16
AG-BIO 2 10 ปี ศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีชีวภาพเกษตร 8 “ไข้หวัดสุกร /ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009” 10 สัตวแพทย์กับงานด้านเทคโนโลยีชีวภาพ 15 AgBiotech Hot News : Animal Biotechnology ข่าวสารเทคโนโลยีชีวภาพเกษตร N e w s l e t t e r ISSN: 1906-5817 ปีท่ 1 ฉบับที่ 1 มกราคม – มีนาคม พ.ศ. 2552 Vol. 1 No. 1 January – March 2009 We are not renaming. ‘SWINE FLU’ Esther Enkin ศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีชีวภาพเกษตร สำนักพัฒนาบัณฑิตศึกษาและวิจัยด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา

ข่าวสารเทคโนโลยีชีวภาพเกษตร ปีที่ 1 ฉนับที่ 1

Embed Size (px)

DESCRIPTION

ข่าวสารเทคโนโลยีชีวภาพเกษตร (AG-BIO Newsletter) ปีที่ 1 ฉนับที่ 1 (มกราคม - มีนาคม 2552)

Citation preview

Page 1: ข่าวสารเทคโนโลยีชีวภาพเกษตร ปีที่ 1 ฉนับที่ 1

AG-BIO

2 10 ปี ศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีชีวภาพเกษตร

8 “ไข้หวัดสุกร /ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ ใหม่ 2009”

10 สัตวแพทย์กับงานด้านเทคโนโลยีชีวภาพ

15 AgBiotech Hot News : Animal Biotechnology

ข่าวสารเทคโนโลยีชีวภาพเกษตร

N e w s l e t t e r

ISSN: 1906-5817 ปีที่ 1 ฉบับที่ 1 มกราคม – มีนาคม พ.ศ. 2552 Vol. 1 No. 1 January – March 2009

We are not renaming.

‘SWINE FLU’ Esther Enkin

ศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีชีวภาพเกษตร สำนักพัฒนาบัณฑิตศึกษาและวิจัยด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลย ี สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา

Page 2: ข่าวสารเทคโนโลยีชีวภาพเกษตร ปีที่ 1 ฉนับที่ 1

คุยกับบรรณาธิการ

ข่าวสารเทคโนโลยีชีวภาพเกษตร ซึ่งจัดพิมพ์โดยศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีชีวภาพเกษตร สำนักพัฒนา

บัณฑิตศึกษาและวิจัยด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ

ฉบับนี้เป็นฉบับปฐมฤกษ์โดยมุ่งหวังที่จะเป็นสื่อกลางในการนำข้อมูล ข่าวสารวิชาการ งานวิจัย ตลอดจนกิจกรรมต่างๆ

ด้านเทคโนโลยีชีวภาพเกษตรมาเผยแพร่สู่สาธารณชน อันเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อการพัฒนาด้านการเกษตรของเรา

ให้เข็มแข็งต่อไป ในโอกาสนี้ข้าพเจ้าในฐานะบรรณาธิการขอเรียนท่านผู้อ่านว่า กองบรรณาธิการของเราจะจัดพิมพ์

ข่าวสารฯ เป็นประจำทุก 3 เดือน ตั้งแต่ต้นปี พ.ศ. 2552 นี้ โดยฉบับปฐมฤกษ์ได้นำเสนอข้อมูลข่าวสารที่ทัน

สมัยด้านเทคโนโลยีชีวภาพด้านสัตวศาสตร์ โดยเฉพาะบทสัมภาษณ์พิเศษกับ รศ.น.สพ.ดร.ทวีศักดิ์ ส่งเสริมใน

เรื่องที่กำลังเป็นที่สนใจของประชาชน คือ “ไข้หวัดสุกร/ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009” ได้รวมไว้ใน

ฉบับนี้ด้วย พร้อมนี้ขอแนะนำศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีชีวภาพเกษตร ที่มีมหาวิทยาลัย

เกษตรศาสตร์ เป็นมหาวิทยาลัยแกนนำ โดยมีมหาวิทยาลัยอื่นๆ ที่เป็นภาคีร่วม ซึ่งจะได้แนะนำให้

รู้จักกันในโอกาสต่อๆ ไป เพื่อท่านผู้อ่านได้ทราบถึงความเคลื่อนไหวในด้านต่างๆ ของศูนย์ฯ

นอกจากนี้ยังมีบทความและข่าวสารที่ทันสมัย ตลอดจนกิจกรรมที่น่าสนใจอีกมากมาย

สุดท้ายนี้กองบรรณาธิการขอเชิญท่านผู้อ่านทุกท่านเสนอแนะความคิดเห็นอันจะเป็น

ประโยชน์อย่างยิ่งต่อการปรับปรุงรูปแบบและเนื้อหาของข่าวสารให้น่าติดตาม

มากยิ่งขึ้น โดยติดต่อได้ที่ [email protected]

ด้วยความปรารถนาดี

บรรณาธิการ

การใช้เครื่องหมายโมเลกุลร่วมกับการคัดเลือกลักษณะเพื่อพัฒนาผลผลิตข้าวหอมมะลิ ภายใต้สภาวะแล้ง

องคก์ารสหประชาชาตไิดร้ายงานอณุหภมูขิองโลกในปจัจบุนัวา่มแีนวโนม้

ที่สูงขึ้น ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศทั่วโลก ภัยแล้งนับเป็น

ปัญหาหนึ่งที่เป็นผลมาจากภาวะโลกร้อนและส่งผลกระทบอย่างมากต่อปริมาณ

น้ำที่ใช้อุปโภคของประชาชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งพื้นที่เกษตรกรรมที่ต้องอาศัย

น้ำฝน ดังนั้นการพัฒนาพันธุ์ข้าวทนแล้ง และการศึกษาให้เข้าใจถึงกลไกของพืช

ที่ตอบสนองต่อสภาวะแห้งแล้ง ตลอดจนการค้นหาตำแหน่งของยีนดังกล่าว

โดยใช้เทคโนโลยีโมเลกุลเครื่องหมาย (Marker-Assisted Selection) เพื่อใช้

ในการปรับปรุงพันธุ์ข้าว จึงเป็นทางเลือกหนึ่งในการนำไปใช้แก้ปัญหา หรือ

เตรียมพร้อมสำหรับภัยแล้งที่กำลังจะเกิดขึ้น

ไวพจน์ กันจู นิสิตปริญญาเอก หลักสูตรเทคโนโลยีชีวภาพเกษตร

ศูนย์เทคโนโลยีชีวภาพเกษตร ซึ่งทำงานวิจัยภายใต้การแนะนำของ ดร.ธีรยุทธ

ตู้จินดา นักวิจัย สังกัด ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีแห่งชาติ ได้รับรางวัล

จากการนำเสนอผลงานวิจัยในภาคบรรยายเรื่อง การใช้เครื่องหมายโมเลกุล

รว่มกบัการคดัเลอืกลกัษณะเพือ่พฒันาผลผลติขา้วหอมมะลภิายใตส้ภาวะแลง้

จากการประชุมวิชาการบัณฑิตศึกษาเทคโนโลยีชีวภาพเกษตร ครั้งที่ 3 และ

การประชุมวิชาการงานเกษตรแห่งชาติประจำปี 2551 โดยงานวิจัยได้เน้นถึง

การพัฒนาสายพันธุ์ข้าวหอมมะลิให้มีความทนแล้งมากขึ้น

งานวิจัยของไวพจน์ได้พัฒนาข้าวขาวดอกมะลิ 105 ที่มีชิ้นส่วน QTL

ทนแล้งที่อยู่บนโครโมโซม 1 3 4 8 และ 9 โดยใช้วิธีการผสมกลับ ควบคู่กับ

การใช้เครื่องหมายโมเลกุลช่วยในการคัดเลือกต้นที่มีชิ้นส่วน QTL ทนแล้ง ใน

การวิจัยนี้ใช้สายพันธุ์ผู้ให้ (Donor parent) เป็น Double haploid lines

(DHL) ที่มีความทนแล้งที่ได้จากคู่ผสม CT9993 กับ IR62266 ปัจจุบันการ

ปรับปรุงพันธุ์อยู่ในชั่วที่ BC5F

4 ได้ประชากรข้าวที่มีชิ้นส่วน QTL ทนแล้ง มี

ลักษณะทรงต้นและคุณภาพหุงต้มใกล้เคียงกับขาวดอกมะลิ 105 เมื่อนำไป

ทดสอบภายใต้สภาพแล้งพบว่าประชากรข้าวที่ได้รับชิ้นส่วน QTL ทนแล้งมี

ผลผลิตและองค์ประกอบของผลผลิตสูงกว่าขาวดอกมะลิ 105 นอกจากนี้ผู้วิจัย

ยังได้พัฒนาประชากรข้าวที่เป็น single QTL near isogenic lines ซึ่งมี

ชิ้นส่วนขนาดเล็กของ QTL ทนแล้ง เพื่อใช้ศึกษากลไกการทนแล้งและ

หาตำแหน่งของยีนที่ควบคุมลักษณะความทนแล้งในข้าวต่อไปด้วย

ผลงานเด่นศูนย์เทคโนโลยีชีวภาพเกษตร :

