12
ธันวาคม 2553 ดัชนีผลิตภาพแรงงาน (Labour Productivity Index) อโนทัย พุทธารี ปุณฑริก ศุภอมรกุล พรสวรรค รักเปนธรรม Stat-Horizon Data Management Department

20101228 labour productivity Index - Bank of Thailand...3 ด ชน ผล ตภาพแรงงานของไทย (Labour Productivity Index) บทค ดย อ ผล

  • Upload
    others

  • View
    2

  • Download
    0

Embed Size (px)

Citation preview

Page 1: 20101228 labour productivity Index - Bank of Thailand...3 ด ชน ผล ตภาพแรงงานของไทย (Labour Productivity Index) บทค ดย อ ผล

ธันวาคม 2553

ดัชนีผลิตภาพแรงงาน (Labour Productivity Index)

อโนทยั พทุธารี

ปุณฑริก ศุภอมรกุล

พรสวรรค รักเปนธรรม

Stat-Horizon Data Management Department

Page 2: 20101228 labour productivity Index - Bank of Thailand...3 ด ชน ผล ตภาพแรงงานของไทย (Labour Productivity Index) บทค ดย อ ผล

2 ดัชนีผลิตภาพแรงงานของไทย

(Labour Productivity Index)

คณะผูจัดทํา

ฝายบริหารขอมูล

อโนทัย พุทธารี ทีมพัฒนาคุณภาพขอมูล [email protected]

ปุณฑริก ศุภอมรกุล ทีมพัฒนาคุณภาพขอมูล [email protected]

พรสวรรค รักเปนธรรม ทีมพัฒนาคุณภาพขอมูล [email protected]

ธนาคารแหงประเทศไทย 273 ถนนสามเสน แขวงพระนคร เขตพระนคร กรุงเทพฯ 10200 http://www.bot.or.th

Disclaimer: ขอคิดเห็นที่ปรากฏในบทความน้ีเปนความเห็นของผูเขียน ซ่ึงไมจําเปนตองสอดคลองกับความเห็นของธนาคารแหงประเทศไทย

Page 3: 20101228 labour productivity Index - Bank of Thailand...3 ด ชน ผล ตภาพแรงงานของไทย (Labour Productivity Index) บทค ดย อ ผล

3 ดัชนีผลิตภาพแรงงานของไทย

(Labour Productivity Index)

บทคัดยอ

ผลิตภาพการผลิตเปนสิ่งสําคัญในการขับเคล่ือนทางเศรษฐกิจระยะยาว รวมถึงสามารถยกระดับคุณภาพชีวิตของประชากรในแตละประเทศใหมีความเปนอยูที่ดีข้ึน โดยผลิตภาพการผลิตจะมีอิทธิพลตอ อัตราเงินเฟอ อัตราแลกเปลี่ยน และปจจัยทางเศรษฐกิจอื่นๆ อาทิ การอุปโภคบริโภค การลงทุน และการจางงาน ดังน้ันการที่จะพัฒนาศักยภาพการผลิต จําเปนตองพัฒนาประสิทธิภาพของปจจัยในการผลิตเปนกําลังสําคัญ ปจจัยการผลิตที่เปนตัวแปรสําคัญของผลิตภาพการผลิต คือ แรงงาน และ ทุน สําหรับการวัดผลิตภาพการผลิตที่เปนที่นิยมที่สุดคือ ผลิตภาพการผลิตของปจจัยแรงงาน

การเพ่ิมข้ึนของผลิตภาพแรงงาน (Labour Productivity) มีความสําคัญอยางยิ่งตอความสามารถในการแขงขันของประเทศ เน่ืองจากผลิตภาพแรงงาน เปนเร่ืองสําคัญที่สามารถแสดงถึงประสิทธิภาพในการทํางานของปจจัยการผลิตดานแรงงานเพ่ือใชเปรียบเทียบผลงานทางดานเศรษฐกิจ โดยทําการวัดจากอัตราสวนของผลผลิตกับจํานวนแรงงานในระบบเศรษฐกิจ โดยในชวงเกือบ 10 ปที่ผานมา ผลิตภาพแรงงานของไทยขยายตัวอยูในระดับคอนขางต่ําและมีแนวโนมลดลงโดยผลิตภาพแรงงานในภาคเกษตรแทบมิไดเพ่ิมข้ึน รวมถึงภาคที่มิใชภาคเกษตรและภาคการผลิตก็มีแนวโนมลดลงเชนกัน ในขณะที่มีการจางงานกลับขยายตัวเพ่ิมข้ึนในหลายภาคธุรกิจ ซ่ึงหากเปรียบเทียบกับประเทศอื่นๆ พบวาผลิตภาพแรงงานของไทยปรับดวยอํานาจการซ้ืออยูในระดับต่ํากวาประเทศอื่นๆ หลายประเทศในเอเซีย สืบเนื่องจากปญหาการขาดแคลนแรงงานที่มีทักษะ ทําใหไมสามารถพัฒนาไปสูการใชเทคโนโลยีข้ันสูงเพ่ือเพ่ิมศักยภาพในการผลิตได

