52
เอกสารสรุปเนื้อหาวิชา หลักกฎหมาย และรวมฎีกาที่นาสนใจ ประกอบการศึกษา และเตรียมตัวสอบเนติบัณฑิต ภาค สมัยที๖๒ กลุมวิชาประมวลกฎหมายอาญา เลมทีโดย WWW.TUI-NA100.COM ติว-เน 100 ดอทคอม เว็บติว เพื่อเปนเนติบัณฑิตไทย โดย เนติบัณฑิตไทย

เอกสารสรุปเนื้อหา วิชาประมวลกฎหมายอาญา เล่มที่ ๑

Embed Size (px)

DESCRIPTION

เอกสารสรุปเนื้อหาวิชากลุ่มวิชาประมวลกฎหมายอาญา เล่มที่ ๑ หลักกฎหมาย และรวมฎีกาที่น่าสนใจ ประกอบการศึกษา และเตรียมตัวสอบเนติบัณฑิต ภาค ๑ สมัยที่ ๖๒

Citation preview

Page 1: เอกสารสรุปเนื้อหา วิชาประมวลกฎหมายอาญา เล่มที่ ๑

เอกสารสรุปเนื้อหาวิชา หลักกฎหมาย และรวมฎีกาที่นาสนใจ ประกอบการศึกษา และเตรียมตัวสอบเนติบัณฑิต

ภาค ๑ สมัยที่ ๖๒

กลุมวิชาประมวลกฎหมายอาญา เลมที่ ๑

โดย

WWW.TUI-NA100.COM ติว-เน 100 ดอทคอม เว็บติว เพื่อเปนเนติบัณฑิตไทย

โดย เนติบัณฑิตไทย

Page 2: เอกสารสรุปเนื้อหา วิชาประมวลกฎหมายอาญา เล่มที่ ๑

เอกสารสรุปเนื้อหาวิชา หลักกฎหมาย และรวมฎีกาที่นาสนใจ ประกอบการศึกษา และเตรียมตัวสอบเนติบัณฑิต

ภาค ๑ สมัยที่ ๖๒

กลุมวิชาประมวลกฎหมายอาญา เลมที่ ๑

รวบรวม โดย

WWW.TUI-NA100.COM ติว-เน 100 ดอทคอม เว็บติว เพื่อเปนเนติบัณฑิตไทย

โดย เนติบัณฑิตไทย

บรรณานุกรม ๑. รวมคําบรรยายภาคหนึง่ จัดพิมพโดย สํานักอบรมศึกษากฎหมายแหงเนติบัณฑติยสภา

๒. คําพิพากษาศาลฎีกา จัดพิมพโดย สาํนักงานสงเสรมิตุลาการ ๓. คําพิพากษาศาลฎีกา จัดพิมพโดย สาํนักอบรมศึกษากฎหมายแหงเนติบัณฑิตยสภา ๔. ขอสอบเนติบัณฑิตยสภา

๕. ขอสอบอัยการผูชวย ๖. ขอสอบผูชวยผูพิพากษา

Page 3: เอกสารสรุปเนื้อหา วิชาประมวลกฎหมายอาญา เล่มที่ ๑

คํานํา การที่จะศกึษากฎหมายใหประสบความสําเร็จนั้น ส่ิงแรกที่นักศกึษากฎหมายตองมี และผูเขียนเชือ่วานักศกึษาทกุคนตองเหน็ดวยกับผูเขียน นั่นก็คือ ความพยายาม เพราะกฎหมายมเีนื้อหา รายละเอียดมาก มาย และเปนเรื่องของความเขาใจ และความจํา และในการทดสอบความรูนั้น ก็จะใชวิธีการเขียนตอบ โดย อางหลักกฎหมายในเรื่องทีต่อบนั้น และตองอธิบายหลักกฎหมายในเรื่องที่ถามนั้นไดดวย รวมทัง้ตองสรุป ใหได และถูกตองดวยวา ขอเท็จจริงตามปญหานั้น เมื่อปรับกับหลักกฎหมายแลว ผลเปนอยางไร ซ่ึงไมใช ของงายเลย แตก็ไมใชส่ิงที่ยากเกินความสามารถ และเกินความพยายาม ของนักศกึษากฎหมายที่มีความมุงมั่น มีเปาหมายที่แนนอน และพยายามกาวไปสูเปาหมายนั้นอยางไมหยุดยั้ง ซ่ึงผูเขียนก็เชื่อเชนนั้น และ ขอเปนกําลังใจใหกับทานทัง้หลายเหลานัน้ ใหมกีําลังใจที่จะฝาฟนตอไป จนกวาจะถึงวันนั้น และเพื่อเปน การชวยเหลือใหเปนรูปธรรม ผูเขียนจึงไดรวบรวมเนื้อหาวิชา หลักกฎหมาย และรวมฎีกาที่นาสนใจ ในกลุมวิชาประมวลกฎหมายอาญาเลมนี้ขึ้นมา เพื่อใหนักศึกษาไดทําความเขาใจ และเมือ่ไดทําความเขาใจดีแลว กจ็ะนําไปสูการจดจําทีเ่ปนระบบ ซ่ึงจะเปนผลดตีอนักศึกษาอยางมาก เมื่อตองการนํากฎหมายในเร่ืองนั้น ๆ ไปใชก็สามารถนึกออกมาไดทนัที และเมื่อทานไดทําความเขาใจเปนอยางดีกอนแลว จึงมีการจดจําอยางเปนระบบแลว ทานจะจดจําไดนานไมมีวนัลืม ไมวาเวลาจะลวงเลยไปนานสักเพียงใด ถึงแมจะเปนเชนนีก้็ตาม ทานทั้งหลาย ซ่ึงเปนนกักฎหมายทีต่องการประสบความสําเร็จในวชิาชีพนี้ กย็ังตองหมั่นทบทวน และ จําโครงสรางของกฎหมายในแตละมาตรา อยางสม่ําเสมอ เพื่อใหเกิดความแมนยําซ่ึงจะนําไปสูความมั่นใจ ในเวลาที่จะตองนํากฎหมายไปใชในการทํางาน ใชในชวีิตประจําวนั รวมทั้งการตอบขอสอบไดอยางรวดเร็ว ถูกตอง ดังนัน้เอกสารชุดนี ้ จึงจัดทําขึ้นเพื่อชวยเหลือผูที่ไมคอยจะมีเวลาอานคําบรรยายจํานวนมาก ๆ ไมมีเวลาติดตามคนควาคําพพิากษาฎกีาทีน่าสนใจ รวมทั้งผูที่อยูตามตางจังหวัดที่ไมมีโอกาสที่จะทราบขาวคราวความเคลือ่นไหวตาง ๆ ที่เกิดขึ้นที่สํานักอบรม ฯ โดยเฉพาะชวงใกลจะสอบ ซ่ึงจะเกดิความไดเปรียบเสียเปรยีบกัน ซ่ึงผูเขียนไมอยากใหเปนเชนนัน้ โดยสวนนี้ผูเขียนจะไดรวบรวมไวใน ติวกอนสอบ และจัดสงใหแกทานสมาชิกทุกทานกอนสอบอยางแนนอน แตผูจัดทํามีเร่ืองที่จะขอรองทานสมาชิกทุกทานอยูเร่ืองหนึ่ง นัน่ก็คอื เมื่อในขณะนี้ทานสมาชิก ทุกทานเปน วาที่ เนติบัณฑิตไทยแลว ซ่ึงจะตองเตรียมตวั และเตรียมใจ เพื่อที่จะเปนเนติบณัฑิตไทยไดอยางเต็มภาคภมูิ นั่นคือทานสมาชิกทุกทานตองมีจริยธรรมดวย ซ่ึงเปนสิ่งสําคัญยิ่งสําหรับเนติบณัฑิตไทย ซ่ึงสังคมยอมรับวาเปนผูมีเกยีรติ ใหการยกยองนับถือ ในความรูความสามารถทางดานกฎหมาย รวมทั้ง ความซื่อสัตยสุจริต ผูเขียนจึงอยากจะขอรองทานสมาชิกทั้งหลาย ซ่ึงไดรูกฎหมายทรัพยสินทางปญญา จากการศึกษาเลาเรียนมาแลวเปนอยางดี ยอมจะทราบถึง ผลรายของการละเมิดทรัพยสินทางปญญาขอ หนึ่ง และเปนขอที่สําคัญมาก นั่นก็คือ ทาํใหผูที่สรางสรรคส่ิงดี ๆ และเปนประโยชน ตองทอแท และ หมดกําลังใจทีจ่ะสรางสรรคส่ิงดี ๆ และเปนประโยชนตอไป ซึ่งก็จะสงผล สะทอนกลับสู ผูละเมิดทั้ง หลายเอง และคนดี ๆทั่วไปดวย คือ จะไมมีส่ิงดี ๆ และเปนประโยชนเกิดขึ้นอกีตอไป ในที่สุด จึงใคร ขอรองทาน วาท่ี เนติบัณฑติไทยทุกทาน ไดโปรดอยาถายสําเนาเอกสารนี้ แจกจายใหแกผูอ่ืนเด็ดขาด

ติว-เน100 ดอทคอม

Page 4: เอกสารสรุปเนื้อหา วิชาประมวลกฎหมายอาญา เล่มที่ ๑

สารบัญ

หนา ปญหาขอกฎหมายท่ีนาสนใจ จากบทบรรณาธิการในรวมคําบรรยายฯ เลมท่ี ๑ กลุมวิชากฎหมายอาญา ประกอบดวย กฎหมายตาง ๆ ๑ การใชกฎหมายอาญา ๒ ขอบเขตของการใชกฎหมายอาญา ๘ ความผดิท่ีกระทําในเรือไทยหรืออากาศยานไทย ๘ ความผดิท่ีการกระทําบางสวนไดกระทําในราชอาณาจักร ๙ ความผดิท่ีผลของการกระทําเกิดในราชอาณาจักร ๙ การตระเตรียมหรือการพยายามกระทําความผิด ตามมาตรา ๕ วรรคสอง ๙

การกระทําของตัวการ ผูสนบัสนุน หรือผูใช ๑๐ หลักตามมาตรา ๖ ๑๐ หลักอํานาจลงโทษสากล ๑๐ ขอสังเกตเกี่ยวกับมาตรา ๘ ๑๑ หลักลงโทษโดยยึดหลักบุคคล ตามมาตรา ๙ ๑๒ ขอสังเกตเกี่ยวกับมาตรา ๑๐ ๑๒ ตัวอยางคําถามคําตอบ ๑๔ คําถามการบาน ขอ ๑. ๒๐ มาตรา ๑๘ โทษตามกฎหมายอาญา ๒๑ มาตรา ๒๑ การคํานวณโทษจําคุก ๒๓ มาตรา ๒๒ การเริ่มนับโทษ และนับโทษตอ ๒๓ มาตรา ๒๓ เปล่ียนโทษจําคุกเปนกักขัง ๒๗ มาตรา ๒๗ เปล่ียนคืนโทษกกัขังเปนจําคุก ๒๗ มาตรา ๓๐/๑ การขอทํางานแทนคาปรับ ๒๙ โทษริบทรัพยสิน ๓๐ ตัวอยางคําถามคําตอบ ๔๑

คําถามการบาน ขอ ๒. ๔๔ เอกสารชุดนีม้ีจาํนวนทั้งสิ้น ๔๖ หนา หากขาดตก บกพรอง ไมครบถวน กรุณาแจงไดที่ ติว-เน 100 ดอทคอม

หรือที่

[email protected]

Page 5: เอกสารสรุปเนื้อหา วิชาประมวลกฎหมายอาญา เล่มที่ ๑

ปญหาขอกฎหมายท่ีนาสนใจ จากบทบรรณาธิการในรวมคําบรรยาย เลมท่ี ๑ ภาค ๑ สมัยท่ี ๖๒ จัดพิมพโดยสาํนักอบรมศึกษากฎหมายแหงเนติบัณฑติยสภา

คําถาม การถายสําเนาธนบัตรฉบับละ ๑,๐๐๐ บาท ของจริงลงในกระดาษธรรมดาแลวตัดกระดาษใหมีขนาดเทาของจริง จะมีความผิดฐานทําบัตรใหมีลักษณะและขนาดคลายคลึงกับเงินตราตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๒๔๙ หรือไม คําตอบ มีคําพิพากษาฎีกาวินิจฉัยไวดังนี้ คําพิพากษาฎีกาที่ ๒๘๒๘/๒๕๕๑ ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๒๔๙ มิไดบัญญัติไวดวยวา การทําบัตรใหมีลักษณะและขนาดคลายคลึงกับเงินตรา ตองกระทําเพื่อใหผูอ่ืนเชื่อวาเปนธนบัตรท่ีแทจริง แต คําวาคลายคลึง แสดงวาเกือบเหมือน หรือไมตองเหมือนทีเดียว เพียงแตมีลักษณะสีสันรูปรางและขนาดคลายเงินตราที่แทจริงก็เปนความผิดตามมาตรานี้ แตสําเนาธนบัตรท่ีจําเลยทําขึ้นเกิดจากการถายสําเนาธนบัตรฉบับละ ๑,๐๐๐ บาท ของจริงลงในกระดาษธรรมดา สีสันในสวนสําเนาธนบัตรเปนสีขาว มิไดมีสีสันเหมือนธนบัตรฉบับจริง แมวาขนาดของกระดาษจะเทาของจริง เม่ือวิญูชนท่ัวไปดูแลวยอมทราบไดทันทีวาไมใชธนบัตรท่ีแทจริง ยอมถือไมไดวาจําเลยทําบัตรใหมีลักษณะและขนาดคลายคลึงกับเงินตรา คําถาม สําคัญผิดในขอเท็จจริงวามีเหตุจําตองกระทําเพื่อปองกัน แตกระทําโดยปองกันอันเกินกวากรณีแหงการจําตองกระทําเพื่อปองกัน หากความสําคัญผิดเกิดขึ้นโดยความประมาท ผูกระทําจะมีความผิดอยางใด คําตอบ มีคําพิพากษาฎีกาวินิจฉัยไวดังนี้ คําพิพากษาฎีกาท่ี ๔๙๖๘/๒๕๕๑ จําเลยสําคัญผิดวาผูตายกับพวกจะเขามาลักผลไมในไรและผูตายเดินเขามาจะทํารายจําเลย แตผูตายไมไดมีอาวุธหรือพูดขมขูหรือมีกิริยาอาการวาจะทํารายจําเลยโดยวิธีใด อันจะทําใหจําเลยไดรับอันตรายรายแรง หากจําเลยเพียงแตยิงขูก็นาจะเปนการเพียงพอที่จะทําใหผูตายเกรงกลัวและหลบหนีไปได เพราะผูตายมิใชคนราย การท่ีจําเลยใชอาวุธปนลูกซองยาวยิงผูตายที่บริเวณหนาทอง ๑ นัด จนผูตายลมลงแลวจําเลยยังใสกระสุนปนลูกซองเขาไปใหมแลวยิงผูตายที่ศีรษะซํ้าอีก ๑ นัด จนถึงแกความตาย จึงเปนการกระทําโดยปองกันอันเกินกวากรณีแหงการจําตองกระทําเพื่อปองกัน ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๖๙ และ ความสําคัญผิดของจําเลยเกิดขึ้นโดยความประมาท เนื่องจากมิไดใชความระมัดระวังพิจารณาใหรอบคอบวาผูตายกับพวกเปนคนรายจริงหรือไม จําเลยจึงมีความผิดฐานกระทําโดยประมาทเปนเหตุใหผูอ่ืนถึงแกความตายตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๒๙๑ โดยผลของมาตรา ๖๒ วรรคสองดวย เปนความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๒๘๘ ประกอบดวยมาตรา ๖๙ และ ๖๒ วรรคแรก กับมาตรา ๒๙๑ ประกอบดวยมาตรา ๖๒ วรรคสอง อันเปนกรรมเดียวเปนความผิดตอกฎหมายหลายบท ลงโทษตามมาตรา ๒๘๘ ประกอบดวยมาตรา ๖๙ และ ๖๒ วรรคแรกซึ่งเปนบทที่มีโทษหนักท่ีสุดเพียงบทเดียวตามมาตรา ๙๐

Page 6: เอกสารสรุปเนื้อหา วิชาประมวลกฎหมายอาญา เล่มที่ ๑

กลุมวิชากฎหมายอาญา สําหรับกลุมวิชากฎหมายอาญานี้ ประกอบดวย กฎหมายตาง ๆดังตอไปนี้

๑. กฎหมายอาญา กฎหมายแรงงาน กฎหมายภาษีอากร กฎหมายรัฐธรรมนูญ และ กฎหมาย ปกครอง จะมีการออกขอสอบรวม ๑๐ ขอ

โดยจะออกเปนขอสอบกฎหมายอาญา ๖ ขอ กฎหมายภาษีอากร กฎหมายแรงงาน กฎหมายรัฐธรรมนูญ และกฎหมายปกครองวิชาละ ๑ ขอ นั้นมีรายละเอียดดังตอไปนี้

ขอ ๑ จะเปนคําถามกฎหมายอาญาที่ถามเกี่ยวกับ มาตรา ๑ ถึง มาตรา ๕๘ และ มาตรา ๑๐๗ ถึง มาตรา ๒๐๘

ขอ ๒ และ ขอ ๓ จะเปนคําถามกฎหมายอาญาที่ถามเกี่ยวกับ มาตรา ๕๙ ถึง มาตรา ๑๐๖

ขอ ๔ จะเปนคําถามกฎหมายอาญาที่ถามเกี่ยวกับ มาตรา ๒๐๙ ถึง มาตรา ๒๘๗

ขอ ๕ และขอ ๖ จะเปนคําถามกฎหมายอาญาที่ถามเกี่ยวกับ มาตรา ๒๘๘ ถึง มาตรา ๓๖๖

ขอ ๗ จะเปนคําถามเกี่ยวกับกฎหมายภาษีอากร

ขอ ๘ จะเปนคําถามเกี่ยวกับกฎหมายแรงงาน

ขอ ๙ จะเปนคําถามเกี่ยวกับกฎหมายรัฐธรรมนูญ

ขอ ๑๐ จะเปนคําถามเกี่ยวกับกฎหมายปกครอง

ดังนั้นในเลมแรกนี้ จึงขอกลาวถึงในสวนแรกของวิชานี้กอนคือ ในสวนของกฎหมายอาญามาตรา ๑ ถึง มาตรา ๕๘ นั้น แบงเปนหลายสวนดังนี้ คือ

มาตรา ๑ ถึง มาตรา ๑๑ เปนเรื่องการใชกฎหมายอาญา มาตรา ๑๗ เปนบทบัญญัติใหนําประมวลกฎหมายอาญาภาคหนึ่งไปใชกับกฎหมายอาญาอื่น มาตรา ๑๘ ถึง มาตรา ๓๘ เปนเรื่องโทษ มาตรา ๓๙ ถึง มาตรา ๕๐ เปนเรื่องวิธีการเพื่อความปลอดภัย มาตรา ๕๑ ถึง มาตรา ๕๘ เปนเรื่องการรอการลงโทษ การเพิ่มโทษ และการลดโทษ

Page 7: เอกสารสรุปเนื้อหา วิชาประมวลกฎหมายอาญา เล่มที่ ๑

การใชกฎหมายอาญา ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๒ วรรคแรก บัญญัติวา “ บุคคลจักตองรับโทษในทางอาญาตอเม่ือไดกระทําการอันกฎหมายที่ใชในขณะกระทํานั้นบัญญัติเปนความผิดและกําหนดโทษไว และโทษที่จะลงแกผูกระทําความผิดนั้น ตองเปนโทษที่บัญญัติไวในกฎหมาย ” จากบทบัญญัติมาตรา นี้ ทําใหเกิดหลักพื้นฐานของการใชกฎหมายอาญาขึ้น ๓ ประการ ไดแก

๑. การจะลงโทษบุคคลใดไดตองมีกฎหมายบัญญัติเปนความผิด และกําหนดโทษไวจึงจะลงโทษผูนั้นได ๒. กฎหมายอาญาตองตีความหรือแปลความโดยเครงครัด

๓. กฎหมายอาญาไมมีผลยอนหลัง ๑. การจะลงโทษบุคคลใดได จะตองมีกฎหมายบัญญัติเปนความผิดและกําหนดโทษไว

คําพิพากษาฎีกาท่ี ๓๖๔๓/๒๕๒๖ มาตรา ๒ บัญญัติวา บุคคลใดจักตองรับโทษในทางอาญา ตอเมื่อไดกระทําการอันกฎหมายที่ใชในขณะกระทํานั้นบัญญัติเปนความผิด และกําหนดโทษไว ดังนั้นเมื่อ มาตรา ๒๑๗ บัญญัติไวโดยชัดแจงวาการวางเพลิงเผาทรัพยของผูอ่ืนเปนความผิด ไมมีขอความวา “ หรือผูอ่ืนเปนเจาของรวมอยูดวย” ก็เปนความผิดแลว จะตีความคําวา “ ทรัพยของผูอ่ืน ” ใหรวมถึงทรัพยท่ีผูอ่ืนเปนเจาของรวมอยูดวยยอมไมได เพราะการตีความบทกฎหมายที่มีโทษทางอาญา จะตองตีความโดยเครงครัด จะขยายความออกไปถึง กรณีที่ไมไดระบุไวในตัวบทโดยชัดแจง เพื่อใหเปนผลรายแกจําเลยหรือผูตองหาไมได เพราะเปนการขัดตอหลักกฎหมายวาดวยความผิดของบุคคลในทางอาญา ดังที่ไดบัญญัติไวใน มาตรา ๒ ดังกลาวแลว

๒. กฎหมายอาญาตองตีความหรือแปลความโดยเครงครัด หลักการตีความโดยเครงครัดเปนการหามมิใหศาลขยายความตามชอบใจ แตถากรณีตีความโดย

ขยายความเปนการตีความตามความมุงหมายแหงกฎหมายตามที่ปรากฏจากตัวบทกฎหมายเองแลว ศาลยุติธรรมก็ชอบที่จะทําได ดังนั้น

คําพิพากษาฎีกาที่ ๘๗๗/๒๕๐๑ วินิจฉัยวา การลักกระแสไฟฟา เปนความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๓๓๔

คําพิพากษาฎีกาท่ี ๑๘๘๐/๒๕๔๒(ประชุมใหญ) วินิจฉัยวา จําเลยตอพวงสายโทรศัพทจากตูโทรศัพทสาธารณะมาใชและใชโทรศัพทฟรี เปนการลักเอาสัญญาณโทรศัพทจากตูโทรศัพทสาธารณะซึ่งอยูในความครอบครองขององคการโทรศัพทแหงประเทศไทยไปใชเพื่อประโยชนของจําเลยโดยทุจริต เปนความผิดฐานลักทรัพย

Page 8: เอกสารสรุปเนื้อหา วิชาประมวลกฎหมายอาญา เล่มที่ ๑

คําพิพากษาฎีกาท่ี ๕๓๕๔/๒๕๓๙ วินิจฉัยวาจําเลยนําโทรศัพทมือถือมาจูนและกอบปสัญญาณคลื่นโทรศัพทดังกลาวของผูเสียหาย เอาไปใชรับสงวิทยุโทรคมนาคมโดยไมไดรับอนุญาตนั้น เปนเพียงการทําการรับสงวิทยุคมนาคมโดยอาศัยคล่ืนสัญญาณโทรศัพทของผูเสียหายโดยไมไดรับอนุญาตอันเปนการแยงใชคลื่นสัญญาณโทรศัพทของผูเสียหายโดยไมมีสิทธิ ไมใชเปนการเอาทรัพยของผูอ่ืนไปโดยทุจริต จึงไมเปน ความผิดฐานลักทรัพย ตาม ป.อ. มาตรา ๓๓๔

๓. กฎหมายอาญาไมมีผลยอนหลัง หลักขอนี้มาจากถอยคํา ในมาตรา ๒ นั่นเอง ในคําที่วา “ อันกฎหมายที่ใชในขณะกระทํานั้น” คําพิพากษาฎีกาท่ี ๒๔๐๖/๒๕๒๓ วินิจฉัยวา จําเลยเขาไปยึดถือครอบครองทําประโยชนในที่ดินในที่ เกิดเหตุกอนกฎกระทรวงกําหนดเขตใหเปนปาสงวนแหงชาติใชบังคับ การกระทําของจําเลยจึงไมเปนความผิด ศาลมีอํานาจยกฟองไดเลย คําพิพากษาฎีกาท่ี ๒๑๕๙/๒๕๔๕ ขณะกระทําผิดพระราชบัญญัติบัตรประจําตัวประชาชนกําหนดให ผูกระทําผิดไดแก “ ผูไมมีสัญชาติไทย” ตอมาแกไขเปน “ ผูใด” ซ่ึงอาจมีหรือไมมีสัญชาติไทยก็ผิดได ดังนี้ เมื่อจําเลยมีสัญชาติไทยตามกฎหมายเดิม จึงขาดองคประกอบความผิด แมจําเลยใหการรับสารภาพก็ลงโทษจําเลยไมได คําพิพากษาฎีกาท่ี ๑๔๖๖-๑๔๖๗/๒๕๒๖ วินิจฉัยวาจําเลยดัดแปลงตอเติมอาคารกอนพระราชบัญญัติ ควบคุมอาคาร พ.ศ. ๒๕๒๒ใชบังคับ ขณะกระทํานั้นไมฝาฝนกฎหมายที่ใชในขณะที่จําเลยดัดแปลงอาคาร จะนํากฎหมายใหมมาลงโทษจําเลยไมได

ขอยกเวนกฎหมายยอนหลังไดถาไมใชโทษทางอาญา ซ่ึงก็มาจากคําในมาตรา ๒ ท่ีวา จักตองรับ

“โทษทางอาญา” คําพิพากษาฎีกาที่ ๒๑๙/๒๕๓๙ วินิจฉัยวา พ.ร.บ. ปองกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบในวงราชการ พ.ศ. ๒๕๑๘ มาตรา ๒๐ ที่บัญญัติใหศาลสั่งใหทรัพยสินที่เจาหนาที่ของรัฐไดมาโดยมิชอบตกเปนของแผนดินนั้น เปนเพียงวิธีการที่จะปองกัน และ ปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบในวงราชการ อันเปนวิธีการทางวินัยเทานั้น มิใชเปนการลงโทษแกผูกระทําความผิดทางอาญาอันจะตองอยูภายใตบังคับของหลักกฎหมายที่วาบุคคลจักตองรับโทษในทางอาญาตอเมื่อกระทําการอันกฎหมายที่ใชในขณะนั้น บัญญัติเปนความผิด และไดกําหนดโทษไว ดังนั้น กฎหมายนี้ยอนหลังไปบังคับถึงทรัพยสินของเจาหนาท่ีของรัฐท่ีไดมาโดยมิชอบและยังคงมีอยูในขณะที่กฎหมายนี้ใชบังคับได การเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งเพื่อมิใหกรรมการบริหารพรรคการเมืองท่ีกอใหเกิดความเสียหายแกบานเมืองมีโอกาสจะกระทําความผิดซ้ําอีกในชวงระยะเวลาหนึ่ง มิใชการลงโทษทางอาญาจึงมีผลยอนหลังได

Page 9: เอกสารสรุปเนื้อหา วิชาประมวลกฎหมายอาญา เล่มที่ ๑

คําวินิจฉัยของคณะตุลาการรัฐธรรมนูญท่ี ๓-๕/๒๕๕๐ ประกาศคณะปฏิรูปการปกครองฯ ฉบับที่ ๒๗ ขอ ๓. ที่ใหเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของกรรมการบริหารพรรคการเมืองมีกําหนด ๕ ป นับแตวันที่มีคําสั่งใหยุบพรรคเพราะเหตุกระทําการตองหามตาม พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญวาดวยพรรคการเมือง พ.ศ. ๒๕๔๑ มาตรา ๖๖ นั้น แมเปนบทบัญญัติที่มีผลใหกรรมการบริหารพรรคการเมืองที่กระทําการตองหามกอนที่ประกาศฉบับนี้มีผลบังคับตองรับผลรายเพิ่มขึ้น แตการเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งมิใชโทษทางอาญา เปนเพียงมาตรการทางกฎหมายที่เกิดจากผลของกฎหมายที่ใหอํานาจในการยุบพรรคการเมืองที่กระทําการตองหาม เพื่อมิใหกรรมการบริหารพรรคการเมืองที่กอใหเกิดความเสียหายแกบานเมืองและการปกครองในระบอบประชาธิปไตยมีโอกาสที่จะกระทําการอันเปนการกอใหเกิดความเสียหายซ้ําอีกในชวงระยะเวลาหนึ่ง และแมสิทธิเลือกตั้งเปนสิทธิพื้นฐานของประชาชน แตการมีกฎหมายกําหนดวาบุคคลใดสมควรมีสิทธิเลือกตั้งเพื่อใหเหมาะสมแกสภาพสังคมหรือเพื่อใหการปกครองในระบอบประชาธิปไตยในสังคมนั้นดํารงอยู ยอมมีได ประกาศฉบับที่ ๒๗ ขอ ๓. จึงมีผลใชบังคับยอนหลังแกการกระทําอันเปนเหตุยุบพรรคในคดีนี้ได