คณะที่ปรึกษา พงศ์เทพ อัครธนกุล

วิชัย โฆสิตรัตน จุลภาค คุ้นวงศ์

พิศาล ศิริธร พิทยา สรวมศิริ

วัฒนาลัย ปานบ้านเกร็ด สุมิตรา ภู่วโรดม

เสริมศิริ จันทร์เปรม พีระศักดิ์ ศรีนิเวศน์ สุนทรี ยิ่งชัชวาลย์ จรัสศรี นวลศรี

ประวิตร พุทธานนท์ ปิยะดา ตันตสวัสดิ์ พจมาลย์ สุรนิลพงศ์

ดุจฤดี ปานพรหมมินทร์

บรรณาธิการ สุจินต์ ภัทรภูวดล

ผู้ช่วยบรรณาธิการ จุฑาเทพ วัชระไชยคุปต์

อรอุบล ชมเดช

กองบรรณาธิการ จริยา หมื่นแก้ว

ชิตพันธุ์ คติวัฒน์ นุช ศตคุณ

เนตรนภา ปัญญามูล พรทิพย์ ทองคำ

พรรณทิพย์ กาญจนอุดมการ พัชรินทร์ จูมี

ศรัณย์พร จิวธิรกุล ศรุชา เสนกันหา สุคณา ศรีทับ

อมรรัตน์ บัวคล้าย อรอุษา ลาวิณิช

อัญชนา อินทรกำแหง

บทความและข้อความที่ตีพิมพ์ในข่าวสารเทคโนโลยี

ชีวภาพเกษตร เป็นความคิดเห็นส่วนตัว

และลิขสิทธิ์ของผู้เขียน ศูนย์ความเป็นเลิศ

ด้านเทคโนโลยีชีวภาพเกษตร ไม่มีส่วนรับผิดชอบหรือ

ผูกพันอย่างใด ข้อมูลบางส่วนอาจตีพิมพ์

ผิดพลาด ศูนย์ฯ ยินดีแก้ไขให้ในฉบับต่อไป

Page 3: ข่าวสารเทคโนโลยีชีวภาพเกษตร ปีที่ 1 ฉนับที่ 1

คุยกับบรรณาธิการ

ข่าวสารเทคโนโลยีชีวภาพเกษตร ซึ่งจัดพิมพ์โดยศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีชีวภาพเกษตร สำนักพัฒนา

บัณฑิตศึกษาและวิจัยด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ

ฉบับนี้เป็นฉบับปฐมฤกษ์โดยมุ่งหวังที่จะเป็นสื่อกลางในการนำข้อมูล ข่าวสารวิชาการ งานวิจัย ตลอดจนกิจกรรมต่างๆ

ด้านเทคโนโลยีชีวภาพเกษตรมาเผยแพร่สู่สาธารณชน อันเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อการพัฒนาด้านการเกษตรของเรา

ให้เข็มแข็งต่อไป ในโอกาสนี้ข้าพเจ้าในฐานะบรรณาธิการขอเรียนท่านผู้อ่านว่า กองบรรณาธิการของเราจะจัดพิมพ์

ข่าวสารฯ เป็นประจำทุก 3 เดือน ตั้งแต่ต้นปี พ.ศ. 2552 นี้ โดยฉบับปฐมฤกษ์ได้นำเสนอข้อมูลข่าวสารที่ทัน

สมัยด้านเทคโนโลยีชีวภาพด้านสัตวศาสตร์ โดยเฉพาะบทสัมภาษณ์พิเศษกับ รศ.น.สพ.ดร.ทวีศักดิ์ ส่งเสริมใน

เรื่องที่กำลังเป็นที่สนใจของประชาชน คือ “ไข้หวัดสุกร/ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009” ได้รวมไว้ใน

ฉบับนี้ด้วย พร้อมนี้ขอแนะนำศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีชีวภาพเกษตร ที่มีมหาวิทยาลัย

เกษตรศาสตร์ เป็นมหาวิทยาลัยแกนนำ โดยมีมหาวิทยาลัยอื่นๆ ที่เป็นภาคีร่วม ซึ่งจะได้แนะนำให้

รู้จักกันในโอกาสต่อๆ ไป เพื่อท่านผู้อ่านได้ทราบถึงความเคลื่อนไหวในด้านต่างๆ ของศูนย์ฯ

นอกจากนี้ยังมีบทความและข่าวสารที่ทันสมัย ตลอดจนกิจกรรมที่น่าสนใจอีกมากมาย

สุดท้ายนี้กองบรรณาธิการขอเชิญท่านผู้อ่านทุกท่านเสนอแนะความคิดเห็นอันจะเป็น

ประโยชน์อย่างยิ่งต่อการปรับปรุงรูปแบบและเนื้อหาของข่าวสารให้น่าติดตาม

มากยิ่งขึ้น โดยติดต่อได้ที่ [email protected]

ด้วยความปรารถนาดี

บรรณาธิการ

สารบัญ

ผลงานเด่นศูนย์เทคโนโลยีชีวภาพเกษตร: การใช้เครื่องหมายโมเลกุลร่วมกับการคัดเลือกลักษณะเพื่อพัฒนาผลผลิตข้าวหอมมะลิภายใต้สภาวะแล้ง

2

คุยกับผู้อำนวยการศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีชีวภาพเกษตร: 10 ปี ศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีชีวภาพเกษตร

4

แนะนำสถาบันหลักและภาคีศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีชีวภาพเกษตร: ศูนย์เทคโนโลยีชีวภาพเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน

6

PERDO TODAY 7

สัมภาษณ์พิเศษ: “ไข้หวัดสุกร /ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009” 12

เรื่องน่ารู้ AgBiotech: สัตวแพทย์กับงานด้านเทคโนโลยีชีวภาพ 14

AgBiotech Hot News: Animal Biotechnology 15

ภาพข่าวกิจกรรม 16

Page 4: ข่าวสารเทคโนโลยีชีวภาพเกษตร ปีที่ 1 ฉนับที่ 1

คยุกบัผูอ้ำนวยการศนูยค์วามเปน็เลศิดา้นเทคโนโลยชีวีภาพเกษตร:

10 ป ี

เป็นที่รู้ดีกันว่าปรากฏการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นนอก

ประเทศ ส่งผลกระทบต่อภาคการเกษตรไทย ที่เห็นได้ชัด

คือ ทุกครั้งที่มีการขึ้นลงของราคาสินค้าเกษตรและอาหารใน

ตลาดโลก ระบบเกษตรกรรมโดยเฉพาะเกษตรกร และผู้ผลิต

ไทยเราจะได้รับแรงกระทบ แต่ในช่วงประมาณ 20 ปีที่ผ่าน

มา มีการเปลี่ยนแปลงอีกด้านหนึ่ง ที่ส่งผลกระทบมากต่อ

ภาคเกษตรไทย และมักถูกมองข้าม คือ ความรุดหน้าอย่าง

รวดเร็วทางวิทยาศาสตร์ในกลุ่มสาขาที่เรียกว่า “เทคโนโลยี

ด้านวิทยาศาสตร์ชีวภาพแนวใหม่ หรือ New Life Science

Technology” เป็นเรื่องโชคไม่ดีของเราที่เหตุการณ์นี้เกิดขึ้น

พร้อมๆ กับที่ประเทศไทยถูกตัดลดความช่วยเหลือทางวิชา

การจากต่างประเทศ เพราะข้อมูลทางเศรษฐกิจชี้ว่า

“เป็นประเทศที่พัฒนาไปแล้วได้ระดับหนึ่ง”

การถูกตัดลดความช่วยเหลือทางวิชาการจากองค์การ

พัฒนา ทั้งพหุภาคีและทวิภาคี ส่งผลเห็นชัดในเรื่องของ

ศูนย์ความเป็นเลิศ ด้านเทคโนโลยีชีวภาพเกษตร

จำนวนทุนศึกษาต่อต่างประเทศ ที่ลดจำนวนลงอย่างมาก

รวมทั้งลดโอกาสในการสร้างนักวิจัยรุ่นใหม่ ที่มีทักษะในแนว

วิชาการใหม่ ๆ และลดโอกาสสร้างความร่วมมือในการวิจัย

กับประชาคมวิจัยชั้นนำในต่างประเทศ นอกจากนี้หน่วยงาน

ตา่งประเทศทีเ่คยสนบัสนนุงานดา้นนีท้ีเ่คยตัง้อยูใ่นประเทศไทย

ทยอยย้ายฐานไปอยู่ประเทศอื่น

ผลกระทบด้านนี้ได้ถูกบรรเทาไปบ้าง โดยที่ภาค

อุดมศึกษาเกษตรศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ชีวภาพ ที่

เกี่ยวข้องกับสาขานี้ มีโอกาสยกระดับความสามารถในการ

สร้างกำลังคน โดยเฉพาะระดับ “มหาบัณฑิต” แต่ ความ

ต้องการจากนักวิจัยเกษตรในระดับ “ดุษฎีบัณฑิต หรือ

ปริญญาเอก” ทั้งภาครัฐและเอกชน ยังคงสูงกว่าความ

สามารถที่มหาวิทยาลัยไทยจะสร้างคนได้ทันอย่างมีคุณภาพ

และไม่สามารถหวนกลับไปหารูปแบบเหตุการณ์ในอดีต

ที่นักวิชาการเกษตรที่จบปริญญาเอกเกือบร้อยละ 80 เป็น

AG-BIO �

AG-BIO �

Page 5: ข่าวสารเทคโนโลยีชีวภาพเกษตร ปีที่ 1 ฉนับที่ 1

ผลพวงจากการให้ทุนศึกษาต่อจาก

หน่วยงานต่างประเทศ รัฐบาลไทยมี

การลงทนุดา้นนีบ้า้ง โดยผา่นระบบทนุ

กพ. หรือทุนพัฒนาอาจารย์ แต่ก็เป็น

จำนวนน้อยมาก

การขัดสนกำลังคนวิจัยระดับ

ปริญญาเอกในปัจจุบันเป็นเรื่องสำคัญ

และมี ความสั มพันธ์ กั บขี ดความ

สามารถของประชาคมวิจัยเกษตรไทย

ทีจ่ำเปน็ตอ้งผดงุรกัษา “ความเขม้แขง็

ความเก่ง และความมีประสิทธิภาพ”