ธนาคารแหงประเทศไทย (ธปท.) จึงไดเพ่ิมเติมการเผยแพรขอมูลในระดับภาพรวมภาวะแรงงานของประเทศทั้งที่เปนรายเดือนและรายไตรมาสขึ้นเพ่ือใหขอมูลการสํารวจภาวะแรงงานถูกนําไปใชประโยชนอยางคุมคามากข้ึน มิใชแตเฉพาะเพ่ือประโยชนตอการดําเนินนโยบายเทาน้ัน ยังรวมถึงการพัฒนาองคความรูและงานวิจัยดานแรงงานของประเทศอีกดวย โดยจะเริ่มเผยแพรขอมูลใหมในวันที่ 30 ธันวาคม 2010 เปนตนไป

Page 4: 20101228 labour productivity Index - Bank of Thailand...3 ด ชน ผล ตภาพแรงงานของไทย (Labour Productivity Index) บทค ดย อ ผล

4 ดัชนีผลิตภาพแรงงานของไทย

(Labour Productivity Index)

ดัชนีผลิตภาพแรงงานของไทย (Labour Productivity Index)

อโนทัย พุทธารี ปุณฑริก ศุภอมรกุล

พรสวรรค รักเปนธรรม

ความสามารถในการแขงขันทามกลางความกาวหนาของเทคโนโลยี และวิวัฒนาการดานอื่นๆ ในยุคปจจุบัน ไดสงผลใหประเทศตางๆ พยายามที่จะมุงแสวงหาปจจัยที่สงเสริมศักยภาพภายในประเทศใหทัดเทียมกับประเทศอื่นๆ รวมถึงการพัฒนาความสามารถในการแขงขันโดยการเพ่ิมผลิตภาพการผลิต เพื่อใหประเทศมีความเปนอยูที่ดีข้ึน และมุงใหเกิดการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจในระยะยาวตอไป ผลิตภาพการผลิต (Productivity) ไมไดเปนเพียงแคอัตราสวนของปริมาณผลิตผลที่ไดตอปริมาณสิ่งที่ใสเขาไปในการดําเนินการผลิต (วัตถุดิบ แรงงาน เคร่ืองจักร เงินทุน เปนตน) หรือไมไดเปนเพียงแค ประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการผลิตเพียงเทานั้น แตผลิตภาพการผลิต ยังหมายรวมถึง ความสามารถ และความสนใจของแรงงาน (อุปสงค และ อุปทานของแรงงาน) เทคโนโลยี การจัดการ สังคม สิ่งแวดลอม และ โครงสรางพ้ืนฐานในการทํางาน ประกอบรวมกับปริมาณที่ใสเขาไปในการดําเนินการผลิต จะเห็นไดวาแรงงานถือเปนปจจัยหนึ่งในการสรางผลผลิตและมูลคาเพ่ิมในกระบวนการผลิต การจางงานที่เพ่ิมขึ้น รวมถึงความสามารถในการทํางานของปจจัยการผลิตดานแรงงานที่มีประสิทธิภาพ ที่จะชวยเพ่ิมศักยภาพที่ใชเปรียบเทียบผลงานทางดานเศรษฐกิจ ซ่ึงในทางสถิติสามารถวัดความสามารถของแรงงานไดดวยผลิตภาพแรงงาน

นอกจากน้ี ผลิตภาพแรงงานยังเปนประโยชนตอการประเมินผลกระทบของนโยบายในตลาดแรงงาน อาทิ ความสัมพันธระหวางผลิตภาพแรงงานกับทรัพยากรมนุษย Human Capital เพ่ือนําไปสูการยกระดับการศึกษาและการพัฒนาทักษะดานแรงงาน รวมทั้ง กลไกการกําหนดคาตอบแทนจากแรงงานเทียบกับผลิตภาพแรงงานที่แทจริง และยังนําไปสูความเขาใจในเร่ืองตางๆ ที่เก่ียวของกับตลาดแรงงานที่อาจสงผลกระทบตอมาตรฐานการครองชีพ1