ขอยกเวนกฎหมายไมมีผลยอนหลัง ประการแรก กรณีกฎหมายยกเลิกความผิดเดิมมีผลยอนหลังได คําพิพากษาฎีกาท่ี ๓๘/๒๕๑๐ วินิจฉัยวาตามพ.ร.บ.จราจรฯเดิมมีกฎหมายหามแซงซาย ตอมา พ.ร.บ

จราจรฯฉบับใหมไมมีบัญญัติเร่ืองนี้ไว การกระทําของจําเลยที่ขับรถแซงซายไวแตเดิม จึงไมเปนความผิด คําพิพากษาฎีกาท่ี ๒๗๖๓/๒๕๔๑ วินิจฉัยวา ขณะเกิดเหตุ การกระทําของจําเลยทั้งสามกับพวกเปน

ความผิดฐานเขาหรือข้ึนไปบนเกาะที่นกอีแอนทํารังอยูตามธรรมชาติ แตระหวางการพิจารณาคดีของศาลอุทธรณภาค ๓ ไดมีพระราชบัญญัติอากรรังนกอีแอน พ.ศ. ๒๕๔๐ ยกเลิก พ.ร.บ. อากรรังนกอีแอนฉบับเดิมทั้งหมด โดยไมมีบทบัญญัติใดระบุการเขาหรือข้ึนไปบนเกาะที่นกอีแอนทํารังอยูตามธรรมชาติจะตองไดรับอนุญาตจากผูรับอนุญาตเก็บรังนกอีแอน หรืออาศัยอํานาจผูไดรับอนุญาต หรือเจาหนาที่ของรัฐบาลตาม มาตรา ๖ พ.ร.บ. ฉบับเดิม และไมมีบทกําหนดโทษ เชน พ.ร.บ. ฉบับเดิม ถือไดวาตามบทบัญญัติของกฎหมายที่บัญญัติในภายหลังการกระทําเชนนั้นไมเปนความผิด จําเลยทั้งสามจึงพนจากการเปนผูกระทําผิดตาม ป.อ. มาตรา ๒ วรรค ๒

คําพิพากษาฎีกาท่ี ๒๗๕๓/๒๕๔๐(ประชุมใหญ) วินิจฉัยวา ขณะคดีอยูในระหวางพิจารณาของศาลฎีกา มีกฎหมายฉบับใหม คือพ.ร.บ. วาดวยความผิดอันเกิดจากการใชเช็ค พ.ศ. ๒๕๓๔ ออกมาใชบังคับแทน ซ่ึงการออกเช็คที่จะเปนความผิดนั้น ตองเปนการออกเช็ค เพื่อชําระหนี้ที่มีอยูจริงและบังคับไดตามกฎหมาย สวนกรณีการออกเช็คพิพาทแลวแลกเงินสด มิใชเปนการออกเช็คเพื่อชําระหนี้ที่มีอยูจริงไมเปนความผิดตาม พ.ร.บ. วาดวยความผิดอันเกิดจากการใชเช็ค พ.ศ. ๒๕๓๔ มาตรา ๔ อีกตอไป ดังนี้ คําเบิกความของจําเลยในคดีนั้น จึงไมเปนขอสําคัญในคดีอันจะเปนความผิดฐานเบิกความเท็จ

Page 10: เอกสารสรุปเนื้อหา วิชาประมวลกฎหมายอาญา เล่มที่ ๑

๕ ไมถือวากฎหมายใหมยกเลิกความผิด คําพิพากษาฎีกาที่ ๒๓๑๑-๒๓๑๒/๒๕๓๖ วินิจฉัยวา จําเลยมีความผิดฐานเขาไปยึดถือครอบครอง

ที่ดินของรัฐ ซ่ึงเปนที่ดินสาธารณสมบัติของแผนดินสําหรับประชาชนใชรวมกันโดยมิไดรับอนุญาตหรือมีสิทธิครอบครองตามประมวลกฎหมายที่ดิน ตอมาจะมีพระราชกฤษฎีกา ถอนสภาพที่ดิน อันเปนสาธารณสมบัติของแผนดินสําหรับพลเมืองใชรวมกันในทองที่ดังกลาว พระราชกฤษฎีกาดังกลาวเพียงแตมีผลทําใหที่ดิน ที่จําเลยเขาไปยึดถือครอบครองนั้น ไมมีสภาพเปนสาธารณสมบัติของแผนดินสําหรับประชาชนใชรวมกันอีกตอไปตั้งแตวันที่พระราชกฤษฎีกาดังกลาวใชบังคับเทานั้น มิใชกฎหมายที่บัญญัติใหการเขาไปยึดถือครอบครองที่ดินของรัฐซึ่งเปนสาธารณสมบัติของแผนดินสําหรับประชาชนใชรวมกันไมเปนความผิดตอไปตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๒

มีขอสังเกตเกี่ยวกับความผิดตอ พ.ร.บ. ควบคุมอาคาร วา ๑. ความผิดเกิดขึ้นแลว แมวามีการโอนอาคารพิพาทใหผูอ่ืนก็ยังเปนความผิดอยู คําพิพากษาฎีกาท่ี ๖๓๖๖/๒๕๔๑ วินิจฉัยวา เมื่อจําเลยกอสรางอาคารพิพาท โดยผิดกฎหมายและเจา

พนักงานทองถ่ินมีคําสั่งเปนหนังสือใหจําเลยรื้อถอนอาคารพิพาท จําเลยไดรับทราบคําสั่งแลวไมปฏิบัติตาม จําเลยจึงมีความผิดตามพ.ร.บ.ควบคุมอาคาร แมจําเลยจะไดโอนกรรมสิทธิ์อาคารพิพาทไปใหบุคคลภายนอก ก็ตาม ก็ไมทําใหความรับผิดในทางอาญาของจําเลยเปลี่ยนไป

๒. กอสรางผิดขณะใชกฎหมายเกา แตขัดขืนคําสั่งเจาพนักงานทองถิ่นขณะใชกฎหมายใหม ไมเขา มาตรา ๒ วรรค๒

คําพิพากษาฎีกาที่ ๓๘๘๒/๒๕๔๐ วินิจฉัยวา แมจําเลยจะกอสรางดัดแปลงอาคารผิดไปจากแบบแปลน ที่ขออนุญาตระหวางใชกฎหมายเกาก็ตาม แตตอมาไดมี พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร แกไขใหมีบทลงโทษ เมื่อขอเท็จจริงปรากฏวาจําเลยไดขัดขืนคําส่ังเจาพนักงานทองถ่ินที่ใหร้ือถอนอาคารกอสรางผิดแบบที่ขออนุญาตภายในกําหนด ๓๐ วัน หลังจากที่ พ.ร.บ.ควบคุมอาคารใชบังคับแลว หาใชเปนเรื่องการกระทําของจําเลยไมเปนความผิด หรือกฎหมายที่ใชในขณะกระทําความผิดแตกตางกับกฎหมายที่ใชในภายหลังการกระทําความผิดไม

ขอยกเวนกฎหมายไมมีผลยอนหลัง ประการที่สอง คือกฎหมายที่เปนคุณแกผูกระทําผิดตามมาตรา ๓ มีผลยอนหลังได “ ใหใชกฎหมายในสวนที่เปนคุณแกผูกระทําความผิดไมวาในทางใด ” คําพิพากษาฎีกาที่ ๑๐๔๗/๒๕๓๗ คําวา “ใหใชกฎหมายในสวนที่เปนคุณแกผูกระทําความผิดไมวาในทางใด” หมายความวา ศาลมีอํานาจหยิบเอากฎหมายทั้งฉบับเกา และ ฉบับใหม ในสวนท่ีเปนคุณแกผู กระทําผิดมาใชคละกันได

คําพิพากษาฎีกาท่ี ๑๙๙-๒๐๐/๒๕๑๖ วินิจฉัยวา กฎหมายอาญา มาตรา ๓ บัญญัติบังคับใหศาลตองใชกฎหมายในสวนที่เปนคุณบังคับแกคดี ไมใชเร่ืองใหอํานาจศาลใชดุลพินิจ

Page 11: เอกสารสรุปเนื้อหา วิชาประมวลกฎหมายอาญา เล่มที่ ๑

๖ คําพิพากษาฎีกาท่ี ๕๓๙๘/๒๕๓๓ วินิจฉัยวา หากกฎหมายเกากับกฎหมายใหมไมแตกตางกัน ตองใชกฎหมายขณะกระทําผิด คําพิพากษาฎีกาท่ี ๘๖๑/๒๕๒๔ วินิจฉัยวา กฎหมายที่บัญญัติภายหลัง ไดเปลี่ยนแปลงองคประกอบความผิด คําฟองตองบรรยายใหเขาองคประกอบตามกฎหมายใหมดวยจึงจะลงโทษได คําพิพากษาฎีกาที่ ๗๐๐/๒๕๐๒ วินิจฉัยวา การใชกฎหมายในสวนที่เปนคุณแกจําเลยนี้ เปนเหตุในสวนลักษณะคดี ศาลมีอํานาจหยิบยกวินิจฉัยถึงจําเลยที่ไมอุทธรณฎีกาไดดวย คําพิพากษาฎีกาท่ี ๖๑๔๒/๒๕๔๐ วินิจฉัยวา ขณะกระทําผิด การเสพเมทแอมเฟตามีนเปนความผิดตาม พ.ร.บ. วัตถุที่ออกฤทธิ์ตอจิตและประสาท แตตอมากฎหมายใหมใหเมทแอมเฟตามีนเปนยาเสพติดใหโทษประเภท ๑ ตาม พ.ร.บ. ยาเสพติดใหโทษ กฎหมายทั้งสองฉบับตางก็มีสวนที่เปนคุณแกผูกระทําผิด ศาลจึงตองใชกฎหมายทั้งสองฉบับในสวนที่เปนคุณนั้นมาปรับใช คือ ถาโทษขั้นสูงก็ใชตาม พ.ร.บ. วัตถุที่ออกฤทธิ์ตอจิตและประสาทซึ่งเปนคุณกวา แตถาเปนขั้นต่ํา ก็ตองใช พ.ร.บ. ยาเสพติดใหโทษเพราะตาม พ.ร.บ. ยาเสพติดใหโทษมีโทษขั้นต่ําเปนคุณกวา พ.ร.บ. วัตถุออกฤทธิ์ตอจิตและประสาท คําพิพากษาฎีกาท่ี ๕๑๗๖/๒๕๔๒ วินิจฉัยวา ความผิดฐานมียาเสพติดใหโทษในประเภท ๑ ไวในครอบครองเพื่อจําหนาย ตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดใหโทษ พ.ศ. ๒๕๒๒ มาตรา ๖๖ มีโทษหนักกวา ความผิดฐานมีวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท ๒ ไวในครอบครองเพื่อขายตาม พ.ร.บ.วัตถุที่ออกฤทธิ์ตอจิตและประสาท พ.ศ.๒๕๑๘ มาตรา ๘๙ ดังนั้นจึงตองนํากฎหมาย ที่ใชขณะกระทําความผิดซึ่งเปนคุณแกจําเลยลงโทษแกจําเลย คําพิพากษาฎีกาท่ี ๖๐๙/๒๕๔๖ วินิจฉัยวา ความผิดฐานเสพเมทแอมเฟตามีน ตาม มาตรา๙๑ แหง พ.ร.บ. ยาเสพติดใหโทษฯที่แกไขใหม มีระวางโทษจําคุกตั้งแตหกเดือนถึงสามป หรือ ปรับตั้งแตหนึ่งหมื่นบาทถึงหกหมื่นบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ แตกฎหมายเดิมมีโทษจําคุกตั้งแตหกเดือนถึงสิบปและปรับตั้งแตหาพันบาทถึงหนึ่งแสนบาท เห็นไดวา โทษจําคุกตามกฎหมายที่แกไขใหมเบากวาโทษจําคุกตามกฎหมายเดิม โทษจําคุกตามกฎหมายที่แกไขใหมจึงเปนคุณมากกวา สวนโทษปรับกฎหมายที่แกไขใหมมีระวางโทษปรับขั้นต่ําสูงกวาขั้นต่ําตามกฎหมายเดิม ดังนั้น โทษปรับขั้นต่ําตามกฎหมายเดิมจึงเปนคุณมากกวา จึงตองใชกฎหมายที่เปนคุณแกจําเลยไมวาในทางใด คําพิพากษาฎีกาท่ี ๓๖๔๐/๒๕๔๖ วินิจฉัยวา กฎหมายใหมมีระวางโทษปรับสูงกวากฎหมายเกา แตก็บัญญัติใหลงโทษจําคุกหรือปรับหรือท้ังจําท้ังปรับ แตกตางจากกฎหมายเดิม ที่กําหนดใหลงโทษจําคุกและปรับเทานั้น ตองถือวากฎหมายที่แกไขใหมเปนคุณแกจําเลยมากกวาในสวนท่ีเก่ียวกับโทษซึ่งมีหลายสถานที่จะลงไดจึงตองใชกฎหมายที่แกไขใหมในสวนที่เปนคุณบังคับแกจําเลย

Page 12: เอกสารสรุปเนื้อหา วิชาประมวลกฎหมายอาญา เล่มที่ ๑

๗ มาตรา ๓ วรรคแรก มีขอยกเวนวา เวนแตคดีถึงท่ีสุดแลว และมีขอยกเวนของขอยกเวนตาม มาตรา ๓ (๑) และ (๒) คือ “ เวนแตคดีถึงที่สุดแลว แตในกรณีท่ีคดีถึงที่สุดแลวดังตอไปนี้

(๑) ถาผูกระทําความผิดยังไมไดรับโทษ หรือกําลังรับโทษอยู และโทษที่กําหนดตามคําพิพากษาหนักกวาโทษที่กําหนดตามกฎหมายที่บัญญัติในภายหลัง เม่ือสํานวนความปรากฏแกศาล หรือเม่ือผูกระทําความ ผิด ผูแทนโดยชอบธรรมของผูนั้น ผูอนุบาลของผูนั้นหรือพนักงานอัยการรองขอ ใหศาลกําหนดโทษเสียใหม ตามกฎหมายที่บัญญัติในภายหลัง ในการที่ศาลจะกําหนดโทษใหมนี้ ถาปรากฏวาผูกระทําความผิดไดรับโทษ มาบางแลว เม่ือไดคํานึงถึงโทษตามกฎหมายที่บัญญัติในภายหลังหากเห็นเปนการสมควร ศาลจะกําหนดโทษ นอยกวาโทษขั้นต่ําท่ีกฎหมายบัญญัติในภายหลังกําหนดไวถาหากมีก็ได หรือถาศาลเห็นวาโทษที่ผูกระทําผิดไดรับมาเปนการเพียงพอ ศาลจะปลอยผูกระทําผิดไปก็ได

(๒) ถาศาลพิพากษาใหประหารชีวิตผูกระทําความผิด และตามกฎหมายที่บัญญัติในภายหลัง โทษท่ีจะลงแกผูกระทําความผิด ไมถึงประหารชีวิต ใหงดการประหารชีวิตผูกระทําความผิด และ ใหถือวาโทษประหารชีวิตตามคําพิพากษาไดเปล่ียนเปนโทษสูงสุดท่ีจะพึงลงไดตามกฎหมายที่บัญญัติในภายหลัง คําพิพากษาฎีกาท่ี ๙๗๘/๒๕๐๒ วินิจฉัยวา จําเลยทั้งสองรองขอใหศาลกําหนดโทษจําเลยเสียใหมตาม ประมวลกฎหมายอาญามาตรา ๓ (๑)นั้น จะตองเปนกรณีท่ีศาลพิพากษาลงโทษจําคุกจําเลยและคดีถึงท่ีสุดแลวกอนวันใชประมวลกฎหมายอาญา คือวันที่ ๑ มกราคม ๒๕๐๐ ถาคดีจําเลยถึงที่สุดลงเมื่อประมวลกฎหมายอาญาไดออกใชเสียแลว กรณีก็ไมอยูในบังคับ มาตรา๓ (๑) แหงประมวลกฎหมายอาญาที่ศาลจะแกกําหนดโทษเสียใหมได เมื่อเปนเชนนี้ก็ไมจําตองวินิจฉัยถึงความหนักเบาของโทษตามกฎหมายเกาใหมแตอยางใด

ขอยกเวนกฎหมายไมมีผลยอนหลัง ประการที่สาม คือ วิธีการเพื่อความปลอดภัย ตาม มาตรา ๑๒ ยอนหลังได วิธีการเพื่อความปลอดภัยตาม มาตรา ๑๒ ประมวลกฎหมายอาญายกเวนไววาใหใชกฎหมายในขณะ ที่ศาลพิพากษา โดยไมตองดูวาในขณะกระทําความผิดนั้น จะมีกฎหมายเกี่ยวกับเรื่องวิธีการเพื่อความปลอด ภัยออกใชหรือไม ถาขณะศาลพิพากษามีการบัญญัติใหนําวิธีการเพื่อความปลอดภัยมาใชก็นํามาใชได มาตรา ๑๓ เปนบทขยายของ มาตรา ๑๒ วา ผูถูกศาลใชวิธีการเพื่อความปลอดภัยบังคับอยูและตอมามีกฎหมายบัญญัติภายหลังยกเลิกวิธีการเพื่อความปลอดภัยนั้นเสีย ใหอํานาจศาลสั่งระงับการใชบังคับวิธีการเพื่อความปลอดภัย มาตรา ๑๔ หมายความวา กฎหมายที่บัญญัติในภายหลังเปล่ียนแปลงเงื่อนไขการบังคับใชวิธีการเพื่อความปลอดภัยซ่ึงไมถึงกับยกเลิกเหมือน มาตรา๑๓ แตเปนการเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขและเปนคุณแกผูกระทําความผิด ศาลสามารถสั่งตามที่เห็นสมควร

Page 13: เอกสารสรุปเนื้อหา วิชาประมวลกฎหมายอาญา เล่มที่ ๑

๘ คําพิพากษาฎีกาท่ี ๗๐๙/๒๕๐๓ วินิจฉัยวา จําเลยตองคําพิพากษาใหลงโทษกักกันตาม พ.ร.บ.กักกันผูมีสันดานเปนผูราย พ.ศ. ๒๔๗๙ ตอมาเมื่อใช ป.อ.ใหมแลว จําเลยรองขอใหยกเลิกโทษกักกันโดยที่ปรากฎวาจําเลยเคยรับโทษฐานลักทรัพยจําคุก ๖ เดือน มาครั้งหนึ่งเทานั้น สวนอีกครั้งหนึ่งนั้นตองโทษฐานทํารายรางกายที่ถูกลงโทษจําคุกเพียง ๔ เดือน ไมถึง ๖ เดือน ดังนี้ ศาลมีอํานาจตาม ป.อ. มาตรา ๑๔ ท่ีจะสั่งตามที่เห็นสมควร ศาลอาจสั่งใหยกเลิกการกักกันจําเลยได

ขอยกเวนกฎหมายไมมีผลยอนหลัง ประการที่สี่ คือ กฎหมายที่ออกภายหลังเพื่อตีความกฎหมายเดิมยอนหลังได

ตัวอยางคือ พ.ร.บ.ควบคุมคาเชาในภาวะคับขัน พ.ศ. ๒๔๘๙ ใหคํานิยามคําวา เคหะ วา หมายความถึงสิ่งปลูกสรางที่ใชเปนท่ีอยูอาศัยไมวาจะใชในการประกอบธุรกิจ การคา หรืออุตสาหกรรมดวยหรือไม และตอมามีพ.ร.บ.ควบคุมคาเชาในภาวะคับขัน พ.ศ. ๒๔๙๐มาตรา๓ ออกมาเพิ่มเติมโดยใหคํานิยามวา เคหะ ขยายออกไป หมายความวา สิ่งปลูกสรางที่ใชเปนที่อยูอาศัยโดยไมตองคํานึงวาจะใชเปนที่ประกอบธุรกิจการคาหรืออุตสาหกรรมดวยหรือไม และไมวาจะเปนสวนประธานหรือสวนอุปกรณ และมีมาตรา ๔ บัญญัติวา พ.ร.บ.นี้ใหใชบังคับแกบรรดาคดีแพงซ่ึงคางพิจารณาอยูในศาล ไมวาจะเปนศาลชั้นตน ศาลอุทธรณ หรือศาลฎีกา

ขอบเขตการใชกฎหมายอาญา มีหลักตามมาตรา ๔ , ๕ และ ๖ หลักอํานาจลงโทษสากลมาตรา ๗ หลักบุคคลตามมาตรา ๘และ๙ การคํานึงถึงคําพิพากษาของศาลในตางประเทศตามมาตรา ๑๐ และ มาตรา ๑๑

มาตรา๔ วรรค ๑ บัญญัติวา “ ผูใดกระทําความผิดในราชอาณาจักร ตองรับโทษตามกฎหมาย” ราชอาณาจักร ในทางกฎหมาย หมายถึง

๑. พื้นดิน พื้นน้ํา ภูเขา เกาะตาง ๆ ที่ประกอบเปนประเทศไทย ๒. ทะเลอันเปนอาวไทย ตามพ.ร.บ.กําหนดเขตจังหวัดในอาวไทย ตอนใน พ.ศ. ๒๕๐๒ ๓. ทะเลหางจากฝงที่เปนดินแดนของประเทศไทยไมเกิน ๑๒ ไมลทะเล หรือ ๒๒.๒๒๔ กิโลเมตร ๔. อากาศที่อยูเหนือขอ ๑ ถึงขอ ๓ สถานทูตไทยที่ตั้งอยูตามประเทศตาง ๆ ไมใชราชอาณาจักร แตอาจไดรับเอกสิทธิและความคุมกัน

ทางการทูต แตตามหลักวิชาไมถือวาเขตเศรษฐกิจจําเพาะเปนราชอาณาจักรไทยตามความหมายของ มาตรา ๔ วรรค ๑

๑. ความผิดท่ีกระทําในเรือไทยหรืออากาศยานไทย มาตรา ๔ วรรค ๒ บัญญัติวา การกระทําความผิดในเรือไทยหรืออากาศยานไทยไมวาจะอยู ณ ที่ใดใหถือวากระทําความผิดในราชอาณาจักร คําวาเรือไทย หมายถึง เรือตามที่กําหนดไวในพระราชบัญญัติ เรือไทย พ.ศ. ๒๔๘๑ มาตรา ๔ ,๘ ,๙ คําวาอากาศยานไทย หมายถึง อากาศยานตาม พ.ร.บ. การเดินอากาศ พ.ศ. ๒๔๙๙ มาตรา ๔ ,๓๐,๓๑

Page 14: เอกสารสรุปเนื้อหา วิชาประมวลกฎหมายอาญา เล่มที่ ๑

๙ ตองกระทําผิดในเรือไทยหรืออากาศยานไทย

คําพิพากษาฎีกาท่ี ๒๖๗๐/๒๕๓๕ วินิจฉัยวา เหตุ เกิดในเรือไทยถือเปนการกระทําผิดในราชอาณาจักร พนักงานสอบสวนกองปราบปรามกรมตํารวจมีอํานาจสอบสวนคดีอาญาไดทั่วราชอาณาจักรจึงมีอํานาจสอบสวนความผิดคดีนี้

๒. ความผิดท่ีการกระทําบางสวนไดกระทําในราชอาณาจักร ตามมาตรา ๕ วรรค ๑ การกระทําบางสวนไดกระทําในราชอาณาจักร แมจะเกิดผลนอกราชอาณาจักร ก็ถือวาการกระทํานี้กระทําในราชอาณาจักร เชน คนไทยท่ีอยูในประเทศไทยสั่งจายเช็คใหไปขึ้นเงินกับธนาคารไทยที่สาขาไทเป คําพิพากษาฎีกาท่ี ๕๑๐๓/๒๕๒๘ วินิจฉัยวา การออกเช็คในทองที่ใดยอมถือไดวาเปนความผิดอาญาไดกระทําลงในทองที่นั้น ตอเนื่องกันกับ การกระทําความผิดในทองท่ีธนาคารปฏิเสธการจายเงินท่ีตั้งอยูในทองท่ีอ่ืนถือวาจําเลยไดกระทําความผิดอาญาในทองที่ดังกลาวตอเนื่องกัน คําพิพากษาฎีกาที่ ๑๕๘๖/๒๕๒๖ วินิจฉัยวา จําเลยกับพวกหนวงเหนี่ยวกักขังผูเสียหายชาวมาเลเซียเพื่อเรียกคาไถ และบังคับผูเสียหายขับรถไปสงที่ชายแดนประเทศไทย เปนความผิดตอเนื่องท้ังในและนอกราชอาณาจักร คําพิพากษาฎีกาท่ี ๑๖๔๕/๒๕๓๑ วินิจฉัยวา ความผิดฐานพรากผูเยาวไปเพื่อการอนาจาร เร่ิมตั้งแตจําเลยพาผูเสียหายขึ้นรถยนต ที่ปากซอยหนาบานในประเทศไทย แมจําเลยจะรวมประเวณีกับผูเสียหายที่ประเทศญี่ปุน การกระทําของจําเลยสวนหนึ่งก็ไดเกิดในประเทศไทย

๓. ความผิดท่ีผลของการกระทําเกิดในราชอาณาจักร ตามมาตรา ๕ วรรค ๑ มาตรา ๕ วรรค ๑ ความผิดใดที่ผลแหงการกระทําเกิดในราชอาณาจักร โดยผูกระทําประสงคใหผล

นั้นเกิดในราชอาณาจักร หรือ โดยลักษณะแหงการกระทํา ผลที่เกิดขึ้นนั้นควรเกิดในราชอาณาจักร หรือยอมเล็งเห็นไดวาผลนั้นจะเกิดในราชอาณาจักรก็ดี ใหถือวาความผิดนั้นไดกระทําในราชอาณาจักร

๔. การตระเตรียม หรือ การพยายามกระทําความผิด ซ่ึงกฎหมายบัญญัติวาเปนความผิดไดกระทํานอกราชอาณาจักร แตผลจะเกิดในราชอาณาจักร ถาหากกระทําไปจนถึงขั้นความผิดสําเร็จ มาตรา ๕ วรรค ๒ บัญญัติวา ในการตระเตรียมการหรือการพยายามกระทําผิดใดซ่ึงกฎหมายบัญญัติเปนความผิด แมการกระทํานั้นจะทํานอกราชอาณาจักร ถาหากการกระทํานั้นไดกระทําไปตลอดจนถึงขั้นความผิดสําเร็จ ผลจะเกิดในราชอาณาจักร ใหถือวาการตระเตรียมการ หรือ พยายามกระทําความผิดนั้นไดกระทําในราชอาณาจักร

ดังนั้นจึงไมตองไปพิจารณา มาตรา๗ และ มาตรา ๘ เพราะกรณีของ มาตรา ๗ และ มาตรา ๘ นั้น ไมไดใหถือวากระทําผิดในราชอาณาจักร แตเปนการตองรับโทษในราชอาณาจักรสําหรับการกระทําผิดนอกราชอาณาจักร ซ่ึงเปนคนละเรื่องกัน

