แนวคิดการพัฒนาเศรษฐกิจagri.stou.ac.th/UploadedFile/91721-4.pdf ·...

Preview:

Citation preview

มสธ มสธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ

4-1แนวคิดการพัฒนาเศรษฐกิจ

หน่วย ที่ 4

แนวคิด การ พัฒนา เศรษฐกิจ

รอง ศาสตราจารย์ ดร.อนุชา ภูริ พันธุ์ ภิญโญ

ชื่อ รองศาสตราจารย์ดร.อนุชา ภูริพันธุ์ภิญโญ

วุฒิ M.Sc.(Economics),JONM.HUNTSMANSchoolofBusiness,

Ph.D.(Economics)OklahomaStateUniversity.U.S.A.

ตำแหน่ง รองศาสตราจารย์ประจำสาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์

มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมธิราช

หน่วย ที่ เขียน หน่วยที่4

มสธ มสธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ

4-2 สังคมไทยกับการบริหารการส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร

หน่วย ที่ 4

แนวคิด การ พัฒนา เศรษฐกิจ

เค้าโครง เนื้อหาตอนที่4.1 การพัฒนาเศรษฐกิจ

4.1.1ความหมายและความสำคัญของการพัฒนาเศรษฐกิจ

4.1.2ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาเศรษฐกิจ

4.1.3ทฤษฎีการพัฒนาเศรษฐกิจ

ตอนที่4.2 การพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศไทย

4.2.1วิวัฒนาการของการพัฒนาเศรษฐกิจ

4.2.2แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

4.2.3บทบาทของภาครัฐและภาคเอกชนในการพัฒนาเศรษฐกิจ

ตอนที่4.3 การพัฒนาเศรษฐกิจของโลก

4.3.1การพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศพัฒนา

4.3.2การพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศกำลังพัฒนา

4.3.3แนวโน้มการพัฒนาเศรษฐกิจของโลก

แนวคิด1. การพัฒนาเศรษฐกิจคือความสามารถของประเทศในการที่จะสร้างหรือรักษาอัตราเติบโต

ทางเศรษฐกิจในรูปแบบการวัดผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการ

พัฒนาเศรษฐกิจสามารถแบ่งได้เป็น2ปัจจัยหลักได้แก่ปัจจัยทางเศรษฐกิจและปัจจัยที่

ไม่ใช่ทางเศรษฐกิจโดยปัจจัยทางเศรษฐกิจได้แก่ทรัพยากรมนุษย์ทรัพยากรธรรมชาติ

การสะสมทุน ผู้ประกอบการ และเทคโนโลยี ส่วนปัจจัยที่ไม่ใช่ทางเศรษฐกิจ ได้แก่

คา่นยิมและสถาบนัทางสงัคมระบบการเมอืงและการปกครองทฤษฎีการพฒันาเศรษฐกจิ

ไดแ้ก่ทฤษฎีของกลุม่คลาสสกิทฤษฎีของคารล์มาร์กซ์ทฤษฎีของกลุม่นีโอคลาสสกิทฤษฎี

ของชุมปีเตอร์ ทฤษฎีของเคนส์ ทฤษฎีของรอสโทว์ ทฤษฎีความจำเริญแบบสมดุลและ

ไม่สมดุลทฤษฎีการพัฒนาเศรษฐกิจระหว่างสาขาการผลิตทฤษฎีการพัฒนาที่เน้นความ

สำคัญด้านการค้าส่งออกทฤษฎีการพัฒนาเน้นความสำคัญด้านการทดแทนการนำเข้า

แนวคิดการพัฒนาแบบยั่งยืนและแนวคิดการพัฒนาแบบเศรษฐกิจพอเพียง

มสธ มสธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ

4-3แนวคิดการพัฒนาเศรษฐกิจ

2. วิวัฒนาการของการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศไทย เริ่มจากการที่รัฐบาลออกพระราช-

บัญญัติสภาเศรษฐกิจพ.ศ.2493ทำให้มีแนวโน้มการพัฒนาเศรษฐกิจของไทยโดยผ่าน

แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเริ่มจากแผนพัฒนาฯฉบับที่1เมื่อพ.ศ.2504

ซึ่งเป็นการวางแผนจากส่วนกลางหรือจากบนลงล่าง เป็นแผนที่ได้รับแนวคิดด้านทฤษฎี

ความเจริญเติบโต

3. บทบาทของรัฐในการพัฒนาเศรษฐกิจ ได้แก่ การชี้นำ การส่งเสริมและช่วยเหลือ

ภาคเอกชนการจดัให้มีสนิคา้สาธารณะและโครงสรา้งขัน้พืน้ฐานการปรบัปรงุการกระจาย

รายได้การรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจและการชี้นำการพัฒนาประเทศ

4. การพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศพัฒนาเป็นการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศในระดับสูง

โดยให้สิทธิเสรีภาพแก่ประชาชนทุกคนให้มีอิสระเสรีภาพและมีสุขอนามัยที่ดี อาศัยใน

สภาพแวดล้อมที่ปลอดภัยส่วนประเทศกำลังพัฒนาเป็นการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ

ที่มีมาตรฐานการดำรงชีวิตปานกลางถึงต่ำและพื้นฐานอุตสาหกรรมยังไม่พัฒนาแนวโน้ม

การพัฒนาเศรษฐกิจของโลกสามารถแบ่งออกได้ในทวีปต่าง ๆ ได้แก่ อเมริกาและ

ยุโรปกลุ่มประเทศอเมริกาใต้ประเทศในทวีปแอฟริกาประเทศในกลุ่มอาหรับประเทศ

เศรษฐกิจหลักในเอเชียเป็นต้น

วัตถุประสงค์เมื่อศึกษาหน่วยที่4จบแล้วนักศึกษาสามารถ

1.อธิบายความหมายและความสำคัญของการพัฒนาเศรษฐกิจได้

2.บอกถึงแนวคิดทฤษฎีการพัฒนาเศรษฐกิจได้

3.อธิบายถึงการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศไทยได้

4.อธิบายถึงการพัฒนาเศรษฐกิจของโลกได้

มสธ มสธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ

4-4 สังคมไทยกับการบริหารการส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร

ตอน ที่ 4.1

การ พัฒนา เศรษฐกิจ

โปรดอ่านแผนการสอนประจำตอนที่4.1แล้วจึงศึกษาเนื้อหาสาระพร้อมปฏิบัติกิจกรรมในแต่ละตอน

หัว เรื่องเรื่องที่4.1.1ความหมายและความสำคัญของการพัฒนาเศรษฐกิจ

เรื่องที่4.1.2ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาเศรษฐกิจ

เรื่องที่4.1.3ทฤษฎีการพัฒนาเศรษฐกิจ

แนวคิด1. การพัฒนาเศรษฐกิจเป็นความสามารถของประเทศในการที่จะสร้างหรือรักษาอัตราเติบโต

ทางเศรษฐกิจในรูปแบบการวัดผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศรวมกระทั่งถึงฐานะความ

เป็นอยู่ของประชาชนในประเทศที่ดีขึ้นคุณภาพชีวิตของประชาชนดีขึ้นตลอดทั้งคุณภาพ

ของทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมในประเทศดีขึ้น

2. ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาเศรษฐกิจสามารถแบ่งได้เป็น2ปัจจัยหลักได้แก่ปัจจัย

ทางเศรษฐกิจและปัจจัยที่ไม่ใช่ทางเศรษฐกิจ

3. ทฤษฎีวา่ดว้ยการพฒันาการเศรษฐกจิจากอดตีถงึปจัจบุนัประกอบไปดว้ยทฤษฎีสำคญัๆ

หลายทฤษฎีได้แก่ทฤษฎีคาร์ลมาร์กซ์ทฤษฎีของเคนส์ทฤษฎีของรอสโทว์

วัตถุประสงค์เมื่อศึกษาหน่วยที่4.1จบแล้วนักศึกษาสามารถ

1. อธิบายความหมายและความสำคัญของการพัฒนาเศรษฐกิจได้

2. อธิบายปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาเศรษฐกิจได้

3. อธิบายทฤษฎีการพัฒนาเศรษฐกิจได้

มสธ มสธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ

4-5แนวคิดการพัฒนาเศรษฐกิจ

เรื่อง ที่ 4.1.1 ความ หมาย และ ความ สำคัญ ของ การ พัฒนา เศรษฐกิจ

ความ หมาย ของ การ พัฒนา เศรษฐกิจ การพัฒนาเศรษฐกิจตรงกับคำในภาษาอังกฤษคือ EconomicDevelopment เป็นกระบวนการ

ที่ทำให้ผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติที่แท้จริงต่อหัวของประชาชนในประเทศเพิ่มขึ้นในระยะยาวทั้งนี้การ

กระจายรายได้ของประชาชนในประเทศจะต้องไม่ด้อยหรือเลวลงไปกว่าเดิมนอกจากนี้การพัฒนาเศรษฐกิจ

ยังเป็นกระบวนการของการพัฒนาความเจริญเติบโตและการเปลี่ยนแปลงโดยมีจุดประสงค์มุ่งเน้นการเพิ่ม

มาตรฐานการครองชีพของประชาชนในประเทศนอกจากนี้ยังรวมไปถึงการเปลี่ยนแปลงในโครงสร้างของ

ระบบเศรษฐกิจ

ในสาขาวิชาเศรษฐศาสตร์พัฒนาการให้ความหมายของการพัฒนาเศรษฐกิจใน2ช่วงเวลากล่าวคือ

ในช่วงเวลาค.ศ. 1950ถึง 1960และในยุคหลังจากปีค.ศ. 1960มาถึงปัจจุบัน โดยในที่นี้ความหมายใน

ปีค.ศ.1950ถึง1960นักเศรษฐศาสตร์ เรียกว่า เป็นความหมายแบบดั้งเดิมและหลังปีค.ศ.1960เป็น

ความหมายสมัยใหม่

การพัฒนาเศรษฐกิจในความหมายแบบดั้งเดิมนั้น หมายถึง ความสามารถของประเทศในการที่

จะสร้างหรือรักษาอัตราการเติบโตของเศรษฐกิจในรูปแบบการวัดผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศ (Gross

Domestic Product:GDP) อันเป็นการวัดมูลค่าของผลผลิตทั้งประเทศที่ผลิตขึ้นในประเทศหนึ่งในรอบ

ระยะเวลา1ปีซึ่งมีอัตราการเติบโตอย่างน้อยร้อยละ5-7หรือการวัดผลิตภัณฑ์มวลรวมที่แท้จริงต่อหัวของ

ประชากร(RealGDPperHeadหรือGDP/Population) ทั้งนี้แนวคิดแบบดั้งเดิมนี้จะมุ่งเน้นการขยาย

ตัวของผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศเป็นประเด็นสำคัญนั่นคือ การขยายผลผลิตมวลรวมในประเทศ

มากกว่าอัตราการขยายตัวของประชากร เพื่อให้สัดส่วนผลิตภัณฑ์มวลรวมที่แท้จริงต่อหัวของประชากร

สูงขึ้นนั่นเอง โดยแนวคิดนี้มีความเชื่อว่า เมื่อใดก็ตาม สัดส่วนผลิตภัณฑ์มวลรวมที่แท้จริงต่อหัวของ

ประชากรสูงขึ้นจะทำให้การกินดีอยู่ดีเกิดขึ้นในระบบเศรษฐกิจจากแนวคิดนี้การพัฒนาเศรษฐกิจจะมุ่งเน้น

ไปยังการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างการผลิตจากการผลิตในภาคเกษตรให้ลดลง และขยายการผลิตไปยัง

ภาคอุตสาหกรรมหรือภาคอื่นๆที่ไม่ใช่ภาคเกษตร โดยเชื่อว่าการขยายการผลิตไปยังภาคอุตสาหกรรมจะ

ก่อให้เกิดการจ้างแรงงานที่เพิ่มมากขึ้นและมีมูลค่าการผลิตจากภาคอุตสาหกรรมมากกว่าภาคเกษตรทำให้

ผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศขยายตัวในที่สุดดังนั้นในความหมายของการพัฒนาเศรษฐกิจแบบดั้งเดิม

จึงเป็นการสร้างงานการสร้างรายได้และการกระจายรายได้เป็นประการสำคัญ

การพัฒนาเศรษฐกิจตามแนวคิดสมัยใหม่หลังยุคค.ศ.1960เริ่มต้นมาจากการที่นักเศรษฐศาสตร์

สังเกตว่า ในบางประเทศผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศเพิ่มขึ้นตามเป้าหมาย แต่ทำไมระดับการครองชีพ

ของประชาชนและมาตรฐานความเป็นอยู่ของประชาชนจึงไม่ดีขึ้น ดังนั้น จึงไม่ใช้เกณฑ์การวัดการพัฒนา

เศรษฐกิจโดยพิจารณาผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศเพียงอย่างเดียว แต่พิจารณาปัจจัยอื่นประกอบด้วย

มสธ มสธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ

4-6 สังคมไทยกับการบริหารการส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร

เช่นการครองชีพความเหลื่อมล้ำในด้านรายได้และอัตราการว่างงาน นอกจากนี้ยังรวมไปถึงคุณภาพชีวิต

ที่ดีกว่าเดิมเช่นช่วงอายุขัยของประชากรที่ยืนยาวมากขึ้นและมีความสุขการมีสิทธิและเสรีภาพในการดำรง

ชีวิต การได้รับการศึกษาที่ดีและเท่าเทียมเสมอภาคในโอกาสทางการศึกษา การสาธารณสุข ความสะดวก

ของชุมชนสาธารณูปโภค รวมทั้งมีภาวะโภชนาการที่ดี ความหมายโดยรวมของการพัฒนาเศรษฐกิจ ตาม

แนวคิดสมัยใหม่หลังยุคค.ศ.1960นี้คือความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ(economicgrowth)พร้อมกับ

การเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นนั่นเอง

ความ สำคัญ ของ การ พัฒนา เศรษฐกิจเมื่อทราบถึงความหมายของการพัฒนาเศรษฐกิจแล้ว หากพิจารณาถึงความสำคัญของการพัฒนา

เศรษฐกิจจะสามารถอธิบายแยกเป็นประเด็นย่อยดังนี้

1. ช่วยปรับปรุงและยกระดับมาตรฐานการครองชีพของประชาชนในประเทศให้ดีขึ้น นัก

เศรษฐศาสตร์เชื่อว่าประชาชนในประเทศมีรายได้ที่สูงขึ้นมีกำลังในการจับจ่ายใช้สอยเครื่องอุปโภคบริโภค

และสาธารณูปโภคอื่นๆ ที่ตนเองต้องการมีสิ่งอำนวยความสะดวกในการดำรงชีวิตและในการใช้ชีวิตประจำ

วันรวมทั้งความเป็นอยู่ในเรื่องที่อยู่อาศัยยารักษาโรคอาหารการศึกษาสิทธิเสรีภาพด้านต่างๆทำให้เกิด

การยกระดับมาตรฐานการครองชีพจากการที่ประชาชนในประเทศมีรายได้ที่เพิ่มขึ้นนั่นเอง

2. เป็นหนทางทำให้ประเทศสามารถพึ่งพาตนเองได้ทั้งด้านเศรษฐกิจและการเมือง จะเห็นได้ว่า

ความมั่นคงทางเศรษฐกิจจะทำให้ประเทศมีเงินทุนอย่างเพียงพอ ในการนำไปเป็นงบประมาณรายจ่ายของ

ภาครัฐในเรื่องการศึกษาการสาธารณสุขสาธารณูปโภคถนนหนทางนอกจากนี้เมื่อประเทศมีความมั่นคง

ทางเศรษฐกิจแล้วประเทศสามารถพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตสินค้าเพื่อการส่งออกได้

3. ก่อให้เกิดความช่วยเหลือซึ่งกันและกันของประเทศต่าง ๆ เพื่อพัฒนาให้เศรษฐกิจโลกเจริญ

ก้าวหน้าและเติบโตยิ่งขึ้น จะเห็นได้จากปรากฏการณ์ที่ประเทศพัฒนาช่วยเหลือพัฒนาเศรษฐกิจประเทศ

ที่ด้อยพัฒนา เช่น ประเทศสหรัฐอเมริกาช่วยเหลือประเทศยากจนด้อยพัฒนาในทวีปอาฟริกา ในรูปแบบ

ความช่วยเหลือด้านเศรษฐกิจการสนับสนุนด้านการให้ทุนหรือให้ประเทศด้อยพัฒนากู้ยืมไปลงทุนในด้าน

สาธารณูปโภคการศึกษาโครงสร้างพื้นฐานรวมทั้งสาธารณสุขเงินทุนดังกล่าวมีทั้งรูปแบบการให้กู้ยืมหรือ

เงินให้เปล่า เพื่อนำไปลงทุนในการพัฒนาประเทศผลคือ ประเทศด้อยพัฒนาที่ได้รับความช่วยเหลือทาง

เศรษฐกิจจะก่อให้เกิดการพัฒนาเศรษฐกิจในประเทศมากยิ่งขึ้นส่งผลให้การพัฒนาเศรษฐกิจโลกโดยภาพ

รวมดีขึ้น

นอกจากประเทศสหรัฐอเมริกาจะให้ความช่วยเหลือประเทศในทวีปอาฟริกาแล้ว สหรัฐอเมริกา

ยังเคยให้ความช่วยเหลือประเทศไทยในอดีตในรูปแบบต่าง ๆ จากโครงการความช่วยเหลือของประเทศ

สหรัฐอเมริกา(USAIDที่เรียกแบบชาวบ้านทั่วไปว่ายู-เสดที่จริงแล้วต้องอ่านว่า US-AIDยูเอส-เอไอดี)

นั่นคือการช่วยเหลือจากรัฐบาลอเมริกา (USAID) ช่วยในการพัฒนาเศรษฐกิจไทยในด้านสาธารณูปโภค

ขั้นพื้นฐานสาธารณสุขการแพทย์ โภชนาการชุมชนรวมทั้งการศึกษา โดยการให้ทุนการศึกษาส่งนักเรียน

ขา้ราชการไปศกึษาวชิาการแขนงตา่งๆ ในมหาวทิยาลยัของประเทศสหรฐัอเมรกิาเมือ่นำความรู้กลบัมาพฒันา

มสธ มสธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ

4-7แนวคิดการพัฒนาเศรษฐกิจ

ประเทศไทยนอกจากนี้สหรัฐอเมริกายังส่งผู้เชี่ยวชาญมาให้ความช่วยเหลือแก่ธนาคารแห่งประเทศไทย

การให้กู้ยืมเงินทุนดอกเบี้ยต่ำเพื่อนำไปลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน และสาธารณูปโภคในประเทศไทยหรือ

ในบางครั้งสหรัฐอเมริกายังให้ความช่วยเหลือประเทศไทยแบบเงินให้เปล่าในการสร้างสาธารณูปโภคและ

การคมนาคมขนส่ง เช่น การก่อสร้างถนนมิตรภาพในประเทศไทย เป็นต้น อย่างไรก็ตาม โครงการความ

ช่วยเหลือดังกล่าว เสร็จสิ้นไปแล้ว เนื่องจากประเทศไทยในปัจจุบันสามารถพึ่งพาตนเองได้แล้วในการ

พัฒนาเศรษฐกิจ

ประเทศพัฒนาและเจริญแล้วที่มีโครงการให้ความช่วยเหลือทางเศรษฐกิจแก่ประเทศด้อยพัฒนา

อื่น ๆคล้ายกับประเทศสหรัฐอเมริกา เช่นประเทศอังกฤษ เยอรมนี ฝรั่งเศส รวมถึงประเทศญี่ปุ่น ทำให้

การพัฒนาเศรษฐกิจโลกโดยรวมพัฒนาไปในทางดีขึ้น

เรื่อง ที่ 4.1.2 ปัจจัย ที่ เกี่ยวข้อง กับ การ พัฒนา เศรษฐกิจ

ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาเศรษฐกิจสามารถแบ่งได้เป็น2ประเภทดังนี้

1. ปัจจัยทางเศรษฐกิจหมายถึง ปัจจัยที่มีผลหรือมีพลังต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ โดยสามารถมี

ผลทำให้อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจเพิ่มขึ้นหรือลดลงได้จากสาเหตุของการเปลี่ยนแปลงปัจจัยเหล่านี้

อันได้แก่

1.1 ทรัพยากรมนุษย์(humancapital)หรือในภาษาของนักเศรษฐศาสตร์มักเรียกอีกชื่อหนึ่ง

ว่าทุนมนุษย์ทรัพยากรมนุษย์เป็นปัจจัยสำคัญปัจจัยหนึ่งในการพัฒนาเศรษฐกิจการพัฒนาเศรษฐกิจจะขึ้น

กับขนาดของประชากรหรือจำนวนประชากรในประเทศนั้นๆ เพราะถือว่าเป็นแรงงานในการพัฒนาประเทศ

นอกจากนี้ยังขึ้นอยู่กับคุณภาพและประสิทธิภาพของประชากรในประเทศทรัพยากรมนุษย์นับเป็นปัจจัยที่มี

คุณค่าในการพัฒนาเศรษฐกิจเนื่องจากเป็นแรงงานจะเห็นได้ว่าแม้ความก้าวหน้าในเทคโนโลยีได้ก้าวหน้าไป

มากเพียงใดก็ตามแต่งานบางอย่างบางประเภทจำเป็นต้องใช้แรงงานมนุษย์ ตัวอย่าง เครื่องจักรในโรงงาน

อุตสาหกรรมมีความจำเป็นที่จะต้องใช้มนุษย์เป็นผู้ควบคุมการทำงานของเครื่องจักร เครื่องจักรจะทำงาน

เองไม่ได้ เครื่องบินโดยสารต้องอาศัยมนุษย์เป็นนักบินโดยที่เครื่องบินไม่สามารถบินเองได้ถ้าไม่มีมนุษย์

ดังนั้นทรัพยากรมนุษย์จึงมีความจำเป็นต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ การปรับปรุงคุณภาพของประชากรมนุษย์

และเพิ่มพูนประสิทธิภาพและสมรรถนะของทรัพยากรมนุษย์จึงมีความจำเป็นเพื่อให้ทรัพยากรมนุษย์มี

คุณภาพดีขึ้น ซึ่งสามารถกระทำได้โดยการศึกษา การฝึกอบรมการฝึกฝน ในองค์ความรู้ และทักษะการ

ทำงานในด้านต่างๆ เพื่อให้เกิดความเชี่ยวชาญและความชำนาญในเรื่องฝีมือแรงงานนอกจากนี้ยังรวมไป

ถึงการให้การสนับสนุนส่งเสริมทางด้านสาธารณสุขสุขอนามัยความเป็นอยู่การครองชีพเพื่อให้ทรัพยากร

มนุษย์มีประสิทธิภาพมากขึ้น

มสธ มสธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ

4-8 สังคมไทยกับการบริหารการส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร

1.2ทรัพยากรธรรมชาติ (natural resource) ในทางเศรษฐศาสตร์จะหมายรวมถึงทรัพยากร

ธรรมชาติทุกชนิดทั้งในดินใต้ดินใต้น้ำและบนชั้นบรรยากาศในโลกมนุษย์ยกตัวอย่างทรัพยากรน้ำมัน

ป่าไม้ แร่ธาตุถ่านหิน เงินดีบุกทองแดงทองคำอากาศแสงแดดลมและปริมาณลมน้ำน้ำพุร้อนแสง

อาทติย์ทรพัยากรในพืน้ทะเลและมหาสมทุรที่กลา่วมาทัง้หมดลว้นแลว้แต่เปน็ปจัจยัในการพฒันาเศรษฐกจิ

ทั้งสิ้น และยังมีทรัพยากรธรรมชาติอื่น ๆ อีกที่ไม่ได้กล่าวถึงในเรื่องนี้อีกมากมาย ในทางเศรษฐศาสตร์จะ

เห็นได้ว่า ทรัพยากรธรรมชาติจะมีคุณค่าก็ต่อเมื่อมนุษย์นำทรัพยากรธรรมชาตินั้น ๆมาใช้และก่อให้เกิด

ประโยชน์เชน่การขดุนำ้มนัขึน้มาใช้เปน็ตน้ทรัพยากรธรรมชาติในโลกนี้จงึมีทัง้นำมาใช้และยงัไม่ได้นำมาใช้

“ความอุดมสมบูรณ์”ของทรัพยากรธรรมชาติจะก่อให้เกิดการพัฒนาเศรษฐกิจได้อย่างรวดเร็วและเป็นไป

ในทางที่ดีประเทศที่ขาดแคลนทรัพยากรธรรมชาติจะก่อให้เกิดความยากลำบากในการพัฒนาเศรษฐกิจของ

ประเทศประเทศที่มีความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติมากจะนำทรัพยากรธรรมชาติเหล่านี้ไปใช้ใน

การพัฒนาประเทศและตอบสนองความต้องการในการผลิตสินค้าเพื่อใช้ในประเทศและส่งออกไปจำหน่ายใน

ต่างประเทศโดยนำทรัพยากรที่มีอยู่เหล่านั้นมาเป็นวัตถุดิบในอุตสาหกรรมสร้างงานสร้างรายได้และสร้าง

อาชีพแก่ประชาชนในประเทศทำให้ผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศเติบโตขึ้นได้อย่างรวดเร็ว

ทรัพยากรต่อการพัฒนาเศรษฐกิจนั้นในหลายครั้งจะเห็นได้ว่าประเทศบางประเทศในโลกที่

ขาดแคลนทรัพยากรหรือมีทรัพยากรอันจำกัดโดยธรรมชาติ แต่ประเทศเหล่านี้ก็สามารถพัฒนาเศรษฐกิจ

ของประเทศได้เช่นประเทศอิสราเอลญี่ปุ่นฮ่องกงและสิงคโปร์เป็นต้น

ประเทศอิสราเอลมีทรัพยากรธรรมชาติจำกัดเพราะพื้นที่ของประเทศตั้งอยู่ในดินแดน

ทะเลทรายดินส่วนใหญ่เป็นดินทรายไม่อุ้มน้ำ อากาศร้อน แสงแดดจัด ไม่มีทรัพยากรป่าไม้ น้ำมัน และ

แร่ธาตุใด ๆปริมาณฝนที่ตกโดยเฉลี่ยน้อยจึงแห้งแล้ง โดยพื้นฐานของอิสราเอลแล้วมีทรัพยากรที่ได้รับ

จากธรรมชาติคือ แสงแดดทราย และน้ำจืดปริมาณน้อย แต่อิสราเอลก็สามารถพัฒนาประเทศได้โดยนำ

เข้าวัตถุดิบที่เป็นทรัพยากรที่จำเป็นจากต่างประเทศและประยุกต์กับทรัพยากรที่ตนเองมีอย่างจำกัดมาใช้

ประโยชน์มากที่สุด เช่นการคิดค้นระบบชลประทานน้ำหยด (dripping irrigration system) เพื่อใช้เป็น

เครื่องมือในการให้น้ำทางการเกษตรในการปลูกพืช นอกจากนี้อิสราเอลยังคิดค้นระบบเครื่องผลิตกระแส

ไฟฟ้าจากแสงแดด(solarcell)รวมทั้งการกลั่นน้ำเสียกลับมาใช้ใหม่

ประเทศญี่ปุ่นมีภูมิศาสตร์เป็นเกาะจึงมีทรัพยากรธรรมชาติที่จำกัด มีการนำเข้าทรัพยากร

ธรรมชาติที่เป็นวัตถุดิบในอุตสาหกรรมจากต่างประเทศรวมทั้งสินค้าอาหารบางประเภทแต่ญี่ปุ่นก็สามารถ

พัฒนาเศรษฐกิจในประเทศของตนได้ในทำนองเดียวกันกับประเทศสิงคโปร์ที่มีทรัพยากรธรรมชาติที่จำกัด

แต่ก็สามารถพัฒนาเศรษฐกิจได้

ประเทศที่เจริญแล้วมีระบบการพัฒนาเศรษฐกิจในขั้นสูงและมีทรัพยากรอย่างอุดมสมบูรณ์

เป็นปัจจัยสนับสนุนการพัฒนาเศรษฐกิจในประเทศ เช่น ประเทศสหรัฐอเมริกา แคนาดา จีน อาเจนติน่า

บราซิลรวมทั้งประเทศไทย

1.3 การสะสมทุน (capital accumulation) ทุนในทางเศรษฐศาสตร์ไม่ใช่เงินทุน แต่ทุนทาง

เศรษฐศาสตร์หมายถึง เครื่องจักร เครื่องมือ อุปกรณ์ การผลิตในอุตสาหกรรมและโรงงานอุตสาหกรรม

มสธ มสธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ

4-9แนวคิดการพัฒนาเศรษฐกิจ

ต่างๆกระบวนการที่ทำให้ทุนเหล่านี้มีปริมาณเพิ่มขึ้นเรียกว่าการสะสมทุนซึ่งมีความสำคัญต่อการพัฒนา

เศรษฐกิจเพราะเมื่อทุนมากขึ้นในประเทศประเทศก็สามารถผลิตสินค้าได้มากขึ้นทำให้ผลิตภัณฑ์มวลรวม

ในประเทศมากขึ้นหรือสุดท้ายแล้วก่อให้เกิดการเพิ่มขึ้นของGDPนั่นเองการที่ประเทศใดประเทศหนึ่งจะมี

ปัจจัยทุนหรือสินค้าทุนได้ระบบเศรษฐกิจหนึ่งหรือประเทศหนึ่งจะต้องมีการ“ออมทรัพย์”หรือ“เงินออม”

(national saving) และนำไปลงทุนในสินค้าทุน โดยส่วนใหญ่แล้วเมื่อประเทศมีเงินออมมากขึ้นก็จะนำ

ไปลงทุนในสินค้าทุนมากขึ้นก่อให้เกิดการผลิตสินค้ามากขึ้น ส่งออกไปขายยังตลาดต่างประเทศมากขึ้นมี

รายได้เข้าประเทศมากขึ้นGDPเพิ่มขึ้นก่อให้เกิดการพัฒนาเศรษฐกิจในประเทศจะเห็นได้ว่าที่มาของสินค้า

ทุนคือ“เงินออม”

ในสภาพความเป็นจริงแล้วประเทศกำลังพัฒนาส่วนใหญ่มักจะขาดเงินออมในประเทศหรือ

มีเงินออมบ้างแต่เป็นปริมาณน้อยด้วยเหตุผลที่ว่าประเทศมีรายได้ต่ำรายได้ส่วนใหญ่นำไปใช้ในการบริโภค

ในประเทศ(Y=C+S)นั่นคือนักเศรษฐศาสตร์ให้คำนิยามว่ารายได้ของประชาชน(Y)จะนำไปใช้2ทาง

ได้แก่การบริโภค(C)และเหลือจากการบริโภคคือการออม(S)ซึ่งเป็นทฤษฎีพื้นฐานพฤติกรรมผู้บริโภคใน

ประเทศประเทศจึงมีปริมาณเงินออมน้อยและนำไปลงทุนในสินค้าประเภททุนน้อยก่อให้เกิดการสะสมทุน

น้อยตามไปด้วยประเทศกำลังพัฒนาเหล่านี้จะระดมเงินออมจากต่างประเทศ ในการสะสมสินค้าประเภท

ทุนนั้นมาจากการลงทุนของนักลงทุนชาวต่างประเทศหรืออาจจะมาจากรูปแบบของเงินกู้ยืมและรูปแบบของ

ความชว่ยเหลอืแบบอืน่ๆการสะสมสนิคา้ประเภททนุจงึเปน็หนทางนำไปสู่การเพิม่ขึน้ของผลติภณัฑ์มวลรวม

ภายในประเทศทำให้ประเทศสามารถผลิตสินค้าและบริการออกสู่ตลาดมากยิ่งขึ้นประชาชนและผู้บริโภคใน

ประเทศมีสินค้าและบริการเพื่อใช้ในการอุปโภคบริโภคเพิ่มมากขึ้นการสะสมสินค้าทุนหรือลงทุนในสินค้าทุน

ยังก่อให้เกิดการจ้างแรงงานในประเทศเพิ่มขึ้นเนื่องจากการขยายขนาดการผลิตนั่นเอง จึงจำเป็นที่จะต้อง

ใช้แรงงานมากยิ่งขึ้นการสะสมทุนยังก่อให้เกิดการพัฒนาเทคโนโลยีนำไปสู่เทคโนโลยีที่ก้าวหน้ามากขึ้นก่อ

ให้เกิดความชำนาญเฉพาะอย่าง (specialization)ของแรงงานในประเทศการกระจายและการแบ่งงานกัน

ทำอย่างชัดเจนการขยายขนาดการผลิตจะก่อให้เกิดการประหยัดต่อขนาดการผลิต (economyof scale)

ทำให้ต้นทุนต่อหน่วยการผลิตลดลงนอกจากนี้แล้วผลที่ตามมาของการสะสมทุนจจะก่อให้เกิดความต้องการ

พื้นฐานในการจัดหาปัจจัยการผลิตที่เพิ่มขึ้นเช่นการขนส่งการพลังงานและการศึกษาเป็นต้น

1.4 ผู้ประกอบการ (entrepreneur) ในทางเศรษฐศาสตร์หมายถึงผู้ทำหน้าที่ในการรวบรวม

ปัจจัยการผลิตต่างๆนำมาใช้ในการผลิตและป็นผู้จัดการหน่วยธุรกิจในประเทศด้อยพัฒนาผู้ประกอบการ

มักขาดทักษะและประสิทธิภาพในการทำงาน ทำให้มีการใช้แรงงานมีประสิทธิภาพต่ำ เนื่องจากมีระบบ

การบริหารจัดการงานอย่างไม่มีประสิทธิภาพซึ่งเป็นอุปสรรคสำคัญต่อการพัฒนาเศรษฐกิจอย่างเห็นได้ชัด

นอกจากนี้แล้วในสภาพความเป็นจริงผู้ประกอบการจะต้องยอมรับกับภาวะความเสี่ยงจากการประกอบการ

และความไม่แนน่อนในการดำเนนิธรุกจิจะเหน็ได้วา่ในประเทศกำลงัพฒันาหรอืดอ้ยพฒันานัน้ผู้ประกอบการ

มักขาดความรู้และทักษะความชำนาญในช่องทางและโอกาสในการลงทุนทางธุรกิจตลาดสินค้ามีขนาดเล็ก

เมื่อเปรียบเทียบกับจำนวนประชากรกล่าวคือมีผู้ซื้อสินค้าจำนวนน้อยสินค้าเหลือหรือล้นตลาดขาดแคลน

เงินลงทุน ขาดแคลนแรงงานที่มีฝีมือ ขาดแคลนวัตถุดิบ จะเห็นได้ว่าผู้ประกอบการในประเทศด้อยพัฒนา

มสธ มสธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ

4-10 สังคมไทยกับการบริหารการส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร

นั้นเมื่อใดก็ตามที่พวกเขามีเงินลงทุนเขาเหล่านั้นกลับไม่นำไปลงทุนในธุรกิจแต่กลับนำไปซื้อทองคำเพชร

และอสังหาริมทรัพย์เพื่อความมั่นคงของตนเองการกระทำของผู้ประกอบการดังกล่าวถือได้ว่าไม่ก่อให้เกิด

การลงทุนในระบบเศรษฐกิจ และไม่ก่อให้เกิดกิจกรรมในทางเศรษฐกิจที่จะสนับสนุนการพัฒนาเศรษฐกิจ

ต่อไป

นกัเศรษฐศาสตร์แขนงพฒันาการเศรษฐกจิชาวอเมรกินัผู้มชีือ่เสยีงนามวา่ชมุปีเตอร์(Schum-

peter) กล่าวว่าหน้าที่หนึ่งของผู้ประกอบการคือการนำนวัตกรรมมาใช้ในการประกอบธุรกิจ เขากล่าวว่า

ผู้ประกอบการเปน็บคุคลสำคญั(keyman)ที่มีความสำคญัตอ่กระบวนการพฒันาเศรษฐกจิในทกุๆประเทศ

ผู้ประกอบการนั้นเป็นบุคคลที่คิดค้นสิ่งใหม่ๆในการประกอบธุรกิจ

1.5 เทคโนโลยี (technology)การพัฒนาเทคโนโลยีที่ก้าวหน้าล้ำสมัยถือเป็นปัจจัยสำคัญ

ที่สุดในกระบวนการพัฒนาเศรษฐกิจ เพราะเทคโนโลยีที่ก้าวหน้าจะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงการผลิต การ

คิดค้นเทคโนโลยีใหม่ๆจนก่อให้เกิดนวัตกรรมหรือผลงานวิจัยใหม่ๆจะนำไปสู่การเพิ่มประสิทธิภาพของ

แรงงานทนุและปจัจยัอืน่ๆทำให้สามารถผลติสนิคา้และบรกิารมากขึน้เทคโนโลยียงัสามารถทำให้ลดตน้ทนุ

การผลติและเพิม่ผลผลติได้อกีดว้ยความกา้วหนา้ของเทคโนโลยีเปน็จดุกำเนดิให้แสวงหาทรพัยากรธรรมชาติ

ใหม่ ๆ เพื่อนำมาใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตและในอุตสาหกรรมความก้าวหน้าในเทคโนโลยีจึงเป็นปัจจัยที่

สำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจ

2. ปัจจัยที่ไม่ใช่ปัจจัยทางเศรษฐกิจเป็นปัจจัยที่มีผลต่อการพัฒนาเศรษฐกิจได้แก่

2.1 ค่านิยมและสถาบันทางสังคม เช่น ระบบครอบครัว และระบบความเชื่อในสิ่งของมีผล

ต่อการทำงานของคนในสังคม เช่น ความขยัน ความเกียจคร้าน การเลี่ยงไม่ทำงาน หนักไม่เอาเบาไม่สู้

หยิบโหย่ง รักสบาย ทำงานน้อย พักผ่อนมาก ๆ ค่านิยมเหล่านี้ล้วนแล้วแต่มีผลต่อประสิทธิภาพและ

คุณภาพของแรงงานในระบบเศรษฐกิจและส่งผลต่อกระบวนการพัฒนาเศรษฐกิจในที่สุด

ค่านิยมที่ส่งผลดีต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ เช่นความขยันซื่อสัตย์ซื่อตรง เที่ยงตรงยึดมั่น

ในสิ่งที่กระทำจงรักภักดีประหยัดการอดออมล้วนแล้วแต่มีผลต่อคุณภาพแรงงานและกระบวนการพัฒนา

เศรษฐกิจนอกจากนี้ยังมีค่านิยมในทางลบที่เลวทรามเป็นผลเสียต่อการพัฒนาเศรษฐกิจเช่นการคอรัปชั่น

การมัว่สมุการพนนัและอบายมขุตา่งๆดืม่สรุาพนนัฟตุบอลล์ซือ้หวยลว้นแลว้แต่เปน็ผลลบตอ่กระบวนการ

พัฒนาเศรษฐกิจ

2.2 ระบบการเมอืงการปกครองเปน็ปจัจยัที่มีความสำคญัปจัจยัหนึง่ตอ่การพฒันาเศรษฐกจิ

การที่ประเทศใดก็ตามมีระบบการเมือง การปกครอง และการบริหารงานแผ่นดินที่ไม่มีประสิทธิภาพ เป็น

อุปสรรคขัดขวางกระบวนการพัฒนาเศรษฐกิจด้วยเหตุนี้เองจึงต้องการระบบการเมือง การปกครอง และ

การบริหารราชการแผ่นดินที่มีประสิทธิภาพ

กล่าว โดย สรุป ปัจจัยที่มีผลต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศใดประเทศหนึ่งแบ่งเป็น2ประเภท

หลัก ๆ ได้แก่ ปัจจัยทางเศรษฐกิจ ประกอบด้วย ทรัพยากรมนุษย์ ทรัพยากรธรรมชาติ การสะสมทุน

ผู้ประกอบการ และเทคโนโลยี และปัจจัยที่ไม่ใช่ปัจจัยทางเศรษฐกิจ ประกอบด้วย ค่านิยมและสถาบัน

ทางสังคม รวมถึงระบบการเมืองการปกครอง ซึ่งปัจจัยหลักทั้ง 2 ประเภทที่ได้กล่าวมานี้ล้วนแล้วแต่มีผล

ต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ

มสธ มสธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ

4-11แนวคิดการพัฒนาเศรษฐกิจ

เรื่อง ที่ 4.1.3 ทฤษฎี การ พัฒนา เศรษฐกิจ

ทฤษฎีและแนวคิดของการพัฒนาเศรษฐกิจมีมาตั้งแต่อดีตจนกระทั่งถึงปัจจุบัน ซึ่งในการศึกษา

ทฤษฎีการพัฒนาเศรษฐกิจนั้นแบ่งออกเป็นหลายกลุ่มหลายสำนักซึ่งมีแนวคิดแตกต่างกันออกไป

ในเรือ่งที่4.1.3นี้จะกลา่วถงึทฤษฎีการพฒันาเศรษฐกจิที่สำคญัๆ และเปน็ที่แพร่หลายในการศกึษา

การพัฒนาเศรษฐกิจนี้กล่าวถึง10ทฤษฎีอันได้แก่ทฤษฎีของกลุ่มคลาสสิกทฤษฎีของคาร์ลมาร์กซ์ทฤษฎี

ของกลุ่มนีโอคลาสสิก ทฤษฎีของชุมปีเตอร์ ทฤษฎีของเคนส์ ทฤษฎีการพัฒนาเศรษฐกิจตามขั้นตอนของ

รอสโทว์ทฤษฎีความจำเริญแบบสมดุลและไม่สมดุลทฤษฎีการพัฒนาเศรษฐกิจระหว่างสาขาการผลิตทฤษฎี

การพัฒนาเศรษฐกิจที่เน้นความสำคัญทางด้านการส่งออกและทฤษฎีการพัฒนาเศรษฐกิจที่เน้นความสำคัญ

ด้านการทดแทนการนำเข้า ซึ่งแต่ละทฤษฎีมีรายละเอียดและแนวความคิดที่แตกต่างกันออกไปนอกจากนี้

แล้วแนวคิดการพัฒนาเศรษฐกิจในปัจจุบันที่นำมาใช้ในการพัฒนาเศรษฐกิจที่แพร่หลายในปัจจุบันที่จะขอ

กล่าวถึงในที่นี้2แนวความคิดอันได้แก่แนวคิดการพัฒนาแบบยั่งยืนขององค์การสหประชาชาติและแนวคิด

การพัฒนาแบบเศรษฐกิจพอเพียงขององค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวของประเทศไทยซึ่งรายละเอียดจะ

ขอกล่าวดังต่อไปนี ้

1. ทฤษฎี ของ กลุ่ม คลาส สิกนักทฤษฎีกลุ่มคลาสสิก(ClassicalTheorists)จะใช้เพื่อหมายถึงกลุ่มนักเศรษฐศาสตร์ชาวอังกฤษ

ที่มีขอ้เขยีนในชว่งปลายครสิต์ศตวรรษที่18ถงึชว่งตน้ครสิต์ศตวรรษที่19ถงึแมว้า่จะมีจำนวนหลายคนแต่ที่

มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักกันโดยทั่วไปจะได้แก่สมิธ(AdamSmith)ริคาร์โด(DavidRicardo)มัลธัส(Thomas

Multhus)และมิลล์(JohnStuartMill)นักทฤษฎีแต่ละคนที่จัดอยู่ในกลุ่มนี้ถึงแม้ว่าจะมีความคิดเห็นใน

เรื่องความเจริญก้าวหน้าทางเศรษฐกิจที่แตกต่างกันไปบ้างก็ตาม แต่ถ้าจะสรุปถึงพื้นฐานของแนวคิดแล้ว

อาจกล่าวได้ว่ากลุ่มนี้มีความเชื่อในกฎของธรรมชาติ (natural law)และความมีเหตุผลของมนุษย์กลุ่มนี้

จึงเชื่อว่ากลไกทางเศรษฐกิจสามารถดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพภายใต้ระบบตลาดที่มีการแข่งขัน

อย่างสมบูรณ์ และมีรัฐบาลเข้าไปเกี่ยวข้องน้อยที่สุด กลุ่มนี้ชี้ให้เห็นว่า ผลผลิตและรายได้ของประเทศ

จะเกิดจากปัจจัยการผลิตประเภทที่ดิน แรงงานและทุนดังนั้น ความจำเริญทางเศรษฐกิจจึงขึ้นอยู่กับการ

เปลี่ยนแปลงในปัจจัยทั้งสามประเภทนี้ตลอดเวลาแต่โดยที่กลุ่มนี้มีความเห็นว่าที่ดินมีจำกัดประชากรขึ้น

อยู่กับค่าจ้างที่แท้จริงซึ่งอยู่ในระดับที่พอประทังชีวิตรอดนักคิดกลุ่มนี้จึงเห็นว่าทุนจะเป็นปัจจัยสำคัญที่ก่อ

ให้เกิดความจำเริญเติบโตและทุนจะเพิ่มขึ้นได้ด้วยการออมในขณะเดียวกันกลุ่มนี้มีความเห็นต่อไปอีกว่า

ผลผลิตที่ผลิตได้ในเวลาใดเวลาหนึ่ง จะมีการกระจายจ่ายปันสู่ผู้เป็นเจ้าของปัจจัยการผลิตทั้งสามดังกล่าว

ซึ่งแต่ละเจ้าของปัจจัยการผลิตมีอิสระในการที่จะใช้ผลผลิตหรือรายได้ในส่วนของตนไปเพื่อการบริโภคหรือ

การออมมากน้อยเพียงใดก็ได้ ด้วยเหตุนี้ ผลผลิตในช่วงต่อไป จะเพิ่มขึ้นหรือไม่เพียงใด จึงขึ้นอยู่กับการ

กระจายจ่ายปันและการออมว่าเป็นอย่างไร

มสธ มสธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ

4-12 สังคมไทยกับการบริหารการส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร

ตามทรรศนะของกลุ่มนี้เมื่อที่ดินมีจำกัดและถ้ามีการผลิตเพิ่มขึ้นที่ดินที่มีคุณภาพต่ำลงจะนำมา

ใช้ ค่าเช่าจึงเกิดขึ้น โดยที่ดินแปลงสุดท้ายที่มีคุณภาพเลวที่สุดจะไม่ได้ค่าเช่า ส่วนที่ดินที่มีคุณภาพดีกว่า

จะได้รับค่าเช่าผลผลิตที่ผลิตได้หลังจากหักค่าเช่าไปแล้วจะกระจายจ่ายปันไปให้แรงงานและนายทุนโดย

แรงงานจะได้รับค่าจ้างในระดับคงที่ที่เพียงพอในทางตรงกันข้ามถ้าผลกำไรของนายทุนลดน้อยลงการออม

และการลงทุนก็จะพลอยลดน้อยลงตามไปด้วยซึ่งจะมีผลทำให้ระบบเศรษฐกิจมีแนวโน้มเข้าสู่ภาวะหยุดนิ่ง

(stagnation)ไม่มีความจำเริญทางเศรษฐกิจแต่ประการใด

จากที่กลา่วมาแลว้จงึพอสรปุได้วา่แนวคดิที่สำคญัของกลุม่นี้จะอยู่ที่ความจำเรญิทางเศรษฐกจิทัง้นี้

โดยให้ความสำคัญที่ปัจจัยทางด้านการออมและการลงทุนและถือว่าการกระจายรายได้ที่มีความแตกต่างกัน

จะเป็นสิ่งจำเป็นเพื่อก่อให้เกิดการออมและการลงทุนหรือกล่าวอีกนัยหนึ่ง ถ้ามีความพยายามจะลดความ

เหลื่อมล้ำในรายได้ก่อนการพัฒนาทางเศรษฐกิจจะเกิดขึ้นแล้ว จะเป็นผลเสียต่อความจำเริญทางเศรษฐกิจ

โดยทำให้ความจำเริญทางเศรษฐกิจเข้าสู่สภาวะหยุดนิ่งได้

2. ทฤษฎี ของ คาร์ล มาร์ กซ์แนวคิดเกี่ยวกับการพัฒนาเศรษฐกิจของมาร์กซ์(KarlMarx)มีความแตกต่างไปจากกลุ่มคลาสสิก

เป็นอันมากกล่าวคือในขณะที่กลุ่มคลาสสิกมีความเห็นว่าระบบตลาดและความมีเหตุผลของมนุษย์จะนำไป

สู่การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจแบบราบเรียบประสานประโยชน์ระหว่างฝ่ายต่างๆ ที่เกี่ยวข้องและสามารถ

ผลิตให้สอดคล้องกับความต้องการของมนุษย์อย่างมีดุลยภาพนั้นมาร์กซ์มีความเห็นว่าการเปลี่ยนแปลงทาง

เศรษฐกิจและสังคมจะเกิดจากความขัดแย้งระหว่างชนชั้น(classconflict)ทั้งนี้เพราะมาร์กซ์มีความเชื่อว่า

การได้มาซึ่งความมั่งคั่งและอำนาจของคนกลุ่มหนึ่ง และความพยายามที่จะมีชีวิตอยู่รอดของอีกฝ่ายหนึ่ง

จะนำมาซึ่งการต่อสู้ในระหว่างชนชั้นของสังคมและทำให้สังคมเกิดการพัฒนาไปสู่ระดับที่สูงขึ้นโดยมาร์กซ์

แบ่งชั้นของความเจริญก้าวหน้าทางสังคมออกเป็น 5 ชั้น ได้แก่ ชั้นสังคมคอมมิวนิสต์โบราณ (primitive

communism)สังคมทาส(slaverysociety)สังคมศักดินา(feudalism)สังคมทุนนิยม(capitalism)และ

สังคมแบบสังคมนิยม(socialism)

ตามแนวคิดของมาร์กซ์ มนุษย์จะเป็นผู้ผลิตและมีผลิตภาพ (productive)ความสัมพันธ์ระหว่าง