ธนาคารแหงประเทศไทยในฐานะธนาคารกลางไดเล็งเห็นถึงความสําคัญของขอมูลแรงงานที่มีความจําเปนตอการติดตามภาวะเศรษฐกิจและประกอบการตัดสินใจเชิงนโยบาย รวมถึงสะทอนแรงกดดันตอเงินเฟอที่เกิดจากตลาดแรงงาน ธปท.จึงไดดําเนินการเผยแพรขอมูลดานแรงงาน โดยไดรวบรวมขอมูลจากผลการสํารวจภาวะแรงงานของสํานักงานสถิติแหงชาติ และไดจัดทําขอมูลผลิตภาพแรงงาน (Labour Productivity) เพ่ิมเติมเพื่อใหขอมูลมีความครบถวน สามารถสะทอนใหเห็นถึงสัญญาณเตือนภัยจากตลาดแรงงาน รวมทั้งการวิเคราะหภาวะแรงงานและความสามารถในการแขงขันของประเทศ

1 Key Indicators of the Labour Market (KILM): 2001-2002, International Labour Organisation, Geneva, 2002, page 621.

Page 5: 20101228 labour productivity Index - Bank of Thailand...3 ด ชน ผล ตภาพแรงงานของไทย (Labour Productivity Index) บทค ดย อ ผล

5 ดัชนีผลิตภาพแรงงานของไทย

(Labour Productivity Index)

1. การวัดผลิตภาพแรงงาน (Labour Productivity)

ผลิตภาพแรงงาน หมายถึง อัตราสวนของผลผลิตกับจํานวนแรงงานในระบบเศรษฐกิจ2 ซ่ึงในทางทฤษฎี ผลิตภาพแรงงานน้ันมีทั้งแบบผลิตภาพเฉล่ียของแรงงาน (Average Labour Productivity) และผลิตภาพแรงงานหนวยสุดทาย (Marginal Labour Productivity)

โดยทั่วไป ผลิตภาพแรงงานจะหมายถึงผลิตภาพเฉล่ียของแรงงานซ่ึงในการคํานวณมี 2 แบบ คือ ผลิตภาพแรงงานเฉลี่ยตอคน (Labour Productivity per Employed Person) และ ผลิตภาพแรงงานเฉล่ียตอชั่วโมงทํางาน (Labour Productivity per Hour Worked) มีวิธีในการคํานวณดังน้ี

1) ผลิตภาพแรงงานเฉล่ียตอคน

퐿푎푏표푢푟 푃푟표푑푢푐푡푖푣푖푡푦 퐼푛푑푒푥 = 푄 푄⁄퐿 퐿⁄

푄 푄 = 퐼푛푑푒푥 표푓 푂푢푡푝푢푡 푖푛 푡ℎ푒 푐푢푟푟푒푛푡 푦푒푎푟⁄

퐿 퐿 = 퐼푛푑푒푥 표푓 퐿푎푏표푢푟 퐼푛푝푢푡 푖푛 푡ℎ푒 푐푢푟푟푒푛푡 푦푒푎푟⁄

2) ผลิตภาพแรงงานเฉล่ียตอชั่วโมงทํางาน

퐿푎푏표푢푟 푃푟표푑푢푐푡푖푣푖푡푦 퐼푛푑푒푥 = 푄 푄⁄퐻 퐻⁄

푄 푄 = 퐼푛푑푒푥 표푓 푂푢푡푝푢푡 푖푛 푡ℎ푒 푐푢푟푟푒푛푡 푦푒푎푟⁄ 퐻 퐻 = 퐼푛푑푒푥 표푓 퐻표푢푟 푊표푟푘푒푑 푖푛 푡ℎ푒 푐푢푟푟푒푛푡 푦푒푎푟⁄

อยางไรก็ตาม การคํานวณผลิตภาพแรงงานเฉล่ียตอคนสามารถทําไดงายกวาเฉล่ียตอชั่วโมง แตก็มีหลายประเทศมีการคํานวณผลิตภาพแรงงานทั้ง 2 แบบ โดยจากการรวบรวมขอมูลของ International Labour Organization (ILO)3 พบวา มี 51 จาก 123 ประเทศที่สามารถจัดทําผลิตภาพแรงงานเฉล่ียตอชั่วโมงทํางาน อาทิ ประเทศในกลุมสหภาพยุโรป สหรัฐอเมริกา แคนาดา ออสเตรเลีย ฮองกง และสิงคโปร เปนตน สําหรับประเทศไทย สํานักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) กระทรวงอุตสาหกรรม ไดเริ่มจัดทําผลิตภาพแรงงานเฉลี่ยตอชั่วโมงทํางานตั้งแตเดือนมกราคม 2000 ครอบคลุมเฉพาะภาคอุตสาหกรรมเทาน้ัน (รูปที่ 1) ซ่ึงในการเผยแพรไดจําแนกตาม ISIC 4 digits

2 Bureau of Labor Statistics (BLS), BLS Handbook of Methods: Chapter 11: Industry Productivity Measures, 13th December

2010. 3 International Labour Organization (ILO), Key Indicators of Labour Market (KILM) 2010.