Page 15: เอกสารสรุปเนื้อหา วิชาประมวลกฎหมายอาญา เล่มที่ ๑

๑๐

๕. การกระทําของตัวการหรือผูสนับสนุน หรือ ผูใชใหกระทําความผิดท่ีกระทํานอกราชอาณาจักรสําหรับความผิดท่ีไดกระทําในราชอาณาจักรหรือท่ีประมวลกฎหมายอาญาใหถือวาไดกระทําในราชอาณาจักร ตามมาตรา ๖ นี้ ความผิดหลัก หรือความผิดประธาน ตองเปนความผิดท่ีเกิดในราชอาณาจักรหรือที่ประมวลกฎหมายนีถ้ือวาเปนการกระทําผิดในราชอาณาจักร กรณีถาเขามาตรา ๖ นี้ แลวก็ไมตองไปดูวาจะเปนความผิดตามที่ระบุใน มาตรา ๗ หรือ มาตรา ๘ หรือไม เพราะ มาตรา ๗ และ มาตรา ๘ เปนเรื่องกระทําผิดนอกราชอาณาจักร สวนมาตรา ๖ เปนเรื่องกระทําผิดในราชอาณาจักรทุกฐานความผิด

หลักอํานาจลงโทษสากล มาตรา ๗ เปนหลักการลงโทษสากลไมตองมีการรองขอ ศาลไทยก็ลงโทษได แตมาตรา๘ จะลงโทษไดตองมีการรองขอ คําวา ผูใด ใน มาตรา๗ ไมจํากัดวาจะตองเปนคนไทย ถาเขาองคประกอบความผิดตาม มาตรา๗(๑) (๒) (๒ ทวิ) (๓) ผูใดกระทํายอมมีความผิด คําพิพากษาฎีกาท่ี ๖๕๑๖/๒๕๓ วินิจฉัยวา ความผิดเกิดขึ้นในทะเลหลวงนอกราชอาณาจักรไทย ศาลไทยจะลงโทษผูกระทําผิดที่เปนคนไทยในขอหาความผิดตอชีวิตตาม ป.อ. มาตรา๘ (๔) ได ตอเมื่อผูเสียหายไดรองขอใหลงโทษตาม ป.อ. มาตรา ๘ (ก) แตคดีนี้ไมปรากฏแนชัดวาผูตาย ซ่ึงถือวาเปนผูเสียหายเปนใครบาง และไมปรากฏวา จะมีผูใดซึ่งสามารถจัดการแทนผูตายไดตาม ป.วิ.อ. มาตรา๕ (๒)ไดดําเนินการรองขอ ใหศาลไทยลงโทษ ที่ปรากฎวาผูเสียหายไดรองทุกขขอใหลงโทษก็เฉพาะผูเสียหายทั้งสี่ที่ถูกปลนทรัพยและพยายามฆาเทานั้น ฉะนั้น จึงลงโทษจําเลยฐานฆาผูอ่ืนไมได คงลงโทษไดเฉพาะขอหาปลนทรัพย และขอหาพยายามฆาผูเสียหายทั้งส่ีซ่ึงผูเสียหายทั้งส่ีไดรองทุกขขอใหลงโทษจําเลยแลวเทานั้น มาตรา ๗ เปนความผิดที่เกิดนอกราชอาณาจักร ถาหากเปนความผิดที่เกิดในราชอาณาจักร หรือที่ประมวลกฎหมายอาญาถือวาเปนความผิดท่ีเกิดในราชอาณาจักรตาม มาตรา๔, ๕, ๖ ก็ไมเขา มาตรา๗ มาตรา ๗ (๒ ทวิ) ไมมีบัญญัติไวใน มาตรา ๑๐ เร่ืองการคํานึงถึงคําพิพากษาของศาลในตางประเทศ

การกระทําผิดนอกราชอาณาจักร ตามมาตรา ๗ คําพิพากษาฎีกาท่ี ๑๕๗๓/๒๕๓๕ วินิจฉัยวา ผูเสียหายฝากทรัพยสินกับจําเลยที่ประเทศซาอุดิอาระ เบีย เพื่อใหจําเลยนํามาใหภริยาของผูเสียหายในประเทศไทย เมื่อผูเสียหายกลับมาประเทศไทย จึงทราบวาจําเลยไมไดนําทรัพยสินที่ฝากมาใหกับภริยาผูเสียหาย และจําเลยปฏิเสธวาไมไดรับฝาก ผูเสียหายจึงรองทุกขกับพนักงานสอบสวนสถานีตํารวจภูธร อําเภอกุมภวาป จังหวัดอุดรธานี ซ่ึงเปนภูมิลําเนาของจําเลย มูลแหงความผิดทางอาญาฐานยักยอกทรัพยตามขอนําสืบของโจทกเกิดเม่ือจําเลยปฏิเสธวาไมไดรับฝากทรัพย อันแสดงถึงเจตนาทุจริตเบียดบังทรัพยเปนของตน เหตุจึงเกิดท่ีอําเภอกุมภวาป จังหวัดอุดรธานี ประเทศไทย มิใชเกิดท่ีประเทศซาอุดิอาระเบีย

Page 16: เอกสารสรุปเนื้อหา วิชาประมวลกฎหมายอาญา เล่มที่ ๑

๑๑

มีขอสังเกตเกี่ยวกับมาตรา ๘ ดังนี้ ๑. มาตรา ๘ ตองเปนกรณีกระทําความผิดนอกราชอาณาจักร ตองไมใชกรณีตาม มาตรา๔ , ๕ หรือ

๖ ซ่ึงเปนเรื่องในราชอาณาจักร และไมใชกรณีตาม มาตรา ๗ ซ่ึงเปนเรื่องหลักอํานาจลงโทษสากล ๒. ตองมีคนไทยเกี่ยวของไมวาในฐานะผูกระทําผิด หรือ ในฐานะผูเสียหาย

๓. ถาผูกระทําความผิดเปนคนตางดาว ผูเสียหายตองเปนคนไทยหรือรัฐบาลไทย หากคนตางดาวเปนผูกระทําผิด และผูเสียหายแลวก็ไมเขา มาตรา ๘

๔. ตองมีการรองขอใหลงโทษ ๕. ตองเปนความผิดท่ีระบุไวในอนุมาตรา (๑) ถึง (๑๓) ๖. ไมตองคํานึงวา กฎหมายของประเทศที่มีการกระทําผิดเกิดขึ้น จะบัญญัติวา การกระทํานั้นเปนความผิดหรือไม คําพิพากษาฎีกาที่ ๔๕๘/๒๕๐๓ (ประชุมใหญ) วินิจฉัยวา ป.อ. มาตรา ๘ มิมีขอความกําหนดใหโจทก ตองนําสืบวา การกระทําเชนนี้เปนความผิดของประเทศที่ความผิดเกิดขึ้น และ ฟองก็ไมตองอางวาเปนความผิดของกฎหมายตางประเทศมาตราใด ๗. รวมถึงความผิดท่ีเปนความผิดสําเร็จ และ ขั้นพยายามกระทําความผิด รวมถึงตัวการ ผูใช และผูสนับสนุนดวย ๘. โจทกไมตองนําสืบวาผูกระทําผิดเคยถูกลงโทษโดยศาลอื่นมาแลว เวนแตจําเลยจะโตเถียงขึ้นมา คําพิพากษาฎีกาท่ี ๘๐๑/๒๕๐๕ (ประชุมใหญ) คดีที่จําเลยเปนคนสัญชาติไทย กระทําผิดฐานปลนทรัพยนอกราชอาณาจักรซ่ึงผูเสียหายไดรองขอใหลงโทษจําเลยในราชอาณาจักร ตองตาม ป.อ. มาตรา ๘นั้นโจทกไมมีหนาท่ีตองนําสืบแสดงวาไมมีขอหามมิใหลงโทษจําเลยตามมาตรา ๑๐ อีก ๙. การกระทําความผิดตามมาตรา ๗ ฐานปลนทรัพยในทะเลหลวง ซ่ึงไมตองมีการรองขอใหลงโทษ ถาปรากฏวา การปลนทรัพยนี้มีการฆาเจาทรัพยตาย หากผูถูกฆาเปนคนไทยหรือผูฆาเปนคนไทย จะมีการลงโทษฐานฆาอีกสถานหนึ่ง ก็จะตองอาศัยมาตรา ๘ (๔) และจะตองมีการรองขอใหลงโทษ

๑๐. ความผิดตาม มาตรา๘ (๑) ถึง (๑๓) เปนความผิดท่ีกระทําโดยเจตนาทั้งสิ้น ไมรวมถึงความผิดท่ีกระทําโดยประมาท ๑๑. ความผิดตาม มาตรา ๘ (๑) ถึง (๑๓) มีท้ังความผิดตอแผนดิน และ ความผิดอันยอมความได คําพิพากษาฎีกาท่ี ๑๒๘๙/๒๕๒๑วินิจฉัยวา ผูจัดการธนาคารกรุงเทพฯ จํากัด สาขากรุงไทเป ประเทศไตหวัน มอบใหจําเลยซึ่งเปนคนไทย และเปนผูชวยผูจัดการนําเงินของธนาคารไปฝากที่ธนาคารอื่น แตจําเลยเอาเงินนั้นไปเสีย ศาลฎีกาวินิจฉัยวา จําเลยนี้เปนผูครอบครองเงินนั้น และจําเลยก็เอาเงินไปเสียโดยทุจริต เปนความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๓๕๓ ธนาคารกรุงเทพ จํากัด เปนผูเสียหายที่จะรองทุกขในคดี และ ศาลไทยมีอํานาจลงโทษจําเลยตาม มาตรา ๘ (๑๑)

Page 17: เอกสารสรุปเนื้อหา วิชาประมวลกฎหมายอาญา เล่มที่ ๑

๑๒

๑๒. ความผิดตาม มาตรา๘ (๑) ถึง (๑๓) ไมรวมความผิดตาม มาตรา ๑๐๗ ถึง มาตรา ๒๐๘ ๑๓. ความผิดตาม มาตรา๘ (๑) ถึง (๑๓) เปนความผิดท่ีระบุไวในประมวลกฎหมายอาญาทั้งสิ้น

หลักลงโทษโดยยึดหลักบุคคล ตามมาตรา ๙ มีขอสังเกต ดังนี้ ๑. ตองเปนการกระทําผิดนอกราชอาณาจักร

๒. มาตรา ๙ ไมไดระบุวา เจาพนักงานของรัฐบาลไทยจะตองเปนคนสัญชาติไทย ๓. ความผิดท่ีระบุในมาตรา ๑๔๗ ถึงมาตรา ๑๖๖ และมาตรา ๒๐๐ ถึงมาตรา ๒๐๕ เปนความผิดตอตําแหนงหนาท่ี คือ ผูท่ีดํารงตําแหนงไปกระทําผิดตอตําแหนงหนาท่ีของตน ไมรวมถึงกรณีความผิดตอเจาพนักงาน ๔. มาตรา๙ ระบุรวมความผิดตาม มาตรา ๒๐๕ ฐานทําใหผูตองขังหลุดพนโดยประมาท แตกตางจากกรณีของ มาตรา ๘ ท่ีรวมเอาความผิดท่ีกระทําโดยเจตนา ๕. กฎหมายไมไดกําหนดวาตองมีบุคคลใดมารองขอ การคํานึงถึงคําพิพากษาของศาลในตางประเทศ การกระทําผิด นอกราชอาณาจักร ถามีคําพิพากษาของศาลในตางประเทศ ตามมาตรา ๑๐ มีขอสังเกตเกี่ยวกับมาตรา ๑๐ ดังนี้

๑. มาตรา ๑๐ ไมรวมกรณี มาตรา ๗ (๑) และ (๑/๑) ซ่ึงมาจากหลักปองกันตนเอง ดังนั้นหากเปนกรณีตามมาตรา ๗ (๑) คือความผิดเก่ียวกับความมั่นคงแหงราชอาณาจักร และ มาตรา ๗(๑/๑) ความผิดเกี่ยวกับการกอการราย จึงไมคํานึงถึงวาผูกระทําผิดจะถูกลงโทษในศาลตางประเทศแลวหรือไม ศาลไทยลงโทษซ้ําได ๒. มาตรา ๑๐ ไมรวมการกระทําตาม มาตรา๗(๒ ทวิ) คือความผิดเกี่ยวกับเพศ ตาม มาตรา ๒๘๒ , ๒๘๓ จึงถือเปนขอยกเวนวา ศาลไทยลงโทษซ้ําได แมจะถูกศาลตางประเทศลงโทษแลว ๓. มาตรา ๑๐ ตองเปนการกระทําผิดนอกราชอาณาจักร ไมใชกรณีตาม มาตรา๔, ๕ และ ๖ ๔. มาตรา ๑๐ (๑) วา หามลงโทษในราชอาณาจักรอีก ถามีคําพิพากษาศาลตางประเทศถึงท่ีสุด ใหปลอยตัวนั้น ไมวาจะยกฟอง หรือ ขาดอายุความ หรือเหตุอ่ืน แตไมใชกรณีปลอยชั่วคราวแลวหนีประกันมา ๕. มาตรา ๑๐ (๒) หามมิใหลงโทษอีก ถาศาลตางประเทศพิพากษาลงโทษ และ ผูนั้นพนโทษแลว ๖. มาตรา ๑๐ วรรคทาย ผูกระทําผิดไดรับโทษแลว แตรับโทษไมครบ หลบหนีมาเสียกอน ศาลจะลงโทษนอยกวาท่ีกฎหมายกําหนด หรือ ไมลงโทษเลยก็ได เปนดุลพินิจของศาล ๗. เหตุผลท่ีตองบัญญัติ มาตรา ๑๐ ขึ้นมาก็เพราะเหตุวา เรามี ป.วิ.อ. มาตรา ๓๙ (๔) หามมิใหฟองผู กระทําผิดอีกกรณีท่ีมีคําพิพากษาเสร็จเด็ดขาดในความผิดท่ีไดฟองซึ่งเรียกกันงาย ๆวาเปนเรื่องฟองซํ้า แตก็ มีหลักอยูวาจะเปนการฟองซ้ํานั้น คําพิพากษาเสร็จเด็ดขาดตองเปนคําพิพากษาของศาลไทยถามีคําพิพากษา เสร็จเด็ดขาดของศาลตางประเทศแลว เราจะพิจารณาเพียงวาเขามาตรา ๑๐ หรือ ๑๑ หรือไม

Page 18: เอกสารสรุปเนื้อหา วิชาประมวลกฎหมายอาญา เล่มที่ ๑

๑๓

๘. การกระทําผิดอาจจะมีหลายกรรม ถาหากถูกฟองเปนบางกรรมในตางประเทศ ศาลไทยก็ผูกพันเฉพาะการกระทํากรรมที่ศาลตางประเทศพิพากษาไปแลว สวนกรรมอื่นที่ยังไมมีการฟอง และศาลในตาง ประเทศยังไมไดพิจารณา พิพากษา ก็ถือวาไมอยูในเงื่อนไขของ มาตรา ๑๐

ผลคําพิพากษาศาลตางประเทศ ตามมาตรา ๑๑ การกระทําผิดในราชอาญาจักรแลวมีคําพิพากษาของศาลในตางประเทศ ตามมาตรา ๑๑

มีขอสังเกตเกี่ยวกับมาตรา ๑๑ ดังนี้ ๑. มาตรา ๑๑ วรรคแรกตองเปนเรื่องกระทําความผิดในราชอาณาจักร หรือ กระทําความผิดท่ี

ประมวลกฎหมายนีถ้ือวาทําในราชอาณาจักร ไดแกกรณี มาตรา ๔, ๕, ๖ ๒. เปนเรื่องผูกระทําผิดไดรับโทษตามคําพิพากษาของศาลตางประเทศมาแลวท้ังหมด หรือแตบาง สวน ศาลไทยจะลงโทษนอยกวาท่ีกฎหมายกําหนด หรือไมลงโทษก็ได โดยคํานึงถึงโทษที่ผูนั้นไดรับมาแลว ใชดุลพินิจ ๓. มาตรา ๑๑ วรรค ๒ กรณีผูกระทําผิดในราชอาณาจักร หรือกรณีถือวากระทําในราชอาณาจักรไดถูกฟองตอศาลในตางประเทศ โดยรัฐบาลไทยรองขอ ไมใชผูเสียหายรองขอ หามลงโทษผูนั้นสําหรับการกระทําผิดนั้นอีก ถา (๑) ศาลในตางประเทศมีคําพิพากษาถึงที่สุดใหปลอยตัวผูนั้นไมวาจะปลอยตัว เพราะเหตุฟองบกพรอง หรือวายกฟอง เพราะพยานหลักฐานฟงไมได คดีขาดอายุความ (๒) ศาลในตางประเทศพิพากษาลงโทษแลวผูนั้นพนโทษแลว ๔. นอกจาก ป.อ. มาตรา ๑๐ และ๑๑ ที่ใหศาลไทยคํานึงถึงคําพิพากษาของศาลตางประเทศแลว เรายังมีกฎหมายอื่นที่บัญญัติใหเราตองผูกพันตามคําพิพากษาของศาลตางประเทศ เชน พระราชบัญญัติการปฏิบัติเพื่อความรวมมือระหวางประเทศในการดําเนินการตามคําพิพากษาในคดีอาญา พ.ศ.๒๕๒๗ ก็เปนเร่ืองการแลกเปลี่ยนนักโทษ โดยมี มาตรา ๑๘ ใหถือวา คําพิพากษาหรือคําส่ังของศาลประเทศผูโอนเปนคําพิพากษาหรือคําส่ังของศาลที่มีเขตอํานาจในราชอาณาจักร เชนมีการรับโอนคนไทยที่ไปกระทําผิดที่สหรัฐและไดรับโทษจําคุกระยะหนึ่งแลว กลับมารับโทษตอในประเทศไทย ตองถือตามคําพิพากษาของศาลสหรัฐ

Page 19: เอกสารสรุปเนื้อหา วิชาประมวลกฎหมายอาญา เล่มที่ ๑

๑๔

ตัวอยางคําถามคําตอบ

คําถาม ขอ.๑ นายโหลงกับนายเหล็ง เปนคนจีนอยูที่ไตหวัน นายโหลงจางนายเหล็งใหมาฆานายไหล คนจีนซึ่งอยูในประเทศไทย นายเหล็งตกลงรับจางและเดินทางมาประเทศไทยเพื่อฆานายไหล แตเมื่อนายเหล็ง พบนายไหลจําไดวาเปนเพื่อนกันจึงกลับใจไมฆา และบอกเรื่องใหทราบ นายไหล จงึจางนายเหล็ง ใหกลับไปฆานายโหลง นายเหล็งกลับไปที่ไตหวัน ใชปนยิงนายโหลงเพื่อฆาแตกระสุนปนไมถูกนายโหลง

ดังนี้ นายโหลง นายเหล็ง และนายไหล จะมีความผิด และถูกลงโทษในราชอาณาจักรไดหรือไม จับประเด็นคําถาม ๑. กรณีตามปญหาตองวินิจฉัยวา นายโหลงเปนผูใชใหกระทําความผิด หรือ ไม

และเปนการกระทําความผิดในหรือนอกราชอาณาจักร มีคนไทยเกี่ยวของดวยหรือไม ๒. กรณีตามปญหาตองวินิจฉัยวา นายเหล็งกระทําความผิด ใน หรือ นอกราช อาณาจักร และไดมีการรองขอใหลงโทษตามมาตรา ๘ หรือไม ๓. กรณีตามปญหาตองวินิจฉัยวา นายไหล เปนผูใชใหกระทําความผิดหรือไม และเปนการกระทําความผิด ใน หรือ นอกราชอาณาจักร

คําตอบขอ ๑.นายโหลงมีความผิดฐานเปนผูใชใหนายเหล็งกระทําความผิดฐานฆาผูอ่ืนโดยไตรตรอง

ไวกอน แตความผิดมิไดกระทําลง ตองระวางโทษหนึ่งในสามของโทษที่กําหนดไวสําหรับความผิดฐานฆาผูอ่ืน โดยไตรตรองไวกอนตาม ป.อ. มาตรา๒๘๙ (๔) ประกอบดวย มาตรา๘๔ วรรค ๒ แตเนื่องจากเปนการใชใหกระทําความผิดที่ไดกระทํานอกราชอาณาจักร และ ไมมีความผิดที่ไดกระทําในราชอาณาจักร กรณีจึงไมตองดวย ป.อ. มาตรา ๖ ที่จะลงโทษในราชอาณาจักร และไมตองดวย ป.อ. มาตรา ๕ เพราะไมมีการกระทําแมแตสวนหนึ่งสวนใดเกิดขึ้นในราชอาณาจักร และไมมีผลของการกระทําเกิดขึ้นในราชอาณาจักร ทั้งไมตองดวย ป.อ. มาตรา๘ เพราะไมมีคนไทยเกี่ยวของในการกระทําความผิด จึงไมอาจลงโทษนายโหลง ในราชอาณาจักรได นายเหล็งพยายามฆานายโหลงในไตหวันเปนการกระทําความผิดนอกราชอาณาจักรแตทั้งนายโหลง และนายเหล็ง เปนคนตางดาว กรณีจึงไมตองดวย ป.อ. มาตรา ๘ ไมอาจลงโทษนายเหล็งในราชอาณาจักรได นายไหล ใชนายเหล็ง ในราชอาณาจักร ใหไปกระทําความผิดนอกราชอาณาจักร และนายเหล็ง ไดกระทําความผิดฐานพยายามฆาผูอ่ืนโดยไตรตรองไวกอน นายไหลจึงตองรับโทษในราชอาณาจักร เสมือนเปนตัวการในความผิดฐานพยายามฆาผูอ่ืนโดยไตรตรองไวกอน ตาม ป.อ. มาตรา ๒๘๙ (๔) ประกอบดวย มาตรา ๘๔ วรรคแรก และ มาตรา ๔ วรรคแรก

Page 20: เอกสารสรุปเนื้อหา วิชาประมวลกฎหมายอาญา เล่มที่ ๑

๑๕

คําถาม ขอ ๒.นายสายัณห ขาราชการสถานฑูตไทย ณ กรุงเวียงจัน ประเทศลาวไดเขียนจดหมายจากสถานทูตดังกลาว มาถึงผูบังคับบัญชาในประเทศไทยวา นางสมเชง ขาราชการในสถานทูตเดียวกันมีความ สัมพันธฉันชูสาวกับชาวตางประเทศผิวดํา ทําใหเส่ือมเสียชื่อเสียง และอาจทําความเสียหายแกประเทศไทย ควรเรียกตัวนางสมเชงกลับมาประเทศไทยเสีย ผูบังคับบัญชาไดตรวจสอบขอเท็จจิรงแลว ปรากฎวาจดหมายนั้นเปนความเท็จ จึงไมเรียกตัวนางสมเชงกลับ ตอมานางสมเชงทราบเรื่องจดหมายดังกลาว จึงมารองทุกขตอพนักงานสอบสวนในประเทศไทย วานายสายัณหหมิ่นประมาทตน ดังนี้ การกระทําของนายสายัณหเปนความผิดที่จะลงโทษในราชอาณาจักรไดหรือไม

จับประเด็นคําถาม ๑.กรณีตามปญหาตองวินิจฉัยวาสถานฑูตไทยในตางประเทศจะใชราชอาณาจักรไทยหรือไม ๒. กรณีตามปญหาตองวินิจฉัยวา การที่นายสายัณหเขียนจดหมายหมิ่นประมาทจะถือวากระทําในราชอาณาจักรไดหรือไม ๓. กรณีตามปญหาตองวินิจฉัยวา การที่นายสายัณหสงจดหมายถึงผูบังคับบัญชาถือวาผลของการกระทําเกิดในราชอาณาจักรตามมาตรา ๕ วรรค ๑ หรือไม คําตอบ ขอ ๒.สถานฑูตไทยในตางประเทศไมใชราชอาณาจักรไทยการที่นายสายัณหเขียนจดหมาย หมิ่นประมาทนางสมเชง ในสถานฑูตไทย ณ กรุงเวียงจัน ประเทศลาว จึงไมใชเปนการกระทําความผิดที่เกิด ขึ้นในราชอาณาจักรไทย แตการกระทําของนายสายัณหที่สงจดหมายมาถึงผูบังคับบัญชา ซ่ึงเปนบุคคลที่สามในประเทศไทยนั้น ถือไดวาเปนกรณีที่สวนหนี่งสวนใด ของความผิดฐานหมิ่นประมาท ไดกระทําในราช อาณาจักร และผลแหงการกระทําเกิดในราชอาณาจักร ซ่ีง ป.อ. มาตรา ๕ วรรค ๑ ใหถือวาความผิดนั้นไดกระทําในราชอาณาจักร ดังนั้น การกระทําของนายสัณห จึงเปนความผิดที่จะลงโทษในราชอาณาจักรได

คําถาม ขอ ๓. นายเฮงคนจีนอยูที่ประเทศจีน จางนายรามคนอินเดียที่ประเทศมาเลเซีย ใหมาฆานาย

โกะตี๋คนไทยในประเทศไทย นายรามไปชวนนายซิงหคนอินเดียดวยกันใหไปชวยช้ีตัวนายโกตี๋ แตนายซิงหไมยอมไปดวย เพียงแตใหนายรามยืมปนเอาไปใชในการฆา นายรามเขามาในประเทศไทย และตามจะฆานายโกตี๋ แตนายโกตี๋รูเร่ืองเสียกอนจึงหลบหนีไปได และไปรองทุกขตอพนักงานสอบสวนใหดําเนินคดีนายเฮง นายราม และนายซิงห ดังนี้ นายเฮง นายราม และนายซิงห จะมีความผิดและถูกลงโทษในราชอาณาจักรไดเพียงใดหรือไม

Page 21: เอกสารสรุปเนื้อหา วิชาประมวลกฎหมายอาญา เล่มที่ ๑

๑๖ จับประเด็นคําถาม ๑. กรณีตามปญหาตองวินิจฉัยวาการที่นายเฮงจางนายรามมีความผิดฐานเปนผูใชตาม ป.อ.มาตรา ๒๘๙ (๔) , ๘๔ หรือ ไม ๒. กรณีตามปญหาตองวินิจฉัยวาเปนกรณีผูเสียหายรองขอใหลงโทษตาม มาตรา๘ (ข) วรรค๒ (๔) หรือไม ๓. กรณีตามปญหาตองวินิจฉัยวาการที่นายรามชวนนายซิงหไปชี้ตัว ถือวาลงมือกระทําความผิดแลว หรือไม ๔. กรณีตามปญหาตองวินิจฉัยวาการที่นายซิงหใหนายรามยืมปนไปใชในการฆานั้น เปนการสนับสนุนใหนายรามกระทําความผิดหรือไม และผลจะเปนประการใด คําตอบ ขอ ๓.นายเฮงจางนายรามใหฆานายโกะตี๋แตนายรามยังไมไดฆานายโกะตี๋นายเฮงมีความผิดฐานเปนผูใชใหผูอ่ืนกระทําความผิดตาม ป.อ.มาตรา๒๘๙ (๔)ประกอบ มาตรา๘๔ การใชใหกระทําความผิด ดังกลาวเกิดขึ้นในประเทศมาเลเซีย เปนการกระทําความผิดนอกราชอาณาจักร นายเฮง เปนคนตางดาว แตนายโกะตี๋คนไทยเปนผูเสียหาย และ ผูเสียหายไดรองขอใหลงโทษในความผิดที่ระบุไวใน ป.อ. มาตรา๘ (ข) วรรค๒ (๔) นายเฮง ถูกลงโทษในราชอาณาจักรได นายรามยังไมไดลงมือฆานายโกะตี๋ จึงยังไมมีความผิด นายซิงหใหนายรามยืมปนเอาไปใชในการฆานายโกะตี๋ นั้น เปนการสนับสนุนนายราม แตนายรามยังไมไดกระทําความผิด นายซิงหจึงยังไมมีความผิด คําถาม ขอ ๔. นายเดนเปนเจาพนักงานตําแหนงเลขานุการสถานทูตไทยประจําประเทศพมา ขณะปฏิบัติหนาที่อยูในประเทศดังกลาว นายเดนไดยักยอกเอาเงินของทางราชการที่ตนมีหนาที่ดูแลไปใชเปนประโยชนสวนตน นายเดออัครราชทูตไทยประจําประเทศพมาทราบเรื่อง จึงเรียกนายเดนมาสอบถาม นายเดนขอใหนายเดอปกปดเรื่องนี้ไว โดยตนจะนําเงินมาคืนแกทางราชการ และขอใหคาปกปดแกนายเดอสิบลานบาท แตนายเดนไมนําเงินมาคืนแกทางราชการภายในกําหนด นายเดอจึงรายงานใหกระทรวงการตาง ประเทศทราบเรื่องทั้งหมด กระทรวงการตางประเทศจึงเรียกตัวนายเดนและนายเดอกลับ และไดรองทุกขตอพนักงานสอบสวนใหดําเนินคดีแกนายเดน ดังนี้ นายเดนมีความผิดฐานใด และตองรับโทษในราชอาณาจักรหรือไม จับประเด็นคําถาม ๑. กรณีตามปญหาตองวินิจฉัยวา นายเดนเปนเจาพนักงานตาม ป.อ. มาตรา ๑๔๗ หรือไม ๒. กรณีตามปญหาตองวินิจฉัยวา นายเดนขอใหนายเดอปกปดเรื่อง และ ขอใหคาปกปดแกนายเดอ เปนความผิดตาม ป.อ. มาตรา ๑๔๔ หรือไม ๓. กรณีตามปญหาตองวินิจฉัยวา ความผิดตาม ป.อ. มาตรา ๑๔๔ , ๑๔๗ ระบุไวใน มาตรา ๘ (๑)-(๑๓) หรือไม เปนกรณีตาม มาตรา ๙ หรือไม และตองรับโทษในราชอาณาจักรหรือไม