มนุษย์หรือโครงสร้างทางสังคมจึงเป็นไปตามความสัมพันธ์ของการผลิต (relations of production) ที่มี

สองฝ่ายเป็นคู่กรณีเสมอเช่นความสัมพันธ์ระหว่างนายและทาสในสังคมทาสความสัมพันธ์ระหว่างเจ้าขุน

มูลนายและชนชั้นไพร่ในสังคมศักดินา และความสัมพันธ์ระหว่างนายทุนผู้เป็นเจ้าของปัจจัยการผลิต และ

แรงงานซึ่งเป็นผู้ขายแรงงานให้กับนายทุนในสังคมทุนนิยมความสัมพันธ์ระหว่างคู่กรณีดังกล่าวนี้ จะเป็น

ความสัมพันธ์ที่ฝ่ายหนึ่งได้เปรียบอีกฝ่ายหนึ่ง และเกิดการขูดรีดระหว่างกลุ่มหรือระหว่างชนชั้นขึ้น เช่น

สังคมทาสมีการขูดรีดแรงงานส่วนเกินโดยตรง สังคมศักดินามีการขูดรีดผลผลิตส่วนเกินในรูปส่วย และ

สังคมทุนนิยมก็มีการขูดรีดค่าส่วนเกิน(surplusvalue)ของแรงงานด้วยเหตุนี้มาร์กซ์จึงชี้ให้เห็นว่าความ

สัมพันธ์ทางการผลิตของมนุษย์จะเป็นความสัมพันธ์ที่มีการเอารัดเอาเปรียบและมีการขูดรีดของฝ่ายหนึ่งต่อ

อีกฝ่ายหนึ่งก่อให้เกิดปัญหาความขัดแย้งและความไม่เท่าเทียมกันในสังคมซึ่งจะมีผลนำไปสู่การต่อสู้และ

มสธ มสธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ

4-13แนวคิดการพัฒนาเศรษฐกิจ

การทำลายล้างในระหว่างชนชั้นถึงขั้นที่ระบบสังคมเดิมถูกทำลายไปแล้วก่อรูปทางสังคมขึ้นใหม่ในระดับขั้น

ที่สูงขึ้นกว่าเดิมไปตามลำดับ

มาร์กซ์ให้ความสนใจในชั้นสังคมทุนนิยมและมีความเห็นว่ระบบนี้สามารถพัฒนาหรือขยายผลผลิต

และรายได้ไปสู่ในระดับที่สูงได้ในการขยายผลผลิตและรายได้นั้นถึงแม้ว่าจะขึ้นอยู่กับแรงงานที่ดินทุนและ

เทคโนโลยีก็ตามแต่มาร์กซ์ให้ความสำคัญไปที่การเปลี่ยนแปลงในเทคโนโลยีและแรงงานโดยกล่าวว่าความ

ก้าวหน้าทางเทคโนโลยีเสมือนเครื่องยนต์ที่ผลักดันให้ระบบนี้มีความเจริญก้าวหน้า ในขณะเดียวกันความ

ก้าวหน้าทางเทคโนโลยีจะขึ้นอยู่กับการลงทุน และส่วนหนึ่งของการลงทุนก็มาจากมูลค่าส่วนเกินที่นายทุน

ขูดรีดมาจากแรงงานตามความคิดของมาร์กซ์ระบบทุนนิยมจะไม่เข้าสู่สภาวะหยุดนิ่งหากแต่จะมีความเจริญ

ก้าวหน้าไปสู่ระดับที่สูงแล้วจึงแตกสลาย(breakdown)ทั้งนี้เพราะมาร์กซ์มีความเชื่อว่าเทคโนโลยีที่มีความ

ก้าวหน้ามาก จะเป็นเทคโนโลยีประเภทประหยัดแรงงาน (labor-saving technology) ดังนั้น ถ้ามีการใช้

เทคโนโลยีที่มีความก้าวหน้ามากขึ้นจะทำให้มีการว่างงานเป็นจำนวนมากและความทุกข์ยากของกรรมกรจะ

มีมากขึ้นเป็นเงาตามตัวซึ่งจะพัฒนาไปสู่ข้อขัดแย้งระหว่างชนชั้นและการทำลายล้างระบบทุนนิยมในที่สุด

จากที่กล่าวมาแล้วจะเห็นได้ว่า ระบบทุนนิยมในสายตาของมาร์กซ์จะเป็นเพียงขั้นตอนหนึ่งของ

ววิฒันาการทางสงัคมที่ทกุประเทศจะตอ้งผา่นเพือ่มุง่ไปสู่ระบบสงัคมนยิมการพฒันาทางเศรษฐกจิและสงัคม

ของประเทศจึงมีเพียงหนทางเลือกเพียงหนทางเดียวเปรียบเสมือนหนึ่งมีถนนเพียงสายเดียวที่เดินได้แต่ใน

สภาพความเป็นจริงแล้วการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศจะมีกระบวนการป้อนกลับ(feedback)

ของข้อมูลข่าวสารอยู่ภายในระบบซึ่งจะมีส่วนช่วยในการปรับปรุงแก้ไขปัญหาและการแสวงหาแนวทางการ

พัฒนาที่จะส่งเสริมคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ของคนส่วนใหญ่ให้ดียิ่ง ๆ ขึ้นไปภายใต้ระบบเศรษฐกิจและ

สังคมที่เป็นอยู่ได้เสมอตลอดเวลา

3. ทฤษฎี ของ กลุ่ม นี โอ คลาส สิกนักเศรษฐศาสตร์กลุ่มนีโอคลาสสิก(Neo-classicalTheorists)จะใช้เมื่อหมายถึงกลุ่มนักเศรษฐ-

ศาสตร์ที่มีผลงานและมีชื่อเสียงในราวค.ศ.1890-1920 เช่นจีวอนส์(StanleyJevans)มาร์แชล(Alfred

Marshall)แมนเจอร์(CarlManger)วอลรัส(LeonWalras)และวิคเซลล์(KnutWicksell)โดยพื้นฐาน

ของแนวคิดแล้วนักเศรษฐศาสตร์กลุ่มนี้จะให้ความสนใจไปที่เศรษฐศาสตร์จุลภาคและปัญหาเศรษฐกิจใน

ระยะสั้น ทั้งนี้เพราะในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19ประเทศในยุโรปตะวันตกมีอัตราความเจริญก้าวหน้า

ทางเศรษฐกิจอยู่ในระดับสูง ซึ่งเป็นผลมาจากความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีและมีการค้นพบทรัพยากร

นักเศรษฐศาสตร์ในยุคนั้นจึงมีความเชื่อว่าความเจริญทางเศรษฐกิจยังคงมีอยู่ในอัตราที่สูงต่อไปเรื่อย ๆ

เพราะการปรับปรุงเทคโนโลยีนอกจากนั้นค่าจ้างแท้จริงที่ปรากฏอยู่ก็สูงกว่าระดับพอประทังชีวิตอัตรากำไร

ก็อยู่ในเกณฑ์สูง และค่าเช่าก็ไม่ได้มีสัดส่วนที่สูงในรายได้ของชาติ ความกลัวเรื่องสภาวะหยุดนิ่งของความ

จำเริญทางเศรษฐกิจจึงไม่มีอีกต่อไปดังนั้นนักเศรษฐศาสตร์กลุ่มนี้จึงหันมาให้ความสนใจที่ปัญหาระยะสั้น

โดยเฉพาะเรื่องการกระจายรายได้ทฤษฎีราคาและมูลค่า

มสธ มสธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ

4-14 สังคมไทยกับการบริหารการส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร

ถึงแม้ว่านักคิดกลุ่มนี้จะไม่ให้ความสนใจโดยตรงต่อปัญหาความจำเริญทางเศรษฐกิจในระยะยาว

ก็ตามแต่แนวคิดในบางเรื่องของกลุ่มนี้ก็มีประโยชน์ต่อการทำความเข้าใจในเรื่องของการพัฒนาเศรษฐกิจ

ได้เช่นกันโดยเฉพาะกลุ่มนี้เน้นให้ความสำคัญไปที่การจัดสรรทรัพยากรให้มีประสิทธิภาพภายใต้ระบบตลาด

ที่มีการแข่งขันสมบูรณ์การทดแทนกันได้ในระหว่างทุนและแรงงานในการผลิตบทบาทของอัตราดอกเบี้ยที่

มีต่อการออมและการลงทุนและการเน้นถึงความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยีว่าจะมีส่วนช่วยกระตุ้นให้เกิด

ความเจริญก้าวหน้าทางด้านการผลิตและรายได้ของชาติ

อย่างไรก็ดี แนวคิดของกลุ่มนี้ก็มีส่วนที่คล้ายคลึงและแตกต่างไปจากกลุ่มของคลาสสิก ส่วนที่

คล้ายคลึงกันได้แก่ทั้งสองกลุ่มต่างมองการพัฒนาเศรษฐกิจไปที่การพิ่มรายได้และผลผลิตและต่างก็มอง

กระบวนการพัฒนาทางเศรษฐกิจว่าเป็นกระบวนการแบบราบเรียบ(smoothprocess)ค่อยเป็นค่อยไปอย่าง

ต่อเนื่อง(gradualandcontinuous)และผลประโยชน์ของทุกฝ่ายสามารถประสานกันได้(harmonious)

นั่นคือผลประโยชน์ของการพัฒนาเศรษฐกิจจะตกแก่กลุ่มรายได้ต่างๆอย่างทั่วถึง

สำหรับข้อแตกต่างระหว่างแนวคิดของกลุ่มนี้และกลุ่มคลาสสิกจะได้แก่

3.1กลุ่มนี้ไม่เชื่อว่าการพัฒนาเศรษฐกิจจะเข้าสู่สภาวะหยุดนิ่งทั้งนี้เพราะความเจริญก้าวหน้าทาง

เทคโนโลยีจะมีส่วนช่วยให้เศรษฐกิจขยายตัวและต้นทุนการผลิตต่อหน่วยลดลงในขณะเดียวกันกลุ่มนี้ยัง

เชือ่อกีวา่การออมทรพัย์เปน็นสิยัของมนษุย์โดยทัว่ไปทำให้ประเทศสามารถทำการออมและลงทนุได้เพยีงพอ

ซึ่งจะทำให้การสะสมทุนและความเจริญก้าวหน้าทางเศรษฐกิจเป็นไปได้เสมอตลอดเวลา

3.2จุดเด่นที่ทำให้กลุ่มนี้มีความแตกต่างไปจากกลุ่มคลาสสิกอย่างเห็นได้ชัดคือกลุ่มนี้ให้ความ

สำคัญไปที่การทดแทนกันได้ในระหว่างทุนและแรงงานในกระบวนการผลิตทั้งนี้กลุ่มนี้มีความเชื่อว่าการใช้

ปัจจัยการผลิตไม่จำเป็นต้องอยู่ในสัดส่วนคงที่ตลอดไปผู้ผลิตสามารถใช้ทุนและแรงงานทดแทนกันได้ทั้งนี้

ขึ้นอยู่กับราคาและประสิทธิภาพของปัจจัยการผลิตทั้งสอง

3.3ถึงแม้กลุ่มนี้จะเห็นด้วยกับกลุ่มคลาสสิก การค้าอย่างเสรีที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของทฤษฎีความ

ได้เปรียบ เมื่อได้เปรียบเทียบแล้ว จะทำให้ประเทศที่ค้าขายกันทุกประเทศได้ผลประโยชน์จากการค้า การ

ขยายตลาดการเพิ่มการแบ่งงานกันทำตามความเชี่ยวชาญเฉพาะอย่างการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและ

การเพิ่มรายได้ของประเทศก็ตามแต่กลุ่มนี้มีความเห็นว่า ในบางกรณีนโยบายการให้ความคุ้มครองก็เป็น

สิ่งจำเป็นเช่นกันโดยเฉพาะในกรณีที่จะช่วยให้มีการก่อตั้งอุตสาหกรรมขึ้นใหม่ในประเทศ

4. ทฤษฎี ของ ชุม ปี เตอร์ชุมปีเตอร์(JosephSchumpeter)เขียนตำราเกี่ยวกับทฤษฎีการพัฒนาเศรษฐกิจ(TheTheoryof

EconomicDevelopment)เมือ่ค.ศ.1911ซึง่มีประเดน็สำคญัพอสรปุได้วา่การพฒันาเศรษฐกจิจะเปน็เพยีง

ส่วนหนึ่งของประวัติศาสตร์เศรษฐกิจดังนั้นเขาจึงเชื่อว่าการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจไม่สามารถจะอธิบาย

ได้ โดยอาศัยแต่เพียงสภาพการณ์ทางเศรษฐกิจในอดีตที่ผ่านมาเท่านั้น หากแต่จะต้องอธิบายในลักษณะที่

ระบบเศรษฐกจิมีการปรบัตวัเมือ่เกดิปรากฏการณ์ใหม่ๆ ขึน้ภายในระบบเศรษฐกจิซึง่โดยทัว่ไปปรากฏการณ์

ใหม่ ๆ นี้จะเกิดจากผู้ผลิตเป็นสำคัญด้วยเหตุนี้ การพัฒนาเศรษฐกิจจึงเป็นส่วนของการเปลี่ยนแปลงที่

มสธ มสธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ

4-15แนวคิดการพัฒนาเศรษฐกิจ

แตกต่างไปจากสภาพดุลยภาพและการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวนี้จะเกิดขึ้นได้ก็โดยการเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับ

การมีความคิดใหม่ๆ(innovation)ขึ้นซึ่งอาจจะประกอบไปด้วย

1) การผลิตสินค้าใหม่หรือที่มีคุณภาพใหม่

2)การใช้วิธีการผลิตแบบใหม่ซึ่งรวมถึงการปรับปรุงการบรรจุหีบห่อใหม่

3)การเปิดตลาดสินค้าและบริการใหม่

4)การค้นพบทรัพยากรและแหล่งอุปทานของวัตถุดิบแหล่งใหม่และ

5)การจัดองค์การใหม่ของอุตสาหกรรม เพื่อให้มีอำนาจการผูกขาดหรือขจัดการผูกขาดเพื่อเพิ่ม

ประสิทธิภาพของการบริหารและการดำเนินการ

ดังนั้นสิ่งสำคัญของการพัฒนาเศรษฐกิจตามทรรศนะของชุมปีเตอร์จึงได้แก่ปริมาณของการมีสิ่ง

ใหม่ๆ (volumeofinnovations)การแพร่กระจายของสิ่งใหม่ๆ และการมีบริษัทใหม่ๆ เกิดขึ้นนอกจากนั้น

ชุมปีเตอร์ยังกล่าวอีกว่าสิ่งใหม่ๆดังกล่าวจะเกิดขึ้นได้จะต้องมีผู้ประกอบการผลิต(entrepreneurs)ซึ่ง

จะได้แก่ บุคคลที่มีความคิดใหม่ กล้าเสี่ยง และกล้าลงทุนผู้ประกอบการผลิตในสายตาของชุมปีเตอร์จึง

ไม่ใช่ผู้จัดการ(managers)หากแต่เป็นผู้มีความคิดใหม่(innovators)ซึ่งอาจเทียบได้กับผู้บริหารในวงการ

ธุรกิจในปัจจุบัน

เมื่อการพัฒนาเศรษฐกิจเกิดจากการผลิตใหม่ๆ โดยผู้ประกอบการผลิตจะเป็นผู้ตอบสนองต่อช่อง

โอกาสใหม่ๆ ที่เกิดขึ้นและโดยที่ช่องโอกาสใหม่ๆ นี้มีแนวโน้มว่าจะเกิดขึ้นเป็นระยะๆ คล้ายกับลูกคลื่นที่

ตามหลังการมีความคิดใหม่ๆดังนั้นจึงทำให้การพัฒนาเศรษฐกิจมีลักษณะที่ไม่ราบรื่นไม่ต่อเนื่องแต่เป็น

แบบวัฏจักรคล้ายกับวัฏจักรธุรกิจโดยการพัฒนาเศรษฐกิจจะเริ่มขึ้นเมื่อผู้ประกอบการผลิตเล็งเห็นถึงกำไร

ผู้ประกอบการผลิตก็จะเริ่มลงทุนและทำการผลิตสินค้าและบริการใหม่ๆ ออกสู่ตลาดและเมื่อมีกำไรสูงขึ้น

ผู้ประกอบการผลิตจะขยายการลงทุนใหม่ ๆ อีกต่อไป ถ้าเงินลงทุนมีไม่เพียงพอจะมีการขอกู้ยืมเงินจาก

ธนาคารซึ่งจะมีผลทำให้อุปทานของเงินเพิ่มขึ้นธุรกิจขยายตัวรสนิยมของผู้บริโภคเปลี่ยนแปลงไปโดยการ

ชักนำของผู้ผลิตตลาดจะขยายตัวธุรกิจและอุตสาหกรรมก็จะเจริญเติบโตขึ้นการพัฒนาเศรษฐกิจที่เกิดขึ้น

จึงเป็นผลสืบเนื่องมาจากความคิดริเริ่มและการดำเนินงานของผู้ประกอบการผลิตเป็นสำคัญ

นอกจากนั้นชุมปีเตอร์ยังมีความเห็นอีกว่ากระบวนการพัฒนาตามแนวที่กล่าวข้างต้นอาจจะสะดุด

หยุดลงแล้วเริ่มขึ้นใหม่ในระดับที่สูงยิ่งขึ้นไปเรื่อยๆ เพราะเมื่อธุรกิจและอุตสาหกรรมมีความเจริญเติบโต

ขึ้นอาจมีผลทำให้ธุรกิจขนาดเล็กไม่สามารถดำเนินการต่อไปได้หรือไม่ก็อาจถูกบริษัทใหญ่กลืนไปในขณะ

เดียวกัน ธุรกิจขนาดใหญ่ที่มีอยู่อาจจะมีขนาดที่ใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ จนทำให้มีขนาดที่ใหญ่เกินไปทำให้ไม่มี

ประสิทธิภาพและความคล่องตัวเท่าที่ควร แต่หลังจากที่มีการซบเซาแล้ว กระบวนการพัฒนาจะเริ่มต้นขึ้น

อีกดังนั้นด้วยความสามารถของผู้ประกอบการผลิตและการมีการผลิตใหม่ๆจะมีผลทำให้ระบบเศรษฐกิจ

เกิดการพัฒนาในระดับที่สูงขึ้นได้อีกวนเวียนเช่นนี้เรื่อยไป

มสธ มสธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ

4-16 สังคมไทยกับการบริหารการส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร

5. ทฤษฎี ของ เคน ส์หลังจากชุมปีเตอร์แล้ว ไม่ปรากฏว่ามีนักเศรษฐศาสตร์ที่มีชื่อเสียงท่านใด ให้ความสนใจเกี่ยวกับ

ทฤษฎีและแนวคิดทางด้านการพัฒนาเศรษฐกิจทั้งนี้เพราะนักเศรษฐศาสตร์ส่วนมากในขณะนั้นต่างให้ความ

สนใจไปที่ทฤษฎีเศรษฐศาสตร์จุลภาคและมีความเชื่อในระบบเศรษฐกิจแบบเสรีนิยม (laissez-faire) แต่

ภายหลังจากที่เกิดเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ในทศวรรษที่1930แล้วนักเศรษฐศาสตร์ส่วนมากก็เริ่มตระหนัก

ถึงข้อจำกัดของกลไกตลาดและเล็งเห็นถึงความจำเป็นที่รัฐบาลจะต้องเข้ามาดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจ

ดังนั้นนับตั้งแต่ทศวรรษที่1930เป็นต้นมาลัทธิเศรษฐศาสตร์แบบเสรีนิยมก็ถึงจุดอวสานและเกิดทฤษฎี

และแนวคิดใหม่ขึ้นทั้งนี้โดยเคนส์ (J.M.Keynes) เป็นผู้เสนอทฤษฎีทั่วไปเกี่ยวกับการจ้างงานดอกเบี้ย

และการเงินซึ่งจัดพิมพ์ในค.ศ.1936ทฤษฎีของเคนส์ตามที่ปรากฏอยู่ในหนังสือดังกล่าวนับว่ามีอิทธิพล

ต่อแนวคิดในเรื่องของการพัฒนาเศรษฐกิจในระยะต่อมา โดยเฉพาะจะมีอิทธิพลต่อทฤษฎีและแนวคิดใน

การพัฒนาเศรษฐกิจในช่วงทศวรรษที่1950-1960

แนวคิดพื้นฐานของเคนส์จะประกอบด้วยรายจ่ายเพื่อการบริโภคทั้งหมด(C)การลงทุนของเอกชน

ทั้งหมด(I)รายจ่ายรวมของรัฐบาล(G)และรายได้ของชาติ(Y)ทั้งนี้โดยY=C+I+Gถ้ารายจ่ายทั้งสิ้น

หรือรายได้ของชาติอยู่ในระดับที่ไม่เพียงพอที่จะก่อให้เกิดการจ้างงานเต็มที่แล้วรัฐบาลก็ควรเข้ามากระตุ้น

รายจ่ายเพื่อการบริโภค โดยการลดภาษีหรือให้สินเชื่อแก่ผู้บริโภคในอัตราดอกเบี้ยต่ำ หรือมิเช่นนั้นก็ต้อง

พยายามส่งเสริมการลงทุนของเอกชนด้วยการลดอัตราดอกเบี้ย ลดภาษีธุรกิจและลดข้อจำกัดในการให้

สินเชื่อแต่ถ้ามาตรการต่างๆ ไม่ได้ผลก็ยังเหลือทางแก้สุดท้ายนั่นคือการเพิ่มรายจ่ายของภาครัฐบาลดังนั้น

ถ้าเกิดการว่างงานขึ้นรัฐบาลควรดำเนินนโยบายงบประมาณขาดดุลในทางตรงข้ามถ้าเกิดภาวะเงินเฟ้อขึ้น

รัฐบาลควรตัดทอนรายจ่ายของรัฐบาลลงแนวคิดพื้นฐานของเคนส์ดังกล่าวข้างต้นยังนำไปสู่การพัฒนาระบบ

บัญชีรายได้ของชาติอีกด้วย

ถึงแม้ว่า ทฤษฎีของเคนส์จะได้รับการพิสูจน์มาแล้วว่า นอกจากจะสามารถแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ

ตกต่ำครั้งใหญ่แล้วยังสามารถนำมาใช้ในเศรษฐกิจยามสงครามอย่างได้ผลโดยปราศจากเงินเฟ้ออีกด้วยแต่

ประเด็นปัญหายังคงมีอยู่ทั้งนี้เพราะทฤษฎีของเคนส์จะเน้นไปที่ความมีเสถียรภาพในระยะสั้นในขณะที่การ

พฒันาเศรษฐกจิจะเนน้ไปที่ความเจรญิกา้วหนา้ทางเศรษฐกจิที่สมำ่เสมอในระยะยาวดงันัน้นกัเศรษฐศาสตร์

การพัฒนาภายหลังเคนส์จึงหันมาสนใจในเรื่องของความเจริญก้าวหน้าทางเศรษฐกิจที่มีความสม่ำเสมอ

(steadygrowth)ด้วยเหตุนี้ ทฤษฎีว่าด้วยการพัฒนาเศรษฐกิจในช่วงทศวรรษที่ 1950 จึงเน้นไปที่ความ

จำเริญทางเศรษฐกิจที่สม่ำเสมอมีการว่าจ้างทำงานเต็มที่และความมีเสถียรภาพทางด้านราคา

6. ทฤษฎี การ พัฒนา เศรษฐกิจ ตาม ขั้น ตอน ของ รอส โทว์ ทฤษฎีนี้เป็นทฤษฎีที่ได้รับความสนใจกันมากในช่วงทศวรรษที่1960โดยรอสโทว์(W.W.Rostow)

เสนอแนะให้พัฒนาเศรษฐกิจไปตามขั้นตอนดังเช่นที่ประเทศพัฒนาเคยผ่านมาทั้งนี้เพราะเขามีความเชื่อว่า

ทกุประเทศในโลกนี้สามารถจดัให้อยู่ในขัน้ตอนใดขัน้ตอนหนึง่ใน5ขัน้ตอนที่เขากำหนดขึน้คอืขัน้สงัคมแบบ

ดั้งเดิม(traditionalsociety)ขั้นเตรียมการ(preconditionsfortake-off)ขั้นทะยานขึ้น(take-off)ขั้นไปสู่

ความเจริญเติบโตเต็มที่(drivetomaturity)และขั้นอุดมโภคา(theageofhighmassconsumption)

มสธ มสธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ

4-17แนวคิดการพัฒนาเศรษฐกิจ

รอสโทว์ชี้ให้เห็นว่า ประเทศอังกฤษเป็นประเทศแรกที่อยู่ในขั้นทะยานขึ้นในระหว่าง ค.ศ. 1783-

1802ส่วนประเทศอื่นๆเช่นประเทศสหรัฐอเมริกาอยู่ในขั้นนี้ในช่วงค.ศ.1843-1860ประเทศญี่ปุ่นอยู่ใน

ช่วงค.ศ.1878-1900ประเทศอินเดียและประเทศจีนเข้าสู่ขั้นนี้นับตั้งแต่ค.ศ1950เป็นต้นมาแต่ประเทศ

สหรฐัอเมรกิาก็เปน็ประเทศแรกที่เขา้สู่ขัน้อุดมโภคาในระหวา่งค.ศ.1917-1924และประเทศในยโุรปตะวนัตก

และญี่ปุ่นเข้าสู่ขั้นนี้ นับตั้งแต่ ค.ศ. 1950 เป็นต้นมา สำหรับประเทศด้อยพัฒนานั้น ส่วนมากจะอยู่ใน

ขั้นสังคมแบบดั้งเดิมและขั้นเตรียมการดังนั้นจึงควรเจริญรอยตามแบบอย่างประเทศพัฒนา

ประเด็นสำคัญที่ทำให้ทฤษฎีนี้ได้รับความสนใจมากคือ แต่ละประเทศสามารถก้าวทะยานขึ้นไปสู่

ความเจริญก้าวหน้าทางเศรษฐกิจได้ในระยะเวลาประมาณสองทศวรรษหรือมากกว่าทั้งนี้โดยมีเงื่อนไขว่า

1) อัตราการลงทุนจะต้องเพิ่มสูงขึ้นจากประมาณร้อยละ 5 เป็นมากกว่าร้อยละ 10 ของรายได้

ประชาชาติ

2)มีอุตสาหกรรมใหม่ๆเกิดขึ้นเพื่อเป็นสาขานำ(leadingsector)ในการพัฒนาเศรษฐกิจ

3)มีการพัฒนาสถาบันทางสังคมและการเมือง

กลยุทธ์ที่สำคัญของการพัฒนาเศรษฐกิจตามแนวนี้จึงได้แก่การระดมเงินออมทั้งจากภายในและ

ภายนอกประเทศ เพื่อส่งเสริมให้เกิดการลงทุนในระดับที่เพียงพอที่จะเร่งรัดความจำเริญทางเศรษฐกิจ

ของประเทศให้สูงขึ้นส่วนเงินออมและเงินลงทุนควรจะมีมากน้อยเพียงใดจึงจะก่อให้เกิดความจำเริญทาง

เศรษฐกิจตามที่ต้องการนั้นสามารถอธิบายได้โดยอาศัยทฤษฎีความจำเริญเติบโตของฮาร์รอด-โดมาร์ดังที่

กล่าวมาแล้วสำหรับการเลือกกิจกรรมหรือสาขานำเพื่อการลงทุนนั้นทฤษฎีความจำเริญทางเศรษฐกิจแบบ

สมดุลและไม่สมดุลก็ให้แนวคิดไว้ดังรายละเอียดที่จะกล่าวถึงในหัวข้อต่อไป

7. ทฤษฎี ความ จำเริญ เติบโต แบบ สมดุล และ ไม่ สมดุล ในการพัฒนาเศรษฐกิจนั้น ถ้านักพัฒนาทราบว่าควรจะลงทุนในกิจกรรมหรืออุตสาหกรรมใด

แล้วย่อมจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อการวางแผนและการจัดสรรทรัพยากรในประเด็นนี้นักเศรษฐศาสตร์

การพัฒนาเสนอแนะทฤษฎีและแนวคิดเกี่ยวกับแบบแผนการพัฒนาแบบสมดุลและไม่สมดุลซึ่งสามารถนำ

มาใช้เป็นกลยุทธ์ในการพัฒนาเศรษฐกิจได้ดังนี้

7.1ทฤษฎีความจำเรญิเตบิโตแบบสมดลุทฤษฎีความจำเริญเติบโตแบบสมดุลจะมีอยู่3แบบด้วย

กันแต่ละแบบก็จะมีแนวคิดที่ต่อเนื่องสัมพันธ์กันดังนี้

แบบ แรกเป็นแบบที่เสนอโดยโรเซนสไตน์-โรแดน(P.N.Rosenstein-Rodan)ซึ่งถือว่าเป็นแบบที่

แคบที่สุดและมีสาระสำคัญพอสรุปได้ว่าเมื่อรายได้เฉลี่ยของประเทศด้อยพัฒนาอยู่ในระดับต่ำและอุปสงค์

มีน้อยไม่เพียงพอที่จะส่งเสริมการลงทุนดังนั้น ถ้าจะแก้ไขปัญหาตลาดแคบที่เกิดจากการมีอำนาจซื้อที่ไม่

เพียงพอจึงต้องตั้งโรงงานผลิตสินค้าบริโภคหลายๆโรงงานพร้อมกันเช่นตั้งโรงงานผลิตรองเท้าโรงสีข้าว

โรงงานผลิตแป้งมันโรงงานผลิตรถจักรยานและโรงงานผลิตขนมปัง เป็นต้นทั้งนี้ เพื่อช่วยให้คนมีงานทำ

และมีอำนาจซื้อที่มากเพียงพอถ้าตั้งโรงงานเพียงแห่งเดียว ถึงแม้ว่าจะใช้วิธีการผลิตที่มีประสิทธิภาพสูง

ก็ไม่อาจตั้งอยู่ได้นานเพราะตลาดมีไม่เพียงพอสำหรับผลผลิตที่ผลิตได้

มสธ มสธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ

4-18 สังคมไทยกับการบริหารการส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร

การที่โรเซนสไตน์-โรแดน เสนอการพัฒนาเศรษฐกิจตามแนวนี้ ก็เพื่อแก้ไขปัญหาของประเทศใน

ยุโรปตะวันออกและตะวันตกเฉียงใต้ในขณะนั้น ซึ่งประเทศเหล่านี้เป็นประเทศที่ผลิตสินค้าการเกษตรเป็น

สินค้าออก และซื้อเครื่องจักรเครื่องมือในการผลิตมาจากต่างประเทศ และประเทศเหล่านี้ก็มีโครงสร้าง

พื้นฐานทางเศรษฐกิจ และมีทรัพยากรที่ใช้ในการลงทุนต่าง ๆ อยู่อย่างเพียงพอแล้วด้วยเหตุนี้ เพื่อที่จะ

กระตุ้นให้เกิดการพัฒนา จึงเน้นแต่เฉพาะการตั้งโรงงานอุตสาหกรรมเพื่อผลิตสินค้าบริโภคหลายๆ ชนิด

พร้อมกันเพื่อขยายขนาดของตลาดและเพิ่มอำนาจซื้อของประชาชน

แบบ ที่ สอง เป็นแบบที่รวมเอาโครงการลงทุนขั้นพื้นฐานทางเศรษฐกิจเข้าไว้และมีการตั้งโรงงาน

อุตสาหกรรมเพื่อผลิตสินค้าบริโภคหลายๆโรงงานตามแบบแรกทั้งนี้เพราะประเทศด้อยพัฒนาส่วนใหญ่

มักจะขาดแคลนโครงสร้างขั้นพื้นฐานทางเศรษฐกิจ ไม่ว่าจะเป็นการคมนาคมขนส่ง การพลังงาน ไฟฟ้า

น้ำประปา และแม้กระทั่งการศึกษาและสาธารณสุขดังนั้น กลยุทธ์ในการพัฒนาเศรษฐกิจตามแบบที่สอง

จึงผนวกรวมโครงสร้างขั้นพื้นฐานต่าง ๆดังกล่าวเข้าไว้ด้วย และมีผลทำให้อัตราส่วนของทุนต่อผลผลิตที่

ต้องการตามกลยุทธ์นี้สูงกว่าแบบแรก

แบบ ที่ สาม เป็นแบบของการลงทุนขนานใหญ่ (big push) คือ นอกจากจะมีการลงทุนด้าน

อุตสาหกรรมการบริโภค และโครงสร้างขั้นพื้นฐานทางเศรษฐกิจตามแบบที่สองแล้ว ยังรวมถึงการลงทุน

ทางด้านอุตสาหกรรมการผลิตสินค้าประเภททุนเข้าไว้ด้วย โดยทฤษฎีนี้มีความเชื่อว่า ถ้าจะให้การพัฒนา

ประเทศประสบความสำเร็จแล้วจะต้องมีการทุ่มเทการลงทุนอย่างขนานใหญ่ซึ่งไม่เพียงแต่จะช่วยให้ขนาด

ของตลาดมีการขยายตัวและได้ประโยชน์จากการประหยัดภายใน(internaleconomies)เท่านั้นแต่ยังก่อ

ให้เกิดการประหยัดภายนอก(externaleconomies)จากการตั้งโรงงานอุตสาหกรรมหลายๆประเภทที่มี

ความต่อเนื่องทางเทคนิคซึ่งกันและกันอีกด้วยการลงทุนผลิตสินค้าประเภททุนจึงเป็นส่วนสำคัญที่สุดของ

การพัฒนาตามแนวนี้

7.2 ทฤษฎีความจำเริญเติบโตแบบไม่สมดุล ทฤษฎีนี้เสนอโดยเฮิร์ซแมน (A.O.Hirschman)

ซึ่งมีความเห็นว่า ปัญหาสำคัญของประเทศด้อยพัฒนาคือการขาดแคลนความสามารถในการลงทุน (the

abilitytoinvest)ดังนั้นการที่จะเร่งรัดให้มีการลงทุนอย่างขนานใหญ่ในทุกๆ ด้านพร้อมกันย่อมเป็นไปไม่

ได้กลยุทธ์การพัฒนาที่ถูกต้องจึงอยู่ที่การใช้ความสามารถในการลงทุนอย่างประหยัดโดยพยายามเลือกสรร

การลงทุนในโครงการต่างๆ ที่เมื่อมีการจัดตั้งขึ้นแล้วจะชักนำให้เกิดการลงทุนในกิจการอื่นๆ ติดตามมาให้

มากที่สุดนั่นคือการเลือกการลงทุนในอุตสาหกรรมที่มีผลเชื่อมโยงไปข้างหน้า(forwardlinkageeffects)

หรือมีผลเชื่อมโยงไปข้างหลัง(backwardlinkageeffects)ที่มากที่สุด

อุตสาหกรรมที่มีผลเชื่อมโยงไปข้างหน้า ได้แก่ อุตสาหกรรมที่เมื่อเกิดขึ้นแล้วจะชักนำให้เกิด

อุตสาหกรรมต่างๆ ที่ใช้ผลผลิตของอุตสาหกรรมนั้นเป็นปัจจัยการผลิตเช่นถ้าส่งเสริมให้เกิดอุตสาหกรรม

ผลิตเหล็กกล้าขึ้นแล้วเหล็กกล้าที่ผลิตขึ้นมาได้จะชักนำให้เกิดอุตสาหกรรมอื่นๆ ที่ใช้เหล็กกล้าเป็นวัตถุดิบ

เกิดขึ้นได้ส่วนอุตสาหกรรมที่มีผลเชื่อมโยงไปข้างหลังได้แก่อุตสาหกรรมที่เมื่อเกิดขึ้นแล้วจะชักนำให้เกิด

อุตสาหกรรมอื่นๆ ซึ่งเป็นอุตสาหกรรมที่ผลิตปัจจัยการผลิตให้กับอุตสาหกรรมเริ่มแรกเช่นถ้ามีการส่งเสริม

ให้มีการตั้งโรงงานผลิตอาหารกระป๋องขึ้นโรงงานนี้ก็ต้องการปัจจัยการผลิตประเภทกระป๋องก็จะชักนำให้เกิด

อุตสาหกรรมผลิตกระป๋องขึ้นเป็นต้น

มสธ มสธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ

4-19แนวคิดการพัฒนาเศรษฐกิจ

การส่งเสริมอุตสาหกรรมที่มีผลเชื่อมโยงดังกล่าวจึงก่อให้เกิดความไม่สมดุลในกิจกรรมการผลิต

ต่างๆขึ้นและความไม่สมดุลนี้เองที่จะกระตุ้นให้เกิดการขยายตัวทางเศรษฐกิจและการพัฒนาเศรษฐกิจ

ก็จะเกิดขึ้น

นอกจากความไม่สมดุลในระหว่างกิจกรรมการผลิตแล้วเฮิร์ซแมนยังชี้ให้เห็นถึงความไม่สมดุลใน

ระหว่างพื้นที่อันเป็นที่ตั้งของกิจกรรมต่างๆ อีกด้วยกล่าวคือเมื่ออุตสาหกรรมที่มีผลเชื่อมโยงนี้ไปตั้งดำเนิน

การอยู่ในพื้นที่ใดแล้วจะชักนำให้เกิดอุตสาหกรรมและกิจการต่างๆ มาตั้งดำเนินการอยู่ในบริเวณใกล้เคียง

กันซึ่งจะก่อให้เกิดความประหยัดภายนอกขึ้นจากการที่กิจกรรมต่างๆมาตั้งดำเนินการอยู่ภายในบริเวณ

ใกล้เคียงกันและจะมีผลทำให้พื้นที่นี้เป็นจุดศูนย์กลางของความจำเริญเติบโต (growingpoint)และเมื่อ

พื้นที่ใดพื้นที่หนึ่งเกิดความจำเริญเติบโตขึ้นก็จะส่งผลในทางแพร่กระจาย(trickling-downeffects)ไปสู่

บรเิวณโดยรอบโดยจดุศนูยก์ลางจะซือ้ผลผลติและจา้งแรงงานมาใช้ในการผลติและการขยายงานซึง่จะทำให้

พื้นที่โดยรอบหรือภาคอื่นๆ มีความจำเริญเติบโตตามไปด้วยตามทรรศนะของเฮิร์ซแมนความจำเริญเติบโต

ระหว่างภาคหรือระหว่างพื้นที่ส่วนต่าง ๆ ของประเทศ จะมีลักษณะของความจำเริญเติบโตแบบไม่สมดุล

เช่นกัน แนวคิดดังกล่าวนี้ นับว่าเป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญประการหนึ่งที่ทำให้เกิดทฤษฎีและแนวคิดเกี่ยวกับ

การพัฒนาภาคในระยะต่อมา

8. ทฤษฎี การ พัฒนา เศรษฐกิจ ระหว่าง สาขา การ ผลิต ทฤษฎีนี้มุ่งที่จะอธิบายถึงการพัฒนาเศรษฐกิจจากลักษณะโครงสร้างของประเทศด้อยพัฒนาเป็น

หลักโดยหลุยส์(ArthurLewis)เป็นนักเศรษฐศาสตร์คนแรกที่สังเกตพบว่าสภาพการณ์ในระยะเริ่มแรก

ของประเทศด้อยพัฒนาจะมีลักษณะบางอย่างที่คล้ายคลึงกับสภาพก่อนหน้าที่จะมีการปฏิวัติอุตสาหกรรมใน

ประเทศพัฒนานั่นคือการมีแรงงานมากดังนั้นเขาจึงเห็นว่าทฤษฎีที่จะมีประโยชน์ต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ

ของประเทศด้อยพัฒนาควรจะเป็นทฤษฎีที่สร้างขึ้นจากข้อสมมติต่างๆตามแนวของกลุ่มคลาสสิกมากกว่า

ของกลุ่มนีโอคลาสสิกจากข้อสังเกตดังกล่าวนี้เองจึงทำให้หลุยส์สร้างทฤษฎีการพัฒนาเศรษฐกิจที่มีอุปทาน

ของแรงงานไม่จำกัด(economicdevelopmentwithunlimitedsuppliesoflabor)ขึ้นมาซึ่งใช้ข้อสมมติ

ของกลุ่มคลาสสิกที่ว่า แรงงานสามารถจัดหามาได้ในปริมาณที่ไม่จำกัด ในระดับอัตราค่าจ้างที่แท้จริงคงที่

มากกว่าจะเป็นปัจจัยการผลิตที่หาได้ยากที่จะต้องมีการดึงมาจากการใช้ในการผลิตอื่นๆ

ในการอธิบายนั้น หลุยส์แบ่งระบบเศรษฐกิจของประเทศด้อยพัฒนาออกเป็นสองสาขา (dual

economy)ที่มีความแตกต่างกันนั่นคือ สาขาหนึ่งเป็นสาขาดั้งเดิม ซึ่งทำการผลิตทางการเกษตรเป็นส่วน

ใหญ่ลักษณะที่สำคัญของสาขานี้คือเป็นสาขาที่มีประสิทธิภาพการผลิตต่ำแรงงานมีเหลือเฟือและผลิตผล

หน่วยสุดท้ายของแรงงานมีค่าใกล้เคียงหรือเท่ากับศูนย์แรงงานจึงสามารถลดจำนวนลงได้โดยผลผลิตยัง

คงมีปริมาณคงเดิมส่วนอีกสาขาหนึ่งจะเป็นสาขาที่ทันสมัยซึ่งโดยทั่วไปจะเป็นการผลิตสินค้าอุตสาหกรรม

และการทำเหมืองแร่ โดยใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย มีการใช้ทุนมาก และประสิทธิภาพการผลิตสูง ดังนั้น

จุดเน้นของทฤษฎีนี้จึงอยู่ที่การเพิ่มการจ้างงานในสาขาที่ทันสมัย เพื่อดึงแรงงานส่วนเกินจากสาขาการผลิต

แบบดั้งเดิมเข้ามาทำงานแต่การที่จะให้การจ้างงานเพิ่มขึ้นได้ จะต้องมีการขยายการผลิตในสาขาที่ทันสมัย

มสธ มสธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ

4-20 สังคมไทยกับการบริหารการส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร

และการผลิตในสาขาที่ทันสมัยจะเพิ่มขึ้นได้ก็ต้องมีการลงทุนเพิ่มขึ้น โดยการลงทุนเพิ่มขึ้นนี้จะเป็นไปได้ก็

ต่อเมื่อมีการช่วยเหลือสาขานี้ให้มีกำไรส่วนเกินจากค่าจ้างเพื่อให้มีการนำกำไรส่วนเกินนี้ไปลงทุนทั้งนี้โดย

หลุยส์สมมติว่า นายทุนจะนำกำไรทั้งหมดที่ได้รับไปลงทุน และกำหนดให้อัตราค่าจ้างในสาขาที่ทันสมัยสูง

กว่าระดับอัตราค่าจ้างในสาขาดั้งเดิมและด้วยอัตราค่าจ้างที่สูงกว่าจะทำให้สาขาที่ทันสมัยสามารถดึงแรงงาน

ส่วนเกินจากสาขาดั้งเดิมมาใช้จนหมด

ต่อมาเฟย์(Fei)และเรนิส(Ranis)ขยายแนวคิดของหลุยส์ออกไปโดยวิเคราะห์ให้เห็นว่าความ

เจริญเติบโตทั้งสองสาขานี้จะต้องสอดคล้องสมดุลกันตามทรรศนะของเฟย์และเรนิสความเจริญก้าวหน้า

ทางวิทยาการจะทำให้ผลิตภาพของแรงงานในสาขาเกษตรสูงขึ้นและสามารถที่จะปลดปล่อยแรงงานจากสาขา

การเกษตรไปสู่สาขาอุตสาหกรรมได้และในขณะเดียวกันก่อให้เกิดรายได้ที่เป็นส่วนเกินในสาขาการเกษตร

ซึ่งส่วนเกินนี้เมื่อรวมกับกำไรของผู้ประกอบการอุตสาหกรรมแล้ว จะช่วยเพิ่มปริมาณการลงทุนและความ

ตอ้งการแรงงานมากขึน้และเมือ่มีการลงทนุเพิม่ขึน้เทคนคิการผลติมีการเปลีย่นแปลงประสทิธภิาพการผลติ

ของทั้งสองสาขาจะเพิ่มขึ้นและนำไปสู่การเพิ่มผลผลิตและรายได้ตามจุดมุ่งหมายของการพัฒนาเศรษฐกิจ

ถ้าพิจารณาทางด้านการกระจายรายได้แล้วทฤษฎีนี้คาดคะเนไว้ว่าในระยะเริ่มแรกของการพัฒนา

นั้น ความไม่เท่าเทียมกันในรายได้จะเพิ่มขึ้น แต่จะลดน้อยลงในระยะต่อไปเมื่อเกิดการพัฒนาขึ้นแล้ว

เหตุผลสำคัญที่ทำให้การกระจายรายได้มีความไม่เท่าเทียมกันในระยะเริ่มแรกนั้น สืบเนื่องมาจากว่า สาขา

อุตสาหกรรมที่ทันสมัยจะมีการขยายตัวขึ้น และภายในกลุ่มแรงงานเอง จะมีความไม่เท่าเทียมกันในการ

กระจายรายได้ในระยะแรกๆเช่นกันทั้งนี้เพราะอัตราค่าจ้างแรงงานในสาขาอุตสาหกรรมที่ทันสมัยจะสูง

กว่าอัตราค่าจ้างแรงงานในสาขาการเกษตรแบบดั้งเดิมตามทรรศนะของหลุยส์ความไม่เท่าเทียมกันในการ

กระจายรายได้จะเป็นสิ่งที่จำเป็นและเป็นสาเหตุที่มาของความจำเริญทางเศรษฐกิจทั้งนี้เพราะเขามีความเห็น

ว่ากลุ่มผู้มีรายได้สูงเท่านั้นที่สามารถออมทรัพย์และเป็นผู้ลงทุนอย่างไรก็ดีแนวโน้มของความแตกต่างกัน

ในเรื่องการกระจายรายได้นี้ในที่สุดก็จะลดลงทั้งนี้เนื่องจากเมื่อการจ้างแรงงานส่วนเกินหมดแล้วแรงงาน

จะกลายเป็นปัจจัยการผลิตที่หาได้ยากดังนั้น เมื่อมีอุปสงค์แรงงานเพิ่มขึ้น ค่าจ้างที่แท้จริงของแรงงานจะ

ต้องสูงขึ้นด้วยและเมื่อระดับค่าจ้างสูงขึ้นความไม่เท่าเทียมกันในการกระจายรายได้จะลดน้อยลงและความ

ยากจนก็พลอยได้รับการแก้ไขไปด้วยในตัว

9. ทฤษฎี การ พัฒนา เศรษฐกิจ ที่ เน้น ความ สำคัญ ด้าน การ ค้า ส่ง ออก นอกจากจะมีทฤษฎีและแนวคดิเกีย่วกบัการพฒันาเศรษฐกจิดงัที่กลา่วมาแลว้ยงัมีนกัเศรษฐศาสตร์

อีกหลายท่านที่ได้เสนอทฤษฎีและแนวคิดเพิ่มเติมอีกว่าการส่งสินค้าออกไปจำหน่ายยังต่างประเทศสามารถ

ช่วยให้เกิดการพัฒนาเศรษฐกิจในประเทศด้อยพัฒนาได้เช่นกัน(export-ledgrowth)ทั้งนี้โดยสนับสนุน

แนวคิดของนักเศรษฐศาสตร์กลุ่มคลาสสิกที่เน้นถึงบทบาททางด้านการค้าระหว่างประเทศในการสร้างตลาด

สินค้าให้มีขนาดใหญ่ขึ้นช่วยให้มีการนำทรัพยากรภายในประเทศมาใช้อย่างเต็มที่ซึ่งจะมีผลทำให้การผลิต

และรายได้ของประเทศเพิ่มสูงขึ้นนอกจากนั้นการส่งสินค้าออกไปจำหน่ายยังต่างประเทศยังทำให้ได้เงินตรา

ต่างประเทศเพื่อนำไปซื้อสินค้าประเภททุนและวัตถุดิบที่จำเป็นต้องใช้ในการพัฒนาประเทศและการขยาย

ตัวของตลาดต่างประเทศยังมีส่วนช่วยกระตุ้นให้เกิดความเจริญก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีอีกด้วย

มสธ มสธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ

4-21แนวคิดการพัฒนาเศรษฐกิจ

ในขณะเดียวกันมีนักเศรษฐศาสตร์หลายท่านที่ชี้ให้เห็นว่าการพัฒนาประเทศโดยการพึ่งสินค้าออก

อาจจะมีผลเสยีตอ่ประเทศดอ้ยพฒันาในระยะยาวเพราะจะทำให้เศรษฐกจิของประเทศได้รบัการครอบงำโดย

ประเทศคู่ค้าที่เป็นประเทศพัฒนาเมื่อประเทศด้อยพัฒนาต้องพึ่งพาเศรษฐกิจของประเทศพัฒนาเมื่อภาวะ

เศรษฐกิจของประเทศพัฒนาเกิดการเปลี่ยนแปลงไปย่อมจะมีผลกระทบต่อประเทศด้อยพัฒนาด้วยเช่นกัน

และเมื่อการขยายตัวของสินค้าส่งออกหดตัวลง เนื่องจากราคาสินค้าส่งออกตกต่ำหรือถูกกีดกันทางการค้า

จากประเทศพัฒนาอัตราความจำเริญทางเศรษฐกิจของประเทศก็จะลดลงด้วยนอกจากนั้น สินค้าส่งออก

ส่วนใหญ่ของประเทศด้อยพัฒนาจะเป็นสินค้าขั้นปฐมซึ่งราคามักจะอยู่คงที่หรือลดลงในขณะเดียวกันสินค้า