Page 6: 20101228 labour productivity Index - Bank of Thailand...3 ด ชน ผล ตภาพแรงงานของไทย (Labour Productivity Index) บทค ดย อ ผล

6 ดัชนีผลิตภาพแรงงานของไทย

(Labour Productivity Index)

สําหรับขอมูลในระดับภาพรวมของประเทศนั้น ธนาคารแหงประเทศไทย (ธปท.) ไดเร่ิมจัดทําดัชนีผลิตภาพแรงงานข้ึนทั้งแบบเฉลี่ยตอคนและเฉล่ียตอชั่วโมง (รูปที่ 2 และ3) โดยใชขอมูลผลิตภัณฑมวลรวมในประเทศ (GDP) ที่ราคาคงที่ ซ่ึงจัดทําโดยสํานักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแหงชาติ (สศช.) และขอมูลผูมีงานทํา จากการสํารวจภาวะการทํางานของสํานักงานสถิติแหงชาติ (สสช.) ทั้ง น้ีการเคลื่อนไหวของดัชนีทั้ง 2 แบบมีความสอดคลองกันทั้งในรูปของระดับและอัตราการเปล่ียนแปลง

ธปท. พิจารณาแลวเห็นวาเพื่อใหการจัดทําและเผยแพรขอมูลเปนไปอยางรวดเร็วควรจัดทําเฉพาะผลิตภาพแรงงานเฉลี่ยตอคน โดยการเผยแพรขอมูลจะมีความลาชาเพียง 1 ไตรมาส เชนเดียวกับขอมูลผลิตภัณฑมวลรวมในประเทศ ขณะที่ขอมูลผลิตภาพแรงงานเฉลี่ยตอชั่วโมงจะตองมีการจัดทําขอมูลเพ่ิมเติมจากฐานขอมูลดิบจาก สสช. ซ่ึง ธปท. อยูระหวางการปรับปรุงการจัดทําขอมูลผลิตภาพแรงงานเฉล่ียตอชั่วโมงเพ่ือใหสามารถเผยแพรเปนรายไตรมาสตอไป ซ่ึงรวมถึงขอมูลตนทุนแรงงานตอ 1 หนวยการผลิต (Unit Labour Cost: ULC) ดวย

2. ผลิตภาพแรงงานของไทย

การเพิ่มข้ึนของผลิตภาพแรงงานมีความสําคัญอยางยิ่งตอความสามารถในการแขงขันของประเทศ ในชวงเกือบ 10 ปที่ผานมาผลิตภาพแรงงานของไทยขยายตัวอยูในระดับคอนขางต่ําและมีแนวโนมลดลง สะทอนวาไทยมุงเนนปจจัยดานเงินทุนและปริมาณแรงงานมากกวาการพัฒนาคุณภาพแรงงานกลาวคือ เพ่ิมข้ึนเพียงรอยละ 2.6 ซ่ึงเปนการเพ่ิมขึ้นของภาคการผลิตเปนสําคัญ สวนผลิตภาพแรงงานในภาคเกษตรแทบมิไดเพิ่มข้ึน คือ อยูที่รอยละ 0.6

60

80

100

120

140

2001 20022003200420052006200720082009 2010

Per Employed PersonPer Worked Hour

Source: The National Statistics Office (NSO) and the Office ofNational Economic and Social Development Board (NESDB)Note: Compiled by Bank of Thailand

Figure 2: Labour Productivity: Total

Index (2001 = 100)

-10

-5

0

5

10

2002 2003 2004 2005 2006 2007 2008 2009 2010

Per Employed PersonPer Worked Hour

Source: The National Statistics Office (NSO) and the Office ofNational Economic and Social Development Board (NESDB)Note: Compiled by Bank of Thailand

Figure 3: Growth of Labour Productivity: Total

%YoY

-30

-15

0

15

30

75

100

125

150

175

2000 2002 2004 2006 2008 2010

Index %YoY (RHS)

Source: The Office of Industrial Economics (OIE).

Figure 1: Labour Productivity Index: Manufacturing Sector

Index (2000 = 100) %YoY

Page 7: 20101228 labour productivity Index - Bank of Thailand...3 ด ชน ผล ตภาพแรงงานของไทย (Labour Productivity Index) บทค ดย อ ผล

7 ดัชนีผลิตภาพแรงงานของไทย

(Labour Productivity Index)

เทาน้ัน (ตารางที่ 1) นอกจากน้ี ภาคที่มิใชภาคเกษตรและภาคการผลิตมีผลิตภาพแรงงานลดลงขณะที่มีการจางงานเพ่ิมขึ้น ไดแก ภาคกอสราง การคา อสังหาริมทรัพย การบริหารราชการแผนดิน และการบริการสุขภาพและสังคมสงเคราะห