ให้เพียงพอที่จะตอบสนองต่อปัญหาที่

ภาคผลิต เกษตรต้อง เผชิญทั้ ง ใน

ปัจจุบันและอนาคต ไม่ว่าในเรื่องการ

กีดกันทางการค้านอกระบบภาษี

(non-tariff barrier) ข้อตกลงสัญญา

ระหว่างประเทศในด้านต่างๆ ข้อ

จำกัดของการเข้าถึงเทคโนโลยีด้วย

ระบบจัดการทรัพย์สินทางปัญญา

วกิฤตการณพ์ลงังาน การเปลีย่นแปลง

สภาพภูมิอากาศโลก การพัฒนา

อย่างก้าวกระโดดของประเทศผู้ผลิตคู่แข่ง การเปลี่ยนแปลง

ทางความต้องการของประเทศผู้ซื้อ และผู้บริโภคในประเทศ

ฯลฯ

เพื่อให้เกิดความยั่งยืนของระบบเกษตรกรรมไทยด้วย

วิทยาการแนวใหม่ ศูนย์เทคโนโลยีชีวภาพเกษตร ซึ่งเป็น

หน่วยงานที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์จัดตั้งขึ้น เพื่อให้เป็น

หน่วยบริหารกลาง และเป็นแกนของเครือข่ายพัฒนาความ

ร่วมมือระหว่างสถาบันอุดมศึกษาเกษตรศาสตร์ กับภาคการ

ผลิต เครือข่ายความร่วมมือนี้ เริ่มด้วย 5 มหาวิทยาลัย

ปัจจุบันเพิ่มอีก 5 มหาวิทยาลัย ได้รับการสนับสนุนด้าน

นโยบายและงบประมาณจากสำนักงานคณะกรรมการการ

อุดมศึกษา ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2543-ปัจจุบัน เพื่อให้พัฒนา

สู่สภาวะ “ศูนย์ความเป็นเลิศทางวิชาการ ด้านเทคโนโลยี

ชีวภาพเกษตร” ของประเทศ ทำหน้าที่วิจัย สนับสนุนการ

พัฒนากำลังคนระดับสูง และให้บริการต่อภาคการผลิต

ตลอด 10 ปี ที่เครือข่ายของศูนย์ความเป็นเลิศด้าน

เทคโนโลยีชีวภาพเกษตรได้ดำเนินการ ทุกฝ่ายที่มีส่วน

เกี่ยวข้องตั้งแต่ระดับผู้กำหนดนโยบาย ผู้บริหาร อาจารย์

นักวิจัย นิสิต/นักศึกษาบัณฑิตผู้ช่วย

วิจัย ผู้สนับสนุนจากภาคธุรกิจ และ

ภาครัฐ ได้ร่วมกันพัฒนาวิทยาศาสตร์

เกษตรไทย ในสาขาเทคโนโลยี

ชีวภาพเกษตร และวิทยาการแขนงที่

เกีย่วขอ้งไปไดร้ะดบัหนึง่ การดำเนนิงาน

ได้ผ่านหลักเป้าหมาย (milestone)

ทัง้ทางดา้นการวจิยั การพฒันากำลงัคน

การพัฒนาระบบบัณฑิตผู้ช่วยวิจัย

การพัฒนาหลักสูตรสู่มาตรฐานสากล

การให้บริการภาคผลิตและสังคม การ

พัฒนาความร่วมมือกับสถาบันวิจัย

จากภาครัฐ และภาคเอกชนทั้งใน

และนอกประเทศ และการพัฒนา

วัฒนธรรมการทำงานร่วมกันระหว่าง

นักวิจัยข้ามสาขาวิชา ข้ามหน่วยงาน

จากจุดเริ่มต้นถึงวันนี ้ เราได้

พัฒนางานวิจัยเทคโนโลยีชีวภาพใน

สาขาต่างๆ ได้แก ่ วิทยาการเซลล ์

เนื้อเยื่อ การพัฒนาสิ่งมีชีวิตดัดแปลง

พันธุกรรม สรีระเชิงฟิสิกส์ของพืช

จโีนมคิส ์ การปรบัปรงุพนัธุ ์ การตรวจสอบวนิจิฉยั วทิยาการ

ภมูติา้นทาน และวคัซนี งานของคณาจารย ์ และบณัฑติผูช้ว่ย

วิจัยของเราครอบคลุมตั้งแต ่ โรคพืช โรคสัตว์บก-สัตว์น้ำ

จุลินทรีย ์ ไม้ยืนต้น; อาหาร-พลังงาน; ความหลากหลายทาง

ชวีภาพและการใชป้ระโยชน ์สภาพแวดลอ้มในระบบนำ้-ปา่ไม ้ฯลฯ

เรามีปณิธานที่จะช่วยจรรโลงความยั่งยืนของระบบ

เกษตรกรรมไทยด้วยวิทยาการ ทักษะ และความรู้ที่เรามี

และที่สามารถถ่ายทอดได้ ผมและเพื่อนร่วมงานมีความเห็น

ว่าการดำเนินกิจกรรมด้านต่างๆ ควรได้รับฟังข้อเสนอแนะ

จากผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในทุกระดับ เพื่อให้เกิดการปรับปรุง

เปลี่ยนแปลง ข่าวสารเทคโนโลยีชีวภาพเกษตร ฉบับนี้จึงเป็น

หนทางที่ศูนย์ฯ ต้องการใช้เป็นเครื่องมือในการสื่อสารกับ

สมาชิกประชาคมเกษตรของประเทศไทย และหวังว่าเป็นวิธี

การนำส่ง/แลกเปลี่ยน ข้อมูลต่าง ๆ ได้อีกรูปแบบหนึ่ง ที่จะ

ส่งเสริมพลวัตรทางวิชาการเกษตรไทย

พงศ์เทพ อัครธนกุล

“...จากจุดเริ่มต้นถึงวันนี้

เราได้พัฒนางานวิจัยเทคโนโลยี

ชีวภาพในสาขาต่าง ๆ ได้แก่

วิทยาการเซลล์ เนื้อเยื่อ

การพัฒนาสิ่งมีชีวิตดัดแปลง

พันธุกรรม สรีระเชิงฟิสิกส์

ของพืช จีโนมิคส์

การปรับปรุงพันธุ์

การตรวจสอบวินิจฉัย

วิทยาการภูมิต้านทาน และ

วัคซีน...”

AG-BIO �

AG-BIO �

Page 6: ข่าวสารเทคโนโลยีชีวภาพเกษตร ปีที่ 1 ฉนับที่ 1

ศูนย์เทคโนโลยีชีวภาพเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน

อาคารปฏิบัติการวิจัยเทคโนโลยีชีวภาพทางการเกษตรประกอบด้วยหน่วยงานกลางและ

ห้องปฏิบัติการวิจัยของนักวิทยาศาสตร์ในสาขาต่างๆ ด้านเทคโนโลยีชีวภาพเกษตร จาก

หน่วยงานต่างๆ ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โดยร่วมกันจัดตั้งหน่วยปฏิบัติการ ภายใต้

การสนบัสนนุของศนูยค์วามเปน็เลศิดา้นเทคโนโลยชีวีภาพเกษตร สำนกัพฒันาบณัฑติศกึษา

และวิจัยด้านวิทยาศาสตร์ สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ได้แก่

หน่วยเซลล์วิทยา และชีววิทยาโมเลกุล (Cellular and Molecular Biology Laboratory)

เป็นห้องปฏิบัติการขนาดใหญ่พร้อมห้องเตรียมอุปกรณ์เพื่อกิจกรรมการเรียน การสอน และการฝึก

อบรมในสาขาเซลลว์ทิยา และชวีวทิยาโมเลกลุ ทีส่ามารถรองรบันสิติ และหรอืผูเ้ขา้ฝกึอบรมได ้ครัง้ละ 40 คน

โดยมีครุภัณฑ์หลักเพียงพอที่นิสิตหรือผู้เข้าฝึกอบรมได้ฝึกปฏิบัติด้วยตนเอง

หน่วยเทคโนโลยีชีวภาพพืช

หน่วยปฏิบัติการนี้ มุ่งเน้นถึงการพัฒนาเทคโนโลยี

ชีวภาพด้านพืช โดยนำเทคโนโลยีชีวภาพ มาใช้ร่วมกับการ

ปรับปรุงพันธุ์พืช แบบมาตรฐาน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของ

การปรับปรุงพันธุ์และการผลิต โดยเน้นกลุ่มพืชเศรษฐกิจที่

สำคญัของประเทศไทย เชน่ ขา้ว ขา้วโพด ออ้ย มนัสำปะหลงั

พชืตระกลูถัว่ และพชืตระกลูพรกิและมะเขอื หนว่ยปฏบิตักิาร

นี้แบ่งงานหลักออกเป็น 2 ด้านด้วยกันคือ

แนะนำสถาบันหลักและภาคีศูนย์ความเป็นเลิศ ด้านเทคโนโลยีชีวภาพเกษตร

AG-BIO �

AG-BIO �

Page 7: ข่าวสารเทคโนโลยีชีวภาพเกษตร ปีที่ 1 ฉนับที่ 1

กลุ่มห้องปฏิบัติการ Cell, Tissue Culture and

Transformation เป็นห้องปฏิบัติการขนาดใหญ่ที่ทำการวิจัยด้าน

การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการขยายพันธุ์ การ

ผลิตสารทุติยภูมิในสภาพปลอดเชื้อ และการพัฒนาเทคนิคพื้นฐานด้าน

การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช เพื่อรองรับงานทางด้านพันธุวิศวกรรม โดย

ในส่วนของงานทางด้านพันธุวิศวกรรมนั้น ห้องปฏิบัติการนี้ มีความ

พร้อมทั้งด้านบุคลากรและเครื่องมืออุปกรณ์ต่างๆ เพื่อปฏิบัติการ

ถ่ายยีนสู่พืช รวมถึงการตรวจ

สอบการคงอยูแ่ละการแสดงออก

ของยีนที่สนใจในระดับต่างๆ

งานวิจัยที่ดำเนินการอยู่ ใน

ขณะนี ้เชน่ การถา่ยยนีกระตุน้

ภมูคิุม้กนัโรคปากและเทา้เปือ่ย

ในสัตว์ เข้าสู่พืชอาหารสัตว์

บางชนิด โดยความร่วมมือกับ

หน่วยปฏิบัติการเทคโนโลยี

ชีวภาพด้านสัตว ์ การพัฒนา

เทคนิคการถ่ายยีนในพืชเศรษฐกิจเพื่อสร้างพันธุ์พืชใหม่ ในพืชตระกูลถั่ว อ้อย ข้าวโพด

กลุ่มห้องปฏิบัติการ Molecular Markers and Biodiversity ประกอบด้วยห้องปฏิบัติการ 4

ห้องด้วยกัน มีเป้าหมายเพื่อการพัฒนาโมเลกุลเครื่องหมาย เพื่อใช้ประโยชน์ในการปรับปรุงพันธุ์พืช

เศรษฐกิจ โดยเฉพาะเพื่อสร้างพืชที่มีลักษณะทนทานต่อโรค หรือ แมลง หรือสิ่งแวดล้อมที่ไม่เหมาะสม

บางประการในระบบการผลิตพืช นอกจากนั้นการศึกษาของกลุ่มห้องปฏิบัติการนี้ ครอบคลุมถึงความ

หลากหลายทางชีวภาพ โดยศึกษาการสร้างแผนที่จีโนมของไม้เศรษฐกิจและไม้ผลบางชนิด เช่น ไม้สัก

มะม่วง กล้วย เป็นต้น

แนะนำสถาบันหลักและภาคีศูนย์ความเป็นเลิศ ด้านเทคโนโลยีชีวภาพเกษตร

AG-BIO �

AG-BIO �

Page 8: ข่าวสารเทคโนโลยีชีวภาพเกษตร ปีที่ 1 ฉนับที่ 1

งานวิจัยของกลุ่มปฏิบัติการ

นี้จะเน้นในลักษณะบูรณาการองค์

ความรู้ทางชีวฟิสิกส์ สรีรวิทยา และ

ชวีเคม ีเพือ่ตอบปญัหาพืน้ฐานเกีย่วเนือ่ง

กบัการผลติพชื และเพือ่การเพิม่ผลติภาพ

และพัฒนาคุณภาพพืชตามความ

ต้องการ โดยมีการประสานความรู้

ทางอณชูวีวทิยา เพือ่ศกึษาการแสดงออก

ยีนประกอบกันไป งานวิจัยปัจจุบัน ได้แก่ การศึกษาชีวฟิสิกส์ และการจัดการน้ำและธาตุอาหาร

เฉพาะของมังคุด ปาล์มน้ำมัน อ้อย และยาง การประเมินศักยภาพทางสรีรวิทยา และชีวเคมีที่

เกี่ยวข้องกับการสังเคราะห์แสง ความทนเค็ม ความทนด่าง ของไม้ยูคาลิปตัส ผลกระทบของฤดู

เก็บเกี่ยวต่อการสังเคราะห์แป้งของมันสำปะหลัง ฯลฯ

หน่วยการศึกษาชีวฟิสิกส์ สรีรวิทยา และชีวเคมีของพืช

หน่วย Plant-Microbe Interaction, Biocontrol and Biosafety

เพื่อเป็นการประสานองค์ความรู้ในเชิงการจัดการระบบการปลูกพืช กลุ่มปฏิบัติการนี้จึงสร้าง

แนวคิดใหม่ ที่จะประสานองค์ความรู้ในสาขาโรคพืชวิทยา กีฏวิทยา และปฐพีวิทยา เข้าด้วยกัน

แนวงานวิจัยหลัก เป็นการศึกษาถึงกลไกการควบคุมหรือกำจัด โรค และแมลง โดยใช้ความรู้ระดับ

อณูชีววิทยา และพันธุศาสตร์ระดับโมเลกุลมาเป็นเครื่องมือ เพื่อสร้างความเข้าใจแนวลึก ขณะเดียวกัน

หน่วยนี้ยังศึกษาถึงความหลากหลายทางชีวภาพของแมลง หรือ จุลินทรีย์ ที่มีประโยชน์ เพื่อการ

อนุรักษ์สภาพแวดล้อมเกษตร

AG-BIO �

AG-BIO �

Page 9: ข่าวสารเทคโนโลยีชีวภาพเกษตร ปีที่ 1 ฉนับที่ 1

หน่วยเทคโนโลยีชีวภาพด้านสัตว์

งานวิจัยของหน่วยนี้เน้นการวิจัย

เพื่อให้บริการและพัฒนาคุณภาพระบบ

การผลิตสัตว์ ได้แก่ การวิเคราะห์โรค

โดยเน้นความรวดเร็วและแม่นยำในการ

ตรวจสอบ การพัฒนางานวิจัยสาขา

ภูมิคุ้มกันวิทยา วัคซีนเทคโนโลยี การย้ายฝากตัวอ่อน การปรับปรุงพันธุ์โดยวิธี

ชีวโมเลกุล และการศึกษาความหลากหลายทางพันธุกรรมของสัตว์พื้นเมืองของ

ประเทศไทยและการอนุรักษ์เชื้อพันธุกรรม กิจกรรมของหน่วยปฏิบัติการนี้เป็นการ

ผนวกบุคลากรและทรัพยากร ระหว่างคณะเกษตร และคณะสัตวแพทยศาสตร์

สนบัสนนุดว้ยอปุกรณ ์ไดแ้ก ่CO2 incubator, Lyophilizer, Inverted Microscope, Biohazard Hood, Deep Freezer ฯลฯ