Page 22: เอกสารสรุปเนื้อหา วิชาประมวลกฎหมายอาญา เล่มที่ ๑

๑๗ คําตอบ ขอ ๔ การที่นายเดน เปนเจาพนักงานตําแหนงเลขานุการสถานทูตไทย ประจําประเทศพมา ยักยอกเอาเงินของทางราชการที่ตนมีหนาที่ดูแลไปใชเปนประโยชนสวนตัว ยอมเปนความผิดฐานเปนเจาพนักงานยักยอก ตาม ป.อ. มาตรา ๑๔๗ สวนการที่นายเดนขอใหนายเดออัครราชทูตไทยประจําประเทศดังกลาวปกปดความผิดของตน โดยตนจะนําเงินมาคืนแกทางราชการ และขอใหคาปกปดแกนายเดอสิบลานบาท นายเดนมีความผิดฐานขอใหทรัพยสินแกเจาพนักงานเพื่อจูงใจใหไมกระทําการ อันมิชอบดวยหนาที่ตาม ป.อ. มาตรา ๑๔๔ ความผิดตาม ป.อ. มาตรา ๑๔๔ ไมเปนความผิดที่จะตองรับโทษในราชอาณาจักรตาม ป.อ. มาตรา๙ เพราะมิใชความผิดตามที่บัญญัติไวใน ป.อ. มาตรา ๑๔๗ ถึง มาตรา๑๖๖ และ มาตรา๒๐๐ ถึง มาตรา๒๐๕ และถึงแมนายเดนผูกระทําความผิดนั้นเปนคนไทย และกระทรวงการตางประเทศผูเสียหาย ไดรองขอใหลงโทษก็ตาม แตความผิดตาม ป.อ. มาตรา ๑๔๔มิใชความผิดที่ระบุไวใน ป.อ. มาตรา๘ (๑)-(๑๓) นายเดนจึงไมตองรับโทษในราชอาณาจักรสําหรับความผิดฐานนี้ สวนความผิดของนายเดนตาม ป.อ. มาตรา ๑๔๗ อันเปนความผิดที่ระบุไวใน ป.อ. มาตรา ๙ และ นายเดนเปนเจาพนักงานของรัฐบาลไทยดวยนั้น แมนายเดนกระทําความผิดนอกราชอาณาจักร นายเดนก็ตองรับโทษในราชอาณาจักรตาม ป.อ. มาตรา ๙ คําถาม ขอ ๕. นายโดคนอินโดนีเซีย เอาเรือไปจับปลาในเขตเศรษฐกิจจําเพาะของประเทศไทย แตจับปลาไมชํานาญจึงไดปลาเพียงเล็กนอย ขณะที่แลนเรือจับปลาอยูไดพบนายเรคนมาเลเซีย ซ่ึงจับปลาอยูในบริเวณเดียวกันจับปลาไดมากมาย นายโดจึงขึ้นไปบนเรือของนายเร ซ่ึงเปนเรือมาเลเซีย จับนายเรมัดติดกับเรือไวแลวขนเอาปลาของนายเรไปใสในเรือของตน พอดีเรือลาดตระเวนของไทยผานมาเห็นเหตุการณจึงเขาชวยเหลือนายเร และจับนายโดได นําสงพนักงานสอบสวน ดังนี้ นายโดจะมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา และถูกลงโทษในราชอาณาจักรได หรือ ไมเพียงใด จับประเด็นคําถาม ๑. กรณีตามปญหาตองวินิจฉัยวา การที่นายโดกระทําความผิด ในเขตเศรษฐกิจจําเพาะของประเทศไทยเปนการกระทําผิดใน หรือ นอกราชอาณาจักร ๒. กรณีตามปญหาตองวินิจฉัยวา การที่นายโดกระทําความผิด ในเขตเศรษฐกิจจาํเพาะของประเทศไทยเปนการกระทําผิดในทะเลหลวงตาม มาตรา ๗ (๓) หรือไม คําตอบ ขอ ๕. การกระทําของนายโดปนความผิดฐานชิงทรัพย ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๓๓๙ ความผิดฐานนี้ไดกระทําในเขตเศรษฐกิจจําเพาะซึ่งอยูนอกราชอาณาจักร จึงเปนการกระทําความผิดในทะเลหลวง นายโดตองรับโทษในราชอาณาจักร ตามมาตรา ๗ (๓)

Page 23: เอกสารสรุปเนื้อหา วิชาประมวลกฎหมายอาญา เล่มที่ ๑

๑๘ คําถาม ขอ ๖. นายหมอง คนสัญชาติพมา โดยสารเครื่องบินชั้นประหยัด ของสายการบินแอรอินเดีย เพื่อเดินทางจากประเทศพมา มายังประเทศไทย ระหวางที่เครื่องบินอยูเหนือนานฟาในทะเลหลวง นายหมองไดแอบไปนั่งในชั้นธุรกิจนางสาวหมวยแอรโฮสเตสเปนคนสัญชาติไทยจึงเชิญใหกลับไปนั่งที่เดิมนายหมองไมพอใจจึงไดใชมีดทํารายนางสาวหมวยไดรับอันตรายสาหัส นายบัง กัปตันคนสัญชาติอินเดียเห็นเหตุการณ จึงเขาไปหามนายหมอง นายหมองกําลังโมโหจึงใชมีดกรีดเสื้อนายบังจนขาด เพื่อตักเตือนไมใหเขามายุงแลวเดินกลับไปนั่งที่เดิม เมื่อเขามาในประเทศแลว นางสาวหมวย และ นายบัง เขารองทุกขตอพนักงานสอบสวนผูมีอํานาจ หากพนักงานอัยการฟองนายหมอง ฐานทํารายรางกายนางสาวหมวยไดรับอันตรายสาหัสตาม ป.อ. มาตรา ๒๙๗ และฟองนายหมองฐานทําใหทรัพยของนายบังเสียหายตาม ป.อ. มาตรา ๓๕๘ ดังนี้ นายหมองจะถูกลงโทษในราชอาณาจักรไดเพียงใดหรือไม จับประเด็นคําถาม ๑. กรณีตามปญหาตองวินิจฉัยวา นายหมองใชมีดทํารายนางสาวหมวยนั้น เปนการกระทําความผิดในหรือนอกราชอาณาจักร เปนความผิดตาม มาตรา๘ หรือไม และ มีการรองทุกขโดยชอบหรือไม ๒. กรณีตามปญหาตองวินิจฉัยวา นายหมองใชมีดกรีดเสื้อนายบัง เปนการกระทําความผิดในหรือนอกราชอาณาจักร เปนความผิดตาม มาตรา ๘ หรือไม มีการรองทุกขโดยชอบหรือไม คําตอบ ขอ ๖. นายหมอง ใชมีดทํารายนางสาวหมวยไดรับอันตรายสาหัส ในเครื่องบินของสายการบินแอรอินเดีย ระหวางที่บินอยูเหนือนานฟาในทะเลหลวง เปนกรณีที่นายหมองกระทําความผิดนอกราช อาณาจักร เมื่อนายหมอง ผูกระทําผิดนั้นเปนคนสัญชาติพมา ซ่ึงเปนคนตางดาวและนางสาวหมวยคนสญัชาต ิไทย เปนผูเสียหายไดรองทุกขตอพนักงานสอบสวนผูมีอํานาจแลว อีกทั้งความผิดฐานทํารายรางกายนางสาวหมวยไดรับอันตรายสาหัสตาม ป.อ. มาตรา๒๙๗ ก็เปนความผิดที่ระบุไวใน ป.อ.มาตรา ๘(๕) ดวย ดังนั้น กรณีที่พนักงานอัยการฟองนายหมอง ฐานทํารายรางกายนางสาวหมวย นายหมองจะถูกลงโทษในราชอาณา จักรไดตาม มาตรา๘ นายหมอง ใชมีดกรีดเสื้อนายบังขาด แมจะเปนความผิดฐานทําใหเสียทรัพย ตาม ป.อ. มาตรา๓๕๘ อันเปนความผิดที่ระบุไวใน ป.อ.มาตรา๘ (๑๓) ก็ตาม แตนายบังผูเสียหายเปนคนสัญชาติอินเดีย จึงถือไมได วาคนไทยเปนผูเสียหาย กรณียอมไมตองดวยหลักเกณฑ มาตรา ๘ (ข) ที่นายหมองจะตองรับโทษในราช อาณาจักร ดังนั้น กรณีที่พนักงานอัยการฟองนายหมอง ฐานทําใหทรัพยของนายบังเสียหาย นายหมองจะถูกลงโทษในราชอาณาจักรไมได

Page 24: เอกสารสรุปเนื้อหา วิชาประมวลกฎหมายอาญา เล่มที่ ๑

๑๙

คําถาม ขอ ๗. นางเดือนคนไทยซึ่งเปนนายหนาหาหญิงไปคาประเวณี ไดไปที่ประเทศมาเลเซียและชักชวนนางดาวคนมาเลเซียไปคาประเวณีที่ประเทศญี่ปุน โดยนางเดือนจะเปนธุระจัดการเรื่องการเดินทาง นางดาวตกลงเต็มใจไปดวย นางเดือนจึงพานางดาวเดินทางจากประเทศมาเลเซียไปสงใหสถานคาประเวณีที่ประเทศญี่ปุน นางเดือนไดรับคาใชจายในการเดินทางคืนกลับไดคานายหนาอีกจํานวนหนึ่งเปนของตน นางดาวคาประเวณีที่ประเทศญี่ปุนไดวันเดียวก็ถูกตํารวจจับ แตนางเดือนหนีกลับมาประเทศไทยได ทางการประเทศญี่ปุนจึงแจงใหตํารวจไทยทราบ การกระทําของนางเดือนเปนความผิดฐานเปนธุระจัดหาหรือพาไปเพื่อการอนาจารซึ่งชายหรือหญิงเพื่อสนองความใครของผูอ่ืนตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๒๘๒ ตอมานางเดือนถูกจับไดในประเทศไทย พนักงานอัยการฟองนางเดือนตอศาลอาญาขอใหลงโทษในความผิดดังกลาว ใหวินิจฉัยวา นางเดือนจะถูกลงโทษในราชอาณาจักรไดหรือไม

จับประเด็นคําถาม ๑. กรณีตามปญหาตองวินิจฉยัวา การกระทําของนางเดือนเปนความผิดที่ระบุไว

ใน มาตรา ๗ หรือ ในมาตรา ๘ ๒. กรณีตามปญหาตองวินจิฉัยวา การทีท่างการประเทศญี่ปุนจะไดแจงใหตํารวจ

ไทยทราบนั้น จะถือวาเปนการรองขอใหลงโทษตามมาตรา ๘ (ก) หรือไม ๓. กรณีตามปญหาตองวินิจฉัยวา นางเดือนจะถูกลงโทษในราชอาณาจักรตาม

มาตรา ๗ หรือ มาตรา ๘ ได หรือ ไม คําตอบ ขอ ๗. นางเดือนกระทําความผิดนอกราชอาณาจักรและเปนความผิดเกี่ยวกับเพศตามที่

บัญญัติไวในประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๒๘๒ ซ่ึงเปนความผิดที่ระบุไวในประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๗ (๒ ทวิ) นางเดือนจึงตองรับโทษในราชอาณาจักรตามมาตรา ๗

อนึ่ง แมทางการประเทศญี่ปุนจะไดแจงใหตํารวจไทยทราบอันถือวาเปนการรองขอใหลงโทษตามมาตรา ๘ (ก) แตความผิดที่นางเดือนกระทํานั้นมิใชความผิดที่ระบุไวในวรรคสองของมาตรา ๘ ดังนั้น นางเดือนจึงไมตองรับโทษในราชอาณาจักรตามมาตรา ๘

Page 25: เอกสารสรุปเนื้อหา วิชาประมวลกฎหมายอาญา เล่มที่ ๑

๒๐

คําถาม ขอ ๘. นายกิ๊บ ชาวฮังการี ไดรับแตงตั้งจากรัฐบาลไทยใหเปนกงสุลกิตติมศักดิ์ของประเทศไทยประจําประเทศฮังการี นายกิ๊บไดรวมกับนายขาวเจาหนาที่ชาวไทยซึ่งทํางานอยูในสถานกงสุลทําการปลอมธนบัตรของประเทศเยอรมัน โดยไดกระทําการในประเทศฮังการี ตอมานายกิ๊บถูกเจาหนาที่ตํารวจฮังการีจับไดและสงฟองตอศาล ศาลประเทศฮังการีไดมีคําพิพากษาถึงที่สุดใหปลอยตัวนายกิ๊บ นายกิ๊บจึงไดเดินทางเขามาในประเทศไทยเพื่อพบกับนายขาว ซ่ึงไดหลบหนีมากอนแลว ดังนี้ นายกิ๊บและนายขาวจะตองรับโทษในราชอาณาจักรไทยหรือไม อยางใด

จับประเด็นคําถาม ๑. กรณีตามปญหาตองวินิจฉัยวา การที่นายกิ๊บกับนายขาวรวมกันปลอมธนบัตรของประเทศเยอรมัน ในประเทศฮังการีนั้น เปนการกระทําความผิดนอกราชอาณาจักรที่จะตองรับโทษในราชอาณาจักร หรือไม ๒. กรณีนายกิ๊บตามปญหาตองวินิจฉัยวา การที่ไดมีคําพิพากษาของศาลในตางประเทศอันถึงที่สุดใหปลอยตัวนายกิ๊บแลวนั้น จะสามารถลงโทษนายกิ๊บในราชอาณาจักรเพราะการกระทํานั้นไดอีกหรือไม

๓. กรณีนายขาวตามปญหาตองวินิจฉัยวา นายขาวนั้น ยังมิไดถูกดําเนินคดีในเรื่องนี้มากอน จะสามารถลงโทษนายขาวในราชอาณาจักรได หรือไม

คําตอบ ขอ ๘. การที่นายกิ๊บกับนายขาวรวมกันปลอมธนบัตรของประเทศเยอรมัน ในประเทศฮังการีนั้นเปนความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา ๒๔๐ ประกอบมาตรา ๒๔๗ และเปนการกระทําความผิดนอกราชอาณาจักรที่จะตองรับโทษในราชอาณาจักรตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา ๗ (๒) แตเนื่องจากไดมีคําพิพากษาของศาลในตางประเทศอันถึงที่สุดใหปลอยตัวนายกิ๊บ จึงไมสามารถลงโทษนายกิ๊บในราชอาณาจักรเพราะการกระทํานั้นไดอีกตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๑๐ (๑)

สําหรับนายขาวนั้น ยังมิได ถูกดําเนินคดีในเรื่องนี้มากอน จึงสามารถลงโทษนายขาวในราชอาณาจักรได

คําถามการบาน ขอ ๑. นายเอกกับนายตนเปนคนไทยไดรับทุนรัฐบาลไทยไปศึกษาตอ ณ ประเทศอินเดียดวยกัน ขณะที่อยูบริเวณหองผูโดยสารขาออกที่สนามบินประเทศอินเดีย เพื่อจะเดินทางกลับมาเยี่ยมญาติที่ประเทศไทย นายเอกซื้อของที่สนามบินจนเงินหมดจึงขอยืมเงินนายตนเพื่อเสียภาษีสนามบิน นายตนไมใหจึงเปนปากเสียงกัน ในขณะนั้นเองนายเอกถือโอกาสลวงเอาเงินจากกระเปาเสื้อนายตนไปหาพันบาท นายตนโกรธนายเอกมาก คร้ันนายเอก นายตนเดินทางกลับถึงประเทศไทย นายตนยังไมหายโกรธจึงไปแจงความรองทุกขตอพนักงานสอบสวนกองปราบปรามวา นายเอกใชกําลังทํารายชกตอยตนจนเปนเหตุใหเกิดอันตรายแกกายแลวในทันทีทันใดนั้นไดลักเอาเงินของตนไปหาพันบาทที่สนามบินประเทศอินเดีย อันเปนความผิดฐานชิงทรัพย

ใหวินิจฉัยวา นายเอกและนายตนมีความผิดฐานใด และรับโทษในราชอาณาจักร ไดหรือไม

Page 26: เอกสารสรุปเนื้อหา วิชาประมวลกฎหมายอาญา เล่มที่ ๑

๒๑

มาตรา ๑๘ โทษตามกฎหมายอาญา

โทษ ตามมาตรา ๑๘ มีดังนี้ ประหารชีวิต จําคุก กักขัง ปรับ ริบทรัพยสิน ศาลจะคิดกําหนดวิธีการลงโทษที่แตกตางจากที่กฎหมายบัญญัติไว ๕ ประการ โดยไมมีกฎหมายใหอํานาจไมได

คําพิพากษาฎีกาที่ ๓/๒๕๔๒ วินิจฉัยวา คดีหมิ่นประมาทตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๓๓๒ (๒) ใหอํานาจศาลที่จะสั่งใหโฆษณาคําพิพากษาเทานั้น ไมใชอํานาจศาลที่จะมีคําส่ังโฆษณาคําขอขมาดวย ฉะนั้นการที่ศาลลางทั้งสองสั่งดังกลาวจึงเปนการลงโทษจําเลยนอกจากโทษที่กฎหมายบัญญัติไว ตองหามตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๒ วรรค ๑

คําพิพากษาฎีกาท่ี ๑๖๘/๒๕๔๓ วินิจฉัยวา ธนบัตรชนิดตาง ๆ จํานวน ๓๐,๐๐๐ บาท ไมใชทรัพยสินที่จําเลยไดมาโดยการกระทําผิดในคดีนี้ การริบทรัพยสินเปนโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา๑๘ (๕) ตองมีการฟองจําเลยในความผิดดังกลาว และพิสูจนความผิดของจําเลยตอศาลเสียกอน โจทกมิไดฟองจําเลยถึงการกระทําในครั้งกอนโดยตรง เพียงแตกลาวพาดพิงวาเงินจํานวนดังกลาวเปนทรัพยสินที่จําเลยไดมาจากการขายเมทแอมเฟตามีน จึงยังไมเพียงพอ ศาลไมอาจริบเงิน ๓๐,๐๐๐ บาท ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๓๓ (๒) ได

คําพิพากษาฎีกาท่ี ๔๑๗๑/๒๕๔๖ วินิจฉัยวา ป.อ. มาตรา ๓๓ คําวา “ มิไดรูเห็นเปนใจดวยในการกระทําความผิด ” บงชี้วา ตองมีความผิดเกิดขึ้นศาลจึงจะมีอํานาจสั่งริบทรัพยสินได นอกจากนี้ตาม ป.อ.มาตรา ๑๘(๕) การริบทรัพยสินเปนโทษอยางหนึ่งสําหรับลงแกผูกระทําความผิด ศาลจะสั่งริบทรัพยที่จําเลยมีไวเพื่อใชในการกระทําความผิดไดตอเมื่อ มีการกระทําความผิดเกิดขึ้น และ โจทกตองฟองขอใหลงโทษในความผิดนั้นดวย คดีนี้โจทกฟองเพียงวาจําเลยมีกัญชาอัดแทง และมีกัญชาผสมยาเสนไวในครอบครองเพื่อจําหนายเทานั้น โจทกมิไดฟองขอใหลงโทษจําเลยในความผิดฐานผลิต และฐานเสพกัญชา โจทกจึงขอใหศาลสั่งริบถุงพลาสติกใส มีด เขียงพลาสติก และบองกัญชาดวยไมได สําหรับมาตรา ๑๘ วรรค ๒ท่ีเพิ่มเติมใหมท่ีบัญญัติมิใหนําโทษประหารชีวิตและโทษจําคุกตลอดชีวิต มาใชบังคับแกผูกระทําความผิดในขณะที่มีอายุต่ํากวา ๑๘ ป นั้นมีขอสังเกตดังนี้ ๑. จํากัดเฉพาะโทษประหารชีวิตกับโทษจําคุกตลอดชีวิตตามมาตรา ๑๘ (๑) และ (๒) เทานั้น

๒. หามนํามาใชกับผูกระทําผิดในขณะที่มีอายุต่ํากวา ๑๘ ป หมายความวา ใหดูขณะการทําความผิด ไมใชดูขณะถูกจับกุมหรือถูกฟอง ๓. กฎหมายใหมนี้ถือวาเปนกฎหมายที่เปนคุณแกผูกระทําความผิด ตาม ป.อ.มาตรา ๓

๔. กรณีคดีถึงที่สุดแลวตองบังคับตาม ป.อ. มาตรา ๓ (๑) และ (๒) แลวแตกรณี

Page 27: เอกสารสรุปเนื้อหา วิชาประมวลกฎหมายอาญา เล่มที่ ๑

๒๒

๕. ปกติศาลจะนํา ป.อ. มาตรา ๗๕ และมาตรา ๗๖ มาบังคับกับผูกระทําความผิดท่ีมีอายุ ๑๔ ป แตยังไมเกิน ๑๗ ป และผูกระทําผิดท่ีมีอายุกวา ๑๗ ป แตยังไมเกิน ๒๐ ป อยูแลว แตยังปรากฎวามีผูกระทําผิดขณะมีอายุต่ํากวา ๑๘ ป ถูกลงโทษจําคุกตลอดชีวิตหรือประหารชีวิต จึงตองมีการออกกฎหมายหามไว

มาตรา ๑๘ วรรค ๓ ของกฎหมายใหมท่ีใหระวางโทษประหารชีวิต หรือจําคุกตลอดชีวิตเปล่ียนเปน ระวางโทษจําคุก ๕๐ ป นั้น มีขอ สังเกต ดังนี้

๑. ถือเปนการเปลี่ยนระวางโทษโดยผลของกฎหมาย ดังนั้น ถาผูกระทําผิดเปนบุคลตาม ป.อ.มาตรา ๗๕ และ ๗๖ การลดมาตราสวนโทษใหผูกระทําผิดก็ตองลดลงจากเพดาน ๕๐ ป

๒. หากมีกรณีตองลดโทษ เพราะมีเหตุบรรเทาโทษตาม ป.อ. มาตรา๗๘ ศาลก็ตองลดหลังจากปฏิบัติ ตาม มาตรา ๗๔, ๗๕ และ ๗๖ แลว

๓. ถือวาวรรคสามของมาตรา ๑๘ เปนกฎหมายที่เปนคุณตามมาตรา ๓

โทษประหารชวีิต มาตรา๑๙ (ใหม)ผูใดตองโทษประหารชีวิต ใหดําเนินการดวยวิธีการฉีดยาหรือสารพิษใหตาย มาตรา ๑๙ ท่ีแกไขใหมมีขอสังเกตดังนี้ ๑. มาตรา๑๙ เปนวิธีบังคับโทษประหารชีวิต วาจะดําเนินการอยางไรจึงไมใชกฎหมายที่เปนคุณตาม

มาตรา ๓ ดังนั้นเมื่อกฎหมายใหมมีผลใชบังคับแลวตองใชกับทุกคดี แมคดีดังกลาวถึงที่สุดกอน มาตรา ๑๙ ที่แกไขใหมมีผลบังคับ

๒. หลักเกณฑและวิธีการประหารชีวิต ตองใหเปนไปตามระเบียบที่กระทรวงยุติธรรมกําหนด โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา(มาตรา ๑๙ วรรคสอง)

มาตรา ๒๐ กรณีโทษตามกฎหมายระบุวาท้ังจําและปรับ มาตรา๒๐บรรดาความผิดที่กฎหมายกําหนดใหลงโทษทั้งจําคุกและปรับดวยนั้น ถาศาลเห็นสมควร

จะลงแตโทษจําคุกก็ได ซ่ึงมีขอสังเกตดังนี้คือ ๑. เปนดุลพินิจของศาลจะลงโทษแตโทษจําคุกก็ได แตจะลงโทษปรับอยางเดียวไมได ๒. การลงโทษจําคุกอาจจะเปนกรณีศาลลงโทษจําคุก แตรอการลงโทษไวก็ได ถือวาศาลไดลงโทษ

จําคุกจําเลยแลว คําพิพากษาฎีกาท่ี ๒๐๙๖/๒๕๓๙ วินิจฉัยวา ในความผิดที่กฎหมายกําหนดใหลงโทษจําคุกและปรับ

ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๒๐ เปนบทบัญญัติใหศาลมีอํานาจใชดุลพินิจที่จะเลือกโทษจําคุกที่จะลงแกจําเลยแตเพียงสถานเดียวได และ เมื่อศาลเห็นสมควรก็อาจใชดุลพินิจลงโทษจําคุกจําเลยเพียงสถานเดียว โดยไมลงโทษปรับดวยก็ได ก็มิไดหมายความวาหากลงโทษจําคุกสถานเดียวโดยไมลงโทษปรับแลวจะตองลงโทษจําคุกจําเลยไปทีเดียว จะรอการลงโทษไมได ศาลลงโทษจําคุกแตรอการลงโทษไวก็ได

Page 28: เอกสารสรุปเนื้อหา วิชาประมวลกฎหมายอาญา เล่มที่ ๑

๒๓ ๓. มาตรา ๒๐ นําไปใชกับพระราชบัญญัติ หรือกฎหมายอื่นที่มีโทษอาญาดวย โดยผลของ มาตรา๑๗ ประมวลกฎหมายอาญา ๔. มาตรา ๒๐ มีหลักคือคดีมีโทษจําคุก และปรับ ศาลจําคุกอยางเดียวไดโดยไมลงโทษปรับ ถาศาลจะลงโทษปรับอยางเดียวจะอาง มาตรา ๒๐ ไมได ตองอางบทบัญญัติ มาตรา ๕๕

มาตรา ๒๑ การคํานวณโทษจําคุกเปนวัน เดือน หรือป มาตรา ๒๑ การคํานวณระยะเวลาจําคุกใหนับวันเริ่มจําคุกรวมคํานวณเขาดวยกันและใหนับเปนหนึ่ง

วันเต็มโดยไมตองคํานึงถึงจํานวนชั่วโมง ถาระยะเวลานั้นกําหนดเปนเดือน ใหนับ ๓๐ วันเปนหนึ่งเดือน ถากําหนดเปนป ใหคํานวณตามป