Table 1: Annual Average Growth of Labour Productivity, Employment, and GDP

(%) Labour Productivity Employment GDP

2002-5 2006 2007 2008 2009 2010 3Q

2002-10 2002-10 2002-10

Total 3.5 1.9 4.8 0.4 -4.2 6.1 2.6 1.9 4.8

Agriculture 1.6 0.4 2.2 1.8 1.6 -7.1 0.6 0.4 2.2

Non-Agriculture 3.0 2.8 5.1 0.6 -5.6 4.9 2.0 2.8 5.1

Manufacturing 4.9 1.1 6.5 7.0 -4.6 12.6 4.9 1.1 6.5

Construction 0.0 4.7 3.4 -8.9 -2.9 4.4 -0.8 4.7 3.4

Wholesale & Retail Trade 1.0 3.3 3.0 -2.2 -5.2 -0.8 -0.2 3.3 3.0

Hotels and Restaurants 1.7 3.9 4.5 -0.1 -8.3 0.7 0.2 3.9 4.5

Real Estate -1.2 5.2 4.3 0.5 -0.5 -0.4 -0.8 5.2 4.3

Public Administration 0.0 4.4 2.8 -2.5 -3.6 -5.0 -1.3 4.4 2.8

Health & Social Work -0.8 4.3 2.8 -7.6 -0.7 0.4 -1.4 4.3 2.8

Source: The National Statistics Office (NSO) and the Office of National Economic and Social Development Board (NESDB) Note: Compiled by Bank of Thailand.

อยางไรก็ตาม หากพิจารณาเฉพาะภาคการผลิตที่ผลิตภาพแรงานเพิ่มข้ึนมากที่สุดโดยใชขอมูลการสํารวจของ สศอ. พบวา กลุมที่ผลิตเพ่ือการสงออกเปนหลัก (สัดสวนการสงออกมากกวารอยละ 60) เปนกลุมที่มีการเพ่ิมขึ้นของผลิตภาพแรงงานชากวากลุมที่ผลิตเพ่ือบริโภคในประเทศ (สัดสวนการสงออกนอยกวารอยละ 30) (รูปที่ 4) ทั้งที่กลุมเพ่ือการสงออกเปนหลักเปนกลุมที่มีการใชเทคโนโลยีในการผลิตสูงและมีการปรับเปลี่ยนอยางรวดเร็ว ซ่ึงเปนที่นาสังเกตวาผลิตภาพแรงงานของกลุม Hard Disk Drive (หมวดเคร่ืองจักรสํานักงาน) มิไดมีการพัฒนาเลยนับตั้งแตป 2007 โดยผลิตภาพแรงงานลดลง 6.5 สะทอนวาการผลิตในหมวดดังกลาวเปนเพียงการผลิตข้ันพ้ืนฐานซ่ึงมิไดเอื้อประโยชนตอการพัฒนาคุณภาพแรงงาน (ตารางที่ 2) นอกจากน้ี วิกฤตในสหรัฐฯ ในชวงป 2008-9 สงผลใหผลิตภาพแรงงานลดลงในเกือบทุกกลุม โดยเฉพาะอุตสาหกรรมยานยนตที่ผลิตภาพแรงงานลดลงถึงรอยละ 27.3 สวนอุตสาหกรรมสิ่งทอซ่ึงเปนกลุมที่มีการจางงานคอนขางสูงเปนกลุมที่ผลิตภาพแรงงานลดลงอยางตอเน่ือง ซ่ึงประเด็นสําคัญที่ทําใหผลิตภาพแรงงานของไทยอยูในระดับต่ํา คือ การขาดทักษะที่จําเปนตอการทํางาน อาทิ การขาดความรูในทางทฤษฎี ซ่ึงเปนผลจากการที่มีวุฒิการศึกษาที่ไมสอดคลองกับงานที่ทํา ซ่ึงจะสงผลตอเน่ืองตอการพัฒนาทักษะในดานปฏิบัติตอไป

Page 8: 20101228 labour productivity Index - Bank of Thailand...3 ด ชน ผล ตภาพแรงงานของไทย (Labour Productivity Index) บทค ดย อ ผล

8 ดัชนีผลิตภาพแรงงานของไทย

(Labour Productivity Index)

80

115

150

185

220

2000 2001 2002 2003 2004 2005 2006 2007 2008 2009 2010

Total Export less than 30% of total production

Export between 30% to 60 % of total production Export more than 60 % of total production

Source: The Office of Industrial Economics (OIE).