หน่วยเทคโนโลยีชีวภาพด้านประมง

ด้วยประเทศไทยเป็นฐานใหญ่ของความ

หลากหลายทางชีวภาพ ดังนั้น หน่วยปฏิบัติการนี้จึง

เห็นความสำคัญของการดำรงไว้ซึ่งลักษณะทาง

พันธุกรรม หรือเชื้อพันธุ์ที่ดีของสัตว์น้ำเศรษฐกิจ

ขณะเดียวกัน การจัดการที่ดีในสภาพแวดล้อมที่

เหมาะสม และความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์อาหาร

ที่มีคุณภาพเป็นหัวใจสำคัญของงานวิจัยในหน่วยนี้

ซึ่งมีเครื่องมือวิทยาศาสตร์ประเภท Sequencing

Gel for AFLP, PCR, Gel Documentation and

Analysis, Pulse-field Gel Electrophoresis

สนับสนุน

AG-BIO �

AG-BIO �

Page 10: ข่าวสารเทคโนโลยีชีวภาพเกษตร ปีที่ 1 ฉนับที่ 1

งานบริการ

1. ด้านวิเคราะห์ ตรวจสอบ

• การให้บริการจำแนกเชื้อแบคทีเรีย โดยระบบ Biolog

ศูนย์เทคโนโลยีชีวภาพเกษตร เปิดบริการวิเคราะห์

จำแนกเชื้อแบคทีเรียอย่างรวดเร็ว โดยใช้เทคนิค

มาตรฐานทางจุลชีววิทยา ร่วมกับ ระบบ Biolog

MicroStation ซึ่งวิเคราะห์จากการใช้แหล่งคาร์บอน

จำนวน 95 ชนิดของเชื้อแบคทีเรีย และวิเคราะห์ผล

โดยเทียบกับฐานข้อมูลมาตรฐาน หากต้องการส่ง

เชื้อแบคทีเรียมาจำแนก ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่

www.cab.kps.ku.ac.th

• การตรวจสอบความบริสุทธิ์ของเมล็ดพันธุ์ ด้วยเทคนิค

Microsatellite marker ในพริก มะเขือเทศ แตงกวา

• การตรวจสอบปรมิาณดเีอน็เอและจำนวนชดุโครโมโซมพชื

ด้วย Flow cytometer

2. ด้านอุปกรณ์ เครื่องมือ วิทยาศาสตร์

ศูนย์เทคโนโลยีชีวภาพเกษตร ในฐานะเป็นศูนย์วิจัยระดับ

แนวหน้าของประเทศและภูมิภาคในสาขาเทคโนโลยีชีวภาพเกษตร

ที่นักวิจัยสามารถดำเนินงานวิจัยในทางกว้างและลึก ศูนย์ฯ ยังจัดให้

มีบริการเครื่องมือวิทยาศาสตร์ที่พร้อมให้บริการในงานวิจัยต่างๆ

หลายกลุม่ ไดแ้ก ่ เครือ่งมอืวทิยาศาสตรท์ัว่ไป เครือ่งมอืวทิยาศาสตร์

ด้านวิทยาภูมิคุ้มกัน ด้านอณูชีวโมเลกุล ด้านวิเคราะห์ทางเคมี

ด้านวิเคราะห์ทางสรีรวิทยา ด้านวิเคราะห์ทางกายภาพ วิเคราะห์

ดา้นชวีภาพ กลอ้งจลุทรรศน ์เครือ่งมอืวทิยาศาสตรด์า้นชวีโมเลกลุ ระดบั

High throughput และหอ้งเยน็ขนาดใหญ ่สามารถดรูายละเอยีดเพิม่เตมิ

ชนิดเครื่องมือ และอัตราค่าบริการที่ www.cab.kps.ku.ac.th

AG-BIO 10

AG-BIO 11

Page 11: ข่าวสารเทคโนโลยีชีวภาพเกษตร ปีที่ 1 ฉนับที่ 1

สำนักพัฒนาบัณฑิตศึกษาและวิจัยด้าน

วทิยาศาสตรแ์ละเทคโนโลย ีสบว (S&T Postgraduate

Education and Research Development Office

PERDO) เป็นหน่วยงานในกำกับของสำนักงานคณะ

กรรมการการอุดมศึกษา ซึ่งได้รับมอบหมายให้ทำหน้าที่

กำกับดูแลการดำเนินงานในกิจกรรมทุกๆ ด้าน ของศูนย์

ความเป็นเลิศด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีให้เป็นไป

ตามแผนงาน บรรลุเป้าหมายและวัตถุประสงค์ด้วยดี

ปัจจุบัน สำนักพัฒนาบัณฑิตศึกษาฯ รับผิดชอบ

การดำเนินงานของ ศูนย์ความเป็นเลิศ (Centre of

Excellence; CoE) รวมทั้งสิ้น 9 ศูนย์ฯ ตามสาขาความ

เช่ียวชาญ คือ ด้านนวัตกรรมเคมี ด้านอนามัยส่ิงแวดล้อม

พิษวิทยา และการบริหารจัดการสารเคมี ด้านการจัดการ

ส่ิงแวดล้อม และของเสียอันตราย ด้านปิโตรเลียม ปิโตรเคมี

และวัสดุขั้นสูง ด้านเทคโนโลยีพลังงานและสิ่งแวดล้อม

ด้านเทคโนโลยีชีวภาพเกษตร ด้านนวัตกรรมเทคโนโลยี

หลังการเก็บเกี่ยว ด้านคณิตศาสตร์ ด้านฟิสิกส์

วัตถุประสงค์หลักในการดำเนินงานของ สบว ประกอบด้วย

c เพื่อพัฒนาศูนย์ความเป็นเลิศ ให้เป็นศูนย์วิจัยเฉพาะทาง ที่สร้างความเป็นเลิศทุกมิติของภาคีสถาบันอุดมศึกษา/

วิจัย (Academic Consortium) อย่างต่อเนื่องและยั่งยืน

c เพ่ือสร้างความเปน็เลศิในการวจิยั (Research Excellence) ระดับอุดมศึกษา เพ่ือประโยชน์ในการสร้างองค์ความรู ้

สำหรับการพึ่งตนเอง และการนำองค์ความรู้ไปสร้างนวัตกรรม และเทคโนโลยี สำหรับภาคการผลิตและบริการ

c เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการผลิตและพัฒนากำลังคนระดับสูงด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ให้มีความรู้ ความคิด

และทักษะด้านการวิจัย (Research Skills) เพื่อจะไปมีบทบาทนำและเป็นผู้ขับเคลื่อนประเทศ ตามความต้องการของสถาบัน

อุดมศึกษาและภาคการผลิตและบริการ ของหน่วยงานรัฐและเอกชน

c เพื่อเป็นแหล่งความรู้ และแหล่งอ้างอิงทางวิชาการ ที่สามารถให้การพึ่งพากับสังคมโดยตรง สามารถถ่ายทอด

เทคโนโลยีด้วยกิจกรรมทางวิชาการด้านต่างๆ

c เพื่อสร้างเครือข่ายความร่วมมือทางการศึกษา วิจัย และการฝึกอบรมทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในระดับ

ภูมิภาค

ข่าวสาร/กิจกรรม/สัมมนา/อบรม

สบว ได้จัดโครงการฝึกอบรม เร่ือง การวิเคราะห์ ประเมิน และการบริหารจัดการความเส่ียง

เชิงยุทธศาสตร ์ (Strategic Risk Analysis, Assessment and Management) เมื่อวันที่ 2

พฤศจิกายน 2551 โรงแรมเซ็นจูรี่พาร์ค โดยได้รับเกียรติจาก ดร.สุชาติ เมืองแก้ว อดีต

รองเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษามาเป็นวิทยากรให้ความรู้และแนะนำเรื่องดังกล่าว เพื่อมาปรับใช้ให้สอดคล้อง

กับยุทธศาสตร์ การดำเนินงานของศูนย์ความเป็นเลิศ สามารถดาวน์โหลดข้อมูลได้ที่ www.perdo.or.th

สำนักพัฒนาบัณฑิตศึกษาและวิจัยด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, สบว (S&T Postgraduate Education and Research Development Office, PERDO) ที่ตั้ง: อาคารจุฬาวิชช์ 1 ชั้น 5 จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย ถ.อังรีดูนังต์ แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330 www.perdo.or.th Tel: 022529467-8 Fax: 022529466

PERDO TODAY

AG-BIO 10

AG-BIO 11

Page 12: ข่าวสารเทคโนโลยีชีวภาพเกษตร ปีที่ 1 ฉนับที่ 1

“ไข้หวัดสุกร/ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ ใหม่ 2009” รศ. น.สพ. ดร. ทวีศักดิ์ ส่งเสริม

ภาควิชาพยาธิวิทยา คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน

สัมภาษณพ์ิเศษ

จากข่าวที่ผ่านมาพบว่าไข้หวัดในสุกร สามารถ

แพร่สู่คนได้ ข้อเท็จจริงเป็นอย่างไร

เชื้อไวรัสไข้หวัดมีอยู่ 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่ม A B และ

C โดยทั้ง 3 กลุ่มนี้สามารถก่อโรคในคนได้ ในขณะที่ กลุ่ม

B กับ C ไม่ค่อยก่อโรคในสัตว์ แต่อาจมีกลุ่ม C จำนวน

น้อยที่พบในสุกรได้ เชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ในกลุ่ม A นี้มี

หลายสายพันธุ์ย่อยตั้งแต่ H1- H16 และ N1-N9 เชื้อไวรัส

H1N1 ที่เป็นข่าวอยู่ในขณะนี้ จัดอยู่ในกลุ่ม A เช่นเดียวกับ

ไข้หวัดนก H5N1 ที่เคยระบาดมาก่อนหน้านี้ เชื้อไข้หวัด

ใหญ่ H1N1 ที่ เกิดขึ้นมีรายงานการเกิดโรคในคนใน

ประเทศต่าง ๆ มากกว่า 60 ประเทศแล้วเช่น เม็กซิโก

สหรัฐอเมริกา แคนาดา ญี่ปุ่น สเปน ออสเตรเลีย

นิวซีแลนด์ ประเทศไทย ฯลฯ พบว่าเชื้อไวรัสสายพันธุ์นี้

เป็นสายพันธุ์ใหม่ที่ไม่เคยพบในคนและสุกรมาก่อน และ

การติดต่อของโรคยังลักษณะการติดต่อจากคนสู่คนเป็น

ส่วนใหญ่ และเท่าที่มีข้อมูลอยู่ในปัจจุบันพบว่าเชื้อนี้

สามารถติดจากคนไปสุกรได้ แต่ยังไม่มีรายงานที่ติดจาก

สุกรไปสู่คน เพียงแต่ไวรัส H1N1 สายพันธุ์ 2009 นี้

มีพันธุกรรมบางส่วนเหมือนกับไวรัสไข้หวัดใหญ่ที่พบใน

สุกรทวีปอเมริกาเหนือและยุโรป

ไขห้วดัสกุร (swine flu) ทีเ่กดิจากเชือ้ไวรสั แตกตา่ง

อย่างไรกับไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 ที่กำลัง

ระบาดอยู่ในขณะนี้

ไข้หวัดใหญ่ H1N1 สายพันธุ์ใหม่ 2009 เกิดจาก

การกลายพันธุ์ชนิดที่มีการรวมพันธุกรรมส่วนต่าง ๆ

ระหว่าง เชื้อไข้หวัดสุกร ไข้หวัดใหญ่ของคน และเชื้อไข้

หวัดใหญ่ในสัตว์ปีก จนกลายเป็นสายพันธุ์ใหม่ที่ติดคนและ

สามารถถ่ายทอดจากคนสู่คนได้ อย่างไรก็ตาม โดย

ธรรมชาติแล้ว เชื้อไวรัสหวัดใหญ่ซึ่งมีโครงสร้างทาง

พันธุกรรมเป็นชนิดอาร์เอนเอ (RNA virus) ไวรัสจะมีความ

ผันแปรและโอกาสกลายพันธุ์สูงกว่าเชื้อไวรัสชนิดดีเอ็นเอ

(DNA virus) ที่ก่อโรคอื่นๆ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการกลายพันธุ์