ปฏิทินในราชการ คําพิพากษาฎีกาท่ี ๒๓๕/๒๕๓๕ วินิจฉัยวา การที่ศาลชั้นตนนําโทษของจําเลยซึ่งตองคําพิพากษาใหจําคุก ๓ เดือน กับอีกกระทงหนึ่งจําคุก ๙ เดือน มาบวกกับโทษจําคุก ๑๐ ป ของจําเลยในคดีหลัง รวมแลวจําคุก ๑๑ ป เปนผลรายแกจําเลย ศาลฎีกาพิพากษาแกเปนจําคุก ๑๐ ป กับ ๑๒ เดือน คําพิพากษาฎีกาท่ี ๒๑๔๔/๒๕๔๔ วินิจฉัยวา การที่ศาลลางรวมโทษจําคุกจําเลย ทั้ง ๓ กระทง กอนแลวจึงลดโทษนั้นไมถูกตอง เพราะเมื่อลดโทษจําคุกแตละกระทงแลวมีเศษเปนเดือน การนับโทษจําคุกเปนเดือน ตองนับ ๓๐ วัน เปน ๑ เดือน แตการนับโทษจําคุกเปนปตองนับตามปปฏิทินในราชการตามมาตรา ๒๑ วรรค ๒ หากกําหนดโทษจําคุกเปนเดือน เมื่อรวมโทษจําคุก ๑๒ เดือน จําเลยยอมไดรับโทษจําคุก ๓๖๐ วัน แตถานับเปนปจําเลยจะไดรับโทษจําคุก ๓๖๕ วันหรือ ๓๖๖ วัน เห็นไดวาหากรวมโทษจําคุกจําเลยเปนปยอมเปนผลรายแกจําเลยมากกวา จึงตองลดโทษใหจําเลยทุกกระทงกอน แลวรวมโทษจําคุกสวนที่เปนเดือนก็คงใหเปนเดือนตอไป

มาตรา ๒๒ การเริ่มนับโทษและนับโทษตอ ขอสังเกตเกี่ยวกับมาตรา ๒๒ วรรคแรก มีดังตอไปนี้

๑.โทษจําคุกใหเร่ิมนับแตวันมีคําพิพากษา เชน ศาลใหจําคุก ๑ ป ศาลก็จะออกหมายใหจําคุก ๑ ป ถาจําเลยไมเคยถูกคุมขังมากอนเลยโทษจะเริ่มนับตั้งแตวันออกหมาย แตถาจําเลยตองถูกคุมขังระหวางพิจารณา ศาลจะหักจํานวนวันที่ถูกคุมขังกอนพิพากษาให

๒. ถาในระหวางพิจารณาจําเลยตองขังคดีนี้ซํ้าซอนกับคดีอาญากอน และตอมาศาลพิพากษายกฟองคดีกอน ตองถือวาจําเลยตองขังคดีนี้ตลอดมาตั้งแตตน จึงตองหักวันตองขังที่ซํ้าซอนกันใหจําเลยดวย

คําพิพากษาฎีกาท่ี ๒๕๗๕/๒๕๔๒ วินิจฉัยวา จําเลยตองขังคดีนี้ตั้งแตวันที่ ๒๒ มีนาคม ๒๕๓๙ แมคําพิพากษาคดีนี้จะนับโทษตอจากคดีอาญาคดีกอน แตเมื่อระหวางพิจารณาจําเลยตองขังคดีนี้ซํ้าซอนกับคดีอาญากอน และตอมาศาลพิพากษายกฟองคดีอาญาคดีกอน ก็ตองถือวาจําเลยตองขังคดีนี้ตลอดมาตั้งแตตน จึงตองหักวันตองขังระหวางอุทธรณ ฎีกาท่ีซํ้าซอนกันใหจําเลยดวย

Page 29: เอกสารสรุปเนื้อหา วิชาประมวลกฎหมายอาญา เล่มที่ ๑

๒๔ ๓.ในคําพิพากษาของศาลอาจจะบอกใหเร่ิมนับโทษจําคุกตั้งแตวันมีคําพิพากษา โดยไมหักวันคุมขังกอนมีคําพิพากษาเขาไปดวยก็ทําได ๔. ในวรรคทายของมาตรา ๒๒ ยังกําหนดไววา ขอหามมิใหลงโทษจําคุกเกินกวาอัตราโทษขั้นสูงนี้ไมกระทบกระเทือนบทบัญญัติในมาตรา ๙๑ เกี่ยวกับมาตรา ๒๒ วรรคทาย และมาตรา ๙๑ มีขอสังเกตดังนี้ ๑.กรณีฟองเปนหลายคดี โดยหลักแลวไมอยูในบังคับของมาตรา ๙๑ ถาฟองเปนคดีเดียวกันหรืออาจฟองเปนคดีเดียวกันไดจึงอยูในบังคับของมาตรา ๙๑

คําพิพากษาฎีกาที่ ๔๖๕๖/๒๕๔๐ วินิจฉัยวา บทบัญญัติในประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๙๑ ใหใชกรณีศาลมีคําพิพากษาอันเดียวกัน คําฟองคดีเดียวที่รวมเอาความผิดหลายกระทงไวดวยกันตาม ป.วิ.อ.มาตรา ๑๖๐ หรือ คําฟองคดีที่พิจารณารวมกันตาม ป.วิ.อ. มาตรา ๒๕ ซ่ึงปรากฏวาจําเลยกระทําผิดหลายกรรมตาง กันก็ใหลงโทษทุกกรรมเปนกระทงความผิดไป โดยมีขอยกเวนวาเมื่อรวมโทษทุกกระทงแลว โทษจําคุกทั้งส้ินตองไมเกินกําหนดที่ระบุไวใน มาตรา ๙๑ ตอนทาย

๒. คดีแรกกับคดีหลังตองไมเก่ียวพันกันเลยจึงจะไมอยูในบังคับมาตรา ๙๑คําพิพากษาฎีกาท่ี ๔๖๒๐-๔๖๒๑/๒๕๔๒ วินิจฉัยวา สํานวนคดีแรกและสํานวนคดีหลังมิไดเกี่ยวพัน

กัน ไมอาจฟองเปนคดีเดียวกัน หรือรวมพิจารณาพิพากษาเขาดวยกันได แมคดีท้ังสองคดีศาลตางลงโทษจําคุกตลอดชีวิต ก็สามารถนับโทษตอกันไดไมขัด ป.อ. มาตรา ๙๑ (๓)

๓. ถาเปนคดีที่กระทําความผิดในครั้งเดียว คําพิพากษาฎีกาที่ ๓๘๖๔/๒๕๔๓ เมื่อขอเท็จจริงรับฟงไดวา คดีนี้กับคดีกอนมีลักษณะแหงคดีและ

ความผิดเปนอยางเดียวกันเกี่ยวพันกัน จําเลยและผูเสียหายเปนบุคคลคนเดียวกัน โจทกจึงอาจฟองคดีท้ังสองสํานวนเปนคดีเดียวกัน แตปรากฎวาโจทกแยกฟองคดีนี้กับคดีกอนโดยศาลชั้นตนไมไดส่ังรวมพิจารณาคดีทั้งสองสํานวนเขาดวยกัน ดังนี้เมื่อศาลชั้นตนลงโทษจําคุกจําเลยทั้งสองทุกกรรม และจําคุกจําเลยทั้งสองมีกําหนด ๒๐ ป เต็มที่ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๙๑ (๒) ในคดีกอนแลว ศาลชั้นตนยอมไมอาจนับโทษของจําเลยทั้งสองตอกับโทษของจําเลยทั้งสองในคดีกอนของศาลชั้นตนได เพราะจะเปนการทําใหจําเลยทั้งสองตองรับโทษจําคุกเกินกําหนดตามที่ มาตรา ๙๑ (๒) บัญญัติไว สรุปวา แมจะฟองเปนคนละสํานวนกัน แตถาอยูในหลักเกณฑวาสามารถรวมพิจารณาพิพากษาเขาดวยกันได แตโจทกไมฟองเปนคดีเดียวกัน การนับโทษตอกันตองอยูในบังคับ มาตรา ๙๑

ถาเปนคดีสองคดีไมมีความเกี่ยวพันกันเลย เพราะเปนคนละเรื่องไมอาจรวมพิจารณาพิพากษาดวย กันได นับโทษตอกันได แมโทษรวมแลวเกินท่ีกําหนดในมาตรา๙๑ ก็ทําไดเพราะไมอยูในบังคับของ มาตรา๙๑ ๔. ถาเปนการกระทํากรรมเดียว ตาม ป.อ. มาตรา ๙๐ ก็ไมตองพิจารณาตามมาตรา ๙๑ อีกวารวมทุกกรรมแลวเกินหรือไม เพราะลงโทษไดเพียงกรรมเดียวอยูแลว

Page 30: เอกสารสรุปเนื้อหา วิชาประมวลกฎหมายอาญา เล่มที่ ๑

๒๕ คําพิพากษาฎีกาท่ี ๘๑๕๒/๒๕๔๔ วินิจฉัยวา การที่จําเลย มีเจตนาจะฆาผูเสียหายทั้งสอง เพราะมีสาเหตุโกรธเคือง เนื่องจากโตเถียงกันเกี่ยวกับเรื่องคาแรงโดยจําเลยเปนชางไมไดรับคาแรงนอยกวาผูเสียหายทั้งสองซึ่งเปนชางทาสี แลวจําเลยไดใชขวานฟนผูเสียหายทั้งสองในทันทีทันใดในเวลาตอเนื่องกัน การที่จะทํารายใครกอนใครหลังยอมเปนเรื่องปกติธรรมดา เพราะไมสามารถใชขวานฟนผูเสียหายทั้งสองคนพรอมกันทีเดียวได แตจําเลยประสงคจะทํารายผูเสียหายทั้งสองในคราวเดียวกัน แมจะมีการกระทําหลายหน และตอบุคคลหลายคน ก็อยูภายในเจตนาอันนั้น การกระทําของจําเลยจึงเปนกรรมเดียว

๕. การนับโทษตอตามมาตรา ๒๒ โจทกตองมีคําขอใหนับโทษตอ ศาลจึงจะนับโทษตอให ๖. หากโจทกมีคําขอใหนับโทษตอกับคดีอ่ืนแลว แตขณะศาลชั้นตนพิพากษา คดีอ่ืนท่ีขอใหนับโทษ

ตอนั้นศาลยังไมมีคําพิพากษา ศาลชั้นตนจึงไมนับโทษตอให ตอมาขณะเมื่อคดีขึ้นมาสูศาลฎีกาแลว ไดทราบแลววาคดีที่จะนําโทษในคดีนี้ไปนับตอนั้น ศาลลงโทษอยางไร ศาลฎีกาพิพากษาใหนับโทษตอได

คําพิพากษาฎีกาท่ี ๖๓๒๓/๒๕๔๔ วินิจฉัยวา โจทกมีคําขอทายฟองใหนับโทษตอจากคดีกอนแตศาลชั้นตนไมนับโทษตอใหเพราะคดีดังกลาวศาลยังไมไดมีคําพิพากษา เม่ือโจทกฎีกาขอใหนับโทษตอโดยอางวาคดีกอนศาลชั้นตนพิพากษาแลวโดยพิพากษาลงโทษจําคุก จําเลยไมไดแกฎีกา หรือฎีกาโตแยงขอเท็จจริงดังกลาว จึงตองฟงวาศาลชั้นตนมีคําพิพากษาลงโทษจําคุกจําเลยในคดีดังกลาวแลวจริง ศาลฎีกายอมพิพากษาใหนับโทษตอได

๗. แมคดีท่ีขอใหนับโทษตอยังไมถึงท่ีสุด แตมีคําพิพากษาของศาลใดศาลหนึ่งใหลงโทษจําคุกแลว ก็นับโทษตอได

คําพิพากษาฎีกาที่๑๔๐๔/๒๕๔๗ วินิจฉัยวาคดีอาญาเรื่องกอนยังอยูระหวางพิจารณาของศาลอุทธรณหากศาลอุทธรณ ยังมิไดมีคําพิพากษาเปลี่ยนแปลง โดยพิพากษาแกหรือกลับผลของคําพิพากษาศาลช้ันตนแลว จําเลยยังคงตองถูกบังคับตามโทษของศาลชั้นตน ดังนี้ ศาลชั้นตนชอบที่จะนับโทษจําคุกของจําเลยในคดีนี้ตอจากโทษคดีอาญาเรื่องกอนของศาลชั้นตนตอไปจนกวาผลของคําพิพากษาอันถึงที่สุดของศาลนั้น ๆจะเปลี่ยนแปลงไป ๘. การขอใหนับโทษตอจะขอมาพรอมกับฟองหรือยื่นคํารองขอภายหลังก็ได แมศาลชั้นตนไมไดสั่งอนุญาต ก็ถือวาอนุญาตใหนับโทษตอโดยปริยายแลว

คําพิพากษาฎีกาท่ี ๔๔๖๑-๔๔๖๒/๒๕๔๔ วินิจฉัยวา การขอใหนับโทษตอ จะขอมาพรอมกับฟอง หรือยื่นคํารองขอภายหลังก็ได และเม่ือโจทกไดแสดงความประสงคขอใหนับโทษตอมาชัดเจน และจําเลยท้ังสองในคดีเปนบุคคลเดียวกันแนนอน การที่ศาลชั้นตนไมไดสั่งเปนอยางอื่นจนกระทั่งพิพากษา ตองถือวาศาลชั้นตนอนุญาตใหโจทกนับโทษตอโดยปริยายแลว ๙. ขอนับโทษตอมาในคํารองขอแกไขเพิ่มเติมคําฟองได คําพิพากษาฎีกาท่ี ๘๘๘๗/๒๕๔๒ วินิจฉัยวา โจทกอาจทําเปนคํารองขอแกไขเพิ่มเติมคําฟองขอนับ โทษตอก็ได ถือเปนสวนหนึ่งของคําฟอง

Page 31: เอกสารสรุปเนื้อหา วิชาประมวลกฎหมายอาญา เล่มที่ ๑

๒๖ ๑๐. โจทกขอใหนับโทษตอแลว แตไมไดระบุวาคดีท่ีขอใหนับโทษตอเปนคดีหมายเลขใดแตมาปรากฏในรายงานการสืบเสาะและพินิจของพนักงานคุมประพฤติ ศาลก็ยอมนํามาฟงแลวนับโทษตอได

คําพิพากษาฎีกาท่ี ๗๑๑๔/๒๕๔๔ วินิจฉัยวาโจทกขอใหนับโทษตอแลวแตก็ไมไดระบุวาคดีที่ขอใหนับโทษตอเปนคดีหมายเลขใด แตมาปรากฏในรายงานการสืบเสาะ และพินิจของพนักงานคุมประพฤติ วาจําเลยถูกฟองอีกคดีหนึ่งเปนคดีอาญาหมายเลขดําที่ ๑๐๒๑/๒๕๔๓ ของศาลชั้นตน จําเลยไมคัดคาน เทากับจําเลยรับวาเปนบุคคลคนเดียวกับจําเลยในคดีที่โจทกขอใหนับโทษตอ ศาลยอมนํามาฟงแลวนับโทษตอได ๑๑. ศาลชั้นตนจะตองสอบถามวา จําเลยเปนบุคคลเดียวกันกับจําเลยในคดีท่ีโจทกขอใหนับโทษตอหรือไม ถาไมไดสอบถามไวก็นับโทษตอไมได

คําพิพากษาฎีกาที่๔๒๔๕-๔๒๕๗/๒๕๔๑ วินิจฉัยวา การสอบถามและการยอมรับของจําเลยในเร่ือง ที่โจทกขอใหนับโทษตอเปนเรื่องสําคัญ ศาลชั้นตนจะตองสอบถามวาจําเลยเปนบุคคลเดียวกันกับจําเลยในคดีท่ีโจทกขอใหนับโทษตอ ถาไมไดสอบถามไวก็นับโทษตอไมได

๑๒. ถาสอบถามแลว จําเลยปฏิเสธ หรือถือวาปฏิเสธ โจทกตองนําสืบใหชัด ถาไมนําสืบ นับโทษตอไมได

คําพิพากษาฎีกาที่ ๗๒๖๒/๒๕๔๖ วินิจฉัยวา จําเลยใหการปฏิเสธวาไมไดกระทําความผิดตามฟองและ มิไดใหการรับวาจําเลยเปนบุคคลคนเดียวกับจําเลยในคดีอาญาคดีอ่ืนของศาลชั้นตนตามที่โจทกขอใหนับโทษตอแตอยางใด และแมคดีที่โจทกอางเปนคดีที่ฟอง และพิจารณาคดีในศาลชั้นตนนั้นก็ตาม แตมิใชขอเท็จจริงท่ีศาลจะรูไดเอง จึงเปนหนาท่ีของโจทกท่ีตองนําสืบใหปรากฏวา จําเลยเปนบุคคลคนเดียวกับจําเลยในคดีอาญาตามที่โจทกอางขอใหนับโทษตอ

๑๓. ถาในคําพิพากษาของศาล ศาลไมไดสั่งใหนับโทษตอไวจะตองนับโทษซอนกัน คําพิพากษาฎกีาท่ี ๒๗๖๖/๒๕๔๐ วินิจฉยัวา ไมมีบทกฎหมายใดบัญญัติหามไววาเมือ่จําเลยถูกขังใน

คดีหนึ่งแลวจะถูกขังในคดีอ่ืนอีกไมได ดังนั้นการที่ศาลชั้นตนออกหมายขังจําเลยระหวางพจิารณา ตามหมายขังเลขที่ ๑๖/๒๕๓๙ ลงวนัที่ ๑๖ มกราคม ๒๕๓๙ ในคดีนี้ ในวนัที่โจทกยื่นฟองจําเลยตอศาลชั้นตน และขณะที่จําเลยถูกขังอยูในเรือนจําในคดีอ่ืน เปนการกระทาํที่ชอบดวยกฎหมายมีผลใหจําเลยถูกขังในคดีนี้ ตาม หมายขังดังกลาวของศาลชั้นตนนับแตวันที่ ๑๖ มกราคม ๒๕๓๙ เปนตนมา ทํานองเดียวกับการที่จําเลยถูกศาลพิพากษาจําคุก ๒ คดี พรอมกัน หากศาลมิไดกลาวในคําพิพากษาวาใหนับโทษจําคุกของจําเลยในคดีหนึ่งตอจากอีกคดีหนึ่ง ก็ตองนับโทษจําคุกของจําเลยในทั้งสองคดีไปพรอมกัน ๑๔. มาตรา ๒๒ ใชคําวาโทษจําคุก แตถาศาลนั้น ๆ เปล่ียนโทษจําคุกเปนโทษกักขัง ศาลก็นับโทษกักขังสองสํานวนตอกันได

คําพิพากษาฎกีาท่ี ๖๘๒๒/๒๕๔๐ วินจิฉัยวา คดีนี้เดิมศาลไดพิพากษาลงโทษจําคุกจาํเลยที่ ๑ แตศาลเห็นวา เปนโทษเล็กนอย ลงโทษจําคุกจําเลยที่ ๑ ไมเกิน ๓ เดือน จึงใหลงโทษกักขังแทน ตาม มาตรา ๒๓

Page 32: เอกสารสรุปเนื้อหา วิชาประมวลกฎหมายอาญา เล่มที่ ๑

๒๗ กําหนดเวลากักขังก็เปนไปตามกําหนดไวในคําพิพากษา ดังนั้น เม่ือโทษกักขังเปนเพียงโทษที่ลงแทนโทษจําคุก ศาลจึงนับโทษกักขังตอกับโทษกักขังในอีกคดีหนึ่งได ตาม ป.อ. มาตรา๒๒

๑๕. ถาโจทกขอใหนับโทษตอแลว แตศาลลางหลงลืม ศาลสูงแกไขใหนับโทษตอได คําพิพากษาฎีกาที่ ๖๓๒๓/๒๕๔๔ วินิจฉัยวา โจทกมีคําขอใหนับโทษตอจากคดีกอน แตศาลชั้นตนไมนับโทษเพราะคดีดังกลาวศาลยังไมไดพิพากษา เมื่อโจทกฎีกาขอใหนับโทษตอ อางวาคดีดังกลาวศาลพิพากษาแลว จําเลยไมไดแกฎีกาหรือโตแยงเปนอยางอื่น จึงฟงวาศาลลงโทษจําเลยจริง ก็นับโทษตอได ไมถอืเปนการเพิ่มเติมโทษ ไมถือวาเปนผลราย

มาตรา ๒๓ เปล่ียนโทษจําคุกเปนกักขัง มาตรา ๒๓ มีขอสังเกตดังนี้ ๑. การเปลี่ยนโทษจําคุกมาเปนโทษกักขังนั้น คดีนั้นศาลจะตองลงโทษจําคุกไมเกิน ๓ เดือน ดูโทษท่ี

ศาลจะลงจริงเปนหลัก ๒.ผูที่จะถูกเปลี่ยนจากโทษจําคุกมาเปนโทษกักขังได ตองไมเคยไดรับโทษจําคุกมากอนหรือปรากฎวาเคยไดรับโทษจําคุกมากอนแตเปนเรื่องกระทําโดยประมาทหรือลหุโทษ คําพิพากษาฎีกาท่ี ๑๖๑๔/๒๔๙๘ วินิจฉัยวา แมปรากฏวาจําเลยตองโทษจําคุกมากอน แตไมปรากฏหลักฐานวาเกี่ยวกับประมาท หรือลหุโทษหรือไม ศาลก็เปลี่ยนโทษจําคุกเปนกักขังได

๓. เมื่อเปลี่ยนจากโทษจําคุกมาเปนโทษกักขัง ก็ใชมาตรา ๒๒ นับโทษกักขังตอกับโทษกักขังในคดีอ่ืนได

๔. โทษกักขังจะรอการลงโทษไมได จะนํามาตรา ๕๖ มาใชไมได คําพิพากษาฎีกาท่ี ๓๘๑๘/๒๕๓๓ วินิจฉัยวา โทษที่ศาลจะรอการลงโทษได จะตองเปนโทษจําคุกเทานั้น เม่ือโทษจําคุกเปล่ียนเปนโทษกักขังแลวจะรอการลงโทษไมได ๕. เปรียบเทยีบมาตรา ๒๓ กับมาตรา๕๕แลวจะไดหลักวา ถาในคดีใดศาลจะลงโทษจริง(ไมใชโทษตามกฎหมาย)จําคุกไมเกินสามเดือนแลว ศาลอาจใชอํานาจตามมาตรา ๒๓ เปลี่ยนโทษจําคุกเปนกักขังไม เกินสามเดือน หรืออาจใชอํานาจตามมาตรา ๕๕ ลงโทษจําคุกใหนอยลงอีกเพียงใดก็ได หรือจะลงโทษปรับแตเพียงอยางเดียวก็ได ๖. เปรียบเทียบมาตรา ๒๐ กับมาตรา ๕๕ ถาศาลจะลงโทษปรับอยางเดียวจะอางมาตรา ๒๐ ไมได ตองอางมาตรา ๕๕ เพราะมาตรา ๒๐ นั้นมีหลักอยูวาคดีที่มีโทษจําคุกและปรับศาลลงโทษจําคุกอยางเดียวไดโดยไมลงโทษปรับ

มาตรา ๒๗ เปล่ียนคืนโทษกกัขังเปนจําคุก มีขอสังเกตเกี่ยวกับ มาตรา๒๗ คือ ตองเปนโทษกักขังที่เนื่องมาจากการใช มาตรา๒๓ เทานั้น เปน

การเปลี่ยนใหผูตองหากลับไปรับโทษจําคุกเดิม

Page 33: เอกสารสรุปเนื้อหา วิชาประมวลกฎหมายอาญา เล่มที่ ๑

๒๘

มาตรา ๒๘ โทษปรับ มาตรา ๒๘ผูใดตองโทษปรับผูนั้นจะตองชําระเงินตามจํานวนที่กําหนดไวในคําพิพากษาศาลตอศาล

มาตรา๒๙ วิธีการชําระคาปรับ มาตรา ๒๙ มีขอสังเกตดังนี้ ๑. ผูตองโทษปรับท่ีชําระคาปรับไปแลว ไมอาจเปล่ียนขอใหกักขังแทนคาปรับโดยจะขอรับเงินคา ปรับคืนได

คําพิพากษาฎีกาท่ี ๑๓๗๕/๒๕๐๓ วินิจฉัยวาคาปรับที่จําเลยจะขอใหศาลคืนโดยจะขอกักขังแทนนั้นทําไมไดเพราะการกักขังแทนคาปรับก็ดี การยึดทรัพยสินใชคาปรับก็ดี เปนวิธีการชดใชคาปรับที่ยังไมไดชําระเทานั้น เพราะฉะนั้นเมื่อชําระตอศาล และสงเปนรายไดแผนดินไปแลวจะมาขอคืนไมได ๒. แมมาตรา ๒๙ จะกําหนดเวลาใหชําระคาปรับภายในสามสิบวันนับแตวันที่ศาลพิพากษา หากจําเลยรองขอ ศาลอาจผอนผันใหจําเลยชําระคาปรับชาเร็วเพียงใดก็ได

คําพิพากษาฎีกาท่ี ๑๕๗๙/๒๕๒๑ วินิจฉัยวา โทษปรับนิติบุคคลถูกกักขังแทนคาปรับไมได การขอผอนชําระคาปรับ ถือวาจําเลยไมชําระคาปรับไมได ศาลผอนผันใหจําเลยชําระคาปรับชาเร็วเพียงใดแลวแตดุลพินิจตามความยุติธรรมและเหมาะสม การยึดทรัพยอาจทําไดภายใน ๕ ป นับแตวันที่ไดมีคําพิพากษาถึงที่สุด ตามมาตรา ๙๙ ไมเปนการขยายเวลาตาม ป.วิ.พ. มาตรา ๒๓ ซ่ึงใชสําหรับกฎหมายวิธีพิจารณา วิธีพิจารณานํามาใชกับกฎหมายสารบัญญัติไมได ศาลกําหนดใหจําเลยผอนชําระคาปรับเปนงวด ๆ แตเมื่อครบงวดปที่ ๔ ใหจําเลยหาธนาคารค้ําประกัน โดยใหจําเลยทําทัณฑบนไว

มาตรา ๓๐ กักขังแทนคาปรบั การกักขังแทนคาปรับ ใหถืออัตรา ๒๐๐ บาทตอหนึ่งวัน กรณีคางชําระคาปรับหรือศาลสั่งปรับไมถึง

๒๐๐ บาท จะกักขัง ๑ วันไมได ไดแตยึดทรัพยสินใชคาปรับ เทียบตามนัยคําพิพากษาฎีกาที่ ๕๔๒/๒๕๔๒ หามศาลกักขังแทนคาปรับเกินหนึ่งปไมวาในกรณีความผิดกระทงเดียวหรือหลายกระทง เวนแตศาลส่ังปรับตั้งแต ๘๐,๐๐๐ บาทขึ้นไป ศาลจะสั่งกักขังแทนคาปรับ เกินกวา ๑ ป แตไมเกิน ๒ ปก็ได แตศาลตองกลาวไวในคําพิพากษาใหชัดแจง ถาไมกลาวใหกักขังแทนคาปรับไดเพียง ๑ ป เทียบฎีกา ๑๘๓๕/๒๕๒๔ ใหนับวันเริ่มกักขังแทนคาปรับรวมเขาดวย และใหนับเปนหนึ่งวันเต็ม โดยไมตองคํานึงถึงจํานวนชั่วโมง เหมือนการคํานวณระยะเวลาจําคุกตาม มาตรา ๒๙ กําหนดใหปลอยตัวในวันถัดจากวันครบกําหนด แตถานําเงินมาชําระครบตองปลอยตัวทันที ถือวาเปนกฎหมายที่บัญญัติภายหลังเปนคุณแมคดีถึงท่ีสุดแลว ก็ตองนํามาใชโดยถือเปนเรื่องการบังคับชําระคาปรับมีผลทันที

Page 34: เอกสารสรุปเนื้อหา วิชาประมวลกฎหมายอาญา เล่มที่ ๑

๒๙

มาตรา ๓๐/๑ การขอทํางานแทนคาปรับ มาตรา ๓๐/๑ มีขอสังเกตดังนี้ ๑. ตองเปนกรณีที่โทษปรับตามคําพิพากษาฎีกาไมเกิน ๘๐,๐๐๐ บาท

๒. นิติบุคคลที่ถูกลงโทษปรับไมสามารถขอทํางานบริการสังคมหรือทํางานสาธารณประโยชนแทนคาปรับ