Figure 4: Labour Productivity Index in Manufacturing Sector Classified by Export Oriented

Index (Jan 2000 = 100)

Table 2: Average Growth of Labour Productivity

(%) Weight in 2000

Labour Productivity

2001-5 2006 2007 2008 2009 2010 11m

Total 100.0 6.5 3.3 1.0 1.9 -8.7 6.8

Export less than 30% of total production 42.8 7.4 0.8 0.4 3.3 -3.6 -0.1

Food products and beverages* 10.6 6.5 7.6 5.4 6.5 -2.7 -13.0

Textiles** 4.9 5.9 -2.2 -2.8 -1.6 -3.2 8.8

Petroleum products 4.3 11.1 -3.1 -1.0 15.2 -4.1 -2.9

Tobacco products 4.1 12.2 1.4 0.5 4.1 -18.7 23.4

Export between 30% to 60 % of total production

26.4 8.8 5.6 -1.4 2.5 -18.2 27.1

Motor vehicles, trailers and semi-trailers 13.9 11.8 5.3 -4.6 5.7 -27.3 45.3

Plastic products 3.6 5.1 12.6 -6.0 2.4 -0.6 10.7

Raw sugar 2.2 24.3 13.0 38.9 -5.0 5.9 2.1

Export more than 60 % of total production 30.8 3.2 5.0 4.4 -1.1 -7.1 -0.4

Radio, television and communication equipment and apparatus

6.2 8.6 4.6 4.6 -12.0 -21.7 -13.2

Office, accounting and computing machinery

3.7 -0.5 16.9 -6.5 0.0 0.3 -0.3

Rubber products*** 3.2 3.3 0.0 -8.8 -6.5 -5.5 7.5

Garment 3.2 5.0 0.2 8.8 14.6 -4.3 6.5

Source: The Office of Industrial Economics (OIE). Note: * exclude Manufacture of starches and starch products , Manufacture of sugar

** exclude Manufacture of knitted and crocheted fabrics and articles *** exclude Manufacture of rubber tyres and tubes; retreading and rebuilding of rubber tyres

Page 9: 20101228 labour productivity Index - Bank of Thailand...3 ด ชน ผล ตภาพแรงงานของไทย (Labour Productivity Index) บทค ดย อ ผล

9 ดัชนีผลิตภาพแรงงานของไทย

(Labour Productivity Index)

หากเทียบกับประเทศอื่นๆ แลว พบวาผลิตภาพแรงงานเฉล่ียตอคนของไทยปรับดวยอํานาจการซื้อเปรียบเทียบอยูในระดับปานกลางโดยในทศวรรษ 2000 อยูที่ 14,000 ดอลลาร สรอ. ซึ่งมีระดับต่ํากวาประเทศในเอเซีย 4 ประเทศ ไดแก สิงคโปร ไตหวัน เกาหลี และมาเลเซีย แตสูงกวาเวียดนาม อินเดีย จีน ฟลิปปนส และอินโดนีเซีย (รูปที่ 5) ซ่ึงสภาพการณดังกลาวเปนผลสืบเน่ืองจากการที่ความรูพื้นฐานของแรงงานไทยสวนใหญยังอยูในระดับต่ํา (ต่ํากวามัธยมศึกษาตอนปลาย) โดยเฉพาะแรงงานในภาคการเกษตร สวนภาคอื่นๆ ที่มิใชภาคเกษตรและภาคการผลิตที่มีทักษะดานภาษาและเทคโนโลยีต่ํา และมีปญหาการขาดแคลนแรงงานที่มีทักษะ ทําใหไมสามารถพัฒนาไปสูการใชเทคโนโลยีขั้นสูงเพ่ือเพ่ิมประสิทธิภาพการผลิตไดเทาที่ควร

อยางไรก็ตาม เมื่อพิจารณาถึงอัตราการขยายตัวของผลิตภาพแรงงานเฉลี่ยตอคนของไทยในชวง 30 ปที่ผานมา พบวาเพ่ิมข้ึนในอัตราที่ชะลอลง และอยูในระดับคอนขางต่ําเมื่อเทียบกับจีน เวียดนาม และอินเดีย (ตารางที่ 3) ซ่ึงหากเปนเชนนี้ตอไป ภายในอีก 5 ปผลิตภาพแรงงานเฉลี่ยตอคนของจีนจะอยูในระดับสูงกวาไทย และจะสูงกวาเปน 2 เทาภายในอีก 15 ป4 ทั้งน้ี เพ่ือเพ่ิมศักยภาพและความสามารถในการแขงขันของประเทศจึงควรมีแนวทางในการพัฒนาคุณภาพแรงงาน กอนอื่นตองมีความเขาใจวาการพัฒนาศักยภาพแรงงานขึ้นอยูกับปจจัยหลายอยาง มิใชเพียงแคการจัดการศึกษาเทาน้ัน แตจําเปนอยางยิ่งที่จะตองตอบสนองตอความตองการของภาคการผลิตดวย โดยที่ผานมาอัตราการศึกษาตอในระดับสูงโดยเฉพาะระดับอุดมศึกษาเพิ่มข้ึนอยางตอเนื่อง ขณะที่ภาคการผลิตมีความตองการแรงงานในกลุมผูปฏิบัติงานในโรงงานและแรงงานผูที่ใชฝมือ สงผลใหอัตราวางงานของระดับอุดมศึกษาอยูในระดับสูง (รูปที่ 6)

4 คํานวณโดยธนาคารแหงประเทศไทย

0

15

30

45

Cambodia Vietnam India China PhilippinesIndonesia Thailand Malaysia Korea Taiwan Singapore

1980s 1990s 2000s

Source: Key Indicators of Labour Market (KILM), International Labour Organization (ILO).