ของเชื้อที่เกิดขึ้นจะส่งผลให้เชื้อมีคุณสมบัติที่ทำให้เกิดโรค

รุนแรง หรือก่อให้เกิดความเสียหายได้มากน้อยต่างกันไป

ดังที่เกิดขึ้นก่อนหน้านี้ ได้แก่ เชื้อไข้หวัดนก H5N1 ทำให้ผู้

ติดเชื้อไวรัสถึงกับเสียชีวิตได้ สำหรับในประเทศไทยเชื้อไข้

หวัดใหญ่ในสุกร สามารถพบได้เป็นช่วง ๆ แต่สายพันธุ์ที่

แยกได้จากสุกรที่ป่วยได้แก่ H1N1, H1N2 และ H3N2

และที่สำคัญก็คือ เชื้อไข้หวัดใหญ่ชนิด H1N1 ที่แยกได้

จากสุกรป่วยในประเทศไทยเท่าที่มีรายงานนั้น มีความ

แตกต่างทางพันธุกรรมอย่างมากเมื่อเทียบกับเชื้อไข้หวัด

ใหญ่ 2009 ที่แยกได้จากคนที่ป่วย ส่วนพันธุกรรมของ

เชื้อไข้หวัดใหญ่ 2009 ที่แยกได้จากในคนไทยป่วยที่เพิ่ง

เดินทางกลับจากต่างประเทศ มีลักษณะเหมือนกันกับเชื้อ

ไข้หวัดใหญ่ที่แยกได้จากคนป่วยใน สหรัฐอเมริกา เม็กซิโก

ซึ่งลักษณะพันธุกรรมของเชื้อไข้หวัดใหญ่ 2009 ที่แยกใน

คนไทยที่ป่วยกลับจากต่างประเทศนั้น ก็ไม่เหมือนกับเชื้อ

ไข้หวัดใหญ่ที่เกิดในคนตามฤดูกาลที่ผ่านมาแต่อย่างใด

ข้อคิดเห็นเกี่ยวกับกรณีที่ต่างประเทศมีการฆ่า

สุกรเป็นจำนวนมาก

จากที่ได้กล่าวไปแล้วว่าเชื้อไวรัสสายพันธุ์ใหม่นี้พบ

ในคนก่อน และแพร่จากคนไปติดสุกรในประเทศแคนาดา

ซึ่งในประเทศแคนาดามีการพบคนติดเชื้อไข้หวัดสายพันธุ์

ใหม่นี้ก่อนแล้ว และแพร่ไปในสุกร จึงได้มีการฆ่าสุกรเพื่อ

ป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อ แต่ในประเทศของเรายังไม่

พบการติดเชื้อชนิดนี้ในสุกรจึงยังไม่จำเป็นต้องฆ่าสุกร

ความเปน็ไปไดท้ีไ่ขห้วดันีจ้ะเขา้มาทำความเสยีหาย

ให้กับการผลิตสุกรในประเทศไทย ตลอดจนความ

ปลอดภัยต่อการบริโภคสุกรที่เป็นโรคนี้

AG-BIO 12

AG-BIO 13

Page 13: ข่าวสารเทคโนโลยีชีวภาพเกษตร ปีที่ 1 ฉนับที่ 1

ในประเทศไทย ถึงแม้จะพบคนที่ติดเชื้อไข้หวัดสาย

พันธุ์ใหม่ แต่ก็ยังสามารถควบคุมได้ สำหรับความกังวลที่

ว่าเชื้อไข้หวัดใหญ่ 2009 จะติดมากับสุกรที่นำเข้าจากต่าง

ประเทศ กรมปศุสัตว์ได้สั่งระงับการนำเข้าพ่อพันธุ์แม่พันธุ์

สุกรจากแหล่งที่มีการแพร่ระบาดของโรคชั่วคราว และหาก

จำเป็นต้องนำเข้าสุกรจากต่างประเทศ ก็มีกลไกการ

ป้องกัน เฝ้าระวังโรค โดยการกักกันสัตว์ก่อน ดังนั้นคนไทย

จึงไม่ควรตื่นตระหนกในเรื่องนี้ และคนที่บริโภคสุกรไม่ต้อง

เกรงกลัวการติดเชื้อนี้ และควรบริโภคเนื้อหรือเครื่องใน

สุกรที่ปรุงสุกแล้ว

เรามีวิธีป้องกันตนเองให้ปลอดภัยจากเชื้อไวรัส

สายพันธุ์ใหม่นี้อย่างไร

การแพร่กระจายของโรคนี้ที่พบว่ามีการแพร่ระบาด

ไปอย่างรวดเร็ว เกิดจากการเดินทางของคนไปยังประเทศ

ต่างๆ ดังนั้นวิธีที่ดีที่สุดคือ หากต้องเดินทางควรมีการ

ป้องกันตนเอง โดยการดูแลสุขภาพให้แข็งแรง หากพบว่า

ตนเองมีอาการไข้หวัดภายหลังจากเดินทาง ก็ควรให้ความ

ร่วมมือในมาตรการเฝ้าระวังโรค โดยปฏิบัติตามคำแนะนำ

อย่างเคร่งคัด แม้กระทั่งในขณะที่เราไม่ได้เดินทางไปไหนก็

ควรจะต้องดูแลสุขภาพให้แข็งแรง ป้องกันการติดเชื้อไวรัส

โดยเฉพาะช่วงฤดูฝนเช่นนี้ ซึ่งปกติจะพบการแพร่ระบาด

ของโรคไข้หวัดใหญ่อยู่แล้ว ที่เราเรียกว่าไข้หวัดตามฤดู

และหากสงสัยว่าจะเป็นไข้หวัดใหญ่ควรไปพบแพทย์ทันที

ไม่ควรหายาปฏิชีวนะหรือยาต้านไวรัสมารับประทานเอง

พักผ่อนให้เพียงพอ สวมหน้ากากปิดปากจมูกเวลาจามไอ

เพื่อลดการแพร่เชื้อสู่บรรยากาศ และแยกตัวออกจากผู้อื่น

เพื่อไม่ทำตัวให้เป็นแหล่งแพร่กระจายเชื้อต่อไป

ในสถานการณ์ปัจจุบันจำเป็นหรือไม่ ที่ต้องมีการ

ฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่

สำหรับบุคคลทั่วไปที่แข็งแรง ยังไม่จำเป็นต้องมีการ

ฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัด ยกเว้นในรายที่ประกอบอาชีพที่มี

ความเสี่ยง เช่น เลี้ยงสัตว์ หรือทำงานที่อาจจะมีผลต่อ

ระบบทางเดินหายใจ มีโรคประจำตัว เช่น หอบหืด ภูมิแพ้

เป็นต้น ควรฉีดวัคซีนป้องกัน แต่วิธีการที่ดีที่สุดคือ การ

รักษาสุขภาพให้แข็งแรงอยู่เสมอ รับประทานอาหารที่มี

ประโยชน์ พักผ่อนให้

เพยีงพอ สำหรบัการใชย้า

ต้านไวรัสไข้หวัดใหญ่

ไมค่วรใชเ้พือ่การปอ้งกนั

แต่ควรใช้ในกรณีที่มี

อาการเริ่มแรก และ

ต้องอยู่ ในดุลยพินิ จ

ของแพทย์ ทั้งนี้เพื่อลดโอกาสการดื้อยา

ต้านไวรัสของเชื้อ นอกจากนี้ยาต้านไวรัส

บางชนิดยังส่งผลให้เกิดอาการข้างเคียงรุนแรงแตกต่างกัน

ไปในแต่ละบุคคล เช่น คลื่นไส้ อาเจียน วิงเวียน บางราย

อาจเกิดลักษณะอาการหลอนได้ อย่างไรก็ตามรัฐได้มีการ

สำรองยาต้านไวรัสไว้เพื่อใช้กับผู้ป่วยที่พบการติดเชื้อได้

อย่างทันเหตุการณ์แล้ว

สำหรับสุกร จำเป็นต้องมีการฉีดวัคซีนป้องกันโรค

ไข้หวัดใหญ่สุกรหรือไม่

ในสุกรเองก็ยังไม่จำเป็นต้องฉีดวัคซีนชนิดนี้ ถึง

แมว้า่สกุรสามารถเปน็โรคไขห้วดัใหญไ่ด ้ แตส่ามารถหายเอง

ในเวลารวดเร็ว และสร้างภูมิคุ้มกันได้

ในดา้นการเกษตรเราควรมงีานวจิยัเรง่ดว่น ระยะยาว

และเทคโนโลยีชีวภาพจะมาช่วยได้อย่างไร

งานวิจัยเร่งด่วนที่ควรทำในตอนนี้ เราควรจะมีการ

วิจัยเพื่อเฝ้าระวังการเกิดโรค การสำรวจเก็บตัวอย่าง

ศึกษาโครงสร้างทางพันธุกรรม และเปรียบเทียบถึงความ

เหมือน ใกล้เคียง หรือเปลี่ยนแปลงของเชื้อไวรัสไปอย่างไร

ซึ่งตอนนี้อยู่ในระหว่างการดำเนินการอยู่ งานวิจัยที่ควรทำ

เพื่ อรองรับสถานการณ์ ในอนาคตที่ เชื้ อ ไวรัสมีการ

เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลานั้น ควรทำการศึกษาเพื่อหาวิธี