ที่ประเทศด้อยพัฒนาต้องการก็คือ สินค้าอุตสาหกรรมและสินค้าประเภททุน ซึ่งราคาจะเพิ่มขึ้นตลอดเวลา

ดังนั้นประเทศด้อยพัฒนามักจะเสียเปรียบในอัตราแลกเปลี่ยนทางการค้า(termsoftrade)อยู่เสมอ

10. ทฤษฎี การ พัฒนา ที่ เน้น ความ สำคัญ ด้าน การ ทดแทน การนำ เข้า แนวคิดเกี่ยวกับการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศด้อยพัฒนาอีกทรรศนะหนึ่งคือ ประเทศ

ด้อยพัฒนาควรเน้นส่งเสริมอุตสาหกรรมที่มีตลาดกว้างขวางอยู่แล้วในประเทศ โดยรัฐบาลใช้นโยบายตั้ง

กำแพงภาษีหรือกำหนดโควตาสินค้าประเภทเดียวกันที่นำเข้ามาจากต่างประเทศนักเศรษฐศาสตร์ที่สนับสนุน

ความคิดนี้ได้แก่เพรบบิช(Prebisch)เชนเนอรี(Chenery)และพาพานเดราว์(Papandreou)

อย่างไรก็ดีนโยบายการส่งเสริมอุตสาหกรรมเพื่อทดแทนการนำเข้านี้ได้รับการวิพากษ์วิจารณ์จาก

นักเศรษฐศาสตร์หลายท่านเช่นกันลิตเติล(Little)สกอตต์(Scott)ไซตอฟสกี้(Scitovsky)และบาลาสสา

(Balassa) โดยนักเศรษฐศาสตร์เหล่านี้ชี้ให้เห็นถึงข้อบกพร่องของนโยบายส่งเสริมอุตสาหกรรมที่ทดแทน

การนำเข้าหลายประการที่สำคัญได้แก่

1)ถึงแม้อุตสาหกรรมทดแทนการนำเข้าจะลดปริมาณการนำเข้าของสินค้าสำเร็จรูปได้ แต่ก็ต้อง

พึ่งพาสินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูปจากต่างประเทศอยู่ดีซึ่งมีผลทำให้นโยบายส่งเสริมอุตสาหกรรมทดแทน

การนำเข้าไม่ช่วยแก้ไขปัญหาเรื่องดุลการค้าและดุลการชำระเงินของประเทศด้อยพัฒนาได้อย่างแท้จริง

2)การตั้งกำแพงภาษีและโควตานำเข้าไม่เป็นการสนับสนุนให้มีการผลิตเพื่อส่งออกการไม่ขยาย

ตัวของตลาดสินค้าเพื่อส่งออกทำให้การผลิตไม่สามารถตักตวงประโยชน์จากการประหยัดของขนาดได้อย่าง

เต็มที่

แนวคิด การ พัฒนา เศรษฐกิจแนวคิดการพัฒนาเศรษฐกิจที่สำคัญที่จะกล่าวถึงในที่นี้ประกอบไปด้วย2แนวคิดที่สำคัญได้แก่

แนวคิดการพัฒนาแบบยั่งยืนขององค์การสหประชาชาติว่าด้วยสิ่งแวดล้อม (The United Nations

EnvironmentalProtection:UNEP)และแนวคิดการพัฒนาเศรษฐกิจพอเพียงขององค์พระบาทสมเด็จ-

พระเจ้าอยู่หัวของประเทศไทยซึ่งจะขอกล่าวถึงรายละเอียดดังต่อไปนี้

1. แนวคดิการพฒันาแบบยัง่ยนืในชว่งสองทศวรรษ(ค.ศ.1972-1992)ที่ผา่นมาระหวา่งการประชมุ

ขององค์การสหประชาชาติว่าด้วยสิ่งแวดล้อม(U.N.ConferenceontheEnvironment)ณกรุงสตอกโฮล์ม

มสธ มสธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ

4-22 สังคมไทยกับการบริหารการส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร

และการจัดตั้งหน่วยงานในการป้องกันสิ่งแวดล้อมขององค์การสหประชาชาติคือ TheUnitedNations

Environmental Protection (UNEP) ใน ค.ศ. 1972 กับการประชุมขององค์การสหประชาชาติว่าด้วย

สิ่งแวดล้อมและการพัฒนาณกรุงริโอเดอจาเนโร(UnitedNationsConferenceonEnvironmentand

Development: UNCED) ในค.ศ. 1992มีความเห็นที่สอดคล้องกันในทางวิทยาศาสตร์ เกี่ยวกับความ

เสียหายด้านสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากกิจกรรมของมนุษย์และความเสียหายนี้ส่งผลกระทบต่อความยั่งยืนของ

การดำเนินกิจกรรมของมนุษย์

ความเห็นเกี่ยวกับความรุนแรงของปัญหานี้สะท้อนให้เห็นได้จากข้อเขียนของหลายหน่วยงานเช่น

รายงานของสภาธุรกิจเพื่อการพัฒนาแบบยั่งยืน(TheBusinessCouncilforSustainableDevelopment)

ที่เสนอต่อการประชุมสหประชาชาติชาติว่าด้วยสิ่งแวดล้อมและการพัฒนา(UNCED)ถึงความไม่ยั่งยืนของ

วิธีการในปัจจุบันที่ใช้ในการจัดการพลังงานการจัดการป่าไม้การทำการเกษตรการปกป้องพันธุ์พืชและพันธุ์

สัตว์การจัดการด้านการขยายตัวของเมืองและการผลิตสินค้าอุตสาหกรรมจากรายงานของบรันดท์แลนด์

(TheBrundtlandReport) ระบุถึงปัญหาสิ่งแวดล้อมในปัจจุบันว่าถึงระดับวิกฤติต่อการอยู่รอดของชีวิต

บนโลกของสถาบันทรัพยากรโลก (TheWorldResources Institute:WRI) ในการร่วมมือกับโครงการ

การพัฒนาและสิ่งแวดล้อมขององค์การสหประชาชาติ สรุปจากฐานข้อมูลสิ่งแวดล้อมที่ได้มีการรวบรวมไว้

ว่า โลกปัจจุบันมิได้มีทิศทางมุ่งไปสู่อนาคตที่ยั่งยืน แต่กลับมุ่งไปสู่ภัยพิบัติต่าง ๆที่จะเกิดกับมนุษย์และ

สิ่งแวดล้อม(WRI,1992:2)ธนาคารโลกพยากรณ์ว่าผลผลิตทางเศรษฐกิจของโลกจะเพิ่มขึ้น3.5เท่าภายใน

ค.ศ.2030และยอมรับว่าถ้ามลพิษและความเสื่อมโทรมทางสิ่งแวดล้อมเพิ่มขึ้นไปตามการเพิ่มของผลผลิต

ผลลัพธ์ที่จะเกิดคือความรุนแรงของปัญหามลพิษและความเสียหายต่อสิ่งแวดล้อม(WorldBank,1992:

9)แผนปฏิบัติการที่5ของประชาคมยุโรป(TheFifthActionProgramoftheEuropeanCommunity)

ยอมรับว่า รูปแบบต่าง ๆ ในปัจจุบันของกิจกรรมการพัฒนา ไม่ได้ทำให้เกิดความยั่งยืนทางสิ่งแวดล้อม

ดังที่เห็นได้จากความเสื่อมโทรมของสิ่งแวดล้อมของชุมชนที่เป็นไปอย่างช้าๆ แต่ต่อเนื่องจากมาตรการต่างๆ

ที่เกิดขึ้นในช่วงสองทศวรรษที่ผ่านมา

ในค.ศ.1993 ในรายงานประจำปีเกี่ยวกับสถานภาพของโลกสถาบันเฝ้าระวังโลก (TheWorld-

watchInstitute)กล่าวสรุปถึงความเสียหายของสิ่งแวดล้อมในปัจจุบันว่ามีผลปรากฏให้เห็นในการลดลง

ของประสิทธิภาพการผลิตของพื้นที่เกษตรป่าทุ่งหญ้าและประมงในการเพิ่มขึ้นของค่าใช้จ่ายในการกำจัด

แหล่งกากสารพิษค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลโรคมะเร็ง โรคภูมิแพ้ โรคหืดหอบและโรคทางเดินหายใจ

และในการขยายตัวของความหิวโหย แนวโน้มเหล่านี้มีความหมายว่า ถ้าไม่มีการเปลี่ยนวิถีเศรษฐกิจที่มุ่ง

ทำลายไปสู่เศรษฐกิจที่มีความยั่งยืนทางสิ่งแวดล้อมแล้วคนในรุ่นต่อไปจะต้องเผชิญกับปัญหาอันท่วมท้น

จากความเสื่อมโทรมทางสิ่งแวดล้อมและการล่มสลายทางสังคม ในขณะเดียวกัน ในค.ศ. 1992 สถาบัน

วิทยาศาสตร์ที่มีชื่อเสียงที่สุดของโลกสองแห่งร่วมกันประกาศคำเตือนว่าการบริโภคทรัพยากรอย่างไม่มีการ

จำกัดทั้งในด้านการผลิตและการใช้พลังงานสามารถนำไปสู่ผลทางภัยพิบัติสิ่งแวดล้อมโลกการเปลี่ยนแปลง

สิ่งแวดล้อมบางอย่างอาจทำให้เกิดความเสียหายที่เกินศักยภาพของโลกที่จะแก้ไขได้ อนาคตของโลกอยู่ที่

ความสมดุลของสิ่งแวดล้อม

มสธ มสธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ

4-23แนวคิดการพัฒนาเศรษฐกิจ

สภาพปญัหาสิง่แวดลอ้มที่เกดิจากการพฒันาและกำลงักลายเปน็ขอ้จำกดัของการพฒันาของประเทศ

ต่างๆในโลกสรุปไว้ในตารางที่4.1

ตาราง ที่ 4.1 ปัญหา สิ่ง แวดล้อม และ สาเหตุ หลัก

ปัญหา (ระดับ) สาเหตุหลัก

มลพิษ (Pollution)

ผลกระทบเรือนกระจก/

การเปลี่ยนแปลงของอากาศ(ระดับโลก)

- การปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์(CO2)

ไนโตรเจนไดออกไซด์(NO2)

คลอโรฟลูโอคาร์บอน(chlorofluocarbons)(CFCs)

โอโซน(O3)(ระดับต่ำ)เป็นต้น

-การตัดไม้ทำลายป่า

การหมดสิ้นไปของโอโซน

(ระดับโลก)

-การปล่อยสารCFCs

ฝนกรด

(ระดับทวีป)

-การปล่อยซัลเฟอร์ไดออกไซด์(SO2)

-ไนโตรเจนไดออกไซด์(NO2),O3(ระดับต่ำ)

มลพิษจากสารพิษ

(ระดับทวีป)

-สารหนัก(heavymetals)

สารกัมมันตภาพรังสี(eutrophiersradiation)

ไฮโดรคาร์บอน(hybrocarbons)

คาร์บอนมอนอกไซด์(carbonmonoxide)

สารเคมีจากภาคเกษตร

การหมดสิ้นไปของทรัพยากรที่เกิดใหม่ได้

การสูญพันธุ์ของพืชและสัตว์

(ระดับโลก)

-การเปลี่ยนแปลงในการใช้ที่ดิน(เช่นการพัฒนา

การทำลายป่า)การเพิ่มประชากรการเก็บเกี่ยวที่ไม่ยั่งยืน

(เช่นการจับปลามากเกินไปการจับปลาในเขตหวงห้าม

หรือในน่านน้ำของประเทศอื่น)การเปลี่ยนแปลงของ

อุณหภูมิโลกการหมดสิ้นไปของโอโซน

ความเสื่อมโทรมของดิน/การสูญเสีย

ความสมบูรณ์ของดิน(ระดับภูมิภาคประเทศ)

- ปัญหาประชากรการเกษตรที่ไม่ยั่งยืนการขยายตัวเป็น

เมืองการพัฒนาการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิ

การหมดสิ้นไปของน้ำ(ระดับภูมิภาคประเทศ) - การใช้น้ำแบบไม่ยั่งยืนการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิ

มสธ มสธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ

4-24 สังคมไทยกับการบริหารการส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร

ปัญหา (ระดับ) สาเหตุหลัก

การหมดสิ้นไปของทรัพยากรที่ใช้แล้วหมดสิ้นไป

การหมดสิ้นไปของทรัพยากรหลายชนิด

(ระดับโลกประเทศ)

-เชื้อเพลิงจากถ่านหินแร่ธาตุต่างๆ

ปัญหาสิ่งแวดล้อมอื่นๆ

ความหนาแน่น(congestion)

(ระดับประเทศ)

-การกำจัดของเสีย

-จราจร

ที่มา:Ekins,1994:28.

ดังนั้น ในช่วงสามทศวรรษที่ผ่านมา จึงมีการแสดงความคิดเห็นอย่างมากมายให้ประชาคมโลก

ตระหนักถึงความเสียหายของสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากการพัฒนา และเรียกร้องให้มีการพัฒนาแบบยั่งยืนโดย

องค์การในระดับโลก

ความหมายของการพัฒนาแบบยั่งยืน(sustainabledevelopment)รายงานของคณะกรรมการ

โลกว่าด้วยสิ่งแวดล้อมและการพัฒนา (WorldCommission onEnvironment andDevelopment:

WCED)หรือรู้จักกันในนามของรายงานของบรันดท์แลนด์ ให้คำจำกัดความเกี่ยวกับความหมายของการ

พัฒนาแบบยั่งยืนเป็นครั้งแรก และเป็นที่นิยมใช้ในการกล่าวอ้างอิงว่า การพัฒนาแบบยั่งยืน คือ “การ

พัฒนาเพื่อตอบสนองต่อความต้องการของคนในรุ่นปัจจุบัน โดยไม่ทำให้ความสามารถในการตอบสนอง

ต่อความต้องการของคนในรุ่นต่อไปต้องเสียไป”(“developmentthatmeetstheneedsofthepresent

without compromising the ability of future generations tomeet their own needs”) ตาม

คำจำกัดความของWCEDนี้ การพัฒนาแบบยั่งยืนจะเกี่ยวข้องกับความเท่าเทียมกันในหมู่คนรุ่นเดียวกัน

ในปัจจุบัน (intragenerational equity) และความเท่าเทียมกันของคนระหว่างรุ่นปัจจุบันและรุ่นต่อไป

(intergenerational equity) ความเท่าเทียมกันนี้เกี่ยวข้องกับความยุติธรรมในการกระจายความมั่งคั่ง

(รายได้)และการใช้ทรัพยากรตลอดจนการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม

อย่างไรก็ตามถึงแม้จะมีการให้คำจำกัดความโดยWCEDแต่มีการใช้การพัฒนาแบบยั่งยืน

ในความหมายที่แตกต่างกันไปยังไม่มีคำจำกัดความตายตัวแน่นอนเดวิดเพียร์ซ(Pearce,etal.,1989:

173-85) กล่าวถึงความหมายของการพัฒนาแบบยั่งยืนว่ามีมากมาย สำหรับ เอกินส์ (Ekins, 1994: 29)

พิจารณาว่าปัญหาของการให้คำจำกัดความของการพัฒนาแบบยั่งยืนอยู่ที่แนวคิดที่ผสมผสานกันอยู่สอง

แนวคิดด้วยกันคือการพัฒนา(development)และความยั่งยืน(sustainability)สิ่งที่เกี่ยวข้องกับแนวคิด

การพัฒนามีอยู่มากมายในกรณีนี้อาจจะพิจารณาอย่างกว้างๆว่าการพัฒนาคือกระบวนการที่มีผลต่อการ

เพิ่มสวัสดิการของกลุ่มที่เกี่ยวข้องหรือการพัฒนาคุณภาพชีวิตซึ่งแนวคิดนี้สอดคล้องกับความพยายามใน

ปัจจุบันของโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ(UNDP)ในการแสดงให้เห็นถึงระดับการพัฒนาโดยการรวม

ตาราง ที่ 4.1 (ต่อ)

มสธ มสธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ

4-25แนวคิดการพัฒนาเศรษฐกิจ

ตัวเลขรายได้ประชาชาติต่อหัวกับข้อมูลสถิติที่เกี่ยวข้องกับตัวเลขการตายของทารกและอัตราการรู้หนังสือ

เข้าไปในดัชนีการพัฒนามนุษย์(HumanDevelopmentIndex:HDI)

อีบีบาร์เบียร์(E.B.Barbier)เสนอให้พิจารณาว่าการพัฒนาแบบยั่งยืนเป็นเรื่องของความ

สัมพันธ์ของระบบสามระบบด้วยกันได้แก่ระบบชีวภาพเศรษฐกิจและสังคม(biological,economicand

social systems)ดังนั้น เป้าหมายโดยทั่วไปของการพัฒนาเศรษฐกิจแบบยั่งยืนคือ การให้ได้เป้าหมายที่

ครอบคลุมทั้งสามระบบนี้ให้มากที่สุดโดยการพิจารณาจากทางเลือกต่างๆเนื่องจากเป้าหมายทั้งสามนี้มัก

จะไม่สามารถบรรลุได้ในเวลาเดียวกันความยากลำบากในการกำหนดทางเลือกแสดงให้เห็นว่ากระบวนการ

ที่ดีที่สุดในการทำให้ได้เป้าหมายมากที่สุดจะต้องผ่านกระบวนการทางการเมืองมากกว่ากระบวนการทาง

เศรษฐกิจดังจะเห็นได้จากแนวคิดเกี่ยวกับ“การรักษาสิ่งแวดล้อมต้องมาก่อน”(primaryenvironmental

care:PEC)ซึ่งมีความเกี่ยวข้องอย่างชัดเจนกับเป้าหมายทางด้านสิ่งแวดล้อมและเป็นที่ยอมรับกันทั่วไปใน

หมู่องค์กรพัฒนาในความพยายามที่จะนำแนวคิดการพัฒนาแบบยั่งยืนไปปฏิบัติ

เจฮอล์มเบอร์กและอาร์แซนบรูค (J.HolmbergandR.Sanbrook,1992:31-32) ให้

คำอธิบายเกี่ยวกับการพัฒนาแบบยั่งยืนโดยอาศัยแนวคิดจากPECดังกล่าวว่าการพัฒนาแบบยั่งยืนในส่วน

ของความหมายที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาคือการพัฒนาที่ประกอบไปด้วย

-เป้าหมายทางเศรษฐกิจ:การตอบสนองและความพึงพอใจด้านความจำเป็นพื้นฐาน

-เป้าหมายทางสิ่งแวดล้อม:การป้องกันและการนำไปใช้อย่างดีที่สุดด้านสิ่งแวดล้อม

-เป้าหมายทางสังคม:การให้อำนาจแก่กลุ่มคนและชุมชน

สำหรับความยั่งยืนประกอบไปด้วย3ด้านด้วยกันได้แก่

-ด้านสังคม:ความยั่งยืนในด้านขนบธรรมเนียมประเพณีความสัมพันธ์และสถาบัน

-ด้านเศรษฐกิจ:ความยั่งยืนในการจัดสรรและกระจายทรัพยากรที่ขาดแคลน

-ด้านนิเวศวิทยา:ความยั่งยืนในการให้จากสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรแก่ทั้งสองด้าน

ข้างต้น

ดังนั้นหากพิจารณาโดยรวมทั้งในส่วนของคำจำกัดความของWCEDและของHolmberg

และSanbrookแล้วการพัฒนาแบบยั่งยืนมีความหมายถึงการพัฒนาที่มีเป้าหมายทั้งในแง่ของความเจริญ

เติบโตทางเศรษฐกิจสังคมคุณภาพชีวิตและการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมสำหรับคนในยุคปัจจุบันและมีความ

ยั่งยืนไปถึงลูกหลานในอนาคตและในปัจจุบันแนวคิดการพัฒนาแบบยั่งยืนเกี่ยวข้องกับความหมายที่ได้

กล่าวสรุปไว้แล้วอย่างไรก็ตามในทางปฏิบัติตามแนวคิดนี้เป็นสิ่งที่เพิ่งเริ่มต้น โดยเฉพาะในประเทศกำลัง

พัฒนา

2. แนวคิดการพัฒนาแบบเศรษฐกิจพอเพียงขององค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

ปรัชญาการพัฒนาแบบ“เศรษฐกิจพอเพียง”

วิกฤติเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นในประเทศไทยในกลางปี พ.ศ. 2540 เป็นผลสืบเนื่องจากการเกิด

วิกฤติการณ์ทางการเงินและลุกลามกลายเป็นวิกฤติเศรษฐกิจไปยังประเทศต่างๆในเอเชียในกระแสของ

แนวคิดการฟื้นฟูเศรษฐกิจของประเทศไทยนั้น“เศรษฐกิจพอเพียง”เป็นสิ่งจุดประกายแห่งความหวังในการ

มสธ มสธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ

4-26 สังคมไทยกับการบริหารการส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร

พัฒนาประเทศและมีการระดมความคิดเพื่อให้เกิดความเข้าใจแนวคิดนี้และนำไปเป็นแนวทางการจัดทำแผน

พัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่9(พ.ศ.2545-2549)โดยคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและ

สังคมแห่งชาติซึ่งร่วมกันจัดสัมมนาวิชาการเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงขึ้นเมื่อเดือนธันวาคม2542เนื้อหาสำคัญ

เกีย่วกบัเศรษฐกจิพอเพยีงจากการประมวลและกลัน่กรองจากพระราชดำรสัของพระบาทสมเดจ็พระเจา้อยูห่วั

เรื่องเศรษฐกิจพอเพียงซึ่งพระราชทานในโอกาสต่างๆรวมทั้งพระราชดำรัสอื่นๆที่เกี่ยวข้อง(สถาบันวิจัย

เพื่อการพัฒนาประเทศไทย2542)มีดังนี้

เศรษฐกจิพอเพยีง “เศรษฐกิจพอเพียง”เป็นปรัชญาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรง

มีพระราชดำรัสชี้แนะแนวทางการดำเนินชีวิตแก่พสกนิกรชาวไทยมาโดยตลอดเป็นเวลานานกว่า25ปีตั้งแต่

ก่อนเกิดวิกฤติการณ์ทางเศรษฐกิจและเมื่อภายหลังทรงเน้นย้ำแนวทางการแก้ไขเพื่อให้รอดพ้นและสามารถ

ดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคงและยั่งยืนภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์และความเปลี่ยนแปลงต่างๆ

ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเศรษฐกิจพอเพียงเป็นปรัชญาชี้ถึงแนวการดำรงอยู่และ

ปฏิบัติตนของประชาชนในทุกระดับตั้งแต่ระดับครอบครัวระดับชุมชนจนถึงระดับรัฐทั้งในการพัฒนาและ

บริหารประเทศให้ดำเนินไปในทางสายกลาง โดยเฉพาะการพัฒนาเศรษฐกิจเพื่อให้ก้าวหน้าทันต่อโลกยุค

โลกาภิวัตน์ความพอเพียงหมายถึงความพอประมาณความมีเหตุผลรวมถึงความจำเป็นที่จะต้องมีระบบ

ภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีพอสมควรต่อการมีผลกระทบใดๆอันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทั้งภายนอกและภายใน

ทั้งนี้จะต้องอาศัยความรอบรู้ความรอบคอบและความระมัดระวังอย่างยิ่งในการนำวิชาการต่างๆมาใช้ใน

การวางแผนและการดำเนินการทุกขั้นตอนและขณะเดียวกันจะต้องเสริมสร้างพื้นฐานจิตใจของคนในชาติ

โดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ของรัฐนักทฤษฎีและนักธุรกิจในทุกระดับให้มีสำนึกในคุณธรรมความซื่อสัตย์สุจริต

และให้มีความรอบรู้ที่เหมาะสมดำเนินชีวิตด้วยความอดทนความเพียรมีสติปัญญา และความรอบคอบ

เพื่อให้สมดุลและพร้อมต่อการรองรับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและกว้างขวางทั้งด้านวัตถุ สังคม

สิ่งแวดล้อมและวัฒนธรรมจากโลกภายนอกได้เป็นอย่างดี

ทฤษฎีใหม่ทฤษฎีใหม่เป็นวิธีปฏิบัติของเกษตรกรที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

พระราชทานแก่เกษตรกรรายย่อยในการแก้ปัญหาความยากจนโดยทรงแบ่งวิธีปฏิบัติออกเป็นสามขั้นตอน

จากขั้นตอนการปฏิบัติให้พึ่งตนเองได้มาสู่ขั้นตอนของการรวมตัวเป็นกลุ่มหรือสหกรณ์ของเกษตรกรและ

ขั้นที่สามเป็นการร่วมมือกับแหล่งการเงินและแหล่งพลังงานเพื่อการจัดตั้งโรงสีร้านสหกรณ์เพื่อขยายการ

ลงทุนและเพิ่มคุณภาพชีวิตของเกษตรกร

หลัง จาก ศึกษา เนื้อหา สาระ ตอน ที่ 4.1 แล้ว โป รด ปฏิบัติ กิจกรรม 4.1

ใน แนว การ ศึกษา หน่วย ที่ 4 ตอน ที่ 4.1

มสธ มสธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ

4-27แนวคิดการพัฒนาเศรษฐกิจ

ตอน ที่ 4.2

การ พัฒนา เศรษฐกิจ ของ ประเทศไทย

โปรดอ่านแผนการสอนประจำตอนที่4.2แล้วจึงศึกษาเนื้อหาสาระพร้อมปฏิบัติกิจกรรมในแต่ละตอน

หัว เรื่องเรื่องที่4.2.1วิวัฒนาการของการพัฒนาเศรษฐกิจ

เรื่องที่4.2.2แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

เรื่องที่4.2.3บทบาทของภาครัฐและภาคเอกชนในการพัฒนาเศรษฐกิจ

แนวคิด1. วิวัฒนาการของการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศไทยมีจุดเริ่มต้นจากการที่รัฐบาลออก

พระราชบัญญัติสภาเศรษฐกิจพ.ศ.2493

2. การพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศไทยโดยผ่านแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

เริ่มจากแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 1 เมื่อปี พ.ศ. 2504 ซึ่งมี

การวางแผนจากสว่นกลางหรอืจากบนลงลา่ง(topdownplanning)โดยแผนพฒันาฉบบั

นี้ได้รับแนวคิดการจัดทำแผนจากทฤษฎีความเจริญเติบโต(GrowthTheory)

3. บทบาทของรัฐบาลในการพัฒนาเศรษฐกิจ ได้แก่ การชี้นำส่งเสริม และช่วยเหลือ

ภาคเอกชนการจัดให้มีสินค้าสาธารณะและโครงสร้างพื้นฐานการปรับปรุงการกระจาย

รายได้การรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจตลอดทั้งการชี้นำการพัฒนาประเทศ

วัตถุประสงค์เมื่อศึกษาตอนที่4.2จบแล้วนักศึกษาสามารถ

1. อธิบายวิวัฒนาการของการพัฒนาเศรษฐกิจได้

2. อธิบายแนวโน้มของการพัฒนาเศรษฐกิจได้

3. อธิบายบทบาทของภาครัฐและภาคเอกชนในการพัฒนาเศรษฐกิจได้

มสธ มสธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ

4-28 สังคมไทยกับการบริหารการส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร

เรื่อง ที่ 4.2.1 วิวัฒนาการ ของ การ พัฒนา เศรษฐกิจ

วิวัฒนาการ ของ การ พัฒนา เศรษฐกิจ ของ ประเทศไทยวิวัฒนาการการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศไทยนั้นสามารถแบ่งออกได้3ช่วงดังต่อไปนี้

1. ชว่งปีพ.ศ.2493รฐับาลออกพระราชบญัญตัิสภาเศรษฐกจิการพฒันาเศรษฐกจิของประเทศไทย

เริ่มจากเมื่อสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2 ประเทศไทยประสบปัญหาเศรษฐกิจอย่างรุนแรง รัฐบาลในยุคนั้น

พยายามแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจให้ฟื้นฟูอย่างรวดเร็วโดยรัฐบาลออกพระราชบัญญัติสภาเศรษฐกิจพ.ศ.2493

ซึ่งมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2493 (ประกาศในราชกิจจานุเบกษาตอนที่ 10 เล่มที่ 67

วันที่14กุมภาพันธ์พ.ศ.2493)สาระสำคัญตามพระราชบัญญัติฉบับนี้กำหนดให้นายกรัฐมนตรีทำหน้าที่เป็น

ประธานกรรมการสภาเศรษฐกิจส่วนคณะกรรมการนั้นทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯแต่งตั้งจากผู้ทรงคุณวุฒิที่

มีความเชี่ยวชาญทางด้านเศรษฐกิจตามคำแนะนำของคณะรัฐมนตรีจำนวนไม่เกิน20คนตามมาตรา20ใน

พระราชบัญญัติฉบับนี้กำหนดบทบาทหน้าที่ของสภาเศรษฐกิจไว้สามประการดังนี้

1.1 ให้ความเห็นและคำแนะนำแก่รัฐบาลเพื่อประโยชน์แห่งความก้าวหน้าในทางเศรษฐกิจ

ของชาติ

1.2ชี้แจงให้รัฐบาลทราบถึงวิธีการอันเหมาะสมอย่างยิ่งที่จะนำมาใช้ผดุงส่งเสริมและทำความ

ก้าวหน้าทางเศรษฐกิจของชาติ ทั้งโดยอาศัยความรู้ความชำนาญทางเทคนิคผลแห่งการค้นคว้าหรือสำรวจ

และสถิติต่างๆตลอดจนผลแห่งการปฏิบัติอันได้ทำมาแล้ว

1.3ทำหน้าที่รวบรวมการสถิติพยากรณ์ทั่วราชอาณาจักร

จากการที่ประเทศไทยประสบปญัหาทางเศรษฐกจิอนัเปน็ผลพวงของสงครามโลกครัง้ที่2และรฐับาล

พยายามทำการฟื้นฟูเศรษฐกิจอย่างรวดเร็วทำให้ประเทศไทยใช้ทรัพยากรของชาติอย่างสิ้นเปลืองประกอบ

กับในช่วงเวลานั้นยังไม่เคยมีการสำรวจฐานะที่แท้จริงทางเศรษฐกิจของประเทศเพื่อใช้ในการวางแผนพัฒนา

ประเทศในระยะต่อไปซึ่งการพัฒนาประเทศในระยะเริ่มแรกมีความจำเป็นจะต้องใช้งบประมาณที่สูงในการ

ฟื้นฟูเศรษฐกิจดังนั้นจะอาศัยเงินลงทุนจากงบประมาณแผ่นดินอย่างเดียวคงไม่เพียงพอเนื่องจากรายได้ของ

ภาครัฐมีจำนวนจำกัดดังนั้นจึงมีความจำเป็นจะต้องอาศัยแหล่งเงินกู้จากต่างประเทศ โดยมีแหล่งเงินกู้ที่

สำคญัคอืธนาคารโลกการที่จะขอเงนิกู้จากธนาคารโลกจำเปน็จะตอ้งเขยีนโครงการเพือ่ให้แหลง่เงนิกู้พจิารณา

โครงการก่อนการอนุมัติเงินกู้ดังนั้นประเทศไทยขอความร่วมมือจากธนาคารโลกให้ส่งคณะผู้เชี่ยวชาญเข้ามา

สำรวจเศรษฐกิจของประเทศเพื่อเป็นฐานข้อมูลในการจัดทำโครงการเงินกู้ ในการนี้ธนาคารโลกร่วมกับ

เจ้าหน้าที่ของรัฐบาลไทยจัดตั้งคณะกรรมการสองชุดคือคณะกรรมการร่วมมือกับคณะสำรวจเศรษฐกิจของ

ธนาคารโลก(ก.ส.ธ.)และคณะกรรมการบรหิารก.ส.ธ.สำรวจสภาวะเศรษฐกจิของประเทศไทยเริม่ตัง้แต่เดอืน

กรกฎาคมพ.ศ.2500ถึงเดือนมิถุนายนพ.ศ.2501คณะสำรวจจัดทำรายงานชื่อโครงการพัฒนาของรัฐบาล

สำหรับประเทศไทย(APublicDevelopmentProgramforThailand)โดยเนื้อหาตอนหนึ่งของรายงาน

มสธ มสธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ

4-29แนวคิดการพัฒนาเศรษฐกิจ

ฉบับนี้เสนอให้รัฐบาลจัดตั้งสถาบันการวางแผนเศรษฐกิจของประเทศไทยจากข้อเสนอดังกล่าวรัฐบาลและ

สภาเศรษฐกิจแห่งชาติมีความเห็นว่าควรจะต้องจัดตั้งหน่วยงานกลางในการวางแผนพัฒนาประเทศอย่าง

ถาวรดังนั้นรัฐบาลได้ประกาศพระราชบัญญัติสภาพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติพ.ศ.2502เมื่อวันที่4กรกฎาคม

2502จัดตั้งสภาพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติให้เป็นหน่วยงานที่ขึ้นตรงกับสำนักนายกรัฐมนตรีพร้อมทั้งยกเลิก

พระราชบัญญัติสภาเศรษฐกิจแห่งชาติพ.ศ.2493ต่อมาแก้ไขพระราชบัญญัติสภาพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติ

(ฉบับที่2)พ.ศ.2503และพระราชบัญญัติสภาพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติ(ฉบับที่3)พ.ศ.2509

องค์ ประกอบ ที่ สำคัญ ของ สภา พัฒนา เศรษฐกิจ แห่ง ชาติ ประกอบด้วยสามส่วนได้แก่

1)สภาพฒันาเศรษฐกจิแหง่ชาติประกอบดว้ยนายกรฐัมนตรีเปน็ประธานรองนายกรฐัมนตรี

เป็นรองประธานและกรรมการอื่นที่คณะรัฐมนตรีแต่งตั้ง โดยมีหน้าที่พิจารณาข้อเสนอต่าง ๆที่สำนักงาน

สภาพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติเสนอมา และเสนอความเห็นต่อนายกรัฐมนตรีในกิจการที่เกี่ยวกับพัฒนา

การเศรษฐกิจที่นายกรัฐมนตรีขอให้พิจารณา

2) คณะกรรมการบริหารสภาพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติประกอบด้วยเลขาธิการสภาพัฒนา

เศรษฐกิจแห่งชาติเป็นกรรมการบริหารโดยตำแหน่ง มีอำนาจหน้าที่ตามที่สภาพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติจะ

มอบหมายและกำกับการปฏิบัติงานของสำนักงานสภาพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติ

3) สำนกังานสภาพฒันาเศรษฐกจิแหง่ชาติมีฐานะเปน็กรมสงักดัสำนกันายกรฐัมนตรีมหีนา้ที่

ที่สำคัญคือ การจัดทำแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ การพิจารณาโครงการต่าง ๆ ของกระทรวง

ทบวงกรมรวมทั้งพิจารณางบลงทุนของรัฐวิสาหกิจและเรื่องอื่นๆที่คณะรัฐมนตรีมอบหมายให้พิจารณา

2. ชว่งปีพ.ศ.2515รฐับาลออกประกาศคณะปฏบิตัิต่อมาในปี2515รัฐบาลในช่วงนั้นออกประกาศ

คณะปฏิวัติฉบับที่216มีการปรับปรุงระเบียบบริหารราชการของประเทศโดยการโอนอำนาจหน้าที่ของสภา

พัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติไปเป็นสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ในการ

ปรับปรุงการบริหารราชการครั้งนี้เพื่อให้การดำเนินงานมีความรัดกุมและมีประสิทธิภาพมากขึ้น จึงรวมการ

พัฒนาสังคมเข้ามาให้ความสำคัญในการพัฒนาประเทศซึ่งจะทำให้การวางแผนพัฒนาสมบูรณ์มากขึ้นต่อมา

รัฐบาลประกาศยกเลิกพระราชบัญญัติสภาพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติพ.ศ. 2502แก้ไขเพิ่มเติมพ.ศ. 2503

และพ.ศ.2509และประกาศใช้พระราชบัญญัติพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติพ.ศ.2521ให้มีผล

บังคับใช้ตั้งแต่วันที่30สิงหาคมพ.ศ.2521จนถึงปัจจุบัน

3. ชว่งปีพ.ศ.2521ถงึปจัจบุนัรฐับาลออกพระราชบญัญตัิพฒันาการเศรษฐกจิและสงัคมแหง่ชาติ

จากพระราชบัญญัติพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติพ.ศ.2521มีการกำหนดให้มีองค์กรและกลไก

การทำงานสองระดบัคอืระดบัคณะกรรมการพฒันาการเศรษฐกจิและสงัคมแหง่ชาติและระดบัของสำนกังาน

คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ โดยคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคม

แหง่ชาติมีกรรมการจำนวน15คนประกอบดว้ยประธานกรรมการ1คนกรรมการที่มีความรู้และประสบการณ์

ทางด้านเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เลขาธิการคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน ผู้อำนวยการสำนัก

งบประมาณผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลังและผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทยคณะกรรมการ

ชุดนี้มีอำนาจหน้าที่ดังนี้

มสธ มสธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ

4-30 สังคมไทยกับการบริหารการส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร

1) เสนอแนะให้ความเห็นเกี่ยวกับการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมต่อคณะรัฐมนตรี

2)พิจารณาแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติกับข้อเสนออื่น ๆ ของสำนักงาน

คณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติแล้วนำเสนอต่อคณะรัฐมนตรี

3)เสนอความเห็นต่อนายกรัฐมนตรีในกิจการเกี่ยวกับการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมที่

นายกรัฐมนตรีขอให้พิจารณา

4)จัดให้มีการประสานงานระหว่างสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคม

แห่งชาติกับส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจที่เกี่ยวข้องทั้งในด้านการจัดทำแผนงานโครงการพัฒนาและในด้าน

ปฏิบัติงานตามแผนเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ของการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ

บทบาท ของ หน่วย งาน วางแผน การ พัฒนา เศรษฐกิจบทบาทของหน่วยงานของรัฐตามพระราชบัญญัติพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติพ.ศ.2521

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติมีบทบาทหน้าที่ดังนี้

1. สำรวจศึกษา และวิเคราะห์ภาวะเศรษฐกิจและสังคม พร้อมทั้งรวบรวมข้อมูลในการจัดทำ

เครื่องชี้ภาวะเศรษฐกิจและสังคมตลอดจนระดับการพัฒนาประเทศ เพื่อเสนอแนะจุดหมายและนโยบาย

มาตรการแก่คณะรัฐมนตรีในการจัดทำข้อมูลเพื่อใช้ประโยชน์ในการวิเคราะห์เชิงนโยบายและให้คำปรึกษา

โดยเฉพาะความรู้ทางด้านเศรษฐกิจและสังคม เนื่องจากข้อมูลที่ถูกต้องทันสมัยและรวดเร็วจะนำไปสู่การ

ดำเนินการในการวางแผนการสร้างระบบข้อมูลเตือนภัยทางเศรษฐกิจและสังคม เช่น การสร้างและจัดทำ

ระบบข้อมูลหลักของประเทศทั้งระยะสั้นและระยะยาวประกอบด้วย ข้อมูลผลิตภัณฑ์ประชาชาติในระดับ

ประเทศและระดับจังหวัดข้อมูลผลิตภัณฑ์ประชาชาติรายไตรมาสข้อมูลตารางปัจจัยการผลิตและผลผลิต

ข้อมูลทางด้านเศรษฐกิจเงินทุนและข้อมูลทางด้านงบดุลของประเทศเป็นต้น

2. วางแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เพื่อใช้เป็นแนวทางการพัฒนาประเทศ ซึ่งการ

วางแผนพัฒนาเศรษฐกิจเริ่มขึ้นเป็นทางการตั้งแต่ปีพ.ศ.2504ซึ่งเป็นปีแรกที่มีการประกาศใช้แผนพัฒนาฯ

ฉบับที่1จนถึงปี2542มีการใช้แผนพัฒนาฯมาแล้ว8ฉบับการจัดทำแผนพัฒนาฯถือเป็นภารกิจหลักของ

หน่วยงานที่มีการวางแผนระดับชาติซึ่งเป็นแผนระยะปานกลาง (ระยะเวลา5ปี)ลักษณะของการวางแผน

ตั้งแต่แผนพัฒนาฯฉบับที่1-7มีลักษณะเป็นแผนชี้นำส่วนแผนพัฒนาฯฉบับที่8และ9มีการปรับเปลี่ยน

กระบวนการวางแผนให้ประชาชนมีส่วนร่วมมากขึ้นและให้เป็นแผนพัฒนาฯของประชาชนมากขึ้น

3. พิจารณาโครงการให้ได้ตามเป้าหมายของแผนพัฒนาฯซึ่งหมายถึงการพิจารณาโครงการลงทุน

เพื่อการพัฒนาประเทศที่มีวัตถุประสงค์และเป้าหมาย รวมทั้งกำหนดระยะเวลาในการดำเนินการที่ชัดเจน

การดำเนินการวิเคราะห์โครงการจะเริ่มจากการวิเคราะห์โครงการของแต่ละหน่วยงานของรัฐรวมทั้งโครงการ

ของรัฐวิสาหกิจด้วยโดยมีระยะเวลาไม่เกิน45วันหลังจากนั้นจะนำเสนอให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาอนุมัติ

โครงการการพิจารณาโครงการตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมงานหรือดำเนินการในกิจการ

ของรัฐพ.ศ.2535กำหนดให้โครงการที่มีมูลค่าตั้งแต่1,000ล้านบาทขึ้นไปจะต้องผ่านกระบวนการพิจารณา

จากกระทรวงและสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ(สศช.)ก่อนแล้วผ่านให้

มสธ มสธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ

4-31แนวคิดการพัฒนาเศรษฐกิจ

กระทรวงการคลังเนื่องจากกระทรวงการคลังดูแลกฎหมายร่วมกับสศช.ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้สินทรัพย์ของ

รัฐหากเป็นโครงการใหม่การพิจารณาโครงการจะต้องผ่านการพิจารณาจากคณะรัฐมนตรี2ครั้ง โดยครั้ง

แรกเป็นการเสนอเพื่อขออนุมัติหลักการหากมีการร่วมลงทุนของเอกชนจะต้องตั้งกรรมการแล้วนำมาเสนอ

ให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาอีกครั้งในการเลือกผู้ลงทุน ถ้าเป็นโครงการที่มีมูลค่ามากกว่า 5,000 ล้านบาท

จะต้องจ้างที่ปรึกษาเพื่อศึกษาผลกระทบของสิ่งแวดล้อมซึ่งโครงการเหล่านี้จะต้องผ่านกระบวนการพิจารณา

ทางด้านสิ่งแวดล้อมแล้วนำเสนอสศช.และคณะรัฐมนตรีพิจารณาตามลำดับ

4. ประเมินผลในการพัฒนา เป็นบทบาทหน้าที่ที่มีความสำคัญในกระบวนการพัฒนาประเทศ

เนื่องจากการวางแผนพัฒนาถ้าไม่มีการประเมินผลก็ไม่สามารถที่จะทราบได้ว่าการพัฒนาที่ผ่านมาบรรลุ

ถึงวัตถุประสงค์หรือไม่ หรือมีปัญหาอุปสรรคอะไรบ้าง ซึ่งบทบาทหน้าที่ในการประเมินผลการพัฒนาจะทำ

การประเมินทั้งในระดับรายโครงการและภาพรวม

5. ปฏิบัติหน้าที่เฉพาะกิจตามนโยบายของรัฐบาล โดยมีหน้าที่ในคณะกรรมการรัฐมนตรีฝ่าย

เศรษฐกิจคณะกรรมการนโยบายสังคมแห่งชาติคณะกรรมการร่วมภาครัฐบาลและเอกชนคณะกรรมการ

กระจายความเจริญไปสู่ภูมิภาค การพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคตะวันออกการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเล

ภาคใต้เรื่องความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านคือลุ่มแม่น้ำโขง6ประเทศและสามเหลี่ยมเศรษฐกิจตอน

ใต้(มาเลเซียไทยอินโดนีเซีย)

กล่าว โดย สรุป ได้ว่าประเทศไทยมีการวางแผนพัฒนาเศรษฐกิจจากอดีตถึงปัจจุบันแบ่งออกได้

เป็น3ช่วงของการพัฒนา ได้แก่ 1)ช่วงปีพ.ศ.2493รัฐบาลออกพระราชบัญญัติสภาเศรษฐกิจ2)ช่วงปี

พ.ศ.2515รัฐบาลออกประกาศคณะปฏิวัติและ3)ช่วงปีพ.ศ.2521ถึงปัจจุบันรัฐบาลออกพระราชบัญญัติ

พัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ซึ่งในแต่ละช่วงมีเป้าหมายของการพัฒนาที่แตกต่างกันออกไป

ตามสภาพเศรษฐกิจและสังคมในแต่ละช่วงเวลา นอกจากนี้แล้วบทบาทของหน่วยงานวางแผนการพัฒนา

เศรษฐกิจมีด้วยกัน5ประการได้แก่1)สำรวจศึกษาและวิเคราะห์ภาวะเศรษฐกิจและสังคม2)วางแผน

พัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ3)พิจารณาโครงการให้ได้ตามเป้าหมายของแผนพัฒนาฯ4)ประเมินผล

ในการพัฒนาและ5)ปฏิบัติหน้าที่เฉพาะกิจตามนโยบายของรัฐบาล

มสธ มสธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ

4-32 สังคมไทยกับการบริหารการส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร

เรื่อง ที่ 4.2.2 แผน พัฒนา เศรษฐกิจ และ สังคม แห่ง ชาติ

การพัฒนาเศรษฐกิจของไทยนั้น ประเทศไทยเริ่มมีการจัดทำแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม

แห่งชาติในประเทศมาตั้งแต่ปีพ.ศ2504และสะสมประสบการณ์วิวัฒนาการของแนวคิดและลักษณะของ

การวางแผนพัฒนาฯพอสรุปได้ดังนี้

1. แผนพฒันาเศรษฐกจิและสงัคมแหง่ชาติฉบบัที่1-2(พ.ศ.2504-2514)เป็นการวางแผนจากส่วน

กลางหรือจากบนสู่ล่าง (top-downplanning) เป็นแผนที่ได้รับแนวคิดทางด้านทฤษฎีความเจริญเติบโต

(GrowthTheory)ที่ให้ความสำคัญต่อการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจเพื่อนำมาสู่ความทันสมัย(moderniza-

tion)ซึ่งการเพิ่มอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจในอัตราที่สูงจะมีผลกระจายไปสู่คนและสังคมต่อไปดังนั้น

แนวคิดการพัฒนาจึงเน้นกลยุทธ์การวางแผนด้วยการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานของภาครัฐเป็นสำคัญ(project

orientedapproach)โดยอาศัยเทคนิคการวางแผนด้านการวิเคราะห์โครงการเป็นสำคัญซึ่งมีเครื่องมือใน

การวิเคราะห์โครงการที่สำคัญคือการวิเคราะห์ผลได้ผลเสียของโครงการ(benefitcostanalysis)ถึงแม้ว่า

แผนพัฒนาฯฉบับที่1จะประสบความสำเร็จในการปฏิบัติตามโครงการพัฒนาทางด้านโครงสร้างพื้นฐานแต่

ก็ยังมีปัญหาตามมาคือ การที่ไม่สามารถอธิบายได้ว่าแต่ละโครงการก่อให้เกิดผลต่อการพัฒนาในภาพรวม

เพียงใดดังนั้นเพื่อเป็นการแก้ไขข้อบกพร่องนี้ในช่วงแผนพัฒนาฯฉบับที่ 2 มีการนำแนวคิดการพัฒนา

รายสาขา (sectoral development planning)มาใช้ในการวางแผน เป็นการวิเคราะห์ปัญหาเศรษฐกิจใน

แต่ละสาขาการผลิตเช่นสาขาเกษตรกรรมอุตสาหกรรมบริการเป็นต้น

ผลการพฒันาในชว่งแผนพฒันาฯฉบบัที่1-2คอือตัราการขยายตวัทางเศรษฐกจิมีอตัราการขยายตวั

รอ้ยละ8ตอ่ปีในชว่งแผนพฒันาฯฉบบัที่1และรอ้ยละ7.5ตอ่ปีในชว่งแผนพฒันาฯฉบบัที่2ดลุการชำระเงนิ

ระหว่างประเทศมีฐานะเกินดุลโดยณสิ้นแผนพัฒนาฯฉบับที่1มีทุนสำรองเพิ่มขึ้นเป็น800ล้านดอลลาร์

สหรัฐจากการที่ประเทศไทยประสบผลของอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจในช่วงแผนพัฒนาฯฉบับที่1-2

ทำให้มีความจำเป็นจะต้องมีการผลิตกระแสไฟฟ้าเพิ่มขึ้นกว่าเท่าตัว มีการขยายความยาวของถนนเพิ่มขึ้น

ร้อยละ37มีเนื้อที่ชลประทานเพิ่มขึ้นจาก9.7ล้านไร่เป็น13.3ล้านไร่

2. แผนพฒันาเศรษฐกจิและสงัคมแหง่ชาติฉบบัที่3(พ.ศ.2515-2519)มีลักษณะเป็นแผนชี้นำมาก

ขึน้แต่ยงัคงเปน็การวางแผนจากบนสู่ลา่งในขณะที่แผนพฒันาฯฉบบัที่2ประสบผลสำเรจ็ในการขยายตวัทาง

เศรษฐกิจแต่มีปัญหาช่องว่างของการกระจายรายได้เกิดขึ้นเนื่องจากการพัฒนาที่เน้นโครงสร้างพื้นฐานขนาด

ใหญ่แต่การกระจายผลประโยชน์ยังคงจำกัดที่กลุ่มคนเพียงบางกลุ่มเช่นกลุ่มคนในเมืองมากกว่ากลุ่มคนใน

ชนบทดังนั้นการพัฒนาในช่วงแผนพัฒนาฯฉบับที่3เป็นแผนที่เน้นการรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจโดย

รักษาอัตราการขยายตัวของปริมาณเงินมากรักษาระดับราคาสินค้าจำเป็นต่อการครองชีพรักษาเสถียรภาพ

ทางการเงินระหว่างประเทศส่งเสริมการส่งออกและปรับปรุงโครงสร้างการนำเข้าเป็นการปรับปรุงโครงสร้าง

ทางเศรษฐกิจโดยการยกระดับการผลิต พร้อมทั้งปรับนโยบายเร่งรัดการส่งออกและทดแทนการนำเข้า

มสธ มสธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ

4-33แนวคิดการพัฒนาเศรษฐกิจ

ปรับงบลงทุนโครงการก่อสร้างโดยการสนับสนุนการลงทุนเพื่อใช้ประโยชน์จากโครงการขั้นพื้นฐาน แผน

พัฒนาฯฉบับที่3เป็นแผนแรกที่ให้ความสำคัญกับการวางแผนด้านสังคมดังนั้นในแผนพัฒนาฯฉบับที่3

กำหนดแนวนโยบายให้ครอบคลุมถึงความเป็นธรรมทางสังคมและการกระจายรายได้ที่ไม่เท่าเทียมกัน

ผลการพัฒนาของแผนพัฒนาฯฉบับที่3คือการที่ระบบการเงินโลกเกิดภาวะผันผวนตั้งแต่ปีพ.ศ.