Figure 5: Labour Productivity per Employed Person (constant 1990 US$ at PPP)

'000 US$

Page 10: 20101228 labour productivity Index - Bank of Thailand...3 ด ชน ผล ตภาพแรงงานของไทย (Labour Productivity Index) บทค ดย อ ผล

10 ดัชนีผลิตภาพแรงงานของไทย

(Labour Productivity Index)

Table 3: Average Growth of Labour Productivity (constant 1990 US$ at PPP)

1980s 1990s 2000s

Cambodia 1.4 1.9 4.6

Vietnam 2.9 5.1 4.8

India 3.0 3.8 4.6

China 4.8 5.6 10.3

Philippines -1.5 0.4 2.6

Indonesia 0.7 2.9 4.3

Thailand 3.9 5.2 2.6

Malaysia 2.4 3.9 3.7

Korea 6.1 4.7 3.1

Taiwan 4.5 4.8 2.4

Singapore 3.9 3.2 2.2 Source: Key Indicators of Labour Market (KILM), International Labour Organization (ILO).

นอกจากนี้ การเปล่ียนแปลงโครงสรางประชากรของไทยสงผลใหอัตราการเขาสูกําลังแรงงาน5 (Labour force participation rate) ของไทยลดต่ําลงตอเน่ือง โดยปจจุบันอยูที่รอยละ 72.9 เทียบกับในชวงทศวรรษ 1980 ซ่ึงอยูที่รอยละ 81.5 โดยกลุมอายุที่เขาสูกําลังแรงงานลดลงมาก คือ ชวงอายุ 15-24 ป โดยปจจุบันอยูที่รอยละ 48.4 เทียบกับในอดีตที่เคยสูงถึงรอยละ 77.9 (ตารางที่ 4) ดังน้ัน การพัฒนาคุณภาพแรงงานเพ่ือชดเชยการลดลงของสัดสวนประชากรวัยแรงงานจึงเปนปจจัยสําคัญที่จะชวยใหประเทศไทยมีการขยายตัวทางเศรษฐกิจไดอยางตอเนื่อง

5 Labour force participation rate is a measure of the proportion of a country’s working age population that engages actively in

the labour market, either by working or looking for work (ILO : Guide to Understanding Key Indicators of the Labour Market (KILM)).

Table 4: Labour Force Participation Rate (%)

Age Group 1980s 1990s 2000s 2009

15+ 81.5 75.9 73.3 72.9

15-24 77.9 64.8 50.6 48.4

25-64 90.4 87.1 87.3 87.4

65+ 28.2 29.4 30.1 30.5

Source: Key Indicators of Labour Market (KILM), International Labour Organization (ILO). 0

2

4

6

Jan 2003

Jan 2004

Jan 2005

Jan 2006

Jan 2007

Jan 2008

Jan 2009

Jan 2010

Total Less than SecondaryTertiary level

Figure 6: Unemployment rate by Education

%

Source: Labour Force Survey, The National Statistical Office (NSO).Note: Compiled by BOT.

Page 11: 20101228 labour productivity Index - Bank of Thailand...3 ด ชน ผล ตภาพแรงงานของไทย (Labour Productivity Index) บทค ดย อ ผล

11 ดัชนีผลิตภาพแรงงานของไทย

(Labour Productivity Index)

3. การเผยแพรขอมูลสถิติแรงงานของธนาคารแหงประเทศไทย

ปจจุบัน หนวยงานหลักที่ทําการเผยแพรขอมูลสถิติแรงงาน ไดแก สํานักงานสถิติแหงชาติและกระทรวงแรงงาน โดยขอมูลหลักที่ทําการเผยแพรผานเว็บไซตของ ธปท. ไดแก ภาวะการทํางานของประชากรเทานั้น แตจากความสําคัญของขอมูลแรงงานดังที่กลาวมาขางตน รวมทั้ง ยังมีขอมูลที่ไดจากการสํารวจภาวะแรงงาน (Labour Force Survey: LFS) อีกหลายสวนที่ไมไดทําการเผยแพรเพ่ือใหอยูในรูปแบบที่สะดวกตอการใชงาน อาทิ คาตอบแทนในการทํางานของลูกจาง การวางงานจําแนกตามระดับการศึกษา หรือขอมูลผลิตภาพแรงงานที่ ธปท. จัดทําเพิ่มเติม

