Transcript
Page 1: เส้นทางศึกษาธรรมชาติป่าต้น ...herp-nru.psru.ac.th/file/U55011_12.pdf3คณะการจ ดการส งแวดล อม

เส้นทางศึกษาธรรมชาติป่าต้นน้้าบางเหรียง: แหล่งเรียนรูท้างธรรมชาติ ภูมปิัญญาท้องถ่ิน และการใช้ประโยชน์จาก

ความหลากหลายทางชีวภาพเพ่ือท่องเที่ยวเชิงนิเวศ

ทิพย์ทิวา สัมพันธมิตร1 อานุช คีรีรัฐนิคม1 สมยศ สิทธิ2์ และเสาวลักษณ์ รุ่งตะวันเรืองศร3ี 1 สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ชีวภาพและสิ่งแวดล้อม คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

2 บัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ชีวภาพและสิ่งแวดล้อม คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ 3คณะการจัดการสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลยัสงขลานครินทร์

1. เพื่อส้ารวจเส้นทางศึกษาธรรมชาติ ลักษณะการใช้ประโยชน์จากความหลากหลายทางชีวภาพภูมปิัญญาและวัฒนธรรมท้องถิ่นของป่าตน้น้้าบาง เหรียง ต้าบลเกาะเต่า อ้าเภอป่าพะยอม จงัหวัดพัทลุง 2. เพื่อสร้างเส้นทางศึกษาธรรมชาติและกจิกรรมสื่อความหมายที่เชื่อมโยงกบัการใช้ป่าเป็นแหล่งเรียนรู้ด้านธรรมชาติ ภูมปิัญญาท้องถิ่นและการใช้ประโยชน์จากความหลากหลายทางชีวภาพด้วยกระบวนการมสี่วนร่วมของชุมชน

งานวิจัยนี้ได้รับสนับสนุนการวิจัยจากส้านักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา (สกอ.) ประจ้าปีงบประมาณ พ.ศ. 2555 ขอขอบพระคุณคณะผู้ร่วมวิจัย ทุกท่าน ผู้ใหญ่บ้าน ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านและชาวบ้านทุกท่านในต้าบลเกาะเต่า อ้าเภอป่าพะยอม จังหวัดพัทลุง และนิสิตสาขาวิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อมที่ร่วมส้ารวจข้อมูลอย่างเต็มที่

ผลที่ได้จากการศึกษาเป็นฐานข้อมูลให้กับหน่วยงานและผู้น้าชุมชนที่สนใจจะพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศและแหล่งเรียนรู้ที่เชื่อมโยงต่อการอนุรักษ์ ภูมิปัญญา วิถีชีวิต และการใช้ประโยชน์ส้าหรับเยาวชน ชุมชน และประชาชนที่สนใจ

อ่างเก็บน้าป่าพะยอม หนานพับผ้า ร่องรอยการเอาน้้ามันยาง ท้านบน้้า

ก้าหนดพื้นที่ศึกษาคือ ป่าต้นน้้าบางเหรียง ต้าบลเกาะเต่า อ้าเภอป่าพะยอม จังหวัดพัทลุง มีพื้นที่ประมาณ 1,500 ไร่ โดยส้ารวจแบบมีส่วนร่วมจากชุมชนเพื่อจัดท้าฐานข้อมูลทรัพยากร (Resource Base) ของชุมชนในแต่ละเส้นทางธรรมชาติที่ชาวบ้านยังคงใช้ประโยชน์ และใช้เครื่องมือหาพิกัดด้วยสัญญาณดาวเทียม (GPS) จับพิกัดจุดเพื่อน้าข้อมูลมาจัดท้าแผนที่แต่ละเส้นทาง จัดประชุมกลุ่มย่อยกับชาวบ้านเพื่อเลือกพื้นที่ที่เหมาะสมในการจัดท้าเส้นทางศึกษาธรรมชาติในเบื้องต้น จากนั้นจึงทดสอบเส้นทางศึกษาธรรมชาติกับกลุ่มตัวอย่างเพื่อประเมินความคิดเห็นและข้อเสนอแนะส้าหรับการพัฒนาต่อไป

จากการส้ารวจพบเส้นทางธรรมชาติที่ชาวบ้านใช้ประโยชน์มี 3 เส้นทาง ได้แก่ เส้นทางเขาเพชร เส้นทางควนยาง และเส้นทางบางเหรียง แต่ละเส้นทางมีเอกลักษณ์เฉพาะตัวและมีจุดที่น่าสนใจที่แตกต่างกัน คือ เส้นทางเขาเพชรมีแนวหินที่เป็นผลึกคล้ายเพชร มีจุดชมวิวที่สามารถมองเห็นอ่างเก็บน้้าป่าพะยอม เส้นทางควนยางมีกลุ่มของต้นยางขนาดใหญ่และสามารถนั่งเรือเพื่อชมทัศนียภาพในอ่างเก็บน้้า และเส้นทางบางเหรียงเป็นเส้นทางที่สามารถสัมผัสกับสังคมป่าที่หลากหลายผสมผสานกับวิถีชีวิตชาวบ้านที่อยู่ร่วมกับป่า จากนั้นผู้วิจัยก้าหนดเกณฑ์การเลือกเส้นทางโดยรวบรวมเกณฑ์การคัดเลือกจากงานวิจัยที่เกี่ยวข้องและความคิดเห็นจากชาวบ้านเพื่อทดสอบเส้นทาง ผลการพิจารณา ผู้วิจัยได้เลือกเส้นทางบางเหรียงเป็นเส้นทางส้าหรับการทดสอบโดยให้ชาวบ้านในชุมชนเป็นนักสื่อความหมาย จากการทดสอบเส้นทางกลุ่มตัวอย่างมีความประทับใจต่อเอกลักษณ์ของเส้นทางและมีความรู้เกี่ยวกับความส้าคัญของความหลากหลายทางชีวภาพ

วัตถุประสงค์ของการวิจัย ขอบเขตการศึกษาและวิธีการศึกษา

ผลการด้าเนินงานวิจัยและอภิปราย

แนวทางการน้าผลการด้าเนินโครงการไปใช้ประโยชน์ กิตติกรรมประกาศ

Recommended