2514(สิ้นแผนฯ2)โดยค่าเงินดอลลาร์สหรัฐตกต่ำประกอบกับเกิดปัญหาวิกฤติน้ำมันทำให้มีผลกระทบต่อ

เศรษฐกิจของไทยคืออาหารและวัตถุดิบต่างๆ มีระดับราคาสูงขึ้นราคาน้ำมันสูงขึ้นเกิดภาวะเงินเฟ้อสูงถึง

ร้อยละ 12 การที่ประเทศไทยเกิดภาวะเงินเฟ้อในอัตราที่สูง ประกอบกับเกิดภาวะเศรษฐกิจฝืดเคืองอย่าง

รวดเร็วมีผลทำให้อัตราการขยายตัวในการลงทุนทั้งภาครัฐและภาคเอกชนเกิดภาวะซบเซาการก่อสร้างหยุด

ชะงักโดยรัฐบาลใช้มาตรการทางการเงินการคลังในการแก้ไขปัญหาต่างๆ จนสามารถคลี่คลายได้ส่งผลทำให้

อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจมีอัตราการขยายตัวโดยเฉลี่ยร้อยละ7.1ต่อปี

3. แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่4 (พ.ศ.2520-2524) เป็นแผนที่ได้รับแนวคิด

ในการวางแผนโดยเน้นประเด็นปัญหา ซึ่งเป็นก้าวหนึ่งของแนวคิดการวางแผนที่นำการกำหนดปัญหาและ

ประเด็นการพัฒนาหลักๆ เข้าสู่กระบวนการพัฒนามีผลทำให้แนวคิดการวางแผนรายสาขาค่อยๆ ลดบทบาท

เนื่องจากประเด็นปัญหาที่เกิดขึ้นไม่สามารถแยกเป็นรายสาขาได้จึงเกิดแนวคิดในการวางแผนพัฒนาระหว่าง

สาขาร่วมกัน(inter-sectoraldevelopmentplanningapproach)ดังนั้นในแผนพัฒนาฯฉบับที่4ยังคง

เนน้การฟืน้ฟูเศรษฐกจิของประเทศโดยการขยายการผลติภาคเกษตรปรบัปรงุโครงสรา้งอตุสาหกรรมเพือ่การ

ส่งออกการกระจายรายได้ประกอบกับการรักษาดุลการชำระเงินการขาดดุลงบประมาณเนื่องจากในแผนนี้

ใช้แนวคดิการวางแผนพฒันาระหวา่งสาขากนัดงันัน้การพฒันานอกจากเนน้ทางดา้นเศรษฐกจิแลว้ยงัให้ความ

สำคัญต่อการบูรณะและปรับปรุงการบริหารทรัพยากรหลักของชาติ รวมทั้งการนำทรัพยากรธรรมชาติมาใช้

ประโยชน์ เนื่องจากปัญหาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมไม่ใช่ปัญหาเฉพาะสาขาใดสาขาหนึ่ง แต่เป็น

ปัญหาที่เชื่อมโยงกันในหลายสาขาเศรษฐกิจในแผนพัฒนาฯฉบับที่4มีการนำแนวคิดทางด้านสาธารณสุข

มูลฐานเข้ามาเพื่อให้บรรลุถึงเป้าหมายสุขภาพดีถ้วนหน้าในปี2543

ผลการพัฒนาของแผนพัฒนาฯฉบับที่ 4 คือ อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจเฉลี่ยร้อยละ 7.1

ต่อปี แต่โครงสร้างการผลิตเปลี่ยนโดยเน้นการผลิตภาคอุตสาหกรรม มีผลทำให้ระดับรายได้เฉลี่ยต่อ

หัวของประชากรในสาขาเกษตรกรรมต่ำกว่ารายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ และต่ำกว่าระดับรายได้เฉลี่ยในสาขา

อุตสาหกรรมถึง 5 เท่าตัว และต่ำกว่าสาขาบริการ 2 เท่าตัว จากการที่เกิดภาวะวิกฤติราคาน้ำมันครั้งที่ 2

ประกอบกับประเทศไทยมีความจำเป็นจะต้องพึ่งพาพลังงานจากต่างประเทศในอัตราร้อยละ 75 ของการใช้

พลังงานทั้งหมดส่งผลทำให้ประเทศไทยขาดดุลการค้าปีละ45,000ล้านบาทหรือร้อยละ7.6ของGDPและ

อัตราเงินเฟ้อยังคงมีอัตราที่สูงเฉลี่ยร้อยละ11.6ต่อปี

4. แผนพฒันาเศรษฐกจิและสงัคมแหง่ชาติฉบบัที่5(พ.ศ.2525-2529)เป็นแผนชี้นำที่เน้นการปรับ

โครงสร้างและฟื้นฟูฐานะการเงินการคลังครั้งสำคัญของประเทศ เนื่องจากผลการพัฒนาประเทศที่ผ่านมา

ตั้งแต่แผนพัฒนาฯฉบับที่1-4ประเทศประสบผลสำเร็จทางด้านอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจในระดับที่

น่าพอใจแต่จำนวนประชากรที่มีฐานะยากจนในปี2524มีอัตราสูงถึงร้อยละ20.6ของประชากรทั้งประเทศ

มสธ มสธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ

4-34 สังคมไทยกับการบริหารการส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร

และพบว่าร้อยละ 93 ของประชากรที่ยากจนอาศัยอยู่ในเขตชนบทดังนั้นในแผนพัฒนาฯฉบับที่ 5 จึงมี

ความจำเป็นจะต้องปรับกลยุทธ์การพัฒนาใหม่โดยอาศัยกรอบแนวคิดการยึดพื้นที่เป็นหลัก (area-based

approach)และเปลีย่นจากการวางแผนแบบรายสาขาหรอืรายโครงการมาเปน็การจดัทำแผนงานและโครงการ

ซึ่งมีกิจกรรมเชื่อมโยงและส่งผลกระทบซึ่งกันและกันเพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการแปลงนโยบายและมาตรการ

สู่การปฏิบัติ โดยเฉพาะด้านการพัฒนาชนบทพื้นที่ชายฝั่งทะเลตะวันออก และการพัฒนาพื้นที่เศรษฐกิจ

ใหม่พร้อมทั้งเน้นการรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจการเงินโดยเร่งการระดมเงินออมมีการปรับโครงสร้าง

ทางเศรษฐกิจ เช่น การปรับโครงสร้างการเกษตร โครงสร้างอุตสาหกรรมเพื่อการส่งออกและการกระจาย

อุตสาหกรรมสู่ส่วนภูมิภาคมีการเน้นความสมดุลในการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจและสังคมในแผนนี้เป็นการ

เริ่มสนับสนุนการวางแผนจากล่างสู่บน(bottom-upplanning)รวมทั้งการปรับปรุงระบบการบริหารจัดการ

และทบทวนบทบาทของรัฐในการบริหารงานพัฒนา โดยการเน้นบทบาทและการระดมความร่วมมือจาก

ภาคเอกชน

ผลการพัฒนาของแผนพัฒนาฯฉบับที่5คือการที่ภาวะเศรษฐกิจและการเงินของโลกผันผวนค่อน

ข้างรุนแรง และภาวะเศรษฐกิจซบเซาติดต่อกันเป็นเวลานานประกอบกับประเทศอุตสาหกรรมเริ่มมีการใช้

นโยบายกีดกันทางการค้ามีผลทำให้รัฐบาลใช้มาตรการการเงินการคลังอย่างเข้มงวดมีการประกาศลดค่าเงิน

บาทในปีพ.ศ. 2527การที่ในช่วงปลายแผนนี้ราคาน้ำมันและอัตราดอกเบี้ยได้ลดลงจึงมีผลทำให้มีการฟื้นตัว

ทางเศรษฐกิจโดยที่อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจมีอัตราการขยายตัวเฉลี่ยร้อยละ4.4ต่อปีและดุลการค้า

และดุลบัญชีเดินสะพัดขาดดุลเฉลี่ยเพียง54พันล้านบาทและ34.9พันล้านบาทหรือร้อยละ5.6และร้อยละ

3.6ของGDPตามลำดับส่วนอัตราการออมมีอัตราที่ต่ำในขณะที่ประเทศมีความต้องการในการลงทุนดังนั้น

จึงมีความจำเป็นในการกู้เงินลงทุนจากต่างประเทศมากขึ้นส่งผลทำให้มีภาระหนี้ต่างประเทศเพิ่มมากขึ้น

5. แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 6 (พ.ศ. 2530-2534) เมื่อสิ้นสุดแผนพัฒนาฯ

ฉบับที่5กระบวนการวางแผนเริ่มมีการนำการวางแผนแบบแผนงาน(programmingapproach)มาใช้และ

มีการวางแผนจากล่างสู่บนมากขึ้นดังนั้นในแผนพัฒนาฯฉบับที่6ยังคงนำแนวคิดการวางแผนแบบแผนงาน

มาใช้อีกครั้งส่งผลทำให้การวางแผนรายสาขาลดความสำคัญลงในแผนพัฒนาฯฉบับนี้เน้นการขยายตัวทาง

เศรษฐกิจควบคู่กับการรักษาเสถียรภาพทางการเงินการคลังโดยเฉพาะการระดมเงินออมในประเทศมีการ

เน้นการใช้จ่ายภาครัฐให้มีประสิทธิภาพเน้นบทบาทของภาคเอกชนองค์กรประชาชนในท้องถิ่นในการพัฒนา

ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมมีการทบทวนบทบาทของรัฐในการพัฒนาประเทศ โดยปรับโครงสร้าง

การผลิตการตลาดของประเทศให้มีการกระจายมากขึ้นมีการพัฒนาเมืองและพื้นที่เฉพาะโดยการกระจาย

ความเจริญสู่ภูมิภาคมากขึ้น

ผลการพัฒนาของแผนพัฒนาฯฉบับที่ 6 คือ อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจเฉลี่ยร้อยละ 10.8

ต่อปี โครงสร้างทางเศรษฐกิจเป็นภาวะเศรษฐกิจเปิดมากขึ้น โดยมีสัดส่วนการค้าต่างประเทศสูงถึงร้อยละ

80ต่อGDPอัตราเงินเฟ้อณสิ้นแผน(พ.ศ.2534)มีอัตราร้อยละ5.7เมื่อเทียบกับร้อยละ2.5ในปีพ.ศ.

2530รายได้ต่อหัวของประชากรเพิ่มจาก21,000บาทต่อปีในพ.ศ.2529เป็น44,307บาทต่อปีในพ.ศ.

2534 แต่ปัญหาการกระจายรายได้ของประชากรมีมากขึ้น ช่องว่างการออมกับการลงทุนมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น

และมีปัญหาความเสื่อมโทรมของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมมากขึ้น

มสธ มสธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ

4-35แนวคิดการพัฒนาเศรษฐกิจ

6. แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 7 (พ.ศ. 2535-2539) เป็นระยะที่สถานการณ์

ด้านการเมืองเริ่มเข้าสู่ยุคประชาธิปไตยผู้กำหนดนโยบายมาจากการเลือกตั้งมากขึ้นกระแสโลกเริ่มเปลี่ยน

เข้าสู่ยุคโลกาภิวัตน์ทำให้แนวคิดการวางแผนเริ่มเห็นความจำเป็นในการกำหนดแนวความคิด“การพัฒนา

แบบยั่งยืน”จึงมีการกำหนดวัตถุประสงค์หลักของการพัฒนาที่เน้นการสร้างความสมดุลสามด้านได้แก่

6.1 การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่องและมีเสถียรภาพโดยการดำเนินนโยบายการ

เงินการคลังการพัฒนาตลาดทุนการพัฒนาการเกษตรโดยการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและปรับโครงสร้าง

การผลิต การพัฒนาอุตสาหกรรมการค้า และการลงทุนเน้นการสร้างโอกาสในการแข่งขันกับต่างประเทศ

รวมถึงมีการพัฒนาและการนำวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีที่เหมาะสมมาใช้

6.2 การกระจายรายได้และกระจายความเจริญไปสู่ภูมิภาคและชนบท โดยใช้มาตรการทาง

ดา้นภาษีและรายจา่ยของรฐับาลพรอ้มทัง้มีการกระจายอำนาจทางการคลงัสู่จงัหวดัและทอ้งถิน่มีการกระจาย

การถือครองทรัพย์สินด้วยการเร่งรัดการปฏิรูปที่ดินการออกเอกสารสิทธิ์ที่ดินสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยมีการ

ปรับโครงสร้างการผลิตด้านเกษตรกรรมอุตสาหกรรมสู่ภูมิภาคมากขึ้น มีการพัฒนาเมืองศูนย์กลางความ

เจริญในภูมิภาคเพื่อเป็นฐานทางด้านเศรษฐกิจและการจ้างงาน

6.3 การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์คุณภาพชีวิตและสิ่งแวดล้อมโดยเน้นการพัฒนาทรัพยากร

มนุษย์ทางด้านการศึกษา สาธารณสุข การพัฒนาจิตใจ วัฒนธรรมและสังคม มีการพัฒนาคุณภาพ

สิ่งแวดล้อมควบคู่ไปกับการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมพร้อมทั้งมีการปรับปรุงระบบการบริหารจัดการ

ทางด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

ในการพัฒนาเพื่อให้เกิดความสมดุลทั้งสามด้านจำเป็นจะต้องมีการปรับปรุงและพัฒนากฎระเบียบ

ของภาครัฐบาล โดยมีการปรับปรุงกฎหมายการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ โดยการลดบทบาทของภาครัฐและ

ส่งเสริมบทบาทของภาคเอกชนการพัฒนาระบบราชการให้มีขนาดเล็กกะทัดรัดแต่มีคุณภาพจากการพัฒนา

ในช่วงแผนพัฒนาฯฉบับที่ 7มีผลดังนี้ อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจยังคงมีอัตราการขยายตัวที่สูงโดย

เฉลี่ยร้อยละ7.8ต่อปีรายได้ต่อหัวเพิ่มขึ้นจาก49,410บาทต่อปีในปี2535เป็น76,804บาทต่อปีในปี2539

มีช่องว่างของรายได้ระหว่างภูมิภาคมากขึ้น โดยที่รายได้ต่อหัวของประชากรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

มีระดับรายได้ต่ำกว่าระดับรายได้ของประชากรในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลถึง12เท่าการพัฒนา

ที่มุ่งเน้นการแข่งขันตามกระแสโลกาภิวัตน์มีผลทำให้สังคมไทยมีความเป็นวัตถุนิยมมากขึ้น มีปัญหา

ย่อหย่อนในศีลธรรมการขาดระเบียบวินัยการเอารัดเอาเปรียบวิถีชีวิตและค่านิยมดั้งเดิมโดยเฉพาะสถาบัน

ครอบครวัชมุชนวฒันธรรมทอ้งถิน่เริม่จางหายไปสว่นชมุชนเมอืงเกดิความแออดัสภาวะแวดลอ้มเสือ่มโทรม

ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสื่อมโทรม โดยพื้นที่ป่าไม้ถูกทำลายปีละ 1 ล้านไร่ ที่ดินมีการชะล้าง

พังทลาย รวมถึงคุณภาพอากาศฝุ่นละออง เสื่อมมากขึ้น ซึ่งจากผลการพัฒนาในระยะดังกล่าว สรุปได้ว่า

“เศรษฐกิจดีสังคมมีปัญหาการพัฒนาไม่ยั่งยืน”

7. แผนพฒันาเศรษฐกจิและสงัคมแหง่ชาติฉบบัที่8(พ.ศ.2540-2544)สืบเนื่องจากผลการพัฒนา

ในอดีตประเทศไทยประสบผลสำเร็จในการพัฒนาเศรษฐกิจแต่มีปัญหาสังคมตามมาประกอบกับปัญหาทาง

ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมมีการเสื่อมโทรมมากขึ้นดังนั้นกระบวนการพัฒนาในแผนพัฒนาฯ

มสธ มสธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ

4-36 สังคมไทยกับการบริหารการส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร

ฉบับที่ 8 เปลี่ยนกระบวนทัศน์การพัฒนาใหม่ โดยเน้นให้คนเป็นศูนย์กลางของการพัฒนา โดยการพัฒนา

เศรษฐกิจเป็นเพียงเครื่องมือหนึ่งในการพัฒนาคนและเสริมสร้างศักยภาพของคนและสภาพแวดล้อมทาง

สังคมเพื่อความอยู่ดีมีสุขของประชาชนตลอดจนการดูแลผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับคนและสังคม โดยการ

วางแผนที่ใช้กระบวนการระดมความคิดเห็นจากประชาชนที่มีสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจ

และสังคมแห่งชาติทำหน้าที่ในการประสานร่วมกับคณะกรรมการประสานงานองค์กรพัฒนาเอกชน (กป.

อพช.)และผู้ทรงคุณวุฒิทางด้านสังคมโดยใช้เทคนิคในการระดมความคิดพลังสร้างสรรค์(Appreciation–

Influence–Control:AIC) ซึ่งเป็นการวางแผนที่ให้ประชาชนเป็นผู้กำหนดแทนที่รัฐจะเป็นผู้กำหนดแบบ

ดั้งเดิม เป็นความสัมพันธ์รัฐกับประชาชนและมีแนวคิดการวิเคราะห์ปัญหาแบบองค์รวม (holistic) และ

การวางแผนแบบผสมผสาน(integration)นอกจากมีการเปลี่ยนแปลงในกระบวนการการวางแผนแล้วยังมี

การเปลี่ยนแปลงในวิธีแผนปฏิบัติการและแผนงบประมาณโดยใช้หลักการประสานพื้นที่ ภารกิจและการมี

ส่วนร่วมของประชาชน(Area-Function-Participation:AFP)เพื่อลดปัญหาความซ้ำซ้อนในการวางแผน

อีกทั้งเป็นการมุ่งเน้นการรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจมากกว่าการขยายตัวทางเศรษฐกิจในระดับสูงเช่นใน

อดีตการเปลี่ยนแปลงในกระบวนการพัฒนาดังกล่าวแล้วจะเห็นว่าแผนพัฒนาฯฉบับนี้เปลี่ยนแผนชี้ทิศทาง

การพัฒนาในอนาคตซึ่งเป็นการพัฒนาแบบองค์รวม รวมถึงการสร้างดัชนีชี้วัดในการติดตามประเมินผล

5ระดับได้แก่ดัชนีชี้วัดผลกระทบขั้นสุดท้ายของการพัฒนาดัชนีชี้วัดประสิทธิผลของการพัฒนาเฉพาะดัชนี

ชี้วัดประสิทธิผลของยุทธศาสตร์การพัฒนา ดัชนีชี้วัดประสิทธิผลขององค์กรที่ดำเนินงานพัฒนา และ

สถานการณ์ที่เป็นจริงในด้านต่างๆ สิ่งที่มีความสำคัญในแผนพัฒนาฉบับนี้มีการกำหนดแนวทางสู่การปฏิบัติ

โดยกำหนดให้หน่วยงานหลักในการวางแผนระดับชาติมีการปรับบทบาทและกลไกดำเนินงาน ซึ่งประกอบ

ด้วย5หน่วยงานหลักได้แก่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเป็นหน่วยงาน

ทางด้านการจัดทำแผน สำนักงบประมาณเป็นหน่วยงานวางแผนทางด้านงบประมาณแผ่นดิน สำนักงาน

คณะกรรมการข้าราชการพลเรือนเป็นหน่วยงานวางแผนทางด้านกำลังคน สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน

เป็นหน่วยงานทำหน้าที่ในการตรวจสอบและสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเป็นหน่วยงานที่ทำหน้าที่ใน

การดูแลทางด้านกฎหมาย

ผลการพัฒนาในช่วงสองปีแรกของแผนพัฒนาฯฉบับที่ 8 เนื่องจากในปลายปี พ.ศ. 2540 เกิด

วิกฤติการณ์ทางการเงินที่ส่งผลกระทบต่อเสถียรภาพทางเศรษฐกิจของประเทศอันนำไปสู่การขอรับความ

ช่วยเหลือทางวิชาการและการเงินจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ และรับจะปฏิบัติตามแผนพื้นฟู

เศรษฐกิจที่ตกลงร่วมกันนอกจากนี้วิกฤติเศรษฐกิจดังกล่าวส่งผลกระทบต่อการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์

และแนวทางการพัฒนาตามแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8 คณะรัฐมนตรีจึงมีมติ เมื่อวันที่ 19 สิงหาคม 2540

มอบหมายให้สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติพัฒนาแผนพัฒนาฯฉบับที่8

ให้สอดคล้องกับเป้าหมายทางด้านมหภาคที่ได้ตกลงกับกองทุนการเงินระหว่างประเทศแต่ยังคงยึดปรัชญา

และยุทธศาสตร์ของแผนพัฒนาฯฉบับที่ 8 แต่มีการปรับเป้าหมายบางเรื่องให้สอดคล้องกับเงื่อนไขและ

สถานการณ์ที่เปลี่ยนไปโดยเสนอให้มีการเร่งรัดแนวทางที่มีการชี้นำไว้แล้วในแผนพัฒนาฯฉบับที่8รวมทั้ง

เพิ่มเติมแนวทางใหม่ๆเพื่อแก้ปัญหาวิกฤติเศรษฐกิจและบรรเทาผลกระทบที่มีต่อคนพร้อมทั้งปูพื้นฐานการ

ฟื้นฟูและพัฒนาประเทศในระยะต่อไป

มสธ มสธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ

4-37แนวคิดการพัฒนาเศรษฐกิจ

8. แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่9(พ.ศ.2545-2549)จากการเปลี่ยนแปลงทาง

เศรษฐกิจและสังคมอย่างรวดเร็วจึงมีความจำเป็นจะต้องมีการปรับกระบวนการวางแผนพัฒนาประเทศสู่การ

พัฒนาซึ่งการพัฒนาที่ยั่งยืนจำเป็นจะต้องใช้ประโยชน์จากทรัพยากรมนุษย์อย่างเต็มที่การที่จะใช้ทรัพยากร

อย่างมีประสิทธิภาพจึงมีความจำเป็นจะต้องมีการปรับปรุงคุณภาพชีวิตของมนุษย์ไปพร้อมๆกับการปรับ

โครงสร้างทางเศรษฐกิจและสังคม ซึ่งการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เพื่อไปสู่การผลิตสินค้าและบริการที่มี

คุณภาพให้สามารถแข่งขันในตลาดโลกได้ และเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีที่ทันสมัยทั้งทาง

ด้านการอุตสาหกรรมและบริการการวางแผนพัฒนาประเทศจะต้องมีการระดมความมีส่วนร่วมขององค์กร

ต่างๆ แนวทางการวางแผนพัฒนาประเทศจะเป็นแผนการพัฒนาที่กำหนดบทบาทหน้าที่(roleplans)ซึ่งเป็น

กรอบแนวทางการพัฒนาในช่วงแผนพัฒนาฯฉบับที่9เป็นกรอบแนวทางการพัฒนาที่มาจากการระดมความ

คิดของประชาชนในระดับจังหวัดและระดับอนุภาคทั่วประเทศซึ่งการพัฒนาประเทศจะต้องคำนึงถึงความ

สอดคลอ้งกบักระแสการเปลีย่นแปลงตา่งๆ ทัง้ภายในและภายนอกที่จะมีผลตอ่การกำหนดทศิทางการพฒันา

ดังนั้นจึงเป็นการมุ่งรักษาสมดุลระหว่างการเป็นสังคมที่เปิดสู่โลกภายนอกและการรักษาเอกลักษณ์ดั้งเดิม

ที่ดีงามของสังคมไทยกรอบแนวทางการพัฒนามีประเด็นที่สำคัญดังนี้

8.1 จุดมุ่งหมายหลักของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 ควรเป็นแผนยุทธศาสตร์กว้าง ๆ ที่ชี้นำ

การพัฒนาประเทศในระยะ20–30ปีดังนั้นจำเป็นต้องมุ่งเน้นการพัฒนาที่ยั่งยืนและความอยู่ดีมีสุขของคน

ไทย โดยให้ความสำคัญกับการพัฒนาแบบองค์รวมที่ยึดคนเป็นศูนย์กลางของการพัฒนามีการพัฒนาทุก

มิติ (comprehensive planning) และมีการเชื่อมโยงสัมพันธ์กันอย่างมีดุลยภาพทุกด้านทั้งการพัฒนา

เศรษฐกิจสังคมการเมืองและสิ่งแวดล้อม

8.2 แนวคดิปรชัญาหลกัของแผนพฒันาฯฉบบัที่9โดยยดึหลกัการพฒันาแบบองค์รวมที่ยดึ

คนเป็นศูนย์กลางของการพัฒนาอันต่อเนื่องจากแผนพัฒนาฯฉบับที่8และมีการยึดหลักปรัชญาเศรษฐกิจ

พอเพียงเป็นแนวคิดพื้นฐานการพัฒนาด้านต่างๆหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเป็นการดำเนินการในทาง

สายกลางที่อยู่บนพื้นฐานความพอดีเน้นการพึ่งตนเองขณะเดียวกันให้ก้าวทันโลกในยุคโลกาภิวัตน์ความ

พอเพียงที่เน้นการผลิตและบริโภคอยู่บนความพอประมาณและมีเหตุผล

8.3 สงัคมไทยที่พงึปรารถนาในอนาคตเพือ่ให้สอดคลอ้งกบักระแสการเปลีย่นแปลงทัง้ภายใน

และภายนอกประเทศ จึงมีความจำเป็นจะต้องมีการจัดระเบียบเศรษฐกิจและสังคมของประเทศให้พร้อม

รองรับสถานการณ์ในอนาคตโดยมุ่งเน้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลงและสร้างคุณค่าที่ดีในสังคมไทยเพื่อพัฒนา

สู่สังคมที่เข้มแข็งและมีดุลยภาพในสามด้านดังนี้

1) สังคมคุณภาพที่ยึดหลักความสมดุลพอดีและพึ่งตนเองได้โดยสร้างคนดีคนเก่ง

ที่มีความรบัผดิชอบพรอ้มดว้ยคณุธรรมครอบครวัอบอุน่ชมุชนเขม้แขง็เมอืงนา่อยู่การพฒันามีความสมดลุ

กับทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเศรษฐกิจมีเสถียรภาพเข้มแข็งและแข่งขันได้มีการกระจายรายได้

อย่างเป็นธรรมมีระบบการเมืองการปกครองที่ดีโปร่งใสตรวจสอบได้

2) สังคมแห่งภูมิปัญญาและการเรียนรู้ที่จะต้องสร้างโอกาสและพัฒนากระบวนการ

เรียนรู้ให้คนไทยทุกคนคิดเป็นทำเป็น เรียนรู้ที่จะพัฒนาตนเองให้ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง เสริมสร้างฐานทาง

มสธ มสธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ

4-38 สังคมไทยกับการบริหารการส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร

วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีควบคู่ไปกับการรักษาภูมิปัญญาท้องถิ่น ตลอดจนมีการพัฒนาระบบการเข้าถึง

ข้อมูลข่าวสารและวิทยาการสมัยใหม่

3) สงัคมสมานฉนัท์และเอือ้อาทรตอ่กนัที่มีการดำรงไว้ซึง่คณุคา่เอกลกัษณ์วฒันธรรม

ไทยที่เกื้อกูลและพึ่งพากันรักษาไว้ซึ่งสถาบันครอบครัวพัฒนาเครือข่ายชุมชนเข้มแข็งมีการสร้างจิตสำนึก

ใหม่ ทัศนคติ ค่านิยมของสังคมที่คำนึงประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าส่วนตัว ตลอดจนมีการดูแลช่วยเหลือ

ผู้ด้อยโอกาสและคนยากจนในสังคมเพื่อสร้างความเป็นธรรมในสังคม

ดังนั้นการวางแผนพัฒนาระดับชาติในอนาคตเป็นการพัฒนาที่ยึดหลักการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์

เป็นศูนย์กลางซึ่งเป็นแนวทางเดียวกับระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยที่ให้ความสำคัญต่อการพัฒนา

ประชาชนเพื่อประชาชนโดยประชาชนดังนั้นยุทธศาสตร์การพัฒนาควรที่จะต้องปรับระบบสภาพแวดล้อมให้

เอื้ออำนวยต่อการพัฒนาคนในอนาคตดังนั้นจึงมีการปรับเปลี่ยนกลไกการบริหารภาครัฐจากการสั่งการและ

การควบคุม(commandandcontrol)เป็นการประสานให้ความร่วมมือ(collaboration)และเป็นผู้อำนวย

ความสะดวก(facilitator)

9. แผนพฒันาเศรษฐกจิและสงัคมแหง่ชาติฉบบัที่10(พ.ศ.2550-2554)ในระยะของแผนพัฒนาฯ

ฉบับนี้ประเทศไทยยังคงต้องเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญในหลายบริบททั้งที่เป็นโอกาสและข้อจำกัด

ต่อการพัฒนาประเทศ จึงต้องมีการเตรียมความพร้อมของคนและระบบให้สามารถปรับตัวพร้อมรับการ

เปลี่ยนแปลงในอนาคตและแสวงหาประโยชน์อย่างรู้เท่าทันโลกาภิวัตน์และสร้างภูมิคุ้มกันให้กับทุกภาคส่วน

ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

ในช่วงแผนพัฒนาฯฉบับที่ 10นั้น ประเทศไทยยังต้องเผชิญกับบริบทการเปลี่ยนแปลงของโลก

ในหลายด้านที่สำคัญ ซึ่งมีผลกระทบทั้งที่เป็นโอกาสและข้อจำกัดต่อการพัฒนาประเทศเป็นอย่างมาก ซึ่ง

แนวโน้มของบริบทการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญมี5บริบทดังนี้

1) การรวมตัวของกลุ่มเศรษฐกิจและการเปลี่ยนแปลงในตลาดการเงินของโลก ทำให้การ

เคลื่อนย้ายเงินทุน สินค้า และบริการ รวมทั้งคนในระหว่างประเทศมีความคล่องตัวมากขึ้น ประกอบกับ

การก่อตัวของศตวรรษแห่งเอเชียที่มีจีนและอินเดียเป็นตัวจักรสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจโลกส่งผล

ให้ประเทศไทยต้องดำเนินนโยบายการค้าในเชิงรุก ทั้งการหาตลาดเพิ่มและการผลักดันให้ผู้ผลิตในประเทศ

ปรับตัวให้สามารถแข่งขันได้บนฐานความรู้ ฐานทรัพยากรธรรมชาติและความเป็นไทย นอกจากนั้นปัญหา

ความไม่สมดุลทางเศรษฐกิจของโลกที่สะสมมานานและการขยายตัวของกองทุนประกันความเสี่ยงจะสร้าง

ความผันผวนต่อระบบการเงินของโลก จึงมีความจำเป็นต้องยกระดับการกำกับดูแลการเคลื่อนย้ายเงินทุน

ระหว่างประเทศและการเตรียมความพร้อมต่อการผันผวนของค่าเงินและอัตราดอกเบี้ยในตลาดโลก

2) การเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีอย่างก้าวกระโดด ความก้าวหน้าอย่างรวดเร็วของ

เทคโนโลยีสารสนเทศ เทคโนโลยีชีวภาพ เทคโนโลยีวัสดุ และนาโนเทคโนโลยี สร้างความเปลี่ยนแปลงทั้ง

ดา้นเศรษฐกจิและสงัคมทัง้ในดา้นโอกาสและภยัคกุคามจงึจำเปน็ตอ้งเตรียมพรอ้มให้ทนัตอ่การเปลีย่นแปลง

ของเทคโนโลยีดังกล่าวในอนาคต โดยจะต้องมีการบริหารจัดการองค์ความรู้อย่างเป็นระบบทั้งการพัฒนา

หรือสร้างองค์ความรู้ รวมถึงการประยุกต์เทคโนโลยีที่เหมาะสมมาผสมผสานร่วมกับจุดแข็งในสังคมไทย

มสธ มสธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ

4-39แนวคิดการพัฒนาเศรษฐกิจ

อาทิสร้างความเชื่อมโยงเทคโนโลยีกับวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อสร้างคุณค่าเพิ่มให้กับสินค้าและ

บริการมีการบริหารจัดการลิขสิทธิ์และสิทธิบัตรและการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาอย่างมีประสิทธิภาพ

รวมทั้งแบ่งปันผลประโยชน์ที่เป็นธรรมกับชุมชน

3) การเปลี่ยนแปลงด้านสังคม ปัจจุบันประเทศที่พัฒนาแล้วหลายประเทศกำลังเข้าสู่สังคม

ผู้สูงอายุ ซึ่งเป็นทั้งโอกาสและภัยคุกคามต่อประเทศไทย โดยด้านหนึ่งประเทศไทยจะมีโอกาสมากขึ้นใน

การขยายตลาดสินค้าเพื่อสุขภาพและการให้บริการด้านอาหารสุขภาพภูมิปัญญาท้องถิ่นและแพทย์พื้นบ้าน

สถานที่ท่องเที่ยวและการพักผ่อนระยะยาวของผู้สูงอายุ จึงนับเป็นโอกาสในการพัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่น

ของไทยและนำมาสร้างมูลค่าเพิ่มซึ่งจะเป็นสินทรัพย์ทางปัญญาที่สร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจได้แต่ในอีกด้าน

ก็จะเป็นภัยคุกคามในเรื่องการเคลื่อนย้ายแรงงานที่มีฝีมือและทักษะไปสู่ประเทศที่มีผลตอบแทนสูงกว่า

ขณะเดียวกัน การแพร่ขยายของข้อมูลข่าวสารที่ไร้พรมแดนทำให้การดูแลและป้องกันเด็กและวัยรุ่นจาก

คา่นยิมที่ไม่พงึประสงค์เปน็ไปอยา่งลำบากมากขึน้ตลอดจนปญัหาการกอ่การรา้ยการระบาดของโรคพนัธุกรรม

ใหม่ๆและการค้ายาเสพติดในหลากหลายรูปแบบ

4) การเคลื่อนย้ายของคนอย่างเสรีความก้าวหน้าของเทคโนโลยีการขนส่งและกระแส

โลกาภิวตัน์สง่ผลให้มีการเดนิทางทัง้เพือ่การทอ่งเทีย่วและการทำธรุกจิในที่ตา่งๆทัว่โลกมากขึน้รวมทัง้สงัคม

และเศรษฐกิจฐานความรู้ ทำให้ประเทศต่าง ๆตระหนักถึงความสำคัญของบุคลากรที่มีองค์ความรู้สูงต่อ

ขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศในขณะที่กฎระเบียบที่เกี่ยวกับการรวมตัวของกลุ่มเศรษฐกิจ

มุ่งสู่การส่งเสริมให้มีการเคลื่อนย้ายแรงงานและผู้ประกอบการเพื่อไปทำงานในต่างประเทศได้สะดวกขึ้น

ดงันัน้ประเทศไทยจงึตอ้งคำนงึถงึมาตรการทัง้ดา้นการสง่เสรมิคนไปทำงานตา่งประเทศการดงึดดูคนตา่งชาติ

เข้ามาทำงานในประเทศและมาตรการรองรับผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น โดยเฉพาะปัญหาที่จะมีผลกระทบต่อ

ความมั่นคงของคนในเชิงสุขภาพและความปลอดภัยในชีวิตทรัพย์สิน

5) การเปลี่ยนแปลงด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จำนวนประชากรในโลกที่มาก

ขึ้นสร้างแรงกดดันต่อทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของโลกให้เสื่อมโทรมลงส่งผลกระทบต่อความ

แปรปรวนของสภาพภูมิอากาศและการเกิดภัยธรรมชาติบ่อยครั้งขึ้นรวมทั้งการเกิดการระบาดและแพร่เชื้อ

โรคที่มีรหัสพันธุกรรมใหม่ๆเป็นเหตุให้เกิดเป็นข้อตกลงระหว่างประเทศและสนธิสัญญาเพื่อให้มีการดูแล

ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมโลกในประเด็นต่างๆร่วมกันอาทิอนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลาย

ทางชีวภาพอนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศซึ่งชนิดพันธุ์สัตว์ป่าและพืชป่าที่ใกล้จะสูญพันธุ์ เป็นต้น

นอกจากนั้น การกีดกันทางการค้าที่เชื่อมโยงกับประเด็นด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมก็มีมาก

ขึ้นประเทศไทยจึงต้องยกระดับมาตรฐานการจัดการสิ่งแวดล้อมให้ดีขึ้นกว่าเดิม โดยปกป้องฐานทรัพยากร

เพื่อรักษาความสมดุลยั่งยืนของระบบนิเวศ ด้วยการพัฒนาระบบบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติให้มี

ประสิทธิภาพสูงสุดภายใต้กระบวนการมีส่วนร่วม และปรับรูปแบบการผลิตสินค้าและบริการที่เป็นมิตรกับ

สิ่งแวดล้อมมากขึ้น ขณะเดียวกันต้องเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานและพัฒนาพลังงานทางเลือก เพื่อ

รองรับความต้องการใช้พลังงานในประเทศ

มสธ มสธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ

4-40 สังคมไทยกับการบริหารการส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร

ประเทศไทยอยู่ในกลุ่มประเทศที่มีการพัฒนาคนระดับกลางและมีแนวโน้มการพัฒนาคนเพิ่มขึ้น

อย่างต่อเนื่องโดยค่าดัชนีการพัฒนาคนของประเทศไทยในปี2548เท่ากับ0.778อยู่ในลำดับ73จาก177

ประเทศซึ่งสูงกว่าจีนและเวียดนามแต่ต่ำกว่าญี่ปุ่นเกาหลีและสิงคโปร์สำหรับการพัฒนาคุณภาพคนด้าน

การศึกษาขยายตัวเชิงปริมาณอย่างรวดเร็ว โดยจำนวนปีการศึกษาเฉลี่ยของคนไทยเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

เป็น8.5ปีในปี2548และมีคนไทยที่คิดเป็นทำเป็นร้อยละ60ของประชากรส่วนการขยายโอกาสการเรียนรู้

ตลอดชีวิตมีมากขึ้น แต่ความสามารถในการเรียนรู้โดยเชื่อมโยงนำความรู้ไปปรับใช้ของคนไทยยังอยู่ใน

ระดับต่ำ คุณภาพการศึกษายังไม่เพียงพอในการปรับตัวเท่าทันการเปลี่ยนแปลงและเข้าสู่สังคมเศรษฐกิจ

ฐานความรู้จึงเป็นประเด็นที่ต้องเร่งให้ความสำคัญระยะต่อไปแม้การศึกษาของแรงงานไทยที่จบการศึกษา

สูงกว่าระดับประถมศึกษาเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ39.8ในปี2548แต่ประสิทธิภาพการผลิตของแรงงานไทยยังต่ำ

เมื่อเทียบกับประเทศมาเลเซียเกาหลีสิงคโปร์ไต้หวันและญี่ปุ่นตลอดทั้งกำลังคนระดับกลางและระดับสูง

ยังขาดแคลนทั้งปริมาณและคุณภาพและยังมีการลงทุนด้านวิจัยและพัฒนาเพียงร้อยละ0.26ต่อผลิตภัณฑ์

มวลรวมในประเทศต่ำกว่าค่าเฉลี่ยถึง7เท่าตลอดจนการนำองค์ความรู้ไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ยังอยู่

ในระดับต่ำจึงเป็นจุดอ่อนของไทยในการสร้างองค์ความรู้นวัตกรรมรวมทั้งการวิจัยเพื่อพัฒนาประเทศและ

เป็นจุดฉุดรั้งการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันต่างประเทศ

ขณะเดียวกันคนไทยกำลังประสบปัญหาวิกฤติค่านิยมที่เป็นผลกระทบจากการเลื่อนไหลทาง

วัฒนธรรมต่างชาติเข้าสู่ประเทศทั้งทางสื่อสารมวลชนและเทคโนโลยีสารสนเทศ โดยขาดการคัดกรองและ

เลอืกรบัวฒันธรรมที่ดีงามทำให้คณุธรรมและจรยิธรรมของคนไทยลดลงโดยเฉพาะเดก็และเยาวชนเนือ่งจาก

วถิีชวีติที่เปลีย่นไปทำให้สถาบนัครอบครวัสถาบนัการศกึษาและสถาบนัศาสนามีบทบาทในการอบรมเลีย้งด ู

ให้ความรู้ ปลูกฝังศีลธรรมให้มีคุณภาพและจริยธรรมลดน้อยลง นำไปสู่ค่านิยมและพฤติกรรมที่เน้น

วัตถุนิยมและบริโภคนิยมเพิ่มมากขึ้น ในด้านสุขภาวะคนไทยได้รับหลักประกันสุขภาพอย่างทั่วถึงร้อยละ

96.3 ในปี 2548 การเจ็บป่วยโดยรวมลดลงเหลือ 1,798.1 ต่อประชากรพันคนในปี 2547 อย่างไรก็ตาม

คนไทยยังเผชิญกับการเจ็บป่วยด้วยโรคที่ป้องกันได้ที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง รวมทั้งโรคอุบัติใหม่หรือ

โรคระบาดซ้ำที่เป็นผลกระทบจากกระแสโลกาภิวัตน์ ส่วนหลักประกันทางสังคมยังไม่ครอบคลุมแรงงาน

นอกระบบและกลุ่มผู้ด้อยโอกาสอย่างทั่วถึง และคนไทยต้องเผชิญกับความเสี่ยงในด้านความปลอดภัยใน

ชีวิตและทรัพย์สินสูงขึ้น

ในช่วงแผนพัฒนาฯฉบับที่ 10นั้น เศรษฐกิจของประเทศไทยมีการเติบโตอย่างต่อเนื่องในอัตรา

เฉลี่ยร้อยละ5.7ต่อปีในช่วงปีพ.ศ.2545-2548และจัดอยู่ในกลุ่มประเทศที่มีรายได้ปานกลางโดยมีขนาด

ทางเศรษฐกิจใหญ่เป็นลำดับที่ 20 จากจำนวน 192ประเทศในโลก โดยยังคงมีบทบาททางการค้าระหว่าง

ประเทศ และรักษาส่วนแบ่งการตลาดไว้ได้ในขณะที่การแข่งขันเพิ่มสูงขึ้น ตลอดทั้งการพัฒนาเศรษฐกิจ

ฐานความรู้ของประเทศไทยปรับตัวดีขึ้น ขณะที่โครงสร้างการผลิตมีจุดแข็งที่มีฐานการผลิตที่หลากหลาย

ช่วยลดความเสี่ยงจากภาวะผันผวนของวัฏจักรเศรษฐกิจและสามารถสร้างความเชื่อมโยงระหว่างภาคการ

ผลิตเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มได้มากขึ้น อย่างไรก็ตามเศรษฐกิจไทยมีจุดอ่อนในเชิงโครงสร้างที่ต้องพึ่งพิงการ

นำเข้าวัตถุดิบชิ้นส่วนพลังงานเงินทุนและเทคโนโลยีในสัดส่วนที่สูงโดยผลิตภาพการผลิตยังต่ำการผลิต

มสธ มสธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ

4-41แนวคิดการพัฒนาเศรษฐกิจ

อาศัยฐานทรัพยากรมากกว่าองค์ความรู้มีการใช้ทรัพยากรเพื่อการผลิตและบริโภคอย่างสิ้นเปลืองทำให้เกิด

ปัญหาสภาพแวดล้อมและผลกระทบในด้านสังคมตามมาโดยไม่ได้มีการสร้างภูมิคุ้มกันอย่างเหมาะสมส่วน

โครงสร้างพื้นฐานด้านขนส่งและโลจิสติกส์ยังขาดประสิทธิภาพและการเชื่อมโยงที่เป็นระบบทำให้มีต้นทุนสูง

ถึงร้อยละ16ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศอีกทั้งภาคขนส่งยังมีสัดส่วนการใช้พลังงานเชิงพาณิชย์สูงถึง

ร้อยละ38นอกจากนี้โครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและสื่อสารและน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภค

ยงัไม่กระจายไปสู่พืน้ที่ชนบทอยา่งเพยีงพอและทัว่ถงึสว่นโครงสรา้งพืน้ฐานดา้นวทิยาศาสตร์เทคโนโลยีและ

นวัตกรรมของไทยต่างอยู่ในระดับต่ำและตกเป็นรองประเทศเพื่อนบ้านที่เป็นคู่แข่งทางการค้า

อย่างไรก็ดีประเทศไทยมีจุดแข็งอยู่ที่การมีเสถียรภาพเศรษฐกิจในระดับที่ดีจากการดำเนินนโยบาย

เพื่อฟื้นฟูเสถียรภาพเศรษฐกิจของประเทศภายหลังวิกฤติเศรษฐกิจ ทำให้เสถียรภาพทางเศรษฐกิจของ

ประเทศในปัจจุบันอยู่ในเกณฑ์ดีโดยณสิ้นปี2548อัตราการว่างงานเฉลี่ยร้อยละ2และทุนสำรองเงินตรา

ระหว่างประเทศอยู่ในระดับ 52.1พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งนับว่าเป็นระดับที่มีความเพียงพอในการเป็น

ภูมิคุ้มกันความเสี่ยงจากภายนอกอย่างไรก็ตามราคาน้ำมันที่เพิ่มสูงขึ้นมากตั้งแต่ปลายปีพ.ศ. 2547และ

ต่อเนื่องจนถึงปัจจุบันส่งผลให้ดุลการค้าดุลบัญชีเดินสะพัดขาดดุลเพิ่มขึ้นสะท้อนถึงปัญหาความอ่อนแอ

ในเชิงโครงสร้างที่พึ่งพิงภายนอกมากเกินไปรวมทั้งประเทศไทยยังมีฐานะการออมที่ต่ำกว่าการลงทุนจึงต้อง

พึ่งพิงเงินทุนจากต่างประเทศทำให้ประเทศมีความเสี่ยงจากการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดและจากการเคลื่อน

ย้ายเงินทุนระหว่างประเทศจึงมีความจำเป็นต้องพัฒนาระบบภูมิคุ้มกันทางเศรษฐกิจภายใต้เงื่อนไขบริบท

โลกที่มีการเคลื่อนย้ายอย่างเสรีของคนองค์ความรู้เทคโนโลยีเงินทุนสินค้าและบริการ

สำหรับการพัฒนาเพื่อเสริมสร้างความเป็นธรรมทางเศรษฐกิจและการแก้ไขปัญหาความยากจนมี

ส่วนช่วยให้ความยากจนลดลงตามลำดับและการกระจายรายได้ปรับตัวดีขึ้นอย่างช้าๆ ในปี2547มีจำนวน

ประชาชนที่ยังอยู่ภายใต้เส้นความยากจนซึ่งเป็นระดับรายได้ 1,242บาทต่อเดือนอยู่จำนวน 7.34 ล้านคน

คิดเป็นร้อยละ11.3ของประชากรทั้งประเทศสำหรับการกระจายรายได้ปรับตัวดีขึ้นอย่างช้าๆโดยค่าดัชนี

จีนี่(Ginicoefficient)ของประเทศไทยเท่ากับ0.499ลดลงต่อเนื่องจาก0.525ในปี2543และ0.501ใน

ปี2545แต่อย่างไรก็ตามการแก้ปัญหาการกระจายรายได้ต้องได้รับลำดับความสำคัญเนื่องจากเมื่อเปรียบ

เทียบกับประเทศอื่นๆแล้วการกระจายรายได้ในประเทศไทยยังมีความเท่าเทียมน้อยกว่าหลายประเทศ

10. แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่11(พ.ศ.2555-2559)การพัฒนาในระยะแผน

พัฒนาฯฉบับที่ 11 ประเทศไทยจะต้องเผชิญกับกระแสการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญทั้งภายนอกและภายใน

ประเทศที่ปรับเปลี่ยนเร็วและซับซ้อนมากยิ่งขึ้น เป็นทั้งโอกาสและความเสี่ยงต่อการพัฒนาประเทศ โดย

เฉพาะข้อผูกพันที่จะเป็นประชาคมอาเซียนในปี 2558 จึงจำเป็นต้องนำภูมิคุ้มกันที่มีอยู่ พร้อมทั้งเร่งสร้าง

ภูมิคุ้มกันในประเทศให้เข้มแข็งขึ้นมาใช้ในการเตรียมความพร้อมให้แก่คนสังคมและระบบเศรษฐกิจของ

ประเทศให้สามารถปรับตัวรองรับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงได้อย่างเหมาะสมสามารถพัฒนาประเทศ

ให้ก้าวหน้าต่อไปเพื่อประโยชน์สุขที่ยั่งยืนของสังคมไทยตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

ในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 วิกฤติเศรษฐกิจและการเงินของโลกที่

ผ่านมาส่งผลให้เกิดการปรับเปลี่ยนกฎระเบียบในการบริหารจัดการเศรษฐกิจโลกทั้งด้านการค้าการลงทุน

มสธ มสธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ

4-42 สังคมไทยกับการบริหารการส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร

การเงิน สิ่งแวดล้อม และสังคม เพื่อการจัดระเบียบใหม่ที่สำคัญของโลกครอบคลุมถึงกฎ ระเบียบด้าน

การค้าและการลงทุนที่เน้นสร้างความโปร่งใสและแก้ปัญหาโลกร้อนมากขึ้น การคุ้มครองทรัพย์สินทาง

ปัญญาความร่วมมือระหว่างประเทศและการกำกับดูแลด้านการเงินที่เข้มงวดมากขึ้นพันธกรณีและข้อตกลง

เกีย่วกบัการเปลีย่นแปลงสภาพภมูิอากาศมาตรการทางการคา้ที่เกีย่วขอ้งกบัการแกไ้ขปญัหาโลกรอ้นและกฎ

ระเบียบด้านสังคมมีบทบาทสำคัญมากขึ้นโดยเฉพาะด้านสิทธิมนุษยชนที่ให้ความสำคัญกับการส่งเสริมให้

เกิดความเคารพและรักษาศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของทุกคนอย่างเท่าเทียมกันกฎกติกาใหม่เหล่านี้จะเป็น

เครื่องมือในการต่อรองทางการค้าที่ผลักดันผู้ประกอบการไทยให้จำเป็นต้องยกระดับการผลิตให้ได้มาตรฐาน

ที่กำหนดเพื่อสามารถแข่งขันได้ข้อตกลงระหว่างประเทศด้านสิ่งแวดล้อมสิทธิมนุษยชนและธรรมาภิบาลจะ

เป็นแรงกดดันให้ต้องปรับกระบวนการผลิตที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อมมากขึ้นให้ความสำคัญกับการแสดงความ

รับผิดชอบต่อสังคมและการสร้างความเป็นธรรมในการแข่งขันให้สูงขึ้น

โดยเฉพาะกลุ่มประเทศอุตสาหกรรมใหม่อาทิฮ่องกง เกาหลีสิงคโปร์ ไต้หวันและกลุ่มประเทศ

อาเซียนที่มีแนวโน้มเป็นศูนย์กลางการผลิตสินค้าอุตสาหกรรมโลกขณะที่นโยบายการเปิดประเทศของจีน

รัสเซียพลวัตการขยายตัวของบราซิลและอินเดีย และการเพิ่มขึ้นของชนชั้นกลางในภูมิภาคเอเชีย จะเพิ่ม

กำลังซื้อในตลาดโลกนอกจากนี้การรวมกลุ่มเศรษฐกิจที่สำคัญต่อประเทศไทยในช่วงแผนพัฒนาฯฉบับที่

11 ได้แก่การรวมกลุ่มในภูมิภาคเอเชียภายใต้กรอบการค้าเสรีของอาเซียนกับจีนญี่ปุ่นและอินเดียและ

การเป็นประชาคมอาเซียนในปี2558รวมทั้งกรอบความร่วมมืออื่นๆ อาทิกรอบความร่วมมือเอเชีย-แปซิฟิก

จะมีผลกระทบต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของไทยซึ่งต้องมีการเตรียมความพร้อมในหลายด้านโดย

เฉพาะการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และการพัฒนากลไกต่างๆ

นอกจากนี้แล้วในช่วงแผนพัฒนาฯฉบับที่ 11ประชากรสูงอายุในโลกจะเพิ่มขึ้นอีก 81.9ล้านคน

และการเป็นสังคมผู้สูงอายุของประเทศสำคัญๆ ในโลกมีผลกระทบต่อการเคลื่อนย้ายกำลังคนข้ามประเทศ

เกิดความหลากหลายทางวัฒนธรรม ขณะที่โครงสร้างการผลิตเปลี่ยนจากการใช้แรงงานเข้มข้นเป็นการใช้

องค์ความรู้และเทคโนโลยีมากขึ้นทำให้การพัฒนาคนมุ่งสร้างให้มีความรู้ทักษะและความชำนาญควบคู่ไป

กับการพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อใช้ทดแทนกำลังแรงงานที่ขาดแคลนขณะเดียวกันประเทศที่เข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ

จะมีรายจ่ายด้านสุขภาพเพิ่มขึ้นทำให้งบประมาณสำหรับการลงทุนพัฒนาด้านอื่นๆลดลง

การ เปลี่ยนแปลง ภายใน ของ ประเทศไทย ใน ช่วง แผน พัฒนาฯ ฉบับ ที่ 11 สามารถสรุปเป็นประเด็น

ได้ดังนี้

1) การเปลี่ยนแปลงสภาวะด้านเศรษฐกิจ อัตราการขยายตัวและเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ

ของประเทศไทยอยู่ในเกณฑ์ดี ภาคอุตสาหกรรมเป็นภาคการผลิตที่มีบทบาทสูง ภาคเกษตรเป็นแหล่ง

สร้างรายได้หลักของประชาชนส่วนใหญ่ในประเทศและเป็นฐานในการสร้างมูลค่าเพิ่มของภาคอุตสาหกรรม

ภาคบริการมีบทบาทสำคัญในการสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่เศรษฐกิจ ขณะที่การเชื่อมโยงเศรษฐกิจในประเทศ

กับต่างประเทศทำให้เกิดกิจกรรมทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศโดยเฉพาะด้านการค้าและการลงทุนสำหรับ

การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศยังคงมีบทบาทสำคัญต่อการขยายตัวของระบบเศรษฐกิจไทย แต่ภาวะ

เศรษฐกิจโลกที่ตกต่ำและขีดความสามารถในการแข่งขันลดลงทำให้บทบาทของการลงทุนในการขับเคลื่อน

มสธ มสธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ

4-43แนวคิดการพัฒนาเศรษฐกิจ

เศรษฐกิจมีแนวโน้มลดลง อย่างไรก็ตาม ระบบเศรษฐกิจของไทยมีความอ่อนแอด้านปัจจัยสนับสนุนใน

ส่วนของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี คุณภาพการบริการของโครงสร้างพื้นฐานกฎหมายกฎและระเบียบ

ทางเศรษฐกิจที่ไม่เอื้อต่อการจัดระบบการแข่งขันที่เป็นธรรมและเหมาะสมกับสถานการณ์การเปลี่ยนแปลง

ทางเศรษฐกิจ

2) การเปลี่ยนแปลงสภาวะด้านสังคมประเทศไทยก้าวสู่สังคมผู้สูงอายุจากการมีโครงสร้าง

ประชากรวัยสูงอายุเพิ่มขึ้น วัยเด็กและวัยแรงงานลดลงคนไทยได้รับการพัฒนาศักยภาพทุกช่วงวัย แต่มี

ปัญหาคุณภาพการศึกษาและระดับสติปัญญาของเด็กพฤติกรรมเสี่ยงต่อสุขภาพและผลิตภาพแรงงานต่ำ

ประชาชนได้รับการคุ้มครองทางสังคมเพิ่มขึ้นและมีการจัดสวัสดิการทางสังคมในหลายรูปแบบ แต่กลุ่ม

ผู้ด้อยโอกาสยังไม่สามารถเข้าถึงบริการทางสังคมได้อย่างทั่วถึงความเหลื่อมล้ำทางรายได้ของประชากรและ

โอกาสการเขา้ถงึทรพัยากรเปน็ปญัหาการพฒันาประเทศสงัคมไทยเผชญิวกิฤติความเสือ่มถอยดา้นคณุธรรม

และจริยธรรมและมีการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมที่หลากหลาย รวมถึงเผชิญปัญหาการแพร่ระบาดของ

ยาเสพติดและการเพิ่มขึ้นของการพนันโดยเฉพาะในกลุ่มเด็กและเยาวชนแต่คนไทยตื่นตัวทางการเมืองและ

ให้ความสำคัญกับความรับผิดชอบต่อสังคมและธรรมาภิบาลมากขึ้น

3) การเปลีย่นแปลงสภาวะดา้นทรพัยากรธรรมชาติและสิง่แวดลอ้มทุนทรัพยากรธรรมชาติ

เสือ่มโทรมการเปลีย่นแปลงสภาพภมูิอากาศสง่ผลซำ้เตมิให้ปญัหาทรพัยากรธรรมชาติและสิง่แวดลอ้มรนุแรง

กระทบต่อผลผลิตภาคเกษตรและความยากจนการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมยัง

ไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร ขณะที่มีความขัดแย้งทางนโยบายในการบูรณาการการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมกับ

การพัฒนาเศรษฐกิจอย่างไรก็ตามประเทศไทยยังมีความมั่นคงด้านอาหารแม้จะต้องเผชิญกับความท้าทาย

จากการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศและความต้องการพืชพลังงาน

4) การเปลีย่นแปลงสภาวะดา้นการบรหิารจดัการการพฒันาประเทศประชาชนมีความตื่นตัว

ทางการเมืองสูงขึ้นแต่ความขัดแย้งทางการเมืองความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ยังคงอยู่และส่งผล

ต่อเศรษฐกิจการดำรงชีวิตของประชาชนและความเชื่อมั่นของนานาประเทศรวมทั้งความสงบสุขของสังคม

ไทย ขณะที่ประสิทธิภาพภาครัฐมีการเปลี่ยนแปลงในภาพรวมที่ดีขึ้น แต่ขีดความสามารถในการป้องกัน

การทุจริตต้องปรับปรุงการกระจายอำนาจประสบความสำเร็จในเรื่องการเพิ่มรายได้ให้องค์กรปกครองส่วน

ท้องถิ่น แต่มีความล่าช้าในการถ่ายโอนภารกิจและมีความไม่ชัดเจนในการแบ่งบทบาทหน้าที่กับราชการ

ส่วนกลางขณะเดียวกันการคอรัปชั่นยังคงเป็นปัญหาสำคัญของไทยและเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาประเทศ

นอกจากนี้แล้วโครงสร้างประชากรในประเทศไทยที่มีวัยสูงอายุเพิ่มขึ้นขณะที่ประชากรวัยเด็กและ

วัยแรงงานลดลงประเทศไทยจะเป็นสังคมผู้สูงอายุอย่างสมบูรณ์ในปี2568ขณะที่สัดส่วนประชากรวัยเด็ก

และวัยแรงงานลดลงอย่างต่อเนื่องในช่วงแผนพัฒนาฯฉบับที่ 11 อาจกระทบต่อความต้องการแรงงานใน

ระบบเศรษฐกิจในอนาคตการแข่งขันเพื่อแย่งชิงแรงงานจะมีมากขึ้นโดยเฉพาะแรงงานคุณภาพภาครัฐและ

ครัวเรือนจะมีภาระค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นในการดูแลและพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในด้านต่างๆส่งผลต่อ

ภาระงบประมาณของภาครัฐ และค่าใช้จ่ายของครัวเรือนในการดูแลสุขภาพอนามัย และการจัดสวัสดิการ

ทางสังคม

มสธ มสธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ

4-44 สังคมไทยกับการบริหารการส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร

กล่าวได้ว่าการเปลี่ยนแปลงสังคมไทยที่จะต้องเผชิญคือ ค่านิยมที่ดีงามเสื่อมถอยและประเพณี

ดั้งเดิมถูกบิดเบือน เนื่องด้วยการเปลี่ยนแปลงภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์ ส่งผลให้สังคมไทยมีความเป็น

วัตถุนิยม ให้ความสำคัญกับศีลธรรมและวัฒนธรรมที่ดีงามลดลง ทั้งการดำรงชีวิตประจำวัน การใช้ชีวิต

และความสัมพันธ์กับผู้อื่นมุ่งหารายได้เพื่อสนองความต้องการบริโภคการช่วยเหลือเกื้อกูลกันลดลงความ

มีน้ำใจไมตรีน้อยลงแก่งแย่งเอารัดเอาเปรียบกันขาดความสามัคคีไม่เคารพสิทธิผู้อื่นและขาดการยึดถือ

ประโยชน์ส่วนรวม

นอกจากนี้แล้วฐานทรัพยากรธรรมชาติและสภาพแวดล้อมของประเทศมีแนวโน้มเสื่อมโทรม

รุนแรงจากการเปลี่ยนแปลงทั้งในด้านกายภาพการใช้ประโยชน์การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศส่งผลให้

สถานการณ์และแนวโน้มความเสื่อมโทรมของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมทวีความรุนแรงโดยเฉพาะ

น้ำท่วมภัยแล้งการใช้ทรัพยากรอย่างสิ้นเปลืองไม่คุ้มค่าและปริมาณของเสียที่เพิ่มขึ้นนำไปสู่ความเสี่ยง

ต่อการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ รวมไปถึงการกัดเซาะชายฝั่งอย่างต่อเนื่อง ขณะที่ภัยพิบัติจะ

เกิดขึ้นบ่อยครั้งกระทบต่อฐานการผลิตภาคเกษตรความมั่นคงด้านอาหารพลังงานสุขภาวะและคุณภาพ

ชีวิตของประชาชน

ทิศทาง การ พัฒนา ประเทศ ใน ช่วง แผนพัฒนาฯ ฉบับ ที่ 11

การพัฒนาประเทศในระยะแผนพัฒนาฯฉบับที่11ตระหนักถึงสถานการณ์และความเสี่ยงซึ่งเกิด

ขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงในระดับโลกและภายในประเทศ โดยเฉพาะภาวะผันผวนด้านเศรษฐกิจพลังงาน

และภูมิอากาศที่เป็นไปอย่างรวดเร็วและส่งผลกระทบอย่างชัดเจนต่อประเทศไทยทั้งเชิงบวกและลบดังนั้น

ทิศทางการบริหารจัดการประเทศภายใต้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว

จึงเป็นการใช้จุดแข็งและศักยภาพที่มีอยู่ให้เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาประเทศเพื่อสร้างความเข้มแข็งและ

รักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจของประเทศโดยให้ความสำคัญกับการพัฒนาเศรษฐกิจภายในประเทศที่เน้น

การเสริมสร้างความเข้มแข็งของฐานการผลิตภาคเกษตร และการประกอบการของวิสาหกิจขนาดกลางและ

ขนาดยอ่มขณะเดยีวกนัจำเปน็ตอ้งปรบัตวัในการเชือ่มโยงกบัระบบเศรษฐกจิโลกและภมูภิาคซึง่ประเทศไทย

มีพันธกรณีภายใต้กรอบความร่วมมือต่าง ๆ เพื่อสามารถใช้โอกาสที่เกิดขึ้นและเพิ่มภูมิคุ้มกันของทุนที่มี

อยู่ในสังคมไทยได้อย่างเหมาะสมพร้อมก้าวสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในปี 2558 ขณะเดียวกันจำเป็น

ต้องสร้างความพร้อมสำหรับเชื่อมโยงด้านกายภาพทั้งโครงสร้างพื้นฐานและระบบโลจิสติกส์ ควบคู่กับการ

ยกระดับคุณภาพคนการเสริมสร้างองค์ความรู้การพัฒนาวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีนวัตกรรมและความคิด

สร้างสรรค์ให้เป็นพลังขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมไทยการกำหนดทิศทางการพัฒนาประเทศ

ในระยะแผนพัฒนาฯฉบับที่ 11 จึงเป็นการสร้างภูมิคุ้มกันในมิติต่าง ๆ เพื่อให้การพัฒนาประเทศสู่ความ

สมดุลและยั่งยืนโดยนำทุนของประเทศที่มีศักยภาพมาใช้ประโยชน์อย่างบูรณาการและเกื้อกูลกันพร้อมทั้ง

เสริมสร้างให้แข็งแกร่งเพื่อเป็นรากฐานการพัฒนาประเทศที่สำคัญได้แก่การเสริมสร้างทุนสังคม(ทุนมนุษย์

ทนุสงัคมทนุทางวฒันธรรม)ให้ความสำคญักบัการพฒันาคนและสงัคมไทยสู่สงัคมคณุภาพมุง่สรา้งภมูคิุม้กนั

ตั้งแต่ระดับปัจเจกครอบครัว และชุมชนสามารถจัดการความเสี่ยง และปรับตัวเข้ากับการเปลี่ยนแปลง

มีโอกาสเข้าถึงทรัพยากรและได้รับประโยชน์จากการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมอย่างเป็นธรรมสำหรับการ

เสริมสร้างทุนเศรษฐกิจ(ทุนกายภาพทุนทางการเงิน)มุ่งพัฒนาเศรษฐกิจภายในประเทศให้เข้มแข็งโดยใช้

มสธ มสธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ

4-45แนวคิดการพัฒนาเศรษฐกิจ

ภูมิปัญญา วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และความคิดสร้างสรรค์ ให้ความสำคัญกับการปรับโครงสร้างการ

ค้าและการลงทุนให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดภายในประเทศและต่างประเทศการผลิตที่เป็น

มิตรต่อสิ่งแวดล้อมและมีการเชื่อมโยงกับประเทศในภูมิภาคต่างๆบนพื้นฐานการพึ่งพาซึ่งกันและกันใน

ส่วนการเสริมสร้างทุนทางทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ให้ความสำคัญกับการสร้างความมั่นคงด้าน

อาหาร การบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่เป็นฐานการผลิตภาคเกษตรมุ่งสู่การเป็น

เศรษฐกิจและสังคมคาร์บอนต่ำและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมการเตรียมความพร้อมรองรับการเปลี่ยนแปลง

ภมูิอากาศและภยัพบิตัิทางธรรมชาติรวมทัง้การสรา้งภมูคิุม้กนัดา้นการคา้จากเงือ่นไขดา้นสิง่แวดลอ้มควบคู่

ไปกับการเพิ่มบทบาทไทยในเวทีประชาคม ขณะเดียวกันจำเป็นต้องมีการบริหารจัดการประเทศเพื่อสร้าง

ความเป็นธรรมในสังคม ให้ความสำคัญกับการพัฒนาระบบราชการและข้าราชการโดยยึดหลักธรรมาภิบาล

เพิ่มประสิทธิภาพการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นพัฒนาระบบและกลไกการป้องกัน

และปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบอย่างมีส่วนร่วม ส่งเสริมให้ประชาชนทุกระดับมีโอกาสเข้าถึง

กระบวนการยุติธรรมอย่างเท่าเทียมและสร้างความเป็นธรรมในการเข้าถึงทรัพยากรควบคู่ไปกับปลูกจิต

สำนึกค่านิยมประชาธิปไตยและธรรมาภิบาลแก่ประชาชนทุกกลุ่ม

ยุทธศาสตร์ การ พัฒนา คน สู่ สังคม แห่ง การ เรียน รู้ ตลอด ชีวิต อย่าง ยั่งยืน ใน แผน พัฒนา ฉบับ ที่ 11 ให้

ความสำคัญกับประเด็นดังต่อไปนี้

1. การปรับโครงสร้างและการกระจายตัวประชากรให้เหมาะสม เป็นการส่งเสริมคู่สมรสที่มีความ

พร้อมให้มีบุตรเพิ่มขึ้น และรักษาระดับอัตราเจริญพันธุ์ไม่ให้ต่ำกว่าระดับที่เป็นอยู่ปัจจุบัน สนับสนุน

การกระจายตัวและส่งเสริมการตั้งถิ่นฐานของประชากรให้เหมาะสมสอดคล้องกับศักยภาพ โอกาสและ

ทรัพยากรธรรมชาติของพื้นที่

2. การพัฒนาคุณภาพคนไทยให้มีภูมิคุ้มกันต่อการเปลี่ยนแปลงมุ่งพัฒนาคุณภาพคนไทยทุกช่วง

วัยสอดแทรกการพัฒนาคนด้วยกระบวนการเรียนรู้ที่เสริมสร้างวัฒนธรรมการเกื้อกูลพัฒนาทักษะให้คนมี

การเรียนรู้ต่อเนื่องตลอดชีวิต ต่อยอดสู่การสร้างนวัตกรรมที่เกิดจากการฝึกฝนเป็นความคิดสร้างสรรค์

ปลูกฝังการพร้อมรับฟังความคิดเห็นจากผู้อื่นและจิตใจที่มีคุณธรรมซื่อสัตย์มีระเบียบวินัยพัฒนาคนด้วย

การเรียนรู้ในศาสตร์วิทยาการให้สามารถประกอบอาชีพได้อย่างหลากหลายสอดคล้องกับแนวโน้มการจ้าง

งานและเตรียมความพร้อมสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนสร้างจิตสำนึกให้คนไทยมีความรับผิดชอบต่อสังคม

เคารพกฎหมายหลักสิทธิมนุษยชน สร้างค่านิยมการผลิตและบริโภคที่รับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม เรียนรู้

การรองรับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดจากสภาพภูมิอากาศและภัยพิบัติ

3. การส่งเสริมการลดปัจจัยเสี่ยงด้านสุขภาพอย่างเป็นองค์รวมโดยสร้างเสริมสุขภาวะคนไทยให้มี

ความสมบูรณ์แข็งแรงทั้งร่างกายและจิตใจพัฒนาความรู้และทักษะในการดูแลสุขภาพของตนเองครอบครัว

ชุมชนสร้างการมีส่วนร่วมในการพัฒนานโยบายสาธารณะที่เอื้อต่อสุขภาพควบคู่กับการพัฒนาระบบบริการ

สาธารณสุขให้มีคุณภาพพร้อมทั้งการส่งเสริมการแพทย์ทางเลือกการพัฒนาระบบฐานข้อมูลสุขภาพของ

ประเทศ การพัฒนาบุคลากรด้านสาธารณสุขให้เหมาะสมทั้งการผลิตและการกระจายบุคลากร ตลอดจน

การใช้มาตรการการเงินการคลังเพื่อสุขภาพที่มีประสิทธิภาพและยั่งยืน

มสธ มสธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ

4-46 สังคมไทยกับการบริหารการส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร

4. การส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตมุ่งสร้างกระแสสังคมให้การเรียนรู้เป็นหน้าที่ของคนไทยทุก

คนมีนิสัยใฝ่รู้รักการอ่านตั้งแต่วัยเด็กและส่งเสริมการเรียนรู้ร่วมกันของคนต่างวัยควบคู่กับการส่งเสริม

ให้องค์กรกลุ่มบุคคลชุมชนประชาชนและสื่อทุกประเภทเป็นแหล่งเรียนรู้อย่างสร้างสรรค์สื่อสารด้วยภาษา

ที่เข้าใจง่ายรวมถึงส่งเสริมการศึกษาทางเลือกที่สอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียนและสร้างสังคมแห่ง

การเรียนรู้ที่มีคุณภาพและสนับสนุนปัจจัยที่ก่อให้เกิดการเรียนรู้ตลอดชีวิต

5. การเสริมสร้างความเข้มแข็งของสถาบันทางสังคม เป็นการเสริมสร้างความเข้มแข็งและพัฒนา

บทบาทของสถาบันหลักทางสังคมให้เอื้อต่อการพัฒนาคนสร้างค่านิยมให้คนไทยภูมิใจในวัฒนธรรมไทย

และยอมรับความแตกต่างของความหลากหลายทางวัฒนธรรมที่ลดปัญหาความขัดแย้งทางความคิด และ

สร้างความเป็นเอกภาพในสังคมสร้างเครือข่ายความร่วมมือทางวัฒนธรรมร่วมกับประชาคมโลกโดยเฉพาะ

ประชาคมอาเซียนให้เกิดการไหลเวียนทางวัฒนธรรมในรูปแบบการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ส่งเสริมความเข้าใจ

ระหว่างประชาชนในการเรียนรู้ประวัติศาสตร์วัฒนธรรมและการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ข้อมูลข่าวสาร

ยุทธศาสตร์ ความ เข้ม แข็ง ภาค เกษตร ใน แผน พัฒนาฯ ฉบับ ที่ 11ให้ความสำคัญกับความมั่นคงของ

อาหารและพลังงานโดยในแผนพัฒนาฯฉบับที่11นั้นมีสาระสำคัญดังนี้

1. การพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติที่เป็นฐานการผลิตภาคเกษตรให้เข้มแข็งและยั่งยืน มุ่งรักษา

ป้องกันและคุ้มครองพื้นที่ที่มีศักยภาพทางการเกษตรสนับสนุนให้เกษตรกรรายย่อยมีที่ดินเป็นของตนเอง

หรือมีสิทธิทำกินในที่ดิน ใช้มาตรการทางภาษีเพื่อบังคับหรือจูงใจให้บุคคลผู้ถือครองที่ดินทำประโยชน์ใน

พื้นที่ดังกล่าวมากขึ้น สนับสนุนการกระจายการถือครองที่ดินอย่างเท่าเทียมและเป็นธรรม เร่งรัดการจัดให้

มีองค์กรและระบบบริหารจัดการที่ดินให้เป็นรูปธรรมโดยเร็วพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติที่เป็นฐานการผลิต

ภาคการเกษตรฟื้นฟูและส่งเสริมค่านิยม วัฒนธรรมที่ดี และวิถีชีวิตทางการเกษตรที่ให้ความสำคัญกับ

การพัฒนาระบบเกษตรกรรมยั่งยืน

2. การเพิ่มประสิทธิภาพและศักยภาพการผลิตภาคเกษตร ภาครัฐให้ความสำคัญกับการวิจัย

และพัฒนาอย่างต่อเนื่อง สนับสนุนการวิจัยและพัฒนาของภาคเอกชนสนับสนุนการผลิตทางการเกษตรที่

สอดคล้องกับสภาพพื้นที่ ควบคุมและกำกับดูแลให้มีการนำเข้าและใช้สารเคมีทางการเกษตรที่ได้มาตรฐาน

ปรับปรุงบริการขั้นพื้นฐานเพื่อการผลิตให้ทั่วถึงส่งเสริมการผลิตที่คงไว้ซึ่งความหลากหลายของพันธุ์พืชและ

สตัว์ที่เหมาะสมกบัสภาพภมูิอากาศและสิง่แวดลอ้มของประเทศพฒันาและเสรมิสรา้งองค์ความรู้วทิยาศาสตร์

และเทคโนโลยีต่าง ๆที่เหมาะสมทางการเกษตร รวมทั้งสนับสนุนการใช้เทคโนโลยีการผลิตที่เป็นมิตรต่อ

สิ่งแวดล้อมให้แก่เกษตรกรอย่างต่อเนื่องและทั่วถึง

3. การสร้างมูลค่าเพิ่มผลผลิตทางการเกษตรตลอดห่วงโซ่การผลิตสนับสนุนการผลิตและบริการ

ของชุมชนในการสร้างมูลค่าเพิ่มสินค้าเกษตรอาหารและพลังงานส่งเสริมสถาบันการศึกษาในพื้นที่ให้ร่วม

ศึกษาวิจัยกับภาคเอกชนสนับสนุนเกษตรกรและผู้ประกอบการนำองค์ความรู้นวัตกรรมและเทคโนโลยีการ

ผลิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมบนฐานความคิดริเริ่มสร้างสรรค์มาใช้ในการสร้างมูลค่าเพิ่มสินค้าผลิตภัณฑ์

เกษตรและอาหารยกระดับคุณภาพมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารมาตรฐานระบบการผลิตสินค้าเกษตร

ให้เทียบเท่าระดับสากล ส่งเสริมระบบตลาดกลางสินค้าเกษตรและตลาดซื้อขายสินค้าเกษตรล่วงหน้า

มสธ มสธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ

4-47แนวคิดการพัฒนาเศรษฐกิจ

ส่งเสริมภาคเอกชนและองค์กรชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารจัดการระบบสินค้าเกษตรและอาหารร่วม

กับสถาบันเกษตรกรเพิ่มประสิทธิภาพระบบการบริหารจัดการโลจิสติกส์ของภาคเกษตร

4. การสร้างความมั่นคงในอาชีพและรายได้ให้แก่เกษตรกรมุ่งพัฒนาระบบการสร้างหลักประกัน

รายได้ของเกษตรกรให้มีความมั่นคงและครอบคลุมเกษตรกรทั้งหมด พัฒนาระบบประกันภัยพืชผล

การเกษตรส่งเสริมระบบการทำการเกษตรแบบมีพันธะสัญญาที่เป็นธรรมแก่ทุกฝ่ายยกระดับคุณภาพชีวิต

และความเป็นอยู่ของเกษตรกรสร้างแรงจูงใจให้เยาวชนเกษตรกรรุ่นใหม่และแรงงานที่มีคุณภาพเข้าสู่อาชีพ

เกษตรกรรมพฒันาสถาบนัเกษตรกรและวสิาหกจิชมุชนให้เปน็กลไกสนบัสนนุการพึง่พาตนเองของเกษตรกร

เสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับเกษตรกรรายย่อยที่ได้รับผลกระทบจากการนำเข้าสินค้าเกษตรและอาหารที่มี

ต้นทุนต่ำที่เป็นผลมาจากข้อตกลงการเปิดการค้าเสรี

5. การสร้างความมั่นคงด้านอาหารและพัฒนาพลังงานชีวภาพในระดับครัวเรือนและชุมชน โดย

สง่เสรมิให้เกษตรกรปลกูตน้ไม้และปลกูปา่โดยชมุชนและเพือ่ชมุชนเพิม่ขึน้สง่เสรมิให้เกษตรกรทำการเกษตร

ด้วยระบบเกษตรยั่งยืนตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงสนับสนุนให้มีการจัดการและเผยแพร่องค์ความรู้

และการพัฒนาด้านอาหารศึกษาทุกรูปแบบอย่างต่อเนื่องและทั่วถึง รวมทั้งส่งเสริมพฤติกรรมการบริโภค

ที่เหมาะสมของบุคคลและชุมชนสนับสนุนการสร้างเครือข่ายการผลิตและการบริโภคที่เกื้อกูลกันในระดับ

ชุมชนที่อยู่บริเวณใกล้เคียงกัน ส่งเสริมการนำวัตถุดิบทางการเกษตรที่ผลิตได้ในชุมชนและที่เหลือใช้จาก

การเกษตรมาผลิตเป็นพลังงานทดแทนในชุมชนรวมทั้งส่งเสริมและพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานในพื้นที่ให้เป็น

เครื่องมือในการสร้างความเข้มแข็งด้านอาหารให้กับเกษตรกรและชุมชนอย่างเป็นระบบ

6. การสร้างความมั่นคงด้านพลังงานชีวภาพเพื่อสนับสนุนการพัฒนาประเทศและความเข้มแข็ง

ภาคเกษตร ด้วยการส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตพลังงานจากพืชพลังงาน

จัดให้มีระบบการบริหารจัดการสินค้าเกษตรที่ใช้เป็นทั้งอาหารและพลังงาน เพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและ

การใช้พลังงานชีวภาพที่เกี่ยวเนื่องกับภาคการผลิตและบริการ จัดให้มีกลไกกำกับดูแลโครงสร้างราคาของ

พลังงานชีวภาพและปลูกจิตสำนึกในการใช้พลังงานชีวภาพอย่างมีประสิทธิภาพและคุ้มค่า

7. การปรับระบบบริหารจัดการภาครัฐเพื่อเสริมสร้างความมั่นคงด้านอาหารและพลังงาน โดย

สนับสนุนบทบาทของเกษตรกร เครือข่ายปราชญ์ชาวบ้านภาคเอกชนและชุมชนให้เข้ามามีส่วนร่วมในการ

กำหนดทิศทางและวางแผนการผลิตทางการเกษตรปรับกระบวนการทำงานของหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง

ให้มีการร่วมมือและบูรณาการการทำงานอย่างจริงจังทั้งในส่วนกลางและระดับพื้นที่พัฒนาระบบฐานข้อมูล

สารสนเทศด้านอาหารและพลังงานตั้งแต่การผลิตการตลาดไปจนถึงการบริโภคพัฒนากฎหมายที่เกี่ยวข้อง

กบัการพฒันาดา้นการเกษตรสง่เสรมิความรว่มมอืระหวา่งประเทศทัง้ในระดบัพหภุาคีและทวภิาคีโดยเฉพาะ

ประชาคมอาเซียนที่ก่อให้เกิดความมั่นคงด้านอาหารและพลังงาน

มสธ มสธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ

4-48 สังคมไทยกับการบริหารการส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร

ตาราง ที่ 4.2 สรุป แผน พัฒนา เศรษฐกิจ และ สังคม แห่ง ชาติ ฉบับ ที่ 1-11

แผน ระยะเวลา (พ.ศ.) จุดมุ่งหมายสำคัญ

ฉบับที่1 2504-2509(6ปี) -การลงทุนขั้นพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งการชลประทานไฟฟ้า

ฉบับที่2 2510-2514 -การลงทุนขั้นพื้นฐานต่อเนื่องจากแผนฯ1

-ขยายขอบเขตการลงทุนให้ครอบคลุมไปถึงรัฐวิสาหกิจและรายการ

ส่วนท้องถิ่น

-การพัฒนาชนบท

ฉบับที่3 2515-2519 -เร่งรัดการส่งออกและสนับสนุนอุตสาหกรรมทดแทนการนำเข้า

-เพิ่มกลยุทธ์ด้านสังคมโดยเฉพาะการลดอัตราการเกิดของประชากร

-มุ่งเน้นการกระจายรายได้ที่เป็นรูปธรรมมากขึ้น

-การพัฒนาความมั่นคงทางการเมือง(การเตรียมพร้อมทางเศรษฐกิจ)

ฉบับที่4 2520-2524 -การฟื้นฟูฐานะเศรษฐกิจของชาติ

-การรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ

-การบริหารทรัพยากรธรรมชาติและสำรวจแหล่งพลังงานภายในประเทศ

ฉบับที่5 2525-2529 -การพัฒนาแนวรุกโดยยึดพื้นที่เป็นหลักพัฒนาชายฝั่งทะเลตะวันออก

กรุงเทพมหานครและปริมณฑล

-การรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ

-ส่งเสริมอุตสาหกรรมส่งออกให้เอกชนเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนา

-การแก้ปัญหาความยากจนในชนบทโดยกำหนดพื้นที่เป้าหมายที่ชัดเจน

ฉบับที่6 2530-2534 -ปรับโครงสร้างเศรษฐกิจ

-ดำเนินนโยบายการเงินการคลังที่รัดกุม

-ระดมเงินออมภายในประเทศเพื่อลงทุนในโครงสร้างบริการพื้นฐาน

-ปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตของอุตสาหกรรมส่งออกที่ใช้แรงงานสูง

ฉบับที่7 2535-2539 -รักษาอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่องและมีเสถียรภาพ

-แก้ปัญหาการกระจายรายได้

-การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์คุณภาพชีวิตสิ่งแวดล้อมและทรัพยากร

ธรรมชาติ

ฉบับที่8 2540-2544 -เสริมสร้างศักยภาพของคน

-พัฒนาสภาพแวดล้อมของสังคมและเสริมสร้างความเข้มแข็งของ

ครอบครัวและชุมชน

-พัฒนาเศรษฐกิจให้เจริญเติบโตอย่างมีเสถียรภาพมั่นคงและสมดุล

มสธ มสธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ

4-49แนวคิดการพัฒนาเศรษฐกิจ

แผน ระยะเวลา (พ.ศ.) จุดมุ่งหมายสำคัญ

-ใช้ประโยชน์และดูแลรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้มี

ความสมบูรณ์

-ปรับระบบบริหารจัดการ

ฉบับที่9 2545-2549 -อัญเชิญแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงตามพระราชดำรัสของพระบาท-

สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมาเป็นปรัชญาในการพัฒนาและบริหารประเทศ

-การพัฒนาแบบบูรณาการโดยเน้นคนเป็นศูนย์กลางในการพัฒนาโดย

ยึดหลักทางสายกลาง

-ให้ความสำคัญกับการพัฒนาที่สมดุลทั้งด้านตัวคน สังคม เศรษฐกิจ

และสิ่งแวดล้อม เพื่อนำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนและความอยู่ดีมีสุขของ

คนไทย

ฉบับที่10 2550-2554 -การเตรียมความพร้อมของคนและระบบให้มีภูมิคุ้มกันพร้อมรับการ

เปลี่ยนแปลงและผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้น ยังคงอัญเชิญปรัชญา

เศรษฐกิจพอเพียงมาเป็นแนวทางในการปฏิบัติ เน้นคนเป็นศูนย์กลาง

ในการพัฒนา

-ให้ความสำคัญกับพลังสังคมจากทุกภาคส่วนให้มีส่วนร่วมดำเนินการ

ในทุกขั้นตอนของแผนพัฒนาฯ

- สร้างเครือข่ายการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การพัฒนาสู่การปฏิบัติรวมทั้ง

การติดตามตรวจสอบผลการดำเนินงานตามแผนอย่างต่อเนื่อง

ฉบับที่11 2555-2558 - การพัฒนาประเทศที่เน้นให้ประเทศมีความมั่นคงเป็นธรรมและมี

ภูมิคุ้มกันต่อการเปลี่ยนแปลง

-การพัฒนาฐานการผลิตและบริการ การสร้างความเป็นธรรมและลด

ความเหลือ่มลำ้ทางเศรษฐกจิสงัคมและสรา้งภมูคิุม้กนัจากวกิฤตกิารณ์

-เนน้การพฒันาเพือ่ใหท้รพัยากรและสิง่แวดลอ้มอดุมสมบรูณอ์ยา่งยัง่ยนื

คนไทยอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข และพร้อมเผชิญกับการเปลี่ยนแปลง

ได้อย่างเป็นสุข

-มีเป้าหมายหลักให้เศรษฐกิจมีความเข้มแข็งสมดุล ความสามารถใน

การแขง่ขนัทีส่งูขึน้มหีลกัประกนัสงัคมทีท่ัว่ถงึสงัคมไทยมคีวามสขุอยา่ง

มีธรรมาภิบาล

ตาราง ที่ 4.2 (ต่อ)

มสธ มสธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ

4-50 สังคมไทยกับการบริหารการส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร

แผน ระยะเวลา (พ.ศ.) จุดมุ่งหมายสำคัญ

-การสร้างฐานการผลิตให้เข้มแข็ง สมดุล อย่างสร้างสรรค์ การสร้าง

สภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวยต่อการผลิตการค้า การลงทุน การพัฒนา

คุณภาพคน ทั้งความรู้คู่คุณธรรม สังคมมั่นคงเป็นธรรม มีพลังและ

เอื้ออาทร เน้นการผลิตและการบริโภคที่ เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

มีความมั่นคงของพลังงานและอาหาร และเพิ่มขีดความสามารถใน

การแข่งขันของประเทศ

ที่มา:สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ,2555.

ข้อ จำกัด ใน การ พัฒนา เศรษฐกิจ ของ ประเทศไทยการพัฒนาในระยะเวลา50ปีที่ผ่านมาตั้งแต่ปีพ.ศ.2504–ปัจจุบันประเทศไทยประสบผลสำเร็จ

ในการพัฒนาเศรษฐกิจโดยส่วนรวมแต่การพัฒนาที่ผ่านมาประเทศไทยก็ยังประสบถึงข้อจำกัดและอุปสรรค

ดังนี้

1. โครงสร้างการผลิต สืบเนื่องจากประเทศไทยเป็นประเทศเกษตรกรรมหลังจากมีแผนพัฒนา

เศรษฐกจิและสงัคมแหง่ชาติรวม8ฉบบัประเทศไทยเปลีย่นโครงสรา้งการผลติจากที่เนน้ทางดา้นเกษตรกรรม

เป็นการพัฒนาที่เน้นทางด้านอุตสาหกรรม โดยสาขาเกษตรกรรมยังคงพึ่งพาสินค้าหลัก โดยเฉพาะรายได้

จากภาคเกษตรกรรมส่วนใหญ่เป็นรายได้จากพืชผลสูงถึงร้อยละ 60.7 ของรายได้ทั้งหมด เป็นรายได้ที่มา

จากพืชเศรษฐกิจหลักเพียง6ชนิดเท่านั้นคือข้าวมันสำปะหลังอ้อยข้าวโพดปาล์มและยางพาราการที่

สาขาเกษตรกรรมยังคงพึ่งสินค้าเพียง6ชนิดทำให้เกิดความเสี่ยงในด้านการผลิตการตลาดทำให้ไม่สามารถ

บรรลุถึงเป้าหมายได้ ส่วนสาขาอุตสาหกรรมยังคงกระจุกตัวเฉพาะอุตสาหกรรมหลัก อุตสาหกรรมอาหาร

เครื่องดื่มสิ่งทอเครื่องนุ่งห่มปิโตรเลียมเครื่องจักรกลและอิเล็กทรอนิกส์ทำให้การสินค้าเหล่านี้มีตลาด

จำกัด ถ้ามีการดำเนินนโยบายกีดกันทางการค้าจากประเทศคู่ค้าทำให้ประเทศสามารถที่จะส่งออกไปได้

และการที่ประเทศไทยปรับเปลี่ยนนโยบายเน้นการส่งออกในอุตสาหกรรม โดยเฉพาะอุตสาหกรรมรถยนต์

อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้า เป็นต้นอุตสาหกรรมเหล่านี้เป็นอุตสาหกรรมการ

ผลิตขนาดใหญ่ มีการใช้เงินลงทุนสูง ประกอบกับเป็นอุตสาหกรรมต้องใช้เครื่องจักรเครื่องมือที่ทันสมัย

แต่ประเทศไทยไม่สามารถที่จะระดมเงินทุนจากภายในประเทศในจำนวนมากได้ และไม่สามารถที่จะผลิต

เครื่องจักรเครื่องมือที่ทันสมัยได้ จึงมีความจำเป็นจะต้องมีการลงทุนจากต่างประเทศ โดยเฉพาะในปี

พ.ศ.2542จำนวนเงินทุนไหลเข้าสุทธิจากต่างประเทศโดยเฉพาะประเทศญี่ปุ่นสหรัฐอเมริกาจำนวนสูงถึง

837.8 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และ 726.1 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ตามลำดับ และมีการนำเข้าเครื่องจักรเครื่องมือ

รวมทั้งวัตถุดิบในการผลิตจากต่างประเทศ โดยในปี พ.ศ. 2542 มีมูลค่าการนำเข้าสินค้าที่สำคัญจำพวก

เครื่องใช้ทางการแพทย์มีมูลค่าสูงถึง32,003ล้านดอลลาร์สหรัฐหรือประมาณ1.22ล้านล้านบาทซึ่งเป็น

ตาราง ที่ 4.2 (ต่อ)

มสธ มสธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ

4-51แนวคิดการพัฒนาเศรษฐกิจ

การสูญเสียเงินตราต่างประเทศในอัตราที่สูง การที่โครงสร้างการผลิตเป็นลักษณะการผลิตที่ไม่ได้คำนึงถึง

ความได้เปรียบเชิงเปรียบเทียบที่จะนำไปสู่การแข่งขันกับตลาดต่างประเทศ

2. ด้านทรัพยากรมนุษย์ เนื่องจากกำลังแรงงานส่วนใหญ่เป็นแรงงานที่มีการศึกษาระดับประถม

ศึกษา โดยในปี พ.ศ. 2542 แรงงานที่จบการศึกษาเพียงชั้นประถมศึกษาสูงถึงร้อยละ 69.8 ของแรงงาน

ทั้งหมดส่วนแรงงานที่จบการศึกษาระดับมหาวิทยาลัยมีเพียงร้อยละ7.4ของจำนวนแรงงานทั้งหมดเท่านั้น

การที่แรงงานส่วนใหญ่มีระดับการศึกษาต่ำมีผลต่อระดับรายได้ที่มีอัตราค่าจ้างที่ต่ำ ประกอบกับแนวโน้ม

การพัฒนาภาคอุตสาหกรรมเป็นการพัฒนาไปสู่อุตสาหกรรมที่มีการใช้เครื่องจักรเครื่องมือที่ทันสมัยที่ใช้

เทคโนโลยีขั้นสูงแต่แรงงานที่ทำงานในโรงงานอุตสาหกรรมไม่สามารถใช้ประโยชน์จากเครื่องจักรเครื่องมือ

ได้อย่างเต็มที่คือแรงงานจะทำหน้าที่เฉพาะการควบคุมการผลิตเท่านั้นแต่เมื่อเกิดปัญหาขัดข้องทางเทคนิค

จำเป็นจะต้องใช้ช่างเทคนิคจากต่างประเทศเข้ามาซ่อมแซมและโอกาสในการพัฒนาคิดค้นสิ่งประดิษฐ์ใหม่ๆ

มีน้อยประกอบกับในปัจจุบันนี้แนวโน้มอัตราค่าจ้างขั้นต่ำของแรงงานมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเมื่อเปรียบเทียบ

กับประเทศจีน อินโดนีเซีย อินเดีย ทำให้การลงทุนจากต่างประเทศเริ่มเปลี่ยนฐานการลงทุนสู่ประเทศที่มี

ค่าจ้างต่ำกว่า

3. ดา้นทรพัยากรธรรมชาติและสิง่แวดลอ้มเนือ่งจากการพฒันาที่ผา่นมาเปน็การพฒันาที่เนน้อตัรา

การขยายตัวทางเศรษฐกิจ ดังนั้นการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างฟุ่มเฟือยมีผลทำให้เกิดความเสื่อมโทรม

ของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมโดยเฉพาะทรัพยากรที่ดินเพื่อการเกษตรกรรมที่มีปัญหาเป็นสภาพ

ดินเปรี้ยวดินเค็มและความอุดมสมบูรณ์ของดินยังถูกทำลายจากการชะล้างพังทลายประกอบกับการผลิต

ในอุตสาหกรรมที่ก่อให้เกิดมลภาวะหรือของเสียจากกระบวนการผลิตประกอบกับในปัจจุบันประเทศคู่ค้า

ตั้งเงื่อนไขทางด้านสิ่งแวดล้อมซึ่งทำให้ปริมาณการส่งออกของไทยมีจำนวนลดลง

4. ระบบสถาบันกฎกติกาจากข้อตกลงขององค์การการค้าโลก (WTO)กำหนดให้เปิดตลาดการ

ค้าเสรี แต่กลุ่มประเทศที่พัฒนาแล้วใช้มาตรการใหม่ ๆ ในการกีดกันทางการค้า โดยเฉพาะมาตรการทาง

ด้านสิ่งแวดล้อมการใช้แรงงานเด็ก สิทธิมนุษยชนการเก็บภาษีต่อต้านการทุ่มตลาด ในปัจจุบันประเทศที่

พัฒนาแล้วกำหนดนโยบายที่ไม่อนุญาตให้มีการนำเข้าสินค้าที่มีการดัดแปลงทางพันธุกรรม (Genetically

ModifiedOrganisms:GMO)และมีการกำหนดในเรื่องการปิดฉลาก เรื่องการใช้อวนลอยในการจับปลา

ทูนาและปลาปากแหลมมาเป็นประเด็นทางด้านสิ่งแวดล้อม

มสธ มสธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ

4-52 สังคมไทยกับการบริหารการส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร

เรื่อง ที่ 4.2.3 บทบาท ของ ภาครัฐ และภาค เอกชน ใน การ พัฒนา

เศรษฐกิจ

ในเรื่องที่4.2.3นี้จะกล่าวถึงภาคส่วนที่มีบทบาทต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศไทย2ภาคส่วน

ได้แก่ ภาครัฐซึ่งถือได้ว่ามีบทบาทโดยตรงต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ อีกภาคส่วนหนึ่ง คือภาค

เอกชนซึ่งสามารถกล่าวได้ว่ามีบทบาทในการพัฒนาเศรษฐกิจโดยการมีส่วนร่วมในการพัฒนาเศรษฐกิจใน

รูปแบบคณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชนเพื่อแก้ปัญหาทางเศรษฐกิจ (กรอ.) ซึ่งรายละเอียดสามารถ

อธิบายได้ดังนี้

บทบาท ของ รัฐบาล ใน การ พัฒนา เศรษฐกิจมีดังนี้1. การชี้นำส่งเสริมและช่วยเหลือภาคเอกชนเพื่อชักนำให้ภาคเอกชนลงทุนในกิจกรรมสาขาและ

พื้นที่ที่ต้องการ ซึ่งจะมีผลทำให้จุดมุ่งหมายของการพัฒนาเศรษฐกิจบรรลุผล ในการนี้รัฐบาลสามารถให้

ความช่วยเหลือแก่ภาคเอกชนโดยผ่านมาตรการต่างๆ เช่นการจัดให้มีข้อมูลข่าวสารด้านทิศทางและแนวทาง

การพัฒนาเศรษฐกิจ การส่งเสริมและการให้สิทธิประโยชน์แก่กิจกรรมที่มีผลต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ การ

ปรับปรุงและส่งเสริมระบบตลาดและสภาพการแข่งขันเสรีการปรับปรุงแก้ไขระเบียบข้อบังคับและกฎหมาย

ที่เป็นอุปสรรคต่อการลงทุนและการขยายตัวของภาคเอกชน การให้ความช่วยเหลือทางด้านการเงินและ

สินเชื่อตลอดจนการให้ความช่วยเหลือทางด้านเทคนิคและวิชาการต่างๆเป็นต้น

2. การจัดให้มีสินค้าสาธารณะและโครงการขั้นพื้นฐานต่างๆ ทั้งทางด้านเศรษฐกิจและสังคมเช่น

การคมนาคมขนส่งไฟฟ้าน้ำประปาโทรศัพท์สนามบินท่าเรือการศึกษาและสาธารณสุขเป็นต้น

3. การปรับปรุงการกระจายรายได้ทั้งในระหว่างกลุ่มอาชีพและในระหว่างพื้นที่ต่าง ๆ ภายใน