การตรวจที่รวดเร็ว แม่นยำ ซึ่งในการวิจัยในระดับนี้ต้องใช้

เทคโนโลยีด้านอณูชีวโมเลกุลมาช่วย ทั้งส่วนของการศึกษา

ถึงโครงสร้างทางพันธุกรรม และการตรวจสอบอื่นๆ ที่อยู่

บนพื้นฐานการใช้สารพันธุกรรม หรือ การผลิตแอนติบอดี

ทดสอบความจำเพาะของเชื้อ ฯลฯ

AG-BIO 12

AG-BIO 13

Page 14: ข่าวสารเทคโนโลยีชีวภาพเกษตร ปีที่ 1 ฉนับที่ 1

สัตวแพทย์ กับงานด้านเทคโนโลยีชีวภาพ

เทคโนโลยีชีวภาพมีบทบาทสำคัญอย่างแพร่หลายต่องานด้านสัตวแพทย์

เช่นการตรวจสอบคุณภาพและความปลอดภัยทางอาหาร การตรวจวินิจฉัยโรคสัตว์

ที่ติดต่อระหว่างคนและสัตว์ การประยุกต์ความรู้ทางด้านเทคโนโลยีชีวภาพเพื่อ

วินิจฉัยโรคในปศุสัตว์ สัตว์น้ำ สัตว์ป่า และสัตว์เลี้ยง รวมไปถึงงานด้านการอนุรักษ์

สัตว์ป่า (Wild life conservative) ที่สัตวแพทย์จำเป็นต้องใช้องค์ความรู้ทางด้าน

เทคโนโลยีชีวภาพร่วมกับความรู้ทางนิติวิทยาศาสตร์ (Forensic medicine)

เพื่อเป็นแนวทางในการแก้ปัญหาสัตว์ป่าที่หายากและใกล้สูญพันธุ์ ซึ่งส่วนใหญ่มัก

เกี่ยวกับการลักลอบฆ่าสัตว์ป่า สัตว์สงวน หรือสัตว์ป่าคุ้มครอง เป็นต้น

หน่วยงานที่จัดเป็นแหล่งของความรู้ การบริการ และค้นคว้าวิจัยทาง

เทคโนโลยีชีวภาพที่สำคัญหน่วยงานหนึ่งคือศูนย์เทคโนโลยีชีวภาพเกษตร (Center

for Agricultural Biotechnology) มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โดยศูนย์ฯ มี

ศักยภาพในการรองรับการพัฒนาองค์ความรู้ทางด้านสัตวแพทย์เป็นอย่างดี มีการ

ให้บริการและสนับสนุนเครื่องมือและอุปกรณ์ที่ทันสมัย เช่น เครื่อง Genetic

analysis system รุ่น CEQTM8000 (Beckham Coulter, CA, USA) เพื่อใช้ใน

การตรวจหา Genotyping ของเชื้อ Campylobacter jejuni และ

Campylobacter coli ในเนื้อเยื่อไก่จากฟาร์มไก่และโรงฆ่าไก่ ด้วยวิธี Amplified

Fragment Length Polymorphism (AFLP) ซึ่งมีประโยชน์สำหรับงานทางระบาด

วิทยาในระดับโมเลกุลของเชื้อ Campylobacter ซึ่งจัดเป็นเชื้อแบคทีเรียที่มี

ความรุนแรงในการก่อโรคในคน และเชื้อตัวนี้สามารถเข้าสู่ร่างกายมนุษย์ได้ง่ายผ่าน

ทางการปนเปื้อนในอาหารที่มีต้นกำเนิดมาจากสัตว์ โดยผู้ที่ได้รับเชื้อนี้เข้าไปอาจก่อ

ให้เกิดปัญหาทางระบบทางเดินอาหารจนมีอันตรายถึงชีวิตได้

จะเห็นได้ว่าเทคโนโลยีชีวภาพสามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้กับวิทยาการทาง

สัตวแพทย์ในแขนงต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งจะช่วยให้การทำงานของ

สัตวแพทย์ในสายงานด้านต่างๆ มีคุณภาพที่ดีมากยิ่งขึ้น

เรื่องน่ารู้ AgBiotech:

สพ.ญ. สุกัญญา ทองรัตน์สกุล

ภาควิชาสัตวแพทยสาธารณสุขศาสตร์ และการบริการวินิจฉัย คณะสัตวแพทยศาสตร์

มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน

AG-BIO 1�

AG-BIO 1�

Page 15: ข่าวสารเทคโนโลยีชีวภาพเกษตร ปีที่ 1 ฉนับที่ 1

สัตวแพทย์ กับงานด้านเทคโนโลยีชีวภาพ

จากการผสมเทียมขึ้น นอกจากจะผสมเทียมด้วยน้ำเชื้อสดแล้ว (น้ำเชื้อที่ไม่ได้ผ่านขบวนการ หรือเติมสารใดๆเพื่อให้สเปิร์มมีอายุได้นานขึ้น) ยังสามารถผสมเทียมได้ด้วยน้ำเชื้อแช่เย็น และแช่แข็ง กรณีของนำ้เชือ้แชเ่ยน็ตอ้งมกีารเตมิสารอาหารใหส้เปริม์และสามารถเกบ็ที ่ 4 Cํ ไว้ได้เป็นเวลา 3-7 วันขึ้นอยู่กับชนิดของสัตว์ หรือทำการเติมสารอาหารและสารทีใ่ชใ้นขบวนการแชแ่ขง็ในนำ้เชือ้ เพือ่ใหน้ำ้เชือ้สามารถ มชีวีติอยูไ่ดย้าวนานที ่ -196 Cํ ด้วยวิธีการนี้สามารถเก็บน้ำเชื้อได้นานเป็นเวลามากกว่า 10-20 ปี มากกว่าอายุของสัตว์ที่ทำการรีดเก็บ น้ำเชื้อ อาหารพันธุกรรมและการประยุกต์ ใช้เพื่อการมีสุขภาพที่ดีและอายุที่ยืนยาวในสัตว์

ผลที่ได้จากการถอดรหัสทางพันธุกรรมทั้งในมนุษย์และสัตว์ ทำให้ทราบว่าในจีโนมของสิ่งมีชีวิตมี SNP (single nucleotide polymorphism) จำนวนมาก SNP เป็นบริเวณของดีเอ็นเอที่มีลำดับเบสที่แตกต่างกันเพียงหนึ่งเบสเท่านั้น พบเป็นจำนวนมากและกระจายตัวอยู่ทั่วทั้งจีโนม สิ่งมีชีวิตแต่ละตัวจะมีความหลากหลายของ SNP ที่แตกต่างกันออกไป พบว่าความแตกต่างนี้มีผลให้เกิดการตอบสนองต่อการรักษาทางยาที่แตกต่างกันในสัตว์แต่ละตัว แม้ว่ายาที่ใช้ในการรักษาจะเป็นชนิดเดียวกัน ลักษณะของดีเอ็นเอที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรมยังมีผลให้สัตว์มีการตอบสนองต่อสารอาหารที่แตกต่างกัน เนื่องจากการแสดงออกของยีน ทั้งในขบวนการ transcription, translation และ post-translation ที่แตกต่างกัน เกิดลักษณะที่เรียกว่า “ genotype-based diets” ขึ้น นอกจากนี้ยังพบว่าสารอาหารที่ได้รับขณะอยู่ในท้องและหลังคลอด ส่งผลต่อ metabolism ของชีวิตและความเสี่ยงต่อการเกิดโรคในอนาคต โรค copper toxicosis เป็นโรคทางพันธุกรรมในสุนัขที่เกิดจากความผิดปกติของยีน MURR1 และทำให้สุนัขเสียชีวิตจากการสะสมของ copper ในตับ ถ้าทำการทดสอบยีนและพบว่าสุนัขป่วยเป็นโรคนี้ และทำการปรับอาหารให้ถูกต้องจะสามารถยืดอายุการมีชีวิตอยู่ของสุนัขได้ นี่เป็นเพียงตัวอย่างหนึ่งของการนำอาหารและพันธุกรรมมาประยุกต์ใช้เพื่อการมีชีวิตที่มีสุขภาพดีและยืนยาวในอนาคต