๓. ผูตองโทษปรับจะตองยากจนถึงขนาดไมมีเงินชําระคาปรับ และไมมีประวัติวาเคยตองโทษมากอน หรือเปนผูกระทําผิดติดนิสัย ๔. สภาพความผิด ตองไมใชความผิดที่ไดกระทําไปเพื่อแสวงหาประโยชนในทางเศรษฐกิจ เชน ฉอโกงประชาชน ยาเสพติด ฟอกเงิน ความผิดตามกฎหมายวาดวยหลักทรัพยและตลาดหลักทรัพย กฎหมายวาดวยการปองกันและปราบปรามการคาหญิงและเด็ก เปนตน ๕. การยื่นคํารองใหยื่นตอศาลชั้นตนที่พิพากษาคดีนั้น แมจะเปนโทษตามคําพิพากษาของศาลช้ันตน ศาลอุทธรณ หรือศาลฎีกา ศาลชั้นตนจะเปนผูส่ังคํารองนั้น ๖. ผูที่ถูกลงโทษปรับ หรือ ถูกกักขังแทนคาปรับกอนวันที่กฎหมายนี้ใชบังคับ มีสิทธิยื่นคํารองตามมาตรานี้ได ๗. โดยปกติเมื่อมีการยื่นคํารองตามมาตรานี้ ศาลจะยังไมบังคับเอาคาปรับทันที แตบทบัญญัติตามมาตรานี้ไมตัดอํานาจศาลตามมาตรา ๒๙ ที่จะเรียกประกัน หรือส่ังกักขังผูตองโทษปรับถามีเหตุอันควรสงสัยวาผูนั้นจะหลีกเลี่ยงไมชําระคาปรับ ๘. คําส่ังศาลตาม มาตรา ๓๐/๑ นี้มี มาตรา ๓๐/๓ บัญญัติใหเปนที่สุด การเพิกถอนคําสั่งอนุญาตทํางานบริการสังคมหรือทํางานสาธารณประโยชนแทนคาปรับ ตาม มาตรา๓๐/๒ มีขอสังเกตดังนี้ ศาลมีอํานาจเพิกถอนคําส่ังที่อนุญาตใหทํางานแทนคาปรับไดในกรณีตอไปนี้

๑. ปรากฏวาผูตองโทษปรับนั้น มีเงินพอชําระคาปรับไดทั้งจํานวนในเวลาที่ยื่นคํารองตาม มาตรา๓๐/๑ ๒. ผูตองโทษปรับฝาฝนหรือไมปฏิบัติตามคําส่ังศาล ๓. ผูตองโทษปรับไมประสงคจะทํางานดังกลาวตอไป

๔. คําส่ังศาลคดีใหเพิกถอนคําส่ังนี้เปนที่สุด(มาตรา ๓๐/๓) เร่ืองปรับผูกระทําความผิดหลายคน

มาตรา ๓๑ มีขอสังเกตดังนี้ ๑. มาตรา ๓๑ เปนกรณีจําเลยหลายคนรวมกันกระทําผิดใหปรับเรียงตามรายตัวบุคคล แตมีบางกรณีกฎหมายบัญญัติไวเปนพิเศษวา กระทําครั้งหนึ่ง ๆ ใหปรับรวมกันเปนเงินเทาใด ถือวาลักษณะเชนนี้เปนกฎหมายพิเศษยกเวน ป.อ. มาตรา ๓๑ จะมีผลมาถึงการกักขังแทนคาปรับดวย

Page 35: เอกสารสรุปเนื้อหา วิชาประมวลกฎหมายอาญา เล่มที่ ๑

๓๐ คําพิพากษาฎีกาท่ี ๑๓๕๖-๑๓๖๐/๒๕๐๘ วินิจฉัยวา จําเลยสี่คนถูกลงโทษตาม พ.ร.บ.ศุลกากร มาตรา๒๗ ใหปรับเปนเงิน ๔ เทาของราคาของรวมคาอากร ผูกระทําความผิดทุกคนตองรวมกันชําระเงินคาปรับที่คํานวณได จะปรับเรียงคนไมได เชน คาปรับสี่เทาของราคาของรวม คาปรับอากรแลวเปนเงิน ๑๐,๐๐๐ บาท จะปรับคนละ ๑๐,๐๐๐ บาท ยอมเกินที่กฎหมายกําหนด ถามีผูกระทําผิด ๔ คน ศาลปรับไดรวมกัน ๔ คน เปนเงิน ๑๐,๐๐๐ บาท

มาตรา ๓๒ โทษริบทรัพยสิน ทรัพยท่ีทําหรือมีไวเปนความผิด

มาตรา ๓๒ มีขอสังเกตดังนี้ ๑. โทษริบทรัพยสินเปนโทษที่มุงตัวทรัพย

คําพิพากษาฎีกาท่ี ๒๔๖/๒๕๑๖ วินิจฉัยวา แมจําเลยอายุไมเกิน ๑๔ ป จําเลยไมตองรับโทษ แตศาลชอบที่จะริบของกลางไวตาม มาตรา ๓๒ เพราะเปนทรัพยที่จําเลยมีไวเปนความผิด ๒. แมศาลพิพากษายกฟองก็ริบได

คําพิพากษาฎีกาท่ี ๒๑๗๖/๒๕๔๓ วินิจฉัยวา ศาลพิพากษายกฟองโจทกฐานมีเมทแอมเฟตามีนไวในครอบครองเพื่อจําหนาย ไมริบเมทแอมเฟตามีน ตาม พ.ร.บ.วัตถุที่ออกฤทธ์ิตอจิตประสาทตาม มาตรา ๑๑๖ ได แตการมีเมทแอมเฟตามีน ไวในครอบครองเปนความผิด ศาลริบไดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา๓๒

๓. ศาลชั้นตนลืมสั่ง ศาลสูงสั่งแกได ไมเกินคําขอ คําพิพากษาฎีกาท่ี ๑๐๒๐/๒๕๔๑ วินิจฉัยวา โจทกมีคําขอใหริบ แตศาลชั้นตนไมพิพากษาใหริบ แมโจทกไมไดอุทธรณ ศาลอุทธรณภาค ๒ มีอํานาจที่จะทําคําวินิจฉัยในเรื่องของกลางได ไมใชเปนเรื่องเพิ่มเติมโทษจําเลย ๔. ถาโจทกไมไดมีคําขอใหริบของกลาง เดิมมีแนวฎีกาวินิจฉัยวา ศาลจะริบไมได

คําพิพากษาฎีกาท่ี ๓๕๙๕/๒๕๔๐ วินิจฉัยวาโจทกตองมีคําขอใหริบมาดวยมิฉะนั้นศาลไมอาจริบไดเพราะจะเปนการเกินคําขอขัดตอ ป.วิ.อ. มาตรา ๑๙๒ วรรค๒

แตปจจุบัน มีคําพิพากษาฎีกาที่ ๙๐๗๒/๒๕๔๔ และ๖๔๖๕/๒๕๔๗ ริบยาเสพติดไดแมโจทกมิไดมีคําขอใหริบ

ทรัพยท่ีไดใชหรือมีไวเพื่อใชในการกระทําผิด มาตรา ๓๓ นี้ เปนบทกฎหมายที่ใหริบทรัพยท่ีไดใช หรือมีไวเพื่อใชในการกระทําความผิด ไมใช

ทรัพยท่ีมีไวเปนความผิดตามมาตรา ๓๒ เชน ฝน เฮโลอีน ปนเถ่ือน เปนตน มีขอสังเกตดังตอไปนี้ ๑. การท่ีศาลสั่งริบทรัพยไมวาเปนทรัพยตาม มาตรา ๓๒ หรือ มาตรา ๓๓ จะตองเปนทรัพยท่ีกระทําผิดในคดีท่ีโจทกฟอง ถาเปนเรื่องกระทําผิดในคดีอ่ืนริบไมได

Page 36: เอกสารสรุปเนื้อหา วิชาประมวลกฎหมายอาญา เล่มที่ ๑

๓๑ คําพิพากษาฎีกาท่ี ๑๘๑๔/๒๕๔๓ (ประชุมใหญ) วินิจฉัยวา การที่โจทกขอใหริบทรัพยของกลางที่

กลาวอางมาในคําฟองวาจําเลยไดมาจากการจําหนายเมทแอมเฟตามีนกอนหนาคดีที่นําเสนอตอศาลนี้ ปรากฎวาของกลาง ดังกลาว ไมใชเครื่องมือเครื่องใช ยานพาหนะ หรือวัตถุอ่ืนที่ไดใชในการการกระทําความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดตาม พ.ร.บ. ยาเสพติดใหโทษ มาตรา ๑๐๒ และไมใชทรัพยสินที่กฎหมายบัญญัติวาผูใดทําหรือมีไวเปนความผิด หมายความถึงความผิดท่ีไดกระทําในคดีนี้ ตาม มาตรา๓๒ หรือ มาตรา๓๓ จึงไมอาจริบได

๒. ตองเปนทรัพยท่ีใชในการกระทําผิด หรือ ไดมาจากการกระทําผิดโดยตรง กรณีท่ีศาลฎีกาวินิจฉัยวาริบไมได คําพิพากษาฎีกาท่ี ๕๐๑๔/๒๕๔๒ วินิจฉัยวา จําเลยใชรถยนตกระบะบรรทุกเปนพาหนะเพื่อความ

สะดวกในการลักทรัพย การพาทรัพยนั้นไป เพื่อใหพนการจับกุม แตไมไดความวาจําเลยใชรถยนตกระบะดังกลาวเปนเคร่ืองมือ หรือเปนสวนหนึ่งของการลักทรัพยโดยตรง ก็ไมอาจริบรถกระบะนั้นได

คําพิพากษาฎีกาท่ี ๔๖๙/๒๕๔๗ วินิจฉัยวา การที่จําเลยใช กระดาษหนังสือนิตยสารหอหุมเมทแอมเฟตามีนของกลางแลววางไวที่ตะแกรงดานหนารถจักรยานยนตของกลางโดยเปดเผย ถือไมไดวาจําเลยไดใช รถจักรยานยนตของกลางในการทําความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไวในครอบครองโดยไมไดรับอนุญาต รถจักรยานยนตของกลาง จึงไมใชทรัพยสินที่จําเลยไดใชในการกระทําความผิด ตาม ป.อ.มาตรา ๓๓(๑)

แมใชรถไลตามแลวแซงขึ้นหนาขวางทางก็ไมเขามาตรา ๓๓ คําพิพากษาฎีกาท่ี๖๖๕/๒๕๔๒ วินิจฉัยวา จําเลยกับพวกขับรถจักรยานยนตของกลางแลนตาม

รถยนตของผูเสียหายจนทัน และแซงขึ้นหนาไปจอดขวางใหหยุดกับขูเข็ญผูเสียหายจนยอมมอบเงินแกจําเลยกับพวก รถจักรยานยนตของกลางเปนเพียงยานพาหนะที่จําเลยกับพวกใชกอการกระทําผิดฐานกรรโชก อีกทั้งจําเลยกับพวกก็รวมกันขูเข็ญผูเสียหายวา หากไมยอมใหเงินจําเลยกับพวกจะระเบิด และพังรถยนตของผูเสียหาย รถจักรยานยนตของกลางจึงหาใชทรัพยที่จําเลยกับพวกไดใชหรือมีไวเพื่อใชในการกรรโชกไม ไมเขาหลัก เกณฑ ในเรื่องการริบทรัพยสินที่ศาลมีอํานาจสั่งริบตาม มาตรา๓๓ (๑) ตามประมวลกฎหมายอาญา จะถือวาเปนทรัพยที่จําเลยใชในการกระทําผิดแมการกระทําของจําเลยจะเปนความผิดตาม มาตรา๓๓๕ (๑) วรรคแรก ๓๓๖ ทวิ คือใชยานพาหนะก็ตาม แต มาตรา ๓๓๖ ทวิเปนเพียงบทบัญญัติใหลงโทษจําเลยหนักขึ้นในความผิดฐานลักทรัพย หรือพาทรัพยนั้นไป รถยนตกระบะของกลางจึงไมใชทรัพยที่จําเลยไดใช หรือ มีไวเพื่อใชในการกระทําผิดฐานลักทรัพยโดยตรงริบไมได

คําพิพากษาฎีกาที่ ๙๙๘/๒๕๓๖ วินิจฉัยวา ตั๋วจํานําที่เอาทรัพยที่ปลนไดไปจํานําไมใชทรัพยที่ไดมาโดยการกระทําผิด

คําพิพากษาฎีกาที่ ๗๘๘/๒๕๔๒ วินิจฉัยวา เครื่องรับโทรทัศนสีของกลาง เปนเพียงเครื่องมือ และอุปกรณการรับภาพแขงขันชกมวยจากสถานีโทรทัศนซ่ึงเปนผูสงภาพ การที่จําเลยกับพวก ซ่ึงเปนผูชม ทาพนันแขงขันชกมวยหาทําใหโทรทัศนสีดังกลาวเปนเครื่องมือที่ใชในการเลนการพนันมวยไม แมจําเลยจะใหการรับสารภาพตามฟอง ศาลไมริบ

Page 37: เอกสารสรุปเนื้อหา วิชาประมวลกฎหมายอาญา เล่มที่ ๑

๓๒

คําพิพากษาฎีกาที่ ๕๔๒๖/๒๕๓๖ วินิจฉัยวา พาคนตางดาวเขาเมืองบรรทุกมาในรถบรรทุกนั้น รถ บรรทุกไมใชทรัพยที่กระทําผิดโดยตรงจึงไมริบรถ

คําพิพากษาฎีกาที่ ๖๗๐๙/๒๕๔๔ วินิจฉัยวา โจทกบรรยายฟองวา จําเลยกับพวกใชรถจักรยานยนตของกลางเปนพาหนะในการบรรทุกยางพาราหลบหนี อันเปนยานพาหนะเพื่อสะดวกแกการพาทรัพยนั้นไป เปนการบรรยายฟองเพื่อใหครบองคประกอบความผิดตาม ป.อ. มาตรา ๓๓๖ ทวิ ซ่ึงเปนบทบัญญัติเพื่อเพิ่มโทษหากผูกระทําผิดใชยานพาหนะเพื่อสะดวกแกการกระทําผิดหรือพาทรัพยนั้นไป หรือเพื่อใหพนจากการจับกุม แตบทบัญญัติดังกลาวก็มิไดบัญญัติใหถือวายานพาหนะนั้นเปนทรัพยสินท่ีใชในการกระทําผิดดวย ดังนั้น การที่จําเลยใชรถจักรยานยนตของกลางในการบรรทุกยางพาราหลบหนีก็มิไดหมายความวาจําเลยใชรถจักรยานยนตของกลางเปนเคร่ืองมือหรือเปนสวนหนึ่งในการลักทรัพย รถจักรยานยนตของกลางจึงไมใชทรัพยท่ีจําเลยใชในการกระทําผิดฐานลักทรัพยโดยตรง ไมเขาหลักเกณฑที่ศาลมีอํานาจสั่งริบ ตาม ป.อ. มาตรา ๓๓ (๑)

คําพิพากษาฎีกาท่ี ๒๑๖๐/๒๕๔๓ วินิจฉัยวา กรณีเกี่ยวกับยาเสพติดถาฟองวาจําเลยผลิต หรือ มีไวในครอบครองแตไมไดฟองวาจําเลยจําหนายยาเสพติด โจทกจะขอใหริบเงินของกลางท่ีอางวาไดมาจากการกระ ทําผิดฐานจําหนายยาเสพติดไมได

คําพิพากษาฎีกาที่ ๘๕๓๔/๒๕๔๔ วินิจฉัยวา อาวุธปนที่ใชในการปองกันตัว ไมมีความผิด จึงไมมีทรัพยท่ีใชในการกระทําผิด ริบไมได

กรณีท่ีศาลฎีกาวินิจฉัยวาริบได คําพิพากษาฎีกาท่ี ๒๔๓๔/๒๕๔๓ วินิจฉัยวา รถยนตบรรทุกน้ําหนักเกินอัตราเปนทรัพยท่ีใชในการกระทําความผิดจึงเปนทรัพยท่ีสมควรตองริบ คําพิพากษาฎีกาท่ี ๔๐๐๓/๒๕๔๑วินิจฉัยวาการใชรถยนตหรือรถจักรยานยนตขับแขงขันกันบนถนนหลวงโดยฝาฝนกฎหมายเปนทรัพยสินที่ใชในการกระทําผิด ศาลริบได

คําพิพากษาฎีกาท่ี ๗๕๖๒/๒๕๔๐ วินิจฉัยวาการเอาเงินที่เตรียมการไวโดยมัดเปนปก ๆ เพื่อนําไปใช ในการกระทําผิดตามพ.ร.บ.เลือกตั้งสมาชิกสภาผูแทน พนขั้นตระเตรียมการแลวเงินดังกลาวจึงเปนทรัพยสินที่มีไวเพื่อใชในการกระทําผิดศาลมีอํานาจริบไดตาม มาตรา ๓๓ (๑)

ปนมีทะเบียนชอบดวยกฎหมายที่จะถูกริบ เนื่องจากเปนทรัพยท่ีใชในการกระทําผิด ไมจําเปนตองใชอยางอาวุธปน คําพิพากษาฎีกาที่ ๖๑๐๗/๒๕๔๑ วินิจฉัยวา ริบปนได แมไมไดใชยิงแตใชกระแทกหรือตีผูเสียหายเพราะเปนทรัพยท่ีใชในการกระทําผิดแลว

Page 38: เอกสารสรุปเนื้อหา วิชาประมวลกฎหมายอาญา เล่มที่ ๑

๓๓ คําพิพากษาฎีกาท่ี ๔๑๐๔/๒๕๔๐ วินิจฉัยวา ขณะที่จําเลยถูกจับ จําเลยขับรถจักรยานยนตของกลางพรอมกับกัญชา และถุงพลาสติกที่ใสไวในยามเพื่อจะนําออกไปจําหนาย กัญชา รถจักรยานยนตของกลางจึงเปนเครื่องมือเคร่ืองใชในการกระทําความผิด ศาลจึงมีอํานาจริบได ตาม พ.ร.บ. ยาเสพติดใหโทษ พ.ศ. ๒๕๒๒ มาตรา ๑๐๒

มาตรา ๓๓ เปนดุลพินิจของศาลวาเห็นสมควรจะริบเสียก็ได แตกตางกับกรณีตาม มาตรา ๓๒ ท่ีบังคับวา ใหริบเสียท้ังสิ้น

คําพิพากษาฎีกาท่ี ๒๗๔๑/๒๕๔๔ วินิจฉัยวา การเลี้ยงกุงกุลาดํามิใชเปนความผิดในตัวเอง หากแตจะมีความผิดเฉพาะการเขาไปเลี้ยงกุงกุลาดําในเขตที่มีคําสั่งหามเลี้ยง ฉะนั้นเครื่องสูบน้ํา ใบพัดพลาสติก และทอเหล็ก จึงไมใชทรัพยสินท่ีไดใชกระทําผิดมาแตแรก หากแตไดใชจนเลยกําหนดเวลาผอนผันไป ศาลลางใชดุลพินิจไมริบ จึงเปนการใชดุลพินิจท่ีชอบแลว

มาตรา ๓๔ ทรัพยสินซึ่งไดใหในการกระทําผิดเก่ียวกับการทุจริต ของเจาพนักงาน มาตรรา ๓๔ มีขอสังเกตดังนี้ ๑. มาตรา นี้เปนบทบัญญัติที่เสริมมาตรา ๓๒ และ ๓๓ โดย มาตรา ๓๔ (๑) เปนทรัพยสินท่ีใหเปน

สินบนตามมาตรา ๑๔๓ , ๑๔๔ , ๑๔๙ , ๑๕๐ , ๑๖๒ เปนเร่ืองเก่ียวกับสินบนท้ังสิ้น สวนมาตรา๓๔ (๒)เปนเงินที่ใหจูงใจหรือเปนรางวัลในการที่ไดกระทําผิด เชนเงินที่ไดมาจากการรับจางฆาผูอ่ืน เหลานี้ใหริบทั้งส้ิน

๒. มาตรา ๓๔ มีลักษณะทํานองเดียวกับมาตรา ๓๒ ตรงท่ีกฎหมายบังคับใหศาลตองริบ ๓. มาตรา ๓๔ นี้ แตกตางจากทรัพยตามมาตรา ๓๒ ตรงที่ทรัพยตามมาตรานี้โดยตัวมันเองไมใช

ทรัพยท่ีทําหรือมีไวเปนความผิด ๔. แมโจทกขอใหริบตาม มาตรา ๓๓ ความจริงเปนทรัพยที่ตองริบตาม มาตรา ๓๔ ศาลก็นํามาตรา

๓๔ มาปรับได คําพิพากษาฎีกาท่ี ๕๘๘๓/๒๕๔๑(ประชุมใหญ) วินิจฉัยวา โจทกฟองขอใหลงโทษจําเลยตาม ป.อ. มาตรา ๑๔๔ , ๓๓ และใหริบเงินสดของกลางที่จําเลยไดใหแกเจาพนักงานเพื่อจูงใจใหเจาพนักงานปลอยตัวจําเลยไป โดยไมตองนําสงพนักงานสอบสวน การที่ศาลชั้นตนมิไดมีคําวินิจฉัยในเรื่องของกลางดังกลาวจึงเปนการไมชอบดวย ป.วิ.อ. มาตรา ๑๘๖ (๙) ปญหาขอนี้เกี่ยวกับความสงบเรียบรอยแมโจทกจะมิไดอุทธรณศาลอุทธรณก็มีอํานาจวินิจฉัยแกไขใหถูกตอง และพิพากษาใหริบของกลางได ไมเปนการเพิ่มเติมโทษจําเลย ๕. เจาของทรัพยสินของกลางมีสิทธิรองวาไมรูเห็นเปนใจดวย คําพิพากษาฎีกาที่ ๖๐๔/๒๕๑๔ วินิจฉัยวาในคดีอาญาที่โจทกมีคําขอใหริบของกลางนั้นเจาของทรัพย สินของกลางจะมีคําเสนอ หรือคํารองตอศาลชั้นตนในระหวางพิจารณาคดีนั้นก็ได ซ่ึงศาลชั้นตนจําตองรับคําเสนอหรือคํารองนั้นไวเพื่อพิจารณาและวินิจฉัยตอไปตามมาตรา ๓๓ วรรคทาย หรือ มาตรา๓๔

Page 39: เอกสารสรุปเนื้อหา วิชาประมวลกฎหมายอาญา เล่มที่ ๑

๓๔ มาตรา ๓๕ ทรัพยสินที่ริบตกเปนของแผนดิน

คําพิพากษาฎีกาท่ี ๓๕๒๙/๒๕๔๒ วินิจฉัยวา ตองคดีถึงที่สุดแลวจึงจะตกเปนของแผนดินกอนคดีถึงที่สุดเจาของกรรมสิทธ์ิรถจักรยานยนตยอมโอนกรรมสิทธ์ิไปใหผูรองได เพราะไมมีกฎหมายหามโอนกรรมสิทธ์ิกันไว ผูรองจึงเปนเจาของรถจักรยานยนตของกลางที่แทจริง และมีสิทธ์ิยื่นคํารองขอคืนรถจักรยานยนตของกลางจากศาลไดภายใน ๑ ป นับแตคดีถึงที่สุด

มาตรา ๓๖ การขอคืนของกลางที่ศาลสั่งรบิ ๑. จะตองรองขอภายใน ๑ ป นับแตคําพิพากษาถึงท่ีสุด ไมใชนับแตวันท่ีศาลพิพากษา คําพิพากษาฎีกาท่ี ๑๘๑๙/๒๕๔๖ วินิจฉัยวา ศาลชั้นตนมีคําพิพากษาใหริบรถยนตของกลางเมื่อวันที่ ๒๑ กรกฎาคม ๒๕๔๑ โดยไมมีคูความฝายใดอุทธรณคําพิพากษาของศาลชั้นตน คดีที่มีคําพิพากษาใหริบรถยนตของกลางดังกลาวถึงที่สุดในวันที่ ๒๑ สิงหาคม ๒๕๔๑ แตผูรองไดยื่นคํารองขอคืนรถยนตของกลาง เมื่อวันที่ ๒๕ มกราคม ๒๕๔๓ จึงเปนการยื่นคํารองเกินกําหนด ๑ ป นับแตวันคําพิพากษาถึงท่ีสุดแลว การยื่นคํารองของผูรองจึงไมชอบเพราะตองหามตาม ป.อ. มาตรา ๓๖ ๒. ทรัพยสินนั้นตองยังอยูในความครอบครองของเจาพนักงาน หากศาลใชอํานาจตาม มาตรา ๓๕ คือใหทําลายเสีย ยอมขอคืนไมได

๓. จําเลยมาขอคืนไมได ตัวบทมาตรา ๓๖ ใชคําวา “ ปรากฏตามคําเสนอของเจาของที่แทจริง เพราะ ฉะนั้น ผูที่มีสิทธิมารองขอคืนของกลางตาม มาตรา ๓๖ ไดตองเปนเจาของที่แทจริงไมใชจําเลย จําเลยในคดีนั้นมาขอคืนไมได คงใชสิทธิอุทธรณ หรือ ฎีกาโตแยงวา ไมใชทรัพยท่ีใชในการกระทําผิด หรือ ไดมาโดยการกระทําผิด หรือไมควรริบเทานั้น จะใชสิทธิตามมาตรา ๓๖ นี้ไมได

คําพิพากษาฎีกาท่ี ๓๖๘๕/๒๕๔๑ วินิจฉัยวา บทบัญญัติใน มาตรา ๓๖ แมจะไมไดบัญญัติไวโดยตรงหามจําเลยขอคืนของกลางที่ศาลริบก็ตาม แตก็เห็นไดวาเปนเรื่องใหสิทธิแกบุคคลภายนอกซึ่งไมใชจําเลยในคดีนั้นเทานั้นที่จะมีสิทธิขอคืนของกลางที่ศาลสั่งริบได โดยอางวาตนเปนเจาของที่แทจริงในทรัพยสินที่เปนของกลาง และไมรูเห็นเปนใจดวย จําเลยยอมมีสิทธินําพยานเขาสืบในชั้นพิจารณาอยูแลวเพือ่แสดงวาจําเลยเปนเจาของที่แทจริง และไมไดรูเห็นเปนใจในการกระทําผิด และมีสิทธิอุทธรณฎีกาในคดีภายหลังไดอยูแลว จําเลยจะมารองขอคืนไมได ๔. เจาของท่ีแทจริงมารองขอได แมคดีอยูระหวางพิจารณาของศาล ไมตองรอใหศาลพิพากษาใหริบกอน หรือรอใหคําพิพากษาถึงท่ีสุดกอน

๕. ตองเปนกรณีท่ีมีคดีมีการฟองรองกันท่ีศาล ถาเปนกรณีเจาพนักงานอื่นมีคําสั่งใหริบ โดยใชอํานาจตามกฎหมายอื่นจะมารองตอศาลขอคืนตาม มาตรา ๓๖ ไมได ๖. กรณีท่ีศาลลางพิพากษาคดีถึงท่ีสุดแลววาใหริบ แตความจริงโดยขอกฎหมายแลวริบไมได เม่ือเจาของที่แทจริงมารอง ศาลสูงจะสั่งใหคืนแกเจาของโดยไมวินิจฉัยวาผูรองรูเห็นเปนใจในการกระทําผิดหรือไม

Page 40: เอกสารสรุปเนื้อหา วิชาประมวลกฎหมายอาญา เล่มที่ ๑

๓๕

คําพิพากษาฎีกาท่ี ๘๒/๒๕๔๒ วินิจฉัยวา อาวุธปนของกลางเปนอาวุธปนที่มีใบอนุญาตใหมีและใชเปนของผูรองโดยถูกตอง ความผิดของจําเลยอยูที่การมีอาวุธปนของผูอ่ืนไวโดยไมไดรับอนุญาตและพาอาวุธ ปนดังกลาวไปโดยไมไดรับอนุญาต ซ่ึงเปนความผิดเฉพาะตัว อาวุธปนของกลางจึงไมใชทรัพยสินท่ีมีไวเปนความผิดอันจะตองริบเสียท้ังสิ้น เมื่ออาวุธปนของกลางริบไมได กรณีศาลพิพากษาใหริบ ศาลฎีกาจึงพิพากษา ใหคืนใหแกผูรองซึ่งเปนเจาของโดยไมจําตองวินิจฉัยวา ผูรองรูเห็นเปนใจดวยในการกระทําความผิดของจําเลยหรือไม ๗. กรณีศาลพิพากษาใหริบ และคดีถึงที่สุดแลว เจาของจะมาโตแยงอีกไมไดวาศาลริบไมได