ประเทศ เพื่อให้การกระจายรายได้มีความเสมอภาคกันมากยิ่งขึ้น ด้วยการใช้เครื่องมือทางด้านภาษีอากร

การปฏิรูปที่ดิน และการใช้จ่ายเงินของรัฐบาลเพื่อช่วยเหลือกลุ่มชนที่ยากจนทั้งในเมืองและในชนบท เช่น

การพัฒนาชนบทยากจนเป็นต้น

4. การรกัษาเสถยีรภาพทางเศรษฐกจิโดยป้องกันมิให้เกิดปัญหาเงินเฟ้อเงินฝืดปัญหาการว่างงาน

และปัญหาการขาดดุลการค้าและดุลการชำระเงินระหว่างประเทศด้วยการใช้เครื่องมือทางการเงินและการ

คลัง

5. การชี้นำการพัฒนาประเทศเพื่อปรับปรุงคุณภาพชีวิตของประชาชนให้ดีขึ้น

6. การติดต่อและปรับปรุงความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจกับต่างประเทศ ทั้งนี้เนื่องจากในปัจจุบัน

การค้าการเงินและการลงทุนระหว่างประเทศพัฒนาไปสู่ความสลับซับซ้อนและเกี่ยวพันกับประเทศต่างๆ

เป็นอันมาก และการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจของต่างประเทศมีผลกระทบต่อความจำเริญเติบโตและ

มสธ มสธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ

4-53แนวคิดการพัฒนาเศรษฐกิจ

การขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศด้วย ดังนั้นหน้าที่ที่สำคัญอีกประการหนึ่งของรัฐบาลในปัจจุบัน

ซึ่งได้แก่ การติดตามความเคลื่อนไหวทางเศรษฐกิจของประเทศต่าง ๆ อย่างใกล้ชิด การติดต่อสัมพันธ์ใน

เรื่องการค้า การเงินและการลงทุนกับต่างประเทศและการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจกับมิตรประเทศ เพื่อผล

ประโยชน์ทางเศรษฐกิจของประเทศ

เพื่อให้การปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวข้างต้นเป็นไปด้วยความเรียบร้อยและมีประสิทธิภาพรัฐบาลต้องมี

ภารกิจหรืองานที่ต้องดำเนินการภารกิจดังกล่าวสามารถแบ่งออกได้เป็น3กลุ่มภารกิจหลักดังนี้

1) การวางแผนพัฒนาประเทศ โดยทั่วไปภารกิจนี้จะประกอบด้วยการกำหนดวัตถุประสงค์

จุดหมาย เป้าหมายนโยบาย และแนวทางการดำเนินงานเพื่อการพัฒนา ในการนี้รัฐบาลอาจจะจัดทำแผน

ระยะยาวระยะปานกลางและแผนปฏิบัติการประจำปีเพื่อใช้เป็นกรอบและแนวทางในการพัฒนาการจัดทำ

แผนจะต้องเป็นไปอย่างมีเหตุมีผลและถูกต้องตามหลักวิชาการโดยก่อนที่จะตัดสินใจในเรื่องอะไรจะต้องมี

การศึกษาวิเคราะห์ให้ละเอียดทุกแง่ทุกมุมและมีการพิจารณาถึงทางเลือกต่างๆเท่าที่มีเสียก่อนแล้วจึงค่อย

ตัดสินใจว่าจะเลือกทางเลือกใดที่มีความเป็นไปได้มากที่สุดภายใต้สภาพการณ์และจุดมุ่งหมายที่ต้องการ

2) การบริหารและการนำแผนไปสู่การปฏิบัติหรือกล่าวอีกนัยหนึ่งคือ การปฏิบัติตามแผน

พัฒนา ซึ่งได้แก่ การนำนโยบายมาตรการ แผนงาน และโครงการที่บรรจุอยู่ในแผนไปสู่การปฏิบัติและ

ดำเนินการในการนี้รัฐบาลสามารถปฏิบัติตามแผนได้โดยผ่านวงราชการและอำนาจหน้าที่ที่มีอยู่ดังนี้

ก.โดยผ่านหน่วยงานต่าง ๆ ของรัฐบาล ซึ่งจะมีทั้งหน่วยงานส่วนกลาง อันได้แก่

กระทรวงทบวงกรมหน่วยงานส่วนภูมิภาคอันได้แก่จังหวัดและอำเภอหน่วยงานส่วนท้องถิ่นอันได้แก่

องค์การบริหารส่วนจังหวัดเทศบาลสุขาภิบาลและสภาตำบล

ข.โดยผ่านทางเครื่องมือด้านนโยบายของรัฐบาลเช่นนโยบายด้านรายจ่ายการลงทุน

ภาษีอากรอัตราดอกเบี้ยการควบคุมอัตราแลกเปลี่ยนการให้กู้ยืมเงินการซื้อลดตั๋วเงินการกำหนดราคา

ค่าจ้างและโควตาเป็นต้น

ค.โดยผ่านทางอำนาจหน้าที่ที่มีอยู่อย่างชอบธรรม ด้วยการให้สัมปทาน การออก

ใบอนุญาตและการออกกฎระเบียบข้อบังคับต่างๆทั้งเพื่อการส่งเสริมและการควบคุม

ง. โดยผ่านทางบริษัทของรัฐบาล รัฐวิสาหกิจ การร่วมทุนกับเอกชนทั้งภายในและ

ภายนอกประเทศ

จ. โดยผ่านการจัดตั้งธนาคารเพื่อการพัฒนาของรัฐบาลเพื่อให้เงินกู้ระยะยาวและคำ

แนะนำปรกึษาแก่ผู้ลงทนุเอกชนเชน่ธนาคารเพือ่การเกษตรและสหกรณ์การเกษตรธนาคารอาคารสงเคราะห์

และสถาบันเงินทุนสำหรับธุรกิจขนาดย่อมเป็นต้น

3) การติดตามประเมินผลการพัฒนา เมื่อมีการนำแผนไปปฏิบัติและดำเนินการแล้ว ต้องมี

การติดตามตรวจสอบและรายงานความก้าวหน้าของการดำเนินงาน และรับทราบถึงปัญหาในทางปฏิบัติ

ต่างๆเพื่อสามารถดำเนินการแก้ไขได้อย่างทันท่วงทีในการประเมินผลนั้นควรมีการประเมินผลทั้งในขณะ

ที่มีการดำเนินงานและหลังจากการดำเนินงานเสร็จสิ้นแล้วทั้งนี้เพื่อทดสอบถึงประสิทธิภาพและประสิทธิผล

ในการบรรลุตามจุดมุ่งหมายที่กำหนดไว้รวมตลอดถึงการวิเคราะห์ถึงผลกระทบต่างๆที่อาจจะเกิดขึ้นโดย

มสธ มสธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ

4-54 สังคมไทยกับการบริหารการส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร

ไม่ได้ตั้งใจอีกด้วยนอกจากนั้นการประเมินผลยังอาจนำไปสู่การปรับปรุงแก้ไขการพัฒนาประเทศให้ได้ผล

ดียิ่ง ๆ ขึ้นในแผนฉบับต่อ ๆ ไปได้อีก เช่น ในทศวรรษที่ 1950 และ 1960หลายประเทศใช้กลยุทธ์เพื่อ

การพัฒนาด้วยการเน้นไปที่การพัฒนาอุตสาหกรรมหนักให้เป็นสาขานำหรือพาหะของการพัฒนาประเทศ

กลยุทธ์ดังกล่าวนับว่ามีเหตุมีผลดีในขณะนั้น แต่หลังจากที่มีการปฏิบัติและปรากฏผลขึ้นแล้ว จึงตระหนัก

ว่าเกิดความผิดพลาดในการพัฒนาขึ้นเพราะผลจากความพยายามที่จะพัฒนาตามแนวทางดังกล่าว หาได้

แผ่ขยายไปสู่สาขาอื่น ๆ ตามที่คาดคิดไว้ไม่ ในขณะเดียวกันไม่ได้ช่วยปรับปรุงการกระจายรายได้และ

การว่าจ้างทำงาน ความรู้เหล่านี้เกิดขึ้นหลังจากที่มีการปฏิบัติและประเมินผลกันแล้ว และเมื่อทราบแล้ว

สามารถนำไปปรับปรุงแก้ไขทิศทางและแนวทางการพัฒนาต่อๆไปได้

บทบาท ของ ภาค เอกชน ใน การ พัฒนา เศรษฐกิจ มีดังนี้สำหรับบทบาทของภาคเอกชนในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศนั้น ภาคเอกชนจะมีบทบาทใน

คณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชนเพื่อแก้ปัญหาทางเศรษฐกิจ (กรอ.) ทั้งนี้ การจัดตั้งคณะกรรมการ

ดังกล่าวจะมีวัตถุประสงค์ดังนี้

วตัถปุระสงค ์ตั้งขึ้นตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่30มิถุนายน2524โดยมีนายกรัฐมนตรีขณะนั้น

คือพลเอกเปรมติณสูลานนท์เป็นประธานซึ่งการจัดตั้งคณะกรรมการกรอ.นี้แสดงให้เห็นถึงการยอมรับ

บทบาทของภาคเอกชนในการมีส่วนร่วมพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศมากยิ่งขึ้นการยอมรับบทบาทของภาค

เอกชนนี้มีปรากฏขึ้นเป็นครั้งแรกตั้งแต่แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมฯฉบับที่2และ3เป็นต้นมาแต่จะ

มาปรากฏเป็นรูปธรรมขึ้นเมื่อช่วงปลายแผนพัฒนาฯฉบับที่4ต่อกับช่วงเริ่มต้นของแผนพัฒนาฯฉบับที่5

กรอ.จะเปน็รปูแบบคณะกรรมการรว่ม(jointcommittee)โดยบคุคลผู้เปน็ตวัแทนจากภาครฐัจะมา

จากผู้ที่มีความรับผิดชอบสูงในงานด้านเศรษฐกิจเช่นรัฐมนตรีเศรษฐกิจและข้าราชการระดับสูงที่เกี่ยวข้อง

กับภาคเศรษฐกิจ ส่วนภาคเอกชนมาจากตัวแทนผู้นำสถาบันภาคเอกชน ที่สำคัญ ได้แก่ หอการค้าไทย

สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยสภาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยและสมาคมธนาคารไทย

ปัจจัยหลักที่ผลักดันให้เกิดกรอ.คือปัจจัยทางด้านเศรษฐกิจกล่าวคือในช่วงปีพ.ศ.2522–2524ทั่วโลก

เผชิญกับภาวะเศรษฐกิจที่ตกต่ำ เนื่องจากเกิดวิกฤติการณ์น้ำมันครั้งที่ 2 เป็นผลให้เศรษฐกิจของประเทศ

ไทยชลอตัวลง และเกิดปัญหาภาวะเงินเฟ้อ อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ต่างประเทศถีบตัวสูงอย่างรวดเร็ว ปัญหา

การขาดดุลการค้า ดุลการชำระเงิน และวิกฤติการณ์เงินคงคลังซึ่งเป็นปัญหาหลักสำคัญ เป็นเหตุให้รัฐบาล

ต้องลดบทบาทของตนเองลง และสนับสนุนให้ภาคเอกชนมีบทบาทในการพัฒนาเศรษฐกิจมากขึ้น ปัญหา

ต่าง ๆ เหล่านี้ส่งผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจและการประกอบธุรกิจของเอกชนมากตลอดจนปัญหาการ

กำกับและการควบคุมธุรกิจของรัฐเช่นกฎระเบียบของรัฐไม่เอื้ออำนวยต่อการประกอบธุรกิจของภาคเอกชน

ดังนั้นภาคเอกชนเองซึ่งมีการรวมกลุ่มกันอยู่แล้วจึงร่วมกันผลักดันให้เกิดกรอ.ขึ้นทั้งนี้จุดประสงค์ของ

การจัดตั้งกรอ.ได้แก่การมีระบบการปรึกษาหารือระหว่างภาครัฐและเอกชนในการกำหนดแนวทางการแก้ไข

ปัญหาเศรษฐกิจและการนำนโยบายการประสานความร่วมมือระหว่างภาครัฐและภาคเอกชนไปสู่การปฏิบัติ

ทัง้ในระดบักลางและภมูภิาคควบคู่ไปกบัการชว่ยพฒันาสถาบนัเอกชนให้มีความเขม้แขง็รวมทัง้การเผยแพร่

มสธ มสธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ

4-55แนวคิดการพัฒนาเศรษฐกิจ

ความรู้ความเข้าใจในประโยชน์ที่ส่วนรวมจะได้รับจากการร่วมมือกัน ทั้งนี้ กรอ. จะเป็นองค์กรที่มีหน้าที่

ในการเสนอแนะนโยบายแนวทางแก้ไขปัญหาอุปสรรคทางเศรษฐกิจ มิใช่เป็นองค์กรที่มีอำนาจตัดสินใจ

เชิงนโยบายและสั่งการโดยตรงฯพณฯพลเอกเปรมติณสูลานนท์ประธานองคมนตรีและรัฐบุรุษในฐานะ

นายกรัฐมนตรีในขณะนั้นเป็นผู้ริเริ่มและผลักดันจนทำให้เกิดคณะกรรมการกรอ.ขึ้นมากล่าวมอบหมาย

นโยบายของรัฐบาลในการประชุมกรอ.ครั้งแรกซึ่งฯพณฯเป็นประธานเมื่อเดือนสิงหาคมพ.ศ.2524ความ

ว่า “การจัดตั้ง กรอ. ขึ้นมานั้น เป็นการย้ำเจตนาของรัฐบาลที่จะช่วยแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจกับภาคเอกชน

อย่างใกล้ชิดหากมีปัญหาข้อขัดข้องประการใดก็มาร่วมมือปรึกษาหารือกันนอกจากนี้รัฐบาลมีนโยบายจะ

พฒันาสถาบนัเอกชนให้เปน็องค์กรที่รัฐบาลจะพึ่งพาได้จะต้องเปน็สถาบนัที่รับผิดชอบต่อสังคมเปน็ที่เชือ่ถือ

ต่อส่วนรวม ร่วมมือขจัดผู้ปฏิบัติมิชอบและผู้ที่เอาเปรียบต่อส่วนรวมโดยไม่เป็นธรรม ในระยะเริ่มต้น

ฯพณฯนายกรัฐมนตรีเน้นการสร้างบรรยากาศของความร่วมมือ โดยการสร้างศรัทธาและความเชื่อถือให้

เกิดขึ้นระหว่างคณะผู้นำฝ่ายรัฐบาลและผู้นำของสถาบันภาคเอกชนภาครัฐมุ่งเน้นการพัฒนาความเข้มแข็ง

ของสถาบันภาคเอกชนให้มีขีดความสามารถสูงขึ้น และสามารถเป็นผู้แทนของภาคธุรกิจเอกชนในวงกว้าง

กฎเกณฑ์กติกาในการทำงานร่วมกันมีการกำหนดให้ชัดเจน โปร่งใส และเป็นไปเพื่อประโยชน์ของส่วนรวม

มิใช่กลุ่มบุคคลหรือธุรกิจกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง

ตลอดระยะเวลาเกือบ20ปีซึ่งฯพณฯประธานองคมนตรีและรัฐบุรุษพลเอกเปรมติณสูลานนท์

ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีให้ความสำคัญสูงสุดกับการพัฒนากระบวนการ กรอ. โดยจะเห็นได้ว่า มีการ

จัดประชุมคณะกรรมการ กรอ. ทุกเดือน ตลอดระยะเวลาดังกล่าว ยกเว้นช่วงที่ต้องเดินทางไปราชการ

ต่างประเทศการที่ภาครัฐและภาคเอกชนมีโอกาสมาหารือร่วมกันโดยตรงทำให้ปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นนั้นได้

รับการนำไปพิจารณาแก้ไขได้อย่างตรงจุด รวดเร็ว ทันสถานการณ์และมีประสิทธิภาพมากขึ้น ประกอบกับ

การที่ผู้นำภาครัฐบาลให้ความสำคัญสูงสุดกับกระบวนการกรอ.ทำให้ระบบความร่วมมือระหว่างภาครัฐบาล

และภาคเอกชนเป็นไปอย่างต่อเนื่องและมีผลงานที่เป็นรูปธรรม

หลัง จาก ศึกษา เนื้อหา สาระ ตอน ที่ 4.2 แล้ว โป รด ปฏิบัติ กิจกรรม 4.2

ใน แนว การ ศึกษา หน่วย ที่ 4 ตอน ที่ 4.2

มสธ มสธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ

4-56 สังคมไทยกับการบริหารการส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร

ตอน ที่ 4.3

การ พัฒนา เศรษฐกิจ ของ โลก

โปรดอ่านแผนการสอนประจำตอนที่4.3แล้วจึงศึกษาเนื้อหาสาระพร้อมปฏิบัติกิจกรรมในแต่ละตอน

หัว เรื่องเรื่องที่4.3.1การพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศพัฒนา

เรื่องที่4.3.2การพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศกำลังพัฒนา

เรื่องที่4.3.3แนวโน้มการพัฒนาเศรษฐกิจของโลก

แนวคิด1. การพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศพัฒนาเป็นการพัฒนาเศรษฐกิจในระดับสูงนอกจากนั้น

ประเทศพัฒนายังให้สิทธิเสรีภาพแก่ประชาชนทุกคนให้มีอิสระเสรีและมีสุขอนามัย

ดี อาศัยอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัย เช่น ประเทศญี่ปุ่น แคนาดา สหรัฐอเมริกา

ออสเตรเลียนิวซีแลนด์และประเทศส่วนใหญ่ในยุโรป

2. การพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศกำลังพัฒนา เป็นการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศที่มี

มาตรฐานการดำรงชีวิตปานกลางถึงต่ำและพื้นฐานอุตสาหกรรมยังไม่พัฒนา

3. แนวโน้มการพัฒนาเศรษฐกิจของโลกสามารถแบ่งแนวโน้มการพัฒนาเศรษฐกิจในทวีป

ต่างๆ ได้แก่อเมริกาและยุโรปกลุ่มประเทศอเมริกาใต้ประเทศในทวีปแอฟริกาประเทศ

ในกลุ่มอาหรับและรวมไปถึงประเทศเศรษฐกิจหลักในเอเชีย

วัตถุประสงค์เมื่อศึกษาตอนที่4.3จบแล้วนักศึกษาสามารถ

1. อธิบายการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศพัฒนาได้

2. อธิบายการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศกำลังพัฒนาได้

3. อธิบายแนวโน้มการพัฒนาเศรษฐกิจของโลกได้

มสธ มสธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ

4-57แนวคิดการพัฒนาเศรษฐกิจ

เรื่อง ที่ 4.3.1 การ พัฒนา เศรษฐกิจ ของ ประเทศ พัฒนา

ประเทศ พัฒนา หมายถึงประเทศที่มีการพัฒนาในระดับที่สูงเมื่อวัดตามมาตรฐานบางประการแต่

การจะยึดมาตรฐานใดเป็นหลัก หรือการจัดกลุ่มให้ประเทศใดอยู่ในกลุ่มพัฒนาแล้วนั้นยังคงเป็นประเด็น

ที่ถกเถียงกันอยู่ โดยทั่วไปมาตรวัดทางเศรษฐกิจมักเป็นที่ยอมรับ เช่น การใช้รายได้ต่อหัวเป็นหลัก และ

ให้ประเทศที่มีผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศต่อหัวสูงอยู่ในกลุ่มพัฒนา ในระยะหลังมีการใช้ดัชนีการ

พัฒนามนุษย์ซึ่งเป็นการรวมมาตรวัดทางเศรษฐกิจกับมาตรวัดอื่นๆเช่นดัชนีอายุขัยและการศึกษาเพื่อ

เป็นตัววัดการพัฒนาของประเทศต่างๆมากขึ้นจึงมีการจัดกลุ่มประเทศที่มีค่าดัชนีการพัฒนามนุษย์สูงอยู่

ในกลุ่มประเทศพัฒนา

นายโคฟีอันนันอดีตเลขาธิการสหประชาชาติให้คำจำกัดความประเทศพัฒนาว่า“ประเทศพัฒนา

คือประเทศที่ให้สิทธิเสรีภาพแก่ประชาชนทุกคนมีอิสระเสรีและมีสุขอนามัยดี อาศัยอยู่ในสภาพแวดล้อม

ที่ปลอดภัย”นอกจากนี้ยังมีองค์กรอื่นๆให้คำจำกัดความสำหรับความหมายของประเทศกำลังพัฒนาและ

ประเทศพัฒนาดังต่อไปนี้ “การจัดกลุ่มหรือกำหนดกลุ่มประเทศพัฒนาและกำลังพัฒนานั้นเพื่อประโยชน์ใน

ทางสถิติและไม่จำเป็นที่จะมาใช้ในการตัดสินใจสถานะของประเทศหรือขอบเขตในกระบวนการพัฒนา”

สหประชาชาติให้ความเห็นดังนี้

“จากตัวอย่างที่เห็นได้ทั่วไปคือประเทศญี่ปุ่นในเอเชียแคนาดาและสหรัฐอเมริกาในอเมริกาเหนือ

ออสเตรเลยีและนวิซแีลนด์ในโอเชยีเนยีและประเทศสว่นใหญ่ในยโุรปกลุม่ประเทศเหลา่นี้ได้รบัการพจิารณา

ให้เป็นประเทศพัฒนา ส่วนในเชิงสถิติทางการค้า สหภาพศุลกากรแอฟริกาใต้ได้รับการจัดให้อยู่ในกลุ่ม

ประเทศพัฒนาและประเทศอิสราเอลก็อยู่ในกลุ่มประเทศพัฒนาส่วนในยุโรปกลุ่มประเทศที่กำเนิดขึ้นจาก

ประเทศยูโกสลาเวียเก่าถือว่าเป็นประเทศกำลังพัฒนาประเทศในกลุ่มของยุโรปตะวันออกและกลุ่มที่เป็น

ประเทศเครือรัฐเอกราชในยุโรปไม่เรียกรวมอยู่ในกลุ่มใดๆของประเทศพัฒนาหรือกำลังพัฒนา

ในศตวรรษที่21กลุ่มประเทศในเอเชียได้รับการขนานนามว่าสี่เสือเอเชียได้แก่ฮ่องกง สิงคโปร์

เกาหลีใต้และไต้หวัน รวมทั้งประเทศไซปรัส มอลตา สาธารณรัฐเช็ค เอสโตเนีย อิสราเอล โปแลนด์

ยูโกสโลวาเกียและสโลวาเนียเหล่านี้ได้รับการจัดให้อยู่ในกลุ่มประเทศพัฒนา”

อีกนัยหนึ่งจากการจัดกลุ่มของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ(InternationalMonetaryFund:

IMF)เมื่อเดือนเมษายนค.ศ.2004กลุ่มประเทศทั้งหมดในยุโรปตะวันออกรวมทั้งยุโรปกลางและสหภาพ

โซเวียตในอดีตกลุ่มประเทศที่อยู่ในเอเชียตอนกลาง(คาซัคสถานอุซเบกิสสถานคีร์กีซสถานทาจิกีสสถาน

และเติร์กเมนิสสถาน) และมองโกเลีย ไม่รวมให้อยู่ในทั้งสองประเภทคือประเทศพัฒนาและกำลังพัฒนา

แต่จะได้รับการจัดให้อยู่ประเภทของ“ประเทศในช่วงเปลี่ยนผ่าน”อย่างไรก็ตามในรายงานระหว่างประเทศ

กลุ่มประเทศเหล่านี้คือประเทศ“กำลังพัฒนา”นั่นเอง

มสธ มสธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ

4-58 สังคมไทยกับการบริหารการส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร

ส่วนธนาคารโลกจัดกลุ่มประเทศออกเป็นสี่กลุ่มกลุ่มที่ได้รับการจัดใหม่ในเดือนกรกฎาคมของทุก

ปีตามหลักเศรษฐกิจแบ่งออกเป็นกลุ่มช่วงของรายได้ตามGNIซึ่งค่าGNIย่อมาจากภาษาอังกฤษว่าGross

National Incomeหรือรายได้ประชาชาติทั้งหมดการวัดค่าGNIต่อประชากรเป็นดัชนีชี้วัดการจัดกลุ่ม

การพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศคำจำกัดความของธนาคารโลกต่อประชากรมีดังต่อไปนี้

• กลุ่มประเทศที่จัดอยู่ในกลุ่มรายได้ต่ำค่าGNIต่อประชากรจะอยู่ที่US$975หรือน้อยกว่า

• กลุ่มประเทศที่จัดอยู่ในกลุ่มรายได้ปานกลางค่าGNIต่อประชากรจะอยู่ระหว่างUS$976ถึง

US$3,855

• กลุ่มประเทศที่จัดอยู่ในกลุ่มรายได้เหนือกว่าปานกลาง ค่า GNI ต่อประชากรจะอยู่ระหว่าง

US$3,856ถึงUS$11,905

• กลุ่มประเทศที่ จัดอยู่ ในกลุ่มระดับรายได้สูง ค่า GNI ต่อประชากรจะต้องมีมากกว่า

US$11,906

สำหรับกรณีศึกษาการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศพัฒนานั้นขอนำเสนอกรณีศึกษาของ3ประเทศ

ดังนี้ ประเทศสหรัฐอเมริกาประเทศสหภาพโซเวียตรุสเซียและประเทศในทวีปเอเชียที่น่าศึกษาและน่าสนใจ

คือประเทศเกาหลีใต้ซึ่งขอกล่าวถึงรายละเอียดดังนี้

1. กรณี ศึกษา การ พัฒนา เศรษฐกิจ ของ ประเทศ สหรัฐอเมริกา ประเทศสหรัฐอเมริกาพัฒนามาจากประเทศอาณานิคมจนเป็นประเทศมหาอำนาจทางเศรษฐกิจ

ภายใต้ระบบทุนนิยมเริ่มเปลี่ยนจากประเทศเกษตรกรรมมาเป็นอุตสาหกรรมก่อนสมัยสงครามโลกครั้งที่1

และเป็นผู้นำทางอุตสาหกรรมเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน

อเมริกาในสมัยเป็นอาณานิคมต้องดำเนินการทางเศรษฐกิจเพื่อผลประโยชน์ของเมืองแม่ดำเนินการ

เกษตรกรรมและอุตสาหกรรมเพื่อเป็นแหล่งวัตถุดิบ และเป็นตลาดสินค้าอุตสาหกรรมของเมืองแม่ หลัง

สงครามกลางเมืองเป็นช่วงที่อัตราความเจริญทางเศรษฐกิจเป็นไปอย่างรวดเร็วทั้งด้านเกษตรกรรมและ

อตุสาหกรรมตอ่มามีปญัหาดา้นแรงงานและการรวมตวักนัทางธรุกจิจนทำให้เกดิสหภาพแรงงานและกฎหมาย

ต่อต้านการผูกขาดขึ้นหลังสงครามโลกครั้งที่1ในปลายค.ศ.1929เกิดภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งยิ่งใหญ่

รัฐบาลใช้นโยบายการดำเนินการแบบใหม่เพื่อแก้ปัญหาเศรษฐกิจหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ซึ่งทำให้เกิด

ปัญหาทางเศรษฐกิจน้อยกว่าสงครามโลกครั้งที่ 1 เนื่องจากมีการเตรียมการที่ดีกว่า นอกจากนี้อเมริกา

ยังให้เงินช่วยเหลือแก่ต่างประเทศเป็นจำนวนมากภายใต้โครงการมาร์แชลและหน่วยงานต่างๆ ขององค์การ

สหประชาชาติ

สภาพ เศรษฐกิจ สมัย อาณานิคม จนถึง สมัย สงครามกลางเมือง ประเทศ สหรัฐอเมริกา

ลักษณะทั่วไปทางการเกษตรในสมัยอาณานิคม ส่วนมากเป็นการผลิตเพื่อเลี้ยงตัวเอง โดยใช้

เครื่องมือที่นำมาจากยุโรปและความรู้ที่ได้จากอินเดียนแดงในการปลูกข้าวข้าวโพดยาสูบถั่วและแตงโม

มีการผลิตเพื่อการค้าบ้างสำหรับรัฐทางใต้มีการปลูกข้าวและยาสูบ

มสธ มสธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ

4-59แนวคิดการพัฒนาเศรษฐกิจ

ข้อแตกต่างระหว่างการค้าต่างประเทศของอาณานิคมตอนใต้กับอาณานิคมนิวอิงแลนด์คือทางใต้

ดำเนินการซื้อขายแลกเปลี่ยนกับอังกฤษส่วนนิวอิงแลนด์นั้นดำเนินการค้าขายกับหลายประเทศในทวีปยุโรป

นอกจากนี้แล้วมลรัฐทางตอนใต้และอาณานิคมอื่นๆดำเนินการทางด้านการขนส่งสินค้าอีกด้วย

หลกั การ สำคญั ของ พระ ราช บญัญตั ิตา่ง ๆ เปน็ กฎหมาย ที ่องักฤษ เรยีก เกบ็ ภาษ ีจาก อาณานคิม อเมรกิา

มีดังนี้

• พ.ร.บ.น้ำตาล-เก็บภาษีเพิ่มขึ้นจากน้ำตาลผ้าลินินไวน์และอื่นๆ

• พ.ร.บ.แสตมป์-เก็บจากเอกสารต่างๆที่ตีพิมพ์

• พ.ร.บ.เทาน์เซนด์-เก็บภาษีขาเข้าจากแก้วสีกระดาษและชา

สาเหตุที่ทำให้เกิดสงครามกลางเมืองหรือความขัดแย้งระหว่างฝ่ายเหนือและฝ่ายใต้คือความรู้สึก

เป็นชาติ และเหตุผลทางเศรษฐกิจคือ การเอาเปรียบจากประเทศอังกฤษผลของสงครามกลางเมืองทำให้

ระบบทาสถูกทำลายไปเกิดเงินเฟ้อและมีการพัฒนาอุตสาหกรรมและเกษตรกรรมขนานใหญ่

สภาพ เศรษฐกิจ หลัง สงครามกลางเมือง จนถึง สมัย สงครามโลก ครั้ง ที่ 1

พัฒนาการของเกษตรกรรมและอุตสาหกรรมของอเมริการะหว่างหลังสงครามกลางเมืองจนถึง

สงครามโลกครั้งที่1มีการใช้เทคโนโลยีและสิ่งประดิษฐ์ทางวิทยาศาสตร์เข้ามาประยุกต์ในเกษตรกรรมและ

อุตสาหกรรมอเมริกาในช่วงนี้เปลี่ยนจากชาติเกษตรกรรมมาเป็นอุตสาหกรรมสำหรับเกษตรกรรมมีปัญหา

เรื่องราคาสินค้าเกษตรตกต่ำและควบคุมการผลิตสินค้าได้ยากจึงมีความเคลื่อนไหวเป็นองค์การต่างๆ เพื่อ

เรียกร้องทางเศรษฐกิจการรวมกลุ่มของธุรกิจมีผลดีคือทำให้มีประสิทธิภาพสูงสุดในการบริหารต้นทุนต่อ

หน่วยต่ำลดการแข่งขันลงได้และสามารถให้เงินอุดหนุนวิจัยผลิตภัณฑ์ใหม่ส่วนผลเสียได้แก่การผูกขาด

อาจทำให้ราคาสูงขึ้น เกิดการแข่งขันที่ไม่ยุติธรรมบริษัทใหญ่ทำลายบริษัทเล็ก การเก็งกำไรโดยการปั่น

หุ้นความเคลื่อนไหวของกรรมกรในสมัยสงครามโลกครั้งที่1มีการรวมตัวกันเรียกร้องเรื่องค่าจ้างแรงงาน

ชั่วโมงการทำงานสวัสดิการและสภาพการทำงานตัวอย่างสหภาพแรงงานแห่งชาติอัศวินแรงงานสหพันธ์

แรงงานอเมริกัน

เศรษฐกิจ สมัย หลัง สงครามโลก ครั้ง ที่ 1 จนถึง ทศวรรษ 1980

สาเหตุของภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ เพราะรายได้เกษตรกรต่ำลง การลงทุนน้อยลง ความ

ต้องการสินค้าและบริการมีน้อยลงนโยบายนิวดีนเป็นนโยบายที่รัฐบาลเข้าไปมีบทบาทในทางเศรษฐกิจมาก

ขึ้นทั้งในด้านการเกษตรกรรมการอุตสาหกรรมการเงินและการธนาคารการสร้างงานการประกันสังคมหลัง

สงครามโลกครั้งที่1เกิดภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งยิ่งใหญ่เนื่องจากเกิดปัญหาในการปรับตัวของเศรษฐกิจ

ภายหลังสงครามโลกครั้งที่2เกิดภาวะเงินเฟ้อแต่ไม่รุนแรงนัก

2. กรณี ศึกษา การ พัฒนา เศรษฐกิจ ของ ประเทศ สหภาพ โซเวียต รุส เซีย ประเทศสหภาพโซเวียตรุสเซียพัฒนามาจากประเทศเกษตรกรรมในระบบศักดินาค่อนข้างล้าหลัง

ต่อมาเปลี่ยนเป็นระบบสังคมนิยมภายใต้เศรษฐกิจแบบวางแผนจากส่วนกลาง จนถึงการล่มสลายไปในปี

ค.ศ.1991

มสธ มสธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ

4-60 สังคมไทยกับการบริหารการส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร

สภาพเศรษฐกิจในสมัยแรกเริ่มส่วนใหญ่เป็นเกษตรกรรมซึ่งการผลิตค่อนข้างล้าหลังและการจัด

ระบบเศรษฐกิจเป็นรัฐทรราชย์ตะวันออกมีซาร์เป็นเจ้าของที่ดินทั้งหมดในรัสเซียทำให้ชาวนาเป็นไพร่ของ

รัฐแต่ในทางปฏิบัติชุมชนชาวนาจะเป็นผู้ครอบครองที่ดินและแบ่งปันให้ชาวนาไปใช้ประโยชน์

ในค.ศ.1861มีการประกาศเลิกทาสในประเทศพัฒนาด้านอุตสาหกรรมทำให้เกิดชนชั้นนายทุน

และชนชั้นแรงงาน ในขณะเดียวกันความคิดเสรีนิยมเริ่มแพร่หลายในหมู่ประชาชนภายหลังสงครามโลก

ครั้งที่1เกิดภาวะเศรษฐกิจตกต่ำและเงินเฟ้อทำให้ชนชั้นชาวนาและกรรมกรอดอยากก่อการจลาจลเนืองๆ

ในที่สุดมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบบทุนนิยมเป็นสังคมนิยมในค.ศ.1917

ภายหลังการปฏิวัติบอลเชวิคปลายค.ศ. 1917 รัฐบาลโซเวียตโดยพรรคบอลเชวิคเป็นพรรคที่มี

เสียงข้างมากซึ่งมีเลนินเป็นผู้นำมีมาตรการดำเนินนโยบายทางเศรษฐกิจที่สำคัญ2ประการได้แก่นโยบาย

สงครามคอมมิวนิสต์และนโยบายเศรษฐกิจใหม่

นโยบายสงครามคอมมิวนิสต์ เป็นนโยบายที่ยกเลิกกรรมสิทธิ์ต่าง ๆ ของเอกชนส่วนใหญ่มาเป็น

ของรัฐและบังคับนำผลิตผลส่วนเกินทางการเกษตรจากชาวนามาเป็นของรัฐและแบ่งผลิตผลอุตสาหกรรม

ของรัฐไปให้แก่ชาวนายกเลิกระบบเงินตราหันไปใช้วิธีปันส่วนจากรัฐบาลส่วนนโยบายเศรษฐกิจใหม่ เป็น

นโยบายที่ยอมรับการดำเนินงานของระบบตลาดเข้ามาประยุกต์กับระบบสังคมนิยมหันมาใช้ระบบเงินตรา

และยินยอมให้เอกชนมีโอกาสเป็นเจ้าของโรงงานขนาดเล็ก

สหภาพโซเวียตรุสเซียเริ่มมีแผนพัฒนาเศรษฐกิจแบบเป็นทางการมาตั้งแต่ค.ศ.1928โดยมีแผน

5ปีในฉบับที่1ถึงฉบับที่6แผนฉบับที่7มีระยะเวลา7ปีและต่อมามีแผน5ปีจนถึงฉบับที่11ซึ่งมีระยะ

เวลาตั้งแต่ค.ศ.1981-1985

แผนพัฒนาเศรษฐกิจ 5 ปี ฉบับแรกๆ เน้นความสำคัญของอุตสาหกรรมหนักเพื่อปูทางสำหรับ

การพัฒนาอุตสาหกรรม แผนฉบับหลัง ๆ เน้นถึงอุตสาหกรรมประเภทอุปโภคและบริโภคมากขึ้นเพื่อ

ยกระดับฐานะความเป็นอยู่ของประชาชน ในค.ศ. 1985มีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางเศรษฐกิจใหม่

ในยุคของกอร์บาชอฟเรียกว่าการปฏิรูปเปเรสตรอยกาต่อมาในค.ศ. 1991มีการประกาศยกเลิกสหภาพ

โซเวียตอย่างเป็นทางการและเริ่มต้นเครือจักรภพรัฐอิสระภายใต้การนำของเยลด์ซิน โดยมีการปฏิรูปไปสู่

ระบบเศรษฐกิจแบบตลาด

สภาพ เศรษฐกิจ ทั่วไป ก่อน การ ปฏิวัติ

ลักษณะของการเกษตรกรรมของรุสเซียก่อนการปฏิวัติ ใช้ระบบนาแบบยุโรปตะวันตก และการ

เพาะปลูกใช้วิธีการล้าหลังไม่มีเทคโนโลยีใหม่ๆหลักการของพรรคการเมืองที่นิยมในความคิดของมาร์กซ์

คือพรรคสังคมนิยมประชาธิปไตยมีความเห็นว่าการเปลี่ยนแปลงในระบบทุนนิยมมาเป็นสังคมนิยมนั้น

จะต้องมีการปฏิวัติระบบนายทุนโดยชนชั้นกรรมาชีพแต่ต่อมาแยกออกเป็นเมนเชวิคและบอลเชวิค

การ เปลี่ยน ผ่าน สู่ ระบบ สังคมนิยม

นโยบายสงครามคอมมิวนิสต์ เน้นการบังคับนำผลิตผลจากชาวนา ในขณะที่นโยบายเศรษฐกิจ

ใหม่ยอมให้มีระบบตลาดและหันไปใช้วิธีเก็บภาษีจากผลิตผลแทนเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นเมื่อมีการใช้นโยบาย

เศรษฐกิจใหม่ทำให้เศรษฐกิจดีขึ้น แต่ทำให้ราคาผลิตผลเกษตรกรรมลดลง ในขณะที่ราคาผลิตผล

อุตสาหกรรมสูงขึ้นและท้ายที่สุดนำไปสู่วิกฤติการณ์กรรไกร

มสธ มสธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ

4-61แนวคิดการพัฒนาเศรษฐกิจ

เศรษฐกิจ ภาย ใต้ การ วางแผน

การใช้ระบบนารวมในสหภาพโซเวียต เป็นการจัดระบบเกษตรกรรมเพื่อให้มีประสิทธิภาพในการ

ผลิตสูงขึ้นใช้เครื่องมือเครื่องจักรในการผลิตมากขึ้นโดยการรวมนาให้เป็นที่ดินผืนใหญ่ซึ่งแแบ่งออกเป็น

2ประเภทได้แก่นารวมและนารัฐนารวมคือการรวมนาเล็กๆ เข้าด้วยกันในรูปสหกรณ์ส่วนนารัฐคือนาที่

รัฐเป็นเจ้าของและดำเนินงานโดยตรงการบุกเบิกที่ดินที่ไม่เคยนำมาใช้ในการเพาะปลูกมีขึ้นในสมัยครุสชอฟ

เพื่อการเพิ่มผลิตผลทางการเกษตรแต่ไม่ได้ผลมากนักเพราะที่ดินแห้งแล้งขาดการชลประทานไม่เหมาะแก่

การเพาะปลูกจึงได้ผลิตผลที่ตกต่ำ

หลกัการของลิเบอร์มานใช้ระบบคำนวณเงนิโบนสัตามกำไรแทนความรวดเรว็ในการสง่มอบการผลติ

และการใช้หลักกำไรวัดประสิทธิภาพในการประกอบการการดำเนินงานตามแผนเศรษฐกิจต่างๆที่ประสบ

ความสำเร็จสูงที่สุดในการพัฒนาอุตสาหกรรมคือแผนเศรษฐกิจ5ปีฉบับที่2

3. กรณี ศึกษา การ พัฒนา เศรษฐกิจ ของ ประเทศ สาธารณรัฐ เกาหลีประเทศสาธารณรัฐเกาหลี(RepublicofKorea)หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่าเกาหลีใต้(SouthKorea)

ในภาษาเกาหลีเรียกชื่อประเทศเกาหลีว่าแดฮันมินกุกสำหรับการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศเกาหลีใต้เป็น

ตวัอยา่งที่ดีของการพฒันาเศรษฐกจิของประเทศพฒันาในภมูภิาคเอเชยีทัง้นี้การพฒันาเศรษฐกจิของประเทศ

เกาหลีใต้นั้นสามารถแบ่งออกเป็นยุคต่างๆ3ยุคด้วยกันได้แก่

ยุคที่1รัฐนำราษฎร์หนุน(ค.ศ.1962-1987)

ยุคที่2ราษฎร์นำรัฐหนุน(ค.ศ.1988–2002)

ยุคปัจจุบัน การสร้างความเสมอภาคทางสังคม (ค.ศ. 2003–ปัจจุบัน) ในแต่ละยุคของการพัฒนา

เศรษฐกิจนั้นสามารถอธิบายรายละเอียดได้ดังนี้

ยุค ที่ 1 รัฐ นำ-ราษฎร์ หนุน

สภาพสังคมสาธารณรัฐเกาหลีภายหลังสงครามเกาหลี(ค.ศ.1950–1953)เต็มไปด้วยความยากจน

รัฐบาลในสมัยนั้นจึงพยายามทุกทางที่จะให้ประชาชนมีกินมีใช้ในแต่ละวัน ด้วยการส่งเสริมให้ประชาชน

เพาะปลูกผลิตอาหาร และนำอาหารที่ได้รับการช่วยเหลือของนานาประเทศมาแจกจ่ายให้แก่คนยากไร้ เมื่อ

ความต้องการขั้นพื้นฐานได้รับการบำบัดรัฐบาลจึงสนับสนุนให้ผู้ประกอบการที่ยังหลงเหลืออยู่ผลิตสินค้า

อุปโภคบริโภคให้เพียงพอกับความต้องการของคนในชาติ อีกทั้งยังเรียกร้องให้นายทุนชาวอเมริกันเข้ามา

ผลิตสินค้าในเกาหลีแทนที่จะต้องนำเข้าจากต่างประเทศเมื่อเวลาผ่านไปหลายปีสภาพการณ์ทางเศรษฐกิจ

เริ่มกลับฟื้นตัวขึ้นมาเรื่อยๆ จนกระทั่งสหรัฐอเมริกาเห็นว่าเกาหลีใต้สามารถช่วยเหลือตัวเองได้บ้างแล้วจึง

ตัดทอนปริมาณและมูลค่าการช่วยเหลือแบบให้เปล่าลง

อย่างไรก็ตาม สถานการณ์ทางด้านเศรษฐกิจและสังคมของเกาหลีก็ยังอยู่ในสภาพย่ำแย่ เช่น

อัตราความเจริญทางเศรษฐกิจต่ำกว่าอัตราการขยายตัวของพลเมือง อัตราการออมภายในมีเพียงร้อยละ 3

เงินช่วยเหลือจากสหรัฐอเมริกา383ล้านดอลลาร์สหรัฐนั้นคิดเป็นจำนวนถึงร้อยละ14ของมูลค่าผลิตภัณฑ์

มวลรวมประชาชาติในปีค.ศ.1957ซึง่เงนิจำนวนดงักลา่วจะถกูตดัทอนลงราว60-100ลา้นดอลลารส์หรฐัตอ่ป ี

มสธ มสธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ

4-62 สังคมไทยกับการบริหารการส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร

เป็นต้นเมื่อคณะปฏิวัติยึดอำนาจในตอนเช้าตรู่ของวันที่16พฤษภาคมค.ศ.1961หัวหน้าทางการทหารหรือ

เรียกว่ารัฐบาลรักษาการทหาร(ค.ศ.1961-1962)คือนายพลปักจุงฮีจึงประกาศนโยบายที่จะเข้ามาแก้ไข

ปัญหาทางด้านเศรษฐกิจอย่างจริงจัง แต่เป็นการเน้นการผลิตสินค้าประเภทอุตสาหกรรมเพื่อการส่งออก

หรือที่เรียกนโยบายหลักของการพัฒนาเศรษฐกิจนี้ว่า“นโยบายการมองออกไปสู่ภายนอก”(outward-looking

policy)นั่นเอง เหตุผลเบื้องหลังของการประกาศนโยบายมองออกไปสู่ภายนอกแทนการพัฒนาตามยุทธวิธี

การผลิตเพื่อทดแทนการนำเข้าและไม่ยึดการพัฒนาเกษตรกรรมซึ่งเป็นพื้นฐานทางเศรษฐกิจของเกาหลีมา

ตั้งแต่ครั้งโบราณกาลเพราะในปริบทของเกาหลีนั้นมีจุดด้อยได้แก่

(1) พื้นที่ของประเทศมีขนาดเล็กโดยมีพื้นที่ทั้งหมดราวหนึ่งในห้าของเนื้อที่ประเทศไทยแต่

มีจำนวนพลเมืองมากส่วนพื้นที่ที่สามารถทำเกษตรกรรมได้มีเพียงร้อยละ20ของพื้นที่ทั้งหมดเท่านั้นทำให้

ไม่สามารถพัฒนาประเทศโดยยึดการเกษตรกรรมเป็นหลักได้

(2) การลดจำนวนเงินช่วยเหลือจากต่างประเทศลงไปทำให้เกาหลีใต้จำเป็นต้องหาเงินตรา

เพื่อซื้อสินค้าจากต่างประเทศทั้งที่เป็นอาหารสินค้าอุปโภคบริโภคและอื่นๆจึงจำเป็นที่จะต้องยึดนโยบาย

การผลิตเพื่อการส่งออก ข้อจำกัดที่กล่าวถึงนี้เป็นสิ่งที่รัฐบาลเกาหลีใต้ในยุคนั้นต้องตระหนักถึงผลกระทบ

หากต้องวางแผนพัฒนาประเทศในระยะยาว ในขณะเดียวกัน รัฐบาลส่งคนไปดูงานและศึกษาความเป็นไป

ได้ยังประเทศอุตสาหกรรมในยุโรป ซึ่งประเทศเหล่านี้มีขนาดไม่ใหญ่โตนัก แต่เคยเป็นชาติมหาอำนาจทาง

เศรษฐกิจมาแล้วทั้งสิ้น นอกจากนี้ตัวอย่างของญี่ปุ่นก็ได้รับการศึกษาอย่างละเอียดจากกลุ่มนักวิชาการ

เกาหลีเพื่อพิจารณารูปแบบการกำหนดนโยบายและการดำเนินงานเพื่อการพัฒนานับตั้งแต่อดีตผลจากการ

ศึกษาตัวอย่างดังกล่าวแล้วนำมาผสมผสานกับข้อจำกัดที่เกาหลีมีอยู่ทำให้ผู้นำประเทศ(คือนายพลปักจุงฮี

ดำรงตำแหน่งเป็นประธานาธิบดีในยุคสาธารณรัฐที่สามและยุคสาธารณรัฐที่4(ระหว่างปีค.ศ.1962-1979)

เลือกการพัฒนาที่จะทำให้เกาหลีกลายเป็นสังคมอุตสาหกรรมอนึ่งการเลือกแนวทางการพัฒนาตามแนวนี้

สหรัฐอเมริกามีอิทธิพลสำคัญต่อการตัดสินใจของผู้นำเกาหลีใต้เป็นอย่างมาก

ยุค ที่ 2 ราษฎร์ นำ-รัฐ หนุน

ในยุคที่ 2 ของการพัฒนาเศรษฐกิจนั้น ภาวะทางการเมืองมีส่วนเกื้อหนุนสำคัญที่จะยังผลให้การ

พัฒนาบรรลุเป้าหมายได้เร็วหรือช้า เพราะการเมืองเป็นตัวชี้นำให้รัฐทุ่มเททรัพยากรและหล่อหลอมจิตใจ

ของคนทั้งชาติให้ก้าวไปสู่จุดหมายเดียวกันกรณีของเกาหลีเป็นตัวอย่างที่แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่าความ

สำเร็จในการพัฒนาเศรษฐกิจเป็นผลมาจากการรวบอำนาจทางการเมืองไว้กับคนกลุ่มหนึ่งภายใต้การนำของ

พรรคการเมืองของรัฐบาล และผู้นำทางการเมืองต่างใช้อำนาจของตนผลักดันให้เกิดการพัฒนา แทนที่จะ

เบียดบังทรัพย์สินของแผ่นดินไปเป็นของตนดังเช่นผู้นำเผด็จการของประเทศด้อยพัฒนาอื่นๆในแง่ผลดี

นั้นอาจจำแนกได้หลายประเด็นดังนี้

(1) การรวบอำนาจทำให้ผู้นำสามารถกำหนดเป้าหมายของการพัฒนาไปในทิศทางหนึ่งได้

ประเด็นนี้มีความสำคัญมากในระยะเริ่มต้นและขั้นต่อเนื่องก่อนที่อุตสาหกรรมของประเทศจะอยู่ในภาวะที่

