน่วย คือ

เ-ีย เช่น เสียงสระในคำว่า เลีย เรียน เปียก เรียบ เงียบ เกี๊ยะ เผียะ เป็นต้น

เ-ือ เช่น เสียงสระในคำว่า เกลือ เมื่อ เชื่อ เหลือ เป็นต้น

-ัว เช่น เสียงสระในคำว่า ตัว กลัว นวล รวม ผัวะ จั๊วะ เป็นต้น

คือ สระที่เปล่งเสียงโดยอวัยวะในช่องปากอยู่ในตำแหน่งเดียวตลอดเสียง เช่น เสียงสระของคำว่า กา ขอ เจอ ดู ตา นา มือ สี เป็นต้น หน่วยเสียงสระเดี่ยวในภาษาไทยมี ๑๘ หน่วย

สระเดี่ยว สระประสม

เสียงสระในภาษาไทยมี ๒๑ เสียง ดังนี้

สำหรับ -ำ ใ- ไ- เ-า เป็นรูปสระที่มีเสียงพยัญชนะรวมอยู่ด้วย (เสียง ม ย ว) ส่วน ฤ ฤๅ ฦ ฦๅ มีเสียง ร ล นำหน้าเสียงสระ เราจึงเรียกรูปสระดังกล่าวว่า สระเกิน (อาจจะมีคำถามว่าแล้วจะเลือกใช้จากตำราใด ระหว่างตำราเดิมของพระยาอุปกิตศิลปสาร กับตำราของกระทรวงศึกษาธิการ ผู้เขียนก็พยายามหาคำตอบ โดยการสอบถามจากผู้รู้และผู้เกี่ยวข้อง ได้แก่ สถาบันภาษาไทย สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ และคณาจารย์จากมหาวิทยาลัย ซึ่งได้รับคำตอบว่า ให้ใช้ของกระทรวงศึกษาธิการ )

Page 8: ภาษาไทย · 2018. 1. 15. · บท ๒ สระ สระ สระ อ เคlองหมายnใwแทนเ›ยงnเปzงออกมา (เ›ยงnเปzงออกมาจากคอ

บทที่ ๒ สระ

เสียงสระ

รูปสระเมื่อนำมาประสมกันใช้แทนเสียงสระได้๔ เช่น

เ-ือ เ-ีย

ประกอบด้วยรูปสระดังนี้

๑. เ ไม้หน้า

๒. ิ พินทุ์อิ

๓. “ ฟันหนู

๔. อ ตัวออ

ประกอบด้วยรูปสระดังนี้

๑. เ ไม้หน้า

๒. ิ พินทุ์อิ

๓. ‘ ฝนทอง

๔. ย ตัวยอ

Page 9: ภาษาไทย · 2018. 1. 15. · บท ๒ สระ สระ สระ อ เคlองหมายnใwแทนเ›ยงnเปzงออกมา (เ›ยงnเปzงออกมาจากคอ

บทที่ ๒ สระ

เสียงสระ

รูปสระเมื่อนำมาประสมกันใช้แทนเสียงสระได้๔ เช่น

-ัวะ โ-ะ

ประกอบด้วยรูปสระดังนี้

๑. ั ไม้ผัด

๒. ว ตัววอ

๓. ะ วิสรรชนีย์

ประกอบด้วยรูปสระดังนี้

๑. โ ไม้โอ

๒. ะ วิสรรชนีย์

Page 10: ภาษาไทย · 2018. 1. 15. · บท ๒ สระ สระ สระ อ เคlองหมายnใwแทนเ›ยงnเปzงออกมา (เ›ยงnเปzงออกมาจากคอ

บทที่ ๒ สระ

นักเรียนอาจจะเกิดความสับสน เมื่อพบคำที่มีวรรณยุกต์เอก เพราะไม้เอก ( ่ ) มีลักษณะเหมือนฝนทอง ( ่ ) ให้นักเรียนพิจารณาดูให้ดี๕ เช่น

เรียนจะประกอบด้วยรูปสระ ๔ รูป คือ ไม้หน้า, พินทุ์อิ, ฝนทอง และตัวยอ

เคลื่อนจะประกอบด้วยรูปสระ ๔ รูป คือ ไม้หน้า, พินทุ์อิ, ฟันหนู และตัวออ

ขีด จะประกอบด้วยรูปสระ ๒ รูป คือ พินทุ์อิ และฝนทอง

ฝิ่น จะมีรูปสระเพียงรูปเดียว คือ พินทุอิ

Page 11: ภาษาไทย · 2018. 1. 15. · บท ๒ สระ สระ สระ อ เคlองหมายnใwแทนเ›ยงnเปzงออกมา (เ›ยงnเปzงออกมาจากคอ

บทที่ ๒ สระ

การลดรูป เปลี่ยนรูปสระ

การเปลี่ยนรูปสระ

-ะ เมื่อมีตัวสะกดเปลี่ยนจาก ะ

เป็น ั เช่น

กะ + น = กัน

ขะ + น = ขัน

เ-ะ เมื่อมีตัวสะกดเปลี่ยน ะ เป็น ็ เช่น

เปะ + น = เป็น

เละ + ง = เล็ง

เเ-ะ เมื่อมีตัวสะกดเปลี่ยน ะ เป็น ็ เช่น

แขะ + ง = แข็ง

แผละ + บ = แผล็บ

เ-าะ เมื่อมีตัวสะกดเปลี่ยน เ-าะ

เป็น อ, ็ เช่น

เลาะ + ก = ล็อก

เผลาะ + ย = ผล็อย

เ-อ เมื่อมีตัวสะกดเปลี่ยน อ เป็น ิ เช่น

เดอ + น = เดิน

เชอ + ญ = เชิญ

Page 12: ภาษาไทย · 2018. 1. 15. · บท ๒ สระ สระ สระ อ เคlองหมายnใwแทนเ›ยงnเปzงออกมา (เ›ยงnเปzงออกมาจากคอ