AgBiotech Hot News

Animal Biotechnology

โดย สพ.ญ.ดร. จันทร์จิรา ภวภูตานนท์ ภาควิชาสัตวแพทยสาธารณสุขศาสตร์ และการบริการวินิจฉัย คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน

การนำ Stem cell มาใช้ ในการรักษาโรคข้อเสื่อมในสุนัข ในขณะที่มนุษย์ที่เกิดปัญหาข้อเสื่อมรอคอยความหวังในการ

รักษาโรคนี้ พบว่าในปัจจุบัน ม้า สุนัข และแมวในอเมริกา ประสบผลสำเร็จในการนำ stem cell มาใช้รักษาโรคข้อเสื่อมได้แล้ว สุนัขจำนวนมากประสบปัญหาโรคข้อเสื่อม ไม่ว่าจะเกิดจากข้อสะโพก ข้อเข่า รวมถึงกระดูกและข้อต่อ เอ็นต่างๆ สุนัขเหล่านี้ต้องทนทุกข์ทรมาณจากความเจ็บปวดที่เกิดขึ้น สุนัขบางตัวไม่สามารถเดินหรือแม้แต่ลุกขึ้นยืนได้ ส่งผลกระทบต่อชีวิตและกิจกรรมประจำวันของสุนัขเอง รวมถึงค่าใช้จ่ายและเวลาที่เสียไปของเจ้าของในการดูแลสุนัขที่เพิ่มขึ้น ด้วยความก้าวหน้าในการนำเทคโนโลยีด้าน stem cell มาใช้ ปัจจุบันสามารถนำเทคโนโลยีนี้มาใช้ในการรักษาโรคข้อเสื่อมในสุนัข ศูนย์ stem cell ที่มีชื่อว่า Vet-Stem ใน San Diego, California, USA สามารถนำไขมันบริเวณลำตัวสุนัขเอง เช่น บริเวณหัวไหล่ มาเพาะเลี้ยง stem cell และฉีดกลับเข้าไปในตัวสุนัขเอง พบว่า stem cell เหล่านี้มีคุณสมบัติพิเศษที่สามารถ regenerate ไปเป็นเซลล์ต่างๆ ได้ เช่น เซลล์กระดูก กล้ามเนื้อหัวใจ เม็ดเลือดแดง เป็นต้น ปัจจุบันมีสุนัขกว่า 200 ตัวที่ประสบผลสำเร็จจากการรักษาด้วยวิธีการนี้ เนื่องจาก stem cell ที่ได้มาจากตัวสุนัขเองนั้นมีข้อดี คือไม่เกิดปฏิกิริยาต่อต้านทางภูมิคุ้มกันขึ้น พบว่ามีอัตราความสำเร็จมากกว่า 70% ในอนาคตความรู้ที่ได้นี้คงสามารถนำไปพัฒนาต่อเพื่อรักษาโรคข้อเสื่อมในมนุษย์ต่อไป เทคโนโลยีการผสมเทียมในสัตว์

ในสัตว์ได้มีการนำเทคโนโลยีทางด้านการผสมเทียมมาใช้ช่วยในการผสมพันธุ์สัตว์ที่หายาก ใกล้สูญพันธุ์ หรือมีปัญหาในการผสมพันธุ์เองตามธรรมชาติ ยกตัวอย่างเช่น กรณีของหมีแพนด้าที่สวนสัตว์เชียงใหม่ ได้มีการนำเทคโนโลยีด้านการผสมเทียมมาใช้ โดยการตรวจวัดระดับฮอร์โมนเพื่อหาวันตกไข่ และกำหนดวันผสม เนื่องจากเกิดปัญหาในการผสมจริง ดังนั้นจึงได้ทำการรีดเก็บน้ำเชื้อสดเพื่อนำมาใช้ผสมเทียม ก่อนทำการผสมจะต้องมีการประเมินคุณภาพน้ำเชื้อของพ่อหมีแพนด้าก่อน ว่ามีคุณภาพน้ำเชื้ออยู่ในเกณฑ์ปกติที่สามารถนำมาใช้ผสมได้ จากนั้นจึงทำการสอดท่อเข้าทางช่องคลอดของแม่หมีแพนด้า เพื่อฉีดน้ำเชื้อเข้าไป ผลคือขณะนี้เราได้ลูกหมีแพนด้าที่เกิด

สุนัขพันธุ์ Siberian Husky อายุ 3 ปี

ชื่อ Nakota เป็นหนึ่งในสุนัขกว่า 200 ตัว

ที่ได้รับการรักษาโรคข้อเสื่อมด้วยวิธี stem cell

ที่มา : http://www.newsweek.com/id/40411

สุนัขพันธุ์ Bedlington Terrier

เป็นสายพันธุ์ที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรค

copper toxicosis

ที่มา : www.dogsindepth.com/...

/bedlington_terrier.html

AG-BIO 1�

AG-BIO 1�

Page 16: ข่าวสารเทคโนโลยีชีวภาพเกษตร ปีที่ 1 ฉนับที่ 1

30 มกราคม 2552 ห้องกวี จุติกุล คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ภาควิชาโรคพืช ร่วมกับศูนย์เทคโนโลยีชีวภาพเกษตร มหาวิทยาลัยร่วม มหาวิทยาลัยขอนแก่น

จัดบรรยายพิเศษให้แก่นักศึกษา คณาจารย์ และผู้สนใจเข้าร่วมฟังหัวข้อ “Good Seed and Plant

Practice” โดยวิทยากรผู้บรรยาย Mr. Paul Hendrikx Syngenta seed, The Netherlands

4 กุมภาพันธ์ 2552 ห้องประชุมสุขุม อัศเวศน์ อาคารเฉลิมพระเกียรติ คณะเกษตรศาสตร์

มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ คณะเกษตรศาสตร์ ร่วมกับศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีชีวภาพเกษตร สำนักพัฒนาบัณฑิต

ศึกษาและวิจัยด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จัดสัมมนาพิเศษ “รายงานความก้าวหน้าผลงานวิจัยของ

นกัศกึษาประจำปกีารศกึษา 2551” โดยมคีณาจารย ์และนกัศกึษาในโครงการฯ รว่มจำนวนทัง้หมด 30 คน

27 กุมภาพันธ์ 2552 โรงแรมมิราเคิล แกรนด์ คอนเวนชั่น การประชุมหารือ เรื่อง “ แผนที่นำทาง ภาพฉายอนาคต และยุทธศาสตร์การพัฒนานโยบายวิจัยด้าน

เทคโนโลยีชีวภาพในระยะยาว ” โดยศูนย์เทคโนโลยีชีวภาพเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และสำนักงาน

คณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.)

2 มีนาคม 2552 ห้องฝึกอบรมหมวดประมง คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัย

ขอนแก่น ภาควิชาประมง คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ร่วมกับ ศูนย์เทคโนโลยี

ชีวภาพเกษตร มหาวิทยาลัยร่วม มหาวิทยาลัยขอนแก่น จัดฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่อง “การ

ใช้เทคโนโลยี RFID ในสัตว์น้ำ” ซึ่ง RFID : Radio Frequency Identification เป็นเทคโนโลยี

คลื่นความถี่วิทยุที่สามารถนำมาใช้เป็นเครื่องมือในการศึกษาแนวทางการปรับปรุงหรือพัฒนา

สายพันธุ์สัตว์น้ำ เพื่อให้ได้ลูกพันธุ์คุณภาพดี

11 มีนาคม 2552 ห้องประชุม ของโครงการฯ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ คณาจารย์จากภาควิชาต่างๆ ของคณะเกษตรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ และคณะ

อุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ทั้งหมด 9 ท่าน ร่วมกับศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยี

ชีวภาพเกษตร สำนักพัฒนาบัณฑิตศึกษาและวิจัยด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ประชุมหารือ เรื่อง

“แนวคิดงานวิจัยผลิตภัณฑ์จากข้าวก่ำ”

9 - 30 มีนาคม 2552 ศูนย์เทคโนโลยีชีวภาพเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน

ศูนย์ฯ ได้จัดฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่อง “Cellular and Molecular Biology Laboratory” ซึ่ง

เป็นการเรียนรู้ และปฏิบัติจริงเกี่ยวกับวิธีการโคลนยีน การตรวจสอบ และการแสดงออกของยีน โดยมีนิสิต

นักศึกษา อาจารย์จากคณะ และสถาบันต่างๆ เข้าร่วมได้แก่ คณะประมง คณะสัตวแพทยศาสตร์

มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยขอนแก่น และมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

ติดต่อขอรับข่าวสารได้ที่

หน่วยประสานงาน: ศูนย์เทคโนโลยีชีวภาพเกษตร ตู้ ปณฝ. 1028 มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน จตุจักร กรุงเทพฯ 10903

สำนักงาน: บางเขน อาคารพิพิธภัณฑ์แมลง 60 ปี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน จตุจักร กรุงเทพฯ 10900 โทรศัพท์ 02-942-8361, 02-942-7133 โทรสาร 02-942-8258

สำนักงาน: กำแพงแสน ชั้น 1 อาคารปฏิบัติการวิจัยเทคโนโลยีชีวภาพเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน จ.นครปฐม 73140 โทรศัพท์ 0 3428-2494 ถึง7 โทรสาร 0 3428-2498

www.cab.kps.ku.ac.th

ภาพข่าวกิจกรรม