มั่นคงหรือเจริญเติบโตเต็มที่ทั้งนี้เพราะหากมีการเปลี่ยนแปลงเป้าหมายของการพัฒนาบ่อยๆตามแนวคิด

ของแต่ละกลุ่มแล้วจะทำให้การดำเนินงานตามเป้าหมายหลักต้องหยุดชะงักลงและจะทำให้มีการเริ่มต้นใหม่

มสธ มสธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ

4-63แนวคิดการพัฒนาเศรษฐกิจ

กันอีกแม้ว่าแนวคิดแต่ละกลุ่มนั้นต่างก็มีเหตุมีผลด้วยกันทั้งสิ้นแต่การที่จะทำให้บรรลุเป้าหมายของคนทุก

กลุม่ในเวลาเดยีวกนัดว้ยทรพัยากรที่มีอยู่อยา่งจำกดันัน้คงเปน็ไปได้ยากฉะนัน้จงึจำเปน็ตอ้งเลอืกเปา้หมาย

หนึ่งแล้วทุ่มเททรัพยากรทุกอย่างเพื่อดำเนินการพัฒนาให้เกิดผลสัมฤทธิ์โดยเร็วในกรณีนี้การปกครองแบบ

เผด็จการในรูปของประชาธิปไตยจึงเป็นหนทางหนึ่งที่ก่อให้เกิดผลดีในการเลือกเป้าหมายและยุทธวิธีการ

พัฒนา

(2) ก่อให้เกิดการสะสมทุนขึ้นในประเทศเพื่อใช้ในการขยายธุรกิจอุตสาหกรรม เพราะการ

รวบอำนาจมีผลทำให้นักธุรกิจสามารถลดต้นทุนการผลิตด้วยการจ่ายค่าแรงต่ำ ผลกำไรที่เกิดขึ้นนำไปใช้

ในการลงทุนต่อไปอย่างไรก็ตามในกรณีนี้ก่อให้เกิดการกระจุกตัวของทรัพย์สินในมือของกลุ่มธุรกิจขนาด

ใหญ่หรือที่เรียกกันในภาษาเกาหลีว่าแชโบล์ (chaebol)หากรัฐบาลไม่ระมัดระวังแล้วคนกลุ่มนี้อาจก่อให้

เกิดปัญหาทางการเมืองต่อไปประเทศเกาหลีใต้ตระหนักถึงความจริงข้อนี้ตั้งแต่ทศวรรษที่ 1970 และออก

กฎหมายหลายฉบับเพื่อป้องกันการกระจุกตัวของกลุ่มนายทุนผลที่ได้รับเป็นที่น่าพอใจระดับหนึ่ง

(3) การรวบอำนาจทำให้ผู้นำประเทศสามารถบังคับกลไกของรัฐให้ตอบสนองเพื่อให้บรรลุ

เป้าหมายของการพัฒนาได้โดยง่ายโดยเฉพาะอย่างยิ่งการปรับปรุงระบบบริหารงานของรัฐศักราชแห่งการ

เข้มงวดและควบคุมกิจกรรมทางการเมือง ซึ่งดำเนินมานานตั้งแต่ปี ค.ศ. 1962-1986ผ่านพ้นไปพร้อมๆ

กับฐานะทางเศรษฐกิจที่พัฒนามาถึงจุดที่แข็งแกร่งและการอุตสาหกรรมที่บรรลุขั้น“วุฒิภาวะ”(maturity

stage)หรอืเจรญิเทา่เทยีมอารยประเทศในขณะเดยีวกนัมวลชนเกาหลีได้รบัการศกึษาโดยทัว่ถงึกนัรวมทัง้

มีทักษะและความรู้เพียงพอเพื่อเข้าสู่สังคมอุตสาหกรรมประชาธิปไตยดังนั้นจุดเปลี่ยนผ่านทางการเมืองจึง

เกิดขึ้นในปีค.ศ.1987เมื่อนักการเมืองฝ่ายค้านนักศึกษาและประชาชนยื่นเจตจำนงอย่างแรงกล้าที่จะเข้า

ร่วมในกระบวนการทางการเมืองอย่างเต็มตัวผู้นำทางการเมืองฝ่ายรัฐบาลคนใหม่คือนายพลโรห์เตวู(ต่อมา

ดำรงตำแหน่งเป็นประธานาธิบดีในระหว่างปีค.ศ.1988–1992)ตอบสนองความต้องการของพรรคฝ่ายค้าน

และประชาชนโดยยอมให้มีการเปลี่ยนแปลงรัฐธรรมนูญตามข้อเสนอของพรรคฝ่ายค้านกล่าวคือให้มีการ

เลือกตั้งประธานาธิบดีโดยตรงจากประชาชนการกระทำดังกล่าวนับเป็นครั้งแรกที่ฝ่ายรัฐบาล “ยอมตาม”

พลังเรียกร้องของฝ่ายค้าน โดยสันติแทนการประกาศกฎอัยการศึกหรือรัฐประหารดังที่เคยเป็นมาในอดีต

ซึ่งก่อให้เกิดการปฏิรูปทางการเมืองการยอมตามของฝ่ายรัฐบาลยังผลให้มีการปรับเปลี่ยนรัฐธรรมนูญเพื่อ

ให้มีการเลือกตั้งผู้นำประเทศโดยตรง จากผู้มีสิทธิ์ออกเสียงเลือกตั้งอย่างรีบเร่ง ก่อนที่นายพลชุนดูฮวาน

จะหมดวาระการดำรงตำแหน่งลงในวันที่25กุมภาพันธ์ค.ศ.1988ดังนั้นคณะกรรมการแก้ไขรัฐธรรมนูญ

จึงได้รับการแต่งตั้งและร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่จนเสร็จสมบูรณ์ภายในระยะเวลา1เดือนต่อมารัฐสภาผ่าน

ร่างกฎหมายดังกล่าวในวันที่ 12ตุลาคมค.ศ. 1987 และประชาชนรับรองกฎหมายใหม่ด้วยคะแนนเสียง

ประชามติอย่างท่วมท้นในวันที่ 27 เดือนเดียวกัน รัฐบาลจึงประกาศใช้ฐธรรมนูญฉบับนี้ในวันที่ 30 ของ

เดือนเดียวกันนั้นเอง กล่าวโดยสรุปนโยบายสำคัญในยุคที่สองนี้คือ การลดบทบาทโดยตรงของรัฐในการ

เข้าแทรกแซงการพัฒนาเศรษฐกิจโดยปล่อยให้เป็นไปตามกลไกของตลาดมากยิ่งขึ้น

มสธ มสธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ

4-64 สังคมไทยกับการบริหารการส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร

ยุค ที่ 3 หรือ ยุค ปัจจุบัน การ สร้าง ความ เสมอ ภาค ทาง สังคม

ในช่วงปลายทศวรรษ1990เกาหลีใต้ประสบความสำเร็จในการพัฒนาประเทศสูงสุดจนมีการกล่าว

ขวัญกันว่าเป็น “มหัศจรรย์ในผลงานของมนุษย์บนฝั่งแม่น้ำฮั่น” (Man-mademiracle on theHanRiver)

กลา่วคอืกรงุโซลได้รบัเกยีรติให้เปน็เจา้ภาพจดัการแขง่ขนักฬีาเอเชยีนเกมส์ในปีค.ศ.1986และกฬีาโอลมิปคิ

ฤดูร้อนในปี ค.ศ. 1988ประเทศมีขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับที่ 11 ของโลกประชากรมีรายได้ต่อหัว

10,560 ดอลลาร์สหรัฐต่อคนต่อปี ขนาดและปริมาณการลงทุนจากกลุ่มบริษัทภายในและต่างประเทศเพิ่ม

สูงขึ้นอย่างรวดเร็วเกาหลีใต้เข้าเป็นสมาชิกองค์การความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา(OECD)หรือ

องค์กรของกลุ่มประเทศร่ำรวยซึ่งเป็นดัชนีที่ชี้ให้เห็นถึงความสำเร็จในการพัฒนาประเทศในช่วงสามสิบปีที่

ผ่านมา ยังผลให้คนเกาหลีต่างดีใจและมีความเชื่อมั่นในความสามารถสูงที่สุดอย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน

สิ่งเหล่านี้เองนำไปสู่การใช้จ่ายในชีวิตประจำวันอย่างฟุ่มเฟือยและลดความขยันขันแข็งในการทำงานลงหรือ

ที่เรียกว่า“โรคเกาหลี”อีกทั้งมีการลงทุนในธุรกิจอุตสาหกรรมที่ไม่ระมัดระวังและไตร่ตรองอย่างรอบคอบ

จนทำให้เกดิวกิฤติเศรษฐกจิจนรฐับาลตอ้งไปขอกู้เงนิจากกองทนุการเงนิระหวา่งประเทศในเดอืนพฤศจกิายน

ค.ศ.1997เป็นจำนวนเงินถึง57พันล้านดอลลาร์สหรัฐซึ่งถือเป็นประเทศที่สามในทวีปเอเชียที่เกิดปัญหา

ต่อจากประเทศไทยและอินโดนีเซียในปีเดียวกัน

“โรคเกาหลี”เปน็คำที่ประธานาธบิดีคมิยงัแซม(ดำรงตำแหนง่ระหวา่งปีค.ศ.1993–1997)ใช้อธบิาย

สภาพสังคมเกาหลีในช่วงทศวรรษ1990ที่เขาขึ้นดำรงตำแหน่งเป็นประมุขของประเทศอาการของโรคนี้คือ

การสูญเสียความขยันหมั่นเพียรในการทำงานและค่านิยมที่ดีค่อยๆ เสื่อมหายไปเพราะความอยุติธรรมการ

คอรัปชั่นความเกียจคร้านการไร้เหตุผลความเฉื่อยชาการทะเลาะเบาะแว้งและการเห็นแก่ประโยชน์ส่วน

ตัวเป็นหลักทำให้ความเชื่อมั่นในตัวเองค่อยๆหายไปและกลับไปยอมรับความพ่ายแพ้ประธานาธิบดีคิม

ประกาศนโยบายในการปฏิรูปสังคมเพื่อเยียวยารักษาโรคเกาหลีได้แก่การให้ความสำคัญต่อชาติบ้านเมือง

เพื่อสร้างจิตสำนึกถึงเป้าหมายของชาติในการทำให้ประเทศก้าวหน้าทางเศรษฐกิจและสังคมเฉกเช่นประเทศ

ชั้นนำของโลกแต่ความพยายามดังกล่าวไม่ค่อยเป็นผล วิกฤติเศรษฐกิจครั้งร้ายแรงที่สุดในประวัติศาสตร์

ยุคใหม่ของเกาหลีใต้เป็นผลมาจากปัจจัยหลักอีกปัจจัยหนึ่ง นั่นคือ แชโบล์ หรือกลุ่มธุรกิจขนาดใหญ่ คน

เกาหลีส่วนใหญ่ต่างเชื่อว่า ปัญหาวิกฤติดังกล่าวเป็นเพราะแชโบล์ไม่ได้ใช้ความคิดและการปฏิบัติการอย่าง

รอบคอบในการลงทุนและไม่สนใจต่อการบริหารที่เน้นประสิทธิภาพ อีกทั้งดำเนินธุรกิจผิดพลาดมากมาย

จนต้องกู้ยืมเงินจำนวนมหาศาลจากสถาบันการเงินทั้งในและต่างประเทศ

แชโบล์ขยายกิจการในธุรกิจต่างๆหลายสาขาโดยไม่คำนึงว่ากิจการนั้นจะนำผลกำไรมาให้หรือไม่

มีการเปรียบเทียบการขยายตัวแบบนี้ว่าเป็นเสมือนปลาหมึกที่พยายามทำธุรกิจในกิจการทุกสาขา โดยใช้

เงินกู้เป็นหลักในการสร้างธุรกิจใหม่ๆอนึ่งโครงสร้างของแชโบล์ผูกพันระหว่างบริษัทแม่กับบริษัทลูกอย่าง

แน่นแฟ้นหากบริษัทลูกเกิดปัญหาก็จะให้บริษัทอื่นในกลุ่มเข้าไปซื้อผลผลิตและให้การสนับสนุนทางด้าน

การเงินหรือถ่ายเทบุคลากรออกไปนอกจากนี้แชโบล์มีการบริหารงานแบบครอบครัวมีการถ่ายทอดกิจการ

ไปยังลูกชายของเจ้าของทำให้เกิดความไม่คล่องตัวและเป็นการบริหารงานที่ไม่มีประสิทธิภาพเมื่อเกิดวิกฤติ

ของเศรษฐกิจขึ้นความภาคภูมิใจในความสำเร็จในด้านการพัฒนาสะดุดหยุดลงโดยทันทีความอับอายและ

ความเสียใจเข้ามาแทนที่และความโกรธแค้นบังเกิดขึ้นในหัวใจของคนเกาหลีทั่วไปที่มองเห็นสังคมของตน

มสธ มสธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ

4-65แนวคิดการพัฒนาเศรษฐกิจ

มีคนกลุ่มเล็กๆมาทำลายทั้งที่เป็นนักการเมืองข้าราชการชั้นผู้ใหญ่เจ้าของธุรกิจอุตสาหกรรมขนาดกลาง

และขนาดใหญ่ซึ่งนำพาชาติไปสู่กาลวิบัติ

อย่างไรก็ตามประธานาธิบดีคิมเดจุง(ดำรงตำแหน่งระหว่างปีค.ศ.1998–2002)เข้ามากอบกู้ภาวะ

เศรษฐกิจจนได้รับความสำเร็จ สามารถคืนเงินกู้ให้กองทุนการเงินระหว่างประเทศจนหมดสิ้นภายใน 18

เดือนภายหลังเข้ารับตำแหน่งเป็นผู้นำประเทศ เป้าหมายของนายคิม เดจุงมี 5ประการ ได้แก่ผลักดันให้

ประเทศเป็นประชาธิปไตยและยึดมั่นในสิทธิมนุษยชน ขจัดอคติระหว่างภูมิภาคและพัฒนาประเทศให้เกิด

ความเท่าเทียมกัน เสริมสร้างสังคมเศรษฐกิจที่มีรากฐานแห่งความรู้ สร้างความมั่นคงในชีวิตแก่ผู้มีรายได้

ปานกลางและรายได้น้อยและสานต่อความสัมพันธ์กับเกาหลีเหนือเพื่อนำดินแดนบนคาบสมุทรเกาหลีไปสู่

ยุคสันติภาพและความมั่นคง

นอกจากนี้นายคมิยงัประกาศให้เกาหลใีต้เปน็ศนูยก์ลางดา้นการคา้และวฒันธรรมของภมูภิาคเอเชยี

ตะวันออกภายใต้ชื่อว่าDynamicKorea:BusinessandCulturalHubofNortheastAsiaและพัฒนา

บริเวณโดยรอบของเมืองอินชอนให้เป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษและเป็นแหล่งเงินทุนที่ทันสมัยที่สุด (special

economiczone)จะเห็นได้ว่าเป้าหมายของการพัฒนาเริ่มเปลี่ยนไปโดยมีการเพิ่มมิติการกระจายรายได้

และสันติภาพบนคาบสมุทรควบคู่ไปกับความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจเป้าหมายนี้เน้นอย่างเด่นชัดมากขึ้น

เมื่อนายโรห์มูเฮียนได้รับเลือกให้เป็นประธานาธิบดีและประกาศนโยบายในวันเข้ารับตำแหน่งเมื่อวันที่25

กุมภาพันธ์ค.ศ.2003ว่ารัฐบาลของเขาจะปรับปรุงคุณภาพชีวิตและการมีส่วนร่วมในสวัสดิการสังคมและ

การกระจายอำนาจทางการเมืองและพัฒนาประเทศให้เท่าเทียมกันอันเป็นนโยบายที่เพิ่มเติมจากการสานต่อ

การพัฒนาเศรษฐกิจต่อจากนโยบายของประธานาธิบดีคนก่อน

นายโรห์ย้ำถึง“การขจัดการแบ่งแยกการยึดถือกลุ่มและช่องว่างระหว่างคนรวยกับคนจน”(Discri-

mination, parochialism and the gap between the haves and have-nots) ซึ่งถือว่าเป็นนโยบายใหม่ที่

รัฐบาลของเกาหลีใต้ประกาศอย่างชัดเจนและพยายามดำเนินการให้เกิดผล อันเป็นการตอบสนองความ

ประสงค์ของผู้เลือกตั้งที่สนับสนุนตัวเขาซึ่งส่วนใหญ่เป็นคนหนุ่มสาว คนงาน กรรมกรและผู้ด้อยโอกาส

ทางสังคมที่เล็งเห็นว่า ในอดีตที่ผ่านมา คนกลุ่มเล็ก ๆ ผูกขาดสังคมเกาหลีในขณะที่คนส่วนใหญ่ได้รับ

การกีดกันไม่ให้มีส่วนร่วมทางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคมอย่างเท่าเทียมกัน จึงถือได้ว่า นโยบายนี้เป็น

มิติใหม่ของการพัฒนาประเทศสาธารณรัฐเกาหลีโดยแท้ นโยบายพัฒนาสังคมได้รับการริเริ่มสร้างขึ้นทันที

ภายหลังที่นายโรห์เป็นประธานาธบิดีตอ่มาในปีค.ศ.2004รฐับาลเน้นการปรับปรงุระบบสวัสดิการสงัคมดว้ย

การทุ่มงบประมาณถึง12หมื่นล้านวอน(10.1พันล้านดอลลาร์สหรัฐ)หรือเพิ่มกว่าร้อยละ9ของงบส่วนนี้

ในงบประมาณของปีก่อนนับเป็นวงเงินสูงที่สุดเมื่อเทียบกับงบของรัฐบาลใด ๆ ก่อนนี้ โครงการสำคัญที่

เน้นได้แก่การสร้างงานใหม่การให้เงินอุดหนุนเพื่อการยังชีพแก่คนยากไร้การให้บริการรักษาพยาบาลฟรี

การสรา้งทีพ่กัและศนูย์ฝกึอาชพีแก่คนชราการตัง้ศนูย์รบัเลีย้งเดก็340แหง่ทัว่ประเทศแก่ลกูของสตรีที่ทำงาน

เต็มเวลา ส่วนปี ค.ศ. 2005 รัฐบาลย้ำถึงนโยบายการลดความแตกต่างของฐานะทางเศรษฐกิจระหว่าง

กลุ่มคนรวยกับกลุ่มคนจนลง และกำหนดงบประมาณมากกว่า 10 หมื่นล้านวอนในโครงการช่วยเหลือใน

โครงการยกเลิกหนี้สินให้แก่คนจนการสร้างงานใหม่สี่หมื่นตำแหน่งและการสนับสนุนธุรกิจขนาดเล็กและ

ขนาดกลางจำนวนสามหมื่นแห่งเป็นต้น

มสธ มสธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ

4-66 สังคมไทยกับการบริหารการส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร

เกาหลีใต้ กับ การ พัฒนา อุตสาหกรรม ใน ประเทศ

การพัฒนาอุตสาหกรรมเป็นแนวทางหนึ่งในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศเกาหลีใต้ จาก

อุตสาหกรรมที่ใช้แรงงานมาสู่อุตสาหกรรมหนักเพื่อการส่งออกรัฐบาลเกาหลีใต้เน้นการพัฒนาอุตสาหกรรม

เพื่อการส่งออกด้วยการให้ความช่วยเหลือและสนับสนุนทุกวิถีทางตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจฉบับที่1(ค.ศ.

1961–1966) ในขณะเดียวกันขยายอุตสาหกรรมทดแทนการนำเข้าที่สำคัญซึ่งได้แก่อุตสาหกรรมการผลิต

ถา่นหนิซิเมนต์ปุย๋เหลก็กลา้และโรงกลัน่นำ้มนัเปน็ตน้ในแผนพฒันาฉบบัที่2(ค.ศ.1967–1971)รฐับาลเนน้

การขยายฐานของโครงสรา้งอตุสาหกรรมสง่ออกให้ใหญ่ยิง่ขึน้เพือ่เพิม่ศกัยภาพการแขง่ขนัสนิคา้อตุสาหกรรม

ในตลาดโลกด้วยการเร่งระดมเงินทุนและการลงทุนจากต่างประเทศ รัฐบาลเกาหลีใต้ปรับใช้แนวความคิด

ของนักทฤษฎีความทันสมัยตั้งแต่แรกเริ่มในการพัฒนาประเทศแล้วดังจะเห็นได้ว่า เนื้อหาของแผนพัฒนา

ฉบับที่1ย้ำถึงบทบาทของรัฐที่จะเข้าไปทำหน้าที่กำหนดมาตรการจูงใจเพื่อขยายการส่งออก

อนึ่งปัจจัยสำคัญที่ทำให้บทบาทของรัฐสามารถดำเนินการให้บรรลุผลตามเป้าหมายคือเจตนารมณ์

ของผู้นำประเทศและกลุ่มนักธุรกิจที่เห็นพ้องต้องกันกับนโยบายส่งเสริมการส่งออกในสินค้าประเภท

อุตสาหกรรมเพื่อความเจริญก้าวหน้าของประเทศ อย่างไรก็ตาม จะขอกล่าวในที่นี้ว่า มาตรการส่งเสริม

การส่งออกในระยะแรกเริ่มจะมีลักษณะเป็นแบบลองผิดลองถูกและมีการเพิ่มมาตรการชนิดต่างๆมากขึ้น

เรื่อยๆ แต่ในบางขณะก็ยกเลิกมาตรการบางอย่างที่ใช้ไม่ได้ผลทั้งนี้เพื่อต้องการย้ำว่าสูตรสำเร็จของนโยบาย

ดา้นนี้ไม่เปน็สิง่ที่แนน่อนตายตวัมกัจะแปรเปลีย่นไปตามสถานการณ์ของตลาดและการเมอืงของโลกอยู่เสมอ

รัฐบาลเกาหลีใต้มีบทบาทสำคัญในการแทรกแซงการดำเนินงานตามนโยบายส่งเสริมการส่งออกทั้งในส่วนที่

กำหนดมาตรการจูงใจให้การช่วยเหลือและสนับสนุนรวมทั้งตั้งสถาบันเพื่อทำหน้าที่ในด้านนี้โดยตรงตั้งแต่

ต้นทศวรรษที่1960เรื่อยมา

ต่อมาแผนพัฒนาประเทศฉบับที่ 3 (ค.ศ. 1972–1976) เน้นการพัฒนาอุตสาหกรรมหนักและ

เคมีภัณฑ์ ทั้งนี้เพราะเล็งเห็นว่า การแข่งขันราคาสินค้าอุตสาหกรรมที่ใช้แรงงานมากจะเกิดขึ้นอย่างรุนแรง

กับสินค้าประเภทเดียวกันจากประเทศกำลังพัฒนาทั่วโลกที่เร่งรัดการพัฒนาอุตสาหกรรมประเภทนี้ ทำให้

รัฐบาลเกาหลีใต้หันไปพัฒนาการผลิตสินค้าประเภททุนเช่นเรือเดินสมุทรเครื่องจักรรถยนต์และรถบรรทุก

ตู้เย็นเครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆและเคมีภัณฑ์เป็นต้นเมื่อรัฐบาลกำหนดกลยุทธ์ในการพัฒนาไว้แบบนี้บริษัท

เอกชนจึงขานรับและทุ่มเทการลงทุนเพื่อผลิตสินค้าดังกล่าวโดยได้รับการสนับสนุนทุกทางจากภาคราชการ

อตุสาหกรรมไอทีและเทคโนโลยีระดบัสงูนบัตัง้แต่ตน้ทศวรรษ1990กลุม่บรษิทัซมัซงุและแอลจีซึง่

เปน็ผูน้ำในการผลติสนิคา้ประเภทอเิลก็ทรอนกิส์เรง่พฒันาการผลติสนิคา้ประเภทคอมพวิเตอร์และเครือ่งมอื

สือ่สารคมนาคมในขณะเดยีวกนับรษิทัขนาดกลางและขนาดใหญ่อืน่ๆ ตา่งเรง่ลงทนุในอตุสาหกรรมประเภท

นี้ ทำให้มีการพัฒนาสินค้าประเภทแผงไอซี (integrated circuit) เซมิ-คอนดัคเตอร์ (semi-conductor)

และอุปกรณ์ด้านเทคโนโลยีการสื่อสาร (information technology) ของเกาหลีใต้ เจริญก้าวหน้าไปอย่าง

รวดเร็วนับตั้งแต่ปีค.ศ.1997 เป็นต้นมาสินค้าที่ได้กล่าวถึงข้างต้นกลายเป็นตัวจักรสำคัญในวงการธุรกิจ

อุตสาหกรรมของเกาหลีใต้ โดยมีอัตราความเจริญเติบโตมากถึงร้อยละ 18.8ต่อปี ในปีค.ศ. 1997มูลค่า

การส่งออกสินค้าประเภทไอทีและผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวเนื่องกันมีราว31.3พันล้านดอลลาร์สหรัฐและเพิ่มเป็น

มสธ มสธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ

4-67แนวคิดการพัฒนาเศรษฐกิจ

51.761.1และ74.7พันล้านดอลลาร์สหรัฐในปีค.ศ.2001ปี2002และปี2003ตามลำดับทำให้สัดส่วน

ของสินค้าประเภทนี้มีมากกว่าร้อยละ 34 ของสินค้าส่งออกของประเทศทั้งหมดและยังผลให้เกาหลีใต้ได้

เปรียบดุลการค้ากับต่างประเทศเป็นจำนวนมาก

ประธานาธิบดีคิมเดจุง(ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีระหว่างค.ศ.1998–2002)ประกาศแผนพัฒนา

อุตสาหกรรมประเภทนี้ในปีค.ศ.2000ว่ารัฐบาลลงทุนก่อสร้างปัจจัยพื้นฐานของอุตสาหกรรมไอทีรณรงค์

ให้ครูและนักเรียนมีเครื่องคอมพิวเตอร์ใช้ในทุกห้องเรียน ข้าราชการทั้งพลเรือนและทหารต้องมีความรู้ใน

ด้านคอมพิวเตอร์สนับสนุนการเรียนรู้แบบe-learningและพัฒนาonlinegamesและcyberspaceใน

ยุคปัจจุบันรัฐบาลเกาหลีย้ำให้ใต้เป็นสังคมที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีชั้นสูง

บทบาท ของ รัฐบาล เกาหลีใต้ ใน การ ส่ง เสริม อุตสาหกรรม และ การ ส่ง ออก

บทบาทในการส่งเสริมอุตสาหกรรมและการส่งออกของรัฐบาลเกาหลีใต้ในทศวรรษที่1960เป็นไป

ในรูปของการจูงใจโดยการกำหนดสิทธิพิเศษทางภาษีอากรและระบบสิทธิพิเศษทางเงินกู้ชนิดต่างๆให้แก่

อุตสาหกรรมการส่งออกในการให้สิทธิพิเศษทางภาษีอากรนั้นมีมาตรการจูงใจประกอบไปด้วย

(1) การยกเว้นไม่เก็บค่าธรรมเนียมศุลกากรสินค้าวัตถุดิบที่นำเข้าและสินค้ากึ่งสำเร็จรูป

รวมทั้งสินค้าประเภททุนที่จะใช้ในการผลิตเพื่อการส่งออก

(2) การยกเว้นไม่เก็บภาษีทางอ้อมในวัตถุดิบกึ่งสำเร็จรูปและรายได้จากการส่งออก

(3) การให้ส่วนลดภาษีทางตรงในรายได้ที่ได้รับจากกิจกรรมส่งออก

(4) มีการตั้งกองทุนด้วยเงินที่เก็บมาจากภาษีเพื่อใช้ในการพัฒนาตลาดใหม่ในต่างประเทศ

และใช้ในการทดแทนการสูญเสียที่เกิดขึ้นจากการส่งออก

(5)การให้เงินทดแทนในค่าเสื่อมของทรัพย์สินถาวรที่ใช้ในการผลิตเพื่อการส่งออก

โดยตรง

ส่วนมาตรการจูงใจในระบบสิทธิพิเศษทางเงินกู้ได้แก่การให้สินเชื่อระยะสั้นและระยะยาวเพื่อซื้อ

สินค้าประเภทวัตถุดิบและการลงทุนนอกจากนี้ยังมีการยกเว้นภาษีการนำเข้าวัตถุดิบประเภทใช้สิ้นเปลือง

เช่น น้ำมันเชื้อเพลิง เป็นต้น อนึ่ง รัฐบาลประกาศใช้นโยบายปรับอัตราการแลกเปลี่ยนเงินตราเพื่อให้

สอดคล้องกับสถานการณ์ทางการค้าและเศรษฐกิจอยู่เสมอ รวมทั้งตั้งสถาบันเพื่อดำเนินการสนับสนุนการ

ส่งออกในหลายหน่วยงานซึ่งรัฐบาลสนับสนุนการส่งออกดังนี้

(1) การพัฒนาปัจจัยพื้นฐาน(infrastructuredevelopment)การลงทุนสร้างปัจจัยพื้นฐาน

เช่นท่าเรือท่าอากาศยานโทรศัพท์ ถนนหนทางและสิ่งปลูกสร้างอื่นๆในเขตเมืองและนิคมอุตสาหกรรม

ของประเทศสาธารณรัฐเกาหลี เป็นองค์ประกอบสำคัญที่ผลักดันให้ผู้ประกอบการและบริษัทอุตสาหกรรม

ตัดสินใจริเริ่มและขยายธุรกิจให้เจริญเติบโตอย่างรวดเร็วรัฐบาลให้ความสนใจและทุ่มการลงทุนสร้างปัจจัย

พื้นฐานนี้อย่างต่อเนื่องเพื่อรองรับกับการขยายตัวของธุรกิจอุตสาหกรรมของประเทศ

(2) การก่อตั้งบริษัทการค้าทั่วไป (general tradingcompanies) เนื่องจากอัตราส่วนการ

ส่งออกต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติของเกาหลีใต้ เพิ่มจากร้อยละ 5 ในปี ค.ศ. 1965มาเป็นร้อยละ

24.8 ในปี ค.ศ. 1975หรือคิดเป็นอัตราการเพิ่มถึงร้อยละ 40ต่อปีในช่วงเวลาดังกล่าว ในขณะเดียวกัน

มสธ มสธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ

4-68 สังคมไทยกับการบริหารการส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร

การนำสินค้าเข้าก็เพิ่มขึ้นในอัตราร้อยละ30ต่อปีกล่าวคือการนำเข้าคิดเป็นสัดส่วนต่อผลิตภัณฑ์มวลรวม

ประชาชาติจากร้อยละ13.2 ในปีค.ศ. 1965มาเป็นร้อยละ35.5 ในปีค.ศ. 1975ทำให้รัฐบาลเล็งเห็นถึง

ความจำเป็นที่จะจัดตั้งบริษัทการค้าทั่วไปเพื่อทำหน้าที่เฉพาะทางด้านการนำเข้าและส่งออกเพื่อให้สอดคล้อง

กับการขยายตัวทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็วของประเทศ

นอกจากนี้ แนวความคิดดังกล่าวยังเป็นผลมาจากการผันผวนของภาวะเศรษฐกิจโลก เช่น

การขึ้นราคาน้ำมันอย่างฉับพลันในปีค.ศ.1973–1974และลัทธิกีดกันทางการค้าประกอบกับประธานาธิบดี

ปัก จุงฮี ตั้งเป้าหมายภายหลังที่ได้รับเลือกเป็นผู้นำประเทศในปี ค.ศ. 1972 ว่า ในช่วงปลายทศวรรษ

ที่ 1970 เกาหลีใต้จะต้องส่งสินค้าออกมีมูลค่าเพิ่มขึ้นเป็น 10พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ดังนั้น ด้วยเหตุผล

ดังกล่าวข้างต้น รัฐบาลจึงมอบหมายให้กระทรวงการค้าและอุตสาหกรรมริเริ่มและให้การสนับสนุน

จัดตั้งบริษัทการค้าทั่วไปขึ้นในปี ค.ศ. 1975 ตามแบบของประเทศญี่ปุ่นและไต้หวันซึ่งได้รับความ

สำเร็จมาแล้ว รัฐบาลให้สิทธิพิเศษและช่วยเหลือทางด้านเงินทุนด้วยอัตราดอกเบี้ยต่ำมากแก่บริษัท

การค้าทั่วไปเพื่อให้สามารถขยายจำนวนและมูลค่าที่ส่งออกและนำเข้าเพิ่มมากขึ้น นอกจากนี้รัฐบาลยังจัด

งาน “วันส่งออก” โดยมอบเกียรติยศสูงสุดแห่งชาติให้แก่บริษัทการค้าที่สามารถขายสินค้ามีมูลค่าสูงสุด

ผลที่ได้รับคือ ในปี ค.ศ. 1980 บริษัทประเภทนี้สามารถส่งสินค้าออกเป็นอัตราร้อยละ 43.6 ของสินค้า

สง่ออกทัง้หมดและนำเขา้รอ้ยละ7.4(ในภาษาเศรษฐศาสตร์เรยีกวา่การได้เปรยีบดลุการคา้กลา่วคอืสดัสว่น

และมูลค่าการส่งออกมากกว่าการนำเข้า)

(3) การจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรม (industrial estates) รัฐบาลช่วยเหลือในการจัดตั้งนิคม

อุตสาหกรรม รวมทั้งนิคมการผลิตเพื่อการส่งออกโดยเฉพาะ และให้การบริการต่าง ๆ ที่จำเป็นในการ

ประกอบธุรกิจอุตสาหกรรมโดยคิดค่าบริการในอัตราต่ำเป็นพิเศษอนึ่งนิคมอุตสาหกรรมนี้เป็นแหล่งให้ชาว

ต่างประเทศเข้าไปลงทุนด้วยนิคมอุตสาหกรรมส่วนใหญ่ตั้งขึ้นในระหว่างปีค.ศ.1969–1970โดยที่รัฐบาล

ออกกฎหมายพิเศษให้นิคมต่างๆสามารถทำกระบวนการพิธีศุลกากรและเอกสารสำคัญณนิคมนั้นๆอัน

เป็นการให้ความสะดวกแก่ธุรกิจอุตสาหกรรมในการส่งออกผลการดำเนินงานตามนโยบายส่งเสริมการส่ง

ออกในช่วงทศวรรษที่ 1960และ1970 ได้รับความสำเร็จเป็นที่น่าพอใจมากนั่นคือมูลค่าการส่งออกเพิ่ม

ขึ้นอย่างรวดเร็วคือจาก54.8ล้านดอลลาร์สหรัฐในปีค.ศ.1962มาเป็น10.7พันล้านดอลลาร์ในปีค.ศ.

1970และ175พันล้านดอลลาร์ในปีค.ศ.1980(คิดเป็นร้อยละ2.4 11.7และ31.0ของมวลรวมประชาชาติ

ในช่วงปีเดียวกัน)ตามลำดับ

อย่างไรก็ตามผลเสียที่เกิดขึ้นตามมามีหลายประการโดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเกิดวิกฤติการณ์

ทางเศรษฐกิจของโลกในช่วงปีค.ศ.1979–1981ซึ่งผลผลิตตกต่ำมากทำให้อัตราความเจริญก้าวหน้าทาง

เศรษฐกิจติดลบถึงร้อยละ5.2 อันเป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ของสาธารณรัฐเกาหลี

นับตั้งแต่เริ่มพัฒนาเศรษฐกิจเป็นต้นมาอัตราเงินเฟ้อมีถึงร้อยละ32และดุลการชำระเงินขาดดุลเป็นจำนวน

มากนักเศรษฐศาสตร์อธิบายถึงวิกฤติการณ์ทางเศรษฐกิจครั้งนั้นว่ามีสาเหตุมาจากปัจจัยหลายประการซึ่ง

ไม่จำกัดเฉพาะแต่ความวุ่นวายทางการเมืองภายหลังอสัญกรรมของประธานาธิบดีปักจุงฮีในปีค.ศ.1979

เท่านั้นปัจจัยอื่นๆที่นำความหายนะมาสู่ภาวะเศรษฐกิจในช่วงนั้นได้แก่การที่รัฐบาลเข้าไปมีบทบาทเกิน

มสธ มสธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ

4-69แนวคิดการพัฒนาเศรษฐกิจ

ขอบเขตต่อการพัฒนาหรืออาจเรียกว่าการพัฒนาด้วยการนำของรัฐเป็นระยะเวลานานถึงสองทศวรรษซึ่ง

ย้ำการเกื้อหนุนภาคอุตสาหกรรมมากกว่าภาคเกษตรกรรม เน้นการพัฒนาเมืองมากกว่าชนบท ให้การช่วย

เหลือบริษัทใหญ่ ๆ มากกว่าบริษัทเล็ก และเน้นหนักอุตสาหกรรมเพื่อการส่งออกมากกว่าอุตสาหกรรมที่

ผลิตสินค้าเพื่อบริโภคภายในประเทศนอกจากนี้ยังก่อให้เกิดความไม่เท่าเทียมกันในโครงสร้างการปกป้อง

อุตสาหกรรมภายในของประเทศทำให้เกิดความล้าหลังในอุตสาหกรรมขนาดเล็กและขนาดกลางและทำให้

ตลาดภายในไม่เป็นไปตามธรรมชาติ เป็นต้น อนึ่ง การเร่งการพัฒนาโดยเฉพาะอย่างยิ่งอุตสาหกรรมหนัก

และเคมีภัณฑ์จำเป็นต้องใช้เงินลงทุนสูงมากแต่สถานการณ์เศรษฐกิจของโลกกลับผันแปรไปอย่างรวดเร็ว

เช่นการขึ้นราคาน้ำมันดิบอย่างรวดเร็วหลายครั้งภาวะเศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลกภายหลังการขึ้นราคาน้ำมันทั้ง

2ครั้งทำให้สินค้าเกาหลีที่ส่งออกไม่เป็นไปตามที่คาดหมายเกาหลีจึงจำเป็นต้องกู้ยืมเงินจากต่างประเทศเข้า

มาอัดฉีดให้เศรษฐกิจของประเทศสามารถดำเนินอยู่ต่อไปได้ทำให้หนี้ต่างประเทศเพิ่มขึ้นจาก16.8พันล้าน

ดอลลาร์สหรัฐในปี ค.ศ. 1978 เป็น 43พันล้านดอลลาร์สหรัฐในปี ค.ศ. 1984 และประเทศนี้กลายเป็น

ลูกหนี้อันดับที่สี่ของโลก

ประการสดุทา้ยการที่รฐับาลเขา้แทรกแซงดว้ยการปอ้งกนัและใหก้ารอดุหนนุการสง่ออกทำให้

บริษัทใหญ่ซื้อกิจการบริษัทที่ตั้งขึ้นใหม่ มีการกว้านซื้อที่ดินเพื่อการเก็งกำไร และบริษัทใหญ่ ๆ ก็เพิกเฉย

ไม่สนใจในการพัฒนาเทคโนโลยีหรือการวิจัยพัฒนา (research anddevelopment) ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญ

ต่อการขยายตัวด้านการส่งออกอย่างแท้จริง ดังนั้น การปรับปรุงแก้ไขโครงสร้างทางเศรษฐกิจอย่างรีบเร่ง

มีการกระทำกันเพื่อให้เหมาะสมกับทศวรรษใหม่ในระหว่างปีค.ศ.1980–1990 ช่วงต่อมาในสหัสวรรษใหม่

ภาคเอกชนเป็นตัวจักรสำคัญในการพัฒนาตามระบบเศรษฐกิจเสรีที่กลไกตลาดมีบทบาทสำคัญในการดำเนิน

ธุรกิจอุตสาหกรรมในขณะที่รัฐบาลทำหน้าที่กำหนดกรอบกว้างๆ

อุตสาหกรรม วัฒนธรรม กับ การ ส่ง เสริม สินค้า เกาหลี ใน ตลาด โลก

รัฐบาลเกาหลีใต้เล็งเห็นความจำเป็นที่จะส่งเสริมการเผยแพร่วัฒนธรรมเกาหลีไปสู่ประชากร

ทั่วโลกเพื่อหวังผลให้ผู้คนรู้จักประเทศเกาหลีอันก่อให้เกิดประโยชน์ดังนี้

(1) การซื้อสินค้าเกาหลีที่ส่งออกไปขายยังต่างประเทศและ

(2) ชักชวนนักท่องเที่ยวเดินทางเข้ามายังเกาหลีจำนวนมากยิ่งขึ้น

นอกจากนี้ รัฐบาลเกาหลียังประสงค์ที่จะให้เกาหลีเป็นข่าวในสื่อมวลชนทั่วโลกอยู่อย่าง

ต่อเนื่อง จึงส่งเสริมให้บรรจุเนื้อหาสาระเกี่ยวกับประเทศเกาหลีในหลักสูตรชั้นประถมศึกษาจนถึงขั้น

อุดมศึกษาของประเทศต่าง ๆทั้งนี้เพื่อเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับสังคมเกาหลีให้เป็นที่รู้จักแพร่หลาย

อีกหนทางหนึ่ง ท่ามกลางสภาวะวิกฤติทางเศรษฐกิจในตอนปลายทศวรรษที่ 1990 รัฐบาลเกาหลีใต้เร่ง

ส่งเสริมให้ขยายอุตสาหกรรมทางวัฒนธรรม (cultural industry) ให้มีความแข็งแกร่ง นายปัก ไจวอน

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรมและการท่องเที่ยวของรัฐบาลนายคิมเดจุง(ค.ศ.1998–2002)ประกาศ

นโยบายเสริมสร้างปัจจัยพื้นฐานทางวัฒนธรรมนับตั้งแต่ปี ค.ศ. 2000 เป็นต้นไป เช่น เร่งก่อสร้างศูนย์

วัฒนธรรมและศิลปะขนาดใหญ่(agiantculturalandartcomplex)ที่เขตโซคกวานทางทิศตะวันออก

เฉียงเหนือของกรุงโซลบนที่ดินส่วนหนึ่งของมหาวิทยาลัยโซลแห่งชาติส่วนทางตอนใต้ของกรุงโซลนั้นมีการ

มสธ มสธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ

4-70 สังคมไทยกับการบริหารการส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร

ขยายศูนย์ศิลปะแห่งกรุงโซล(SeoulArtsCenter)และศูนย์ศิลปะการแสดงพื้นเมืองแห่งชาติ(National

Center for KoreanTraditional PerformingArts) อีกทั้งมีแผนในการปรับปรุงเส้นทางคมนาคมเพื่อ

ให้ผู้คนที่อาศัยอยู่ทางตอนเหนือของกรุงโซลสามารถเดินทางไปยังศูนย์ต่าง ๆ ได้อย่างสะดวกนอกจากนี้

รัฐบาลปรับปรุงศูนย์วัฒนธรรมกษัตริย์เซจอง(SejongCulturalCenter)และโรงละครแห่งชาติ(National

TheaterofKorea)ที่ตัง้อยู่ใจกลางของกรงุโซลให้ทนัสมยัขึน้อกีดว้ย รวมทัง้สง่เสรมิปรบัปรงุและขยายศนูย์

วัฒนธรรมที่ตั้งอยู่นอกกรุงโซลจำนวน 30 แห่งทั่วประเทศเพื่อให้เกาหลีเป็น “เมืองวัฒนธรรม” (Cultural

District)ของภูมิภาคเอเชียตะวันออกไกล

กระทรวงวัฒนธรรมและการท่องเที่ยวทุ่มเงินกว่า50พันล้านวอนเพื่อทำภาพยนตร์สารคดี

ซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์ สิ่งตีพิมพ์ ดนตรีและข้อมูลที่เกี่ยวกับเกาหลีเพื่อส่งไปเผยแพร่ยังประเทศต่าง ๆ

ทั่วโลกอนึ่งกระทรวงฯจัดให้ปีค.ศ.2001เป็นปีแห่งการท่องเที่ยวเกาหลี(VisitKoreaYear2001)โดยมี

การจัดงานทั่วประเทศเช่นเทศกาลการเล่นสกีและหิมะเทศกาลทางทะเลที่เกาะเชจูเทศกาลการซื้อของและ

แฟชั่นนานาชาติเทศกาลกีฬาเทกวนโดเทศกาลภาพยนตร์เทศกาลโสมเทศกาลดนตรีเทศกาลอาหารและ

เทศกาลระบำหน้ากากแห่งเมืองอันดงอย่างต่อเนื่องตลอดทั้งปีและสร้างกระแสวัฒนธรรมเกาหลี(Korean

wave) หรืออีกชื่อหนึ่งว่าK-Pop(อ่านว่าเคป๊อป)มาจากคำภาษาอังกฤษว่าKoreanPopularนั้นเองโดย

เป็นกลยุทธ์เพื่อส่งออกสินค้าไปขายทั่วโลกเช่นสินค้าแฟชั่นเครื่องสำอางภาพยนตร์เกาหลีแว่นตาคอน

เทคเลนซ์บิ๊กอายขนมจากเกาหลีหรือแม้กระทั่งการทำศัลยกรรมความงามแบบเกาหลีหรือแนวเกาหลีซึ่งมี

ลักษณะเฉพาะรวมถึงโสมเกาหลีจนเกาหลีได้ชื่อว่าเป็นเมืองโสมทำให้โสมจากเกาหลีได้รับความนิยมจาก

ผู้บริโภคในตลาดโลกมากกว่าโสมจากที่อื่นๆด้อยเหตุผลดังกล่าวข้างต้น

ประการสุดท้าย รัฐบาลพยายามส่งเสริมการท่องเที่ยวด้วยการชักชวนคนต่างชาติเข้ามาท่องเที่ยว

ในเกาหลีเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เพราะรายได้จากอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวจะช่วยให้ประเทศมีอัตราความเจริญ

เติบโตทางเศรษฐกิจสูงขึ้นอีกทั้งเป็นการเผยแพร่สินค้าของเกาหลีสู่ตลาดโลกด้วย

การ พัฒนา ประเทศ เกาหลีใต้ ใน ศตวรรษ ที่ 21

ในศตวรรษที่21ระบบเศรษฐกิจโลกซึ่งกลายเป็นระบบเศรษฐกิจที่มีรากฐานความรู้ความสามารถ

ทางด้านปัญญาเป็นเหล่งสำคัญในการเพิ่มพูนผลผลิตที่มีมูลค่าเพิ่มสูงและจะก่อให้เกิดการกระจายรายได้ที่

เป็นธรรมรัฐบาลเกาหลีใต้กำหนดให้สังคมของตนเป็นสังคมแห่งความรู้(knowledge-basedsociety)โดย

เน้นอุตสาหกรรมหลักดังนี้

1) ความรู้พื้นฐาน ได้แก่ อิเล็กทรอนิกส์ (electronics) และสิ่งแวดล้อมและพลังงาน

(environmentandenergy)ในสว่นของอเิลก็ทรอนกิส์นัน้ประกอบดว้ย LSI(largesystemintegration)

ซึง่รวมหนา้ที่หลายๆอยา่งเขา้ดว้ยกนัไว้ในหนว่ยความจำหนว่ยเดยีว(semi-conductorchip)อตุสาหกรรม

ผลิตเครื่องมือต่างๆ(manufacturingequipments)และจอภาพทั้งหลาย(flatpaneldisplays)ในส่วน

ของสิ่งแวดล้อมและพลังงานประกอบด้วยการนำกลับมาใช้ใหม่(recycle)การกำจัดของเสีย(disposalof

waste)พลังงานพลังงานแสงอาทิตย์และอุปกรณ์ชนิดใหม่ๆ

มสธ มสธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ

4-71แนวคิดการพัฒนาเศรษฐกิจ

2) การใช้ความรู้หลาย ๆ ด้านมาผสมกัน ได้แก่ ข้อมูลสื่อสาร (information and

telecommunications)และอุตสาหกรรมในส่วนของข้อมูลสื่อสารประกอบด้วยinternet,e-commerce,

contents,wired andwireless, telecommunications, telecommunication service industry,

multifunctionalmobile telephone service ในส่วนของอุตสาหกรรม ประกอบด้วย fiber optic

communication,informationequipment,opticalprecisionequipmentและopticalequipments

นอกจากนี้ ยังมีส่วนที่เกี่ยวข้องกับมนุษย์ ซึ่งประกอบด้วยarticle intelligence,หุ่นยนต์ (robots) และ

voicerecognitionequipment

3) ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับสังคมได้แก่เครื่องมือทางการแพทย์และชีวอุตสาหกรรมในส่วน

ของเครื่องมือทางการแพทย์ ประกอบด้วย visual diagnosis equipment,medical equipment for

household use ในส่วนของชีวอุตสาหกรรมประกอบด้วย genetically engineered food, genetic

diagnoses,medical information service รัฐบาลเกาหลีใต้ส่งเสริมให้เกิดอุตสาหกรรมดังกล่าว

นับตั้งแต่ต้นทศวรรษที่1990ยังผลให้อุตสาหกรรมซอฟต์แวร์เจริญเติบโตอย่างรวดเร็วในขณะที่มีจำนวน

ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในเกาหลีใต้มีกว่า 5.2 ล้านคนหรือเป็นอันดับที่เจ็ดของโลก อย่างไรก็ตาม อุตสาหกรรม

ดังกล่าวยังคงเป็นรองสหรัฐอเมริกาและญี่ปุ่นอยู่ อนึ่งรัฐบาลสร้างศูนย์อุตสาหกรรมขึ้นให้มีลักษณะคล้าย

กับ SiliconValley ของสหรัฐอเมริกาเพื่อนำเกาหลีให้เป็นชาติที่มีเทคโนโลยีการสื่อสารขนาดใหญ่หนึ่งใน

สิบของโลกปัจจุบันศูนย์อุตสาหกรรมเทคโนโลยีของเกาหลีมีชื่อว่าTeharanValley

มสธ มสธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ

4-72 สังคมไทยกับการบริหารการส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร

เรื่อง ที่ 4.3.2 การ พัฒนา เศรษฐกิจ ของ ประเทศ กำลัง พัฒนา

ประเทศกำลังพัฒนา เป็นคำที่ใช้เรียกประเทศที่มีมาตรฐานการดำรงชีวิตปานกลาง-ต่ำ พื้นฐาน

อุตสาหกรรมยังไม่พัฒนาและมีดัชนีการพัฒนามนุษย์(HumanDevelopmentIndex:HDI)อยู่ในระดับ

ปานกลาง-ต่ำคำนี้มีแนวโน้มที่จะใช้แทนที่คำอื่นๆที่เคยใช้ก่อนหน้านี้ซึ่งรวมถึงคำว่า“โลกที่สาม”ซึ่งเกิด

ขึ้นในยุคสงครามเย็นเนื่องจากไม่มีคำจำกัดความใดๆ มากำหนดคำว่าประเทศพัฒนาอาจเป็นไปได้ว่าระดับ

ของคำว่าพัฒนาจะมีความแตกต่างอย่างเห็นได้ชัดมากกว่าคำว่ากำลังพัฒนาด้วยสำหรับบางประเทศที่เรียก

ว่าเป็นประเทศกำลังพัฒนาพบว่ามีค่าเฉลี่ยของมาตรฐานการดำรงชีวิตอยู่ในระดับสูงเช่นกันส่วนประเทศที่

มีสภาพเศรษฐกิจที่จัดอยู่ในระดับก้าวหน้ามากกว่าประเทศที่กำลังพัฒนาแต่ยังไม่จัดอยู่ในกลุ่มของประเทศ

พัฒนาจะจัดให้อยู่กลุ่มที่ใช้คำจำกัดความว่าประเทศอุตสาหกรรมใหม่

ความ เจริญ เติบโต ของ เศรษฐกิจ ทุนนิยม โลก หลัง สงครามโลก ครั้ง ที่ 2 ที่ มี ผล ต่อ การ พัฒนา

เศรษฐกิจ ของ ประเทศกำลัง พัฒนา ปัจจัยที่มีผลต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่2คือการกีดกันทางการค้า

อยู่ในระดับที่ต่ำมีการลดต้นทุนค่าใช้จ่ายในการขนส่งสินค้าและมีการสร้างถนนหนทางต่างๆมากมาย

วิกฤติการณ์ ทาง เศรษฐกิจ ของ ประเทศ กำลัง พัฒนา หลัง ทศวรรษ 1960 หลงัทศวรรษ1960ประเทศกำลงัพฒันามีการเปลีย่นแปลงโครงสรา้งทางเศรษฐกจิเปน็อตุสาหกรรม

มากขึ้น วิกฤติการณ์เศรษฐกิจหลังทศวรรษ 1970 ที่สำคัญได้แก่ ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ และผลกระทบ

อันเนื่องมาจากวิกฤติการณ์น้ำมัน

วิกฤติการณ์เศรษฐกิจโลกหลังทศวรรษ 1970มีผลกระทบต่อเศรษฐกิจของประเทศกำลังพัฒนา

3ด้านด้วยกันได้แก่ความไม่เท่าเทียมกันในรายได้มีมากขึ้นปัญหาการว่างงานและการเคลื่อนย้ายแรงงาน

และปัญหาภาระหนี้สินต่างประเทศ

กรณี ศึกษา การ พัฒนา เศรษฐกิจ ของ ประเทศ กำลัง พัฒนากรณีศึกษาการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศกำลังพัฒนา 3 ประเทศ ได้แก่ กัมพูชา สาธารณรัฐ

ประชาธิปไตยประชาชนลาวและแอฟริกาซึ่งอธิบายได้ดังนี้

1. การพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศกัมพูชา

1.1 ภาพรวมด้านเศรษฐกิจของประเทศกัมพูชาในปีพ.ศ.2552กัมพูชามีอัตราการขยายตัว

ทางเศรษฐกิจ(GDPgrowth)ร้อยละ1.5ซึ่งมีสาเหตุจากภัยแล้งและอุทกภัยส่งผลกระทบต่อผลผลิตด้าน

มสธ มสธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ

4-73แนวคิดการพัฒนาเศรษฐกิจ

การเกษตร ซึ่งเป็นรายได้หลักของประชากรร้อยละ 70 ของประเทศ รวมถึงการส่งออกที่ลดลงของเสื้อผ้า

สำเร็จรูปสิ่งทอรองเท้าเพราะได้รับผลกระทบจากการชะลอตัวทางเศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกาและสหภาพ

ยุโรปซึ่งเป็นตลาดส่งออกหลักของกัมพูชา รวมทั้งการที่สหรัฐอเมริกายกเลิกการใช้มาตรการ safeguard

ต่อสินค้าเสื้อผ้าสำเร็จรูปจากจีนนอกจากนี้ปัญหาวิกฤติเศรษฐกิจและการเงินโลกส่งผลให้การพัฒนาด้าน

อสังหาริมทรัพย์ชะลอตัวลง และบางโครงการถอนการลงทุน ราคาที่ดินและอสังหาริมทรัพย์ที่ซบเซาส่งผล

ให้อำนาจซื้อของประชาชนลดลงอย่างไรก็ตามในปีพ.ศ.2553คาดว่าอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจของ

กัมพูชาน่าจะอยู่ที่ร้อยละ 3.5 เนื่องจากมีปัจจัยบวกจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกทำให้การส่งออกของ

กัมพูชามีแนวโน้มดีขึ้น ที่สำคัญคือกัมพูชาเริ่มให้การสนับสนุนการลงทุนภาคสาธารณะมากขึ้นเพื่อรองรับ

เศรษฐกิจที่จะฟื้นตัวภายในอนาคตอาทิการสร้างถนนโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์โรงไฟฟ้าถ่านหินสร้าง

ทา่อากาศยานการบรหิารจดัการระบบรถไฟเปน็ตน้ทัง้นี้กมัพชูามีผลติภณัฑ์มวลรวมภายในประเทศ(GDP)

11.2พันล้านดอลลาร์สหรัฐรายได้เฉลี่ยต่อคนต่อปีประมาณ635ดอลลาร์สหรัฐโดยรายได้หลักของกัมพูชา

มาจากภาคเกษตรกรรมร้อยละ32.5ได้แก่การกสิกรรมการประมงปศุสัตว์และป่าไม้ซึ่งสินค้าเกษตรที่

ส่งออกได้แก่ข้าวผลิตภัณฑ์ปลาและยางพารารองลงมาได้แก่ข้าวโพดถั่วเหลืองสัตว์มีชีวิตผลไม้และ

ปลา เป็นต้นภาคอุตสาหกรรม ร้อยละ 22.4 ซึ่งสินค้าอุตสาหกรรมส่งออก ได้แก่ เสื้อผ้าและเครื่องนุ่งห่ม

รองเท้า และภาคบริการร้อยละ 45.1 รายได้ที่สำคัญของภาคบริการ ได้แก่ รายได้จากนักท่องเที่ยว และ

อุตสาหกรรมท่องเที่ยวและบริการ

อนึ่งสกุลเงินของกัมพูชาคือ เงินเรียล (Riel)การแลกเปลี่ยนเงินตราระหว่างประเทศใช้เงิน

ดอลลาร์สหรฐัหมนุเวยีนในตลาดมากกวา่เงนิเรียลซึง่เปน็เงนิพืน้เมอืงการแลกเปลีย่นเงนิตราระหวา่งประเทศ

ค่อนข้างเสรี โดยสามารถดำเนินการได้อย่างอิสระผ่านระบบธนาคารและตัวแทนการแลกเปลี่ยนที่ได้รับ

อนุญาตอย่างเป็นทางการ ทั้งนี้ อัตราแลกเปลี่ยนระหว่างเงินเรียลกัมพูชาและเงินดอลลาร์สหรัฐ มีอัตรา

ค่อนข้างคงที่กล่าวคืออยู่ในระดับประมาณ4,000เรียลต่อ1ดอลลาร์สหรัฐ

1.2 โครงสรา้งพืน้ฐานทางการเงนิ ในชว่งครสิต์ทศวรรษ1990ประเทศกมัพชูาเริม่เขา้สู่ระบบ

เศรษฐกิจแบบตลาด(market-orientedeconomy)มีการเปิดตลาดการค้าการลงทุนในประเทศและระหว่าง

ประเทศโดยมีสิ่งบ่งชี้ที่สำคัญคือการเข้าเป็นสมาชิกอาเซียน(ASEAN)ในปีค.ศ.1999(พ.ศ.2542)และเข้า

เป็นสมาชิกองค์การการค้าโลก(WTO)ในปี2004(พ.ศ.2547)ทำให้กัมพูชาต้องปฏิรูปประเทศในหลายๆ

ดา้นโดยเฉพาะอยา่งยิง่การออกกฎระเบยีบที่เกีย่วขอ้งกบัการคา้การลงทนุสำหรบัภาคการเงนิการธนาคารใน

กมัพชูาเริม่เปดิดำเนนิการในชว่งครสิต์ทศวรรษที่1990สว่นการพฒันาตลาดทนุเดมิรฐับาลกมัพชูาวางแผน

เปิดทำการซื้อขายหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์ ประมาณปี ค.ศ. 2008 (พ.ศ. 2551) แต่ก็ต้องเลื่อนออก

ไปอย่างไม่มีกำหนด เนื่องจากมีความเสี่ยงเกี่ยวกับปัญหาเศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลกในช่วงปลายปี ค.ศ. 2008

เป็นต้นมาอย่างไรก็ดีแม้ว่าในปัจจุบันการให้บริการทางการเงินของธนาคารต่างๆจะมีการให้บริการทางการ

เงินรูปแบบใหม่ๆอาทิตู้ATMบัตรเครดิตและการทำธุรกรรมทางอินเทอร์เน็ตแต่ว่าสัดส่วนการใช้บริการ

ทางการเงินต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศเบื้องต้น(GDP)อยู่ในสัดส่วนที่ค่อนข้างต่ำโดยในปีพ.ศ.

2550สัดส่วนการให้สินเชื่อของสถาบันการเงิน เท่ากับร้อยละ18.3ต่อGDPและสัดส่วนเงินฝากในระบบ

มสธ มสธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ

4-74 สังคมไทยกับการบริหารการส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร

สถาบันการเงินเท่ากับร้อยละ26.8ต่อGDPโดยนับตั้งแต่ปีพ.ศ.2546-2550จำนวนผู้ฝากเงินเพิ่มขึ้นโดย

เฉลี่ยกว่าร้อยละ215ขณะที่ผู้ขอสินเชื่อธนาคารเพิ่มขึ้นโดยเฉลี่ยร้อยละ60โดยอัตราการเพิ่มขึ้นของผู้ฝาก

เงินเติบโตมากกว่าผู้ขอสินเชื่อประมาณ3.5เท่าในแง่ของความมั่นคงของระบบธนาคารถือว่าอยู่ในเกณฑ์

ดีพิจารณาจากอัตราส่วนทางการเงินที่สำคัญกล่าวคือมีอัตราผลตอบแทนจากสินทรัพย์ทั้งหมด(Return

onAsset:ROA)โดยเฉลี่ยเท่ากับร้อยละ2และมีอัตราส่วนผลตอบแทนผู้ถือหุ้น(ReturnsonEquity:

ROE)เท่ากับร้อยละ11

2. การพัฒนาเศรษฐกิจของสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว(สปป.ลาว)เศรษฐกิจลาวไม่

ได้รับผลกระทบจากวิกฤติทางการเงินของโลกในปีพ.ศ.2551มากนักเพราะได้รับอานิสงส์จากราคาสินค้า

โภคภัณฑ์สูงกว่าราคาที่คาดการณ์ไว้ และการขยายตัวของรายจ่ายภาครัฐอย่างมาก ซึ่งเป็นปัจจัยในการ

กระตุ้นเศรษฐกิจได้เป็นอย่างดี ผลกระทบของวิกฤติทางการเงินต่อเศรษฐกิจลาวเป็นไปในรูปของรายได้

ส่งออกสินค้าโภคภัณฑ์ที่ลดลง เงินลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศที่ลดลงและรายได้จากการส่งออกสินค้า

ที่ไม่ใช่โภคภัณฑ์ลดลงโดยเฉพาะสินค้าเกษตรผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ(GDP)ที่แท้จริงคาดว่า

จะมีอัตราเพิ่มลดลงเหลือร้อยละ7.6 ในปี 2552อันเป็นผลจากวิกฤติการเงินโลกอัตราเติบโตที่โดดเด่นนี้

(นับว่าสูงเป็นอันดับสองในภูมิภาคเอเชียตะวันออกรองจากจีน)เป็นจริงได้ด้วยสาเหตุดังนี้

ประการแรก เศรษฐกิจลาวค่อนข้างปิดการเปิดรับผลกระทบจากการค้าต่างประเทศอยู่ใน

วงจำกัดจึงได้รับความเสียหายจากวิกฤติการเงินในครั้งนี้น้อย

ประการที่สอง เศรษฐกิจลาวได้รับประโยชน์จากความต้องการสินค้าส่งออกอย่างต่อเนื่อง

(ความต้องการสินแร่จากจีน เสื้อผ้าจากยุโรปและพลังงานไฟฟ้าจากไทย)ความต้องการบริการท่องเที่ยวที่

เพิ่มขึ้นและราคาพลังงานน้ำมันนำเข้าที่ลดลง

ประการที่สาม รัฐบาลเพิ่มการใช้จ่ายก้อนใหญ่เพื่อเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจ ทำให้อัตรา

การเติบโตทางเศรษฐกิจคงอยู่ในระดับสูงโดยค่าใช้จ่ายภาครัฐไปทดแทนการลงทุนของต่างชาติที่ลดลง

มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจทางการคลังนี้ มีทั้งที่เป็นเงินงบประมาณ (ค่าจ้างและการลงทุน

ภายในประเทศ) และการใช้จ่ายนอกงบประมาณโดยอ้อม ในโครงการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานในระดับ

ท้องถิ่นที่ให้การจัดหาเงินกู้โดยธนาคารแห่งชาติลาว อัตราการเติบโตของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ

(GDP)เกดิจากการขยายตวัในหมวดทรพัยากรอยา่งสำคญัผลผลติภาคเหมอืงแร่(สว่นใหญ่จากทองแดงและ

ทองคำ)มีส่วนทำให้ผลผลิตรวมเติบโตในอัตราร้อยละ2.5ในปีพ.ศ.2552 ภาคอุตสาหกรรมการผลิตและ

ภาคการเกษตรแตล่ะภาคมีสว่นทำให้อตัราการเตบิโตของผลผลติรวมเพิม่ขึน้ในปรมิาณรอ้ยละ1ภาคบรกิาร

มีส่วนในอัตราการเติบโตส่วนที่เหลือ

จากการคาดการณ์ว่าเศรษฐกิจโลกจะฟื้นตัวอัตราการเติบโตของผลผลิตมวลรวมในประเทศ

(GDP)ของสปป.ลาวจะดีขึ้นในระยะปานกลางแม้ว่าการฟื้นตัวจะขึ้นอยู่กับการเปลี่ยนแปลงของราคาสินค้า

โภคภณัฑ์ในตลาดโลก(โดยเฉพาะราคาโลหะและสนิคา้เกษตร)เปน็ที่คาดวา่เศรษฐกจิลาวจะได้รบัประโยชน์

จากการฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยวการดำเนินโครงการพลังน้ำขนาดใหญ่ที่กำลังก่อสร้างและที่วางแผนไว้

รวมถึงอุปสงค์ที่เพิ่มขึ้นของประเทศเพื่อนบ้าน (โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ประเทศไทย จีน และเวียดนาม) และ

มสธ มสธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ

4-75แนวคิดการพัฒนาเศรษฐกิจ

สหภาพยุโรป ราคาสินค้าโดยรวมเริ่มขยับตัวสูงขึ้น หลังจากที่ลดลงพอสมควรในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา

ในปี 2552 อัตราเงินเฟ้อทั่วไปอยู่ที่ ร้อยละ 1.5 ในเดือนพฤศจิกายน 2552 เทียบกับเดือนเดียวกันของ

ปีก่อนหลังจากที่อยู่ในระดับต่ำกว่า0เล็กน้อยมาหลายเดือนเป็นผลเนื่องมาจากราคาอาหารและพลังงานที่

ฟื้นตัวขณะเดียวกันอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานไม่รวมอาหารและพลังงาน เพิ่มขึ้นทีละน้อยจากร้อยละ0.4 ใน

เดอืนมถินุายนเปน็รอ้ยละ1.1ในเดอืนกนัยายนและรอ้ยละ2.4ในเดอืนพฤศจกิายนอตัราเงนิเฟอ้โดยเฉลีย่

คาดว่าจะลดลงจากร้อยละ7.6ในปี2551เหลือต่ำกว่าร้อยละ1ในปี2552โดยอัตรานี้จะค่อยๆเพิ่มขึ้น

ในระยะปานกลางเมื่อราคาน้ำมันและอาหารเพิ่มขึ้นแรงกดดันจากภาวะวิกฤติทางการเงินโลกร่วมกับพันธะ

การเป็นเจ้าภาพกิจกรรมนานาชาติหลายครั้งทำให้ภาครัฐต้องเพิ่มการใช้จ่ายอย่างมากในปี 2552 ดังนั้น

คาดว่าการขาดดุลงบประมาณจะเพิ่มขึ้นอย่างมากจากร้อยละ 1.8 ในปี 2551 เป็นร้อยละ 6.8 ในปี 2552

รายจ่ายของรัฐบาลเพิ่มขึ้นอย่างมากทั้งในส่วนของสินค้าทุนและค่าจ้างแรงงาน (การขึ้นเงินเดือนข้าราชการ

และค่าตอบแทนได้ผ่านสภาแห่งชาติลาวก่อนเกิดวิกฤติ)นอกจากเงินงบประมาณมีการเพิ่มของการใช้จ่าย

เงินนอกงบประมาณที่เป็นภาครัฐโดยได้รับสินเชื่อจากธนาคารแห่งชาติลาวเพื่อก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานใน

ระดับท้องถิ่นและกิจกรรมสำคัญสองรายการคือการจัดการแข่งกีฬาซีเกมส์และการฉลองครบรอบ450ปี

นครเวียงจันทร์

อย่างไรก็ดีธนาคารแห่งชาติลาวประกาศการทยอยยุติการให้กู้โดยตรงแก่โครงการสาธารณะ

ภายในสิ้นปี2552ซึ่งเป็นการให้ความสำคัญต่อความกังวลว่าหนี้สาธารณะจะเพิ่มขึ้นในอนาคตรายได้ของ

รัฐคาดว่าจะต่ำกว่าเป้าที่ตั้งไว้ ร้อยละ 8 และจะลดลงเล็กน้อย ไปอยู่ที่ร้อยละ 13.8 ของผลผลิตมวลรวม

ในประเทศ(GDP)ในปี2552ทั้งนี้เป็นเพราะการลดลงของรายได้จากทรัพยากรและรายได้อื่นที่ไม่ใช่ภาษี

(โดยเฉพาะเงินปันผลจากรัฐวิสาหกิจ)แม้ว่าสปป.ลาวจะประสบความสำเร็จในการลดหนี้ต่างประเทศและ

หนี้สาธารณะแต่ก็ยังเผชิญกับความเสี่ยงต่อการชำระหนี้ เนื่องจากมูลค่าหนี้อยู่ในระดับสูง กระนั้นก็ตาม

การชำระหนี้สาธารณะยังอยู่ในระดับที่สามารถจัดการได้ เนื่องจากหนี้ส่วนใหญ่เสียดอกเบี้ยในอัตรา

ลดหย่อน แต่ก็คาดว่าจะเพิ่มขึ้นในระยะปานกลางเนื่องจากความจำเป็นต้องหาเงินทุนเพื่อเข้าถือหุ้นใน

โครงการลงทุนขนาดใหญ่หลายโครงการ

มูลค่าการค้าต่างประเทศของลาวลดลงพอสมควรอันเป็นผลจากวิกฤติการเงินโลกที่ทำให้ราคา

สินค้าโภคภัณฑ์และอุปสงค์โดยรวมลดลง มูลค่าการส่งออกสินค้าโภคภัณฑ์ลดลงร้อยละ 7.2 เมื่อเทียบ

กับปีก่อนขณะที่มูลค่าการนำเข้าลดลงร้อยละ9.6ในช่วงเดียวกันเนื่องจากราคาสินค้าทุนและพลังงานลด

ลงดังนั้นการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดจึงลดลงเหลือร้อยละ 7.9 ของจีดีพี ในปี 2552 จากร้อยละ 12.5 ใน

ปี 2551การเกินดุลทุนเคลื่อนย้ายลดลงเกือบครึ่งหนึ่งในปี 2552 เนื่องจากการลดลงอย่างเห็นได้ชัดของ

เงินลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศการที่เงินทุนต่างประเทศไหลเข้าลดลงพร้อมกับการใช้นโยบายการเงิน

ขยายตัวทำให้ทุนสำรองระหว่างประเทศลดลงการที่ธนาคารแห่งชาติลาวให้กู้โดยตรงการแทรกแซงตลาด

เพื่อกำหนดค่าเงินกีบ และเงินลงทุนจากต่างประเทศที่ลดลง ทำให้ทุนสำรองระหว่างประเทศลดลงเกือบ

ร้อยละ 16 เทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน มาอยู่ที่ 583 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในเดือนมิถุนายน 2552

ทุนสำรองระดับนี้สามารถสนับสนุนการนำเข้าได้4.9เดือนแม้ว่าระดับทุนสำรองจะลดลงแต่ก็อยู่ในสภาพ

มสธ มสธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ

4-76 สังคมไทยกับการบริหารการส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร

ที่ค่อนข้างมั่นคงตลอดช่วงสามปีที่ผ่านมา เนื่องจากมูลค่าการนำเข้าลดลงตามไปด้วยค่าเงินกีบเพิ่มขึ้นเล็ก

น้อยประมาณร้อยละ0.5เมื่อเทียบกับเงินดอลลาร์สหรัฐแต่อ่อนค่าลงร้อยละ3.1เมื่อเทียบกันเงินบาทใน

ช่วงหกเดือน(มิถุนายน-พฤศจิกายน2552)

สินเชื่อเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วสินเชื่อเพิ่มขึ้นร้อยละ98ต่อปีซึ่งร้อยละ30มาจากการให้กู้โดยตรง

ของธนาคารแหง่ชาติลาวให้กบัรฐับาลทอ้งถิน่ในโครงการกอ่สรา้งโครงสรา้งพืน้ฐานการเพิม่อยา่งรวดเรว็ของ

สินเชื่อเช่นนี้นับเป็นความพยายามของภาครัฐที่ต้องการจะกระตุ้นเศรษฐกิจในสภาวะวิกฤติทางการเงินโลก

ซึ่งไม่สามารถดำรงอยู่ได้ในระยะปานกลางแม้ว่าความเสี่ยงต่อเสถียรภาพทางเศรษฐกิจมหภาคจะลดลงไป

บ้างจากการที่ฐานของการเพิ่มยังอยู่ในระดับต่ำ(คืออยู่ที่ร้อยละ12ของจีดีพีณสิ้นปี2551)

รัฐบาลตระหนักดีในความเสี่ยงนี้และมุ่งมั่นที่จะควบคุมระดับสินเชื่อให้ขยายตัวในระดับที่เหมาะ

สมในระยะยาว การปฏิรูปกฎระเบียบก้าวหน้าพอสมควร รัฐบาลประกาศเจตนารมณ์ที่จะยึดแนวทางการ

พัฒนาเศรษฐกิจมหภาคแบบยั่งยืน และการทยอยยุติโครงการภาครัฐนอกงบประมาณการปฏิรูปการคลัง

ของประเทศจะครอบคลุมถึงการรวมศูนย์การจัดระเบียบการคลังศุลกากรและภาษีในระดับท้องถิ่นการ

รวมบัญชีงบประมาณของท้องถิ่นเข้ากับของส่วนกลางอยู่ในระหว่างการดำเนินการพร้อมไปกับการปรับปรุง

และประกาศใช้กฎหมายกฤษฎีกาต่างๆรวมถึงกฎหมายภาษีมูลค่าเพิ่มกฎหมายภาษีเงินได้และประกาศ

ฝ่ายบริหารเรื่องสินแร่และค่าภาคหลวงตลอดจนการบริหารราชการพลเรือน รัฐบาลดำเนินการยกเลิกการ

ยกเว้นภาษีนำเข้าสำหรับยานยนต์ให้ความเห็นชอบในประกาศฉบับใหม่ว่าด้วยการให้ใบอนุญาตนำเข้าและ

ส่งออกในกฎหมายว่าด้วยสินแร่และกฎหมายใหม่ว่าด้วยการส่งเสริมการลงทุนอย่างไรก็ตามการประกาศ

ใช้และการบังคับใช้กฎหมายระเบียบเหล่านี้ยังค้างอยู่

3. การพัฒนาเศรษฐกิจของทวีปแอฟริกา

3.1สภาพทั่วไปของทวีปแอฟริกาทวีปแอฟริกาเป็นทวีปที่มีขนาดใหญ่และมีประชากรมาก

เป็นอันดับสองรองจากทวีปเอเชียพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบสูงประกอบด้วยประเทศกำลังพัฒนาและพัฒนา

น้อยที่สุด รวม 53ประเทศ ในปี พ.ศ. 2547มีประชากรรวม 873.74 ล้านคนคิดเป็นร้อยละ 13.5 ของ

ประชากรโลกประเทศที่มีประชากรมากที่สุดคือไนจีเรีย (137.3 ล้านคน) เอธิโอเปีย (67.9 ล้านคน) และ

คองโก (58.3 ล้านคน) อัตราการรู้หนังสือของผู้ที่มีอายุ 15 ปีขึ้นไปในทวีปแอฟริกาโดยเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ

66.2มีความหลากหลายทั้งในเรื่องชนชาติภาษาวัฒนธรรมและระบบการปกครองปัจจุบันมี22ประเทศที่

มีการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอีกทั้งมีปัญหาคอรัปชั่นในหลายประเทศโดยประเทศที่ผลการสำรวจ

พบว่ามีการคอรัปชั่นสูงสุดได้แก่ไนจีเรียรองลงมาคือชาดและโกตดิวัวร์ส่วนประเทศที่มีการคอรัปชั่น

น้อยที่สุดได้แก่บอตสวานาตูนีเซียและแอฟริกาใต้ทวีปแอฟริกาเป็นทวีปที่อุดมไปด้วยทรัพยากรธรรมชาติ

ต่างๆมากมายเช่นน้ำมัน(ร้อยละ8.9ของโลก)ก๊าซธรรมชาติ(ร้อยละ7.8ของโลก)แร่ธาตุต่างๆเช่น

เพชร ทองพลอยต่าง ๆ ทองแดง เหล็ก ยูเรเนี่ยม เป็นต้น รวมถึงสินค้าประมงและผลไม้เขตร้อน โดย

ประเทศที่ครอบครองบ่อน้ำมันและเป็นผู้ผลิตน้ำมันรายใหญ่ของโลกได้แก่ แอลจีเรีย และลิเบีย อย่างไร

ก็ตามประเทศในแอฟริกายังมีการแปรรูปวัตถุดิบที่ตนเองมีอยู่เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มน้อยมาก จึงเป็นเพียง

แหล่งวัตถุดิบให้แก่ประเทศอื่นๆ

มสธ มสธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ

4-77แนวคิดการพัฒนาเศรษฐกิจ

3.2สภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจGDP ของทวีปแอฟริกามีขนาดเล็กมาก เพียงร้อยละ 1.6

ของGDP โลกแต่เศรษฐกิจมีการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง กองทุนการเงินระหว่างประเทศประมาณการการ

ขยายตัวทางเศรษฐกิจของทวีปแอฟริกาในปี2548และ2549ที่ร้อยละ5และ5.4ตามลำดับรายได้เฉลี่ย

ต่อหัวของประชากรในทวีปแอฟริกาในปี2546โดยเฉลี่ยเท่ากับ815เหรียญสหรัฐฯโดยประเทศที่มีรายได้

ต่อหัวสูงสุดได้แก่เซเชลล์มอริเชียสและกาบอง(7,0503,900และ3,120 ดอลลาร์สหรัฐตามลำดับ)ส่วน

ประเทศที่มีรายได้ต่อหัวต่ำสุดได้แก่คองโกบุรุนดีและเอธิโอเปีย(90100และ100ดอลลาร์สหรัฐตาม

ลำดับ) โครงสร้างเศรษฐกิจของทวีปแอฟริกาประกอบด้วย ภาคเกษตรร้อยละ 22.6 ภาคอุตสาหกรรม

ร้อยละ 24.6ภาคบริการร้อยละ 38.7 และเป็นรายจ่ายภาครัฐร้อยละ 14.12 โดยมีแรงงานส่วนใหญ่หรือ

ร้อยละ55.3อยู่ในภาคเกษตรส่วนภาคอุตสาหกรรมและบริการมีสัดส่วนแรงงานร้อยละ18.4และ26.2

ตามลำดับ ภูมิภาคที่มีการพัฒนามากที่สุดจะอยู่ทางตอนเหนือของทวีป เนื่องจากมีพรมแดนติดต่อกับ

ตอนล่างของยุโรปและเอเชีย(ตะวันออกกลาง)

ด้านอัตราเงินเฟ้อ ในช่วงปี 2533-2542 อัตราเงินเฟ้อเฉลี่ยของทวีปแอฟริกามีค่าสูงถึง

ร้อยละ23.3ต่อปีอย่างไรก็ตามเศรษฐกิจแอฟริกาเริ่มมีเสถียรภาพมากขึ้นดังจะเห็นได้จากอัตราเงินเฟ้อ

เฉลี่ยระหว่างปีพ.ศ.2543-2546ที่ลดลงเหลือร้อยละ11.5หลังจากที่ประเทศในทวีปแอฟริกาทยอยได้รับ

เอกราชจากประเทศเจ้าอาณานิคมกิจกรรมต่างๆทางด้านเศรษฐกิจขยายตัวมากขึ้นมีการเปิดความสัมพันธ์

ทั้งกับประเทศภายในและภายนอกทวีปเพื่อขยายการค้าการลงทุนและการพัฒนาโดยการรวมกลุ่มภายใน

ทวปีที่สำคญัไดแ้ก่(1)FrancZone(FZ)ซึง่เปน็การรวมกลุม่ทางเศรษฐกจิของประเทศที่เคยเปน็อาณานคิม

ของฝรั่งเศสโดยใช้เงินฟรังค์ของฝรั่งเศสเป็นสื่อกลางประกอบด้วย16ประเทศ(2)AfricanUnion(AU)

ประกอบด้วยทุกประเทศในทวีปแอฟริกาส่วนการรวมกลุ่มนอกทวีปที่สำคัญได้แก่การเป็นสมาชิกกองทุน

การเงินระหว่างประเทศ(IMF)องค์การการค้าโลก(WTO)การประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการค้าและการ

พัฒนา(UNCTAD)และองค์การพัฒนาอุตสาหกรรมแห่งสหประชาชาติ(UNIDO)

กลา่ว โดย สรปุ จากกรณีศกึษาทัง้3ประเทศกำลงัพฒันาที่กลา่วมาเมือ่เปรยีบเทยีบกบัประเทศพฒันา

จะมีมูลค่าผลิตภัณฑ์ประชาชาติต่อหัวของประเทศน้อยกว่าประเทศที่พัฒนาแล้วนอกจากนี้เมื่อพิจารณาถึง

การพึ่งพาตนเองแล้วประเทศกำลังพัฒนามีการพึ่งพาตนเองน้อยกว่าประเทศพัฒนานั้นหมายถึงว่าประเทศ

กำลังพัฒนายังมีความจำเป็นในการพึ่งพาต่างประเทศเช่นการลงทุนเทคโนโลยีความรู้ความชำนาญเฉพาะ

ด้านรวมทั้งการศึกษาและสาธารณสุขด้วยเมื่อประเทศเหล่านี้มีการพัฒนาเศรษฐกิจที่ดีขึ้นจะลดการพึ่งพา

ต่างชาติและสามารถพึ่งพาตนเองได้ในที่สุด

มสธ มสธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ

4-78 สังคมไทยกับการบริหารการส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร

เรื่อง ที่ 4.3.3 แนว โน้ม การ พัฒนา เศรษฐกิจ ของ โลก

แนวโน้มการพัฒนาเศรษฐกิจของโลกคือทิศทางการดำเนินชีวิตความเป็นอยู่ของผู้คนในสังคมโลก

ตลอดทั้งการดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจในโลกมนุษย์ ทั้งนี้โดยมีนักอนาคตวิทยาชื่อ อัลวิน ทอฟเลอร์

(AlvinTofler)ตั้งข้อสังเกตเปรียบเทียบดังคลื่นทะเลซึ่งมีอยู่ด้วยกัน3ระลอกคลื่น(wave)คลื่นลูกแรก

เรียกว่า เศรษฐกิจการเกษตรแบบชนบทเป็นหลัก (สังคมเกษตร) ซึ่งมนุษย์ผลิตปัจจัย 4 จากคลื่นลูกนี้

(ปัจจัย4ได้แก่อาหารเครื่องนุ่งห่มยารักษาโรคและที่อยู่อาศัย)เมื่อมีความเป็นบ้านเมืองและสังคมแล้ว

คลื่นลูกที่2ถัดมาคือเศรษฐกิจอุตสาหกรรมและพาณิชยกรรม(การผลิตและการตลาด)ทำให้มนุษย์ผลิต

สินค้าเหลือกินเหลือใช้เป็นแรงจูงใจให้เกิดการค้าขายไปทั่วโลกส่วนคลื่นลูกที่3ประมาณหลังสงครามโลก

ครั้งที่2พัฒนามาเป็นการบริการและเศรษฐกิจสร้างสรรค์อาศัยเทคโนโลยีและการบริหารสิ่งแวดล้อมเพื่อ

ให้เกิดการเจริญเติบโตอย่างยั่งยืน

เศรษฐกิจ โลก และ ทิศทาง ใน ทวีป ต่าง ๆ ที่ สำคัญสามารถแบ่งออกได้เป็น5กลุ่มหลักดังนี้

1. อเมริกาและยุโรป เคยเป็นหัวรถจักรทางเศรษฐกิจโลก จนกระทั่งเกิดวิกฤติแฮมเบเกอร์ใน

อเมริกาส่วนในทวีปยุโรปเองก็มีปัญหา เช่นประเทศแถบเมดิเตอร์เรเนียน เช่นกรีซอิตาลีและสเปนซึ่ง

ผู้คนมีนิสัยสบายๆทั้งรัฐบาลและพลเมืองของเขาทำให้เกิดการก่อหนี้ในภาครัฐจนรายได้ไม่เพียงพอที่จะ

สามารถส่งดอกเบี้ยได้ กลายเป็นเหตุการณ์ก่อจลาจลวุ่นวาย ใกล้ล้มละลายในระดับต่าง ๆ และเนื่องจาก

ประเทศยุโรปที่สำคัญรวมตัวกันเป็นประชาคมและใช้เงินตราร่วมกัน(เงินสกุลยูโร)จึงมีทิศทางว่าจะฉุดดึง

ให้ซบเซาทั้งทวีปตามสหรัฐอเมริกาไปด้วย

มสธ มสธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ

4-79แนวคิดการพัฒนาเศรษฐกิจ

ภาพ ที่ 4.1 กลุ่ม ทวีป อเมริกา

มสธ มสธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ

4-80 สังคมไทยกับการบริหารการส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร

2. กลุม่ประเทศอเมรกิาใต้มีประเทศผูน้ำเศรษฐกจิคอืประเทศบราซลิซึง่มีพืน้ที่ขนาดใหญ่สามารถ

ผลิตพืชผลที่เป็นอาหารและพลังงานเลี้ยงชาวโลก(โดยเฉพาะเมล็ดกาแฟ)ได้บ้างเมื่อรวมทั้งอาเจนติน่าและ

เมก็ซโิกก็จะมีพลงัขบัเคลือ่นเศรษฐกจิที่ดีแต่ก็พอเพยีงชว่ยตวัเองได้เทา่นัน้จากการที่เคยเปน็เศรษฐกจิซบเซา

อยู่หลายทศวรรษ

ภาพ ที่ 4.2 กลุ่ม ประเทศ อเมริกาใต้

มสธ มสธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ

4-81แนวคิดการพัฒนาเศรษฐกิจ

3. ประเทศในแอฟรกิาทัว่โลกเริม่ให้ความสนใจเพราะยงัมีวตัถดุบิและทีด่นิมหาศาลเปน็ที่ตอ้งการ

ของตลาดโลกและประเทศผู้ผลิตรายใหญ่ มีลูกค้าเก่าคือแถบยุโรป ส่วนลูกค้าใหม่ที่สำคัญคือ จีน จึงมี

แนวโน้มว่าจะมีทิศทางการพัฒนาเศรษฐกิจที่สดใสด้านวัตถุดิบแร่ธาตุและที่ดินถ้าสามารถบริหารจัดการ

การคอรัปชั่นและการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ระหว่างเผ่าต่างๆได้ลงตัว

ภาพ ที่ 4.3 กลุ่ม ประเทศ ใน ทวีป แอฟริกา

มสธ มสธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ

4-82 สังคมไทยกับการบริหารการส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร

4. ประเทศในกลุ่มอาหรับในแถบตะวันออกกลางและแอฟริกาเหนือมีปรากฏการณ์ทางการเมือง

ที่มีทิศทางการพัฒนาที่อาจนำมาสู่การพัฒนาเศรษฐกิจได้ เรียกปรากฏการณ์นี้ว่า “ฤดูใบไม้ผลิ” (Arab

Spring)นั่นคือมีการตื่นตัวเรียกร้องประชาธิปไตยของประชาชนจากผู้นำที่เป็นเผด็จการมีพฤติกรรมกดขี่

และคอรัปชั่นทำให้ประเทศในกลุ่มอาหรับเป็นประชาธิปไตยมีรัฐบาลปกครองทำให้ลดการกดขี่ลงในหลาย

ประเทศและนำประเทศเข้าสู่การขับเคลื่อนด้านการพัฒนาเศรษฐกิจโลกด้านพลังงานซึ่งก็คือน้ำมันนั่นเอง

ภาพ ที่ 4.4 ประเทศ ใน กลุ่ม อาหรับ

มสธ มสธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ

4-83แนวคิดการพัฒนาเศรษฐกิจ

5. ประเทศเศรษฐกิจหลักในเอเชีย ขณะนี้คาดหวังว่าจะเป็นหัวรถจักรทางเศรษฐกิจใหม่ ในการ

กระตุ้นการเติบโตของเศรษฐกิจโลก มี 4 กลุ่มหลัก ได้แก่ จีน อินเดีย รัสเซีย และประชาคมเศรษฐกิจ

อาเซียน

ภาพ ที่ 4.5 ประเทศ ใน เอเชีย

แนว โน้ม การ พัฒนา เศรษฐกิจ โลกในอนาคตการพัฒนาเศรษฐกิจโลกมีแนวโน้มที่ให้ความสำคัญกับ 4 กลุ่มประเทศหลักในอเมริกา

ทวีปยุโรปเอเชียและอเมริกาใต้สามารถอธิบายได้4กลุ่มหลักดังนี้

1. กลุ่มประเทศBRICเป็นตัวย่อของประเทศเศรษฐกิจพัฒนาที่มีศักยภาพในการพัฒนาเศรษฐกิจ

มากได้แก่BrazilRussiaIndiaและChinaซึ่งจะเห็นได้ว่า3ใน4ประเทศนั้นอยู่ในเอเชียมีพลเมือง

และปริมาณพื้นที่รวมกันมากพอที่จะฉุดเศรษฐกิจโลกที่ซบเซาให้มีแนวโน้มตื่นตัวขึ้นได้อย่างสำคัญโดย

นักเศรษฐศาสตร์ชั้นนำกำหนดให้รัสเซียเป็นผู้นำด้านการผลิตพลังงานและเทคโนโลยีทางเลือกอินเดียเป็น

ผู้นำการผลิตด้านบริการผ่านระบบโทรคมนาคมและเทคโนโลยีซอฟแวร์ ส่วนจีนเป็นผู้นำการผลิตสินค้า

บริโภคและอุปโภค รวมทั้งครุภัณฑ์สำคัญของโลกในระดับครัวเรือน แต่ก็มีปัญหาอยู่บ้างคือ รัสเซียอาจมี

ปัญหาที่กำลังเปลี่ยนผู้นำและรัฐบาลตลอดทั้งบทบาทการเป็นประเทศสมาชิกในองค์การการค้าโลก(World

TradeOrganization:WTO)อันจะกระทบต่อนโยบายเศรษฐกิจโลกด้วยส่วนอินเดียมีปัญหาความยากจน

ภายในและสมรรถภาพราชการและจนีมีปญัหาเรือ่งตลาดสง่ออกซบเซามีระบบเศรษฐกจิที่แพงเกนิไปสำหรบั

พลเมืองส่วนใหญ่ของตน

มสธ มสธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ

4-84 สังคมไทยกับการบริหารการส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร

ภาพ ที่ 4.6 กลุ่ม ประเทศ BRIC

2. ASEANPlusประมาณปีพ.ศ.2558ประเทศอาเซียนจะกลายเป็นเศรษฐกิจที่สำคัญไม่น้อย

กว่าBRICมีการผนวกประเทศนอกกลุ่มสำคัญเช่นออสเตรเลียและเอเชียอื่นๆ (จีนญี่ปุ่นเกาหลี)จนเป็นที่

คาดหวังได้ว่าจะเป็นกลุ่มประเทศเศรษฐกิจที่มีบทบาทสำคัญของประชาคมเศรษฐกิจโลกร่วมกับBRICได้

ภาพ ที่ 4.7 กลุ่ม ประเทศ ASEAN Plus

3. ทวีปเอเชียใต้ประกอบด้วยประเทศขนาดใหญ่และมีศักยภาพไม่น้อยนอกจากอินเดียแล้วยังม ี

อัฟกานิสถานซึ่งเป็นประเทศที่มีทรัพยากรธรรมชาติและแร่ธาตุที่หายากนอกจากนี้แล้วประเทศปากีสถาน

ยังเป็นประเทศที่มีความชำนาญในด้านเทคโนโลยีนิวเคลียร์ และประเทศบังกลาเทศมีศักยภาพทางด้าน

การบริหารภาคประชาสังคมประเทศเหล่านี้มีสินทรัพย์จำนวนมากและจำนวนพลเมืองของประเทศเหล่านี้

มีคุณภาพและพื้นฐานการศึกษาที่ดีจนสามารถกล่าวได้ว่ากลุ่มประเทศเหล่านี้อาจกลายเป็นตลาดเสรีขนาด

ใหญ่ทดแทนตลาดส่งออกเดิมของไทยได้

4. กลุ่มประเทศเสือแห่งเอเชีย(OldTigers)อันได้แก่ญี่ปุ่นเกาหลีใต้ไต้หวันและฮ่องกงเป็น

ตัวแบบของประเทศที่มีความสำเร็จในการพัฒนาอย่างรวดเร็วและมีวินัยย่านเอเชียคุณสมบัติที่โดดเด่นของ

พลเมืองของประเทศกลุ่มนี้ คือ ใฝ่รู้ ขยันทำงานอย่างมีวินัย เก็บหอมรอมริบด้วยความประหยัดพอเพียง

มสธ มสธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ

4-85แนวคิดการพัฒนาเศรษฐกิจ

และรักพวกพ้องและครอบครัว เป็นค่านิยมที่ฝรั่งเรียกว่า confucianismซึ่งเป็นอิทธิพลมาจากลัทธิขงจื้อ

นั่นเองเมื่อบุคคลเหล่านี้สามารถดำเนินธุรกิจของตนเองจนสามารถตั้งตัวได้จะพัฒนาเป็นเจ้าของธุรกิจอย่าง

รวดเร็วและนำหน้าใครยกตัวอย่างคือประเทศสิงคโปร์

ภาพ ที่ 4.8 กลุ่ม ประเทศ เสือ แห่ง เอเชีย

หลัง จาก ศึกษา เนื้อหา สาระ ตอน ที่ 4.3 แล้ว โปรด ปฏิบัติ กิจกรรม 4.3

ใน แนว การ ศึกษา หน่วย ที่ 4 ตอน ที่ 4.3

มสธ มสธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ

4-86 สังคมไทยกับการบริหารการส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร

บรรณานุกรม

ดารารัตน์ อานันทนะสุรวงค์. (2543). “หน่วยที่ 2 ทฤษฎีการพัฒนาเศรษฐกิจ I.” ในประมวลสาระชุดวิชา

เศรษฐศาสตร์การพัฒนา.บัณฑิตศึกษา.สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์.มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

(2543). “หน่วยที่ 3 ทฤษฎีการพัฒนาเศรษฐกิจ II.” ในประมวลสาระชุดวิชาเศรษฐศาสตร์การพัฒนา.

บัณฑิตศึกษาสาขาวิชาเศรษฐศาสตร์.มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ดำรงค์ ฐานดี. (2548). “หน่วยที่ 9 ยุทธศาสตร์การพัฒนาของสาธารณรัฐเกาหลี.” ใน ประมวลสาระชุดวิชา

กระบวนการพัฒนาและทางเลือกสาธารณะ.บัณฑิตวิทยาลัย. สาขาวิชารัฐศาสตร์. มหาวิทยาลัยสุโขทัย

ธรรมาธิราช.กรุงเทพมหานคร:สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ประสิทธิ์ตงยิ่งศิริ.(2529).“หน่วยที่1หลักและแนวคิดเกี่ยวกับการพัฒนาเศรษฐกิจ.”ในเอกสารการสอนชุดวิชา

ทฤษฎีและนโยบายการพัฒนาเศรษฐกิจ.สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์.มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

(2529).“หน่วยที่3บทบาทของรัฐในการพัฒนาเศรษฐกิจ”ในเอกสารการสอนชุดวิชาทฤษฎีและนโยบาย

การพัฒนาเศรษฐกิจ.สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์.มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช.(2541).พระราชดำรัสพระราชทานเมื่อวันที่4ธันวาคม2540คู่มือ

การดำเนินชีวิตสำหรับประชาชนปี 2541 และทฤษฎีใหม่.จัดพิมพ์โดยสำนักงานจัดการทรัพย์สินส่วน

พระองค์. สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์. บริษัทมงคลชัยพัฒนา บริษัทบางจากปิโตรเลี่ยม

จำกัด(มหาชน).

วรวุฒิหิรัญรักษ์ (2529). “หน่วยที่2ปัจจัยที่มีอิธิพลต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ.”ใน เอกสารการสอนชุดวิชาทฤษฎี

และนโยบายการพัฒนาเศรษฐกิจ.สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์.มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ศิริพร สัจจานันท์. (2543). “หน่วยที่ 1 แนวคิดเกี่ยวกับเศรษฐศาสตร์การพัฒนา.” ในประมวลสาระชุดวิชา

เศรษฐศาสตร์การพัฒนา.บัณฑิตศึกษา.สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์.มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

สาธารณรัฐเกาหลี. ชื่อประเทศเกาหลีอย่างเป็นทางการ. วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี. ค้นคืนวันที่ 22 ธันวาคม 2555.

จากwww.wikipedia.com

สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาแห่งประเทศไทย.(2542).ตัวชี้วัดธรรมาภิบาล.

สำนกังานคณะกรรมการพฒันาการเศรษฐกจิและสงัคมแหง่ชาต.ิสำนกันายกรฐัมนตร.ี(2535).แผนพฒันาเศรษฐกจิ

และสังคมแห่งชาติฉบับที่7.

(2540). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่8.

(2545). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่9.

(2550). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่10.

(2555). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่11.

อาคมเติมพิทยาไพสิฐและวิโรจน์นรารักษ์.(2543).“หน่วยที่12บทบาทของรัฐและการวางแผนพัฒนาเศรษฐกิจ.”

ในประมวลสาระชุดวิชาเศรษฐศาสตร์การพัฒนา.บัณฑิตศึกษา. สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์. มหาวิทยาลัย

สุโขทัยธรรมาธิราช.

มสธ มสธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ ม

สธ

มสธ มสธ

4-87แนวคิดการพัฒนาเศรษฐกิจ

อนชุาภรูิพนัธุ์ภญิโญ.(2551).“หนว่ยที่13เศรษฐกจิการเกษตร.”ในประมวลสาระชดุวชิาการเกษตรเพือ่การจดัการ

ทรัพยากร.บัณฑิตศึกษา.สาขาวิชาส่งเสริมการเกษตรและสหกรณ์.มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

(2553). “หน่วยที่2แนวคิดการพัฒนาเศรษฐกิจกับการสหกรณ์.”ในเอกสารการสอนชุดวิชาสหกรณ์กับ

การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม.สาขาวิชาส่งเสริมการเกษตรและสหกรณ์.มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

(2554).“หน่วยที่12นโยบายราคาของรัฐ.”ใน เอกสารการสอนชุดวิชาเศรษฐศาสตร์เพื่อการบริหารธุรกิจ

สหกรณ์.สาขาวิชาส่งเสริมการเกษตรและสหกรณ์.มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

CommissionoftheEuropeanCommittee.(1992).TowardSustainability:AEuropeanCommunity

Programme of Policy and Action in Relation to the Environment and Sustainable

Development.Volume1.ProposalforaResolutionoftheCouncilofEuropeanCommunity,

Brusels.

Ekins,P(1994).TheEnvironmentSustainabilityofEconomicsProcesses:AFrameworkforAnalysis.

InternationalSocietyforEcologicalEconomics.IslandPress.

Hirschman,AlbertO. (1958).The Strategy of EconomicDevelopment. NewHaven, CT: Yale

UniversityPress.

Recommended