คําพิพากษาฎีกาท่ี ๒๖๐๓/๒๕๓๖ วินิจฉัยวา คดีเดิมโจทกมิไดอางบทมาตราในกฎหมายที่ขอใหริบทรัพยของกลางแตศาลชั้นตนก็มีคําพิพากษาใหริบของกลาง เมื่อคดีเดิมไมปรากฎวามีคูความฝายใดอุทธรณคําพิพากษาศาลชั้นตนจึงถึงท่ีสุด ศาลตองบังคับคดีไปตามนั้น ผูรองมาขอคืนทรัพยของกลางในคดีนี้จะมาโตแยงในชั้นนี้วา คําพิพากษาในคดีเดิมท่ีใหริบทรัพยของกลางไมชอบดวยกฎหมายหาไดไม ๘. ถามีกรณีท่ีมีกฎหมายพิเศษบัญญัติไวโดยเฉพาะวาหามนํามาตรา ๓๖ มาใชแลวศาลจะเอา มาตรา๓๖ มาใชไมได

คําพิพากษาฎีกาท่ี ๓๖๘๕/๒๕๔๑ วินิจฉัยวา ทรัพยนั้นถูกริบตาม พ.ร.บ.มาตรการในการปราบปรามผูกระทําความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดใหโทษ มาตรา ๓๐ การที่จําเลยรองคัดคานตาม พ.ร.บ. มาตรการในการปราบปรามผูกระทําความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด มาตรา ๓๐ วรรค ๓ อางวา ไมมีโอกาสทราบหรือไมมีเหตุอันสมควรสงสัยวามีการกระทําผิดนั้น จะตองมีผูเขามาในกระบวนการตาม มาตรา ๓๐ วรรค ๒ กอน คือตองยื่นคํารองคัดคานเขามาในคดีกอนศาลชั้นตนมีคําพิพากษาหรือคําส่ัง เพราะมิฉะนั้นหากศาลชั้นตนมีคําพิพากษาหรือคําส่ัง แลวจะใหมีผูรองอางวาเปนเจาของทรัพยสินของกลางอุทธรณฎีกาในเนื้อหาแหงคดีไดอีก ก็ยอมมีผลเทากับบุคคลดังกลาว กลาวอางขอคืนทรัพยสิน ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา๓๖ โดยปริยายซ่ึงเปนการฝาฝนมาตรการซึ่ง มาตรา ๓๐ วรรคทาย บัญญัติไวชัดแจงวา มิใหนําบทบัญญัติใน มาตรา ๓๖ มาใช ๘. ผูใหเชาซื้อท่ีมารองขอคืนรถยนตของกลางที่มีผูอ่ืนเอาไปใชในการกระทําผิด ถาหากมีพฤติการณบงชี้วาที่มารองขอคืนของกลางเพราะประสงคเพียงแตจะไดแคคาเชาซื้อท่ีเหลือคืนโดยไมไดสนใจวาผูเชาซื้อจะเอารถไปทําอะไรบางแลว ศาลฎีกาวินิจฉัยวาไมสมควรคืนให คําพิพากษาฎีกาท่ี ๑๔๓๑/๒๕๔๓ วินิจฉัยวา ผูรองในฐานะผูใหเชาซื้อรองขอคืนรถยนตบรรทุกของกลางที่ศาลสั่งริบเปนการรองเพื่อประโยชนของผูเชาซ้ือ เพื่อใหผูเชาซ้ือไดรับรถยนตบรรทุกของกลางคืน หาใชเพื่อประโยชนของผูรองเองไม จึงเปนการใชสิทธิไมสุจริต ผูรองไมมีสิทธิขอคืนรถบรรทุกของกลาง ๙. กรณีท่ีพอแมมาขอคืนรถจักรยานยนตท่ีลูกเอาไปขับแขงกันบนทองถนนแลวถูกริบ หรือบุคลอ่ืนใหเอาไปขับแขง โดยอางวาไมรูเห็นเปนใจดวย

Page 41: เอกสารสรุปเนื้อหา วิชาประมวลกฎหมายอาญา เล่มที่ ๑

๓๖

คําพิพากษาฎีกาท่ี ๓๖๔๙/๒๕๔๖ วินิจฉัยวา จําเลยทั้งสองนํารถจักรยานยนตของผูรองไปขับแขงกับกลุมวัยรุนในทางสาธารณะโดยไมไดรับอนุญาต จึงถูกจับกุมดําเนินคดีตาม พ.ร.บ. จราจรทางบกฯ กอนที่จําเลยทั้งสองจะนํารถจักรยานยนตของผูรองไปใชในการกระทําความผิด ผูรองและจําเลยทั้งสองไดนั่งดื่มเบียรในรานซึ่งอยูใกลกับที่ทํางานของผูรอง ดังนั้น หากผูรองรูสึกวาตนมีอาการเมาไมสามารถขับรถจักรยาน ยนตกลับบานได ก็นาจะนําไปเก็บไวยังที่ทํางานของตน ไมจําเปนตองฝากใหผูอ่ืนรับภาระดูแลรักษา ทั้งผูรองเคยใหจําเลยที่ ๑ ใชรถจักรยานยนตของผูรองหลายครั้ง จึงนาเชื่อวาในคืนเกิดเหตุผูรองยินยอมใหจําเลยท่ี ๑ ใชรถจักรยานยนตของผูรองไดตามอําเภอใจ ถือไดวาผูรองรูเห็นเปนใจดวยในการกระทําความผิดของจําเลยท้ังสอง จึงไมมีสิทธิรองขอคืนรถจักรยานยนตของกลาง

มาตรา ๓๘ โทษระงับดวยการตาย มาตรา ๓๘ บัญญัติวา โทษใหเปนอันระงับไปดวยการตายของผูกระทําความผิด

คําพิพากษาฎีกาท่ี ๒๔๕๖/๒๕๓๐ วินิจฉัยวา ผูกระทําความผิดใชอาวุธปนยิงเจาพนักงานตํารวจ แตถูกเจาพนักงานตํารวจยิงตาย สิทธินําคดีอาญามาฟองยอมระงับไป ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๓๙ และ โทษเปนอันใหระงับไปดวยความตายของผูกระทําผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา ๓๘ อาวุธปนซ่ึงเปนปนมีทะเบียนเปนของผูอ่ืนท่ีผูตายใชยิงกับเจาพนักงาน จึงไมอาจริบได เพราะเปนโทษอยางหนึ่ง และ ระงับไปแลว

การเพิ่มโทษ การลดโทษ และการรอการลงโทษ บวกโทษ การเพิ่มโทษ ตามมาตรา ๕๑ หมายถึง การเพิ่มโทษที่จะลง

การเพิ่มมาตราสวนโทษ หมายถึง การเพิ่มระวางโทษที่กฎหมายกําหนดไวสําหรับความผิดนั้น การลดมาตราสวนโทษ หมายถึง การลดระวางโทษที่กฎหมายกําหนดไวสําหรับความผิดนั้น กรเพิ่มระวางโทษแตกตางจากการเพิ่มโทษที่จะลง คําพิพากษาฎีกาท่ี ๖๓๘๗/๒๕๔๐ วินิจฉัยวา การลดมาตราสวนโทษตามมาตรา ๗๖ คือลดอัตราโทษขั้นสูงและขั้นต่ําตามที่กฎหมายกําหนดไวสําหรับความผิดที่จําเลยกระทําโดยลดลง ๑ ใน ๓ หรือ กึ่งหนึ่งแลวจึงกําหนดโทษที่จะลงในระหวางนั้น มิใชใหศาลกําหนดโทษที่จะลงไวกอนแลวจึงลดจากโทษที่กําหนดไว

กรณีท่ีไมถือวาเปนเรื่องการเพิ่มโทษตามมาตรา ๕๑ แตเปนเรื่องศาลใชดุลพินิจกําหนดโทษจําเลยบางคนที่เปนขาราชการใหสูงกวาจําเลยอื่น จึงไมอยูในบังคับมาตรา ๕๑

คําพิพากษาฎกีาท่ี ๒๘๙๘/๒๕๓๒ วนิิจฉัยวา พ.ร.บ. ยาเสพติดใหโทษ มาตรา ๑๐๐ บัญญัติวา ถาผู กระทําผิดเปนขาราชการ หรือ พนักงานขององคการ และ หนวยงานของรัฐ ตองระวางโทษเปนสามเทาของโทษที่กําหนดไวสําหรับความผิดนั้น จําเลยที่ ๑ ถึงที่ ๘ รวมกันกระทําความผิดฐานจาํหนายเฮโรอีนมีปริมาณเกินกวา ๑๐๐ กรัม ซ่ึงตาม มาตรา ๖๖ วรรค ๒ มีโทษสองสถานคือจําคุกตลอดชีวิตหรือประหารชีวติเมื่อศาลใชดุลพินิจกําหนดโทษจําคกุตลอดชีวิตแกจําเลยที่ ๑ ที่ ๔ และที่ ๖ แลว การที่ศาลกําหนดโทษประหารชีวิต

Page 42: เอกสารสรุปเนื้อหา วิชาประมวลกฎหมายอาญา เล่มที่ ๑

๓๗ จําเลยที่ ๒ ที่ ๓ ที่ ๕ ที่ ๗ และที่ ๘ ซ่ึงเปนขาราชการ และพนักงานองคการและหนวยงานของรัฐ จึงเปนการใชดุลพินิจกําหนดโทษใหสูงกวาโทษของจําเลยที่ ๑ ท่ี ๔ และท่ี ๖ นั่นเอง หาใชเปนการเปลี่ยนโทษหรือเพิ่มโทษจากจําคุกตลอดชีวิตเปนประหารชีวิตไม กรณีท่ีกฎหมายใหลงโทษหนักขึ้นเพราะเหตุฉกรรจ เปนเพียงเหตุท่ีทําใหผูกระทําผิดตองรับโทษหนักขึ้นเทานั้น ไมใชเร่ืองเพิ่มโทษ คําพิพากษาฎีกาท่ี ๔๖๔/๒๕๒๓ วินิจฉัยวา ที่ศาลอุทธรณพิพากษาวาจําเลยที่ ๑ มีความผิดตามประมวล กฎหมายอาญา มาตรา ๓๔๐ , ๓๔๐ ตรี , ๘๓ใหลงโทษบทหนัก ตามมาตรา ๓๔๐ ตรีนั้น ยังไมถูกตองเพราะ มาตรา ๓๔๐ ตรี เปนเพียงเหตุที่ทําใหผูกระทําความผิดตามที่บัญญัติไวในมาตรา ๓๔๐ ตองรับโทษหนักขึ้นเทานั้น ลําพังเพียงมาตรา ๓๔๐ ตรีโดยเฉพาะหาไดเปนความผิดอีกบทหนึ่งตางหากไม พิพากษาแกเปนวา จําเลยที่ ๑ มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๓๔๐ , ๘๓ , ๓๔๐ ตรี คําพิพากษาฎีกาที่ ๙๔๗/๒๕๒๖ วินิจฉัยวา ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๓๔๐ ตรี ที่ตองรับโทษหนักขึ้น มิใชบทเพิ่มโทษ เปนเพียงเหตุฉกรรจ

จะเปลี่ยนโทษจําคุกตลอดชีวิตเปนโทษจําคุก ๕๐ ป เพื่อเพิ่มระวางโทษใหไดรับโทษหนักขึ้นไมได คําพิพากษาฎีกาท่ี ๘๗๙/๒๕๒๐ วินิจฉัยวา กรณีการรับโทษหนักขึ้นตาม ป.อ. มาตรา ๓๔๐ ตรี เปนคนละเรื่องกับการเพิ่มโทษ และหาใชเปนเรื่องการเพิ่มโทษไม จะนํามาตรา ๕๑ มาเปลี่ยนโทษจําคุกตลอดชีวิตใหเปนโทษจําคุก ๕๐ ปไมได จําเลยไดรับโทษจําคุกตลอดชีวิต ตาม ป.อ. มาตรา ๓๓๙ วรรคทาย เมื่อเปลี่ยนโทษจําคุกตลอดชีวิตเปนโทษจําคุก ๕๐ ป ไมได ก็ไมมีทางที่จะระวางโทษหนักวาหรือหนักขึ้นอีกกึ่งหนึ่งตามที่ ป.อ. มาตรา ๓๔๐ ตรี บัญญัติไว จึงนํา มาตรา๓๔๐ ตรี มาปรับดวยไมได จําเลยคงมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๓๓๙ วรรคทาย

มาตรา ๕๒ การลดโทษประหารชีวิต การลดโทษประหารชีวิตตามมาตรา ๕๒ กลาวถึงเฉพาะลดหนึ่งในสามกับลดกึ่งหนึ่ง คําพิพากษาฎีกาท่ี ๓๖๑๑/๒๕๒๘ วินิจฉัยวา จําเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา๒๘๙ (๔) ประกอบดวย มาตรา ๘๔ วรรค ๒ ซ่ึงตองระวางโทษเพียง ๑ ใน ๓ ของโทษที่กําหนดไวนั้น ใหลดโทษประหารชีวิต ๑ ใน ๓ เปนจําคุกตลอดชีวิตตาม มาตรา ๕๒ (๑) และ ใหเปล่ียนโทษจําคุกตลอดชีวิตอันเปนโทษ ๒ ใน ๓ ของโทษประหารชีวิต เปนจําคุก ๕๐ ป ตาม มาตรา ๕๓ ซ่ึงตองลงโทษเพียง ๑ ใน ๓ ของโทษประหารชีวิตคือกึ่งหนึ่งของโทษจําคุก ๕๐ ป จึงเปนโทษจําคุก ๒๕ ป คําพิพากษาฎีกาท่ี ๖๘๔๐/๒๕๔๑ วินิจฉัยวา การลดโทษประหารชีวิต ใหกึ่งหนึ่ง ตาม ป.อ. มาตรา ๕๒ (๒) ศาลจะลดเปนจําคุกตลอดชีวิต หรือโทษจําคุกตั้งแต ๒๕ ป ถึง ๕๐ ป ก็ได เปนดุลพินิจของศาลตามพฤติการณแหงความรายแรงของแตละคดีเปนเรื่อง ๆไป

Page 43: เอกสารสรุปเนื้อหา วิชาประมวลกฎหมายอาญา เล่มที่ ๑

๓๘

มาตรา ๕๓ การลดโทษจําคกุตลอดชีวติ มาตรา ๕๓ ในการลดโทษจําคุกตลอดชีวิต ไมวาจะเปนการลดมาตราสวนโทษหรือลดโทษที่จะลง ใหเปล่ียนโทษจําคุกตลอดชีวิตเปนโทษจําคุกหาสิบป

มีขอสังเกต ถาผูกระทําความผิดเปนบุคคลตาม มาตรา ๑๘ วรรค ๓ ตองปฏิบัติตาม มาตรา ๑๘ วรรค ๓ กอน โดยใหถือวาระวางโทษจําคุกตลอดชีวิตไดเปลี่ยนเปนระวางโทษจําคุก ๕๐ ป แลวจึงลดมาตราสวนโทษ หรือลดโทษที่จะลงตอไป จึงไมมีกรณีที่จะตองใชมาตรา ๕๓ กับผูที่อายุต่ํากวาสิบแปดป

มาตรา ๕๖ รอการลงโทษ รอการกําหนดโทษ มาตรา๕๖ วรรคแรกจะตองเปนผูกระทําความผิดที่มีโทษจําคุกถาไปกระทําความผิดที่มีแตโทษปรับสถานเดียว หรือมีโทษอยางอื่นที่ไมใชโทษจําคุก ก็รอการลงโทษไมได รวมถึงโทษกักขังก็รอการลงโทษไมได ศาลจะลงโทษจําคุกไมเกิน ๓ ป หมายถึง โทษที่ลงจริง ๆ จําเลยถูกฟองมาหลายกรรมหลายกระทงในฟองเดียวกัน ดูโทษเปนรายกระทงไปถาแตละกระทงโทษจําคุกไมเกิน ๓ ป รอการลงโทษได ไมปรากฎวาผูนั้นไดรับโทษจําคุกมากอน หมายความวาตองรับโทษจําคุกจริง ๆ(เคยรอแลวรออีกได) คําพิพากษาฎีกาท่ี ๖๙๐๐/๒๕๔๔ วินิจฉัยวา ไมปรากฏวาเคยไดรับโทษจําคุกมากอนนั้น คดีกอนนั้นตองถึงที่สุด ถาคดีอยูระหวางอุทธรณแมตัวจะถูกขังระหวางการพิจารณาอยูในเรือนจําก็ถือวายังไมปรากฎวาไดรับโทษจําคุกมากอน จําเลยเคยตองโทษจําคุกมากอนแตเปนโทษที่กระทําโดยประมาทหรือลหุโทษ รอการลงโทษได ศาลตองพิพากษาวาจําเลยมีความผิด แตรอการกําหนดโทษหรือกําหนดโทษแตรอการลงโทษไว ซ่ึงระยะเวลาที่รอนี้ตองไมเกิน ๕ ป นับแตวันท่ีศาลพิพากษา การอุทธรณหรือฎีกาขอใหรอการลงโทษเปนเรื่องอุทธรณฎีกาในปญหาขอเท็จจริง คําพิพากษาฎีกาท่ี ๒๓๙๓/๒๕๔๒ วินิจฉัยวา ศาลชั้นตนพิพากษาลงโทษกักขังแทนโทษจําคุก ศาลอุทธรณพิพากษายืน คดีจึงตองหามฎีกาในปญหาขอเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา ๒๑๙ ตรี ซ่ึงในกรณีนี้ ป.วิ.อ. มาตรา ๒๒๑ไมไดใหอํานาจผูพิพากษาซึ่งพิจารณาหรือลงชื่อในคําพิพากษาอนุญาตใหฎีกาไดฎีกาของจําเลยท่ีขอใหศาลรอการลงโทษหรือรอการกําหนดโทษ เปนฎีกาในปญหาขอเท็จจริง การอนุญาตใหฎีกาของผูพิพากษาซึ่งพิจารณา และลงชื่อในคําพิพากษาจึงไมชอบ แตอยางไรก็ตามเมื่อคดีขึ้นมาสูการพิจารณาของศาลฎีกาแลว และศาลฎีกาเห็นวา พฤติการณที่ปรากฏแกคดี โทษที่ศาลอุทธรณภาค ๑ กําหนดยังไมเหมาะสมแกรูปคดี ศาลฎีกายอมมีอํานาจเปลี่ยนแปลงดุลพินิจในการลงโทษของศาลอุทธรณภาค ๑ ที่กําหนดไวได

Page 44: เอกสารสรุปเนื้อหา วิชาประมวลกฎหมายอาญา เล่มที่ ๑

๓๙

มาตรา ๕๘ การบวกโทษที่รอไวในคดีกอนเขากับคดีหลัง คําพิพากษาฎีกาที่ ๓๔๐๐/๒๕๔๑ วินิจฉัยวา แมโจทกจะไมไดบรรยายมาในคําฟอง และ มิไดขอใหบวกโทษ ศาลก็บวกโทษไดเมื่อความปรากฏแกศาลเองจากรายงานการสืบเสาะและพินิจของพนักงานคุมประพฤติ จําเลยก็ยอมรับขอเท็จจริงวาจําเลยเคยตองคําพิพากษาใหลงโทษจําคุก ๖ เดือนและปรับ ๒,๐๐๐ บาท โทษจําคุกใหรอการกําหนดโทษไวมีกําหนด ๒ ป และในระหวางที่ยังไมครบ ๒ ป จําเลยไดกระทําความผิดคดีนี้อีก ดังนี้แมโจทกจะมิไดบรรยายฟองและขอบวกโทษในคดีดังกลาวเขากับโทษในคดีนี้ก็ตามศาลอุทธรณภาค ๒ ก็มีอํานาจนําโทษจําคุกที่รอการลงโทษไวในคดีกอนมาบวกเขากับโทษในคดีได ตาม มาตรา ๕๘ วรรคแรก กรณีนี้มิใชการเพิ่มเติมโทษของจําเลยเพราะกฎหมายบังคับใหศาลที่พิพากษาคดีหลังบวกโทษที่รอการลงโทษไวในคดีกอนเขากับโทษในคดีหลังดวย และมิใชเปนการพิพากษาเกินคําขอ คําพิพากษาฎีกาที่ ๙๓๗๗/๒๕๓๙ วินิจฉัยวา ถาความผิดท่ีศาลพิพากษาคดีหลังไดกระทํากอนคดีท่ีศาลรอการลงโทษ ศาลท่ีพิพากษาคดีหลังไมมีอํานาจนําโทษจําคุกท่ีรอไวมาบวกเขากับโทษในคดีท่ีพิพากษาภายหลัง

คําพิพากษาฎีกาท่ี ๓๕๒๓/๒๕๔๕ วินิจฉัยวา คดีกอนศาลพิพากษาเมื่อวันที่ ๗ กันยายน ๒๕๔๓ ใหลงโทษจําคุกจําเลย ๙ เดือนและปรับ ๒๐,๐๐๐ บาท โทษจําคุกรอการลงโทษไว ๒ ป แตคดีนี้จําเลยกระทําผิดเมื่อวันที่ ๑๘ กรกฎาคม ๒๕๔๓ อันเปนเวลากอนที่ศาลในคดีกอนจะพิพากษาแมคดีนี้ศาลจะพิพากษาลงโทษจําเลยถึงจําคุกก็ตาม ศาลในคดีนี้ก็ไมมีอํานาจที่จะนําโทษจําคุกในคดีกอนมาบวกเขากับโทษจําคุกของจําเลยในคดีนี้ได เพราะมิใชเปนการกระทําความผิดภายในระยะเวลาที่ศาลรอการลงโทษ กรณีไมเขาหลักเกณฑตามที่บัญญัติไวใน ป.อ. มาตรา ๕๘ ท่ีศาลลางทั้งสองพิพากษาใหนําโทษจําคุกในคดีกอนมาบวกเขากับโทษจําคุกจําเลยในคดีนี้จึงไมชอบ ปญหาดังกลาวเปนปญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบรอยของประชาชน แมไมมีคูความฝายใดฎีกา ศาลฎีกามีอํานาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยเองได

คําพิพากษาฎีกาท่ี ๓๔๐๐/๒๕๔๑ วินิจฉัยวา ตองปรากฏขอเท็จจริงวา จําเลยไดรับวาเปนคนเดียวกับจําเลยในคดีกอน และจําเลยกระทําผิดในระหวางเวลาที่ศาลรอการลงโทษ การรับสามารถทําไดท้ังตอพนัก งานคุมประพฤติ หรือรับตอศาลก็ได

คําพิพากษาฎกีาท่ี ๑๐๘๑/๒๕๔๔ วินิจฉยัวา โจทกยื่นคํารองขอแกไขเพิ่มเติมฟอง ในระหวางนัดฟงคําพิพากษาศาลชั้นตน ขอใหบวกโทษจาํคุกที่ศาลรอการลงโทษไวอีก ๒ คดี แตศาลชั้นตนไมไดมีคําส่ังอนุญาตใหโจทกแกไขเพิ่มเติม จึงมีผลเสมือนโจทกมไิดกลาว และมีคําขอใหบวกโทษจําคุกคดีเดิมเขากับโทษจําคุกคดนีี้ แตเมื่อขอเทจ็จริงปรากฏชัดแจงตามรายงานการสืบเสาะ และพินิจของพนักงานคุมประพฤติประกอบคําใหการรับสารภาพของจําเลยวาจําเลยเคยตองคําพิพากษาถงึที่สุดใหจําคกุและปรับ โทษจําคุกให รอการลงโทษไว และภายในเวลาที่ศาลรอการลงโทษจําเลยไดกระทําความผิดคดีนี้อีก ซ่ึงขอเท็จจรงิดังกลาวไมอยูในบังคับที่โจทกจะตองบรรยาย หรืออางมาในฟอง ตาม ป.วิ.อ. มาตรา ๑๕๘ (๕) หรือ (๖) แตอยูในดุลพินิจของศาลที่พิพากษาคดีนี้จะใชอํานาจบวกโทษจําคุกที่รอการลงโทษไวในคดกีอนเขากับโทษจําคุกใน

Page 45: เอกสารสรุปเนื้อหา วิชาประมวลกฎหมายอาญา เล่มที่ ๑

๔๐ คดีนี้ตาม ป.อ. มาตรา ๕๘ วรรค ๑ ดังนั้น ที่ศาลอุทธรณภาค ๖ บวกโทษจําคุกคดีนี้ เขากับโทษจําคุกในคดีกอนจึงชอบแลว และไมเปนการพิพากษาเกินคําขอหรือที่มิไดกลาวในฟองตาม ป.วิ.อ. มาตรา ๑๙๒ วรรค ๑

คําพิพากษาฎีกาท่ี ๘๖๓/๒๕๔๓๔ วินิจฉัยวา คดีหลังจําเลยกระทําผิดพรอมกันหลายคดี นําโทษคดีกอนมาบวกไดคร้ังเดียว

คําพิพากษาฎีกาท่ี ๓๘๓๔/๒๕๓๑ วินิจฉัยวาถาจําเลยไมรับวาเปนบุคคลคนเดียวกับจําเลยในคดกีอน และมากระทําผิดในระหวางรอการลงโทษ โจทกจะตองนําสืบใหไดความ โจทกอางแตเพียงวาตามทะเบียนประวัติอาชญากรรมจําเลยเคยถูกศาลในคดีกอนจําคุกแลวมากระทําผิดอีก โดยไมนําสืบขอเท็จจริงใหศาลเห็น ศาลบวกโทษที่รอไวในคดีกอนไมได คําพิพากษาฎีกาที่ ๕๖๑๓/๒๕๔๓ วินิจฉัยวา ศาลในคดีหลังไมมีอํานาจที่จะไปลดโทษในคดีกอนที่ศาลอื่นรอการลงโทษไว คําพิพากษาฎีกาที่ ๒๗๔๒/๒๕๔๔ วินิจฉัยวา คดีหลังศาลตองลงโทษจําคุกจริง ๆ ถึงจะนําโทษในคดีกอนมาบวก คดีหลังศาลเปลี่ยนโทษจําคุกเปนกักขัง จึงไมอาจนําโทษในคดีกอนที่รอการลงโทษไวมาบวกได คําพิพากษาฎีกาท่ี ๑๓๘๒/๒๕๒๙ วินิจฉัยวา การที่ศาลรอการลงโทษจําเลยไว ก็มิใชโทษซึ่งเมื่อครบกําหนดตามที่รอไวแลวจะถือวาเปนการพนโทษไปในตัว ตามป.อ. มาตรา ๕๘ วรรคสอง ที่บัญญัติวาถาภายในเวลาที่ศาลกําหนดตามมาตรา ๕๖ ผูนั้นมิไดกระทําความผิดดังกลาวในวรรคแรก ก็ใหผูนั้นพนจากการที่จะถูกลงโทษในคดีนั้น แสดงใหเห็นชัดแจงวา ผูนั้นหรือจําเลยไมเคยถูกลงโทษจําคุกมากอน

คําพิพากษาฎีกาท่ี ๖๐๐/๒๕๑๕ วินิจฉัยวา ฟองโจทกขอใหบวกโทษที่รอไวเขากับโทษในคดีนี้ เมื่อศาลพิพากษาลงโทษจําคุกตลอดชีวิตแลว ก็ไมอาจนําโทษในคดีกอนที่รอการลงโทษมาบวกได คําพิพากษาฎีกาที่ ๑๕๕๑/๒๕๔๖ วินิจฉัยวา การนับระยะเวลา ๑ ป นับแตวันที่ศาลชั้นตนรอการลง โทษใหแกจําเลยจนถึงวันที่จําเลยกระทําความผิดในคดีหลัง เพื่อนําโทษที่รอการลงโทษไวในคดีกอนมาบวกเขากับโทษในคดีหลัง ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๕๘ หาใชเปนการติดตอราชการตามนัยประมวลกฎหมายแพงและพาณิชย มาตรา ๑๙๓/๔ ไม การนับระยะเวลา ๑ ป นับแตวันที่ ๒๐ มีนาคม ๒๕๔๒ จะตองไปครบ ๑ ป ในวันที่ ๒๐ มีนาคม ๒๕๔๓ เวลา ๒๔ นาฬิกา อันเปนการนับวันเวลาตามปกตินั่นเอง จําเลยกระทําผิดในวันที่ ๒๐ มีนาคม ๒๕๔๓ เวลา ๑๙.๔๕ นาฬิกา จึงบวกโทษจําคุกในคดีกอนเขากับโทษในคดีหลังได