บทที่ ๒ สระ

การลดรูป เปลี่ยนรูปสระ

การลดรูปสระ

-อ เมื่อมี ร สะกด ลดรูป อ เช่น

จอ + ร = จร

ขจอ + ร = ขจร

เ-อ เมื่อมี ย สะกด ลดรูป อ เช่น

เชอ + ย = เชย

เลอ + ย = เลย

โ-ะ เมื่อมีตัวสะกด ลดรูป โ-ะ หมด เช่น

โกะ + ล = กล

โชะ + ก = ชก

-ัว เมื่อมีตัวสะกด ลดรูป -ั

ชัว + น = ชวน

ยัว + น = ยวน

สัว + ย = สวย

Page 13: ภาษาไทย · 2018. 1. 15. · บท ๒ สระ สระ สระ อ เคlองหมายnใwแทนเ›ยงnเปzงออกมา (เ›ยงnเปzงออกมาจากคอ

บทที่ ๒ สระ

มาทำแบบฝึกหัดเพื่อทบทวนความรู้กันเถอะ

Page 14: ภาษาไทย · 2018. 1. 15. · บท ๒ สระ สระ สระ อ เคlองหมายnใwแทนเ›ยงnเปzงออกมา (เ›ยงnเปzงออกมาจากคอ

บทที่ ๒ สระ

แบบฝึกหัดบทที่ ๒

ตอนที่ ๑ จงเติมคำหรือข้อความลงในช่องว่างให้ได้ใจความ

๑) สระหมายถึง......................................................................................

๒) สระในภาษาไทยมี.....................เสียง.....................รูป

๓) สระที่เลิกใช้แล้วคืออะไร..………........................……………………………

๔) คำว่า “ม” เป็นสระเสียง……………คำว่า “ม่าน” เป็นเสียงสระ……………

๕) การนำรูปสระมาประสมข้าด้วยกันทำให้เกิด…………………………………

Page 15: ภาษาไทย · 2018. 1. 15. · บท ๒ สระ สระ สระ อ เคlองหมายnใwแทนเ›ยงnเปzงออกมา (เ›ยงnเปzงออกมาจากคอ

บทที่ ๒ สระ

แบบฝึกหัดบทที่ ๒

ตอนที่ ๒ จงหาคำที่มีเสียงสระเดียวกับคำต่อไปนี้โดยตัวสะกดไม่ซ้ำกันและต้องมีความหมายสมบูรณ์

๑) ใหญ่.............................................................................................

๒) เพลิน............................................................................................

๓) เพลีย............................................................................................

๔) กาล..............................................................................................

๕) เอื้อง.............................................................................................

Page 16: ภาษาไทย · 2018. 1. 15. · บท ๒ สระ สระ สระ อ เคlองหมายnใwแทนเ›ยงnเปzงออกมา (เ›ยงnเปzงออกมาจากคอ

บทที่ ๒ สระ

แบบฝึกหัดบทที่ ๒

ตอนที่ ๓ คำต่อไปนี้ประกอบด้วยรูปสระกี่รูป อะไรบ้าง

คำ จำนวนรูปสระ ประกอบด้วยรูปสระ

๑) ดอกบัว ตัวออ ไม้ผัด ตัววอ

๒) ทุกข์

๓) เตียง

๔) เห็น

๕) ผูกพัน

๖) เต้าหู้

Page 17: ภาษาไทย · 2018. 1. 15. · บท ๒ สระ สระ สระ อ เคlองหมายnใwแทนเ›ยงnเปzงออกมา (เ›ยงnเปzงออกมาจากคอ

บทที่ ๒ สระ

ตอนที่ ๔ จงเลือกข้อที่ถูกที่สุดเพียงข้อเดียว

Check Answer

Question 1 of 9

๑) รูปสระ “า” เรียกว่าอะไร

A. ไม้ผัด

B. สระอะ

C. ลากข้าง

D. วิสรรชนีย์

แบบฝึกหัดบทที่ ๑

Page 18: ภาษาไทย · 2018. 1. 15. · บท ๒ สระ สระ สระ อ เคlองหมายnใwแทนเ›ยงnเปzงออกมา (เ›ยงnเปzงออกมาจากคอ

บทที่ ๒ สระ

การอ้างอิง

๑ กำชัย ทองหล่อ. หลักภาษาไทย. ๒๕๓๗, หน้า ๔๔.

๒ สมถวิล วิเศษสมบัติ. สอบภาษาไทยง่ายนิดเดียว. ม.ป.ป., หน้า ๔.

๓ แหล่งเดิม, หน้า ๔.

๔ กำชัย ทองหล่อ. เล่มเดิม, หน้า ๕๔-๕๕.

๕ ธาริณี วีระสกุลรัตน์ และคณะ. คู่มือเตรียมสอบเข้า ม.๑. ๒๕๓๒, หน้า ๑๓๐-๑๓๑.

๖ กระทรวงศึกษาธิการ. บรรทัดฐานภาษาไทย เล่ม ๓.