ธปท. จึงไดเพ่ิมเติมการเผยแพรขอมูลสถิติดานแรงงานซ่ึงการมีตารางมาตรฐานเพ่ือเผยแพรขอมูลที่มีความตองการใชงานอยางแพรหลายจะชวยใหขอมูลการสํารวจภาวะแรงงานถูกนําไปใชประโยชนอยางคุมคามากข้ึน มิใชแตเฉพาะเพ่ือประโยชนตอการดําเนินนโยบายเทาน้ัน ยังรวมถึงการพัฒนาองคความรูและงานวิจัยดานแรงงานของประเทศอีกดวยโดยจะเร่ิมเผยแพรขอมูลใหมในวันที่ 30 ธันวาคม 2553 เปนตนไป ซ่ึงประกอบดวยขอมูล 8 ตารางดังน้ี6

1. ผูมีงานทํา จําแนกตามสถานภาพทํางาน (EC_RL_010) 2. ผูมีงานทํา จําแนกตามการศึกษา (EC_RL_011) 3. ผูมีงานทํา จําแนกตามอาชีพ (EC_RL_012) 4. จํานวนผูมีงานทํา จําแนกตามชั่วโมงทํางานตอสัปดาห (EC_RL_013) 5. คาจางแรงงงานเฉล่ีย จําแนกตามอุตสาหกรรม (EC_RL_014) 6. ผูวางงาน จําแนกตามอุตสาหกรรมที่เคยทํา (EC_RL_015) 7. ผูวางงาน จําแนกตามการศึกษา (EC_RL_016) 8. ดัชนีผลิตภาพแรงงาน (EC_EI_029)

สําหรับขอมูลใน 7 ตารางแรกจะเผยแพรขอมูลเปนรายเดือนและสําหรับขอมูลดัชนีผลิตภาพแรงงานเผยแพรเปนรายไตรมาส นอกจากน้ี ธปท. อยูระหวางพิจารณาปรับปรุงขอมูลอื่นๆ ที่เก่ียวของกับตลาดแรงงานและมีความเปนตอการติดตามภาวะเศรษฐกิจและการดําเนินนโยบายมหภาค

6 ตารางที่ 1- 7 : http://www.bot.or.th/Thai/Statistics/EconomicAndFinancial/RealSector/Pages/Index.aspx ตารางที่ 8: http://www.bot.or.th/Thai/Statistics/EconomicAndFinancial/EconomicIndices/Pages/StatRealsectorIndices.aspx

Page 12: 20101228 labour productivity Index - Bank of Thailand...3 ด ชน ผล ตภาพแรงงานของไทย (Labour Productivity Index) บทค ดย อ ผล

12 ดัชนีผลิตภาพแรงงานของไทย

(Labour Productivity Index)

เอกสารอางอิง

Bureau of Labor Statistics Major Sector Productivity and Costs, Technical Information About the BLS Major Sector Productivity and Costs Measures: USA, 2008.

Matthew Barnes and Mark Williams, UK official productivity estimates: review of methodology: Office for National Statistics, 2004.

F. Bazzazan, Benchmarking of Sectoral Productivity Changes in Iran, June 2010.

Athena Belegri-Roboli, Panayotis Michealides & Maria Markaki, Input-Output Modelling of Labour Productivity and the Working time in Greece, National Technical University of Athens, 2007.

Theo S. Eicher & Thomas Strobel, Germany’s Continued Productivity Slump : An Industry Analysis, IFO Working Papers No.58, March 2008.

Ramon Gomez-Salvador and others, Labour Productivity Developments in the Euro Area, Occasional Paper series No.53, October 2006.

International Labour Office, Guide to Understanding Key Indicators of the Labour Market (KILM).

Mustapha Kaci and Jean-Pierre Maynard, Canadian Quarterly Productivity Accounts Technical Notes, Micro-Economic Analysis Division : Canada

K. Nomura & E. Lau, Reading productivity and Economic Trends, APO Productivity Databook 2008,

สราวุธ ไพฑูรยพงษ การสัมมนาวิชาการประจําป 2551, คุณภาพแรงงานไทย (An overview of Thailand’s Quality of Labor), สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย, พฤศจิกายน 2551

สิริพร ชิดสวน: สารนิพนธ, ปจจัยที่มีอิทธิพลตอผลิตภาพแรงงานในประเทศไทย: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, ตุลาคม 2552

ศุภเจตน จันทรสาสน, ผลิตภาพของปจจัยการผลิตโดยรวมและผลิตภาพแรงงานของประเทศไทย : นัยตอโอกาศทางเศรษฐกิจของประเทศไทยภายใตประชากรสูงวัย, คณะเศรษฐศาสตร มหาวิทยาลัยกรุงเทพ