Page 46: เอกสารสรุปเนื้อหา วิชาประมวลกฎหมายอาญา เล่มที่ ๑

๔๑

ตัวอยางคําถามคําตอบ คําถาม ขอ ๑. คดีอาญาสองสํานวน สํานวนแรกโจทกฟองจําเลย ขอใหศาลลงโทษฐานวิ่งราวทรัพยตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา ๓๓๖ ทวิ และ ริบรถจักรยานยนตของกลาง จําเลยใหการปฏิเสธ ขอเท็จ จริงฟงไดวา จําเลยกับพวกวิ่งราวเครื่องรับวิทยุพรอมดวยเครื่องบันทึกเสียงของผูเสียหายไป โดยใชรถจักร ยานยนตของกลางเปนยานพาหนะเพื่อสะดวกแกการกระทําผิด หรือการพาทรัพยนั้นไป หรือเพื่อใหพนจากการจับกุม สํานวนหลัง โจทกฟองขอใหลงโทษจําเลยฐานฆาผูอ่ืน ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา ๒๘๘ และริบรถจักรยานยนตของกลาง จําเลยใหการปฏิเสธ ขอเท็จจริงฟงไดวาจําเลยกระทําผิดจริงโดยจําเลยขับรถจักรยานยนตของกลางพาพวกมายิงผูตาย แลวขับรถจักรยานยนตคันนั้นหลบหนีไป ดังนี้ถาศาลพิพากษาลงโทษจําเลยตามฟอง ศาลจะมีอํานาจพิพากษาใหริบรถจักรยานยนตของกลางแตละสํานวนไดหรือไม จับประเด็นคําถาม ๑. กรณีตามปญหาสํานวนแรกตองวินิจฉัยวา รถจักรยานยนตของกลางเปนทรพัย สินที่จําเลยกับพวกไดใชในการกระทําความผิดฐานวิ่งราวทรัพยตามมาตรา ๓๓ (๑) หรือไม ๒. กรณีตามปญหาสํานวนหลังตองวินิจฉัยวารถจักรยานยนตของกลางเปนทรัพย สินที่จําเลยกับพวกไดใชในการกระทําความผิดฐานฆาผูอ่ืนโดยตรง ตามมาตรา ๓๓ (๑) หรือไม

คําตอบ ขอ ๑.สํานวนแรกถารถจักรยานยนตของกลางเปนทรัพยสินที่จําเลยกับพวกไดใชในการกระ ทําความผิดฐานวิ่งราวทรัพยแลว ศาลมีอํานาจริบรถจักรยานยนตของกลางนั้นไดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา ๓๓ (๑) ถาไมใชทรัพยสินที่จําเลยไดใชในการกระทําความผิดดังกลาว ศาลไมมีอํานาจริบ สํานวนหลัง รถจักรยานยนตของกลางเปนเพียงพาหนะที่ใชในการเดินทางไปมาเทานั้น ไมใชทรัพยที่ใชในการกระทําความผิดฐานฆาผูอ่ืนโดยตรง จึงไมใชทรัพยสินที่พึงริบตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๓๓ (๑) ศาลริบรถจักรยานยนตของกลางไมได

คําถาม ขอ ๒.นายบอลล กระทําความผิดฐานลักทรัพย ศาลพิพากษาถึงที่สุด ใหลงโทษจําคุกหกเดือน และปรับหนึ่งพันบาท โทษจําคุกใหรอการลงโทษไวสองป นายบอลลไมมีเงินชําระคาปรับจึงถูกกักขังแทนคาปรับ ระหวางที่ถูกกักขังแทนคาปรับ นายบอล กระทําความผิดฐานทํารายรางกายตาม ป.อ. ม.๒๙๕ จึงถูกฟองขอใหลงโทษในความผิดดังกลาว และโจทกมีคําขอใหเพิ่มโทษในคดีทํารายรางกาย และขอใหเปลี่ยนการกักขังแทนคาปรับในความผิดฐานลักทรัพยเปนโทษจําคุกดวย ถาศาลจะพิพากษาลงโทษจําคุกนายบอลล ในความผิดฐานทํารายรางกายมีกําหนดสี่เดือน ศาลจะสั่งใหเพิ่มโทษ บวกโทษทีรอ และเปลี่ยนการกักขังแทนคาปรับเปนโทษจําคุกตามคําขอของโจทกไดหรือไม

จับประเด็นคําถาม ๑. กรณีตามปญหาตองวินิจฉัยวา การที่นายบอลลถูกกักขังแทนคาปรับถือวานายบอลลไดรับโทษจําคุกหรือไม เพื่อวินิจฉัยตอไปวาเขาหลักเกณฑการเพิ่มโทษตาม มาตรา ๙๒ หรือไม ๒. กรณีตามปญหาตองวินิจฉัยวา การที่นายบอลลกระทําความผิดนี้ เปนความผิดโดยประมาท หรือลหุโทษหรือไม เพื่อวินิจฉัยตอไปวาศาลจะนําโทษที่รอการลงโทษมาบวกโทษ ตามมาตรา ๕๘ วรรคหนึ่งไดหรือไม

Page 47: เอกสารสรุปเนื้อหา วิชาประมวลกฎหมายอาญา เล่มที่ ๑

๔๒ ๓. กรณีตามปญหาตองวินิจฉัยวา การกักขังแทนคาปรับ นั้น ถือวาเปนโทษปรับ หรือ กักขัง ซ่ึงจะเขาหลักเกณฑในการเปลี่ยนโทษกักขังมาเปนโทษจําคุก ตามมาตรา ๒๗ (๓) , ๒๙ , ๓๐ วรรค ๔ได หรือไม คําตอบ ขอ ๒. แมในระหวางที่นายบอลล ถูกกักขัง แทนคาปรับอยูนายบอลลกระทําความผิดฐานทํารายรางกายตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา ๒๙๕ ซ่ึงมิใชความผิดอันไดกระทําโดยประมาท หรือความผิด ลหุโทษขึ้นอีก และศาลจะพิพากษาลงโทษนายบอลล ในความผิดครั้งหลังถึงจําคุกก็ตาม แตความผิดฐานลักทรัพยในคดีแรกศาลรอการลงโทษจําคุกไว นายบอลลจึงยังไมไดรับโทษจําคุก กรณีถือไมไดวานายบอลลไดกระทําความผิดใด ๆ อีกในระหวางที่ยังจะตองรับโทษอยู อันจะเขาหลักเกณฑ ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา ๙๒ ที่ศาลจะสั่งเพิ่มโทษนายบอลลได นายบอลล ไดกระทําความผิดฐานทํารายรางกาย ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๒๙๕ อันมิใชความผิดที่กระทําโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษภายในเวลาที่ศาลรอการลงโทษไว ศาลยอมสั่งใหนําโทษ จําคุกนายบอลลในคดีลักทรัพยที่รอการลงโทษไวมาบวกกับโทษในคดีทํารายรางกายได ตามประมวลกฎ หมายอาญามาตรา ๕๘ วรรค ๑ ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา ๒๗(๓) ศาลอาจเปลี่ยนโทษกักขังเปนโทษจําคุกได ถาในระหวาง ที่ผูตองโทษกักขังไดรับโทษกักขังอยู แลวความปรากฎแกศาลวาผูตองโทษกักขังตองคําพิพากษาใหลงโทษจําคุก แตกรณีของนายบอลลโทษจําคุกศาลรอการลงโทษไว คงถูกลงโทษเพียงโทษปรับจึงเปนเพียงผูตองโทษปรับ เมื่อไมมีเงินชําระคาปรับ จึงถูกกักขังแทนคาปรับ ระหวางที่ถูกกักขังแทนคาปรับ นายบอลลจึงเปนเพียงผูตองโทษปรับซ่ึงถูกกักขังแทนคาปรับเทานั้น มิใชผูถูกลงโทษกักขังที่ไดรับโทษกักขังอยู กรณีจึงไมเขา มาตรา ๒๗ และ การกักขังแทนคาปรับตาม มาตรา ๒๙ , ๓๐ เปนวิธีที่จะกระทําเพื่อเปนการชดใชคาปรับ เปนการบังคับคดี (คําพิพากษาฎีกาที่ ๕๖๑๖/๒๕๓๙) อีกทั้งประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๒๙ไมไดบัญญัติใหเปล่ียนโทษปรับเปนโทษกักขัง เพียงแตใหยึดทรัพยสินใชคาปรับหรือกักขังแทนคาปรับจนกวาจะชําระคาปรับ ซ่ึงประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๓๐ วรรค ๔ ก็บัญญัติตอไปวา เมื่อผูตองโทษปรับถูกกักขังแทนคาปรับครบกําหนดแลวใหปลอยตัวในวันถัดจากวันที่ครบกําหนด ถานําเงินคาปรับมาชําระครบแลวใหปลอยตัวไปทันที การที่มาตรานี้ยังคงเรียกผูถูกกักขังแทนคาปรับวาผูตองโทษปรับ แสดงวาแมจะมีการกักขังแทนคาปรับ โทษนั้นก็ยังเปนโทษปรับอยูมิไดเปลี่ยนเปนโทษกักขัง และที่บัญญัติวาถานําเงินคาปรับมาชําระครบแลวใหปลอยตัวไปทันที ก็แสดงใหเห็นวาการกักขังแทนคาปรับเปนวิธีการบังคับคดีในกรณีที่ผูตองโทษปรับไมชําระคาปรับเทานั้น ดังนั้น ศาลจะสั่งใหเปลี่ยนการกักขังแทนคาปรับเปนโทษจาํคกุไมได

Page 48: เอกสารสรุปเนื้อหา วิชาประมวลกฎหมายอาญา เล่มที่ ๑

๔๓

คําถาม ขอ ๓ พนักงานอัยการเปนโจทก ฟองนายเทงและนายโหนง เปนจําเลย กลาวหาวารวมกันกระทําความผิดตอพ.ร.บ.ปาไม และมีคําขอใหริบรถยนตของกลางที่นายเทงและนายโหนงมีสวนเปนเจาของ รวมกันคนละครึ่ง โดยอางวาเปนทรัพยที่ใชในการกระทําความผิด นายเทงใหการรับสารภาพ สวนนายโหนงใหการปฏิเสธ ศาลจึงมีคําส่ังใหแยกฟองนายโหนงเปนคดีใหม และ ในวันเดียวกันนั้นเอง ก็พิพากษาลงโทษนายเทงตามฟอง กับใหริบรถยนตของกลางดวย ไมมีคูความฝายใดอุทธรณ คดีถึงที่สุดในวันที่ ๒๐ มกราคม ๒๕๔๖ สําหรับนายโหนงนั้น พนักงานอัยการยื่นฟองเปนคดีใหม ในความผิดฐานเดียวกันตามคําส่ังศาลช้ันตน โดยบรรยายฟองกลาวถึงรถยนตของกลางในคดีกอนมาดวยวา ศาลมีคําสั่งใหริบแลวในคดีอ่ืนมิไดมีคําขอเกี่ยวกับรถยนตของกลางอยางหนึ่งอยางใดอีก นายโหนงใหการปฏิเสธ ศาลพิจารณาแลวพิพากษายกฟองคดีถึงที่สุด ตอมาวันที่ ๑๙ มกราคม ๒๕๔๗ นายโหนงมายื่นคํารองตอศาลในคดีแรกขอคืนรถยนตของกลาง โดยอางวามิไดมีสวนรูเห็นเปนใจในการที่นายเทงนํารถยนตของกลางซึ่งตนเปนเจาของรวมอยูดวยกึ่งหนึ่งไปใชกระทําความผิด ขอใหคืนรถยนตของกลาง ศาลไตสวนคํารองแลว ขอเท็จจริงไดความตามคํารองของนายโหนง ใหวินิจฉัยวา ศาลจะมีคําส่ังคํารองของนายโหนงอยางไร จับประเด็นคําถาม ๑. กรณีตามปญหาตองวินิจฉัยวา นายโหนงเจาของรวมถือวาเปนเจาของทีแ่ทจริงหรือไม ๒. กรณีตามปญหาตองวินิจฉัยวา นายโหนงเปนจําเลยในคดีแรก หรือ เปนบคุคล ภายนอก มีสิทธิขอคืนของกลางไดหรือไม และตองขอภายในกําหนดเวลาเทาใด ๓. กรณีตามปญหาตองวินิจฉัยวา คําพิพากษาถึงที่สุด ตามมาตรา ๓๖นั้นหมายถึงคําพิพากษาคดีใด คําตอบ ขอ ๓. ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๓๖ ในกรณีที่ศาลสั่งใหริบทรัพยสินซึ่งบุคคลไดใชในการกระทําความผิดไปแลว หากปรากฎในภายหลังโดยคําเสนอของเจาของที่แทจริงวา ผูเปนเจาของที่แทจริงมิไดรูเห็นเปนเปนใจดวยในการกระทําความผิด ก็ใหศาลสั่งคืนทรัพยสินที่ริบ แตเจาของที่แทจริงตองรองขอตอศาลภายใน ๑ ป นับแตวันคําพิพากษาถึงที่สุด นายโหนงเปนเจาของรวมถือวาเปนเจาของที่แทจริง ขอคืนของกลางเฉพาะสวนของตนเองได แมนายเทงเจาของรวมคนอื่น จะรูเห็นดวยในการกระทําความผิด และคดีแรกพนักงานอัยการโจทกจะฟองนายโหนงเปนจําเลยวารวมกระทําความผิดดวยก็ตาม แตศาลก็ส่ังใหโจทกแยกฟองนายโหนงเปนคดีหลังแลวนายโหนงจึงไมใชจําเลยในคดีที่ศาลมีคําสั่งใหริบรถยนตของกลาง ถือวานายโหนงเปนบุคคลภายนอกมีสิทธิขอคืนรถยนตของกลางได (คําพิพากษาฎีกาที่ ๑๓๖๙/๒๕๒๔ , ๒๐๐/๒๕๓๗ และ ๓๖๘๕/๒๕๔๑) วันคําพิพากษาถึงที่สุด หมายความถึง คําพิพากษาในคดีที่ศาลมีคําส่ังใหริบทรัพยสิน (คําพิพากษาฎีกาที่ ๑๐๖๓/๒๕๒๑ ) และรถยนตของกลางก็มิใชของกลางในคดหีลัง เมื่อคําพิพากษาคดีแรกถึง ที่สุดวันที่ ๒๐ มกราคม ๒๕๔๖ นายโหนงมายืน่คํารองขอคืนรถยนตของกลางเมื่อวันที่ ๑๙ มกราคม ๒๕๔๗ จึงเปน

Page 49: เอกสารสรุปเนื้อหา วิชาประมวลกฎหมายอาญา เล่มที่ ๑

๔๔ การยื่นภายใน ๑ ป นับแตวันคําพิพากษาถึงที่สุด เมื่อนายโหนงมิไดรูเห็นเปนใจในการกระทําความผิดกับนายเทง รถยนตของกลางจึงเปนทรัพยที่ตองริบเพียงกึ่งหนึ่ง อีกกึ่งหนึ่งตองคืนใหแกนายโหนง ศาลจะมีคําส่ังใหคืนรถยนตของกลางแกนายโหนงกึ่งหนึ่ง

คําถาม ขอ ๔. นายเดนกับนายเดอคนไทยอยูจังหวัดสมุทรปราการ ไดรวมกันนําเรือประมงไปจับปลาในทะเลอาณาเขตของประเทศมาเลเซีย ถูกศาลมาเลเซียพิพากษาจําคุกคนละหกเดือนเมื่อพนโทษแลวนายเดนกับนายเดอกลับมาอยูที่เมืองไทยไดปหนึ่ง นายเดนทํารายรางกายนายเดอ นายเดอจึงฟองศาลขอใหลงโทษนายเดนและขอใหเพิ่มโทษตามกฎหมายดวย

ดังนี้ ถาศาลจะพิพากษาลงโทษจําคุกนายเดนหนึ่งป ศาลจะเพิ่มโทษนายเดนหรือไม และถาหากศาลเห็นสมควรรอการลงโทษ ศาลจะรอการลงโทษนายเดนไดหรือไม จับประเด็นคําถาม ๑. กรณีตามปญหาตองวินิจฉัยวา การที่นายเดนเคยถูกศาลของประเทศมาเลเซียพิพากษาลงโทษจําคุกหกเดือนนั้น เปนกรณีที่นายเดนตองคําพิพากษาถึงที่สุดใหลงโทษจําคุกตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๙๒ , ๙๓ หรือไม ๒. กรณีตามปญหาตองวินิจฉัยวา การที่นายเดนเคยถูกศาลของประเทศมาเลเซียพิพากษาลงโทษจําคุกหกเดือนนั้น เปนกรณีที่นายเดนไดรับโทษจําคุกมากอน ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา ๕๖ หรือไม ๓. กรณีตามปญหาในสวนของการรอการลงโทษนั้น ตองวินิจฉัยวา เมื่อศาลจะลงโทษจําคุกนายเดนเพียงหนึ่งป และไมปรากฏวานายเดนไดรับโทษจําคุกตามคําพิพากษาของศาลไทยมากอน เมื่อศาลเห็นสมควรจะรอการลงโทษจําคุกใหนายเดน ตามมาตรา ๕๖ ไดหรือไม คําตอบ ขอ ๔. การที่นายเดนถูกศาลของประเทศมาเลเซียพิพากษาจําคุกหกเดือนนั้น มิใชเปนการถูกจําคุกตามคําพิพากษาของศาลไทย จึงมิใชเปนกรณีที่นายเดนตองคําพิพากษาถึงที่สุดใหลงโทษจําคุกตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๙๒,๙๓ ทั้งมิใชกรณีที่นายเดนไดรับโทษจําคุกมากอนตามประมวล กฎหมายอาญามาตรา ๕๖ ดวยเพราะการตองโทษจําคุกตามมาตรา ๙๒ , ๙๓ และ ๕๖ นั้น หมายถึงโทษจําคุก ตามคําพิพากษาของศาลไทย เทานั้น หากประมวลกฎหมายอาญาประสงคจะใหหมายถึงคําพิพากษาของศาลในตางประเทศดวยก็จะบัญญัติไวใหเห็นเชนนั้นโดยชัดแจง ดังเชนในกรณีตามมาตรา ๑๐ และ มาตรา ๑๑ ดังนั้น แมนายเดนจะมากระทําความผิดฐานทํารายรางกายอีก และศาลจะพิพากษาลงโทษครัง้หลังถึงจําคุก ก็จะเพิ่มโทษไมได สวนการรอการลงโทษนั้น เมื่อศาลจะลงโทษจําคุกนายเดนเพียงหนึ่งปและไมปรากฏ วานายเดนไดรับโทษจําคุกตามคําพิพากษาของศาลไทยมากอน เมื่อศาลเห็นสมควรจะรอการลงโทษจําคุกใหนายเดน ก็ยอมกระทําไดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๕๖

Page 50: เอกสารสรุปเนื้อหา วิชาประมวลกฎหมายอาญา เล่มที่ ๑

๔๕

คําถาม ขอ ๕. นายตนถูกฟองเปนจําเลยในคดีอาญา นายตนกลัววาศาลจะพิพากษาลงโทษจําคุก จึงไปปรึกษานายสงซ่ึงเปนลูกจางชั่วคราว ทําหนาที่เก็บสํานวนคดีอยูที่ศาลนั้นซึ่งรูจักกันมากอน นายสงไดพูดวารูจักผูพิพากษาในคดีที่นายตนถูกฟอง เคยเสนอสํานวนใหทานพิจารณา หากนายตนใหเงินตน ๑๐๐,๐๐๐ บาท ก็จะขอใหศาลพิพากษารอการลงโทษแกนายตน แตนายสงมิไดระบุช่ือผูพิพากษา นายตนจึงมอบเงินจํานวน ๑๐๐,๐๐๐ บาท แกนายสง ตอมาศาลพิพากษาลงโทษจําคุกนายตน นายตนจึงทราบวานายสงมิไดวิ่งเตนใหตนเลย เพราะนายสงไมเคยรูจักผูพิพากษาเจาของสํานวน เหตุที่นายสงแอบอางเพราะเขาใจวาคดีประเภทนี้ศาลมักจะรอการลงโทษอยูแลว นายตนจึงไปตอวานายสงวาทําใหตนเสียหายตองโทษจําคุกและขอเงินคืน นายสงอางวามิไดกระทําผิดแตอยางใดและไมยอมคืนเงิน ๑๐๐,๐๐๐ บาทให ใหวินิจฉัยวา นายสงจะมีความผิดฐานใดหรือไม และเงินจํานวน ๑๐๐,๐๐๐ บาท จะริบไดหรือไม จับประเด็นคําถาม ๑. กรณีตามปญหาตองวินิจฉัยวา การที่นายตนมิไดระบุช่ือผูพิพากษาซึ่งพิจารณาพิพากษาคดีของนายตน และไมไดไปจูงใจผูพิพากษาในการกระทําการในหนาที่ใหเปนคุณแกนายตนตามที่กลาวอางนั้น การกระทําของนายสงก็ครบองคประกอบความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๑๔๓ หรือไม ๒. กรณีตามปญหาตองวินิจฉัยวา เงิน ๑๐๐,๐๐๐ บาทนั้นเปนเงินที่ตองริบทั้งส้ิน ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๓๔ (๑) หรือไม เพราะเหตุใด

คําตอบ ขอ ๕. การที่นายสงเรียกรับเงินไปจากนายตนเปนเงินจํานวน ๑๐๐,๐๐๐ บาท เพื่อเปนการตอบแทนโดยอางวาจะนําไปใชจูงใจเจาพนักงานในตําแหนงผูพิพากษาโดยวิธีการอันทุจริตใหกระทําการในหนาที่พิพากษาคดีโดยรอการลงโทษแกนายตน ในคดีอาญาที่นายตนถูกฟอง แมจะมิไดระบุช่ือผูพิพากษาซึ่งพิจารณาพิพากษาคดีของนายตน และไมไดไปจูงใจผูพิพากษาในการกระทําการในหนาที่ใหเปนคุณแกนายตนก็ตาม การกระทําของนายสงก็ครบองคประกอบความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๑๔๓ (เทียบคําพิพากษาศาลฎีกาที่ ๗๖๙๕/๒๕๔๓)

สวนเงินจํานวน ๑๐๐,๐๐๐ บาท เปนทรัพยที่ไดใหตามความในมาตรา ๑๔๓ จึงตองริบเสียทั้งสิ้นตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๓๔ (๑)

คําถามการบาน ขอ ๒. นายเล็ก นายนอย และนายจิ๋ว กําลังรวมกันสูบเฮโรอีน ตํารวจพบเขาจึงทําการจับกุม นายเล็กกับนายนอยใชอาวุธปนของตนคนละกระบอกยิงตอสูจึงถูกตํารวจยิงตายทั้งสองตน สวนนายจิ๋วถูกตํารวจจับได พนักงานสอบสวนยึดปนทั้งสองกระบอกเปนของกลาง ทําการสอบสวนแลวสงพนักงานอัยการ พนักงานอัยการฟองนายจิ๋วเปนจําเลยตอศาล และขอใหริบปนของกลางทั้งสองกระบอก ดังนี้ ศาลสั่งริบปนของกลางสองกระบอกดังกลาวไดเพียงใดหรือไม เมื่อปรากฏวา ปนที่นายเล็กใชเปนปนมีทะเบียนถูกตองตามกฎหมาย สวนปนที่นายนอยใชเปนปนไมมีทะเบียน

Page 51: เอกสารสรุปเนื้อหา วิชาประมวลกฎหมายอาญา เล่มที่ ๑

๔๖

สําหรับเอกสารสรุปเนื้อหาวิชา หลักกฎหมาย และรวมฎีกาท่ีนาสนใจ ประกอบการศึกษาและเตรียมตัวสอบเนติบัณฑิต กลุมวิชาประมวลกฎหมายอาญา เลมท่ี ๑ นี้ จะจบเพียงเทานี้ ขอใหทานสมาชิกทุกทานอานชา ๆเพื่อทําความเขาใจ และจดจําหลักกฎหมายตาง ๆใหดี และหมั่นฝกเขียนตอบอยางสม่ําเสมอเมื่อมีเวลา ผูเขียนพยายามที่จะสรุป และยอใหเหลือจํานวนเอกสารที่ตองอานใหนอยท่ีสุด แตใหทานสมาชิกไดเนื้อหาวิชา และ หลักกฎหมาย รวมท้ังแนวฎีกาท่ีสําคัญ ๆ มากที่สุด เพื่อใหเปนไปตามเจตนารมณของผูเขียนท่ีจะชวยผูท่ีมีเวลานอยทุกทาน ขอใหทานลองตอบคําถามการบาน ขอ ๑. และ ขอ ๒. ท่ีใหไวเปนการบานดวย แลวคอยพบกันใหม สัปดาหหนา ในเลมท่ี ๒ พรอม เฉลยคําถาม ขอ ๑. ขอ ๒.

สวัสดี ติว-เน 100 ดอทคอม

Page 52: เอกสารสรุปเนื้อหา วิชาประมวลกฎหมายอาญา เล่มที่ ๑

กําหนดเวลาออกเอกสารสรุปเนื้อหาวิชา หลกักฎหมาย และรวมฎีกาที่นาสนใจ รวม 12 เลม ติวกอนสอบ 1 เลม และเก็บตกมาฝากกอนสอบ 1 เลม

เลมที่ 1 ออกวันที่ 15 มิถุนายน 2552 จะไดรับไมเกนิวันที่ 22 มิถุนายน 2552 เลมที่ 2 ออกวันที่ 22 มิถุนายน 2552 จะไดรับไมเกนิวันที่ 29 มิถุนายน 2552 เลมที่ 3 ออกวันที่ 29 มิถุนายน 2552 จะไดรับไมเกนิวันที่ 6 กรกฎาคม 2552 เลมที่ 4 ออกวันที่ 6 กรกฎาคม 2552 จะไดรับไมเกนิวันที่ 13 กรกฎาคม 2552 เลมที่ 5 ออกวันที่ 13 กรกฎาคม 2552 จะไดรับไมเกนิวันที่ 20 กรกฎาคม 2552 เลมที่ 6 ออกวันที่ 20 กรกฎาคม 2552 จะไดรับไมเกนิวันที่ 27 กรกฎาคม 2552 เลมที่ 7 ออกวันที่ 27 กรกฎาคม 2552 จะไดรับไมเกนิวันที่ 3 สิงหาคม 2552 เลมที่ 8 ออกวันที่ 3 สิงหาคม 2552 จะไดรับไมเกนิวันที่ 10 สิงหาคม 2552 เลมที่ 9 ออกวันที่ 10 สิงหาคม 2552 จะไดรับไมเกนิวันที่ 17 สิงหาคม 2552 เลมที่ 10 ออกวันที่ 17 สิงหาคม 2552 จะไดรับไมเกนิวันที่ 24 สิงหาคม 2552 เลมที่ 11 ออกวันที่ 24 สิงหาคม 2552 จะไดรับไมเกนิวันที่ 31 สิงหาคม 2552 เลมที่ 12 ออกวันที่ 31 สิงหาคม 2552 จะไดรับไมเกนิวันที่ 7 กันยายน 2552

ติวกอนสอบกลุมวิชาอาญา ออกวันที่ 17 กันยายน 2552จะไดรับไมเกินวันที่ 21 กันยายน 2552 ติวกอนสอบกลุมวิชาแพง ออกวันที่ 24 กันยายน 2552 จะไดรับไมเกินวันที่ 28 กันยายน 2552

เก็บตกมาฝากกอนสอบกลุมวิชาอาญา(ถามี) จะไดรับไมเกินวันที่ 22 กันยายน 2552 เก็บตกมาฝากกอนสอบกลุมวิชาแพง (ถามี) จะไดรับไมเกินวันที่ 29 กันยายน 2552

กรณีเห็นวาเก็บตกมาฝากจะสงทางไปรษณียไมทันจะนาํลงผานเว็บไซดในสวน เรียนติว On-Line

กอนถึงวันสอบกรุณาติดตามชมเว็บไซดในสวนเรียนตวิ On-Line ดวย เพื่อไมพลาดขาวสําคัญ

ขอใหทุกทานโชคด ีติว-เน 100 ดอทคอม